SlideShare a Scribd company logo
1 of 208
Download to read offline
1
WISH เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ ชุด WISDOM
บรรณาธิการ : ทวีศักดิ์ อุชุคตานนท์
สัมภาษณ์และเรียบเรียง : ประพัฒน์ สกุณา
ปก, รูปเล่มและภาพประกอบ : ไตรรงค์ ประสิทธิผล
พิมพ์ครั้งแรก : กันยายน 2555
พิมพ์ที่ : บริษัท แปลนพริ้นท์ติ้ง จ�ำกัด ( มหาชน)
ด�ำเนินการผลิตโดย
ส�ำนักพิมพ์บ้านภายใน
บริษัทบ้านภายใน จ�ำกัด 123/1182 หมู่ 3
ต.บางปลา อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์ / โทรสาร : 0-2750-7384, 08-1402-0103
e-mail : suwanna.chok@gmail.com
ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
99 อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ
เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
โทรศัพท์ 0-2343-1500 โทรสาร 0-2343-1501
www.thaihealth.or.th, www.thaihealthcenter.org
จัดท�ำโดย
“ทัศนะความคิดเห็นจากบทสัมภาษณ์ซึ่งปรากฏในหนังสือนี้
ไม่จ�ำเป็นที่กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ต้องเห็นด้วยเสมอไป”
Dhammaintrend ร่วมเผยแพร่และแบ่งปันเป็นธรรมทาน
ค�ำน�ำ
ตลอด  10  ปีที่ผ่านมากับความ มุ่งมั่น
ของส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง
เสริมสุขภาพ(สสส.) ในการจุดประกาย กระตุ้น
สนับสนุน  เชื่อมประสานภาคีเครือข่าย  เพื่อ
ให้ “ทุกคนบนผืนแผ่นดินไทยมีขีดความ
สามารถสังคมสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ”อย่างยั่งยืนจึงเป็นที่มา
ของการจัดตั้ง  “ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ”  ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่
เรียนรู้การสร้างสุขภาวะอย่างครบวงจร  ผ่านการสร้างสรรค์กิจกรรม
นิทรรศการ และการบริการข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาวะ เป็นต้น โดย
สสส. หวังว่าพื้นที่เรียนรู้สุขภาวะแห่งนี้ จะสร้างแรงบันดาลใจให้แก่
ประชาชนที่เข้ามาเยี่ยมชม  เกิดการเรียนรู้  เปิดประสบการณ์  และ
ความตั้งใจที่จะริเริ่มสร้างสุขภาวะและสิ่งดี ๆ ให้แก่สังคมต่อไป
“WISH เรื่องเล่าแห่งความหวังและพลังใจ” เป็นชุดหนังสือ
ที่ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะมีความตั้งใจจัดท�ำขึ้น  เพื่อให้ผู้อ่านทุกท่าน
สามารถเข้ามาเรียนรู้มุมมองแนวคิด  ประสบการณ์ชีวิต  ตลอดจน
เคล็ดลับการเอาชนะต่ออุปสรรคปัญหาของผู้คนที่น่าสนใจถึง  100
คน  ซึ่งล้วนเป็นบุคคลที่ได้มีส่วนร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่  โดย
มีการเรียบเรียงเป็น 4 เล่มตามชื่อหนังสือ คือ W – Wisdom, I –
Inspiration, S – Sharing และ H – Health & Happiness ด้วยหวัง
ว่าเรื่องราวชีวิตอันมีคุณค่าของท่านทั้งหลายเหล่านี้ จะเป็นตัวอย่าง
และบทเรียนที่จุดประกายความหวังและพลังใจให้ผู้อ่านได้ลุกขึ้นมา
เปลี่ยนแปลงและสร้างสุขภาวะองค์รวมทั้ง 4 มิติ คือ กาย ใจ สังคม
และปัญญา เพื่อความสุขที่ยั่งยืนของตนเองและสังคมไทย
ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์
ผู้จัดการ สสส.
4
จาก...บรรณาธิการ
ชีวิตของมนุษย์เรา  หลายครั้งอาจมีอุปสรรค  และอาจต้อง
พานพบกับวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่ของชีวิตอีกด้วยแต่การก้าวเดินผ่าน
ความยากล�ำบากก็เป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตของคนเรา  หากการ
จะเดินต่อไปได้ในสภาวะที่ยากล�ำบากก็คือ การก้าวเดินอย่างมีความ
หวัง
เรื่องเล่าแห่งความหวังและพลังใจ รวมเรื่องราวของ
บุคคลชั้นน�ำในวงการต่างๆ  ที่เราน�ำเสนอมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ
การสร้างความสุขให้แก่ประชาชนคนไทย  เพื่อให้คนไทยมีชีวิตอย่าง
มีหวังและมีพลัง  แม้ว่า...ในชีวิตจริงที่ประสบ  สังคมของเราก็ยังมี
วิกฤตการณ์ทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และธรรมชาติที่เป็นภัย
พิบัติ
ดังนั้นการเรียนรู้บทเรียนจากปัจเจกชนอิสระทั้ง  100  ท่าน
จึงอาจเป็นแรงใจที่ส�ำคัญ  และอาจมีใครสักคนหนึ่งที่จุดประกาย
สร้างแรงบันดาลใจให้คุณลุกขึ้นมาท�ำสิ่งที่แตกต่างให้แก่สังคมของ
เราด้วย
5
เรื่องราวที่ล้มเหลวของใครบาง
คนอาจเป็นบทเรียนสอนใจให้แก่คุณ
เรื่องราวแห่งความส�ำเร็จของ
อีกคนก็อาจเป็นพลังใจให้คุณมีแรง
อยากสร้างความส�ำเร็จเช่นนี้บ้าง
มีหลายคนที่อ่านหนังสือชุดนี้
แล้วบอกว่า
“พอได้อ่านเรื่องราวของคนดี ๆ
มากมายเช่นนี้  ท�ำให้รู้สึกมีความหวังต่อ
สังคมไทยมากขึ้น”
เราก็หวังเช่นกันว่าคุณจะรู้สึก
เช่นนี้บ้าง
			 ทวีศักดิ์ อุชุคตานนท์
บรรณาธิการอ�ำนวยการ
โครงการเรื่องเล่าแห่งความหวังและพลังใจ
6
พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล 	 9
แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต 				 18
ภิกษุณีธัมมนันทา 				 26
รศ.ประภาภัทร นิยม			 34
พระพรพล ปสันโน				 40
	 ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม 			 48
	 พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก 			 58
	 ฐิตินาถ ณ พัทลุง 				 66
สุวรรณา โชคประจักษ์ชัด 				 74
โชคชัย ลิ้มประดิษฐ์ 				 82
	 จิระนันท์ พิตรปรีชา 				 90
	 ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ 			 98
ส า ร บั ญ
7
ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา			 106
ประมวล เพ็งจันทร์ 				 112
วิจักขณ พานิช 					 124
พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์			 130
ปราโมทย์ ไม้กลัด				 138
ศ.ดร.สมิทธ ธรรมสโรช 				 145
	 ศ.ดร.สุนทร บุญญาธิการ 				 153
อาจารย์ณรงค์ เพชรประเสริฐ 			 161
	 อาจารย์วรศักดิ์ มหัทธโนบล 			 166
	 นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ 			 174
	 วรัตดา ภัทโรดม 					 182
	 หมอเขียว ใจเพชร กล้าจน				 190
ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล 				 198
8
9
พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต
อยู่อย่างมีสุข
ให้คิดถึงผู้อื่นมากกว่าตัวเอง  แล้วหมั่นมองตน  ให้รักตัวเอง
อย่างแท้จริง  ให้รู้จักตัวเอง  สิ่งนี้จะช่วยท�ำให้เราอยู่ในโลกนี้ได้อย่างมี
ความสุข
พระอาจารย์ไพศาล  วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต  คือพระ
นักคิดนักเขียนที่มีผลงานเขียนออกมาอย่างสม�่ำเสมอ  ธรรมะของท่าน
ที่สั่งสอนผู้คน จะเน้นหนักเรื่องราวที่เกี่ยวกับสังคมเป็นหลัก  ดังนั้นเมื่อ
เกิดปัญหาหรือความขัดแย้งในสังคมครั้งใด  ท่านก็จะถูกสื่อสัมภาษณ์
เพื่อให้แนวคิดในการแก้วิกฤตอยู่เสมอ  สิ่งหนึ่งที่พระอาจารย์เน้นย�้ำ
ในทุกการสัมภาษณ์  เมื่อสังคมต้องเผชิญความขัดแย้งก็คือ  การมอง
ความขัดแย้งอย่างเป็นกลาง  และต้องท�ำใจ  เพราะความขัดแย้งนั้นเป็น
10
ธรรมดาของโลก และสิ่งส�ำคัญที่สุดที่จะท�ำให้ทุกคนมีความสุขได้ ไม่
ได้อยู่ที่ไหน  มันอยู่ที่ใจตนเอง
ท่ามกลางความวุ่นวายของสังคม  เราสามารถหาความสุข
สงบได้
“ที่จริงในบ้านของตัวเองมันก็เป็นที่สงบสุขได้  ในห้องนอน
ของเราก็ได้ ถ้าไม่ใช่คนที่อยู่ท่ามกลางผู้คน ห้องนอนก็เป็นที่ที่สงบได้
แต่อาตมาพบว่าหลายคนแม้จะอยู่ในห้องคนเดียวก็ไม่สงบ  เพราะ
เดี๋ยวก็มีเสียงโทรทัศน์เข้ามา มีอีเมล์ มีเฟซบุ๊ก มีแบล็กเบอร์รี่ดัง มี
เอสเอ็มเอสเข้ามา  มันไม่สงบแม้จะอยู่คนเดียว  เพราะว่าคุณปล่อย
