SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  5
Télécharger pour lire hors ligne
Executive Journal 99 
บทคัดย่อ 
การสื่อสารข้อมูลของมนุษย์ ได้รับการพัฒนามาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน โดยเริ่มจากการสื่อสารข้อมูลอย่างง่ายที่ไม่มี 
ความสลับซับซ้อน จนถึงยุคสมัยที่มีเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องที่สlำคัญ ในการเป็นตัวนlำพาข้อมูลให้มีการสื่อสารถึงกันอย่างรวดเร็ว 
และมีประสิทธิภาพ 
สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เป็นรูปแบบการสื่อสารข้อมูลที่เข้าถึงผู้คนทุกระดับในปัจจุบัน โดยมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย 
ภายใต้การพัฒนาตลอดเวลาของเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีแนวโน้มจะกลายเป็นสื่อหลักสlำหรับผู้คนในโลกอนาคต 
Abstract 
Human communication has been developed from the ancient past to the present by starting from a simple data 
communication without the complexity to an age where technology is strongly involved. 
Social media is a form of communication to reach people at all levels today and widely used under development 
of computer technology. Social media is also likely to become a primary media for people in the future. 
บทนËำ 
การสื่อสารข้อมูลของมนุษย์ ประกอบไปด้วย ผู้ส่งสาร ข้อมูล และผู้รับสาร ซึ่งไม่ว่าจะสื่อสารด้วยวิธีใด สิ่งที่ต้องการ คือ การที่ 
ผู้รับสารได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และทันเวลา 
ในปัจจุบัน สังคมมีความซับซ้อนมากขึ้น รวมทั้งผู้คนมีการใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ การสื่อสารข้อมูลด้วยรูปแบบเก่าๆ อาจไม่สามารถ 
รองรับความต้องการการสื่อสารข้อมูลของมนุษย์ได้ 
สื่อสังคมออนไลน์ เป็นหนึ่งในทางเลือกของการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบที่มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง ที่มีรูปแบบการ 
สื่อสารข้อมูลที่หลากหลาย เหมาะสlำหรับผู้คนในโลกปัจจุบัน และโลกอนาคต 
สื่อสังคมออนไลน์ คือ อะไร 
มนุษย์เป็นสังคมที่ต้องมีการสื่อสารข้อมูลถึงกันและกัน ซึ่งในสมัยโบราณมนุษย์สื่อสารข้อมูลด้วยวิธีการที่ไม่ซับซ้อนนัก เช่น ปาก 
เปล่า ม้าเร็ว และนกพิราบสื่อสาร ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนการสื่อสารข้อมูลเป็นจดหมาย โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุ จากนั้น เมื่อเข้าสู่ยุค 
ที่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเข้ามาเกี่ยวข้อง การสื่อสารข้อมูลของมนุษย์มีการปรับเปลี่ยนเป็นสื่อที่เกี่ยวข้องกับ 
อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เช่น บริการ IRC (Internet Relay Chat) โปรแกรมพูดคุย (Chat programs) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic 
mail หรือ Email) และเว็บบอร์ด (Webboard) จวบจนถึงปัจจุบัน มนุษย์เริ่มมีการสื่อสารข้อมูลในชีวิตประจlำวันถึงกันและกันด้วยการ 
ใช้ สื่อสังคมออนไลน์ 
สื่อสังคมออนไลน์ คือ สื่อที่ผู้ส่งสารแบ่งปันสาร ซึ่งอยู่ในรูปแบบต่างๆ ไปยังผู้รับสารผ่านเครือข่ายออนไลน์ โดยสามารถโต้ตอบ 
กันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร หรือผู้รับสารด้วยกันเอง ซึ่งสามารถแบ่งสื่อสังคมออนไลน์ออกเป็นประเภทต่างๆ ที่ใช้กันบ่อยๆ คือ 
บล็อก (Blogging) ทวิตเตอร์และไมโครบล็อก (Twitter and Microblogging) เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Networking) และการ 
แบ่งปันสื่อทางออนไลน์ (Media Sharing) 
สื่อสังคมออนไลน์: สื่อแห่งอนาคต 
Social Media: Future Media 
พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์ 
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
100 Executive Journal 
ภาพที่ 1 ภาพรวมของสื่อสังคมออนไลน์ที่แบ่งเป็นประเภทต่างๆ 
และเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเภท 
ที่มา: http://www.flickr.com/photos/fredcavazza/ 
2564571564/ 
1. บล็อก (Blogging) 
บล็อกมาจาก Web + Log แล้วย่อเหลือ Blog คือ ประเภท 
ของระบบการจัดการเนื้อหา ที่อlำนวยความสะดวกให้ผู้เขียน 
บล็อกเผยแพร่และแบ่งปันบทความของตนเอง โดยบทความที่ 
โพสต์ลงบล็อก เป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน 
บล็อก ซึ่งจุดเด่นของบล็อก คือ การสื่อสารถึงกันอย่างเป็นกันเอง 
ระหว่างผู้เขียนและผู้อ่านบล็อกผ่าน การแสดงความคิดเห็น 
(Comment) ซึ่ง Blogger (http://www.blogger.com) และ 
WordPress (http://wordpress.com) เป็นสองเว็บไซต์ที่ผู้คนนิยม 
เข้าไปสร้างบล็อกของตนเอง 
2. ทวิตเตอร์และไมโครบล็อก (Twitter and Microblogging) 
