SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  6
บทที่ 1ความรู้เบื้องต้นของระบบภูมิคุ้มกัน<br />        ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์มีอยู่ทั่วร่างกาย เปรียบเหมือนกองทัพทหารที่ป้องกันประเทศ ประกอบด้วย ต่อมน้ำเหลือง (เป็นที่อยู่ของเซลล์เม็ดเลือดขาว) คือ หน่วยทหาร และท่อน้ำเหลือง ที่ภายในจะเป็น น้ำเหลือง และเซลล์เม็ดเลือดขาว เชื่อมต่อระหว่างต่อมน้ำเหลืองด้วยกันเอง และเชื่อมต่อเข้ากับเส้นเลือด คือ เส้นทางเดินทัพของทหาร ม้าม ไขกระดูก ต่อมทอนซิล Payer's patch ที่อยู่ตามเยื่อบุทางเดินอาหาร เป็นที่ตั้งฐานทัพของทหาร        สิ่งแปลกปลอมต่างๆรวมทั้งจุลชีพก่อโรคจะผ่านเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองจากตำแหน่งที่เข้าสู่ร่างกาย เข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองเฉพาะที่ และผ่านทางเส้นเลือดและท่อน้ำเหลืองกระจายไปทั่วร่างกาย เซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน        เซลล์ที่ทำหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกัน สร้างมาจาก stem cells ที่อยู่ในไขกระดูก แบ่งเป็น 1) เซลล์ที่ทำหน้าที่กินสิ่งแปลกปลอม เช่น macrophage, monocyte, neutrophil 2) เซลล์ที่มี granule จำนวนมาก ได้แก่ eosinophil, basophil และ 3) เซลล์เม็ดเลือดขาวขนาดเล็กที่เรียกว่า เซลล์ลิมโฟไซท์ (lymphocyte) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ     B cells และ T cells            B cells ทำหน้าที่ผลิตภูมิคุ้มกันชนิดสารน้ำที่เรียกว่า แอนติบอดี โดยที่ B cell จะถูกกระตุ้นด้วยแอนติเจน แล้วจึงเปลี่ยนเป็น plasma cells เพื่อสร้างแอนติบอดีจำเพาะต่อแอนติเจนนั้น            T cells ทำหน้าที่ด้านการตอบสนองทางด้านเซลล์ เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือจุลชีพแบ่งเป็น 1) เซลล์ CD4 หรือ helper T (Th) cells เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีแอนติเจนชนิด CD4 บนผนังเซลล์ ทำหน้าที่ส่งเสริมเรียกเซลล์เม็ดเลือดขาวอื่น เช่น B cell ในการสร้างแอนติบอดีจำเพาะ และ T cells เพื่อการเปลี่ยนเป็น cytotoxic T cells (CTL) ดังนั้น CD4+ T cells จึงมีความสำคัญมาก เพราะมีส่วนร่วมในการทำให้มีภูมิคุ้มกันทั้งแบบเซลล์และสารน้ำ 2) เซลล์ CD8 หรือ killer cells หรือ suppressor cells เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีแอนติเจนชนิด CD8 บนผนังเซลล์ ทำหน้าที่ทำลายเซลล์ที่ผิดปกติหรือที่ติดเชื้อจุลชีพ        เซลล์เม็ดเลือดขาวพวกนี้จะรู้ได้ว่าเซลล์ชนิดใดเป็นสิ่งแปลกปลอม จากที่เซลล์ชนิดนั้นไม่มีโมเลกุลที่ผิวเซลล์ HLA class I ชนิดเดียวกับเซลล์เม็ดเลือดขาวนั้น ส่วนสิ่งแปลกปลอมที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เรียกว่า แอนติเจน (antigen) และตำแหน่งบนแอนติเจนที่จำเพาะในการกระตุ้นเรียกว่า epitope แบ่งเป็น B-cell epitope กระตุ้น B-cell เพื่อสร้างแอนติบอดีจำเพาะ และ T-cell epitope กระตุ้น T-cell <br />แอนติบอดี        แอนติบอดี หรือ อิมมูโนโกลบูลิน (immunoglobulin) เป็นโปรตีนที่มีรูปร่างคล้ายตัว Y เปรียบเหมือนรถยนต์ ที่จะเปลี่ยนสีและรูปร่าง ตามลักษณะของเชื้อโรคที่จำเพาะนั้นๆ โดยที่ส่วนยอดของตัว Y จะมีความหลากหลายมากไม่เหมือนกันในแอนติบอดีจำเพาะต่อแอนติเจนแต่ละชนิด เรียกว่า variable region เป็นตำแหน่งที่จับกับแอนติเจน ส่วนที่โคนตัว Y ของโมเลกุลแอนติบอดีจะบ่งบอกถึงชนิดของแอนติบอดีว่าเป็น class ไหน เช่น IgG, IgA, IgM, IgD, IgE เรียกว่า constant