SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  88
Télécharger pour lire hors ligne
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลาลูกกา
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 (ปทุมธานี)
รายงานการประเมินโครงการ
โครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ
ประจาปี พ.ศ.2555
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลาลูกกา
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 (ปทุมธานี)
คานา
งานวิจัยเรื่องการติดตามและประเมินโครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ
ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลาลูกกา เป็นการติดตามและประเมินผลการดาเนินงานกิจกรรม
ตลาดนัดอาชีพ โดยมีวัตถุประสงค์ของการประเมินคือ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดและประสบการณ์ในการประกอบ
อาชีพหลักหรืออาชีพเสริมในอนาคตของนักเรียน 2. เพื่อประเมินกระบวนการหลักการบริหารจัดการร้านของ
นักเรียน 3. เพื่อประเมินคุณลักษณะของนักเรียนในด้านการประกอบอาชีพ
สาหรับผลการประเมินพบว่าการจัดกิจกรรมตลาดนัดอาชีพ สาหรับนักเรียนทุกระดับชั้นในครั้งนี้
สาเร็จและเรียบร้อยผ่านไปด้วยดี ก็ด้วยความร่วมมือและความสามัคคีของคณะครูผู้จัดกิจกรรม อีกทั้งยังได้รับ
ความร่วมมือจากทางโรงเรียนให้จัดกิจกรรมดังกล่าว และที่สาคัญนักเรียนทุกคนได้ให้ความร่วมมือในการ
ดาเนินกิจกรรม ทาให้กิจกรรมตลาดนัดอาชีพไปด้วยความเรียบร้อย และไม่มีเหตุการณ์ผิดปกติ อันตราย หรือ
ผลลัพธ์ที่ไม่ดีกับนักเรียน ครู
และการประเมินผลการจัดกิจกรรมตลาดนัดอาชีพ โดยนักเรียนและครูเป็นผู้ทาการประเมิน ซึ่งมีผล
การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด คือ นักเรียนและครูมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมนี้และได้รับความรู้จาก
การจัดกิจกรรมตลาดนัดอาชีพมากที่สุด
ในส่วนของข้อเสนอแนะนั้น ความเห็นของนักเรียนส่วนใหญ่คืออยากให้มีการจัดกิจกรรมตลาดนัด
อาชีพทุกภาคเรียน เพราะเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่นักเรียนทุกคนในโรงเรียนมีส่วนร่วมและเกิดประโยชน์ต่อ
นักเรียนอย่างแท้จริง
สารบัญ
หน้า
บทที่ 1 บทนา 1
ความสาคัญของปัญหา 1
คาถามการประเมิน 2
วัตถุประสงค์การประเมิน 3
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3
ขอบเขตการประเมิน 4
นิยามศัพท์ 5
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 6
โครงการหารายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ 7
แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินโครงการ 13
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 35
องค์ความรู้เกี่ยวกับอาชีพ 42
บทที่ 3 วิธีดาเนินการวิจัย 56
กลุ่มประชากร 56
กลุ่มตัวอย่าง 56
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 56
การรวบรวมข้อมูล 57
การวิเคราะห์ข้อมูล 58
บทที่ 4 ผลการวิจัยและข้อวิจารณ์ 59
ผลการวิจัย 59
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ 62
ภาคผนวก 63
ภาคผนวก ก การดาเนินกิจกรรม 64
ภาคผนวก ข คาสั่งโรงเรียน 71
ภาคผนวก ค ผู้จัดทา 82
1
บทที่ 1
บทนา
ความสาคัญของปัญหา
การทามาหากินของคนไทยสมัยโบราณ เลี้ยงตนเองและครอบครัวด้วยการทาไร่ทานา เมื่อ
ว่างจากการทานาจะทอผ้าไว้ใช้ หากมีเหลือจะจาหน่ายในชุมชน นอกจากนี้ยังทาเครื่องจักสานเป็น
ภาชนะไว้ใช้สอยในครัวเรือนและจาหน่าย เช่น ตะกร้า สุ่มจับปลา กระด้ง เครื่องปั้นดินเผา ตี
เหล็ก ทามีดขวาน หรืองานศิลปะต่าง ๆ สถานที่ทางานจะอยู่ชั้นล่างหรือใต้ถุนบ้านของตนเอง ส่วน
คนอีกกลุ่มหนึ่งมีอาชีพเป็นผู้ดูและผลประโยชน์ของแผ่นดิน มียศถาบรรดาศักดิ์ มีเงินเดือนเป็น
ค่าตอบแทนหรือที่เรียกว่าเป็นข้าในแผ่นดิน ในสมัยก่อนมีบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศ
ไทย เช่น บริษัท บอร์เนียว จากัด บริษัท บี กริม แอนด์ โก จากัด เป็นต้น ทาให้มีการจ้าง
งานเป็นลูกจ่างในบริษัท ต่อมามีบริษัทและโรงงานเอกชนเปิดดาเนินการเป็นจานวนมาก ตาแหน่ง
ลูกจ้างของรัฐก็มีจานวนเพิ่มขึ้น จึงมีอาชีพมากมายให้คนได้เลือก เช่น การเป็นเจ้าของธุรกิจของ
ตนเอง หรือเป็นลูกจ้างของเอกชนหรือลูกจ้างรัฐบาล จะเห็นได้ว่าสังคมไทยเมื่อ 40 ปีที่ผ่าน
มา ผู้ใหญ่มักจะอวยพรให้ลูกหลานได้เป็นเจ้าคนนายคน ย่อมหมายความว่า ผู้ใหญ่สนับสนุนให้
ประกอบอาชีพเป็นลูกจ้างของรัฐบาลหรือรับราชการ ซึ่งมีเงินเดือน ตาแหน่งหน้าที่การงานดีเป็น
เกียรติแก่วงศ์ตระกูล เมื่อเวลาผ่านมาจนถึงปัจจุบันทีการเปลี่ยนแปลงบทบาทของรัฐ จานวน
ตาแหน่งข้าราชการถูกลดจานวนลงส่วนธุรกิจเอกชนที่อยู่ในยุคเศรษฐกิจถดถอย ทาให้องค์กรธุรกิจ
มากมายต้องปิดกิจการลง ทาให้คนว่างงาน ส่วนที่เปิดดาเนินธุรกิจต่อไปก็พยายามลดจานวน
พนักงานลง เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้เหลือน้อยที่สุด ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้นจึงทาให้ผู้คนเหล่านั้นหันมา
สร้างอาชีพส่วนตัวหรืออาชีพอิสระมากขึ้น
โครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ เป็นกิจกรรมที่
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลาลูกกา ได้ดาเนินการทุกปีการศึกษา เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่
นักเรียนทุกคนในโรงเรียนมีส่วนร่วม นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดงานมาโดยตลอด และที่สาคัญ
เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีรายได้ และพัฒนาทักษะทางอาชีพของตนเอง แต่ทั้งนี้การสอบถาม
ความพึงพอใจต่อโครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ ยังเป็นการสอบถาม
ความพึงพอใจของนักเรียน ครู และผู้ปกครองเท่านั้น ยังไม่มีการประเมินผลและติดตามผลหลังจาก
2
กิจกรรมดาเนินเสร็จสิ้นแล้ว ทาให้ยังไม่มีข้อมูลและสารสนเทศเพื่อหาข้อสรุปว่านักเรียนส่วนใหญ่
สามารถนาความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมตลาดนัดอาชีพนี้ไปใช้ในการประกอบ
อาชีพเสริมเพื่อหารายได้ระหว่างเรียนได้หรือไม่ ดังนั้นคณะผู้จัดทาโครงการจึงไม่สามารถขยายงานได้
ในภาพรวม และไม่มีข้อมูลที่เป็นสิ่งยืนยันจากการจัดโครงการว่าควรจะดาเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป
ในภายภาคหน้าหรือไม่ รวมทั้งการจัดโครงการนี้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ครบทุกประเด็นหรือไม่
จากความสาคัญของการประเมินโครงการ ที่จะช่วยทาให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างคุ้มค่า
หรือเกิดประโยชน์เต็มที่ เพราะการประเมินโครงการจะต้องวิเคราะห์ทุกส่วนของโครงการ ข้อมูลใด
หรือปัจจัยใดที่เป็นปัญหาจะได้รับการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมคุ้มค่า
ช่วยให้แผนงานบรรลุวัตถุประสงค์ ช่วยแก้ปัญหาอันเกิดจากผลกระทบของโครงการ และทาให้
โครงการมีข้อที่ทาให้เกิดความเสียหายลดน้อยลง ช่วยในการควบคุมคุณภาพของงาน มีส่วนในการ
สร้างขวัญและกาลังใจให้ผู้ปฏิบัติงานตามโครงการ และที่สาคัญคือช่วยในการตัดสินใจในการบริหาร
โครงการ เพราะการประเมินโครงการทาให้ผู้บริหารได้ทราบถึงอุปสรรค ปัญหา ข้อดี ข้อเสีย ความ
เป็นไปได้ และแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขการดาเนินการโครงการ ทาให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจ
ไดว่าจะดาเนินโครงการนั้นต่อไปอย่างไร นอกจากนั้นผลของการประเมินโครงการยังอาจะเป็นข้อมูล
สาคัญในการวางแผนหรือกาหนดนโยบายของผู้บริหารอีกด้วย
จากปัญหาและความสาคัญของการประเมินโครงการข้างต้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะทา
การติดตามผลโครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ ของโรงเรียนเตรียม
อุดมศึกษาพัฒนาการ ลาลูกกา เพื่อศึกษาในด้านผลที่เกิดจากการจัดทาโครงการว่าเป็นไปตาม
วัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้หรือไม่ และเป็นสารสนเทศสาหรับผู้จัดทาโครงการ กลุ่มบริหารวิชาการ ใน
การจัดโครงการเพื่อส่งเสริมการมีรายได้ระหว่างเรียนที่เหมาะสม ตรงกับความต้องการต่อไป
คาถามการประเมิน
1. โครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะ
ในการประกอบอาชีพมากขึ้นหรือไม่
3
2. โครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ ส่งเสริมให้นักเรียนมี
หลักการและการบวนการในการบริหารจัดการธุรกิจของตนเองหรือไม่ อย่างไร
3. โครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ ส่งผลให้นักเรียนมีคุณ
ลักษณ์ของผู้ประกอบอาชีพที่ดี มีความซื่อสัตย์สุจริตหรือไม่ อย่างไร
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดโครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาด
นัดอาชีพ หรือไม่ อย่างไร
วัตถุประสงค์การประเมิน
1. เพื่อศึกษาทักษะในการประกอบอาชีพของนักเรียน
2. เพื่อประเมินหลักการและการบวนการในการบริหารจัดการธุรกิจของนักเรียน
3. เพื่อประเมินคุณลักษณ์ของนักเรียนในการประกอบอาชีพหรือทาธุรกิจ
4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดโครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาด
นัดอาชีพ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
