SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  52
Télécharger pour lire hors ligne
ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ 
Ø 
áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢Ô§) 
คำนำ 
กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดนโยบายให้มีการเชื่อมโยง การจัดบริการระบบบริการปฐมภูมิ ทุติยภูมิ 
ตติยภูมิ ในรูปเครือข่ายและระบบส่งต่อแบบครบวงจรเบ็ดเสร็จในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ ตามแผนการพัฒนา 
ระบบบริการสุขภาพ Service Plan เพื่อให้สถานบริการสุขภาพ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขสามารถจัดระบบ 
บริการสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุตามแผนการพัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพ Service Plan 
กระทรวงสาธารณสุข ได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสาธารณสุขรวมถึงเครือข่ายใน 
ชุมชน ซึ่งได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 
กระทรวงสาธารณสุข ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบเครือข่ายบริการสุขภาพ สาขาจักษุวิทยา ซึ่ง 
มีหน้าที่กำหนดแนวทางการพัฒนาระบบบริการ สาขาจักษุวิทยาของสถานบริการสุขภาพ สังกัดกระทรวง 
สาธารณสุข สำนักบริหารการสาธารณสุขร่วมกับโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) จึงได้จัดทำคู่มือการ 
การดูแลโรคตาเบื้องต้น ซึ่งแนะนำถึงความสำคัญของการตรวจตาทั้งในกลุ่มคนปกติ และในกลุ่มเสี่ยง นอกจากนี้ 
ยังให้ความสำคัญกับแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ สาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ในการตรวจคัดกรอง โรคตา 
เบื้องต้น เริ่มตั้งแต่การซักประวัติ การวัดความสามารถในการมองเห็น การเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือ สรุป 
อาการ เพื่อการวินิจฉัยและแนวทางการรักษาพยาบาลเบื้องต้นและส่งต่อ 
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อนำไปช่วย 
เพิ่มทักษะ และเป็นแนวทางในการดูแลรักษาโรคตา ตลอดถึงส่งเสริมให้ความรู้ในการคัดกรองโรคตาเบื้องต้น 
อย่างง่ายแก่เครือข่ายในชุมชนได้ 
กรกฎาคม 2556
ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ 
Ø 
áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢§Ô)
ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ 
Ø 
áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢Ô§) 
สารบัญ 
หน้า 
คำนำ 
การตรวจตาในประชาชนปกติ 5 
การตรวจคัดกรองสายตาในชุมชน 8 
- การซักประวัติ 8 
- การวัดความสามารถในการมองเห็น 11 
- การตรวจคัดกรองทั่วไป และการตรวจเบื้องต้น 16 
โรคตาที่พบบ่อยและแนวทางการวินิจฉัยส่งต่อโรคตาเบื้องต้น 20 
โรคตาแดง 20 
เยื่อตาอักเสบ 21 
ต้อหิน 25 
ม่านตาอักเสบ 26 
แผลกระจกตา 27 
ต้อเนื้อ 28 
ต้อกระจก 31 
การบาดเจ็บทางตา 32 
สิ่งแปลกปลอมที่เยื่อตาและกระจกตา 33 
กระจกตาถลอก 33 
เลือดออกในช่องหน้าม่านตา 34 
การบาดเจ็บที่มีเนื้อเยื่อลูกตาฉีกขาด 34 
เปลือกตาฉีกขาด 35 
สารเคมีเข้าตา 35 
โรคเยื่อตาแห้งจากการขาดสารอาหาร 36 
โรคริดสีดวงตา 37 
หัตถการที่พบบ่อยทางจักษุวิทยา 38 
หลักการใช้ยาหยอดตา 44 
ศัพท์ทางจักษุวิทยาที่ควรทราบ 49 
หนังสืออ้างอิง 51
ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ 
Ø 
áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢§Ô) 
ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μÓºÅ
ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ 
Ø 
áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢Ô§) 
การตรวจตา ในประชาชนปกติ 
การตรวจสายตาในประชาชนทั่วไป เป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากอาจจะมีบางสภาวะหรือโรคตาบางโรคซึ่ง 
ภาพจาก visianinfo.com 
2. ภาวะตามัวลงเป็นไปอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป หรือมีผลเริ่มต้นจากการมองเห็นด้านข้าง 
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 5 
ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠ
คุกคามการมองเห็น โดยผู้ป่วยยังไม่มีอาการ 
ความจำเป็นในการตรวจคัดกรองสายตา 
1. โรคดังกล่าวอาจมีผลทำให้สายตามัวลงข้างเดียว โดยที่ผู้นั้นไม่รู้ตัว เนื่องจากตาอีกข้างยังมองเห็น 
ได้ดี เช่น ต้อกระจกในเด็กหรือผู้ใหญ่ที่เป็นข้างเดียว 
รูปแสดง : ต้อกระจกในตาข้างขวา ผู้ป่วยอาจ 
ไม่รู้สึกตัวว่าตาขวามองไม่เห็น 
เนื่องจากตาซ้ายยังมองเห็นดี 
รูปแสดง : การมองเห็นของผู้ป่วยที่เป็นต้อหิน 
บริเวณรอบนอกของการมองเห็นจะค่อยๆ 
มัวลง โดยที่การมองเห็นตรงกลางชัด 
เมื่อเป็นมากขึ้นภาพตรงกลางจะมัวลงด้วย 
จนในที่สุดตาอาจบอดมองไม่เห็นเลย 
รูปแสดง : ผู้ป่วยเป็นเบาหวานขึ้นจอตา 
จะมีจุดเลือดออก และไขมัน 
ออกมาที่จอตา โดยในช่วงแรก 
การมองเห็นยังเป็นปกติ 
(peripheral vision) ดังเช่น ผู้ป่วยต้อหินเรื้อรัง 
ภาพจาก hvglaucoma.com 
3. พยาธิสภาพกำลังเกิดขึ้น แต่ยังมิได้ทำให้การมองเห็นลดลง เช่น จอประสาทตาเสื่อมจาก 
โรคเบาหวาน หรือการใช้ยาบางชนิด เช่น chloroquine, Ethambutol
ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ 
Ø 
áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢§Ô) 
4. ในเด็กเล็กมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากไม่สามารถบอกว่าตนเองตามัวหรือมองไม่ชัด ภาวะตามัว 
อาจนำไปสู่ภาวะสายตาขี้เกียจ (amblyopia) แม้มาแก้ไขความผิดปกติในภายหลัง ตาก็ยังมองไม่เห็น เพราะว่า 
สมองไม่เคยรับรู้การเห็นหรือการใช้สายตาพร้อมกัน 2 ตา 
6 คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 
ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠ
รูปแสดง : เด็กตาเข เด็กอาจบอกไม่ได้ว่าตนเอง 
ตามัวหรือเห็นภาพซ้อน บิดา-มารดา 
ต้องเป็นผู้สังเกตและนำเด็กไปตรวจตา 
ภาพจาก info thevisiontherapycenter.com 
ใครควรได้รับการตรวจคัดกรองสายตา 
ควรตรวจวัดสายตา หรือตรวจตาในคนปกติที่ยังไม่มีอาการทางสายตา หรือคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคตา 
ซึ่งแบ่งกลุ่มเพื่อเข้าใจง่ายๆ ดังนี้ 
1. กลุ่มคนปกติ 
1.1 กลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน 
1.1.1 เด็กอายุ 6 เดือน โดยผู้ตรวจอาจเป็นแพทย์ทั่วไป พยาบาล หรือบุคลากรทางสาธารณสุข ใช้ 
วิธีการตรวจง่ายๆ คือใช้แสงไฟ ฉายให้เด็กดูโดยดูว่าตาเด็กมี GCM (Good, Central Fixation และ Maintain) 
1.1.2 อายุ 3 ปี วัดสายตาโดยใช้ Snellen’s chart ร่วมกับการตรวจว่ามี misalignment หรือไม่ 
โดยผู้ตรวจอาจเป็นแพทย์ทั่วไป พยาบาล หรือบุคลากรทางสาธารณสุข 
1.2 กลุ่มวัยเรียน อาจตรวจโดยใช้ Snellen’s chart ทุก 3 ปี หรืออาจจะอิงชั้นเรียนคือวัดในระดับ 
ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และก่อนเข้ามหาวิทยาลัย 
1.3 กลุ่มอายุ 20 – 40 ปี ควรตรวจวัดสายตาและตาบอดสี อย่างน้อยทุก 3 ปี 
1.4 กลุ่มอายุ 40 – 60 ปี ควรวัดสายตาทั้งใกล้ไกล เพราะอยู่ในวัยสายตายาว (presblyopia) และควร 
ตรวจวัดความดันตา เพื่อค้นหาโรคตาที่พบบ่อย เช่น ต้อหิน โดยตรวจอย่างน้อยทุกปี 
1.5 กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ควรตรวจวัดสายตาทั้งใกล้และไกล วัดความดันตา ขยายม่านตา โดยตรวจตา 
อย่างน้อยปีละครั้ง
ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ 
Ø 
áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢Ô§) 
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 7 
ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠ
2. กลุ่มคนที่มีความเสี่ยง 
2.1 กลุ่มเด็กที่คลอดก่อนกำหนด กลุ่มเด็กพิการทางสมอง กลุ่มคนที่มีสายตาสั้นมาก กลุ่มคนที่มีประวัติ 
ในครอบครัวเป็นโรคตา เช่น ต้อหิน กลุ่มคนที่เคยได้รับอุบัติเหตุทางตา และกลุ่มที่มีภาวะของโรคเบาหวาน 
2.2 ผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคตาค่อนข้างสูง จากการสำรวจภาวะตาบอดและ 
สายตาพิการของประเทศไทย พบว่ากลุ่มผู้สูงอายุมีอัตราตาบอดค่อนข้างสูง โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก 
โรคต้อกระจก ซึ่งภาวะสูญเสียสายตานี้จะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น การหกล้ม การหดหู่ทางใจ และเสี่ยงต่อ 
การเสียชีวิต 
ตารางที่ 1 แสดงการตรวจตาในคนทั่วไป 
กลุ่มคนปกติ ผู้ตรวจ ตรวจดู ความถี่ในการตรวจ 
1. เด็กแรกคลอดก่อนออก 
จาก รพ. 
แพทยท์ั่วไปหรือพยาบาล กุมารแพทย ์ 
จักษุแพทย์ 
Red reflex ลักษณะภายนอก 
ทั่วไป 
ครั้งเดียว (ถ้าปกติ) 
2.เด็กก่อนวัยเรียนหรือ 
บุคคลที่ได้รับ 
แพทยท์ั่วไปหรือพยาบาล กุมารแพทย ์ 
จักษุแพทย์ 
Red reflex ลักษณะภายนอก 
ทั่วไป 
เมื่อเด็กมารับการตรวจสุขภาพหรือ 
รับวัคซีน อย่างน้อยทุก 1-2 ปี 
3.เด็กในวัยเรียน แพทยท์ั่วไปหรือพยาบาล กุมารแพทย ์ 
จักษุแพทย ์หรือเจา้หนา้ที่สาธารณสุข 
Visual acuity ลักษณะหนังตา 
และ ลูกตา stereopsis (ถ้าทำได้) 
ระหว่างประถมศึกษา ระหว่าง 
มัธยมศึกษา อย่างน้อยทุก 1-2 ปี 
4. ประชาชนอายุ 20-40 ป ีแพทยท์ั่วไปหรือพยาบาล จักษุแพทย ์ 
พยาบาลเวชปฏิบัติทางตา หรือ 
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 
Visual acuity ลักษณะหนังตาและ 
ลูกตา stereopsis (ถ้าทำได้) 
เพิ่มเติม 
- ตรวจตาบอดสี 
- ตรวจพิเศษอื่นๆ แล้วแต่อาชีพ 
เช่น ลานสายตา 
ก่อนเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา 
หรือก่อนเข้าทำงาน 
5. ประชาชนอายุ 40-60 ป ีแพทยท์ั่วไปหรือพยาบาล จักษุแพทย ์ 
พยาบาลเวชปฏิบัติทางตา หรือ 
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ได้รับการฝึก 
อบรม 
Visual acuity, Intraocular 
pressure, Near vision อื่นๆ 
แล้วแต่ความจำเป็น 
ปีละครั้ง 
6. ประชาชนอายุมากกว่า 
60 ปี 
จักษุแพทย์ พยาบาลเวชปฏิบัติทาง 
ตา หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ได้รับ 
การฝึกอบรม 
Visual acuity, Intraocular 
pressure, Near vision อื่นๆ 
แล้วแต่ความจำเป็น 
เพิ่มเติม 
-ขยายม่านตาดูจอตาโดยจักษุ 
แพทย์ 
ปีละครั้ง
ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ 
Ø 
áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢§Ô) 
การตรวจคัดกรองสายตาในชุมชน 
การตรวจคัดกรองสายตาและโรคตาในชุมชน สามารถปฏิบัติได้โดยแพทย์หรือพยาบาลที่ปฏิบัติงาน 
ในพื้นที่ เป็นการคัดกรองและดูแลเบื้องต้นก่อนส่งต่อให้ผู้ชำนาญเฉพาะทางเมื่อจำเป็น ซึ่งการตรวจคัดกรองมี 
ขั้นตอนหรือวิธีการคือ การซักประวัติ การวัดความสามารถการมองเห็น และการตรวจตาทั่วไป 
1.การซักประวัติ 
การซักประวัติเป็นวิธีการค้นหาโรคตาที่สำคัญ เพื่อช่วงบอกรายละเอียดของอาการต่างๆ บอกระยะเวลา 
การดำเนินโรคและมีอาการอื่นร่วมด้วยหรือไม่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยแยกโรค และเพื่อการรักษา 
พยาบาลที่ถูกต้องรวดเร็ว ขั้นตอนการซักประวัติควรมีแนวทางดังนี้ 
1. อาการสำคัญ (Chief Complaint) 
2. ประวัติปัจจุบัน (Present illness) 
3. ประวัติในอดีต (Past History) 
4. ประวัติครอบครัว (Family History) 
5. ประวัติโรคระบบอื่นๆ (Medical History) 
6. ประวัติทั่วไป (General History) 
1. อาการสำคัญ (Chief Complaint) เป็นอาการที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ อาการสำคัญทางตา 
ที่พบบ่อย ได้แก่ ตามัว เป็นอาการสำคัญที่มาพบแพทย์มากที่สุด ปวดตา เคืองตา ตาแฉะ มีขี้ตา ตาแดง คันตา 
อาการอื่นๆ เช่น ตุ่มที่เปลือกตา, ตาโปน, มองภาพซ้อน 
2. ประวัติปัจจุบัน (Present illness) จะช่วยบอกรายละเอียดอาการสำคัญของผู้ป่วย ทำให้ 
วินิจฉัยแยกโรคตาได้ เช่น อาการสำคัญ ตาพร่ามัวมา 3 ปี ต้องซักประวัติเพิ่มว่า เริ่มมัวตั้งแต่เมื่อใด มัวทันทีที่ใด 
หรือ ค่อยๆ มัว มัว 2 ข้าง หรือ ข้างเดียว อาการอื่นมีร่วมด้วยหรือไม่ อาการสำคัญปวดศีรษะ เป็นๆ หาย มา 2 
ปี ต้องซักเพิ่มว่า ปวดมากเวลาไหน มีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ หรือไม่ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน 
3. ประวัติในอดีต (Past History) ช่วยวินิจฉัยโรคได้อาการเจ็บป่วยปัจจุบันเป็นผลสืบเนื่องมา 
จากอดีต เช่น ประวัติการใช้ยา ประวัติการได้รับอุบัติเหตุทางตาในอดีต ประวัติสายตาและการใช้แว่น ประวัติการ 
ผ่าตัดในอดีต เช่น ผ่าตัดต้อกระจก, ผ่าตัดต้อหิน 
4. ประวัติครอบครัว (Family History) โรคตาบางชนิดสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เช่น 
ตาบอดสีมะเร็งจอตา โรคอื่นๆ ที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ และมีผลทำให้เกิดอาการทางตา เช่น เบาหวาน ความ 
ดันโลหิตสูง 
5. ประวัติโรคระบบอื่นๆ (Medical History) เบาหวานทำให้ตามัวจากต้อกระจกหรือ 
เบาหวานขึ้นจอตา หรือไทรอยด์เป็นพิษทำให้ตาโปน ตาเหลือก กล้ามเนื้อตากลอกไม่ได้ หรือความดันโลหิตสูง 
ทำให้เกิดความผิดปกติของประสาทตาจากภาวะความดันโลหิตสูง วัณโรคปอด ตามัวได้หลังจากรักษาด้วยยามา 
2-3 เดือน ส่วนใหญ่มัวทั้งสองข้าง / จากการใช้ยา Ethambutol ให้นึกถึงประสาทตาอักเสบ / โรครูมาตอยด์ ที่ 
ได้รับยา Chloroquine มีประสาทตาฝ่อ การมองเห็นสีเพี้ยนไป ลานสายตาแคบลง 
8 คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 
ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμÓºÅ
ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ 
Ø 
áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢Ô§) 
6. ประวัติทั่วไป (General History) เช่น อายุ, อาชีพ, สุขนิสัยทั่วไป 
อาการสำคัญทางตา (Ocular Symtomatology) แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 
1. กลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น 
2. กลุ่มอาการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น 
กลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น มีอาการดังต่อไปนี้ 
ตามัว (Blurred vision) ส่วนใหญ่ หมายถึง การมองเห็นส่วนตรงกลาง (Central Visual Acuity) 
สาเหตุของตามัว อาจเกิดจาก ความผิดปกติในลูกตา ความผิดปกติใน Visual Pathway ความผิดปกติ 
ของศูนย์รับภาพในสมอง เป็นต้น 
เมื่อผู้ป่วยมาพบด้วยอาการตามัว จะต้องซักถามเพิ่มเติมดังนี้ ตามัวตาเดียวหรือ 2 ข้าง เริ่มมัวเมื่อใด 
มัวคงที่ หรือมัวลงเรื่อยๆ มัวทันทีทันใด หรือ ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป 
* ถ้ามัวทันทีทันใด เป็นตาเดียว ตาแดงร่วมด้วย ให้นึกถึงโรคตาส่วนหน้า (Anterior Segment 
Diseases) เช่น แผลกระจกตา, ม่านตาอักเสบเฉียบพลัน, ต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน 
* ถ้าตามัวทันทีทันใด เป็นตาเดียวไม่มีตาแดงร่วมให้นึกถึงโรคตาส่วนหลัง (Posterior Segment 
Diseases) เช่น จอตาหลุดลอก, เส้นเลือดใหญ่ที่จอตาอุดตัน, เลือดออกทันทีที่วุ้นตา 
* ตามัวทันทีทั้ง 2 ข้าง ให้นึกถึงอุบัติเหตุที่ศีรษะ, ตามัวจากพิษยา 
* ถ้ามัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ให้นึกถึงโรคที่มีการเจริญ เช่น ต้อกระจก, ต้อหินชนิดมุมปิด 
ลักษณะของตามัวเปน็อยา่งไร มัวเฉพาะตรงกลางหรือทั้งหมด เปน็ชั่วคราว หรือตลอดถา้เปน็ตรงกลาง 
บริเวณรอบๆ ชัด ให้นึกถึงโรคของ Macular, ประสาทตาอักเสบ (Optic Neuritis หรือ โรคกดทับ 
ประสาทตา Optic Nerve Compression) 
ตาบอด (Blindnees) ตามกฎหมายถือเอาข้างที่ดีกว่ามองเห็นเลวกว่า 6/60 หรือ 20/400 ลาน 
สายตา ส่วนริมของข้างที่ดีมองเห็นแคบกว่า 20 องศา 
มองภาพบิดเบี้ยว (Metamorphopsia) ผู้ป่วยมองเห็นภาพวัตถุมีรูปร่างบิดเบี้ยว ให้นึกถึงสภาวะ 
สายตาเอียง หรือโรคที่ Fovea เช่น จอตาบวมคั่งน้ำ (Central Serous Retinopathy) จอตาเสื่อม 
ในคนสูงอายุ (Senile Macular Degeneration) 
มองภาพขนาดเล็กหรือใหญ่กว่าปกติ อาจมีความผิดปกติของจอรับภาพ (Fovea) เช่น มีเนื้องอก 
มีเลือดออกที่จอตา มีการบวมคั่งของน้ำ 
มองเห็นสีรุ้งรอบดวงไฟ (Iridescent Vision) พบในผู้ป่วยที่มีตัวกลางในตาขุ่น 
กระจกตาบวม (Cornea edema) ในต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน, คนที่ว่ายน้ำเป็นเวลานาน 
ขี้ตามาก ในผู้ป่วยที่เยื่อบุตาอักเสบ, กระจกตาอักเสบ, ท่อน้ำตาอุดตัน 
จุดดำลอยไปมา (Floater) เป็นชิ้นส่วนใสๆ อยู่ในน้ำวุ้นตา พบในผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยสายตาสั้น 
ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุ 
- กรณีเกิดขึ้นทันทีทันใด ในลานสายตาส่วนริม ให้นึกถึงภาวะเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา 
- มองเห็นจุดดำขนาดใหญ่เกิดทันทีทันใด ให้นึกถึงภาวะที่มีการหลุดลอกของน้ำวุ้นตา จอตาลอกหลุด 
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 9 
ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμÓºÅ
ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ 
Ø 
áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢§Ô) 
เห็นภาพซ้อน (Diplopia) ต้องซักประวัติให้ละเอียดว่าอาการของภาพซ้อน เห็นภาพซ้อนเป็น 
อย่างไร เริ่มเมื่อใด เป็นบางครั้งหรือเป็นตลอด 
- เห็นภาพซ้อนตาข้างเดียว มักเกิดจากการหักเหของแสงในลูกตาที่มีความขุ่นไม่สม่ำเสมอ เช่น 
สายตาเอียงมาก, ต้อกระจกที่ยังไม่สุก, ผู้ป่วยที่มีการบวมของจอตาส่วนกลาง 
- ถ้าตรวจดู 2 ตาเห็นภาพซ้อน ปิดตาข้างหนึ่งภาพซ้อนหายไปให้นึกถึงโรคของกล้ามเนื้อตา 
มองสู้แสงไม่ได้ (Photophobia) เป็นอาการไม่สบายตาที่เกิดจากแสงจ้าพบในผู้ป่วยที่มีกระจกตา 