region แอนติบอดีกระจายอยู่ตามท่อน้ำเหลือง และเส้นเลือด แอนติบอดีจะจับกับสิ่งแปลกปลอม หรือจุลชีพที่เข้ามาในร่างกาย เพื่อการทำลายจุลชีพนั้นๆ แอนติบอดีชนิด secretory IgA จะอยู่ตามช่องเยื่อบุต่างๆ ในน้ำตา น้ำลาย สารหลั่งในช่องทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ ท่อปัสสาวะ ช่องคลอด เป็นต้น เพื่อยับยั้งไม่ให้จุลชีพ หรือสิ่งแปลกปลอมผ่านเข้าร่างกายทางเยื่อบุ Cytokines        เป็นโปรตีนที่สร้างจากเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อสื่อสารกันระหว่างเซลล์ cytokines ที่สร้างจาก T- และ B- cells ที่เรียกว่า lymphokines ได้แก่ interleukin (IL)และ interferon ส่วนที่สร้างจาก monocytes และ macrophage เรียกว่า monokines โดย cytokines ที่หลั่งออกมาอาจทำหน้าที่เรียกเซลล์เม็ดเลือดขาวให้มารวมกันที่ตำแหน่งที่มีสิ่งแปลกปลอม กระตุ้นการเพิ่มจำนวนเซลล์ ทำให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันมีการเปลี่ยนแปลง และ ทำลายเซลล์ <br />ระบบ Complement         เป็นระบบที่ประกอบด้วยการทำงานอย่างต่อเนื่องของโปรตีนหลายชนิด เพื่อช่วยแอนติบอดีในการทำลายแบคทีเรีย โดยที่โปรตีนเหล่านี้อยู่ในกระแสเลือดในรูปของ inactive form ปฏิกิริยา complement เริ่มจาก โปรตีน C1 ถูกกระตุ้นด้วยแอนติบอดีที่จับกับแอนติเจนเป็น antigen-antibody complex แล้วจึงมีการกระตุ้นโปรตีนในระบบอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เซลล์เสียสมดุลของภายในเซลล์ ด้วยการเกิดรูที่ผิวเซลล์ เซลล์จึงถูกทำลายMajor histocompatibility complex (MHC)         Peter Gorer เป็นผู้กล่าวถึง MHC ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1936 เกี่ยวกับแอนติเจนที่ผิวเซลล์เม็ดเลือดแดงของหนู ต่อมามีการศึกษาต่อว่าแอนติเจนในกลุ่มนี้เกี่ยวข้องกับกลุ่มแอนติเจนที่สำคัญกับการรับหรือต่อต้านการเปลี่ยนอวัยวะ ที่เรียกว่า histocompatibility antigens และเรียกชื่อว่า histocompatibility-2 (H-2) จนกระทั่งในช่วงปลายทศวรรษ 1960 จึงพบความเกี่ยวข้องแอนติเจนนี้กับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน และแบ่งเป็นสองชนิดตามตำแหน่งบนยีน เป็น class I และ class II         ในมนุษย์มีการพบว่า human leukocyte antigen (HLA) system นั้นเป็นกลุ่มของยีนที่สร้างแอนติเจนเหมือน MHC genes ในหนู โดยที่ class I คือ HLA-A, -B, -C และ class II คือ HLA-DP, DQ และDR แอนติเจนทั้งสอง classes ถูกสร้างอยู่ที่ผิวเซลล์ เกี่ยวข้องกับแอนติเจนที่แสดงว่าเซลล์นั้นเป็นเซลล์ของตัวเอง ปกติแอนติเจน MHC class I จะพบเพียง 1% ของโปรตีนที่อยู่ที่ผิวเซลล์ทั่วไป แต่จะเพิ่มปริมาณมากขึ้นเมื่อถูกกระตุ้นด้วย cytokines บางชนิด เช่น interferon gamma สำหรับ Class II MHC อยู่ที่ผิวเซลล์เฉพาะ เช่น dendritic cells, macrophage, B cells, activated T-cellsNatural killer หรือ NK cells        อินเตอร์เฟอรอน (Interferon) ที่ถูกสร้างขึ้นจากเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส กระตุ้นให้เซลล์ NK เพิ่มจำนวน ซึ่งจะไปทำลายเซลล์ติดเชื้อไวรัสแบบไม่จำเพาะ โดยไวรัสทำให้โมเลกุล MHC1 ที่ผิวเซลล์ลดลง เซลล์ NK จะทำลายเซลล์นั้นแต่ไม่ทำลายเซลล์ที่มีโมเลกุล MHC1 เป็นปกติ นอกจากนี้เซลล์ติดเชื้อไวรัสที่มีแอนติบอดีมาจับที่ผิวเซลล์ตรงที่มีส่วน epitopes ของไวรัสปรากฎอยู่ จะทำให้เซลล์ NK และ CTL มาทำลายเซลล์นั้นได้ เรียกว่า Antibody dependent cellular cytotoxicity (ADCC)<br />
บทที่ 1
บทที่ 1
บทที่ 1
บทที่ 1
บทที่ 1

