SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  24
รายงาน เรื่อง   ระบบเครือข่าย จัดทำโดย น . ส . กาญจนา  สุริยะวงศ์  เลขที่  38   ม . 5 / 16 น . ส . นิธิกานต์  อัครพีร์ญาพร  เลขที่  41  ม . 5 / 16 น . ส . ปริญญาพร  ผาเป้า  เลขที่  49  ม . 5 / 16 น . ส . ปิยนุช  ชาติละออง  เลขที่  50  ม . 5 / 16 น . ส . ลลิตา  ดาวประกาย  เลขที่   54  ม . 5 / 16 น . ส . วิรัญชนา  ชาญพนา  เลขที่  57   ม . 5 / 16 เสนอ คุณครู  วิชัย  ตรีเล็ก ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา   2552   โรงเรียนบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี )
คำนำ รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี ( คอมพิวเตอร์  ง  42101  )  จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก โดยจะกล่าวถึง    การสื่อสารข้อมูลซึ่งเป็นกระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน คณะผู้จัดทำหวังว่ารายงานเล่มนี้คงให้ประโยชน์แก่คนที่ได้อ่านได้ศึกษาไม่มากก็น้อย  ถ้าข้อมูลในรายงานเล่มนี้ผิดพลาดประการใดคณะผู้จัดทำก็ขออภัยไว้  ณ ที่นี้ด้วย   คณะผู้จัดทำ
สารบัญ    หน้า 1.   ระบบเครือข่าย   1 2.   ความหมายของการสื่อสารข้อมูล   2 3.   รูปแบบของการส่งสัญญาข้อมูล   5 4.   เครือข่ายคอมพิวเตอร์  9 5.  รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย   10 6.   การเข้าถึงระยะไกล  17 7.   เอกสารอ้างอิง   20
ระบบเครือข่าย     เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก  ( computer   network)  คือ ระบบ การสื่อสาร ระหว่าง คอมพิวเตอร์ จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป  การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง  การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น  การแบ่งการใช้ ทรัพยากร  เช่น  หน่วยประมวลผล ,   หน่วยความจำ ,   หน่วยจัดเก็บข้อมูล ,   โปรแกรมคอมพิวเตอร์  และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น  เครื่องพิมพ์   เครื่องกราดภาพ   ( scanner)  ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้
ความหมายของการสื่อสารข้อมูล          การสื่อสารข้อมูล   (Data Communications)  หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน           วิธีการส่งข้อมูลนี้ จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้นกลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน   (Noise)  จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหายหรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวนเหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด ส่วนประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล ได้แก่ 1.  ตัวส่งข้อมูล 2.  ช่องทางการส่งสัญญาณ 3.  ตัวรับข้อมูล 4.  การสื่อสารข้อมูลในระดับเครือข่าย
มาตรฐานกลางที่ใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย คือ มาตรฐาน  OSI (Open Systems Interconnection Model)  ซึ่งทำให้ทั้งคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ สามารถเชื่อมโยงและใช้งานในเครือข่ายได้ จุดมุ่งหมายของการกำหนดมาตรฐาน   OSI  นี้ขึ้นมาก็เพื่อจัดแบ่งการดำเนินงานพื้นฐานของเครือข่ายและกำหนดหน้าที่การทำงานในแต่ละชั้น ซึ่งแบ่งออกได้เป็น  7   ชั้น โดยหลักเกณฑ์ในการกำหนดมีดังต่อไปนี้  ไม่แบ่งโครงสร้างออกในแต่ละชั้นจนมากเกินไป  แต่ละชั้นมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน  หน้าที่การทำงานคล้ายกันจะถูกจัดให้อยู่ในชั้นเดียวกัน  เลือกเฉพาะการทำงานที่เคยใช้ได้ผลประสบความสำเร็จมาแล้ว กำหนดหน้าที่การทำงานเฉพาะง่ายๆ เผื่อว่ามีการออกแบบหรือเปลี่ยนแปลงใหม่ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์จะได้ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงตามมีการกำหนดอินเตอร์เฟซมาตรฐาน มีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลในแต่ละชั้น
รูปมาตรฐาน  OSI  แบ่งแยกตามส่วนการทำงาน  1.  ชั้น  Physical  เป็นชั้นล่างสุดของการติดต่อสื่อสาร มีหน้าที่รับ - ส่งข้อมูลจากช่องทางการสื่อสารสื่อระหว่างคอมพิวเตอร์เทคนิคการมัลติเพล็กซ์แบบต่างๆ จะถูกกำหนดอยู่ในชั้นนี้ 2.  ชั้น  Data Link  มีหน้าที่เหมือนผู้ตรวจสอบ คอยควบคุมความผิดำพลาดในข้อมูลโด่ยจะมีการสำเนาข้อมูลไว้จนกว่าจะส่งถึงปลายทางหรือผู้รับ ชั้น  Data Link  นี้จะป้องกันไม่ให้เครื่องส่งทำการส่งข้อมูลเร็วจนเกินขีดความสามารถของเครื่องรับ 3.  ชั้น  Network  มีหน้าที่กำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่ส่ง - รับในการส่งข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง โดยจะเลือกเส้นทางที่ใช้เวลาในการสื่อสารที่น้อยที่สุด และระยทางที่สั้นที่สุด 4.  ชั้น  Transport  มีหน้าที่ตรวจสอบและป้องกันขอ้มูลให้ข้อมูลที่ส่งมานั้นไปถึงปลายทางจริงๆ 5.  ชั้น  Session  มีหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ โดยจะกำหนดจุดผู้รับและผู้ส่ง 6.  ชั้น  Presentation  มีหน้าที่คอยรวบรวมข้อความ และแปลงรหัสหรือแปลงรูปแบบของข้อมูลให้เป็นรูปแบบการสื่อสารเดียวกัน เพื่อช่วยลดปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ใช้งานในระบบ 7.  ชั้น  Application  เป็นชั้นบนสุดของมาตรฐาน  OSI  มีหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้โดยตรง เช่น เทอร์มินัลหรือคอมพิวเตอร์ โดยแปลงข้อมูลจากภาษาที่มนุษย์เข้าใจไปเป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ การส่งสัญญาณข้อมูล หมายถึง การส่งข้อมูลจากเครื่องส่งหรือผู้ส่ง ผ่านสื่อกลางไปยังเครื่องรับหรือผู้รับ สัญญาณที่ใช้ส่งก็ได้แก่สัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สัญญาณเสียง หรือแสงก็ได้
รูปแบบของการส่งสัญญาข้อมูล 1.  แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์  (One-way  หรือ  Simplex)      เป็นการส่งข้อมูลในทิศทางเดียว คือข้อมู่ลถูกส่งไปในทางเดียว เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพทางโทรทัศน์  2.  แบบกิ่งทางคู่หรือครึ่งดูเพล็กซ์  (Half-Duplex)      เป็นการส่งข้อมูลแบบสลับการส่งและรับข้อมูลไปมา จะทำในเวลาเดียวกันไม่ได้ เช่น การใช้วิทยุสื่อสาร คือจะต้องสลับกันพูด เพราะจะต้องกดปุ่มก่อนแล้วจึงจะสามารถพูดได้ 3.  แบบทางคู่หรือดูเพล็กซ์เต็ม   (Full - Duplex )       เป็นการส่งข้อมูลแบบที่สามารถส่ง และรับข้อมูลได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ซึ่งวิธีนี้ทำให้การทำงานเร็วขึ้นมาก เช่นการพูด ทางโทรศัพท์ ลักษณะของวิธีการสื่อสาร
