SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  60
Flow Chart: การจัดทำาแผนจัด
           การเเรียนรู้

                        เริ่มต้น

                                                        หัวหน้ากลุ่มสา
     วิเคราะห์โครงสร้างหลักสูตรและโครงสร้าง
                                                             ระฯ
                      รายวิชา

วิเคราะห์ศึกษาคำาอธิบายรายวิชา มาตรฐานการเรียนรู,  ้   หัวหน้าระดับวิชา/
              ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง                      ครูผู้สอน
 จุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหารายวิชาที่จัดสอนใน

 กำาหนดข้อตกลงเบื้องต้นในการเขียนในแบบข้อตกลง               ครูผู้สอน
              เบื้องต้นในการเรียน

จัดทำาแผนการจัดการเรียนรู้ในแบบการเขียนแผนจัดการ        หัวหน้าระดับวิชา/
                      เรียนรู้                              ครูผู้สอน


                       เห็นชอบ
    แก้ไ                                                 หัวหน้ากลุ่มสา
                         หรือไม่
     ข                                                        ระฯ


    รวบรวมและบันทึกในแบบรายงานการส่งแผน                   หัวหน้าระดับ
                 จัดการเรียนรู้                              วิชาการ

      เสนอรองฯกลุ่มบริหารงานวิชาการเพื่อรับ             หัวหน้ากลุ่มสา
                     ทราบ                                    ระฯ
                                                       รองฯกลุ่มบริหารงาน
       เสนอผู้อำานวยการโรงเรียนเพื่อลงนามอนุ                วิชาการ
                        มัติ

           ดำาเนินการสอนตามแผนจัดการเรียนรู้               ครูผู้สอน


       บันทึกผลการใช้แผนจัดการเรียนรู้,การ                 ครูผู้สอน
                   ปรับปรุง/
     เสนอแนะในแบบการเขียนแผนจัดการเรียน
               สรุป/จัดทำา                                 ครูผู้สอน
 โรงเรียนบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) ๔
                 รายงาน
             คำาอธิสิ้นสุด
                   บายรายวิชา
 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
รายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา รหัสวิชา พ 33101 ช่วงชั้นที่
3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
จำานวนหน่วยการเรียน 2.0 หน่วยกิต       จำานวน 2 คาบ
                        / สัปดาห์

       ศึกษาวิเคราะห์ลักษณะของวัยผู้ใหญ่วัยทอง วัยสูงอายุ เห็น
คุณค่าและแนวทางในการพัฒนาตน ให้เติบโตสมวัย รูปัจจัยที่มี
                                                  ้
ผลกระทบต่อคุณค่าชีวิตและครอบครัว สังคมและวัฒนธรรม การ
เจริญเติบโตและพัฒนาการในวัยผู้ใหญ่วัยทองและวัยสูงอายุ การ
ป้องกันตนเองไม่ให้ตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์
มีทักษะในการเตือนเพื่อนและผู้ใกล้ชิด เข้าใจในอารมณ์เพศและ
จัดการกับอารมณ์เพศ การปฏิบัติตนเกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธุ์ของ
วัยรุ่น ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่
คาดคิด ปฏิบัติทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน เกมและกีฬาตาม
สมัยนิยม การละเล่นพื้นเมือง การทดสอบและสร้างเสริม
สมรรถภาพทางกาย มีทักษะการเล่นกีฬา วิธีการเล่น กฎกติกา
การแข่งขัน และความปลอดภัย ยอมรับและเห็นคุณค่าของการ
ออกกำาลังกายและเล่นกีฬาเป็นประจำา มีนำ้าใจนักกีฬา มีจิต
วิญญาณในการแข่งขัน
           วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากภาวะโภชนาการ แนวทางการ
แก้ปัญหาทางภาวะทุพโภชนาการ สุขภาพผู้บริโภค แนวทางการ
ป้องกันสิทธิของผู้บริโภค ทราบหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค รู้หลัก
วิเคราะห์ประเมินสื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีความรูในเรื่อง
                                                    ้
โรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำาคัญของประเทศ การให้ความสำาคัญ
ในการดูแลปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน เข้าใจ
พฤติกรรมเสี่ยงและการป้องกัน ความปลอดภัยในอุบัติเหตุ ปัญหา
และผลกระทบการใช้สารเสพติด ความรับผิดชอบและการป้องกัน
แก้ไข ตลอดจนทักษะการปฏิเสธ ปัญหาและแนวทางแก้ไขในการ
ใช้ความรุนแรง เข้าใจหลักในการปฐมพยาบาล
โรงเรียนบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) ๔
               ตารางการวิเคราะห์เนื้อหา
       กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
รายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา รหัสวิชา พ 33101 ช่วงชั้นที่
               3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
เรื่อง / เนื้อหา         รายละเอียดของเนื้อหา
1. การดูแลและส่งเสริมสุขภาพ 1.1 ประสิทธิภาพทางร่างกาย
ของผู้ใหญ่                        และสมองของ
    วัยทองและวัยสูงอายุ     ผู้ใหญ่วัยทองและวัยสูงอายุ
                            1.2 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ
                            การเจริญเติบโตและพัฒนาการ
                            ของผู้ใหญ่วยทองและวัยสูง
                                          ั
                            อายุ
                            1.3 คุณค่าและแนวทางการ
                            ปฏิบัติตนที่เหมาะสมของ
                            ผู้ใหญ่วัยทองและวัยสูงอายุ
2. สุขอนามัย พฤติกรรม และ 2.1 การปฏิบัติตนเกี่ยวกับ
สัมพันธภาพ                  อนามัยเจริญพันธุ์ของวัยรุ่น
     ทางเพศ
                            2.2 อารมณ์ทางเพศและการ
                            จัดการกับอารมณ์ทางเพศ
                            2.3 การปฏิบัติตนเพื่อหลีก
                            เลียงการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่
                                ่
                            คาดคิด
                            2.4 วิธีสร้างและรักษา
                            สัมพันธภาพกับผู้อื่น
3. อาหารและโภชนาการ         3.1 การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิด
                            จากภาวะโภชนาการ
                            3.2 แนวทางการแก้ปัญหา ภา
                            วะทุพโภชนาการ
4. การดูแลสุขภาพตนเอง       4.1 แนวคิดเกี่ยวกับการดูแล
เบื้องต้น                   สุขภาพตนเอง
                            4.2 ความสำาคัญของการดูแล
                            สุขภาพตนเอง
                            4.3 การดูแลสุขภาพตนเองใน
                            ภาวะปกติ
                            4.4 การดูแลสุขภาพตนเอง
                            เมื่อเจ็บป่วย
5. สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพ   5.1 การดูแลรักษาและ
                            ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
                            5.2 การดูแลรักษาและ
                            ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในชุมชน
เรื่อง / เนื้อหา       รายละเอียดของเนื้อหา
6. การป้องกันโรคไม่ติดต่อที่
                           6.1 โรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหา
เป็นปัญหา                  สำาคัญของประเทศไทยและ
     สาธารณสุขในปัจจุบัน   แนวทางการป้องกัน
7. สุขภาพผู้บริโภคและการ   7.1 แนวทางการป้องกันสิทธิ
คุ้มครองผู้บริโภค          ของผู้บริโภค
                           7.2 หน่วยงานคุ้มครองผู้
                           บริโภค
                           7.3 หลักการวิเคราะห์และ
                           ประเมินสื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์
                           สุขภาพ
8. การจัดการกับอารมณ์และ 8.1 การปฏิบัติและสร้าง
ความเครียด                 เสริมสุขภาพกายและสุขภาพ
                           จิต
                           8.2 การปฏิบัติตนให้พ้นจาก
                           ความเครียดและแนวทางการ
                           แก้ไขปัญหาทางอารมณ์
9. พฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ 9.1 พฤติกรรมเสี่ยงทาง
และการป้องกัน              สุขภาพและการป้องกัน
                           9.2 ปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาวะ
                           สุขภาพและปัจจัยเสี่ยงทาง
                           สุขภาพ
10. ความปลอดภัยในการ       10.1 โรคและอันตรายจากการ
ประกอบอาชีพ                ประกอบวิชาชีพ
                           10.2 หลักทั่วไปในการปฏิบัติ
                           งานด้วยความปลอดภัย
                           10.3 ความสัมพันธ์ระหว่าง
                           สุขภาพกับการประกอบอาชีพ
                           10.4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ
                           การควบคุมและป้องกันโรค
11. สารเสพติด              11.1 ผลกระทบของปัญหา
                           สารเสพติดและความรับผิด
                           ชอบในการป้องกันและแก้ไข
                           ปัญหาสารเสพติด
                           11.2 ทักษะการปฏิเสธในการ
เข้าไปเกี่ยวข้องกับสารเสพติด
12. อุบัติเหตุ           12.1 หลักความปลอดภัยใน
                         การดำาเนินชีวิต
                         12.2 อุบัติเหตุและภัยไม่คาด
                         คิด
13. ความรุนแรง           13.1 ความรุนแรงในครอบครัว
                         และชุมชน

      เรื่อง / เนื้อหา       รายละเอียดของเนื้อหา
14. การปฐมพยาบาล         14.1 หลักการให้การ
                         ปฐมพยาบาล
                         14.2 การปฐมพยาบาลผู้ได้
                         รับสารพิษ
                         14.3 การปฐมพยาบาลคนเป็น
                         ลม สำาลัก เลือดกำาเดา สะอึก
                         และเป็นตะคริว
                         14.4 ทักษะการปฐมพยาบาล
                         โดยการพันผ้า
15. การทดสอบและสร้าง     15.1 องค์ประกอบของ
เสริมสมรรถภาพ            สมรรถภาพที่สัมพันธ์กับ
     ทางกาย              สุขภาพ
                         15.2 องค์ประกอบของ
                         สมรรถภาพที่สัมพันธ์กับ
                         ทักษะ
                         15.3 แบบทดสอบ
                         สมรรถภาพทางกายที่
                         สัมพันธ์กับสุขภาพ
                         15.4 การเคลื่อนไหวเบื้อง
                         ต้น
                         15.5 การเต้นแอโรบิคเบื้อง
                         ต้น
                         15.5 การเต้นแอโรบิค
                         ประกอบจังหวะดนตรี
                         15.6 การจัดโปรแกรมเพื่อ
                         ผลทางแอโรบิค
16. กิจกรรมการใช้กีฬาเป็น   16.2 ทักษะกีฬาวอลเลย์บอล
สื่อ
                            16.3 ทักษะกีฬาบาสเกตบอล




      โรงเรียนบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) ๔
                    ปีการศึกษา 2550
  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา
      รหัสวิชา พ 33101 จำานวน 2 คาบ/สัปดาห์

 1. เห็นคุณค่าและความสำาคัญในการอยู่ร่วมกับผู้ใหญ่วัยทอง
    และวัยสูงอายุได้อย่างมีความสุข
 2. ตระหนัก เห็นคุณค่าของการปฏิบัติตนให้มีคุณค่าและรักษา
    สัมพันธภาพที่ดีต่อผู้อื่น
 3. วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพ เห็นความสำาคัญ เสนอแนะแนวทาง
    และวิธีการป้องกันตลอดจนการดูแลรักษาสุขภาพ
 4. อธิบายเกี่ยวกับสุขภาพตนเองและวิธีการรักษาอาการเจ็บ
    ป่วยที่สามารถรักษาเองได้
 5. ปฏิบัติตนในการดูแลรักษาและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมใน
    โรงเรียนและชุมชน
 6. อธิบายเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำาคัญของประเทศ
    กำาหนดวิธีการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อ
 7. เห็นคุณค่าและความสำาคัญของการป้องกันสิทธิของผู้บริโภค
    และเลือกซื้อสินค้าและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8. กำาหนดแนวทางและวิธีการแก้ปัญหาทางอารมณ์ได้อย่าง
       เหมาะสม
   9. อธิบายเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพและปัจจัยเสี่ยงทาง
       สุขภาพ
   10.สามารถดูแลตนเอง และป้องกันตนเองจากโรคและอันตราย
       จากการประกอบอาชีพได้
   11.มีทักษะการปฏิเสธในการไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสารเสพติด
   12. อธิบายเกี่ยวกับหลักความปลอดภัยในการดำาเนินชีวิตการ
       ป้องกันอุบัติเหตุและภัยไม่คาดคิด
   13. เห็นคุณค่าและความสำาคัญของการเสริมสร้างและความ
       รุนแรงในครอบครัวและชุมชน
   14. อธิบายเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลและสามารถปฏิบัติการ
       ปฐมพยาบาลได้อย่างถูกวิธี
   15.ระบุคุณค่า แนวทาง และความสำาคัญในการทดสอบ
       สมรรถภาพทางกาย
   16.อธิบายหลักการ ขั้นตอน และวิธีปฏิบัติกิจกรรมการออก
       กำาลังกายโดยใช้กีฬาเป็นสื่อ




         โรงเรียนบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) ๔
  ตารางวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา     สุขศึกษา
           และพลศึกษา     รหัสวิชา พ 33101

 แผน                                 จำาน ผลการ มาตรฐาน
จัดการ                เรื่อง          วน เรียนรูที่ การเรียนรู้
                                                ้
เรียนรู้                             คาบ คาดหวัง        ที่
   1     ปฐมนิเทศ                      1     -
   2     การดูแลและส่งเสริมสุขภาพ      2     1      พ 1.1
         ของผู้ใหญ่วยทองและวัยสูง
                    ั                                 ข้อ 1
อายุ
  3     สุขอนามัย พฤติกรรม และ        2        2     พ 2 .1
        สัมพันธภาพ                                   ข้อ 1, 2,3,
        ทางเพศ                                       4, 5
  4     ทักษะกีฬาวอลเลย์บอล          20       16     พ 3 .1
                                                     ข้อ 1, 2,3
  5     ทักษะกีฬาบาสเกตบอล           20       16     พ 3 .1
                                                     ข้อ 1, 2,3
  6     การดูแลสุขภาพตนเองเบื้อง      2        4     พ 4.1
        ต้น                                          ข้อ 1
  7     สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพ        2        5     พ 4.1
                                                     ข้อ 1
  8     การป้องกันโรคไม่ติดต่อที่     2        6     พ 4.1
        เป็นปัญหาสาธารณสุขใน                         ข้อ 1
        ปัจจุบัน
  9     สุขภาพผู้บริโภคและการ         2        7     พ 4.1
        คุ้มครองผู้บริโภค                            ข้อ 1
 10     อาหารและโภชนาการ              2        3     พ 4.1
                                                     ข้อ 2
 11     การจัดการกับอารมณ์และ             2    8     พ 4.1
        ความเครียด                                   ข้อ 3, 4, 5
 12     การสร้างเสริมสมรรถภาพ        12       15     พ 4.1
        ทางกาย                       (2)             ข้อ 5,6,7
           การทดสอบสมรรถภาพ          (1)
        ทางกาย ครั้งที่ 1            (2)
           การเคลื่อนไหวเบื้องต้น    (2)
           การเต้นแอโรบิคเบื้องต้น   (3)
           การเต้นแอโรบิคประกอบ      (2)
        จังหวะดนตรี
           การจัดโปรแกรมเพื่อผล
        ทางแอโรบิค
           การทดสอบสมรรถภาพ
        ทางกาย ครั้งที่ 2
 แผน                                 จำาน ผลการ มาตรฐาน
จัดการ             เรื่อง             วน เรียนรูที่ การเรียนรู้
                                                ้
เรียนรู้                             คาบ คาดหวัง       ที่
  13     พฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ       2     9      พ 5.1
และการป้องกัน                              ข้อ 1,
                                                 2,3,4
14    ความปลอดภัยในการ             2      10     พ 5.1
      ประกอบอาชีพ                                ข้อ 2,3
15    สารเสพติด                    2      11     พ 5.1
                                                 ข้อ 1,
                                                 2,3,4
16    อุบัติเหตุ                   2      12     พ 5.1
                                                 ข้อ 1,3
17    ความรุนแรง                   2      13     พ 5.1
                                                 ข้อ 1,
                                                 2,3,4
18    การปฐมพยาบาล                 2      14     พ 5.1
                                                 ข้อ 4




