SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  32
Télécharger pour lire hors ligne
วิชาวิทยาศาสตร์ พนฐาน ว21101
                 ื
ระดับชั นมัธยมศึกษาปี ที 1
มฐ. ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่างๆ ของ
สิ่งมีชีวิตที่ทํางานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนําความรู้ไปใช้ในการ
ดํารงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
ตัวชี้วัดที่ 1 สังเกตและอธิบายรูปร่าง ลักษณะของเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและเซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลาย
เซลล์
1. สิ่งที่เหมือนกันระหว่างเซลล์ประสาทและเซลล์เยื่อบุข้างแก้มคือข้อใด
       ก. ขนาดของเซลล์
       ข. รูปร่างของเซลล์
       ค. หน้าที่ของเซลล์
       ง. ส่วนประกอบของเซลล์
2. ส่วนที่อยู่นอกสุดของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
       ก. เหมือนกัน เพราะมีผนังเซลล์เหมือนกัน
       ข. เหมือนกัน เพราะมีเยื่อหุ้มเซลล์เหมือนกัน
       ค. ต่างกัน เพราะส่วนนอกสุดของเซลล์พืชคือผนังเซลล์ แต่ส่วนนอกสุดของเซลล์สัตว์คือเยื่อหุ้มเซลล์
       ง. ต่างกัน เพราะส่วนนอกสุดของเซลล์พืชมีนิวเคลียส แต่ส่วนนอกสุดของเซลล์สัตว์ไม่มีนิวเคลียส
3. จากการทดลองนําต้นกระสังแช่ส่วนรากในน้ําสีแดงที่ใช้ย้อมเนื้อเยื่อพืชเป็นเวลาประมาณ 12 ชั่วโมง
       จากนั้นนํามาตัดตามขวาง ศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบว่ากลุ่มเซลล์ที่ติดสีแดงคือข้อใด
       ก. เนื้อเยื่อลําเลียงน้ํา และแร่ธาตุของต้นกระสัง
       ข. เนื้อเยื่อลําเลียงอาหารของต้นกระสัง
       ค. เซลล์ทุกชนิดในใบต้นกระสัง
       ง. ถูกทั้งข้อ ข และ ค
4. หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตเรียกว่าอะไร
       ก. เซลล์
       ข. ผนังเซลล์
       ค. นิวเคลียส
       ง. เยื่อหุ้มเซลล์
5. สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์มีความแตกต่างกันในข้อใด
       ก. จํานวนเซลล์
       ข. ขนาดของเซลล์
       ค. รูปร่างของเซลล์
       ง. ส่วนประกอบของเซลล์


6. สิ่งใดเป็นเกณฑ์การจําแนกสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวกับสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์
   ก. จํานวนเซลล์
ข. ขนาดของเซลล์
   ค. รูปร่างของเซลล์
   ง. ส่วนประกอบของเซลล์
7. สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวกับสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ มีสิ่งใดที่เหมือนกัน
   ก. ขนาดของเซลล์
   ข. รูปร่างของเซลล์
   ค. ความแข็งของเซลล์
   ง. ส่วนประกอบพื้นฐานของเซลล์
8. เพราะเหตุใดนักวิทยาศาสตร์จึงจําแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวกับสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์
   ก. สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวมีความแข็งของเซลล์มากกว่าสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์
   ข. สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวมีส่วนประกอบพื้นฐานของเซลล์ที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์
   ค. สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวมีรูปร่างเซลล์ที่เหมือนกัน ส่วนสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์มีรูปร่างเซลล์ที่แตกต่างกัน
   ง. สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวมีเพียงเซลล์เดียวก็ดํารงชีวิตอยู่ได้ แต่สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ต้องมีเซลล์มารวมกลุ่ม
        กันจึงจะดํารงชีวิตอยู่ได้
9. ให้พิจารณาลักษณะเซลล์ของสิ่งมีชีวิต 4 ชนิด แล้วตอบคําถาม




                                   ภาพลักษณะเซลล์สิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ
          เซลล์ใดเป็นเซลล์สัตว์
     ก.   A และ B
     ข.   B และ C
     ค.   C และ D
     ง.   B และ D




10. ขั้นการปฏิสนธิในพืชดอกเป็นไปตามลําดับในข้อใด
                 A นิวเคลียสของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ผสมกับนิวเคลียสของเซลล์ไข่ในออวุล
                 B ละอองเรณูงอกหลอดเรณูแทงลงไปถึงรังไข่
                 C ละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย
    ก. A B C
    ข. B C A
    ค. C A B
ง. C B A
11. ข้อใดเป็นเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
     ก. เซลล์ขนราก
     ข. เซลล์ไดอะตอม
     ค. เซลล์ประสาท
     ง. เซลล์กล้ามเนื้อ
มฐ. ว 1.1 ตัวชี้วัด 2 สังเกตและเปรียบเทียบส่วนประกอบสําคัญของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
12. ส่วนประกอบใดที่พบในเซลล์สัตว์และเซลล์พืช
     ก. เยื่อหุ้มเซลล์และผนังเซลล์
     ข. เยื่อหุ้มเซลล์และนิวเคลียส
     ค. เยื่อหุ้มเซลล์และคลอโรพลาสต์
     ง. ผนังเซลล์และนิวเคลียส
13. จากข้อมูลสิ่งมีชีวิต 4 ชนิด ในตารางต่อไปนี้
               ชนิด              เซลล์             สร้างอาหาร             ผนังเซลล์
                1             เซลล์เดียว                ได้                 ไม่มี
                2             เซลล์เดียว                ได้                   มี
                3             หลายเซลล์                 ได้                   มี
                4             หลายเซลล์                ไม่ได้                 มี
    สิ่งมีชีวิตชนิดใดคือพืช
    ก. ชนิด 1
    ข. ชนิด 2
    ค. ชนิด 3
    ง. ชนิด 4



14. ถ้าเซลล์สัตว์มีส่วนประกอบในข้อใดจึงจะทําให้สังเคราะห์แสงได้
    ก. ผนังเซลล์
    ข. ไรโบโซม
    ค. นิวเคลียส
    ง. คลอโรพลาสต์
15. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับเซลล์สัตว์
    ก. มีผนังเซลล์แต่ไม่มีเยื่อหุ้มเซลล์
    ข. มีผนังเซลล์และคลอโรพลาสต์
    ค. มีนิวเคลียสแต่ไม่มีคลอโรพลาสต์
    ง. มีเยื่อหุ้มเซลแต่ไม่มีไซโทพลาซึม
16. โครงสร้างใดที่พบในเซลล์สาหร่ายหางกระรอกแต่ไม่พบในเซลล์เยื่อหอม
    ก. ผนังเซลล์
ข. นิวเคลียส
    ค. คลอโรพลาสต์
    ง. ทั้งข้อ ก และ ข้อ ข
17. ส่วนประกอบของเซลล์ที่พบในเซลล์พืช แต่ไม่พบในเซลล์สัตว์คืออะไร
    ก. นิวเคลียส
    ข. เยื่อหุ้มเซลล์
    ค. คลอโรพลาสต์
    ง. ไซโทพลาซึม
18. โครงสร้างใดที่จะพบในเซลล์สัตว์เท่านั้น
    ก. นิวเคลียส
    ข. เซนทริโอล
    ค. แวคิวโอล
    ง. เยื่อหุ้มเซลล์
19. ในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีโครงสร้างใดที่มีขนาดแตกต่างกันอย่างชัดเจน
    ก. แวคิวโอล
    ข. เยื่อหุ้มเซลล์
    ค. นิวเคลียส
    ง. ไซโทพลาซึม



20. “ผนังเซลล์” มีความสัมพันธ์กับสิ่งใดมากที่สุด
     ก. ไขมัน
     ข. กลูโคส
     ค. โปรตีน
     ง. เซลลูโลส
21. โครงสร้างใดที่พบในเซลล์พืช แต่ไม่พบในเซลล์สัตว์
     ก. เยื่อหุ้มเซลล์กับไซโทพลาซึม
     ข. ไซโทพลาซึมกับนิวเคลียส
     ค. คลอโรพลาสต์กับผนังเซลล์
     ง. นิวเคลียสกับไมโทคอนเดรีย
22. คลอโรพลาสต์เหมือนหรือต่างจากคลอโรฟีลล์อย่างไร
     ก. เหมือน เพราะพบในเซลล์ของสัตว์ทุกชนิด
     ข. ต่าง เพราะคลอโรพลาสต์พบในเซลล์พืช ส่วนคลอโรฟีลล์พบในเซลล์สัตว์
     ค. เหมือน เพราะให้สีเขียวเหมือนกัน
     ง. ต่าง เพราะคลอโรพลาสต์เป็นอวัยวะภายในเซลล์ ส่วนคลอโรฟีลล์เป็นรงควัตถุ
มฐ. ว 1.1 ตัวชี้วัดที่ 3 ทดลองและอธิบายหน้าที่ของส่วนประกอบที่สําคัญของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
23. ส่วนประกอบใดของเซลล์ที่มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆทําหน้าที่ควบคุมปริมาณและชนิดของสารที่ผ่านเข้า
    ออกจากเซลล์
    ก. ผนังเซลล์
    ข. เยื่อหุ้มเซลล์
    ค. คลอโรพลาสต์
    ง. ไซโทพลาซึม
24. ส่วนประกอบใดของเซลล์ที่ทําหน้าที่สร้างความแข็งแรงและป้องกันอันตรายให้เซลล์พืช
    ก. ผนังเซลล์
    ข. เยื่อหุ้มเซลล์
    ค. คลอโรพลาสต์
    ง. ไซโทพลาซึม
25. ส่วนประกอบใดในเซลล์พืชที่ทําหน้าที่สําคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
    ก. ผนังเซลล์
    ข. เยื่อหุ้มเซลล์
    ค. คลอโรพลาสต์
    ง. ไซโทพลาซึม

26. ส่วนประกอบใดของเซลล์พืชที่ทําหน้าที่คล้ายยาม
     ก. ผนังเซลล์
     ข. นิวเคลียส
     ค. เยื่อหุ้มเซลล์
     ง. ไซโทพลาซึม
27. โครงสร้างใดที่ทําให้เซลล์พืชมีความแข็งแรงและคงรูปร่างอยู่ได้
     ก. เยื่อหุ้มเซลล์
     ข. นิวเคลียส
     ค. แคโรทีนอยด์
     ง. ผนังเซลล์
28. โครงสร้างใดของพืชที่มีหน้าที่ควบคุมการผ่านเข้าออกของสารภายในเซลล์
     ก. ผนังเซลล์
     ข. เยื่อหุ้มเซลล์
     ค. นิวเคลียส
     ง. คลอโรพลาสต์
29. โครงสร้างใดที่ช่วยให้เซลล์พืชแข็งแรงและคงรูปร่างอยู่ได้
     ก. ผนังเซลล์
     ข. เยื่อหุ้มเซลล์
     ค. นิวเคลียส
     ง. ไซโทพลาซึม
มฐ. ว 1.1 ตัวชี้วัดที่ 4 ทดลองและอธิบายกระบวนการสารผ่านเซลล์โดยการแพร่และออสโมซีส
30. ข้อใดถูกต้องในกระบวนการออสโมซิส
    ก. การเคลื่อนที่ของน้ําจากบริเวณน้ํามากไปยังบริเวณน้ําน้อยกว่า
    ข. การเคลื่อนที่ของน้ําจากบริเวณน้ําน้อยผ่านเยื่อเลือกผ่านไปยังบริเวณน้ํามาก
    ค. การเคลื่อนที่ของน้ําจากสารละลายเข้มข้นผ่านเยื่อเลือกผ่านไปยังสารละลายเจือจาง
    ง. เป็นการเคลื่อนที่ของน้ําจากสารละลายเจือจางผ่านเยื่อเลือกผ่านไปยังสารละลายที่เข้มข้นกว่า
31. โยธินหยดน้ําหมึก ลงไปในน้ํา 1-2 หยด สังเกตการกระจายตัวของน้ําหมึกจนกว่าสีของน้ําหมึกมี
    ความเข้มข้นเท่ากัน นักเรียนคิดว่าโยธิน กําลังทําการทดลองเกี่ยวกับเรื่องใด
    ก. การแพร่ของสาร
    ข. การออสโมซิสของน้ํา
    ค. ปัจจัยที่ควบคุมการแพร่
    ง. ปัจจัยที่ควบคุมการออสโมซิส

32. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับปัจจัยที่ควบคุมการแพร่ของสาร
    ก. การลดอุณหภูมิมีผลทําให้การแพร่ของสารเกิดได้เร็วขึ้น
    ข. สารที่มีความเข้มข้นเท่ากันจะมีการแพร่ได้อย่างรวดเร็ว
    ค. สารที่มีความเข้มข้นน้อยสามารถแพร่ได้เร็วกว่าสารที่มีความเข้มข้นมาก
    ง. สารที่มีความเข้มข้นมากสามารถแพร่ได้เร็วกว่าสารที่มีความเข้มข้นน้อย
33. การเคลื่อนที่ของน้ําจากดินเข้าสู่ขนรากและลําต้น และเคลื่อนที่ต่อไปยังท่อลําเลียงน้ําที่อยู่ในราก โดยวิธีใด
     ก. ออสโมซิส
     ข. การแพร่
     ค. แอคทีฟทรานสปอร์ต
     ง. การลําเลียง
34. ข้อใดเป็นการแพร่ของสารที่พบเห็นในชีวิตประจําวัน
     ก. การฉีดน้ํารดต้นไม้
     ข. การกระจายของน้ําเข้าสู่ราก
     ค. การพ่นยากําจัดศัตรูพืช
     ง. การกระจายของฝุ่นละอองในอากาศ
35. น้ําในดินสามารถเข้าสู่รากพืชโดยอาศัยกระบวนการใด
     ก. ออสโมซิส
     ข. การแพร่
     ค. แอคทีฟทรานสปอร์ต
     ง. การลําเลียง
36. กระบวนการออสโมซิสในชีวิตประจําวันได้แก่ข้อใด
     ก. การแช่ผักผลไม้ในน้ํา
     ข. การได้กลิ่นหอมของดอกไม้
     ค. การฟุ้งกระจายของสารฆ่าแมลง
     ง. การเกิดหยดน้ําบริเวณปลายเส้นใบ
37. ขนรากดูดซึมแร่ธาตุเข้าสู่เซลล์ โดยวิธีการใด
ก.   การไหล
    ข.   การแพร่
    ค.   การลําเลียง
    ง.   การออสโมซิส



มฐ. ว 1.1 ตัวชี้วัดที่ 5 ทดลองหาปัจจัยบางประการที่จําเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชและอธิบายว่า
แสง คลอโรฟิลล์ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ น้ํา เป็นปัจจัยที่จําเป็นต้องใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง
38. ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ข้อความใดถูกต้อง
     ก. กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเกิดขึ้นที่บริเวณใบเท่านั้น
     ข. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้นจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
     ค. แก๊สออกซิเจนเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
     ง. สารอินทรีย์ในพืชมาจากน้ําตาลที่เกิดจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
39. ให้ศึกษาข้อมูลจากตารางแล้วตอบคําถาม
        ตาราง อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงที่อุณหภูมิต่าง ๆ ของพืช 4 ชนิด
                                        อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง ( µ mol m-2 s-1) ที่อุณหภูมิต่าง ๆ
                ชนิดของพืช
                                                 20 ºC                            35 ºC
                       1                           10                               30
                       2                           15                               40
                       3                           20                               50
                       4                           50                               20
        ถ้าต้องการปลูกพืชเหล่านี้ในประเทศไทย ควรเลือกปลูกพืชชนิดใด เรียงตามลําดับจาก มากไปน้อย
     ก. ชนิดที่ 1 2 3 และ 4
     ข. ชนิดที่ 3 1 2 และ 4
     ค. ชนิดที่ 3 2 1 และ 4
     ง. ชนิดที่ 4 3 2 และ 1
40. การใช้สารฆ่าวัชพืช ทําให้พืชไม่สามารถลําเลียงน้ําได้ จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อพืชตามข้อใด
     ก. คลอโรฟิลล์ในเซลล์พืชสลาย
     ข. เซลล์พืชขาดออกซิเจน
     ค. เซลล์คุมของพืชถูกทําลาย
     ง. พืชสังเคราะห์แสงไม่ได้
41. ถ้าต้องการทดสอบว่า “ก๊าซ CO2 มีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงหรือไม่” ต้องนําใบผักบุ้งจากการทดลอง
    ชุดใดมาทดสอบหาแป้ง

    ก.                                                        ข.




    ค.                                                        ง.




