SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  9
บทที่ 5
                 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

      การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นการพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้
เกม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ซึ่งมีขั้นตอนและผลของ
การศึกษาสรุปได้ดังนี้
        1. ความมุ่งหมายของการวิจัย
        2. สรุปผลการวิจัย
        3. อภิปรายผล
        4. ข้อเสนอแนะ

ความมุ่งหมายของการวิจัย

      1. เปรียบเทียบความสามารถในการพูดก่อน-หลังการทำา
กิจกรรมพัฒนาทักษะการพูด           โดยใช้เกมของนักเรียน
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
      2. ศึกษาพฤติกรรมการเรียนระหว่างการใช้เกมแข่งขันที่ไม่
เสริมแรงด้วยของรางวัล            และการใช้เกมแข่งขันที่
เสริมแรงด้วยของรางวัล

สรุปผลการวิจัย

       จากผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
         1. ประสิทธิภาพการพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้เกม ของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4      มีค่า 60.00/60.55 ซึ่งไม่เป็น
ไปตามเกณฑ์ที่กำาหนด 70/70
         2. ดัชนีประสิทธิผลความสามารถในการพัฒนาทักษะการ
พูดโดยใช้เกมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่า 0.3213 หรือ
คิดเป็นร้อยละ 32.13 แสดงว่าการพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้เกม
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทำาให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 32.13
         3. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในพูด ก่อน-หลังการ
ทำากิจกรรมการพัฒนาทักษะ การพูดโดยใช้เกมของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่าคะแนนสอบครั้งหลังสูงกว่าครั้งแรกอย่างมี
นัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
55

          4. ศึกษาพฤติกรรมที่เกิดจากการเสริมแรงด้วยของรางวัล
และไม่เสริมแรงด้วยของรางวัลในการพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้
เกมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สรุปได้ดังนี้
            4.1 การเสริมแรงด้วยของรางวัล
               จากการสังเกตการสังเกตพฤติกรรมการพูดภาษา
อังกฤษของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เกมแข่งขัน
ที่มีการเสริมแรงด้วยของรางวัลนั้น พบว่าผู้เรียนมีความต้องการที่จะ
ทำาพฤติกรรมซำ้า ร้อยละ 70.73 มีความสนใจในการทำากิจกรรม
ร้อยละ 73.17 มีความกระตือรือร้นในการทำากิจกรรม ร้อยละ 63.41
และมีความสนุกสนานในการทำากิจกรรม ร้อยละ 90.24 จากการ
สังเกตพฤติกรรมดังกล่าวพบว่าพฤติกรรมที่ผู้เรียนตอบสนองในการ
ทำากิจกรรมที่มีการเสริมแรงด้วยของรางวัลทั้งหมด ร้อยละ 74.39
            4.2 การไม่เสริมแรงด้วยของรางวัล
               จากการสังเกตการสังเกตพฤติกรรมการพูดภาษา
อังกฤษของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เกมแข่งขัน
ที่ไม่มีการเสริมแรงด้วยของรางวัลนั้น พบว่าผู้เรียนมีความต้องการ
ที่จะทำาพฤติกรรมซำ้า ร้อยละ 26.83 มีความสนใจในการทำากิจกรรม
ร้อยละ 17.07 มีความกระตือรือร้นในการทำากิจกรรม ร้อยละ 14.63
และมีความสนุกสนานในการทำากิจกรรม ร้อยละ 34.14 จากการ
สังเกตพฤติกรรมดังกล่าวพบว่าพฤติกรรมที่ผู้เรียนตอบสนองในการ
ทำากิจกรรมที่ไม่มีการเสริมแรงด้วยของรางวัลทั้งหมด ร้อยละ 23.17

อภิปรายผลการวิจัย

        จากผลการศึกษาการพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้เกม ของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประเด็นที่นำามาอภิปรายผลได้ดังนี้
          1. ประสิทธิภาพการพัฒนาทักษะการพัฒนาทักษะการพูด
โดยใช้เกม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีคะแนนระหว่าง
เรียนจากแผนการจัดการเรียนรู้ทั้ง 4 แผน คิดเป็นร้อยละ 60.00
คะแนนหลังเรียนคิดเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 60.55 และ
ประสิทธิภาพการพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้เกม 60.00/60.55 ซึ่ง
ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำาหนด ทั้งนี้เนื่องมาจากนักเรียนขาดความ
คุ้นเคยกับการพูดภาษาอังกฤษ จึงทำาให้ผู้เรียนเกิดความวิตกกังวล
และความตื่นเต้นขณะทำากิจกรรมเกี่ยวกับการพูดซึ่งเป็นสิ่งที่ค่อน
ข้างยาก ดังตัวอย่างเช่นเกม Find Find Find (Arranging game)
ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 60.16 เป็นเกมที่นักเรียนทำาคะแนน
เฉลี่ยรวมน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับเกมอื่นๆ ซึ่งเกมนี้เป็นเกมแข่งขันที่
56

ให้นักเรียนแต่ละคู่พูดเรียงคำาศัพท์ที่สลับตำาแหน่งกันอยู่ จากนั้นนำา
คำาศัพท์ที่ได้มาแต่งเป็นประโยค โดยจะมีการจับเวลาเมื่อเริ่มเปิด
แผ่นป้ายคำาศัพท์ ทีมที่ทำาเวลาได้ดีที่สุดและถูกต้องที่สุดจะเป็นผู้ชนะ
จากเกมดังกล่าวจะพบว่านักเรียนเกิดความวิตกกังวลและขาดความ
มั่นใจทั้งกลัวว่าจะออกเสียงผิดและเรียงคำาศัพท์ได้ไม่ถูกต้องส่งผล
ให้เกิดความประหม่าในการพูด นอกจากนั้นการจับเวลายังสร้าง
ความตื่นเต้นและแรงกดดันให้กับผู้เรียนทำาให้ผู้เรียนบางคนเกิด
ความกลัวและไม่อยากร่วมกิจกรรม ซึ่งสอดคล้องกับพอร์เตอร์
(Porter. 1992 : Web Site) กล่าวว่า การพูดเป็นปัญหาหนึ่งที่
เกิดขึ้นมากในชั้นเรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งสาเหตุของปัญหาที่พบบ่อย
คือ ความประหม่า ความตื่นเต้น ความวิตกกังวล กลัวถูกวิจารณ์
หรือกลัวเสียหน้าต่อหน้าเพื่อนนักเรียนในชั้นเรียน และอีกหนึ่ง
ปัญหาที่สำาคัญคือ ผู้เรียนขาดความมั่นใจในการพูด จึงทำาให้เกิด
ความรู้สึกเบื่อ ไม่มีส่วนร่วมกับหัวข้อในการพูด และทำาให้ผู้เรียน
ขาดแรงจูงใจที่จะพูด ส่งผลให้ผู้นักเรียนขาดความเชื่อมั่นในความ
สามารถในการพูดของตนเองและรู้สึกว่าตนเองมีทักษะในการใช้
ภาษาไม่เพียงพอ ผู้เรียนที่มีปัญหาเหล่านี้จำาเป็นต้องได้รับการส่ง
เสริมการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ
          ถึงแม้ว่าผลจะไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้แต่ผลที่ได้ก็
ถือว่าสูงพอสมควร จึงยืนยันได้ว่า จากการทดลองนี้ ถึงจะใช้เวลา
ในการทดลองไม่มากนัก แต่เกมก็ช่วยให้นักเรียนมีความ
กระตือรือร้นและและความพยายามในการพูดและการใช้ภาษาใน
การสื่อสาร นอกจากนั้นเกมยังสร้างความบันเทิงและสร้าง
บรรยากาศในการเรียนภาษาที่ดีขึ้น ทำาให้นักเรียนเกิดความผ่อน
คลายส่งผลให้เกิดการจดจำากับสิ่งที่เรียนได้ดีขึ้นด้วย โดยสอดคล้อง
กับยูเบอร์แมน (Uberman. 1998 : website) กล่าวว่า เกมมี
ประโยชน์ต่อการเรียนรู้ภาษาเป็นอย่างมาก เกมสามารถทำาให้ผู้
เรียนได้มีโอกาสใช้ภาษานอกเหนือจากการเรียนในบทเรียน การ
ใช้เกมช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงกิจกรรมการเรียนได้มากยิ่งขึ้น นอก
เหนือจากความบันเทิงแล้วยังช่วยลดความเขินอายและเพิ่มโอกาส
ในการแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกมากยิ่งขึ้น กิจกรรมเกมถือ
เป็นกิจกรรมนันทนาการในชั้นเรียนที่สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย
ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ภาษาและจดจำาสิ่งที่ได้เรียนรู้ได้เร็วขึ้น ผู้
เรียนจะเกิดการเรื่องรู้อย่างแท้จริงและสามารถใช้ภาษาได้สัมพันธ์
กับเรื่องที่เรียนมาก่อนได้เป็นอย่างดี กล่าวสรุปคือ เกมภาษาส่งเสริม
ความบันเทิงในการเรียน การสอนส่งเสริมความคล่องแคล้วในการ
ใช้ภาษานั้นเอง
57

           นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับงานวิจัยของกุลเชษฐ สุทธิดี
(2544 : บทคัดย่อ) ได้ทำาการศึกษาเรื่อง การใช้กลวิธีการเรียน
แบบร่วมมือที่เน้นการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกมเพื่อพัฒนาทักษะ
การพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน โดยการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ กลุ่ม
ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ซึ่ง
คัดเลือกโดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
ได้แก่ รูปแบบการสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยวิธีการเรียน
แบบร่วมมือที่เน้นการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม แบบบันทึกการ
พัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ และแบบบันทึกสังเกตพฤติกรรม
การเรียนทักษะการพูดของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
คือ ค่าเฉลี่ยและร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า การเรียนแบบร่วมมือที่
เน้นการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกมช่วยให้นักเรียนมีการพัฒนา
ทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการ
เรียนทักษะการพูดภาษาอังกฤษตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์มาก
ขึน ในด้านความเชื่อมั่นและกล้าแสดงออก มีความกระตือรือร้นใน
   ้
การทำากิจกรรม และมีความร่วมมือในการทำางานมากยิ่งขึ้น
           2. ดัชนีประสิทธิผลความสามารถในการพัฒนาทักษะการ
พูดโดยใช้เกมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่า 0.3213 หรือ
คิดเป็นร้อยละ 32.13 แสดงว่าการพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้เกมของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทำาให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ
32.13 โดยการทำากิจกรรมการพูดที่หลากหลายเปิดโอกาสให้ผู้เรียน
ได้ใช้ภาษาที่เป็นอิสระไม่เคร่งเครียดและเกมแข่งขันก็มีความ
สนุกสนาน ตื่นเต้น และท้าทายความสามารถของผู้เรียนให้เกิดความ
กระตือรือร้นในการทำากิจกรรม ดังตัวอย่างเช่น เกม Blind man’s
bluff (Searching game) ซึ่งเกมดังกล่าวจะให้นักเรียนแข่งขันกัน
เป็นกลุ่ม โดยในแต่ละกลุ่มนั้นนักเรียนหนึ่งคนจะถูกปิดตาเหมือนกับ
คนตาบอดแล้วให้เพื่อนในกลุ่มบอกทางให้เพื่อนที่ถูกปิดตาเดินไปยัง
ตำาแหน่งที่ต้องการให้ถูกต้อง โดยครูจะเป็นผู้กำาหนดจุดต่างๆในชั้น
เรียนเช่น พิพิธภัณฑ์อยู่หลังห้อง ห้างสรรพสินค้า อยู่กลางห้อง
เป็นต้น แล้วสมาชิกที่เหลือจะเป็นคนเลือกแผ่นป้ายจาก power point
หากได้สถานที่ใด สมาชิกในกลุ่มจะต้องช่วยกันอธิบายให้คนที่ถูกปิด
ตาสามารถไปยังสถานที่นั้นๆให้ถูกต้องและเร็วที่สุด กลุ่มไหนทำาเวลา
ได้ดีทสุดก็จะเป็นผู้ชนะ ซึ่งสอดคล้องกับไรท์ (Wright. 1989 : 1)
        ี่
กล่าวว่า เกมสามารถช่วยกระตุ้นผู้เรียนให้มีความสนใจในการเรียน
ภาษามากขึ้น และยังช่วยให้บรรยากาศในการเรียนภาษาดีขึ้น ทำาให้
ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และได้แสดงทัศนคติของ
ตนเองให้ผู้อื่นได้ทราบ และที่สำาคัญยังช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึก
58

การใช้ภาษาได้อย่างไม่เคร่งเครียด เป็นการสร้างบรรยากาศการเรียน
รู้ที่สนุกสนานและผ่อนคลาย ข้อดีอีกอย่างของการใช้เกมคือช่วยให้ผู้
เรียนลดความวิตกกังวลลงทำาให้สามารถพูดได้อย่างคล่องแคล่วขึ้น
และยังมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ภาษา นอกจาก
นั้นวอนดราเกอร์ (Vondracek. 2009 : Web Site) กล่าวว่า เกมมี
ส่วนช่วยส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดย
มีเกมเป็นตัวโน้มน้าวและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในหัวข้อที่
เรียนได้ อีกทั้งยังสอดคล้องกับ จันดา (Chanda. 2008 : Web Site)
กล่าวว่า เกมเป็นกิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้ภาษาที่ช่วยให้ผู้เรียนได้
ฝึกฝนภาษาในทางที่ผ่อนคลายส่งผลให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านภาษา
และทักษะด้านความคิด ซึ่งในเกมนี้ช่วยให้ผู้เรียนสามารถพูดหรือ
แสดงออกมาได้อย่างชัดเจนและสามารถสร้างโอกาสในการใช้ภาษา
ได้อย่างมีความหมาย ดังนั้นเกมจึงเป็นเทคนิคการสอนภาษาที่มี
ประสิทธิภาพมาก ช่วยเพิ่มความสามารถในการพูดของผู้เรียนได้เป็น
อย่างดี เป็นวิธีที่สามารถทำาให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเรียน
ได้ เพราะมีการสร้างแรงจูงใจและมีการเสริมแรงทางบวกด้วยของ
รางวัล
           นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับงานวิจัยของพอล ไบรโอดี้
(Paul Briody. 2011 : website) ได้ทำาการศึกษาผลของการใช้
เกมในการสอนภาษาสำาหรับเด็ก โดยทำาการศึกษากับนักเรียน EFL
ระดับหก จำานวน 50 คน จากโรงเรียนประถมแห่งหนึ่ง โดยการวิจัย
เชิงปริมาณและคุณภาพ ซึ่งความมุ่งหมายของการวิจัยในครั้งนี้คือ
ศึกษาผลรวมของการใช้เกมในการพัฒนาความสามารถทางภาษา
อังกฤษของผู้เรียนเช่น การพัฒนาทางด้านคำาศัพท์ ความวิตกกังวล
ในการทำากิจกรรมที่เกิดจากความกดดันของเพื่อน ซึ่งผลของการ
วิจัยในครั้งนี้ปรากฏว่าผู้เรียนมีพัฒนาการทางด้านภาษาอังกฤษที่ดี
ขึนอย่างชัดเจน ทั้งทางด้านพัฒนาการทางด้านคำาศัพท์และระดับ
   ้
ความวิตกกังวลที่ลดลงในการทำากิจกรรมร่วมกับเพื่อน แสดงให้เห็น
ว่าเกมสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะทางด้านภาษาได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
             3. การเปรียบเทียบคะแนนการพูดภาษาอังกฤษเฉลี่ย
กลุ่มเดียวกันระหว่างก่อนเรียน (pre-test) และหลังเรียน (post-
test) พบว่าผลรวมของคะแนนสอบครั้งหลังเรียนสูงกว่าผลรวม
คะแนนสอบก่อนเรียนซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานการวิจัย ซึ่งแสดงให้
เห็นว่าหลังจากการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ
การพูดโดยใช้เกมแล้วนักเรียนมีทักษะการพูดเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัย
สำาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้เนื่องจากการจัดกิจกรรมการ
59