แบบมีสาย เช่น สายโทรศัพท์ เคเบิลใยแก้วนำแสง เป็นต้น สื่อที่จัดอยู่ในการสื่อสารแบบมีสายที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ สายทองแดงแบบไม่หุ้มฉนวน  (Unshield Twisted Pair) มีราคาถูกและนิยมใช้กันมากที่สุด ส่วนใหญ่มักใช้กับระบบโทรศัพท์ แต่สายแบบนี้มักจะถูกรบกวนได้ง่าย และไม่ค่อยทนทาน สายทองแดงแบบหุ้มฉนวน  (Shield Twisted Pair) มีลักษณะเป็นสองเส้น มีแนวแล้วบิดเป็นเกลียวเข้าด้วยกันเพื่อลดเสียงรบกวน มีฉนวนหุ้มรอบนอก มีราคาถูก ติดตั้งง่าย น้ำหนักเบาและการรบกวนทางไฟฟ้าต่ำ สายโทรศัพท์จัดเป็นสายคู่บิดเกลี่ยวแบบหุ้มฉนวน
สายโคแอคเชียล  (Coaxial) สายแบบนี้จะประกอบด้วยตัวนำที่ใช้ในการส่งข้อมูลเส้นหนึ่งอยู่ตรงกลางอีกเส้นหนึ่งเป็นสายดิน ระหว่างตัวนำสองเส้นนี้จะมีฉนวนพลาสติกกั้นสายโคแอกเชียลแบบหนาจะส่งข้อมูลได้ไกลหว่าแบบบางแต่มีราคาแพงและติดตั้งได้ยากกว่า ใยแก้วนำแสง  (Optic Fiber) ทำจากแก้วหรือพลาสติกมีลักษณะเป็นเส้นบางๆ คล้าย เส้นใยแก้วจะทำตัวเป็นสื่อในการส่งแสงเลเซอร์ที่มีความเร็วในการส่งสัญญาณเท่ากับความเร็วของแสง ข้อดีของใยแก้วนำแสดงคือ 1.  ป้องกันการรบกวนจากสัญญาณไฟฟ้าได้มาก 2.  ส่งข้อมูลได้ระยะไกลโดยไม่ต้องมีตัวขยายสัญญาณ 3.  การดักสัญญาณทำได้ยาก ข้อมูลจึงมีความปลอดภัยมากกว่าสายส่งแบบอื่น 4.  ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงและสามารถส่งได้มาก ขนาดของสายเล็กและน้ำหนักเบา
แบบไม่มีสาย  เช่น ไม่โครเวฟ และดาวเทียม ไมโครเวฟ  (Microwave)   สัญญาณไม่โครเวฟเป็นคลื่นวิทยุเดินทางเป็นเส้นตรง อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับ - ส่งคือจานสัญญาณไม่โครเวฟ ซึ่งมักจะต้องติดตั้งในที่สูงและมักจะให้อยู่ห่างกันประมาณ   25-30   ไมล์  ข้อดี ของการส่งสัญญาณด้วยระบบไมโครเวฟ  ก็คือ สามารถส่งสัญญาณด้วยความถี่กว้างและการรบกวนจากภายนอกจะน้อยมากจนสัญญาณไม่ดี หรืออาจส่งสัญญาณไม่ได้ การส่งสัญญาณโดยใช้ระบบไมโครเวฟนี้จะใช้ในกรณีที่ไม่สามารถจะติดตั้งสายเคเบิลได้ เช่น อยู่ในเขตป่าเขา ดาวเทียม  (Setellite) มีลักษณะการส่งสัญญา คล้ายไมโครเวฟ แต่ต่างกันตรงที่ ดาวเทียมจะมีสถานีรับส่งสัญญาณลอยอยู่ในอวกาศ จึงไม่มีปัญหาเรื่องส่วนโค้งของผิวโลกก่อนส่งกลับมายังพื้นโลก ข้อดี ของการสื่อสารผ่านดาวเทียมคือ  ส่งข้อมูลได้มาก และมีความผิดพลาดน้อย ส่วนข้อเสีย  คือ อาจจะมีความล่าช้าเพราะระยะทางระหว่างโลกกับดาวเทียม หรือถ้าสภาพอากาศไม่ดีก็อาจจะก่อให้เกิดความผิดพลาดได้
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องมาเชื่อมต่อกันเพื่อวัตถุประสงค์คือ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกัน   เพื่อให้ใช้ทรัพยากรร่วมกัน   เพื่อใช้ข้อมูลหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน ประเภทของระบบเครือข่าย โดยแบ่งตามลักษณะการติดตั้งทางภูมิศาสตร์ แบ่งได้เป็น 1.  เครือข่ายท้องถิ่น  (Local Area Network : Lan)   เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้บริเวณเฉพาะที่เช่น ภายในอาคารเดียวกัน หรือภายในบริเวณเดียวกัน ระบบแลนจะช่วยให้มีการติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ร่วมกัน และใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า 2.  เครือข่ายระดับเมือง  (Metropolitan Area Network : Man)   เป็นเครือข่ายขนาดกลางใช้ภายในเมืองหรือจังหวัด ตัวอย่างเช่น เคเบิลทีวี 3.  เครือข่ายระดับประเทศ  (Wide Area Network : Wan) เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ ติดตั้งใช้งานบริเวณกว้างมีสถานีหรือจุดเชื่อมมากมาย และใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ไมโครเวฟ ดาวเทียม 4.  เครือข่ายระหว่างประเทศ  (International Network) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อระหว่างประเทศ โดยใช้สายเคเบิล หรือดาวเทียม
รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย   การเชื่อมต่อเครือข่ายมีอยู่ด้วยกันหลายลักษณะ แต่ลักษณะที่นิยมใช้นั้นมีอยู่ด้วยกัน  4   ลักษณะ ได้แก่  แบบดาว  (StarNetwork)   นั้นจะเป็นลักษณะของการต่อเครือข่ายที่  Work station แต่ละตัวต่อรวมเข้าสู่ศูนย์กลางสวิตซ์ เพื่อสลับตำแหน่งของเส้นทางของข้อมูลใด ๆ ในระบบ ดังนั้นใน โทโปโลยี แบบดาว คอมพิวเตอร์จะติดต่อกันได้ใน   1   ครั้ง ต่อ  1   คู่สถานีเท่านั้น เมื่อสถานีใดต้องการส่งข้องมูลมันจะส่งข้อมูลไปยังศูนย์กลางสวิทซ์ก่อน เพื่อบอกให้ศูนย์กลาง สวิตซ์มันสลับตำแหน่งของคู่สถานีไปยังสถานีที่ต้องการติดต่อด้วย ดังนั้นข้อมูลจึงไม่เกิดการชนกันเอง ทำให้การสื่อสารได้รวดเร็วเมื่อสถานีใดสถานีหนึ่งเสีย ทั้งระบบจึงยังคงใช้งานได้ ในการค้นหาข้อบกพร่องจุดเสียต่างๆ จึงหาได้ง่ายตามไปด้วย แต่ก็มีข้อเสียที่ว่าต้องใช้งบประมาณสูงในการติดตั้งครั้งแรก ลักษณะการเชื่อมต่อจะเป็นดังรูป
ข้อดี   * ติดตั้งและดูแลง่าย     * แม้ว่าสายที่เชื่อมต่อไปยังบางโหลดจะขาด โหลดที่เหลืออยู่ก็ยังจะสามารถทำงานได้ ทำให้ระบบเน็ตเวิร์กยังคงสามารถทำงานได้เป็นปกติ   *   การมี  Central node  อยู่ตรงกลางเป็นตัวเชื่อมระบบ ถ้าระบบเกิดทำงานบกพร่องเสียหาย ทำให้เรารู้ได้ทันทีว่าจะไปแก้ปัญหาที่ใด ข้อเสีย   * เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น  central node  และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในสถานีงาน     * การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้งจะต้องเกี่ยวเนื่องกับโหลดอื่นๆ ทั้งระบบ   * เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง แบบ  วงแหวน  (Ring Network )
ได้ถูกออกแบบให้ใช้  Media Access Units (MAU)  ต่อรวมกันแบบเรียงลำดับเป็นวงแหวน แล้วจึงต่อ คอมพิวเตอร์  (PC)  ที่เป็น  Workstation  หรือ  Server  เข้ากับ  MAU  ใน  MAU 1   ตัวจะสามารถต่อออกไปได้ถึง  8   สถานี เมื่อสถานีถัดไปนั้นรับรู้ว่าต้องรับข้อมูล แล้วมันจึงส่งข้อมูลกลับ เป็นการตอบรับ เมื่อสถานีที่จะส่งข้อมูลได้รัยสัญญาณตอบรับ แล้วมันจึงส่งข้อมูลครั้งแรก แล้วมันจะลบข้อมูลออกจากระบบ เพื่อให้ได้ใช้ข้อมูลอื่นๆ ต่อไป ดังนั้นทุกสถานีบน โทโปโลยี วงแหวนจะได้ทำงานทั้งหมดซึ่งจะคอยเป็นผู้รับและผู้ส่งแล้วยังเป็นรีพีทเตอร์ในตัวอีกด้วย ข้อมูลที่ผ่านไปแต่ละสถานี นั้น ข้อมูลที่เป็นตำแหน่งที่อยู่ตรงกับ สถานีใด สถานีนั้นจะรับข้อมูลเก็บไว้ แต่มันจะไม่ลบข้อมูลออกจากระบบ มันยังคงส่งข้อมูลต่อไป ดังนั้นผู้ส่งข้อมูลครั้งแรกเท่านั้นที่จะเป็นผู้ลบข้อมูลออกจากระบบ ครั้นเมื่อสถานีส่ง  TOKEN  มาถามสถานีถัดไปแล้วแต่กลับไม่ได้รับคำตอบ สถานีส่ง  TOKEN  จะทวนซ้ำข้อมูลเป็นครั้งที่สอง ถ้ายังคงไม่ได้รับคำตอบ จึงส่งข้อมูลออกไปได้ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาที่ไม่ให้ระบบหยุดชะงักการทำงานลงของระบบ เนื่องจากสถานีหนึ่งเกิดการเสียหาย หรือชำรุด ระบบจึงยังคงสามารถทำงานต่อไปได้ ลักษณะการเชื่อมต่อจะเป็นดังรูป