42. ถ้านําใบไม้ที่สกัดคลอโรฟิลล์ออกแล้วไปทดสอบโดยการหยดสารละลายไอโอดีน พบว่า ใบไม้ส่วนที่มี
    สีเขียวเปลี่ยนสีของสารละลายไอโอดีนจากสีน้ําตาลแดงเป็นสีน้ําเงิน แต่ใบไม้ส่วนที่มีสีขาวไม่เปลี่ยนสีของ
    สารละลายไอโอดีน นักเรียนจะสรุป ผลการทดลองอย่างไร
    ก. น้ําจําเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
    ข. แสงจําเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
    ค. คลอโรฟิลล์จําเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
    ง. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จําเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
43. ข้อใดเป็นการทดสอบว่าแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จําเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสง
    ก. นําใบไม้ที่มีสีเขียวและสีขาวมาสกัดคลอโรฟิลล์ออกและทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีน
    ข. นําใบไม้ในที่มืดและที่สว่างมาสกัดคลอโรฟิลล์ออกและทดสอบด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์
    ค. นําใบไม้จากถุงที่มีสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์และถุงที่ไม่สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์มาสกัด
        คลอโรฟิลล์ออกและทดสอบด้วยไอโอดีน
    ง. นําใบไม้จากถุงที่มีสารละลายไอโอดีนและถุงที่ไม่สารละลายไอโอดีนมาสกัดคลอโรฟิลล์ออกและ
        ทดสอบด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์




จากปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสงต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 45
น้ํา + แก๊ส (1)        (2)         ( 4 ) + น้ํา + แก๊ส ( 5 )
                       (3)
44. แก๊ส ( 1 ) และแก๊ส ( 5 ) คือข้อใดตามลําดับ
    ก. ออกซิเจน ออกซิเจน
    ข. ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์
    ค. คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์
    ง. คาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน
45. ข้อใดสรุปเกี่ยวกับการหมุนเวียนแก๊สในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงที่ใบพืชได้ถูกต้อง
    ก. มีการดูดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และคายแก๊สออกซิเจน
    ข. มีการคายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และดูดแก๊สออกซิเจน
    ค. มีการคายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพียงอย่างเดียว
    ง. มีการคายแก๊สออกซิเจนเพียงอย่างเดียว
46. กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช เกิดขึ้นในช่วงเวลาใด
    ก. กลางวันเท่านั้น
    ข. ตลอดเวลาที่มีแสงสว่าง
    ค. ในช่วงเวลาที่มีแดดจัด
    ง. ในช่วงที่ได้รับแสงแดดไม่จัดนัก
47. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่สําคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
    ก. น้ํา
    ข. แสง
    ค. แก๊สออกซิเจน
    ง. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
48. รงควัตถุที่มีสีเขียวและช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสง คือข้อใด
    ก. คลอโรพลาสต์
    ข. คลอโรฟีลล์
    ค. คอลลอยด์
    ง. ไกลโคเจน




49. น้ํา + ( A )  แสงสว่าง      น้ําตาล + ( B ) + น้ํา
                  คลอโรฟิลล์
    จากสมการ ( B ) คืออะไร
    ก. กลูโคส
    ข. ออกซิเจน
    ค. คาร์บอนไดออกไซด์
    ง. คลอโรพลาสต์
50. พิจารณาสมการการสังเคราะห์ด้วยแสง
                         แสง
CO2 + A                                 B + C +H2O
                       คลอโรฟิ ลล์
     จากสมการ A B และ C คืออะไรตามลําดับ
     ก. น้ํา แร่ธาตุ น้ําตาล
     ข. แร่ธาตุ น้ําตาล ออกซิเจน
     ค. น้ําตาล แร่ธาตุ ออกซิเจน
     ง. น้ํา น้ําตาล ออกซิเจน
51. ข้อใดจัดเป็นปัจจัยภายนอกที่ทําให้เกิด กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
     ก. แสงแดด คลอโรฟีลล์
     ข. น้ํา คลอโรฟีลล์
     ค. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แสงแดด
     ง. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ คลอโรฟีลล์
มฐ. ว 1.1 ตัวชี้วัดที่ 6 ทดลองและอธิบายผลที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
52. น้ําตาลที่เกิดจากการสังเคราะห์ด้วยแสงคือข้อใด
     ก. C6H12O6
     ข. C12H24O12
     ค. C12H22O11
     ง. C6H12O5
53. ในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชนอกจากได้อาหารแล้วยังได้ผลิตภัณฑ์ใด
    ก. น้ําและแก๊สออกซิเจน
    ข. น้ําและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
    ค. แป้งและแก๊สออกซิเจน
    ง. น้ําตาลและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

54. ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช สิ่งแรกที่ได้คืออะไร
     ก. น้ํา
     ข. แป้ง
     ค. แก๊สออกซิเจน
     ง. น้ําตาลกลูโคส
55. ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง คือข้อใด
     ก. น้ําตาล แป้ง น้ํา
     ข. น้ําตาล แก๊สออกซิเจน น้ํา
     ค. แป้ง น้ําตาล คลอโรฟีลล์ น้ํา
     ง. น้ําตาล แก๊สออกซิเจน คลอโรฟีลล์
มฐ. ว 1.1 ตัวชี้วัดที่ 7 อธิบายความสําคัญของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
56. ข้อใดคือประโยชน์ที่สิ่งมีชีวิตได้รับจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
     ก. ได้อาหารและพลังงาน
     ข. ได้แก๊สออกซิเจนมาใช้ในกระบวนการหายใจ
ค. ลดปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ
     ง. ถูกทุกข้อ
57. ถ้าในอากาศไม่มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เลยหรือมีเพียงเล็กน้อย นักเรียนคิดว่าจะมีผลต่อสิ่งมีชีวิต
     หรือไม่ อย่างไร
     ก. มีผล เพราะแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จําเป็นในการสร้างอาหารของพืช
     ข. มีผล เพราะแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จําเป็นในการสร้างอาหารของสัตว์
     ค. ไม่มีผล เพราะสิ่งมีชีวิตใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น
     ง. ไม่มีผล เพราะแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ไม่มีความจําเป็นในการดํารงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
58. การปลูกต้นไม้ไว้เกาะกลางถนนตามเมืองใหญ่ นักเรียนคิดว่าทําเพื่อประโยชน์ในข้อใดมากที่สุด
     ก. เพิ่มความร่มรื่นแก่ถนน
     ข. เป็นแหล่งอาหารและพลังงาน
     ค. เป็นที่พักอาศัยของสัตว์ในเมือง
     ง. ลดปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
59. ข้อใดมีความสัมพันธ์กับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงมากที่สุด
     ก. ปริมาณแร่ธาตุอาหารที่จําเป็นในพื้นดิน
     ข. ปริมาณอาหารที่จําเป็นต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
     ค. จํานวนพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณต่างๆ
     ง. การหมุนเวียนของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจน
60. “ ในบรรยากาศที่มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์น้อยหรือไม่มีเลยจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ”นักเรียน
     เห็นด้วยหรือไม่กับคํากล่าวข้างต้น
     ก. เห็นด้วย เพราะพืชใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ สําหรับหายใจ
     ข. เห็นด้วย เพราะแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นปัจจัยสําคัญสําหรับการสังเคราะห์ด้วยแสง
     ค. ไม่เห็นด้วย เพราะพืชต้องการแก๊สออกซิเจน ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช
     ง. ไม่เห็นด้วย เพราะการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ไม่จําเป็นต้องใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
61. นอกจากน้ําตาลแล้ว ข้อใดเป็นผลที่เกิดจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
     ก. แป้ง ไขมัน
     ข. ไขมัน โปรตีน
     ค. น้ํา แก๊สออกซิเจน
     ง. น้ํา แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
62. ต้นถั่วงอกจําเป็นต้องสร้างอาหารด้วยการสังเคราะห์ด้วยแสงหรือไม่
     ก. จําเป็น เพราะพืชทุกชนิดต้องสร้างอาหาร
     ข. ไม่จําเป็น เพราะมีอาหารสะสมอยู่
     ค. จําเป็น เพราะเป็นช่วงต้องเร่งการเจริญ
     ง. ไม่จําเป็น เพราะรากสามารถหาอาหารได้
มฐ. ว 1.1 ตัวชี้วัดที่ 8 ทดลองและอธิบายกลุ่มเซลล์ที่เกี่ยวกับการลําเลียงน้ําของพืช
63. ส่วนที่ทําหน้าที่ดูดน้ําและแร่ธาตุเข้าสู่พืชคือข้อใด
     ก. ราก
     ข. ลําต้น
ค. ขนราก
    ง. ปากใบ
64. โครงสร้างที่พืชใช้ในการลําเลียงน้ําและแร่ธาตุไปยังส่วนต่างๆของพืชคือข้อใด
    ก. ราก
    ข. ลําต้น
    ค. ท่อลําเลียงน้ํา
    ง. ท่อลําเลียงแร่ธาตุ
65. กลุ่มเซลล์ที่ทําหน้าที่ลําเลียงน้ําในพืชใบเลี้ยงคู่มีลักษณะอย่างไร
    ก. กระจายตัวรอบๆลําต้น
    ข. จัดเรียงเป็นวงรอบๆลําต้น
    ค. อยู่บริเวณกลางล้ําต้น
    ง. อยู่เป็นหย่อมๆไม่สม่ําเสมอในลําต้น

66. กลุ่มเซลล์ที่ทําหน้าที่เป็นท่อลําเลียงน้ํา พบได้ในส่วนใดของพืช
     ก. เฉพาะราก
     ข. รากและลําต้น
     ค. ราก ลําต้น และกิ่ง
     ง. ราก ลําต้น กิ่ง และใบ
67. ส่วนแรกของรากที่ทําหน้าที่ดูดน้ําและแร่ธาตุจากดิน คือข้อใด
     ก. ราก
     ข. ขนราก
     ค. รากฝอย
     ง. รากแขนง
มฐ. ว 1.1 ตัวชี้วัดที่ 9 สังเกตและอธิบายโครงสร้างที่เกี่ยวกับระบบลําเลียงน้ําและอาหารของพืช
68. การนําต้นไม้ไปปลูกในที่ที่เตรียมไว้ เพราะเหตุใดจึงนิยมที่จะตัดใบออก
     ก. สะดวกในการขนย้าย
     ข. ลดพื้นที่ที่ใช้ในการปลูก
     ค. ลดการคายน้ําของพืช
     ง. ลดการลําเลียงอาหารของพืช
69. กลุ่มเซลล์ที่ทําหน้าที่ลําเลียงอาหารไปยังส่วนต่างๆของพืชคือข้อใด
     ก. ท่อลําเลียง
     ข. ท่อลําเลียงน้ํา
     ค. ท่อลําเลียงอาหาร
     ง. ท่อลําเลียงอาหารและแร่ธาตุ
70. การลําเลียงน้ําและเกลือแร่จะเกิดขึ้นบริเวณโครงสร้างส่วนใดของใบ
    ก. เส้นใบ
    ข. ปากใบ
    ค. เซลล์เนื้อเยื่อพาลิเซด
ง. เซลล์เนื้อเยื่อสปันจี
71. ข้อใดแสดงทิศทางการลําเลียงอาหารในพืชได้ถูกต้อง
     ก. จากราก ไปลําต้น ไปใบ ไปกิ่ง
     ข. จากราก ไปลําต้น ไปกิ่ง ไปใบ
     ค. จากใบ ไปลําต้น ไปกิ่ง ไปราก
     ง. จากใบ ไปกิ่ง ไปลําต้น ไปราก


72. โครงสร้างที่พืชใช้ในการลําเลียงน้ําและแร่ธาตุ คืออะไร
     ก. ไซเลม
     ข. โฟลเอ็ม
     ค. ระบบราก
     ง. แคมเบียม
73. โครงสร้างใดที่พืชใช้ในการลําเลียงอาหาร
     ก. ไซเลม
     ข. โฟลเอ็ม
     ค. เนื้อไม้
     ง. เปลือกไม้
74. การคายน้ําของพืชมีความสัมพันธ์กับกระบวนการใดมากที่สุด
     ก. การสืบพันธุ์
     ข. การเจริญเติบโต
     ค. การสังเคราะห์ด้วยแสง
     ง. การลําลียงน้ําของพืช
75. ทิศทางการลําเลียงอาหารของพืช ส่วนใหญ่มีทิศทางอย่างไร
                   1 ราก → ลําต้น → กิ่ง → ใบ
                   2 ใบ → กิ่ง → ลําต้น → ราก
                   3 ใบ → กิ่ง → ลําต้น → กิ่ง → ดอก
     ก. 1 และ 2
     ข. 2 และ 3
     ค. 1 และ 3
     ง. เฉพาะ 2
มฐ. ว 1.1 ตัวชี้วัดที่ 10 ทดลองและอธิบายโครงสร้างของดอกที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ของพืช
76. ข้อใดเรียงส่วนประกอบของดอกจากชั้นนอกสุดเข้าหาชั้นในสุดได้ถูกต้อง
     ก. กลีบดอก กลีบเลี้ยง เกสรเพศเมีย เกสรเพศผู้
     ข. กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรเพศผู้ เกสรเพศเมีย
     ค. กลีบดอก กลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้ เกสรเพศเมีย
     ง. กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรเพศเมีย เกสรเพศผู้
77. ดอกตําลึง ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง กลีบดอกและเกสรตัวเมีย ดอกตําลึงจัดเป็นดอกไม้ชนิดใด
     ก. ดอกครบส่วนและสมบูรณ์เพศ
     ข. ดอกไม่ครบส่วนแต่สมบูรณ์เพศ
     ค. ดอกครบส่วนแต่ไม่สมบูรณ์เพศ
     ง. ดอกไม่ครบส่วนและไม่สมบูรณ์เพศ
78. การแบ่งประเภทของดอกไม้ โดยใช้ส่วนประกอบของดอกเป็นเกณฑ์ คือข้อใด
     ก. ดอกเดี่ยว ดอกช่อ
     ข. ดอกเดี่ยว ดอกผสม
     ค. ดอกครบส่วน ดอกไม่ครบส่วน
     ง. ดอกสมบูรณ์เพศ ดอกไม่สมบูรณ์เพศ
79. โครงสร้างใดที่พืชใช้ในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
     ก. ราก
     ข. ลําต้น
     ค. ใบ
     ง. ดอก
มฐ. ว 1.1 ตัวชี้วัดที่ 11 อธิบายกระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอกและการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัย
เพศของพืช โดยใช้ ส่วนต่างๆ ของพืชเพื่อช่วยในการขยายพันธุ์
80. ลําดับขั้นตอนการผสมพันธุ์ของพืชดอกเป็นดังนี้
     ก. ไซโกต เอ็มบริโอ การปฏิสนธิ
     ข. การปฏิสนธิ การถ่ายละอองเรณู การงอกของละอองเรณู
     ค. การถ่ายละอองเรณู การงอกของละอองเรณู การปฏิสนธิ
     ง. การงอกของละอองเรณู การถ่ายละอองเรณู การปฏิสนธิ
81. การปฏิสนธิของดอกไม้เกิดขึ้นเมื่อใด
     ก. สเปิร์มเข้าไปรวมกับไข่
     ข. เกิดเอ็มบริโอภายในรังไข่
     ค. ละอองเรณูตกบนยอดเกสรตัวเมีย
     ง. ออวุลเจริญเป็นเมล็ด
82. เมื่อละอองเรณูแก่เต็มที่จะแบ่งเป็น 2 นิวเคลียสหมายถึงข้อใด
     ก. เจเนอเรทิฟนิวเคลียส , สเปริ์ม
     ข. ทิวบ์นิวเคลียส , รังไข่
     ค. เจเนอเรทีฟนิวเคลียส , ทิวบ์นิวเคลียส
     ง. รังไข่ , สเปริ์ม

83. ข้อใดเป็นการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศทั้งหมด
        A. การตอนกิ่ง B.การทาบกิ่ง C. การใช้เมล็ด D. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ E. การปักชํา
ก. ข้อ A B และ C
      ข. ข้อ B C และ D
      ค. ข้อ C D และ E
      ง. ข้อ B D และ E
84.   หลังจากเกิดการปฏิสนธิแล้ว จะเกิดสิ่งใดตามมา
      ก. ออวุลเจริญเป็นผล รังไข่เจริญเป็นเมล็ด
      ข. ออวุลเจริญเป็นเมล็ด รังไข่เจริญเป็นผล
      ค. ออวุลเจริญเป็นเมล็ด รังไข่เจริญเป็นต้นอ่อน
      ง. ออวุลเจริญเป็นต้นอ่อน รังไข่เจริญเป็นผล
85.   พืชในข้อใดที่สามารถนําส่วนของใบไปชําเพื่อให้เกิดต้นใหม่ได้
      ก. สตรอว์เบอร์รี ใบบัวบก
      ข. สาเก กุหลาบหิน
      ค. ต้นตายใบเป็น เศรษฐีพันล้าน
      ง. มันเทศ เผือก
86.   ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด
      ก. ดอกครบส่วนทุกชนิดเป็นดอกสมบูรณ์เพศ
      ข. ดอกสมบูรณ์เพศทุกชนิดเป็นดอกครบส่วน
      ค. ดอกสมบูรณ์เพศทุกชนิดเป็นดอกไม่ครบส่วน
      ง. ดอกไม่ครบส่วนทุกชนิดเป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ
87.   ถ้านักเรียนสังเกตเห็นดอกกุหลาบหลายๆ สี บน ต้นกุหลาบต้นเดียวกัน ต้นกุหลาบนี้น่าจะผ่านการ
      กระทําสิ่งใดมาก่อน
      ก. การเพาะเมล็ด
      ข. การตอน
      ค. การปักชํา
      ง. การต่อกิ่ง
88.   ดอกไม้ในข้อใดเป็นดอกสมบูรณ์เพศ
      ก. ตําลึง
      ข. ข้าวโพด
      ค. กุหลาบ
      ง. ฟักทอง

89. เมื่อมีการปฏิสนธิในดอกไม้ที่มีโครงสร้างดังภาพ
ชนิดของผลที่เกิดขึ้นควรเป็นอย่างไร
     ก. 1 ผลมี 1 เมล็ด
     ข. 1 ผลมีหลายเมล็ด
     ค. หลายผลอยู่ติดกันแต่ละผลมี 1 เมล็ด
     ง. หลายผลอยู่ติดกันแต่ละผลมีหลายเมล็ด
90. พืชเศรษฐกิจใดที่นิยมใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในการขยายพันธุ์
      ก. ข้าวโพด
      ข. กล้วยไม้
      ค. ยางพารา
      ง. มันสําปะหลัง
มฐ. ว 1.1 ตัวชี้วัดที่ 12 ทดลองและอธิบายการตอบสนองของพืชต่อแสง น้ํา และการสัมผัส
91. ข้อใดเป็นพฤติกรรมการตอบสนองของพืชต่อการสัมผัส
    ก. การหุบบานของดอกบัว
    ข. การงอกของเมล็ด
    ค. การหุบใบของไมยราบเมื่อถูกสัมผัส
    ง. การเจริญของรากพืชลงไปในดิน
92. ข้อใดเป็นพฤติกรรมการตอบสนองของพืชต่อแสงสว่าง
     ก. การหุบบานของดอกบัว
     ข. การงอกของเมล็ด
     ค. การหุบใบของไมยราบเมื่อถูกสัมผัส
     ง. การเจริญของรากพืชลงไปในดิน
93. การตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้าในข้อใดที่เกิดจากสิ่งเร้าชนิดเดียวกัน
     ก. การหุบบานของดอกบัวกับการยืดตัวของรากลงพื้นดิน
     ข. การหุบบานของดอกบัวกับการหุบบานของไมยราบ
     ค. การหุบบานไมยราบกับการหุบบานของดอกคุณนายตื่นสาย
     ง. การหุบบานของไมยราบกับการปิดใบฝาของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง
94. ลักษณะการงอกของรากพืชเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดมากที่สุด
    ก. มีแรงโน้มถ่วงของโลกเป็นสิ่งเร้า
    ข. ใต้ดินมีอุณหภูมิต่างจากผิวดิน
    ค. พืชต้องการหาอาหารให้ได้ไกลๆ
    ง. ความเต่งของเซลล์ภายในต้นพืช
95. พืชในข้อใดที่มีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
         ก. ดอกบัว
         ข. ไมยราบ
         ค. สน
         ง. กระบองเพชร
96. การหุบของใบไมยราบเมื่อถูกสัมผัสเป็นผลเนื่องมาจากสิ่งเร้าชนิดใด
         ก. การสัมผัส
         ข. แสง
         ค. อุณหภูมิ
         ง. น้ํา
97. การหุบและกางใบของพืชตระกูลถั่วจะเกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าในข้อใด
      ก. อุณหภูมิ
      ข. สารเคมี
      ค. น้ํา
      ง. แสง
มฐ. ว 1.1 ตัวชี้วัดที่ 13 อธิบายหลักการและผลของการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการขยายพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์
เพื่อเพิ่มผลผลิตของพืชและนําความรู้ไปใช้ประโยชน์
98. ข้อใดคือธาตุซึ่งเป็นอาหารหลักของพืช
         ก. ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม
         ข. คาร์บอน ไนโตรเจน ออกซิเจน
         ค. ฟอสฟอรัส ออกซิเจน แมกนีเซียม
         ง.คาร์บอน โพแทสเซียม แมกนีเซียม