ถลอก, แผลกระจกตาอักเสบ, ม่านตาอักเสบจากภูมิแพ้, หรือสิ่งแปลกปลอม 
ลานสายตาผิดปกติ (Visual Field Defect) ให้นึกถึง ต้อหิน, โรคของ Retina 
มองไม่เห็นในที่มืด (Night Blindness) มักมาด้วยอาการตามัวในตอนกลางคืนหรือมองไม่ชัดใน 
ที่มืด ถ้าเป็นมาแต่กำเนิดให้นึกถึงโรคที่มีการเสื่อมของจอตา (Retinitis Pigmentosa) และ 
Hereditary Optic Atrophy ถ้าเกิดภายหลังให้นึกถึงสภาวะบกพร่อง วิตามิน A ต้อหิน ต้อกระจก 
จอตาเสื่อม 
การมองเห็นในที่สว่าง (Day Blindness) เห็นชัดในที่มืดให้นึกถึงการเสื่อมของ Cone Cell 
ประสาทตาอักเสบจากสารพิษ 
ตาบอดสี (Color Blindness) ส่วนใหญ่เป็นกรรมพันธุ์ ในพวกที่เป็นมาแต่กำเนิดมักมีสายตาดี 
แต่มองเห็นสีผิดไป 
- ถ้าเป็นตาเดียว มักเกิดจากโรคจอตาเสื่อม และโรคของเส้นประสาทตา 
- ถ้าเป็น 2 ตา มักเกิดจากพิษของยา หรือภาวะทุโภชนาการ 
กลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น (Non Visual Symptoms) มีอาการดังต่อไปนี้ 
ปวดศีรษะ (Headache) ปวดศีรษะเวลาตื่นนอนหรือเช้า หายปวดตอนสายมักไม่ใช่เกิดจากโรค 
ทางตา ถ้าปวดศีรษะในตอนบ่ายๆ หรือตอนเย็นหลังจากทำงานที่ใช้สายตาทั้งวัน หายปวดเมื่อได้พัก 
มักมีสาเหตุจากโรคตา 
ปวดตา (Ocular Ache) พบบ่อยในพวกโรคกล้ามเนื้อตา ทำให้เกิดอาการเพลีย (Eye Strain) พบ 
ในผู้ป่วยต้อหิน ม่านตาอักเสบ การอักเสบของชั้นในคอรอยด์ 
ปวดแสบปวดร้อนในลูกตา (Burning Sensation) พบมากในผู้ป่วยที่มีการอักเสบของเปลือกตา 
และเยื่อบุตา 
เคืองตาเหมือนมีอะไรติดอยู่ (Foreign Body Sensation) 
* การอักเสบของเปลือกตา เยื่อบุตา กระจกตา 
* สิ่งแปลกปลอมติดเยื่อบุตา หรือกระจกตา 
* ผิวกระจกตาถลอก (Corneal Abrasion) ในผู้ป่วย Foreign body การหยอดยาชาทำให้สามารถ 
วินิจฉัยโรคได้ 
* ถ้าหยอดยาชาแล้วอาการเคืองตาหายไป แสดงว่า เกิดจาก ผิวกระจกตาถลอก หรือ มี 
สิ่งแปลกปลอม ติดที่เยื่อบุตา หรือกระจกตา 
* ถ้าหยอดยาชาแล้วอาการเคืองไม่หาย แสดงว่าเกิดจาก เปลือกตา หรือเยื่อบุตาอักเสบ หรือ 
แผลกระจกตาอักเสบ 
10 คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 
ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμÓºÅ
ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ 
Ø 
áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢Ô§) 
คันตา (Itching) พบในผู้ป่วย เยื่อบุตาอักเสบจากโรคภูมิแพ้ ริดสีดวงตา การอักเสบของต้อเนื้อ 
ตาแดง (Red eye) 
* ตาแดงเฉพาะแนวของช่องว่างเปลือกตา มักเกิดจากการอักเสบของต้อเนื้อ ต้อลม 
* ตาแดงเป็นปื้น เหมือนก้อนเลือดให้นึกถึง เลือดออกในเยื่อบุตาขาว 
* ตาแดงทั้ง 2 ตา เป็นเยื่อบุตาอักเสบจากการติดเชื้อ 
* ตาแดงเป็นข้างเดียวไม่มีขี้ตา สู้แสงไม่ได้ ปวดตา ให้นึกถึง โรคม่านตาอักเสบ 
* ตาแดงข้างเดียว ปวดศีรษะซีกเดียวกัน ตามัวลง เห็นสีรุ้งรอบดวงไฟ ให้นึกถึงต้อหินชนิดเฉียบพลัน 
ตาแฉะ (Discharge) 
* อาการสำคัญที่ผู้ป่วยมีน้ำตามาก ปวดร้อนในลูกตา สู้แสงไม่ได้ มีตาแดงร่วมด้วยทั้ง 2 ข้าง 
ให้นึกถึง Viral Conjunctivitis 
* ถ้ามีน้ำตาไหลมาก มักเกิดจากท่อน้ำตาอุดตัน หรือน้ำตาถูกสร้างมากกว่าปกติ 
* ถ้ามีขี้ตามาก มักลืมตาไม่ขึ้นตอนเช้า เป็น Bacteria Conjunctivitis 
* มีขี้ตาเป็นยางเหนียวๆ เป็นโรคภูมิแพ้ Allergic Conjunctivitis 
* ในเด็กทารก มาด้วยน้ำตาไหลตลอดเวลา มักเกิดจาก ท่อระบายน้ำตาอุดตัน 
ตาแห้ง (Dry Eyes) พบในผู้สูงอายุ น้ำตาจะถูกสร้างออกมาน้อยกว่าปกติ และพบในผู้ป่วยที่เคย 
ได้รับสารเคมี 
ตาบวม (Lid Swelling) 
* ตาบวม 2 ข้าง พบในผู้ป่วยเปลือกตาอักเสบ หรือในผู้ป่วยภูมิแพ้ 
* ตาบวมข้างเดียว มักเป็นกุ้งยิง, เป็นฝี เปลือกตาบวมเป็นจ้ำสีคล้ำๆ ร่วมด้วยมักมี สาเหตุจากอุบัติเหตุ 
ตาโปน (Exophthalmos) 
* ตาโปน 2 ข้าง มักเกิดจากโรคระบบอื่น เช่น Hyperthyroid 
* ตาโปนข้างเดียว มักเกิดจากเนื้องอกภายในเบ้าตา ประวัติอุบัติเหตุ 
หลักสำคัญในการวัดความสามารถในการมองเห็น คือ ขนาดของภาพที่ปรากฏที่จอตา (Retinal image 
size) ขึ้นอยู่กับขนาดของวัตถุ (Object size) และระยะห่างจากลูกตา (distance) ซึ่งมีผู้ประดิษฐ์แบบวัด 
สายตาขึ้นโดยอาศัยหลักการดังกล่าวเป็นแผ่นป้ายมาตรฐาน ที่นิยมใช้กันคือ แผ่นป้ายสเนลเลน (Snellen’s 
chart) ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขขนาดต่างๆ ตัวอักษรอี (E chart) และรูปภาพ นอกจากนั้นยังมี Reduced 
snellen’s charts หรือเรียกกันทั่วไปว่า Near cards ซึ่งใช้วัดสายตาในระยะใกล้ (near vision) โดยให้ผู้ป่วย 
ถือ Near cards อ่านในระยะห่าง 14 นิ้ว นิยมใช้ในกรณีตรวจวัดสายตาในบุคคลที่สายตายาวเนื่องจากอายุมาก 
คือ 40 ปีขึ้นไป ที่เรียกกันว่าสายตายาวในผู้สูงอายุ (presbyopia) และควรมีไว้ในห้องตรวจผู้ป่วยที่ได้รับ 
อุบัติเหตุทางตา ที่จำเป็นต้องนอนบนเปลนอน โดยค่าสายตาที่วัดได้จะบันทึกเป็นตัวเลขเศษส่วน บอกค่าเป็น 
ระยะทางซึ่งมีทั้งหน่วยเป็นฟุต เช่น 20/200, 20/100 และหน่วยเป็นเมตร เช่น 6/60, 6/36 ดังนี้ 
เลขเศษ หมายถึง ระยะทางที่คนสายตาผิดปกติสามารถเห็นได้ชัดที่สุด 
เลขส่วน หมายถึง ระยะทางที่คนสายตาปกติสามารถเห็นได้ชัดที่สุด 
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 11 
2. การวัดความสามารถในการมองเห็น 
หลักการวัดความสามารถในการมองเห็น (Principle of Visual Acuity Test) 
ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμÓºÅ
ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ 
Ø 
áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢§Ô) 
ตารางที่ 2 แสดงค่าระดับสายตาแบบต่างๆ (visual acuity conversion chart) 
Snellen acuity 
12 คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 
ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠ
Decimal LogMAR 
Feet Meters 
20/200 6/60 0.10 1.00 
20/160 6/48 0.125 0.90 
20/125 6/38 0.16 0.80 
20/100 6/30 0.20 0.70 
20/80 6/24 0.25 0.60 
20/63 6/20 0.32 0.50 
20/50 6/15 0.40 0.40 
20/40 6/12 0.50 0.30 
20/32 6/10 0.63 0.20 
20/25 6/7.5 0.80 0.10 
20/20 6/6 1.00 0.00 
20/10 6/3 2.00 -0.30 
การจัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ 
ในการเตรียมสถานที่สำหรับวัดสายตาจะต้องจัดให้มีระยะห่างระหว่างแผ่นป้ายถึงผู้ป่วย 20 ฟุต 
(Snellen’s system) หรือ 6 เมตร (Metric system) ผู้ที่มีสายตาปกติจะอ่านตัวเลขใน Snellen’s chart ได้ 
ถูกต้องทุกตัวตั้งแต่แถวแรกจนถึงแถวที่ 7 
ภาพแสดง : การใช้กระจกสะท้อนในระยะ 3 เมตร 
การจัดห้องหรือสถานที่วัดสายตาจึงมีความ 
ยาวของหอ้งมากกวา่ 6 เมตร ในกรณีที่หอ้งเล็กสามารถ 
ดัดแปลงโดยให้กระจกเงาสะท้อนในระยะ 3 เมตร 
ติดแผ่นป้าย Snellen’s chart หลังผู้วัดและผู้ถูกวัด 
ระยะรวม 6 เมตรภาพ ดังภาพ
ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ 
Ø 
áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢Ô§) 
Snellen’s chart E chart Near cards 
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 13 
ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠ
การจัดเตรียมเครื่องมือ และอุปกรณ์ 
1. แผ่นป้ายวัดสายตามาตรฐาน ที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ Snellen’s chart มีลักษณะเป็นตัวเลข หรือ 
E chart ขนาดต่างๆ ไล่ระดับจากขนาดใหญ่ในแถวที่ 1 และเล็กลงในแถวที่ต่ำลงมา 
การติดแผ่น Snellen’s chart ไม่ควรติดแผ่นป้ายวัดสายตาบริเวณกลางแจ้งหรือที่มีแสงส่องเข้าตาผู้ป่วย 
เพราะจะทำให้รูม่านตาหดทำให้ผลการวัดสายตาคลาดเคลื่อน บริเวณที่วัดสายตาควรมีแสงสว่างเพียงพอ 
โดยแสงเข้าทางด้านหน้าของแผ่นป้ายให้ป้ายวัดสว่างควรอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจเพื่อความร่วมมือและผู้วัดต้องใจเย็น 
2. ที่บังดวงตาชนิดทึบแสง (Occluder) 
3. ที่บังดวงตาชนิดที่เจาะรูเล็กขนาดเท่าเข็มหมุด 
(pinhole occluder) หรือกระดาษแข็งเจาะรูตรง 
กลางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 มม.
ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ 
Ø 
áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢§Ô) 
4. ไฟฉายและไฟส่องสว่าง ความสว่างของแสงไฟ 100 แรงเทียน ส่องบริเวณ Snellen’s chart 
วิธีการวัดความสามารถในการมองเห็น 
การวัดความสามารถในการมองเห็นจะวัดด้วยวิธีต่างๆ ตามลำดับ ดังนี้ 
1. วัดตาเปล่า (uncorrected หรือ sc) 
1.1 ให้ผู้ป่วยนั่งบนเก้าอี้ที่วางไว้ข้างหน้าแผ่นป้ายตามระยะทางที่กำหนด คือ 20 ฟุต หรือ 6 เมตร 
โดยให้นั่งตัวตรง ห้ามโน้มตัวไปข้างหน้าขณะอ่านเพราะระยะทางจะคลาดเคลื่อน และห้ามเอียงคอขณะอ่าน 
เพราะนั่นคือผู้ป่วยแอบใช้ตาข้างที่ปกติมาช่วยอ่านทำให้ไม่ได้ค่าสายตาที่แท้จริง 
1.2 วัดสายตาทีละข้าง โดยให้วัดตาขวาก่อนเสมอ ทั้งนี้เพื่อความ 
ถูกต้องในการบันทึกผลและป้องกันความสับสน (ยกเว้นกรณีที่เกิดจากอุบัติเหตุ 
ให้วัดสายตาข้างที่บาดเจ็บก่อน) โดยให้ผู้ป่วยใช้ที่ปิดตาชนิดทึบแสง (Occluder) 
ปิดตาอีกข้างหนึ่งไว้ให้มิดชิด ถ้าไม่มีให้ใช้กระดาษหรือใช้อุ้งมือผู้ป่วยปิดโดยไม่กด 
ลูกตาเพราะจะทำให้ตาพร่ามัวได้ 
1.3 ให้อ่านตัวเลขบนแผ่นป้ายตั้งแต่แถวที่ 1 โดยอ่านลงไปเรื่อยๆ 
ถ้าสายตาปกติจะอ่านได้ถึงแถวที่ 7 ให้ลงบันทึกในช่อง sc ) 20/20 หรือ 6/6 เป็นอันเสร็จสิ้นการวัดสายตาข้างนั้น 
ถ้าผู้ที่มีสายตาผิดปกติ มักจะอ่านตัวเลขในแต่ละแถวได้ไม่ถูกต้องทุกตัวโดยถ้าอ่านได้ถูก ต้องมากกว่าครึ่ง 
หนึ่ง ของแต่ละแถวให้อ่านไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงแถวใดแถวหนึ่งที่อ่านผิดมากกว่าครึ่งหนึ่ง หรืออ่านไม่ได้เลย 
ให้บันทึกผลตามตัวอย่าง เช่น ถ้าอ่านมาถึงแถวที่ 5 (ตัวเลขเศษส่วนจะเท่ากับ 20/40) ซึ่งมีจำนวนตัวเลขในแถว 
นี้ 6 ตัว ผู้ป่วยอ่านผิด 2 ตัว และเมื่อให้อ่านต่อไปในแถวที่ 6 ก็อ่านผิดมากกว่าครึ่งหนึ่ง หรืออ่านไม่ได้ ให้บันทึก 
ว่า 20/40-2 แต่ถ้าอ่านตัวเลขแถวที่ 5 ได้ถูกหมดทุกตัว และสามารถอ่านแถวที่ 6 ได้เพิ่มอีก 2 ตัว ให้บันทึกว่า 
20/40+2 
2. วัดขณะมองผ่าน Pinhole หรือ c PH 
14 คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 
เมื่อผู้ป่วยอ่านด้วยตาเปล่าแล้ว แต่อ่านไม่ถึงแถวที่ 7 ขั้นต่อไปจึงให้ 
ผู้ 
ป่วยอ่านตัวเลขบนแผ่นป้ายโดยมองผ่าน pinhole (ยกเว้นในผู้ที่มีกำลัง 
สายตาผิดปกติ เช่น สายตาสั้น และมีแว่นสายตาแล้วให้สวมแว่นอ่านได้เลย) 
ถา้ผูป้ว่ยสามารถอา่นตัวเลขไดเ้พิ่มขึ้น หรืออา่นไดถึ้งแถวที่ 7 แสดงวา่สายตาที่ 
ผิ 
ดปกตินั้นอาจเกิดจากกำลังสายตาผิดปกติ (refractive error) แต่ถ้ามอง 
ผ่าน pinhole แล้วยังเห็นไม่ชัด หรือมัวมากกว่าอ่านด้วยสายตาเปล่าแสดง 
ว่าเป็นโรคตาโรคใดโรคหนึ่ง 
ส ถ้ 
ผว 
ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμÓºÅ
ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ 
Ø 
áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢Ô§) 
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 15 
ที 
1 
หไ 
ล 
ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠ
3. วัดขณะสวมแว่นตา 
สำหรับผู้ที่มีแว่นสายตาซึ่งจะต้องเป็นแว่นตาสำหรับมองระยะ 
ไกลเท่านั้นจึงจะใช้ได้ถ้าเป็นแว่นสำหรับอ่านหนังสือในบุคคลที่มีอายุ 40 ปี 
ขึ้นไป เรียกว่า presbyopia จะใช้ไม่ได้ เพราะเป็นแว่นที่ใช้มองระยะใกล้ 
เท่านั้น ซึ่งวิธีการวัดให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับวิธีวัดด้วยตาเปล่า เพียงแต่ให้ลง 
บันทึกในชอ่ง cc ถา้อา่นไดถู้กตอ้งจนถึงแถวที่ 1 ใหใ้ช pinhole วางตอ่หนา้ 
กระจกแว่นตาแล้วให้อ่านอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นบันทึกค่าที่วัดได้ในช่อง c PH 
แต่ถ้าผู้ป่วยใส่เลนส์สัมผัส (contact lens) มาตรวจก็ให้วัดขณะที่ใส่เลนส์สัมผัสก่อนวัดด้วยตาเปล่า โดยวิธีการ 
เดียวกับการวัดขณะสวมแว่นตา หลังจากนั้นจึงให้ผู้ป่วยถอดเลนส์สัมผัสออกแล้วกลับมาวัดในขั้นตอนแรก คือ 
มองด้วยตาเปล่า 
4. การเลื่อนระยะทาง 
กรณีที่ผู้ป่วยมีสายตาผิดปกติมากจนกระทั่งไม่สามารถมองเห็นตัวเลขในแถวที่ 1 ได้ ให้ใช้วิธีเลื่อน 
ระยะทางเข้าไปใกล้ผู้ป่วยโดยใช้ อี-เกมส์ (E-game) ครั้งละ 5 ฟุต โดยผู้วัดถือ อี-เกมส์ ซึ่งมีค่าเท่ากับตัวเลขแถว 
ที่ 1 คือ 20/200 ยืนหา่งจากผูป้ว่ยในระยะ 
15 ฟุต 10 ฟุต หรือ 5 ฟุต ระยะใดระยะ 
หนึ่ง ถ้าผู้ป่วยบอกได้ถูกต้องว่าขาตัวอีชี้ 
ไปทิศทางใดถูกต้องทั้ง 4 ทิศทาง คือ บน 
ล่าง ซ้าย ขวา 
5 ใื้ 
5. การใช้มือ 
ถ้าผู้ป่วยเลื่อนระยะทางเข้าไป 15 ฟุต แล้วยังไม่สามารถอ่านแผ่นป้ายได้ ให้ผู้วัดชูมือขึ้นในระดับ 
สายตาผู้ป่วยโดยทดสอบให้นับนิ้วมือสลับกันหลายๆ ครั้ง ในระยะ 3 ฟุตถ้านับถูกต้องบันทึกว่า Fc 3 ft (Finger 
count 3 feet) ถ้านับไม่ได้ให้เลื่อนระยะเข้าไปเป็น 2 ฟุต และ 1 ฟุต ตามลำดับให้บันทึกว่าเป็น Fc 2 ft หรือ 
Fc 1 ft 
ถ้านับนิ้วมือไม่ได้ ให้เปลี่ยนเป็นโบกมือผ่านด้วยตาผู้ป่วยช้าๆ ทำซ้ำๆ หลายครั้ง ถ้าบอกได้ถูกต้อง 
ว่ามีมือโบกผ่านไปมาให้บันทึกว่าเป็น H.M (Hand Movement) 
6. การใช้ไฟฉาย 
ถ้าผู้ป่วยไม่เห็นนิ้วมือ ให้ใช้ไฟฉาย ต้องระวังปิดตาอีกข้างให้สนิท และส่องไฟที่ตาผู้ป่วยในทิศทาง 
ต่างๆ ถ้าสามารถเห็นแสง บอกทิศทางได้ถูกต้องให้บันทึก PJ (Projection of light) ถ้าบอกทิศทางของแสงไม่ 
ได้ให้บันทึก PL (Perception of light) ถ้าไม่เห็นแสงไฟเลยให้บันทึก NPL (No Perception of light) 
* ในกรณีที่ไม่มีอุปกรณ์การวัดสายตามาตรฐานมี แผ่นตัวอีตัวใหญ่สุด เพียง 1 แผ่นเลื่อนระยะทางตามวิธี 
การเลื่อนระยะทาง หรือใช้วิธีนับนิ้วมือที่ระยะ 3 เมตรถูกต้อง จำนวน 3 ใน 5 ครั้ง ถ้านับไม่ได้ส่งต่อยังสถาน 
บริการสาธารณสุขที่มีศักยภาพในการตรวจคัดกรองและการรักษาต่อไป *
ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ 
Ø 
áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢§Ô) 
3. การตรวจคัดกรองทั่วไป และการตรวจเบื้องต้น 
1. การตรวจดูด้วยตาเปล่า เป็นการตรวจดูและสังเกตสิ่งผิดปกติต่างๆ ได้แก่ เปลือกตาบวม แดง หรือมี 
ตุ่มหนองหรือไม่ ปกติเปลือกตาจะคลุมกระจกตาส่วนบนประมาณ 1-2 มม. ส่วนล่างเสมอกับขอบ กระจกตา 
ล่างพอดี ขนตาปกติจะชี้ออก ตำแหน่งของลูกตา ควรมีขนาดเท่ากันสองข้างไม่โปน เยื่อบุตา ขอบเปลือกตา ถ้า 
ปกติจะผิวเรียบมันเห็นเงาสะท้อนของดวงไฟฉาย รูเปิดท่อระบายน้ำตาอยู่แนบชิดกับแอ่งน้ำตา ไม่มีรอยเปื่อย 
แตกบริเวณหางตา การกดถุงน้ำตา ถ้าปกติไม่มีหนอง น้ำตาเหนียวทะลักออกมาดังภาพแสดงความผิดปกติต่างๆ 
ต่อไปนี้ 
เปลือกตาบวม มีขี้ตา 
หนังตาบวมมีเลือดออกในเยื่อบุตา 
ลูกตาไม่เท่ากัน 
16 คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 
ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠ
ขนตาชี้เข้า 
ท่อน้ำตาบวม 
มีน้ำตาไหลตลอดเวลา
ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ 
Ø 
áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢Ô§) 
2. วิธีคัดกรองผู้ป่วยด้วยไฟฉาย ไฟฉายเป็นอุปกรณ์ที่หาง่าย สะดวกใช้ ราคาถูก แต่หากผู้ป่วย 
เป็นต้อกระจกไม่มากสามารถคัดกรองค่อนข้างยาก ควรใช้ไฟฉายที่รวมแสง ถ่านไม่อ่อน ส่องที่ตาตรวจดูความ 
ผิดปกติในลูกตา ส่วนหน้า ดังภาพแสดงความผิดปกติต่างๆ ข้างล่างนี้ 
เลือดออกช่องหน้าม่านตา 
กระจกตาขุ่น เลนส์ตาขุ่นและเลื่อนหลุด 
สิ่งสำคัญในการตรวจด้วยไฟฉายคือการตรวจลักษณะของรูม่านตา ขนาดปกติเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 17 
ต้อเนื้อ 
3 มิลลิเมตร ความไวของการตอบสนองต่อแสง และมุมม่านตา 
ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠ
มีสิ่งแปลกปลอมที่เยื่อบุตา 
มีหนองในช่องหน้าม่านตา 
ม่านตาผิดปกติ 
ภาพตาปกติ ภาพตาที่ได้รับอุบัติเหตุขนาดรูม่านตา 
ภาพการส่องตรวจมุมม่านตา
ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ 
Ø 
áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢§Ô) 
3. วิธีคัดกรองด้วยเครื่องมือ Direct ophthalmoscope 
วิธีการตรวจ ก่อนตรวจต้องอธิบายผู้ป่วยเพื่อขอความร่วมมือ สถานที่ควรอยู่ในห้องมืด ควรมี 
บุคคลที่สามอยู่ด้วยหากผู้ป่วยต่างเพศกัน นั่งหันหน้าเข้าหากัน ให้ผู้ป่วยมองตรงไปด้านหลังผู้ตรวจ ไม่จ้องไฟ 
ผู้ตรวจถือเครื่องมือ Direct ophthalmoscope ปรับกำลังเลนส์ให้เหมาะสมกับสายตา มองลอดรูไปยังรูม่านตา 
ของผู้ป่วย หากปกติจะเห็นเป็นสีส้มแดง ซึ่งเกิดจากการสะท้อนของจอประสาทตา (Retina) หากผู้ป่วยเป็น 
ต้อกระจกจะพบความขุ่นของรูม่านตาจะเป็นสีดำ เทาทึบตรงกลางวงแดงหรือไม่เห็นสีแดงเลย การตรวจวิธีนี้ 
ต้องมีความชำนาญพิเศษ และเข้าใจพยาธิสภาพของลูกตาส่วนหลังด้วย 
4. การวัดความดันตา สามารถวัดได้หลายวิธีด้วยกัน ได้แก่การใช้ Applanation และ Schiotz 
tonometer การใช้นิ้วมือคลำ Digital palpation ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่แม่นยำน้อยที่สุด โดยการให้ผู้ป่วย 
หลับตา ใช้ปลายนิ้วชี้กดเบาๆ ให้ออกแรงสะท้อน หากรู้สึกแข็งๆ ตึงๆ แสดงว่าความดันลูกตาสูง หากนิ่มๆ หยุ่นๆ 
แสดงว่าปกติ หากนิ่มมากกดยุบ แสดงว่าความดันลูกตาต่ำ 
18 คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 
ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠ
Applanation Tonometer 
Schiotz Tonometer
ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ 
Ø 
áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢Ô§) 
5. การตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อตา EOM (Extraocular Muscles) เป็นการตรวจการ 