ให้ข้อมูลข่าวสารมันหลั่งไหลเข้ามาในชีวิตจิตใจ  ทางออกที่ดีคือคุณ
ควรปิดโทรทัศน์บ้าง ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์  ปิดมือถือ  อย่าเปิดตลอด
เวลา   บางครั้งมันวุ่นวายมาก  วันเสาร์อาทิตย์ก็ปิดบ้าง  อาตมารู้จัก
คนหลายคน  บางทีเขามีอาชีพการงานที่ต้องรับผิดชอบ  เป็นนักข่าว
นักหนังสือพิมพ์ เป็นฝรั่ง เย็นวันศุกร์จนถึงเช้าวันอาทิตย์ปิดโทรศัพท์
อยู่กับครอบครัวและตัวเอง  ออกไปจ๊อกกิ้ง  อาตมาคิดว่าเราไม่ต้อง
ไปไหนหรอก แค่อยู่บ้าน หาโอกาสที่จะอยู่คนเดียวจริงๆ แล้วปิด
เครื่องมือสื่อสารทั้งหลาย  ต่อมาก็หันมามองตน  หันมาดูจิตใจบ้าง
ถ้าหากว่าคนเราว้าวุ่นเพราะใจ   ไม่ใช่เพราะสิ่งภายนอก  แม้อยู่คน
เดียวในป่าคุณก็จะว้าวุ่น ถ้าใจคุณเตลิดเปิดเปิงไป บางคนอยู่ในป่า
อยู่ในห้องคนเดียวบางทีอยู่ไม่ได้  เพราะว่าใจมันว้าวุ่น   ปรุงแต่งไป
ต่างๆแล้วคนเรานี่ชอบหนีตัวเองทนอยู่กับตัวเองไม่ได้ก็เลยหนีไปหา
เพื่อน หนีไปคุย ไปเที่ยว ไปเล่นเฟซบุ๊ก เสร็จแล้วก็บ่นว่าไม่มีเวลาให้
กับตัวเอง แต่ครั้นเวลาอยู่คนเดียวจริงๆ ก็อยู่ไม่ได้ เพราะว่าจิตใจมัน
11
ว้าวุ่น   แล้วเราควรท�ำอย่างไร วิธีแก้คือมีสติรู้เท่าทันความรู้สึกนึกคิด
ที่ปรุงแต่ง พอรู้ปุ๊บแล้ววาง ไม่ใช่ห้ามคิด ให้มีสติรู้ แต่คนส่วนใหญ่ไม่
ค่อยมีเวลากลับมาดูใจของตัวเอง  แม้อยู่คนเดียวก็เจอแต่ความทุกข์
แต่การรู้ทันความคิดแล้ววางได้  แม้ว่ามันจะมีเสียงมากระทบก็ไม่มี
ปัญหา แต่มีปัญหาเพราะว่าใจเราไม่ชอบเสียงนั้น ใจเรามีปฏิกิริยา
ต่อเสียงที่แทรกเข้ามา แต่ถ้าเรามีสติ เรารู้ว่ามีอะไรแทรกเข้ามา เรา
รู้ก็ท�ำใจให้เป็นกลาง เสียงดังก็ท�ำอะไรเราไม่ได้ เพราะฉะนั้นนี่คือสิ่ง
ที่ส�ำคัญที่สุดที่ช่วยให้เราไม่ต้องหนีไปไหน  มันต้องเริ่มหาที่หาทางที่
สงบให้ตัวเอง ปิดเครื่องมือสื่อสาร แล้วจากนั้นก็หันมาดูใจ มาเจริญ
สมาธิ ภาวนาให้มีสติ”
ต้องรู้จักท�ำใจ  เราถึงจะสามารถอยู่กับความขัดแย้งได้อย่าง
มีความสุข
“เรื่องนี้เป็นเรื่องของการท�ำใจ  มองว่าหนึ่ง  ความขัดแย้งเป็น
เรื่องธรรมดา แม้แต่เราบางทีอยู่คนเดียวเราก็ยังขัดแย้งกับตัวเอง จะ
ไปเที่ยวที่ไหนดี ก็มีสองสามความเห็นในใจ ต้องมองว่าความขัดแย้ง
เป็นเรื่องธรรมดา  มองความขัดแย้งอย่างเข้าใจ  ประการที่สองมอง
ว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องที่เป็นความต่างกันเฉพาะบางแง่มุม  บาง
ด้าน เวลาคนสองคนขัดแย้งกันไม่ใช่ว่าเขาขัดแย้งกันทุกเรื่อง  เพราะ
ขัดแย้งในบางเรื่อง เขาอาจจะเห็นตรงกัน อยู่เก้าสิบห้าอย่าง แต่อาจ
จะเห็นต่างกันห้าอย่าง ก็ไม่ควรที่จะทะเลาะ มองกันเป็นศัตรู เราเห็น
ต่างกันแค่นั้นท�ำไมเราต้องเป็นศัตรูกับเขา เขาเองก็มีอะไรเหมือนกับ
เราเหมือนกับเขาพูดง่ายๆคือก�ำจัดความขัดแย้งความเห็นด้วยหรือ
ไม่เห็นด้วยในความคิดของเขาเป็นบางเรื่อง มันท�ำให้เราเป็นเพื่อนกับ
เขาได้ แม้ว่าจะเห็นไม่ตรงกัน”
11
12
“ประการที่สามคือ  มองว่าความขัดแย้งมันเป็นเรื่องชั่วคราว
ก่อนหน้านี้เราก็มีอะไรเหมือนกันตั้งหลายอย่าง  แต่วันนี้ขัดแย้ง
กัน  พรุ่งนี้เราอาจจะกลายเป็นเพื่อนร่วมทริป  ร่วมงานที่สอดคล้อง
กัน  เพราะฉะนั้นอย่าไปเอาเป็นเอาตายกับความขัดแย้ง   เพราะว่า
คนที่เคยท�ำสงครามกัน  อย่างอเมริกากับเวียดนาม  สามสิบปีก่อน
รบกันจะเป็นจะตาย  แต่ตอนนี้กอดคอท�ำการค้าไปแล้ว  หลายคนที่
ขึ้นเวทีพันธมิตรก็เคยจับปืนไล่ล่ากัน  คนหนึ่งเป็นทหาร  คนหนึ่งเป็น
คอมมิวนิสต์ มองให้มันเป็นของชั่วคราว   อย่าไปยึดมั่นถือมั่นกับมัน
มาก  ถ้าเรามองแบบนี้เราจะปล่อยวางได้มากขึ้น เราจะไม่รู้สึกว่ามัน
เป็นเรื่องคอขาดบาดตาย  ขัดแย้งกันด้วยความคิดก็โต้เถียงกัน  แต่
ก็ยังรักกัน ไม่รู้สึกว่าจะเป็นจะตาย ถ้าเราท�ำแบบนี้ เราก็จะไม่ทุกข์
กับความขัดแย้ง  เราก็เห็นเพียงว่าเป็นสิ่งแปลกเข้ามาในชีวิต  แต่ไม่
ได้แปลว่าเราไม่เป็นตัวของตัวเองนะ เราเห็นต่างเราก็พูด ไม่ใช่ว่า
เออออกับเธอนะ ไม่กล้าขัดแย้งกับใคร ไม่ใช่แบบนั้น ความขัดแย้ง
มันสามารถอยู่บนตัวของตัวเองได้ แต่เราต้องไม่ทุกข์ อาตมาคิดว่า
ชีวิตคนเรามันมีหลายแง่มุม  ส่วนที่ขัดแย้งกับใครก็ขัดแย้งบางเรื่อง
เราก็อย่าหมกมุ่นกับมัน เช่นมีความขัดแย้งเรื่องการเมือง ถ้าเราไม่
เปิดโทรทัศน์ ไม่ดูเฟซบุ๊ก เราไม่เดือดร้อนอะไร เมื่อเราต้องท�ำงานเรา
ก็ท�ำงานของเราไป มีเวลาว่างก็เปิดทีวี ต้องรู้จักจ�ำกัดการรับรู้ อย่า
ไปหมกมุ่นกับมันจนกระทั่งไม่เป็นอันท�ำงาน อาตมาคิดว่าถ้าเราอยู่
กับปัจจุบัน เราก็ท�ำงานของเราให้ดี เราจะพบกับความขัดแย้งน้อย
ลง ไม่ใช่ไม่รับรู้นะ แต่เรารับรู้เมื่อถึงเวลา แล้วเราก็ใส่ใจในฐานะที่เรา
เป็นคนไทย ใส่ใจแต่ไม่ใช่หมกมุ่น ไม่ท�ำให้มันท�ำร้ายจิตใจ จนท�ำร้าย
ตัวเอง”
13
ความรักที่ท�ำให้เกิดทุกข์
ไม่ใช่ความรักที่แท้จริง ความรักใน
ทางพุทธศาสนา คือความรักที่เรียก
ว่าเมตตา
“รักมันท�ำให้เกิดทุกข์  คือ
รักที่หมายถึงการยึดมั่นถือมั่น  เพื่อ
สนองตัวเอง  รักเขาเพื่อต้องการให้
เขามาปรนเปรอ หรือเรารักเขาที่เขา
สามารถให้ความสุขความสบายกับ
เราได้  เพราะฉะนั้นเราก็เลยอยาก
ให้เขาเป็นแบบที่เราคิด  มันท�ำให้เกิดทุกข์  มันท�ำให้เกิดการท�ำร้าย
กัน แบบนี้ไม่ได้เป็นความรัก เพราะความรักในทางพุทธศาสนา คือมี
ความรักที่เรียกว่าเมตตา ความรักที่เป็นการยึดมั่นถือมั่นเพื่อสนองตัว
ตนของเรา เราเรียกว่าเสน่หาหรือราคะ  ความรักแบบนี้ท�ำให้เกิดทุกข์
ทั้งผู้ถูกรักและผู้รัก  แต่ว่ามันก็ให้ความสุขในชั่วระยะเวลาหนึ่ง  คือ
ในช่วงเวลาที่ทั้งสองคนเออออห่อหมกกัน แต่พอขัดแย้งกันก็เริ่มทุกข์
แล้ว หรือว่าตายจากกันก็ยิ่งทุกข์ใหญ่ แต่ความรักที่เรียกว่าเมตตา
ปรารถนาดีโดยที่ไม่ต้องการอะไรจากเขา  มีให้แต่ความปรารถนาดี
อาตมาเชื่อว่าทุกวันนี้ที่โลกอยู่ได้เพราะมีความรักแบบนี้มาเจือปน
บางทีก็ไปผสมอยู่กับความรักประเภทแรก  คนเราบางทีก็ไม่ได้มีแต่
เสน่หาอย่างเดียว  มันมีเมตตาเข้าไปด้วย  เช่นความรักระหว่างสามี
ภรรยา พ่อแม่ลูก เพื่อน มันมีเมตตาเข้าไปผสม มากบ้างน้อยบ้าง ตรง
นี้ต่างหาก ที่ท�ำให้โลกอยู่ได้ เพราะมันท�ำให้เกิดการเอื้อเฟื้อเกื้อกูล
14
กันอย่างแท้จริง  ถ้าขาดเมตตาธรรมนี่โลกอยู่ไม่ได้เลย  เพราะ
พระพุทธเจ้าบอกว่าเมตตาธรรมค�้ำจุนโลก คือถ้าไม่มีเมตตา โลก
มันคงพินาศไปแล้ว ทุกศาสนาก็เน้นชูประเด็นความรักแบบนี้  คือ
ความรักที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว  ที่ฝรั่งเรียกว่าความรักแบบ
ไม่มีเงื่อนไข แต่ว่าตราบใดที่เราปฏิเสธความรักแบบประเภทแรก
ไม่ได้ ก็ควรพัฒนาให้มีความรักแบบที่สองเข้ามาเจือปน เข้ามาเป็น
ตัวน�ำ จะช่วยท�ำให้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข”
ปัญญาทางวิทยาศาสตร์และปัญญาทางธรรมนั้นจ�ำเป็นที่
จะต้องอยู่คู่กันไป
“วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของความรู้  ไม่ใช่เป็นเรื่องของ
คุณค่า  วิทยาศาสตร์ยากที่จะบอกว่าอะไรดีไม่ดี  แต่วิทยาศาสตร์
บอกอะไร  ท�ำไม  อย่างไร  แต่ว่าดีหรือไม่ดีเป็นเรื่องของจริยธรรม
เป็นเรื่องของฝ่ายศาสนา  แต่ศาสนาบางทีก็ตัดสินผิด  นี่คือเรื่องที่
หนึ่ง วิทยาศาสตร์คือเรื่องของความรู้ แต่ไม่ใช่เรื่องคุณค่า
“สองมันคือเรื่องของการพัฒนาสมองแต่ไม่ใช่เรื่องของ
การพัฒนาจิตใจ  เรื่องของการพัฒนาจิตใจเป็นเรื่องของคุณธรรม
เป็นเรื่องของการปฏิบัติธรรม  เรื่องของการท�ำความดี  มันนอก