ไมโครบล็อก คือ รูปแบบหนึ่งของบล็อกที่มีการจlำกัด 
ขนาดของการโพสต์ในแต่ละครั้ง ซึ่งทวิตเตอร์เป็นไมโครบล็อกที่ 
จlำกัดการโพสต์แต่ละครั้งพิมพ์ได้ไม่เกิน 140 ตัวอักษร ในปัจจุบัน 
ทวติเตอร์เป็นทนี่ยิมใช้งานของผ้คูน เพราะใช้งานง่าย และใช้เวลา 
ไม่มากนัก รวมทั้งเป็นที่นิยมขององค์กรต่างๆ ที่ใช้ทวิตเตอร์ใน 
การแจ้งกิจกรรมต่างๆ และความเคลื่อนไหวของธุรกิจ เพื่อไม่ให้ 
ขาดการติดต่อกับสังคม ซึ่งหากต้องการมี เลขที่บัญชี (Account) 
สlำหรับทวิตเตอร์สามารถเข้าไปสมัครได้ที่เว็บไซต์ของ Twitter 
(http://twitter.com) 
3. เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Networking) 
เครอืข่ายสงัคมออนไลน์ คอื เวบ็ไซต์ทผี่้คูนสามารถตดิต่อ 
สื่อสารกับเพื่อนทั้งที่รู้จักมาก่อน หรือรู้จักภายหลังทางออนไลน์ 
ซึ่งเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์แต่ละแห่ง มีคุณลักษณะแตก 
ต่างกันออกไป แต่ส่วนประกอบหลักที่มีเหมือนกัน คือ โปรไฟล์ 
(Profiles - เพื่อแสดงข้อมูลส่วนตัวของเจ้าของบัญชี) การเชื่อมต่อ 
(Connecting - เพื่อสร้างเพื่อนกับคนที่รู้จักและไม่รู้จักทาง 
ออนไลน์) และการส่งข้อความ (Messaging - อาจเป็นข้อความ 
ส่วนตัว หรือข้อความสาธารณะ) เป็นต้น โดยมี Facebook 
(http://www.facebook.com) เป็นเว็บไซต์เครือข่ายสังคม 
ออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน 
4. การแบ่งปันสื่อทางออนไลน์ (Media Sharing) 
เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการแบ่งเป็นสื่อทางออนไลน์ เป็น 
เว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้สามารถทlำการอัพโหลด (Upload) ไฟล์สื่อผสม 
(Multimedia) ขึ้นสู่เว็บไซต์ เพื่อแบ่งปันข้อมูลแก่ผู้ใช้ทั่วไป ซึ่งใน 
ปัจจุบันได้รับความนิยมมาก เพราะด้วยความที่เป็นสื่อผสมเอง ไม่ 
ว่าจะเป็น รูป สไลด์ หรือวิดีโอ รวมทั้งการใช้งานง่ายขึ้นของกล้อง 
ดิจิตอล และกล้องวิดีโอ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นlำมาสู่การได้ไฟล์สื่อ 
ผสมแบบต่างๆ ออกมา เว็บไซต์ประเภทนี้ที่ได้รับความนิยม คือ 
YouTube ( http://www.youtube.com - สlำหรับแบ่งปันไฟล์ 
วีดีโอ) flickr ( http://www.flickr.com - สlำหรับแบ่งปันไฟล์รูป) 
และ slideshare ( http://www.slideshare.net - สlำหรับแบ่งปัน 
ไฟล์พรีเซนเตชั่น) 
สื่อสังคมออนไลน์กับคนดัง 
Hi5, Youtube, Facebook, Twitter และสื่อสังคมออนไลน์ 
อื่นๆ ในเริ่มแรกผู้คนใช้สื่อเหล่านี้เป็นงานอดิเรก เพื่อเล่นเกมส์ 
พูดคุย แลกเปลี่ยนความเห็น และกิจกรรมส่วนตัวอื่นๆ เพื่อ 
สื่อสารข้อมูลถึงกันและกัน ต่อมาการใช้สื่อสังคมออนไลน์กว้าง 
ขวางมากขึ้น นอกจากการใช้ที่เป็นงานอดิเรกแล้ว ยังใช้เพื่อเข้าถึง 
กลุ่มคนในวงกว้าง เพื่อจุดประสงค์อื่นที่ไม่ใช่งานอดิเรก 
ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา กระแสการใช้สื่อสังคม 
ออนไลน์เพิ่มมากขึ้น หลังจากที่นายบารัค โอบาม่า ได้ใช้สื่อสังคม 
ออนไลน์หลากหลายประเภท เช่น Twitter, Myspace, Youtube 
และ Facebook ในการหาเสียงเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็น 
ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผลทlำให้ข้อมูลที่ นายบารัค 
โอบาม่า ต้องการสอื่สามารถเข้าถงึกล่มุเป้าหมายได้แทบทกุระดบั 
และมีส่วนสlำคัญที่ช่วยให้ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีใน 
เวลาต่อมา
Executive Journal 101 
ภาพที่ 2 สื่อสังคมออนไลน์บางส่วนที่นายบารัค โอบาม่า ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบัน ใช้อยู่ 
ที่มา: http://twitter.com/BARACKOBAMA, http://www.facebook.com/barackobama, http://www.myspace.com/ 
barackobama, http://www.youtube.com/user/barackobamadotcom?blend=1&ob=4 
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ด้วยเช่นกัน ซึ่งใช้เป็นช่องทางที่สlำคัญช่องทางหนึ่งในการสื่อข้อมูลสู่ประชาชน 
ในวงกว้าง 
ภาพที่ 3 สื่อสังคมออนไลน์บางส่วนที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีใช้อยู่ 
ที่มา: http://www.facebook.com/Abhisit.M.Vejjajiva, http://twitter.com/pm_abhisit, http://abhisitvejjajiva.hi5.com/friend/ 
p167931176--Abhisit_Vejjajiva--html
102 Executive Journal 
แม้แต่ในการดlำเนินธุรกิจครอบครัวอย่าง ร้านก๋วยเตี๋ยว 
เจ๊กเม้ง แห่งเมืองเพชรบุรี ได้มีแนวคิดการประยุกต์ใช้สื่อสังคม 
ออนไลน์ กับธุรกิจไม่ว่าจะเป็น Facebook, Hi5 และ Twitter ผนวก 
กับการใช้สื่อออนไลน์รูปแบบอื่น เช่น เอ็มเอสเอ็น (MSN) แบล็ค 
เบอร์รี่ (Blackberry) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email) เว็บไซต์ 
(Website) และ รหัสคิวอาร์ (QR Code) ส่งผลให้ร้านก๋วยเตี๋ยว 