     การกรอกคะแนนลงโปรแกรมสำาหรับครูประจำาวิชา

การกรอกคะแนนลงโปรแกรมสำาหรับครูประจำาวิชาให้ดำาเนินการ
ดังนี้
       1. อัตราส่วนการประเมิน คือ
ม.ต้น    ระหว่างปี : ปลายปี
                ม.ปลาย ระหว่างภาค : ปลายภาค
       2. เตรียมผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและแบ่งสัดส่วนของ
คะแนนแต่ละข้อให้เรียบร้อยโดยทุกข้อรวมกันคะแนนเต็ม 100
คะแนน
       3. การประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวังมีการประเมิน ด้าน
พุทธพิสัย ด้านทักษะพิสัย
ด้านจิตพิสัย
       4. การประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง สำาหรับครูประจำา
วิชาควรมีการประเมินอย่างน้อย
2 ด้าน
       5. การลงคะแนนผลการเรียนรู้ที่คาดหวังในโปรแกรมระบบ
บริหารฯให้ครูประจำาวิชาลงคะแนน ตามที่กำาหนดดังนี้
       5.1 คะแนนครั้งที่ 1 , 2 , 3 , 4 เป็นการลงคะแนน
ด้านพุทธพิสัย
       5.2 คะแนนครั้งที่ 5 เป็นการลงคะแนนการประเมินผลก่อน
กลางปี / กลางภาคเทอม 1
       5.3 คะแนนครั้งที่ 6 เป็นการลงคะแนนการประเมินผลก
ลางปี (เฉพาะช่วงชั้นที่ 3)
       5.4 คะแนนครั้งที่ 7 เป็นการลงคะแนนการประเมินผลหลัง
กลางปี / กลางภาคเทอม 2
       5.5 คะแนนครั้งที่ 8 เป็นการลงคะแนนด้านทักษะพิสัย
       5.6 คะแนนครั้งที่ 9 เป็นการลงคะแนนด้านจิตพิสัย (
คะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์)
        6. การลงคะแนน ครั้งที่ 5 , 6 , 7 เป็นครั้งที่แจ้งผู้
ปกครองให้ลงคะแนนที่นักเรียนทำาได้จริงและกรณีที่นักเรียนตกให้
ครูประจำาวิชาดำาเนินการสอบซ่อมได้แต่ให้แก้ไขคะแนนใน
โปรแกรมหลังจากทีงานวัดผลทำาใบแจ้งคะแนนผู้ปกครองแล้ว
                     ่
        7. การลงคะแนนปลายภาค / ปลายปี ให้เลือกวัดผล
บันทึกคะแนน (หลักสูตรใหม่) →
สิ้นสุดการเรียน     ผลการเรียนรูที่คาดหวังข้อที.. →ลงคะแนน
                                ้              ่
โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔
          แบบบันทึกคะแนนผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
รายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา รหัสวิชา พ 33101 หน่วย
                   การเรียน 2.0 หน่วย
                      ปีการศึกษา 2550
อัตราส่วนคะแนน ระหว่างเรียน : ปลายปี         = 80 : 20
    ครูผู้สอน             นายสุพัฒน์ อัตจริต
                สอนระดับชั้น ม. 3/1 ถึง 3/ 8

ผลการเรียนรู้ คะแน             ครั้งที่   ปลาย
 ที่คาดหวัง   นเต็ม   1   2 3 4 5 6 7 8 9  ปี
      1         5     5
      2         5         5
      3         5                     5
      4         5                     5
      5         4                         4
      6         4                         4
      7         4                         4
      8         4             4
      9         4                 4
     10         4
                                              4
    11         4                              4
    12         4                                      4
    13         4                                      4
    14         4                                      4
    15        20                                  1   8
                                                  2
     16        20                     2
                                      0
    รวม       100     5   5 4 4 1 1 8 2 1             20
                                0 2   0 2
โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) ๔
                    แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
รหัสวิชา พ 33101               รายวิชา สุขศึกษาและ
พลศึกษา           ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
เรื่อง การทดสอบสมรรถภาพทางกาย ครั้งที่ 1
จำานวน 2            คาบ
สาระที่ 4 : การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกัน
โรค
มาตรฐานการเรียนรู้ พ : 4.1 เห็นคุณค่า และมีทักษะในการ
สร้างเสริมสุขภาพ การดำารงสุขภาพ
                                      การป้องกันโรค และการ
สร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ
…………………………………………………………………
…………………………………….
1. สาระสำาคัญ
           สมรรถภาพทางกาย (Physical Fitness) หมายถึง
สภาวะของร่างกายที่อยู่ในสภาพที่ดี เพื่อที่จะช่วยให้บุคคล
สามารถทำางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บุคคลที่มีสมรรถภาพทาง
กายดี ก็จะสามารถปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ในชีวิตประจำาวัน การออก
กำาลังกาย การเล่นกีฬาและแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆไ ด้เป็นอย่างดี
2. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
           มาตรฐานที่ 6 ทดสอบสมรรถภาพทางกายหรือ
สมรรถภาพทางกลไก ด้วยวิธที่ถูกต้อง
                             ี
3. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
           นักเรียนมีสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพผ่านเกณฑ์
มาตรฐาน
4. จุดประสงค์การเรียนรู้
            1. เพื่อประเมินความเหมาะสมของสัดส่วนของร่างกาย
(นำ้าหนักและส่วนสูง)
        2. เพื่อทดสอบความแข็งแรงของร่างกาย
        3. เพื่อทดสอบความอ่อนตัวของร่างกาย
        4. เพื่อทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว
5. เพื่อทดสอบความอดทนของระบบหายใจและระบบ
ไหลเวียนโลหิต
5. เนื้อหาสาระ
      สมรรถภาพทางกายแบ่งออกเป็น ٢ ชนิด คือ สมรรถภาพ
ทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ (Health-Related Physical
Fitness) และสมรรถภาพทางกาย ทีสัมพันธ์กับทักษะ (Skill-
                                     ่
Related Physical Fitness)
      สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ เป็น
สมรรถภาพทางกายที่ช่วยลดอัตราความเสี่ยงของการเกิดปัญหา
ทางด้านสุขภาพต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย
              ١. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscular
Strength ) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อ ซึ่งทำาให้เกิด
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อเพื่อใช้แรงในการยกหรือดึงสิ่งของต่าง ๆ
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจะช่วยทำาให้รางกายทรงตัวเป็นรูปร่าง
                                         ่
ขึ้นมาได้ ซึ่งจะเป็นความสามารถของกล้ามเนื้อที่ช่วยให้รางกาย
                                                          ่
ทรงตัวต้านกับแรงศูนย์ของโลกอยู่ได้โดยไม่ล้ม เป็นความแข็ง
แรงของกล้ามเนื้อทีใช้ในการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน เช่น การวิง
                     ่                                        ่
การกระโดด การเขย่ง การกระโจน การกระโดดขาเดียว การก
ระโดดสลับเท้า เป็นต้น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออีกชนิดหนึ่ง
เรียกว่า ความแข็งแรงเพื่อเคลื่อนไหวในมุมต่างๆ เช่น การ
เคลื่อนไหวแขนและขาในมุมต่าง ๆ เพื่อเล่นเกมกีฬา หรือใช้ใน
การปา การขว้าง การเตะ การตี เป็นต้น และความแข็งแรงชนิด
สุดท้ายเรียกว่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในการเกร็ง เป็นความ
สามารถของร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ในการ
ต้านทานแรงที่มากระทำาจากภายนอกโดยไม่ล้มหรือสูญเสียการ
ทรงตัวไป
             ٢. ความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscular
Endurance) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อในการออกแรง
ทำาให้วัตถุเคลื่อนที่ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ หรือหลายครั้งต่อ
เนื่องกันได้ ความอดทนของกล้ามเนื้อสามารถเพิ่มได้มากขึ้นโดย
การเพิ่มจำานวนครั้งในการปฏิบัติกิจกรรมซึ่งจะขึ้นอยู่กับปัจจัย
หลายอย่าง เช่น อายุ เพศ ระดับสมรรถภาพทางกายของเด็ก และ
ชนิดของการออกกำาลังกาย
      ٣. ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบ
หายใจ(Cardiorespiratory Endurance) หมายถึง ความสามารถ
ของหัวใจ ปอด และหลอดเลือดในการที่จะลำาเลียงออกซิเจน
และสารอาหารไปยังกล้ามเนื้อที่ใช้ในการออกแรง และขณะ
เดียวกันก็นำาสารที่ไม่ต้องการ ซึงเกิดขึ้นภายหลังการทำางานของ
                                 ่
กล้ามเนื้อ ออกจากกล้ามเนื้อทีใช้ในการออกแรง ในการพัฒนา
                                   ่
หรือเสริมสร้างนั้นเด็กจะต้องมีการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ๆ
เช่น การวิ่ง การกระโดด โดยใช้ระยะเวลาติดต่อกันอย่างน้อย
ครั้งละ ١٥ – ١٠ นาที
      ٤. ความอ่อนตัว ( Flexibility ) หมายถึง ความสามารถ
ในการเคลื่อนไหวของส่วนแขน ส่วนขา หรือส่วนต่าง ๆ ของร่าง
ก่ายให้เต็มขีดจำากัดของการเคลื่อนไหวนั้น ๆ การพัฒนาทางด้าน
ความอ่อนตัวทำาได้โดยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อและเอ็น หรือการ
ใช้แรงต้านทานในกล้ามเนื้อและเอ็นต้องทำางานมากขึ้น การยืด
เหยียดของกล้ามเนื้อทำาได้ทั้งแบบอยู่กับที่หรือมีการเคลื่อนที่
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดควรใช้การเหยียดของกล้ามเนื้อใน
ลักษณะอยู่กับที่ นั่นคืออวัยวะส่วนแขนและขาหรือลำาตัวจะต้อง
เหยียด จนกว่ากล้ามเนื้อจะรู้สึกตึงและจะต้องอยู่ในท่าเหยียด
กล้ามเนื้อในลักษณะนี้ประมาณ ١٥ – ١٠ นาที
      สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะ เป็นสมรรถภาพ
ทางกายที่จำาเป็นจะต้องใช้สำาหรับการเล่นกีฬา ซึงจะทำาให้การ
                                                 ่
เล่นกีฬามีประสิทธิภาพที่สุด โดยจะประกอบด้วยสมรรถภาพทาง
กายที่สัมพันธ์กับสุขภาพควบคู่กับองค์ประกอบด้านอื่น ๆ ดังนี้
      ١. ความเร็ว (Speed) หมายถึง ความสามารถในการ
เคลื่อนไหวไปสู่เป้าหมายที่ต้องการโดยใช้ระยะเวลาอันสั้นที่สุด
ซึ่งกล้ามเนื้อจะต้องออกแรงและหดตัวด้วยความเร็วสูงสุด
      ٢. กำาลังของกล้ามเนื้อ (Muscle Power) หมายถึง ความ
สามารถของกล้ามเนื้อในการทำางานโดยการออกแรงสูงสุด ในช่วง
ระยะเวลาที่สั้นที่สุด ซึ่งจะต้องมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและ
ความเร็วเป็นองค์ประกอบหลัก
      3. ความคล่องแคล่วว่องไว (Agility) หมายถึง ความ
สามารถในการเปลี่ยนทิศทางและตำาแหน่งร่างกายในขณะที่กำาลัง
เคลื่อนไหวโดยใช้ความเร็วได้อย่างเต็มที่ จัดเป็นสมรรถภาพทาง
กายที่จำาเป็นในการนำาไปสู่การเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานสำาหรับทักษะ
ในการเล่นกีฬาประเภทต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ
      ٤. การทรงตัว (Balance) หมายถึง ความสามารถในการ
ควบคุมรักษาตำาแหน่งและท่าทางของร่างกายให้อยูในลักษณะ
                                                   ่
ตามที่ต้องการได้ ทังขณะที่อยู่กับที่หรือในขณะที่มีการ
                       ้
เคลื่อนไหว
٥. เวลาปฏิกิริยา (Reaction Time) หมายถึง ระยะ
เวลาที่เร็วที่สุดทีร่างกายเริ่มมีการตอบสนองหลังจากที่ได้รบการก
                   ่                                       ั
ระตุ้น ซึ่งเป็นความสามารถของระบบประสาท เมื่อรับรู้การถูก
กระตุ้นแล้วสามารถสั่งการให้อวัยวะที่ทำาหน้าที่เกี่ยวข้องกับการ
เคลื่อนไหวให้มีการตอบสนองอย่างรวดเร็ว
       ٦. การทำางานทีประสานกัน (Coordination) หมายถึง
                        ่
ความสัมพันธ์ระหว่างการทำางานของระบบประสาทและระบบกล้าม
เนื้อ ในการที่จะปฏิบัติกิจกรรมทางกลไกที่สลับซับซ้อนในเวลา
เดียวกัน อย่างราบรื่นและแม่นยำา

แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ
       สำาหรับเด็กไทย อายุ ١٨ – ٧ ปี

   รายการทดสอบ                องค์ประกอบที่ต้องการวัด
١. ดัชนีมวลกาย          เพื่อประเมินความเหมาะสมของสัดส่วน
( Body Mass Index :     ร่างกาย (นำ้าหนักและส่วนสูง)
BMI )
٢. ลุก-นัง ٦٠ วินาที
         ่              เพื่อวัดความแข็งแรงและความอดทน
( Sit-Ups 60 Seconds    ของกล้ามเนื้อท้อง
)
٣. ดันพื้น ٣٠ วินาที    เพื่อวัดความแข็งแรงและความอดทน
( Push- Ups 30          ของกล้ามเนื้อแขน และกล้ามเนื้อส่วน
Seconds)                บนของร่างกาย
٤. นังงอตัวไปข้างหน้า
      ่                 เพื่อวัดความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อหลัง
( Sit and Reach )       และต้นขาด้านหลัง

٥. วิงอ้อมหลัก ( Zig-
     ่                  เพื่อวัดความแคล่วคล่องว่องไว
Zag Run )
٦. วิงระยะไกล
       ่                เพื่อวัดความอดทนของระบบหายใจและ
( Distance Run )        ระบบไหลเวียนโลหิต

6. กิจกรรมการเรียนรู้
     ขั้นนำา
     1. นักเรียนเข้าแถวตอน 5 แถว ๆ ละ 10 คน
     2. สำารวจรายชื่อนักเรียน
     ขั้นอธิบายและสาธิตการฝึกปฏิบัติ
1. ครูอธิบายวัตถุประสงค์การทดสอบสมรรถภาพทางกาย
      2. ครูบอกขั้นตอนการทดสอบโดยกำาหนดวันทดสอบออก
เป็น 2 วัน
             2.1 วันแรก ทดสอบ การลุก-นัง 60 วินาที ดันพื้น 30
                                         ่
วินาที วิงอ้อมหลัก
          ่
              2.2 วันที่สอง ทดสอบนั่งงอตัวไปด้านหน้า และวิ่ง
ระยะไกล
      ขั้นสอนหรือฝึกปฏิบัติ
              นักเรียนทดสอบสมรรถภาพทางกายเป็นฐาน
      ขั้นนำาไปใช้
               1. จดข้อมูลสถิตการทดสอบ
               2. นักเรียนนำาผลจากการทดสอบสมรรถภาพทางกาย
มาเทียบเกณฑ์มาตรฐาน
               3. บันทึกข้อมูลลงในใบบันทึกสมรรถภาพทางกาย
ครั้งที่ 1
      ขั้นสรุปและประเมินผล
      1. รวมแถว
      2. นำาใบทดสอบสมรรถภาพทางกาย ครั้งที่ 1 มาประมวล
            ผล
      3. สุขปฏิบัติ
7. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
               1. แบบประเมินการทดสอบสมรรถภาพทางกาย
               2. อุปกรณ์การทดสอบสมรรถภาพทางกาย
8. การวัดผลและประเมินผล
      วิธีวัดผล
      1. ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย
      2. สังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนและการฝึกปฏิบัติ
      เครื่องมือวัดผล
      1. แบบประเมินการทดสอบสมรรถภาพทางกาย
               2. แบบประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียนและการฝึก
ปฏิบัติ
      เกณฑ์การประเมินผล
      แบบฝึกการทดสอบสมรรถภาพทางกาย
            ระดับ 5 ดีมาก ระดับ 4 ดี ระดับ 3 ปานกลาง
            ระดับ 2 ตำ่า ระดับ 1 ตำ่ามาก
9. กิจกรรมสืบเนื่อง
-

                                                 ลงชื่อ
                                                       (นายสุพัฒน์ อัต
จริต)
                                                               ตำาแหน่ง
ครู

        …… / ............ / .............