ข้อดี   1. ใช้เคเบิลและเนื้อที่ในการติดตั้งน้อย     2. คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน   ข้อเสีย   1. หากโหลดใดโหลดหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นจะค้นหาได้ยากว่าต้นเหตุอยู่ที่ไหน และวงแหวนจะขาดออก  แบบบัส  (BusNetwork)   เป็นลักษณะของการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อ เป็นระบบเครือข่าย ด้วยสายเคเบิลยาวต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ โดยมีคอนเน็คเตอร์ในการเชื่อมต่อ โดยลักษณะของการส่งหรือรับข้อมูล จะเป็นการส่งข้อมูล ทีละเครื่องในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เท่านั้นจากนั้นเครื่องปลายทาง ก็จะส่งสัญญาณข้อมูลกลับมา และในการเชื่อมต่อในระบบ  Bus  นี้จะต้องมี  T-Connector  ที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ และมี  Terminator  เป็นอุปกรณ์ปิดปลายสายสัญญาณ ของทั้งระบบ ซึ่ง  Terminaltor  จะคอยเป็นตัวดูดซับสัญญาณไม่ให้มีการไหลกับไป กวนกับระบบสัญญาณอื่นในสาย ซึ่งโดยทั่วไป จะมีค่าความต้านทานประมาณ  50   โอห์ม บางครั้งถ้าไม่มี   Terminator  เราสามารถให้ตัว  R  ทั่วไปที่ใช้ในอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ขนาด  50   โอห์มแทนได้เหมือนกัน ลักษณะการเชื่อมต่อก็จะเป็นดังรูป
ข้อดี     1. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายเคเบิลมากนัก   2. สามารถขยายระบบได้ง่าย     3. เสียค่าใช้จ่ายน้อย   ข้อเสีย     1. อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมีการขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องอื่นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย   2. การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยากเนื่องจากขณะใดขณะหนึ่งจะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อความออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ก ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้
แบบผสม  (Hybrid Network)   เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบต่างๆ หลายๆ แบบเข้าด้วยกัน คือจะมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย หลายๆ เครือข่ายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานเครือข่ายบริเวณกว้าง เป็นตัวอย่างเครือข่ายผสมที่พบเห็นกัน มากที่สุด เครือข่ายแบบนี้จะเชื่อมต่อเครือข่ายเล็ก - ใหญ่หลากหลายเผ่าพันธ์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียว ซึ่งเครือข่ายที่ถูกเชื่อมต่ออาจจะอยู่ห่างกันคนละจังหวัด หรือ อาจจะอยู่คนละประเทศก็เป็นได้ การเข้าถึงระยะไกล
คุณสมบัติเด่นอย่างหนึ่งของเครือข่ายแบบผสมก็คือ ผู้ใช้สามารถเชื่อม ต่อกับเครือข่ายจาก ระยะไกลเช่น อยู่ที่บ้าน หรือ  อยู่ภาคสนามได้ ในการ เชื่อมต่อก็จะได้คอมพิวเตอร์สั่งโมเด็มหมุนสัญญาณให้วิ่งผ่านสาย โทรศัพท์ไปเชื่อมต่อกับเครือข่ายหลังจากการเชื่อมต่อผู้ใช้สามารถเข้าไปเรียกใช้ข้อมูลได้เสมือนกับว่ากำลังใช้เครือข่ายที่บริษัท การบริหารเครือข่าย เนื่องจากเครือข่ายผสมเป็นการผสมผสานเครือข่ายหลายแบบเข้าด้วย กัน ซึ่งแต่ละเครือข่ายก็มีรายละเอียดทางเทคนิคแตกต่างกันไป ดังนั้น การบริหารเครือข่ายก็อาจจะยากกว่าเครือข่ายแบบอื่น ๆด้วยเหตุนี้ บริษัทที่มีเครือข่ายผสมขนาดใหญ่ของตัวเองก็มักจะตั้งแผนก ที่ทำหน้าที่ดูแลและบริหารเครือข่ายนี้โดยเฉพาะค่าใช้จ่าย โดยปกติเครือข่ายแบบผสมจะมีราคาแพงกว่าเครือข่ายแบบต่างๆ เพราะ เครือข่ายแบบนี้เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ และมีความซับซ้อนสูง นอกจาก นี้ยังต้องมีการลงทุนเกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัยมากกว่า เครือข่ายอื่นอีกด้วย เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อระยะไกล อุปกรณ์ที่ใช้การสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์
โมเด็ม (Modem) ฮับ  หรือ  รีพีทเตอร์   (Hub, Repeater)   เป็นอุปกรณ์ที่ทวน และขยายสัญญาณ เพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่น ให้ได้ระยะทางที่ยาวไกลขึ้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลก่อนและหลัง การรับ - ส่ง และไม่มีการใช้ซอฟท์แวร์ใดๆ มาเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ชนิดนี้ การติดตั้งจึงทำได้ง่าย ข้อเสียคือ ความเร็วในการส่งข้อมูล จะเฉลี่ยลดลงเท่ากันทุกเครื่อง เมื่อมีคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อมากขึ้น
สวิทช์  หรือ  บริดจ์   (Switch, Bridge)   เป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อ เครือข่ายท้องถิ่น หรือ แลน  (LAN)  ประเภทเดียวกัน ใช้โปรโตคอลเดียวกัน สองวงเข้าด้วยกัน เช่น ใช้เชื่อมต่อ อีเธอร์เน็ตแลน  (Ethernet LAN)  หรือ โทเคนริงก์แลน  (Token Ring LAN)  ทั้งนี้ สวิทช์ หรือ บริดจ์ จะมีความสามารถในการเชื่อมต่อ ฮาร์ดแวร์ และตรวจสอบข้อผิดพลาด ของการส่งข้อมูลได้ด้วย ความเร็วในการส่งข้อมูล ก็มิได้ลดลง และติดตั้งง่าย   เร้าเตอร์  (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานคล้าย สวิทช์ แต่จะสามารถเชื่อมต่อ ระบบที่ใช้สื่อ หรือสายสัญญาณต่างชนิด กันได้ เช่น เชื่อมต่อ อีเธอร์เน็ตแลน  (Ethernet LAN)  ที่ส่งข้อมูลแบบ ยูทีพี  (UTP: Unshield Twisted Pair)  เข้ากับ อีเธอร์เน็ตอีกเครือข่าย แต่ใช้สายแบบโคแอ็กเชียล  (Coaxial cable)  ได้ นอกจากนี้ยังช่วยเลือก หรือกำหนดเส้นทางที่จะส่งข้อมูลผ่าน และแปลงข้อมูลให้เหมาะสมกับการนำส่ง แน่นอนว่าการติดตั้งย่อมยุ่งยากมากขึ้น
เกทเวย์   (Gateway) เ ป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงสุด ในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยไม่มีขีดจำกัด ทั้งระหว่างเครือข่ายต่างระบบ หรือแม้กระทั่งโปรโตคอล จะแตกต่างกันออกไป เกทเวย์ จะแปลงโปรโตคอล ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ต่างชนิดกัน จัดเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพง และติดตั้งใช้งานยุ่งยาก เกตเวย์บางตัว จะรวมคุณสมบัติในการเป็น เร้าเตอร์ ด้วยในตัว หรือแม้กระทั่ง อาจรวมเอาฟังก์ชั่นการทำงาน ด้านการรักษาความปลอดภัย ที่เรียกว่า ไฟร์วอลล์  (Firewall)  เข้าไว้ด้วย
เอกสารอ้างอิง http://www.udomsuksa.ac.th/Latphrao/Knowledge/Technology/network/mainnetwork.html#002 http://th.wikipedia.org/wiki/
 