จากเดิม ยอดขายวันละไม่กี่พันบาท ได้เพิ่มเป็นหลายหมื่นบาทต่อ 
วัน ภายในเวลาไม่ถึง 2 ปี 
ภาพที่ 5 การประยุกต์ใช้ สื่อสังคมออนไลน์ ในธุรกิจครอบครัวร้าน 
ก๋วยเตี๋ยว 
ที่มา: http://www.pawoot.com/article/search-engine-marketing/ 
553 
สื่อสังคมออนไลน์ กับ ความรับผิดชอบต่อสังคม 
การใช้สื่อสังคมออนไลน์ สามารถเข้าถึงกลุ่มคนที่รู้จัก 
และไม่รู้จัก เข้าถึงองค์กร และกลุ่มคนที่มีความชอบในเรื่อง 
เดียวกัน 
สื่อสังคมออนไลน์กับธุรกิจ 
ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน การสื่อสารข้อมูลเพื่อเข้า 
ถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ได้มีการลงทุนในสื่อที่เป็น 
โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และนิตยสาร ซึ่งเป็นการสื่อสารข้อมูล 
แบบทางเดียว รวมทั้งธุรกิจต้องลงทุนมากขึ้น หากต้องการขยาย 
ขนาดการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย 
ในปัจจุบันการบริโภคข้อมูลจากสื่อของผู้คนได้เปลี่ยนไป 
โดยส่วนใหญ่มีแนวโน้มใช้สื่อทางออนไลน์มากขึ้น เป็นต้นว่า หาก 
ต้องการซื้อสินค้าสักหนึ่งชิ้น ผู้บริโภคอาจไม่เริ่มต้นหาข้อมูล 
โฆษณาจากหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร แต่หันไปหาข้อมูลที่ 
ต้องการในสื่อออนไลน์แทน เพราะนอกจากจะได้ข้อมูลสินค้าแล้ว 
ยังได้ทราบความคิดเห็นที่หลากหลายเกี่ยวกับตัวสินค้าจากกลุ่ม 
คนต่างๆ 
ไอบีเอ็ม (IBM) บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกด้านคอมพิวเตอร์ 
ยังให้ความสlำคัญต่อการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ด้วยการให้พนักงาน 
ในบริษัทเขียนบล็อกของตัวเอง เพื่อเล่าถึงประสบการณ์งานที่ 
กlำลังทlำ และเรื่องราวที่ต้องการแบ่งปัน ซึ่งได้รับความสนใจจาก 
ผู้คนอย่างกว้างขวาง และมีส่วนสlำคัญในการเชื่อมโยงเข้าสู่กลุ่ม 
ลูกค้าของบริษัท โดยยังไม่รวมถึงการพูดคุยผ่านทวิตเตอร์ การสื่อ 
ไฟล์วีดีโอผ่านยูทูบ การแสดงไฟล์พรีเซนเตชั่นผ่านสไลด์แชร์ และ 
อื่นๆ 
นอกจากนี้ธุรกิจขนาดเล็กได้ให้ความสนใจในสื่อสังคม 
ออนไลน์เช่นกัน เช่น เบลนด์เทค (Blendtec) บริษัทผู้ผลิตเครื่อง 
ปั่น ได้ออกซีรีส์ที่เป็นคลิปวีดีโอในชื่อ “Will It Blend?” ลงใน ยูทูบ 
โดยทlำการปั่นวัตถุต่างๆ เช่น รีโมทโทรทัศน์ ลูกกอล์ฟ บัตร 
เครดิต ไอโฟน (iPhone) และไอแพด (iPad) เป็นต้น แม้มีการ 
ลงทุนที่ตl่ำ แต่มีผลให้ยอดขายขยายเพิ่มขึ้นห้าเท่าตัว 
ภาพที่ 4 หนึ่งในวีดีโอซีรีส์ “Wil l It Blend?” ที่ลงในยูทูบของ 
เบลนด์เทค (Blendtec) 
ที่มา: http://www.youtube.com/watch?v=qg1ckCkm8YI
Executive Journal 103 
บทสรุป 
ในปัจจุบัน ผู้คนเริ่มหันมาใช้สื่อสังคมออนไลน์แทนสื่อ 
แบบเดิมๆ กันมากขึ้น ในการสื่อสารข้อมูลถึงกัน ซึ่งในช่วงเริ่ม 
แรก การใช้สื่อสังคมออนไลน์ มักใช้ในลักษณะของงานอดิเรก 
สื่อสารกนัระหว่างตนเองกบัคนร้จูกัใกล้ตวั จากนนั้ ได้มกีารขยาย 
การประยุกต์ใช้สู่ภาคธุรกิจ ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้คนอย่าง 
กว้างขวาง 
สาเหตุสlำคัญที่ทlำให้ สื่อสังคมออนไลน์ ได้รับความนิยม 
ขึ้นเรื่อยๆ มาจาก การใช้งานที่ง่าย เข้าถึงกลุ่มคนได้รวดเร็ว มี 
การแสดงความคิดเห็นไปมา และสื่อที่นlำมาแบ่งปันมีลักษณะ 
หลากหลาย รวมทั้งการพัฒนาตลอดเวลาของเทคโนโลยีการ 
สื่อสารและอินเทอร์เน็ต ทlำให้มีแนวโน้มค่อนข้างชัดเจนว่า สื่อ 
สังคมออนไลน์ จะเป็นสื่อหลักของผู้คนในโลกอนาคตอย่าง 
แท้จริง 
บรรณานุกรม 
กิฐิกรณ์ ยุติการ. (ม.ป.ป.). วิวัฒนาการของการสื่อสาร. 
สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2553, จาก http://std.kku. 
ac.th/4630801725/Technology Internet/e-mail.doc 
ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ. (2553, 9 พฤษภาคม). การตลาดออนไลน์ 
กับร้านก๋วยเตี๋ยว...ไม่น่าเชื่อ ! แต่ก็เป็นไปได้. สืบค้น 
เมื่อ 5 ธันวาคม 2553, จาก http://www.pawoot. 
com/article/search-engine-marketing/553 
สมาคมการบริหารโรงแรมไทย. (ม.ป.ป.).ผลวิจัยชี้ Social 
Media มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคมากขึ้น. สืบค้นเมื่อ 5 
ธันวาคม 2553, จาก http://www.thma.or.th/index. 
php?lay=Show&ac=article&Id=538859265 
แอทตุ๊กโกะ. (2552, 29 มีนาคม). Social Media มันคือ 
อะไร? สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2553, จาก http://www. 
marketingoops.com/digital/social-media/what-is-social- 
media 
ไออ้วนดอทคอม. (2553, 5 ตุลาคม). ประเภทของ Social 
Media [1]. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2553, จาก http:// 
newssocialmedia.blogspot.com/2010/10/social-media_ 
05.html 
Zarrella, D. (2010). The Social Media Marketing Book. 
Canada: O’Reilly Media