ทำงานของกล้ามเนื้อตาที่ช่วยในการกลอกลูกตาไปในทิศทางต่างๆ โดยให้ผู้ป่วยมองตามการเคลื่อนไหวของนิ้วชี้ 
หรือปลายปากกา 
6. การตรวจ NPC (Near Point of Convergence) เป็นการตรวจดูการทำงานของตา 
2 ข้าง โดยให้ผู้ป่วยมองปลายปากกา ระยะห่าง 1 ฟุต จากนั้นค่อยๆ เข้าใกล้ลูกตา ลูกตาดำ 2 ข้างจะเคลื่อน 
เข้าหากัน หากเบนออกหรือมีอาการปวดตาเมื่อเลื่อนเข้าใกล้ มากกว่า 8 ซม. ขึ้นไป แสดงว่าผิดปกติ ซึ่งจะพบ 
ในผู้ป่วยที่มักปวดตา ปวดศีรษะบ่อยๆ 
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 19 
ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠ
ภาพการตรวจกล้ามเนื้อตา 
ตำแหน่งทิศทาง ดังภาพ 
หากผิดปกติ ลูกตาจะไม่สามารถกลอกตามได้
ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ 
Ø 
áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢§Ô) 
และแนวทางการวินิจฉัยส่งต่อโรคตาเบื้องต้น 
โรคตาแดง 
โรคตาที่พบบ่อย... 
เป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุดปัญหาหนึ่ง 
พบความผิดปกติของตาที่เกิดการแดงของ 
เยื่อตา (conjunctiva) เป็นหลัก มีความ 
รุนแรงแตกต่างกันมากนับตั้งแต่น้อย 
จนกระทั่งมากถึงขั้นตาบอดได้ ในบางครั้ง 
อาการตาแดงอาจจะเป็นอาการแสดงแรกที่สำคัญของโรคทางกาย clinical 
practice guidline (CPG) เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่จะช่วยให้ดูแลผู้ป่วยได้ง่ายขึ้น ตาแดงอาจจะเกิดได้จาก 
หลายสาเหตุทั้ง อุบัติเหตุ การติดเชื้อ การอักเสบ และความผิดปกติของหลอดเลือด การซักประวัติและการ 
ตรวจภายนอกของลูกตาโดยใช้ไฟฉายก็พอจะแยกเรื่องของอุบัติเหตุออกได้ เช่นอาจจะพบเศษผงที่ เยื่อตาขาว 
กระจกตา หรือ ด้านในของเปลือกตา ในส่วนของตาแดงจากสาเหตุอื่นจำเป็นต้องซักถามหารายละเอียดให้มากขึ้น 
เช่น 
ระยะเวลาที่มีอาการ 
การใช้เลนส์สัมผัส (contact lens), เครื่องสำอางทาเปลือกตา (mascara), การใช้ยา หรือ 
อุบัติเหตุที่ตา ทั้งนี้เพราะสิ่งแปลกปลอม เป็นสาเหตุหนึ่งของเยื่อตาอักเสบเรื้อรัง 
การติดเชื้อจากคนรอบข้าง เช่น ตาแดงจากเชื้อไวรัส 
มีอาการอย่างอื่นทางตาร่วมด้วย เช่น คัน ปวด แสบ มีขี้ตา ตามัว 
มีอาการหรือโรคอย่างอื่นทางร่างกายร่วมด้วย เช่น ไข้ หวัด ผื่น ไตวาย congestive cardiac 
failure, Reiter’s disease, polycythaemia, gout, rosacea 
มีประวัติการแพ้ ในบางครั้งอาจจะได้ประวัติ hay fever, หอบหืด ร่วมกับ เยื่อตาอักเสบจาก 
การแพ้ (allergic conjunctivitis) 
มีความเครียด ทั้งนี้เพราะบางครั้งที่มีความเครียด อาจจะทำให้ผู้ป่วยขยี้ตา 
ประวัติความผิดปกติของตาในครอบครัวและญาติพี่น้อง 
20 คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 
ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμÓºÅ
ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ 
Ø 
áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢Ô§) 
การตรวจตา การวัดระดับสายตา จะช่วยในการวินิจฉัย ถ้าผู้ป่วยมีสายตาแย่ลงบ่งชี้ว่าน่าจะมีความผิดปกติ 
ที่รุนแรง เช่น ความผิดปกติของกระจกตา ช่องหน้าลูกตาอักเสบ ต้อหิน อาการปวดก็มีความสำคัญ โดยปกติ 
เยื่อตาอักเสบมักจะไม่ปวดมาก ในขณะที่โรคของกระจกตา และ ม่านตาอักเสบจะปวดมาก การดูลักษณะ 
ของตาแดงก็มีความสำคัญ เช่น 
diffuse conjunctival injection เป็นลักษณะตาแดงทั่วๆ ไปโดยจะจางลงบริเวณรอบๆ 
กระจกตา 
localized conjunctival injection เป็นลักษณะตาแดงเฉพาะที่ของเยื่อตา 
ciliary conjunctival injection เป็นลักษณะตาแดงบริเวณรอบๆ กระจกตา โดยจะจางลง 
เมื่อออกห่างกระจกตา 
mixed conjunctival injection มีลักษณะของ diffuse conjunctival injection ร่วมกับ 
ciliary conjunctival injection 
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 21 
ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠ
เยื่อตาอักเสบ 
คือ การอักเสบของเยื่อตาทำให้มีการขยายตัวของหลอดเลือดเยื่อตาจึงบวมและสีแดงมากกว่าปกติ 
สาเหตุของเยื่อตาอักเสบ 
1. เชื้อไวรัส 2. เชื้อแบคทีเรีย 3. ภูมิแพ้ 4. สารเคมี 
เยื่อตาอักเสบแบบทันทีทันใด (เกิดอาการอย่างรวดเร็วภายใน 12 ชม.) 
Gonococcal conjunctivitis เกิดจากเชื้อ Neisseria gonorrhoea ซึ่งเป็น aerobic gram 
negative diplococcus เป็นการติดเชื้อที่มีความรุนแรง หากไม่รักษาอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อที่กระจกตา 
ทำให้เกิดการทะลุและตาบอดได้ 
อาการและอาการแสดง 
มักเกิดทันทีหรือ ภายใน 2-3 วัน จนถึง 7 วัน 
หลังคลอด ตาบวมแดงสองข้าง มีหนองมาก 
เลือดออกใต้เยื่อตา พบ pseudomembrane 
และต่อมน้ำเหลืองหน้าหูโต 
ในรายที่รุนแรงอาจจะพบกระจกตาอักเสบ 
(keratitis), แผลที่กระจกตา กระจกตาทะลุ 
Newborns.stamford.edu
ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ 
Ø 
áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢§Ô) 
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ 
ขูดเยื่อตา (conjunctival scraping) ส่งย้อมเชื้อ (Gram’s stain, Giemsa’s stain) ซึ่งจะพบ 
polymorphonuclear neutrophils, gram negative diplococcus และเพาะเชื้อใน 
chocolate, blood, thayer-martin media 
การรักษาพยาบาล 
เช็ดทำความสะอาดด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุก หรือ 0.9% NSS 
ส่งพบจักษุแพทย์ทันที กรณีติดเชื้อรุนแรงอาจตาบอดได้ 
1. เยื่อตาอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัส 
* เป็นการติดเชื้อฉับพลัน ระยะฟักตัว 2-4 วัน 
* ติดต่อได้ง่ายโดยการสัมผัสจากมือสู่ตา 
อาการและอาการแสดง 
- ตาแดง น้ำตาไหล เคืองตา 
- เป็นในตาหนึ่งข้างและลามมาตาอีกข้างใน 3-7 วัน 
- หนังตาอาจบวม ต่อมน้ำเหลืองหน้าใบหูโต 
- อาจลามเข้ากระจกตาทำให้ตามัวลง สู้แสงไม่ได้ในช่วงสัปดาห์ที่ 2-3 
การรักษา 
รักษาตามอาการ จะหายเองภายใน 10-12 วัน 
ประคบเย็นโดยใช้ผ้าแห้งสะอาดห่อถุงใส่น้ำแข็งวางบนตาที่ปิดสนิท 
อาจจะให้น้ำตาเทียม หรือ vasoconstrictors/antihistamines ในกรณีที่มีตาแห้งหรือคันตา 
ยาหยอดตากลุ่ม สเตียรอยด์ จะไม่ใช้ในระยะแรก ยกเว้นรายที่มีอาการรุนแรงมากมีการ 
มองเห็นลดลง 
แนะนำผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการสัมผัสตา ใกล้ชิด หรือ ใช้ของร่วมกับผู้อื่น ควรหยุดเรียน หรือ 
ว่ายน้ำ จนกว่าตาจะหายแดง 
22 คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 
ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμÓºÅ
ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ 
Ø 
áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢Ô§) 
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 23 
ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠ
การป้องกัน 
- แยกผู้ป่วยห่างจากผู้อื่นในระยะแพร่กระจายเชื้อ (7-14 วัน) 
- ผู้ป่วยและผู้ใกล้ชิดล้างมือบ่อยๆ แยกของใช้ส่วนตัวกับผู้ป่วย 
- บุคลากรทางการแพทย์ล้างมือและทำความสะอาดเครื่องมือทุกครั้งหลังตรวจผู้ป่วย 
- อธิบายการดำเนินของโรคให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจ 
2. เยื่อตาอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย 
เป็นตาแดงที่หายได้เอง ถ้าไม่รักษาอาจจะหายภายใน 10-14 วัน แต่ถ้ารักษาจะหายภายใน 1-3 วัน 
ยกเว้น staphylococcal conjunctivitis การอักเสบอาจจะพบได้มากบริเวณหัวหรือหางตาเรียกเป็น angular 
conjunctivitis โดยทั่วไปมักจะเป็น 2 ตา 
อาการและอาการแสดง 
เปลือกตาบวม มีคราบขี้ตา ขี้ตาเป็นหนองทำให้ 
เปิดตาลำบากในตอนเช้า เยื่อตาบวม, papillae เลือด 
ออกใต้เยื่อตา 
อาการและอาการแสดง 
- แสบร้อนในตา ขี้ตาเป็นมูก ตาแดง สู้แสงไม่ได้ 
- ขอบเปลือกตาแดง 
- เยื่อตาบวม พบ fine papillae บริเวณ lower tarsus 
- กระจกตาอาจจะพบ superficial peripheral keratitis 
ภาพจาก : www.varga.org 
การรักษา 
เช็ดทำความสะอาดเปลือกตาเอาขี้ตาออกไปโดยใช้สำลีชุบน้ำอุ่น ในกรณีที่ความรุนแรงไม่มากอาจ 
จะใช้เพียงวิธีนี้อย่างเดียวก็หายเองได้ภายใน 3-5 วัน 
ยาปฏิชีวนะหยอดตา ความถี่ของการใช้ขึ้นกับความรุนแรงและเชื้อ 
ควรแนะนำเรื่องการป้องกันการกระจายของเชื้อ 
3. เยื่อตาอักเสบจากภูมิแพ้ 
Atopic keratoconjunctivitis ผู้ป่วยอาจจะมีประวัติของ atopic dermatitis ประวัติการแพ้อื่นๆ 
www.medscape.org
ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ 
Ø 
áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢§Ô) 
Vernal keratoconjunctivitis (Spring catarrh, 
warm weather conjunctivitis) เป็นลักษณะของภูมิแพ้ 
เรื้อรังเป็นๆ หายๆ เป็น 2 ตา หายเองได้ มักพบในเด็กผู้ชาย 
อายุน้อยกว่า 10 ปี พบเมื่ออยู่ในอากาศร้อนมากกว่าอากาศ 
เย็น 
อาการและอาการแสดง 
คันตามาก น้ำตาไหล สู้แสงไม่ได้ ปวดแสบปวดร้อน รู้สึกเหมือน มีเศษผงในตา ขี้ตาเป็นมูกข้น 
เยื่อตาบวม, diffuse giant papillae (cobblestones) ที่เปลือกตาบน 
จุดขาวที่ด้านข้างกระจกตา เรียก Trantas’ dot 
ตรวจกระจกตาพบลักษณะของ punctate epithelial keratitis, micropannus, epithelial 
macroerosion plaque, subepithelial scar, superficial corneal (shield) ulcer 
การรักษา 
ประคบเย็น 
การป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นมีความสำคัญโดยการหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่แพ้ 
ยาหยอดตาสเตียรอยด์ สำคัญมากในการรักษา อาจจะต้องให้ทุก 2 ชั่วโมงใน 2-3 วันแรก เพื่อให้ 
อาการลดลงเร็วแล้วค่อยลดยาลง ต้องระวังผลแทรกซ้อนหากใช้เป็นเวลานานโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้อหิน 
ยากลุ่ม mast cell stabilizers เช่น 2% sodium cromoglycate หยอดตาเป็นการป้องกัน 
ในรายที่เป็นน้อยอาจจะใช้ยานี้เพียงตัวเดียวก็ได้ 
ในกรณีรุนแรงให้ 5% acetylcystaeine, ยาหยอดตา cyclosporine A, debridement, 
lamellar keratectomy หรือ supratarsal injection of steroid 
24 คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 
ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠ
Isoptik.com 
การรักษา 
กำจัดสิ่งที่แพ้ 
ประคบเย็นจะช่วยลดอาการคัน 
ยาหยอดตา เช่น vasoconstrictor/antihistamine, สเตียรอยด์อย่างอ่อน รับประทาน antihistamine
ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ 
Ø 
áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢Ô§) 
maketownoptical.com.au 
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 25 
ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠ
ต้อหิน 
เป็นความผิดปกติของเส้นประสาทตา โดยมีลักษณะขั้วประสาทตาฝ่อและมีการสูญเสียลานสายตา 
ร่วมด้วย 
ชนิดของต้อหินที่พบบ่อย 
1. ต้อหินมุมปิด 
2. ต้อหินมุมเปิด 
3. ต้อหินความดันตาปกติ 
4. ต้อหินแต่กำเนิด 
อาการและอาการแสดง 
- ปวดตาและปวดศีรษะ (อาการมากในต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน) 
- ตามัว เห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ 
- ความดันลูกตาสูง 
- ม่านตาตอบสนองต่อแสงลดลง รูม่านตาไม่กลมเหมือนปกติในคนไข้ที่ม่านตายึดติดกับถุงหุ้มแก้วตา 
ปัจจัยเสี่ยงของโรคต้อหิน 
- ความดันลูกตา 
- พันธุกรรม 
- โรคทางระบบหลอดเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงประสาทตาลดลง 
- อายุมาก โอกาสเป็นต้อหินสูง 
- โรคทางกาย เช่นการหยุดหายใจขณะนอนหลับ 
- อุบัติเหตุทางตา 
- ยาบางชนิด 
- โรคทางตาบางชนิด เช่น ต้อกระจก 
การวัดความดันลูกตา 
* Identation tonometry วัดด้วย schiotz tonometer 
* Applanation tonometry 
* Non-contact tonometry วัดโดยไม่มีการสัมผัสลูกตา ใช้แรงลมพุ่งไปที่กระจกตา 
* ต้อหินมุมปิดชนิดฉับพลันเป็นภาวะเร่งด่วนทางตาโรคหนึ่ง 
* การรักษาที่ช้าไปอาจทำให้ผู้ป่วยตาบอด
ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ 
Ø 
áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢§Ô) 
การป้องกัน 
การรักษา 
* รักษาโดยการใช้ยา 
* รักษาโดยการยิงแสงเลเซอร์ 
* รักษาโดยการผ่าตัด 
* ตรวจตาสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง 
* ออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ 
* ควบคุม รักษา โรคประจำตัวทางร่างกายและทางตา 
* ป้องกันดวงตาจากอุบัติเหตุ เช่น ใส่แว่นป้องกันขณะทำงาน สวมหมวกนิรภัยที่ปกป้องดวงตาได้ใน 
ขณะขับขี่จักรยานยนต์ 
ม่านตาอักเสบ (Uveitis) 
คือ การอักเสบของ Uvea ซึ่งประกอบด้วยม่านตา (Iris) ซิรีอาลีบอดี (Ciliary body) คอรอยด์ 
(Choroid) Anterior uveitis คือ การอักเสบของม่านตา และ/หรือ มีการอักเสบของ Ciliary body ร่วมด้วย 
สาเหตุของการเกิดโรค 
Δ การติดเชื้อ เช่น ซิฟิลิส วัณโรค ไวรัส เชื้อรา พยาธิ 
Δ การอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น ปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันร่างกายผิดปกติ สิ่งแปลกปลอม 
ในร่างกาย 
Δ ไม่ทราบสาเหตุ 
26 คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 
ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠ
อาการและอาการแสดง 
* ปวดตา ตามัว กลัวแสง 
* น้ำตาไหล 
* ตาแดงรอบกระจกตา (Ciliary injection) 
เซลตกตระกอน ที่ช่องหน้าม่านตาหรือเกาะที่ 
กระจกตา 
* รูม่านตาผิดรูป 
อาการต่อไปนี้ให้คิดถึงโรคต้อหินมุมปิดฉับพลัน 
ตามัวฉับพลัน 
ปวดตามาก 
ตรวจพบตาแดงรอบกระจกตา 
ความดันลูกตาสูง 
ส่งพบจักษุแพทย์ทันที
ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ 
Ø 
áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢Ô§) 
“เมื่อพบคนไข้แผลที่กระจกตา 
ควรส่งพบจักษุแพทย์ทันที เพื่อตรวจ 
หาเชื้อ โดยการขูดกระจกตาสง่เพาะเชื้อ” 
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 27 
ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠ
แผลกระจกตา (Corneal ulcer) 
สาเหตุ 
มีบาดแผล หรือแผลติดเชื้อจากสาเหตุต่างๆ เช่น ใบไม้ ใบหญ้า วัสดุ สิ่งสกปรกต่างๆ เข้าตา การใช้ 
เลนส์สัมผัส อุบัติเหตุ โรคของกระจกตา อาจจะเกิดจาก เชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา พยาธิ หรือเกิดจากสารเคมี 
ก็ได้ที่นี้ เชื้อส่วนใหญ่จะทำให้เกิดแผลที่กระจกตาจะต้องมีการสูญเสียของชั้น epithelium แต่มีเชื้อโรคบางชนิด 
ที่ผ่าน epithelium ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการหลุดลอกของชั้น epithelium เช่นเชื้อ Neisseria gonorrhoeae, 
Corynebacterium diphtheriae, Listeria spp., Haemophilus spp. 
อาการและอาการแสดง 
ปวดตา น้ำตาไหล สู้แสงไม่ได้ ขี้ตาเป็นหนอง สายตาแย่ลง 
เปลือกตาบวม 
เยื่อตาแดงรอบกระจกตา (ciliary injection), บวม 
ส่วนใหญ่พบ papillae ที่เยื่อบุเปลือกตามากกว่า follicles 
กระจกตาพบมีแผลที่ชั้น epithelium, มี infiltrate ในชั้น stroma อาจจะเป็นสีเทาขาว และ 
มีเนื้อตายติดอยู่ กระจกตาบวมในตำแหน่งของแผล 
ช่องหน้าลูกตามีเซลล์และโปรตีน ถ้ามากอาจเห็นเป็นหนอง (hypopyon) 
การตรวจเพิ่ม 
ขูดขอบแผลส่งย้อม Gram stain, Giemsa stain, KOH,ส่งเพาะเชื้อ 
Corneal biopsy โดยจักษุแพทย์ในกรณีที่มีปัญหาในการวินิจฉัย 
การรักษา 
บรรเทาอาการปวดตาและกลัวแสง โดยการใช้ยาขยายม่านตา 
ควบคุมการอักเสบโดยยาสเตียรอยด์และNSAIDs 
รักษาสาเหตุ เช่น ยาฆ่าเชื้อไวรัส ยาต้านวัณโรค 
สำหรับแพทย์ทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน ควรส่งตัวผู้ป่วยทุกคนที่มา 
ด้วยอาการตาแดงรอบกระจกตา (Cliary injection) ซึ่งเป็นตาแดงที่มีความเสี่ยงสูง(High risk red eye) 
พบจักษุแพทย์
ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ 
Ø 
áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢§Ô) 
การรักษา 
เริ่มรักษาด้วยยาปฏิชีวนะหยอดตา ซึ่งส่วนใหญ่จะให้ครอบคลุมเชื้อหลายชนิด (combined broad-spectrum 
1 ชั่วโมงก่อนและเมื่อได้ผลค่อยลดลง ห้ามใช้สเตียรอยด์ 
Cycloplegics หยอดตาเช่น atropine วันละ 2 ครั้ง เพื่อ ลดอาการปวดจาก ciliary spasm และ 
ป้องกันการเกิด posterior synechiae 
การป้องกัน 
- รักษาโรคของผิวตาที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น ตาแห้ง หลับตาไม่สนิท ขนตาเก 
- แนะนำการใช้เลนส์สัมผัสอย่างถูกวิธี 
- สวมแว่นป้องกันขณะทำงานหรือเล่นกีฬา 
- สวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่จักรยานยนต์ 
- ควบคุมโรคประจำตัว เช่น ขาดสารอาหาร เบาหวาน 
- ให้ยาปฏิชีวนะหยอดในผู้ป่วยที่มีรอยถลอกของกระจกตา จากการได้รับบาดเจ็บ ส่งพบจักษุแพทย์ 
ทันทีในกรณี ที่รอยถลอกกลายเป็นแผลที่กระจกตา 
ต้อเนื้อ 
antibiotic) ให้ถี่มากน้อยขึ้นกับความรุนแรงของแผลโดยทั่วไปจะเริ่มให้หยอดทุก 
เกิดจากความเสื่อมของเยื่อตา ตรวจพบเส้นเลือดและเยื่อตาหนาตัวขึ้นเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือปีกนก 
คลุมกระจกตา ไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่นอน พบมากในประเทศแถบศูนย์สูตร 
อาการ 
แสบ เคืองตา ไม่มีอาการรุนแรงหรืออันตราย 
28 คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 
ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠ
ภาวะแทรกซ้อน 
* ตาแห้งจากการกระจายตัวของน้ำตา 
ผิดปกติ 
* บบังตา ทำ 
ให้การมองเห็นลดลง และ 
มีภาวะสา 
ยตาเอียง 
การรักษา 
* ให้น้ำตาเทียม ในผู้ป่วยที่มีอาการตาแห้ง 
* ยาแอนตี้ฮีสตามีนชนิดหยอดเช่น Hista-oph ED หากมีอาการตาแดง คัน เคืองตามาก 
* ส่งพบจักษุแพทย์กรณีอาการไม่ดีขึ้นหลังได้ยาหยอด หรือผู้ป่วยต้องการผ่าตัด
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)