99. การนําส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชเพียงเล็กน้อยไปเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ในสภาพที่ได้รับการควบคุม
     อย่างเหมาะสม เป็นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในเรื่องใด
     ก. การตัดต่อยีน
     ข. การปักชําเนื้อเยื่อ
     ค. การแปลงพันธุ์พืช
     ง. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
100. ข้อใดหมายถึงการใช้วิธีทางพันธุศาสตร์โดยการวิธีการที่เรียกว่า GMOs
     ก. การตัดเอาชิ้นส่วนของจีนไปใส่ในจานเพาะเชื้อเพื่อให้เกิดเซลล์ใหม่
     ข. การนําส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชเพียงเล็กน้อยไปเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์
     ค. การตัดเอาชิ้นส่วนของจีนไปใส่ในโครโมโซมของพืชเพื่อให้เกิดเซลล์ใหม่
     ง. การตัดเอาชิ้นส่วนของจีนไปใส่ในต้นไม้หรือสัตว์ตัวใหม่เพื่อให้เกิดเซลล์ใหม่
101. การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในด้านเกษตรกรรมและอาหารที่มีการต่อต้านมากเพราะกลัวว่าจะมีผลกระทบ
      ในเรื่องใดมากที่สุด
      ก. พืชจะมีการกลายพันธุ์
      ข. จะเกิดผลข้างเคียงแก่ผู้บริโภค
      ค. พืชจะขยายพันธุ์ได้มากเกินไป
      ง. การใช้ปุ๋ยและสารเคมีจะลดลงมากเกินไป
102. “แคลลัส” มีความสัมพันธ์กับสิ่งใดต่อไปนี้มากที่สุด
      ก. พืช GMOS
      ข. การตัดแต่งพันธุกรรม
      ค. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
      ง. สิ่งมีชีวิตแปลงพันธุ์
103. ข้อใดกล่าวถูกต้องตามความเป็นจริง
      ก. พืชที่ได้รับการตัดต่อยีนส่วนใหญ่จะมีลักษณะเลวลง
      ข. พืช GMOs ทําให้ผู้ที่บริโภคเสียชีวิต
      ค. พืชที่ขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจะมีอายุสั้นกว่าปกติ
      ง. พืช GMOs ยังไม่ได้รับการยอมรับจากคนทั่วไปมากนัก
104. สารชนิดใดที่ใส่ลงไปในอาหารสังเคราะห์ เพื่อกระตุ้นการแบ่งเซลล์ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
      ก. กลูโคส
      ข. ไซโทไคนิน
      ค. เพนนิซิลิน
      ง. โซเดียมไฮโปคลอไรด์

105. หน่วยงานที่ค้นคว้าด้านเทคโนโลยีชวภาพในประเทศไทย คือหน่วยงานใด
                                            ี
        ก. ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ
        ข. องค์การอาหารและยา
        ค. สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
        ง. กรมควบคุมมลพิษ
สาระที่ 3 ม. 3.1
ตัวชี้วัดข้อที่ 1 ทดลองและจําแนกสารเป็นกลุ่มโดยใช้เนื้อสารหรือขนาดอนุภาคเป็นเกณฑ์และอธิบายสมบัติ
ของสารในแต่ละกลุ่ม
106. เมื่อกรองของเหลวชนิดหนึ่งด้วยกระดาษกรองพบว่ามีอนุภาคของแข็งเหลืออยู่ ข้อใดสรุปได้ถูกต้อง
        ก. สารนั้นเป็นคอลลอยด์
        ข. สารนั้นเป็นสารแขวนลอย
        ค. สารนั้นเป็นสารละลาย
        ง. สารนั้นอาจเป็นสารละลายหรือคอลลอยด์
107. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
        ก. คอลลอยด์บางชนิดเป็นสารบริสุทธิ์
        ข. น้ําสบู่จัดเป็นอิมัลซิฟายเออร์ช่วยให้ไขมันและสิ่งสกปรกรวมตัวกับน้ําได้
ค. จุดเดือดของสารบริสุทธิ์คงที่
      ง. น้ําโคลนจัดเป็นสารแขวนลอย
108. ตาราง ลักษณะและการเปลี่ยนแปลงของของเหลวชนิดต่าง ๆ

ชนิดของ                                                                   อุณหภูมิขณะ
                 สี                ตะกอน         ผลที่ได้จากการระเหย
ของเหลว                                                                   เปลี่ยนสถานะ
   A        ใสไม่มีสี       มีตะกอนที่ก้นภาชนะ    ได้ของแข็งสีขาวขุ่น   อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น
   B        ใสไม่มีสี            ไม่มีตะกอน        ได้ของแข็งสีขาว      อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น
   C           ฟ้า               ไม่มีตะกอน         ได้ของแข็งสีฟ้า     อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น
   D        ใสไม่มีสี            ไม่มีตะกอน        ไม่พบสารตกค้าง          อุณหภูมิคงที่
ของเหลวใดบ้างจัดเป็นสารเนื้อเดียว
     ก. A เท่านั้น
     ข. B และ C
     ค. B C และ D
     ง. D เท่านั้น


109. ข้อใดเรียงลําดับขนาดอนุภาคของสารจากขนาดใหญ่ไปเล็กได้ถูกต้อง
       ก. คอลลอยด์ สารแขวนลอย สารละลาย
       ข. สารละลาย สารแขวนลอย คอลลอยด์
       ค. สารแขวนลอย สารละลาย คอลลอยด์
       ง. สารแขวนลอย คอลลอยด์ สารละลาย
110. ตาราง สถานะของสารในตัวกลางและสถานะของตัวกลางของคอลลอยด์ชนิดต่าง ๆ
          ชนิดของคอลลอยด์             สถานะของสารในตัวกลาง          สถานะของตัวกลาง
                   อิมัลชัน                     ของเหลว                 ของเหลว
                  แอโรซอล                       ของเหลว                   แก๊ส
                     เจล                         ของแข็ง                ของเหลว
                     โฟม                           แก๊ส                 ของเหลว
ถ้าเมฆและหมอกเป็นหยดน้ําขนาดเล็กที่ลอยอยู่ในอากาศ เมฆและหมอกจัดเป็นคอลลอยด์ชนิดใด
     ก. เจล
     ข. โฟม
     ค. อิมัลชัน
     ง. แอโรซอล
111. สารทุกสารในกลุ่มใดที่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ําเงินเป็นแดง
       ก. น้ําเชื่อม น้ําปลา น้ําฝน
       ข. น้ําอัดลม น้ํามะนาว น้ํามะขามเปียก
       ค. น้ําส้มสายชู น้ํายาล้างห้องน้ํา น้ําเกลือ
       ง. น้ํายาล้างจาน น้ําสบู่ สารละลายผงซักฟอก
112. ในการจําแนกประเภทของสารเป็น สารละลาย คอลลอยด์ และสารแขวนลอย ควรพิจารณาโดยใช้เกณฑ์ในข้อใด
       ก. สี
       ข. ความขุ่น
       ค. องค์ประกอบ
       ง. ขนาดอนุภาค
113. พนิดาจําแนกสารออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
      กลุ่มที่ 1 อากาศ น้ําตาลทราย น้ําส้มสายชู
      กลุ่มที่ 2 น้ํากะทิ น้ําแป้ง น้ํานม
      เกณฑ์ที่พนิดาใช้ในการจําแนกสารคือข้อใด
       ก. สารเนื้อเดียว กับ สารเนื้อผสม
       ข. สารเนื้อเดียว กับ สารละลาย
       ค. สารเนื้อผสม กับ สารละลาย
       ง. สารบริสุทธิ์ กับ สารไม่บริสุทธิ์
114. ถ้าจัด น้ําตาล น้ําเชื่อม และน้ําอัดลม เป็นสารกลุ่มเดียวกัน นักเรียนคิดว่าใช้เกณฑ์ใดในการจําแนกสาร
       ก. สี
       ข. สถานะ
       ค. ลักษณะเนื้อสาร
       ง. ขนาดของอนุภาค
115. ถ้าใช้ขนาดอนุภาคของสารเป็นเกณฑ์ในการจําแนกสาร สารในข้อใดไม่เข้ากลุ่มกับพวก
       ก. น้ําปลา
       ข. น้ําเชื่อม
       ค. น้ําอัดลม
       ง. แป้งเปียก

   ข้อมูล ตารางแสดงผลการทดลอง ใช้ตอบคําถาม ข้อ 116
        รายการทดลอง       การกรองด้วยกระดาษกรอง                    การกรองด้วยกระดาษเซลโลเฟน
           สาร 1                มีสารตกค้าง                           ไม่ผ่านกระดาษเซลโลเฟน
           สาร 2               ไม่มีสารตกค้าง                         ไม่ผ่านกระดาษเซลโลเฟน
           สาร 3               ไม่มีสารตกค้าง                          ผ่านกระดาษเซลโลเฟน

116. จากข้อมูล ข้อใดสรุปได้ถูกต้อง
      ก. สาร 1 เป็นสารแขวนลอย           สาร 2 เป็นสารละลาย             สาร   3   เป็นคอลลอยด์
      ข. สาร 1 เป็นสารแขวนลอย           สาร 2 เป็นคอลลอยด์             สาร   3   เป็นสารละลาย
      ค. สาร 1 เป็นสารละลาย             สาร 2 เป็นสารแขวนลอย           สาร   3   เป็นคอลลอยด์
      ง. สาร 1 เป็นคอลลอยด์             สาร 2 เป็นสารละลาย             สาร   3   เป็นสารแขวนลอย
117. สารในข้อใดต่อไปนี้ที่โมเลกุลของสารจะอยู่ชิดกันและยึดกันแน่น
      ก. แอลกอฮอล์
      ข. น้ําส้มสายชู
ค. เกล็ดน้ําแข็ง
     ง. กํามะถัน
118. สารในข้อใดมีสมบัติในการระเหิด
     ก. สารส้ม
     ข. กํามะถัน
     ค. การบูร
     ง. เกลือ
119. ข้อใดไม่ใช่สมบัติทางเคมีของสาร
     ก. การเกิดปฎิกิริยาเคมี
     ข. การทนต่อแสงและความร้อน
     ค. ความเป็นกรด - เบส
     ง. นําไฟฟ้าและความร้อน
120. สารในสถานะใดที่อนุภาคจะแพร่กระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ
     ก. แก๊ส
     ข. ของเหลว
     ค. ของแข็ง
     ง. ของแข็งและของเหลว

121. เพราะเหตุใดจึงใช้ลักษณะเนื้อสารเป็นเกณฑ์การจําแนกประเภทของสาร
        ก. เนื้อสารสามารถจับต้องได้
        ข. สารบางชนิดมีหลายสถานะจึงยากแก่การพิจารณา
        ค. สะดวก เข้าใจง่าย สามารถใช้การสังเกตจําแนกได้
        ง. มีเครื่องมือหลายชนิดอํานวยความสะดวกในการจําแนก
122. ข้อใดเป็นสารเนื้อผสมทั้งหมด
        ก. ดิน น้ํา ผงชูรส เกลือ
        ข. ยาสีฟัน แป้งมัน เหล็ก ทองแดง
        ค. น้ํา สารละลายแอมโมเนีย ปูนซีเมนต์
        ง. ดิน น้ําคลอง ลอดช่องกะทิ น้ําส้มคั้น
สาระที่ 3 ม. 3.1
ตัวชี้วัดข้อที่ 2 อธิบายสมบัติและการเปลี่ยนสถานะของสารโดยใช้แบบจําลองการจัดเรียงอนุภาคของสาร
123. พิจารณาสมการต่อไปนี้ แล้วตอบคําถาม
          A. แก๊สไฮโดรเจน + แก๊สออกซิเจน            น้ํา
          B. แมกนีเซียม + แก๊สออกซิเจน           แมกนีเซียมออกไซด์
          C. กรดไฮโดรคลอริก + โซเดียมไฮดรอกไซด์             โซเดียมคลอไรด์ + น้ํา
การเปลี่ยนแปลงในข้อใด จัดเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมีทั้งหมด
        ก. A และ B
        ข. B และ C
        ค. C และ A
ง. A B และ C


124. ตาราง จุดหลอมเหลวของสารประกอบออกไซด์ของแมงกานีสชนิดต่าง ๆ
       ชนิดของสารประกอบออกไซด์ของแมงกานีส                 จุดหลอมเหลว (องศาเซลเซียส)
                        ชนิดที่ 1                                      6
                        ชนิดที่ 2                                     535
                        ชนิดที่ 3                                    1,000
                        ชนิดที่ 4                                    1,590
                        ชนิดที่ 5                                    1,800
จากข้อมูลในตาราง ที่อุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส
สารประกอบออกไซด์ของแมงกานีสชนิดใดมีสถานะเป็นของแข็งเท่านั้น
      ก. ชนิดที่ 1 และ 2
      ข. ชนิดที่ 2 และ 3
      ค. ชนิดที่ 3 และ 4
      ง. ชนิดที่ 4 และ 5
125. สมชายใส่ลูกปัดลงในถาดแล้วเทลูกปัดให้รวมกันที่มุมถาดสังเกตระยะห่างของลูกปัดเพื่อเปรียบเทียบกับ
      อนุภาคของสาร นักเรียนคิดว่าสมชายทําการทดลองเพื่อเปรียบเทียบอนุภาคสารในสถานะใด
      ก. อนุภาคของแก๊ส                                ข. อนุภาคของของแข็ง
      ค. อนุภาคของของเหลว                             ง. อนุภาคของของแข็งและของเหลว
126. ข้อใดสรุปเกี่ยวกับอนุภาคของสารในสถานะต่างๆ ได้ถูกต้อง
      ก. ของแข็งอยู่กับที่เปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ง่าย
      ข. ของเหลวไหลได้และมีรูปร่างตามภาชนะที่บรรจุ
      ค. แก๊สมีรูปร่างกระจายเต็มภาชนะบีบอัดให้เล็กลงยาก
      ง. ถูกทั้งข้อ ข และข้อ ค
127. สาร A มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยมากมีช่องว่างระหว่างอนุภาคมากและสามารถบีบอัดให้
      เล็กลง ได้ง่าย สาร A ควรเป็นสารใด
      ก. น้ํา
      ข. เกลือ
      ค. ทองแดง
      ง. แก๊สออกซิเจน




128. สารในข้อใดจัดเป็นธาตุ
      ก. น้ํา
      ข. เกลือแกง
ค. น้ําตาลกลูโคส
        ง. ออกซิเจน
129.   ข้อใดเป็นสารประกอบ
        ก. น้ําโคลน
        ข. น้ํา
        ค. น้ําแป้งดิบ
        ง. น้ําผสมน้ํามัน
130.    อนุภาคที่เล็กที่สุดของสารทุกชนิด คืออะไร
        ก. อะตอม
        ข. โมเลกุล
        ค. อนุภาค
        ง. มวลสาร
131.    สารในข้อใดเป็นสารที่ประกอบด้วยสารสองชนิดปนกันอยู่
        ก. น้ํากลั่น
        ข. เกลือแกง
        ค. น้ําเชื่อม
        ง. น้ําตาลทราย
132.    สารในข้อใดจัดเป็นสารพวกเดียวกัน
        ก. น้ําเกลือ น้ํากะทิ กาแฟ
        ข. น้ําตาลทราย น้ําโคลน น้ําแป้ง
        ค. น้ําแป้ง น้ําปลา น้ําส้มสายชู
        ง. น้ําเกลือ น้ําหวาน ทองเหลือง
133.     ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของธาตุอโลหะ
        ก. ไม่นําไฟฟ้า
        ข. หักง่ายและเปราะ
        ค. มีจุดหลอมเหลว และจุดเดือดต่ํา
        ง. ตียืดให้เป็นเส้นหรือทําให้โค้งงอได้



สาระที่ 3 ม. 3.1 ตัวชี้วัดข้อที่ 3 ทดลองและอธิบายสมบัติความเป็นกรด-เบสของสารละลาย
134. สารเนื้อผสมในข้อใดที่สามารถแยกได้โดยอาศัยสมบัติการระเหิด
     ก. น้ําตาลทรายปนพริกขี้หนู
     ข. เกลือแกงปนพิมเสน
     ค. ผงชูรสปนเกลือแกง
     ง.ลูกเหม็นปนการบูร
135. เมื่อต้องการตรวจสอบน้ําส้มสายชู ควรเลือกใช้วัสดุใด
     ก. กระดาษขมิ้น
ข. กระดาษลิตมัส
     ค. กระดาษธรรมดา
     ง. สารเจนเชียนไวโอเลต
136. น้ําเกลือและน้ําเชื่อมจัดเป็นสารชนิดใด
     ก. สารละลาย
     ข. สารเนื้อผสม
     ค. สารบริสุทธิ์
     ง.สารประกอบ
137. ในการวิเคราะห์องค์ประกอบของสีจากสิ่งต่าง ๆ ด้วยวิธีโครมาโทกราฟี
     ข้อใดไม่เหมาะกับหลักการวิเคราะห์โดยใช้วิธีนี้
     ก. องค์ประกอบของสีในใบไม้
     ข. องค์ประกอบของสีในน้ําส้มสายชู
     ค. องค์ประกอบของสีในปากกาเมจิก
     ง.องค์ประกอบของสีที่ใช้ย้อมผ้าสีดํา
138. ถ้านักเรียนอยากทราบว่าสารที่ใช้ในบ้านมีสมบัติเป็นกรดหรือเบส จะใช้อะไรในการทดสอบ
     ก. น้ําสบู่
     ข. สารส้ม
     ค. กระดาษลิตมัส
     ง. เจนเชียนไวโอเลต




   คําชี้แจง ให้ใช้ข้อมูลตอไปนี้ตอบคําถามจากข้อ 139-140
                       สารละลาย                           การเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัส
                                                  สีน้ําเงิน                       สีแดง
                         สาร A           ไม่เปลี่ยนสี                    เปลี่ยนเป็นสีน้ําเงิน
                         สาร B           เปลี่ยนเป็นสีแดง                ไม่เปลี่ยนสี
                         สาร C           ไม่เปลี่ยนสี                    เปลี่ยนเป็นสีน้ําเงิน
                         สาร D           เปลี่ยนเป็นสีแดง                ไม่เปลี่ยนสี
139. ข้อสรุปใดถูกต้อง
      ก. สาร A เป็นกรด สาร B เป็นเบส
      ข. สาร C เป็นกรด สาร D เป็นเบส
      ค. สาร A และสาร C เป็นกรด สาร B และสาร D เป็นเบส
      ง. สาร B และสาร D เป็นกรด สาร A และสาร C เป็นเบส
140. จากข้อมูล สาร A ควรเป็นสารในข้อใด
ก. น้ําขี้เถ้า
     ข. น้ําเกลือ
     ค. น้ําอัดลม
     ง. น้ําส้มสายชู
141. น้ํายาทําความสะอาดพื้นมีค่า pH = 3 แสดงว่าสารนี้มีฤทธิ์เป็นอย่างไร
     ก. เบส
     ข. เกลือ
     ค. กรด
     ง. กลาง
142. ดอกไม้ชนิดใดใช้ทดสอบความเป็นกรดของสารได้
     ก. ดอกเข็ม
     ข. ดอกอัญชัน
     ค. ดอกกุหลาบ
     ง. ดอกบัว
143. สารใดมีสมบัติเป็นกรด
     ก. น้ําสบู่
     ข. นมสด
     ค. น้ํามะขาม
     ง. น้ําขี้เถ้า

