SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  39
ประเทศกรีซ
ธงชาติประเทศกรีซ
คำขวัญ (Eleutheria i thanatos) (" อิสรภาพหรือความตาย ")
เมืองหลวง   :   เอเธนส์   ภาษาทางการ   :   ภาษากรีซ   การปกครอง  :   สาธารณรัฐ   ประธานาธิบดี  :   คาโรลอส พาพูลิอัส  นายกรัฐมนตรี  :   จอร์จ พาพันเดรอู
ประเทศกรีซ  หรือมีชื่อประเทศเป็นทางการว่า  สาธารณรัฐเฮลเลนิก เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตอนใต้สุดของคาบสมุทรบอลข่าน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศบัลแกเรีย มาซิโดเนีย และแอลเบเนีย
ชาวกรีก   เรียกประเทศตัวเองว่า  Hellas   ซึ่งภาษากรีกในปัจจุบันออกเสียง ว่า  Ellas   โดยในการพูดทั่วไปจะใช้คำว่า  Ellada   และมักจะเรียกตัวเองว่า  Hellenes   แม้กระทั่งในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำภาษาอังกฤษ  " Greece"  มาจากชื่อละตินว่า  Graecia  หมายถึงพื้นที่ทางเหนือของกรีซในปัจจุบัน ซึ่งมีกลุ่มคนที่เรียกว่า  Graikos   อาศัยอยู่
ประวัติศาสตร์   วิหารพาร์เธนอนในเอเธนส์
ยุคโบราณ ในยุคสำริด  3 , 000-2 , 000  ปี ก่อนคริสต์ศักราช เป็นยุคที่อารยธรรมชนเผ่าไซแคลดิกและไมซีแนเอียนกำลังมีอิทธิพลรุ่งเรืองอยู่ในกรีซ แต่พอถึงศตวรรษที่  11  ก่อนคริสตกาล อิทธิพลของวัฒนธรรมไซแคลดิกและไมซีแนเอียนก็ถึงกาลเสื่อมสลายลง เพราะถูกรุกรานโดยนักรบเผ่าดอเรียน
ช่วงเวลา  800  ปีก่อนคริสตกาล เป็นช่วงเวลาที่อารยธรรมกรีซเฟื่องฟูขึ้นมาอีกครั้ง วัฒนธรรมและกิจการทหารของกรีซเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด เมืองเอเธนส์ลัสปาต้าเป็นศูนย์กลางของอำนาจมหาอาณาจักรกรีซประกอบด้วยอิตาลีทางตอนใต้อันเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของอาณาจักรอันยิ่งใหญ่
ในขณะที่สปาร์ตากำลังรุกรานกรีซอย่างย่ามใจทางตอนเหนือ พระเจ้าฟิลิปแห่งอาณาจักรมาซิโดเนียกำลังไล่ตีเมืองเล็กเมืองน้อยรุกคืบเข้ามาใกล้กรีซทุกที แต่ทว่าความทะเยอทะยานที่จะเป็นผู้พิชิตในภูมิภาคนี้ของพระเจ้าฟิลิปก็ถูกบดบังรัศมีโดยโอรสของพระองค์เองคือ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ผู้สามารถยาตราทัพไปถึงเอเชียไมเนอร์และอียิปต์
ครั้นถึงปีที่  205  ก่อนคริสต์ศักราช อิทธิพลของโรมันแผ่ขยายเข้ารุกรานกรีซ และเมื่อถึงปี  146  ก่อนคริสตกาล กรีซกับมาซิโดเนียตกอยู่ใต้การปกครองของโรมัน หลังจากที่มีการแบ่งอาณาจักรโรมันเป็นอาณาจักรตะวันออกและตะวันตก กรีซได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรไบแซนไทน์ และเมื่อเกิดสงครามครูเสดขึ้น อิทธิพลของอาณาจักรไบแซนไทน์ก็เสื่อมถอยเพราะถูกรุกรานโดยชาวเวนิส คาตาลัน เจนัว แฟรงก์ และนอร์มัน
ยุคกลาง ในปี พ . ศ . 1996 ( ค . ศ . 1453)  กรุงคอนสแตนติโนเปิล เมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์ถูกพวกเติร์กยึดครอง และเมื่อถึงปี พ . ศ . 2043 ( ค . ศ . 1500)  ดินแดนของกรีซทั้งหมดก็ตกอยู่ใต้อำนาจของเติร์ก ดินแดนที่เป็นกรีซในปัจจุบันแต่ก่อนเป็นศูนย์กลางการค้าทางเรือของยุโรปตอนกลางและเป็นที่ชุนนุมนักปราชญ์กับศิลปินของโลก เพราะที่นี่เป็นหมู่บ้านกรีกที่มีประเพณีและวัฒนธรรมของกรีกออร์ทอดอกซ์ ในการทำสงครามเพื่อกู้เอกราชจากเติร์ก กรีซได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากนักคิด นักเขียน และนักปรัชญา เช่น ไบรอน แชลเลย์ และเกอเธ อย่างไรก็ตามการต่อสู้ที่ขาดเอกภาพของกรีซ ทำให้ฝรั่งเศส รัสเซีย และอังกฤษ ตัดสินใจเข้ามาแทรกแซง หลังจากกรีซได้รับเอกราชแล้ว กลุ่มอำนาจในยุโรปมีความเห็นว่ากรีซควรมีการปกครองระบบกษัตริย์จึงได้จัดการให้กษัตริย์ออตโตแห่งบาวาเรีย เป็นกษัตริย์ปกครองกรีซในปี พ . ศ . 2376 ( ค . ศ . 1833)  หลังจากนั้นกรีซก็มีกษัตริย์ขึ้นครองราชย์อีกหลายพระองค์ด้วยกัน จนกระทั่งถึงรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่  1  จึงได้รับพระราชทานกฎหมายรัฐธรรมนูญให้กรีซในปี พ . ศ . 2407 ( ค . ศ . 1864)  ทำให้กรีซมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ
ยุคใหม่ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่  1  กองทัพกรีซอยู่ข้างฝ่ายสัมพันธมิตร และเข้ายึดครองเมืองเทรซ เมื่อสงครามโลกยุติ กรีซได้ส่งกองกำลังเข้าไปช่วยปลดปล่อยเมืองสเมอร์นาของตุรกี  ( ปัจจุบันคืออิซมีร์ )  ให้ได้รับอิสรภาพ เพราะเมืองนี้มีประชาชนชาวกรีกอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก กองกำลังกรีกถูกต่อต้านอย่างแข็งแกร่งจากกองทัพของอตาเติร์ก ซึ่งได้เข่นฆ่าชาวกรีกในเมืองนั้นเสียชีวิตลงเป็นจำนวนมาก ผลของสงครามนี้ทำให้มีการตกลงแลกเปลี่ยนพลเมืองของ  2  ประเทศกันในปี พ . ศ . 2466 ( ค . ศ . 1923)  ประชากรกรีกเพิ่มจำนวนประชากรมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีผู้อพยพชาวคริสเตียนมาอยู่ในกรีซมากถึง  1 , 300 , 000  คน ทำให้กรีซมีปัญหาด้านเศรษฐกิจตามมา คนเหล่านี้กระจายกันไปอยู่นอกเมือง ภายหลังมีการก่อตั้งสหภาพแรงงานต่าง ๆ ขึ้นในกลุ่มพวกอพยพที่อาศัยอยู่ตามหัวเมืองรอบนอก และในปี พ . ศ . 2479 ( ค . ศ . 1936)  พรรคคอมมิวนิสต์ในกรีซก็เติบโตและมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อย ๆ จากการสนับสนุนของประชาชนทั่วประเทศ