10. ข้อเสนอแนะของรองผู้อำานวยการกลุ่มบริหารวิชาการ
          แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการทดสอบสมรรถภาพทาง
  กายเพื่อสุขภาพ มีเนื้อหาสาระที่เข้าใจ มีการสอนที่ถูกขั้นตอน
  มีเกณฑ์มาตรฐานสำาหรับนักเรียนสามารถเปรียบเทียบเกณฑ์ได้
  ชัดเจน
         ในเรื่องสุขภาพของนักเรียนควรวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นราย
  บุคคล ควรตรวจสอบหรือสอบถามเกี่ยวกับสุขภาพ โรคประจำา
  ตัวของนักเรียน เพื่อป้องกันการเหตุ โดยทำาบันทึกสอบถามผู้
  ปกครองจะเป็นการดี และควรให้ความเอาใจใส่ในการทดสอบ
  สมรรถภาพทางกาย


                                            ลงชื่อ      พิศวาท คะลี
                                  ล้วน
                                                          (นางพิศวาท
                                  คะลีลวน)
                                       ้
                                          ตำาแหน่ง รองผู้อำานวย
                                  การกลุมบริหารวิชาการ
                                        ่

١1. ข้อเสนอแนะของผู้อำานวยการโรงเรียน
          เห็นด้วยตามข้อเสนอแนะรองผู้อำานวยการกลุ่มบริหาร
วิชาการ
ลงชื่อ             วิสิทธิ์
                               ใจเถิง
                                                 (นายวิสทธิ์
                                                        ิ
                               ใจเถิง)
                                                     ผู้
อำานวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔


12. บันทึกหลังการสอน
           ด้านผลการเรียน
            นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจวิธีการทดสอบ
สมรรถภาพทางกาย สามารถปฏิบัติตามฐานต่าง ๆได้เป็นอย่างดี
           ด้านพฤติกรรม
           นักเรียนมีความตั้งใจในการทดสอบสมรรถภาพทาง
กาย มีความรับผิดชอบ มีนำ้าใจต่อกัน ทำางานร่วมกันเป็นทีม
          ปัญหาและอุปสรรค
            เวลาทีใช้ในการทดสอบสมรรถภาพทางกายค่อนข้าง
                   ่
น้อย อากาศร้อน อุปกรณ์การทดสอบยังน้อยไม่เพียงพอกับ
จำานวนนักเรียน
          ข้อเสนอแนะ
                                -



ลงชื่อ     สุพัฒน์ อัตจริต

( นายสุพัฒน์ อัตจริต ) ผู้บันทึก
โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) ๔
                    แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
รหัสวิชา       พ 33101              รายวิชา สุขศึกษาและ
พลศึกษา                     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
เรื่อง    การเคลื่อนไหวเบื้องต้น
จำานวน 1           คาบ
สาระที่ 4 : การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกัน
โรค
มาตรฐานการเรียนรู้ พ : 4.1 เห็นคุณค่า และมีทักษะในการ
สร้างเสริมสุขภาพ การดำารงสุขภาพ
                                     การป้องกันโรค และการ
สร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ
…………………………………………………………………………………
…………………….
1. สาระสำาคัญ
       การเคลื่อนไหวและออกกำาลังกายอย่างสมำ่าเสมอ และความ
สมบูรณ์พร้อมทางกาย (Fitness) มีความสำาคัญยิ่งต่อสุขภาพและ
ความอภิรมณ์ของประชาชนทุกวัย และตลอดช่วงอายุขยความ   ั
สมบูรณ์พร้อมทางกาย เป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมการ
เคลื่อนไหวออกกำาลังกาย พฤติกรรมจะเกิดขึ้นอย่างสมำ่าเสมอ
จำาเป็นต้องบูรณาการการเคลื่อนไหวและออกกำาลังกายร่วมเป็นอัน
หนึ่งอันเดียวกับวิถีชีวิต
2. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
            มาตรฐานที่ 6 เห็นความสำาคัญของการมีสมรรถภาพที่
ดีจากการออกกำาลังกายและเล่นกีฬา
3. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
           เห็นความสำาคัญของหลักการเคลื่อนไปเบื้องต้น รู้เข้าใจ
และมีทักษะ สามารถนำาหลักการเคลื่อนไหวไปใช้ในชีวิตประจำาวัน
ได้
4. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนรู้เข้าใจและอธิบายความสำาคัญของหลักการ
    เคลื่อนไหวเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง
            2. นักเรียนมีทักษะการเคลื่อนไหวเบื้องต้นอย่างถูกต้อง
                     3. นักเรียนสามารถนำาไปปฏิบัติในการนำาไปใช้ใน
ชีวิตประจำาวันได้
    5. เนื้อหาสาระ
                การเคลื่อนไหวเบื้องต้น
                      1. การจัดท่าทางหรือการยืน ท่าที่สำาคัญในการเริ่ม
    ต้นคือ ท่ายืน คนเราเมื่ออายุมากขึ้นมักจะหลังโกง พุงยื่น หลัง
    แอ่น ก้นงอน ท่ายืนที่ถูกต้องจะต้องประกอบด้วย
                         1.1 ศีรษะตั้งตรงไม่ยนไปข้างหน้า หรือเอียง
                                                ื่
    ข้างใดข้างหนึ่ง
                         1.2 หลังยืดตรง ไหล่ไม่งุ้มหรือเอียง
                         1.3 พุงไม่ยื่นไปข้างหน้า
                         1.4 หลังบริเวณเอวไม่แอ่น
                         1.5 กระดูกเชิงกรานไม่เอนทำามุมมากจน
    กระทั่งก้นยื่นไปข้างหลังมากเกินไป
                         1.6 มองจากด้านข้างเมื่อลากเส้นตรงในแนว
    ดิ่งเริ่มต้นจากติ่งหู เส้นนั้นควรจะผ่านกึ่งกลางของไหล่ จุด
    กึ่งกลางของกระดูกเชิงกราน ด้านหลังของสะบ้าหัวเข่าและตาตุ่ม
                     2. การก้าวเท้า เพื่อให้เกิดการเคลื่อนที่ ซึ่งในชีวิต
    ประจำาวันเรามักใช้กันอยู่ 2 ลักษณะคือ การเดินและการวิง การ ่
    เคลื่อนไหวทังสองเป็นการเคลื่อนไหวที่แตกต่างกันด้วยความเร็ว
                   ้
    และลักษณะการก้าวเท้า การฝึกการเต้นแอโรบิคจะนำาการก้าวเท้า
    มาฝึกหัดใหม่เพื่อเพิ่มทักษะในการประสานงานและความแข็งแรง
    ของกล้ามเนื้อ โดยพัฒนาด้วยปัจจัยต่าง ๆ คือ
                           2.1 ทิศทาง เช่น การเดินหรือวิ่งตรง วิงผ่าน
                                                                  ่
    ซิกแซก โค้งวงกลม ก้าวไปข้าง ๆ เดินหน้า ถอยหลัง
                                  2.2 ระดับ การเดินหรือการวิ่งในระดับ
    ต่างระดับ บนทางชัน ทางลาด
                  2.3 ระยะทาง ใกล้ ไกล ก้าวสั้น ก้าวยาว
                        2.4 การลงนำ้าหนัก การก้าวลงนำ้าหนัก การก้าว
    อย่างแผ่วเบา การถ่ายนำ้าหนักจากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้าย
                              2.5 ความเร็ว ก้าวช้า ก้าวเร็ว การหยุด
                              2.6 จังหวะ การก้าวเร็วสลับช้า หนึ่ง
    จังหวะ สองจังหวะ สามจังหวะ
3. การกระโดด
                     Jump หมายถึง การกระโดดลอยตัวขึ้นจาก
พื้นด้วยเท้าทั้งสองข้างพร้อมกันและกลับลงถึงพื้นพร้อมกันทัง  ้
สอง
                     Hop หมายถึง การกระโดดลอยตัวขึ้นจากพื้น
ด้วยเท้าข้างใดข้างหนึ่งเท้าเดียวแล้วกลับลงสู่พื้นด้วยเท้าข้างเดิม
                4. การหันหรือการหมุน เป็นการเคลื่อนไหวเบื้อง
ต้นที่จะนำาไปสู่การเปลี่ยนทิศทางและเปลี่ยนลีลา การหมุนแบ่ง
เป็น 3 แบบ คือ
                     1. หมุนแบบปิด
                     2. หมุนแบบเปิด
                     3. กระโดดหมุน
               การหมุนแบบปิดและเปิดต่างกันทีท่าทางของ
                                               ่
ร่างกายว่ามีลักษณะม้วนหรือหุบเข้าเป็นลักษณะปิด ถ้ามีลักษณะ
กางหรือยืดออกก็เป็นการแสดงความรู้สึกเปิด การหันหรือการหมุน
มักจะเป็นสิ่งที่ยากสำาหรับคนหัดเต้นรำาเพราะจะต้องอาศัยการ
ทำางานที่สัมพันธ์กันของกล้ามเนื้อหลายส่วนรวมทั้งลีลาการก้าว
เท้าที่ซับซ้อนขึ้น จึงเป็นกิจกรรมที่มประโยชน์อย่างหนึ่งในการ
                                     ี
ฝึกหัดการประสานงานของกล้ามเนื้อและประสาท
               การหมุนแบบง่าย ๆ และให้ประโยชน์มาก คือ การ
หมุนบนปลายเท้าเพียงครึงรอบ ่
ซึ่งจะใช้เท้าเดียวหรือสองเท้าก็ได้ จะทำาให้เราเปลียนทิศทางได้
                                                  ่
ง่ายและรวดเร็วโดยไม่ก้าวเท้า
                 5. การโค้งตัว ตามความหมายการโค้งตัวลงทาง
ด้านหน้าเราเรียกว่า การก้ม และการม้วน การโค้งตัวไปด้านหลัง
เรียกว่า แอ่นหลัง โค้งตัวไปด้านข้างเรียกว่า เอียงข้าง การกระ
ทำาเช่นนั้นได้ต้องอาศัยความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อและข้อต่อ
กระดูกสันหลังค่อนข้างมากซึ่งจะต้องมีการฝึกหัดอย่างค่อยเป็น
ค่อยไป สิ่งที่ควรจำาประการหนึงคือ ขณะที่เราโค้งตัวลงด้านข้าง
                                ่
ขอให้เป็นการตะแคงตัวลงจริง ๆ อย่าบิดเอวหรือก้มตัว
                 6. การทรงตัว การฝึกหัดการทรงตัวควรจะกระทำา
ให้หลาย ๆ ท่า ทังท่ายืน นั่ง และนอน ทังนี้เพราะการทรงตัวจะ
                   ้                     ้
ต้องอาศัยทั้งความแข็งแรง และการประสานงานของกล้ามเนื้อ
รวมทั้งการทำางานของระบบประสาทด้วย จึงควรฝึกหัดเพื่อเพิ่ม
ทักษะให้มาก การฝึกหัดการทรงตัวควรทำาอย่างช้า ๆ และการ
ทรงตัวอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งควรทำาให้นิ่งไว้ประมาณสองสามวินาที
เป็นอย่างน้อย
6. กิจกรรมการเรียนรู้
     ขั้นนำา
     1. นักเรียนเข้าแถวตอน 5 แถว ๆละ 10 คน
     2. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับการออกกำาลังกายในชีวิต
ประจำาวัน
     3. ครูกล่าวถึงการนำาแบบฝึกการเต้นแอโรบิคเพื่อสร้างเสริม
สมรรถภาพทางกายมาฝึกปฏิบัติเนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่มี
ปัญหาในเรื่องของความอดทนหรือความทนทานของระบบหายใจ
และระบบไหลเวียนโลหิต โดยศึกษาข้อมูลจากการที่นักเรียน
ทำาการทดสอบสมรรถภาพทางกายและนำามาเปรียบเทียบกับ
เกณฑ์มาตรฐาน
     4. ครูชี้แจงในเรื่องหลักการเคลื่อนไหวเบื้องต้นให้นักเรียน
     5. เปิดโอกาสให้นักเรียนซักถาม
     ขั้นอธิบายและสาธิตการฝึกปฏิบัติ
     1. ครูอธิบายและสาธิตท่าทางการเคลื่อนไหวเบื้องต้น
ได้แก่ การยืน การก้าวเท้า
การกระโดด การหันหรือการหมุน การโค้งตัว การทรงตัว
     2. นักเรียนเข้าแถวตามเดิมแต่ขยายแถวระยะห่างสองช่วง
แขน
     3. อบอุ่นร่างกายด้วยการเหยียดกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ
     4. มอบหมายให้นักเรียนรับผิดชอบการอบอุ่นร่างกายหน้า
แถว
     ขั้นสอนหรือฝึกปฏิบัติ
     1. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 10 คน
     2. ฝึกการเคลื่อนไหวเบื้องต้นโดยแบ่งออกเป็น 6 ฐาน
     3. ใช้เวลาในแต่ละฐาน 5 นาที
     4. ครูเป็นผู้จับเวลาเมื่อครบเวลาให้นักเรียนเปลี่ยนฐาน
     ขั้นนำาไปใช้
     1. นักเรียนแต่ละกลุ่มเข้าแถวตอน 5 แถว ๆ ละ 10 คน
     2. ระยะห่างจากแถว 2 ช่วงแขน
     3. แข่งขันการจัดท่าทางการยืน การก้าวเท้า การกระโดด
         การหันหรือการหมุน
การโค้งตัว การทรงตัว
     4. กล่าวคำาชมเชยในความตั้งใจของนักเรียน
ขั้นสรุปและประเมินผล
      1. นักเรียนแต่ละกลุ่มเข้าแถวตอน 5 แถว ๆ ละ 10 คน
      2. ครูสรุปเนื้อหาการเคลื่อนไหวเบื้องต้นอีกครั้งหนึ่ง
      3. เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการซักถาม
      4. ครูอธิบายแบบประเมินการเคลื่อนไหวเบื้องต้น
      5. ครูอธิบายพฤติกรรมระหว่างเรียนและการฝึกปฏิบัติ
          ระหว่างเรียนและการฝึกปฏิบัติ
      6. สุขปฏิบัติ
      7. นัดหมายการเรียนครั้งต่อไป
7. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
             1. แบบประเมินการเคลื่อนไหวเบื้องต้นเกี่ยวกับการ
เต้นแอโรบิค
             2. แบบประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียนและการฝึก
ปฏิบัติ
8. การวัดผลและประเมินผล
      วิธีวัดผล
      1. ผลการฝึกปฏิบัติการเคลื่อนไหวเบื้องต้น
      2. สังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนและการฝึกปฏิบัติ
      เครื่องมือวัดผล
      1. แบบประเมินการเคลื่อนไหวเบื้องต้น
               2. แบบประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียนและการฝึก
ปฏิบัติ
      เกณฑ์การประเมินผล
      1. แบบฝึกการเคลื่อนไหวเบื้องต้น
                  ระดับ 5 ดีมาก ระดับ 4 ดี ระดับ 3 ปาน
กลาง ระดับ 2 ตำ่า ระดับ 1 ตำ่ามาก
              2. แบบประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียนและการฝึก
ปฏิบัติ
                  ระดับ 5 ดีมาก ระดับ 4 ดี ระดับ 3 ปาน
กลาง ระดับ 2 ตำ่า ระดับ 1 ตำ่ามาก



9. กิจกรรมสืบเนื่อง
                              -
ลงชื่อ
                                                       (นายสุพัฒน์ อัต
จริต)
                                                               ตำาแหน่ง
ครู

        …… / ............ / .............


10. ข้อเสนอแนะของรองผู้อำานวยการกลุ่มบริหารวิชาการ
         เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี มีกิจกรรมการเรียนการ
  สอน สอดคล้องกับผลการเรียนรูที่คาดหวัง เนื้อหาวิชาและสื่อ
                              ้
  การเรียนการสอน


                                            ลงชื่อ      พิศวาท คะลี
                                  ล้วน
                                                          (นางพิศวาท
                                  คะลีลวน)
                                       ้
                                          ตำาแหน่ง รองผู้อำานวย
                                  การกลุมบริหารวิชาการ
                                        ่

١1. ข้อเสนอแนะของผู้อำานวยการโรงเรียน
              จัดทำาแผนการจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับผลการ
 เรียนรู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์การเรียนรู้ โดยจัดกิจกรรมเน้นผู้
 เรียนเป็นสำาคัญ


                                             ลงชื่อ            วิสิทธิ์
                                            ใจเถิง
                                                             (นายวิสทธิ์
                                                                    ิ
                                            ใจเถิง)
                                                                 ผู้
อำานวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔
12. บันทึกหลังการสอน
           ด้านผลการเรียน
           นักเรียนเรียนรู้หลักการเคลื่อนไหวเบื้องต้นได้ดี เพราะ
ใช้ในชิวิตประจำาวันอยู่แล้ว เพียงแต่ปรับแก้เล็กน้อยผลสัมฤทธิ์จึง
ออกมาในเกณฑ์ ดีและดีมาก

 ด้านพฤติกรรม
        1. นักเรียนมีปัญหาอุปสรรคอยู่บ้างในห้องท้าย ๆ แต่ส่วน
ใหญ่ตั้งใจเรียน มีความสนใจในการเรียนเป็นอย่างดี
         2. ยังติดการเล่น มองข้ามความสนใจ แต่เป็นกิจกรรม
    ง่ายจึงผ่านเกณฑ์ที่ดี
             ปัญหาและอุปสรรค
             สถานที่ไม่สะดวกเท่าที่ควรเพราะต้องใช้ใต้ตึกอาคาร
2 เป็นที่เรียนซึงเป็นสถานที่คับแคบเนื่องจากทางโรงเรียนไม่มี
                ่
โรงฝึกพลศึกษา
             ข้อเสนอแนะ
              การตรงต่อเวลานักเรียนยังต้องแก้ไข การกระโดด
หมุนตัวยังต้องมีการพัฒนา