คณะผู้จัดทาโครงการ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และฝ่ายวิชาการ
ของโรงเรียน ได้สารสนเทศสาหรับใช้ในการวางแผนการจัดกิจกรรมตลาดนัดอาชีพในครั้งต่อไป โดย
หากโครงการนี้ประสบความสาเร็จ ก็จะดาเนินการต่อ โดยปรับปรุงในส่วนที่ต้องแก้ไขตามคาแนะนา
และข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง หากโครงการนี้ประสบความล้มเหลว ฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะได้หา
แนวทางหรือเครื่องมืออื่นๆ มาใช้ในการอบรมและพัฒนาบุคลากรต่อไป เพื่อให้สอดคล้องและ
เหมาะสมกับสภาพนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้มากที่สุด
4
ขอบเขตการประเมิน
การประเมินครั้งนี้กาหนดขอบเขตไว้ดังนี้
1. แหล่งข้อมูลในการประเมิน ได้แก่
1.1 บุคลากรภายในโรงเรียนจานวน 40 คน ได้แก่ ครูที่เข้าร่วมโครงการหารายได้
ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ โดยจาแนกเป็นครูในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่ม
สาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่ม
สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ กลุ่มสาระการเรียนรู้
สุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาต่างประเทศ จานวนกลุ่มสาระการเรียนรู้ละ 5 คน
1.2 นักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลาลูกกา โดยเป็นนักเรียนที่
เรียนที่เข้าร่วมโครงการหารายได้ระหว่างเรียนทุกห้องเรียน ห้องเรียนละ 5 คน
2. ตัวแปรสาคัญในการติดตามผลโครงการหารายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาดนัด
อาชีพ
ตัวแปรสาคัญในการติดตามผลตามโครงการหารายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาด
นัดอาชีพ แบ่งตามคาถามการประเมินเป็น 1 ด้าน ดังนี้
1. ด้านนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
ตัวบ่งชี้ คือ
1. ร้อยละของนักเรียนที่มีทักษะในการประกอบอาชีพอยู่ในระดับดี
2. ร้อยละของนักเรียนที่มีหลักการและการบวนการในการบริหารจัดการ
ธุรกิจ
5
3. ร้อยละของนักเรียนที่มีคุณลักษณะของนักเรียนในการประกอบอาชีพ
หรือทาธุรกิจ
4. ร้อยละของนักเรียนที่มีความพึงพอใจต่อการจัดโครงการส่งเสริมรายได้
ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ
นิยามศัพท์
โครงการหารายได้ระหว่างเรียน หมายถึง โครงการที่ส่งเสริมให้นักเรียนรู้และเข้าใจ
กระบวนการในการบริหารจัดการ และพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อนาไปจาหน่ายและหารายได้ระหว่างเรียน
เพื่อนาเงินที่ได้มาใช้จ่ายในการเรียนรู้ของตนเอง โดยมีกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ
กิจกรรมเรียนรู้กับวิทยากรท้องถิ่น เป็นต้น
กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ หมายถึง กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนทุกคนในโรงเรียนได้มีส่วน
ร่วมในการพัฒนาและจัดหาผลิตภัณฑ์ทั้งที่จัดหามาหรือผลิตขึ้นได้ด้วยตนเองมาจัดจาหน่ายในงานวัน
ตลาดนัดอาชีพ เพื่อเป็นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของตนเองและหารายได้เพื่อนามาใช้ในการเรียนของ
ตนเอง
6
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตามลําดับดังนี้
1. โครงการหารายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ
2. แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินโครงการ
3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
4. องค์ความรู้เกี่ยวกับอาชีพ
7
โครงการหารายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน (Mini Company)
สนองนโยบาย กลยุทธ์ สพฐ. ข้อที่ ๑ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ
ตามหลักสูตร และส่งเสริมความสามารถด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่
๒. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
๓. ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
๔. ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้อย่าง
มีสติสมเหตุผล
๕. ผู้เรียน มีความรู้และทักษะที่จําเป็นตามหลักสูตร
๖. ผู้เรียนมีทักษะในการทํางาน รักการทํางาน สามารถทํางานร่วมกับผู้อื่นได้
ลักษณะกิกรรมตาม OUCP กิจกรรมรอง รหัสกิจกรรม ๒๑
ลักษณะโครงการ ต่อเนื่อง
กลุ่มบริหารที่รับผิดชอบ กลุ่มบริหารงานวิชาการ
ผู้รับผิดชอบ นางอนงค์ มีปัญญา
ระยะเวลา ๑ ก.ย. ๒๕๕๕ ถึง ๓๐ มี.ค. ๒๕๕๖
๑. หลักการและเหตุผล
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เป็นกลุ่มสาระที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียน มีความรู้
ความเข้าใจ มีทักษะพื้นฐานที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิต และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสามารถนําความรู้เกี่ยวกับการ
ดํารงชีวิต การอาชีพ และเทคโนโลยี มาใช้ประโยชน์ในการทํางานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ และแข่งขันใน
สังคมไทย และสากล เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ รักการทํางาน และมีเจตคติที่ดีต่อการทํางาน สามารถ
ดํารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างพอเพียง และมีความสุข โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวม เพื่อให้มีความรู้
ความสามารถ มีทักษะในการทํางาน เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ และการศึกษาต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๕๑ : ๒๐๔-๒๑๘)
แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๕๙) ยังได้กล่าวถึงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงยึดทางสายกลางอยู่บนพื้นฐานของความสมดุลพอดี รู้จักพอประมาณ อย่างมีเหตุผล มีความรอบรู้เท่าทัน
โลก เพื่อมุ่งให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย เกิดการบูรณาการแบบองค์รวมที่ยึด “คน”
เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมี “ดุลยภาพ” ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม เป็นแผนที่บูรณา
การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬากับการศึกษาทุกระดับ รวมทั้งเชื่อมโยงการพัฒนาการศึกษากับการพัฒนา
ด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ และ
8
เทคโนโลยี เป็นต้น โดยคํานึงถึงการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อให้บรรลุตามปรัชญาหลักและเจตนารมณ์
ของแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง จึงกําหนดวัตถุประสงค์ของแผนที่สําคัญ ๓ ประการ คือ
๑) เพื่อพัฒนาคนอย่างรอบด้านและสมดุลเพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนา
๒) เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้
๓) เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคนและสร้างสังคม คุณธรรม ภูมิ
ปัญญา การเรียนรู้
(สภาการศึกษา,สํานักงาน:๒๕๕๓)
จากการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ของครูที่ปรึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ
ลําลูกกา พบว่าผู้เรียนมีปัญหาด้านเศรษฐกิจ ประมาณ ร้อยละ ๑๐ ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนมีปัญหาด้านต่าง ๆ เช่น
ไม่มีเงินมาโรงเรียน หรือซื้ออุปกรณ์การเรียน ดังนั้น นั้นทางกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี จึง
ได้จัดทําโครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน (Mini Company) เพื่อเป็นการแสดง หรือจัดการสาธิต ในเรื่องการฝึก
อาชีพต่าง ๆ ให้ผู้เรียนได้รู้จัก ได้ศึกษา เกิดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติจริง มีทักษะงานอาชีพตามความสนใจ มี
ความรู้ในการบริหารจัดการอย่างครบวงจรในลักษณะบริษัทจําลอง (Mini Company) มีรายได้จากการทํางาน
เรียนรู้การทํางานกับผู้อื่น เกิดความเอื้ออาทร มีคุณธรรม จริยธรรม ในการดําเนินชีวิต สามารถนําความรู้
ทักษะที่ได้จากการปฏิบัติงานอาชีพ มาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพสุจริตต่อไปในอนาคต ส่งผลให้ผู้ปกครอง
และชุมชนเกิดความภาคภูมิใจในตัวบุตรหลาน
เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดเน้นของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคุณลักษณะอัน
พึงประสงค์ คือมีความมุ่งมั่นในการทํางาน บรรลุตามวัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ และบรรลุมาตรฐาน
การศึกษาที่ ๒ ๓ ๔ ๕ และ ๖ ตามที่โรงเรียนคาดหวัง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลําลูกกา จึงได้จัดทําโครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน (Mini Company) ปี
การศึกษา ๒๕๕๕ ขึ้น
๒. วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียน
๒.๑ ผลลัพธ์ (Outcomes)
เชิงปริมาณ
- กลุ่มที่ ๑ ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ ที่เรียนรายวิชาพื้นฐาน ร้อยละ ๘๐
๑. มีทักษะในการปฏิบัติงานอาชีพที่ตนเองสนใจ อย่างน้อย ๑ งาน
๒. มีจิตสํานึกในการประกอบอาชีพสุจริต และรู้วิธีการหารายได้ อย่างเป็นระบบ
- กลุ่มที่ ๒ ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ ที่เรียนรายวิชาเพิ่มเติม ร้อยละ ๘๐