144. ข้อใดไม่ใช่สมบัติของสารที่มีฤทธิ์เป็นเบส
     ก. มี pH มากกว่า 7
     ข. มี pH น้อยกว่า 7
     ค. มีรสฝาดหรือเฝื่อน
     ง. มี pH เท่ากับ 10
145. สารเคมีที่ใช้ในบ้านสารใดมีฤทธิ์เป็นเบส
     ก. ผงซักฟอก
     ข. น้ําส้มสายชู
     ค. น้ําเกลือ
     ง. น้ําอัดลม
146. สาร ก มี pH = 5 สาร ข มี pH = 7 สาร ก และสาร ข มีสมบัติตามข้อใด
     ก. สาร ก เป็นเบส สาร ข เป็นกรด
     ข. สาร ก เป็นกรด สาร ข เป็นเบส
     ค. ทั้งสาร ก และสาร ข เป็นกรด
     ง. สาร ก เป็นกรด สาร ข เป็นกลาง
147. ข้อใดเป็นกรดที่ใช้ทําน้ําส้มสายชูแท้
     ก. กรดไนตริก
     ข. กรดแอซีติก
ค. กรดซัลฟิวริก
     ง. กรดไฮโดรคลอริก
148. สารทําความสะอาดในบ้านชนิดใดที่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ําเงินเป็นแดง
     ก. สบู่ ผงซักฟอก
     ข. น้ํายาล้างห้องน้ํา ผงขัดเครื่องสุขภัณฑ์
     ค. แชมพู น้ํายาเช็ดกระจก
     ง. โซดาซักผ้า น้ํายาล้างจาน
149. ใส่หินปูนลงในสารใด จึงทําให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
     ก. กรดกํามะถัน
     ข. แคลเซียมไฮดรอกไซด์
     ค. น้ําขี้เถ้า
     ง. โซดาแผดเผา



150. สิ่งใดสามารถใช้บอกค่า pH ได้อย่างถูกต้องแน่นอน
     ก. กระดาษลิตมัส
     ข. สารละลายบรอมไธมอลบลู
     ค. ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์
     ง. สารละลายฟีนอล์ฟธาลีน
สาระที่ 3 ม. 3.1 ตัวชี้วัดข้อที่ 4 ตรวจสอบค่า pH ของสารละลายและนําความรู้ไปใช้ประโยชน์
151. แผนภาพสีของอินดิเคเตอร์ A B และ C ในช่วง pH ต่าง ๆ




จากข้อมูลในแผนภาพ ถ้าทดสอบสารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์ที่มี pH 8 ด้วยอินดิเคเตอร์ A B และ C
จะได้สีใดเกิดขึ้น ตามลําดับ
       ก. เหลือง ไม่มีสี เหลือง
       ข. ส้ม ไม่มีสี น้ําเงิน
       ค. แดง ชมพูเข้ม น้ําเงิน
ง. ส้ม ชมพูอ่อน เขียว
152. ถ้าสารละลาย A มีค่า pH เท่ากับ 8.2 สารละลาย B มีค่า pH เท่ากับ 3.4 และสารละลาย C มี
     ค่า pH เท่ากับ 6.5 ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง
     ก. สารละลาย A เป็นกรด สารละลาย B สารละลาย C เป็นเบส
     ข. สารละลาย A เป็นเบส สารละลาย B สารละลาย C เป็นกรด
     ค. สารละลาย A เป็นเบส สารละลาย B เป็นกรด สารละลาย C เป็นกลาง
     ง.สารละลาย A เป็นกรด สารละลาย B เป็นเบส สารละลาย C เป็นกลาง



153. ถ้าชาวสวนพบว่าดินที่ใช้ในการปลูกพืชเป็นดินเปรี้ยวไม่เหมาะที่จะใช้ในการปลูกพืช นักเรียนมีวิธี
      แนะนําชาวสวนอย่างไรจึงจะถูกต้องและมีความเหมาะสมมากที่สุด
      ก. แนะนําให้หันไปปลูกพืชชนิดอื่น
      ข. แนะนําให้เลิกทําสวนเปลี่ยนไปทํานา
      ค. แนะนําให้เติมปูนขาวลงไปเพื่อลดความเป็นกรด
      ง. แนะนําให้เติมแอมโมเนียมคลอไรด์(เกลือกรด)ลงไปเพื่อลดความเป็นกรด
154. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับสารละลายกรด-เบส
      ก. เบสที่ใช้ปรุงอาหารไม่มีอันตรายต่อร่ายกายมนุษย์
      ข. กรดและเบสเป็นสารที่มีอันตรายควรใช้อย่างระมัดระวัง
      ค. กรดจากพืชสามารถรับประทานได้โดยไม่เป็นอันตราย
      ง. น้ําส้มสายชูแท้คือกรดที่ทําจากแร่ธาตุไม่ควรรับประทานมาก
155. ข้อใดอธิบายค่า pH กับระดับความเป็นกรดได้ถูกต้อง
      ก. กรดอ่อนมีค่า pH น้อย ๆ
      ข. กรดแก่มีค่า pH มากกว่ากรดอ่อน
      ค. สารละลายกรดมีค่า pH มากกว่า 8
      ง. สารละลายกรดมีค่า pH น้อยกว่า 7
156. ข้อใดอธิบายค่า pH กับระดับความเป็นเบสได้ถูกต้อง
      ก. เบสอ่อนมีค่า pH มาก ๆ
      ข. เบสแก่มีค่า pH น้อยกว่าเบสอ่อน
      ค. สารละลายเบสมีค่า pH มากกว่า 7
      ง. สารละลายเบสมีค่า pH น้อยกว่า 7
157. สาร A มีค่า pH = 3 ข้อใดอธิบายได้ถูกต้อง
      ก. สาร A มีค่าความเป็นกลาง
      ข. สาร A มีค่าความเป็นกรดมาก
      ค. สาร A มีค่าความเป็นเบสมาก
      ง. สาร A มีค่าความเป็นกรดน้อย
158. ข้อใดระบุค่า pH ได้ถูกต้องและแม่นยําที่สุด
      ก. ทดสอบการเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัส
ข. ทดสอบโดยนําไปทําปฏิกิริยากับหินปูน
      ค. ใช้ pH มิเตอร์วัดค่า pH
      ง. ทดสอบด้วยสารละลายยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์


159. การทําปฏิกิริยาของเบสกับสารใดที่เกิดสารคล้ายสบู่
     ก. เบสกับน้ํามันพืชหรือไขมันสัตว์
     ข. เบสกับแอมโมเนียมไนเตรต
     ค. เบสกับกรดเกลือ
     ง. เบสกับชิ้นอะลูมิเนียม
160. เมื่อนําสังกะสีทําปฎิกิริยากับสารใดให้แก๊สไฮโดรเจน
     ก. โซเดียมไฮดรอกไซด์
     ข. กรดกํามะถัน
     ค. แคลเซียมซัลเฟต
     ง. น้ําปูนใส

สาระที่ 3 ม. 3.2 ตัวชี้วัดข้อที่ 1 ทดลองและอธิบายวิธีเตรียมสารละลายที่มีความเข้มข้นเป็นร้อยละและ
อภิปรายการนําความรู้เกี่ยวกับสารละลายไปใช้ประโยชน์
161. เตรียมสารละลายเอทิลแอลกอฮอล์โดยใช้ส่วนผสมในปริมาณที่กําหนดในตาราง
                  บีกเกอร์ที่                    1           2            3          4
                                       3
  ปริมาณสารละลายเอทิลแอลกอฮอล์ (cm )            700         380         150         80
                              3
              ปริมาณน้ํา (cm )                  300         120          50         20
จากข้อมูล สาระลายเอทิลแอลกอฮอล์ในบีกเกอร์ใด มีความเข้มข้นมากที่สุด
      ก. บีกเกอร์ที่ 1
      ข. บีกเกอร์ที่ 2
      ค. บีกเกอร์ที่ 3
      ง. บีกเกอร์ที่ 4
162. ในการเตรียมสารละลายน้ําเกลือ โดยใส่เกลือ 20 กรัมลงในน้ําแล้วทําให้เป็นสารละลาย
      100 ลูกบาศก์เซนติเมตร สารละลายน้ําเกลือมีความเข้มข้นร้อยละเท่าใดโดยมวลต่อปริมาตร
      ก. ร้อยละ 5 โดยมวลต่อปริมาตร
      ข. ร้อยละ 10 โดยมวลต่อปริมาตร
      ค. ร้อยละ 15 โดยมวลต่อปริมาตร
      ง. ร้อยละ 20 โดยมวลต่อปริมาตร
163. ถ้านําแอลกอฮอล์ 30 ลูกบาศก์เซนติเมตรมาละลายในน้ํา 120 ลูกบาศก์เซนติเมตร จะได้สารละลาย
     แอลกอฮอล์มีความเข้มข้นร้อยละเท่าใดโดยปริมาตร
     ก. ร้อยละ 5 โดยปริมาตรต่อปริมาตร
     ข. ร้อยละ 10 โดยปริมาตรต่อปริมาตร
     ค. ร้อยละ 15 โดยปริมาตรต่อปริมาตร
     ง. ร้อยละ 20 โดยปริมาตรต่อปริมาตร
164. สารละลายข้อใดมีความเข้มข้นน้อยที่สุด
     ก. น้ําตาล 2 กรัม ต่อน้ํา 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร
     ข. น้ําตาล 2 กรัม ต่อน้ํา 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร
     ค. น้ําตาล 2 กรัม ต่อน้ํา 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
     ง. น้ําตาล 2 กรัม ต่อน้ํา 1000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
165. เกลือแกง 50 กรัม ละลายในน้ํา 200 กรัม สารละลายเกลือแกงมีความเข้มข้นร้อยละเท่าใด
     ก. 17.5
     ข. 20
     ค. 25
     ง. 33.3
166. สารละลายในข้อใดที่ตัวละลายมีสถานะเดียวกับสารละลาย
     ก. น้ําโซดา
     ข. น้ําเกลือ
     ค. แอลกอฮอล์เช็ดแผล
     ง. น้ําเชื่อม
167. นักวิทยาศาสตร์ใช้สิ่งใดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าสารใดเป็นตัวทําละลายในสารละลาย
     ก. มีปริมาณสารอยู่มาก และมีสถานะเดียวกับสารละลาย
     ข. มีปริมาณสารอยู่มาก และมีสถานะต่างจากสารละลาย
     ค. มีปริมาณสารอยู่น้อย และมีสถานะเดียวกับสารละลาย
     ง. มีปริมาณสารอยู่น้อย และมีสถานะต่างจากสารละลาย
168. แอลกอฮอล์ 80 % โดยปริมาตร มีความหมายตรงกับข้อใด
     ก. สารละลาย 100 cm3 มีเอทิลแอลกอฮอล์อยู่ 80 cm3
     ข. สารละลาย 100 กรัม มีเอทิลแอลกอฮอล์อยู่ 80 กรัม
     ค. สารละลาย 100 cm3 มีเอทิลแอลกอฮอล์อยู่ 80 กรัม
     ง. สารละลาย 100 กรัม มีเอทิลแอลกอฮอล์อยู่ 80 cm3



169. น้ําเกลือ 5 % โดยมวล/ปริมาตร ถ้านําน้ําเกลือมา 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร จะมีเกลือละลายกี่กรัม
     ก. 5 g
     ข. 15 g
     ค. 25 g
วิทยาศาตร์พื้นฐาน ม1เทอม1
วิทยาศาตร์พื้นฐาน ม1เทอม1
วิทยาศาตร์พื้นฐาน ม1เทอม1

Contenu connexe

Tendances

G biology bio7
G biology bio7G biology bio7
G biology bio7Bios Logos
 
แบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdf
แบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdfแบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdf
แบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdfssuser2feafc1
 
ข้อสอบอัจฉริยะ
ข้อสอบอัจฉริยะข้อสอบอัจฉริยะ
ข้อสอบอัจฉริยะKodchaporn Siriket
 
ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์Jariya Jaiyot
 
บทเรียนแบบโปรแกรมวิชาเคมี
บทเรียนแบบโปรแกรมวิชาเคมีบทเรียนแบบโปรแกรมวิชาเคมี
บทเรียนแบบโปรแกรมวิชาเคมีSutisa Tantikulwijit
 
แบบทดสอบ บทที่ 6 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
แบบทดสอบ บทที่  6  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรมแบบทดสอบ บทที่  6  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
แบบทดสอบ บทที่ 6 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรมdnavaroj
 
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสารความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสารdalarat
 
G biology bio8
G biology bio8G biology bio8
G biology bio8Bios Logos
 
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2dnavaroj
 
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)สำเร็จ นางสีคุณ
 
แบบทดสอบ บทที่ 5 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
แบบทดสอบ บทที่ 5 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมแบบทดสอบ บทที่ 5 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
แบบทดสอบ บทที่ 5 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมdnavaroj
 
ข้อสอบวิชาชีววิทยา+เฉลย By: Meriya Lertsirikarn
ข้อสอบวิชาชีววิทยา+เฉลย By: Meriya Lertsirikarnข้อสอบวิชาชีววิทยา+เฉลย By: Meriya Lertsirikarn
ข้อสอบวิชาชีววิทยา+เฉลย By: Meriya Lertsirikarnflimgold
 
ปริมาณสารสัมพันธ์
ปริมาณสารสัมพันธ์ปริมาณสารสัมพันธ์
ปริมาณสารสัมพันธ์Arocha Chaichana
 
แบบทดสอบวิวัฒน
แบบทดสอบวิวัฒนแบบทดสอบวิวัฒน
แบบทดสอบวิวัฒนWichai Likitponrak
 
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1Sumarin Sanguanwong
 
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพแบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพSirintip Arunmuang
 

Tendances (20)

G biology bio7
G biology bio7G biology bio7
G biology bio7
 
12แบบทดสอบการแบ่งเซลล์
12แบบทดสอบการแบ่งเซลล์12แบบทดสอบการแบ่งเซลล์
12แบบทดสอบการแบ่งเซลล์
 
แบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdf
แบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdfแบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdf
แบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdf
 
ข้อสอบอัจฉริยะ
ข้อสอบอัจฉริยะข้อสอบอัจฉริยะ
ข้อสอบอัจฉริยะ
 
ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์
 
ระบบหายใจ (Respiratory System)
ระบบหายใจ (Respiratory System)ระบบหายใจ (Respiratory System)
ระบบหายใจ (Respiratory System)
 
บทเรียนแบบโปรแกรมวิชาเคมี
บทเรียนแบบโปรแกรมวิชาเคมีบทเรียนแบบโปรแกรมวิชาเคมี
บทเรียนแบบโปรแกรมวิชาเคมี
 
แบบทดสอบ บทที่ 6 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
แบบทดสอบ บทที่  6  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรมแบบทดสอบ บทที่  6  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
แบบทดสอบ บทที่ 6 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
 
5แบบทดสอบส่วนประกอบของเซลล์
5แบบทดสอบส่วนประกอบของเซลล์5แบบทดสอบส่วนประกอบของเซลล์
5แบบทดสอบส่วนประกอบของเซลล์
 
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสารความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
 
G biology bio8
G biology bio8G biology bio8
G biology bio8
 
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2
 
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
 
แบบทดสอบ บทที่ 5 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
แบบทดสอบ บทที่ 5 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมแบบทดสอบ บทที่ 5 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
แบบทดสอบ บทที่ 5 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
 
ใบงานการย่อยอาหาร Version คุณครู
ใบงานการย่อยอาหาร Version คุณครูใบงานการย่อยอาหาร Version คุณครู
ใบงานการย่อยอาหาร Version คุณครู
 
ข้อสอบวิชาชีววิทยา+เฉลย By: Meriya Lertsirikarn
ข้อสอบวิชาชีววิทยา+เฉลย By: Meriya Lertsirikarnข้อสอบวิชาชีววิทยา+เฉลย By: Meriya Lertsirikarn
ข้อสอบวิชาชีววิทยา+เฉลย By: Meriya Lertsirikarn
 
ปริมาณสารสัมพันธ์
ปริมาณสารสัมพันธ์ปริมาณสารสัมพันธ์
ปริมาณสารสัมพันธ์
 
แบบทดสอบวิวัฒน
แบบทดสอบวิวัฒนแบบทดสอบวิวัฒน
แบบทดสอบวิวัฒน
 
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
 
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพแบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
 

Similaire à วิทยาศาตร์พื้นฐาน ม1เทอม1

ข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - วิทยาศาสตร์
ข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - วิทยาศาสตร์ข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - วิทยาศาสตร์
ข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - วิทยาศาสตร์Suriyawaranya Asatthasonthi
 
ข้อสอบ O-net - วิทยาศาสตร์
ข้อสอบ O-net - วิทยาศาสตร์ข้อสอบ O-net - วิทยาศาสตร์
ข้อสอบ O-net - วิทยาศาสตร์bowing3925
 
ชีววิทยา
ชีววิทยาชีววิทยา
ชีววิทยาDarika Kanhala
 
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 02. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0sincerecin
 
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์SiwadolChaimano
 
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 02. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0just2miwz
 
ข้อสอบวิทยาศาสตร์
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ข้อสอบวิทยาศาสตร์
ข้อสอบวิทยาศาสตร์Phichak Penpattanakul
 
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 02. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0Supisara Jaibaan
 
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 02. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0Nattarika Wonkumdang
 
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 02. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0neenpd11
 
2.แนวข้อสอบ o net วิทยาศาสตร์(ม.6)
2.แนวข้อสอบ o net วิทยาศาสตร์(ม.6)2.แนวข้อสอบ o net วิทยาศาสตร์(ม.6)
2.แนวข้อสอบ o net วิทยาศาสตร์(ม.6)teerachon
 
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย)
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย)2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย)
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย)Phakhanat Wayruvanarak
 
M3 science-social-2551
M3 science-social-2551M3 science-social-2551
M3 science-social-2551Nanapawan Jan
 
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 02. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0Preeyaporn Chamnan
 
ระบบสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต - Reprodutive system
ระบบสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต - Reprodutive systemระบบสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต - Reprodutive system
ระบบสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต - Reprodutive systemsupreechafkk
 

Similaire à วิทยาศาตร์พื้นฐาน ม1เทอม1 (20)

Basic cell
Basic cellBasic cell
Basic cell
 
ข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - วิทยาศาสตร์
ข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - วิทยาศาสตร์ข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - วิทยาศาสตร์
ข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - วิทยาศาสตร์
 
ข้อสอบ O-net - วิทยาศาสตร์
ข้อสอบ O-net - วิทยาศาสตร์ข้อสอบ O-net - วิทยาศาสตร์
ข้อสอบ O-net - วิทยาศาสตร์
 
4
44
4
 
ชีววิทยา
ชีววิทยาชีววิทยา
ชีววิทยา
 
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 02. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
 
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์
 
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 02. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
 
ข้อสอบวิทยาศาสตร์
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ข้อสอบวิทยาศาสตร์
ข้อสอบวิทยาศาสตร์
 
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 02. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
 
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 02. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
 
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 02. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
 
2.แนวข้อสอบ o net วิทยาศาสตร์(ม.6)
2.แนวข้อสอบ o net วิทยาศาสตร์(ม.6)2.แนวข้อสอบ o net วิทยาศาสตร์(ม.6)
2.แนวข้อสอบ o net วิทยาศาสตร์(ม.6)
 
แบบทดสอบเรื่องระบบนิเวศ
แบบทดสอบเรื่องระบบนิเวศแบบทดสอบเรื่องระบบนิเวศ
แบบทดสอบเรื่องระบบนิเวศ
 
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย)
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย)2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย)
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย)
 
since socail
since socailsince socail
since socail
 
วิทย์ม.3 ปีการศึกษา 2551
วิทย์ม.3 ปีการศึกษา 2551วิทย์ม.3 ปีการศึกษา 2551
วิทย์ม.3 ปีการศึกษา 2551
 
M3 science-social-2551
M3 science-social-2551M3 science-social-2551
M3 science-social-2551
 