ปี พ . ศ . 2479 ( ค . ศ . 1936)  นายพลเมเตอซัส ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี เขาเป็นผู้ปกครองประเทศที่นิยมการปกครองแบบเผด็จการ ถึงแม้ว่าจะได้เห็นความเป็นไปในชะตากรรมของพวกนาซี แต่ตัวเขาเองกลับกระทำการต่าง ๆ ที่ทำให้เขาได้รับฉายาว่าเป็นภาพจำลองของอาณาจักรไรน์ในกรีซ นายพลเมเตอซัสทำการต่อต้านไม่ยอมให้เยอรมนีกับอิตาลีเดินทัพผ่านกรีซ ถึงแม้ว่ากลุ่มสัมพันธมิตรจะเข้าช่วยกรีซแต่กรีซก็ต้องตกเป็นของเยอรมนีในปี พ . ศ . 2484 ( ค . ศ . 1941)  เป็นผลให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงขึ้น มีการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล เกิดความวุ่นวายขึ้นในประเทศที่มีทั้งฝ่ายสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์และฝ่ายสนับสนุนสถาบันกษัตริย์ เป็นชนวนให้เกิดสงครามกลางเมืองนองเลือดขึ้นในกรีซ และยุติลงใน พ . ศ . 2492 ( ค . ศ . 1949)  โดยฝ่ายนิยมกษัตริย์อ้างชัยชนะ
ในช่วงเวลานั้นอเมริกากำลังเคร่งครัดในลัทธิทรูแมน รัฐบาลอเมริกาในขณะนั้น มีนโยบายให้เงินก้อนใหญ่สนับสนุนรัฐบาลที่ต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์ แต่ความกลัวลัทธิคอมมิวนิสต์จะครองเมืองทำให้คณะทหารของกรีซทำการปฏิวัติยึดอำนาจจากรัฐบาลเมื่อปี พ . ศ . 2510 ( ค . ศ . 1967)  กล่าวกันว่าการปฏิวัติในกรีซเป็นผลมาจากการแทรกแซงทางการเมืองของหน่วยงาน  CIA   ของสหรัฐอเมริกาที่เข้ามาปฏิบัติการในทวีปยุโรปกลุ่มทหารที่ครองอำนาจในกรัซทำตนมีอำนาจเหนือราษฎรและทำการกดขี่ข่มเหงประชาชน ยิ่งกว่านั้นคณะนายพลของทหารกรีซได้ทำการวางแผนลอบสังหารผู้นำของไซปรัสในขณะนั้น เป็นผลให้ตุรกีฉวยโอกาสเข้ารุกเข้ายึดครองตอนเหนือของไซปรัส ทำใหเหตุการณ์นี้เป็นข้อบาดหมางระหว่างกรีซกับตุรกีมาจนถึงทุกวันนี้
ในปี พ . ศ . 2524  กรีซเข้าเป็นสมาชิกสมาคมสหภาพยุโรป พรรคสังคมนิยม  PASOK  นำโดยนายแอนเดรียส์ ปาปันเดรโอ ชนะการเลือกตั้งได้เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลให้สัญญาว่าจะจัดการให้อเมริกาย้ายฐานทัพอากาศออกไปจากกรีซและกรีซจะถอนตัวจากการเป็นสมาชิกของนาโตแต่รัฐบาลทำไม่สำเร็จ สตรีชาวกรีซเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงประเพณีเรื่องสินสอดและเรียกร้องให้กฎหมายสนับสนุนการทำแท้งเสรีความไม่สงบในประเทศทำให้ปาปันเดรโอกับรัฐบาลของเขาเสียอำนาจการปกครองประเทศให้กับรัฐบาลผสมระหว่างพรรคอนุรักษ์นิยมกับพรรคคอมมิวนิสต์ในปี พ . ศ . 2532  การเลือกตั้งในกรีซเมื่อ พ . ศ . 2533  พรรคอนุรักษ์นิยมได้ที่นั่งมากที่สุดและได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศแต่ไม่สำเร็จ การเลือกตั้งใหม่ใน พ . ศ . 2536 กรีซได้ปาปันเดรโอผู้นำเฒ่าของพรรคเสรีนิยมกลับมาครองอำนาจกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง ท่านผู้นำถึงแก่อนิจกรรมใน พ . ศ . 2539 หลังจากที่ท่านลาออกจากตำแหน่งทางการเมืองกรีซได้ผู้นำคนใหม่ชื่อ คอสทาส สมิทิส ต่อมากรีซกับตุรกีขัดแย้งกันอย่างหนักจนใกล้จะระเบิดสงครามเมื่อผู้สื่อข่าวของตุรกีได้นำธงชาติกรีซมาย่ำยีเล่น สมิทิสได้รับการเลือกตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีกรีซอีกครั้ง รัฐบาลใหม่ให้สัญญากับประชาชนว่าจะเร่งการนำประเทศเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มอียู
การเมือง   อาคารรัฐสภากรีซ
กรีซมีการปกครองแบบสาธารณรัฐรัฐสภา หลังจากที่ประชาชนลงมติให้เลิกล้มการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเมื่อวันที่  8  ธันวาคม ค . ศ . 1974  วันประกาศอิสรภาพของกรีซคือวันที่  25  มีนาคม ค . ศ . 1821  รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของกรีซประกาศใช้เมื่อวันที่  11  มิถุนายน ค . ศ . 1975  แก้ไขเพิ่มเติม  2  ครั้ง คือ เดือนมีนาคม ค . ศ . 1986  และเดือนเมษายน ค . ศ . 2001
ระบบกฎหมายของกรีซมีพื้นฐานมาจากหลักกฎหมายของโรมัน กรีซมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ ประธานาธิบดีได้มาจากการเลือกตั้งของรัฐสภา อยู่ตำแหน่งคราวละ  5  ปี ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีที่ได้มาจากการเสนอชื่อของนายกรัฐมนตรี สมาชิกนิติบัญญัติได้มาจากการเลือกตั้งทั่วไป มีจำนวน  300  ที่นั่ง อยู่ในตำแหน่งคราวละ  4  ปี
การแบ่งเขตการปกครอง กรีซแบ่งการปกครองประเทศออกเป็น  13  แคว้น  ( peripheries )   มี  9  แคว้นบนพื้นแผ่นดินใหญ่ และ  4  แคว้นบนหมู่เกาะ แคว้นต่าง ๆ จะแบ่งเป็นจังหวัด รวม  54  จังหวัด  ( prefectures -   nomos )
 