ลงชื่อ      สุพัฒน์ อัตจริต

( นายสุพัฒน์ อัตจริต ) ผู้บันทึก
โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) ๔
                       แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
รหัสวิชา พ 33101                    รายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา
                    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
เรื่อง ท่าการเต้นแอโรบิคเบื้องต้น
จำานวน 1             คาบ
สาระที่ 4 : การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกัน
โรค
มาตรฐานการเรียนรู้ พ : 4.1 เห็นคุณค่า และมีทักษะในการ
สร้างเสริมสุขภาพ การดำารงสุขภาพ
                                          การป้องกันโรค และการ
สร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ
…………………………………………………………………………………
…………………….
1. สาระสำาคัญ
         การเต้นแอโรบิคเป็นการออกกำาลังกายแบบแอโรบิกชนิด
หนึ่งทีประยุกต์เอาท่า กายบริหารต่างๆ ทักษะการเคลือนไหวของ
       ่                                              ่
ร่างกายและทักษะการเต้นรำามาผสมผสานอย่างกลมกลืนไปกับ
จังหวะดนตรี ได้แก่ท่า Marching Walk Forward Walk
Backward Step Touch Two Touch V-Step L-Step U-
Step Grapevine Leg Curl Hop
2. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
             มาตรฐานที่ 6 เห็นความสำาคัญของการมีสมรรถภาพที่
ดีจากการออกกำาลังกายและเล่นกีฬา
3. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
             นักเรียนรู้เข้าใจ มีทักษะการเต้นแอโรบิคเบื้องต้น นำา
ไปใช้เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ
4. จุดประสงค์การเรียนรู้
1.  นักเรียนรู้เข้าใจและอธิบายความสำาคัญของการเต้น
        แอโรบิคเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง
     2. นักเรียนมีทักษะการเต้นแอโรบิคเบื้องต้นด้วยท่าทาง
     ต่าง ๆได้อย่างถูกต้อง
       3. นักเรียนสามารถนำาไปปฏิบัติในการนำาไปใช้ในชีวิต
       ประจำาวันได้
5. เนื้อหาสาระ
            ท่าการเต้นแอโรบิคเบื้องต้น
            1. Marching คือ การยำ่าเท้าอยู่กับที่ ตามจังหวะ
เพลง 8 จังหวะ โดยการยกขาซ้ายขึ้นให้อยู่เหนือพื้น ลดขาซ้าย
ลงแล้วเปลี่ยนเป็นยกขาขวาขึ้นทำาสลับกัน
            2. Walk Forward คือ การก้าวหรือเดินไปข้างหน้า
4 จังหวะ โดยการก้าวเท้าซ้าย-ขวา-ซ้าย และก้าวเท้าขวามาชิด
เท้าซ้าย
            3. Walk Backward คือ การก้าวหรือเดินถอยหลัง 4
จังหวะโดยการเดินถอยหลังโดยเริ่มจากถอยเท้าขวา-ซ้าย-ขวา
และถอยเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวา (ต่อเนื่องจากท่า Walk Forward)
            4. Step Touch คือ การก้าวแตะซ้าย 2 จังหวะ และ
ขวา 2 จังหวะ โดยการก้าวเท้าซ้ายออกด้านข้างแล้วก้าวเท้าขวา
ชิดเท้าซ้าย จากนั้นให้ก้าวเท้าขวาออกด้านข้างแล้วก้าวเท้าซ้าย
ชิดเท้าขวา
             5. Two Touch คือ การก้าวแตะซ้าย 4 จังหวะ และ
ขวา 4 จังหวะ โดยการก้าวเท้าซ้ายออกด้านข้าง ก้าวเท้าขวาชิด
เท้าซ้าย ก้าวเท้าซ้ายออกด้านข้าง และก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้าย
จากนั้นก้าวเท้าขวาออกด้านข้าง ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ก้าวเท้า
ขวาออกด้านข้าง แล้วก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา
4 จังหวะ
6. กิจกรรมการเรียนรู้
            ขั้นนำา
       1. นักเรียนเข้าแถวตอน 5 แถว ๆละ 10 คน
       2. ครูสนทนากับนักเรียนเรื่องเกี่ยวกับการเรียนครังที่ผ่านมา
                                                       ้
พร้อมทบทวนท่าการ เคลื่อนไหวเบื้องต้น
       3. ครูแนะนำาแบบฝึกท่าการเต้นแอโรบิคเบื้องต้น
               4. แจกแบบฝึกให้แก่นักเรียนโดยที่ครูเป็นผู้อธิบาย
เมื่อนักเรียนยังมีข้อสงสัย
5. เปิดโอกาสให้นักเรียนซักถาม
       ขั้นอธิบายและสาธิตการฝึกปฏิบัติ
       1. ครูอธิบายและสาธิตท่าทางการเต้นแอโรบิคเบื้องต้น
ได้แก่ท่า Marching
Walk Forward Walk Backward Step Touch Two Touch
       2. นักเรียนขยายแถวระยะห่างสองช่วงแขน
       3. อบอุ่นร่างกายด้วยการเหยียดกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ
       ขั้นสอนหรือฝึกปฏิบัติ
       1. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 10 คน
       2. ฝึกท่าการเต้นแอโรบิคเบื้องต้นโดยแบ่งออกเป็น 5
ฐาน โดยใช้แบบฝึกเข้าช่วยใน
การเรียนการสอน
       3. แบบฝึกมีจำานวน 5 ท่า ได้แก่ Marching Walk
       Forward Walk Backward
Step Touch Two Touch
       4. ครูเป็นผู้จับเวลาเมื่อครบเวลาให้นักเรียนเปลี่ยนฐาน ๆ
       ละ 5 นาที
       ขั้นนำาไปใช้
       1. นักเรียนแต่ละกลุ่มเข้าแถวตอน 5 แถว ๆ ละ 10 คน
       2. ระยะห่างจากแถว 2 ช่วงแขน
              3. ฝึกท่าการเต้นแอโรบิคเบื้องต้น ด้วยท่า
       Marching Walk Forward Walk Backward
Step Touch Two Touch โดยการนับจังหวะทำาท่าละ 2 ครั้ง
       4. กล่าวคำาชมเชยในความตั้งใจของนักเรียน
       ขั้นสรุปและประเมินผล
       1. นักเรียนแต่ละกลุ่มเข้าแถวตอน 5 แถว ๆ ละ 10 คน
       2. ครูสรุปเนื้อหาท่าการเต้นแอโรบิคเบื้องต้นอีกครั้งหนึ่ง
       3. เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการซักถาม
       4. ให้นักเรียนนำาแบบฝึกกลับไปฝึกซ้อมที่บาน  ้
       5. สุขปฏิบัติ
       6. นัดหมายการเรียนครั้งต่อไป
7. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
             1. แบบประเมินท่าการเต้นแอโรบิคเบื้องต้น
             2. แบบประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียนและการฝึก
ปฏิบัติ
8. การวัดผลและประเมินผล
วิธีวัดผล
      1. ผลการฝึกปฏิบัติท่าการเต้นแอโรบิคเบื้องต้น
      2. สังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนและการฝึกปฏิบัติ
      เครื่องมือวัดผล
      1. แบบประเมินการท่าการเต้นแอโรบิคเบื้องต้น
             2. แบบประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียนและการฝึก
ปฏิบัติ
      เกณฑ์การประเมินผล
      1. แบบฝึกท่าการเต้นแอโรบิคเบื้องต้น
                 ระดับ 5 ดีมาก ระดับ 4 ดี ระดับ 3 ปาน
กลาง ระดับ 2 ตำ่า ระดับ 1 ตำ่ามาก
              2. แบบประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียนและการฝึก
ปฏิบัติ
                 ระดับ 5 ดีมาก ระดับ 4 ดี ระดับ 3 ปาน
กลาง ระดับ 2 ตำ่า ระดับ 1 ตำ่ามาก
9. กิจกรรมสืบเนื่อง
      ฝึกทบทวนการเคลื่อนไหวเบื้องต้น ได้แก่ การจัดท่าทาง
หรือการยืน การก้าวเท้า
การกระโดด การหันหรือการหมุน การโค้งตัว การทรงตัว



                                          ลงชื่อ
                                                   (นายสุพัฒน์
อัตจริต)
                                                       ตำาแหน่ง
ครู

      …… / ............ / .............


10. ข้อเสนอแนะของรองผู้อำานวยการกลุ่มบริหารวิชาการ
            เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึก
  ปฏิบัติ สามารถฝึกปฏิบัติได้ด้วยตนเอง เพราะมีสื่อการเรียน
  การสอนที่เป็นแบบฝึกมาประกอบการสอน สามารถนำามาใช้เป็น
นวัตกรรมการสอนที่มีประสิทธิภาพได้

                                   ลงชื่อ      พิศวาท คะลี
                            ล้วน
                                                 (นางพิศวาท
                            คะลีลวน)
                                 ้
                                    ตำาแหน่ง รองผู้อำานวย
                            การกลุมบริหารวิชาการ
                                  ่

١1. ข้อเสนอแนะของผู้อำานวยการโรงเรียน
            เห็นด้วยตามข้อเสนอแนะท่านรองผู้อำานวยการกลุ่ม
 บริหารวิชาการ ควรทำาเป็นข้อมูลเชิงสถิติไว้เป็นหลักฐานเพราะ
 ปัจจุบันการพัฒนาการเรียนการสอนต้องขึ้นอยู่กับพื้นฐานของ
 ข้อมูล


                                    ลงชื่อ             วิสิทธิ์
                                   ใจเถิง
                                                    (นายวิสทธิ์
                                                           ิ
                                   ใจเถิง)
                                                         ผู้
อำานวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔
12. บันทึกหลังการสอน
             ด้านผลการเรียน
               นักเรียนสามารถเข้าใจในแบบฝึก ปฏิบัติได้เป็นอย่างดี
มีจุดที่ยงต้องแก้ไขบางส่วนคือในเรื่องของการจัดระเบียบร่างกาย
         ั
ความสัมพันธ์ในการเต้นอย่างต่อเนื่องจากท่าหนึ่งไปสู่อีกท่าหนึ่ง
              ด้านพฤติกรรม
               1. นักเรียนมีความสนุกสนานในการเรียน เข้าใจใน
การฝึกปฏิบัติในแต่ละฐาน
               2. การแสดงออกของนักเรียนบางคนยังขี้อาย ขาด
การเป็นผูนำา
           ้
             ปัญหาและอุปสรรค
               การจัดระเบียบของร่างกายยังต้องปรับปรุงแก้ไข
             ข้อเสนอแนะ
การแต่งกายควรให้เหมาะสม การพูดจาควรให้เกียรติ
เพื่อนและครู ต้องฝึกตนเป็นผู้มีจิตอาสา และความตั้งใจฝึกปฏิบัติ


ลงชื่อ      สุพัฒน์ อัตจริต

( นายสุพัฒน์ อัตจริต ) ผู้บันทึก
            โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) ๔
                    แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
รหัสวิชา           พ 33101             รายวิชา สุขศึกษาและ
พลศึกษา                        ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
เรื่อง ท่าการเต้นแอโรบิคเบื้องต้น
จำานวน 1           คาบ
สาระที่ 4 : การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกัน
โรค
มาตรฐานการเรียนรู้ พ : 4.1 เห็นคุณค่า และมีทักษะในการ
สร้างเสริมสุขภาพ การดำารงสุขภาพ
                                        การป้องกันโรค และการ
สร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ
…………………………………………………………………………………
…………………….
1. สาระสำาคัญ
            การเต้นแอโรบิคเป็นการออกกำาลังกายแบบแอโรบิกช
นิดหนึ่งที่ประยุกต์เอาท่า กายบริหารต่างๆ ทักษะการเคลือนไหว
                                                        ่
ของร่างกายและทักษะการเต้นรำามาผสมผสานอย่างกลมกลืนไปกับ
จังหวะดนตรี ได้แก่ ท่า Marching Walk Forward Walk
Backward Step Touch Two Touch V-Step L-Step U-
Step Grapevine Leg Curl Hop
2. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
            มาตรฐานที่ 6 เห็นความสำาคัญของการมีสมรรถภาพที่
ดีจากการออกกำาลังกายและเล่นกีฬา
3. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
            นักเรียนรู้เข้าใจ มีทักษะการเต้นแอโรบิคเบื้องต้น นำา
ไปใช้เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ
4. จุดประสงค์การเรียนรู้
แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)
แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)
แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)
แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)
แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)
แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)
แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)
แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)
แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)
แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)
แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)
แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)
แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)
แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)
แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)
แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)
แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)
แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)
แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)
แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)
แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)
แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)
แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)
แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)
แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)
แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)
แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)
แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)

Contenu connexe

Tendances

แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมแบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
Jariya Jaiyot
 
ข้อสอบวิทย์
ข้อสอบวิทย์ข้อสอบวิทย์
ข้อสอบวิทย์
weerawato
 
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ ๒ ภาษาไทย (Key)_ม.1
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ ๒ ภาษาไทย (Key)_ม.1ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ ๒ ภาษาไทย (Key)_ม.1
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ ๒ ภาษาไทย (Key)_ม.1
Sivagon Soontong
 
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 11 เรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 11 เรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 11 เรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 11 เรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
Wann Rattiya
 
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์ พิร...
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์  พิร...ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์  พิร...
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์ พิร...
Kobwit Piriyawat
 
3.แผนสุขศึกษาแอลกอฮอล์กับอุบัติเหตุม.3
3.แผนสุขศึกษาแอลกอฮอล์กับอุบัติเหตุม.33.แผนสุขศึกษาแอลกอฮอล์กับอุบัติเหตุม.3
3.แผนสุขศึกษาแอลกอฮอล์กับอุบัติเหตุม.3
Kruthai Kidsdee
 
ใบงานที่ 2 ปฏิกิริยาเคมี
ใบงานที่ 2 ปฏิกิริยาเคมีใบงานที่ 2 ปฏิกิริยาเคมี
ใบงานที่ 2 ปฏิกิริยาเคมี
website22556
 
แบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆแบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆ
Naphachol Aon
 
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
website22556
 
แผนการสอนคณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.5 ภาคเรียนที่ 1
แผนการสอนคณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.5 ภาคเรียนที่ 1แผนการสอนคณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.5 ภาคเรียนที่ 1
แผนการสอนคณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.5 ภาคเรียนที่ 1
คุณครูพี่อั๋น
 
Slชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะ
SlชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะSlชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะ
Slชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะ
krupornpana55
 

Tendances (20)

แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมแบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
 
ข้อสอบวิทย์
ข้อสอบวิทย์ข้อสอบวิทย์
ข้อสอบวิทย์
 
ใบงาน อเมริกาเหนือ
ใบงาน อเมริกาเหนือใบงาน อเมริกาเหนือ
ใบงาน อเมริกาเหนือ
 
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ ๒ ภาษาไทย (Key)_ม.1
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ ๒ ภาษาไทย (Key)_ม.1ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ ๒ ภาษาไทย (Key)_ม.1
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ ๒ ภาษาไทย (Key)_ม.1
 
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 11 เรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 11 เรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 11 เรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 11 เรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
 
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์ พิร...
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์  พิร...ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์  พิร...
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์ พิร...
 
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Designตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design
 
3.แผนสุขศึกษาแอลกอฮอล์กับอุบัติเหตุม.3
3.แผนสุขศึกษาแอลกอฮอล์กับอุบัติเหตุม.33.แผนสุขศึกษาแอลกอฮอล์กับอุบัติเหตุม.3
3.แผนสุขศึกษาแอลกอฮอล์กับอุบัติเหตุม.3
 
วิชาวิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษา ปีที่ 3 – วิเคราะห์ข้อสอบ-โลกแห่งการเรียนรู้ – โลก...
วิชาวิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษา ปีที่ 3 – วิเคราะห์ข้อสอบ-โลกแห่งการเรียนรู้ – โลก...วิชาวิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษา ปีที่ 3 – วิเคราะห์ข้อสอบ-โลกแห่งการเรียนรู้ – โลก...
วิชาวิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษา ปีที่ 3 – วิเคราะห์ข้อสอบ-โลกแห่งการเรียนรู้ – โลก...
 
ใบงานที่ 2 ปฏิกิริยาเคมี
ใบงานที่ 2 ปฏิกิริยาเคมีใบงานที่ 2 ปฏิกิริยาเคมี
ใบงานที่ 2 ปฏิกิริยาเคมี
 
แบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆแบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆ
 
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
 
1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)
1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)
1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)
 
แผนการสอนคณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.5 ภาคเรียนที่ 1
แผนการสอนคณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.5 ภาคเรียนที่ 1แผนการสอนคณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.5 ภาคเรียนที่ 1
แผนการสอนคณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.5 ภาคเรียนที่ 1
 
Slชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะ
SlชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะSlชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะ
Slชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะ
 
แบบทดสอบปลายภาคเรียน วิทย์ 5 2558
แบบทดสอบปลายภาคเรียน วิทย์ 5   2558แบบทดสอบปลายภาคเรียน วิทย์ 5   2558
แบบทดสอบปลายภาคเรียน วิทย์ 5 2558
 
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า+ป.5+273+dltvscip5...
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า+ป.5+273+dltvscip5...ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า+ป.5+273+dltvscip5...
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า+ป.5+273+dltvscip5...
 