พัฒนาทักษะการพูดโดยใช้เกมทำาให้ผู้เรียนเกิดเจตนคติที่ดีต่อการ
เรียนรู้ภาษาอังกฤษ ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความกล้าในการใช้
ภาษาในสื่อสาร และเกมยังเป็นตัวกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้
นักเรียนเกิดความพยายามในการพูดและการเรียนรู้ได้อย่างไม่เขิน
อาย ดังตัวอย่างจากการทำากิจกรรมเกม Find the shop (Search
games) ซึ่งนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 73.17 ซึ่งถือว่าเป็นคะแนนที่
ค่อนข้างสูง เกม Find the shop เป็นเกมที่นักเรียนทุกคนจะมีแผนที่
และข้อมูลอยู่คนละชุด ซึ่งแผนที่แต่ละแผ่นจะบอกตำาแหน่งของร้าน
ค้าที่แตกต่างกัน โดยแต่ละคนจะได้ข้อมูลไม่เหมือนกัน หลังจากนั้น
ครูก็จะให้นักเรียนทีละคนลุกขึ้นอธิบายลักษณะของแผนที่ที่ตนได้
รับว่าร้านค้าในแผนที่ของตนอยู่ตำาแหน่งใด แล้วให้นักเรียนที่เหลือ
เขียนตำาแหน่งของร้านที่เพื่อนอธิบายลงในแผนที่ให้ถูกต้อง ผลจาก
การเล่นเกมปรากฏว่านักเรียนสามารถพูดซักถามข้อมูลและพูดให้
ข้อมูลได้อย่างคล่องแคล่ว มีความพยายามในการใช้ภาษาสื่อสาร
และมีความสนุกสนานในการเล่นเกม จากเกมดังกล่าวส่งผลทำาให้
นักเรียนเกิดพฤติกรรมกระตือรือร้น กล้าที่จะพูดและสื่อสารได้อย่าง
เป็นธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกับหยิน หยอง เหมย (Yin Yong Mei.
2000 : website) ได้กล่าวว่า เกมช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้
และเกิดทักษะในการใช้ภาษาดีขึ้น เนื่องจากเกมเป็นสิ่งที่สร้างความ
สนุกสนานให้ผู้เรียนทำาให้เกิดค้นคว้า และการโต้ตอบกันถือเป็นอีก
หนึ่งวิธีในการฝึกการใช้ภาษา เป็นการเพิ่มความหลากหลายให้กับ
บทเรียนและเพิ่มแรงจูงใจในการเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่
อยู่ในวัยเด็ก นอกจากนั้น เกมยังช่วยทำาให้ผู้เรียนเกิดความกล้าที่จะ
ใช้ภาษาในการสื่อสาร แม้บางครั้งจะเกิดการลังเลบ้าง แต่ก็ถือว่า
เป็นตัวกระตุ้นที่ดีอีกอย่างหนึ่งเลย ถึงแม้ว่าผู้เรียนบางคนอาจเกิด
ความเขินอายแต่ก็ยังสามารถมีส่วนร่วมในการแสดงพฤติกรรมเชิง
บวกได้และทำาให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้เหมือนกับ
ภาษาแม่ โดยผู้เรียนจะไม่เกิดความรู้สึกกดดันหรือเครียดทำาให้
สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้น

         นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับกาญจภา มานิตย์ (2547 :
บทคัดย่อ) ได้ทำาการศึกษาการพัฒนาทักษะพูดโดยใช้เกม ซึ่งการ
ศึกษาครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะพูดภาษาอังกฤษของ
นักเรียน และเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของ
นักเรียนที่เรียนโดยใช้เกมประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน ผล
การศึกษาค้นคว้าพบว่า การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพูดภาษา
อังกฤษโดยใช้เกมส่งผลให้นักเรียนมีการพัฒนาระดับความสามารถ
60

ทักษะทางการพูดอังกฤษที่สูงกว่าก่อนเรียน ในด้านความ
คล่องแคล่ว สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจ ข้อความที่นำามาสื่อสารมี
คุณภาพ การออกเสียงถูกต้องชัดเจนอยู่ในระดับดี การใช้เกมใน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนยังส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรม
การเรียนภาษาอังกฤษอยู่ในระดับดีมากทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ความ
สนใจ ความกระตือรือร้น และความตั้งใจในการประกอบกิจกรรม มี
พฤติกรรม 2 ด้านที่อยู่ในระดับดี ได้แก่ ความพยายามที่จะสื่อสาร
โดยใช้ภาษาพูดและท่าทาง และความพยายามที่จะไม่ใช้ภาษาไทย
ในห้องเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการ
พูดภาษาอังกฤษโดยใช้เกมประกอบการเรียน ทำาให้นักเรียนมี
เจตคติที่ดต่อภาษาอังกฤษ และในด้านพฤติกรรมของนักเรียน
            ี
สังเกตพบว่านักเรียนมีความกระตือรือร้น มีความพยายามที่จะ
สือสารด้วยภาษาอังกฤษ สนุกสนานในการเรียนส่งผลให้นักเรียนมี
  ่
ระดับความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษอยู่ในระดับพอใช้
           4. ศึกษาพฤติกรรมที่เกิดจากการเสริมแรงด้วยของรางวัล
และไม่เสริมแรงด้วยของรางวัลในการพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้
เกมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สรุปได้ดังนี้
              4.1 การเสริมแรงด้วยของรางวัล
                จากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนจากการเสริมแรง
ด้วยของรางวัลในกิจกรรมการพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้เกม พบ
ว่าผู้เรียนตอบสนองในการทำากิจกรรมที่มีการเสริมแรงด้วยของ
รางวัลทั้งหมด ร้อยละ 74.39 โดยผู้เรียนมีความต้องการที่จะทำา
พฤติกรรมซำ้า มีความสนใจในการทำากิจกรรม มีความกระตือรือร้น
ในการทำากิจกรรม และมีความสนุกสนานในการทำากิจกรรม ดังเช่น
เกม Super star Award ซึ่งเป็นกิจกรรมเกมแข่งขันที่มีการเสริม
แรงด้วยของรางวัล นักเรียนสามารถทำาคะแนนได้สูงมากถึงร้อยละ
72.35 โดยรูปแบบของกิจกรรมจะเป็นการ Role play แสดงบทบาท
สมมติตามสถานการณ์ที่กำาหนด เมื่อแสดงเสร็จให้เพื่อนในชั้นเรียน
ร่วมกันโหวตหาทีมที่สามารถใช้ภาษาได้ถูกต้องและแสดงได้ดีสุด
ภาพรวมของกิจกรรมที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดคือ ผู้เรียนมีการแบ่ง
หน้าที่และบทบาทกันอย่างชัดเจน มีการซ้อมการแสดง และเตรียม
ภาษาเป็นอย่างดี เนื่องจากการตัดสินเกิดจากการโหวตดังนั้นแต่ละ
กลุ่มจึงคิดหาวิธีที่จะออกแบบและนำาเสนอการแสดงที่มีความหลาก
หลายและสร้างความประทับใจให้กับผู้ชม จากกิจกรรมดังกล่าว ส่ง
เสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบร่วมมือภายในกลุ่มเล็กๆ และ
แต่ละกลุ่มก็มีความพยายามในการแสดงและความพยายามในการ
ใช้ภาษาเป็นอย่างมาก เนื่องจากครูผู้สอนได้สร้างเงื่อนไขไว้แต่ต้น
61

ว่ากลุ่มที่ใช้ภาษาอังกฤษได้มากและถูกต้องที่สุดจะได้รับรางวัล
พิเศษจากครูเช่นเดียวกัน ซึ่งสอดคล้องกับ มูแซดซิโอ
(Musacchio. 2011 , website) กล่าวว่า การเสริมแรงเป็นเครื่อง
มือที่ถือว่ามีประสิทธิภาพมากสำาหรับการสอนผู้เรียนในทุกระดับชั้น
ซึ่งมีลักษณะการใช้วิธีการให้ของรางวัลหรือสิ่งตอบแทนเพื่อ
เป็นการขยายพฤติกรรมที่พึงประสงค์หรือการกระทำาที่ผู้สอน
ต้องการจะให้เกิดขึ้นซำ้าอีก เช่น การตอบคำาถามในชั้นเรียน เมื่อผู้
เรียนตอบถูกครูเสริมแรงด้วยของรางวัลก็จะทำาให้ผู้เรียนเกิดความ
กระตือรือร้นและแรงจูงใจในการตอบคำาถามอีกครั้ง