1. อัตติกะ  ( Attica )  2 . เซนทรัลกรีซ  ( Central Greece )  3 . เซนทรัลมาซิโดเนีย  ( Central Macedonia )  4 . ครีต  ( Crete )  5 . อีสต์มาซิโดเนียและเทรซ  ( East Macedonia and Thrace )  6 . อิไพรัส  ( Epirus )  7 . อโอเนียนไอแลนส์  ( Ionian Islands )  8 . นอร์ทอีเจียน  ( North Aegean )  9 . เพโลพอนนีส  ( Peloponnese )  10 . เซาท์อีเจียน  ( South Aegean )  11 . เทสซาลี  ( Thessaly )  12 . เวสต์กรีซ  ( West Greece )  13 . เวสต์มาซิโดเนีย  ( West Macedonia ) นอกจากนี้ทางแถบมาซิโดเนีย ยังมี เขตปกครองตนเอง  ( autonomous region)   ของสงฆ์หนึ่งแห่ง คือ เมานต์อะทอส  ( Mount Athos)
ภูมิศาสตร์   ภูเขาโอลิมปัส
ประเทศกรีซประกอบด้วยแผ่นดินใหญ่ในทางทิศใต้ไปจนถึงแหลมบอลข่านและเกาะมากมายกว่า  3 , 000  เกาะ รวมทั้งเกาะครีต  ( Vrete)   เกาะโรด  ( Rhode)   เกาะไคออส  ( Chios)   เกาะเลสบอส  ( Lesbos)   เกาะยูบีอา  ( Euboea)  และหมู่เกาะโดเดคะนีส  ( Dodecanese)  และพวกไซแคลดิกทางทะเลอีเจียน ที่เหมือนกับชาวกรีกบนหมู่เกาะไอโอเนียน กรีซมีแนวชายฝั่งทะเลยาว  15 , 000  กิโลเมตร และเส้นแบ่งเขตแดน ยาว  1 , 160  กิโลเมตร
ราวๆ  80%  ของประเทศกรีซประกอบด้วยภูเขา และเนินเขา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กรีซเป็นประเทศหนึ่งในยุโรปที่มีภูเขามากที่สุด ทางตะวันตกของกรีซจะเป็นทะเลสาบและพื้นที่ชื้นแฉะพินดัส เป็นภูเขาทางตอนกลางซึ่งมีความสูงถึง  2 , 636  เมตร เมื่อพิจารณาดูแล้ว ภูเขาพินดัสอาจจะมีการขยายออกมาจากเทือกเขาดิแนริดได้ แนวเทือกเขาที่ต่อเนื่องกัน กลายเป็นแหลมเพโลพอนนีส เกาะคีทีรา  ( Kythera)  และเกาะแอนติคีทีรา  ( Antikythera)  พบที่จุดปลายของเกาะกรีก
ทางตอนกลางและทางตะวันตกของกรีซ เป็นที่สูงชัน มียอดเขาสูงที่แยกออก เป็นหุบเขาลึกมากมาย และมีลำธารระหว่างหุบเขาต่าง ๆ เช่น ช่องแคบ  Meteora  และ  Vikos   มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ  2  รองจากแกรนด์แคนยอนในสหรัฐอเมริกา ยอดเขาโอลิมปัสเป็นจุดที่สูงที่สุดของกรีซ คือ  2 , 919  เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ทางตอนเหนือก็ยังมีเทือกเขาสูง ๆ อีก อย่าง  Rhodope  ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของมาซิโดเนียและเทรซ พื้นที่นี้ถูกปกคลุมไปด้วย ป่าทึบเก่าแก่ขนาดใหญ่ เหมือนกับ  Dadia  ที่เป็นที่รู้จักกัน ทางตะวันออกของกรีซเต็มไปด้วยทุ่งกว้างมากมาย คือตรงตอนกลางของมาซิโดเนียและเทรซ โวลอสและลาริสซา เป็น  2  เมืองใหญ่ ของทางตะวันออกของกรีซ
สภาพอากาศ ของกรีซ แบ่งเป็น  3  ส่วน คือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เทือกเขาแอลป์ และ  Temperate  แบบแรก ภูมิประเทศแบบฝนตกในฤดูหนาว แห้งแล้งในฤดูร้อน อุณหภูมิไม่ค่อยสูง อย่างไรก็ตามก็มีหิมะตกบางในกรุงเอเธนส์ หมู่เกาะซิคละดิส หรือเกาะครีตมีสภาพอากาศหนาว เทือกเขาแอลป์ก่อตัวมาจากทางตะวันตกของกรีซ สภาพอากาศแบบสุดท้ายก่อตัวจากทางตอนกลางและทางมาซิโดเนียตะวันออก เทรซ  Xanthi  และ  Evros  เหนือ มีอากาศหนาว ชื้น ในฤดูหนาว และ แห้งแล้งในฤดูร้อน เป็นสิ่งที่มีค่ามากสำหรับกรุงเอเธนส์ที่ ตั้งอยู่ระหว่างสภาพอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน กับเทือกเขาแอลป์ ดังนั้นชานเมืองทางตอนใต้จะมีสภาพอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ในขณะที่ทางตอนเหนือมีสภาพอากาศแบบ เทือกเขาแอลป์
50%  ของประเทศกรีซ ถูกปกคลุมไปด้วยป่า ที่มีพืชนานาชนิด จากเทือกเขาแอลป์ ป่าสนของทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทะเลรอบ ๆ ประเทศกรีซ มีแมวน้ำ เต่าทะเล และสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลที่หายากอาศัยอยู่ ในขณะที่ป่าของกรีซ เป็นที่บ้านหลังสุดท้ายของยุโรปตะวันตก ที่มีหมีสีน้ำตาล แมวป่า กวางโร แกะป่า สุนัขจิ้งจอก และหมูป่า
ประชากร พ . ศ . 2548  มีข้อมูลประชากรประมาณ  11 , 244 , 118  คน  ( อันดับที่  74)  และความหนาแน่น  80.91/ กม ² ( อันดับที่  108)  ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์ทอดอกซ์  ( Geek Orthodox)
วัฒนธรรม กรีซมีชื่อเสียงทางเรื่องศิลปะเป็นต้นแบบของงานสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะเด่นและสง่างามของเสาหินแบบวิหารพาร์เธนอน ที่ตกแต่งตรงส่วนบนของหัวเสาด้วยศิลปะแบบกรีกมี  3  แบบ คือ ดอริก  ,  ไอโอนิก และคอรินเธียน จะเห็นเสาหินแบบกรีกเป็นส่วนตกแต่งด้านหน้าของอาคารสำคัญๆและสิ่งก่อสร้างที่เป็นงานสถาปัตยกรรมเลื่องชื่อของโลกตามเมืองหลวงของประเทศต่างๆในยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย สถานที่ทำงานสำคัญๆ ของประเทศที่มีชื่อเสียงต่างๆ ล้วนนำสถาปัตยกรรมศิลป์ของกรีซไปประยุคผสมผสาน ในการก่อสร้างเป็นการยอมรับในอารยธรรมที่รุ่งเรืองของกรีซโบราณและเป็นการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมที่เคยเฟื่องฟูในอดีตของกรีซไปทุกมุมโลกนอกจาก งานสถาปัตยกรรมที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของกรีซที่เผยแพร่ไปทั่วโลกแล้ว งานจิตรกรรมและประติมากรรมของกรีซยังเป็นมรดกล้ำค่าที่บรรดาพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ต่างๆ พยายามเสาะหามาเป็นสมบัติเก็บสะสมไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
นักปรัชญา เสาหลักของปรัชญาตะวันตกนักปรัชญากรีซที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกในฐานะ เสาหลักของปรัชญาตะวันตก มีอยู่  3 ท่านคือ โสเครติส เพลโต และอริสโตเติล
เพลโต นักปรัชญาประเทศกรีซ
เพลโต  เกิดที่กรุมเอเธนส์เมื่อ  428  ปี ก่อนคริสตกาล ท่านเป็นลูกศิษย์ของโสคราติสที่เคารพและเทิดทูลโสคราติสมาก เพลโตได้ตั้งวิทยาลัยสอนวิชาวิทยาศาสตร์และปรัชญาขึ้นเป็นแห่งแรกในกรุงเอเธนส์เมื่อ  387  ปีก่อนคริสต์ศักราช ผลงานเขียนของเพลโตเป็นคำสอนรูปของบทสนทนาในหนังสือชื่อ  The   Republic  ของเพลโต ท่านแยกพลเมืองออกเป็น  3  กลุ่มคือ ประชาชน ทหาร และผู้ปกครองประเทศ เพลโตเป็นผู้ให้หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับอธิปไตยไว้อย่างชัดเจนว่า หญิงและ ชาย มีฐานะเท่าเทียมกันและจะต้องได้รับการศึกษาเหมือนกัน รัฐจะต้องจัดการแต่งงานให้ประชาชน เด็กแรกเกิดจะถูกแยกจากพ่อ แม่เพื่อประชาชนจะได้ไม่มีความผูกพันเป็นส่วนตัวเพื่อให้ประชาชนมีความรู้สึกในความเป็นเจ้าของรัฐแต่เพียงอย่างเดียว
อริสโตเติล
อริสโตเติล  เกิดที่เมืองสตากิรา แคว้นมาซีโดเนีย เมื่อ  384  ปีก่อนคริสตกาล ท่านเดินทางไปเอเธนส์เพื่อศึกษาวิชาปรัชญาที่สำนักของเพลโตเมื่อ  367  ปีก่อนคริสตกาลและพำนักอยู่ที่นั่นเป็นเวลา  20  ปี จนกระทั่งเพลโตถึงแก่กรรม จึงเดินทางไปเผยแพร่คำสอนตามหลักปรัชญาของเพลโตในที่ต่างๆ เป็นเวลา  10 ปี แล้วจึงตั้งสำนักศึกษาของท่านเองชื่อว่า  The Lyceum  นาน  12  ปี  อริสโตเติลเป็นนักคิดคนแรกที่ค้นพบวิชา ตรรกวิทยา โดยอาศัยข้อเท็จจริง  2  ข้อ สนับสนุนกันและกัน เช้น ความดีทุกอย่างควรสรรเสริญ และความกรุณาก็เป็นความดีอันหนึ่ง ฉะนั้นความกรุณาจึงควรได้รับการสรรเสริญด้วย เป็นต้น วรรณคดี
นักกวี กวีสมัยโบราณที่ยิ่งใหญ่ของกรีซคือ โฮเมอร์กับ ฮีเสียดทั้ง  2  ท่านได้เขียนมหากาพย์ที่สำคัญ หลายเรื่อง และมหากาพย์เรื่องกรุงทรอยอยู่ด้วย นักเขียนนักค้นคว้าชื่อ เฮ็นริช ชีลมานน์ ได้ค้นคว้าเรื่องเมืองทรอย จนค้นพบว่ามีอยู่จริง ที่เมือง  Hissarlik  ทางตอนเหนือของตุรกีในอดีตกาล เมื่อพบเมืองทรอยแล้ว ชีลมานน์ขุดค้นพบประวัติศาสตร์ในยุคบรอนซ์ตามที่อ้างในมหากาพย์ของโฮเมอร์ต่อไป การขุดหาสมบัติในวรรณคดีของเขานำไปสู่การค้นพบ  3  นครสำคัญ ที่ได้ชื่อว่า กนกนคร ตามประวัติศาสตร์ในยุคสมัยของโฮเมอร์นั่นคือ  Mycenae , Tiryns  และ  Orchomenos   ก่อนที่นักเขียนนักค้นคว้าคนสำคัญของโลกจะตายไป เขาได้เผยให้เห็นเค้าโครงรูปร่างของอาณาจักรมาซิเนียนให้ประจักษ์แก่ตาชาวโลก
นักค้นคว้า นักค้นคว้าชื่อ อาร์เธอร์ อีแวนส์ค้นพบแหล่งอารยธรรมมิโนอัน และร่องรอยของอารยธรรมที่เคยรุ่งเรืองในอดีตของอาณาจักรไมนอส ซึ่งเป็นการยืนยันว่า โฮเมอร์ มหากวีเอกของโลกชาวกรีก ได้บันทึกเรื่องราวของยุคสมัยไว้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง มิได้เขียนขึ้นจากความคิดเพ้อฝันแต่อย่างใด
บรรณานุกรม ธนาคารกสิกรไทย  “  แหล่งท่องเที่ยวของกรีซ ,”  เมืองแห่งอารยธรรมโบราณและนักปราชญ์ . 27  กรกฏาคม  2552  <( www.kbeautifullife.com /html >. 13  พ . ย . 2533. จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี  “ ประเทศกรีซ ,”  ประเทศกรีซ .   13   พ . ย .  2553 < (  http :// th . wikipedia . org / wiki> .  13   พ . ย .  2553 Marketatnation  “ กรีซ ,”  กรีซ เลืองลืออารยธรรมโลก .   13   พ . ย .  53  < ( http :// www . marketatnation . com / country /elephant. html> .  13   พ . ย .  53
จัดทำโดย นางสาว สุพัตรา พยัฆชน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5/2  เลขที่  26