Contenu connexe

Tendances

27การตรวจครรภ์
27การตรวจครรภ์27การตรวจครรภ์
27การตรวจครรภ์Papawee Laonoi
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)Aphisit Aunbusdumberdor
 
แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี2557
แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี2557แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี2557
แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี2557Utai Sukviwatsirikul
 
การพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfการพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfMaytinee Beudam
 
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)Utai Sukviwatsirikul
 
Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition techno UCH
 
Ch 8 basic emergency medical service and triage
Ch 8 basic emergency medical service and triageCh 8 basic emergency medical service and triage
Ch 8 basic emergency medical service and triagefreelance
 
Clinical Practice Guidelines for Traumatic Brain Injury 2556
Clinical Practice Guidelines for Traumatic Brain Injury 2556Clinical Practice Guidelines for Traumatic Brain Injury 2556
Clinical Practice Guidelines for Traumatic Brain Injury 2556Utai Sukviwatsirikul
 
Ppt 12 กิจกรรมทบทวน
Ppt 12 กิจกรรมทบทวนPpt 12 กิจกรรมทบทวน
Ppt 12 กิจกรรมทบทวนPrachaya Sriswang
 
สรุปยาหยอดตา ประภัสสร ผาติกุลศิลา
สรุปยาหยอดตา ประภัสสร ผาติกุลศิลาสรุปยาหยอดตา ประภัสสร ผาติกุลศิลา
สรุปยาหยอดตา ประภัสสร ผาติกุลศิลาUtai Sukviwatsirikul
 
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...Utai Sukviwatsirikul
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)pueniiz
 
การอ่านค่า Ekg
การอ่านค่า Ekgการอ่านค่า Ekg
การอ่านค่า Ekgtechno UCH
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจtechno UCH
 
การพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดเอ-ออร์ตาในช่องท้องโป่งพอง
การพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดเอ-ออร์ตาในช่องท้องโป่งพองการพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดเอ-ออร์ตาในช่องท้องโป่งพอง
การพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดเอ-ออร์ตาในช่องท้องโป่งพองChutchavarn Wongsaree
 

Tendances (20)

27การตรวจครรภ์
27การตรวจครรภ์27การตรวจครรภ์
27การตรวจครรภ์
 
Cpg diarrhea in children
Cpg diarrhea in childrenCpg diarrhea in children
Cpg diarrhea in children
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
 
แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี2557
แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี2557แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี2557
แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี2557
 
การพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfการพยาบาลDhf
การพยาบาลDhf
 
Wound care
Wound careWound care
Wound care
 
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
 
Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition
 
Cancer cycle
Cancer cycle Cancer cycle
Cancer cycle
 
CAD IHD and VHD
CAD IHD and VHDCAD IHD and VHD
CAD IHD and VHD
 
Ch 8 basic emergency medical service and triage
Ch 8 basic emergency medical service and triageCh 8 basic emergency medical service and triage
Ch 8 basic emergency medical service and triage
 
Clinical Practice Guidelines for Traumatic Brain Injury 2556
Clinical Practice Guidelines for Traumatic Brain Injury 2556Clinical Practice Guidelines for Traumatic Brain Injury 2556
Clinical Practice Guidelines for Traumatic Brain Injury 2556
 
Ppt 12 กิจกรรมทบทวน
Ppt 12 กิจกรรมทบทวนPpt 12 กิจกรรมทบทวน
Ppt 12 กิจกรรมทบทวน
 
สรุปยาหยอดตา ประภัสสร ผาติกุลศิลา
สรุปยาหยอดตา ประภัสสร ผาติกุลศิลาสรุปยาหยอดตา ประภัสสร ผาติกุลศิลา
สรุปยาหยอดตา ประภัสสร ผาติกุลศิลา
 
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
 
การอ่านค่า Ekg
การอ่านค่า Ekgการอ่านค่า Ekg
การอ่านค่า Ekg
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
 
Chest drain systems
Chest drain systemsChest drain systems
Chest drain systems
 
การพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดเอ-ออร์ตาในช่องท้องโป่งพอง
การพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดเอ-ออร์ตาในช่องท้องโป่งพองการพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดเอ-ออร์ตาในช่องท้องโป่งพอง
การพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดเอ-ออร์ตาในช่องท้องโป่งพอง
 

En vedette

ทดสอบสายตาและการมองเห็นบน I phone ด้วย eye test
ทดสอบสายตาและการมองเห็นบน I phone ด้วย eye testทดสอบสายตาและการมองเห็นบน I phone ด้วย eye test
ทดสอบสายตาและการมองเห็นบน I phone ด้วย eye testnuttakorn nakkerd
 
NW2006 High-risked red eye for medical students
NW2006 High-risked red eye for medical studentsNW2006 High-risked red eye for medical students
NW2006 High-risked red eye for medical studentsNawat Watanachai
 
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...Utai Sukviwatsirikul
 
Acanthamoeba keratitis
Acanthamoeba keratitisAcanthamoeba keratitis
Acanthamoeba keratitisSaransh Jain
 
ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงdadaauto
 
Powerpointความดันโลหิตสูง
PowerpointความดันโลหิตสูงPowerpointความดันโลหิตสูง
Powerpointความดันโลหิตสูงsecret_123
 
คู่มือ ลดพุง ลดโรค ฉบับประชาชน
คู่มือ ลดพุง ลดโรค ฉบับประชาชนคู่มือ ลดพุง ลดโรค ฉบับประชาชน
คู่มือ ลดพุง ลดโรค ฉบับประชาชนUtai Sukviwatsirikul
 
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุคู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางเวชปฏิบัติการใช้ยารักษาภาวะไขมันผิดปกติ เพื่อป็องกันโรคหัวใจและหลอดเลื...
แนวทางเวชปฏิบัติการใช้ยารักษาภาวะไขมันผิดปกติ  เพื่อป็องกันโรคหัวใจและหลอดเลื...แนวทางเวชปฏิบัติการใช้ยารักษาภาวะไขมันผิดปกติ  เพื่อป็องกันโรคหัวใจและหลอดเลื...
แนวทางเวชปฏิบัติการใช้ยารักษาภาวะไขมันผิดปกติ เพื่อป็องกันโรคหัวใจและหลอดเลื...Utai Sukviwatsirikul
 

En vedette (14)

Ophthalmic medication guideline
Ophthalmic medication guidelineOphthalmic medication guideline
Ophthalmic medication guideline
 
Eye medication slide
Eye medication slideEye medication slide
Eye medication slide
 
ทดสอบสายตาและการมองเห็นบน I phone ด้วย eye test
ทดสอบสายตาและการมองเห็นบน I phone ด้วย eye testทดสอบสายตาและการมองเห็นบน I phone ด้วย eye test
ทดสอบสายตาและการมองเห็นบน I phone ด้วย eye test
 
NW2006 High-risked red eye for medical students
NW2006 High-risked red eye for medical studentsNW2006 High-risked red eye for medical students
NW2006 High-risked red eye for medical students
 
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
 
Acanthamoeba keratitis
Acanthamoeba keratitisAcanthamoeba keratitis
Acanthamoeba keratitis
 
ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูง
 
Powerpointความดันโลหิตสูง
PowerpointความดันโลหิตสูงPowerpointความดันโลหิตสูง
Powerpointความดันโลหิตสูง
 
คู่มือ ลดพุง ลดโรค ฉบับประชาชน
คู่มือ ลดพุง ลดโรค ฉบับประชาชนคู่มือ ลดพุง ลดโรค ฉบับประชาชน
คู่มือ ลดพุง ลดโรค ฉบับประชาชน
 
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุคู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
 
Ppt. HT
Ppt. HTPpt. HT
Ppt. HT
 
Corneal Opacity
Corneal OpacityCorneal Opacity
Corneal Opacity
 
แนวทางเวชปฏิบัติการใช้ยารักษาภาวะไขมันผิดปกติ เพื่อป็องกันโรคหัวใจและหลอดเลื...
แนวทางเวชปฏิบัติการใช้ยารักษาภาวะไขมันผิดปกติ  เพื่อป็องกันโรคหัวใจและหลอดเลื...แนวทางเวชปฏิบัติการใช้ยารักษาภาวะไขมันผิดปกติ  เพื่อป็องกันโรคหัวใจและหลอดเลื...
แนวทางเวชปฏิบัติการใช้ยารักษาภาวะไขมันผิดปกติ เพื่อป็องกันโรคหัวใจและหลอดเลื...
 