ขอบข่ายของวิทยาศาสตร์  บางทีก็ใช้วิทยาศาสตร์ในการท�ำลาย
อย่างเช่นฮิตเลอร์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีรมแก๊สชาวยิวตาย
ไปหกล้านคน  เราใช้วิทยาศาสตร์เพื่อสร้างระเบิดนิวเคลียร์  เพื่อ
สร้างเทคโนโลยีท�ำลายสิ่งแวดล้อม  วิทยาศาสตร์มันมีขอบเขต
จ�ำกัดแต่ส�ำคัญต้องพัฒนาจิตใจ  ถ้าถามว่าวิทยาศาสตร์อย่าง
เดียวพอไหม  บอกเลยว่าไม่พอ  ไอน์สไตน์พูดว่ามนุษย์เราต้องการ
15
ทั้งวิทยาศาสตร์และศาสนา  ต้องมีสองอย่างคู่กัน  มีศาสนาไม่มี
วิทยาศาสตร์ก็ไม่ได้ ศาสนาจะพาไปงมงาย  ถ้ามีวิทยาศาสตร์แต่ขาด
ศาสนา  คนก็อาจจะท�ำร้ายด้วยการพัฒนาเทคโนโลยี  คนเราทุกวันนี้
เอาเข้าจริงๆ นักวิทยาศาสตร์ที่เจริญคือเจริญในรูปของเทคโนโลยี แต่
ความคิดแบบวิทยาศาสตร์มันไม่ได้ซึมไปถึงจิตใจผู้คน  บางทีถึงจะ
เจริญ  แต่คนก็ยังงมงาย ไสยศาสตร์ก็ยังเฟื่องฟู เพราะว่าเราไม่ได้คิด
แบบวิทยาศาสตร์ เราเชื่อง่าย มีข่าวลืออะไรก็เชื่อ โดยที่ไม่ตั้งค�ำถาม
มีวัวหกขา ก็ไปกราบไหว้ โดยที่ไม่ได้มองว่ามันก็เป็นเรื่องผิดปกติทาง
ธรรมชาติเท่านั้นเอง แล้วตอนนี้ก็ลือกันใหญ่ว่าจะเกิดภัยพิบัติ แล้ว
คนที่ลือก็โหราศาสตร์ นักพยากรณ์ก็มีส่วน ก็ไม่ได้ใช้ความคิดทาง
วิทยาศาสตร์มาพูด มาคิด พูดแล้วน่าเชื่อถือไหม เพราะฉะนั้นท�ำให้
คนแตกตื่น คนก็ยังงมงายต่อไป คนก็ยังเห็นแก่ตัวต่อไป คนก็ยังเอา
รัดเอาเปรียบกันต่อไป มันก็เลยเกิดความวุ่นวาย”
คนเก่งกับคนดี สามารถอยู่คู่กันในคนคนเดียวได้
“ในทางพระพุทธศาสนาพูดถึงปัจจัยหลักๆ  ที่ท�ำให้คนเป็น
คนเก่งและคนดี  หนึ่ง  ปัจจัยภายนอกคือกัลยาณมิตร  รวมถึงสิ่ง
แวดล้อม สื่อมวลชน หนังสือ ครูบาอาจารย์ พ่อแม่ เข้าใจง่ายๆ คือ
กัลยาณมิตร อันที่สองคือปัจจัยภายใน โยนิโสมนสิการ คือว่าคิดเก่ง
ฉลาดคิด คิดถูก คิดเป็น คิดชอบ พูดง่ายๆ คือฉลาดคิด ตรงนี้มันจะ
ท�ำให้เกิดปัญญา  เก่งในทางโยนิโสมนสิการ  จะท�ำให้รู้จักคิด  คน
เราจะเก่งได้ต้องรู้จักคิด  ไม่ใช่แค่มีข้อมูลเยอะ  ข้อมูลเยอะไม่ส�ำคัญ
แม้ว่าคุณมีข้อมูลน้อยแต่ถ้าคุณรู้จักคิดคุณก็จะสามารถฉลาดได้
เพราะฉะนั้นตรงนี้ต้องท�ำให้เกิดกัลยาณมิตรและโยนิโสมนสิการ
มันย้อนกลับไปที่อาตมาพูด  คือมันอยู่ที่การเลี้ยงดู  การศึกษา  ซึ่ง
16
เป็นการศึกษาที่ท�ำให้คนฉลาดคิด แล้วก็คิดเป็น ท�ำให้เขารู้ว่าความ
จริงแล้วคนเราถ้าอยากมีความสุขต้องท�ำความดี  ต้องเอื้อเฟื้อเกื้อกูล  
ไม่เห็นแก่ตัว เก่งกับดีเกิดขึ้นได้ ถ้ามีสองปัจจัยนี้”
ให้คิดถึงผู้อื่นมากกว่าตัวเอง  แล้ว
หมั่นมองตน  ให้รักตัวเองอย่างแท้จริง  ให้
รู้จักตัวเอง  สิ่งนี้จะช่วยท�ำให้เราอยู่ในโลก
นี้ได้อย่างมีความสุข  พบกับความสงบเย็น
ภายใน  แล้วก็อยู่กับผู้อื่นได้อย่างเกื้อกูล
เป็นทั้งคนดีและคนมีน�้ำใจ  แล้วก็มีความ
สุขในเวลาเดียวกัน
17
18
เรียนรู้ที่จะอยู่อย่างสุข
“ถ้าเราถอดถอนทิฐิ ไม่มี
สิ่งที่ถูกใจเราเป็นของเรา  ไม่มี
กายเรา  ไม่มีใจเรา  แต่มันเป็น
ธรรมชาติล้วนๆ ได้เมื่อไหร่ เราจะ
กลายเป็นคนที่อยู่ในโลกใบนี้  ที่
โลกนี้ไม่มีตัวเรา  มีแต่การกระท�ำ
มีแต่ความรู้สึก  เกิดดับฉับพลัน
อิสสรชนเช่นนี้จะพึ่งพาหัวใจตัว
เองได้”
แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต
ธรรมดาของความเปลี่ยนแปลงย่อมน�ำมาซึ่งความทุกข์  ยิ่ง
โลกหมุนเร็วมากเท่าไรคนก็ยิ่งทุกข์  โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ที่ผู้คน
ไม่มีเวลาแม้กระทั่งหยุดทบทวนตัวเอง หลายคนเลือกที่จะเสพสุขโดย
แลกมาจากผลตอบแทนของการท�ำงาน โดยไม่รู้ทางออกของการแก้
ความทุกข์คืออะไร ‘แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต’ คือมนุษย์คนหนึ่งที่ใน
อดีตก็เคยมีทุกข์ แต่เพราะธรรมะขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ท�ำให้
ปัจจุบันนี้ท่านได้กลายเป็นผู้ชี้ทางออกแห่งทุกข์แก่ผู้คนในสังคม
เมือง ผ่านสถานที่ที่สงบร่มเย็นอย่างเสถียรธรรมสถาน หนุ่มสาว
สมัยใหม่ชอบมีค�ำถามว่า ท�ำอย่างไรจะสุขใจได้ในสังคมปัจจุบัน บท
19
สัมภาษณ์ต่อไปนี้มีข้อคิดดีๆ จากแม่ชีศันสนีย์  เพื่อให้ทุกคนในสังคม
และคนรุ่นใหม่สามารถเรียนรู้ที่จะมีความสุขได้จากภายในใจของ
ตนเอง
ธรรมะสร้างเสถียรธรรมสถาน
“เสถียรธรรมสถานไม่ได้เกิดขึ้นมาจากเงินหรือความต้องการ
จะท�ำอะไร  แต่มันเกิดมาจากความกตัญญูจากพระธรรม  เพราะ
ธรรมะมันสามารถเปลี่ยนชีวิตของเราได้ และที่ส�ำคัญคือเราสามารถ
พ้นทุกข์ได้ด้วยธรรม  เพราะฉะนั้นมันเป็นความกตัญญูที่เราอยากจะ
เสนอออกมาเป็นผู้รับใช้  ที่จะใช้ธรรมะเป็นเครื่องมือที่จะท�ำให้เรารู้
เท่าทันชีวิตและปัจจุบันขณะของเรา ธรรมะเป็นหยดน�้ำเล็กๆ ที่ท�ำให้
ชีวิตงอกงามได้”
ต้องรู้จักและเข้าใจค�ำว่าทุกข์
“ถ้าเราได้กลิ่นของดอกไม้  เราจะเห็นการท�ำงานของจมูก
และกลิ่นที่มากระทบกัน จมูกเป็นอายตนะภายใน กลิ่นเป็นอายตนะ
ภายนอก เวลาที่เราหอมเราก็จะรู้สึกเพลิดเพลิน แต่เวลาที่เราเหม็น
เราก็รู้สึกไม่เหมือนกัน  เวลาที่เรารู้สึกอึดอัดกับสิ่งที่ไม่เป็นอย่างที่ใจ
เราอยากให้เป็น  ถ้าเราไม่ตีอกร�่ำไห้อยู่กับสิ่งที่เป็นดั่งใจเรา  เรารู้ว่า
ทั้งหอมและเหม็นเป็นความชอบชังที่เกิดดับอย่างฉับพลันเท่านั้น   ใจ
ของเราจะเรียนรู้ต่อไปได้กับทุกเรื่อง  ในกระบวนการของการจัดการ
ที่ดี  ปัญญาเป็นกระบวนการของการจัดการการเรียนรู้อย่างมีสติ  เฝ้า
สังเกตและเรียนรู้ว่าทั้งชอบทั้งชังหรือสุขทุกข์มันเป็นแค่ปรากฏการณ์
เพียงชั่วครู่ อย่ายึดถือไว้ว่าเป็นเรา ถ้าเราถอดถอนทิฐิ ไม่มีสิ่งที่ถูกใจ
เราเป็นของเรา ไม่มีกายเรา ไม่มีใจเรา แต่มันเป็นธรรมชาติล้วนๆ ได้
เมื่อไร เราจะกลายเป็นคนที่อยู่ในโลก ที่โลกนี้ไม่มีตัวเรา มีแต่การ
20
กระท�ำ มีแต่ความรู้สึก เกิดดับฉับพลัน อิสรชนเช่นนี้จะพึ่งพาหัวใจตัว
เองได้”
คนปัจจุบันเบื่อง่าย ไม่ชอบอะไรจ�ำเจ แต่เราสามารถจัดการ
มันได้
“เราต้องรู้ว่าความเบื่อมาจากไหน  เบื่อมาจากความคิดปรุง
แต่ง  เวลาที่เราคิดอะไรแล้วไม่ร่าเริงไม่เบิกบาน  ความเบื่อเกิดจาก
ความคิดที่ไม่รู้เท่าทันความเป็นจริง  เราอาจจะแก้ความเบื่อด้วยการ
ถ่ายพลังของตัวเอง  การออกก�ำลังกาย  การรู้จักรับประทานอาหาร
และการพักผ่อนที่ดี จะท�ำให้เรามีทุนของชีวิตในฝ่ายของกายภาวนา
เข้มแข็งขึ้น  และจิตของเราก็จะมีสติอารักขาจิตได้ทุกลมหายใจ
ความเบื่อเป็นแบบฝึกหัดที่ท�ำให้เรารู้ว่า  เราต้องเผชิญกับสิ่งที่เราจะ
คิดครั้งใหม่ที่คมกว่าเก่า ถ้าเรารู้ว่าคิดอย่างนี้ผลเป็นอย่างนี้ และคิด
อย่างไรผลมันถึงจะเปลี่ยน การเข้าไปเห็นถึงลู่ทางของการเกิดขึ้นของ
ความเบื่อเป็นปัญญาอย่างหนึ่ง ถ้าเราคิดอะไรซ�้ำๆ ถอนหายใจลึกๆ
เราก็ยังไม่สดชื่น  ให้เราถ่ายพลังสักหน่อยก็ได้ เช่น  ออกไปท�ำอะไรให้
กระฉับกระเฉงขึ้นแล้วกลับมาคิดด้วยจิตที่รู้เท่าทันความคิดมากขึ้น
ถ้ารู้คิดไม่หลงคิด ความเบื่อก็เป็นเรื่องที่สามารถแก้ได้ง่ายๆ”
สุขจากวัตถุนิยม สุขจริงหรือไม่
“นี่เป็นธรรมชาติหนึ่งของคนที่อยู่ในวัฒนธรรมบริโภคนิยม
อย่าไปมองว่ามันดีหรือไม่ดี  แต่ถ้าเราบริโภคนิยมจนเราขาดอิสรภาพ
เรากลายเป็นมนุษย์ที่ต้องเสพก่อนจึงจะสุข  ที่เสถียรธรรมสถาน การ
ท�ำงานคือความสุข  เป็นความสุขเมื่อสร้าง  ไม่ใช่สุขเมื่อเสพ  ในขณะ
ที่เราสร้างงาน  เราจะพบว่าความสุขในปัจจุบันขณะท�ำให้เราถึงเป้า
21
หมาย แต่การที่เรารอว่าเสร็จจึงสุขมันก็เหมือนเราท�ำงานในขณะตก