Contenu connexe

Tendances

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เพ็ญลักษณ์ สุวรรณาโชติ
 
การปฏิรูปศาสนา Religious Reformation
การปฏิรูปศาสนา Religious Reformationการปฏิรูปศาสนา Religious Reformation
การปฏิรูปศาสนา Religious ReformationWarinthorn Limpanakorn
 
อิทธิพลของคริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลาง ม.6.1
อิทธิพลของคริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลาง ม.6.1อิทธิพลของคริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลาง ม.6.1
อิทธิพลของคริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลาง ม.6.1Omm Suwannavisut
 
PowerPoint ประกอบการศึกษาเรื่องภูมิศาสตร์ประเทศไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเ...
PowerPoint ประกอบการศึกษาเรื่องภูมิศาสตร์ประเทศไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเ...PowerPoint ประกอบการศึกษาเรื่องภูมิศาสตร์ประเทศไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเ...
PowerPoint ประกอบการศึกษาเรื่องภูมิศาสตร์ประเทศไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเ...Earn Supeerapat
 
แนวคิดเสรีนิยม
แนวคิดเสรีนิยมแนวคิดเสรีนิยม
แนวคิดเสรีนิยมGolfzie Loliconer
 
4.4 อารยธรรมสมัยกลาง
4.4 อารยธรรมสมัยกลาง4.4 อารยธรรมสมัยกลาง
4.4 อารยธรรมสมัยกลางJitjaree Lertwilaiwittaya
 
8)หน่วยที่ 8 การเงิน การธนาคารppt
8)หน่วยที่ 8 การเงิน การธนาคารppt8)หน่วยที่ 8 การเงิน การธนาคารppt
8)หน่วยที่ 8 การเงิน การธนาคารpptapple_clubx
 
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศยุโรป
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศยุโรปผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศยุโรป
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศยุโรปPannaray Kaewmarueang
 
อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีนอารยธรรมจีน
อารยธรรมจีนInfinity FonFn
 
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมเมโสโปเตเมียอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมเมโสโปเตเมียtimtubtimmm
 
พุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายานพุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายานChainarong Maharak
 
การบริหารจิตและเจริญปัญญา
การบริหารจิตและเจริญปัญญาการบริหารจิตและเจริญปัญญา
การบริหารจิตและเจริญปัญญาพัน พัน
 
เอเชียไมเนอร์และกรีก 6.7 21-22
เอเชียไมเนอร์และกรีก 6.7 21-22เอเชียไมเนอร์และกรีก 6.7 21-22
เอเชียไมเนอร์และกรีก 6.7 21-22pnmn2122
 
สาระสำคัญของศาสนา
สาระสำคัญของศาสนา สาระสำคัญของศาสนา
สาระสำคัญของศาสนา Min Kannita
 

Tendances (20)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internetความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet
 
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
 
การปฏิรูปศาสนา Religious Reformation
การปฏิรูปศาสนา Religious Reformationการปฏิรูปศาสนา Religious Reformation
การปฏิรูปศาสนา Religious Reformation
 
อิทธิพลของคริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลาง ม.6.1
อิทธิพลของคริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลาง ม.6.1อิทธิพลของคริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลาง ม.6.1
อิทธิพลของคริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลาง ม.6.1
 
PowerPoint ประกอบการศึกษาเรื่องภูมิศาสตร์ประเทศไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเ...
PowerPoint ประกอบการศึกษาเรื่องภูมิศาสตร์ประเทศไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเ...PowerPoint ประกอบการศึกษาเรื่องภูมิศาสตร์ประเทศไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเ...
PowerPoint ประกอบการศึกษาเรื่องภูมิศาสตร์ประเทศไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเ...
 