Case study : dengue fever
Case study : dengue feverCase study : dengue fever
Case study : dengue fever
 

Similaire à คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)

คู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสตคู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสตsivapong klongpanich
 
แนวทางดำเนินงานเพื่อลดโรคไตเรื้อรัง
แนวทางดำเนินงานเพื่อลดโรคไตเรื้อรัง แนวทางดำเนินงานเพื่อลดโรคไตเรื้อรัง
แนวทางดำเนินงานเพื่อลดโรคไตเรื้อรัง Tuang Thidarat Apinya
 
Slide การติดตามและเยี่ยม QOF รพ.กรงปินัง
Slide การติดตามและเยี่ยม QOF รพ.กรงปินังSlide การติดตามและเยี่ยม QOF รพ.กรงปินัง
Slide การติดตามและเยี่ยม QOF รพ.กรงปินังAiman Sadeeyamu
 
การดำเนินงานทันตปี2555
การดำเนินงานทันตปี2555การดำเนินงานทันตปี2555
การดำเนินงานทันตปี2555dentalfund
 
E book2015-new
E book2015-newE book2015-new
E book2015-newwarit_sara
 
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557Utai Sukviwatsirikul
 
CLINICAL PRACTICE GUIDELINE FOR DIAGNOSIS AND MANAGEMENT OF PARKINSON'S DISEASE
CLINICAL PRACTICE GUIDELINE FOR DIAGNOSIS AND MANAGEMENT OF PARKINSON'S DISEASE CLINICAL PRACTICE GUIDELINE FOR DIAGNOSIS AND MANAGEMENT OF PARKINSON'S DISEASE
CLINICAL PRACTICE GUIDELINE FOR DIAGNOSIS AND MANAGEMENT OF PARKINSON'S DISEASE Utai Sukviwatsirikul
 
แถลงข่าว โครงการศึกษาดูงานการจัดระบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มหาวิทยาลั...
แถลงข่าว โครงการศึกษาดูงานการจัดระบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มหาวิทยาลั...แถลงข่าว โครงการศึกษาดูงานการจัดระบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มหาวิทยาลั...
แถลงข่าว โครงการศึกษาดูงานการจัดระบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มหาวิทยาลั...Pattie Pattie
 
Service plan 15 ธันวาคม 2558 _ นพ.กมล โฆษิตรังสิกุล
Service plan 15 ธันวาคม 2558 _ นพ.กมล โฆษิตรังสิกุลService plan 15 ธันวาคม 2558 _ นพ.กมล โฆษิตรังสิกุล
Service plan 15 ธันวาคม 2558 _ นพ.กมล โฆษิตรังสิกุลKamol Khositrangsikun
 
คู่มือการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม ในการดำเนินงานเพื่อลดโรคไตเรื้อรัง
คู่มือการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม ในการดำเนินงานเพื่อลดโรคไตเรื้อรัง คู่มือการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม ในการดำเนินงานเพื่อลดโรคไตเรื้อรัง
คู่มือการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม ในการดำเนินงานเพื่อลดโรคไตเรื้อรัง Tuang Thidarat Apinya
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชนแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชนCAPD AngThong
 
Ckd เขต 4 เมาายน 2559
Ckd เขต 4 เมาายน 2559Ckd เขต 4 เมาายน 2559
Ckd เขต 4 เมาายน 2559CAPD AngThong
 

Similaire à คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) (20)

551212 moph policy
551212 moph policy551212 moph policy
551212 moph policy
 
คู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสตคู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสต
 
แนวทางดำเนินงานเพื่อลดโรคไตเรื้อรัง
แนวทางดำเนินงานเพื่อลดโรคไตเรื้อรัง แนวทางดำเนินงานเพื่อลดโรคไตเรื้อรัง
แนวทางดำเนินงานเพื่อลดโรคไตเรื้อรัง
 
Slide การติดตามและเยี่ยม QOF รพ.กรงปินัง
Slide การติดตามและเยี่ยม QOF รพ.กรงปินังSlide การติดตามและเยี่ยม QOF รพ.กรงปินัง
Slide การติดตามและเยี่ยม QOF รพ.กรงปินัง
 
การดำเนินงานทันตปี2555
การดำเนินงานทันตปี2555การดำเนินงานทันตปี2555
การดำเนินงานทันตปี2555
 
E book2015-new
E book2015-newE book2015-new
E book2015-new
 
Dm 2557
Dm 2557Dm 2557
Dm 2557
 
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
 
CLINICAL PRACTICE GUIDELINE FOR DIAGNOSIS AND MANAGEMENT OF PARKINSON'S DISEASE
CLINICAL PRACTICE GUIDELINE FOR DIAGNOSIS AND MANAGEMENT OF PARKINSON'S DISEASE CLINICAL PRACTICE GUIDELINE FOR DIAGNOSIS AND MANAGEMENT OF PARKINSON'S DISEASE
CLINICAL PRACTICE GUIDELINE FOR DIAGNOSIS AND MANAGEMENT OF PARKINSON'S DISEASE
 
วพบ นครราชสีมา๕๖
วพบ นครราชสีมา๕๖วพบ นครราชสีมา๕๖
วพบ นครราชสีมา๕๖
 
แถลงข่าว โครงการศึกษาดูงานการจัดระบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มหาวิทยาลั...
แถลงข่าว โครงการศึกษาดูงานการจัดระบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มหาวิทยาลั...แถลงข่าว โครงการศึกษาดูงานการจัดระบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มหาวิทยาลั...
แถลงข่าว โครงการศึกษาดูงานการจัดระบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มหาวิทยาลั...
 
Service plan 15 ธันวาคม 2558 _ นพ.กมล โฆษิตรังสิกุล
Service plan 15 ธันวาคม 2558 _ นพ.กมล โฆษิตรังสิกุลService plan 15 ธันวาคม 2558 _ นพ.กมล โฆษิตรังสิกุล
Service plan 15 ธันวาคม 2558 _ นพ.กมล โฆษิตรังสิกุล
 
สปสช.การบริหารAsthma&copd57
สปสช.การบริหารAsthma&copd57สปสช.การบริหารAsthma&copd57
สปสช.การบริหารAsthma&copd57
 
Elderly survey doh
Elderly survey dohElderly survey doh
Elderly survey doh
 
antidote y57
antidote y57antidote y57
antidote y57
 
Cpg copd
Cpg copdCpg copd
Cpg copd
 
CPG COPD Thailand 2553
CPG COPD Thailand 2553CPG COPD Thailand 2553
CPG COPD Thailand 2553
 
คู่มือการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม ในการดำเนินงานเพื่อลดโรคไตเรื้อรัง
คู่มือการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม ในการดำเนินงานเพื่อลดโรคไตเรื้อรัง คู่มือการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม ในการดำเนินงานเพื่อลดโรคไตเรื้อรัง
คู่มือการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม ในการดำเนินงานเพื่อลดโรคไตเรื้อรัง
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชนแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน
 
Ckd เขต 4 เมาายน 2559
Ckd เขต 4 เมาายน 2559Ckd เขต 4 เมาายน 2559
Ckd เขต 4 เมาายน 2559
 

Plus de Utai Sukviwatsirikul

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaUtai Sukviwatsirikul
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)Utai Sukviwatsirikul
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaUtai Sukviwatsirikul
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Utai Sukviwatsirikul
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตUtai Sukviwatsirikul
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)Utai Sukviwatsirikul
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการUtai Sukviwatsirikul
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินUtai Sukviwatsirikul
 

Plus de Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 

คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)