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 02. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
2. ข้อสอบ o net - วิทยาศาสตร์ (มัธยมปลาย) 0
 
ระบบสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต - Reprodutive system
ระบบสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต - Reprodutive systemระบบสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต - Reprodutive system
ระบบสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต - Reprodutive system
 

Plus de dnavaroj

เอกสารประกอบการอบรม Analysis
เอกสารประกอบการอบรม Analysisเอกสารประกอบการอบรม Analysis
เอกสารประกอบการอบรม Analysisdnavaroj
 
บทความ บทความ การเปลี่ยนแปลงทักษะของนักเรียนในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา โรงเรีย...
บทความ บทความ การเปลี่ยนแปลงทักษะของนักเรียนในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา  โรงเรีย...บทความ บทความ การเปลี่ยนแปลงทักษะของนักเรียนในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา  โรงเรีย...
บทความ บทความ การเปลี่ยนแปลงทักษะของนักเรียนในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา โรงเรีย...dnavaroj
 
รายงานโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา ญสส. ปี 2559
รายงานโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา ญสส. ปี 2559รายงานโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา ญสส. ปี 2559
รายงานโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา ญสส. ปี 2559dnavaroj
 
บทความวิจัย การเปลี่ยนแปลงทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ในทักษะศตวรรษที่ 21...
บทความวิจัย การเปลี่ยนแปลงทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ในทักษะศตวรรษที่ 21...บทความวิจัย การเปลี่ยนแปลงทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ในทักษะศตวรรษที่ 21...
บทความวิจัย การเปลี่ยนแปลงทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ในทักษะศตวรรษที่ 21...dnavaroj
 
Pocketbook ร้อยเรียงเรื่องราว พพปญ.รร.ญสส.
Pocketbook ร้อยเรียงเรื่องราว พพปญ.รร.ญสส.Pocketbook ร้อยเรียงเรื่องราว พพปญ.รร.ญสส.
Pocketbook ร้อยเรียงเรื่องราว พพปญ.รร.ญสส.dnavaroj
 
แบบทดสอบปลายภาคเรียน วิทย์ 5 2558
แบบทดสอบปลายภาคเรียน วิทย์ 5   2558แบบทดสอบปลายภาคเรียน วิทย์ 5   2558
แบบทดสอบปลายภาคเรียน วิทย์ 5 2558dnavaroj
 
Science.m.3.2
Science.m.3.2Science.m.3.2
Science.m.3.2dnavaroj
 
Science.m.3.1
Science.m.3.1Science.m.3.1
Science.m.3.1dnavaroj
 
สรุปงายงานวิจัยเพาะพันธุ์ปัญญ รร.ญสส.(ฉบับสมบูรณ์)
สรุปงายงานวิจัยเพาะพันธุ์ปัญญ รร.ญสส.(ฉบับสมบูรณ์)สรุปงายงานวิจัยเพาะพันธุ์ปัญญ รร.ญสส.(ฉบับสมบูรณ์)
สรุปงายงานวิจัยเพาะพันธุ์ปัญญ รร.ญสส.(ฉบับสมบูรณ์)dnavaroj
 
สบู่สมุนไพรข่าสร้างรายได้
สบู่สมุนไพรข่าสร้างรายได้สบู่สมุนไพรข่าสร้างรายได้
สบู่สมุนไพรข่าสร้างรายได้dnavaroj
 
น้ำพริกสมุนไพรข่าสร้างรายได้
น้ำพริกสมุนไพรข่าสร้างรายได้น้ำพริกสมุนไพรข่าสร้างรายได้
น้ำพริกสมุนไพรข่าสร้างรายได้dnavaroj
 
การสกัดน้ำมันหอมระเหยจากข่าต่างชนิดกัน
การสกัดน้ำมันหอมระเหยจากข่าต่างชนิดกันการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากข่าต่างชนิดกัน
การสกัดน้ำมันหอมระเหยจากข่าต่างชนิดกันdnavaroj
 
การยับยั้งเชื้อราด้วยสารสกัดจากข่า
การยับยั้งเชื้อราด้วยสารสกัดจากข่าการยับยั้งเชื้อราด้วยสารสกัดจากข่า
การยับยั้งเชื้อราด้วยสารสกัดจากข่าdnavaroj
 
แบบทดสอบ สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
แบบทดสอบ สาระที่ 7    ดาราศาสตร์และอวกาศแบบทดสอบ สาระที่ 7    ดาราศาสตร์และอวกาศ
แบบทดสอบ สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศdnavaroj
 
แบบทดสอบกลางภาคเรียน วิทย์ 6 (ออกตามตัวชี้วัด)
แบบทดสอบกลางภาคเรียน วิทย์ 6 (ออกตามตัวชี้วัด)แบบทดสอบกลางภาคเรียน วิทย์ 6 (ออกตามตัวชี้วัด)
แบบทดสอบกลางภาคเรียน วิทย์ 6 (ออกตามตัวชี้วัด)dnavaroj
 
แบบทดสอบปลายภาคเรียน วิทย์ 5 (ออกตามตัวชี้วัด)
แบบทดสอบปลายภาคเรียน วิทย์ 5  (ออกตามตัวชี้วัด)แบบทดสอบปลายภาคเรียน วิทย์ 5  (ออกตามตัวชี้วัด)
แบบทดสอบปลายภาคเรียน วิทย์ 5 (ออกตามตัวชี้วัด)dnavaroj
 
แบบทดสอบกลางภาคเรียน วิทย์ 5 (ออกตามตัวชี้วัด)
แบบทดสอบกลางภาคเรียน วิทย์ 5 (ออกตามตัวชี้วัด)แบบทดสอบกลางภาคเรียน วิทย์ 5 (ออกตามตัวชี้วัด)
แบบทดสอบกลางภาคเรียน วิทย์ 5 (ออกตามตัวชี้วัด)dnavaroj
 
Project pohpanpunya somdejyan
Project pohpanpunya somdejyanProject pohpanpunya somdejyan
Project pohpanpunya somdejyandnavaroj
 
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน หน่วย งานและพลังงาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน    หน่วย งานและพลังงานแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน    หน่วย งานและพลังงาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน หน่วย งานและพลังงานdnavaroj
 
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน หน่วย พลังงานไฟฟ้า
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน  หน่วย พลังงานไฟฟ้าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน  หน่วย พลังงานไฟฟ้า
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน หน่วย พลังงานไฟฟ้าdnavaroj
 

Plus de dnavaroj (20)

เอกสารประกอบการอบรม Analysis
เอกสารประกอบการอบรม Analysisเอกสารประกอบการอบรม Analysis
เอกสารประกอบการอบรม Analysis
 
บทความ บทความ การเปลี่ยนแปลงทักษะของนักเรียนในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา โรงเรีย...
บทความ บทความ การเปลี่ยนแปลงทักษะของนักเรียนในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา  โรงเรีย...บทความ บทความ การเปลี่ยนแปลงทักษะของนักเรียนในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา  โรงเรีย...
บทความ บทความ การเปลี่ยนแปลงทักษะของนักเรียนในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา โรงเรีย...
 
รายงานโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา ญสส. ปี 2559
รายงานโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา ญสส. ปี 2559รายงานโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา ญสส. ปี 2559
รายงานโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา ญสส. ปี 2559
 
บทความวิจัย การเปลี่ยนแปลงทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ในทักษะศตวรรษที่ 21...
บทความวิจัย การเปลี่ยนแปลงทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ในทักษะศตวรรษที่ 21...บทความวิจัย การเปลี่ยนแปลงทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ในทักษะศตวรรษที่ 21...
บทความวิจัย การเปลี่ยนแปลงทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ในทักษะศตวรรษที่ 21...
 
Pocketbook ร้อยเรียงเรื่องราว พพปญ.รร.ญสส.
Pocketbook ร้อยเรียงเรื่องราว พพปญ.รร.ญสส.Pocketbook ร้อยเรียงเรื่องราว พพปญ.รร.ญสส.
Pocketbook ร้อยเรียงเรื่องราว พพปญ.รร.ญสส.
 
แบบทดสอบปลายภาคเรียน วิทย์ 5 2558
แบบทดสอบปลายภาคเรียน วิทย์ 5   2558แบบทดสอบปลายภาคเรียน วิทย์ 5   2558
แบบทดสอบปลายภาคเรียน วิทย์ 5 2558
 
Science.m.3.2
Science.m.3.2Science.m.3.2
Science.m.3.2
 
Science.m.3.1
Science.m.3.1Science.m.3.1
Science.m.3.1
 
สรุปงายงานวิจัยเพาะพันธุ์ปัญญ รร.ญสส.(ฉบับสมบูรณ์)
สรุปงายงานวิจัยเพาะพันธุ์ปัญญ รร.ญสส.(ฉบับสมบูรณ์)สรุปงายงานวิจัยเพาะพันธุ์ปัญญ รร.ญสส.(ฉบับสมบูรณ์)
สรุปงายงานวิจัยเพาะพันธุ์ปัญญ รร.ญสส.(ฉบับสมบูรณ์)
 
สบู่สมุนไพรข่าสร้างรายได้
สบู่สมุนไพรข่าสร้างรายได้สบู่สมุนไพรข่าสร้างรายได้
สบู่สมุนไพรข่าสร้างรายได้
 
น้ำพริกสมุนไพรข่าสร้างรายได้
น้ำพริกสมุนไพรข่าสร้างรายได้น้ำพริกสมุนไพรข่าสร้างรายได้
น้ำพริกสมุนไพรข่าสร้างรายได้
 
การสกัดน้ำมันหอมระเหยจากข่าต่างชนิดกัน
การสกัดน้ำมันหอมระเหยจากข่าต่างชนิดกันการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากข่าต่างชนิดกัน
การสกัดน้ำมันหอมระเหยจากข่าต่างชนิดกัน
 
การยับยั้งเชื้อราด้วยสารสกัดจากข่า
การยับยั้งเชื้อราด้วยสารสกัดจากข่าการยับยั้งเชื้อราด้วยสารสกัดจากข่า
การยับยั้งเชื้อราด้วยสารสกัดจากข่า
 
แบบทดสอบ สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
แบบทดสอบ สาระที่ 7    ดาราศาสตร์และอวกาศแบบทดสอบ สาระที่ 7    ดาราศาสตร์และอวกาศ
แบบทดสอบ สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
 
แบบทดสอบกลางภาคเรียน วิทย์ 6 (ออกตามตัวชี้วัด)
แบบทดสอบกลางภาคเรียน วิทย์ 6 (ออกตามตัวชี้วัด)แบบทดสอบกลางภาคเรียน วิทย์ 6 (ออกตามตัวชี้วัด)
แบบทดสอบกลางภาคเรียน วิทย์ 6 (ออกตามตัวชี้วัด)
 
แบบทดสอบปลายภาคเรียน วิทย์ 5 (ออกตามตัวชี้วัด)
แบบทดสอบปลายภาคเรียน วิทย์ 5  (ออกตามตัวชี้วัด)แบบทดสอบปลายภาคเรียน วิทย์ 5  (ออกตามตัวชี้วัด)
แบบทดสอบปลายภาคเรียน วิทย์ 5 (ออกตามตัวชี้วัด)
 
แบบทดสอบกลางภาคเรียน วิทย์ 5 (ออกตามตัวชี้วัด)
แบบทดสอบกลางภาคเรียน วิทย์ 5 (ออกตามตัวชี้วัด)แบบทดสอบกลางภาคเรียน วิทย์ 5 (ออกตามตัวชี้วัด)
แบบทดสอบกลางภาคเรียน วิทย์ 5 (ออกตามตัวชี้วัด)
 
Project pohpanpunya somdejyan
Project pohpanpunya somdejyanProject pohpanpunya somdejyan
Project pohpanpunya somdejyan
 
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน หน่วย งานและพลังงาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน    หน่วย งานและพลังงานแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน    หน่วย งานและพลังงาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน หน่วย งานและพลังงาน
 
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน หน่วย พลังงานไฟฟ้า
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน  หน่วย พลังงานไฟฟ้าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน  หน่วย พลังงานไฟฟ้า
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน หน่วย พลังงานไฟฟ้า
 