Contenu connexe

Tendances

02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้องSirintip Kongchanta
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง1
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง102 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง1
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง1Thanggwa Taemin
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ ครูสมร
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ ครูสมรแบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ ครูสมร
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ ครูสมรM'suKanya MinHyuk
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้องTanyarad Chansawang
 
บทที่2
บทที่2บทที่2
บทที่2dargonbail
 
บทที่%202[1]
บทที่%202[1]บทที่%202[1]
บทที่%202[1]teeraratWI
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2She's Ning
 
01 บทที่ 1-บทนำ
01 บทที่ 1-บทนำ01 บทที่ 1-บทนำ
01 บทที่ 1-บทนำAnutra Rit-in
 
01 บทที่ 1-บทนำ
01 บทที่ 1-บทนำ01 บทที่ 1-บทนำ
01 บทที่ 1-บทนำApitsara Kaewkerd
 

Tendances (15)

02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
2
22
2
 
แบบร่างเค้าโครงงาน
แบบร่างเค้าโครงงานแบบร่างเค้าโครงงาน
แบบร่างเค้าโครงงาน
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง1
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง102 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง1
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง1
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ ครูสมร
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ ครูสมรแบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ ครูสมร
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ ครูสมร
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
แบบร่างเค้าโครงงาน
แบบร่างเค้าโครงงานแบบร่างเค้าโครงงาน
แบบร่างเค้าโครงงาน
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
บทที่2
บทที่2บทที่2
บทที่2
 
บทที่%202[1]
บทที่%202[1]บทที่%202[1]
บทที่%202[1]
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
01 บทที่ 1-บทนำ
01 บทที่ 1-บทนำ01 บทที่ 1-บทนำ
01 บทที่ 1-บทนำ
 
01 บทที่ 1-บทนำ
01 บทที่ 1-บทนำ01 บทที่ 1-บทนำ
01 บทที่ 1-บทนำ
 

En vedette

รัฐธรรมนูญชั่วคราว 57
รัฐธรรมนูญชั่วคราว 57รัฐธรรมนูญชั่วคราว 57
รัฐธรรมนูญชั่วคราว 57Assanee Rattanachai
 
Webinar privacyawarenesswestviewpcn preview
Webinar privacyawarenesswestviewpcn previewWebinar privacyawarenesswestviewpcn preview
Webinar privacyawarenesswestviewpcn preview4WEB
 
Guida street food streatit Vaticano Roma
Guida street food streatit Vaticano RomaGuida street food streatit Vaticano Roma
Guida street food streatit Vaticano RomaBeline Cosal
 
Praktikum organik aldehid keton
Praktikum organik aldehid ketonPraktikum organik aldehid keton
Praktikum organik aldehid ketonDwi Atika Atika
 
NAJČEŠĆE GREŠKE I PREKRŠAJI VOZAČA MOPEDA I MOTOCIKLA
NAJČEŠĆE GREŠKE I PREKRŠAJI VOZAČA MOPEDA I MOTOCIKLANAJČEŠĆE GREŠKE I PREKRŠAJI VOZAČA MOPEDA I MOTOCIKLA
NAJČEŠĆE GREŠKE I PREKRŠAJI VOZAČA MOPEDA I MOTOCIKLAprometna
 
SUVOZAČ I PONAŠANJE SUVOZAČA NA MOPEDU ILI MOTOCIKLU
SUVOZAČ I PONAŠANJE SUVOZAČA NA MOPEDU ILI MOTOCIKLUSUVOZAČ I PONAŠANJE SUVOZAČA NA MOPEDU ILI MOTOCIKLU
SUVOZAČ I PONAŠANJE SUVOZAČA NA MOPEDU ILI MOTOCIKLUprometna
 
Prometna Učilica: Opasnosti kretanja uz tramvajsku prugu
Prometna Učilica: Opasnosti kretanja uz tramvajsku pruguPrometna Učilica: Opasnosti kretanja uz tramvajsku prugu
Prometna Učilica: Opasnosti kretanja uz tramvajsku pruguprometna
 
