SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  7
Télécharger pour lire hors ligne


มองโลกตามความเป็นจริงในยุค Cyber... หายนะของประเทศที่ไร้ทิศทาง
ผมเชื่อว่าคนใน Generation ใหม่ที่อยู่ในโลก Cyber space ซึ่งถือว่าเป็นคนยุคใหม่ที่มอง
โลกตามความเป็นจริง ต่างก็คงจะมีความเห็นว่าอินเตอร์เนตคือระบบที่สับสนวุ่นวายไม่มีกฏ
ระเบียบ พร้อมกับเชื่อว่า "โลกไซเบอร์ได้กลายเป็นสมรภูมิระหว่างประเทศแห่งใหม่"
อินเตอร์เนต ซึ่งไม่อยู่ภายใต้องค์กรที่มีอำนาจปกครองใดๆและไม่มีกองกำลังตำรวจเพื่อ
บังคับใช้กฎหมาย จึงมีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศต่างๆทั่วโลก รัฐทุกแห่งต้องยืน
อย่างโดดเดี่ยวหรือมีพันธมิตรที่ไม่สามารถไว้ใจกันได้อย่างเต็มที่ โดยทุกรัฐบาลต้องดิ้นรน
เสริมสร้างความแข็งแกร่งและแนวป้องกันตัวเองในโลกไซเบอร์ ในขณะที่ต้องคอยพะวงวิตก
ว่าความคืบหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบอินเตอร์เนตของรัฐคู่แข่งจะเป็นภัย
คุกคามโดยตรงต่อความมั่นคงของตนหรือไม่
การมีแสนยานุภาพทางทหารที่เหนือกว่ามากมาย และเทคโนโลยีสื่อสารที่ล้ำหน้ากว่าทุก
ประเทศ ทำให้สหรัฐอเมริกาตกเป็นเป้าการโจมตีในโลกไซเบอร์มากที่สุด โดยเท่าที่ผ่านมามี
กลุ่มแฮกเกอร์ที่เรียกตัวเองว่า Moonlight Maze (ช่องทางปริศนาใต้แสงจันทร์) ได้ใช้เครื่อง
มือล้ำหน้าทันสมัยชั้นสูงในการบุกรุกฐานข้อมูลของหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐนับร้อยๆแห่ง รวม
ทั้ง NASA, Pentagon และที่อื่นๆ
การโจมตีในปี 1998 ที่ลงเอยด้วยการโจรกรรมเอกสาร หนังสือสัญญา ข้อความที่บันทีกเป็น
โค๊ดลับ และข้อมูลสำคัญที่มีความอ่อนไหวและเป็นความลับของทางราชการนับร้อยๆรายการ
TELECOM REPORT 1
โดย พันเอกเศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม

วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
TELECOM REPORT
แต่การสอบสวนของรัฐบาลสหรัฐที่ใช้เวลานานหลายปีหลังจากนั้นก็ไม่สามารถพบคำตอบ
อะไรได้ ยกเว้นอยู่อย่างเดียวที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลพอจะสรุปได้คือต้นต่อของการโจมตีครั้งนั้นมา
จากที่อยู่ IP Address ในรัสเซีย 7 แห่ง
เนื่องจากระบบอินเตอร์เนตไม่มีโครงสร้างในการบังคับใช้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง หรือรูปแบบ
อำนาจการสอบสวน ขณะนี้จึงยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการโจมตีครั้งนั้นมีรัฐบาลไหนหนุนหลัง
สนับสนุนอยู่หรือไม่ และรัฐบาลสหรัฐก็ยังไม่สามารถแน่ใจได้ว่ารัฐบาลรัสเซียจะบริสุทธิ์ไม่
เกี่ยวข้องจริงหรือไม่ ซึ่งนำไปสู่ความสงสัยไม่ไว้วางใจกันตลอดมา
เมื่อเร็วๆนี้ ตัวหนอนไวรัส Stuxnet ที่มีชื่อเป็นที่รู้จักกันทั่วไปได้พิสูจน์ให้เห็นว่ารัฐบาลต่างๆยัง
ตกเป็นเป้าการโจมตีในโลกไซเบอร์ได้ เท่าที่ปรากฏมา เป้าหมายใหญ่ของไวรัส Stuxnet คือ
โรงปฏิกรณ์นิวเคลียของอิหร่าน ซึ่งได้กลายเป็นตัวอย่างรายแรกของสงครามไซเบอร์อย่าง
เต็มรูปแบบ โดย Kaspersky Labs บริษัทที่ให้บริการซอร์ฟแวร์สำหรับการรักษาความ
ปลอดภัยของรัสเซียที่ได้รับมอบหมายให้สอบสวนเรื่องไวรัสตัวนี้ ได้สรุปแต่เพียงว่าการโจมตี
ครั้งนั้นจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีรัฐบาลสนับสนุนอยู่เบื้องหลังเท่านั้น
ข้อสรุปนี้ถือเป็นกรณีฝันร้ายทางการทูต เนื่องจากมันแสดงว่ารัฐบาลประเทศหนึ่งสามารถเปิด
ฉากโจมตีอีกประเทศหนึ่งได้อย่างลอยนวลโดยไม่ต้องรับโทษ กับทั้งไม่ทิ้งร่องรอยอะไรไว้ที่จะ
ใช้สาวไปถึงต้นตอได้
ทฤษฎีมองโลกตามข้อเท็จจริงยุคใหม่กล่าวว่าถ้ายังปล่อยให้สถานการณ์เป็นอยู่เช่นนี้ต่อไป
มันจะนำไปสู่สภาพที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิงในเรื่องการไว้เนื้อเชื่อใจในเวทีของสถาบันนานาชาติ
เนื่องจากรัฐทุกแห่งจะวิตกว่าอาจจะตกเป็นเป้าโจมตี แล้วหันไปเลือกที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยว
เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง
คำพูดของคุณอาดามส์ จากบทความ Adams, James. "Virtual Defense" Foreign Affairs
Vol. 80, No. 3 (May - Jun., 2001), pp. 98-112 คือคำทำนายล่วงหน้าที่น่าสะพรึงกลัวเกี่ยว
กับสภาพปัจจุบัน เขาอธิบายโดยเรียกกลุ่ม Moonlight Maze ว่าเป็นเพียงตัวอย่างของภัยที่
จะตามมา พร้อมกับเตือนถึงความเป็นไปได้ที่ว่าการแฮกค์เจาะล้วงข้อมูลระบบป้องกันประเทศ
ระบบบริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน และข้อมูลความลับของบริษัทเอกชนและเศรษฐกิจของ
ประเทศ จะสร้างความวุ่นวายโกลาหลจนทำให้ประเทศเป็นอัมพาตเดินต่อไปไมได้ เขาระบุชื่อ
หลายประเทศที่มีท่าทีทั้งที่เป็นมิตรและเป็นปฏิปักษ์ต่อสหรัฐ ที่พยายามบรรลุความคืบหน้า
ด้านขีดความสามารถในการต่อสู้ในโลกไซเบอร์ โดยเน้นไปที่ประเทศจีน
ถ้าดูสถิติการใช้จ่ายลงทุนด้านป้องกันประเทศของสหรัฐ มันคงจะยากที่ประเทศใดจะแซงหน้า
สหรัฐทางด้านแสนยานุภาพทางทหารในอนาคตอันใกล้นี้ และยิ่งถ้าดูตัวอย่างของอดีต
สหภาพโซเวียตเดิมที่ได้ทุ่มงบประมาณทางด้านนี้จนประเทศต้องล้มละลาย จึงคงจะไม่มี
ประเทศอื่นใดที่จะคิดสั้นโดดลงมาเสริมสร้างอาวุธแข่งกับสหรัฐ
แต่อย่างไรก็ตาม ตามหลักทฤษฎีของคนยุคใหม่ที่มองโลกตามความเป็นจริง ประเทศที่ไม่เป็น
มิตรจะเริ่มใช้จ่ายทรัพยากรเพื่อผลิตอาวุธไซเบอร์ซึ่งจะสร้างความได้เปรียบที่ไม่สอดคล้องกับ
TELECOM REPORT 2
ฐานะหรือขนาดของตนเพื่อที่จะเอาชนะสหรัฐแบบไม่ต้องยิงกระสุนแม้แต่นัดเดียว เพราะฉะนั้น
คุณอาดามส์จึงเสนอว่าวิธีที่จะแก้สถานการณ์นี้คือการให้อำนาจทางกฎหมายแก่กระทรวง
กลาโหมสหรัฐในการติดตามตรวจสอบข้อมูลอินเตอร์เนต ถึงแม้จะไปกระทบสิทธิเสรีภาพขั้น
พื้นฐานของประชาชน ซึ่งในความเห็นของเขาเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำเนื่องจากการโจมตีทาง
ไซเบอร์ที่ร้ายแรงกว่าที่เขาเชื่อ กำลังใกล้จะเกิดขึ้น
แก๊งหัวก้าวหน้ายุคใหม่จับมือนักเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์
ถึงแม้จุดยืนของคนยุคใหม่ที่มองโลกตามความเป็นจริงจะมีเหตุผลฟังขึ้น เนื่องจากปัญหา
ความมั่นคงที่ยากจะแก้ไขและน่าสะพรึงกลัว แต่กลุ่มนี้ก็มีจุดอ่อนชัดเจนในการรับมือกับการ
ก่อการร้ายในโลกไซเบอร์ ปัญหาแรกคือคนยุคใหม่ที่มองโลกตามความเป็นจริงจะพิจารณา
วิเคราะห์เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐเท่านั้น และไม่ได้คิดถึงพวกที่อยู่นอกภาครัฐ ซึ่ง
สถานะนี้คงจะยังเหมาะสมถ้าภาระกิจจะมีเพียงการศึกษาวิเคราะห์สงครามในรูปแบบเดิม
เนื่องจากมันเป็นเรื่องยากที่พวกที่อยู่นอกอำนาจรัฐจะสามารถระดมพลหรือรวบรวมอาวุธมาก
พอที่จะมาต่อสู้กับรัฐ
แต่ในสมรภูมิไซเบอร์ ใครก็สามารถริเริ่มทำการโจมตีได้ โดยกลุ่มบริษัทธุรกิจ กลุ่มผล
ประโยชน์ต่างๆ องค์กรก่อการร้าย และบุคคลทั่วไปก็มีความสามารถเท่าเทียมกันที่จะทำความ
เสียหายได้ถ้ามีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์บ้างพอสมควร และเป็นที่น่ากังวลว่าในสงคราม
ไซเบอร์ มันเกือบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะเห็นหรือคาดการล่วงหน้าได้ว่ากำลังจะมีเหตุถูกโจมตี และ
เนื่องจากลักษณะพื้นฐานของอินเตอร์เนตที่ครอบคลุมไปทั่วโลกและมีสถานะที่เปลี่ยนแปลงได้
ตลอดเวลา มันจึงเป็นการยากที่ภาครัฐจะหวังถอดชนวนของอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรู
โจมตีตอบโต้ในโลกไซเบอร์
ในความเห็นของพวกหัวก้าวหน้ายุคใหม่ ปัญหาความมั่นคงที่ยากต่อการแก้ไขยังมีทางออก
โดยการจัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศขึ้นใหม่ ถึงแม้จะเป็นเรื่องยุ่งยากที่จะจัดตั้งสถาบัน
ระหว่างประเทศที่ประกอบด้วยสมาชิกทั้งจากภาครัฐและภาคอื่นๆที่เน้นภาระกิจด้านการรักษา
ความมั่นคงของโลกไซเบอร์ แต่องค์กรดังกล่าวจะช่วยลดสภาพปัญหาความไม่แน่นอนที่
รัฐบาลต่างๆกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้
ในทางทฤษฎี สมาชิกแต่ละประเทศขององค์กรดังกล่าวจะเปิดเผยขีดความสามารถของตน
เสนอวิธีที่ประเทศสมาชิกจะรับรู้และติดตามการเคลื่อนไหวของแต่ละฝ่ายในโลกไซเบอร์ แลก
เปลี่ยนเทคโนโลยีด้านการป้องกันภัย ส่งเสริมสร้างความไว้ใจซึ่งกันและกัน และสร้างความ
โปร่งใส ซึ่งถ้าทำได้ตามนี้ ประเทศสมาชิกจะรู้ได้ว่าสมาชิกรายใดอยู่เบื้องหลังการโจมตีที่อาจ
เกิดขึ้นในอนาคตเพื่อจะได้ลงโทษสมาชิกรายนั้น
ส่วนการโจมตีที่มาจากภายนอกก็จะมีการสอบสวนและติดตามโดยใช้ทรัพยากรของประเทศ
สมาชิกที่รวมตัวกัน แทนที่จะมีประเทศใดประเทศหนึ่งดำเนินการตามลำพังแต่เพียงฝ่ายเดียว
แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าการจะมีองค์กรแบบนี้ได้ ประเทศสมาชิกจะต้องยอมเปิดเผยข้อมูลของ
ตนเพิ่มขึ้นมากกว่าที่อยากทำ เนื่องจากอาจจะยังกังวลว่าจะนำไปสู่การบั่นทอนฐานะของตน
TELECOM REPORT 3
ในขณะที่ประเทศใหญ่ๆของโลกคงจะเลี่ยงไม่เข้าร่วมเพราะไม่อยากต้องมารับรู้ รับผิดชอบต่อ
การเคลื่อนไหวด้านสงครามไซเบอร์ของตนที่ได้ทำไปก่อนหน้านี้
ทางค่ายนักเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์ย้ำถึงความสำคัญของความหมายสัญลักษณ์และความ
คิดเห็น อิริกสันและจิโอคอมเมลโล มอง "การเมืองในรูปแบบสัญลักษณ์ว่าเป็นประเด็นที่
เกี่ยวข้องอย่างมากกับการศึกษาปัญหาความมั่นคงในยุคดิจิตอล"
อินเตอร์เนตเป็นเครื่องมือสำหรับการแบ่งปันข้อมูล แต่มันเป็นสื่อที่มีลักษณะพิเศษที่มีชีวิตใน
ตัวเองและมีเอกลักษณ์ที่มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปได้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นจึงสำคัญที่จะ
ต้องเข้าใจว่าในหลายกรณี ข่าวสารที่แพร่กระจายบนอินเตอร์เนต และปฏิกิริยาของผู้ใช้หลาย
คนสะท้อนถึงอิทธิพลทางวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของอินเตอร์เนต แน่นอนถึงแม้ว่าจะมีปัญหา