          4.2 การไม่เสริมแรงด้วยของรางวัล
               จากการสังเกตการสังเกตพฤติกรรมการพูดภาษา
อังกฤษของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เกมแข่งขัน
ที่ไม่มีการเสริมแรงด้วยของรางวัลนั้น พบว่าพฤติกรรมที่ผู้เรียนตอบ
สนองในการทำากิจกรรมเพียง ร้อยละ 23.17 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า
จำานวนนักเรียนที่สนใจในกิจกรรมการเรียนนั้นมีเพียงร้อยละ
23.17 เท่านั้น ดังจะเห็นได้จากเกม My favorite holiday โดยเป็น
กิจกรรมเกมการพูดบรรยายวันสำาคัญที่ตนเองชื่นชอบแล้วให้เพื่อน
ในชั้นเรียนทาย เป็นกิจกรรมที่ไม่มีการเสริมแรงด้วยของรางวัล แต่
จะมีเพียงการเสริมแรงด้วยคำาชมจากครูผู้สอนเท่านั้น ผลจากการ
ทำากิจกรรมในช่วงแรกผู้เรียนเกิดการตอบสนองในระดับปานกลาง
แต่ในช่วงหลังผู้เรียนเกิดความเฉื่อยชาเริ่มเบื่อหน่ายและไม่สนใจ
ในการทำากิจกรรม แต่ละคนก็จะสนแต่กับเรื่องตนเองจะพูดเท่านั้น
ไม่สนใจเพื่อนที่นำาเสนอหน้าชั้นเรียนขาดความสนใจในกิจกรรม
ส่งผลให้บรรยากาศในการทำากิจกรรมในชั้นเรียนดำาเนินไปได้ไม่ดี
นัก ซึ่งสอดคล้องกับลาร์รีฟ (Larrive. 2005 : 190-191) ได้กล่าว
ถึง การเสริมแรงไว้ว่า ผู้เรียนจะเกิดความพึงพอใจและพฤติกรรมที่
ตอบสนองในด้านบวกที่มากขึ้นเมื่อได้รับผลตอบแทนที่จับต้องได้
มากกว่าคำากล่าวเชยชม โดยแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่าผู้เรียนจะมี
การตอบสนองทางพฤติกรรมที่ดีเมื่อมีการเสริมแรงด้วยของรางวัลที่
เป็นวัตถุมากกว่าการเสริมแรงด้วยคำาพูดหรือสิ่งที่ไม่สามารถจับต้อง
ได้

ข้อเสนอแนะ

      1. ข้อเสนอแนะทั่วไป
62

           1.1 ในการเล่นเกมที่มีการแข่งขันแบบต้องจับคู่หรือการ
แข่งขันเป็นกลุ่ม ครูควรให้ความสำาคัญกับการเลือกเพื่อนร่วมกลุ่ม
ของนักเรียน เมื่อเป็นกิจกรรมเกมการแข่งขันนักเรียนกลุ่มเก่งมักจะ
จับตัวกันเป็นกลุ่ม ส่งผลให้นักเรียนกลุ่มที่เหลือเกิดความประหม่า
ขาดความมั่นใจ วิตกกังวลและไม่มีกำาลังใจในการแข่งขัน ครูควร
เลือกวิธีแบ่งกลุ่มให้เกิดความยุติธรรมแก่นักเรียนทุกคน
           1.2 ครูควรมีการให้คะแนนที่ยุติธรรม โปร่งใส มีการ
กำาหนดเกณฑ์การให้คะแนนที่ชัดเจน และมีการทำาป้ายแสดงตาราง
คะแนนแต่ละกลุ่มแต่ละคู่ไว้ให้นักเรียนเห็นได้อย่างทั่วถึง นอกเหนือ
จะทำาให้เกิดความโปร่งใสในการให้คะแนนแล้ว ยังเป็นการกระตุ้น
และสร้างความกระตือรือร้นให้กับนักเรียนได้เป็นอย่างดี
        2. ข้อเสนอแนะในการทำาวิจัยครั้งต่อไป
           2.1 ควรศึกษาพฤติกรรมด้านลบที่เกิดจากการใช้เกม
แข่งขันในกรณีที่ผู้เรียนเป็นผ่ายแพ้และแนวทางในการสร้างแรง
จูงใจที่ทำาให้เกิดพฤติกรรมซำ้าในด้านบวก
           2.2 ควรศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลในการเล่นเกม
แข่งขันที่เกิดจากการแข่งขันเป็นกลุ่มที่นักเรียนเป็นผู้เลือกเองและ
กลุ่มที่ครูเป็นผู้เลือกให้

Contenu connexe

Similaire à บทที่ ๕

เนื้อหา
เนื้อหาเนื้อหา
เนื้อหาGratae
 
วิจัยภาษาอังกฤษ
วิจัยภาษาอังกฤษวิจัยภาษาอังกฤษ
วิจัยภาษาอังกฤษGratae
 
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊คการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊คSalisa Khonkhayan
 
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊คการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊คSalisa Khonkhayan
 
เทคนิคการสอน กระบวนการกลุ่ม
เทคนิคการสอน  กระบวนการกลุ่มเทคนิคการสอน  กระบวนการกลุ่ม
เทคนิคการสอน กระบวนการกลุ่มJunya Punngam
 
Wanida 134 cai
Wanida 134 cai Wanida 134 cai
Wanida 134 cai kruwanida
 
บทที่ 2วิจัยการอ่าน
บทที่ 2วิจัยการอ่านบทที่ 2วิจัยการอ่าน
บทที่ 2วิจัยการอ่านKanjana Pothinam
 
การส่งเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้สถานกา...
การส่งเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้สถานกา...การส่งเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้สถานกา...
การส่งเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้สถานกา...ssuserd8430c
 
นำเสนองานสื่อกิจกรรม
นำเสนองานสื่อกิจกรรมนำเสนองานสื่อกิจกรรม
นำเสนองานสื่อกิจกรรมnutchakaka
 
การจัดการเรียนรู้ Stad
การจัดการเรียนรู้ Stadการจัดการเรียนรู้ Stad
การจัดการเรียนรู้ StadSandee Toearsa
 
แผน Eng m.3
แผน Eng m.3แผน Eng m.3
แผน Eng m.3Milmilk
 
แผนที่ 1 the student analysis
แผนที่ 1 the student analysisแผนที่ 1 the student analysis
แผนที่ 1 the student analysisTeacher Sophonnawit
 

Similaire à บทที่ ๕ (20)

เนื้อหา
เนื้อหาเนื้อหา
เนื้อหา
 
วิจัยภาษาอังกฤษ
วิจัยภาษาอังกฤษวิจัยภาษาอังกฤษ
วิจัยภาษาอังกฤษ
 
1
11
1
 
Web
WebWeb
Web
 
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊คการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
 
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊คการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
 
บทที่ 5
บทที่ 5 บทที่ 5
บทที่ 5
 
B slim
B slim B slim
B slim
 
บทที่ ๑.๒
บทที่ ๑.๒บทที่ ๑.๒
บทที่ ๑.๒
 
เทคนิคการสอน กระบวนการกลุ่ม
เทคนิคการสอน  กระบวนการกลุ่มเทคนิคการสอน  กระบวนการกลุ่ม
เทคนิคการสอน กระบวนการกลุ่ม
 
Wanida 134 cai
Wanida 134 cai Wanida 134 cai
Wanida 134 cai
 
บทที่ 2วิจัยการอ่าน
บทที่ 2วิจัยการอ่านบทที่ 2วิจัยการอ่าน
บทที่ 2วิจัยการอ่าน
 
การส่งเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้สถานกา...
การส่งเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้สถานกา...การส่งเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้สถานกา...
การส่งเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้สถานกา...
 