Prometna Učilica: Javni prijevoz putnika i sredstva javnog prijevoza
Prometna Učilica: Javni  prijevoz putnika i sredstva javnog prijevoza Prometna Učilica: Javni  prijevoz putnika i sredstva javnog prijevoza
Prometna Učilica: Javni prijevoz putnika i sredstva javnog prijevoza prometna
 

En vedette (14)

รัฐธรรมนูญชั่วคราว 57
รัฐธรรมนูญชั่วคราว 57รัฐธรรมนูญชั่วคราว 57
รัฐธรรมนูญชั่วคราว 57
 
2015 NGMA slides
2015 NGMA slides2015 NGMA slides
2015 NGMA slides
 
The top remodelers
The top remodelersThe top remodelers
The top remodelers
 
úJ ének
úJ énekúJ ének
úJ ének
 
Webinar privacyawarenesswestviewpcn preview
Webinar privacyawarenesswestviewpcn previewWebinar privacyawarenesswestviewpcn preview
Webinar privacyawarenesswestviewpcn preview
 
Guida street food streatit Vaticano Roma
Guida street food streatit Vaticano RomaGuida street food streatit Vaticano Roma
Guida street food streatit Vaticano Roma
 
Hongos
HongosHongos
Hongos
 
E1 oral presentation
E1  oral presentationE1  oral presentation
E1 oral presentation
 
Praktikum organik aldehid keton
Praktikum organik aldehid ketonPraktikum organik aldehid keton
Praktikum organik aldehid keton
 
introduction to multimedia
introduction to multimediaintroduction to multimedia
introduction to multimedia
 
NAJČEŠĆE GREŠKE I PREKRŠAJI VOZAČA MOPEDA I MOTOCIKLA
NAJČEŠĆE GREŠKE I PREKRŠAJI VOZAČA MOPEDA I MOTOCIKLANAJČEŠĆE GREŠKE I PREKRŠAJI VOZAČA MOPEDA I MOTOCIKLA
NAJČEŠĆE GREŠKE I PREKRŠAJI VOZAČA MOPEDA I MOTOCIKLA
 
SUVOZAČ I PONAŠANJE SUVOZAČA NA MOPEDU ILI MOTOCIKLU
SUVOZAČ I PONAŠANJE SUVOZAČA NA MOPEDU ILI MOTOCIKLUSUVOZAČ I PONAŠANJE SUVOZAČA NA MOPEDU ILI MOTOCIKLU
SUVOZAČ I PONAŠANJE SUVOZAČA NA MOPEDU ILI MOTOCIKLU
 
Prometna Učilica: Opasnosti kretanja uz tramvajsku prugu
Prometna Učilica: Opasnosti kretanja uz tramvajsku pruguPrometna Učilica: Opasnosti kretanja uz tramvajsku prugu
Prometna Učilica: Opasnosti kretanja uz tramvajsku prugu
 
Prometna Učilica: Javni prijevoz putnika i sredstva javnog prijevoza
Prometna Učilica: Javni  prijevoz putnika i sredstva javnog prijevoza Prometna Učilica: Javni  prijevoz putnika i sredstva javnog prijevoza
Prometna Učilica: Javni prijevoz putnika i sredstva javnog prijevoza
 

Similaire à Aw016

01 บทที่ 1-บทนำ
01 บทที่ 1-บทนำ01 บทที่ 1-บทนำ
01 บทที่ 1-บทนำWilaiporn Seehawong
 
บทที่2
บทที่2บทที่2
บทที่2Tangkwa Tom
 
บทที่1
บทที่1บทที่1
บทที่1Tangkwa Tom
 
บทที่1
บทที่1บทที่1
บทที่1Tangkwa Tom
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้องPoonyapat Wongpong
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้องChi Cha Pui Fai
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้องChi Cha Pui Fai
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้องChi Cha Pui Fai
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้องChi Cha Pui Fai
 
01 บทที่ 1-บทนำ1
01 บทที่ 1-บทนำ101 บทที่ 1-บทนำ1
01 บทที่ 1-บทนำ1M'suKanya MinHyuk
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องTangkwa Tom
 

Similaire à Aw016 (20)

01 บทที่ 1-บทนำ
01 บทที่ 1-บทนำ01 บทที่ 1-บทนำ
01 บทที่ 1-บทนำ
 
บทที่1
บทที่1บทที่1
บทที่1
 
บทที่2
บทที่2บทที่2
บทที่2
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่1
บทที่1บทที่1
บทที่1
 
บทที่1
บทที่1บทที่1
บทที่1
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
0222
02220222
0222
 
01 บทที่ 1-บทนำ1
01 บทที่ 1-บทนำ101 บทที่ 1-บทนำ1
01 บทที่ 1-บทนำ1
 
2 2
2 22 2
2 2
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
บทที่2
บทที่2 บทที่2
บทที่2
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
01 บทที่ 1-บทนำ
01 บทที่ 1-บทนำ01 บทที่ 1-บทนำ
01 บทที่ 1-บทนำ
 