ด้านความมั่นคงที่แก้ไขได้ยาก แต่แนวคิดของกลุ่มคนยุคใหม่ที่มองโลกตามความเป็นจริงก็
ยังไม่มีข้อเสนอใดๆที่จะมารับมือกับอารมณ์หรือแนวคิดที่เป็นปฏิปักษ์ที่อาจมีขึ้นมา และซึ่งมี
โอกาสจะทำความเสียหายผ่านอินเตอร์เนตได้มากเหมือนกัน
"พวกเราคือกลุ่มนิรนาม เราคือตำนาน เราไม่ยกโทษ เราไม่ลืม จงคอยพวกเราไว้" คำพูดเหล่า
นี้ฟังดูเหมือนคำขู่ที่ออกจากปากตัวละครผู้ร้ายในภาพยนต์ แต่จริงๆแล้วเป็นประโยคพ่วงท้าย
ประกาศทุกฉบับของกลุ่มที่มีชื่ออื้อฉาวในอินเตอร์เนตที่เรียกตัวเองว่า "Anonymous
" (นิรนาม)
Anonymous เป็นกลุ่มที่มีเป้าหมายสร้างจิตรสำนึกสูงสุดกลุ่มแรกที่รณรงค์ผ่านสื่ออินเตอร์
เนต Anonymous เป็นกลุ่มที่รวมตัวกันคล้ายกับฝูงนกที่ไม่มีโครงสร้างหรือการจัดชั้นลำดับ
ความอาวุโสของนกที่เข้าร่วมบินซึ่งจะปลีกตัวแยกออกไปเมื่อไรก็ได้ กลุ่มนี้ประกอบด้วย
สมาชิกหลากหลายตั้งแต่นักวิทยาศาสตร์ ครูบาอาจารย์ ผู้บริหารสูงสุดของบริษัทธุรกิจ ตลอด
จนแม่บ้านชาญเมืองที่ขับรถรับส่งลูกไปโรงเรียนในส่วนต่างๆของโลกโดยที่ต่างคนไม่รู้จักกัน
เป็นส่วนตัวและถือเป็นสมาชิกร่วมกลุ่มเฉพาะในช่วงที่ Anonymous ทำกิจกรรมบางอย่าง
ในช่วงแรกๆ สมาชิกของกลุ่มนี้มีเพียงผลงานทางด้านเจาะล้วงข้อมูลเล็กๆน้อยๆ หรือลอก
เลียนแบบตัวอย่างไวรัสคอมพิวเตอร์ แต่ในตอนหลังได้พัฒนาตัวเองขึ้นมาเป็นผู้พิทักษ์ปกป้อง
อุดมการณ์ความเป็นกลางของอินเตอร์เนต และเสรีภาพของการเข้าถึงแหล่งข้อมูลโดยส่วน
ใหญ่มักจะไม่เปิดเผยแสดงตัวออกมาว่าเป็นใคร กลุ่ม Anonymous ได้แสดงให้เห็นว่าคนที่
อยู่นอกภาครัฐก็สามารถส่งเสริมหรือรณรงค์ตามความเชื่อหรืออุดมการณ์บางอย่างผ่านสื่อ
อินเตอร์เนตจนมีผลสำเร็จเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก
เมื่อวันที่ 10 ก.พ. ปี 2010 กลุ่ม Anonymous โจมตีออสเตรเลียจนสามารถปิดหน้าเว็บไซต์
ของหน่วยงานรัฐบาลและรัฐสภาเพื่อประท้วงความพยายามของรัฐบาลออสเตรเลียในการ
เสนออกกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อินเตอร์เนต ในทำนองเดียวกัน Anonymous ได้ร่วมกับกลุ่ม
Green Party ในการประท้วงการเลือกตั้งในอิหร่าน
TELECOM REPORT 4
Anonymous ไม่มีจุดยืนทางการเมืองของตัวเอง แต่ได้โดดเข้าร่วมปกป้องสิทธิของประชาชน
ในการรับรู้ข่าวสารที่ถูกต้องน่าเชื่อถือและเสรีภาพการแสดงความเห็น หลังจากที่
ประธานาธิบดี อะมาดินจาด ของอิหร่านได้สั่งเซ็นเซอร์เว็บไซต์ต่างๆเพื่อสกัดกิจกรรมของกลุ่ม
ประท้วงรัฐบาลและขัดขวางไม่ให้พวกเขารวมตัวกัน
ในครั้งนั้น Anonymous หันไปใช้โปรแกรม backdoors เพื่อฝ่าด่าน firewalls ของรัฐบาล
อิหร่านและเปิด proxy servers ของตนให้ชาวอิหร่านใช้ก้าวข้ามเครื่องกีดขวางของรัฐบาลจน
สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของ Gmail, Facebooks และสื่ออื่นๆของชาติตะวันตกเพื่อช่วยในการ
จัดการประท้วงและรับข่าวสารจากโลกภายนอก
ในช่วงหลังๆ Anonymous ได้มีส่วนร่วมในกรณีของ WikiLeaks กล่าวคือด้วยอุดมการณ์ใน
การปกป้องเสรีภาพของการแสดงออก Anonymous ได้ลอกทำหน้าเว็บไซต์ของ WikiLeaks
รวมมากกว่า 1,241 ครั้งซึ่งทำให้ทางการอิหร่านไม่สามารถลบหน้าเหล่านี้ออกจากระบบ
อินเตอร์เนตได้หมด นอกจากนั้นกลุ่มนี้ได้ออกมาช่วยป้องกันเซิร์ฟเวอร์ของ WikiLeaks ไม่ให้
ถูกโจมตีทางไซเบอร์ในอนาคต พร้อมกับได้ทำลายหน้าเว็บไซต์ของสำนักงานอัยการของ
สวีเดนและของทนายความที่ว่าความให้กับกลุ่มสตรีที่ยื่นฟ้องนายจูเลียน อาสซาน เพื่อ
ตอบโต้สิ่งที่ Anonymous เรียกว่าการคุกคามเสรีภาพของการแสดงออกและการรับรู้ข้อมูล
Anonymous ได้รณรงค์ตอบโต้บริษัทธุรกิจที่ตัดสายเชื่อมความสัมพันธ์ทางการเงินของตนกับ
WikiLeaks เช่น Amazon และ MasterCard ทำให้การบริการของบริษัททั้งสอง ต้องสดุด
ชะงักลง การโจมตีเซิร์ฟเวอร์ของ MasterCard ทำได้ผลมากจนเว็บไซต์ของธุรกิจบัตรเครดิต
รายนี้ต้องปิดให้บริการไปหลายชั่วโมงในขณะที่เซิร์ฟเวอร์หลายตัวของบริษัทได้รับความเสีย
หายอย่างหนัก
ออสเตรเลียและอิหร่านได้ประณามการกระทำของ Anonymous ว่าเป็นการก่อการร้ายในโลก
ไซเบอร์และได้พยายามตามจับผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่เบื้องหลัง ซึ่งก็ยังเป็นปัญหาเพราะยังไม่รู้ว่าเป็น
ใคร
เนื่องจากขณะนี้ Anonymous มีขึดความสามารถในการโจมตีรัฐบาลและบริษัทธุรกิจโดยตรง
ในรูปแบบสงครามไซเบอร์ กลุ่มนี้จึงกลายเป็นกลุ่มนอกอำนาจรัฐ ที่ทรงอิทธิพลมากจน
ทางการไม่สามารถจะเพิกเฉยต่อไปได้ เนื่องจาก Anonymous ไม่มีผู้นำหรือตัวแทนทางการ
และไม่มีสถานที่แน่นอนที่ใช้จัดการประชุม
การที่จะเผชิญหน้าหรือเอาชนะกลุ่มนี้ด้วยวิธีธรรมดาที่ทำกันทั่วไปจึงไม่สามารถจะทำได้ง่าย
เพราะฉะนั้นผู้กำหนดนโยบายของรัฐควรตระหนักถึงข้อเท็จจริงนี้ และมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่ม
ประเภทนี้บนเวทีความคิดและอุดมการณ์เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อประชาคมโลกให้มีความมั่นคง
และแข็งแกร่งยิ่งขึ้นอย่างยั่งยืนต่อไป
TELECOM REPORT 5
บทสรุป
การก่อการร้ายในโลกไซเบอร์คือภัยสำคัญที่คุกคามทุกชาติ ในสถานการณ์ปัจจุบัน กลุ่มที่
มองตามข้อเท็จจริงยุคใหม่ได้ทำถูกต้องที่ยังไม่ยอมไว้ใจคำมั่นสัญญาของประเทศอื่น และหัน
มาเสริมสร้างขีดความสามารถป้องกันประเทศไม่ว่าจะต้องใช้งบประมาณสักเท่าไร อย่างไร
ก็ตาม แนวคิดของกลุ่มนี้ก็ยังไม่สามารถรับมือกับความเสี่ยงจากพวกที่อยู่นอกอำนาจรัฐ ผู้ซึ่ง
ในสมรภูมิสงครามไซเบอร์ มีพลังมากเท่ากับอำนาจรัฐที่พวกเขาจ้องจะบ่อนทำลาย
ตราบใดที่ยังขาดอาวุธที่ใช้ในลักษณะรุกหรือตั้งรับ ที่จะช่วยสร้างเสถียรภาพให้ได้อย่างถาวร
หรือที่มีสำนวนเรียกว่า "ลูกระเบิดนิวเคลียของโลกไซเบอร์" ที่จะกลับมาช่วยสร้างความสมดุล
ให้กับระบบระหว่างประเทศที่ขณะนี้มีแต่ความยุ่งเหยิงไม่มีใครกำกับดูแลได้ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น
ก็จะไม่มีประเทศใดที่จะมีความมั่นคงอีกต่อไป
การสอบสวนหาแหล่งต้นตอการโจมตีทั้งจากหน่วยงานภาครัฐหรือนอกภาครัฐ ย่อมทำได้ยาก
มาก (ตัวอย่างเช่นตัวไวรัสคอมพิวเตอร์ Stuxnet) และยิ่งไปกว่านั้นในหลายเหตุการณ์ ผู้ก่อ
เหตุยังตั้งใจทิ้งหลักฐานอำพรางไว้ปรักปรำคนอื่นว่าอยู่เบื้องหลัง
ในขณะที่สถาบันทั้งหลายเสี่ยงต่อปัญหาการแปรพรรคของทรัพยากรกำลังคนของตน การเปิด
เผยข้อมูลความมั่นคงให้กับรัฐอื่นถือเป็นภัยอันตรายมากกว่าภัยแบบเดิมๆในอดีต ซึ่งทั้งหมด
นี้ดูเหมือนว่าหลักการของกลุ่มหัวก้าวหน้ายุคใหม่ในการแสวงหาความร่วมมือ และความ
โปร่งใสระหว่างประเทศ น่าจะเป็นหนทางเดียวที่จะลดและบรรเทาภัยคุกคามจากการก่อการ
ร้ายในโลกไซเบอร์ได้ ซึ่งจะคล้ายกับการที่ไม่มีประเทศใดจะสามารถทำสงครามกับการ
ก่อการร้ายได้โดยลำพังแต่เพียงประเทศเดียว
การร่วมมือระหว่างประเทศที่มีเป้าหมายตรงกันทางด้านความมั่นคงเท่านั้นที่จะสามารถสกัด
ยับยั้งกระแสที่เห็นในภูมิทัศน์ของโลกไซเบอร์ในปัจจุบัน การยึดมั่นในอุดมการณ์ของนัก
เคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์ และการรับรู้แต่เนิ่นๆว่าระบบอินเตอร์เนตเป็นแหล่งเพาะความคิด
ยุคใหม่ที่มีแรงขับเคลื่อนในตัวเองที่หยุดยั้งไม่ได้เท่านั้นที่พอจะให้ความหวังแก่ประชาคมโลก
ว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายสันติภาพและความมั่นคงได้
เหลือแต่เพียงว่าประเทศไทยของเราจะตัดสินใจสร้างความสมดุลหรือมีความร่วมมือระหว่าง
ประเทศในด้านความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีแนวคิดด้านความมั่นคงแบบตะวันตกที่มีสหรัฐฯเป็น
แกนนำ หรือมีแนวคิดค่อนมาทางตะวันออกที่มีจีนและรัสเซียเป็นแกนนำเท่านั้น
TELECOM REPORT 6
แหล่งอ้างอิง
Adams, James. "Virtual Defense" Foreign Affairs Vol. 80, No. 3 (May - Jun., 2001),
pp. 98-112
“Anonymous Attacks Swedish Prosecutor’s Website” 12-7-10. 