นรก  ท�ำงานไปบ่นไป  ตกนรกไป  แต่กว่าจะได้ชื่นชมความส�ำเร็จก็
เครียดแล้ว  มันก็เป็นธรรมชาติของคนรุ่นใหม่ที่ใจของเขาเปราะบาง
เพราะเขารอว่าซื้อเสพจึงสุข   แต่ไม่ได้สุขเมื่อสร้าง  เขาไม่ได้สุขง่าย
จากการใช้น้อย เขาทุกข์ง่ายถ้าใช้น้อย แล้วก็คิดว่าสุขมากจากการใช้
มาก เพราะฉะนั้นต้องเห็นใจ แล้วก็ยังคงต้องท�ำงานต่อไป แต่เราควร
จะรู้ว่าไม่ว่าโลกจะเป็นอย่างไรใจต้องไม่ทุกข์”
จัดการอารมณ์สุขได้ในแต่ละวัน ด้วยลมหายใจ
“เมื่อเราฝึกเจริญสติอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก  เราจะเรียก
รวมๆ ว่าเราเล่นเกมลมหายใจ มีลมหายใจแห่งสติ มีสติอารักขาจิต
แต่ละวัน เราจะเห็นว่าการเดินทางของชีวิตเวลาที่มีโลกมากระทบ
เราจะรู้ถึงสิ่งที่มากระทบ เราจะรู้ทัน ใจตื่น เราจะเห็นเพียงแค่ว่าโลก
เป็นแค่ปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่ง อารมณ์เป็นสิ่งที่มาแล้วไป
ในหัวใจของเราไม่สามารถจะจมเจ่าอยู่กับอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด
เพราะว่าจิตอารักขาเราอยู่เสมอ เวลาที่เรารู้เท่าทันอารมณ์ และไม่
หลงอารมณ์  เราจะเห็นว่าโลกเป็นเพียงโลกธรรม  มีได้ลาภเสื่อมลาภ
มียศเสื่อมยศ  มีสรรเสริญมีนินทา  ปรากฏของสภาวะธรรมใดสภาวะ
ธรรมหนึ่งมาเพียงแค่เห็นเท่านั้น   ไม่ใช่ให้เราไปคลุกคลี เราจะเห็นว่า
เราจะอิสระ อยู่กับโลกที่มากระทบรู้ทัน  ใจตื่น แล้วถ้าเราเจริญอานา-
ปานัสสติอยู่เรื่อยๆ เราจะเห็นว่านิพพานชิมลองนั้น เป็นเรื่องที่ทุกคน
สามารถจะสัมผัสได้ด้วยตนเอง”
21
22
จริงหรือไม่  ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์
“รักให้เป็นก็จะไม่เป็นทุกข์  เราต้องภาวนากับความรักของ
เรา  ให้รักของเราได้รับการพัฒนาสติปัญญา  เพื่อจะท�ำให้เรารักอย่าง
ไม่มีเงื่อนไข  ถ้ารักอย่างยึดติดมันก็จะน�ำมาซึ่งความยึดมั่นถือมั่น  อัน
นี้ไม่ใช่รัก  เขาเรียกว่าหลง และคนหนุ่มสาวมักเข้าใจผิดว่าความรัก
นั้นจะน�ำไปสู่เซ็กซ์ ที่จริงเซ็กซ์กับความรักมาจากใจเหมือนกัน แต่
ความหลงที่มีอิทธิพลจะน�ำไปสู่ความใคร่  กับสติปัญญาและความ
เข้าใจซึ่งจะเป็นพื้นฐานของความรัก  มันจะท�ำให้รักเป็นทุกข์หรือหลง
เป็นทุกข์ ความรักเป็นของสวยงาม ถ้าเราเข้าใจที่จะรัก ถ้าเราเริ่ม
ต้นความรักด้วยการขาดสติปัญญาเราจะพบว่าความรักนั้นจะน�ำพา
ความเจ็บปวดมาสู่เรา เวลาที่เรารักเราต้องฝึกฝนที่จะเข้าใจคนที่เรา
รัก แต่ถ้าเราปรารถนาจะให้คนรักท�ำอะไรอย่างที่ใจเราต้องการ  เราก็
อาจจะทุกข์ก็ได้  แต่ถ้าเผื่อเรามีโอกาสที่จะพัฒนาสติปัญญาของเรา
23
แล้วก็เข้าใจคนที่เรารักอย่างลึกซึ้ง   และถ้าเรามองคนที่เรารักอย่าง
ลึกซึ้ง  เราจะเข้าใจว่าท�ำไมเขาถึงเป็นอย่างนั้น  เวลาเราฝึกมองคน
อย่างนี้  เราจะรู้ว่าความกรุณาของเราที่ออกไปนั้นเป็นมิติที่เป็นผล
พวงของความรัก การที่เราให้โอกาสคนที่เรารักได้มีโอกาสปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมอย่างที่เขารู้ว่าเราให้โอกาสเขาเสมอ เป็นหนทางที่ดีที่ท�ำให้
ความรักของเรายั่งยืน อย่าคิดที่จะรักแค่เพียงรักแล้วท�ำให้คนที่เรารัก
เป็นดั่งใจเรา แต่ขอแค่ให้เรามีความสุขที่ได้รัก และพัฒนาชีวิตที่จะ
รักอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าคนที่เรารักจะท�ำผิดพลาด แต่สิ่งที่ท�ำผิดพลาด
นั้นก็จะท�ำให้เรามองหาทางออกที่จะพัฒนาความรักของเราด้วย จง
พัฒนาสติปัญญาของเราเพื่อรัก  และจงมีความสุขที่ได้รัก”
ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้จากธรรมชาติ
“ธรรมชาติสอนให้เราเห็นความไม่เที่ยงอยู่ตลอดเวลา เพราะ
มีดอกไม้บาน มีดอกไม้ร่วง   มันจะเป็นความสวยงามของธรรมชาติที่
เราสัมผัสได้ แต่ถ้าไม่มีความเปลี่ยนแปลง เราก็อาจจะไม่เห็นความ
เปลี่ยนแปลงที่สวยงามของธรรมชาติ  เพราะการเปลี่ยนแปลงมัน
เป็นสิ่งที่ธรรมชาติสอนให้เรารู้ว่า  เราควรแกะโซ่ตรวนแห่งความยึด
มั่นถือมั่นในทุกๆ การกระท�ำของเราและทุกสิ่งที่เรายึดถืออยู่ และถ้า
เราเห็นว่าสิ่งที่เรายึดถือและเชื่อถืออยู่เป็นเหตุแห่งทุกข์  เราก็ควรจะ
ออกมา การฝึกหายใจอย่างมีสติจะท�ำให้เราเห็นว่า  การมองสิ่งเหล่า
นี้เป็นเรื่องที่เราหลีกออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติมากขึ้น จะไม่ผ่าน
กระบวนการคิด  แต่จะเป็นการพิจารณาให้เห็นในความเป็นจริงว่า
สิ่งต่างๆ  ไม่เที่ยง ทนอยู่ได้ยากแล้วก็จะจบลง ธรรมชาติรอบตัวเรา
ก�ำลังสอนให้เห็นถึงความจริงเหล่านั้น แล้วเราจะกลับเข้าสู่ธรรมชาติ
ภายในตนของเรา และเราจะเห็นว่าสภาวะจิตภายในตนของเราก็ไม่
24
เที่ยงเช่นกัน ถ้าเราข้ามไปถึงภาวะผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานได้ เราจะเห็นว่า
ทุกการกระท�ำนั้นเป็นปรากฏการณ์พิเศษที่ท�ำให้เราละ  ท�ำให้เราจาง
คลายจากความยึดมั่นได้ เมื่อเราจางคลายจากความยึดมั่นถือมั่นได้
เราจะพบอิสระที่แท้จริงของชีวิต”
“เพราะชีวิตคือการเดินทาง”
25
ถ้าเราเปรียบชีวิตคือการเดินทาง  การ
จราจรของชีวิตที่จะท�ำให้เราเดินทางปลอดภัย
ก็ต้องอาศัยวินัย  และวินัยของชีวิตก็เปรียบ
เหมือนสติ  ถ้าสติอารักขาใจเราก็สามารถจะ
ไปถึงฝั่งฝันที่เราต้องการ  ถ้าเราสร้างวินัยคือ
การเคยชินที่ดีงามให้เกิดขึ้น  เราจะรู้ว่าการเดิน
ทางของเราจะไม่หยุดและจะราบรื่น
26
ภิกษุณีธัมมนันทา
“ปัญญาทางธรรมตัวนี้
จะต้องน�ำเราไปสู่ความสุข  แต่
ต้องเป็นความสุขที่แท้จริงนะ
ไม่ใช่ความสุขจอมปลอม”
เรียนรู้ปัญญาทางโลก
และทางธรรมเพื่อน�ำชีวิต
จะมีสักกี่คนที่คิดว่าการประสบความส�ำเร็จสูงสุดในชีวิต
ทางโลกนั้น  ไม่ใช่จุดสูงสุดของชีวิต แต่หญิงผู้มีปัญญาทางโลกระดับ
ด็อกเตอร์อย่าง  รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์  กบิลสิงห์  อดีตอาจารย์ประจ�ำ
ภาควิชาปรัชญาและศาสนา  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  หรือปัจจุบัน 
ท่านคือภิกษุณีธัมมนันทา  หรือ ‘หลวงแม่’  กลับมองเห็นถึงความ
ส�ำคัญของปัญญาทางธรรมมากกว่า เพราะนั่นคือทางออกในการแก้
ปัญหาของชีวิต หลวงแม่มองว่า ปัญญาทางโลกเพียงอย่างเดียวนั้น
บางครั้งก็ไม่สามารถแก้ปัญหาในชีวิตได้ ในชีวิตคนเรามันควรจะมีทั้ง
ปัญญาทางโลกและทางธรรมประกอบกัน
27
“เราต้องรู้จักสองสิ่งนี้ก่อน  ปัญญาทางโลกก็คือ  ท�ำอย่างไร
ให้รวยมากขึ้น ท�ำอย่างไรให้มีชื่อเสียงมากขึ้น อาจเป็นด้วยวิธีการที่
ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องก็ตาม สิ่งที่เรียกว่าปัญญาทางโลกจะสนับสนุน
ให้เราไปสู่จุดนั้น ค้าขายเก่ง อาจค้าขายมาผ่านขบวนการการคดโกง
ก็ได้  คดโกงเก่ง คนโกงเนียนมาก คนจับไม่ได้นี่เป็นปัญญาทางโลก”
“พอเป็นปัญญาทางธรรมแล้ว  ปัญญาทางธรรมตัวนี้จะต้อง
น�ำเราไปสู่ความสุข แต่ต้องเป็นความสุขที่แท้จริงนะ ไม่ใช่ความสุข
จอมปลอม  น�ำเราไปสู่การละคลายซึ่งความทุกข์  การละคลายซึ่ง
ความทุกข์ ฐานของความทุกข์ แก่นของความทุกข์ คือการยึดมั่นถือ
มั่นในตัวตน”
“เพราะฉะนั้นปัญญาในทางโลกทางธรรมมันจะมาเพื่อจุด
ประสงค์ต่างกัน ปัญญาทางโลกจะไปในแนวครอบครอง ‘To Have’
ในขณะที่ปัญญาทางธรรมจะเป็นไปในแนว ‘To Be’ ใช้ค�ำว่าปัญญา
เหมือนกัน แต่ถ้าเป็นทางโลกกับทางธรรม จะมีเป้าหมายต่างกัน”
หลวงแม่บอกว่า  แม้เราจะมีปัญญาทางโลกมากแค่ไหน
ก็ตาม  แต่ไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันว่าเราจะสามารถเข้าใจถึงปัญญา
ทางธรรมที่แก้ไขความทุกข์ได้มากกว่าคนอื่น
28