  • 1. ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ Ø áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢Ô§) คำนำ กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดนโยบายให้มีการเชื่อมโยง การจัดบริการระบบบริการปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ ในรูปเครือข่ายและระบบส่งต่อแบบครบวงจรเบ็ดเสร็จในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ ตามแผนการพัฒนา ระบบบริการสุขภาพ Service Plan เพื่อให้สถานบริการสุขภาพ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขสามารถจัดระบบ บริการสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุตามแผนการพัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพ Service Plan กระทรวงสาธารณสุข ได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสาธารณสุขรวมถึงเครือข่ายใน ชุมชน ซึ่งได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กระทรวงสาธารณสุข ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบเครือข่ายบริการสุขภาพ สาขาจักษุวิทยา ซึ่ง มีหน้าที่กำหนดแนวทางการพัฒนาระบบบริการ สาขาจักษุวิทยาของสถานบริการสุขภาพ สังกัดกระทรวง สาธารณสุข สำนักบริหารการสาธารณสุขร่วมกับโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) จึงได้จัดทำคู่มือการ การดูแลโรคตาเบื้องต้น ซึ่งแนะนำถึงความสำคัญของการตรวจตาทั้งในกลุ่มคนปกติ และในกลุ่มเสี่ยง นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ สาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ในการตรวจคัดกรอง โรคตา เบื้องต้น เริ่มตั้งแต่การซักประวัติ การวัดความสามารถในการมองเห็น การเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือ สรุป อาการ เพื่อการวินิจฉัยและแนวทางการรักษาพยาบาลเบื้องต้นและส่งต่อ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อนำไปช่วย เพิ่มทักษะ และเป็นแนวทางในการดูแลรักษาโรคตา ตลอดถึงส่งเสริมให้ความรู้ในการคัดกรองโรคตาเบื้องต้น อย่างง่ายแก่เครือข่ายในชุมชนได้ กรกฎาคม 2556
  • 3. ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ Ø áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢Ô§) สารบัญ หน้า คำนำ การตรวจตาในประชาชนปกติ 5 การตรวจคัดกรองสายตาในชุมชน 8 - การซักประวัติ 8 - การวัดความสามารถในการมองเห็น 11 - การตรวจคัดกรองทั่วไป และการตรวจเบื้องต้น 16 โรคตาที่พบบ่อยและแนวทางการวินิจฉัยส่งต่อโรคตาเบื้องต้น 20 โรคตาแดง 20 เยื่อตาอักเสบ 21 ต้อหิน 25 ม่านตาอักเสบ 26 แผลกระจกตา 27 ต้อเนื้อ 28 ต้อกระจก 31 การบาดเจ็บทางตา 32 สิ่งแปลกปลอมที่เยื่อตาและกระจกตา 33 กระจกตาถลอก 33 เลือดออกในช่องหน้าม่านตา 34 การบาดเจ็บที่มีเนื้อเยื่อลูกตาฉีกขาด 34 เปลือกตาฉีกขาด 35 สารเคมีเข้าตา 35 โรคเยื่อตาแห้งจากการขาดสารอาหาร 36 โรคริดสีดวงตา 37 หัตถการที่พบบ่อยทางจักษุวิทยา 38 หลักการใช้ยาหยอดตา 44 ศัพท์ทางจักษุวิทยาที่ควรทราบ 49 หนังสืออ้างอิง 51
  • 4. ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ Ø áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢§Ô) ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μÓºÅ
  • 5. ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ Ø áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢Ô§) การตรวจตา ในประชาชนปกติ การตรวจสายตาในประชาชนทั่วไป เป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากอาจจะมีบางสภาวะหรือโรคตาบางโรคซึ่ง ภาพจาก visianinfo.com 2. ภาวะตามัวลงเป็นไปอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป หรือมีผลเริ่มต้นจากการมองเห็นด้านข้าง คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 5 ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠคุกคามการมองเห็น โดยผู้ป่วยยังไม่มีอาการ ความจำเป็นในการตรวจคัดกรองสายตา 1. โรคดังกล่าวอาจมีผลทำให้สายตามัวลงข้างเดียว โดยที่ผู้นั้นไม่รู้ตัว เนื่องจากตาอีกข้างยังมองเห็น ได้ดี เช่น ต้อกระจกในเด็กหรือผู้ใหญ่ที่เป็นข้างเดียว รูปแสดง : ต้อกระจกในตาข้างขวา ผู้ป่วยอาจ ไม่รู้สึกตัวว่าตาขวามองไม่เห็น เนื่องจากตาซ้ายยังมองเห็นดี รูปแสดง : การมองเห็นของผู้ป่วยที่เป็นต้อหิน บริเวณรอบนอกของการมองเห็นจะค่อยๆ มัวลง โดยที่การมองเห็นตรงกลางชัด เมื่อเป็นมากขึ้นภาพตรงกลางจะมัวลงด้วย จนในที่สุดตาอาจบอดมองไม่เห็นเลย รูปแสดง : ผู้ป่วยเป็นเบาหวานขึ้นจอตา จะมีจุดเลือดออก และไขมัน ออกมาที่จอตา โดยในช่วงแรก การมองเห็นยังเป็นปกติ (peripheral vision) ดังเช่น ผู้ป่วยต้อหินเรื้อรัง ภาพจาก hvglaucoma.com 3. พยาธิสภาพกำลังเกิดขึ้น แต่ยังมิได้ทำให้การมองเห็นลดลง เช่น จอประสาทตาเสื่อมจาก โรคเบาหวาน หรือการใช้ยาบางชนิด เช่น chloroquine, Ethambutol
  • 6. ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ Ø áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢§Ô) 4. ในเด็กเล็กมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากไม่สามารถบอกว่าตนเองตามัวหรือมองไม่ชัด ภาวะตามัว อาจนำไปสู่ภาวะสายตาขี้เกียจ (amblyopia) แม้มาแก้ไขความผิดปกติในภายหลัง ตาก็ยังมองไม่เห็น เพราะว่า สมองไม่เคยรับรู้การเห็นหรือการใช้สายตาพร้อมกัน 2 ตา 6 คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠรูปแสดง : เด็กตาเข เด็กอาจบอกไม่ได้ว่าตนเอง ตามัวหรือเห็นภาพซ้อน บิดา-มารดา ต้องเป็นผู้สังเกตและนำเด็กไปตรวจตา ภาพจาก info thevisiontherapycenter.com ใครควรได้รับการตรวจคัดกรองสายตา ควรตรวจวัดสายตา หรือตรวจตาในคนปกติที่ยังไม่มีอาการทางสายตา หรือคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคตา ซึ่งแบ่งกลุ่มเพื่อเข้าใจง่ายๆ ดังนี้ 1. กลุ่มคนปกติ 1.1 กลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน 1.1.1 เด็กอายุ 6 เดือน โดยผู้ตรวจอาจเป็นแพทย์ทั่วไป พยาบาล หรือบุคลากรทางสาธารณสุข ใช้ วิธีการตรวจง่ายๆ คือใช้แสงไฟ ฉายให้เด็กดูโดยดูว่าตาเด็กมี GCM (Good, Central Fixation และ Maintain) 1.1.2 อายุ 3 ปี วัดสายตาโดยใช้ Snellen’s chart ร่วมกับการตรวจว่ามี misalignment หรือไม่ โดยผู้ตรวจอาจเป็นแพทย์ทั่วไป พยาบาล หรือบุคลากรทางสาธารณสุข 1.2 กลุ่มวัยเรียน อาจตรวจโดยใช้ Snellen’s chart ทุก 3 ปี หรืออาจจะอิงชั้นเรียนคือวัดในระดับ ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และก่อนเข้ามหาวิทยาลัย 1.3 กลุ่มอายุ 20 – 40 ปี ควรตรวจวัดสายตาและตาบอดสี อย่างน้อยทุก 3 ปี 1.4 กลุ่มอายุ 40 – 60 ปี ควรวัดสายตาทั้งใกล้ไกล เพราะอยู่ในวัยสายตายาว (presblyopia) และควร ตรวจวัดความดันตา เพื่อค้นหาโรคตาที่พบบ่อย เช่น ต้อหิน โดยตรวจอย่างน้อยทุกปี 1.5 กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ควรตรวจวัดสายตาทั้งใกล้และไกล วัดความดันตา ขยายม่านตา โดยตรวจตา อย่างน้อยปีละครั้ง
  • 7. ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ Ø áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢Ô§) คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 7 ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠ2. กลุ่มคนที่มีความเสี่ยง 2.1 กลุ่มเด็กที่คลอดก่อนกำหนด กลุ่มเด็กพิการทางสมอง กลุ่มคนที่มีสายตาสั้นมาก กลุ่มคนที่มีประวัติ ในครอบครัวเป็นโรคตา เช่น ต้อหิน กลุ่มคนที่เคยได้รับอุบัติเหตุทางตา และกลุ่มที่มีภาวะของโรคเบาหวาน 2.2 ผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคตาค่อนข้างสูง จากการสำรวจภาวะตาบอดและ สายตาพิการของประเทศไทย พบว่ากลุ่มผู้สูงอายุมีอัตราตาบอดค่อนข้างสูง โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก โรคต้อกระจก ซึ่งภาวะสูญเสียสายตานี้จะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น การหกล้ม การหดหู่ทางใจ และเสี่ยงต่อ การเสียชีวิต ตารางที่ 1 แสดงการตรวจตาในคนทั่วไป กลุ่มคนปกติ ผู้ตรวจ ตรวจดู ความถี่ในการตรวจ 1. เด็กแรกคลอดก่อนออก จาก รพ. แพทยท์ั่วไปหรือพยาบาล กุมารแพทย ์ จักษุแพทย์ Red reflex ลักษณะภายนอก ทั่วไป ครั้งเดียว (ถ้าปกติ) 2.เด็กก่อนวัยเรียนหรือ บุคคลที่ได้รับ แพทยท์ั่วไปหรือพยาบาล กุมารแพทย ์ จักษุแพทย์ Red reflex ลักษณะภายนอก ทั่วไป เมื่อเด็กมารับการตรวจสุขภาพหรือ รับวัคซีน อย่างน้อยทุก 1-2 ปี 3.เด็กในวัยเรียน แพทยท์ั่วไปหรือพยาบาล กุมารแพทย ์ จักษุแพทย ์หรือเจา้หนา้ที่สาธารณสุข Visual acuity ลักษณะหนังตา และ ลูกตา stereopsis (ถ้าทำได้) ระหว่างประถมศึกษา ระหว่าง มัธยมศึกษา อย่างน้อยทุก 1-2 ปี 4. ประชาชนอายุ 20-40 ป ีแพทยท์ั่วไปหรือพยาบาล จักษุแพทย ์ พยาบาลเวชปฏิบัติทางตา หรือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข Visual acuity ลักษณะหนังตาและ ลูกตา stereopsis (ถ้าทำได้) เพิ่มเติม - ตรวจตาบอดสี - ตรวจพิเศษอื่นๆ แล้วแต่อาชีพ เช่น ลานสายตา ก่อนเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา หรือก่อนเข้าทำงาน 5. ประชาชนอายุ 40-60 ป ีแพทยท์ั่วไปหรือพยาบาล จักษุแพทย ์ พยาบาลเวชปฏิบัติทางตา หรือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ได้รับการฝึก อบรม Visual acuity, Intraocular pressure, Near vision อื่นๆ แล้วแต่ความจำเป็น ปีละครั้ง 6. ประชาชนอายุมากกว่า 60 ปี จักษุแพทย์ พยาบาลเวชปฏิบัติทาง ตา หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ได้รับ การฝึกอบรม Visual acuity, Intraocular pressure, Near vision อื่นๆ แล้วแต่ความจำเป็น เพิ่มเติม -ขยายม่านตาดูจอตาโดยจักษุ แพทย์ ปีละครั้ง
  • 8. ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ Ø áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢§Ô) การตรวจคัดกรองสายตาในชุมชน การตรวจคัดกรองสายตาและโรคตาในชุมชน สามารถปฏิบัติได้โดยแพทย์หรือพยาบาลที่ปฏิบัติงาน ในพื้นที่ เป็นการคัดกรองและดูแลเบื้องต้นก่อนส่งต่อให้ผู้ชำนาญเฉพาะทางเมื่อจำเป็น ซึ่งการตรวจคัดกรองมี ขั้นตอนหรือวิธีการคือ การซักประวัติ การวัดความสามารถการมองเห็น และการตรวจตาทั่วไป 1.การซักประวัติ การซักประวัติเป็นวิธีการค้นหาโรคตาที่สำคัญ เพื่อช่วงบอกรายละเอียดของอาการต่างๆ บอกระยะเวลา การดำเนินโรคและมีอาการอื่นร่วมด้วยหรือไม่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยแยกโรค และเพื่อการรักษา พยาบาลที่ถูกต้องรวดเร็ว ขั้นตอนการซักประวัติควรมีแนวทางดังนี้ 1. อาการสำคัญ (Chief Complaint) 2. ประวัติปัจจุบัน (Present illness) 3. ประวัติในอดีต (Past History) 4. ประวัติครอบครัว (Family History) 5. ประวัติโรคระบบอื่นๆ (Medical History) 6. ประวัติทั่วไป (General History) 1. อาการสำคัญ (Chief Complaint) เป็นอาการที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ อาการสำคัญทางตา ที่พบบ่อย ได้แก่ ตามัว เป็นอาการสำคัญที่มาพบแพทย์มากที่สุด ปวดตา เคืองตา ตาแฉะ มีขี้ตา ตาแดง คันตา อาการอื่นๆ เช่น ตุ่มที่เปลือกตา, ตาโปน, มองภาพซ้อน 2. ประวัติปัจจุบัน (Present illness) จะช่วยบอกรายละเอียดอาการสำคัญของผู้ป่วย ทำให้ วินิจฉัยแยกโรคตาได้ เช่น อาการสำคัญ ตาพร่ามัวมา 3 ปี ต้องซักประวัติเพิ่มว่า เริ่มมัวตั้งแต่เมื่อใด มัวทันทีที่ใด หรือ ค่อยๆ มัว มัว 2 ข้าง หรือ ข้างเดียว อาการอื่นมีร่วมด้วยหรือไม่ อาการสำคัญปวดศีรษะ เป็นๆ หาย มา 2 ปี ต้องซักเพิ่มว่า ปวดมากเวลาไหน มีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ หรือไม่ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน 3. ประวัติในอดีต (Past History) ช่วยวินิจฉัยโรคได้อาการเจ็บป่วยปัจจุบันเป็นผลสืบเนื่องมา จากอดีต เช่น ประวัติการใช้ยา ประวัติการได้รับอุบัติเหตุทางตาในอดีต ประวัติสายตาและการใช้แว่น ประวัติการ ผ่าตัดในอดีต เช่น ผ่าตัดต้อกระจก, ผ่าตัดต้อหิน 4. ประวัติครอบครัว (Family History) โรคตาบางชนิดสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เช่น ตาบอดสีมะเร็งจอตา โรคอื่นๆ ที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ และมีผลทำให้เกิดอาการทางตา เช่น เบาหวาน ความ ดันโลหิตสูง 5. ประวัติโรคระบบอื่นๆ (Medical History) เบาหวานทำให้ตามัวจากต้อกระจกหรือ เบาหวานขึ้นจอตา หรือไทรอยด์เป็นพิษทำให้ตาโปน ตาเหลือก กล้ามเนื้อตากลอกไม่ได้ หรือความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดความผิดปกติของประสาทตาจากภาวะความดันโลหิตสูง วัณโรคปอด ตามัวได้หลังจากรักษาด้วยยามา 2-3 เดือน ส่วนใหญ่มัวทั้งสองข้าง / จากการใช้ยา Ethambutol ให้นึกถึงประสาทตาอักเสบ / โรครูมาตอยด์ ที่ ได้รับยา Chloroquine มีประสาทตาฝ่อ การมองเห็นสีเพี้ยนไป ลานสายตาแคบลง 8 คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμÓºÅ
  • 9. ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ Ø áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢Ô§) 6. ประวัติทั่วไป (General History) เช่น อายุ, อาชีพ, สุขนิสัยทั่วไป อาการสำคัญทางตา (Ocular Symtomatology) แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1. กลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น 2. กลุ่มอาการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น กลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น มีอาการดังต่อไปนี้ ตามัว (Blurred vision) ส่วนใหญ่ หมายถึง การมองเห็นส่วนตรงกลาง (Central Visual Acuity) สาเหตุของตามัว อาจเกิดจาก ความผิดปกติในลูกตา ความผิดปกติใน Visual Pathway ความผิดปกติ ของศูนย์รับภาพในสมอง เป็นต้น เมื่อผู้ป่วยมาพบด้วยอาการตามัว จะต้องซักถามเพิ่มเติมดังนี้ ตามัวตาเดียวหรือ 2 ข้าง เริ่มมัวเมื่อใด มัวคงที่ หรือมัวลงเรื่อยๆ มัวทันทีทันใด หรือ ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป * ถ้ามัวทันทีทันใด เป็นตาเดียว ตาแดงร่วมด้วย ให้นึกถึงโรคตาส่วนหน้า (Anterior Segment Diseases) เช่น แผลกระจกตา, ม่านตาอักเสบเฉียบพลัน, ต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน * ถ้าตามัวทันทีทันใด เป็นตาเดียวไม่มีตาแดงร่วมให้นึกถึงโรคตาส่วนหลัง (Posterior Segment Diseases) เช่น จอตาหลุดลอก, เส้นเลือดใหญ่ที่จอตาอุดตัน, เลือดออกทันทีที่วุ้นตา * ตามัวทันทีทั้ง 2 ข้าง ให้นึกถึงอุบัติเหตุที่ศีรษะ, ตามัวจากพิษยา * ถ้ามัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ให้นึกถึงโรคที่มีการเจริญ เช่น ต้อกระจก, ต้อหินชนิดมุมปิด ลักษณะของตามัวเปน็อยา่งไร มัวเฉพาะตรงกลางหรือทั้งหมด เปน็ชั่วคราว หรือตลอดถา้เปน็ตรงกลาง บริเวณรอบๆ ชัด ให้นึกถึงโรคของ Macular, ประสาทตาอักเสบ (Optic Neuritis หรือ โรคกดทับ ประสาทตา Optic Nerve Compression) ตาบอด (Blindnees) ตามกฎหมายถือเอาข้างที่ดีกว่ามองเห็นเลวกว่า 6/60 หรือ 20/400 ลาน สายตา ส่วนริมของข้างที่ดีมองเห็นแคบกว่า 20 องศา มองภาพบิดเบี้ยว (Metamorphopsia) ผู้ป่วยมองเห็นภาพวัตถุมีรูปร่างบิดเบี้ยว ให้นึกถึงสภาวะ สายตาเอียง หรือโรคที่ Fovea เช่น จอตาบวมคั่งน้ำ (Central Serous Retinopathy) จอตาเสื่อม ในคนสูงอายุ (Senile Macular Degeneration) มองภาพขนาดเล็กหรือใหญ่กว่าปกติ อาจมีความผิดปกติของจอรับภาพ (Fovea) เช่น มีเนื้องอก มีเลือดออกที่จอตา มีการบวมคั่งของน้ำ มองเห็นสีรุ้งรอบดวงไฟ (Iridescent Vision) พบในผู้ป่วยที่มีตัวกลางในตาขุ่น กระจกตาบวม (Cornea edema) ในต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน, คนที่ว่ายน้ำเป็นเวลานาน ขี้ตามาก ในผู้ป่วยที่เยื่อบุตาอักเสบ, กระจกตาอักเสบ, ท่อน้ำตาอุดตัน จุดดำลอยไปมา (Floater) เป็นชิ้นส่วนใสๆ อยู่ในน้ำวุ้นตา พบในผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยสายตาสั้น ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุ - กรณีเกิดขึ้นทันทีทันใด ในลานสายตาส่วนริม ให้นึกถึงภาวะเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา - มองเห็นจุดดำขนาดใหญ่เกิดทันทีทันใด ให้นึกถึงภาวะที่มีการหลุดลอกของน้ำวุ้นตา จอตาลอกหลุด คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 9 ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμÓºÅ
  • 10. ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ Ø áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢§Ô) เห็นภาพซ้อน (Diplopia) ต้องซักประวัติให้ละเอียดว่าอาการของภาพซ้อน เห็นภาพซ้อนเป็น อย่างไร เริ่มเมื่อใด เป็นบางครั้งหรือเป็นตลอด - เห็นภาพซ้อนตาข้างเดียว มักเกิดจากการหักเหของแสงในลูกตาที่มีความขุ่นไม่สม่ำเสมอ เช่น สายตาเอียงมาก, ต้อกระจกที่ยังไม่สุก, ผู้ป่วยที่มีการบวมของจอตาส่วนกลาง - ถ้าตรวจดู 2 ตาเห็นภาพซ้อน ปิดตาข้างหนึ่งภาพซ้อนหายไปให้นึกถึงโรคของกล้ามเนื้อตา มองสู้แสงไม่ได้ (Photophobia) เป็นอาการไม่สบายตาที่เกิดจากแสงจ้าพบในผู้ป่วยที่มีกระจกตา ถลอก, แผลกระจกตาอักเสบ, ม่านตาอักเสบจากภูมิแพ้, หรือสิ่งแปลกปลอม ลานสายตาผิดปกติ (Visual Field Defect) ให้นึกถึง ต้อหิน, โรคของ Retina มองไม่เห็นในที่มืด (Night Blindness) มักมาด้วยอาการตามัวในตอนกลางคืนหรือมองไม่ชัดใน ที่มืด ถ้าเป็นมาแต่กำเนิดให้นึกถึงโรคที่มีการเสื่อมของจอตา (Retinitis Pigmentosa) และ Hereditary Optic Atrophy ถ้าเกิดภายหลังให้นึกถึงสภาวะบกพร่อง วิตามิน A ต้อหิน ต้อกระจก จอตาเสื่อม การมองเห็นในที่สว่าง (Day Blindness) เห็นชัดในที่มืดให้นึกถึงการเสื่อมของ Cone Cell ประสาทตาอักเสบจากสารพิษ ตาบอดสี (Color Blindness) ส่วนใหญ่เป็นกรรมพันธุ์ ในพวกที่เป็นมาแต่กำเนิดมักมีสายตาดี แต่มองเห็นสีผิดไป - ถ้าเป็นตาเดียว มักเกิดจากโรคจอตาเสื่อม และโรคของเส้นประสาทตา - ถ้าเป็น 2 ตา มักเกิดจากพิษของยา หรือภาวะทุโภชนาการ กลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น (Non Visual Symptoms) มีอาการดังต่อไปนี้ ปวดศีรษะ (Headache) ปวดศีรษะเวลาตื่นนอนหรือเช้า หายปวดตอนสายมักไม่ใช่เกิดจากโรค ทางตา ถ้าปวดศีรษะในตอนบ่ายๆ หรือตอนเย็นหลังจากทำงานที่ใช้สายตาทั้งวัน หายปวดเมื่อได้พัก มักมีสาเหตุจากโรคตา ปวดตา (Ocular Ache) พบบ่อยในพวกโรคกล้ามเนื้อตา ทำให้เกิดอาการเพลีย (Eye Strain) พบ ในผู้ป่วยต้อหิน ม่านตาอักเสบ การอักเสบของชั้นในคอรอยด์ ปวดแสบปวดร้อนในลูกตา (Burning Sensation) พบมากในผู้ป่วยที่มีการอักเสบของเปลือกตา และเยื่อบุตา เคืองตาเหมือนมีอะไรติดอยู่ (Foreign Body Sensation) * การอักเสบของเปลือกตา เยื่อบุตา กระจกตา * สิ่งแปลกปลอมติดเยื่อบุตา หรือกระจกตา * ผิวกระจกตาถลอก (Corneal Abrasion) ในผู้ป่วย Foreign body การหยอดยาชาทำให้สามารถ วินิจฉัยโรคได้ * ถ้าหยอดยาชาแล้วอาการเคืองตาหายไป แสดงว่า เกิดจาก ผิวกระจกตาถลอก หรือ มี สิ่งแปลกปลอม ติดที่เยื่อบุตา หรือกระจกตา * ถ้าหยอดยาชาแล้วอาการเคืองไม่หาย แสดงว่าเกิดจาก เปลือกตา หรือเยื่อบุตาอักเสบ หรือ แผลกระจกตาอักเสบ 10 คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμÓºÅ
  • 11. ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ Ø áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢Ô§) คันตา (Itching) พบในผู้ป่วย เยื่อบุตาอักเสบจากโรคภูมิแพ้ ริดสีดวงตา การอักเสบของต้อเนื้อ ตาแดง (Red eye) * ตาแดงเฉพาะแนวของช่องว่างเปลือกตา มักเกิดจากการอักเสบของต้อเนื้อ ต้อลม * ตาแดงเป็นปื้น เหมือนก้อนเลือดให้นึกถึง เลือดออกในเยื่อบุตาขาว * ตาแดงทั้ง 2 ตา เป็นเยื่อบุตาอักเสบจากการติดเชื้อ * ตาแดงเป็นข้างเดียวไม่มีขี้ตา สู้แสงไม่ได้ ปวดตา ให้นึกถึง โรคม่านตาอักเสบ * ตาแดงข้างเดียว ปวดศีรษะซีกเดียวกัน ตามัวลง เห็นสีรุ้งรอบดวงไฟ ให้นึกถึงต้อหินชนิดเฉียบพลัน ตาแฉะ (Discharge) * อาการสำคัญที่ผู้ป่วยมีน้ำตามาก ปวดร้อนในลูกตา สู้แสงไม่ได้ มีตาแดงร่วมด้วยทั้ง 2 ข้าง ให้นึกถึง Viral Conjunctivitis * ถ้ามีน้ำตาไหลมาก มักเกิดจากท่อน้ำตาอุดตัน หรือน้ำตาถูกสร้างมากกว่าปกติ * ถ้ามีขี้ตามาก มักลืมตาไม่ขึ้นตอนเช้า เป็น Bacteria Conjunctivitis * มีขี้ตาเป็นยางเหนียวๆ เป็นโรคภูมิแพ้ Allergic Conjunctivitis * ในเด็กทารก มาด้วยน้ำตาไหลตลอดเวลา มักเกิดจาก ท่อระบายน้ำตาอุดตัน ตาแห้ง (Dry Eyes) พบในผู้สูงอายุ น้ำตาจะถูกสร้างออกมาน้อยกว่าปกติ และพบในผู้ป่วยที่เคย ได้รับสารเคมี ตาบวม (Lid Swelling) * ตาบวม 2 ข้าง พบในผู้ป่วยเปลือกตาอักเสบ หรือในผู้ป่วยภูมิแพ้ * ตาบวมข้างเดียว มักเป็นกุ้งยิง, เป็นฝี เปลือกตาบวมเป็นจ้ำสีคล้ำๆ ร่วมด้วยมักมี สาเหตุจากอุบัติเหตุ ตาโปน (Exophthalmos) * ตาโปน 2 ข้าง มักเกิดจากโรคระบบอื่น เช่น Hyperthyroid * ตาโปนข้างเดียว มักเกิดจากเนื้องอกภายในเบ้าตา ประวัติอุบัติเหตุ หลักสำคัญในการวัดความสามารถในการมองเห็น คือ ขนาดของภาพที่ปรากฏที่จอตา (Retinal image size) ขึ้นอยู่กับขนาดของวัตถุ (Object size) และระยะห่างจากลูกตา (distance) ซึ่งมีผู้ประดิษฐ์แบบวัด สายตาขึ้นโดยอาศัยหลักการดังกล่าวเป็นแผ่นป้ายมาตรฐาน ที่นิยมใช้กันคือ แผ่นป้ายสเนลเลน (Snellen’s chart) ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขขนาดต่างๆ ตัวอักษรอี (E chart) และรูปภาพ นอกจากนั้นยังมี Reduced snellen’s charts หรือเรียกกันทั่วไปว่า Near cards ซึ่งใช้วัดสายตาในระยะใกล้ (near vision) โดยให้ผู้ป่วย ถือ Near cards อ่านในระยะห่าง 14 นิ้ว นิยมใช้ในกรณีตรวจวัดสายตาในบุคคลที่สายตายาวเนื่องจากอายุมาก คือ 40 ปีขึ้นไป ที่เรียกกันว่าสายตายาวในผู้สูงอายุ (presbyopia) และควรมีไว้ในห้องตรวจผู้ป่วยที่ได้รับ อุบัติเหตุทางตา ที่จำเป็นต้องนอนบนเปลนอน โดยค่าสายตาที่วัดได้จะบันทึกเป็นตัวเลขเศษส่วน บอกค่าเป็น ระยะทางซึ่งมีทั้งหน่วยเป็นฟุต เช่น 20/200, 20/100 และหน่วยเป็นเมตร เช่น 6/60, 6/36 ดังนี้ เลขเศษ หมายถึง ระยะทางที่คนสายตาผิดปกติสามารถเห็นได้ชัดที่สุด เลขส่วน หมายถึง ระยะทางที่คนสายตาปกติสามารถเห็นได้ชัดที่สุด คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 11 2. การวัดความสามารถในการมองเห็น หลักการวัดความสามารถในการมองเห็น (Principle of Visual Acuity Test) ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμÓºÅ
  • 12. ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ Ø áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢§Ô) ตารางที่ 2 แสดงค่าระดับสายตาแบบต่างๆ (visual acuity conversion chart) Snellen acuity 12 คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠDecimal LogMAR Feet Meters 20/200 6/60 0.10 1.00 20/160 6/48 0.125 0.90 20/125 6/38 0.16 0.80 20/100 6/30 0.20 0.70 20/80 6/24 0.25 0.60 20/63 6/20 0.32 0.50 20/50 6/15 0.40 0.40 20/40 6/12 0.50 0.30 20/32 6/10 0.63 0.20 20/25 6/7.5 0.80 0.10 20/20 6/6 1.00 0.00 20/10 6/3 2.00 -0.30 การจัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ ในการเตรียมสถานที่สำหรับวัดสายตาจะต้องจัดให้มีระยะห่างระหว่างแผ่นป้ายถึงผู้ป่วย 20 ฟุต (Snellen’s system) หรือ 6 เมตร (Metric system) ผู้ที่มีสายตาปกติจะอ่านตัวเลขใน Snellen’s chart ได้ ถูกต้องทุกตัวตั้งแต่แถวแรกจนถึงแถวที่ 7 ภาพแสดง : การใช้กระจกสะท้อนในระยะ 3 เมตร การจัดห้องหรือสถานที่วัดสายตาจึงมีความ ยาวของหอ้งมากกวา่ 6 เมตร ในกรณีที่หอ้งเล็กสามารถ ดัดแปลงโดยให้กระจกเงาสะท้อนในระยะ 3 เมตร ติดแผ่นป้าย Snellen’s chart หลังผู้วัดและผู้ถูกวัด ระยะรวม 6 เมตรภาพ ดังภาพ
  • 13. ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ Ø áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢Ô§) Snellen’s chart E chart Near cards คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 13 ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠการจัดเตรียมเครื่องมือ และอุปกรณ์ 1. แผ่นป้ายวัดสายตามาตรฐาน ที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ Snellen’s chart มีลักษณะเป็นตัวเลข หรือ E chart ขนาดต่างๆ ไล่ระดับจากขนาดใหญ่ในแถวที่ 1 และเล็กลงในแถวที่ต่ำลงมา การติดแผ่น Snellen’s chart ไม่ควรติดแผ่นป้ายวัดสายตาบริเวณกลางแจ้งหรือที่มีแสงส่องเข้าตาผู้ป่วย เพราะจะทำให้รูม่านตาหดทำให้ผลการวัดสายตาคลาดเคลื่อน บริเวณที่วัดสายตาควรมีแสงสว่างเพียงพอ โดยแสงเข้าทางด้านหน้าของแผ่นป้ายให้ป้ายวัดสว่างควรอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจเพื่อความร่วมมือและผู้วัดต้องใจเย็น 2. ที่บังดวงตาชนิดทึบแสง (Occluder) 3. ที่บังดวงตาชนิดที่เจาะรูเล็กขนาดเท่าเข็มหมุด (pinhole occluder) หรือกระดาษแข็งเจาะรูตรง กลางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 มม.
  • 14. ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ Ø áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢§Ô) 4. ไฟฉายและไฟส่องสว่าง ความสว่างของแสงไฟ 100 แรงเทียน ส่องบริเวณ Snellen’s chart วิธีการวัดความสามารถในการมองเห็น การวัดความสามารถในการมองเห็นจะวัดด้วยวิธีต่างๆ ตามลำดับ ดังนี้ 1. วัดตาเปล่า (uncorrected หรือ sc) 1.1 ให้ผู้ป่วยนั่งบนเก้าอี้ที่วางไว้ข้างหน้าแผ่นป้ายตามระยะทางที่กำหนด คือ 20 ฟุต หรือ 6 เมตร โดยให้นั่งตัวตรง ห้ามโน้มตัวไปข้างหน้าขณะอ่านเพราะระยะทางจะคลาดเคลื่อน และห้ามเอียงคอขณะอ่าน เพราะนั่นคือผู้ป่วยแอบใช้ตาข้างที่ปกติมาช่วยอ่านทำให้ไม่ได้ค่าสายตาที่แท้จริง 1.2 วัดสายตาทีละข้าง โดยให้วัดตาขวาก่อนเสมอ ทั้งนี้เพื่อความ ถูกต้องในการบันทึกผลและป้องกันความสับสน (ยกเว้นกรณีที่เกิดจากอุบัติเหตุ ให้วัดสายตาข้างที่บาดเจ็บก่อน) โดยให้ผู้ป่วยใช้ที่ปิดตาชนิดทึบแสง (Occluder) ปิดตาอีกข้างหนึ่งไว้ให้มิดชิด ถ้าไม่มีให้ใช้กระดาษหรือใช้อุ้งมือผู้ป่วยปิดโดยไม่กด ลูกตาเพราะจะทำให้ตาพร่ามัวได้ 1.3 ให้อ่านตัวเลขบนแผ่นป้ายตั้งแต่แถวที่ 1 โดยอ่านลงไปเรื่อยๆ ถ้าสายตาปกติจะอ่านได้ถึงแถวที่ 7 ให้ลงบันทึกในช่อง sc ) 20/20 หรือ 6/6 เป็นอันเสร็จสิ้นการวัดสายตาข้างนั้น ถ้าผู้ที่มีสายตาผิดปกติ มักจะอ่านตัวเลขในแต่ละแถวได้ไม่ถูกต้องทุกตัวโดยถ้าอ่านได้ถูก ต้องมากกว่าครึ่ง หนึ่ง ของแต่ละแถวให้อ่านไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงแถวใดแถวหนึ่งที่อ่านผิดมากกว่าครึ่งหนึ่ง หรืออ่านไม่ได้เลย ให้บันทึกผลตามตัวอย่าง เช่น ถ้าอ่านมาถึงแถวที่ 5 (ตัวเลขเศษส่วนจะเท่ากับ 20/40) ซึ่งมีจำนวนตัวเลขในแถว นี้ 6 ตัว ผู้ป่วยอ่านผิด 2 ตัว และเมื่อให้อ่านต่อไปในแถวที่ 6 ก็อ่านผิดมากกว่าครึ่งหนึ่ง หรืออ่านไม่ได้ ให้บันทึก ว่า 20/40-2 แต่ถ้าอ่านตัวเลขแถวที่ 5 ได้ถูกหมดทุกตัว และสามารถอ่านแถวที่ 6 ได้เพิ่มอีก 2 ตัว ให้บันทึกว่า 20/40+2 2. วัดขณะมองผ่าน Pinhole หรือ c PH 14 คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น เมื่อผู้ป่วยอ่านด้วยตาเปล่าแล้ว แต่อ่านไม่ถึงแถวที่ 7 ขั้นต่อไปจึงให้ ผู้ ป่วยอ่านตัวเลขบนแผ่นป้ายโดยมองผ่าน pinhole (ยกเว้นในผู้ที่มีกำลัง สายตาผิดปกติ เช่น สายตาสั้น และมีแว่นสายตาแล้วให้สวมแว่นอ่านได้เลย) ถา้ผูป้ว่ยสามารถอา่นตัวเลขไดเ้พิ่มขึ้น หรืออา่นไดถึ้งแถวที่ 7 แสดงวา่สายตาที่ ผิ ดปกตินั้นอาจเกิดจากกำลังสายตาผิดปกติ (refractive error) แต่ถ้ามอง ผ่าน pinhole แล้วยังเห็นไม่ชัด หรือมัวมากกว่าอ่านด้วยสายตาเปล่าแสดง ว่าเป็นโรคตาโรคใดโรคหนึ่ง ส ถ้ ผว ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμÓºÅ
  • 15. ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ Ø áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢Ô§) คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 15 ที 1 หไ ล ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠ3. วัดขณะสวมแว่นตา สำหรับผู้ที่มีแว่นสายตาซึ่งจะต้องเป็นแว่นตาสำหรับมองระยะ ไกลเท่านั้นจึงจะใช้ได้ถ้าเป็นแว่นสำหรับอ่านหนังสือในบุคคลที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป เรียกว่า presbyopia จะใช้ไม่ได้ เพราะเป็นแว่นที่ใช้มองระยะใกล้ เท่านั้น ซึ่งวิธีการวัดให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับวิธีวัดด้วยตาเปล่า เพียงแต่ให้ลง บันทึกในชอ่ง cc ถา้อา่นไดถู้กตอ้งจนถึงแถวที่ 1 ใหใ้ช pinhole วางตอ่หนา้ กระจกแว่นตาแล้วให้อ่านอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นบันทึกค่าที่วัดได้ในช่อง c PH แต่ถ้าผู้ป่วยใส่เลนส์สัมผัส (contact lens) มาตรวจก็ให้วัดขณะที่ใส่เลนส์สัมผัสก่อนวัดด้วยตาเปล่า โดยวิธีการ เดียวกับการวัดขณะสวมแว่นตา หลังจากนั้นจึงให้ผู้ป่วยถอดเลนส์สัมผัสออกแล้วกลับมาวัดในขั้นตอนแรก คือ มองด้วยตาเปล่า 4. การเลื่อนระยะทาง กรณีที่ผู้ป่วยมีสายตาผิดปกติมากจนกระทั่งไม่สามารถมองเห็นตัวเลขในแถวที่ 1 ได้ ให้ใช้วิธีเลื่อน ระยะทางเข้าไปใกล้ผู้ป่วยโดยใช้ อี-เกมส์ (E-game) ครั้งละ 5 ฟุต โดยผู้วัดถือ อี-เกมส์ ซึ่งมีค่าเท่ากับตัวเลขแถว ที่ 1 คือ 20/200 ยืนหา่งจากผูป้ว่ยในระยะ 15 ฟุต 10 ฟุต หรือ 5 ฟุต ระยะใดระยะ หนึ่ง ถ้าผู้ป่วยบอกได้ถูกต้องว่าขาตัวอีชี้ ไปทิศทางใดถูกต้องทั้ง 4 ทิศทาง คือ บน ล่าง ซ้าย ขวา 5 ใื้ 5. การใช้มือ ถ้าผู้ป่วยเลื่อนระยะทางเข้าไป 15 ฟุต แล้วยังไม่สามารถอ่านแผ่นป้ายได้ ให้ผู้วัดชูมือขึ้นในระดับ สายตาผู้ป่วยโดยทดสอบให้นับนิ้วมือสลับกันหลายๆ ครั้ง ในระยะ 3 ฟุตถ้านับถูกต้องบันทึกว่า Fc 3 ft (Finger count 3 feet) ถ้านับไม่ได้ให้เลื่อนระยะเข้าไปเป็น 2 ฟุต และ 1 ฟุต ตามลำดับให้บันทึกว่าเป็น Fc 2 ft หรือ Fc 1 ft ถ้านับนิ้วมือไม่ได้ ให้เปลี่ยนเป็นโบกมือผ่านด้วยตาผู้ป่วยช้าๆ ทำซ้ำๆ หลายครั้ง ถ้าบอกได้ถูกต้อง ว่ามีมือโบกผ่านไปมาให้บันทึกว่าเป็น H.M (Hand Movement) 6. การใช้ไฟฉาย ถ้าผู้ป่วยไม่เห็นนิ้วมือ ให้ใช้ไฟฉาย ต้องระวังปิดตาอีกข้างให้สนิท และส่องไฟที่ตาผู้ป่วยในทิศทาง ต่างๆ ถ้าสามารถเห็นแสง บอกทิศทางได้ถูกต้องให้บันทึก PJ (Projection of light) ถ้าบอกทิศทางของแสงไม่ ได้ให้บันทึก PL (Perception of light) ถ้าไม่เห็นแสงไฟเลยให้บันทึก NPL (No Perception of light) * ในกรณีที่ไม่มีอุปกรณ์การวัดสายตามาตรฐานมี แผ่นตัวอีตัวใหญ่สุด เพียง 1 แผ่นเลื่อนระยะทางตามวิธี การเลื่อนระยะทาง หรือใช้วิธีนับนิ้วมือที่ระยะ 3 เมตรถูกต้อง จำนวน 3 ใน 5 ครั้ง ถ้านับไม่ได้ส่งต่อยังสถาน บริการสาธารณสุขที่มีศักยภาพในการตรวจคัดกรองและการรักษาต่อไป *
  • 16. ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ Ø áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢§Ô) 3. การตรวจคัดกรองทั่วไป และการตรวจเบื้องต้น 1. การตรวจดูด้วยตาเปล่า เป็นการตรวจดูและสังเกตสิ่งผิดปกติต่างๆ ได้แก่ เปลือกตาบวม แดง หรือมี ตุ่มหนองหรือไม่ ปกติเปลือกตาจะคลุมกระจกตาส่วนบนประมาณ 1-2 มม. ส่วนล่างเสมอกับขอบ กระจกตา ล่างพอดี ขนตาปกติจะชี้ออก ตำแหน่งของลูกตา ควรมีขนาดเท่ากันสองข้างไม่โปน เยื่อบุตา ขอบเปลือกตา ถ้า ปกติจะผิวเรียบมันเห็นเงาสะท้อนของดวงไฟฉาย รูเปิดท่อระบายน้ำตาอยู่แนบชิดกับแอ่งน้ำตา ไม่มีรอยเปื่อย แตกบริเวณหางตา การกดถุงน้ำตา ถ้าปกติไม่มีหนอง น้ำตาเหนียวทะลักออกมาดังภาพแสดงความผิดปกติต่างๆ ต่อไปนี้ เปลือกตาบวม มีขี้ตา หนังตาบวมมีเลือดออกในเยื่อบุตา ลูกตาไม่เท่ากัน 16 คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠขนตาชี้เข้า ท่อน้ำตาบวม มีน้ำตาไหลตลอดเวลา
  • 17. ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ Ø áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢Ô§) 2. วิธีคัดกรองผู้ป่วยด้วยไฟฉาย ไฟฉายเป็นอุปกรณ์ที่หาง่าย สะดวกใช้ ราคาถูก แต่หากผู้ป่วย เป็นต้อกระจกไม่มากสามารถคัดกรองค่อนข้างยาก ควรใช้ไฟฉายที่รวมแสง ถ่านไม่อ่อน ส่องที่ตาตรวจดูความ ผิดปกติในลูกตา ส่วนหน้า ดังภาพแสดงความผิดปกติต่างๆ ข้างล่างนี้ เลือดออกช่องหน้าม่านตา กระจกตาขุ่น เลนส์ตาขุ่นและเลื่อนหลุด สิ่งสำคัญในการตรวจด้วยไฟฉายคือการตรวจลักษณะของรูม่านตา ขนาดปกติเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 17 ต้อเนื้อ 3 มิลลิเมตร ความไวของการตอบสนองต่อแสง และมุมม่านตา ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠมีสิ่งแปลกปลอมที่เยื่อบุตา มีหนองในช่องหน้าม่านตา ม่านตาผิดปกติ ภาพตาปกติ ภาพตาที่ได้รับอุบัติเหตุขนาดรูม่านตา ภาพการส่องตรวจมุมม่านตา
  • 18. ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ Ø áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢§Ô) 3. วิธีคัดกรองด้วยเครื่องมือ Direct ophthalmoscope วิธีการตรวจ ก่อนตรวจต้องอธิบายผู้ป่วยเพื่อขอความร่วมมือ สถานที่ควรอยู่ในห้องมืด ควรมี บุคคลที่สามอยู่ด้วยหากผู้ป่วยต่างเพศกัน นั่งหันหน้าเข้าหากัน ให้ผู้ป่วยมองตรงไปด้านหลังผู้ตรวจ ไม่จ้องไฟ ผู้ตรวจถือเครื่องมือ Direct ophthalmoscope ปรับกำลังเลนส์ให้เหมาะสมกับสายตา มองลอดรูไปยังรูม่านตา ของผู้ป่วย หากปกติจะเห็นเป็นสีส้มแดง ซึ่งเกิดจากการสะท้อนของจอประสาทตา (Retina) หากผู้ป่วยเป็น ต้อกระจกจะพบความขุ่นของรูม่านตาจะเป็นสีดำ เทาทึบตรงกลางวงแดงหรือไม่เห็นสีแดงเลย การตรวจวิธีนี้ ต้องมีความชำนาญพิเศษ และเข้าใจพยาธิสภาพของลูกตาส่วนหลังด้วย 4. การวัดความดันตา สามารถวัดได้หลายวิธีด้วยกัน ได้แก่การใช้ Applanation และ Schiotz tonometer การใช้นิ้วมือคลำ Digital palpation ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่แม่นยำน้อยที่สุด โดยการให้ผู้ป่วย หลับตา ใช้ปลายนิ้วชี้กดเบาๆ ให้ออกแรงสะท้อน หากรู้สึกแข็งๆ ตึงๆ แสดงว่าความดันลูกตาสูง หากนิ่มๆ หยุ่นๆ แสดงว่าปกติ หากนิ่มมากกดยุบ แสดงว่าความดันลูกตาต่ำ 18 คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠApplanation Tonometer Schiotz Tonometer