แนวคิดเสรีนิยม
แนวคิดเสรีนิยมแนวคิดเสรีนิยม
แนวคิดเสรีนิยม
 
Microsoft power point presentation ใหม่
Microsoft power point presentation ใหม่Microsoft power point presentation ใหม่
Microsoft power point presentation ใหม่
 
4.4 อารยธรรมสมัยกลาง
4.4 อารยธรรมสมัยกลาง4.4 อารยธรรมสมัยกลาง
4.4 อารยธรรมสมัยกลาง
 
8)หน่วยที่ 8 การเงิน การธนาคารppt
8)หน่วยที่ 8 การเงิน การธนาคารppt8)หน่วยที่ 8 การเงิน การธนาคารppt
8)หน่วยที่ 8 การเงิน การธนาคารppt
 
องค์การโคมินฟอร์ม
องค์การโคมินฟอร์มองค์การโคมินฟอร์ม
องค์การโคมินฟอร์ม
 
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศยุโรป
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศยุโรปผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศยุโรป
ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศยุโรป
 
อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีนอารยธรรมจีน
อารยธรรมจีน
 
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมเมโสโปเตเมียอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
 
พุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายานพุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายาน
 
ปฏิรูปศาสนา
ปฏิรูปศาสนาปฏิรูปศาสนา
ปฏิรูปศาสนา
 
การบริหารจิตและเจริญปัญญา
การบริหารจิตและเจริญปัญญาการบริหารจิตและเจริญปัญญา
การบริหารจิตและเจริญปัญญา
 
เอเชียไมเนอร์และกรีก 6.7 21-22
เอเชียไมเนอร์และกรีก 6.7 21-22เอเชียไมเนอร์และกรีก 6.7 21-22
เอเชียไมเนอร์และกรีก 6.7 21-22
 
สาระสำคัญของศาสนา
สาระสำคัญของศาสนา สาระสำคัญของศาสนา
สาระสำคัญของศาสนา
 
5 behavior theory 15092558 (1)
5 behavior theory 15092558 (1)5 behavior theory 15092558 (1)
5 behavior theory 15092558 (1)
 
2 3
2 32 3
2 3
 

En vedette

ประวัติส่วนตัว 1
ประวัติส่วนตัว 1ประวัติส่วนตัว 1
ประวัติส่วนตัว 1Bill's Wonder
 
La didattica per il Lifelong Learning
La didattica per il Lifelong LearningLa didattica per il Lifelong Learning
La didattica per il Lifelong LearningEleonora Guglielman
 
Je donne une recherche documentaire à mes élèves
Je donne une recherche documentaire à mes élèvesJe donne une recherche documentaire à mes élèves
Je donne une recherche documentaire à mes élèvesChristophe Poupet
 
Biometri - utfordringer for personvernet
Biometri - utfordringer for personvernetBiometri - utfordringer for personvernet
Biometri - utfordringer for personvernetChristine Hafskjold
 
таємниця крилатого слова
таємниця крилатого словатаємниця крилатого слова
таємниця крилатого словаtai27
 
Évolution ou révolution?
Évolution ou révolution? Évolution ou révolution?
Évolution ou révolution? Frenskata
 

En vedette (9)

ประวัติส่วนตัว 1
ประวัติส่วนตัว 1ประวัติส่วนตัว 1
ประวัติส่วนตัว 1
 
EDITORIAL
EDITORIALEDITORIAL
EDITORIAL
 
Pass fail defense
Pass fail defensePass fail defense
Pass fail defense
 
La didattica per il Lifelong Learning
La didattica per il Lifelong LearningLa didattica per il Lifelong Learning
La didattica per il Lifelong Learning
 
Je donne une recherche documentaire à mes élèves
Je donne une recherche documentaire à mes élèvesJe donne une recherche documentaire à mes élèves
Je donne une recherche documentaire à mes élèves
 
Play cards
Play cardsPlay cards
Play cards
 
Biometri - utfordringer for personvernet
Biometri - utfordringer for personvernetBiometri - utfordringer for personvernet
Biometri - utfordringer for personvernet
 
таємниця крилатого слова
таємниця крилатого словатаємниця крилатого слова
таємниця крилатого слова
 
Évolution ou révolution?
Évolution ou révolution? Évolution ou révolution?
Évolution ou révolution?
 

Plus de SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL

เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถานเตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถานSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมานนางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมานSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนาสอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนาSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 

Plus de SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL (20)

Is
IsIs
Is
 
นัทธพงศ์ ดอนศรี.
นัทธพงศ์ ดอนศรี.นัทธพงศ์ ดอนศรี.
นัทธพงศ์ ดอนศรี.
 
นายคงศักดิ์ สงสุรีย์
นายคงศักดิ์ สงสุรีย์นายคงศักดิ์ สงสุรีย์
นายคงศักดิ์ สงสุรีย์
 
ปวีณ์ธิดา สีหวาด
ปวีณ์ธิดา สีหวาดปวีณ์ธิดา สีหวาด
ปวีณ์ธิดา สีหวาด
 
จารุวรรณ ลำพองชาติ
จารุวรรณ ลำพองชาติจารุวรรณ ลำพองชาติ
จารุวรรณ ลำพองชาติ
 
Isมิ้น
Isมิ้นIsมิ้น
Isมิ้น
 
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถานเตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
 
Isประเทศบังกลาเทศ
IsประเทศบังกลาเทศIsประเทศบังกลาเทศ
Isประเทศบังกลาเทศ
 
อาเซอร์ไบจาน
อาเซอร์ไบจานอาเซอร์ไบจาน
อาเซอร์ไบจาน
 
คองโก
คองโกคองโก
คองโก
 
Is1
Is1Is1
Is1
 
ตุรกี
ตุรกีตุรกี
ตุรกี
 
มัลดีฟ
มัลดีฟมัลดีฟ
มัลดีฟ
 
อาร์เมเนีย
อาร์เมเนียอาร์เมเนีย
อาร์เมเนีย
 
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมานนางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
 
สอบกลางภาค
สอบกลางภาคสอบกลางภาค
สอบกลางภาค
 
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนาสอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
 