วิทยาศาตร์พื้นฐาน ม1เทอม1

  • 1. วิชาวิทยาศาสตร์ พนฐาน ว21101 ื ระดับชั นมัธยมศึกษาปี ที 1 มฐ. ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่างๆ ของ สิ่งมีชีวิตที่ทํางานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนําความรู้ไปใช้ในการ ดํารงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต ตัวชี้วัดที่ 1 สังเกตและอธิบายรูปร่าง ลักษณะของเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและเซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลาย เซลล์ 1. สิ่งที่เหมือนกันระหว่างเซลล์ประสาทและเซลล์เยื่อบุข้างแก้มคือข้อใด ก. ขนาดของเซลล์ ข. รูปร่างของเซลล์ ค. หน้าที่ของเซลล์ ง. ส่วนประกอบของเซลล์ 2. ส่วนที่อยู่นอกสุดของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ก. เหมือนกัน เพราะมีผนังเซลล์เหมือนกัน ข. เหมือนกัน เพราะมีเยื่อหุ้มเซลล์เหมือนกัน ค. ต่างกัน เพราะส่วนนอกสุดของเซลล์พืชคือผนังเซลล์ แต่ส่วนนอกสุดของเซลล์สัตว์คือเยื่อหุ้มเซลล์ ง. ต่างกัน เพราะส่วนนอกสุดของเซลล์พืชมีนิวเคลียส แต่ส่วนนอกสุดของเซลล์สัตว์ไม่มีนิวเคลียส 3. จากการทดลองนําต้นกระสังแช่ส่วนรากในน้ําสีแดงที่ใช้ย้อมเนื้อเยื่อพืชเป็นเวลาประมาณ 12 ชั่วโมง จากนั้นนํามาตัดตามขวาง ศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบว่ากลุ่มเซลล์ที่ติดสีแดงคือข้อใด ก. เนื้อเยื่อลําเลียงน้ํา และแร่ธาตุของต้นกระสัง ข. เนื้อเยื่อลําเลียงอาหารของต้นกระสัง ค. เซลล์ทุกชนิดในใบต้นกระสัง ง. ถูกทั้งข้อ ข และ ค 4. หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตเรียกว่าอะไร ก. เซลล์ ข. ผนังเซลล์ ค. นิวเคลียส ง. เยื่อหุ้มเซลล์ 5. สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์มีความแตกต่างกันในข้อใด ก. จํานวนเซลล์ ข. ขนาดของเซลล์ ค. รูปร่างของเซลล์ ง. ส่วนประกอบของเซลล์ 6. สิ่งใดเป็นเกณฑ์การจําแนกสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวกับสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ก. จํานวนเซลล์
  • 2. ข. ขนาดของเซลล์ ค. รูปร่างของเซลล์ ง. ส่วนประกอบของเซลล์ 7. สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวกับสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ มีสิ่งใดที่เหมือนกัน ก. ขนาดของเซลล์ ข. รูปร่างของเซลล์ ค. ความแข็งของเซลล์ ง. ส่วนประกอบพื้นฐานของเซลล์ 8. เพราะเหตุใดนักวิทยาศาสตร์จึงจําแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวกับสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ก. สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวมีความแข็งของเซลล์มากกว่าสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ข. สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวมีส่วนประกอบพื้นฐานของเซลล์ที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ค. สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวมีรูปร่างเซลล์ที่เหมือนกัน ส่วนสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์มีรูปร่างเซลล์ที่แตกต่างกัน ง. สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวมีเพียงเซลล์เดียวก็ดํารงชีวิตอยู่ได้ แต่สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ต้องมีเซลล์มารวมกลุ่ม กันจึงจะดํารงชีวิตอยู่ได้ 9. ให้พิจารณาลักษณะเซลล์ของสิ่งมีชีวิต 4 ชนิด แล้วตอบคําถาม ภาพลักษณะเซลล์สิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ เซลล์ใดเป็นเซลล์สัตว์ ก. A และ B ข. B และ C ค. C และ D ง. B และ D 10. ขั้นการปฏิสนธิในพืชดอกเป็นไปตามลําดับในข้อใด A นิวเคลียสของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ผสมกับนิวเคลียสของเซลล์ไข่ในออวุล B ละอองเรณูงอกหลอดเรณูแทงลงไปถึงรังไข่ C ละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย ก. A B C ข. B C A ค. C A B
  • 3. ง. C B A 11. ข้อใดเป็นเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ก. เซลล์ขนราก ข. เซลล์ไดอะตอม ค. เซลล์ประสาท ง. เซลล์กล้ามเนื้อ มฐ. ว 1.1 ตัวชี้วัด 2 สังเกตและเปรียบเทียบส่วนประกอบสําคัญของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ 12. ส่วนประกอบใดที่พบในเซลล์สัตว์และเซลล์พืช ก. เยื่อหุ้มเซลล์และผนังเซลล์ ข. เยื่อหุ้มเซลล์และนิวเคลียส ค. เยื่อหุ้มเซลล์และคลอโรพลาสต์ ง. ผนังเซลล์และนิวเคลียส 13. จากข้อมูลสิ่งมีชีวิต 4 ชนิด ในตารางต่อไปนี้ ชนิด เซลล์ สร้างอาหาร ผนังเซลล์ 1 เซลล์เดียว ได้ ไม่มี 2 เซลล์เดียว ได้ มี 3 หลายเซลล์ ได้ มี 4 หลายเซลล์ ไม่ได้ มี สิ่งมีชีวิตชนิดใดคือพืช ก. ชนิด 1 ข. ชนิด 2 ค. ชนิด 3 ง. ชนิด 4 14. ถ้าเซลล์สัตว์มีส่วนประกอบในข้อใดจึงจะทําให้สังเคราะห์แสงได้ ก. ผนังเซลล์ ข. ไรโบโซม ค. นิวเคลียส ง. คลอโรพลาสต์ 15. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับเซลล์สัตว์ ก. มีผนังเซลล์แต่ไม่มีเยื่อหุ้มเซลล์ ข. มีผนังเซลล์และคลอโรพลาสต์ ค. มีนิวเคลียสแต่ไม่มีคลอโรพลาสต์ ง. มีเยื่อหุ้มเซลแต่ไม่มีไซโทพลาซึม 16. โครงสร้างใดที่พบในเซลล์สาหร่ายหางกระรอกแต่ไม่พบในเซลล์เยื่อหอม ก. ผนังเซลล์
  • 4. ข. นิวเคลียส ค. คลอโรพลาสต์ ง. ทั้งข้อ ก และ ข้อ ข 17. ส่วนประกอบของเซลล์ที่พบในเซลล์พืช แต่ไม่พบในเซลล์สัตว์คืออะไร ก. นิวเคลียส ข. เยื่อหุ้มเซลล์ ค. คลอโรพลาสต์ ง. ไซโทพลาซึม 18. โครงสร้างใดที่จะพบในเซลล์สัตว์เท่านั้น ก. นิวเคลียส ข. เซนทริโอล ค. แวคิวโอล ง. เยื่อหุ้มเซลล์ 19. ในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีโครงสร้างใดที่มีขนาดแตกต่างกันอย่างชัดเจน ก. แวคิวโอล ข. เยื่อหุ้มเซลล์ ค. นิวเคลียส ง. ไซโทพลาซึม 20. “ผนังเซลล์” มีความสัมพันธ์กับสิ่งใดมากที่สุด ก. ไขมัน ข. กลูโคส ค. โปรตีน ง. เซลลูโลส 21. โครงสร้างใดที่พบในเซลล์พืช แต่ไม่พบในเซลล์สัตว์ ก. เยื่อหุ้มเซลล์กับไซโทพลาซึม ข. ไซโทพลาซึมกับนิวเคลียส ค. คลอโรพลาสต์กับผนังเซลล์ ง. นิวเคลียสกับไมโทคอนเดรีย 22. คลอโรพลาสต์เหมือนหรือต่างจากคลอโรฟีลล์อย่างไร ก. เหมือน เพราะพบในเซลล์ของสัตว์ทุกชนิด ข. ต่าง เพราะคลอโรพลาสต์พบในเซลล์พืช ส่วนคลอโรฟีลล์พบในเซลล์สัตว์ ค. เหมือน เพราะให้สีเขียวเหมือนกัน ง. ต่าง เพราะคลอโรพลาสต์เป็นอวัยวะภายในเซลล์ ส่วนคลอโรฟีลล์เป็นรงควัตถุ มฐ. ว 1.1 ตัวชี้วัดที่ 3 ทดลองและอธิบายหน้าที่ของส่วนประกอบที่สําคัญของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
  • 5. 23. ส่วนประกอบใดของเซลล์ที่มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆทําหน้าที่ควบคุมปริมาณและชนิดของสารที่ผ่านเข้า ออกจากเซลล์ ก. ผนังเซลล์ ข. เยื่อหุ้มเซลล์ ค. คลอโรพลาสต์ ง. ไซโทพลาซึม 24. ส่วนประกอบใดของเซลล์ที่ทําหน้าที่สร้างความแข็งแรงและป้องกันอันตรายให้เซลล์พืช ก. ผนังเซลล์ ข. เยื่อหุ้มเซลล์ ค. คลอโรพลาสต์ ง. ไซโทพลาซึม 25. ส่วนประกอบใดในเซลล์พืชที่ทําหน้าที่สําคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ก. ผนังเซลล์ ข. เยื่อหุ้มเซลล์ ค. คลอโรพลาสต์ ง. ไซโทพลาซึม 26. ส่วนประกอบใดของเซลล์พืชที่ทําหน้าที่คล้ายยาม ก. ผนังเซลล์ ข. นิวเคลียส ค. เยื่อหุ้มเซลล์ ง. ไซโทพลาซึม 27. โครงสร้างใดที่ทําให้เซลล์พืชมีความแข็งแรงและคงรูปร่างอยู่ได้ ก. เยื่อหุ้มเซลล์ ข. นิวเคลียส ค. แคโรทีนอยด์ ง. ผนังเซลล์ 28. โครงสร้างใดของพืชที่มีหน้าที่ควบคุมการผ่านเข้าออกของสารภายในเซลล์ ก. ผนังเซลล์ ข. เยื่อหุ้มเซลล์ ค. นิวเคลียส ง. คลอโรพลาสต์ 29. โครงสร้างใดที่ช่วยให้เซลล์พืชแข็งแรงและคงรูปร่างอยู่ได้ ก. ผนังเซลล์ ข. เยื่อหุ้มเซลล์ ค. นิวเคลียส ง. ไซโทพลาซึม มฐ. ว 1.1 ตัวชี้วัดที่ 4 ทดลองและอธิบายกระบวนการสารผ่านเซลล์โดยการแพร่และออสโมซีส
  • 6. 30. ข้อใดถูกต้องในกระบวนการออสโมซิส ก. การเคลื่อนที่ของน้ําจากบริเวณน้ํามากไปยังบริเวณน้ําน้อยกว่า ข. การเคลื่อนที่ของน้ําจากบริเวณน้ําน้อยผ่านเยื่อเลือกผ่านไปยังบริเวณน้ํามาก ค. การเคลื่อนที่ของน้ําจากสารละลายเข้มข้นผ่านเยื่อเลือกผ่านไปยังสารละลายเจือจาง ง. เป็นการเคลื่อนที่ของน้ําจากสารละลายเจือจางผ่านเยื่อเลือกผ่านไปยังสารละลายที่เข้มข้นกว่า 31. โยธินหยดน้ําหมึก ลงไปในน้ํา 1-2 หยด สังเกตการกระจายตัวของน้ําหมึกจนกว่าสีของน้ําหมึกมี ความเข้มข้นเท่ากัน นักเรียนคิดว่าโยธิน กําลังทําการทดลองเกี่ยวกับเรื่องใด ก. การแพร่ของสาร ข. การออสโมซิสของน้ํา ค. ปัจจัยที่ควบคุมการแพร่ ง. ปัจจัยที่ควบคุมการออสโมซิส 32. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับปัจจัยที่ควบคุมการแพร่ของสาร ก. การลดอุณหภูมิมีผลทําให้การแพร่ของสารเกิดได้เร็วขึ้น ข. สารที่มีความเข้มข้นเท่ากันจะมีการแพร่ได้อย่างรวดเร็ว ค. สารที่มีความเข้มข้นน้อยสามารถแพร่ได้เร็วกว่าสารที่มีความเข้มข้นมาก ง. สารที่มีความเข้มข้นมากสามารถแพร่ได้เร็วกว่าสารที่มีความเข้มข้นน้อย 33. การเคลื่อนที่ของน้ําจากดินเข้าสู่ขนรากและลําต้น และเคลื่อนที่ต่อไปยังท่อลําเลียงน้ําที่อยู่ในราก โดยวิธีใด ก. ออสโมซิส ข. การแพร่ ค. แอคทีฟทรานสปอร์ต ง. การลําเลียง 34. ข้อใดเป็นการแพร่ของสารที่พบเห็นในชีวิตประจําวัน ก. การฉีดน้ํารดต้นไม้ ข. การกระจายของน้ําเข้าสู่ราก ค. การพ่นยากําจัดศัตรูพืช ง. การกระจายของฝุ่นละอองในอากาศ 35. น้ําในดินสามารถเข้าสู่รากพืชโดยอาศัยกระบวนการใด ก. ออสโมซิส ข. การแพร่ ค. แอคทีฟทรานสปอร์ต ง. การลําเลียง 36. กระบวนการออสโมซิสในชีวิตประจําวันได้แก่ข้อใด ก. การแช่ผักผลไม้ในน้ํา ข. การได้กลิ่นหอมของดอกไม้ ค. การฟุ้งกระจายของสารฆ่าแมลง ง. การเกิดหยดน้ําบริเวณปลายเส้นใบ 37. ขนรากดูดซึมแร่ธาตุเข้าสู่เซลล์ โดยวิธีการใด
  • 7. ก. การไหล ข. การแพร่ ค. การลําเลียง ง. การออสโมซิส มฐ. ว 1.1 ตัวชี้วัดที่ 5 ทดลองหาปัจจัยบางประการที่จําเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชและอธิบายว่า แสง คลอโรฟิลล์ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ น้ํา เป็นปัจจัยที่จําเป็นต้องใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง 38. ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ข้อความใดถูกต้อง ก. กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเกิดขึ้นที่บริเวณใบเท่านั้น ข. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้นจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ค. แก๊สออกซิเจนเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ง. สารอินทรีย์ในพืชมาจากน้ําตาลที่เกิดจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง 39. ให้ศึกษาข้อมูลจากตารางแล้วตอบคําถาม ตาราง อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงที่อุณหภูมิต่าง ๆ ของพืช 4 ชนิด อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง ( µ mol m-2 s-1) ที่อุณหภูมิต่าง ๆ ชนิดของพืช 20 ºC 35 ºC 1 10 30 2 15 40 3 20 50 4 50 20 ถ้าต้องการปลูกพืชเหล่านี้ในประเทศไทย ควรเลือกปลูกพืชชนิดใด เรียงตามลําดับจาก มากไปน้อย ก. ชนิดที่ 1 2 3 และ 4 ข. ชนิดที่ 3 1 2 และ 4 ค. ชนิดที่ 3 2 1 และ 4 ง. ชนิดที่ 4 3 2 และ 1 40. การใช้สารฆ่าวัชพืช ทําให้พืชไม่สามารถลําเลียงน้ําได้ จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อพืชตามข้อใด ก. คลอโรฟิลล์ในเซลล์พืชสลาย ข. เซลล์พืชขาดออกซิเจน ค. เซลล์คุมของพืชถูกทําลาย ง. พืชสังเคราะห์แสงไม่ได้
  • 8. 41. ถ้าต้องการทดสอบว่า “ก๊าซ CO2 มีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงหรือไม่” ต้องนําใบผักบุ้งจากการทดลอง ชุดใดมาทดสอบหาแป้ง ก. ข. ค. ง. 42. ถ้านําใบไม้ที่สกัดคลอโรฟิลล์ออกแล้วไปทดสอบโดยการหยดสารละลายไอโอดีน พบว่า ใบไม้ส่วนที่มี สีเขียวเปลี่ยนสีของสารละลายไอโอดีนจากสีน้ําตาลแดงเป็นสีน้ําเงิน แต่ใบไม้ส่วนที่มีสีขาวไม่เปลี่ยนสีของ สารละลายไอโอดีน นักเรียนจะสรุป ผลการทดลองอย่างไร ก. น้ําจําเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ข. แสงจําเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ค. คลอโรฟิลล์จําเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ง. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จําเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช 43. ข้อใดเป็นการทดสอบว่าแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จําเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสง ก. นําใบไม้ที่มีสีเขียวและสีขาวมาสกัดคลอโรฟิลล์ออกและทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีน ข. นําใบไม้ในที่มืดและที่สว่างมาสกัดคลอโรฟิลล์ออกและทดสอบด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ ค. นําใบไม้จากถุงที่มีสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์และถุงที่ไม่สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์มาสกัด คลอโรฟิลล์ออกและทดสอบด้วยไอโอดีน ง. นําใบไม้จากถุงที่มีสารละลายไอโอดีนและถุงที่ไม่สารละลายไอโอดีนมาสกัดคลอโรฟิลล์ออกและ ทดสอบด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ จากปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสงต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 45 น้ํา + แก๊ส (1) (2) ( 4 ) + น้ํา + แก๊ส ( 5 ) (3)
  • 9. 44. แก๊ส ( 1 ) และแก๊ส ( 5 ) คือข้อใดตามลําดับ ก. ออกซิเจน ออกซิเจน ข. ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ค. คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ ง. คาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน 45. ข้อใดสรุปเกี่ยวกับการหมุนเวียนแก๊สในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงที่ใบพืชได้ถูกต้อง ก. มีการดูดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และคายแก๊สออกซิเจน ข. มีการคายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และดูดแก๊สออกซิเจน ค. มีการคายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพียงอย่างเดียว ง. มีการคายแก๊สออกซิเจนเพียงอย่างเดียว 46. กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช เกิดขึ้นในช่วงเวลาใด ก. กลางวันเท่านั้น ข. ตลอดเวลาที่มีแสงสว่าง ค. ในช่วงเวลาที่มีแดดจัด ง. ในช่วงที่ได้รับแสงแดดไม่จัดนัก 47. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่สําคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ก. น้ํา ข. แสง ค. แก๊สออกซิเจน ง. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 48. รงควัตถุที่มีสีเขียวและช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสง คือข้อใด ก. คลอโรพลาสต์ ข. คลอโรฟีลล์ ค. คอลลอยด์ ง. ไกลโคเจน 49. น้ํา + ( A ) แสงสว่าง น้ําตาล + ( B ) + น้ํา คลอโรฟิลล์ จากสมการ ( B ) คืออะไร ก. กลูโคส ข. ออกซิเจน ค. คาร์บอนไดออกไซด์ ง. คลอโรพลาสต์ 50. พิจารณาสมการการสังเคราะห์ด้วยแสง แสง