http://www.thenewnewinternet.com/2010/12/08/anonymous-attacks-swedish-
prosecutors-website-in-operation-avenge-assange/
Weiner, Juli. “Army of Anonymous Hackers Shuts Down Sites in the Name of
Censorship” 12-8-10. 

http://www.vanityfair.com/online/daily/2010/12/army-of-anonymous-hackers-shuts-
down-sites-in-the-name-of-censorship.html
WikiLeaks.ch/mirrors.html
Dr.Settapong Malisuwan
TELECOM REPORT 7

Contenu connexe

Plus de Settapong Malisuwan

National cybersecurity strategy พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
National cybersecurity strategy พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ National cybersecurity strategy พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
National cybersecurity strategy พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ Settapong Malisuwan
 
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณBig Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณSettapong Malisuwan
 
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณปัญญาประดิษฐ์ (AI) พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณSettapong Malisuwan
 
พลิกมุมคิด ติดอาวุธธุรกิจ 4.0 ด้วยดิจิทัล
พลิกมุมคิด ติดอาวุธธุรกิจ 4.0 ด้วยดิจิทัลพลิกมุมคิด ติดอาวุธธุรกิจ 4.0 ด้วยดิจิทัล
พลิกมุมคิด ติดอาวุธธุรกิจ 4.0 ด้วยดิจิทัลSettapong Malisuwan
 
เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ Thailand 4.0
เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ Thailand 4.0เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ Thailand 4.0
เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ Thailand 4.0Settapong Malisuwan
 
Impact of Disruptive Technology in Businesses
Impact of Disruptive Technology in BusinessesImpact of Disruptive Technology in Businesses
Impact of Disruptive Technology in BusinessesSettapong Malisuwan
 
สถานการณ์เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก, ความสำเร็จในการบริหารจากภาครัฐสู่ภาคเอกชน...
สถานการณ์เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก, ความสำเร็จในการบริหารจากภาครัฐสู่ภาคเอกชน...สถานการณ์เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก, ความสำเร็จในการบริหารจากภาครัฐสู่ภาคเอกชน...
สถานการณ์เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก, ความสำเร็จในการบริหารจากภาครัฐสู่ภาคเอกชน...Settapong Malisuwan
 
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท และ พระอัจฉริยะภาพด้านการสื่อสารโทรคมนาคมในหลวงรั...
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท และ พระอัจฉริยะภาพด้านการสื่อสารโทรคมนาคมในหลวงรั...การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท และ พระอัจฉริยะภาพด้านการสื่อสารโทรคมนาคมในหลวงรั...
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท และ พระอัจฉริยะภาพด้านการสื่อสารโทรคมนาคมในหลวงรั...Settapong Malisuwan
 
Business disruption in 21 century v7
Business disruption in 21 century v7Business disruption in 21 century v7
Business disruption in 21 century v7Settapong Malisuwan
 
How do it and telecom change ... วตท v2
How do it and telecom change ... วตท v2How do it and telecom change ... วตท v2
How do it and telecom change ... วตท v2Settapong Malisuwan
 
Disruptive technology and impact v3
Disruptive technology and impact v3Disruptive technology and impact v3
Disruptive technology and impact v3Settapong Malisuwan
 
Disruptive technology and impact v3
Disruptive technology and impact v3Disruptive technology and impact v3
Disruptive technology and impact v3Settapong Malisuwan
 

Plus de Settapong Malisuwan (20)