Contenu connexe

Tendances

คลื่นไมโครเวฟ (สุพิชชา มัลลิกา) 407
คลื่นไมโครเวฟ (สุพิชชา มัลลิกา) 407คลื่นไมโครเวฟ (สุพิชชา มัลลิกา) 407
คลื่นไมโครเวฟ (สุพิชชา มัลลิกา) 407Mullika Pummuen
 
TISSUE CULTURE GROUP3 ROOM333
TISSUE CULTURE GROUP3 ROOM333TISSUE CULTURE GROUP3 ROOM333
TISSUE CULTURE GROUP3 ROOM333ssuser27e9a8
 
11 การทำงานแบบคนไทยในมุมมองชาวต่างชาติ
11 การทำงานแบบคนไทยในมุมมองชาวต่างชาติ11 การทำงานแบบคนไทยในมุมมองชาวต่างชาติ
11 การทำงานแบบคนไทยในมุมมองชาวต่างชาติguestdf2abc6
 
งานนำเสนอส่วนประกอบของดอก กลุ่มที่8 ห้อง332 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
งานนำเสนอส่วนประกอบของดอก กลุ่มที่8 ห้อง332 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษางานนำเสนอส่วนประกอบของดอก กลุ่มที่8 ห้อง332 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
งานนำเสนอส่วนประกอบของดอก กลุ่มที่8 ห้อง332 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาMatthanapornThongdan
 
7อย่า
7อย่า7อย่า
7อย่าrit77
 
Revolutionary Wealth and Implications on Tourism
Revolutionary Wealth and Implications on TourismRevolutionary Wealth and Implications on Tourism
Revolutionary Wealth and Implications on TourismSarinee Achavanuntakul
 
Self-regulation on Internet and Netiquette
Self-regulation on Internet and NetiquetteSelf-regulation on Internet and Netiquette
Self-regulation on Internet and NetiquetteSarinee Achavanuntakul
 
ทะเบียนพรรณไม้
ทะเบียนพรรณไม้ทะเบียนพรรณไม้
ทะเบียนพรรณไม้papayapokpokpok
 
Ps cs6 ch01-introduction
Ps cs6 ch01-introductionPs cs6 ch01-introduction
Ps cs6 ch01-introductionChompooh Cyp
 
Progenitor of the family business.
Progenitor of the family business.Progenitor of the family business.
Progenitor of the family business.DrDanai Thienphut
 
Seed germination and dormancy powerpoint
Seed germination and dormancy powerpointSeed germination and dormancy powerpoint
Seed germination and dormancy powerpointChanonKulthongkam
 
Fruit stucture and fructification 334 group 6
Fruit stucture and fructification 334 group 6Fruit stucture and fructification 334 group 6
Fruit stucture and fructification 334 group 6ssuser4d47f0
 
พุทธวจนฉบับภพภูมิ
พุทธวจนฉบับภพภูมิพุทธวจนฉบับภพภูมิ
พุทธวจนฉบับภพภูมิNew Nan
 

Tendances (20)

คลื่นไมโครเวฟ (สุพิชชา มัลลิกา) 407
คลื่นไมโครเวฟ (สุพิชชา มัลลิกา) 407คลื่นไมโครเวฟ (สุพิชชา มัลลิกา) 407
คลื่นไมโครเวฟ (สุพิชชา มัลลิกา) 407
 
TISSUE CULTURE GROUP3 ROOM333
TISSUE CULTURE GROUP3 ROOM333TISSUE CULTURE GROUP3 ROOM333
TISSUE CULTURE GROUP3 ROOM333
 
11 การทำงานแบบคนไทยในมุมมองชาวต่างชาติ
11 การทำงานแบบคนไทยในมุมมองชาวต่างชาติ11 การทำงานแบบคนไทยในมุมมองชาวต่างชาติ
11 การทำงานแบบคนไทยในมุมมองชาวต่างชาติ
 
Biology333
Biology333Biology333
Biology333
 
งานนำเสนอส่วนประกอบของดอก กลุ่มที่8 ห้อง332 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
งานนำเสนอส่วนประกอบของดอก กลุ่มที่8 ห้อง332 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษางานนำเสนอส่วนประกอบของดอก กลุ่มที่8 ห้อง332 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
งานนำเสนอส่วนประกอบของดอก กลุ่มที่8 ห้อง332 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
 
Classification of flowers
Classification of flowersClassification of flowers
Classification of flowers
 
7อย่า
7อย่า7อย่า
7อย่า
 
Revolutionary Wealth and Implications on Tourism
Revolutionary Wealth and Implications on TourismRevolutionary Wealth and Implications on Tourism
Revolutionary Wealth and Implications on Tourism
 
Self-regulation on Internet and Netiquette
Self-regulation on Internet and NetiquetteSelf-regulation on Internet and Netiquette
Self-regulation on Internet and Netiquette
 
ทะเบียนพรรณไม้
ทะเบียนพรรณไม้ทะเบียนพรรณไม้
ทะเบียนพรรณไม้
 
Ps cs6 ch01-introduction
Ps cs6 ch01-introductionPs cs6 ch01-introduction
Ps cs6 ch01-introduction
 
Digital Lib4camp
Digital Lib4campDigital Lib4camp
Digital Lib4camp
 
Progenitor of the family business.
Progenitor of the family business.Progenitor of the family business.
Progenitor of the family business.
 