แบบทดสอบ สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
แบบทดสอบ สาระที่ 7    ดาราศาสตร์และอวกาศแบบทดสอบ สาระที่ 7    ดาราศาสตร์และอวกาศ
แบบทดสอบ สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
 
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
 
บันทึกหน่วยการเรียนรู้ วิชาเคมี (ว30223) 2/2558
บันทึกหน่วยการเรียนรู้ วิชาเคมี (ว30223) 2/2558บันทึกหน่วยการเรียนรู้ วิชาเคมี (ว30223) 2/2558
บันทึกหน่วยการเรียนรู้ วิชาเคมี (ว30223) 2/2558
 

Similaire à แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)

หลักสูตรมาตรฐานสากลสุขศึกษาและพลศึกษา ม. 5
หลักสูตรมาตรฐานสากลสุขศึกษาและพลศึกษา ม. 5หลักสูตรมาตรฐานสากลสุขศึกษาและพลศึกษา ม. 5
หลักสูตรมาตรฐานสากลสุขศึกษาและพลศึกษา ม. 5
wichsitb
 
ส่วนหน้า ตอนที่ 2
ส่วนหน้า ตอนที่ 2ส่วนหน้า ตอนที่ 2
ส่วนหน้า ตอนที่ 2
supap6259
 
กำหนดการจัดการเรียนรู้รายวิชาสุขศึกษา
กำหนดการจัดการเรียนรู้รายวิชาสุขศึกษากำหนดการจัดการเรียนรู้รายวิชาสุขศึกษา
กำหนดการจัดการเรียนรู้รายวิชาสุขศึกษา
Ummara Kijruangsri
 
กำหนดการจัดการเรียนรู้รายวิชาสุขศึกษา
กำหนดการจัดการเรียนรู้รายวิชาสุขศึกษากำหนดการจัดการเรียนรู้รายวิชาสุขศึกษา
กำหนดการจัดการเรียนรู้รายวิชาสุขศึกษา
Ummara Kijruangsri
 
หน่วยการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้
nitirot
 
3.ตารางวิเคราะห์แอกกอฮอล์ม.3เอมพันธ์
3.ตารางวิเคราะห์แอกกอฮอล์ม.3เอมพันธ์3.ตารางวิเคราะห์แอกกอฮอล์ม.3เอมพันธ์
3.ตารางวิเคราะห์แอกกอฮอล์ม.3เอมพันธ์
Kruthai Kidsdee
 
Pdทฤษฎีการส่มเสริมสุขภาพของเพนเดอร์
Pdทฤษฎีการส่มเสริมสุขภาพของเพนเดอร์Pdทฤษฎีการส่มเสริมสุขภาพของเพนเดอร์
Pdทฤษฎีการส่มเสริมสุขภาพของเพนเดอร์
Nan Natni
 
แผนจัดการเรียนรู้เรื่องวัยผู้ใหญ่
แผนจัดการเรียนรู้เรื่องวัยผู้ใหญ่แผนจัดการเรียนรู้เรื่องวัยผู้ใหญ่
แผนจัดการเรียนรู้เรื่องวัยผู้ใหญ่
tassanee chaicharoen
 
สาระ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดม.6
สาระ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดม.6สาระ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดม.6
สาระ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดม.6
Kruthai Kidsdee
 
แผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
แผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
แผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
teeradejmwk
 
วิเคราะห์หลักสูตรลงสู่หน่วยการเรียนรู้ เพศพัฒนา
วิเคราะห์หลักสูตรลงสู่หน่วยการเรียนรู้ เพศพัฒนาวิเคราะห์หลักสูตรลงสู่หน่วยการเรียนรู้ เพศพัฒนา
วิเคราะห์หลักสูตรลงสู่หน่วยการเรียนรู้ เพศพัฒนา
tassanee chaicharoen
 
4.วิเคราะห์โครงสร้างการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาม.4
4.วิเคราะห์โครงสร้างการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาม.44.วิเคราะห์โครงสร้างการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาม.4
4.วิเคราะห์โครงสร้างการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาม.4
Kruthai Kidsdee
 

Similaire à แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง) (20)

การวิเคราะห์หลักสูตรวิชาสุขศึกษาชั้นม.3
การวิเคราะห์หลักสูตรวิชาสุขศึกษาชั้นม.3การวิเคราะห์หลักสูตรวิชาสุขศึกษาชั้นม.3
การวิเคราะห์หลักสูตรวิชาสุขศึกษาชั้นม.3
 
หลักสูตรมาตรฐานสากลสุขศึกษาและพลศึกษา ม. 5
หลักสูตรมาตรฐานสากลสุขศึกษาและพลศึกษา ม. 5หลักสูตรมาตรฐานสากลสุขศึกษาและพลศึกษา ม. 5
หลักสูตรมาตรฐานสากลสุขศึกษาและพลศึกษา ม. 5
 
ส่วนหน้า ตอนที่ 2
ส่วนหน้า ตอนที่ 2ส่วนหน้า ตอนที่ 2
ส่วนหน้า ตอนที่ 2
 
กำหนดการจัดการเรียนรู้รายวิชาสุขศึกษา
กำหนดการจัดการเรียนรู้รายวิชาสุขศึกษากำหนดการจัดการเรียนรู้รายวิชาสุขศึกษา
กำหนดการจัดการเรียนรู้รายวิชาสุขศึกษา
 
กำหนดการจัดการเรียนรู้รายวิชาสุขศึกษา
กำหนดการจัดการเรียนรู้รายวิชาสุขศึกษากำหนดการจัดการเรียนรู้รายวิชาสุขศึกษา
กำหนดการจัดการเรียนรู้รายวิชาสุขศึกษา
 
สุขศึกษาและพลศึกษา
สุขศึกษาและพลศึกษาสุขศึกษาและพลศึกษา
สุขศึกษาและพลศึกษา
 
สุขศึกษาและพลศึกษา ต้น
สุขศึกษาและพลศึกษา ต้นสุขศึกษาและพลศึกษา ต้น
สุขศึกษาและพลศึกษา ต้น
 
หน่วยการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้
 
3.ตารางวิเคราะห์แอกกอฮอล์ม.3เอมพันธ์
3.ตารางวิเคราะห์แอกกอฮอล์ม.3เอมพันธ์3.ตารางวิเคราะห์แอกกอฮอล์ม.3เอมพันธ์
3.ตารางวิเคราะห์แอกกอฮอล์ม.3เอมพันธ์
 
Pdทฤษฎีการส่มเสริมสุขภาพของเพนเดอร์
Pdทฤษฎีการส่มเสริมสุขภาพของเพนเดอร์Pdทฤษฎีการส่มเสริมสุขภาพของเพนเดอร์
Pdทฤษฎีการส่มเสริมสุขภาพของเพนเดอร์
 
แผนจัดการเรียนรู้เรื่องวัยผู้ใหญ่
แผนจัดการเรียนรู้เรื่องวัยผู้ใหญ่แผนจัดการเรียนรู้เรื่องวัยผู้ใหญ่
แผนจัดการเรียนรู้เรื่องวัยผู้ใหญ่
 
สาระ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดม.6
สาระ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดม.6สาระ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดม.6
สาระ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดม.6
 
แผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
แผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
แผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
 
โครงการพ ฒนาผ _เร_ยน
โครงการพ ฒนาผ _เร_ยนโครงการพ ฒนาผ _เร_ยน
โครงการพ ฒนาผ _เร_ยน
 
สุขศึกษาและพลศึกษา ปลาย
สุขศึกษาและพลศึกษา ปลายสุขศึกษาและพลศึกษา ปลาย
สุขศึกษาและพลศึกษา ปลาย
 
วิเคราะห์หลักสูตรลงสู่หน่วยการเรียนรู้ เพศพัฒนา
วิเคราะห์หลักสูตรลงสู่หน่วยการเรียนรู้ เพศพัฒนาวิเคราะห์หลักสูตรลงสู่หน่วยการเรียนรู้ เพศพัฒนา
วิเคราะห์หลักสูตรลงสู่หน่วยการเรียนรู้ เพศพัฒนา
 
ผลการดำเนินงานตามจุดเน้นที่ 4
ผลการดำเนินงานตามจุดเน้นที่ 4ผลการดำเนินงานตามจุดเน้นที่ 4
ผลการดำเนินงานตามจุดเน้นที่ 4
 
4.วิเคราะห์โครงสร้างการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาม.4
4.วิเคราะห์โครงสร้างการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาม.44.วิเคราะห์โครงสร้างการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาม.4
4.วิเคราะห์โครงสร้างการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาม.4
 
จุดเน้นที่ 4
จุดเน้นที่  4จุดเน้นที่  4
จุดเน้นที่ 4
 
แผนการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
แผนการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพแผนการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
แผนการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
 

Plus de sonsukda

ศาสนา ทศพิธราชธรรม
ศาสนา ทศพิธราชธรรมศาสนา ทศพิธราชธรรม
ศาสนา ทศพิธราชธรรม
sonsukda
 
แอโรบิคเบื้องต้นประกอบจังหวะดนตรี ชุดที่ 4
แอโรบิคเบื้องต้นประกอบจังหวะดนตรี ชุดที่ 4แอโรบิคเบื้องต้นประกอบจังหวะดนตรี ชุดที่ 4
แอโรบิคเบื้องต้นประกอบจังหวะดนตรี ชุดที่ 4
sonsukda
 
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(ปรับปรุง) ม 3
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(ปรับปรุง) ม 3ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(ปรับปรุง) ม 3
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(ปรับปรุง) ม 3
sonsukda
 
ทดสอบสมรรถภาพทางกายชุดที่ 1
ทดสอบสมรรถภาพทางกายชุดที่ 1ทดสอบสมรรถภาพทางกายชุดที่ 1
ทดสอบสมรรถภาพทางกายชุดที่ 1
sonsukda
 
การเคลื่อนไหวเบื้องต้น ชุดที่ 2
การเคลื่อนไหวเบื้องต้น ชุดที่ 2การเคลื่อนไหวเบื้องต้น ชุดที่ 2
การเคลื่อนไหวเบื้องต้น ชุดที่ 2
sonsukda
 
การประกวดสื่อนวัตกรรม
การประกวดสื่อนวัตกรรมการประกวดสื่อนวัตกรรม
การประกวดสื่อนวัตกรรม
sonsukda
 
เรื่องที่ 3 Passive Voice
เรื่องที่ 3 Passive Voiceเรื่องที่ 3 Passive Voice
เรื่องที่ 3 Passive Voice
sonsukda
 
งานนำเสนอ Unit 7 How Much
งานนำเสนอ Unit 7 How Muchงานนำเสนอ Unit 7 How Much
งานนำเสนอ Unit 7 How Much
sonsukda
 
Herb Powerpoint
Herb PowerpointHerb Powerpoint
Herb Powerpoint
sonsukda
 
Iirregular Verbs
Iirregular VerbsIirregular Verbs
Iirregular Verbs
sonsukda
 
Past Simple Tense
Past Simple TensePast Simple Tense
Past Simple Tense
sonsukda
 
ภาษาC++
ภาษาC++ภาษาC++
ภาษาC++
sonsukda
 

Plus de sonsukda (12)

ศาสนา ทศพิธราชธรรม
ศาสนา ทศพิธราชธรรมศาสนา ทศพิธราชธรรม
ศาสนา ทศพิธราชธรรม
 
แอโรบิคเบื้องต้นประกอบจังหวะดนตรี ชุดที่ 4
แอโรบิคเบื้องต้นประกอบจังหวะดนตรี ชุดที่ 4แอโรบิคเบื้องต้นประกอบจังหวะดนตรี ชุดที่ 4
แอโรบิคเบื้องต้นประกอบจังหวะดนตรี ชุดที่ 4
 
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(ปรับปรุง) ม 3
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(ปรับปรุง) ม 3ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(ปรับปรุง) ม 3
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(ปรับปรุง) ม 3
 
ทดสอบสมรรถภาพทางกายชุดที่ 1
ทดสอบสมรรถภาพทางกายชุดที่ 1ทดสอบสมรรถภาพทางกายชุดที่ 1
ทดสอบสมรรถภาพทางกายชุดที่ 1
 
การเคลื่อนไหวเบื้องต้น ชุดที่ 2
การเคลื่อนไหวเบื้องต้น ชุดที่ 2การเคลื่อนไหวเบื้องต้น ชุดที่ 2
การเคลื่อนไหวเบื้องต้น ชุดที่ 2
 
การประกวดสื่อนวัตกรรม
การประกวดสื่อนวัตกรรมการประกวดสื่อนวัตกรรม
การประกวดสื่อนวัตกรรม
 
เรื่องที่ 3 Passive Voice
เรื่องที่ 3 Passive Voiceเรื่องที่ 3 Passive Voice
เรื่องที่ 3 Passive Voice
 
งานนำเสนอ Unit 7 How Much
งานนำเสนอ Unit 7 How Muchงานนำเสนอ Unit 7 How Much
งานนำเสนอ Unit 7 How Much
 
Herb Powerpoint
Herb PowerpointHerb Powerpoint
Herb Powerpoint
 
Iirregular Verbs
Iirregular VerbsIirregular Verbs
Iirregular Verbs
 
Past Simple Tense
Past Simple TensePast Simple Tense
Past Simple Tense
 
ภาษาC++
ภาษาC++ภาษาC++
ภาษาC++
 

แผนการสอนตัวจริง (ปรับปรุง)