๑. มีทักษะในการปฏิบัติงานอาชีพที่ตนเองสนใจ อย่างน้อย ๑ งาน
๒. มีจิตสํานึกในการประกอบอาชีพสุจริต
๓. มีรายได้ระหว่างเรียน
- กลุ่มที่ ๓ ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ ที่เลือกกิจกรรมชุมนุมส่งเสริมรายได้
ระหว่างเรียน (สอร.) ร้อยละ ๘๐
9
๑. ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ที่เลือกกิจกรรมชุมนุมส่งเสริมรายได้
ระหว่างเรียน (สอร.) ร้อยละ ๘๐
๑). มีทักษะในการปฏิบัติงานอาชีพที่ตนเองสนใจ อย่างน้อย ๑ งาน
๒). มีจิตสํานึกในการประกอบอาชีพสุจริต
๓) รู้วิธีการหารายได้ระหว่างเรียนอย่างเป็นระบบ
- ๒. ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖ ที่เลือกกิจกรรมชุมนุมส่งเสริมรายได้
ระหว่างเรียน (สอร.) ร้อยละ ๘๐
๑). มีทักษะในการปฏิบัติงานอาชีพที่ตนเองสนใจ อย่างน้อย ๑ งาน
๒). มีจิตสํานึกในการประกอบอาชีพสุจริต
๓) มีรายได้ระหว่างเรียน
เชิงคุณภาพ
กลุ่มที่ ๑ ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ ที่เรียนรายวิชาพื้นฐาน
๑. มีทักษะในการปฏิบัติงานอาชีพที่ตนเองสนใจ
๒. มีจิตสํานึกในการประกอบอาชีพสุจริต
๓. รู้วิธีการหารายได้ ระหว่างเรียน
- กลุ่มที่ ๒ ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ ที่เรียนรายวิชาเพิ่มเติม
๑. มีทักษะในการปฏิบัติงานอาชีพที่ตนเองสนใจ
๒. มีจิตสํานึกในการประกอบอาชีพสุจริต
๓. รู้วิธีการหารายได้ ระหว่างเรียน
- กลุ่มที่ ๓ ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ ที่เลือกกิจกรรมชุมนุมส่งเสริมรายได้
ระหว่างเรียน (สอร.)
๑. มีทักษะในการปฏิบัติงานอาชีพที่ตนเองสนใจ
๒. มีจิตสํานึกในการประกอบอาชีพสุจริต
๓. รู้วิธีการหารายได้ ระหว่างเรียน
๓. เป้าหมาย
๓.๑ ผลลัพธ์ (Outcomes)
๑. ผู้เรียนมีทักษะในการปฏิบัติงานอาชีพที่ตนเองสนใจ
๒. ผู้เรียนมีจิตสํานึกในการประกอบอาชีพสุจริต
๓. ผู้เรียนมีรายได้ ระหว่างเรียน
๔. กิจกรรม และขั้นตอนการดาเนินงาน
ที่ กิจกรรม
ระยะเวลา
ดาเนินงาน
ผู้รับผิดชอบ
๑ กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ บูรณาการ ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้นักเรียน
จํานวน ๒,๓๐๐ คน ระยะเวลา กันยายน ๒๕๕๕
กันยายน ๒๕๕๕
ถึง
นางอนงค์
10
ที่ กิจกรรม
ระยะเวลา
ดาเนินงาน
ผู้รับผิดชอบ
และ มีนาคม ๒๕๕๖
ผู้เรียน จํานวน ๒,๓๐๐ คน ระยะเวลา ตลอดปีการศึกษา
๑.ตู้ไม้จําหน่ายสินค้า จํานวน ๓ หลัง ๆ ละ ๕,๐๐๐
๒.แผ่นปูายไวนิล จํานวน ๑๐ ปูาย ๆ ละ ๕๐๐ (๕๐๐X๑๐)
๓.กรอบรูปขนาด A๔ ใส่เกียรติบัตร บริษัทจําลองที่ประสบผลสําเร็จ
ประมาณ ๑๐ บริษัท (๒๐๐X๑๐)
๔.ค่าเช่าเวทีจัดงาน จํานวน ๒ ครั้ง ๆ ละ ๕,๐๐๐
๕.ค่าแผ่นปูายไวนิล จํานวน ๑ ปูาย ๆ ละ ๑,๐๐๐
มีนาคม ๒๕๕๖
๒ หนึ่งคนหนึ่งชิ้นงาน ผู้เรียน จํานวน ๒,๓๐๐ คน
ระยะเวลา ตลอดปีการศึกษา
ผู้เรียน จํานวน ๒,๓๐๐ คน ระยะเวลา ตลอดปีการศึกษา
๑.ประกวดผลงาน ภายในโรงเรียน และจัดทําปูายนิเทศ การ
นําเสนองาน สําหรับกลุ่มที่บรรลุผลสําเร็จ ๕ ปูาย
๒.กระดาษการ์ดขาว จัดทําเกียรติบัตร
๓.แผ่นปูายไวนิลแสดงขั้นตอนการปฏิบัติชิ้นงาน
จํานวน ๑๐ ปูาย ๆ ละ ๕๐๐ (๕๐๐X๑๐)
๔.ตู้โชว์ผลงาน จํานวน ๑ หลัง ๆ ละ ๘,๐๐๐
ตุลาคม๒๕๕๕
ถึง
มีนาคม ๒๕๕๖
นางอนงค์
๓ เรียนรู้กับวิทยากรท้องถิ่น (สาระท้องถิ่น) ผู้เรียน
จํานวน ๒,๓๐๐ คน ระยะเวลา
ตุลาคม ๒๕๕๕ และ มีนาคม ๒๕๕๖
๑. ค่าวิทยากร ๓ งาน
๑.๑ งานอาหาร
๑.๒. งานประดิษฐ์
๑.๓ งานเกษตร
ชั่วโมงละ ๒๐๐ จํานวน ๑๒ : วิชา จํานวน ๑๐๐ ชั่วโมง
ตุลาคม๒๕๕๕
ถึง
มีนาคม ๒๕๕๖
นางอนงค์
๕.งบประมาณที่ใช้
เงินงบประมาณ (ระดมทรัพย์) บาท
เงินนอกงบประมาณ - บาท
รวมงบประมาณทั้งสิ้น ๖๗,๘๐๐ บาท
รายการ/ กิจกรรม/คาชี้แจง/ในการใช้เงินงบประมาณ
งบ
ประมาณ
นอก
งบประมาณ
รวม
ไตรมาศ
ที่ใช้งบ
11
๑. กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ บูรณาการ ๘ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้นักเรียน จํานวน ๒,๓๐๐ คน
ระยะเวลา กันยายน ๒๕๕๕ และ มีนาคม ๒๕๕๖
๑.ตู้ไม้จําหน่ายสินค้า จํานวน ๓ หลัง ๆ ละ ๕,๐๐๐
๒.แผ่นปูายไวนิล จํานวน ๑๐ ปูาย ๆ ละ ๕๐๐ (๕๐๐X๑๐)
๓.กรอบรูปขนาด A๔ ใส่เกียรติบัตร บริษัทจําลอง ที่
ประสบผลสําเร็จ ประมาณ ๑๐ บริษัท (๒๐๐X๑๐)
๔.ค่าเช่าเวทีจัดงาน จํานวน ๒ ครั้ง ๆ ละ ๕,๐๐๐
๕.ค่าแผ่นปูายไวนิล จํานวน ๑ ปูาย ๆ ละ ๑,๐๐๐
๑๕,๐๐๐
๕,๐๐๐
๒,๐๐๐
๑๐,๐๐๐
๑,๐๐๐
๑๕,๐๐๐
๕,๐๐๐
๒,๐๐๐
๑๐,๐๐๐
๑,๐๐๐
๒. หนึ่งคนหนึ่งชิ้นงาน ผู้เรียน จํานวน ๒,๓๐๐ คน
ระยะเวลา ตลอดปีการศึกษา
ผู้เรียน จํานวน ๒,๓๐๐ คน ระยะเวลา ตลอดปีการศึกษา
๑.ประกวดผลงาน ภายในโรงเรียน และจัดทําปูายนิเทศ การ
นําเสนองาน สําหรับกลุ่มที่บรรลุผลสําเร็จ ๓ ปูาย
๒.กระดาษการ์ดขาว จัดทําเกียรติบัตร
๓.แผ่นปูายไวนิลแสดงขั้นตอนการปฏิบัติชิ้นงาน
จํานวน ๑๐ ปูาย ๆ ละ ๕๐๐ (๕๐๐X๑๐)
๔.ตู้โชว์ผลงาน จํานวน ๑ หลัง ๆ ละ ๘,๐๐๐
๑,๕๐๐
๓๐๐
๕,๐๐๐
๘,๐๐๐
๑,๕๐๐
๓๐๐
๕,๐๐๐
๘,๐๐๐
๓.เรียนรู้กับวิทยากรท้องถิ่น (สาระท้องถิ่น)
ผู้เรียน จํานวน ๒,๓๐๐ คน
ระยะเวลา ตุลาคม ๒๕๕๕ และ มีนาคม ๒๕๕๖
๑. ค่าวิทยากร ๓ งาน
๑.๑ งานอาหาร
๑.๒. งานประดิษฐ์
๑.๓ งานเกษตร
ชั่วโมงละ ๒๐๐ จํานวน ๑๒ : วิชา จํานวน ๑๐๐
ชั่วโมง ๒๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐
๔. กิจกรรมถนนอาชีพ - -
12
(ลงชื่อ) ผู้เสนอโครงการ
(นางอนงค์ มีปัญญา)
หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
(ลงชื่อ) ผู้ตรวจสอบโครงการ
(นายณัฐพล บัวอุไร)
หัวหน้าแผนงาน
(ลงชื่อ) ผู้ตรวจสอบโครงการ
(นางอรวรรณ วุฒิเวช)
รองผู้อํานวยการกลุ่มบริหารวิชาการ
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลําลูกกา
(ลงชื่อ) ผู้อนุมัติโครงการ
(นายประสงค์ สุบรรณพงษ์)
ผู้อํานวยการ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลําลูกกา
13
แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินโครงการ
การประเมินโครงการเป็น “ศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science)” หรือเป็น “วิทยาการประยุกต์ที่
เกิดจากการผสมผสานของศาสตร์หลายแขนง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีแนวคิดและวิธีการที่ผูกพันกับ
วิชาการสาขาเศรษฐศาสตร์เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดีถ้าพิจารณาเฉพาะคําว่า “การประเมินโครงการ”
แล้ว อาจบอกได้ว่าเป็นคําผสมของคําสองคําคือคําว่า “การประเมิน” กับคําว่า “โครงการ” ซึ่งทั้ง
สองคําต่างก็มีความหมายหรือคําจํากัดความเฉพาะของตนเอง
ความหมายของการประเมินโครงการ
นักวิชาการการศึกษาหลายท่าน ให้ความหมายของคําว่า “การประเมิน” ไว้ดังนี้
Stake (1973) ได้ให้ความหมายของการประเมินว่า เป็นการบรรยายและตัดสินคุณค่า
โครงการศึกษา ซึ่งเน้นเรื่องการบรรยายสิ่งที่จะถูกประเมินโดยอาศัยผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญใน
การตัดสินคุณค่า
Stufflebeam (1971) ได้กล่าวไว้ว่า การประเมินผลเป็นกระบวนการของการกําจัดข้อมูล
การได้รับและการให้ข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ เพื่อตัดสินทางเลือกที่แน่นอน
Rossi and Freeman (1985) ให้ความหมายของคําว่าประเมินผล ว่าหมายถึงแบบแผนใน
การกํากับควบคุมการดําเนินการใช้โครงการ และการประเมินค่าคุณประโยชน์ของโครงการ
Cronbach (1980) ให้ความหมายของคําว่าประเมินผลว่าหมายถึงการตรวจสอบหรือสอบวัด
อย่างเป็นระบบของสิ่งที่เกิดขึ้นอันเนื่องมากจากโครงการ เพื่อที่จะรวบรวมสิ่งที่ได้จากการตรวจสอบนี้
ไปปรับปรุงโครงการ
สมหวัง, พิริยานุวัฒน์ (2544) การประเมินโครงการ หมายถึง กระบวนการที่ก่อให้เกิด
สารนิเทศในการปรับปรุงโครงการ และสารนิเทศในการตัดสินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ
เยาวดี รางชัยกุล (2546) การประเมินโครงการ หมายถึง กระบวนการรวบรวมและวิเคราะห์
ข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อสรุปผลว่าโครงการนั้นๆ ได้บรรลุวัตถุประสงค์/เปูาหมาย และมี
ประสิทธิภาพเพียงใด
14
จากความหมายดังกล่าวแล้วอาจสรุปได้ว่า การประเมินโครงการหมายถึง กระบวนการใน
การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลของการดําเนินโครงการ และพิจารณาบ่งชี้ให้ทราบถึงจุดเด่นหรือ
จุดด้อยของโครงการนั้นอย่างมีระบบแล้วตัดสินใจว่าจะปรับปรุงแก้ไขโครงการนั้นเพื่อการดําเนินงาน
ต่อไปหรือจะยุติการดําเนินงานโครงการนั้น
ทาไมต้องประเมินโครงการ
ในการประเมินโครงการมีเปูาประสงค์หลักคือ ต้องการข้อมูลที่บ่งชี้ว่าโครงการที่
ดําเนินการนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่หรือเป็นโครงการที่คุ้มค่าต่อการตัดสินใจในการ
ดําเนินการหรือไม่ รวมถึงการศึกษาว่าในการดําเนินการโครงการมีปัญหาที่ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
หรือแก้ไขในเรื่องอะไรบ้าง และเป็นโครงการที่มีคุณค่ามากน้อยเพียงใด
ประเภทของการประเมินโครงการ
การแบ่งประเภทการประเมินโครงการคงมิใช่เป็นการกําหนดเกณฑ์เด็ดขาด แต่
จําเป็นต้องอาศัยเกณฑ์หลายชนิดมาจําแนกประเภท เช่น ใช้เวลา วัตถุประสงค์ วิธีการ และรูปแบบ
การประเมินมาบ่งบอกถึงประเภทของการประเมิน ซึ่งในที่นี้อาจจําแนกการประเมินโครงการออกเป็น
4 ประเภท ดังนี้
1. การประเมินโครงการก่อนดาเนินการ (Preliminary Evaluation) เป็นการศึกษา
ประเมินความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ก่อนที่เริ่มโครงการใดๆ โดยอาจทําการศึกษาถึง
ประสิทธิภาพของปัจจัยปูอน ความเหมาะสมของกระบวนการที่คาดว่าจะนํามาใช้ในการบริหาร
จัดการโครงการ ปัญหา อุปสรรค ความเสี่ยงของโครงการ ตลอดจนผลลัพธ์ หรือประสิทธิผลที่คาด
ว่าจะได้รับ ในขณะเดียวกันก็อาจจะศึกษาปลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ เช่น
- การประเมินผลกระทบด้านสังคม Social Impact Assessment-SIA)
- การประเมินผลกระทบด้านนิเวศ (Ecological Impact Assessment-
EIA)
- การประเมินผลกระทบด้านการเมือง (Political Impact Assessment-
PIA)
15
- การประเมินผลกระทบด้านเทคโนโลยี (Technological Impact
Assessment-TIA)
- การประเมินผลกระทบด้านประชากร (Population Impact
Assessment-PIA)
- การประเมินผลกระทบด้านนโยบาย (Policy Impact Assessment-
POIA)
- การประเมินผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ (Economic Impact
Assessment)
การประเมินโครงการก่อนการดําเนินการนี้มีประโยชน์สําหรับนักลงทุน เพื่อศึกษาดู
ว่าก่อนลงมือโครงการใดๆ นั้น จะเกิดความคุ้มค่าแก่การลงทุน (Cost effectiveness) หรือจะเกิด
ผลกระทบต่อระบบสิ่งแวดล้อมทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ประชากร เทคโนโลยี และระดับ
นโยบายหรือไม่ หากได้ทําการศึกษารอบคอบแล้วอาจจะได้ผลการคาดการณ์ล่วงหน้าว่า จะได้เกิด
ประโยชน์หรือโทษอย่างไร ปัญหา อุปสรรค เป็นอย่างไร เพื่อผู้เป็นเจ้าของโครงการจะได้ตัดสิน
ล่วงหน้าว่าจะเลิกล้มโครงการหรือปรับปรุงองค์ประกอบ และกระบวนการบริหารจัดการโครงการ
เพียงใดเพื่อให้เกิดผลดี
2. การประเมินระหว่างดาเนินการโครงการ (Formative evaluation) เป็นการ
ประเมินผลเพื่อการปรับปรุงเป็นสําคัญซึ่งมักจะใช้ประเมินผลระหว่างแผนหรือระหว่างพัฒนาโครงการ
ผลที่ได้จาก Formative evaluation นั้น จะช่วยตั้งวัตถุประสงค์ของโครงการให้เป็นไปตาม
เปูาหมายที่แท้จริง นอกจากนั้น Formative evaluation อาจใช้ในระหว่างดําเนินโครงการ จะช่วย
ตรวจสอบว่า โครงการได้ดําเนินไปตามแผนของโครงการอย่างไร อาจเรียกชื่อเฉพาะว่า
Implementation evaluation หรือ Formative evaluation อาจตรวจสอบความก้าวหน้าของ
โครงการว่าดําเนินได้ผลเพียงไร เรียกว่า Progress evaluation
โดยทั่วไปแล้ว Formative evaluation อาจใช้ประเมินสิ่งต่อไปนี้
1. ทบทวนแผนของโครงการ
2. การสร้างแผนของโครงการ
16
3. การพัฒนาแบบสอบถาม (Questionnaire) หรือรายการ (Check list)
สําหรับรวบรวมข้อมูลตามเรื่องที่ต้องการ
4. การคัดเลือกวิธีการวัดผลที่เหมาะสม
5. การกําหนดตารางเวลาการประเมินผลให้สอดคล้องกับการดําเนินโครงการ
6. การเตรียมข้อมูลที่จะเป็นข่าวสารสําหรับการรายงานและเสนอแนะสําหรับ
การตัดสินเกี่ยวกับการดําเนินโครงการ
7. การแนะนําแนวทางปรับปรุง การแก้ปัญหา และการเปลี่ยนแปลงการ
ปฏิบัติของโครงการ
3. การประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการหรือประเมินผลผลิต (Summative
Evaluation) เป็นการประเมินผลรวมสรุป มักจะใช้ประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ สําหรับโครงการที่มี
การดําเนินระยะยาวก็อาจใช้ Summative Evaluation ในการสรุปย่อความระยะยาวต่างๆ ข้อมูลที่
ได้จากระยะต่างๆ จะช่วยให้มีการประเมินสรุปรวมนั้น ส่วนใหญ่จะรวบรวมจากผลของ Formative
evaluationเป็น Summative Evaluation ซึ่งผลสรุปที่ได้จะนําสู่การรายงายว่า โครงการได้บรรลุ
เปูาหมาย (Goals) หรือไม่อย่างไร ตลอดจนการรายงานถึงสถานภาพของโครงการว่าประสบ
ความสําเร็จหรือล้มเหลวเพียงไร มีปัญหาหรืออุปสรรคใดที่ต้องแก้ไขปรับปรุงข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้
ผู้บริหารโครงการสามารถนําไปสู่การตัดสินว่า โครงการนั้นควรดําเนินการต่อหรือยกเลิก
4. การประเมินประสิทธิภาพ การประเมินโครงการโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
ประเทศไทยที่ผ่านมา ยังจํากัดอยู่ตาเพียงการประเมินผลผลิต โดยมุ่งที่จะทราบความสําเร็จหรือความ
ล้มเหลวของโครงการเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้ให้บริการหรือผู้ให้ทุนในการยุติหรือ
ขยายโครงการ แต่ในปัจจุบันนักประเมินและผู้บริหารโครงการ ได้ตระหนักถึงความสําคัญของการ
ประเมินประสิทธิภาพของโครงการด้วย โดยถือว่าเป็นประเภทของการประเมินที่จําเป็นสําหรับ
โครงการบริการทั่วไป เพราะจะช่วยเสริมให้โครงการเหล่านั้น สามารถดําเนินการอย่างสอดคล้องกับ
สภาวการณ์ของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการที่เอื้ออํานวยต่อการพัฒนาท้องถิ่น หรือโครงการที่
เป็นตัวกําหนดเกณฑ์สําคัญสําหรับประกันโครงการขนาดใหญ่ระดับชาติ ที่จะไม่ต้องสูญเสียทรัพยากร
ที่มีอยู่อย่างจํากัดโดยไม่จําเป็น การดําเนินโครงการบริการสังคมนั้น จะไม่มุ่งแต่เพียงความสําเร็จของ
โครงการเท่านั้น แต่จะต้องให้คุ้มค่าในเชิงของประสิทธิภาพด้วย
17
โดยปกติการประเมินประสิทธิภาพของโครงการมักจะเริ่มจากคําถามต่างๆ กัน เช่น
1. ความสําเร็จของโครงการนั้นๆ เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายแล้วมีความเหมาะสม
หรือไม่
2. ผลผลิตของโครงการเกิดจากปัจจัยที่ลงทุนไปใช่หรือไม่
3. โครงการนี้มีผลผลิตสูงกว่าโครงการอื่นๆ เมื่อลงทุนเท่ากันหรือไม่ และ
เพราะเหตุใด
การประเมินโครงการบางครั้งอาจจะไม่จําเป็นต้องประเมินแยกเป็นประเภทที่ได้กล่าวมา
ข้างต้น แต่สามารถทําการประเมินตลอดช่วงของโครงการก็ได้ โดยทําการประเมินก่อนดําเนินการ
จนถึงดําเนินโครงการเสร็จสิ้น แต่หากผู้ประเมินต้องการศึกษาและต้องการสารสนเทศสําหรับพัฒนา
โครงการในช่วงใด ก็อาจจะทําการประเมินในช่วงนั้นเพียงอย่างเดียวก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความ
เหมาะสมและความต้องการของเจ้าของโครงการ
รูปแบบการประเมินโครงการ
1. แนวคิดและโมเดิลซิปในการประเมินของสตัฟเฟิลบีม (Srufflebeam’s CIPP
Model)
ในปี ค.ศ. 1971 สตัฟเฟิลบีมและคณะได้เขียนหนังสือทางการประเมินออกมาหนึ่งเล่ม ชื่อ
“Educational Evaluation and decision Making” หนังสือเล่มนี้ได้เป็นที่ยอมรับกันอย่าง
กว้างขวางในวงการศึกษาของไทยเพราะได้ให้แนวคิดและวิธีการทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
ได้อย่างน่าสนใจและทันสมัยด้วย นอกจากนั้น สตัฟเฟิลบีมก็ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการประเมินและ
รูปแบบของการประเมินอีกหลายเล่มอย่างต่อเนื่อง จึงกล่าวได้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้มีบทบาทสําคัญในการ
พัฒนาทฤษฎีการประเมิน จนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในปัจจุบัน เรียกว่า CIPP Model
18
รูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) เป็นการประเมนภาพรวมของ
โครงการ ตั้งแต่บริบท ปัจจัยปูอน กระบวนการ และผลผลิต (Context, Input, Process and
product) โดยจะใช้วิธีการสร้างเกณฑ์และประสิทธิภาพของโครงการ ทั้งภาพรวมหรือรายปัจจัยเป็น
สําคัญ ซึ่งพออธิบายได้ดังนี้
การประเมินด้านบริบท หรือประเมินเนื้อความ (context Evaluation ) เป็น
การศึกษาปัจจัยพื้นฐานที่นําไปสู่การพัฒนาเปูาหมายของโครงการ ได้แก่ บริบทของสภาพแวดล้อม
นโยบาย วิสัยทัศน์ ปัญหา แหล่งทุน สภาพความผันผวนทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง
ตลอดจนแนวโน้มการก่อตัวของปัญหาที่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการดําเนินโครงการ เป็นต้น
การประเมินปัจจัยป้อน (Input Evaluation) เพื่อต้นหาประสิทธิภาพของ
องค์ประกอบที่นํามาเป็นปัจจัยปูอน ซึ่งในด้านการท่องเที่ยวอาจจะจําแนกเป็นบุคคล สิ่งอํานวยความ
สะดวก เครื่องมือ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ ศักยภาพการบริหารงาน ซึ่งแต่ละปัจจัยก็ยังจําแนกย่อยออกไป
อีก เช่น บุคคล อาจพิจารณาเป็น เพศ อายุ มีสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ ความพึงพอใจ
ความคาดหวัง ทัศนคติ ศักยภาพ ความสามารถ ประสบการณ์ ความรู้ คุณวุฒิทางการศึกษา ถิ่นที่
อยู่และลักษณะกระบวนการกลุ่ม เป็นต้น
การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เป็นการศึกษาต่อจากการ
ประเมินบริบทและปัจจัยปูอนว่า กระบวนการเป็นไปตามแผนที่วางไว้ เป็นการศึกษาค้นหา
ข้อบกพร่อง จุดอ่อน หรือจุดแข็งของกระบวนการบริหารจัดการโครงการที่จะนําโครงการบรรลุ
วัตถุประสงค์ที่วางไว้ว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
การประเมินสภาวะแวดล้อม
(Context Evaluation)
การประเมินปัจจัยเบื้องต้น/ตัวป้อน
(Input Evaluation)
การประเมินกระบวนการ
(Process Evaluation)
การประเมินผลผลิต
(Product Evaluation)
19
การประเมินผลิตผล (Product Evaluation) เป็นการตรวจสอบ
ประสิทธิผลของโครงการ โดยเฉพาะความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับผลลัพธ์ที่ได้แล้วนํา
เกณฑ์ที่กําหนดไว้ไปตัดสิน เกณฑ์มาตรฐานนั้นอาจจะกําหนดขึ้นเองหรืออาศัยเกณฑ์ที่บุคคลหรือ
หน่วยงานอื่นกําหนดไว้ก็ได้ ซึ่งในที่นี้ผู้วิจัยจะกล่าวในตอนต่อไป
2. แนวความคิดและแบบจาลองของ R.W. Tyler