“ไม่มีการันตีเลยว่าคนมีปัญญาทางโลกมากจะเข้าถึงธรรม
ได้ง่ายกว่าคนอื่น  เผลอๆ คนที่มีปัญญาทางโลกอาจมีอุปสรรคต่อ
การเข้าหาปัญญาทางธรรม  เพราะว่าถ้าหากว่าเขาใช้ปัญญาในเรื่อง
การกินการเสพมาก  การที่เขามีการกินมาก  เสพมาก  ใช้มาก  คดโกง
มาก  อาจเป็นอุปสรรคต่อการที่จะมองเห็นปัญญาทางธรรม  หรือใน
ทางกลับกัน เมื่อเขาเสพเต็มที่แล้ว เขาอาจเห็นว่า ที่สุดแล้วมันไม่ได้
มีอะไร ชีวิตเรามันแสวงหามากกว่านั้น ชีวิตเราแสวงหาสิ่งที่ไปให้พ้น
จากการยึดมั่นถือมั่นในตัวตน  อาจเป็นจุด starting point ให้เขาได้”
เพราะฉะนั้นคนที่มีปัญญาทางโลกมากหรือคนเก่งต้องมี
ความดีประกอบกันด้วย
“เก่งและต้องดีไง  มันต้องทั้งเก่งและทั้งดี  แต่แม้กระทั่งค�ำ
ว่าดี มันก็ต้องมาให้ค�ำนิยามว่าในค�ำว่าดี เราตั้งใจจะหมายความว่า
อย่างไร ดีระดับโลก หรือดีทางธรรม”
ดีระดับโลกคือเป็นด็อกเตอร์ดีแล้ว  ดร.ฉัตรสุมาลย์  ดีแล้ว
แต่ ดร.ฉัตรสุมาลย์อาจเต็มไปด้วยความทุกข์  เพราะไม่ได้เข้าถึง
ปัญญาทางธรรม  แต่พอเราได้เข้ามาปฏิบัติธรรม  ได้เข้ามาลิ้มรส
เพียงลิ้มรสนะ  ยังไม่ได้บรรลุธรรมอะไรนะ  เพียงเข้ามาลิ้มรสธรรมะ
ของพระพุทธเจ้า  รู้แล้วว่าหนทางนี้เป็นหนทางที่จะท�ำให้ชีวิตของ
เรามีความหมายมากขึ้น ชีวิตของเราทิ้งจากตัวตนเล็กๆ ไปสู่ตัวตน
ใหญ่ เราไม่ท�ำเฉพาะตัวเราแล้ว  แต่เราจะท�ำเพื่อสังคม เราจะท�ำเพื่อ
ประเทศชาติบ้านเมือง  เราจะท�ำเพื่อศาสนา  เราจะท�ำเพื่อสถาบัน
กษัตริย์  อย่างนี้เป็นต้น ทิ้งจากตัวตนเล็ก soul เอสตัวเล็กนะ ไปสู่
Soul เอสตัวใหญ่”
29
หลวงแม่ให้ความกระจ่างว่า  การที่เราจะเข้าถึงธรรมนั้นไม่
จ�ำเป็นจะต้องละทิ้งทางโลกเลยทีเดียว  เพราะทุกคนต้องการความสุข
เหมือนกัน อยู่ที่ว่าจะประยุกต์ใช้อย่างไร และต้องตัดความยึดติดให้
ได้
“จริงๆ  แล้วความสุขที่ยั่งยืนเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ  ไม่ว่า
ตัวน้อยๆ ก็ต้องการ วัยรุ่นก็ต้องการ คนแก่ก็ต้องการ แต่หากว่าเราจับ
ยึดให้ชัดเจนแล้ว เราจะข้ามพ้นการยึดติดในตัวบุคคล ติดคนโน้นติด
คนนี้ ติดพี่คนนั้นคนนี้ ทั้งหมดนี่มันจะผ่านไป แล้วท้ายที่สุดถ้าไม่มีพี่
พี่เหล่านั้นตาย เราต้องตายด้วยไหม”
“เรารักคนนี้  เรายึดติดเขามากเลย   แล้วเขาก็ผ่านไป  ลูก
จะทุกข์มาก  กินไม่ได้นอนไม่หลับ  แต่หลวงแม่จะรู้ว่า   อ๋อ...มันเป็น
เช่นนั้นเอง เข้ามาแล้วก็ผ่านไป ดูลมหายใจของตัวเอง มีลมหายใจ
เข้าและลมหายใจออก  ไม่สามารถจะอยู่ได้ด้วยลมหายใจออกอย่าง
เดียว ไม่สามารถจะอยู่ได้โดยลมหายใจเข้าอย่างเดียว มันอิงอาศัย
กัน ลักษณะอะไรก็ตามที่มันอิงอาศัยกัน เราเอาแน่กับมันไม่ได้ นี่คือ
ธรรมะใช่ไหม  ถ้าจับตรงนี้ไม่ได้ก็ทุกข์เยอะนะ  วิ่งไปตามจับเงา  จับ
อย่างไรก็ไม่ติดหรอก”
“ในท้ายที่สุดแล้วเราก็พบว่าสาระของชีวิตมันต้องก้าวพ้น
บุคคล ก ข ค ก้าวพ้นไปสู่สิ่งที่เป็นคุณธรรมที่อยู่เหนือตัวเรา แล้วเรา
เข้าสู่หนทางนั้น   ด�ำเนินชีวิตของเราเข้าสู่หนทางนั้นที่เป็นหนทางอัน
เกษม ศาสนาพุทธบอกว่าเป็นหนทางอันเกษม”
30
ในสังคมทางโลก  หลวงแม่
บอกว่าเราสามารถเรียนรู้ธรรมจาก
คนทุกประเภทแล้วน�ำมาปรับใช้กับ
ชีวิต ไม่จ�ำเป็นที่จะต้องเรียนรู้จากคน
ดีเพียงอย่างเดียว
“คนเราทุกคน  ไม่ว่าคนดีคน
เลว  มีสิ่งที่ให้เราเรียนรู้  ขงจื๊อบอกว่า
ถ้ามีคนสองคนนั่งอยู่ข้างหน้าเรา  เขา
ทั้งสองคนเป็นครูเรา คนนี้เขาเก่งเหลือ
เกิน เราต้องเรียนรู้ที่จะเก่งเท่าเขา คน
นี้ไม่เอาไหนเลย  เราต้องเรียนรู้ที่จะ
ไม่เป็นอย่างเขา  เพราะฉะนั้นใครที่อยู่
ข้างหน้าเรา เราจับเป็นครูเราได้หมด”
ส�ำหรับวัยรุ่นและคนท�ำงาน ควรหยิบหลักธรรมข้อไหนไปใช้
ชีวิตจึงจะมีความสุข
“จริงๆ  แล้วศาสนาพุทธให้ธรรมะส�ำหรับชีวิตประจ�ำวัน
ศาสนาพุทธไม่ได้เป็นปรัชญาลึกซึ้งที่จะอยู่ในบล็อกบล็อกหนึ่ง  ที่ไม่
ได้เกี่ยวเนื่องกับชีวิตเราเลย ตื่นเช้าขึ้นมาเวลาที่เราไปท�ำงานเจ้านาย
ก็อยากได้คนท�ำงานที่ร่าเริงแจ่มใส  โดยเฉพาะถ้าลูกเป็นพนักงาน
ขาย ถ้าพนักงานขายมีกลิ่นเหล้ากลิ่นบุหรี่โชยมา  หน้าตาหมองมัวนะ
จะดูจิตตกเลย”
31
“เพราะฉะนั้นธรรมะที่เราจะใช้ได้เลย  ตื่นขึ้นมาหลวงแม่
สอนลูกที่วัดว่า  ตื่นมาให้รู้สึกขอบคุณ  ลูกจะถามว่ารู้สึกขอบคุณอะไร  
ขอบคุณที่เรามีวันนี้ไง  ใช่ไหม  เรามักจะทึกทักเอาว่า  เราก็ตื่นทุก
วัน  จริงหรือที่ว่าเราจะต้องตื่นทุกวัน  มันมีนะคนที่เขาตายตอนกลาง
คืน แต่คงไม่ใช่เราหรอก เราจะพูดอย่างนั้น เข้าข้างตัวเองว่าไม่ใช่
เราหรอก  รู้ได้อย่างไรว่าจะไม่ใช่เรา  ขอให้ดีใจก่อนว่าตื่นขึ้นมานะ
ร่างกายเราพร้อม  บางคนตื่นขึ้นมาแต่เป็นอัมพาต   ไม่สามารถจะ
ฟังก์ชั่นได้ นิ้วมือนิ้วเท้าไม่สามารถจะฟังก์ชั่นได้ ตื่นขึ้นมาแล้ว...อ้อ
อวัยวะเรายังพร้อมมูลนะ  เราควรดีใจ  ดีใจว่าเรายังมีชีวิตอยู่อีกวัน
นึง”
“การปฏิบัติธรรมอย่าเอาหลายวัน  เอาวันนี้ก่อน  อย่าไป
สัญญากับพระเจ้าที่ไหนว่าจะปฏิบัติไปตลอดชีวิต  ชีวิตของลูกคือ
วันนี้จริงๆ เราจะตั้งใจนะ  ว่าใจของเราจะเป็นกุศล ใจ วาจา กายเป็น
กุศล นั่นก็คือพูดอะไรออกไปจากปากเราให้เป็นประโยชน์ต่อตัวเรา
เอง ต่อคนฟัง อะไรที่ไม่ดีจ�ำเป็นต้องพูดไหม ไม่ต้องพูดก็ได้ จ�ำเป็น
ต้องด่าไหม  พักเอาไว้ก่อนก็ได้  ถ้าเราคิดอย่างนี้แต่ละวัน  อย่าไป
คิดถึงธรรมะที่ลึกซึ้ง เอาแค่นี้ก่อนได้ไหม รักษาใจให้เป็นกุศลวาจาให้
สิ่งที่เราท�ำเป็นกุศล เป็นกุศลส�ำหรับตัวเราเอง เป็นกุศลส�ำหรับคนอื่น
แม่ก็ท�ำได้ ลูกวัยรุ่นก็ท�ำได้ เด็กตัวน้อยๆ ก็ท�ำได้”
32
“อีกค�ำถามหนึ่งที่คนชอบถามมากเลย  เด็กเล็กๆ จะสอน
ธรรมะอะไร  หลวงแม่บอกว่าไม่ต้องอะไรลึกซึ้ง  เอาแค่ให้เขารับผิด
ชอบตัวเอง  การรับผิดชอบตัวเองคือการเคารพตัวเองและเคารพผู้อื่น
พอเด็กอนุบาลเข้ามานั่งยื่นเท้าให้แม่ถอดรองเท้า ยื่นเท้าให้ยายถอด
รองเท้า ใช่ไหม เราต้องปลูกฝังตั้งแต่ตอนนี้เลย ลูกถอดรองเท้านะคะ
ลูกถอดรองเท้าให้แม่ด้วย อุ๊ย มือแม่ถือของอยู่ท�ำอย่างไรคะ แม่ยังถือ
ของอยู่แม่ยังถอดรองเท้าไม่ได้ หนูถอดรองเท้าให้แม่ได้ไหมคะ มันจะ
ท�ำให้เขารู้สึกว่าเราต้องการความช่วยเหลือจากเขานะ  เด็กจะท�ำเป็น
เด็กฉลาด แต่เรามักจะท�ำให้เขาหมด  เราไม่สอนขั้นพื้นฐานความรับ
ผิดชอบ เล็กๆ เขาก็ท�ำได้”
33
พอเป็นปัญญาทางธรรมแล้ว  ปัญญาทาง
ธรรมตัวนี้จะต้องน�ำเราไปสู่ความสุข  แต่ต้องเป็น
ความสุขที่แท้จริงนะ ไม่ใช่ความสุขจอมปลอม น�ำ
เราไปสู่การละคลายซึ่งความทุกข์ การละคลายซึ่ง
ความทุกข์ ฐานของความทุกข์ แก่นของความทุกข์
คือการยึดมั่นถือมั่นในตัวตน
34
รศ.ประภาภัทร นิยม	
ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนรุ่งอรุณ
“ถ้าเยาวชนแต่ละบุคคล
ได้พัฒนาตัวเองให้ดีที่สุดแล้ว 
โลกนี้ก็จะน่าอยู่มาก  ไม่ต้องมีใคร
มาคอยตามจับผู้ร้ายที่ไหน  ถ้า
ทุกคนเข้าใจอย่างนี้ได้โลกก็จะ
สันติสุข  เหมือนที่ท่านพุทธทาส
กล่าวไว้ว่า  เยาวชนคือสันติภาพ
ของโลก”
รศ.ประภาภัทร  นิยม  คืออดีตนักเรียนและครูที่สอนด้านงาน
สถาปัตยกรรมมาอย่างยาวนาน  เป็นสถาปนิกที่ได้รับการยอมรับ  จน
วันหนึ่งเมื่อมีจุดพลิกผันส�ำคัญในชีวิต  จากสถาปนิกแถวหน้าก็ได้ผัน
ตัวเองมาเป็นคนท�ำงานด้านศึกษาทางเลือก  มีเครือข่ายด้านการศึกษา
ทางเลือกที่กว้างขวางที่เน้นหลักการศึกษาเชิงบูรณาการ  จนก่อให้เกิด
โรงเรียนรุ่งอรุณที่ผู้เรียนกับผู้สอนเรียนรู้ไปพร้อมๆ  กัน  เพราะนอกจาก
นักเรียนแล้ว  ครูก็มีส่วนส�ำคัญในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ให้กับเด็ก