  • 1. Flow Chart: การจัดทำาแผนจัด การเเรียนรู้ เริ่มต้น หัวหน้ากลุ่มสา วิเคราะห์โครงสร้างหลักสูตรและโครงสร้าง ระฯ รายวิชา วิเคราะห์ศึกษาคำาอธิบายรายวิชา มาตรฐานการเรียนรู, ้ หัวหน้าระดับวิชา/ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ครูผู้สอน จุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหารายวิชาที่จัดสอนใน กำาหนดข้อตกลงเบื้องต้นในการเขียนในแบบข้อตกลง ครูผู้สอน เบื้องต้นในการเรียน จัดทำาแผนการจัดการเรียนรู้ในแบบการเขียนแผนจัดการ หัวหน้าระดับวิชา/ เรียนรู้ ครูผู้สอน เห็นชอบ แก้ไ หัวหน้ากลุ่มสา หรือไม่ ข ระฯ รวบรวมและบันทึกในแบบรายงานการส่งแผน หัวหน้าระดับ จัดการเรียนรู้ วิชาการ เสนอรองฯกลุ่มบริหารงานวิชาการเพื่อรับ หัวหน้ากลุ่มสา ทราบ ระฯ รองฯกลุ่มบริหารงาน เสนอผู้อำานวยการโรงเรียนเพื่อลงนามอนุ วิชาการ มัติ ดำาเนินการสอนตามแผนจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอน บันทึกผลการใช้แผนจัดการเรียนรู้,การ ครูผู้สอน ปรับปรุง/ เสนอแนะในแบบการเขียนแผนจัดการเรียน สรุป/จัดทำา ครูผู้สอน โรงเรียนบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) ๔ รายงาน คำาอธิสิ้นสุด บายรายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
  • 2. รายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา รหัสวิชา พ 33101 ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำานวนหน่วยการเรียน 2.0 หน่วยกิต จำานวน 2 คาบ / สัปดาห์ ศึกษาวิเคราะห์ลักษณะของวัยผู้ใหญ่วัยทอง วัยสูงอายุ เห็น คุณค่าและแนวทางในการพัฒนาตน ให้เติบโตสมวัย รูปัจจัยที่มี ้ ผลกระทบต่อคุณค่าชีวิตและครอบครัว สังคมและวัฒนธรรม การ เจริญเติบโตและพัฒนาการในวัยผู้ใหญ่วัยทองและวัยสูงอายุ การ ป้องกันตนเองไม่ให้ตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ มีทักษะในการเตือนเพื่อนและผู้ใกล้ชิด เข้าใจในอารมณ์เพศและ จัดการกับอารมณ์เพศ การปฏิบัติตนเกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธุ์ของ วัยรุ่น ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ คาดคิด ปฏิบัติทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน เกมและกีฬาตาม สมัยนิยม การละเล่นพื้นเมือง การทดสอบและสร้างเสริม สมรรถภาพทางกาย มีทักษะการเล่นกีฬา วิธีการเล่น กฎกติกา การแข่งขัน และความปลอดภัย ยอมรับและเห็นคุณค่าของการ ออกกำาลังกายและเล่นกีฬาเป็นประจำา มีนำ้าใจนักกีฬา มีจิต วิญญาณในการแข่งขัน วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากภาวะโภชนาการ แนวทางการ แก้ปัญหาทางภาวะทุพโภชนาการ สุขภาพผู้บริโภค แนวทางการ ป้องกันสิทธิของผู้บริโภค ทราบหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค รู้หลัก วิเคราะห์ประเมินสื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีความรูในเรื่อง ้ โรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำาคัญของประเทศ การให้ความสำาคัญ ในการดูแลปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน เข้าใจ พฤติกรรมเสี่ยงและการป้องกัน ความปลอดภัยในอุบัติเหตุ ปัญหา และผลกระทบการใช้สารเสพติด ความรับผิดชอบและการป้องกัน แก้ไข ตลอดจนทักษะการปฏิเสธ ปัญหาและแนวทางแก้ไขในการ ใช้ความรุนแรง เข้าใจหลักในการปฐมพยาบาล
  • 3. โรงเรียนบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) ๔ ตารางการวิเคราะห์เนื้อหา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา รายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา รหัสวิชา พ 33101 ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
  • 4. เรื่อง / เนื้อหา รายละเอียดของเนื้อหา 1. การดูแลและส่งเสริมสุขภาพ 1.1 ประสิทธิภาพทางร่างกาย ของผู้ใหญ่ และสมองของ วัยทองและวัยสูงอายุ ผู้ใหญ่วัยทองและวัยสูงอายุ 1.2 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ การเจริญเติบโตและพัฒนาการ ของผู้ใหญ่วยทองและวัยสูง ั อายุ 1.3 คุณค่าและแนวทางการ ปฏิบัติตนที่เหมาะสมของ ผู้ใหญ่วัยทองและวัยสูงอายุ 2. สุขอนามัย พฤติกรรม และ 2.1 การปฏิบัติตนเกี่ยวกับ สัมพันธภาพ อนามัยเจริญพันธุ์ของวัยรุ่น ทางเพศ 2.2 อารมณ์ทางเพศและการ จัดการกับอารมณ์ทางเพศ 2.3 การปฏิบัติตนเพื่อหลีก เลียงการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ ่ คาดคิด 2.4 วิธีสร้างและรักษา สัมพันธภาพกับผู้อื่น 3. อาหารและโภชนาการ 3.1 การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิด จากภาวะโภชนาการ 3.2 แนวทางการแก้ปัญหา ภา วะทุพโภชนาการ 4. การดูแลสุขภาพตนเอง 4.1 แนวคิดเกี่ยวกับการดูแล เบื้องต้น สุขภาพตนเอง 4.2 ความสำาคัญของการดูแล สุขภาพตนเอง 4.3 การดูแลสุขภาพตนเองใน ภาวะปกติ 4.4 การดูแลสุขภาพตนเอง เมื่อเจ็บป่วย 5. สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพ 5.1 การดูแลรักษาและ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 5.2 การดูแลรักษาและ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในชุมชน
  • 5. เรื่อง / เนื้อหา รายละเอียดของเนื้อหา 6. การป้องกันโรคไม่ติดต่อที่ 6.1 โรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหา เป็นปัญหา สำาคัญของประเทศไทยและ สาธารณสุขในปัจจุบัน แนวทางการป้องกัน 7. สุขภาพผู้บริโภคและการ 7.1 แนวทางการป้องกันสิทธิ คุ้มครองผู้บริโภค ของผู้บริโภค 7.2 หน่วยงานคุ้มครองผู้ บริโภค 7.3 หลักการวิเคราะห์และ ประเมินสื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์ สุขภาพ 8. การจัดการกับอารมณ์และ 8.1 การปฏิบัติและสร้าง ความเครียด เสริมสุขภาพกายและสุขภาพ จิต 8.2 การปฏิบัติตนให้พ้นจาก ความเครียดและแนวทางการ แก้ไขปัญหาทางอารมณ์ 9. พฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ 9.1 พฤติกรรมเสี่ยงทาง และการป้องกัน สุขภาพและการป้องกัน 9.2 ปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาวะ สุขภาพและปัจจัยเสี่ยงทาง สุขภาพ 10. ความปลอดภัยในการ 10.1 โรคและอันตรายจากการ ประกอบอาชีพ ประกอบวิชาชีพ 10.2 หลักทั่วไปในการปฏิบัติ งานด้วยความปลอดภัย 10.3 ความสัมพันธ์ระหว่าง สุขภาพกับการประกอบอาชีพ 10.4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมและป้องกันโรค 11. สารเสพติด 11.1 ผลกระทบของปัญหา สารเสพติดและความรับผิด ชอบในการป้องกันและแก้ไข ปัญหาสารเสพติด 11.2 ทักษะการปฏิเสธในการ
  • 6. เข้าไปเกี่ยวข้องกับสารเสพติด 12. อุบัติเหตุ 12.1 หลักความปลอดภัยใน การดำาเนินชีวิต 12.2 อุบัติเหตุและภัยไม่คาด คิด 13. ความรุนแรง 13.1 ความรุนแรงในครอบครัว และชุมชน เรื่อง / เนื้อหา รายละเอียดของเนื้อหา 14. การปฐมพยาบาล 14.1 หลักการให้การ ปฐมพยาบาล 14.2 การปฐมพยาบาลผู้ได้ รับสารพิษ 14.3 การปฐมพยาบาลคนเป็น ลม สำาลัก เลือดกำาเดา สะอึก และเป็นตะคริว 14.4 ทักษะการปฐมพยาบาล โดยการพันผ้า 15. การทดสอบและสร้าง 15.1 องค์ประกอบของ เสริมสมรรถภาพ สมรรถภาพที่สัมพันธ์กับ ทางกาย สุขภาพ 15.2 องค์ประกอบของ สมรรถภาพที่สัมพันธ์กับ ทักษะ 15.3 แบบทดสอบ สมรรถภาพทางกายที่ สัมพันธ์กับสุขภาพ 15.4 การเคลื่อนไหวเบื้อง ต้น 15.5 การเต้นแอโรบิคเบื้อง ต้น 15.5 การเต้นแอโรบิค ประกอบจังหวะดนตรี 15.6 การจัดโปรแกรมเพื่อ ผลทางแอโรบิค
  • 7. 16. กิจกรรมการใช้กีฬาเป็น 16.2 ทักษะกีฬาวอลเลย์บอล สื่อ 16.3 ทักษะกีฬาบาสเกตบอล โรงเรียนบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) ๔ ปีการศึกษา 2550 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา รหัสวิชา พ 33101 จำานวน 2 คาบ/สัปดาห์ 1. เห็นคุณค่าและความสำาคัญในการอยู่ร่วมกับผู้ใหญ่วัยทอง และวัยสูงอายุได้อย่างมีความสุข 2. ตระหนัก เห็นคุณค่าของการปฏิบัติตนให้มีคุณค่าและรักษา สัมพันธภาพที่ดีต่อผู้อื่น 3. วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพ เห็นความสำาคัญ เสนอแนะแนวทาง และวิธีการป้องกันตลอดจนการดูแลรักษาสุขภาพ 4. อธิบายเกี่ยวกับสุขภาพตนเองและวิธีการรักษาอาการเจ็บ ป่วยที่สามารถรักษาเองได้ 5. ปฏิบัติตนในการดูแลรักษาและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมใน โรงเรียนและชุมชน 6. อธิบายเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำาคัญของประเทศ กำาหนดวิธีการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อ 7. เห็นคุณค่าและความสำาคัญของการป้องกันสิทธิของผู้บริโภค และเลือกซื้อสินค้าและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • 8. 8. กำาหนดแนวทางและวิธีการแก้ปัญหาทางอารมณ์ได้อย่าง เหมาะสม 9. อธิบายเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพและปัจจัยเสี่ยงทาง สุขภาพ 10.สามารถดูแลตนเอง และป้องกันตนเองจากโรคและอันตราย จากการประกอบอาชีพได้ 11.มีทักษะการปฏิเสธในการไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสารเสพติด 12. อธิบายเกี่ยวกับหลักความปลอดภัยในการดำาเนินชีวิตการ ป้องกันอุบัติเหตุและภัยไม่คาดคิด 13. เห็นคุณค่าและความสำาคัญของการเสริมสร้างและความ รุนแรงในครอบครัวและชุมชน 14. อธิบายเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลและสามารถปฏิบัติการ ปฐมพยาบาลได้อย่างถูกวิธี 15.ระบุคุณค่า แนวทาง และความสำาคัญในการทดสอบ สมรรถภาพทางกาย 16.อธิบายหลักการ ขั้นตอน และวิธีปฏิบัติกิจกรรมการออก กำาลังกายโดยใช้กีฬาเป็นสื่อ โรงเรียนบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) ๔ ตารางวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา สุขศึกษา และพลศึกษา รหัสวิชา พ 33101 แผน จำาน ผลการ มาตรฐาน จัดการ เรื่อง วน เรียนรูที่ การเรียนรู้ ้ เรียนรู้ คาบ คาดหวัง ที่ 1 ปฐมนิเทศ 1 - 2 การดูแลและส่งเสริมสุขภาพ 2 1 พ 1.1 ของผู้ใหญ่วยทองและวัยสูง ั ข้อ 1
  • 9. อายุ 3 สุขอนามัย พฤติกรรม และ 2 2 พ 2 .1 สัมพันธภาพ ข้อ 1, 2,3, ทางเพศ 4, 5 4 ทักษะกีฬาวอลเลย์บอล 20 16 พ 3 .1 ข้อ 1, 2,3 5 ทักษะกีฬาบาสเกตบอล 20 16 พ 3 .1 ข้อ 1, 2,3 6 การดูแลสุขภาพตนเองเบื้อง 2 4 พ 4.1 ต้น ข้อ 1 7 สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพ 2 5 พ 4.1 ข้อ 1 8 การป้องกันโรคไม่ติดต่อที่ 2 6 พ 4.1 เป็นปัญหาสาธารณสุขใน ข้อ 1 ปัจจุบัน 9 สุขภาพผู้บริโภคและการ 2 7 พ 4.1 คุ้มครองผู้บริโภค ข้อ 1 10 อาหารและโภชนาการ 2 3 พ 4.1 ข้อ 2 11 การจัดการกับอารมณ์และ 2 8 พ 4.1 ความเครียด ข้อ 3, 4, 5 12 การสร้างเสริมสมรรถภาพ 12 15 พ 4.1 ทางกาย (2) ข้อ 5,6,7 การทดสอบสมรรถภาพ (1) ทางกาย ครั้งที่ 1 (2) การเคลื่อนไหวเบื้องต้น (2) การเต้นแอโรบิคเบื้องต้น (3) การเต้นแอโรบิคประกอบ (2) จังหวะดนตรี การจัดโปรแกรมเพื่อผล ทางแอโรบิค การทดสอบสมรรถภาพ ทางกาย ครั้งที่ 2 แผน จำาน ผลการ มาตรฐาน จัดการ เรื่อง วน เรียนรูที่ การเรียนรู้ ้ เรียนรู้ คาบ คาดหวัง ที่ 13 พฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ 2 9 พ 5.1
  • 10. และการป้องกัน ข้อ 1, 2,3,4 14 ความปลอดภัยในการ 2 10 พ 5.1 ประกอบอาชีพ ข้อ 2,3 15 สารเสพติด 2 11 พ 5.1 ข้อ 1, 2,3,4 16 อุบัติเหตุ 2 12 พ 5.1 ข้อ 1,3 17 ความรุนแรง 2 13 พ 5.1 ข้อ 1, 2,3,4 18 การปฐมพยาบาล 2 14 พ 5.1 ข้อ 4 การกรอกคะแนนลงโปรแกรมสำาหรับครูประจำาวิชา การกรอกคะแนนลงโปรแกรมสำาหรับครูประจำาวิชาให้ดำาเนินการ ดังนี้ 1. อัตราส่วนการประเมิน คือ
  • 11. ม.ต้น ระหว่างปี : ปลายปี ม.ปลาย ระหว่างภาค : ปลายภาค 2. เตรียมผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและแบ่งสัดส่วนของ คะแนนแต่ละข้อให้เรียบร้อยโดยทุกข้อรวมกันคะแนนเต็ม 100 คะแนน 3. การประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวังมีการประเมิน ด้าน พุทธพิสัย ด้านทักษะพิสัย ด้านจิตพิสัย 4. การประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง สำาหรับครูประจำา วิชาควรมีการประเมินอย่างน้อย 2 ด้าน 5. การลงคะแนนผลการเรียนรู้ที่คาดหวังในโปรแกรมระบบ บริหารฯให้ครูประจำาวิชาลงคะแนน ตามที่กำาหนดดังนี้ 5.1 คะแนนครั้งที่ 1 , 2 , 3 , 4 เป็นการลงคะแนน ด้านพุทธพิสัย 5.2 คะแนนครั้งที่ 5 เป็นการลงคะแนนการประเมินผลก่อน กลางปี / กลางภาคเทอม 1 5.3 คะแนนครั้งที่ 6 เป็นการลงคะแนนการประเมินผลก ลางปี (เฉพาะช่วงชั้นที่ 3) 5.4 คะแนนครั้งที่ 7 เป็นการลงคะแนนการประเมินผลหลัง กลางปี / กลางภาคเทอม 2 5.5 คะแนนครั้งที่ 8 เป็นการลงคะแนนด้านทักษะพิสัย 5.6 คะแนนครั้งที่ 9 เป็นการลงคะแนนด้านจิตพิสัย ( คะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์) 6. การลงคะแนน ครั้งที่ 5 , 6 , 7 เป็นครั้งที่แจ้งผู้ ปกครองให้ลงคะแนนที่นักเรียนทำาได้จริงและกรณีที่นักเรียนตกให้ ครูประจำาวิชาดำาเนินการสอบซ่อมได้แต่ให้แก้ไขคะแนนใน โปรแกรมหลังจากทีงานวัดผลทำาใบแจ้งคะแนนผู้ปกครองแล้ว ่ 7. การลงคะแนนปลายภาค / ปลายปี ให้เลือกวัดผล บันทึกคะแนน (หลักสูตรใหม่) → สิ้นสุดการเรียน ผลการเรียนรูที่คาดหวังข้อที.. →ลงคะแนน ้ ่
  • 12. โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔ แบบบันทึกคะแนนผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง รายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา รหัสวิชา พ 33101 หน่วย การเรียน 2.0 หน่วย ปีการศึกษา 2550 อัตราส่วนคะแนน ระหว่างเรียน : ปลายปี = 80 : 20 ครูผู้สอน นายสุพัฒน์ อัตจริต สอนระดับชั้น ม. 3/1 ถึง 3/ 8 ผลการเรียนรู้ คะแน ครั้งที่ ปลาย ที่คาดหวัง นเต็ม 1 2 3 4 5 6 7 8 9 ปี 1 5 5 2 5 5 3 5 5 4 5 5 5 4 4 6 4 4 7 4 4 8 4 4 9 4 4 10 4 4 11 4 4 12 4 4 13 4 4 14 4 4 15 20 1 8 2 16 20 2 0 รวม 100 5 5 4 4 1 1 8 2 1 20 0 2 0 2
  • 13. โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) ๔ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 รหัสวิชา พ 33101 รายวิชา สุขศึกษาและ พลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การทดสอบสมรรถภาพทางกาย ครั้งที่ 1 จำานวน 2 คาบ สาระที่ 4 : การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกัน โรค มาตรฐานการเรียนรู้ พ : 4.1 เห็นคุณค่า และมีทักษะในการ สร้างเสริมสุขภาพ การดำารงสุขภาพ การป้องกันโรค และการ สร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ ………………………………………………………………… ……………………………………. 1. สาระสำาคัญ สมรรถภาพทางกาย (Physical Fitness) หมายถึง สภาวะของร่างกายที่อยู่ในสภาพที่ดี เพื่อที่จะช่วยให้บุคคล สามารถทำางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บุคคลที่มีสมรรถภาพทาง กายดี ก็จะสามารถปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ในชีวิตประจำาวัน การออก กำาลังกาย การเล่นกีฬาและแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆไ ด้เป็นอย่างดี 2. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น มาตรฐานที่ 6 ทดสอบสมรรถภาพทางกายหรือ สมรรถภาพทางกลไก ด้วยวิธที่ถูกต้อง ี 3. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง นักเรียนมีสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพผ่านเกณฑ์ มาตรฐาน 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อประเมินความเหมาะสมของสัดส่วนของร่างกาย (นำ้าหนักและส่วนสูง) 2. เพื่อทดสอบความแข็งแรงของร่างกาย 3. เพื่อทดสอบความอ่อนตัวของร่างกาย 4. เพื่อทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว
  • 14. 5. เพื่อทดสอบความอดทนของระบบหายใจและระบบ ไหลเวียนโลหิต 5. เนื้อหาสาระ สมรรถภาพทางกายแบ่งออกเป็น ٢ ชนิด คือ สมรรถภาพ ทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ (Health-Related Physical Fitness) และสมรรถภาพทางกาย ทีสัมพันธ์กับทักษะ (Skill- ่ Related Physical Fitness) สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ เป็น สมรรถภาพทางกายที่ช่วยลดอัตราความเสี่ยงของการเกิดปัญหา ทางด้านสุขภาพต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย ١. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscular Strength ) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อ ซึ่งทำาให้เกิด ความตึงตัวของกล้ามเนื้อเพื่อใช้แรงในการยกหรือดึงสิ่งของต่าง ๆ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจะช่วยทำาให้รางกายทรงตัวเป็นรูปร่าง ่ ขึ้นมาได้ ซึ่งจะเป็นความสามารถของกล้ามเนื้อที่ช่วยให้รางกาย ่ ทรงตัวต้านกับแรงศูนย์ของโลกอยู่ได้โดยไม่ล้ม เป็นความแข็ง แรงของกล้ามเนื้อทีใช้ในการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน เช่น การวิง ่ ่ การกระโดด การเขย่ง การกระโจน การกระโดดขาเดียว การก ระโดดสลับเท้า เป็นต้น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า ความแข็งแรงเพื่อเคลื่อนไหวในมุมต่างๆ เช่น การ เคลื่อนไหวแขนและขาในมุมต่าง ๆ เพื่อเล่นเกมกีฬา หรือใช้ใน การปา การขว้าง การเตะ การตี เป็นต้น และความแข็งแรงชนิด สุดท้ายเรียกว่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในการเกร็ง เป็นความ สามารถของร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ในการ ต้านทานแรงที่มากระทำาจากภายนอกโดยไม่ล้มหรือสูญเสียการ ทรงตัวไป ٢. ความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscular Endurance) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อในการออกแรง ทำาให้วัตถุเคลื่อนที่ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ หรือหลายครั้งต่อ เนื่องกันได้ ความอดทนของกล้ามเนื้อสามารถเพิ่มได้มากขึ้นโดย การเพิ่มจำานวนครั้งในการปฏิบัติกิจกรรมซึ่งจะขึ้นอยู่กับปัจจัย หลายอย่าง เช่น อายุ เพศ ระดับสมรรถภาพทางกายของเด็ก และ ชนิดของการออกกำาลังกาย ٣. ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบ หายใจ(Cardiorespiratory Endurance) หมายถึง ความสามารถ ของหัวใจ ปอด และหลอดเลือดในการที่จะลำาเลียงออกซิเจน
  • 15. และสารอาหารไปยังกล้ามเนื้อที่ใช้ในการออกแรง และขณะ เดียวกันก็นำาสารที่ไม่ต้องการ ซึงเกิดขึ้นภายหลังการทำางานของ ่ กล้ามเนื้อ ออกจากกล้ามเนื้อทีใช้ในการออกแรง ในการพัฒนา ่ หรือเสริมสร้างนั้นเด็กจะต้องมีการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ๆ เช่น การวิ่ง การกระโดด โดยใช้ระยะเวลาติดต่อกันอย่างน้อย ครั้งละ ١٥ – ١٠ นาที ٤. ความอ่อนตัว ( Flexibility ) หมายถึง ความสามารถ ในการเคลื่อนไหวของส่วนแขน ส่วนขา หรือส่วนต่าง ๆ ของร่าง ก่ายให้เต็มขีดจำากัดของการเคลื่อนไหวนั้น ๆ การพัฒนาทางด้าน ความอ่อนตัวทำาได้โดยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อและเอ็น หรือการ ใช้แรงต้านทานในกล้ามเนื้อและเอ็นต้องทำางานมากขึ้น การยืด เหยียดของกล้ามเนื้อทำาได้ทั้งแบบอยู่กับที่หรือมีการเคลื่อนที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดควรใช้การเหยียดของกล้ามเนื้อใน ลักษณะอยู่กับที่ นั่นคืออวัยวะส่วนแขนและขาหรือลำาตัวจะต้อง เหยียด จนกว่ากล้ามเนื้อจะรู้สึกตึงและจะต้องอยู่ในท่าเหยียด กล้ามเนื้อในลักษณะนี้ประมาณ ١٥ – ١٠ นาที สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะ เป็นสมรรถภาพ ทางกายที่จำาเป็นจะต้องใช้สำาหรับการเล่นกีฬา ซึงจะทำาให้การ ่ เล่นกีฬามีประสิทธิภาพที่สุด โดยจะประกอบด้วยสมรรถภาพทาง กายที่สัมพันธ์กับสุขภาพควบคู่กับองค์ประกอบด้านอื่น ๆ ดังนี้ ١. ความเร็ว (Speed) หมายถึง ความสามารถในการ เคลื่อนไหวไปสู่เป้าหมายที่ต้องการโดยใช้ระยะเวลาอันสั้นที่สุด ซึ่งกล้ามเนื้อจะต้องออกแรงและหดตัวด้วยความเร็วสูงสุด ٢. กำาลังของกล้ามเนื้อ (Muscle Power) หมายถึง ความ สามารถของกล้ามเนื้อในการทำางานโดยการออกแรงสูงสุด ในช่วง ระยะเวลาที่สั้นที่สุด ซึ่งจะต้องมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและ ความเร็วเป็นองค์ประกอบหลัก 3. ความคล่องแคล่วว่องไว (Agility) หมายถึง ความ สามารถในการเปลี่ยนทิศทางและตำาแหน่งร่างกายในขณะที่กำาลัง เคลื่อนไหวโดยใช้ความเร็วได้อย่างเต็มที่ จัดเป็นสมรรถภาพทาง กายที่จำาเป็นในการนำาไปสู่การเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานสำาหรับทักษะ ในการเล่นกีฬาประเภทต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ ٤. การทรงตัว (Balance) หมายถึง ความสามารถในการ ควบคุมรักษาตำาแหน่งและท่าทางของร่างกายให้อยูในลักษณะ ่ ตามที่ต้องการได้ ทังขณะที่อยู่กับที่หรือในขณะที่มีการ ้ เคลื่อนไหว
  • 16. ٥. เวลาปฏิกิริยา (Reaction Time) หมายถึง ระยะ เวลาที่เร็วที่สุดทีร่างกายเริ่มมีการตอบสนองหลังจากที่ได้รบการก ่ ั ระตุ้น ซึ่งเป็นความสามารถของระบบประสาท เมื่อรับรู้การถูก กระตุ้นแล้วสามารถสั่งการให้อวัยวะที่ทำาหน้าที่เกี่ยวข้องกับการ เคลื่อนไหวให้มีการตอบสนองอย่างรวดเร็ว ٦. การทำางานทีประสานกัน (Coordination) หมายถึง ่ ความสัมพันธ์ระหว่างการทำางานของระบบประสาทและระบบกล้าม เนื้อ ในการที่จะปฏิบัติกิจกรรมทางกลไกที่สลับซับซ้อนในเวลา เดียวกัน อย่างราบรื่นและแม่นยำา แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ สำาหรับเด็กไทย อายุ ١٨ – ٧ ปี รายการทดสอบ องค์ประกอบที่ต้องการวัด ١. ดัชนีมวลกาย เพื่อประเมินความเหมาะสมของสัดส่วน ( Body Mass Index : ร่างกาย (นำ้าหนักและส่วนสูง) BMI ) ٢. ลุก-นัง ٦٠ วินาที ่ เพื่อวัดความแข็งแรงและความอดทน ( Sit-Ups 60 Seconds ของกล้ามเนื้อท้อง ) ٣. ดันพื้น ٣٠ วินาที เพื่อวัดความแข็งแรงและความอดทน ( Push- Ups 30 ของกล้ามเนื้อแขน และกล้ามเนื้อส่วน Seconds) บนของร่างกาย ٤. นังงอตัวไปข้างหน้า ่ เพื่อวัดความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อหลัง ( Sit and Reach ) และต้นขาด้านหลัง ٥. วิงอ้อมหลัก ( Zig- ่ เพื่อวัดความแคล่วคล่องว่องไว Zag Run ) ٦. วิงระยะไกล ่ เพื่อวัดความอดทนของระบบหายใจและ ( Distance Run ) ระบบไหลเวียนโลหิต 6. กิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นนำา 1. นักเรียนเข้าแถวตอน 5 แถว ๆ ละ 10 คน 2. สำารวจรายชื่อนักเรียน ขั้นอธิบายและสาธิตการฝึกปฏิบัติ
  • 17. 1. ครูอธิบายวัตถุประสงค์การทดสอบสมรรถภาพทางกาย 2. ครูบอกขั้นตอนการทดสอบโดยกำาหนดวันทดสอบออก เป็น 2 วัน 2.1 วันแรก ทดสอบ การลุก-นัง 60 วินาที ดันพื้น 30 ่ วินาที วิงอ้อมหลัก ่ 2.2 วันที่สอง ทดสอบนั่งงอตัวไปด้านหน้า และวิ่ง ระยะไกล ขั้นสอนหรือฝึกปฏิบัติ นักเรียนทดสอบสมรรถภาพทางกายเป็นฐาน ขั้นนำาไปใช้ 1. จดข้อมูลสถิตการทดสอบ 2. นักเรียนนำาผลจากการทดสอบสมรรถภาพทางกาย มาเทียบเกณฑ์มาตรฐาน 3. บันทึกข้อมูลลงในใบบันทึกสมรรถภาพทางกาย ครั้งที่ 1 ขั้นสรุปและประเมินผล 1. รวมแถว 2. นำาใบทดสอบสมรรถภาพทางกาย ครั้งที่ 1 มาประมวล ผล 3. สุขปฏิบัติ 7. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ 1. แบบประเมินการทดสอบสมรรถภาพทางกาย 2. อุปกรณ์การทดสอบสมรรถภาพทางกาย 8. การวัดผลและประเมินผล วิธีวัดผล 1. ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย 2. สังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนและการฝึกปฏิบัติ เครื่องมือวัดผล 1. แบบประเมินการทดสอบสมรรถภาพทางกาย 2. แบบประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียนและการฝึก ปฏิบัติ เกณฑ์การประเมินผล แบบฝึกการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ระดับ 5 ดีมาก ระดับ 4 ดี ระดับ 3 ปานกลาง ระดับ 2 ตำ่า ระดับ 1 ตำ่ามาก 9. กิจกรรมสืบเนื่อง
  • 18. - ลงชื่อ (นายสุพัฒน์ อัต จริต) ตำาแหน่ง ครู …… / ............ / ............. 10. ข้อเสนอแนะของรองผู้อำานวยการกลุ่มบริหารวิชาการ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการทดสอบสมรรถภาพทาง กายเพื่อสุขภาพ มีเนื้อหาสาระที่เข้าใจ มีการสอนที่ถูกขั้นตอน มีเกณฑ์มาตรฐานสำาหรับนักเรียนสามารถเปรียบเทียบเกณฑ์ได้ ชัดเจน ในเรื่องสุขภาพของนักเรียนควรวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นราย บุคคล ควรตรวจสอบหรือสอบถามเกี่ยวกับสุขภาพ โรคประจำา ตัวของนักเรียน เพื่อป้องกันการเหตุ โดยทำาบันทึกสอบถามผู้ ปกครองจะเป็นการดี และควรให้ความเอาใจใส่ในการทดสอบ สมรรถภาพทางกาย ลงชื่อ พิศวาท คะลี ล้วน (นางพิศวาท คะลีลวน) ้ ตำาแหน่ง รองผู้อำานวย การกลุมบริหารวิชาการ ่ ١1. ข้อเสนอแนะของผู้อำานวยการโรงเรียน เห็นด้วยตามข้อเสนอแนะรองผู้อำานวยการกลุ่มบริหาร วิชาการ
  • 19. ลงชื่อ วิสิทธิ์ ใจเถิง (นายวิสทธิ์ ิ ใจเถิง) ผู้ อำานวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔ 12. บันทึกหลังการสอน ด้านผลการเรียน นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจวิธีการทดสอบ สมรรถภาพทางกาย สามารถปฏิบัติตามฐานต่าง ๆได้เป็นอย่างดี ด้านพฤติกรรม นักเรียนมีความตั้งใจในการทดสอบสมรรถภาพทาง กาย มีความรับผิดชอบ มีนำ้าใจต่อกัน ทำางานร่วมกันเป็นทีม ปัญหาและอุปสรรค เวลาทีใช้ในการทดสอบสมรรถภาพทางกายค่อนข้าง ่ น้อย อากาศร้อน อุปกรณ์การทดสอบยังน้อยไม่เพียงพอกับ จำานวนนักเรียน ข้อเสนอแนะ - ลงชื่อ สุพัฒน์ อัตจริต ( นายสุพัฒน์ อัตจริต ) ผู้บันทึก
  • 20. โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) ๔ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 รหัสวิชา พ 33101 รายวิชา สุขศึกษาและ พลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การเคลื่อนไหวเบื้องต้น จำานวน 1 คาบ สาระที่ 4 : การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกัน โรค มาตรฐานการเรียนรู้ พ : 4.1 เห็นคุณค่า และมีทักษะในการ สร้างเสริมสุขภาพ การดำารงสุขภาพ การป้องกันโรค และการ สร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ ………………………………………………………………………………… ……………………. 1. สาระสำาคัญ การเคลื่อนไหวและออกกำาลังกายอย่างสมำ่าเสมอ และความ สมบูรณ์พร้อมทางกาย (Fitness) มีความสำาคัญยิ่งต่อสุขภาพและ ความอภิรมณ์ของประชาชนทุกวัย และตลอดช่วงอายุขยความ ั สมบูรณ์พร้อมทางกาย เป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมการ เคลื่อนไหวออกกำาลังกาย พฤติกรรมจะเกิดขึ้นอย่างสมำ่าเสมอ จำาเป็นต้องบูรณาการการเคลื่อนไหวและออกกำาลังกายร่วมเป็นอัน หนึ่งอันเดียวกับวิถีชีวิต 2. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น มาตรฐานที่ 6 เห็นความสำาคัญของการมีสมรรถภาพที่ ดีจากการออกกำาลังกายและเล่นกีฬา 3. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เห็นความสำาคัญของหลักการเคลื่อนไปเบื้องต้น รู้เข้าใจ และมีทักษะ สามารถนำาหลักการเคลื่อนไหวไปใช้ในชีวิตประจำาวัน ได้ 4. จุดประสงค์การเรียนรู้
  • 21. 1. นักเรียนรู้เข้าใจและอธิบายความสำาคัญของหลักการ เคลื่อนไหวเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง 2. นักเรียนมีทักษะการเคลื่อนไหวเบื้องต้นอย่างถูกต้อง 3. นักเรียนสามารถนำาไปปฏิบัติในการนำาไปใช้ใน ชีวิตประจำาวันได้ 5. เนื้อหาสาระ การเคลื่อนไหวเบื้องต้น 1. การจัดท่าทางหรือการยืน ท่าที่สำาคัญในการเริ่ม ต้นคือ ท่ายืน คนเราเมื่ออายุมากขึ้นมักจะหลังโกง พุงยื่น หลัง แอ่น ก้นงอน ท่ายืนที่ถูกต้องจะต้องประกอบด้วย 1.1 ศีรษะตั้งตรงไม่ยนไปข้างหน้า หรือเอียง ื่ ข้างใดข้างหนึ่ง 1.2 หลังยืดตรง ไหล่ไม่งุ้มหรือเอียง 1.3 พุงไม่ยื่นไปข้างหน้า 1.4 หลังบริเวณเอวไม่แอ่น 1.5 กระดูกเชิงกรานไม่เอนทำามุมมากจน กระทั่งก้นยื่นไปข้างหลังมากเกินไป 1.6 มองจากด้านข้างเมื่อลากเส้นตรงในแนว ดิ่งเริ่มต้นจากติ่งหู เส้นนั้นควรจะผ่านกึ่งกลางของไหล่ จุด กึ่งกลางของกระดูกเชิงกราน ด้านหลังของสะบ้าหัวเข่าและตาตุ่ม 2. การก้าวเท้า เพื่อให้เกิดการเคลื่อนที่ ซึ่งในชีวิต ประจำาวันเรามักใช้กันอยู่ 2 ลักษณะคือ การเดินและการวิง การ ่ เคลื่อนไหวทังสองเป็นการเคลื่อนไหวที่แตกต่างกันด้วยความเร็ว ้ และลักษณะการก้าวเท้า การฝึกการเต้นแอโรบิคจะนำาการก้าวเท้า มาฝึกหัดใหม่เพื่อเพิ่มทักษะในการประสานงานและความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อ โดยพัฒนาด้วยปัจจัยต่าง ๆ คือ 2.1 ทิศทาง เช่น การเดินหรือวิ่งตรง วิงผ่าน ่ ซิกแซก โค้งวงกลม ก้าวไปข้าง ๆ เดินหน้า ถอยหลัง 2.2 ระดับ การเดินหรือการวิ่งในระดับ ต่างระดับ บนทางชัน ทางลาด 2.3 ระยะทาง ใกล้ ไกล ก้าวสั้น ก้าวยาว 2.4 การลงนำ้าหนัก การก้าวลงนำ้าหนัก การก้าว อย่างแผ่วเบา การถ่ายนำ้าหนักจากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้าย 2.5 ความเร็ว ก้าวช้า ก้าวเร็ว การหยุด 2.6 จังหวะ การก้าวเร็วสลับช้า หนึ่ง จังหวะ สองจังหวะ สามจังหวะ