R.W. Tyler เป็นนักประเมินรุ่นแรกๆ ในปี ค.ศ. 1930 และเป็นผู้ที่เริ่มต้นบุกเบิก
แนวความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินโครงการ เขามีความเห็นว่า “การประเมินคือการเปรียบเทียบ
พฤติกรรมเฉพาะอย่าง (performance) กับจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมที่วางไว้” โดยมีความเชื่อว่า
จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้อย่างชัดเจน รัดกุมและจําเพาะเจาะจงแล้ว จะเป็นแนวทางช่วยในการประเมินได้
เป็นอย่างดีในภายหลัง จากคําจํากัดความของการประเมินดังกล่าวแล้วนี้จะเห็นได้ว่า มีแนวความคิด
เห็นว่า โครงการจะประสบผลสําเร็จหรือไม่ ดูได้จากผลผลิตของโครงการว่าตรงตามจุดมุ่งหมายที่ตั้ง
ไว้แต่แรกหรือไม่เท่านั้น แนวความคิดในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า “แบบจําลองที่ยึดความสําเร็จของ
จุดมุ่งหมายเป็นหลัก (Goal Attainment Model or Objective) เรียกว่า Tyler’s Goal
Attainment Model
ซึ่งต่อมาปี 1950 ได้มีรูปแบบ มาใช้เป็นกระบวนการตัดสินการบรรลุวัตถุประสงค์
ของสิ่งที่ทําการประเมิน (R.W. Tyler.1950) เรียกว่า “Triple Ps Model” ดังนี้
P-Philosophy & Purpose -ปรัชญา/จุดมุ่งหมาย
P-Process -กระบวนการ
P-Product -ผลผลิต
ในการประยุกต์ใช้ในการประเมินโครงการทางการศึกษาได้โดยการประเมิน
ความสัมพันธ์ของทั้ง 3 ว่า ปรัชญา/จุดมุ่งหมายของโครงการมีความสัมพันธ์กับกระบวนการและ
ผลผลิตหรือไม่ ถ้าประเมินเป็นส่วนๆ ก็จะประเมินในด้านประสิทธิภาพของปรัชญา/จุดมุ่งหมายและ
กระบวนการประเมินประสิทธิผลของผลผลิตว่าตรงกับปรัชญา/จุดมุ่งหมายหรือไม่ มีประสิทธิภาพ
เพียงใด เป็นต้น
20
3. แนวความคิดของ Stake ในการประเมิน
แนวความคิดของ Robert E. Stake นั้น คํานึงถึงความต้องการสารสนเทศที่แตกต่าง
กันของบุคคลหลายๆ ฝุาย ที่เกี่ยวข้องกับโครงการในการประเมินโครงการ ผู้เกี่ยวข้องคนหนึ่งอาจ
ต้องการทราบเกี่ยวกับความแน่นอนและสอดคล้องในการวัด เพื่อการประเมินนั้นๆในขณะที่
ผู้เกี่ยวข้องคนอื่นอาจต้องการทราบทิศทางการดําเนินงานของโครงการหรือผู้ใช้ผลผลิตของโครงการ
อาจมีความต้องการอีกรูปหนึ่ง สําหรับนักวิจัยอาจต้องการสารสนเทศที่แตกต่างไปจากผู้เกี่ยวข้อง
อื่นๆ เพราะการประเมินนั้นเพื่อที่จะรู้เรื่องราวต่างๆ ของโครงการอย่างละเอียดลึกซึ้ง เพื่อนํามา
ประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการ
ดังนั้นการประเมินโครงการจึงต้องมีการบรรยายเกี่ยวกับโครงการอย่างละเอียด
เพื่อให้ครอบคลุมถึงสารสนเทศที่จะตองสนองความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อจะนําไปสู่การตัดสินใจ
เกี่ยวกับโครงการนั้น จึงเสนอรูปแบบของการประเมินโครงการอย่างมีระบบ โดยการบรรยายและ
ตัดสินคุณค่าเกี่ยวกับโครงการตามหลักการของโครงการนั้นๆ
Stake ได้ตั้งชื่อแบบจําลองในการประเมินผลของเขาว่า แบบจําลองการสนับสนุน
(Countenance Model) โดย Stake ได้เน้นว่า การประเมินโครงการจะต้องมี 2 ส่วน คือ การ
บรรยาย (Descriptive) และการตัดสินคุณค่า (Judgment)
ในภาคการบรรยายนั้น ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ประเมินจะต้องหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ
โครงการให้ได้มากที่สุด ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1. เป้าหมายหรือความคาดหวัง (Goals or Intents) เปูาหมายที่ครอบคลุม
นโยบายทั้งหมด สําหรับการประเมินการศึกษาไม่ควรจะสนใจเปูาหมายเฉพาะในแง่พฤติกรรมของ
ผู้เรียนเพียงอย่างเดียว ต้องคํานึงถึงองค์ประกอบอื่นๆ ด้วย ความคาดหวังนี้ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1.1 สิ่งนํา (Antecedence) เป็นสภาพที่มีอยู่ก่อน ซึ่งอาจจะเกี่ยวพันกับ
ผลของการเรียนการสอน
1.2 ปฏิบัติการ (Transactions) เป็นผลสําเร็จของการจัดกระทํางานเป็น
องค์ประกอบของขบวนการเรียนการสอน
1.3 ผลลัพธ์ (Outcomes) เป็นผลของโปรแกรมทางการศึกษา
21
2. สิ่งที่เป็นจริงหรือสังเกตได้ (Observations) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสภาพความ
เป็นจริง มีส่วนประกอบ 3 ส่วนเช่นกัน คือ สิ่งนํา ปฏิบัติการ และผลลัพธ์
ความสอดคล้องระหว่างสิ่งที่คาดหวังกับสิ่งที่เป็นจริง มิได้เป็นตัวชี้บ่งว่าข้อมูลที่เราได้
มีความเที่ยงหรือความตรง แต่เป็นเพียงสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า สิ่งที่ตั้งใจไว้ได้เกิดขึ้นจริงเท่านั้น
ในภาคการตัดสินคุณค่า เป็นส่วนที่จะตัดสินว่า โครงการประสบความสําเร็จหรือไม่
เพียงใด นักประเมินต้องพยายามศึกษาดูว่า มาตรฐานอะไรบ้างที่เหมาะสมในการที่จะนํามา
เปรียบเทียบเพื่อช่วยในการตัดสินใจโดยทั่วๆ ไป เกณฑ์ที่ใช้มี 2 ชนิด คือ
1. เกณฑ์สัมบูรณ์ (Absolute Criterion) เป็นเกณฑ์ที่เราตั้งไว้ อาจจะเกิดขึ้นก่อน
โดยมีความเป็นอิสระจากพฤติกรรมของกลุ่ม
2. เกณฑ์สัมพัทธ์ (Relative Criterion) เป็นเกณฑ์ที่ได้มาจากพฤติกรรมของกลุ่ม
ถ้าผู้ประเมินไม่สามารถหามาตรฐานที่จะนํามาเปรียบเทียบได้ ก็ต้องพยายามหา
โครงการอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาเปรียบเทียบเพื่อช่วยในการตัดสินใจ แบบจําลองนี้มุ่งเน้น
ความสอดคล้อง และความสมเหตุสมผลของเมตริกบรรยาย และเมตริกตัดสินคุณค่า สําหรับความ
สอดคล้องนั้น มี 2 ลักษณะ คือ
1. Contingence เป็นความสอดคล้องเชิงเหตุผล จะพิจารณาความสัมพันธ์ใน
แนวตั้งตาม ของ Stake
2. Congruence เป็นความสอดคล้องที่ปรากฏขึ้นจริง หรือเป็นความสอดคล้องใน
เชิงประจักษ์ (empirical) พิจารณาความสัมพันธ์ในแนวนอนตามของ Stake
ข้อดีสําหรับรูปแบบของการประเมินของ Stake คือ เสนอวิธีการประเมินเป็นระบบ เพื่อ
จัดเตรียมข้อมูลเชิงบรรยาย และตัดสินคุณค่า มีมาตรฐานในการประเมินปรากฏชัดเจน แต่มีข้อจํากัด
คือ เซลล์บางเซลล์ของเมตริกมีความคาบเกี่ยวกัน และความแตกต่างระหว่างเซลล์ไม่ชัดเจน ซึ่ง
อาจจะทําให้เกิดความขัดแย้งภายในโครงการได้
การเลือกใช้แนวคิดและโมเดลการประเมิน ผู้ประเมินควรเลือกให้เหมาะสมและเป็นโมเดลที่
สามารถตอบคําถามการประเมินได้ตรงประเด็น เพราะโมเดลการประเมินแต่ละแบบมีลักษณะและ
22
สถานการณ์ที่เหมาะสมต่างๆ กัน เช่น โมเดลการประเมินของสตัฟเฟิลบีม ที่เรียกกว่า CIPP Model
เป็นโมเดลที่มีลักษณะเป็นการประเมินตลอดช่วง ตั้งแต่การประเมินบริบท ไปจนถึงการประเมินผลิต
ดังนั้นหากโครงการที่ต้องการประเมินดําเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว การใช้โมเดลนี้ก็จะไม่เหมาะสม
ดังนั้นผู้ประเมินจึงควรเลือกโมเดลการประเมินที่เหมาะสมก่อนทําการประเมินทุกครั้ง
ประโยชน์ของการประเมินโครงการ
1. การประเมินจะช่วยทําให้การกําหนดวัตถุประสงค์และมาตรฐานของการดําเนินงานมีความ
ชัดเจนขึ้นกล่าวคือก่อนที่โครงการจะได้รับการสนับสนุนให้นําไปใช้ย่อมจะได้รับการตรวจสอบอย่าง
ละเอียดจากผู้บริหารและผู้ประเมิน ส่วนใดที่ไม่ชัดเจนเช่นวัตถุประสงค์หรือมาตรฐานในการ
ดําเนินงานหากขาดความแน่นอนแจ่มชัดจะต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้มีความถูกต้องชัดเจน
เสียก่อน ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าการประเมินโครงการมีส่วนช่วยทําให้โครงการมีความชัดเจนและสามารถ
ที่จะนําไปปฏิบัติได้อย่างได้ผล มากกว่าโครงการที่ไม่ได้รับการประเมิน
2. การประเมินโครงการช่วยให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างคุ้มค่าหรือเกิดประโยชน์เต็มที่
ทั้งนี้เพราะการประเมินโครงการจะต้องวิเคราะห์ทุกส่วนของโครงการ ข้อมูลใดหรือปัจจัยใดที่เป็น
ปัญหาจะได้รับการจัดสรรให้อยู่ในจํานวนหรือปริมาณที่เหมาะสมเพียงพอแก่การดําเนินงาน
ทรัพยากรที่ไม่จําเป็นหรือมีมากเกินไปจะได้รับการตัดทอน และทรัพยากรใดที่ขาดก็จะได้รับการ
จัดหาเพิ่มเติม ฉะนั้นการประเมินโครงการจึงมีส่วนที่ทําให้การใช้ทรัพยากรของโครงการเป็นไปอย่าง
คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
3. การประเมินโครงการช่วยให้แผนงานบรรลุวัตถุประสงค์ ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าโครงการเป็น
ส่วนหนึ่งของแผน ดังนั้นเมื่อโครงการได้รับการตรวจสอบวิเคราะห์ปรับปรุงแก้ไขให้ดําเนินการไป
ด้วยดี ย่อมจะทําให้แผนงานดําเนินไปด้วยดีและบรรลุถึงวัตถุประสงค์ที่ได้กําหนดไว้ หากโครงการใด
โครงการหนึ่งมีปัญหาในการนําไปปฏิบัติย่อมกระทบกระเทือนต่อแผนงานทั้งหมดโดยส่วนรวม ฉะนั้น
จึงอาจกล่าวได้เช่นเดียวกันว่าหากการประเมินโครงการมีส่วนช่วยให้โครงการดําเนินไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ ย่อมหมายถึงการประเมินโครงการมีส่วนช่วยให้แผนงานบรรลุถึงวัตถุประสงค์และ
ดําเนินงานไปด้วยดีเช่นเดียวกัน
4. การประเมินโครงการมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาอันเกิดจากผลกระทบ (Impact) ของ
โครงการและทําให้โครงการมีข้อที่ทําให้เกิดความเสียหายลดน้อยลง ดังตัวอย่างโครงการเขื่อนน้ําโจน
ซึ่งในการสร้างถนนเพื่อไปสู่สถานที่สร้างเขื่อนนั้นต้องผ่านปุาไม้ธรรมชาติ ทําให้เกิดการลักลอบตัดไม้
ทําลายปุาและสัตว์ปุาหลายชนิดอาจต้องสูญพันธ์การประเมินโครงการจะช่วยให้เกิดโครงการปูองกัน
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555
ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555