09chap7
09chap709chap7
09chap7
 
นำเสนองานสื่อกิจกรรม
นำเสนองานสื่อกิจกรรมนำเสนองานสื่อกิจกรรม
นำเสนองานสื่อกิจกรรม
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
Nuttarida
NuttaridaNuttarida
Nuttarida
 
การจัดการเรียนรู้ Stad
การจัดการเรียนรู้ Stadการจัดการเรียนรู้ Stad
การจัดการเรียนรู้ Stad
 
แผน Eng m.3
แผน Eng m.3แผน Eng m.3
แผน Eng m.3
 
แผนที่ 1 the student analysis
แผนที่ 1 the student analysisแผนที่ 1 the student analysis
แผนที่ 1 the student analysis
 

Plus de Darunee Sriyangnok

การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่Darunee Sriyangnok
 
Authentic material movie-Darunee
Authentic material movie-DaruneeAuthentic material movie-Darunee
Authentic material movie-DaruneeDarunee Sriyangnok
 
แปดวิธีการสอน -Darunee
แปดวิธีการสอน -Daruneeแปดวิธีการสอน -Darunee
แปดวิธีการสอน -DaruneeDarunee Sriyangnok
 
Paper Journal - Tsal - base on group -Darunee
Paper Journal - Tsal - base on group -DaruneePaper Journal - Tsal - base on group -Darunee
Paper Journal - Tsal - base on group -DaruneeDarunee Sriyangnok
 
Learning stratagy cognitive -Darunee
Learning stratagy cognitive -DaruneeLearning stratagy cognitive -Darunee
Learning stratagy cognitive -DaruneeDarunee Sriyangnok
 
บรรณานุกรม
บรรณานุกรมบรรณานุกรม
บรรณานุกรมDarunee Sriyangnok
 
สารบัญวิจัย
สารบัญวิจัยสารบัญวิจัย
สารบัญวิจัยDarunee Sriyangnok
 

Plus de Darunee Sriyangnok (20)

การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
 
Authentic material movie-Darunee
Authentic material movie-DaruneeAuthentic material movie-Darunee
Authentic material movie-Darunee
 
แปดวิธีการสอน -Darunee
แปดวิธีการสอน -Daruneeแปดวิธีการสอน -Darunee
แปดวิธีการสอน -Darunee
 
Paper journal
Paper journalPaper journal
Paper journal
 
Paper Journal - Tsal - base on group -Darunee
Paper Journal - Tsal - base on group -DaruneePaper Journal - Tsal - base on group -Darunee
Paper Journal - Tsal - base on group -Darunee
 
MI
MIMI
MI
 
Learning stratagy cognitive -Darunee
Learning stratagy cognitive -DaruneeLearning stratagy cognitive -Darunee
Learning stratagy cognitive -Darunee
 