Contenu connexe

Tendances

ชีววิทยาเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน Immune system
ชีววิทยาเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน Immune systemชีววิทยาเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน Immune system
ชีววิทยาเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน Immune systemkasidid20309
 
โครงสร้างและหน้าที่ระบบปัสสาวะ 2560
โครงสร้างและหน้าที่ระบบปัสสาวะ 2560โครงสร้างและหน้าที่ระบบปัสสาวะ 2560
โครงสร้างและหน้าที่ระบบปัสสาวะ 2560Aphisit Aunbusdumberdor
 
ระบบขับถ่าย (T) 1 2560
ระบบขับถ่าย (T) 1 2560ระบบขับถ่าย (T) 1 2560
ระบบขับถ่าย (T) 1 2560Thitaree Samphao
 
ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด Thitaree Samphao
 
หลักพยาธิบ.5การอักเสบ pptx
หลักพยาธิบ.5การอักเสบ pptx หลักพยาธิบ.5การอักเสบ pptx
หลักพยาธิบ.5การอักเสบ pptx pop Jaturong
 
เรื่อง ระบบหายใจ
เรื่อง  ระบบหายใจเรื่อง  ระบบหายใจ
เรื่อง ระบบหายใจNichapa Banchakiat
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์Thanyalux Kanthong
 
ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือดระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือดWan Ngamwongwan
 
เรื่อง เนื้อเยื่อ tissue น้องๆสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ slide ด้านล่่า...
เรื่อง เนื้อเยื่อ tissue น้องๆสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ slide ด้านล่่า...เรื่อง เนื้อเยื่อ tissue น้องๆสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ slide ด้านล่่า...
เรื่อง เนื้อเยื่อ tissue น้องๆสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ slide ด้านล่่า...kasidid20309
 
บทที่ 3 ระบบร่างกาย ม.2
บทที่ 3 ระบบร่างกาย ม.2บทที่ 3 ระบบร่างกาย ม.2
บทที่ 3 ระบบร่างกาย ม.2Wichai Likitponrak
 
ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือดระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือดjoongka3332
 