จิราภา ธรรมรักษ์
จิราภา ธรรมรักษ์จิราภา ธรรมรักษ์
จิราภา ธรรมรักษ์
 
ณัฎฐณิชา
ณัฎฐณิชาณัฎฐณิชา
ณัฎฐณิชา
 
กลางภาค
กลางภาคกลางภาค
กลางภาค
 

ประเทศกรีซ502

  • 3. คำขวัญ (Eleutheria i thanatos) (&quot; อิสรภาพหรือความตาย &quot;)
  • 4. เมืองหลวง : เอเธนส์ ภาษาทางการ : ภาษากรีซ การปกครอง : สาธารณรัฐ ประธานาธิบดี : คาโรลอส พาพูลิอัส นายกรัฐมนตรี : จอร์จ พาพันเดรอู
  • 5. ประเทศกรีซ หรือมีชื่อประเทศเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเฮลเลนิก เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตอนใต้สุดของคาบสมุทรบอลข่าน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศบัลแกเรีย มาซิโดเนีย และแอลเบเนีย
  • 6. ชาวกรีก เรียกประเทศตัวเองว่า Hellas ซึ่งภาษากรีกในปัจจุบันออกเสียง ว่า Ellas โดยในการพูดทั่วไปจะใช้คำว่า Ellada และมักจะเรียกตัวเองว่า Hellenes แม้กระทั่งในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำภาษาอังกฤษ &quot; Greece&quot; มาจากชื่อละตินว่า Graecia หมายถึงพื้นที่ทางเหนือของกรีซในปัจจุบัน ซึ่งมีกลุ่มคนที่เรียกว่า Graikos อาศัยอยู่
  • 7. ประวัติศาสตร์ วิหารพาร์เธนอนในเอเธนส์
  • 8. ยุคโบราณ ในยุคสำริด 3 , 000-2 , 000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เป็นยุคที่อารยธรรมชนเผ่าไซแคลดิกและไมซีแนเอียนกำลังมีอิทธิพลรุ่งเรืองอยู่ในกรีซ แต่พอถึงศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล อิทธิพลของวัฒนธรรมไซแคลดิกและไมซีแนเอียนก็ถึงกาลเสื่อมสลายลง เพราะถูกรุกรานโดยนักรบเผ่าดอเรียน
  • 9. ช่วงเวลา 800 ปีก่อนคริสตกาล เป็นช่วงเวลาที่อารยธรรมกรีซเฟื่องฟูขึ้นมาอีกครั้ง วัฒนธรรมและกิจการทหารของกรีซเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด เมืองเอเธนส์ลัสปาต้าเป็นศูนย์กลางของอำนาจมหาอาณาจักรกรีซประกอบด้วยอิตาลีทางตอนใต้อันเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของอาณาจักรอันยิ่งใหญ่
  • 10. ในขณะที่สปาร์ตากำลังรุกรานกรีซอย่างย่ามใจทางตอนเหนือ พระเจ้าฟิลิปแห่งอาณาจักรมาซิโดเนียกำลังไล่ตีเมืองเล็กเมืองน้อยรุกคืบเข้ามาใกล้กรีซทุกที แต่ทว่าความทะเยอทะยานที่จะเป็นผู้พิชิตในภูมิภาคนี้ของพระเจ้าฟิลิปก็ถูกบดบังรัศมีโดยโอรสของพระองค์เองคือ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ผู้สามารถยาตราทัพไปถึงเอเชียไมเนอร์และอียิปต์
  • 11. ครั้นถึงปีที่ 205 ก่อนคริสต์ศักราช อิทธิพลของโรมันแผ่ขยายเข้ารุกรานกรีซ และเมื่อถึงปี 146 ก่อนคริสตกาล กรีซกับมาซิโดเนียตกอยู่ใต้การปกครองของโรมัน หลังจากที่มีการแบ่งอาณาจักรโรมันเป็นอาณาจักรตะวันออกและตะวันตก กรีซได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรไบแซนไทน์ และเมื่อเกิดสงครามครูเสดขึ้น อิทธิพลของอาณาจักรไบแซนไทน์ก็เสื่อมถอยเพราะถูกรุกรานโดยชาวเวนิส คาตาลัน เจนัว แฟรงก์ และนอร์มัน
  • 12. ยุคกลาง ในปี พ . ศ . 1996 ( ค . ศ . 1453) กรุงคอนสแตนติโนเปิล เมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์ถูกพวกเติร์กยึดครอง และเมื่อถึงปี พ . ศ . 2043 ( ค . ศ . 1500) ดินแดนของกรีซทั้งหมดก็ตกอยู่ใต้อำนาจของเติร์ก ดินแดนที่เป็นกรีซในปัจจุบันแต่ก่อนเป็นศูนย์กลางการค้าทางเรือของยุโรปตอนกลางและเป็นที่ชุนนุมนักปราชญ์กับศิลปินของโลก เพราะที่นี่เป็นหมู่บ้านกรีกที่มีประเพณีและวัฒนธรรมของกรีกออร์ทอดอกซ์ ในการทำสงครามเพื่อกู้เอกราชจากเติร์ก กรีซได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากนักคิด นักเขียน และนักปรัชญา เช่น ไบรอน แชลเลย์ และเกอเธ อย่างไรก็ตามการต่อสู้ที่ขาดเอกภาพของกรีซ ทำให้ฝรั่งเศส รัสเซีย และอังกฤษ ตัดสินใจเข้ามาแทรกแซง หลังจากกรีซได้รับเอกราชแล้ว กลุ่มอำนาจในยุโรปมีความเห็นว่ากรีซควรมีการปกครองระบบกษัตริย์จึงได้จัดการให้กษัตริย์ออตโตแห่งบาวาเรีย เป็นกษัตริย์ปกครองกรีซในปี พ . ศ . 2376 ( ค . ศ . 1833) หลังจากนั้นกรีซก็มีกษัตริย์ขึ้นครองราชย์อีกหลายพระองค์ด้วยกัน จนกระทั่งถึงรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 1 จึงได้รับพระราชทานกฎหมายรัฐธรรมนูญให้กรีซในปี พ . ศ . 2407 ( ค . ศ . 1864) ทำให้กรีซมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ
  • 13. ยุคใหม่ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 กองทัพกรีซอยู่ข้างฝ่ายสัมพันธมิตร และเข้ายึดครองเมืองเทรซ เมื่อสงครามโลกยุติ กรีซได้ส่งกองกำลังเข้าไปช่วยปลดปล่อยเมืองสเมอร์นาของตุรกี ( ปัจจุบันคืออิซมีร์ ) ให้ได้รับอิสรภาพ เพราะเมืองนี้มีประชาชนชาวกรีกอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก กองกำลังกรีกถูกต่อต้านอย่างแข็งแกร่งจากกองทัพของอตาเติร์ก ซึ่งได้เข่นฆ่าชาวกรีกในเมืองนั้นเสียชีวิตลงเป็นจำนวนมาก ผลของสงครามนี้ทำให้มีการตกลงแลกเปลี่ยนพลเมืองของ 2 ประเทศกันในปี พ . ศ . 2466 ( ค . ศ . 1923) ประชากรกรีกเพิ่มจำนวนประชากรมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีผู้อพยพชาวคริสเตียนมาอยู่ในกรีซมากถึง 1 , 300 , 000 คน ทำให้กรีซมีปัญหาด้านเศรษฐกิจตามมา คนเหล่านี้กระจายกันไปอยู่นอกเมือง ภายหลังมีการก่อตั้งสหภาพแรงงานต่าง ๆ ขึ้นในกลุ่มพวกอพยพที่อาศัยอยู่ตามหัวเมืองรอบนอก และในปี พ . ศ . 2479 ( ค . ศ . 1936) พรรคคอมมิวนิสต์ในกรีซก็เติบโตและมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อย ๆ จากการสนับสนุนของประชาชนทั่วประเทศ
  • 14. ปี พ . ศ . 2479 ( ค . ศ . 1936) นายพลเมเตอซัส ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี เขาเป็นผู้ปกครองประเทศที่นิยมการปกครองแบบเผด็จการ ถึงแม้ว่าจะได้เห็นความเป็นไปในชะตากรรมของพวกนาซี แต่ตัวเขาเองกลับกระทำการต่าง ๆ ที่ทำให้เขาได้รับฉายาว่าเป็นภาพจำลองของอาณาจักรไรน์ในกรีซ นายพลเมเตอซัสทำการต่อต้านไม่ยอมให้เยอรมนีกับอิตาลีเดินทัพผ่านกรีซ ถึงแม้ว่ากลุ่มสัมพันธมิตรจะเข้าช่วยกรีซแต่กรีซก็ต้องตกเป็นของเยอรมนีในปี พ . ศ . 2484 ( ค . ศ . 1941) เป็นผลให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงขึ้น มีการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล เกิดความวุ่นวายขึ้นในประเทศที่มีทั้งฝ่ายสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์และฝ่ายสนับสนุนสถาบันกษัตริย์ เป็นชนวนให้เกิดสงครามกลางเมืองนองเลือดขึ้นในกรีซ และยุติลงใน พ . ศ . 2492 ( ค . ศ . 1949) โดยฝ่ายนิยมกษัตริย์อ้างชัยชนะ