EJ
EJEJ
EJ
 
cooperative
cooperativecooperative
cooperative
 
book
bookbook
book
 
บทที่ ๒.๑
บทที่ ๒.๑บทที่ ๒.๑
บทที่ ๒.๑
 
บรรณานุกรม
บรรณานุกรมบรรณานุกรม
บรรณานุกรม
 
บทที่ ๔
บทที่ ๔บทที่ ๔
บทที่ ๔
 
บทที่ ๓
บทที่ ๓บทที่ ๓
บทที่ ๓
 
บทที่ ๒.๒
บทที่ ๒.๒บทที่ ๒.๒
บทที่ ๒.๒
 
บทที่ ๒.๑
บทที่ ๒.๑บทที่ ๒.๑
บทที่ ๒.๑
 
บทที่ ๑.๑
บทที่ ๑.๑บทที่ ๑.๑
บทที่ ๑.๑
 
สารบัญวิจัย
สารบัญวิจัยสารบัญวิจัย
สารบัญวิจัย
 
Writing
WritingWriting
Writing
 
Speaking
SpeakingSpeaking
Speaking
 

บทที่ ๕

  • 1. บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นการพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้ เกม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ซึ่งมีขั้นตอนและผลของ การศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. ความมุ่งหมายของการวิจัย 2. สรุปผลการวิจัย 3. อภิปรายผล 4. ข้อเสนอแนะ ความมุ่งหมายของการวิจัย 1. เปรียบเทียบความสามารถในการพูดก่อน-หลังการทำา กิจกรรมพัฒนาทักษะการพูด โดยใช้เกมของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2. ศึกษาพฤติกรรมการเรียนระหว่างการใช้เกมแข่งขันที่ไม่ เสริมแรงด้วยของรางวัล และการใช้เกมแข่งขันที่ เสริมแรงด้วยของรางวัล สรุปผลการวิจัย จากผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ประสิทธิภาพการพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้เกม ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่า 60.00/60.55 ซึ่งไม่เป็น ไปตามเกณฑ์ที่กำาหนด 70/70 2. ดัชนีประสิทธิผลความสามารถในการพัฒนาทักษะการ พูดโดยใช้เกมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่า 0.3213 หรือ คิดเป็นร้อยละ 32.13 แสดงว่าการพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้เกม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทำาให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 32.13 3. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในพูด ก่อน-หลังการ ทำากิจกรรมการพัฒนาทักษะ การพูดโดยใช้เกมของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่าคะแนนสอบครั้งหลังสูงกว่าครั้งแรกอย่างมี นัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
  • 2. 55 4. ศึกษาพฤติกรรมที่เกิดจากการเสริมแรงด้วยของรางวัล และไม่เสริมแรงด้วยของรางวัลในการพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้ เกมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สรุปได้ดังนี้ 4.1 การเสริมแรงด้วยของรางวัล จากการสังเกตการสังเกตพฤติกรรมการพูดภาษา อังกฤษของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เกมแข่งขัน ที่มีการเสริมแรงด้วยของรางวัลนั้น พบว่าผู้เรียนมีความต้องการที่จะ ทำาพฤติกรรมซำ้า ร้อยละ 70.73 มีความสนใจในการทำากิจกรรม ร้อยละ 73.17 มีความกระตือรือร้นในการทำากิจกรรม ร้อยละ 63.41 และมีความสนุกสนานในการทำากิจกรรม ร้อยละ 90.24 จากการ สังเกตพฤติกรรมดังกล่าวพบว่าพฤติกรรมที่ผู้เรียนตอบสนองในการ ทำากิจกรรมที่มีการเสริมแรงด้วยของรางวัลทั้งหมด ร้อยละ 74.39 4.2 การไม่เสริมแรงด้วยของรางวัล จากการสังเกตการสังเกตพฤติกรรมการพูดภาษา อังกฤษของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เกมแข่งขัน ที่ไม่มีการเสริมแรงด้วยของรางวัลนั้น พบว่าผู้เรียนมีความต้องการ ที่จะทำาพฤติกรรมซำ้า ร้อยละ 26.83 มีความสนใจในการทำากิจกรรม ร้อยละ 17.07 มีความกระตือรือร้นในการทำากิจกรรม ร้อยละ 14.63 และมีความสนุกสนานในการทำากิจกรรม ร้อยละ 34.14 จากการ สังเกตพฤติกรรมดังกล่าวพบว่าพฤติกรรมที่ผู้เรียนตอบสนองในการ ทำากิจกรรมที่ไม่มีการเสริมแรงด้วยของรางวัลทั้งหมด ร้อยละ 23.17 อภิปรายผลการวิจัย จากผลการศึกษาการพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้เกม ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประเด็นที่นำามาอภิปรายผลได้ดังนี้ 1. ประสิทธิภาพการพัฒนาทักษะการพัฒนาทักษะการพูด โดยใช้เกม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีคะแนนระหว่าง เรียนจากแผนการจัดการเรียนรู้ทั้ง 4 แผน คิดเป็นร้อยละ 60.00 คะแนนหลังเรียนคิดเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 60.55 และ ประสิทธิภาพการพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้เกม 60.00/60.55 ซึ่ง ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำาหนด ทั้งนี้เนื่องมาจากนักเรียนขาดความ คุ้นเคยกับการพูดภาษาอังกฤษ จึงทำาให้ผู้เรียนเกิดความวิตกกังวล และความตื่นเต้นขณะทำากิจกรรมเกี่ยวกับการพูดซึ่งเป็นสิ่งที่ค่อน ข้างยาก ดังตัวอย่างเช่นเกม Find Find Find (Arranging game) ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 60.16 เป็นเกมที่นักเรียนทำาคะแนน เฉลี่ยรวมน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับเกมอื่นๆ ซึ่งเกมนี้เป็นเกมแข่งขันที่
  • 3. 56 ให้นักเรียนแต่ละคู่พูดเรียงคำาศัพท์ที่สลับตำาแหน่งกันอยู่ จากนั้นนำา คำาศัพท์ที่ได้มาแต่งเป็นประโยค โดยจะมีการจับเวลาเมื่อเริ่มเปิด แผ่นป้ายคำาศัพท์ ทีมที่ทำาเวลาได้ดีที่สุดและถูกต้องที่สุดจะเป็นผู้ชนะ จากเกมดังกล่าวจะพบว่านักเรียนเกิดความวิตกกังวลและขาดความ มั่นใจทั้งกลัวว่าจะออกเสียงผิดและเรียงคำาศัพท์ได้ไม่ถูกต้องส่งผล ให้เกิดความประหม่าในการพูด นอกจากนั้นการจับเวลายังสร้าง ความตื่นเต้นและแรงกดดันให้กับผู้เรียนทำาให้ผู้เรียนบางคนเกิด ความกลัวและไม่อยากร่วมกิจกรรม ซึ่งสอดคล้องกับพอร์เตอร์ (Porter. 1992 : Web Site) กล่าวว่า การพูดเป็นปัญหาหนึ่งที่ เกิดขึ้นมากในชั้นเรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งสาเหตุของปัญหาที่พบบ่อย คือ ความประหม่า ความตื่นเต้น ความวิตกกังวล กลัวถูกวิจารณ์ หรือกลัวเสียหน้าต่อหน้าเพื่อนนักเรียนในชั้นเรียน และอีกหนึ่ง ปัญหาที่สำาคัญคือ ผู้เรียนขาดความมั่นใจในการพูด จึงทำาให้เกิด ความรู้สึกเบื่อ ไม่มีส่วนร่วมกับหัวข้อในการพูด และทำาให้ผู้เรียน ขาดแรงจูงใจที่จะพูด ส่งผลให้ผู้นักเรียนขาดความเชื่อมั่นในความ สามารถในการพูดของตนเองและรู้สึกว่าตนเองมีทักษะในการใช้ ภาษาไม่เพียงพอ ผู้เรียนที่มีปัญหาเหล่านี้จำาเป็นต้องได้รับการส่ง เสริมการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ถึงแม้ว่าผลจะไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้แต่ผลที่ได้ก็ ถือว่าสูงพอสมควร จึงยืนยันได้ว่า จากการทดลองนี้ ถึงจะใช้เวลา ในการทดลองไม่มากนัก แต่เกมก็ช่วยให้นักเรียนมีความ กระตือรือร้นและและความพยายามในการพูดและการใช้ภาษาใน การสื่อสาร นอกจากนั้นเกมยังสร้างความบันเทิงและสร้าง บรรยากาศในการเรียนภาษาที่ดีขึ้น ทำาให้นักเรียนเกิดความผ่อน คลายส่งผลให้เกิดการจดจำากับสิ่งที่เรียนได้ดีขึ้นด้วย โดยสอดคล้อง กับยูเบอร์แมน (Uberman. 1998 : website) กล่าวว่า เกมมี ประโยชน์ต่อการเรียนรู้ภาษาเป็นอย่างมาก เกมสามารถทำาให้ผู้ เรียนได้มีโอกาสใช้ภาษานอกเหนือจากการเรียนในบทเรียน การ ใช้เกมช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงกิจกรรมการเรียนได้มากยิ่งขึ้น นอก เหนือจากความบันเทิงแล้วยังช่วยลดความเขินอายและเพิ่มโอกาส ในการแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกมากยิ่งขึ้น กิจกรรมเกมถือ เป็นกิจกรรมนันทนาการในชั้นเรียนที่สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ภาษาและจดจำาสิ่งที่ได้เรียนรู้ได้เร็วขึ้น ผู้ เรียนจะเกิดการเรื่องรู้อย่างแท้จริงและสามารถใช้ภาษาได้สัมพันธ์ กับเรื่องที่เรียนมาก่อนได้เป็นอย่างดี กล่าวสรุปคือ เกมภาษาส่งเสริม ความบันเทิงในการเรียน การสอนส่งเสริมความคล่องแคล้วในการ ใช้ภาษานั้นเอง