Seed germination and dormancy powerpoint
Seed germination and dormancy powerpointSeed germination and dormancy powerpoint
Seed germination and dormancy powerpoint
 
Thailand E Commerce Survey 2006
Thailand E Commerce Survey 2006Thailand E Commerce Survey 2006
Thailand E Commerce Survey 2006
 
MBA- Entrepreneurship
MBA- EntrepreneurshipMBA- Entrepreneurship
MBA- Entrepreneurship
 
Kai Zen
Kai ZenKai Zen
Kai Zen
 
Thailand Internet User 2002
Thailand Internet User 2002Thailand Internet User 2002
Thailand Internet User 2002
 
Fruit stucture and fructification 334 group 6
Fruit stucture and fructification 334 group 6Fruit stucture and fructification 334 group 6
Fruit stucture and fructification 334 group 6
 
พุทธวจนฉบับภพภูมิ
พุทธวจนฉบับภพภูมิพุทธวจนฉบับภพภูมิ
พุทธวจนฉบับภพภูมิ
 

En vedette

Properties
PropertiesProperties
Propertiesjimbank
 
ประเภทของคอมพิวเตอร์
ประเภทของคอมพิวเตอร์ประเภทของคอมพิวเตอร์
ประเภทของคอมพิวเตอร์พัน พัน
 
รายงานคอม
รายงานคอมรายงานคอม
รายงานคอมNooLuck
 
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสาระสนเทศน์ 5 7-กลุ่ม 2
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสาระสนเทศน์ 5 7-กลุ่ม 2การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสาระสนเทศน์ 5 7-กลุ่ม 2
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสาระสนเทศน์ 5 7-กลุ่ม 2Ittidate Pepea
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอมNooLuck
 
รายงาน
รายงานรายงาน
รายงานsiriluk602
 
รายงาน คอม
รายงาน คอมรายงาน คอม
รายงาน คอมNooLuck
 
ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้นความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้นพัน พัน
 
เรื่อง วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
เรื่อง วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์เรื่อง วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
เรื่อง วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์sarankorn
 
รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์พัน พัน
 
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์พัน พัน
 
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้นเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้นพัน พัน
 
ระบบคอมพิวเตอร์และยุคสมัย
ระบบคอมพิวเตอร์และยุคสมัยระบบคอมพิวเตอร์และยุคสมัย
ระบบคอมพิวเตอร์และยุคสมัยพัน พัน
 
เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศพัน พัน
 
ความรู้คอมพิวเตอร์
ความรู้คอมพิวเตอร์ความรู้คอมพิวเตอร์
ความรู้คอมพิวเตอร์อาย อาย
 
หลักการทำงาน บทบาทและอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์
หลักการทำงาน บทบาทและอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์หลักการทำงาน บทบาทและอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์
หลักการทำงาน บทบาทและอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์พัน พัน
 
เรื่องคอมพิวเตอร์
เรื่องคอมพิวเตอร์เรื่องคอมพิวเตอร์
เรื่องคอมพิวเตอร์พัน พัน
 
การเปลี่ยนตัวเลขให้เป็นตัวอักษร
การเปลี่ยนตัวเลขให้เป็นตัวอักษรการเปลี่ยนตัวเลขให้เป็นตัวอักษร
การเปลี่ยนตัวเลขให้เป็นตัวอักษรพัน พัน
 

En vedette (20)

Properties
PropertiesProperties
Properties
 
ประเภทของคอมพิวเตอร์
ประเภทของคอมพิวเตอร์ประเภทของคอมพิวเตอร์
ประเภทของคอมพิวเตอร์
 
รายงานคอม
รายงานคอมรายงานคอม
รายงานคอม
 
รายงาน
รายงานรายงาน
รายงาน
 
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสาระสนเทศน์ 5 7-กลุ่ม 2
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสาระสนเทศน์ 5 7-กลุ่ม 2การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสาระสนเทศน์ 5 7-กลุ่ม 2
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสาระสนเทศน์ 5 7-กลุ่ม 2
 
การสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูล
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอม
 
รายงาน
รายงานรายงาน
รายงาน
 
รายงาน คอม
รายงาน คอมรายงาน คอม
รายงาน คอม
 
ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้นความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
 
เรื่อง วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
เรื่อง วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์เรื่อง วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
เรื่อง วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
 
รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
 
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
 
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้นเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
 
ระบบคอมพิวเตอร์และยุคสมัย
ระบบคอมพิวเตอร์และยุคสมัยระบบคอมพิวเตอร์และยุคสมัย
ระบบคอมพิวเตอร์และยุคสมัย
 
เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
ความรู้คอมพิวเตอร์
ความรู้คอมพิวเตอร์ความรู้คอมพิวเตอร์
ความรู้คอมพิวเตอร์
 
หลักการทำงาน บทบาทและอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์
หลักการทำงาน บทบาทและอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์หลักการทำงาน บทบาทและอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์
หลักการทำงาน บทบาทและอุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์
 
เรื่องคอมพิวเตอร์
เรื่องคอมพิวเตอร์เรื่องคอมพิวเตอร์
เรื่องคอมพิวเตอร์
 
การเปลี่ยนตัวเลขให้เป็นตัวอักษร
การเปลี่ยนตัวเลขให้เป็นตัวอักษรการเปลี่ยนตัวเลขให้เป็นตัวอักษร
การเปลี่ยนตัวเลขให้เป็นตัวอักษร
 