National cybersecurity strategy พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
National cybersecurity strategy พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ National cybersecurity strategy พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
National cybersecurity strategy พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
 
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณBig Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
Big Data Analytics พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
 
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณปัญญาประดิษฐ์ (AI) พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
 
พลิกมุมคิด ติดอาวุธธุรกิจ 4.0 ด้วยดิจิทัล
พลิกมุมคิด ติดอาวุธธุรกิจ 4.0 ด้วยดิจิทัลพลิกมุมคิด ติดอาวุธธุรกิจ 4.0 ด้วยดิจิทัล
พลิกมุมคิด ติดอาวุธธุรกิจ 4.0 ด้วยดิจิทัล
 
Thailand economy 4.0
Thailand economy 4.0Thailand economy 4.0
Thailand economy 4.0
 
Digital economy
Digital economyDigital economy
Digital economy
 
Global technology outlook
Global technology outlookGlobal technology outlook
Global technology outlook
 
เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ Thailand 4.0
เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ Thailand 4.0เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ Thailand 4.0
เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ Thailand 4.0
 
Impact of Disruptive Technology in Businesses
Impact of Disruptive Technology in BusinessesImpact of Disruptive Technology in Businesses
Impact of Disruptive Technology in Businesses
 
สถานการณ์เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก, ความสำเร็จในการบริหารจากภาครัฐสู่ภาคเอกชน...
สถานการณ์เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก, ความสำเร็จในการบริหารจากภาครัฐสู่ภาคเอกชน...สถานการณ์เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก, ความสำเร็จในการบริหารจากภาครัฐสู่ภาคเอกชน...
สถานการณ์เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก, ความสำเร็จในการบริหารจากภาครัฐสู่ภาคเอกชน...
 
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท และ พระอัจฉริยะภาพด้านการสื่อสารโทรคมนาคมในหลวงรั...
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท และ พระอัจฉริยะภาพด้านการสื่อสารโทรคมนาคมในหลวงรั...การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท และ พระอัจฉริยะภาพด้านการสื่อสารโทรคมนาคมในหลวงรั...
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท และ พระอัจฉริยะภาพด้านการสื่อสารโทรคมนาคมในหลวงรั...
 
Business disruption in 21 century v7
Business disruption in 21 century v7Business disruption in 21 century v7
Business disruption in 21 century v7
 
How do it and telecom change ... วตท v2
How do it and telecom change ... วตท v2How do it and telecom change ... วตท v2
How do it and telecom change ... วตท v2
 
Disruptive technology and impact v3
Disruptive technology and impact v3Disruptive technology and impact v3
Disruptive technology and impact v3
 
Disruptive technology and impact v3
Disruptive technology and impact v3Disruptive technology and impact v3
Disruptive technology and impact v3
 
Human capability v5
Human capability v5Human capability v5
Human capability v5
 
Human capability v5
Human capability v5Human capability v5
Human capability v5
 
Digital disruption v6
Digital disruption v6Digital disruption v6
Digital disruption v6
 
Digital disruption v6
Digital disruption v6Digital disruption v6
Digital disruption v6
 
Digital disruption v5
Digital disruption v5Digital disruption v5
Digital disruption v5
 

พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ ความเป็นจริงในยุค Cyber

  • 1. 
 มองโลกตามความเป็นจริงในยุค Cyber... หายนะของประเทศที่ไร้ทิศทาง ผมเชื่อว่าคนใน Generation ใหม่ที่อยู่ในโลก Cyber space ซึ่งถือว่าเป็นคนยุคใหม่ที่มอง โลกตามความเป็นจริง ต่างก็คงจะมีความเห็นว่าอินเตอร์เนตคือระบบที่สับสนวุ่นวายไม่มีกฏ ระเบียบ พร้อมกับเชื่อว่า "โลกไซเบอร์ได้กลายเป็นสมรภูมิระหว่างประเทศแห่งใหม่" อินเตอร์เนต ซึ่งไม่อยู่ภายใต้องค์กรที่มีอำนาจปกครองใดๆและไม่มีกองกำลังตำรวจเพื่อ บังคับใช้กฎหมาย จึงมีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศต่างๆทั่วโลก รัฐทุกแห่งต้องยืน อย่างโดดเดี่ยวหรือมีพันธมิตรที่ไม่สามารถไว้ใจกันได้อย่างเต็มที่ โดยทุกรัฐบาลต้องดิ้นรน เสริมสร้างความแข็งแกร่งและแนวป้องกันตัวเองในโลกไซเบอร์ ในขณะที่ต้องคอยพะวงวิตก ว่าความคืบหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบอินเตอร์เนตของรัฐคู่แข่งจะเป็นภัย คุกคามโดยตรงต่อความมั่นคงของตนหรือไม่ การมีแสนยานุภาพทางทหารที่เหนือกว่ามากมาย และเทคโนโลยีสื่อสารที่ล้ำหน้ากว่าทุก ประเทศ ทำให้สหรัฐอเมริกาตกเป็นเป้าการโจมตีในโลกไซเบอร์มากที่สุด โดยเท่าที่ผ่านมามี กลุ่มแฮกเกอร์ที่เรียกตัวเองว่า Moonlight Maze (ช่องทางปริศนาใต้แสงจันทร์) ได้ใช้เครื่อง มือล้ำหน้าทันสมัยชั้นสูงในการบุกรุกฐานข้อมูลของหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐนับร้อยๆแห่ง รวม ทั้ง NASA, Pentagon และที่อื่นๆ การโจมตีในปี 1998 ที่ลงเอยด้วยการโจรกรรมเอกสาร หนังสือสัญญา ข้อความที่บันทีกเป็น โค๊ดลับ และข้อมูลสำคัญที่มีความอ่อนไหวและเป็นความลับของทางราชการนับร้อยๆรายการ TELECOM REPORT 1 โดย พันเอกเศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
 รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
 และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม
 วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 TELECOM REPORT
  • 2. แต่การสอบสวนของรัฐบาลสหรัฐที่ใช้เวลานานหลายปีหลังจากนั้นก็ไม่สามารถพบคำตอบ อะไรได้ ยกเว้นอยู่อย่างเดียวที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลพอจะสรุปได้คือต้นต่อของการโจมตีครั้งนั้นมา จากที่อยู่ IP Address ในรัสเซีย 7 แห่ง เนื่องจากระบบอินเตอร์เนตไม่มีโครงสร้างในการบังคับใช้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง หรือรูปแบบ อำนาจการสอบสวน ขณะนี้จึงยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการโจมตีครั้งนั้นมีรัฐบาลไหนหนุนหลัง สนับสนุนอยู่หรือไม่ และรัฐบาลสหรัฐก็ยังไม่สามารถแน่ใจได้ว่ารัฐบาลรัสเซียจะบริสุทธิ์ไม่ เกี่ยวข้องจริงหรือไม่ ซึ่งนำไปสู่ความสงสัยไม่ไว้วางใจกันตลอดมา เมื่อเร็วๆนี้ ตัวหนอนไวรัส Stuxnet ที่มีชื่อเป็นที่รู้จักกันทั่วไปได้พิสูจน์ให้เห็นว่ารัฐบาลต่างๆยัง ตกเป็นเป้าการโจมตีในโลกไซเบอร์ได้ เท่าที่ปรากฏมา เป้าหมายใหญ่ของไวรัส Stuxnet คือ โรงปฏิกรณ์นิวเคลียของอิหร่าน ซึ่งได้กลายเป็นตัวอย่างรายแรกของสงครามไซเบอร์อย่าง เต็มรูปแบบ โดย Kaspersky Labs บริษัทที่ให้บริการซอร์ฟแวร์สำหรับการรักษาความ ปลอดภัยของรัสเซียที่ได้รับมอบหมายให้สอบสวนเรื่องไวรัสตัวนี้ ได้สรุปแต่เพียงว่าการโจมตี ครั้งนั้นจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีรัฐบาลสนับสนุนอยู่เบื้องหลังเท่านั้น ข้อสรุปนี้ถือเป็นกรณีฝันร้ายทางการทูต เนื่องจากมันแสดงว่ารัฐบาลประเทศหนึ่งสามารถเปิด ฉากโจมตีอีกประเทศหนึ่งได้อย่างลอยนวลโดยไม่ต้องรับโทษ กับทั้งไม่ทิ้งร่องรอยอะไรไว้ที่จะ ใช้สาวไปถึงต้นตอได้ ทฤษฎีมองโลกตามข้อเท็จจริงยุคใหม่กล่าวว่าถ้ายังปล่อยให้สถานการณ์เป็นอยู่เช่นนี้ต่อไป มันจะนำไปสู่สภาพที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิงในเรื่องการไว้เนื้อเชื่อใจในเวทีของสถาบันนานาชาติ เนื่องจากรัฐทุกแห่งจะวิตกว่าอาจจะตกเป็นเป้าโจมตี แล้วหันไปเลือกที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยว เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง คำพูดของคุณอาดามส์ จากบทความ Adams, James. "Virtual Defense" Foreign Affairs Vol. 80, No. 3 (May - Jun., 2001), pp. 98-112 คือคำทำนายล่วงหน้าที่น่าสะพรึงกลัวเกี่ยว กับสภาพปัจจุบัน เขาอธิบายโดยเรียกกลุ่ม Moonlight Maze ว่าเป็นเพียงตัวอย่างของภัยที่ จะตามมา พร้อมกับเตือนถึงความเป็นไปได้ที่ว่าการแฮกค์เจาะล้วงข้อมูลระบบป้องกันประเทศ ระบบบริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน และข้อมูลความลับของบริษัทเอกชนและเศรษฐกิจของ ประเทศ จะสร้างความวุ่นวายโกลาหลจนทำให้ประเทศเป็นอัมพาตเดินต่อไปไมได้ เขาระบุชื่อ หลายประเทศที่มีท่าทีทั้งที่เป็นมิตรและเป็นปฏิปักษ์ต่อสหรัฐ ที่พยายามบรรลุความคืบหน้า ด้านขีดความสามารถในการต่อสู้ในโลกไซเบอร์ โดยเน้นไปที่ประเทศจีน ถ้าดูสถิติการใช้จ่ายลงทุนด้านป้องกันประเทศของสหรัฐ มันคงจะยากที่ประเทศใดจะแซงหน้า สหรัฐทางด้านแสนยานุภาพทางทหารในอนาคตอันใกล้นี้ และยิ่งถ้าดูตัวอย่างของอดีต สหภาพโซเวียตเดิมที่ได้ทุ่มงบประมาณทางด้านนี้จนประเทศต้องล้มละลาย จึงคงจะไม่มี ประเทศอื่นใดที่จะคิดสั้นโดดลงมาเสริมสร้างอาวุธแข่งกับสหรัฐ แต่อย่างไรก็ตาม ตามหลักทฤษฎีของคนยุคใหม่ที่มองโลกตามความเป็นจริง ประเทศที่ไม่เป็น มิตรจะเริ่มใช้จ่ายทรัพยากรเพื่อผลิตอาวุธไซเบอร์ซึ่งจะสร้างความได้เปรียบที่ไม่สอดคล้องกับ TELECOM REPORT 2