  • 19. ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ Ø áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢Ô§) 5. การตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อตา EOM (Extraocular Muscles) เป็นการตรวจการ ทำงานของกล้ามเนื้อตาที่ช่วยในการกลอกลูกตาไปในทิศทางต่างๆ โดยให้ผู้ป่วยมองตามการเคลื่อนไหวของนิ้วชี้ หรือปลายปากกา 6. การตรวจ NPC (Near Point of Convergence) เป็นการตรวจดูการทำงานของตา 2 ข้าง โดยให้ผู้ป่วยมองปลายปากกา ระยะห่าง 1 ฟุต จากนั้นค่อยๆ เข้าใกล้ลูกตา ลูกตาดำ 2 ข้างจะเคลื่อน เข้าหากัน หากเบนออกหรือมีอาการปวดตาเมื่อเลื่อนเข้าใกล้ มากกว่า 8 ซม. ขึ้นไป แสดงว่าผิดปกติ ซึ่งจะพบ ในผู้ป่วยที่มักปวดตา ปวดศีรษะบ่อยๆ คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 19 ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠภาพการตรวจกล้ามเนื้อตา ตำแหน่งทิศทาง ดังภาพ หากผิดปกติ ลูกตาจะไม่สามารถกลอกตามได้
  • 20. ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ Ø áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢§Ô) และแนวทางการวินิจฉัยส่งต่อโรคตาเบื้องต้น โรคตาแดง โรคตาที่พบบ่อย... เป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุดปัญหาหนึ่ง พบความผิดปกติของตาที่เกิดการแดงของ เยื่อตา (conjunctiva) เป็นหลัก มีความ รุนแรงแตกต่างกันมากนับตั้งแต่น้อย จนกระทั่งมากถึงขั้นตาบอดได้ ในบางครั้ง อาการตาแดงอาจจะเป็นอาการแสดงแรกที่สำคัญของโรคทางกาย clinical practice guidline (CPG) เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่จะช่วยให้ดูแลผู้ป่วยได้ง่ายขึ้น ตาแดงอาจจะเกิดได้จาก หลายสาเหตุทั้ง อุบัติเหตุ การติดเชื้อ การอักเสบ และความผิดปกติของหลอดเลือด การซักประวัติและการ ตรวจภายนอกของลูกตาโดยใช้ไฟฉายก็พอจะแยกเรื่องของอุบัติเหตุออกได้ เช่นอาจจะพบเศษผงที่ เยื่อตาขาว กระจกตา หรือ ด้านในของเปลือกตา ในส่วนของตาแดงจากสาเหตุอื่นจำเป็นต้องซักถามหารายละเอียดให้มากขึ้น เช่น ระยะเวลาที่มีอาการ การใช้เลนส์สัมผัส (contact lens), เครื่องสำอางทาเปลือกตา (mascara), การใช้ยา หรือ อุบัติเหตุที่ตา ทั้งนี้เพราะสิ่งแปลกปลอม เป็นสาเหตุหนึ่งของเยื่อตาอักเสบเรื้อรัง การติดเชื้อจากคนรอบข้าง เช่น ตาแดงจากเชื้อไวรัส มีอาการอย่างอื่นทางตาร่วมด้วย เช่น คัน ปวด แสบ มีขี้ตา ตามัว มีอาการหรือโรคอย่างอื่นทางร่างกายร่วมด้วย เช่น ไข้ หวัด ผื่น ไตวาย congestive cardiac failure, Reiter’s disease, polycythaemia, gout, rosacea มีประวัติการแพ้ ในบางครั้งอาจจะได้ประวัติ hay fever, หอบหืด ร่วมกับ เยื่อตาอักเสบจาก การแพ้ (allergic conjunctivitis) มีความเครียด ทั้งนี้เพราะบางครั้งที่มีความเครียด อาจจะทำให้ผู้ป่วยขยี้ตา ประวัติความผิดปกติของตาในครอบครัวและญาติพี่น้อง 20 คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμÓºÅ
  • 21. ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ Ø áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢Ô§) การตรวจตา การวัดระดับสายตา จะช่วยในการวินิจฉัย ถ้าผู้ป่วยมีสายตาแย่ลงบ่งชี้ว่าน่าจะมีความผิดปกติ ที่รุนแรง เช่น ความผิดปกติของกระจกตา ช่องหน้าลูกตาอักเสบ ต้อหิน อาการปวดก็มีความสำคัญ โดยปกติ เยื่อตาอักเสบมักจะไม่ปวดมาก ในขณะที่โรคของกระจกตา และ ม่านตาอักเสบจะปวดมาก การดูลักษณะ ของตาแดงก็มีความสำคัญ เช่น diffuse conjunctival injection เป็นลักษณะตาแดงทั่วๆ ไปโดยจะจางลงบริเวณรอบๆ กระจกตา localized conjunctival injection เป็นลักษณะตาแดงเฉพาะที่ของเยื่อตา ciliary conjunctival injection เป็นลักษณะตาแดงบริเวณรอบๆ กระจกตา โดยจะจางลง เมื่อออกห่างกระจกตา mixed conjunctival injection มีลักษณะของ diffuse conjunctival injection ร่วมกับ ciliary conjunctival injection คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 21 ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠเยื่อตาอักเสบ คือ การอักเสบของเยื่อตาทำให้มีการขยายตัวของหลอดเลือดเยื่อตาจึงบวมและสีแดงมากกว่าปกติ สาเหตุของเยื่อตาอักเสบ 1. เชื้อไวรัส 2. เชื้อแบคทีเรีย 3. ภูมิแพ้ 4. สารเคมี เยื่อตาอักเสบแบบทันทีทันใด (เกิดอาการอย่างรวดเร็วภายใน 12 ชม.) Gonococcal conjunctivitis เกิดจากเชื้อ Neisseria gonorrhoea ซึ่งเป็น aerobic gram negative diplococcus เป็นการติดเชื้อที่มีความรุนแรง หากไม่รักษาอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อที่กระจกตา ทำให้เกิดการทะลุและตาบอดได้ อาการและอาการแสดง มักเกิดทันทีหรือ ภายใน 2-3 วัน จนถึง 7 วัน หลังคลอด ตาบวมแดงสองข้าง มีหนองมาก เลือดออกใต้เยื่อตา พบ pseudomembrane และต่อมน้ำเหลืองหน้าหูโต ในรายที่รุนแรงอาจจะพบกระจกตาอักเสบ (keratitis), แผลที่กระจกตา กระจกตาทะลุ Newborns.stamford.edu
  • 22. ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ Ø áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢§Ô) การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ขูดเยื่อตา (conjunctival scraping) ส่งย้อมเชื้อ (Gram’s stain, Giemsa’s stain) ซึ่งจะพบ polymorphonuclear neutrophils, gram negative diplococcus และเพาะเชื้อใน chocolate, blood, thayer-martin media การรักษาพยาบาล เช็ดทำความสะอาดด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุก หรือ 0.9% NSS ส่งพบจักษุแพทย์ทันที กรณีติดเชื้อรุนแรงอาจตาบอดได้ 1. เยื่อตาอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัส * เป็นการติดเชื้อฉับพลัน ระยะฟักตัว 2-4 วัน * ติดต่อได้ง่ายโดยการสัมผัสจากมือสู่ตา อาการและอาการแสดง - ตาแดง น้ำตาไหล เคืองตา - เป็นในตาหนึ่งข้างและลามมาตาอีกข้างใน 3-7 วัน - หนังตาอาจบวม ต่อมน้ำเหลืองหน้าใบหูโต - อาจลามเข้ากระจกตาทำให้ตามัวลง สู้แสงไม่ได้ในช่วงสัปดาห์ที่ 2-3 การรักษา รักษาตามอาการ จะหายเองภายใน 10-12 วัน ประคบเย็นโดยใช้ผ้าแห้งสะอาดห่อถุงใส่น้ำแข็งวางบนตาที่ปิดสนิท อาจจะให้น้ำตาเทียม หรือ vasoconstrictors/antihistamines ในกรณีที่มีตาแห้งหรือคันตา ยาหยอดตากลุ่ม สเตียรอยด์ จะไม่ใช้ในระยะแรก ยกเว้นรายที่มีอาการรุนแรงมากมีการ มองเห็นลดลง แนะนำผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการสัมผัสตา ใกล้ชิด หรือ ใช้ของร่วมกับผู้อื่น ควรหยุดเรียน หรือ ว่ายน้ำ จนกว่าตาจะหายแดง 22 คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμÓºÅ
  • 23. ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ Ø áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢Ô§) คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 23 ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠการป้องกัน - แยกผู้ป่วยห่างจากผู้อื่นในระยะแพร่กระจายเชื้อ (7-14 วัน) - ผู้ป่วยและผู้ใกล้ชิดล้างมือบ่อยๆ แยกของใช้ส่วนตัวกับผู้ป่วย - บุคลากรทางการแพทย์ล้างมือและทำความสะอาดเครื่องมือทุกครั้งหลังตรวจผู้ป่วย - อธิบายการดำเนินของโรคให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจ 2. เยื่อตาอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย เป็นตาแดงที่หายได้เอง ถ้าไม่รักษาอาจจะหายภายใน 10-14 วัน แต่ถ้ารักษาจะหายภายใน 1-3 วัน ยกเว้น staphylococcal conjunctivitis การอักเสบอาจจะพบได้มากบริเวณหัวหรือหางตาเรียกเป็น angular conjunctivitis โดยทั่วไปมักจะเป็น 2 ตา อาการและอาการแสดง เปลือกตาบวม มีคราบขี้ตา ขี้ตาเป็นหนองทำให้ เปิดตาลำบากในตอนเช้า เยื่อตาบวม, papillae เลือด ออกใต้เยื่อตา อาการและอาการแสดง - แสบร้อนในตา ขี้ตาเป็นมูก ตาแดง สู้แสงไม่ได้ - ขอบเปลือกตาแดง - เยื่อตาบวม พบ fine papillae บริเวณ lower tarsus - กระจกตาอาจจะพบ superficial peripheral keratitis ภาพจาก : www.varga.org การรักษา เช็ดทำความสะอาดเปลือกตาเอาขี้ตาออกไปโดยใช้สำลีชุบน้ำอุ่น ในกรณีที่ความรุนแรงไม่มากอาจ จะใช้เพียงวิธีนี้อย่างเดียวก็หายเองได้ภายใน 3-5 วัน ยาปฏิชีวนะหยอดตา ความถี่ของการใช้ขึ้นกับความรุนแรงและเชื้อ ควรแนะนำเรื่องการป้องกันการกระจายของเชื้อ 3. เยื่อตาอักเสบจากภูมิแพ้ Atopic keratoconjunctivitis ผู้ป่วยอาจจะมีประวัติของ atopic dermatitis ประวัติการแพ้อื่นๆ www.medscape.org
  • 24. ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ Ø áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢§Ô) Vernal keratoconjunctivitis (Spring catarrh, warm weather conjunctivitis) เป็นลักษณะของภูมิแพ้ เรื้อรังเป็นๆ หายๆ เป็น 2 ตา หายเองได้ มักพบในเด็กผู้ชาย อายุน้อยกว่า 10 ปี พบเมื่ออยู่ในอากาศร้อนมากกว่าอากาศ เย็น อาการและอาการแสดง คันตามาก น้ำตาไหล สู้แสงไม่ได้ ปวดแสบปวดร้อน รู้สึกเหมือน มีเศษผงในตา ขี้ตาเป็นมูกข้น เยื่อตาบวม, diffuse giant papillae (cobblestones) ที่เปลือกตาบน จุดขาวที่ด้านข้างกระจกตา เรียก Trantas’ dot ตรวจกระจกตาพบลักษณะของ punctate epithelial keratitis, micropannus, epithelial macroerosion plaque, subepithelial scar, superficial corneal (shield) ulcer การรักษา ประคบเย็น การป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นมีความสำคัญโดยการหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่แพ้ ยาหยอดตาสเตียรอยด์ สำคัญมากในการรักษา อาจจะต้องให้ทุก 2 ชั่วโมงใน 2-3 วันแรก เพื่อให้ อาการลดลงเร็วแล้วค่อยลดยาลง ต้องระวังผลแทรกซ้อนหากใช้เป็นเวลานานโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้อหิน ยากลุ่ม mast cell stabilizers เช่น 2% sodium cromoglycate หยอดตาเป็นการป้องกัน ในรายที่เป็นน้อยอาจจะใช้ยานี้เพียงตัวเดียวก็ได้ ในกรณีรุนแรงให้ 5% acetylcystaeine, ยาหยอดตา cyclosporine A, debridement, lamellar keratectomy หรือ supratarsal injection of steroid 24 คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠIsoptik.com การรักษา กำจัดสิ่งที่แพ้ ประคบเย็นจะช่วยลดอาการคัน ยาหยอดตา เช่น vasoconstrictor/antihistamine, สเตียรอยด์อย่างอ่อน รับประทาน antihistamine
  • 25. ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ Ø áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢Ô§) maketownoptical.com.au คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 25 ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠต้อหิน เป็นความผิดปกติของเส้นประสาทตา โดยมีลักษณะขั้วประสาทตาฝ่อและมีการสูญเสียลานสายตา ร่วมด้วย ชนิดของต้อหินที่พบบ่อย 1. ต้อหินมุมปิด 2. ต้อหินมุมเปิด 3. ต้อหินความดันตาปกติ 4. ต้อหินแต่กำเนิด อาการและอาการแสดง - ปวดตาและปวดศีรษะ (อาการมากในต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน) - ตามัว เห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ - ความดันลูกตาสูง - ม่านตาตอบสนองต่อแสงลดลง รูม่านตาไม่กลมเหมือนปกติในคนไข้ที่ม่านตายึดติดกับถุงหุ้มแก้วตา ปัจจัยเสี่ยงของโรคต้อหิน - ความดันลูกตา - พันธุกรรม - โรคทางระบบหลอดเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงประสาทตาลดลง - อายุมาก โอกาสเป็นต้อหินสูง - โรคทางกาย เช่นการหยุดหายใจขณะนอนหลับ - อุบัติเหตุทางตา - ยาบางชนิด - โรคทางตาบางชนิด เช่น ต้อกระจก การวัดความดันลูกตา * Identation tonometry วัดด้วย schiotz tonometer * Applanation tonometry * Non-contact tonometry วัดโดยไม่มีการสัมผัสลูกตา ใช้แรงลมพุ่งไปที่กระจกตา * ต้อหินมุมปิดชนิดฉับพลันเป็นภาวะเร่งด่วนทางตาโรคหนึ่ง * การรักษาที่ช้าไปอาจทำให้ผู้ป่วยตาบอด
  • 26. ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ Ø áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢§Ô) การป้องกัน การรักษา * รักษาโดยการใช้ยา * รักษาโดยการยิงแสงเลเซอร์ * รักษาโดยการผ่าตัด * ตรวจตาสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง * ออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ * ควบคุม รักษา โรคประจำตัวทางร่างกายและทางตา * ป้องกันดวงตาจากอุบัติเหตุ เช่น ใส่แว่นป้องกันขณะทำงาน สวมหมวกนิรภัยที่ปกป้องดวงตาได้ใน ขณะขับขี่จักรยานยนต์ ม่านตาอักเสบ (Uveitis) คือ การอักเสบของ Uvea ซึ่งประกอบด้วยม่านตา (Iris) ซิรีอาลีบอดี (Ciliary body) คอรอยด์ (Choroid) Anterior uveitis คือ การอักเสบของม่านตา และ/หรือ มีการอักเสบของ Ciliary body ร่วมด้วย สาเหตุของการเกิดโรค Δ การติดเชื้อ เช่น ซิฟิลิส วัณโรค ไวรัส เชื้อรา พยาธิ Δ การอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น ปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันร่างกายผิดปกติ สิ่งแปลกปลอม ในร่างกาย Δ ไม่ทราบสาเหตุ 26 คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠอาการและอาการแสดง * ปวดตา ตามัว กลัวแสง * น้ำตาไหล * ตาแดงรอบกระจกตา (Ciliary injection) เซลตกตระกอน ที่ช่องหน้าม่านตาหรือเกาะที่ กระจกตา * รูม่านตาผิดรูป อาการต่อไปนี้ให้คิดถึงโรคต้อหินมุมปิดฉับพลัน ตามัวฉับพลัน ปวดตามาก ตรวจพบตาแดงรอบกระจกตา ความดันลูกตาสูง ส่งพบจักษุแพทย์ทันที
  • 27. ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ Ø áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢Ô§) “เมื่อพบคนไข้แผลที่กระจกตา ควรส่งพบจักษุแพทย์ทันที เพื่อตรวจ หาเชื้อ โดยการขูดกระจกตาสง่เพาะเชื้อ” คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น 27 ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠแผลกระจกตา (Corneal ulcer) สาเหตุ มีบาดแผล หรือแผลติดเชื้อจากสาเหตุต่างๆ เช่น ใบไม้ ใบหญ้า วัสดุ สิ่งสกปรกต่างๆ เข้าตา การใช้ เลนส์สัมผัส อุบัติเหตุ โรคของกระจกตา อาจจะเกิดจาก เชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา พยาธิ หรือเกิดจากสารเคมี ก็ได้ที่นี้ เชื้อส่วนใหญ่จะทำให้เกิดแผลที่กระจกตาจะต้องมีการสูญเสียของชั้น epithelium แต่มีเชื้อโรคบางชนิด ที่ผ่าน epithelium ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการหลุดลอกของชั้น epithelium เช่นเชื้อ Neisseria gonorrhoeae, Corynebacterium diphtheriae, Listeria spp., Haemophilus spp. อาการและอาการแสดง ปวดตา น้ำตาไหล สู้แสงไม่ได้ ขี้ตาเป็นหนอง สายตาแย่ลง เปลือกตาบวม เยื่อตาแดงรอบกระจกตา (ciliary injection), บวม ส่วนใหญ่พบ papillae ที่เยื่อบุเปลือกตามากกว่า follicles กระจกตาพบมีแผลที่ชั้น epithelium, มี infiltrate ในชั้น stroma อาจจะเป็นสีเทาขาว และ มีเนื้อตายติดอยู่ กระจกตาบวมในตำแหน่งของแผล ช่องหน้าลูกตามีเซลล์และโปรตีน ถ้ามากอาจเห็นเป็นหนอง (hypopyon) การตรวจเพิ่ม ขูดขอบแผลส่งย้อม Gram stain, Giemsa stain, KOH,ส่งเพาะเชื้อ Corneal biopsy โดยจักษุแพทย์ในกรณีที่มีปัญหาในการวินิจฉัย การรักษา บรรเทาอาการปวดตาและกลัวแสง โดยการใช้ยาขยายม่านตา ควบคุมการอักเสบโดยยาสเตียรอยด์และNSAIDs รักษาสาเหตุ เช่น ยาฆ่าเชื้อไวรัส ยาต้านวัณโรค สำหรับแพทย์ทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน ควรส่งตัวผู้ป่วยทุกคนที่มา ด้วยอาการตาแดงรอบกระจกตา (Cliary injection) ซึ่งเป็นตาแดงที่มีความเสี่ยงสูง(High risk red eye) พบจักษุแพทย์
  • 28. ÊӹѡºÃÔËÒáÒÃÊÒ¸ÒóÊØ¢ Ø áÅÐâç¾ÂÒºÒÅàÁμμÒ»ÃЪÒÃѡɏ (ÇÑ´äË¢§Ô) การรักษา เริ่มรักษาด้วยยาปฏิชีวนะหยอดตา ซึ่งส่วนใหญ่จะให้ครอบคลุมเชื้อหลายชนิด (combined broad-spectrum 1 ชั่วโมงก่อนและเมื่อได้ผลค่อยลดลง ห้ามใช้สเตียรอยด์ Cycloplegics หยอดตาเช่น atropine วันละ 2 ครั้ง เพื่อ ลดอาการปวดจาก ciliary spasm และ ป้องกันการเกิด posterior synechiae การป้องกัน - รักษาโรคของผิวตาที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น ตาแห้ง หลับตาไม่สนิท ขนตาเก - แนะนำการใช้เลนส์สัมผัสอย่างถูกวิธี - สวมแว่นป้องกันขณะทำงานหรือเล่นกีฬา - สวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่จักรยานยนต์ - ควบคุมโรคประจำตัว เช่น ขาดสารอาหาร เบาหวาน - ให้ยาปฏิชีวนะหยอดในผู้ป่วยที่มีรอยถลอกของกระจกตา จากการได้รับบาดเจ็บ ส่งพบจักษุแพทย์ ทันทีในกรณี ที่รอยถลอกกลายเป็นแผลที่กระจกตา ต้อเนื้อ antibiotic) ให้ถี่มากน้อยขึ้นกับความรุนแรงของแผลโดยทั่วไปจะเริ่มให้หยอดทุก เกิดจากความเสื่อมของเยื่อตา ตรวจพบเส้นเลือดและเยื่อตาหนาตัวขึ้นเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือปีกนก คลุมกระจกตา ไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่นอน พบมากในประเทศแถบศูนย์สูตร อาการ แสบ เคืองตา ไม่มีอาการรุนแรงหรืออันตราย 28 คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น ÊÓËÃѺ¾ÂÒºÒÅã¹âç¾ÂÒºÒŪØÁª¹áÅÐâç¾ÂÒºÒÅÊ‹§àÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾μμӺŠภาวะแทรกซ้อน * ตาแห้งจากการกระจายตัวของน้ำตา ผิดปกติ * บบังตา ทำ ให้การมองเห็นลดลง และ มีภาวะสา ยตาเอียง การรักษา * ให้น้ำตาเทียม ในผู้ป่วยที่มีอาการตาแห้ง * ยาแอนตี้ฮีสตามีนชนิดหยอดเช่น Hista-oph ED หากมีอาการตาแดง คัน เคืองตามาก * ส่งพบจักษุแพทย์กรณีอาการไม่ดีขึ้นหลังได้ยาหยอด หรือผู้ป่วยต้องการผ่าตัด