บทที่ 2 เซลล์และการทำงานของเซลล์ II(เซลล์ของสิ่งมีชีวิต)
บทที่ 2 เซลล์และการทำงานของเซลล์ II(เซลล์ของสิ่งมีชีวิต)บทที่ 2 เซลล์และการทำงานของเซลล์ II(เซลล์ของสิ่งมีชีวิต)
บทที่ 2 เซลล์และการทำงานของเซลล์ II(เซลล์ของสิ่งมีชีวิต)Yaovaree Nornakhum
 
ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด Thitaree Samphao
 

Tendances (20)

Ppt immunity ชีววิทยา ม.5
Ppt immunity ชีววิทยา ม.5Ppt immunity ชีววิทยา ม.5
Ppt immunity ชีววิทยา ม.5
 
ชีววิทยาเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน Immune system
ชีววิทยาเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน Immune systemชีววิทยาเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน Immune system
ชีววิทยาเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน Immune system
 
โครงสร้างและหน้าที่ระบบปัสสาวะ 2560
โครงสร้างและหน้าที่ระบบปัสสาวะ 2560โครงสร้างและหน้าที่ระบบปัสสาวะ 2560
โครงสร้างและหน้าที่ระบบปัสสาวะ 2560
 
Lesson 1 homeostasis
Lesson 1 homeostasisLesson 1 homeostasis
Lesson 1 homeostasis
 
Unit 7
Unit 7Unit 7
Unit 7
 
ระบบขับถ่าย (T) 1 2560
ระบบขับถ่าย (T) 1 2560ระบบขับถ่าย (T) 1 2560
ระบบขับถ่าย (T) 1 2560
 
Movement
MovementMovement
Movement
 
Body system
Body systemBody system
Body system
 
ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด
 
การดำรงชีพ
การดำรงชีพการดำรงชีพ
การดำรงชีพ
 
หลักพยาธิบ.5การอักเสบ pptx
หลักพยาธิบ.5การอักเสบ pptx หลักพยาธิบ.5การอักเสบ pptx
หลักพยาธิบ.5การอักเสบ pptx
 
เรื่อง ระบบหายใจ
เรื่อง  ระบบหายใจเรื่อง  ระบบหายใจ
เรื่อง ระบบหายใจ
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือดระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด
 
เรื่อง เนื้อเยื่อ tissue น้องๆสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ slide ด้านล่่า...
เรื่อง เนื้อเยื่อ tissue น้องๆสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ slide ด้านล่่า...เรื่อง เนื้อเยื่อ tissue น้องๆสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ slide ด้านล่่า...
เรื่อง เนื้อเยื่อ tissue น้องๆสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ slide ด้านล่่า...
 
บทที่ 3 ระบบร่างกาย ม.2
บทที่ 3 ระบบร่างกาย ม.2บทที่ 3 ระบบร่างกาย ม.2
บทที่ 3 ระบบร่างกาย ม.2
 
ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือดระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด
 
บทที่ 2 เซลล์และการทำงานของเซลล์ II(เซลล์ของสิ่งมีชีวิต)
บทที่ 2 เซลล์และการทำงานของเซลล์ II(เซลล์ของสิ่งมีชีวิต)บทที่ 2 เซลล์และการทำงานของเซลล์ II(เซลล์ของสิ่งมีชีวิต)
บทที่ 2 เซลล์และการทำงานของเซลล์ II(เซลล์ของสิ่งมีชีวิต)
 
Animal tissue
Animal tissueAnimal tissue
Animal tissue
 
ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด
 

Similaire à บทที่ 1

บทที่ 1เรื่องภูมิคุ้มกัน
บทที่ 1เรื่องภูมิคุ้มกันบทที่ 1เรื่องภูมิคุ้มกัน
บทที่ 1เรื่องภูมิคุ้มกันJurarud Porkhum
 
ระบบภูมิคุ้มกัน (1).pptx
ระบบภูมิคุ้มกัน (1).pptxระบบภูมิคุ้มกัน (1).pptx
ระบบภูมิคุ้มกัน (1).pptxBewwyKh1
 