  • 3. ฐานะหรือขนาดของตนเพื่อที่จะเอาชนะสหรัฐแบบไม่ต้องยิงกระสุนแม้แต่นัดเดียว เพราะฉะนั้น คุณอาดามส์จึงเสนอว่าวิธีที่จะแก้สถานการณ์นี้คือการให้อำนาจทางกฎหมายแก่กระทรวง กลาโหมสหรัฐในการติดตามตรวจสอบข้อมูลอินเตอร์เนต ถึงแม้จะไปกระทบสิทธิเสรีภาพขั้น พื้นฐานของประชาชน ซึ่งในความเห็นของเขาเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำเนื่องจากการโจมตีทาง ไซเบอร์ที่ร้ายแรงกว่าที่เขาเชื่อ กำลังใกล้จะเกิดขึ้น แก๊งหัวก้าวหน้ายุคใหม่จับมือนักเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์ ถึงแม้จุดยืนของคนยุคใหม่ที่มองโลกตามความเป็นจริงจะมีเหตุผลฟังขึ้น เนื่องจากปัญหา ความมั่นคงที่ยากจะแก้ไขและน่าสะพรึงกลัว แต่กลุ่มนี้ก็มีจุดอ่อนชัดเจนในการรับมือกับการ ก่อการร้ายในโลกไซเบอร์ ปัญหาแรกคือคนยุคใหม่ที่มองโลกตามความเป็นจริงจะพิจารณา วิเคราะห์เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐเท่านั้น และไม่ได้คิดถึงพวกที่อยู่นอกภาครัฐ ซึ่ง สถานะนี้คงจะยังเหมาะสมถ้าภาระกิจจะมีเพียงการศึกษาวิเคราะห์สงครามในรูปแบบเดิม เนื่องจากมันเป็นเรื่องยากที่พวกที่อยู่นอกอำนาจรัฐจะสามารถระดมพลหรือรวบรวมอาวุธมาก พอที่จะมาต่อสู้กับรัฐ แต่ในสมรภูมิไซเบอร์ ใครก็สามารถริเริ่มทำการโจมตีได้ โดยกลุ่มบริษัทธุรกิจ กลุ่มผล ประโยชน์ต่างๆ องค์กรก่อการร้าย และบุคคลทั่วไปก็มีความสามารถเท่าเทียมกันที่จะทำความ เสียหายได้ถ้ามีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์บ้างพอสมควร และเป็นที่น่ากังวลว่าในสงคราม ไซเบอร์ มันเกือบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะเห็นหรือคาดการล่วงหน้าได้ว่ากำลังจะมีเหตุถูกโจมตี และ เนื่องจากลักษณะพื้นฐานของอินเตอร์เนตที่ครอบคลุมไปทั่วโลกและมีสถานะที่เปลี่ยนแปลงได้ ตลอดเวลา มันจึงเป็นการยากที่ภาครัฐจะหวังถอดชนวนของอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรู โจมตีตอบโต้ในโลกไซเบอร์ ในความเห็นของพวกหัวก้าวหน้ายุคใหม่ ปัญหาความมั่นคงที่ยากต่อการแก้ไขยังมีทางออก โดยการจัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศขึ้นใหม่ ถึงแม้จะเป็นเรื่องยุ่งยากที่จะจัดตั้งสถาบัน ระหว่างประเทศที่ประกอบด้วยสมาชิกทั้งจากภาครัฐและภาคอื่นๆที่เน้นภาระกิจด้านการรักษา ความมั่นคงของโลกไซเบอร์ แต่องค์กรดังกล่าวจะช่วยลดสภาพปัญหาความไม่แน่นอนที่ รัฐบาลต่างๆกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ในทางทฤษฎี สมาชิกแต่ละประเทศขององค์กรดังกล่าวจะเปิดเผยขีดความสามารถของตน เสนอวิธีที่ประเทศสมาชิกจะรับรู้และติดตามการเคลื่อนไหวของแต่ละฝ่ายในโลกไซเบอร์ แลก เปลี่ยนเทคโนโลยีด้านการป้องกันภัย ส่งเสริมสร้างความไว้ใจซึ่งกันและกัน และสร้างความ โปร่งใส ซึ่งถ้าทำได้ตามนี้ ประเทศสมาชิกจะรู้ได้ว่าสมาชิกรายใดอยู่เบื้องหลังการโจมตีที่อาจ เกิดขึ้นในอนาคตเพื่อจะได้ลงโทษสมาชิกรายนั้น ส่วนการโจมตีที่มาจากภายนอกก็จะมีการสอบสวนและติดตามโดยใช้ทรัพยากรของประเทศ สมาชิกที่รวมตัวกัน แทนที่จะมีประเทศใดประเทศหนึ่งดำเนินการตามลำพังแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าการจะมีองค์กรแบบนี้ได้ ประเทศสมาชิกจะต้องยอมเปิดเผยข้อมูลของ ตนเพิ่มขึ้นมากกว่าที่อยากทำ เนื่องจากอาจจะยังกังวลว่าจะนำไปสู่การบั่นทอนฐานะของตน TELECOM REPORT 3
  • 4. ในขณะที่ประเทศใหญ่ๆของโลกคงจะเลี่ยงไม่เข้าร่วมเพราะไม่อยากต้องมารับรู้ รับผิดชอบต่อ การเคลื่อนไหวด้านสงครามไซเบอร์ของตนที่ได้ทำไปก่อนหน้านี้ ทางค่ายนักเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์ย้ำถึงความสำคัญของความหมายสัญลักษณ์และความ คิดเห็น อิริกสันและจิโอคอมเมลโล มอง "การเมืองในรูปแบบสัญลักษณ์ว่าเป็นประเด็นที่ เกี่ยวข้องอย่างมากกับการศึกษาปัญหาความมั่นคงในยุคดิจิตอล" อินเตอร์เนตเป็นเครื่องมือสำหรับการแบ่งปันข้อมูล แต่มันเป็นสื่อที่มีลักษณะพิเศษที่มีชีวิตใน ตัวเองและมีเอกลักษณ์ที่มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปได้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นจึงสำคัญที่จะ ต้องเข้าใจว่าในหลายกรณี ข่าวสารที่แพร่กระจายบนอินเตอร์เนต และปฏิกิริยาของผู้ใช้หลาย คนสะท้อนถึงอิทธิพลทางวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของอินเตอร์เนต แน่นอนถึงแม้ว่าจะมีปัญหา ด้านความมั่นคงที่แก้ไขได้ยาก แต่แนวคิดของกลุ่มคนยุคใหม่ที่มองโลกตามความเป็นจริงก็ ยังไม่มีข้อเสนอใดๆที่จะมารับมือกับอารมณ์หรือแนวคิดที่เป็นปฏิปักษ์ที่อาจมีขึ้นมา และซึ่งมี โอกาสจะทำความเสียหายผ่านอินเตอร์เนตได้มากเหมือนกัน "พวกเราคือกลุ่มนิรนาม เราคือตำนาน เราไม่ยกโทษ เราไม่ลืม จงคอยพวกเราไว้" คำพูดเหล่า นี้ฟังดูเหมือนคำขู่ที่ออกจากปากตัวละครผู้ร้ายในภาพยนต์ แต่จริงๆแล้วเป็นประโยคพ่วงท้าย ประกาศทุกฉบับของกลุ่มที่มีชื่ออื้อฉาวในอินเตอร์เนตที่เรียกตัวเองว่า "Anonymous " (นิรนาม) Anonymous เป็นกลุ่มที่มีเป้าหมายสร้างจิตรสำนึกสูงสุดกลุ่มแรกที่รณรงค์ผ่านสื่ออินเตอร์ เนต Anonymous เป็นกลุ่มที่รวมตัวกันคล้ายกับฝูงนกที่ไม่มีโครงสร้างหรือการจัดชั้นลำดับ ความอาวุโสของนกที่เข้าร่วมบินซึ่งจะปลีกตัวแยกออกไปเมื่อไรก็ได้ กลุ่มนี้ประกอบด้วย สมาชิกหลากหลายตั้งแต่นักวิทยาศาสตร์ ครูบาอาจารย์ ผู้บริหารสูงสุดของบริษัทธุรกิจ ตลอด จนแม่บ้านชาญเมืองที่ขับรถรับส่งลูกไปโรงเรียนในส่วนต่างๆของโลกโดยที่ต่างคนไม่รู้จักกัน เป็นส่วนตัวและถือเป็นสมาชิกร่วมกลุ่มเฉพาะในช่วงที่ Anonymous ทำกิจกรรมบางอย่าง ในช่วงแรกๆ สมาชิกของกลุ่มนี้มีเพียงผลงานทางด้านเจาะล้วงข้อมูลเล็กๆน้อยๆ หรือลอก เลียนแบบตัวอย่างไวรัสคอมพิวเตอร์ แต่ในตอนหลังได้พัฒนาตัวเองขึ้นมาเป็นผู้พิทักษ์ปกป้อง อุดมการณ์ความเป็นกลางของอินเตอร์เนต และเสรีภาพของการเข้าถึงแหล่งข้อมูลโดยส่วน ใหญ่มักจะไม่เปิดเผยแสดงตัวออกมาว่าเป็นใคร กลุ่ม Anonymous ได้แสดงให้เห็นว่าคนที่ อยู่นอกภาครัฐก็สามารถส่งเสริมหรือรณรงค์ตามความเชื่อหรืออุดมการณ์บางอย่างผ่านสื่อ อินเตอร์เนตจนมีผลสำเร็จเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก เมื่อวันที่ 10 ก.พ. ปี 2010 กลุ่ม Anonymous โจมตีออสเตรเลียจนสามารถปิดหน้าเว็บไซต์ ของหน่วยงานรัฐบาลและรัฐสภาเพื่อประท้วงความพยายามของรัฐบาลออสเตรเลียในการ เสนออกกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อินเตอร์เนต ในทำนองเดียวกัน Anonymous ได้ร่วมกับกลุ่ม Green Party ในการประท้วงการเลือกตั้งในอิหร่าน TELECOM REPORT 4