Aw016

  • 1. Executive Journal 99 บทคัดย่อ การสื่อสารข้อมูลของมนุษย์ ได้รับการพัฒนามาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน โดยเริ่มจากการสื่อสารข้อมูลอย่างง่ายที่ไม่มี ความสลับซับซ้อน จนถึงยุคสมัยที่มีเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องที่สlำคัญ ในการเป็นตัวนlำพาข้อมูลให้มีการสื่อสารถึงกันอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เป็นรูปแบบการสื่อสารข้อมูลที่เข้าถึงผู้คนทุกระดับในปัจจุบัน โดยมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย ภายใต้การพัฒนาตลอดเวลาของเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีแนวโน้มจะกลายเป็นสื่อหลักสlำหรับผู้คนในโลกอนาคต Abstract Human communication has been developed from the ancient past to the present by starting from a simple data communication without the complexity to an age where technology is strongly involved. Social media is a form of communication to reach people at all levels today and widely used under development of computer technology. Social media is also likely to become a primary media for people in the future. บทนËำ การสื่อสารข้อมูลของมนุษย์ ประกอบไปด้วย ผู้ส่งสาร ข้อมูล และผู้รับสาร ซึ่งไม่ว่าจะสื่อสารด้วยวิธีใด สิ่งที่ต้องการ คือ การที่ ผู้รับสารได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และทันเวลา ในปัจจุบัน สังคมมีความซับซ้อนมากขึ้น รวมทั้งผู้คนมีการใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ การสื่อสารข้อมูลด้วยรูปแบบเก่าๆ อาจไม่สามารถ รองรับความต้องการการสื่อสารข้อมูลของมนุษย์ได้ สื่อสังคมออนไลน์ เป็นหนึ่งในทางเลือกของการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบที่มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง ที่มีรูปแบบการ สื่อสารข้อมูลที่หลากหลาย เหมาะสlำหรับผู้คนในโลกปัจจุบัน และโลกอนาคต สื่อสังคมออนไลน์ คือ อะไร มนุษย์เป็นสังคมที่ต้องมีการสื่อสารข้อมูลถึงกันและกัน ซึ่งในสมัยโบราณมนุษย์สื่อสารข้อมูลด้วยวิธีการที่ไม่ซับซ้อนนัก เช่น ปาก เปล่า ม้าเร็ว และนกพิราบสื่อสาร ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนการสื่อสารข้อมูลเป็นจดหมาย โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุ จากนั้น เมื่อเข้าสู่ยุค ที่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเข้ามาเกี่ยวข้อง การสื่อสารข้อมูลของมนุษย์มีการปรับเปลี่ยนเป็นสื่อที่เกี่ยวข้องกับ อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เช่น บริการ IRC (Internet Relay Chat) โปรแกรมพูดคุย (Chat programs) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail หรือ Email) และเว็บบอร์ด (Webboard) จวบจนถึงปัจจุบัน มนุษย์เริ่มมีการสื่อสารข้อมูลในชีวิตประจlำวันถึงกันและกันด้วยการ ใช้ สื่อสังคมออนไลน์ สื่อสังคมออนไลน์ คือ สื่อที่ผู้ส่งสารแบ่งปันสาร ซึ่งอยู่ในรูปแบบต่างๆ ไปยังผู้รับสารผ่านเครือข่ายออนไลน์ โดยสามารถโต้ตอบ กันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร หรือผู้รับสารด้วยกันเอง ซึ่งสามารถแบ่งสื่อสังคมออนไลน์ออกเป็นประเภทต่างๆ ที่ใช้กันบ่อยๆ คือ บล็อก (Blogging) ทวิตเตอร์และไมโครบล็อก (Twitter and Microblogging) เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Networking) และการ แบ่งปันสื่อทางออนไลน์ (Media Sharing) สื่อสังคมออนไลน์: สื่อแห่งอนาคต Social Media: Future Media พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • 2. 100 Executive Journal ภาพที่ 1 ภาพรวมของสื่อสังคมออนไลน์ที่แบ่งเป็นประเภทต่างๆ และเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเภท ที่มา: http://www.flickr.com/photos/fredcavazza/ 2564571564/ 1. บล็อก (Blogging) บล็อกมาจาก Web + Log แล้วย่อเหลือ Blog คือ ประเภท ของระบบการจัดการเนื้อหา ที่อlำนวยความสะดวกให้ผู้เขียน บล็อกเผยแพร่และแบ่งปันบทความของตนเอง โดยบทความที่ โพสต์ลงบล็อก เป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน บล็อก ซึ่งจุดเด่นของบล็อก คือ การสื่อสารถึงกันอย่างเป็นกันเอง ระหว่างผู้เขียนและผู้อ่านบล็อกผ่าน การแสดงความคิดเห็น (Comment) ซึ่ง Blogger (http://www.blogger.com) และ WordPress (http://wordpress.com) เป็นสองเว็บไซต์ที่ผู้คนนิยม เข้าไปสร้างบล็อกของตนเอง 2. ทวิตเตอร์และไมโครบล็อก (Twitter and Microblogging) ไมโครบล็อก คือ รูปแบบหนึ่งของบล็อกที่มีการจlำกัด ขนาดของการโพสต์ในแต่ละครั้ง ซึ่งทวิตเตอร์เป็นไมโครบล็อกที่ จlำกัดการโพสต์แต่ละครั้งพิมพ์ได้ไม่เกิน 140 ตัวอักษร ในปัจจุบัน ทวติเตอร์เป็นทนี่ยิมใช้งานของผ้คูน เพราะใช้งานง่าย และใช้เวลา ไม่มากนัก รวมทั้งเป็นที่นิยมขององค์กรต่างๆ ที่ใช้ทวิตเตอร์ใน การแจ้งกิจกรรมต่างๆ และความเคลื่อนไหวของธุรกิจ เพื่อไม่ให้ ขาดการติดต่อกับสังคม ซึ่งหากต้องการมี เลขที่บัญชี (Account) สlำหรับทวิตเตอร์สามารถเข้าไปสมัครได้ที่เว็บไซต์ของ Twitter (http://twitter.com) 3. เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Networking) เครอืข่ายสงัคมออนไลน์ คอื เวบ็ไซต์ทผี่้คูนสามารถตดิต่อ สื่อสารกับเพื่อนทั้งที่รู้จักมาก่อน หรือรู้จักภายหลังทางออนไลน์ ซึ่งเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์แต่ละแห่ง มีคุณลักษณะแตก ต่างกันออกไป แต่ส่วนประกอบหลักที่มีเหมือนกัน คือ โปรไฟล์ (Profiles - เพื่อแสดงข้อมูลส่วนตัวของเจ้าของบัญชี) การเชื่อมต่อ (Connecting - เพื่อสร้างเพื่อนกับคนที่รู้จักและไม่รู้จักทาง ออนไลน์) และการส่งข้อความ (Messaging - อาจเป็นข้อความ ส่วนตัว หรือข้อความสาธารณะ) เป็นต้น โดยมี Facebook (http://www.facebook.com) เป็นเว็บไซต์เครือข่ายสังคม ออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน 4. การแบ่งปันสื่อทางออนไลน์ (Media Sharing) เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการแบ่งเป็นสื่อทางออนไลน์ เป็น เว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้สามารถทlำการอัพโหลด (Upload) ไฟล์สื่อผสม (Multimedia) ขึ้นสู่เว็บไซต์ เพื่อแบ่งปันข้อมูลแก่ผู้ใช้ทั่วไป ซึ่งใน ปัจจุบันได้รับความนิยมมาก เพราะด้วยความที่เป็นสื่อผสมเอง ไม่ ว่าจะเป็น รูป สไลด์ หรือวิดีโอ รวมทั้งการใช้งานง่ายขึ้นของกล้อง ดิจิตอล และกล้องวิดีโอ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นlำมาสู่การได้ไฟล์สื่อ ผสมแบบต่างๆ ออกมา เว็บไซต์ประเภทนี้ที่ได้รับความนิยม คือ YouTube ( http://www.youtube.com - สlำหรับแบ่งปันไฟล์ วีดีโอ) flickr ( http://www.flickr.com - สlำหรับแบ่งปันไฟล์รูป) และ slideshare ( http://www.slideshare.net - สlำหรับแบ่งปัน ไฟล์พรีเซนเตชั่น) สื่อสังคมออนไลน์กับคนดัง Hi5, Youtube, Facebook, Twitter และสื่อสังคมออนไลน์ อื่นๆ ในเริ่มแรกผู้คนใช้สื่อเหล่านี้เป็นงานอดิเรก เพื่อเล่นเกมส์ พูดคุย แลกเปลี่ยนความเห็น และกิจกรรมส่วนตัวอื่นๆ เพื่อ สื่อสารข้อมูลถึงกันและกัน ต่อมาการใช้สื่อสังคมออนไลน์กว้าง ขวางมากขึ้น นอกจากการใช้ที่เป็นงานอดิเรกแล้ว ยังใช้เพื่อเข้าถึง กลุ่มคนในวงกว้าง เพื่อจุดประสงค์อื่นที่ไม่ใช่งานอดิเรก ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา กระแสการใช้สื่อสังคม ออนไลน์เพิ่มมากขึ้น หลังจากที่นายบารัค โอบาม่า ได้ใช้สื่อสังคม ออนไลน์หลากหลายประเภท เช่น Twitter, Myspace, Youtube และ Facebook ในการหาเสียงเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็น ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผลทlำให้ข้อมูลที่ นายบารัค โอบาม่า ต้องการสอื่สามารถเข้าถงึกล่มุเป้าหมายได้แทบทกุระดบั และมีส่วนสlำคัญที่ช่วยให้ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีใน เวลาต่อมา
  • 3. Executive Journal 101 ภาพที่ 2 สื่อสังคมออนไลน์บางส่วนที่นายบารัค โอบาม่า ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบัน ใช้อยู่ ที่มา: http://twitter.com/BARACKOBAMA, http://www.facebook.com/barackobama, http://www.myspace.com/ barackobama, http://www.youtube.com/user/barackobamadotcom?blend=1&ob=4 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ด้วยเช่นกัน ซึ่งใช้เป็นช่องทางที่สlำคัญช่องทางหนึ่งในการสื่อข้อมูลสู่ประชาชน ในวงกว้าง ภาพที่ 3 สื่อสังคมออนไลน์บางส่วนที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีใช้อยู่ ที่มา: http://www.facebook.com/Abhisit.M.Vejjajiva, http://twitter.com/pm_abhisit, http://abhisitvejjajiva.hi5.com/friend/ p167931176--Abhisit_Vejjajiva--html