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)สำเร็จ นางสีคุณ
 
นำเสนอหน้าชั้นเรื่อง เซลล์สิ่งมีชีวิต
นำเสนอหน้าชั้นเรื่อง  เซลล์สิ่งมีชีวิตนำเสนอหน้าชั้นเรื่อง  เซลล์สิ่งมีชีวิต
นำเสนอหน้าชั้นเรื่อง เซลล์สิ่งมีชีวิตChidchanok Puy
 
นำเสนอหน้าชั้นเรื่อง เซลล์สิ่งมีชีวิต
นำเสนอหน้าชั้นเรื่อง  เซลล์สิ่งมีชีวิตนำเสนอหน้าชั้นเรื่อง  เซลล์สิ่งมีชีวิต
นำเสนอหน้าชั้นเรื่อง เซลล์สิ่งมีชีวิตChidchanok Puy
 
Biology bio10
 Biology bio10 Biology bio10
Biology bio10Bios Logos
 
ระบบภูมิคุ้มกัน & Transfer factor www.ครูภูมิคุ้มกัน.com
ระบบภูมิคุ้มกัน & Transfer factor www.ครูภูมิคุ้มกัน.comระบบภูมิคุ้มกัน & Transfer factor www.ครูภูมิคุ้มกัน.com
ระบบภูมิคุ้มกัน & Transfer factor www.ครูภูมิคุ้มกัน.comผู้ชายบ้านๆ รักอิสระ
 
What is Transfer Factor (TF)?
What is Transfer Factor (TF)?What is Transfer Factor (TF)?
What is Transfer Factor (TF)?4life 4healthy
 
โครงงานคอม การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
โครงงานคอม   การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิตโครงงานคอม   การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
โครงงานคอม การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิตPathitta Satethakit
 
สรีรวิทยา (part 1)
สรีรวิทยา (part 1)สรีรวิทยา (part 1)
สรีรวิทยา (part 1)pitsanu duangkartok
 
9789740330530
97897403305309789740330530
9789740330530CUPress
 
การลำเลียงสารผ่านเซลล์
การลำเลียงสารผ่านเซลล์การลำเลียงสารผ่านเซลล์
การลำเลียงสารผ่านเซลล์Peangjit Chamnan
 
Product training by nut 22 jan 2011
Product training by nut 22 jan 2011Product training by nut 22 jan 2011
Product training by nut 22 jan 2011pyopyo
 
502การย่อยอาหารจุลทรีย์ สัตว คน
502การย่อยอาหารจุลทรีย์ สัตว คน502การย่อยอาหารจุลทรีย์ สัตว คน
502การย่อยอาหารจุลทรีย์ สัตว คนThitiporn Parama
 
ดุลยภาพสิ่งมีชีวิต
ดุลยภาพสิ่งมีชีวิตดุลยภาพสิ่งมีชีวิต
ดุลยภาพสิ่งมีชีวิตWichai Likitponrak
 

Similaire à บทที่ 1 (20)

บทที่ 1เรื่องภูมิคุ้มกัน
บทที่ 1เรื่องภูมิคุ้มกันบทที่ 1เรื่องภูมิคุ้มกัน
บทที่ 1เรื่องภูมิคุ้มกัน
 
ระบบภูมิคุ้มกัน (1).pptx
ระบบภูมิคุ้มกัน (1).pptxระบบภูมิคุ้มกัน (1).pptx
ระบบภูมิคุ้มกัน (1).pptx
 
Immune2551
Immune2551Immune2551
Immune2551
 
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
 
นำเสนอหน้าชั้นเรื่อง เซลล์สิ่งมีชีวิต
นำเสนอหน้าชั้นเรื่อง  เซลล์สิ่งมีชีวิตนำเสนอหน้าชั้นเรื่อง  เซลล์สิ่งมีชีวิต
นำเสนอหน้าชั้นเรื่อง เซลล์สิ่งมีชีวิต
 
นำเสนอหน้าชั้นเรื่อง เซลล์สิ่งมีชีวิต
นำเสนอหน้าชั้นเรื่อง  เซลล์สิ่งมีชีวิตนำเสนอหน้าชั้นเรื่อง  เซลล์สิ่งมีชีวิต
นำเสนอหน้าชั้นเรื่อง เซลล์สิ่งมีชีวิต
 