  • 4. 57 นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับงานวิจัยของกุลเชษฐ สุทธิดี (2544 : บทคัดย่อ) ได้ทำาการศึกษาเรื่อง การใช้กลวิธีการเรียน แบบร่วมมือที่เน้นการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกมเพื่อพัฒนาทักษะ การพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน โดยการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ กลุ่ม ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ซึ่ง คัดเลือกโดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ รูปแบบการสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยวิธีการเรียน แบบร่วมมือที่เน้นการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม แบบบันทึกการ พัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ และแบบบันทึกสังเกตพฤติกรรม การเรียนทักษะการพูดของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า การเรียนแบบร่วมมือที่ เน้นการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกมช่วยให้นักเรียนมีการพัฒนา ทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการ เรียนทักษะการพูดภาษาอังกฤษตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์มาก ขึน ในด้านความเชื่อมั่นและกล้าแสดงออก มีความกระตือรือร้นใน ้ การทำากิจกรรม และมีความร่วมมือในการทำางานมากยิ่งขึ้น 2. ดัชนีประสิทธิผลความสามารถในการพัฒนาทักษะการ พูดโดยใช้เกมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่า 0.3213 หรือ คิดเป็นร้อยละ 32.13 แสดงว่าการพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้เกมของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทำาให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.13 โดยการทำากิจกรรมการพูดที่หลากหลายเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ได้ใช้ภาษาที่เป็นอิสระไม่เคร่งเครียดและเกมแข่งขันก็มีความ สนุกสนาน ตื่นเต้น และท้าทายความสามารถของผู้เรียนให้เกิดความ กระตือรือร้นในการทำากิจกรรม ดังตัวอย่างเช่น เกม Blind man’s bluff (Searching game) ซึ่งเกมดังกล่าวจะให้นักเรียนแข่งขันกัน เป็นกลุ่ม โดยในแต่ละกลุ่มนั้นนักเรียนหนึ่งคนจะถูกปิดตาเหมือนกับ คนตาบอดแล้วให้เพื่อนในกลุ่มบอกทางให้เพื่อนที่ถูกปิดตาเดินไปยัง ตำาแหน่งที่ต้องการให้ถูกต้อง โดยครูจะเป็นผู้กำาหนดจุดต่างๆในชั้น เรียนเช่น พิพิธภัณฑ์อยู่หลังห้อง ห้างสรรพสินค้า อยู่กลางห้อง เป็นต้น แล้วสมาชิกที่เหลือจะเป็นคนเลือกแผ่นป้ายจาก power point หากได้สถานที่ใด สมาชิกในกลุ่มจะต้องช่วยกันอธิบายให้คนที่ถูกปิด ตาสามารถไปยังสถานที่นั้นๆให้ถูกต้องและเร็วที่สุด กลุ่มไหนทำาเวลา ได้ดีทสุดก็จะเป็นผู้ชนะ ซึ่งสอดคล้องกับไรท์ (Wright. 1989 : 1) ี่ กล่าวว่า เกมสามารถช่วยกระตุ้นผู้เรียนให้มีความสนใจในการเรียน ภาษามากขึ้น และยังช่วยให้บรรยากาศในการเรียนภาษาดีขึ้น ทำาให้ ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และได้แสดงทัศนคติของ ตนเองให้ผู้อื่นได้ทราบ และที่สำาคัญยังช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึก
  • 5. 58 การใช้ภาษาได้อย่างไม่เคร่งเครียด เป็นการสร้างบรรยากาศการเรียน รู้ที่สนุกสนานและผ่อนคลาย ข้อดีอีกอย่างของการใช้เกมคือช่วยให้ผู้ เรียนลดความวิตกกังวลลงทำาให้สามารถพูดได้อย่างคล่องแคล่วขึ้น และยังมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ภาษา นอกจาก นั้นวอนดราเกอร์ (Vondracek. 2009 : Web Site) กล่าวว่า เกมมี ส่วนช่วยส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดย มีเกมเป็นตัวโน้มน้าวและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในหัวข้อที่ เรียนได้ อีกทั้งยังสอดคล้องกับ จันดา (Chanda. 2008 : Web Site) กล่าวว่า เกมเป็นกิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้ภาษาที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ ฝึกฝนภาษาในทางที่ผ่อนคลายส่งผลให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านภาษา และทักษะด้านความคิด ซึ่งในเกมนี้ช่วยให้ผู้เรียนสามารถพูดหรือ แสดงออกมาได้อย่างชัดเจนและสามารถสร้างโอกาสในการใช้ภาษา ได้อย่างมีความหมาย ดังนั้นเกมจึงเป็นเทคนิคการสอนภาษาที่มี ประสิทธิภาพมาก ช่วยเพิ่มความสามารถในการพูดของผู้เรียนได้เป็น อย่างดี เป็นวิธีที่สามารถทำาให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเรียน ได้ เพราะมีการสร้างแรงจูงใจและมีการเสริมแรงทางบวกด้วยของ รางวัล นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับงานวิจัยของพอล ไบรโอดี้ (Paul Briody. 2011 : website) ได้ทำาการศึกษาผลของการใช้ เกมในการสอนภาษาสำาหรับเด็ก โดยทำาการศึกษากับนักเรียน EFL ระดับหก จำานวน 50 คน จากโรงเรียนประถมแห่งหนึ่ง โดยการวิจัย เชิงปริมาณและคุณภาพ ซึ่งความมุ่งหมายของการวิจัยในครั้งนี้คือ ศึกษาผลรวมของการใช้เกมในการพัฒนาความสามารถทางภาษา อังกฤษของผู้เรียนเช่น การพัฒนาทางด้านคำาศัพท์ ความวิตกกังวล ในการทำากิจกรรมที่เกิดจากความกดดันของเพื่อน ซึ่งผลของการ วิจัยในครั้งนี้ปรากฏว่าผู้เรียนมีพัฒนาการทางด้านภาษาอังกฤษที่ดี ขึนอย่างชัดเจน ทั้งทางด้านพัฒนาการทางด้านคำาศัพท์และระดับ ้ ความวิตกกังวลที่ลดลงในการทำากิจกรรมร่วมกับเพื่อน แสดงให้เห็น ว่าเกมสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะทางด้านภาษาได้ อย่างมีประสิทธิภาพ 3. การเปรียบเทียบคะแนนการพูดภาษาอังกฤษเฉลี่ย กลุ่มเดียวกันระหว่างก่อนเรียน (pre-test) และหลังเรียน (post- test) พบว่าผลรวมของคะแนนสอบครั้งหลังเรียนสูงกว่าผลรวม คะแนนสอบก่อนเรียนซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานการวิจัย ซึ่งแสดงให้ เห็นว่าหลังจากการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ การพูดโดยใช้เกมแล้วนักเรียนมีทักษะการพูดเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัย สำาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้เนื่องจากการจัดกิจกรรมการ
  • 6. 59 พัฒนาทักษะการพูดโดยใช้เกมทำาให้ผู้เรียนเกิดเจตนคติที่ดีต่อการ เรียนรู้ภาษาอังกฤษ ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความกล้าในการใช้ ภาษาในสื่อสาร และเกมยังเป็นตัวกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้ นักเรียนเกิดความพยายามในการพูดและการเรียนรู้ได้อย่างไม่เขิน อาย ดังตัวอย่างจากการทำากิจกรรมเกม Find the shop (Search games) ซึ่งนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 73.17 ซึ่งถือว่าเป็นคะแนนที่ ค่อนข้างสูง เกม Find the shop เป็นเกมที่นักเรียนทุกคนจะมีแผนที่ และข้อมูลอยู่คนละชุด ซึ่งแผนที่แต่ละแผ่นจะบอกตำาแหน่งของร้าน ค้าที่แตกต่างกัน โดยแต่ละคนจะได้ข้อมูลไม่เหมือนกัน หลังจากนั้น ครูก็จะให้นักเรียนทีละคนลุกขึ้นอธิบายลักษณะของแผนที่ที่ตนได้ รับว่าร้านค้าในแผนที่ของตนอยู่ตำาแหน่งใด แล้วให้นักเรียนที่เหลือ เขียนตำาแหน่งของร้านที่เพื่อนอธิบายลงในแผนที่ให้ถูกต้อง ผลจาก การเล่นเกมปรากฏว่านักเรียนสามารถพูดซักถามข้อมูลและพูดให้ ข้อมูลได้อย่างคล่องแคล่ว มีความพยายามในการใช้ภาษาสื่อสาร และมีความสนุกสนานในการเล่นเกม จากเกมดังกล่าวส่งผลทำาให้ นักเรียนเกิดพฤติกรรมกระตือรือร้น กล้าที่จะพูดและสื่อสารได้อย่าง เป็นธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกับหยิน หยอง เหมย (Yin Yong Mei. 2000 : website) ได้กล่าวว่า เกมช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ และเกิดทักษะในการใช้ภาษาดีขึ้น เนื่องจากเกมเป็นสิ่งที่สร้างความ สนุกสนานให้ผู้เรียนทำาให้เกิดค้นคว้า และการโต้ตอบกันถือเป็นอีก หนึ่งวิธีในการฝึกการใช้ภาษา เป็นการเพิ่มความหลากหลายให้กับ บทเรียนและเพิ่มแรงจูงใจในการเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่ อยู่ในวัยเด็ก นอกจากนั้น เกมยังช่วยทำาให้ผู้เรียนเกิดความกล้าที่จะ ใช้ภาษาในการสื่อสาร แม้บางครั้งจะเกิดการลังเลบ้าง แต่ก็ถือว่า เป็นตัวกระตุ้นที่ดีอีกอย่างหนึ่งเลย ถึงแม้ว่าผู้เรียนบางคนอาจเกิด ความเขินอายแต่ก็ยังสามารถมีส่วนร่วมในการแสดงพฤติกรรมเชิง บวกได้และทำาให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้เหมือนกับ ภาษาแม่ โดยผู้เรียนจะไม่เกิดความรู้สึกกดดันหรือเครียดทำาให้ สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับกาญจภา มานิตย์ (2547 : บทคัดย่อ) ได้ทำาการศึกษาการพัฒนาทักษะพูดโดยใช้เกม ซึ่งการ ศึกษาครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะพูดภาษาอังกฤษของ นักเรียน และเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของ นักเรียนที่เรียนโดยใช้เกมประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน ผล การศึกษาค้นคว้าพบว่า การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพูดภาษา อังกฤษโดยใช้เกมส่งผลให้นักเรียนมีการพัฒนาระดับความสามารถ
  • 7. 60 ทักษะทางการพูดอังกฤษที่สูงกว่าก่อนเรียน ในด้านความ คล่องแคล่ว สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจ ข้อความที่นำามาสื่อสารมี คุณภาพ การออกเสียงถูกต้องชัดเจนอยู่ในระดับดี การใช้เกมใน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนยังส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรม การเรียนภาษาอังกฤษอยู่ในระดับดีมากทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ความ สนใจ ความกระตือรือร้น และความตั้งใจในการประกอบกิจกรรม มี พฤติกรรม 2 ด้านที่อยู่ในระดับดี ได้แก่ ความพยายามที่จะสื่อสาร โดยใช้ภาษาพูดและท่าทาง และความพยายามที่จะไม่ใช้ภาษาไทย ในห้องเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการ พูดภาษาอังกฤษโดยใช้เกมประกอบการเรียน ทำาให้นักเรียนมี เจตคติที่ดต่อภาษาอังกฤษ และในด้านพฤติกรรมของนักเรียน ี สังเกตพบว่านักเรียนมีความกระตือรือร้น มีความพยายามที่จะ สือสารด้วยภาษาอังกฤษ สนุกสนานในการเรียนส่งผลให้นักเรียนมี ่ ระดับความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษอยู่ในระดับพอใช้ 4. ศึกษาพฤติกรรมที่เกิดจากการเสริมแรงด้วยของรางวัล และไม่เสริมแรงด้วยของรางวัลในการพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้ เกมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สรุปได้ดังนี้ 4.1 การเสริมแรงด้วยของรางวัล จากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนจากการเสริมแรง ด้วยของรางวัลในกิจกรรมการพัฒนาทักษะการพูดโดยใช้เกม พบ ว่าผู้เรียนตอบสนองในการทำากิจกรรมที่มีการเสริมแรงด้วยของ รางวัลทั้งหมด ร้อยละ 74.39 โดยผู้เรียนมีความต้องการที่จะทำา พฤติกรรมซำ้า มีความสนใจในการทำากิจกรรม มีความกระตือรือร้น ในการทำากิจกรรม และมีความสนุกสนานในการทำากิจกรรม ดังเช่น เกม Super star Award ซึ่งเป็นกิจกรรมเกมแข่งขันที่มีการเสริม แรงด้วยของรางวัล นักเรียนสามารถทำาคะแนนได้สูงมากถึงร้อยละ 72.35 โดยรูปแบบของกิจกรรมจะเป็นการ Role play แสดงบทบาท สมมติตามสถานการณ์ที่กำาหนด เมื่อแสดงเสร็จให้เพื่อนในชั้นเรียน ร่วมกันโหวตหาทีมที่สามารถใช้ภาษาได้ถูกต้องและแสดงได้ดีสุด ภาพรวมของกิจกรรมที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดคือ ผู้เรียนมีการแบ่ง หน้าที่และบทบาทกันอย่างชัดเจน มีการซ้อมการแสดง และเตรียม ภาษาเป็นอย่างดี เนื่องจากการตัดสินเกิดจากการโหวตดังนั้นแต่ละ กลุ่มจึงคิดหาวิธีที่จะออกแบบและนำาเสนอการแสดงที่มีความหลาก หลายและสร้างความประทับใจให้กับผู้ชม จากกิจกรรมดังกล่าว ส่ง เสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบร่วมมือภายในกลุ่มเล็กๆ และ แต่ละกลุ่มก็มีความพยายามในการแสดงและความพยายามในการ ใช้ภาษาเป็นอย่างมาก เนื่องจากครูผู้สอนได้สร้างเงื่อนไขไว้แต่ต้น
  • 8. 61 ว่ากลุ่มที่ใช้ภาษาอังกฤษได้มากและถูกต้องที่สุดจะได้รับรางวัล พิเศษจากครูเช่นเดียวกัน ซึ่งสอดคล้องกับ มูแซดซิโอ (Musacchio. 2011 , website) กล่าวว่า การเสริมแรงเป็นเครื่อง มือที่ถือว่ามีประสิทธิภาพมากสำาหรับการสอนผู้เรียนในทุกระดับชั้น ซึ่งมีลักษณะการใช้วิธีการให้ของรางวัลหรือสิ่งตอบแทนเพื่อ เป็นการขยายพฤติกรรมที่พึงประสงค์หรือการกระทำาที่ผู้สอน ต้องการจะให้เกิดขึ้นซำ้าอีก เช่น การตอบคำาถามในชั้นเรียน เมื่อผู้ เรียนตอบถูกครูเสริมแรงด้วยของรางวัลก็จะทำาให้ผู้เรียนเกิดความ กระตือรือร้นและแรงจูงใจในการตอบคำาถามอีกครั้ง 4.2 การไม่เสริมแรงด้วยของรางวัล จากการสังเกตการสังเกตพฤติกรรมการพูดภาษา อังกฤษของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เกมแข่งขัน ที่ไม่มีการเสริมแรงด้วยของรางวัลนั้น พบว่าพฤติกรรมที่ผู้เรียนตอบ สนองในการทำากิจกรรมเพียง ร้อยละ 23.17 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า จำานวนนักเรียนที่สนใจในกิจกรรมการเรียนนั้นมีเพียงร้อยละ 23.17 เท่านั้น ดังจะเห็นได้จากเกม My favorite holiday โดยเป็น กิจกรรมเกมการพูดบรรยายวันสำาคัญที่ตนเองชื่นชอบแล้วให้เพื่อน ในชั้นเรียนทาย เป็นกิจกรรมที่ไม่มีการเสริมแรงด้วยของรางวัล แต่ จะมีเพียงการเสริมแรงด้วยคำาชมจากครูผู้สอนเท่านั้น ผลจากการ ทำากิจกรรมในช่วงแรกผู้เรียนเกิดการตอบสนองในระดับปานกลาง แต่ในช่วงหลังผู้เรียนเกิดความเฉื่อยชาเริ่มเบื่อหน่ายและไม่สนใจ ในการทำากิจกรรม แต่ละคนก็จะสนแต่กับเรื่องตนเองจะพูดเท่านั้น ไม่สนใจเพื่อนที่นำาเสนอหน้าชั้นเรียนขาดความสนใจในกิจกรรม ส่งผลให้บรรยากาศในการทำากิจกรรมในชั้นเรียนดำาเนินไปได้ไม่ดี นัก ซึ่งสอดคล้องกับลาร์รีฟ (Larrive. 2005 : 190-191) ได้กล่าว ถึง การเสริมแรงไว้ว่า ผู้เรียนจะเกิดความพึงพอใจและพฤติกรรมที่ ตอบสนองในด้านบวกที่มากขึ้นเมื่อได้รับผลตอบแทนที่จับต้องได้ มากกว่าคำากล่าวเชยชม โดยแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่าผู้เรียนจะมี การตอบสนองทางพฤติกรรมที่ดีเมื่อมีการเสริมแรงด้วยของรางวัลที่ เป็นวัตถุมากกว่าการเสริมแรงด้วยคำาพูดหรือสิ่งที่ไม่สามารถจับต้อง ได้ ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะทั่วไป
  • 9. 62 1.1 ในการเล่นเกมที่มีการแข่งขันแบบต้องจับคู่หรือการ แข่งขันเป็นกลุ่ม ครูควรให้ความสำาคัญกับการเลือกเพื่อนร่วมกลุ่ม ของนักเรียน เมื่อเป็นกิจกรรมเกมการแข่งขันนักเรียนกลุ่มเก่งมักจะ จับตัวกันเป็นกลุ่ม ส่งผลให้นักเรียนกลุ่มที่เหลือเกิดความประหม่า ขาดความมั่นใจ วิตกกังวลและไม่มีกำาลังใจในการแข่งขัน ครูควร เลือกวิธีแบ่งกลุ่มให้เกิดความยุติธรรมแก่นักเรียนทุกคน 1.2 ครูควรมีการให้คะแนนที่ยุติธรรม โปร่งใส มีการ กำาหนดเกณฑ์การให้คะแนนที่ชัดเจน และมีการทำาป้ายแสดงตาราง คะแนนแต่ละกลุ่มแต่ละคู่ไว้ให้นักเรียนเห็นได้อย่างทั่วถึง นอกเหนือ จะทำาให้เกิดความโปร่งใสในการให้คะแนนแล้ว ยังเป็นการกระตุ้น และสร้างความกระตือรือร้นให้กับนักเรียนได้เป็นอย่างดี 2. ข้อเสนอแนะในการทำาวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรศึกษาพฤติกรรมด้านลบที่เกิดจากการใช้เกม แข่งขันในกรณีที่ผู้เรียนเป็นผ่ายแพ้และแนวทางในการสร้างแรง จูงใจที่ทำาให้เกิดพฤติกรรมซำ้าในด้านบวก 2.2 ควรศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลในการเล่นเกม แข่งขันที่เกิดจากการแข่งขันเป็นกลุ่มที่นักเรียนเป็นผู้เลือกเองและ กลุ่มที่ครูเป็นผู้เลือกให้