  • 10. CO2 + A B + C +H2O คลอโรฟิ ลล์ จากสมการ A B และ C คืออะไรตามลําดับ ก. น้ํา แร่ธาตุ น้ําตาล ข. แร่ธาตุ น้ําตาล ออกซิเจน ค. น้ําตาล แร่ธาตุ ออกซิเจน ง. น้ํา น้ําตาล ออกซิเจน 51. ข้อใดจัดเป็นปัจจัยภายนอกที่ทําให้เกิด กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ก. แสงแดด คลอโรฟีลล์ ข. น้ํา คลอโรฟีลล์ ค. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แสงแดด ง. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ คลอโรฟีลล์ มฐ. ว 1.1 ตัวชี้วัดที่ 6 ทดลองและอธิบายผลที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช 52. น้ําตาลที่เกิดจากการสังเคราะห์ด้วยแสงคือข้อใด ก. C6H12O6 ข. C12H24O12 ค. C12H22O11 ง. C6H12O5 53. ในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชนอกจากได้อาหารแล้วยังได้ผลิตภัณฑ์ใด ก. น้ําและแก๊สออกซิเจน ข. น้ําและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ค. แป้งและแก๊สออกซิเจน ง. น้ําตาลและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 54. ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช สิ่งแรกที่ได้คืออะไร ก. น้ํา ข. แป้ง ค. แก๊สออกซิเจน ง. น้ําตาลกลูโคส 55. ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง คือข้อใด ก. น้ําตาล แป้ง น้ํา ข. น้ําตาล แก๊สออกซิเจน น้ํา ค. แป้ง น้ําตาล คลอโรฟีลล์ น้ํา ง. น้ําตาล แก๊สออกซิเจน คลอโรฟีลล์ มฐ. ว 1.1 ตัวชี้วัดที่ 7 อธิบายความสําคัญของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม 56. ข้อใดคือประโยชน์ที่สิ่งมีชีวิตได้รับจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ก. ได้อาหารและพลังงาน ข. ได้แก๊สออกซิเจนมาใช้ในกระบวนการหายใจ
  • 11. ค. ลดปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ง. ถูกทุกข้อ 57. ถ้าในอากาศไม่มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เลยหรือมีเพียงเล็กน้อย นักเรียนคิดว่าจะมีผลต่อสิ่งมีชีวิต หรือไม่ อย่างไร ก. มีผล เพราะแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จําเป็นในการสร้างอาหารของพืช ข. มีผล เพราะแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จําเป็นในการสร้างอาหารของสัตว์ ค. ไม่มีผล เพราะสิ่งมีชีวิตใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น ง. ไม่มีผล เพราะแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ไม่มีความจําเป็นในการดํารงชีวิตของสิ่งมีชีวิต 58. การปลูกต้นไม้ไว้เกาะกลางถนนตามเมืองใหญ่ นักเรียนคิดว่าทําเพื่อประโยชน์ในข้อใดมากที่สุด ก. เพิ่มความร่มรื่นแก่ถนน ข. เป็นแหล่งอาหารและพลังงาน ค. เป็นที่พักอาศัยของสัตว์ในเมือง ง. ลดปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 59. ข้อใดมีความสัมพันธ์กับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงมากที่สุด ก. ปริมาณแร่ธาตุอาหารที่จําเป็นในพื้นดิน ข. ปริมาณอาหารที่จําเป็นต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ค. จํานวนพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณต่างๆ ง. การหมุนเวียนของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจน 60. “ ในบรรยากาศที่มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์น้อยหรือไม่มีเลยจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ”นักเรียน เห็นด้วยหรือไม่กับคํากล่าวข้างต้น ก. เห็นด้วย เพราะพืชใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ สําหรับหายใจ ข. เห็นด้วย เพราะแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นปัจจัยสําคัญสําหรับการสังเคราะห์ด้วยแสง ค. ไม่เห็นด้วย เพราะพืชต้องการแก๊สออกซิเจน ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช ง. ไม่เห็นด้วย เพราะการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ไม่จําเป็นต้องใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 61. นอกจากน้ําตาลแล้ว ข้อใดเป็นผลที่เกิดจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ก. แป้ง ไขมัน ข. ไขมัน โปรตีน ค. น้ํา แก๊สออกซิเจน ง. น้ํา แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 62. ต้นถั่วงอกจําเป็นต้องสร้างอาหารด้วยการสังเคราะห์ด้วยแสงหรือไม่ ก. จําเป็น เพราะพืชทุกชนิดต้องสร้างอาหาร ข. ไม่จําเป็น เพราะมีอาหารสะสมอยู่ ค. จําเป็น เพราะเป็นช่วงต้องเร่งการเจริญ ง. ไม่จําเป็น เพราะรากสามารถหาอาหารได้ มฐ. ว 1.1 ตัวชี้วัดที่ 8 ทดลองและอธิบายกลุ่มเซลล์ที่เกี่ยวกับการลําเลียงน้ําของพืช 63. ส่วนที่ทําหน้าที่ดูดน้ําและแร่ธาตุเข้าสู่พืชคือข้อใด ก. ราก ข. ลําต้น
  • 12. ค. ขนราก ง. ปากใบ 64. โครงสร้างที่พืชใช้ในการลําเลียงน้ําและแร่ธาตุไปยังส่วนต่างๆของพืชคือข้อใด ก. ราก ข. ลําต้น ค. ท่อลําเลียงน้ํา ง. ท่อลําเลียงแร่ธาตุ 65. กลุ่มเซลล์ที่ทําหน้าที่ลําเลียงน้ําในพืชใบเลี้ยงคู่มีลักษณะอย่างไร ก. กระจายตัวรอบๆลําต้น ข. จัดเรียงเป็นวงรอบๆลําต้น ค. อยู่บริเวณกลางล้ําต้น ง. อยู่เป็นหย่อมๆไม่สม่ําเสมอในลําต้น 66. กลุ่มเซลล์ที่ทําหน้าที่เป็นท่อลําเลียงน้ํา พบได้ในส่วนใดของพืช ก. เฉพาะราก ข. รากและลําต้น ค. ราก ลําต้น และกิ่ง ง. ราก ลําต้น กิ่ง และใบ 67. ส่วนแรกของรากที่ทําหน้าที่ดูดน้ําและแร่ธาตุจากดิน คือข้อใด ก. ราก ข. ขนราก ค. รากฝอย ง. รากแขนง มฐ. ว 1.1 ตัวชี้วัดที่ 9 สังเกตและอธิบายโครงสร้างที่เกี่ยวกับระบบลําเลียงน้ําและอาหารของพืช 68. การนําต้นไม้ไปปลูกในที่ที่เตรียมไว้ เพราะเหตุใดจึงนิยมที่จะตัดใบออก ก. สะดวกในการขนย้าย ข. ลดพื้นที่ที่ใช้ในการปลูก ค. ลดการคายน้ําของพืช ง. ลดการลําเลียงอาหารของพืช 69. กลุ่มเซลล์ที่ทําหน้าที่ลําเลียงอาหารไปยังส่วนต่างๆของพืชคือข้อใด ก. ท่อลําเลียง ข. ท่อลําเลียงน้ํา ค. ท่อลําเลียงอาหาร ง. ท่อลําเลียงอาหารและแร่ธาตุ 70. การลําเลียงน้ําและเกลือแร่จะเกิดขึ้นบริเวณโครงสร้างส่วนใดของใบ ก. เส้นใบ ข. ปากใบ ค. เซลล์เนื้อเยื่อพาลิเซด
  • 13. ง. เซลล์เนื้อเยื่อสปันจี 71. ข้อใดแสดงทิศทางการลําเลียงอาหารในพืชได้ถูกต้อง ก. จากราก ไปลําต้น ไปใบ ไปกิ่ง ข. จากราก ไปลําต้น ไปกิ่ง ไปใบ ค. จากใบ ไปลําต้น ไปกิ่ง ไปราก ง. จากใบ ไปกิ่ง ไปลําต้น ไปราก 72. โครงสร้างที่พืชใช้ในการลําเลียงน้ําและแร่ธาตุ คืออะไร ก. ไซเลม ข. โฟลเอ็ม ค. ระบบราก ง. แคมเบียม 73. โครงสร้างใดที่พืชใช้ในการลําเลียงอาหาร ก. ไซเลม ข. โฟลเอ็ม ค. เนื้อไม้ ง. เปลือกไม้ 74. การคายน้ําของพืชมีความสัมพันธ์กับกระบวนการใดมากที่สุด ก. การสืบพันธุ์ ข. การเจริญเติบโต ค. การสังเคราะห์ด้วยแสง ง. การลําลียงน้ําของพืช 75. ทิศทางการลําเลียงอาหารของพืช ส่วนใหญ่มีทิศทางอย่างไร 1 ราก → ลําต้น → กิ่ง → ใบ 2 ใบ → กิ่ง → ลําต้น → ราก 3 ใบ → กิ่ง → ลําต้น → กิ่ง → ดอก ก. 1 และ 2 ข. 2 และ 3 ค. 1 และ 3 ง. เฉพาะ 2 มฐ. ว 1.1 ตัวชี้วัดที่ 10 ทดลองและอธิบายโครงสร้างของดอกที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ของพืช 76. ข้อใดเรียงส่วนประกอบของดอกจากชั้นนอกสุดเข้าหาชั้นในสุดได้ถูกต้อง ก. กลีบดอก กลีบเลี้ยง เกสรเพศเมีย เกสรเพศผู้ ข. กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรเพศผู้ เกสรเพศเมีย ค. กลีบดอก กลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้ เกสรเพศเมีย ง. กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรเพศเมีย เกสรเพศผู้
  • 14. 77. ดอกตําลึง ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง กลีบดอกและเกสรตัวเมีย ดอกตําลึงจัดเป็นดอกไม้ชนิดใด ก. ดอกครบส่วนและสมบูรณ์เพศ ข. ดอกไม่ครบส่วนแต่สมบูรณ์เพศ ค. ดอกครบส่วนแต่ไม่สมบูรณ์เพศ ง. ดอกไม่ครบส่วนและไม่สมบูรณ์เพศ 78. การแบ่งประเภทของดอกไม้ โดยใช้ส่วนประกอบของดอกเป็นเกณฑ์ คือข้อใด ก. ดอกเดี่ยว ดอกช่อ ข. ดอกเดี่ยว ดอกผสม ค. ดอกครบส่วน ดอกไม่ครบส่วน ง. ดอกสมบูรณ์เพศ ดอกไม่สมบูรณ์เพศ 79. โครงสร้างใดที่พืชใช้ในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ก. ราก ข. ลําต้น ค. ใบ ง. ดอก มฐ. ว 1.1 ตัวชี้วัดที่ 11 อธิบายกระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอกและการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัย เพศของพืช โดยใช้ ส่วนต่างๆ ของพืชเพื่อช่วยในการขยายพันธุ์ 80. ลําดับขั้นตอนการผสมพันธุ์ของพืชดอกเป็นดังนี้ ก. ไซโกต เอ็มบริโอ การปฏิสนธิ ข. การปฏิสนธิ การถ่ายละอองเรณู การงอกของละอองเรณู ค. การถ่ายละอองเรณู การงอกของละอองเรณู การปฏิสนธิ ง. การงอกของละอองเรณู การถ่ายละอองเรณู การปฏิสนธิ 81. การปฏิสนธิของดอกไม้เกิดขึ้นเมื่อใด ก. สเปิร์มเข้าไปรวมกับไข่ ข. เกิดเอ็มบริโอภายในรังไข่ ค. ละอองเรณูตกบนยอดเกสรตัวเมีย ง. ออวุลเจริญเป็นเมล็ด 82. เมื่อละอองเรณูแก่เต็มที่จะแบ่งเป็น 2 นิวเคลียสหมายถึงข้อใด ก. เจเนอเรทิฟนิวเคลียส , สเปริ์ม ข. ทิวบ์นิวเคลียส , รังไข่ ค. เจเนอเรทีฟนิวเคลียส , ทิวบ์นิวเคลียส ง. รังไข่ , สเปริ์ม 83. ข้อใดเป็นการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศทั้งหมด A. การตอนกิ่ง B.การทาบกิ่ง C. การใช้เมล็ด D. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ E. การปักชํา
  • 15. ก. ข้อ A B และ C ข. ข้อ B C และ D ค. ข้อ C D และ E ง. ข้อ B D และ E 84. หลังจากเกิดการปฏิสนธิแล้ว จะเกิดสิ่งใดตามมา ก. ออวุลเจริญเป็นผล รังไข่เจริญเป็นเมล็ด ข. ออวุลเจริญเป็นเมล็ด รังไข่เจริญเป็นผล ค. ออวุลเจริญเป็นเมล็ด รังไข่เจริญเป็นต้นอ่อน ง. ออวุลเจริญเป็นต้นอ่อน รังไข่เจริญเป็นผล 85. พืชในข้อใดที่สามารถนําส่วนของใบไปชําเพื่อให้เกิดต้นใหม่ได้ ก. สตรอว์เบอร์รี ใบบัวบก ข. สาเก กุหลาบหิน ค. ต้นตายใบเป็น เศรษฐีพันล้าน ง. มันเทศ เผือก 86. ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด ก. ดอกครบส่วนทุกชนิดเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ข. ดอกสมบูรณ์เพศทุกชนิดเป็นดอกครบส่วน ค. ดอกสมบูรณ์เพศทุกชนิดเป็นดอกไม่ครบส่วน ง. ดอกไม่ครบส่วนทุกชนิดเป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ 87. ถ้านักเรียนสังเกตเห็นดอกกุหลาบหลายๆ สี บน ต้นกุหลาบต้นเดียวกัน ต้นกุหลาบนี้น่าจะผ่านการ กระทําสิ่งใดมาก่อน ก. การเพาะเมล็ด ข. การตอน ค. การปักชํา ง. การต่อกิ่ง 88. ดอกไม้ในข้อใดเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ก. ตําลึง ข. ข้าวโพด ค. กุหลาบ ง. ฟักทอง 89. เมื่อมีการปฏิสนธิในดอกไม้ที่มีโครงสร้างดังภาพ
  • 16. ชนิดของผลที่เกิดขึ้นควรเป็นอย่างไร ก. 1 ผลมี 1 เมล็ด ข. 1 ผลมีหลายเมล็ด ค. หลายผลอยู่ติดกันแต่ละผลมี 1 เมล็ด ง. หลายผลอยู่ติดกันแต่ละผลมีหลายเมล็ด 90. พืชเศรษฐกิจใดที่นิยมใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในการขยายพันธุ์ ก. ข้าวโพด ข. กล้วยไม้ ค. ยางพารา ง. มันสําปะหลัง มฐ. ว 1.1 ตัวชี้วัดที่ 12 ทดลองและอธิบายการตอบสนองของพืชต่อแสง น้ํา และการสัมผัส 91. ข้อใดเป็นพฤติกรรมการตอบสนองของพืชต่อการสัมผัส ก. การหุบบานของดอกบัว ข. การงอกของเมล็ด ค. การหุบใบของไมยราบเมื่อถูกสัมผัส ง. การเจริญของรากพืชลงไปในดิน 92. ข้อใดเป็นพฤติกรรมการตอบสนองของพืชต่อแสงสว่าง ก. การหุบบานของดอกบัว ข. การงอกของเมล็ด ค. การหุบใบของไมยราบเมื่อถูกสัมผัส ง. การเจริญของรากพืชลงไปในดิน 93. การตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้าในข้อใดที่เกิดจากสิ่งเร้าชนิดเดียวกัน ก. การหุบบานของดอกบัวกับการยืดตัวของรากลงพื้นดิน ข. การหุบบานของดอกบัวกับการหุบบานของไมยราบ ค. การหุบบานไมยราบกับการหุบบานของดอกคุณนายตื่นสาย ง. การหุบบานของไมยราบกับการปิดใบฝาของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง 94. ลักษณะการงอกของรากพืชเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดมากที่สุด ก. มีแรงโน้มถ่วงของโลกเป็นสิ่งเร้า ข. ใต้ดินมีอุณหภูมิต่างจากผิวดิน ค. พืชต้องการหาอาหารให้ได้ไกลๆ ง. ความเต่งของเซลล์ภายในต้นพืช
  • 17. 95. พืชในข้อใดที่มีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ก. ดอกบัว ข. ไมยราบ ค. สน ง. กระบองเพชร 96. การหุบของใบไมยราบเมื่อถูกสัมผัสเป็นผลเนื่องมาจากสิ่งเร้าชนิดใด ก. การสัมผัส ข. แสง ค. อุณหภูมิ ง. น้ํา 97. การหุบและกางใบของพืชตระกูลถั่วจะเกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าในข้อใด ก. อุณหภูมิ ข. สารเคมี ค. น้ํา ง. แสง มฐ. ว 1.1 ตัวชี้วัดที่ 13 อธิบายหลักการและผลของการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการขยายพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ เพื่อเพิ่มผลผลิตของพืชและนําความรู้ไปใช้ประโยชน์ 98. ข้อใดคือธาตุซึ่งเป็นอาหารหลักของพืช ก. ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ข. คาร์บอน ไนโตรเจน ออกซิเจน ค. ฟอสฟอรัส ออกซิเจน แมกนีเซียม ง.คาร์บอน โพแทสเซียม แมกนีเซียม 99. การนําส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชเพียงเล็กน้อยไปเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ในสภาพที่ได้รับการควบคุม อย่างเหมาะสม เป็นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในเรื่องใด ก. การตัดต่อยีน ข. การปักชําเนื้อเยื่อ ค. การแปลงพันธุ์พืช ง. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 100. ข้อใดหมายถึงการใช้วิธีทางพันธุศาสตร์โดยการวิธีการที่เรียกว่า GMOs ก. การตัดเอาชิ้นส่วนของจีนไปใส่ในจานเพาะเชื้อเพื่อให้เกิดเซลล์ใหม่ ข. การนําส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชเพียงเล็กน้อยไปเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ ค. การตัดเอาชิ้นส่วนของจีนไปใส่ในโครโมโซมของพืชเพื่อให้เกิดเซลล์ใหม่ ง. การตัดเอาชิ้นส่วนของจีนไปใส่ในต้นไม้หรือสัตว์ตัวใหม่เพื่อให้เกิดเซลล์ใหม่
  • 18. 101. การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในด้านเกษตรกรรมและอาหารที่มีการต่อต้านมากเพราะกลัวว่าจะมีผลกระทบ ในเรื่องใดมากที่สุด ก. พืชจะมีการกลายพันธุ์ ข. จะเกิดผลข้างเคียงแก่ผู้บริโภค ค. พืชจะขยายพันธุ์ได้มากเกินไป ง. การใช้ปุ๋ยและสารเคมีจะลดลงมากเกินไป 102. “แคลลัส” มีความสัมพันธ์กับสิ่งใดต่อไปนี้มากที่สุด ก. พืช GMOS ข. การตัดแต่งพันธุกรรม ค. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ง. สิ่งมีชีวิตแปลงพันธุ์ 103. ข้อใดกล่าวถูกต้องตามความเป็นจริง ก. พืชที่ได้รับการตัดต่อยีนส่วนใหญ่จะมีลักษณะเลวลง ข. พืช GMOs ทําให้ผู้ที่บริโภคเสียชีวิต ค. พืชที่ขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจะมีอายุสั้นกว่าปกติ ง. พืช GMOs ยังไม่ได้รับการยอมรับจากคนทั่วไปมากนัก 104. สารชนิดใดที่ใส่ลงไปในอาหารสังเคราะห์ เพื่อกระตุ้นการแบ่งเซลล์ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ก. กลูโคส ข. ไซโทไคนิน ค. เพนนิซิลิน ง. โซเดียมไฮโปคลอไรด์ 105. หน่วยงานที่ค้นคว้าด้านเทคโนโลยีชวภาพในประเทศไทย คือหน่วยงานใด ี ก. ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ ข. องค์การอาหารและยา ค. สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ง. กรมควบคุมมลพิษ สาระที่ 3 ม. 3.1 ตัวชี้วัดข้อที่ 1 ทดลองและจําแนกสารเป็นกลุ่มโดยใช้เนื้อสารหรือขนาดอนุภาคเป็นเกณฑ์และอธิบายสมบัติ ของสารในแต่ละกลุ่ม 106. เมื่อกรองของเหลวชนิดหนึ่งด้วยกระดาษกรองพบว่ามีอนุภาคของแข็งเหลืออยู่ ข้อใดสรุปได้ถูกต้อง ก. สารนั้นเป็นคอลลอยด์ ข. สารนั้นเป็นสารแขวนลอย ค. สารนั้นเป็นสารละลาย ง. สารนั้นอาจเป็นสารละลายหรือคอลลอยด์ 107. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง ก. คอลลอยด์บางชนิดเป็นสารบริสุทธิ์ ข. น้ําสบู่จัดเป็นอิมัลซิฟายเออร์ช่วยให้ไขมันและสิ่งสกปรกรวมตัวกับน้ําได้