  • 15. ในช่วงเวลานั้นอเมริกากำลังเคร่งครัดในลัทธิทรูแมน รัฐบาลอเมริกาในขณะนั้น มีนโยบายให้เงินก้อนใหญ่สนับสนุนรัฐบาลที่ต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์ แต่ความกลัวลัทธิคอมมิวนิสต์จะครองเมืองทำให้คณะทหารของกรีซทำการปฏิวัติยึดอำนาจจากรัฐบาลเมื่อปี พ . ศ . 2510 ( ค . ศ . 1967) กล่าวกันว่าการปฏิวัติในกรีซเป็นผลมาจากการแทรกแซงทางการเมืองของหน่วยงาน CIA ของสหรัฐอเมริกาที่เข้ามาปฏิบัติการในทวีปยุโรปกลุ่มทหารที่ครองอำนาจในกรัซทำตนมีอำนาจเหนือราษฎรและทำการกดขี่ข่มเหงประชาชน ยิ่งกว่านั้นคณะนายพลของทหารกรีซได้ทำการวางแผนลอบสังหารผู้นำของไซปรัสในขณะนั้น เป็นผลให้ตุรกีฉวยโอกาสเข้ารุกเข้ายึดครองตอนเหนือของไซปรัส ทำใหเหตุการณ์นี้เป็นข้อบาดหมางระหว่างกรีซกับตุรกีมาจนถึงทุกวันนี้
  • 16. ในปี พ . ศ . 2524 กรีซเข้าเป็นสมาชิกสมาคมสหภาพยุโรป พรรคสังคมนิยม PASOK นำโดยนายแอนเดรียส์ ปาปันเดรโอ ชนะการเลือกตั้งได้เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลให้สัญญาว่าจะจัดการให้อเมริกาย้ายฐานทัพอากาศออกไปจากกรีซและกรีซจะถอนตัวจากการเป็นสมาชิกของนาโตแต่รัฐบาลทำไม่สำเร็จ สตรีชาวกรีซเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงประเพณีเรื่องสินสอดและเรียกร้องให้กฎหมายสนับสนุนการทำแท้งเสรีความไม่สงบในประเทศทำให้ปาปันเดรโอกับรัฐบาลของเขาเสียอำนาจการปกครองประเทศให้กับรัฐบาลผสมระหว่างพรรคอนุรักษ์นิยมกับพรรคคอมมิวนิสต์ในปี พ . ศ . 2532 การเลือกตั้งในกรีซเมื่อ พ . ศ . 2533 พรรคอนุรักษ์นิยมได้ที่นั่งมากที่สุดและได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศแต่ไม่สำเร็จ การเลือกตั้งใหม่ใน พ . ศ . 2536 กรีซได้ปาปันเดรโอผู้นำเฒ่าของพรรคเสรีนิยมกลับมาครองอำนาจกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง ท่านผู้นำถึงแก่อนิจกรรมใน พ . ศ . 2539 หลังจากที่ท่านลาออกจากตำแหน่งทางการเมืองกรีซได้ผู้นำคนใหม่ชื่อ คอสทาส สมิทิส ต่อมากรีซกับตุรกีขัดแย้งกันอย่างหนักจนใกล้จะระเบิดสงครามเมื่อผู้สื่อข่าวของตุรกีได้นำธงชาติกรีซมาย่ำยีเล่น สมิทิสได้รับการเลือกตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีกรีซอีกครั้ง รัฐบาลใหม่ให้สัญญากับประชาชนว่าจะเร่งการนำประเทศเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มอียู
  • 17. การเมือง อาคารรัฐสภากรีซ
  • 18. กรีซมีการปกครองแบบสาธารณรัฐรัฐสภา หลังจากที่ประชาชนลงมติให้เลิกล้มการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค . ศ . 1974 วันประกาศอิสรภาพของกรีซคือวันที่ 25 มีนาคม ค . ศ . 1821 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของกรีซประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ค . ศ . 1975 แก้ไขเพิ่มเติม 2 ครั้ง คือ เดือนมีนาคม ค . ศ . 1986 และเดือนเมษายน ค . ศ . 2001
  • 19. ระบบกฎหมายของกรีซมีพื้นฐานมาจากหลักกฎหมายของโรมัน กรีซมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ ประธานาธิบดีได้มาจากการเลือกตั้งของรัฐสภา อยู่ตำแหน่งคราวละ 5 ปี ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีที่ได้มาจากการเสนอชื่อของนายกรัฐมนตรี สมาชิกนิติบัญญัติได้มาจากการเลือกตั้งทั่วไป มีจำนวน 300 ที่นั่ง อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี
  • 20. การแบ่งเขตการปกครอง กรีซแบ่งการปกครองประเทศออกเป็น 13 แคว้น ( peripheries ) มี 9 แคว้นบนพื้นแผ่นดินใหญ่ และ 4 แคว้นบนหมู่เกาะ แคว้นต่าง ๆ จะแบ่งเป็นจังหวัด รวม 54 จังหวัด ( prefectures - nomos )
  • 21.  
  • 22. 1. อัตติกะ ( Attica ) 2 . เซนทรัลกรีซ ( Central Greece ) 3 . เซนทรัลมาซิโดเนีย ( Central Macedonia ) 4 . ครีต ( Crete ) 5 . อีสต์มาซิโดเนียและเทรซ ( East Macedonia and Thrace ) 6 . อิไพรัส ( Epirus ) 7 . อโอเนียนไอแลนส์ ( Ionian Islands ) 8 . นอร์ทอีเจียน ( North Aegean ) 9 . เพโลพอนนีส ( Peloponnese ) 10 . เซาท์อีเจียน ( South Aegean ) 11 . เทสซาลี ( Thessaly ) 12 . เวสต์กรีซ ( West Greece ) 13 . เวสต์มาซิโดเนีย ( West Macedonia ) นอกจากนี้ทางแถบมาซิโดเนีย ยังมี เขตปกครองตนเอง ( autonomous region) ของสงฆ์หนึ่งแห่ง คือ เมานต์อะทอส ( Mount Athos)
  • 23. ภูมิศาสตร์ ภูเขาโอลิมปัส
  • 24. ประเทศกรีซประกอบด้วยแผ่นดินใหญ่ในทางทิศใต้ไปจนถึงแหลมบอลข่านและเกาะมากมายกว่า 3 , 000 เกาะ รวมทั้งเกาะครีต ( Vrete) เกาะโรด ( Rhode) เกาะไคออส ( Chios) เกาะเลสบอส ( Lesbos) เกาะยูบีอา ( Euboea) และหมู่เกาะโดเดคะนีส ( Dodecanese) และพวกไซแคลดิกทางทะเลอีเจียน ที่เหมือนกับชาวกรีกบนหมู่เกาะไอโอเนียน กรีซมีแนวชายฝั่งทะเลยาว 15 , 000 กิโลเมตร และเส้นแบ่งเขตแดน ยาว 1 , 160 กิโลเมตร
  • 25. ราวๆ 80% ของประเทศกรีซประกอบด้วยภูเขา และเนินเขา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กรีซเป็นประเทศหนึ่งในยุโรปที่มีภูเขามากที่สุด ทางตะวันตกของกรีซจะเป็นทะเลสาบและพื้นที่ชื้นแฉะพินดัส เป็นภูเขาทางตอนกลางซึ่งมีความสูงถึง 2 , 636 เมตร เมื่อพิจารณาดูแล้ว ภูเขาพินดัสอาจจะมีการขยายออกมาจากเทือกเขาดิแนริดได้ แนวเทือกเขาที่ต่อเนื่องกัน กลายเป็นแหลมเพโลพอนนีส เกาะคีทีรา ( Kythera) และเกาะแอนติคีทีรา ( Antikythera) พบที่จุดปลายของเกาะกรีก
  • 26. ทางตอนกลางและทางตะวันตกของกรีซ เป็นที่สูงชัน มียอดเขาสูงที่แยกออก เป็นหุบเขาลึกมากมาย และมีลำธารระหว่างหุบเขาต่าง ๆ เช่น ช่องแคบ Meteora และ Vikos มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากแกรนด์แคนยอนในสหรัฐอเมริกา ยอดเขาโอลิมปัสเป็นจุดที่สูงที่สุดของกรีซ คือ 2 , 919 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ทางตอนเหนือก็ยังมีเทือกเขาสูง ๆ อีก อย่าง Rhodope ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของมาซิโดเนียและเทรซ พื้นที่นี้ถูกปกคลุมไปด้วย ป่าทึบเก่าแก่ขนาดใหญ่ เหมือนกับ Dadia ที่เป็นที่รู้จักกัน ทางตะวันออกของกรีซเต็มไปด้วยทุ่งกว้างมากมาย คือตรงตอนกลางของมาซิโดเนียและเทรซ โวลอสและลาริสซา เป็น 2 เมืองใหญ่ ของทางตะวันออกของกรีซ