Biology bio10
 Biology bio10 Biology bio10
Biology bio10
 
ระบบภูมิคุ้มกัน & Transfer factor www.ครูภูมิคุ้มกัน.com
ระบบภูมิคุ้มกัน & Transfer factor www.ครูภูมิคุ้มกัน.comระบบภูมิคุ้มกัน & Transfer factor www.ครูภูมิคุ้มกัน.com
ระบบภูมิคุ้มกัน & Transfer factor www.ครูภูมิคุ้มกัน.com
 
What is Transfer Factor (TF)?
What is Transfer Factor (TF)?What is Transfer Factor (TF)?
What is Transfer Factor (TF)?
 
โครงงานคอม การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
โครงงานคอม   การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิตโครงงานคอม   การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
โครงงานคอม การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
 
Kingdom protista
Kingdom protistaKingdom protista
Kingdom protista
 
สรีรวิทยา (part 1)
สรีรวิทยา (part 1)สรีรวิทยา (part 1)
สรีรวิทยา (part 1)
 
Stem cell คืออะไร
Stem cell คืออะไรStem cell คืออะไร
Stem cell คืออะไร
 
Transportation body
Transportation bodyTransportation body
Transportation body
 
9789740330530
97897403305309789740330530
9789740330530
 
การลำเลียงสารผ่านเซลล์
การลำเลียงสารผ่านเซลล์การลำเลียงสารผ่านเซลล์
การลำเลียงสารผ่านเซลล์
 
Product training by nut 22 jan 2011
Product training by nut 22 jan 2011Product training by nut 22 jan 2011
Product training by nut 22 jan 2011
 
502การย่อยอาหารจุลทรีย์ สัตว คน
502การย่อยอาหารจุลทรีย์ สัตว คน502การย่อยอาหารจุลทรีย์ สัตว คน
502การย่อยอาหารจุลทรีย์ สัตว คน
 