  • 19. ค. จุดเดือดของสารบริสุทธิ์คงที่ ง. น้ําโคลนจัดเป็นสารแขวนลอย 108. ตาราง ลักษณะและการเปลี่ยนแปลงของของเหลวชนิดต่าง ๆ ชนิดของ อุณหภูมิขณะ สี ตะกอน ผลที่ได้จากการระเหย ของเหลว เปลี่ยนสถานะ A ใสไม่มีสี มีตะกอนที่ก้นภาชนะ ได้ของแข็งสีขาวขุ่น อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น B ใสไม่มีสี ไม่มีตะกอน ได้ของแข็งสีขาว อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น C ฟ้า ไม่มีตะกอน ได้ของแข็งสีฟ้า อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น D ใสไม่มีสี ไม่มีตะกอน ไม่พบสารตกค้าง อุณหภูมิคงที่ ของเหลวใดบ้างจัดเป็นสารเนื้อเดียว ก. A เท่านั้น ข. B และ C ค. B C และ D ง. D เท่านั้น 109. ข้อใดเรียงลําดับขนาดอนุภาคของสารจากขนาดใหญ่ไปเล็กได้ถูกต้อง ก. คอลลอยด์ สารแขวนลอย สารละลาย ข. สารละลาย สารแขวนลอย คอลลอยด์ ค. สารแขวนลอย สารละลาย คอลลอยด์ ง. สารแขวนลอย คอลลอยด์ สารละลาย 110. ตาราง สถานะของสารในตัวกลางและสถานะของตัวกลางของคอลลอยด์ชนิดต่าง ๆ ชนิดของคอลลอยด์ สถานะของสารในตัวกลาง สถานะของตัวกลาง อิมัลชัน ของเหลว ของเหลว แอโรซอล ของเหลว แก๊ส เจล ของแข็ง ของเหลว โฟม แก๊ส ของเหลว ถ้าเมฆและหมอกเป็นหยดน้ําขนาดเล็กที่ลอยอยู่ในอากาศ เมฆและหมอกจัดเป็นคอลลอยด์ชนิดใด ก. เจล ข. โฟม ค. อิมัลชัน ง. แอโรซอล 111. สารทุกสารในกลุ่มใดที่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ําเงินเป็นแดง ก. น้ําเชื่อม น้ําปลา น้ําฝน ข. น้ําอัดลม น้ํามะนาว น้ํามะขามเปียก ค. น้ําส้มสายชู น้ํายาล้างห้องน้ํา น้ําเกลือ ง. น้ํายาล้างจาน น้ําสบู่ สารละลายผงซักฟอก
  • 20. 112. ในการจําแนกประเภทของสารเป็น สารละลาย คอลลอยด์ และสารแขวนลอย ควรพิจารณาโดยใช้เกณฑ์ในข้อใด ก. สี ข. ความขุ่น ค. องค์ประกอบ ง. ขนาดอนุภาค 113. พนิดาจําแนกสารออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 อากาศ น้ําตาลทราย น้ําส้มสายชู กลุ่มที่ 2 น้ํากะทิ น้ําแป้ง น้ํานม เกณฑ์ที่พนิดาใช้ในการจําแนกสารคือข้อใด ก. สารเนื้อเดียว กับ สารเนื้อผสม ข. สารเนื้อเดียว กับ สารละลาย ค. สารเนื้อผสม กับ สารละลาย ง. สารบริสุทธิ์ กับ สารไม่บริสุทธิ์ 114. ถ้าจัด น้ําตาล น้ําเชื่อม และน้ําอัดลม เป็นสารกลุ่มเดียวกัน นักเรียนคิดว่าใช้เกณฑ์ใดในการจําแนกสาร ก. สี ข. สถานะ ค. ลักษณะเนื้อสาร ง. ขนาดของอนุภาค 115. ถ้าใช้ขนาดอนุภาคของสารเป็นเกณฑ์ในการจําแนกสาร สารในข้อใดไม่เข้ากลุ่มกับพวก ก. น้ําปลา ข. น้ําเชื่อม ค. น้ําอัดลม ง. แป้งเปียก ข้อมูล ตารางแสดงผลการทดลอง ใช้ตอบคําถาม ข้อ 116 รายการทดลอง การกรองด้วยกระดาษกรอง การกรองด้วยกระดาษเซลโลเฟน สาร 1 มีสารตกค้าง ไม่ผ่านกระดาษเซลโลเฟน สาร 2 ไม่มีสารตกค้าง ไม่ผ่านกระดาษเซลโลเฟน สาร 3 ไม่มีสารตกค้าง ผ่านกระดาษเซลโลเฟน 116. จากข้อมูล ข้อใดสรุปได้ถูกต้อง ก. สาร 1 เป็นสารแขวนลอย สาร 2 เป็นสารละลาย สาร 3 เป็นคอลลอยด์ ข. สาร 1 เป็นสารแขวนลอย สาร 2 เป็นคอลลอยด์ สาร 3 เป็นสารละลาย ค. สาร 1 เป็นสารละลาย สาร 2 เป็นสารแขวนลอย สาร 3 เป็นคอลลอยด์ ง. สาร 1 เป็นคอลลอยด์ สาร 2 เป็นสารละลาย สาร 3 เป็นสารแขวนลอย 117. สารในข้อใดต่อไปนี้ที่โมเลกุลของสารจะอยู่ชิดกันและยึดกันแน่น ก. แอลกอฮอล์ ข. น้ําส้มสายชู
  • 21. ค. เกล็ดน้ําแข็ง ง. กํามะถัน 118. สารในข้อใดมีสมบัติในการระเหิด ก. สารส้ม ข. กํามะถัน ค. การบูร ง. เกลือ 119. ข้อใดไม่ใช่สมบัติทางเคมีของสาร ก. การเกิดปฎิกิริยาเคมี ข. การทนต่อแสงและความร้อน ค. ความเป็นกรด - เบส ง. นําไฟฟ้าและความร้อน 120. สารในสถานะใดที่อนุภาคจะแพร่กระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ ก. แก๊ส ข. ของเหลว ค. ของแข็ง ง. ของแข็งและของเหลว 121. เพราะเหตุใดจึงใช้ลักษณะเนื้อสารเป็นเกณฑ์การจําแนกประเภทของสาร ก. เนื้อสารสามารถจับต้องได้ ข. สารบางชนิดมีหลายสถานะจึงยากแก่การพิจารณา ค. สะดวก เข้าใจง่าย สามารถใช้การสังเกตจําแนกได้ ง. มีเครื่องมือหลายชนิดอํานวยความสะดวกในการจําแนก 122. ข้อใดเป็นสารเนื้อผสมทั้งหมด ก. ดิน น้ํา ผงชูรส เกลือ ข. ยาสีฟัน แป้งมัน เหล็ก ทองแดง ค. น้ํา สารละลายแอมโมเนีย ปูนซีเมนต์ ง. ดิน น้ําคลอง ลอดช่องกะทิ น้ําส้มคั้น สาระที่ 3 ม. 3.1 ตัวชี้วัดข้อที่ 2 อธิบายสมบัติและการเปลี่ยนสถานะของสารโดยใช้แบบจําลองการจัดเรียงอนุภาคของสาร 123. พิจารณาสมการต่อไปนี้ แล้วตอบคําถาม A. แก๊สไฮโดรเจน + แก๊สออกซิเจน น้ํา B. แมกนีเซียม + แก๊สออกซิเจน แมกนีเซียมออกไซด์ C. กรดไฮโดรคลอริก + โซเดียมไฮดรอกไซด์ โซเดียมคลอไรด์ + น้ํา การเปลี่ยนแปลงในข้อใด จัดเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมีทั้งหมด ก. A และ B ข. B และ C ค. C และ A
  • 22. ง. A B และ C 124. ตาราง จุดหลอมเหลวของสารประกอบออกไซด์ของแมงกานีสชนิดต่าง ๆ ชนิดของสารประกอบออกไซด์ของแมงกานีส จุดหลอมเหลว (องศาเซลเซียส) ชนิดที่ 1 6 ชนิดที่ 2 535 ชนิดที่ 3 1,000 ชนิดที่ 4 1,590 ชนิดที่ 5 1,800 จากข้อมูลในตาราง ที่อุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส สารประกอบออกไซด์ของแมงกานีสชนิดใดมีสถานะเป็นของแข็งเท่านั้น ก. ชนิดที่ 1 และ 2 ข. ชนิดที่ 2 และ 3 ค. ชนิดที่ 3 และ 4 ง. ชนิดที่ 4 และ 5 125. สมชายใส่ลูกปัดลงในถาดแล้วเทลูกปัดให้รวมกันที่มุมถาดสังเกตระยะห่างของลูกปัดเพื่อเปรียบเทียบกับ อนุภาคของสาร นักเรียนคิดว่าสมชายทําการทดลองเพื่อเปรียบเทียบอนุภาคสารในสถานะใด ก. อนุภาคของแก๊ส ข. อนุภาคของของแข็ง ค. อนุภาคของของเหลว ง. อนุภาคของของแข็งและของเหลว 126. ข้อใดสรุปเกี่ยวกับอนุภาคของสารในสถานะต่างๆ ได้ถูกต้อง ก. ของแข็งอยู่กับที่เปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ง่าย ข. ของเหลวไหลได้และมีรูปร่างตามภาชนะที่บรรจุ ค. แก๊สมีรูปร่างกระจายเต็มภาชนะบีบอัดให้เล็กลงยาก ง. ถูกทั้งข้อ ข และข้อ ค 127. สาร A มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยมากมีช่องว่างระหว่างอนุภาคมากและสามารถบีบอัดให้ เล็กลง ได้ง่าย สาร A ควรเป็นสารใด ก. น้ํา ข. เกลือ ค. ทองแดง ง. แก๊สออกซิเจน 128. สารในข้อใดจัดเป็นธาตุ ก. น้ํา ข. เกลือแกง
  • 23. ค. น้ําตาลกลูโคส ง. ออกซิเจน 129. ข้อใดเป็นสารประกอบ ก. น้ําโคลน ข. น้ํา ค. น้ําแป้งดิบ ง. น้ําผสมน้ํามัน 130. อนุภาคที่เล็กที่สุดของสารทุกชนิด คืออะไร ก. อะตอม ข. โมเลกุล ค. อนุภาค ง. มวลสาร 131. สารในข้อใดเป็นสารที่ประกอบด้วยสารสองชนิดปนกันอยู่ ก. น้ํากลั่น ข. เกลือแกง ค. น้ําเชื่อม ง. น้ําตาลทราย 132. สารในข้อใดจัดเป็นสารพวกเดียวกัน ก. น้ําเกลือ น้ํากะทิ กาแฟ ข. น้ําตาลทราย น้ําโคลน น้ําแป้ง ค. น้ําแป้ง น้ําปลา น้ําส้มสายชู ง. น้ําเกลือ น้ําหวาน ทองเหลือง 133. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของธาตุอโลหะ ก. ไม่นําไฟฟ้า ข. หักง่ายและเปราะ ค. มีจุดหลอมเหลว และจุดเดือดต่ํา ง. ตียืดให้เป็นเส้นหรือทําให้โค้งงอได้ สาระที่ 3 ม. 3.1 ตัวชี้วัดข้อที่ 3 ทดลองและอธิบายสมบัติความเป็นกรด-เบสของสารละลาย 134. สารเนื้อผสมในข้อใดที่สามารถแยกได้โดยอาศัยสมบัติการระเหิด ก. น้ําตาลทรายปนพริกขี้หนู ข. เกลือแกงปนพิมเสน ค. ผงชูรสปนเกลือแกง ง.ลูกเหม็นปนการบูร 135. เมื่อต้องการตรวจสอบน้ําส้มสายชู ควรเลือกใช้วัสดุใด ก. กระดาษขมิ้น
  • 24. ข. กระดาษลิตมัส ค. กระดาษธรรมดา ง. สารเจนเชียนไวโอเลต 136. น้ําเกลือและน้ําเชื่อมจัดเป็นสารชนิดใด ก. สารละลาย ข. สารเนื้อผสม ค. สารบริสุทธิ์ ง.สารประกอบ 137. ในการวิเคราะห์องค์ประกอบของสีจากสิ่งต่าง ๆ ด้วยวิธีโครมาโทกราฟี ข้อใดไม่เหมาะกับหลักการวิเคราะห์โดยใช้วิธีนี้ ก. องค์ประกอบของสีในใบไม้ ข. องค์ประกอบของสีในน้ําส้มสายชู ค. องค์ประกอบของสีในปากกาเมจิก ง.องค์ประกอบของสีที่ใช้ย้อมผ้าสีดํา 138. ถ้านักเรียนอยากทราบว่าสารที่ใช้ในบ้านมีสมบัติเป็นกรดหรือเบส จะใช้อะไรในการทดสอบ ก. น้ําสบู่ ข. สารส้ม ค. กระดาษลิตมัส ง. เจนเชียนไวโอเลต คําชี้แจง ให้ใช้ข้อมูลตอไปนี้ตอบคําถามจากข้อ 139-140 สารละลาย การเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัส สีน้ําเงิน สีแดง สาร A ไม่เปลี่ยนสี เปลี่ยนเป็นสีน้ําเงิน สาร B เปลี่ยนเป็นสีแดง ไม่เปลี่ยนสี สาร C ไม่เปลี่ยนสี เปลี่ยนเป็นสีน้ําเงิน สาร D เปลี่ยนเป็นสีแดง ไม่เปลี่ยนสี 139. ข้อสรุปใดถูกต้อง ก. สาร A เป็นกรด สาร B เป็นเบส ข. สาร C เป็นกรด สาร D เป็นเบส ค. สาร A และสาร C เป็นกรด สาร B และสาร D เป็นเบส ง. สาร B และสาร D เป็นกรด สาร A และสาร C เป็นเบส 140. จากข้อมูล สาร A ควรเป็นสารในข้อใด
  • 25. ก. น้ําขี้เถ้า ข. น้ําเกลือ ค. น้ําอัดลม ง. น้ําส้มสายชู 141. น้ํายาทําความสะอาดพื้นมีค่า pH = 3 แสดงว่าสารนี้มีฤทธิ์เป็นอย่างไร ก. เบส ข. เกลือ ค. กรด ง. กลาง 142. ดอกไม้ชนิดใดใช้ทดสอบความเป็นกรดของสารได้ ก. ดอกเข็ม ข. ดอกอัญชัน ค. ดอกกุหลาบ ง. ดอกบัว 143. สารใดมีสมบัติเป็นกรด ก. น้ําสบู่ ข. นมสด ค. น้ํามะขาม ง. น้ําขี้เถ้า 144. ข้อใดไม่ใช่สมบัติของสารที่มีฤทธิ์เป็นเบส ก. มี pH มากกว่า 7 ข. มี pH น้อยกว่า 7 ค. มีรสฝาดหรือเฝื่อน ง. มี pH เท่ากับ 10 145. สารเคมีที่ใช้ในบ้านสารใดมีฤทธิ์เป็นเบส ก. ผงซักฟอก ข. น้ําส้มสายชู ค. น้ําเกลือ ง. น้ําอัดลม 146. สาร ก มี pH = 5 สาร ข มี pH = 7 สาร ก และสาร ข มีสมบัติตามข้อใด ก. สาร ก เป็นเบส สาร ข เป็นกรด ข. สาร ก เป็นกรด สาร ข เป็นเบส ค. ทั้งสาร ก และสาร ข เป็นกรด ง. สาร ก เป็นกรด สาร ข เป็นกลาง 147. ข้อใดเป็นกรดที่ใช้ทําน้ําส้มสายชูแท้ ก. กรดไนตริก ข. กรดแอซีติก
  • 26. ค. กรดซัลฟิวริก ง. กรดไฮโดรคลอริก 148. สารทําความสะอาดในบ้านชนิดใดที่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ําเงินเป็นแดง ก. สบู่ ผงซักฟอก ข. น้ํายาล้างห้องน้ํา ผงขัดเครื่องสุขภัณฑ์ ค. แชมพู น้ํายาเช็ดกระจก ง. โซดาซักผ้า น้ํายาล้างจาน 149. ใส่หินปูนลงในสารใด จึงทําให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ก. กรดกํามะถัน ข. แคลเซียมไฮดรอกไซด์ ค. น้ําขี้เถ้า ง. โซดาแผดเผา 150. สิ่งใดสามารถใช้บอกค่า pH ได้อย่างถูกต้องแน่นอน ก. กระดาษลิตมัส ข. สารละลายบรอมไธมอลบลู ค. ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ ง. สารละลายฟีนอล์ฟธาลีน สาระที่ 3 ม. 3.1 ตัวชี้วัดข้อที่ 4 ตรวจสอบค่า pH ของสารละลายและนําความรู้ไปใช้ประโยชน์ 151. แผนภาพสีของอินดิเคเตอร์ A B และ C ในช่วง pH ต่าง ๆ จากข้อมูลในแผนภาพ ถ้าทดสอบสารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์ที่มี pH 8 ด้วยอินดิเคเตอร์ A B และ C จะได้สีใดเกิดขึ้น ตามลําดับ ก. เหลือง ไม่มีสี เหลือง ข. ส้ม ไม่มีสี น้ําเงิน ค. แดง ชมพูเข้ม น้ําเงิน
  • 27. ง. ส้ม ชมพูอ่อน เขียว 152. ถ้าสารละลาย A มีค่า pH เท่ากับ 8.2 สารละลาย B มีค่า pH เท่ากับ 3.4 และสารละลาย C มี ค่า pH เท่ากับ 6.5 ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง ก. สารละลาย A เป็นกรด สารละลาย B สารละลาย C เป็นเบส ข. สารละลาย A เป็นเบส สารละลาย B สารละลาย C เป็นกรด ค. สารละลาย A เป็นเบส สารละลาย B เป็นกรด สารละลาย C เป็นกลาง ง.สารละลาย A เป็นกรด สารละลาย B เป็นเบส สารละลาย C เป็นกลาง 153. ถ้าชาวสวนพบว่าดินที่ใช้ในการปลูกพืชเป็นดินเปรี้ยวไม่เหมาะที่จะใช้ในการปลูกพืช นักเรียนมีวิธี แนะนําชาวสวนอย่างไรจึงจะถูกต้องและมีความเหมาะสมมากที่สุด ก. แนะนําให้หันไปปลูกพืชชนิดอื่น ข. แนะนําให้เลิกทําสวนเปลี่ยนไปทํานา ค. แนะนําให้เติมปูนขาวลงไปเพื่อลดความเป็นกรด ง. แนะนําให้เติมแอมโมเนียมคลอไรด์(เกลือกรด)ลงไปเพื่อลดความเป็นกรด 154. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับสารละลายกรด-เบส ก. เบสที่ใช้ปรุงอาหารไม่มีอันตรายต่อร่ายกายมนุษย์ ข. กรดและเบสเป็นสารที่มีอันตรายควรใช้อย่างระมัดระวัง ค. กรดจากพืชสามารถรับประทานได้โดยไม่เป็นอันตราย ง. น้ําส้มสายชูแท้คือกรดที่ทําจากแร่ธาตุไม่ควรรับประทานมาก 155. ข้อใดอธิบายค่า pH กับระดับความเป็นกรดได้ถูกต้อง ก. กรดอ่อนมีค่า pH น้อย ๆ ข. กรดแก่มีค่า pH มากกว่ากรดอ่อน ค. สารละลายกรดมีค่า pH มากกว่า 8 ง. สารละลายกรดมีค่า pH น้อยกว่า 7 156. ข้อใดอธิบายค่า pH กับระดับความเป็นเบสได้ถูกต้อง ก. เบสอ่อนมีค่า pH มาก ๆ ข. เบสแก่มีค่า pH น้อยกว่าเบสอ่อน ค. สารละลายเบสมีค่า pH มากกว่า 7 ง. สารละลายเบสมีค่า pH น้อยกว่า 7 157. สาร A มีค่า pH = 3 ข้อใดอธิบายได้ถูกต้อง ก. สาร A มีค่าความเป็นกลาง ข. สาร A มีค่าความเป็นกรดมาก ค. สาร A มีค่าความเป็นเบสมาก ง. สาร A มีค่าความเป็นกรดน้อย 158. ข้อใดระบุค่า pH ได้ถูกต้องและแม่นยําที่สุด ก. ทดสอบการเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัส
  • 28. ข. ทดสอบโดยนําไปทําปฏิกิริยากับหินปูน ค. ใช้ pH มิเตอร์วัดค่า pH ง. ทดสอบด้วยสารละลายยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์ 159. การทําปฏิกิริยาของเบสกับสารใดที่เกิดสารคล้ายสบู่ ก. เบสกับน้ํามันพืชหรือไขมันสัตว์ ข. เบสกับแอมโมเนียมไนเตรต ค. เบสกับกรดเกลือ ง. เบสกับชิ้นอะลูมิเนียม 160. เมื่อนําสังกะสีทําปฎิกิริยากับสารใดให้แก๊สไฮโดรเจน ก. โซเดียมไฮดรอกไซด์ ข. กรดกํามะถัน ค. แคลเซียมซัลเฟต ง. น้ําปูนใส สาระที่ 3 ม. 3.2 ตัวชี้วัดข้อที่ 1 ทดลองและอธิบายวิธีเตรียมสารละลายที่มีความเข้มข้นเป็นร้อยละและ อภิปรายการนําความรู้เกี่ยวกับสารละลายไปใช้ประโยชน์ 161. เตรียมสารละลายเอทิลแอลกอฮอล์โดยใช้ส่วนผสมในปริมาณที่กําหนดในตาราง บีกเกอร์ที่ 1 2 3 4 3 ปริมาณสารละลายเอทิลแอลกอฮอล์ (cm ) 700 380 150 80 3 ปริมาณน้ํา (cm ) 300 120 50 20 จากข้อมูล สาระลายเอทิลแอลกอฮอล์ในบีกเกอร์ใด มีความเข้มข้นมากที่สุด ก. บีกเกอร์ที่ 1 ข. บีกเกอร์ที่ 2 ค. บีกเกอร์ที่ 3 ง. บีกเกอร์ที่ 4 162. ในการเตรียมสารละลายน้ําเกลือ โดยใส่เกลือ 20 กรัมลงในน้ําแล้วทําให้เป็นสารละลาย 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร สารละลายน้ําเกลือมีความเข้มข้นร้อยละเท่าใดโดยมวลต่อปริมาตร ก. ร้อยละ 5 โดยมวลต่อปริมาตร ข. ร้อยละ 10 โดยมวลต่อปริมาตร ค. ร้อยละ 15 โดยมวลต่อปริมาตร ง. ร้อยละ 20 โดยมวลต่อปริมาตร
  • 29. 163. ถ้านําแอลกอฮอล์ 30 ลูกบาศก์เซนติเมตรมาละลายในน้ํา 120 ลูกบาศก์เซนติเมตร จะได้สารละลาย แอลกอฮอล์มีความเข้มข้นร้อยละเท่าใดโดยปริมาตร ก. ร้อยละ 5 โดยปริมาตรต่อปริมาตร ข. ร้อยละ 10 โดยปริมาตรต่อปริมาตร ค. ร้อยละ 15 โดยปริมาตรต่อปริมาตร ง. ร้อยละ 20 โดยปริมาตรต่อปริมาตร 164. สารละลายข้อใดมีความเข้มข้นน้อยที่สุด ก. น้ําตาล 2 กรัม ต่อน้ํา 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร ข. น้ําตาล 2 กรัม ต่อน้ํา 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร ค. น้ําตาล 2 กรัม ต่อน้ํา 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร ง. น้ําตาล 2 กรัม ต่อน้ํา 1000 ลูกบาศก์เซนติเมตร 165. เกลือแกง 50 กรัม ละลายในน้ํา 200 กรัม สารละลายเกลือแกงมีความเข้มข้นร้อยละเท่าใด ก. 17.5 ข. 20 ค. 25 ง. 33.3 166. สารละลายในข้อใดที่ตัวละลายมีสถานะเดียวกับสารละลาย ก. น้ําโซดา ข. น้ําเกลือ ค. แอลกอฮอล์เช็ดแผล ง. น้ําเชื่อม 167. นักวิทยาศาสตร์ใช้สิ่งใดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าสารใดเป็นตัวทําละลายในสารละลาย ก. มีปริมาณสารอยู่มาก และมีสถานะเดียวกับสารละลาย ข. มีปริมาณสารอยู่มาก และมีสถานะต่างจากสารละลาย ค. มีปริมาณสารอยู่น้อย และมีสถานะเดียวกับสารละลาย ง. มีปริมาณสารอยู่น้อย และมีสถานะต่างจากสารละลาย 168. แอลกอฮอล์ 80 % โดยปริมาตร มีความหมายตรงกับข้อใด ก. สารละลาย 100 cm3 มีเอทิลแอลกอฮอล์อยู่ 80 cm3 ข. สารละลาย 100 กรัม มีเอทิลแอลกอฮอล์อยู่ 80 กรัม ค. สารละลาย 100 cm3 มีเอทิลแอลกอฮอล์อยู่ 80 กรัม ง. สารละลาย 100 กรัม มีเอทิลแอลกอฮอล์อยู่ 80 cm3 169. น้ําเกลือ 5 % โดยมวล/ปริมาตร ถ้านําน้ําเกลือมา 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร จะมีเกลือละลายกี่กรัม ก. 5 g ข. 15 g ค. 25 g