  • 5. Anonymous ไม่มีจุดยืนทางการเมืองของตัวเอง แต่ได้โดดเข้าร่วมปกป้องสิทธิของประชาชน ในการรับรู้ข่าวสารที่ถูกต้องน่าเชื่อถือและเสรีภาพการแสดงความเห็น หลังจากที่ ประธานาธิบดี อะมาดินจาด ของอิหร่านได้สั่งเซ็นเซอร์เว็บไซต์ต่างๆเพื่อสกัดกิจกรรมของกลุ่ม ประท้วงรัฐบาลและขัดขวางไม่ให้พวกเขารวมตัวกัน ในครั้งนั้น Anonymous หันไปใช้โปรแกรม backdoors เพื่อฝ่าด่าน firewalls ของรัฐบาล อิหร่านและเปิด proxy servers ของตนให้ชาวอิหร่านใช้ก้าวข้ามเครื่องกีดขวางของรัฐบาลจน สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของ Gmail, Facebooks และสื่ออื่นๆของชาติตะวันตกเพื่อช่วยในการ จัดการประท้วงและรับข่าวสารจากโลกภายนอก ในช่วงหลังๆ Anonymous ได้มีส่วนร่วมในกรณีของ WikiLeaks กล่าวคือด้วยอุดมการณ์ใน การปกป้องเสรีภาพของการแสดงออก Anonymous ได้ลอกทำหน้าเว็บไซต์ของ WikiLeaks รวมมากกว่า 1,241 ครั้งซึ่งทำให้ทางการอิหร่านไม่สามารถลบหน้าเหล่านี้ออกจากระบบ อินเตอร์เนตได้หมด นอกจากนั้นกลุ่มนี้ได้ออกมาช่วยป้องกันเซิร์ฟเวอร์ของ WikiLeaks ไม่ให้ ถูกโจมตีทางไซเบอร์ในอนาคต พร้อมกับได้ทำลายหน้าเว็บไซต์ของสำนักงานอัยการของ สวีเดนและของทนายความที่ว่าความให้กับกลุ่มสตรีที่ยื่นฟ้องนายจูเลียน อาสซาน เพื่อ ตอบโต้สิ่งที่ Anonymous เรียกว่าการคุกคามเสรีภาพของการแสดงออกและการรับรู้ข้อมูล Anonymous ได้รณรงค์ตอบโต้บริษัทธุรกิจที่ตัดสายเชื่อมความสัมพันธ์ทางการเงินของตนกับ WikiLeaks เช่น Amazon และ MasterCard ทำให้การบริการของบริษัททั้งสอง ต้องสดุด ชะงักลง การโจมตีเซิร์ฟเวอร์ของ MasterCard ทำได้ผลมากจนเว็บไซต์ของธุรกิจบัตรเครดิต รายนี้ต้องปิดให้บริการไปหลายชั่วโมงในขณะที่เซิร์ฟเวอร์หลายตัวของบริษัทได้รับความเสีย หายอย่างหนัก ออสเตรเลียและอิหร่านได้ประณามการกระทำของ Anonymous ว่าเป็นการก่อการร้ายในโลก ไซเบอร์และได้พยายามตามจับผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่เบื้องหลัง ซึ่งก็ยังเป็นปัญหาเพราะยังไม่รู้ว่าเป็น ใคร เนื่องจากขณะนี้ Anonymous มีขึดความสามารถในการโจมตีรัฐบาลและบริษัทธุรกิจโดยตรง ในรูปแบบสงครามไซเบอร์ กลุ่มนี้จึงกลายเป็นกลุ่มนอกอำนาจรัฐ ที่ทรงอิทธิพลมากจน ทางการไม่สามารถจะเพิกเฉยต่อไปได้ เนื่องจาก Anonymous ไม่มีผู้นำหรือตัวแทนทางการ และไม่มีสถานที่แน่นอนที่ใช้จัดการประชุม การที่จะเผชิญหน้าหรือเอาชนะกลุ่มนี้ด้วยวิธีธรรมดาที่ทำกันทั่วไปจึงไม่สามารถจะทำได้ง่าย เพราะฉะนั้นผู้กำหนดนโยบายของรัฐควรตระหนักถึงข้อเท็จจริงนี้ และมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่ม ประเภทนี้บนเวทีความคิดและอุดมการณ์เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อประชาคมโลกให้มีความมั่นคง และแข็งแกร่งยิ่งขึ้นอย่างยั่งยืนต่อไป TELECOM REPORT 5
  • 6. บทสรุป การก่อการร้ายในโลกไซเบอร์คือภัยสำคัญที่คุกคามทุกชาติ ในสถานการณ์ปัจจุบัน กลุ่มที่ มองตามข้อเท็จจริงยุคใหม่ได้ทำถูกต้องที่ยังไม่ยอมไว้ใจคำมั่นสัญญาของประเทศอื่น และหัน มาเสริมสร้างขีดความสามารถป้องกันประเทศไม่ว่าจะต้องใช้งบประมาณสักเท่าไร อย่างไร ก็ตาม แนวคิดของกลุ่มนี้ก็ยังไม่สามารถรับมือกับความเสี่ยงจากพวกที่อยู่นอกอำนาจรัฐ ผู้ซึ่ง ในสมรภูมิสงครามไซเบอร์ มีพลังมากเท่ากับอำนาจรัฐที่พวกเขาจ้องจะบ่อนทำลาย ตราบใดที่ยังขาดอาวุธที่ใช้ในลักษณะรุกหรือตั้งรับ ที่จะช่วยสร้างเสถียรภาพให้ได้อย่างถาวร หรือที่มีสำนวนเรียกว่า "ลูกระเบิดนิวเคลียของโลกไซเบอร์" ที่จะกลับมาช่วยสร้างความสมดุล ให้กับระบบระหว่างประเทศที่ขณะนี้มีแต่ความยุ่งเหยิงไม่มีใครกำกับดูแลได้ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ก็จะไม่มีประเทศใดที่จะมีความมั่นคงอีกต่อไป การสอบสวนหาแหล่งต้นตอการโจมตีทั้งจากหน่วยงานภาครัฐหรือนอกภาครัฐ ย่อมทำได้ยาก มาก (ตัวอย่างเช่นตัวไวรัสคอมพิวเตอร์ Stuxnet) และยิ่งไปกว่านั้นในหลายเหตุการณ์ ผู้ก่อ เหตุยังตั้งใจทิ้งหลักฐานอำพรางไว้ปรักปรำคนอื่นว่าอยู่เบื้องหลัง ในขณะที่สถาบันทั้งหลายเสี่ยงต่อปัญหาการแปรพรรคของทรัพยากรกำลังคนของตน การเปิด เผยข้อมูลความมั่นคงให้กับรัฐอื่นถือเป็นภัยอันตรายมากกว่าภัยแบบเดิมๆในอดีต ซึ่งทั้งหมด นี้ดูเหมือนว่าหลักการของกลุ่มหัวก้าวหน้ายุคใหม่ในการแสวงหาความร่วมมือ และความ โปร่งใสระหว่างประเทศ น่าจะเป็นหนทางเดียวที่จะลดและบรรเทาภัยคุกคามจากการก่อการ ร้ายในโลกไซเบอร์ได้ ซึ่งจะคล้ายกับการที่ไม่มีประเทศใดจะสามารถทำสงครามกับการ ก่อการร้ายได้โดยลำพังแต่เพียงประเทศเดียว การร่วมมือระหว่างประเทศที่มีเป้าหมายตรงกันทางด้านความมั่นคงเท่านั้นที่จะสามารถสกัด ยับยั้งกระแสที่เห็นในภูมิทัศน์ของโลกไซเบอร์ในปัจจุบัน การยึดมั่นในอุดมการณ์ของนัก เคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์ และการรับรู้แต่เนิ่นๆว่าระบบอินเตอร์เนตเป็นแหล่งเพาะความคิด ยุคใหม่ที่มีแรงขับเคลื่อนในตัวเองที่หยุดยั้งไม่ได้เท่านั้นที่พอจะให้ความหวังแก่ประชาคมโลก ว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายสันติภาพและความมั่นคงได้ เหลือแต่เพียงว่าประเทศไทยของเราจะตัดสินใจสร้างความสมดุลหรือมีความร่วมมือระหว่าง ประเทศในด้านความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีแนวคิดด้านความมั่นคงแบบตะวันตกที่มีสหรัฐฯเป็น แกนนำ หรือมีแนวคิดค่อนมาทางตะวันออกที่มีจีนและรัสเซียเป็นแกนนำเท่านั้น TELECOM REPORT 6
  • 7. แหล่งอ้างอิง Adams, James. "Virtual Defense" Foreign Affairs Vol. 80, No. 3 (May - Jun., 2001), pp. 98-112 “Anonymous Attacks Swedish Prosecutor’s Website” 12-7-10. 
 http://www.thenewnewinternet.com/2010/12/08/anonymous-attacks-swedish- prosecutors-website-in-operation-avenge-assange/ Weiner, Juli. “Army of Anonymous Hackers Shuts Down Sites in the Name of Censorship” 12-8-10. 
 http://www.vanityfair.com/online/daily/2010/12/army-of-anonymous-hackers-shuts- down-sites-in-the-name-of-censorship.html WikiLeaks.ch/mirrors.html Dr.Settapong Malisuwan TELECOM REPORT 7