ระบบเครือค่าย

  • 1. รายงาน เรื่อง ระบบเครือข่าย จัดทำโดย น . ส . กาญจนา สุริยะวงศ์ เลขที่ 38 ม . 5 / 16 น . ส . นิธิกานต์ อัครพีร์ญาพร เลขที่ 41 ม . 5 / 16 น . ส . ปริญญาพร ผาเป้า เลขที่ 49 ม . 5 / 16 น . ส . ปิยนุช ชาติละออง เลขที่ 50 ม . 5 / 16 น . ส . ลลิตา ดาวประกาย เลขที่ 54 ม . 5 / 16 น . ส . วิรัญชนา ชาญพนา เลขที่ 57 ม . 5 / 16 เสนอ คุณครู วิชัย ตรีเล็ก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี )
  • 2. คำนำ รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี ( คอมพิวเตอร์ ง 42101 ) จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก โดยจะกล่าวถึง    การสื่อสารข้อมูลซึ่งเป็นกระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน คณะผู้จัดทำหวังว่ารายงานเล่มนี้คงให้ประโยชน์แก่คนที่ได้อ่านได้ศึกษาไม่มากก็น้อย ถ้าข้อมูลในรายงานเล่มนี้ผิดพลาดประการใดคณะผู้จัดทำก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย คณะผู้จัดทำ
  • 3. สารบัญ หน้า 1. ระบบเครือข่าย 1 2. ความหมายของการสื่อสารข้อมูล 2 3. รูปแบบของการส่งสัญญาข้อมูล 5 4. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 9 5. รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย 10 6. การเข้าถึงระยะไกล 17 7. เอกสารอ้างอิง 20
  • 4. ระบบเครือข่าย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก ( computer network) คือ ระบบ การสื่อสาร ระหว่าง คอมพิวเตอร์ จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล , หน่วยความจำ , หน่วยจัดเก็บข้อมูล , โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ ( scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้
  • 5. ความหมายของการสื่อสารข้อมูล          การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน          วิธีการส่งข้อมูลนี้ จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้นกลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหายหรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวนเหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด ส่วนประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล ได้แก่ 1. ตัวส่งข้อมูล 2. ช่องทางการส่งสัญญาณ 3. ตัวรับข้อมูล 4. การสื่อสารข้อมูลในระดับเครือข่าย
  • 6. มาตรฐานกลางที่ใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย คือ มาตรฐาน OSI (Open Systems Interconnection Model) ซึ่งทำให้ทั้งคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ สามารถเชื่อมโยงและใช้งานในเครือข่ายได้ จุดมุ่งหมายของการกำหนดมาตรฐาน OSI นี้ขึ้นมาก็เพื่อจัดแบ่งการดำเนินงานพื้นฐานของเครือข่ายและกำหนดหน้าที่การทำงานในแต่ละชั้น ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 7 ชั้น โดยหลักเกณฑ์ในการกำหนดมีดังต่อไปนี้ ไม่แบ่งโครงสร้างออกในแต่ละชั้นจนมากเกินไป แต่ละชั้นมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน หน้าที่การทำงานคล้ายกันจะถูกจัดให้อยู่ในชั้นเดียวกัน เลือกเฉพาะการทำงานที่เคยใช้ได้ผลประสบความสำเร็จมาแล้ว กำหนดหน้าที่การทำงานเฉพาะง่ายๆ เผื่อว่ามีการออกแบบหรือเปลี่ยนแปลงใหม่ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์จะได้ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงตามมีการกำหนดอินเตอร์เฟซมาตรฐาน มีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลในแต่ละชั้น
  • 7. รูปมาตรฐาน OSI แบ่งแยกตามส่วนการทำงาน 1. ชั้น Physical เป็นชั้นล่างสุดของการติดต่อสื่อสาร มีหน้าที่รับ - ส่งข้อมูลจากช่องทางการสื่อสารสื่อระหว่างคอมพิวเตอร์เทคนิคการมัลติเพล็กซ์แบบต่างๆ จะถูกกำหนดอยู่ในชั้นนี้ 2. ชั้น Data Link มีหน้าที่เหมือนผู้ตรวจสอบ คอยควบคุมความผิดำพลาดในข้อมูลโด่ยจะมีการสำเนาข้อมูลไว้จนกว่าจะส่งถึงปลายทางหรือผู้รับ ชั้น Data Link นี้จะป้องกันไม่ให้เครื่องส่งทำการส่งข้อมูลเร็วจนเกินขีดความสามารถของเครื่องรับ 3. ชั้น Network มีหน้าที่กำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่ส่ง - รับในการส่งข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง โดยจะเลือกเส้นทางที่ใช้เวลาในการสื่อสารที่น้อยที่สุด และระยทางที่สั้นที่สุด 4. ชั้น Transport มีหน้าที่ตรวจสอบและป้องกันขอ้มูลให้ข้อมูลที่ส่งมานั้นไปถึงปลายทางจริงๆ 5. ชั้น Session มีหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ โดยจะกำหนดจุดผู้รับและผู้ส่ง 6. ชั้น Presentation มีหน้าที่คอยรวบรวมข้อความ และแปลงรหัสหรือแปลงรูปแบบของข้อมูลให้เป็นรูปแบบการสื่อสารเดียวกัน เพื่อช่วยลดปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ใช้งานในระบบ 7. ชั้น Application เป็นชั้นบนสุดของมาตรฐาน OSI มีหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้โดยตรง เช่น เทอร์มินัลหรือคอมพิวเตอร์ โดยแปลงข้อมูลจากภาษาที่มนุษย์เข้าใจไปเป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ การส่งสัญญาณข้อมูล หมายถึง การส่งข้อมูลจากเครื่องส่งหรือผู้ส่ง ผ่านสื่อกลางไปยังเครื่องรับหรือผู้รับ สัญญาณที่ใช้ส่งก็ได้แก่สัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สัญญาณเสียง หรือแสงก็ได้
  • 8. รูปแบบของการส่งสัญญาข้อมูล 1. แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One-way หรือ Simplex)      เป็นการส่งข้อมูลในทิศทางเดียว คือข้อมู่ลถูกส่งไปในทางเดียว เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพทางโทรทัศน์ 2. แบบกิ่งทางคู่หรือครึ่งดูเพล็กซ์ (Half-Duplex)      เป็นการส่งข้อมูลแบบสลับการส่งและรับข้อมูลไปมา จะทำในเวลาเดียวกันไม่ได้ เช่น การใช้วิทยุสื่อสาร คือจะต้องสลับกันพูด เพราะจะต้องกดปุ่มก่อนแล้วจึงจะสามารถพูดได้ 3. แบบทางคู่หรือดูเพล็กซ์เต็ม (Full - Duplex )      เป็นการส่งข้อมูลแบบที่สามารถส่ง และรับข้อมูลได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ซึ่งวิธีนี้ทำให้การทำงานเร็วขึ้นมาก เช่นการพูด ทางโทรศัพท์ ลักษณะของวิธีการสื่อสาร
  • 9. แบบมีสาย เช่น สายโทรศัพท์ เคเบิลใยแก้วนำแสง เป็นต้น สื่อที่จัดอยู่ในการสื่อสารแบบมีสายที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ สายทองแดงแบบไม่หุ้มฉนวน (Unshield Twisted Pair) มีราคาถูกและนิยมใช้กันมากที่สุด ส่วนใหญ่มักใช้กับระบบโทรศัพท์ แต่สายแบบนี้มักจะถูกรบกวนได้ง่าย และไม่ค่อยทนทาน สายทองแดงแบบหุ้มฉนวน (Shield Twisted Pair) มีลักษณะเป็นสองเส้น มีแนวแล้วบิดเป็นเกลียวเข้าด้วยกันเพื่อลดเสียงรบกวน มีฉนวนหุ้มรอบนอก มีราคาถูก ติดตั้งง่าย น้ำหนักเบาและการรบกวนทางไฟฟ้าต่ำ สายโทรศัพท์จัดเป็นสายคู่บิดเกลี่ยวแบบหุ้มฉนวน