Body
BodyBody
Body
 
ดุลยภาพสิ่งมีชีวิต
ดุลยภาพสิ่งมีชีวิตดุลยภาพสิ่งมีชีวิต
ดุลยภาพสิ่งมีชีวิต
 

บทที่ 1

  • 1. บทที่ 1ความรู้เบื้องต้นของระบบภูมิคุ้มกัน<br />        ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์มีอยู่ทั่วร่างกาย เปรียบเหมือนกองทัพทหารที่ป้องกันประเทศ ประกอบด้วย ต่อมน้ำเหลือง (เป็นที่อยู่ของเซลล์เม็ดเลือดขาว) คือ หน่วยทหาร และท่อน้ำเหลือง ที่ภายในจะเป็น น้ำเหลือง และเซลล์เม็ดเลือดขาว เชื่อมต่อระหว่างต่อมน้ำเหลืองด้วยกันเอง และเชื่อมต่อเข้ากับเส้นเลือด คือ เส้นทางเดินทัพของทหาร ม้าม ไขกระดูก ต่อมทอนซิล Payer's patch ที่อยู่ตามเยื่อบุทางเดินอาหาร เป็นที่ตั้งฐานทัพของทหาร        สิ่งแปลกปลอมต่างๆรวมทั้งจุลชีพก่อโรคจะผ่านเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองจากตำแหน่งที่เข้าสู่ร่างกาย เข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองเฉพาะที่ และผ่านทางเส้นเลือดและท่อน้ำเหลืองกระจายไปทั่วร่างกาย เซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน        เซลล์ที่ทำหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกัน สร้างมาจาก stem cells ที่อยู่ในไขกระดูก แบ่งเป็น 1) เซลล์ที่ทำหน้าที่กินสิ่งแปลกปลอม เช่น macrophage, monocyte, neutrophil 2) เซลล์ที่มี granule จำนวนมาก ได้แก่ eosinophil, basophil และ 3) เซลล์เม็ดเลือดขาวขนาดเล็กที่เรียกว่า เซลล์ลิมโฟไซท์ (lymphocyte) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ     B cells และ T cells            B cells ทำหน้าที่ผลิตภูมิคุ้มกันชนิดสารน้ำที่เรียกว่า แอนติบอดี โดยที่ B cell จะถูกกระตุ้นด้วยแอนติเจน แล้วจึงเปลี่ยนเป็น plasma cells เพื่อสร้างแอนติบอดีจำเพาะต่อแอนติเจนนั้น            T cells ทำหน้าที่ด้านการตอบสนองทางด้านเซลล์ เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือจุลชีพแบ่งเป็น 1) เซลล์ CD4 หรือ helper T (Th) cells เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีแอนติเจนชนิด CD4 บนผนังเซลล์ ทำหน้าที่ส่งเสริมเรียกเซลล์เม็ดเลือดขาวอื่น เช่น B cell ในการสร้างแอนติบอดีจำเพาะ และ T cells เพื่อการเปลี่ยนเป็น cytotoxic T cells (CTL) ดังนั้น CD4+ T cells จึงมีความสำคัญมาก เพราะมีส่วนร่วมในการทำให้มีภูมิคุ้มกันทั้งแบบเซลล์และสารน้ำ 2) เซลล์ CD8 หรือ killer cells หรือ suppressor cells เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีแอนติเจนชนิด CD8 บนผนังเซลล์ ทำหน้าที่ทำลายเซลล์ที่ผิดปกติหรือที่ติดเชื้อจุลชีพ        เซลล์เม็ดเลือดขาวพวกนี้จะรู้ได้ว่าเซลล์ชนิดใดเป็นสิ่งแปลกปลอม จากที่เซลล์ชนิดนั้นไม่มีโมเลกุลที่ผิวเซลล์ HLA class I ชนิดเดียวกับเซลล์เม็ดเลือดขาวนั้น ส่วนสิ่งแปลกปลอมที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เรียกว่า แอนติเจน (antigen) และตำแหน่งบนแอนติเจนที่จำเพาะในการกระตุ้นเรียกว่า epitope แบ่งเป็น B-cell epitope กระตุ้น B-cell เพื่อสร้างแอนติบอดีจำเพาะ และ T-cell epitope กระตุ้น T-cell <br />แอนติบอดี        แอนติบอดี หรือ อิมมูโนโกลบูลิน (immunoglobulin) เป็นโปรตีนที่มีรูปร่างคล้ายตัว Y เปรียบเหมือนรถยนต์ ที่จะเปลี่ยนสีและรูปร่าง ตามลักษณะของเชื้อโรคที่จำเพาะนั้นๆ โดยที่ส่วนยอดของตัว Y จะมีความหลากหลายมากไม่เหมือนกันในแอนติบอดีจำเพาะต่อแอนติเจนแต่ละชนิด เรียกว่า variable region เป็นตำแหน่งที่จับกับแอนติเจน ส่วนที่โคนตัว Y ของโมเลกุลแอนติบอดีจะบ่งบอกถึงชนิดของแอนติบอดีว่าเป็น class