และนั่นจึงเป็นที่มาของโครงการจะเปิดการศึกษาระดับปริญญาตรีที่
เรียกว่า อาศรมศิลป์ ที่จะสอนการเรียนรู้ที่ไม่ได้อยู่แค่กรอบการศึกษา
เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการเรียนแบบครบวงจร รู้ลึก และได้ประโยชน์
จากการเรียนรู้นั้น โดยความหวังสูงสุดของอาจารย์ประภาภัทร คือการได้
เห็นพัฒนาการที่ดีขึ้นของคนทุกวัย ที่มีใจอยากจะเรียนรู้สิ่งต่างๆ บนโลก
ใบนี้
35
สถาปนิกผู้ออกแบบการเรียนรู้แบบใหม่ให้เด็ก
“มีคนถามเสมอว่าจากสถาปนิกมาเป็นนักการศึกษาได้
อย่างไร สิ่งหนึ่งก็คงมาจากประสบการณ์ตรงของตัวเองที่ได้พบเจอ
กับการเลี้ยงลูก เพราะลูกเราเขามีความบกพร่องเรื่องการเรียนรู้ ตอน
นั้นการรักษาเด็กที่มีภาวะแบบนี้เป็นเรื่องยาก เราก็มาคิดว่าควรจะท�ำ
อย่างไรที่จะท�ำให้เขาสามารถเรียนรู้ได้เหมือนเด็กอื่นๆ ในใจลึกๆ เรา
เชื่อว่าเขามีศักยภาพอยู่ในตัวเอง อยู่ที่เราว่าจะสามารถดึงศักยภาพ
นั้นออกมาได้อย่างไร จากความเชื่อลึกๆ เราก็เริ่มศึกษามากขึ้น ก็เริ่ม
เข้าใจว่า จริงๆ ลูกเราสามารถเรียนรู้ได้นะ เราแค่ต้องหาวิธีที่ถูก เรา
จึงใช้วิธีเปิดการเรียนรู้กับเขา เข้าไปอยู่ในโลกของเขา ลองใช้วิธีการ
เรียนรู้แบบเขาดู เหมือนเราเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับเขา ก็เริ่มสื่อสารกัน
ได้มากขึ้น ปรับให้เขาอยู่ในโลกปรกติได้มากขึ้น ตอนไปเข้าโรงเรียน
สาธิตจุฬาฯ ครู ป. 1 ก็ช่วยได้มาก เขาช่วยสร้างเรื่องภาษาที่ใช้ในการ
สื่อสารตลอดจนวิธีการเรียนรู้ต่างๆนานาเราปรึกษากันตลอดเหมือน
ท�ำวิจัยลูก สอนกันไปสักเทอมหนึ่ง จากที่อ่านหนังสือไม่เป็น ไม่รู้วิธีที่
จะเรียนตามปรกติ อยู่ๆ วันหนึ่งเขาก็อ่านหนังสือพิมพ์แบบผู้ใหญ่ได้
และเรียนจนสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ นั่นจึงท�ำให้เราเริ่มเชื่อ
ในเรื่องมนุษย์มากขึ้น เชื่อว่ามนุษย์มีธรรมชาติอันพิเศษ คือมีความ
สามารถที่จะพัฒนาการเรียนรู้ของตัวเอง พัฒนาจากข้างใน ซึ่งมิตินี้
คนไม่ค่อยมอง แต่ว่าเมื่อเราเริ่มใช้วิธีอย่างนี้กับตัวเองและลูก เราเริ่ม
รู้ว่าความสามารถของมนุษย์มันพัฒนามาจากภายใน  คนส่วนใหญ่
จะให้ความส�ำคัญกับการสอนเรื่องข้างนอกเป็นตัวตั้ง  แต่ไม่ค่อยรู้
ข้างในตัวเอง ไม่ค่อยรู้ถึงภาวะของการรับรู้ ดังนั้นการจัดการเรื่องราว
ต่างๆ เกี่ยวกับการให้ความรู้ก็จะข้ามขั้นตอนนี้ไป”
36
โรงเรียนรุ่งอรุณ  ศักยภาพสร้างได้ผ่านการเรียนรู้จากทั้ง
ภายในและภายนอก
“สิ่งที่ได้รับระหว่างที่พยายามช่วยให้ลูกมีพัฒนาการดีขึ้น คือ
การค้นพบว่า  วิธีการพัฒนาศักยภาพของเด็กนั้นมีหลายแบบ  ขึ้นอยู่
กับตัวผู้เรียนแต่ละคน   ถ้าเราสามารถเข้าใจความต้องการของเด็ก
ได้ มันก็จะท�ำให้การเรียนการสอนสัมฤทธิ์ผลมากขึ้น มันจึงเป็นที่มา
ของแนวคิดที่เราอยากทดลองสร้างหลักสูตรแบบใหม่ในรูปแบบของ
โรงเรียน โดยที่ให้ผู้เรียนเขาลงมือปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตัวเอง วิธีการ
เรียนการสอนของครูก็เน้นการคิดสื่อการสอน   ที่จะท�ำให้เด็กได้ท�ำ
กิจกรรมที่เกิดการเรียนรู้  โดยเราไม่อิงจากต�ำราเพียงอย่างเดียว  ใน
ช่วงแรกที่เปิดการสอน  มีนักเรียนประมาณร้อยกว่าคนเท่านั้น  หลัก
การของเราก็คือเราต้องมองเด็กว่าเขาจะไม่ใช่ผู้ถูกสอน  เราต้องมอง
เด็กว่าเขาเป็นผู้เรียน  ยกตัวอย่างเช่นถ้าเราจะอธิบายเรื่องป่า  เรื่อง
สัตว์กับเขา ถ้าเราให้เขาดูแต่หนังสือ แล้วบอกให้ฟัง ไม่มีทางที่เขาจะ
เข้าใจได้ นอกจากพาเขาไปเจอจริงๆ เรื่องพวกนี้โรงเรียนรุ่งอรุณท�ำอยู่
เป็นประจ�ำ มีการพาเด็กๆ ไปทัศนศึกษาดูสิ่งต่างๆ ที่นอกเหนือจากใน
ต�ำรา หรือเป็นสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้จากต�ำรา เมื่อเขา
ได้เห็นเขาจะจดจ�ำไปตลอด เด็กชอบ เพราะชีวิตคนเราจะเรียนรู้ได้
เมื่อเจอสิ่งท้าทาย เด็กเหล่านี้เขาจะซึมซับวิธีการเรียนรู้ด้วยตัวเองไป
จนโต พอไปเจออะไร ได้พบอะไร เขาจะได้เรียนรู้และแก้ปัญหาเป็น
สุดท้ายเขาจะเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถดึงศักยภาพในตัวเองออกมาได้
มากที่สุด ”
37
กระบวนการคิดแบบพุทธศาสนาคือหลักยึดส�ำคัญในการ
เรียนรู้
“โยนิโสมนสิการ คืออะไร ก็คือ วิธีการคิดที่แยบยล คิดอย่าง
มีเหตุมีผล คิดอย่างสืบสาว คิดอย่างมีที่มาที่ไป คิดอย่างเข้าสู่ความ
จริง คิดอย่างเห็นธาตุแท้ธาตุเทียม เพราะฉะนั้นเราน�ำสิ่งเหล่านี้มาสู่
กระบวนการเรียนรู้ เราแทรกไปกับการเรียนการสอน เมื่อเด็กได้เรื่อง
เหล่านี้ พร้อมไปกับพัฒนาศักยภาพของตัวเองแล้ว เขาจะเป็นคนที่
สามารถเข้าใจอะไรได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ในเรื่องธรรมะ เด็กจะสามารถ
เข้าใจหลักเรื่องทุกข์และการแก้ความทุกข์ได้ดีกว่าผู้ใหญ่ เพราะเด็ก
เขาจะตรงไปตรงมากว่า เขารู้ว่าถ้าไม่คิดจะไม่ทุกข์ คนเรายิ่งทุกข์ก็
เพราะการคิด คิดโน่นนี้ไม่รู้จักปล่อยวาง สุดท้ายก็เป็นทุกข์ เรื่องนี้
ผู้ใหญ่เป็นมากกว่าเด็ก เพราะเด็กเมื่อเขาเข้าใจแล้ว เขาก็จะบอกว่า
คิดท�ำไม ถ้าไม่คิดก็ไม่ทุกข์ แต่ผู้ใหญ่มักท�ำไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ทันตัว
เองและไม่ซื่อสัตย์กับความรู้สึกตัวเองเท่ากับเด็ก”
38
การเรียนรู้ที่เริ่มจากครูสู่ศิษย์
“นี่คือที่มาของอาศรมศิลป์ที่เราต้องการให้เป็นที่สร้างครูให้
เป็นนักออกแบบ   แต่เป็นการออกแบบในเรื่องการเรียนการสอน   เรา
ต้องการผลิตครูและหาวิธีการเรียนการสอนที่ไปให้ถึงจิตวิญญาณ
โดยมีจุดแข็งก็คือไม่ว่าจะเรียนอะไร  เราต้องเรียนให้ลึกซึ้ง  ไปให้ถึง
คุณค่าแท้ของเรื่องนั้น โดยมีหลักสูตรทางด้านการเรียนการสอนแบบ
บูรณาการแต่ว่าผ่านทางภูมิศาสตร์บ้างผ่านทางนวัตกรรมการเรียนรู้
บ้าง หรือไม่ก็ผ่านทางด้านการศึกษาสู่แนวพุทธบ้าง แล้วก็มีทางด้าน
ศิลปะ ศิลปะก็เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ได้แทบจะทุกวิชา อย่างศิลปะ
กับการคิดค�ำนวณ ดนตรีกับการค�ำนวณ ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน
ได้”
39
ผู้ใหญ่ต้องท�ำให้รู้ว่าเยาวชนคือคนส�ำคัญ เพราะเยาวชนนั้น
คือความหวังของโลก
“ผู้ใหญ่ต้องท�ำให้เยาวชนรับรู้ว่าเขามีก�ำลังของสติปัญญา
เป็นอนาคตที่ส�ำคัญของโลก พลังของเยาวชน ถ้าหากใช้ให้ถูก จะ
เหมือนกับได้สร้างสิ่งที่ดีที่สุดให้กับโลกใบนี้  เยาวชนมีพลังชีวิตที่ดี จะ
ท�ำอะไรก็ท�ำได้ ส�ำเร็จไปหมด แต่ถ้าหากเลยเวลานั้นไปแล้ว มาเริ่ม
ตอนแก่ จะท�ำอะไรมันจะช้า มันไม่แจ่มใสเหมือนตอนเป็นเยาวชน
เยาวชนท�ำอะไรได้เหมือนผู้ใหญ่ คิดอะไรก็คิดได้เหมือนผู้ใหญ่ เข้าใจ
อะไรก็เข้าใจเหมือนผู้ใหญ่ แม้ว่าประสบการณ์มีไม่มากเท่า แต่ก็ขอ
ให้เขามีสติปัญญาพอที่จะท�ำความรู้ความเข้าใจได้เสมอกันกับผู้ใหญ่
อย่าไปรอว่า เรื่องอย่างนี้ต้องรอแก่ๆ ซะก่อนค่อยรู้ ไม่ใช่ รีบๆ รู้ไป
เลย อย่าให้ชีวิตเราสูญเปล่าไปกับความฟุ้งเฟ้อเกินไป ยังมีของที่เรา
ต้องค้นพบ มีค่ามากกว่านั้นอีกมากมาย ที่เราต้องค้นให้พบ เพราะ
ฉะนั้นลองมาสนใจในเรื่องที่เป็นเรื่องตัวของเราเอง เป็นชีวิตของเรา
เอง  ทั้งร่างกายและจิตใจของเราเอง  ถ้าแต่ละบุคคลได้พัฒนาตัว
เองให้ดีที่สุดแล้ว โลกนี้ก็จะน่าอยู่มาก ไม่ต้องมีใครมาคอยตามจับ
ผู้ร้ายที่ไหน  ถ้าทุกคนเข้าใจอย่างนี้ได้โลกก็จะสันติสุข  เหมือนที่ท่าน
พุทธทาสท่านสอนไว้ว่า เยาวชนคือสันติภาพของโลก”
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ

More Related Content

Similar to Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ

Inspiration เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Inspiration เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจInspiration เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Inspiration เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจPanda Jing
 
ระบบประกันการดูแลระยะยาว
ระบบประกันการดูแลระยะยาว ระบบประกันการดูแลระยะยาว
ระบบประกันการดูแลระยะยาว Chuchai Sornchumni
 
ศูนย์เรียนรู้และแนวความคิดของปราชญ์ชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ศูนย์เรียนรู้และแนวความคิดของปราชญ์ชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือศูนย์เรียนรู้และแนวความคิดของปราชญ์ชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ศูนย์เรียนรู้และแนวความคิดของปราชญ์ชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือPress Trade
 
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒dentyomaraj
 
ระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทยระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทยPattie Pattie
 
วารสาร พ.ย. ธ.ค.59
วารสาร พ.ย. ธ.ค.59วารสาร พ.ย. ธ.ค.59
วารสาร พ.ย. ธ.ค.59Yui Yuyee
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 1
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 1ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 1
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 1Utai Sukviwatsirikul
 
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...Klangpanya
 
สมุนไพรในรั้ววัด
สมุนไพรในรั้ววัด สมุนไพรในรั้ววัด
สมุนไพรในรั้ววัด Patcha Linsay
 
สพจ.ปทุมธานี : หมู่บ้านสารสนเทศชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต หมู่ 9 บ้านคลองส...
สพจ.ปทุมธานี : หมู่บ้านสารสนเทศชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต หมู่ 9 บ้านคลองส...สพจ.ปทุมธานี : หมู่บ้านสารสนเทศชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต หมู่ 9 บ้านคลองส...
สพจ.ปทุมธานี : หมู่บ้านสารสนเทศชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต หมู่ 9 บ้านคลองส...CDD Pathum Thani
 
Aip newsletters vol.11 3rd mar - apr 2011
Aip newsletters vol.11 3rd mar - apr 2011Aip newsletters vol.11 3rd mar - apr 2011
Aip newsletters vol.11 3rd mar - apr 2011Amarin Uttama
 
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหมคุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหมhuloo
 
Thai Emergency Medicine Journal 4
Thai Emergency Medicine Journal 4Thai Emergency Medicine Journal 4
Thai Emergency Medicine Journal 4taem
 

Similar to Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ (20)

Inspiration เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Inspiration เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจInspiration เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Inspiration เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
 
ระบบประกันการดูแลระยะยาว
ระบบประกันการดูแลระยะยาว ระบบประกันการดูแลระยะยาว
ระบบประกันการดูแลระยะยาว
 
ศูนย์เรียนรู้และแนวความคิดของปราชญ์ชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ศูนย์เรียนรู้และแนวความคิดของปราชญ์ชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือศูนย์เรียนรู้และแนวความคิดของปราชญ์ชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ศูนย์เรียนรู้และแนวความคิดของปราชญ์ชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
 
R2554
R2554R2554
R2554
 
Rt2554
Rt2554Rt2554
Rt2554
 
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
 
ระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทยระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทย
 
Saengdhamma Vol.36 No. 428 December 2010
Saengdhamma Vol.36 No. 428 December 2010Saengdhamma Vol.36 No. 428 December 2010
Saengdhamma Vol.36 No. 428 December 2010
 
รับ สสจ14ธค54
รับ สสจ14ธค54รับ สสจ14ธค54
รับ สสจ14ธค54
 
วารสาร พ.ย. ธ.ค.59
วารสาร พ.ย. ธ.ค.59วารสาร พ.ย. ธ.ค.59
วารสาร พ.ย. ธ.ค.59
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 1
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 1ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 1
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 1
 
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...
 