  • 4. 102 Executive Journal แม้แต่ในการดlำเนินธุรกิจครอบครัวอย่าง ร้านก๋วยเตี๋ยว เจ๊กเม้ง แห่งเมืองเพชรบุรี ได้มีแนวคิดการประยุกต์ใช้สื่อสังคม ออนไลน์ กับธุรกิจไม่ว่าจะเป็น Facebook, Hi5 และ Twitter ผนวก กับการใช้สื่อออนไลน์รูปแบบอื่น เช่น เอ็มเอสเอ็น (MSN) แบล็ค เบอร์รี่ (Blackberry) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email) เว็บไซต์ (Website) และ รหัสคิวอาร์ (QR Code) ส่งผลให้ร้านก๋วยเตี๋ยว จากเดิม ยอดขายวันละไม่กี่พันบาท ได้เพิ่มเป็นหลายหมื่นบาทต่อ วัน ภายในเวลาไม่ถึง 2 ปี ภาพที่ 5 การประยุกต์ใช้ สื่อสังคมออนไลน์ ในธุรกิจครอบครัวร้าน ก๋วยเตี๋ยว ที่มา: http://www.pawoot.com/article/search-engine-marketing/ 553 สื่อสังคมออนไลน์ กับ ความรับผิดชอบต่อสังคม การใช้สื่อสังคมออนไลน์ สามารถเข้าถึงกลุ่มคนที่รู้จัก และไม่รู้จัก เข้าถึงองค์กร และกลุ่มคนที่มีความชอบในเรื่อง เดียวกัน สื่อสังคมออนไลน์กับธุรกิจ ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน การสื่อสารข้อมูลเพื่อเข้า ถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ได้มีการลงทุนในสื่อที่เป็น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และนิตยสาร ซึ่งเป็นการสื่อสารข้อมูล แบบทางเดียว รวมทั้งธุรกิจต้องลงทุนมากขึ้น หากต้องการขยาย ขนาดการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย ในปัจจุบันการบริโภคข้อมูลจากสื่อของผู้คนได้เปลี่ยนไป โดยส่วนใหญ่มีแนวโน้มใช้สื่อทางออนไลน์มากขึ้น เป็นต้นว่า หาก ต้องการซื้อสินค้าสักหนึ่งชิ้น ผู้บริโภคอาจไม่เริ่มต้นหาข้อมูล โฆษณาจากหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร แต่หันไปหาข้อมูลที่ ต้องการในสื่อออนไลน์แทน เพราะนอกจากจะได้ข้อมูลสินค้าแล้ว ยังได้ทราบความคิดเห็นที่หลากหลายเกี่ยวกับตัวสินค้าจากกลุ่ม คนต่างๆ ไอบีเอ็ม (IBM) บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกด้านคอมพิวเตอร์ ยังให้ความสlำคัญต่อการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ด้วยการให้พนักงาน ในบริษัทเขียนบล็อกของตัวเอง เพื่อเล่าถึงประสบการณ์งานที่ กlำลังทlำ และเรื่องราวที่ต้องการแบ่งปัน ซึ่งได้รับความสนใจจาก ผู้คนอย่างกว้างขวาง และมีส่วนสlำคัญในการเชื่อมโยงเข้าสู่กลุ่ม ลูกค้าของบริษัท โดยยังไม่รวมถึงการพูดคุยผ่านทวิตเตอร์ การสื่อ ไฟล์วีดีโอผ่านยูทูบ การแสดงไฟล์พรีเซนเตชั่นผ่านสไลด์แชร์ และ อื่นๆ นอกจากนี้ธุรกิจขนาดเล็กได้ให้ความสนใจในสื่อสังคม ออนไลน์เช่นกัน เช่น เบลนด์เทค (Blendtec) บริษัทผู้ผลิตเครื่อง ปั่น ได้ออกซีรีส์ที่เป็นคลิปวีดีโอในชื่อ “Will It Blend?” ลงใน ยูทูบ โดยทlำการปั่นวัตถุต่างๆ เช่น รีโมทโทรทัศน์ ลูกกอล์ฟ บัตร เครดิต ไอโฟน (iPhone) และไอแพด (iPad) เป็นต้น แม้มีการ ลงทุนที่ตl่ำ แต่มีผลให้ยอดขายขยายเพิ่มขึ้นห้าเท่าตัว ภาพที่ 4 หนึ่งในวีดีโอซีรีส์ “Wil l It Blend?” ที่ลงในยูทูบของ เบลนด์เทค (Blendtec) ที่มา: http://www.youtube.com/watch?v=qg1ckCkm8YI
  • 5. Executive Journal 103 บทสรุป ในปัจจุบัน ผู้คนเริ่มหันมาใช้สื่อสังคมออนไลน์แทนสื่อ แบบเดิมๆ กันมากขึ้น ในการสื่อสารข้อมูลถึงกัน ซึ่งในช่วงเริ่ม แรก การใช้สื่อสังคมออนไลน์ มักใช้ในลักษณะของงานอดิเรก สื่อสารกนัระหว่างตนเองกบัคนร้จูกัใกล้ตวั จากนนั้ ได้มกีารขยาย การประยุกต์ใช้สู่ภาคธุรกิจ ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้คนอย่าง กว้างขวาง สาเหตุสlำคัญที่ทlำให้ สื่อสังคมออนไลน์ ได้รับความนิยม ขึ้นเรื่อยๆ มาจาก การใช้งานที่ง่าย เข้าถึงกลุ่มคนได้รวดเร็ว มี การแสดงความคิดเห็นไปมา และสื่อที่นlำมาแบ่งปันมีลักษณะ หลากหลาย รวมทั้งการพัฒนาตลอดเวลาของเทคโนโลยีการ สื่อสารและอินเทอร์เน็ต ทlำให้มีแนวโน้มค่อนข้างชัดเจนว่า สื่อ สังคมออนไลน์ จะเป็นสื่อหลักของผู้คนในโลกอนาคตอย่าง แท้จริง บรรณานุกรม กิฐิกรณ์ ยุติการ. (ม.ป.ป.). วิวัฒนาการของการสื่อสาร. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2553, จาก http://std.kku. ac.th/4630801725/Technology Internet/e-mail.doc ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ. (2553, 9 พฤษภาคม). การตลาดออนไลน์ กับร้านก๋วยเตี๋ยว...ไม่น่าเชื่อ ! แต่ก็เป็นไปได้. สืบค้น เมื่อ 5 ธันวาคม 2553, จาก http://www.pawoot. com/article/search-engine-marketing/553 สมาคมการบริหารโรงแรมไทย. (ม.ป.ป.).ผลวิจัยชี้ Social Media มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคมากขึ้น. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2553, จาก http://www.thma.or.th/index. php?lay=Show&ac=article&Id=538859265 แอทตุ๊กโกะ. (2552, 29 มีนาคม). Social Media มันคือ อะไร? สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2553, จาก http://www. marketingoops.com/digital/social-media/what-is-social- media ไออ้วนดอทคอม. (2553, 5 ตุลาคม). ประเภทของ Social Media [1]. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2553, จาก http:// newssocialmedia.blogspot.com/2010/10/social-media_ 05.html Zarrella, D. (2010). The Social Media Marketing Book. Canada: O’Reilly Media