  • 10. สายโคแอคเชียล (Coaxial) สายแบบนี้จะประกอบด้วยตัวนำที่ใช้ในการส่งข้อมูลเส้นหนึ่งอยู่ตรงกลางอีกเส้นหนึ่งเป็นสายดิน ระหว่างตัวนำสองเส้นนี้จะมีฉนวนพลาสติกกั้นสายโคแอกเชียลแบบหนาจะส่งข้อมูลได้ไกลหว่าแบบบางแต่มีราคาแพงและติดตั้งได้ยากกว่า ใยแก้วนำแสง (Optic Fiber) ทำจากแก้วหรือพลาสติกมีลักษณะเป็นเส้นบางๆ คล้าย เส้นใยแก้วจะทำตัวเป็นสื่อในการส่งแสงเลเซอร์ที่มีความเร็วในการส่งสัญญาณเท่ากับความเร็วของแสง ข้อดีของใยแก้วนำแสดงคือ 1. ป้องกันการรบกวนจากสัญญาณไฟฟ้าได้มาก 2. ส่งข้อมูลได้ระยะไกลโดยไม่ต้องมีตัวขยายสัญญาณ 3. การดักสัญญาณทำได้ยาก ข้อมูลจึงมีความปลอดภัยมากกว่าสายส่งแบบอื่น 4. ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงและสามารถส่งได้มาก ขนาดของสายเล็กและน้ำหนักเบา
  • 11. แบบไม่มีสาย เช่น ไม่โครเวฟ และดาวเทียม ไมโครเวฟ (Microwave) สัญญาณไม่โครเวฟเป็นคลื่นวิทยุเดินทางเป็นเส้นตรง อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับ - ส่งคือจานสัญญาณไม่โครเวฟ ซึ่งมักจะต้องติดตั้งในที่สูงและมักจะให้อยู่ห่างกันประมาณ 25-30 ไมล์ ข้อดี ของการส่งสัญญาณด้วยระบบไมโครเวฟ ก็คือ สามารถส่งสัญญาณด้วยความถี่กว้างและการรบกวนจากภายนอกจะน้อยมากจนสัญญาณไม่ดี หรืออาจส่งสัญญาณไม่ได้ การส่งสัญญาณโดยใช้ระบบไมโครเวฟนี้จะใช้ในกรณีที่ไม่สามารถจะติดตั้งสายเคเบิลได้ เช่น อยู่ในเขตป่าเขา ดาวเทียม (Setellite) มีลักษณะการส่งสัญญา คล้ายไมโครเวฟ แต่ต่างกันตรงที่ ดาวเทียมจะมีสถานีรับส่งสัญญาณลอยอยู่ในอวกาศ จึงไม่มีปัญหาเรื่องส่วนโค้งของผิวโลกก่อนส่งกลับมายังพื้นโลก ข้อดี ของการสื่อสารผ่านดาวเทียมคือ ส่งข้อมูลได้มาก และมีความผิดพลาดน้อย ส่วนข้อเสีย คือ อาจจะมีความล่าช้าเพราะระยะทางระหว่างโลกกับดาวเทียม หรือถ้าสภาพอากาศไม่ดีก็อาจจะก่อให้เกิดความผิดพลาดได้
  • 12. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องมาเชื่อมต่อกันเพื่อวัตถุประสงค์คือ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกัน เพื่อให้ใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อใช้ข้อมูลหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน ประเภทของระบบเครือข่าย โดยแบ่งตามลักษณะการติดตั้งทางภูมิศาสตร์ แบ่งได้เป็น 1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : Lan) เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้บริเวณเฉพาะที่เช่น ภายในอาคารเดียวกัน หรือภายในบริเวณเดียวกัน ระบบแลนจะช่วยให้มีการติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ร่วมกัน และใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า 2. เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network : Man) เป็นเครือข่ายขนาดกลางใช้ภายในเมืองหรือจังหวัด ตัวอย่างเช่น เคเบิลทีวี 3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network : Wan) เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ ติดตั้งใช้งานบริเวณกว้างมีสถานีหรือจุดเชื่อมมากมาย และใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ไมโครเวฟ ดาวเทียม 4. เครือข่ายระหว่างประเทศ (International Network) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อระหว่างประเทศ โดยใช้สายเคเบิล หรือดาวเทียม
  • 13. รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย การเชื่อมต่อเครือข่ายมีอยู่ด้วยกันหลายลักษณะ แต่ลักษณะที่นิยมใช้นั้นมีอยู่ด้วยกัน 4 ลักษณะ ได้แก่ แบบดาว (StarNetwork) นั้นจะเป็นลักษณะของการต่อเครือข่ายที่ Work station แต่ละตัวต่อรวมเข้าสู่ศูนย์กลางสวิตซ์ เพื่อสลับตำแหน่งของเส้นทางของข้อมูลใด ๆ ในระบบ ดังนั้นใน โทโปโลยี แบบดาว คอมพิวเตอร์จะติดต่อกันได้ใน 1 ครั้ง ต่อ 1 คู่สถานีเท่านั้น เมื่อสถานีใดต้องการส่งข้องมูลมันจะส่งข้อมูลไปยังศูนย์กลางสวิทซ์ก่อน เพื่อบอกให้ศูนย์กลาง สวิตซ์มันสลับตำแหน่งของคู่สถานีไปยังสถานีที่ต้องการติดต่อด้วย ดังนั้นข้อมูลจึงไม่เกิดการชนกันเอง ทำให้การสื่อสารได้รวดเร็วเมื่อสถานีใดสถานีหนึ่งเสีย ทั้งระบบจึงยังคงใช้งานได้ ในการค้นหาข้อบกพร่องจุดเสียต่างๆ จึงหาได้ง่ายตามไปด้วย แต่ก็มีข้อเสียที่ว่าต้องใช้งบประมาณสูงในการติดตั้งครั้งแรก ลักษณะการเชื่อมต่อจะเป็นดังรูป
  • 14. ข้อดี * ติดตั้งและดูแลง่าย * แม้ว่าสายที่เชื่อมต่อไปยังบางโหลดจะขาด โหลดที่เหลืออยู่ก็ยังจะสามารถทำงานได้ ทำให้ระบบเน็ตเวิร์กยังคงสามารถทำงานได้เป็นปกติ * การมี Central node อยู่ตรงกลางเป็นตัวเชื่อมระบบ ถ้าระบบเกิดทำงานบกพร่องเสียหาย ทำให้เรารู้ได้ทันทีว่าจะไปแก้ปัญหาที่ใด ข้อเสีย * เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น central node และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในสถานีงาน * การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้งจะต้องเกี่ยวเนื่องกับโหลดอื่นๆ ทั้งระบบ * เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง แบบ วงแหวน (Ring Network )
  • 15. ได้ถูกออกแบบให้ใช้ Media Access Units (MAU) ต่อรวมกันแบบเรียงลำดับเป็นวงแหวน แล้วจึงต่อ คอมพิวเตอร์ (PC) ที่เป็น Workstation หรือ Server เข้ากับ MAU ใน MAU 1 ตัวจะสามารถต่อออกไปได้ถึง 8 สถานี เมื่อสถานีถัดไปนั้นรับรู้ว่าต้องรับข้อมูล แล้วมันจึงส่งข้อมูลกลับ เป็นการตอบรับ เมื่อสถานีที่จะส่งข้อมูลได้รัยสัญญาณตอบรับ แล้วมันจึงส่งข้อมูลครั้งแรก แล้วมันจะลบข้อมูลออกจากระบบ เพื่อให้ได้ใช้ข้อมูลอื่นๆ ต่อไป ดังนั้นทุกสถานีบน โทโปโลยี วงแหวนจะได้ทำงานทั้งหมดซึ่งจะคอยเป็นผู้รับและผู้ส่งแล้วยังเป็นรีพีทเตอร์ในตัวอีกด้วย ข้อมูลที่ผ่านไปแต่ละสถานี นั้น ข้อมูลที่เป็นตำแหน่งที่อยู่ตรงกับ สถานีใด สถานีนั้นจะรับข้อมูลเก็บไว้ แต่มันจะไม่ลบข้อมูลออกจากระบบ มันยังคงส่งข้อมูลต่อไป ดังนั้นผู้ส่งข้อมูลครั้งแรกเท่านั้นที่จะเป็นผู้ลบข้อมูลออกจากระบบ ครั้นเมื่อสถานีส่ง TOKEN มาถามสถานีถัดไปแล้วแต่กลับไม่ได้รับคำตอบ สถานีส่ง TOKEN จะทวนซ้ำข้อมูลเป็นครั้งที่สอง ถ้ายังคงไม่ได้รับคำตอบ จึงส่งข้อมูลออกไปได้ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาที่ไม่ให้ระบบหยุดชะงักการทำงานลงของระบบ เนื่องจากสถานีหนึ่งเกิดการเสียหาย หรือชำรุด ระบบจึงยังคงสามารถทำงานต่อไปได้ ลักษณะการเชื่อมต่อจะเป็นดังรูป