สมุนไพรในรั้ววัด
สมุนไพรในรั้ววัด สมุนไพรในรั้ววัด
สมุนไพรในรั้ววัด
 
สพจ.ปทุมธานี : หมู่บ้านสารสนเทศชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต หมู่ 9 บ้านคลองส...
สพจ.ปทุมธานี : หมู่บ้านสารสนเทศชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต หมู่ 9 บ้านคลองส...สพจ.ปทุมธานี : หมู่บ้านสารสนเทศชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต หมู่ 9 บ้านคลองส...
สพจ.ปทุมธานี : หมู่บ้านสารสนเทศชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต หมู่ 9 บ้านคลองส...
 
Saengdhamma in august 2010
Saengdhamma in august 2010Saengdhamma in august 2010
Saengdhamma in august 2010
 
สาระวิทย์ ฉบับที่ 39 ประจำเดือนมิถุนายน 2559
สาระวิทย์ ฉบับที่ 39 ประจำเดือนมิถุนายน 2559สาระวิทย์ ฉบับที่ 39 ประจำเดือนมิถุนายน 2559
สาระวิทย์ ฉบับที่ 39 ประจำเดือนมิถุนายน 2559
 
Aip newsletters vol.11 3rd mar - apr 2011
Aip newsletters vol.11 3rd mar - apr 2011Aip newsletters vol.11 3rd mar - apr 2011
Aip newsletters vol.11 3rd mar - apr 2011
 
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหมคุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
 
Thai Emergency Medicine Journal 4
Thai Emergency Medicine Journal 4Thai Emergency Medicine Journal 4
Thai Emergency Medicine Journal 4
 

More from Panda Jing

จิตตนคร นครหลวงของโลก
จิตตนคร นครหลวงของโลกจิตตนคร นครหลวงของโลก
จิตตนคร นครหลวงของโลกPanda Jing
 
อีบุ๊ค หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท
อีบุ๊ค หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาทอีบุ๊ค หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท
อีบุ๊ค หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาทPanda Jing
 
File 633116b358da6b762609165edeaa0f3c
File 633116b358da6b762609165edeaa0f3cFile 633116b358da6b762609165edeaa0f3c
File 633116b358da6b762609165edeaa0f3cPanda Jing
 
Plook ฉบับเดือน เมษายน ปี 2011
Plook ฉบับเดือน เมษายน ปี 2011Plook ฉบับเดือน เมษายน ปี 2011
Plook ฉบับเดือน เมษายน ปี 2011Panda Jing
 
Plook ฉบับเดือน มีนาคม ปี 2011
Plook ฉบับเดือน มีนาคม ปี 2011Plook ฉบับเดือน มีนาคม ปี 2011
Plook ฉบับเดือน มีนาคม ปี 2011Panda Jing
 
Way toteacher001
Way toteacher001Way toteacher001
Way toteacher001Panda Jing
 
อีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรม
อีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรมอีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรม
อีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรมPanda Jing
 
อีบุ๊ค ชีวิตนี้น้อยนัก
อีบุ๊ค ชีวิตนี้น้อยนักอีบุ๊ค ชีวิตนี้น้อยนัก
อีบุ๊ค ชีวิตนี้น้อยนักPanda Jing
 
Plook ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ ปี 2011
Plook ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ ปี 2011Plook ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ ปี 2011
Plook ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ ปี 2011Panda Jing
 
Plook ฉบับเดือน มกราคม ปี 2011
Plook ฉบับเดือน มกราคม ปี 2011Plook ฉบับเดือน มกราคม ปี 2011
Plook ฉบับเดือน มกราคม ปี 2011Panda Jing
 
สาเหตุและวิธีการรักษาอาการนอนกรน
สาเหตุและวิธีการรักษาอาการนอนกรนสาเหตุและวิธีการรักษาอาการนอนกรน
สาเหตุและวิธีการรักษาอาการนอนกรนPanda Jing
 
อีบุ๊ค ใจความสำคัญแห่งพระพุทธศาสนา
อีบุ๊ค ใจความสำคัญแห่งพระพุทธศาสนาอีบุ๊ค ใจความสำคัญแห่งพระพุทธศาสนา
อีบุ๊ค ใจความสำคัญแห่งพระพุทธศาสนาPanda Jing
 
อีบุ๊ค ทำไมต้องค้านเขื่อนแม่วงก์
อีบุ๊ค ทำไมต้องค้านเขื่อนแม่วงก์อีบุ๊ค ทำไมต้องค้านเขื่อนแม่วงก์
อีบุ๊ค ทำไมต้องค้านเขื่อนแม่วงก์Panda Jing
 
ให้สุขแก่ท่าน สุขนั้นถึงตัว
ให้สุขแก่ท่าน สุขนั้นถึงตัวให้สุขแก่ท่าน สุขนั้นถึงตัว
ให้สุขแก่ท่าน สุขนั้นถึงตัวPanda Jing
 
อีบุ๊ค คุณานุคุณไตรภาค
อีบุ๊ค คุณานุคุณไตรภาคอีบุ๊ค คุณานุคุณไตรภาค
อีบุ๊ค คุณานุคุณไตรภาคPanda Jing
 
อีบุ๊ค กองทัพทั้งสิบของมาร
อีบุ๊ค กองทัพทั้งสิบของมารอีบุ๊ค กองทัพทั้งสิบของมาร
อีบุ๊ค กองทัพทั้งสิบของมารPanda Jing
 
ศาสนาพุทธในประเทศไทย
ศาสนาพุทธในประเทศไทยศาสนาพุทธในประเทศไทย
ศาสนาพุทธในประเทศไทยPanda Jing
 
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World war i)
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World war i)สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World war i)
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World war i)Panda Jing
 
อีบุ๊ค Health ฉบับที่ 1
อีบุ๊ค Health ฉบับที่ 1อีบุ๊ค Health ฉบับที่ 1
อีบุ๊ค Health ฉบับที่ 1Panda Jing
 
พญานาค ตำนาน ความเชื่อ หรือความจริง
พญานาค ตำนาน ความเชื่อ หรือความจริงพญานาค ตำนาน ความเชื่อ หรือความจริง
พญานาค ตำนาน ความเชื่อ หรือความจริงPanda Jing
 

More from Panda Jing (20)

จิตตนคร นครหลวงของโลก
จิตตนคร นครหลวงของโลกจิตตนคร นครหลวงของโลก
จิตตนคร นครหลวงของโลก
 
อีบุ๊ค หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท
อีบุ๊ค หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาทอีบุ๊ค หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท
อีบุ๊ค หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท
 
File 633116b358da6b762609165edeaa0f3c
File 633116b358da6b762609165edeaa0f3cFile 633116b358da6b762609165edeaa0f3c
File 633116b358da6b762609165edeaa0f3c
 
Plook ฉบับเดือน เมษายน ปี 2011
Plook ฉบับเดือน เมษายน ปี 2011Plook ฉบับเดือน เมษายน ปี 2011
Plook ฉบับเดือน เมษายน ปี 2011
 
Plook ฉบับเดือน มีนาคม ปี 2011
Plook ฉบับเดือน มีนาคม ปี 2011Plook ฉบับเดือน มีนาคม ปี 2011
Plook ฉบับเดือน มีนาคม ปี 2011
 
Way toteacher001
Way toteacher001Way toteacher001
Way toteacher001
 
อีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรม
อีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรมอีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรม
อีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรม
 
อีบุ๊ค ชีวิตนี้น้อยนัก
อีบุ๊ค ชีวิตนี้น้อยนักอีบุ๊ค ชีวิตนี้น้อยนัก
อีบุ๊ค ชีวิตนี้น้อยนัก
 
Plook ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ ปี 2011
Plook ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ ปี 2011Plook ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ ปี 2011
Plook ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ ปี 2011
 
Plook ฉบับเดือน มกราคม ปี 2011
Plook ฉบับเดือน มกราคม ปี 2011Plook ฉบับเดือน มกราคม ปี 2011
Plook ฉบับเดือน มกราคม ปี 2011
 
สาเหตุและวิธีการรักษาอาการนอนกรน
สาเหตุและวิธีการรักษาอาการนอนกรนสาเหตุและวิธีการรักษาอาการนอนกรน
สาเหตุและวิธีการรักษาอาการนอนกรน
 
อีบุ๊ค ใจความสำคัญแห่งพระพุทธศาสนา
อีบุ๊ค ใจความสำคัญแห่งพระพุทธศาสนาอีบุ๊ค ใจความสำคัญแห่งพระพุทธศาสนา
อีบุ๊ค ใจความสำคัญแห่งพระพุทธศาสนา
 
อีบุ๊ค ทำไมต้องค้านเขื่อนแม่วงก์
อีบุ๊ค ทำไมต้องค้านเขื่อนแม่วงก์อีบุ๊ค ทำไมต้องค้านเขื่อนแม่วงก์
อีบุ๊ค ทำไมต้องค้านเขื่อนแม่วงก์
 
ให้สุขแก่ท่าน สุขนั้นถึงตัว
ให้สุขแก่ท่าน สุขนั้นถึงตัวให้สุขแก่ท่าน สุขนั้นถึงตัว
ให้สุขแก่ท่าน สุขนั้นถึงตัว
 
อีบุ๊ค คุณานุคุณไตรภาค
อีบุ๊ค คุณานุคุณไตรภาคอีบุ๊ค คุณานุคุณไตรภาค
อีบุ๊ค คุณานุคุณไตรภาค
 
อีบุ๊ค กองทัพทั้งสิบของมาร
อีบุ๊ค กองทัพทั้งสิบของมารอีบุ๊ค กองทัพทั้งสิบของมาร
อีบุ๊ค กองทัพทั้งสิบของมาร
 
ศาสนาพุทธในประเทศไทย
ศาสนาพุทธในประเทศไทยศาสนาพุทธในประเทศไทย
ศาสนาพุทธในประเทศไทย
 
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World war i)
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World war i)สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World war i)
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World war i)
 
อีบุ๊ค Health ฉบับที่ 1
อีบุ๊ค Health ฉบับที่ 1อีบุ๊ค Health ฉบับที่ 1
อีบุ๊ค Health ฉบับที่ 1
 
พญานาค ตำนาน ความเชื่อ หรือความจริง
พญานาค ตำนาน ความเชื่อ หรือความจริงพญานาค ตำนาน ความเชื่อ หรือความจริง
พญานาค ตำนาน ความเชื่อ หรือความจริง
 

Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