  • 27. สภาพอากาศ ของกรีซ แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เทือกเขาแอลป์ และ Temperate แบบแรก ภูมิประเทศแบบฝนตกในฤดูหนาว แห้งแล้งในฤดูร้อน อุณหภูมิไม่ค่อยสูง อย่างไรก็ตามก็มีหิมะตกบางในกรุงเอเธนส์ หมู่เกาะซิคละดิส หรือเกาะครีตมีสภาพอากาศหนาว เทือกเขาแอลป์ก่อตัวมาจากทางตะวันตกของกรีซ สภาพอากาศแบบสุดท้ายก่อตัวจากทางตอนกลางและทางมาซิโดเนียตะวันออก เทรซ Xanthi และ Evros เหนือ มีอากาศหนาว ชื้น ในฤดูหนาว และ แห้งแล้งในฤดูร้อน เป็นสิ่งที่มีค่ามากสำหรับกรุงเอเธนส์ที่ ตั้งอยู่ระหว่างสภาพอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน กับเทือกเขาแอลป์ ดังนั้นชานเมืองทางตอนใต้จะมีสภาพอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ในขณะที่ทางตอนเหนือมีสภาพอากาศแบบ เทือกเขาแอลป์
  • 28. 50% ของประเทศกรีซ ถูกปกคลุมไปด้วยป่า ที่มีพืชนานาชนิด จากเทือกเขาแอลป์ ป่าสนของทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทะเลรอบ ๆ ประเทศกรีซ มีแมวน้ำ เต่าทะเล และสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลที่หายากอาศัยอยู่ ในขณะที่ป่าของกรีซ เป็นที่บ้านหลังสุดท้ายของยุโรปตะวันตก ที่มีหมีสีน้ำตาล แมวป่า กวางโร แกะป่า สุนัขจิ้งจอก และหมูป่า
  • 29. ประชากร พ . ศ . 2548 มีข้อมูลประชากรประมาณ 11 , 244 , 118 คน ( อันดับที่ 74) และความหนาแน่น 80.91/ กม ² ( อันดับที่ 108) ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์ทอดอกซ์ ( Geek Orthodox)
  • 30. วัฒนธรรม กรีซมีชื่อเสียงทางเรื่องศิลปะเป็นต้นแบบของงานสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะเด่นและสง่างามของเสาหินแบบวิหารพาร์เธนอน ที่ตกแต่งตรงส่วนบนของหัวเสาด้วยศิลปะแบบกรีกมี 3 แบบ คือ ดอริก , ไอโอนิก และคอรินเธียน จะเห็นเสาหินแบบกรีกเป็นส่วนตกแต่งด้านหน้าของอาคารสำคัญๆและสิ่งก่อสร้างที่เป็นงานสถาปัตยกรรมเลื่องชื่อของโลกตามเมืองหลวงของประเทศต่างๆในยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย สถานที่ทำงานสำคัญๆ ของประเทศที่มีชื่อเสียงต่างๆ ล้วนนำสถาปัตยกรรมศิลป์ของกรีซไปประยุคผสมผสาน ในการก่อสร้างเป็นการยอมรับในอารยธรรมที่รุ่งเรืองของกรีซโบราณและเป็นการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมที่เคยเฟื่องฟูในอดีตของกรีซไปทุกมุมโลกนอกจาก งานสถาปัตยกรรมที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของกรีซที่เผยแพร่ไปทั่วโลกแล้ว งานจิตรกรรมและประติมากรรมของกรีซยังเป็นมรดกล้ำค่าที่บรรดาพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ต่างๆ พยายามเสาะหามาเป็นสมบัติเก็บสะสมไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • 33. เพลโต เกิดที่กรุมเอเธนส์เมื่อ 428 ปี ก่อนคริสตกาล ท่านเป็นลูกศิษย์ของโสคราติสที่เคารพและเทิดทูลโสคราติสมาก เพลโตได้ตั้งวิทยาลัยสอนวิชาวิทยาศาสตร์และปรัชญาขึ้นเป็นแห่งแรกในกรุงเอเธนส์เมื่อ 387 ปีก่อนคริสต์ศักราช ผลงานเขียนของเพลโตเป็นคำสอนรูปของบทสนทนาในหนังสือชื่อ The Republic ของเพลโต ท่านแยกพลเมืองออกเป็น 3 กลุ่มคือ ประชาชน ทหาร และผู้ปกครองประเทศ เพลโตเป็นผู้ให้หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับอธิปไตยไว้อย่างชัดเจนว่า หญิงและ ชาย มีฐานะเท่าเทียมกันและจะต้องได้รับการศึกษาเหมือนกัน รัฐจะต้องจัดการแต่งงานให้ประชาชน เด็กแรกเกิดจะถูกแยกจากพ่อ แม่เพื่อประชาชนจะได้ไม่มีความผูกพันเป็นส่วนตัวเพื่อให้ประชาชนมีความรู้สึกในความเป็นเจ้าของรัฐแต่เพียงอย่างเดียว
  • 35. อริสโตเติล เกิดที่เมืองสตากิรา แคว้นมาซีโดเนีย เมื่อ 384 ปีก่อนคริสตกาล ท่านเดินทางไปเอเธนส์เพื่อศึกษาวิชาปรัชญาที่สำนักของเพลโตเมื่อ 367 ปีก่อนคริสตกาลและพำนักอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 20 ปี จนกระทั่งเพลโตถึงแก่กรรม จึงเดินทางไปเผยแพร่คำสอนตามหลักปรัชญาของเพลโตในที่ต่างๆ เป็นเวลา 10 ปี แล้วจึงตั้งสำนักศึกษาของท่านเองชื่อว่า The Lyceum นาน 12 ปี อริสโตเติลเป็นนักคิดคนแรกที่ค้นพบวิชา ตรรกวิทยา โดยอาศัยข้อเท็จจริง 2 ข้อ สนับสนุนกันและกัน เช้น ความดีทุกอย่างควรสรรเสริญ และความกรุณาก็เป็นความดีอันหนึ่ง ฉะนั้นความกรุณาจึงควรได้รับการสรรเสริญด้วย เป็นต้น วรรณคดี
  • 36. นักกวี กวีสมัยโบราณที่ยิ่งใหญ่ของกรีซคือ โฮเมอร์กับ ฮีเสียดทั้ง 2 ท่านได้เขียนมหากาพย์ที่สำคัญ หลายเรื่อง และมหากาพย์เรื่องกรุงทรอยอยู่ด้วย นักเขียนนักค้นคว้าชื่อ เฮ็นริช ชีลมานน์ ได้ค้นคว้าเรื่องเมืองทรอย จนค้นพบว่ามีอยู่จริง ที่เมือง Hissarlik ทางตอนเหนือของตุรกีในอดีตกาล เมื่อพบเมืองทรอยแล้ว ชีลมานน์ขุดค้นพบประวัติศาสตร์ในยุคบรอนซ์ตามที่อ้างในมหากาพย์ของโฮเมอร์ต่อไป การขุดหาสมบัติในวรรณคดีของเขานำไปสู่การค้นพบ 3 นครสำคัญ ที่ได้ชื่อว่า กนกนคร ตามประวัติศาสตร์ในยุคสมัยของโฮเมอร์นั่นคือ Mycenae , Tiryns และ Orchomenos ก่อนที่นักเขียนนักค้นคว้าคนสำคัญของโลกจะตายไป เขาได้เผยให้เห็นเค้าโครงรูปร่างของอาณาจักรมาซิเนียนให้ประจักษ์แก่ตาชาวโลก
  • 37. นักค้นคว้า นักค้นคว้าชื่อ อาร์เธอร์ อีแวนส์ค้นพบแหล่งอารยธรรมมิโนอัน และร่องรอยของอารยธรรมที่เคยรุ่งเรืองในอดีตของอาณาจักรไมนอส ซึ่งเป็นการยืนยันว่า โฮเมอร์ มหากวีเอกของโลกชาวกรีก ได้บันทึกเรื่องราวของยุคสมัยไว้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง มิได้เขียนขึ้นจากความคิดเพ้อฝันแต่อย่างใด
  • 38. บรรณานุกรม ธนาคารกสิกรไทย “ แหล่งท่องเที่ยวของกรีซ ,” เมืองแห่งอารยธรรมโบราณและนักปราชญ์ . 27 กรกฏาคม 2552 <( www.kbeautifullife.com /html >. 13 พ . ย . 2533. จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี “ ประเทศกรีซ ,” ประเทศกรีซ . 13 พ . ย . 2553 < ( http :// th . wikipedia . org / wiki> . 13 พ . ย . 2553 Marketatnation “ กรีซ ,” กรีซ เลืองลืออารยธรรมโลก . 13 พ . ย . 53 < ( http :// www . marketatnation . com / country /elephant. html> . 13 พ . ย . 53
  • 39. จัดทำโดย นางสาว สุพัตรา พยัฆชน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 เลขที่ 26