  • 16. ข้อดี 1. ใช้เคเบิลและเนื้อที่ในการติดตั้งน้อย 2. คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน ข้อเสีย 1. หากโหลดใดโหลดหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นจะค้นหาได้ยากว่าต้นเหตุอยู่ที่ไหน และวงแหวนจะขาดออก แบบบัส (BusNetwork) เป็นลักษณะของการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อ เป็นระบบเครือข่าย ด้วยสายเคเบิลยาวต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ โดยมีคอนเน็คเตอร์ในการเชื่อมต่อ โดยลักษณะของการส่งหรือรับข้อมูล จะเป็นการส่งข้อมูล ทีละเครื่องในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เท่านั้นจากนั้นเครื่องปลายทาง ก็จะส่งสัญญาณข้อมูลกลับมา และในการเชื่อมต่อในระบบ Bus นี้จะต้องมี T-Connector ที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ และมี Terminator เป็นอุปกรณ์ปิดปลายสายสัญญาณ ของทั้งระบบ ซึ่ง Terminaltor จะคอยเป็นตัวดูดซับสัญญาณไม่ให้มีการไหลกับไป กวนกับระบบสัญญาณอื่นในสาย ซึ่งโดยทั่วไป จะมีค่าความต้านทานประมาณ 50 โอห์ม บางครั้งถ้าไม่มี Terminator เราสามารถให้ตัว R ทั่วไปที่ใช้ในอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ขนาด 50 โอห์มแทนได้เหมือนกัน ลักษณะการเชื่อมต่อก็จะเป็นดังรูป
  • 17. ข้อดี 1. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายเคเบิลมากนัก 2. สามารถขยายระบบได้ง่าย 3. เสียค่าใช้จ่ายน้อย ข้อเสีย 1. อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมีการขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องอื่นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย 2. การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยากเนื่องจากขณะใดขณะหนึ่งจะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อความออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ก ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้
  • 18. แบบผสม (Hybrid Network) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบต่างๆ หลายๆ แบบเข้าด้วยกัน คือจะมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย หลายๆ เครือข่ายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานเครือข่ายบริเวณกว้าง เป็นตัวอย่างเครือข่ายผสมที่พบเห็นกัน มากที่สุด เครือข่ายแบบนี้จะเชื่อมต่อเครือข่ายเล็ก - ใหญ่หลากหลายเผ่าพันธ์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียว ซึ่งเครือข่ายที่ถูกเชื่อมต่ออาจจะอยู่ห่างกันคนละจังหวัด หรือ อาจจะอยู่คนละประเทศก็เป็นได้ การเข้าถึงระยะไกล
  • 19. คุณสมบัติเด่นอย่างหนึ่งของเครือข่ายแบบผสมก็คือ ผู้ใช้สามารถเชื่อม ต่อกับเครือข่ายจาก ระยะไกลเช่น อยู่ที่บ้าน หรือ อยู่ภาคสนามได้ ในการ เชื่อมต่อก็จะได้คอมพิวเตอร์สั่งโมเด็มหมุนสัญญาณให้วิ่งผ่านสาย โทรศัพท์ไปเชื่อมต่อกับเครือข่ายหลังจากการเชื่อมต่อผู้ใช้สามารถเข้าไปเรียกใช้ข้อมูลได้เสมือนกับว่ากำลังใช้เครือข่ายที่บริษัท การบริหารเครือข่าย เนื่องจากเครือข่ายผสมเป็นการผสมผสานเครือข่ายหลายแบบเข้าด้วย กัน ซึ่งแต่ละเครือข่ายก็มีรายละเอียดทางเทคนิคแตกต่างกันไป ดังนั้น การบริหารเครือข่ายก็อาจจะยากกว่าเครือข่ายแบบอื่น ๆด้วยเหตุนี้ บริษัทที่มีเครือข่ายผสมขนาดใหญ่ของตัวเองก็มักจะตั้งแผนก ที่ทำหน้าที่ดูแลและบริหารเครือข่ายนี้โดยเฉพาะค่าใช้จ่าย โดยปกติเครือข่ายแบบผสมจะมีราคาแพงกว่าเครือข่ายแบบต่างๆ เพราะ เครือข่ายแบบนี้เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ และมีความซับซ้อนสูง นอกจาก นี้ยังต้องมีการลงทุนเกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัยมากกว่า เครือข่ายอื่นอีกด้วย เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อระยะไกล อุปกรณ์ที่ใช้การสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์
  • 20. โมเด็ม (Modem) ฮับ หรือ รีพีทเตอร์ (Hub, Repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ทวน และขยายสัญญาณ เพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่น ให้ได้ระยะทางที่ยาวไกลขึ้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลก่อนและหลัง การรับ - ส่ง และไม่มีการใช้ซอฟท์แวร์ใดๆ มาเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ชนิดนี้ การติดตั้งจึงทำได้ง่าย ข้อเสียคือ ความเร็วในการส่งข้อมูล จะเฉลี่ยลดลงเท่ากันทุกเครื่อง เมื่อมีคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อมากขึ้น
  • 21. สวิทช์ หรือ บริดจ์ (Switch, Bridge) เป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อ เครือข่ายท้องถิ่น หรือ แลน (LAN) ประเภทเดียวกัน ใช้โปรโตคอลเดียวกัน สองวงเข้าด้วยกัน เช่น ใช้เชื่อมต่อ อีเธอร์เน็ตแลน (Ethernet LAN) หรือ โทเคนริงก์แลน (Token Ring LAN) ทั้งนี้ สวิทช์ หรือ บริดจ์ จะมีความสามารถในการเชื่อมต่อ ฮาร์ดแวร์ และตรวจสอบข้อผิดพลาด ของการส่งข้อมูลได้ด้วย ความเร็วในการส่งข้อมูล ก็มิได้ลดลง และติดตั้งง่าย เร้าเตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานคล้าย สวิทช์ แต่จะสามารถเชื่อมต่อ ระบบที่ใช้สื่อ หรือสายสัญญาณต่างชนิด กันได้ เช่น เชื่อมต่อ อีเธอร์เน็ตแลน (Ethernet LAN) ที่ส่งข้อมูลแบบ ยูทีพี (UTP: Unshield Twisted Pair) เข้ากับ อีเธอร์เน็ตอีกเครือข่าย แต่ใช้สายแบบโคแอ็กเชียล (Coaxial cable) ได้ นอกจากนี้ยังช่วยเลือก หรือกำหนดเส้นทางที่จะส่งข้อมูลผ่าน และแปลงข้อมูลให้เหมาะสมกับการนำส่ง แน่นอนว่าการติดตั้งย่อมยุ่งยากมากขึ้น
  • 22. เกทเวย์ (Gateway) เ ป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงสุด ในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยไม่มีขีดจำกัด ทั้งระหว่างเครือข่ายต่างระบบ หรือแม้กระทั่งโปรโตคอล จะแตกต่างกันออกไป เกทเวย์ จะแปลงโปรโตคอล ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ต่างชนิดกัน จัดเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพง และติดตั้งใช้งานยุ่งยาก เกตเวย์บางตัว จะรวมคุณสมบัติในการเป็น เร้าเตอร์ ด้วยในตัว หรือแม้กระทั่ง อาจรวมเอาฟังก์ชั่นการทำงาน ด้านการรักษาความปลอดภัย ที่เรียกว่า ไฟร์วอลล์ (Firewall) เข้าไว้ด้วย
  • 24.