  • 22. 3. การกระโดด Jump หมายถึง การกระโดดลอยตัวขึ้นจาก พื้นด้วยเท้าทั้งสองข้างพร้อมกันและกลับลงถึงพื้นพร้อมกันทัง ้ สอง Hop หมายถึง การกระโดดลอยตัวขึ้นจากพื้น ด้วยเท้าข้างใดข้างหนึ่งเท้าเดียวแล้วกลับลงสู่พื้นด้วยเท้าข้างเดิม 4. การหันหรือการหมุน เป็นการเคลื่อนไหวเบื้อง ต้นที่จะนำาไปสู่การเปลี่ยนทิศทางและเปลี่ยนลีลา การหมุนแบ่ง เป็น 3 แบบ คือ 1. หมุนแบบปิด 2. หมุนแบบเปิด 3. กระโดดหมุน การหมุนแบบปิดและเปิดต่างกันทีท่าทางของ ่ ร่างกายว่ามีลักษณะม้วนหรือหุบเข้าเป็นลักษณะปิด ถ้ามีลักษณะ กางหรือยืดออกก็เป็นการแสดงความรู้สึกเปิด การหันหรือการหมุน มักจะเป็นสิ่งที่ยากสำาหรับคนหัดเต้นรำาเพราะจะต้องอาศัยการ ทำางานที่สัมพันธ์กันของกล้ามเนื้อหลายส่วนรวมทั้งลีลาการก้าว เท้าที่ซับซ้อนขึ้น จึงเป็นกิจกรรมที่มประโยชน์อย่างหนึ่งในการ ี ฝึกหัดการประสานงานของกล้ามเนื้อและประสาท การหมุนแบบง่าย ๆ และให้ประโยชน์มาก คือ การ หมุนบนปลายเท้าเพียงครึงรอบ ่ ซึ่งจะใช้เท้าเดียวหรือสองเท้าก็ได้ จะทำาให้เราเปลียนทิศทางได้ ่ ง่ายและรวดเร็วโดยไม่ก้าวเท้า 5. การโค้งตัว ตามความหมายการโค้งตัวลงทาง ด้านหน้าเราเรียกว่า การก้ม และการม้วน การโค้งตัวไปด้านหลัง เรียกว่า แอ่นหลัง โค้งตัวไปด้านข้างเรียกว่า เอียงข้าง การกระ ทำาเช่นนั้นได้ต้องอาศัยความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อและข้อต่อ กระดูกสันหลังค่อนข้างมากซึ่งจะต้องมีการฝึกหัดอย่างค่อยเป็น ค่อยไป สิ่งที่ควรจำาประการหนึงคือ ขณะที่เราโค้งตัวลงด้านข้าง ่ ขอให้เป็นการตะแคงตัวลงจริง ๆ อย่าบิดเอวหรือก้มตัว 6. การทรงตัว การฝึกหัดการทรงตัวควรจะกระทำา ให้หลาย ๆ ท่า ทังท่ายืน นั่ง และนอน ทังนี้เพราะการทรงตัวจะ ้ ้ ต้องอาศัยทั้งความแข็งแรง และการประสานงานของกล้ามเนื้อ รวมทั้งการทำางานของระบบประสาทด้วย จึงควรฝึกหัดเพื่อเพิ่ม ทักษะให้มาก การฝึกหัดการทรงตัวควรทำาอย่างช้า ๆ และการ
  • 23. ทรงตัวอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งควรทำาให้นิ่งไว้ประมาณสองสามวินาที เป็นอย่างน้อย 6. กิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นนำา 1. นักเรียนเข้าแถวตอน 5 แถว ๆละ 10 คน 2. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับการออกกำาลังกายในชีวิต ประจำาวัน 3. ครูกล่าวถึงการนำาแบบฝึกการเต้นแอโรบิคเพื่อสร้างเสริม สมรรถภาพทางกายมาฝึกปฏิบัติเนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่มี ปัญหาในเรื่องของความอดทนหรือความทนทานของระบบหายใจ และระบบไหลเวียนโลหิต โดยศึกษาข้อมูลจากการที่นักเรียน ทำาการทดสอบสมรรถภาพทางกายและนำามาเปรียบเทียบกับ เกณฑ์มาตรฐาน 4. ครูชี้แจงในเรื่องหลักการเคลื่อนไหวเบื้องต้นให้นักเรียน 5. เปิดโอกาสให้นักเรียนซักถาม ขั้นอธิบายและสาธิตการฝึกปฏิบัติ 1. ครูอธิบายและสาธิตท่าทางการเคลื่อนไหวเบื้องต้น ได้แก่ การยืน การก้าวเท้า การกระโดด การหันหรือการหมุน การโค้งตัว การทรงตัว 2. นักเรียนเข้าแถวตามเดิมแต่ขยายแถวระยะห่างสองช่วง แขน 3. อบอุ่นร่างกายด้วยการเหยียดกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ 4. มอบหมายให้นักเรียนรับผิดชอบการอบอุ่นร่างกายหน้า แถว ขั้นสอนหรือฝึกปฏิบัติ 1. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 10 คน 2. ฝึกการเคลื่อนไหวเบื้องต้นโดยแบ่งออกเป็น 6 ฐาน 3. ใช้เวลาในแต่ละฐาน 5 นาที 4. ครูเป็นผู้จับเวลาเมื่อครบเวลาให้นักเรียนเปลี่ยนฐาน ขั้นนำาไปใช้ 1. นักเรียนแต่ละกลุ่มเข้าแถวตอน 5 แถว ๆ ละ 10 คน 2. ระยะห่างจากแถว 2 ช่วงแขน 3. แข่งขันการจัดท่าทางการยืน การก้าวเท้า การกระโดด การหันหรือการหมุน การโค้งตัว การทรงตัว 4. กล่าวคำาชมเชยในความตั้งใจของนักเรียน
  • 24. ขั้นสรุปและประเมินผล 1. นักเรียนแต่ละกลุ่มเข้าแถวตอน 5 แถว ๆ ละ 10 คน 2. ครูสรุปเนื้อหาการเคลื่อนไหวเบื้องต้นอีกครั้งหนึ่ง 3. เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการซักถาม 4. ครูอธิบายแบบประเมินการเคลื่อนไหวเบื้องต้น 5. ครูอธิบายพฤติกรรมระหว่างเรียนและการฝึกปฏิบัติ ระหว่างเรียนและการฝึกปฏิบัติ 6. สุขปฏิบัติ 7. นัดหมายการเรียนครั้งต่อไป 7. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ 1. แบบประเมินการเคลื่อนไหวเบื้องต้นเกี่ยวกับการ เต้นแอโรบิค 2. แบบประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียนและการฝึก ปฏิบัติ 8. การวัดผลและประเมินผล วิธีวัดผล 1. ผลการฝึกปฏิบัติการเคลื่อนไหวเบื้องต้น 2. สังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนและการฝึกปฏิบัติ เครื่องมือวัดผล 1. แบบประเมินการเคลื่อนไหวเบื้องต้น 2. แบบประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียนและการฝึก ปฏิบัติ เกณฑ์การประเมินผล 1. แบบฝึกการเคลื่อนไหวเบื้องต้น ระดับ 5 ดีมาก ระดับ 4 ดี ระดับ 3 ปาน กลาง ระดับ 2 ตำ่า ระดับ 1 ตำ่ามาก 2. แบบประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียนและการฝึก ปฏิบัติ ระดับ 5 ดีมาก ระดับ 4 ดี ระดับ 3 ปาน กลาง ระดับ 2 ตำ่า ระดับ 1 ตำ่ามาก 9. กิจกรรมสืบเนื่อง -
  • 25. ลงชื่อ (นายสุพัฒน์ อัต จริต) ตำาแหน่ง ครู …… / ............ / ............. 10. ข้อเสนอแนะของรองผู้อำานวยการกลุ่มบริหารวิชาการ เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี มีกิจกรรมการเรียนการ สอน สอดคล้องกับผลการเรียนรูที่คาดหวัง เนื้อหาวิชาและสื่อ ้ การเรียนการสอน ลงชื่อ พิศวาท คะลี ล้วน (นางพิศวาท คะลีลวน) ้ ตำาแหน่ง รองผู้อำานวย การกลุมบริหารวิชาการ ่ ١1. ข้อเสนอแนะของผู้อำานวยการโรงเรียน จัดทำาแผนการจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับผลการ เรียนรู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์การเรียนรู้ โดยจัดกิจกรรมเน้นผู้ เรียนเป็นสำาคัญ ลงชื่อ วิสิทธิ์ ใจเถิง (นายวิสทธิ์ ิ ใจเถิง) ผู้ อำานวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔
  • 26. 12. บันทึกหลังการสอน ด้านผลการเรียน นักเรียนเรียนรู้หลักการเคลื่อนไหวเบื้องต้นได้ดี เพราะ ใช้ในชิวิตประจำาวันอยู่แล้ว เพียงแต่ปรับแก้เล็กน้อยผลสัมฤทธิ์จึง ออกมาในเกณฑ์ ดีและดีมาก ด้านพฤติกรรม 1. นักเรียนมีปัญหาอุปสรรคอยู่บ้างในห้องท้าย ๆ แต่ส่วน ใหญ่ตั้งใจเรียน มีความสนใจในการเรียนเป็นอย่างดี 2. ยังติดการเล่น มองข้ามความสนใจ แต่เป็นกิจกรรม ง่ายจึงผ่านเกณฑ์ที่ดี ปัญหาและอุปสรรค สถานที่ไม่สะดวกเท่าที่ควรเพราะต้องใช้ใต้ตึกอาคาร 2 เป็นที่เรียนซึงเป็นสถานที่คับแคบเนื่องจากทางโรงเรียนไม่มี ่ โรงฝึกพลศึกษา ข้อเสนอแนะ การตรงต่อเวลานักเรียนยังต้องแก้ไข การกระโดด หมุนตัวยังต้องมีการพัฒนา ลงชื่อ สุพัฒน์ อัตจริต ( นายสุพัฒน์ อัตจริต ) ผู้บันทึก
  • 27. โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) ๔ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 รหัสวิชา พ 33101 รายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ท่าการเต้นแอโรบิคเบื้องต้น จำานวน 1 คาบ สาระที่ 4 : การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกัน โรค มาตรฐานการเรียนรู้ พ : 4.1 เห็นคุณค่า และมีทักษะในการ สร้างเสริมสุขภาพ การดำารงสุขภาพ การป้องกันโรค และการ สร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ ………………………………………………………………………………… ……………………. 1. สาระสำาคัญ การเต้นแอโรบิคเป็นการออกกำาลังกายแบบแอโรบิกชนิด หนึ่งทีประยุกต์เอาท่า กายบริหารต่างๆ ทักษะการเคลือนไหวของ ่ ่ ร่างกายและทักษะการเต้นรำามาผสมผสานอย่างกลมกลืนไปกับ จังหวะดนตรี ได้แก่ท่า Marching Walk Forward Walk Backward Step Touch Two Touch V-Step L-Step U- Step Grapevine Leg Curl Hop 2. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น มาตรฐานที่ 6 เห็นความสำาคัญของการมีสมรรถภาพที่ ดีจากการออกกำาลังกายและเล่นกีฬา 3. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง นักเรียนรู้เข้าใจ มีทักษะการเต้นแอโรบิคเบื้องต้น นำา ไปใช้เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ 4. จุดประสงค์การเรียนรู้
  • 28. 1. นักเรียนรู้เข้าใจและอธิบายความสำาคัญของการเต้น แอโรบิคเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง 2. นักเรียนมีทักษะการเต้นแอโรบิคเบื้องต้นด้วยท่าทาง ต่าง ๆได้อย่างถูกต้อง 3. นักเรียนสามารถนำาไปปฏิบัติในการนำาไปใช้ในชีวิต ประจำาวันได้ 5. เนื้อหาสาระ ท่าการเต้นแอโรบิคเบื้องต้น 1. Marching คือ การยำ่าเท้าอยู่กับที่ ตามจังหวะ เพลง 8 จังหวะ โดยการยกขาซ้ายขึ้นให้อยู่เหนือพื้น ลดขาซ้าย ลงแล้วเปลี่ยนเป็นยกขาขวาขึ้นทำาสลับกัน 2. Walk Forward คือ การก้าวหรือเดินไปข้างหน้า 4 จังหวะ โดยการก้าวเท้าซ้าย-ขวา-ซ้าย และก้าวเท้าขวามาชิด เท้าซ้าย 3. Walk Backward คือ การก้าวหรือเดินถอยหลัง 4 จังหวะโดยการเดินถอยหลังโดยเริ่มจากถอยเท้าขวา-ซ้าย-ขวา และถอยเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวา (ต่อเนื่องจากท่า Walk Forward) 4. Step Touch คือ การก้าวแตะซ้าย 2 จังหวะ และ ขวา 2 จังหวะ โดยการก้าวเท้าซ้ายออกด้านข้างแล้วก้าวเท้าขวา ชิดเท้าซ้าย จากนั้นให้ก้าวเท้าขวาออกด้านข้างแล้วก้าวเท้าซ้าย ชิดเท้าขวา 5. Two Touch คือ การก้าวแตะซ้าย 4 จังหวะ และ ขวา 4 จังหวะ โดยการก้าวเท้าซ้ายออกด้านข้าง ก้าวเท้าขวาชิด เท้าซ้าย ก้าวเท้าซ้ายออกด้านข้าง และก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้าย จากนั้นก้าวเท้าขวาออกด้านข้าง ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ก้าวเท้า ขวาออกด้านข้าง แล้วก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา 4 จังหวะ 6. กิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นนำา 1. นักเรียนเข้าแถวตอน 5 แถว ๆละ 10 คน 2. ครูสนทนากับนักเรียนเรื่องเกี่ยวกับการเรียนครังที่ผ่านมา ้ พร้อมทบทวนท่าการ เคลื่อนไหวเบื้องต้น 3. ครูแนะนำาแบบฝึกท่าการเต้นแอโรบิคเบื้องต้น 4. แจกแบบฝึกให้แก่นักเรียนโดยที่ครูเป็นผู้อธิบาย เมื่อนักเรียนยังมีข้อสงสัย
  • 29. 5. เปิดโอกาสให้นักเรียนซักถาม ขั้นอธิบายและสาธิตการฝึกปฏิบัติ 1. ครูอธิบายและสาธิตท่าทางการเต้นแอโรบิคเบื้องต้น ได้แก่ท่า Marching Walk Forward Walk Backward Step Touch Two Touch 2. นักเรียนขยายแถวระยะห่างสองช่วงแขน 3. อบอุ่นร่างกายด้วยการเหยียดกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ขั้นสอนหรือฝึกปฏิบัติ 1. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 10 คน 2. ฝึกท่าการเต้นแอโรบิคเบื้องต้นโดยแบ่งออกเป็น 5 ฐาน โดยใช้แบบฝึกเข้าช่วยใน การเรียนการสอน 3. แบบฝึกมีจำานวน 5 ท่า ได้แก่ Marching Walk Forward Walk Backward Step Touch Two Touch 4. ครูเป็นผู้จับเวลาเมื่อครบเวลาให้นักเรียนเปลี่ยนฐาน ๆ ละ 5 นาที ขั้นนำาไปใช้ 1. นักเรียนแต่ละกลุ่มเข้าแถวตอน 5 แถว ๆ ละ 10 คน 2. ระยะห่างจากแถว 2 ช่วงแขน 3. ฝึกท่าการเต้นแอโรบิคเบื้องต้น ด้วยท่า Marching Walk Forward Walk Backward Step Touch Two Touch โดยการนับจังหวะทำาท่าละ 2 ครั้ง 4. กล่าวคำาชมเชยในความตั้งใจของนักเรียน ขั้นสรุปและประเมินผล 1. นักเรียนแต่ละกลุ่มเข้าแถวตอน 5 แถว ๆ ละ 10 คน 2. ครูสรุปเนื้อหาท่าการเต้นแอโรบิคเบื้องต้นอีกครั้งหนึ่ง 3. เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการซักถาม 4. ให้นักเรียนนำาแบบฝึกกลับไปฝึกซ้อมที่บาน ้ 5. สุขปฏิบัติ 6. นัดหมายการเรียนครั้งต่อไป 7. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ 1. แบบประเมินท่าการเต้นแอโรบิคเบื้องต้น 2. แบบประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียนและการฝึก ปฏิบัติ 8. การวัดผลและประเมินผล
  • 30. วิธีวัดผล 1. ผลการฝึกปฏิบัติท่าการเต้นแอโรบิคเบื้องต้น 2. สังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนและการฝึกปฏิบัติ เครื่องมือวัดผล 1. แบบประเมินการท่าการเต้นแอโรบิคเบื้องต้น 2. แบบประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียนและการฝึก ปฏิบัติ เกณฑ์การประเมินผล 1. แบบฝึกท่าการเต้นแอโรบิคเบื้องต้น ระดับ 5 ดีมาก ระดับ 4 ดี ระดับ 3 ปาน กลาง ระดับ 2 ตำ่า ระดับ 1 ตำ่ามาก 2. แบบประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียนและการฝึก ปฏิบัติ ระดับ 5 ดีมาก ระดับ 4 ดี ระดับ 3 ปาน กลาง ระดับ 2 ตำ่า ระดับ 1 ตำ่ามาก 9. กิจกรรมสืบเนื่อง ฝึกทบทวนการเคลื่อนไหวเบื้องต้น ได้แก่ การจัดท่าทาง หรือการยืน การก้าวเท้า การกระโดด การหันหรือการหมุน การโค้งตัว การทรงตัว ลงชื่อ (นายสุพัฒน์ อัตจริต) ตำาแหน่ง ครู …… / ............ / ............. 10. ข้อเสนอแนะของรองผู้อำานวยการกลุ่มบริหารวิชาการ เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึก ปฏิบัติ สามารถฝึกปฏิบัติได้ด้วยตนเอง เพราะมีสื่อการเรียน การสอนที่เป็นแบบฝึกมาประกอบการสอน สามารถนำามาใช้เป็น
  • 31. นวัตกรรมการสอนที่มีประสิทธิภาพได้ ลงชื่อ พิศวาท คะลี ล้วน (นางพิศวาท คะลีลวน) ้ ตำาแหน่ง รองผู้อำานวย การกลุมบริหารวิชาการ ่ ١1. ข้อเสนอแนะของผู้อำานวยการโรงเรียน เห็นด้วยตามข้อเสนอแนะท่านรองผู้อำานวยการกลุ่ม บริหารวิชาการ ควรทำาเป็นข้อมูลเชิงสถิติไว้เป็นหลักฐานเพราะ ปัจจุบันการพัฒนาการเรียนการสอนต้องขึ้นอยู่กับพื้นฐานของ ข้อมูล ลงชื่อ วิสิทธิ์ ใจเถิง (นายวิสทธิ์ ิ ใจเถิง) ผู้ อำานวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔ 12. บันทึกหลังการสอน ด้านผลการเรียน นักเรียนสามารถเข้าใจในแบบฝึก ปฏิบัติได้เป็นอย่างดี มีจุดที่ยงต้องแก้ไขบางส่วนคือในเรื่องของการจัดระเบียบร่างกาย ั ความสัมพันธ์ในการเต้นอย่างต่อเนื่องจากท่าหนึ่งไปสู่อีกท่าหนึ่ง ด้านพฤติกรรม 1. นักเรียนมีความสนุกสนานในการเรียน เข้าใจใน การฝึกปฏิบัติในแต่ละฐาน 2. การแสดงออกของนักเรียนบางคนยังขี้อาย ขาด การเป็นผูนำา ้ ปัญหาและอุปสรรค การจัดระเบียบของร่างกายยังต้องปรับปรุงแก้ไข ข้อเสนอแนะ
  • 32. การแต่งกายควรให้เหมาะสม การพูดจาควรให้เกียรติ เพื่อนและครู ต้องฝึกตนเป็นผู้มีจิตอาสา และความตั้งใจฝึกปฏิบัติ ลงชื่อ สุพัฒน์ อัตจริต ( นายสุพัฒน์ อัตจริต ) ผู้บันทึก โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) ๔ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 รหัสวิชา พ 33101 รายวิชา สุขศึกษาและ พลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ท่าการเต้นแอโรบิคเบื้องต้น จำานวน 1 คาบ สาระที่ 4 : การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกัน โรค มาตรฐานการเรียนรู้ พ : 4.1 เห็นคุณค่า และมีทักษะในการ สร้างเสริมสุขภาพ การดำารงสุขภาพ การป้องกันโรค และการ สร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ ………………………………………………………………………………… ……………………. 1. สาระสำาคัญ การเต้นแอโรบิคเป็นการออกกำาลังกายแบบแอโรบิกช นิดหนึ่งที่ประยุกต์เอาท่า กายบริหารต่างๆ ทักษะการเคลือนไหว ่ ของร่างกายและทักษะการเต้นรำามาผสมผสานอย่างกลมกลืนไปกับ จังหวะดนตรี ได้แก่ ท่า Marching Walk Forward Walk Backward Step Touch Two Touch V-Step L-Step U- Step Grapevine Leg Curl Hop 2. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น มาตรฐานที่ 6 เห็นความสำาคัญของการมีสมรรถภาพที่ ดีจากการออกกำาลังกายและเล่นกีฬา 3. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง นักเรียนรู้เข้าใจ มีทักษะการเต้นแอโรบิคเบื้องต้น นำา ไปใช้เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ 4. จุดประสงค์การเรียนรู้