ไหน เช่น IgG, IgA, IgM, IgD, IgE เรียกว่า constant region แอนติบอดีกระจายอยู่ตามท่อน้ำเหลือง และเส้นเลือด แอนติบอดีจะจับกับสิ่งแปลกปลอม หรือจุลชีพที่เข้ามาในร่างกาย เพื่อการทำลายจุลชีพนั้นๆ แอนติบอดีชนิด secretory IgA จะอยู่ตามช่องเยื่อบุต่างๆ ในน้ำตา น้ำลาย สารหลั่งในช่องทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ ท่อปัสสาวะ ช่องคลอด เป็นต้น เพื่อยับยั้งไม่ให้จุลชีพ หรือสิ่งแปลกปลอมผ่านเข้าร่างกายทางเยื่อบุ Cytokines        เป็นโปรตีนที่สร้างจากเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อสื่อสารกันระหว่างเซลล์ cytokines ที่สร้างจาก T- และ B- cells ที่เรียกว่า lymphokines ได้แก่ interleukin (IL)และ interferon ส่วนที่สร้างจาก monocytes และ macrophage เรียกว่า monokines โดย cytokines ที่หลั่งออกมาอาจทำหน้าที่เรียกเซลล์เม็ดเลือดขาวให้มารวมกันที่ตำแหน่งที่มีสิ่งแปลกปลอม กระตุ้นการเพิ่มจำนวนเซลล์ ทำให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันมีการเปลี่ยนแปลง และ ทำลายเซลล์ <br />ระบบ Complement         เป็นระบบที่ประกอบด้วยการทำงานอย่างต่อเนื่องของโปรตีนหลายชนิด เพื่อช่วยแอนติบอดีในการทำลายแบคทีเรีย โดยที่โปรตีนเหล่านี้อยู่ในกระแสเลือดในรูปของ inactive form ปฏิกิริยา complement เริ่มจาก โปรตีน C1 ถูกกระตุ้นด้วยแอนติบอดีที่จับกับแอนติเจนเป็น antigen-antibody complex แล้วจึงมีการกระตุ้นโปรตีนในระบบอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เซลล์เสียสมดุลของภายในเซลล์ ด้วยการเกิดรูที่ผิวเซลล์ เซลล์จึงถูกทำลายMajor histocompatibility complex (MHC)         Peter Gorer เป็นผู้กล่าวถึง MHC ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1936 เกี่ยวกับแอนติเจนที่ผิวเซลล์เม็ดเลือดแดงของหนู ต่อมามีการศึกษาต่อว่าแอนติเจนในกลุ่มนี้เกี่ยวข้องกับกลุ่มแอนติเจนที่สำคัญกับการรับหรือต่อต้านการเปลี่ยนอวัยวะ ที่เรียกว่า histocompatibility antigens และเรียกชื่อว่า histocompatibility-2 (H-2) จนกระทั่งในช่วงปลายทศวรรษ 1960 จึงพบความเกี่ยวข้องแอนติเจนนี้กับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน และแบ่งเป็นสองชนิดตามตำแหน่งบนยีน เป็น class I และ class II         ในมนุษย์มีการพบว่า human leukocyte antigen (HLA) system นั้นเป็นกลุ่มของยีนที่สร้างแอนติเจนเหมือน MHC genes ในหนู โดยที่ class I คือ HLA-A, -B, -C และ class II คือ HLA-DP, DQ และDR แอนติเจนทั้งสอง classes ถูกสร้างอยู่ที่ผิวเซลล์ เกี่ยวข้องกับแอนติเจนที่แสดงว่าเซลล์นั้นเป็นเซลล์ของตัวเอง ปกติแอนติเจน MHC class I จะพบเพียง 1% ของโปรตีนที่อยู่ที่ผิวเซลล์ทั่วไป แต่จะเพิ่มปริมาณมากขึ้นเมื่อถูกกระตุ้นด้วย cytokines บางชนิด เช่น interferon gamma สำหรับ Class II MHC อยู่ที่ผิวเซลล์เฉพาะ เช่น dendritic cells, macrophage, B cells, activated T-cellsNatural killer หรือ NK cells        อินเตอร์เฟอรอน (Interferon) ที่ถูกสร้างขึ้นจากเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส กระตุ้นให้เซลล์ NK เพิ่มจำนวน ซึ่งจะไปทำลายเซลล์ติดเชื้อไวรัสแบบไม่จำเพาะ โดยไวรัสทำให้โมเลกุล MHC1 ที่ผิวเซลล์ลดลง เซลล์ NK จะทำลายเซลล์นั้นแต่ไม่ทำลายเซลล์ที่มีโมเลกุล MHC1 เป็นปกติ นอกจากนี้เซลล์ติดเชื้อไวรัสที่มีแอนติบอดีมาจับที่ผิวเซลล์ตรงที่มีส่วน epitopes ของไวรัสปรากฎอยู่ จะทำให้เซลล์ NK และ CTL มาทำลายเซลล์นั้นได้ เรียกว่า Antibody dependent cellular cytotoxicity (ADCC)<br />