Contenu connexe

Tendances

โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...ssuser858855
 
คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์
คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์
คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์niralai
 
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1prayut2516
 
ขอความอนุเคราะห์
ขอความอนุเคราะห์ขอความอนุเคราะห์
ขอความอนุเคราะห์Rapheephan Phola
 
ตัวอย่างบันทึกข้อความ
ตัวอย่างบันทึกข้อความตัวอย่างบันทึกข้อความ
ตัวอย่างบันทึกข้อความnurmedia
 
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงWareerut Hunter
 
โครงงานนาฏศิลป์ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์
โครงงานนาฏศิลป์ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์โครงงานนาฏศิลป์ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์
โครงงานนาฏศิลป์ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์ธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล
 
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิดคำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิดA-NKR Ning
 
ดาวโหลดเอกสารเลือกตั้งประธานนักเรียน
ดาวโหลดเอกสารเลือกตั้งประธานนักเรียนดาวโหลดเอกสารเลือกตั้งประธานนักเรียน
ดาวโหลดเอกสารเลือกตั้งประธานนักเรียนwaranyuati
 
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิตแบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิตsripayom
 
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทานโครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทานRawinnipha Joy
 
ภาคผนวกโครงงานกล้อง
ภาคผนวกโครงงานกล้องภาคผนวกโครงงานกล้อง
ภาคผนวกโครงงานกล้องkrupornpana55
 
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1gchom
 
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูดโครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูดBio Beau
 
โครงการปรับปรุงซ่อมแซมโรงอาหารโรงเรียนบ้านโคกกลางแก้งน้อยฯ
โครงการปรับปรุงซ่อมแซมโรงอาหารโรงเรียนบ้านโคกกลางแก้งน้อยฯโครงการปรับปรุงซ่อมแซมโรงอาหารโรงเรียนบ้านโคกกลางแก้งน้อยฯ
โครงการปรับปรุงซ่อมแซมโรงอาหารโรงเรียนบ้านโคกกลางแก้งน้อยฯศิริพัฒน์ ธงยศ
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3สุภาพร สิทธิการ
 
คำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมิน
คำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมินคำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมิน
คำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมินpupphawittayacom
 

Tendances (20)

โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
 
คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์
คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์
คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์
 
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
 
ใบงานกฎหมาย
ใบงานกฎหมายใบงานกฎหมาย
ใบงานกฎหมาย
 
ขอความอนุเคราะห์
ขอความอนุเคราะห์ขอความอนุเคราะห์
ขอความอนุเคราะห์
 
ตัวอย่างบันทึกข้อความ
ตัวอย่างบันทึกข้อความตัวอย่างบันทึกข้อความ
ตัวอย่างบันทึกข้อความ
 
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
 
โครงงานนาฏศิลป์ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์
โครงงานนาฏศิลป์ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์โครงงานนาฏศิลป์ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์
โครงงานนาฏศิลป์ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์
 
มารยาทไทย1
มารยาทไทย1มารยาทไทย1
มารยาทไทย1
 
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิดคำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
 
ดาวโหลดเอกสารเลือกตั้งประธานนักเรียน
ดาวโหลดเอกสารเลือกตั้งประธานนักเรียนดาวโหลดเอกสารเลือกตั้งประธานนักเรียน
ดาวโหลดเอกสารเลือกตั้งประธานนักเรียน
 
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิตแบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
 
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทานโครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
 
ภาคผนวกโครงงานกล้อง
ภาคผนวกโครงงานกล้องภาคผนวกโครงงานกล้อง
ภาคผนวกโครงงานกล้อง
 
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
 
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูดโครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
 
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
โครงการปรับปรุงซ่อมแซมโรงอาหารโรงเรียนบ้านโคกกลางแก้งน้อยฯ
โครงการปรับปรุงซ่อมแซมโรงอาหารโรงเรียนบ้านโคกกลางแก้งน้อยฯโครงการปรับปรุงซ่อมแซมโรงอาหารโรงเรียนบ้านโคกกลางแก้งน้อยฯ
โครงการปรับปรุงซ่อมแซมโรงอาหารโรงเรียนบ้านโคกกลางแก้งน้อยฯ
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
 
คำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมิน
คำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมินคำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมิน
คำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมิน
 

En vedette

แบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจแบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจDuangnapa Inyayot
 
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013Kruthai Kidsdee
 
การติดตามและประเมินโครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน
การติดตามและประเมินโครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียนการติดตามและประเมินโครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน
การติดตามและประเมินโครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียนNattapon
 
โครงงานอาชีพ
โครงงานอาชีพโครงงานอาชีพ
โครงงานอาชีพratchadaphun
 
แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘
แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘
แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘Duangnapa Inyayot
 
โครงงานอาชีพ ม.ต้น
โครงงานอาชีพ ม.ต้นโครงงานอาชีพ ม.ต้น
โครงงานอาชีพ ม.ต้นratchadaphun
 
โครงงาน น้ำตะไคร้เพื่อสุขภาพ
โครงงาน น้ำตะไคร้เพื่อสุขภาพโครงงาน น้ำตะไคร้เพื่อสุขภาพ
โครงงาน น้ำตะไคร้เพื่อสุขภาพกก กอล์ฟ
 
ตัวอย่างโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยสรุป เรื่องหัวบุกผง
ตัวอย่างโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยสรุป เรื่องหัวบุกผงตัวอย่างโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยสรุป เรื่องหัวบุกผง
ตัวอย่างโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยสรุป เรื่องหัวบุกผงkasetpcc
 
โครงงานเรื่อง อาหารไทย
โครงงานเรื่อง อาหารไทยโครงงานเรื่อง อาหารไทย
โครงงานเรื่อง อาหารไทยEakkamol Dechudom
 
โครงงาน ขนมเค้ก
โครงงาน ขนมเค้กโครงงาน ขนมเค้ก
โครงงาน ขนมเค้กJaruwan Kuangkum
 
บทที่ 3 การสื่อสารข้อมูล
บทที่ 3 การสื่อสารข้อมูลบทที่ 3 การสื่อสารข้อมูล
บทที่ 3 การสื่อสารข้อมูลNattapon
 
การพัฒนา Blog ด้วย wordpress
การพัฒนา Blog ด้วย wordpressการพัฒนา Blog ด้วย wordpress
การพัฒนา Blog ด้วย wordpressNattapon
 
บทที่ 2 คอมพิวเตอร์
บทที่ 2 คอมพิวเตอร์บทที่ 2 คอมพิวเตอร์
บทที่ 2 คอมพิวเตอร์Nattapon
 
โครงงานอาชีพม.ปลาย
โครงงานอาชีพม.ปลายโครงงานอาชีพม.ปลาย
โครงงานอาชีพม.ปลายratchadaphun
 
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556Nattapon
 
รายงานผลการประเมินตนเอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556
รายงานผลการประเมินตนเอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556รายงานผลการประเมินตนเอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556
รายงานผลการประเมินตนเอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556Nattapon
 
รายงานผลการประเมินตนเอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
รายงานผลการประเมินตนเอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556รายงานผลการประเมินตนเอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
รายงานผลการประเมินตนเอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556Nattapon
 
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียน
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียนโครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียน
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียนSuwanan Thipphimwong
 

En vedette (20)

แบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจแบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจ
 
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
 
การติดตามและประเมินโครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน
การติดตามและประเมินโครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียนการติดตามและประเมินโครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน
การติดตามและประเมินโครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน
 
โครงงานอาชีพ
โครงงานอาชีพโครงงานอาชีพ
โครงงานอาชีพ
 
แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘
แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘
แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประชุมสัมมนาโครงการสภานักเรียน ประจำปี ๒๕๕๘
 
โครงงานอาชีพ ม.ต้น
โครงงานอาชีพ ม.ต้นโครงงานอาชีพ ม.ต้น
โครงงานอาชีพ ม.ต้น
 
โครงงาน น้ำตะไคร้เพื่อสุขภาพ
โครงงาน น้ำตะไคร้เพื่อสุขภาพโครงงาน น้ำตะไคร้เพื่อสุขภาพ
โครงงาน น้ำตะไคร้เพื่อสุขภาพ
 
ตัวอย่างโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยสรุป เรื่องหัวบุกผง
ตัวอย่างโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยสรุป เรื่องหัวบุกผงตัวอย่างโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยสรุป เรื่องหัวบุกผง
ตัวอย่างโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยสรุป เรื่องหัวบุกผง
 
โครงงานเรื่อง อาหารไทย
โครงงานเรื่อง อาหารไทยโครงงานเรื่อง อาหารไทย
โครงงานเรื่อง อาหารไทย
 
ตัวอย่างแบบประเมินการฝึกอบรม
ตัวอย่างแบบประเมินการฝึกอบรมตัวอย่างแบบประเมินการฝึกอบรม
ตัวอย่างแบบประเมินการฝึกอบรม
 
โครงงาน ขนมเค้ก
โครงงาน ขนมเค้กโครงงาน ขนมเค้ก
โครงงาน ขนมเค้ก
 
บทที่ 3 การสื่อสารข้อมูล
บทที่ 3 การสื่อสารข้อมูลบทที่ 3 การสื่อสารข้อมูล
บทที่ 3 การสื่อสารข้อมูล
 
การพัฒนา Blog ด้วย wordpress
การพัฒนา Blog ด้วย wordpressการพัฒนา Blog ด้วย wordpress
การพัฒนา Blog ด้วย wordpress
 
บทที่ 2 คอมพิวเตอร์
บทที่ 2 คอมพิวเตอร์บทที่ 2 คอมพิวเตอร์
บทที่ 2 คอมพิวเตอร์
 
โครงงานอาชีพม.ปลาย
โครงงานอาชีพม.ปลายโครงงานอาชีพม.ปลาย
โครงงานอาชีพม.ปลาย
 
ชื่อโครงการ 57
ชื่อโครงการ 57ชื่อโครงการ 57
ชื่อโครงการ 57
 
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556
 
รายงานผลการประเมินตนเอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556
รายงานผลการประเมินตนเอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556รายงานผลการประเมินตนเอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556
รายงานผลการประเมินตนเอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556
 
รายงานผลการประเมินตนเอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
รายงานผลการประเมินตนเอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556รายงานผลการประเมินตนเอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
รายงานผลการประเมินตนเอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
 
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียน
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียนโครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียน
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียน
 

Similaire à ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555

Kroojade Research
Kroojade ResearchKroojade Research
Kroojade Researchkroojade
 
Kroojade Research
Kroojade ResearchKroojade Research
Kroojade Researchkroojade
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9benty2443
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9nattawad147
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9wanneemayss
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701gam030
 
บทที่ 10
บทที่ 10บทที่ 10
บทที่ 10kanwan0429
 
บทที่ 10
บทที่ 10บทที่ 10
บทที่ 10kanwan0429
 
ใบความรู้ 6.2การประเมินผลโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ 6.2การประเมินผลโครงงานคอมพิวเตอร์ใบความรู้ 6.2การประเมินผลโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ 6.2การประเมินผลโครงงานคอมพิวเตอร์sa_jaimun
 
9789740330325
97897403303259789740330325
9789740330325CUPress
 
10 170819173737
10 17081917373710 170819173737
10 170819173737gam030
 

Similaire à ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555 (20)

Project evaluation
Project evaluationProject evaluation
Project evaluation
 
Kroojade Research
Kroojade ResearchKroojade Research
Kroojade Research
 
Kroojade Research
Kroojade ResearchKroojade Research
Kroojade Research
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
 
บทที่ 10
บทที่ 10บทที่ 10
บทที่ 10
 
บทที่ 10
บทที่ 10บทที่ 10
บทที่ 10
 
ใบความรู้ 6.2การประเมินผลโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ 6.2การประเมินผลโครงงานคอมพิวเตอร์ใบความรู้ 6.2การประเมินผลโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ 6.2การประเมินผลโครงงานคอมพิวเตอร์
 
9789740330325
97897403303259789740330325
9789740330325
 
10 170819173737
10 17081917373710 170819173737
10 170819173737
 

Plus de Nattapon

About Python
About PythonAbout Python
About PythonNattapon
 
มาตรฐานการศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี
มาตรฐานการศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานีมาตรฐานการศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี
มาตรฐานการศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานีNattapon
 
ใบความรู้ที่ 10 application calculator
ใบความรู้ที่ 10 application calculatorใบความรู้ที่ 10 application calculator
ใบความรู้ที่ 10 application calculatorNattapon
 
รายงานการวิจัยการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (E-Learning) ...
รายงานการวิจัยการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (E-Learning) ...รายงานการวิจัยการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (E-Learning) ...
รายงานการวิจัยการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (E-Learning) ...Nattapon
 
รายงานการวิจัยวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ม.5/8
รายงานการวิจัยวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ม.5/8รายงานการวิจัยวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ม.5/8
รายงานการวิจัยวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ม.5/8Nattapon
 
รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เ...
รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เ...รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เ...
รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เ...Nattapon
 
บันทึกความดี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
บันทึกความดี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556บันทึกความดี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
บันทึกความดี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556Nattapon
 
ใบความรู้ที่ 8 application paint pot2
ใบความรู้ที่ 8 application paint pot2ใบความรู้ที่ 8 application paint pot2
ใบความรู้ที่ 8 application paint pot2Nattapon
 
ใบความรู้ที่ 7 application paint pot
ใบความรู้ที่ 7 application paint potใบความรู้ที่ 7 application paint pot
ใบความรู้ที่ 7 application paint potNattapon
 
ใบความรู้ที่ 6 application talk to me
ใบความรู้ที่ 6 application talk to meใบความรู้ที่ 6 application talk to me
ใบความรู้ที่ 6 application talk to meNattapon
 
ใบความรู้ที่ 5 ส่วนประกอบของโปรแกรม mit app inventor
ใบความรู้ที่ 5 ส่วนประกอบของโปรแกรม mit app inventorใบความรู้ที่ 5 ส่วนประกอบของโปรแกรม mit app inventor
ใบความรู้ที่ 5 ส่วนประกอบของโปรแกรม mit app inventorNattapon
 
ใบความรู้ที่ 4 เริ่มต้นสร้างแอพลิเคชันด้วย mit app inventor
ใบความรู้ที่ 4 เริ่มต้นสร้างแอพลิเคชันด้วย mit app inventorใบความรู้ที่ 4 เริ่มต้นสร้างแอพลิเคชันด้วย mit app inventor
ใบความรู้ที่ 4 เริ่มต้นสร้างแอพลิเคชันด้วย mit app inventorNattapon
 
ใบความรู้ที่ 3 เริ่มต้นเกี่ยวกับ mit app inventor 2
ใบความรู้ที่ 3 เริ่มต้นเกี่ยวกับ mit app inventor 2ใบความรู้ที่ 3 เริ่มต้นเกี่ยวกับ mit app inventor 2
ใบความรู้ที่ 3 เริ่มต้นเกี่ยวกับ mit app inventor 2Nattapon
 
ใบความรู้ที่ 2 การวางแผนจัดทำ application
ใบความรู้ที่ 2 การวางแผนจัดทำ applicationใบความรู้ที่ 2 การวางแผนจัดทำ application
ใบความรู้ที่ 2 การวางแผนจัดทำ applicationNattapon
 
ใบความรู้ที่ 1 หลักการและขั้นตอนการพัฒนา application
ใบความรู้ที่ 1 หลักการและขั้นตอนการพัฒนา applicationใบความรู้ที่ 1 หลักการและขั้นตอนการพัฒนา application
ใบความรู้ที่ 1 หลักการและขั้นตอนการพัฒนา applicationNattapon
 
การติดตั้งโปรแกรม Microsoft visual studio 2010
การติดตั้งโปรแกรม Microsoft visual studio 2010การติดตั้งโปรแกรม Microsoft visual studio 2010
การติดตั้งโปรแกรม Microsoft visual studio 2010Nattapon
 
ใบความรู้ที่ 4 เรื่องการเขียนโปรแกรมคำนวณเลขอย่างง่าย
ใบความรู้ที่ 4 เรื่องการเขียนโปรแกรมคำนวณเลขอย่างง่ายใบความรู้ที่ 4 เรื่องการเขียนโปรแกรมคำนวณเลขอย่างง่าย
ใบความรู้ที่ 4 เรื่องการเขียนโปรแกรมคำนวณเลขอย่างง่ายNattapon
 
ใบความรู้ที่ 3 เรื่องการเพิ่มฟอร์มและคำสั่งเปิดฟอร์ม
ใบความรู้ที่ 3 เรื่องการเพิ่มฟอร์มและคำสั่งเปิดฟอร์มใบความรู้ที่ 3 เรื่องการเพิ่มฟอร์มและคำสั่งเปิดฟอร์ม
ใบความรู้ที่ 3 เรื่องการเพิ่มฟอร์มและคำสั่งเปิดฟอร์มNattapon
 
ใบความรู้ที่ 2 เรื่องการใช้ message box และฟังก์ชันเปิดปิดโปรแกรม
ใบความรู้ที่ 2 เรื่องการใช้ message box และฟังก์ชันเปิดปิดโปรแกรมใบความรู้ที่ 2 เรื่องการใช้ message box และฟังก์ชันเปิดปิดโปรแกรม
ใบความรู้ที่ 2 เรื่องการใช้ message box และฟังก์ชันเปิดปิดโปรแกรมNattapon
 

Plus de Nattapon (20)

Resume
ResumeResume
Resume
 
About Python
About PythonAbout Python
About Python
 
มาตรฐานการศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี
มาตรฐานการศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานีมาตรฐานการศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี
มาตรฐานการศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี
 
ใบความรู้ที่ 10 application calculator
ใบความรู้ที่ 10 application calculatorใบความรู้ที่ 10 application calculator
ใบความรู้ที่ 10 application calculator
 
รายงานการวิจัยการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (E-Learning) ...
รายงานการวิจัยการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (E-Learning) ...รายงานการวิจัยการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (E-Learning) ...
รายงานการวิจัยการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (E-Learning) ...
 
รายงานการวิจัยวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ม.5/8
รายงานการวิจัยวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ม.5/8รายงานการวิจัยวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ม.5/8
รายงานการวิจัยวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ม.5/8
 
รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เ...
รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เ...รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เ...
รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เ...
 
บันทึกความดี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
บันทึกความดี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556บันทึกความดี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
บันทึกความดี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
 
ใบความรู้ที่ 8 application paint pot2
ใบความรู้ที่ 8 application paint pot2ใบความรู้ที่ 8 application paint pot2
ใบความรู้ที่ 8 application paint pot2
 
ใบความรู้ที่ 7 application paint pot
ใบความรู้ที่ 7 application paint potใบความรู้ที่ 7 application paint pot
ใบความรู้ที่ 7 application paint pot
 
ใบความรู้ที่ 6 application talk to me
ใบความรู้ที่ 6 application talk to meใบความรู้ที่ 6 application talk to me
ใบความรู้ที่ 6 application talk to me
 
ใบความรู้ที่ 5 ส่วนประกอบของโปรแกรม mit app inventor
ใบความรู้ที่ 5 ส่วนประกอบของโปรแกรม mit app inventorใบความรู้ที่ 5 ส่วนประกอบของโปรแกรม mit app inventor
ใบความรู้ที่ 5 ส่วนประกอบของโปรแกรม mit app inventor
 
ใบความรู้ที่ 4 เริ่มต้นสร้างแอพลิเคชันด้วย mit app inventor
ใบความรู้ที่ 4 เริ่มต้นสร้างแอพลิเคชันด้วย mit app inventorใบความรู้ที่ 4 เริ่มต้นสร้างแอพลิเคชันด้วย mit app inventor
ใบความรู้ที่ 4 เริ่มต้นสร้างแอพลิเคชันด้วย mit app inventor
 
ใบความรู้ที่ 3 เริ่มต้นเกี่ยวกับ mit app inventor 2
ใบความรู้ที่ 3 เริ่มต้นเกี่ยวกับ mit app inventor 2ใบความรู้ที่ 3 เริ่มต้นเกี่ยวกับ mit app inventor 2
ใบความรู้ที่ 3 เริ่มต้นเกี่ยวกับ mit app inventor 2
 
ใบความรู้ที่ 2 การวางแผนจัดทำ application
ใบความรู้ที่ 2 การวางแผนจัดทำ applicationใบความรู้ที่ 2 การวางแผนจัดทำ application
ใบความรู้ที่ 2 การวางแผนจัดทำ application
 
ใบความรู้ที่ 1 หลักการและขั้นตอนการพัฒนา application
ใบความรู้ที่ 1 หลักการและขั้นตอนการพัฒนา applicationใบความรู้ที่ 1 หลักการและขั้นตอนการพัฒนา application
ใบความรู้ที่ 1 หลักการและขั้นตอนการพัฒนา application
 
การติดตั้งโปรแกรม Microsoft visual studio 2010
การติดตั้งโปรแกรม Microsoft visual studio 2010การติดตั้งโปรแกรม Microsoft visual studio 2010
การติดตั้งโปรแกรม Microsoft visual studio 2010
 
ใบความรู้ที่ 4 เรื่องการเขียนโปรแกรมคำนวณเลขอย่างง่าย
ใบความรู้ที่ 4 เรื่องการเขียนโปรแกรมคำนวณเลขอย่างง่ายใบความรู้ที่ 4 เรื่องการเขียนโปรแกรมคำนวณเลขอย่างง่าย
ใบความรู้ที่ 4 เรื่องการเขียนโปรแกรมคำนวณเลขอย่างง่าย
 
ใบความรู้ที่ 3 เรื่องการเพิ่มฟอร์มและคำสั่งเปิดฟอร์ม
ใบความรู้ที่ 3 เรื่องการเพิ่มฟอร์มและคำสั่งเปิดฟอร์มใบความรู้ที่ 3 เรื่องการเพิ่มฟอร์มและคำสั่งเปิดฟอร์ม
ใบความรู้ที่ 3 เรื่องการเพิ่มฟอร์มและคำสั่งเปิดฟอร์ม
 
ใบความรู้ที่ 2 เรื่องการใช้ message box และฟังก์ชันเปิดปิดโปรแกรม
ใบความรู้ที่ 2 เรื่องการใช้ message box และฟังก์ชันเปิดปิดโปรแกรมใบความรู้ที่ 2 เรื่องการใช้ message box และฟังก์ชันเปิดปิดโปรแกรม
ใบความรู้ที่ 2 เรื่องการใช้ message box และฟังก์ชันเปิดปิดโปรแกรม
 

ประเมินโครงการตลาดนัดอาชีพ ปี 2555

  • 2. รายงานการประเมินโครงการ โครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ ประจาปี พ.ศ.2555 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลาลูกกา สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 (ปทุมธานี)
  • 3. คานา งานวิจัยเรื่องการติดตามและประเมินโครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลาลูกกา เป็นการติดตามและประเมินผลการดาเนินงานกิจกรรม ตลาดนัดอาชีพ โดยมีวัตถุประสงค์ของการประเมินคือ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดและประสบการณ์ในการประกอบ อาชีพหลักหรืออาชีพเสริมในอนาคตของนักเรียน 2. เพื่อประเมินกระบวนการหลักการบริหารจัดการร้านของ นักเรียน 3. เพื่อประเมินคุณลักษณะของนักเรียนในด้านการประกอบอาชีพ สาหรับผลการประเมินพบว่าการจัดกิจกรรมตลาดนัดอาชีพ สาหรับนักเรียนทุกระดับชั้นในครั้งนี้ สาเร็จและเรียบร้อยผ่านไปด้วยดี ก็ด้วยความร่วมมือและความสามัคคีของคณะครูผู้จัดกิจกรรม อีกทั้งยังได้รับ ความร่วมมือจากทางโรงเรียนให้จัดกิจกรรมดังกล่าว และที่สาคัญนักเรียนทุกคนได้ให้ความร่วมมือในการ ดาเนินกิจกรรม ทาให้กิจกรรมตลาดนัดอาชีพไปด้วยความเรียบร้อย และไม่มีเหตุการณ์ผิดปกติ อันตราย หรือ ผลลัพธ์ที่ไม่ดีกับนักเรียน ครู และการประเมินผลการจัดกิจกรรมตลาดนัดอาชีพ โดยนักเรียนและครูเป็นผู้ทาการประเมิน ซึ่งมีผล การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด คือ นักเรียนและครูมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมนี้และได้รับความรู้จาก การจัดกิจกรรมตลาดนัดอาชีพมากที่สุด ในส่วนของข้อเสนอแนะนั้น ความเห็นของนักเรียนส่วนใหญ่คืออยากให้มีการจัดกิจกรรมตลาดนัด อาชีพทุกภาคเรียน เพราะเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่นักเรียนทุกคนในโรงเรียนมีส่วนร่วมและเกิดประโยชน์ต่อ นักเรียนอย่างแท้จริง
  • 4. สารบัญ หน้า บทที่ 1 บทนา 1 ความสาคัญของปัญหา 1 คาถามการประเมิน 2 วัตถุประสงค์การประเมิน 3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3 ขอบเขตการประเมิน 4 นิยามศัพท์ 5 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 6 โครงการหารายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ 7 แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินโครงการ 13 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 35 องค์ความรู้เกี่ยวกับอาชีพ 42 บทที่ 3 วิธีดาเนินการวิจัย 56 กลุ่มประชากร 56 กลุ่มตัวอย่าง 56 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 56 การรวบรวมข้อมูล 57 การวิเคราะห์ข้อมูล 58 บทที่ 4 ผลการวิจัยและข้อวิจารณ์ 59 ผลการวิจัย 59 บทที่ 5 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ 62 ภาคผนวก 63 ภาคผนวก ก การดาเนินกิจกรรม 64 ภาคผนวก ข คาสั่งโรงเรียน 71 ภาคผนวก ค ผู้จัดทา 82
  • 5. 1 บทที่ 1 บทนา ความสาคัญของปัญหา การทามาหากินของคนไทยสมัยโบราณ เลี้ยงตนเองและครอบครัวด้วยการทาไร่ทานา เมื่อ ว่างจากการทานาจะทอผ้าไว้ใช้ หากมีเหลือจะจาหน่ายในชุมชน นอกจากนี้ยังทาเครื่องจักสานเป็น ภาชนะไว้ใช้สอยในครัวเรือนและจาหน่าย เช่น ตะกร้า สุ่มจับปลา กระด้ง เครื่องปั้นดินเผา ตี เหล็ก ทามีดขวาน หรืองานศิลปะต่าง ๆ สถานที่ทางานจะอยู่ชั้นล่างหรือใต้ถุนบ้านของตนเอง ส่วน คนอีกกลุ่มหนึ่งมีอาชีพเป็นผู้ดูและผลประโยชน์ของแผ่นดิน มียศถาบรรดาศักดิ์ มีเงินเดือนเป็น ค่าตอบแทนหรือที่เรียกว่าเป็นข้าในแผ่นดิน ในสมัยก่อนมีบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศ ไทย เช่น บริษัท บอร์เนียว จากัด บริษัท บี กริม แอนด์ โก จากัด เป็นต้น ทาให้มีการจ้าง งานเป็นลูกจ่างในบริษัท ต่อมามีบริษัทและโรงงานเอกชนเปิดดาเนินการเป็นจานวนมาก ตาแหน่ง ลูกจ้างของรัฐก็มีจานวนเพิ่มขึ้น จึงมีอาชีพมากมายให้คนได้เลือก เช่น การเป็นเจ้าของธุรกิจของ ตนเอง หรือเป็นลูกจ้างของเอกชนหรือลูกจ้างรัฐบาล จะเห็นได้ว่าสังคมไทยเมื่อ 40 ปีที่ผ่าน มา ผู้ใหญ่มักจะอวยพรให้ลูกหลานได้เป็นเจ้าคนนายคน ย่อมหมายความว่า ผู้ใหญ่สนับสนุนให้ ประกอบอาชีพเป็นลูกจ้างของรัฐบาลหรือรับราชการ ซึ่งมีเงินเดือน ตาแหน่งหน้าที่การงานดีเป็น เกียรติแก่วงศ์ตระกูล เมื่อเวลาผ่านมาจนถึงปัจจุบันทีการเปลี่ยนแปลงบทบาทของรัฐ จานวน ตาแหน่งข้าราชการถูกลดจานวนลงส่วนธุรกิจเอกชนที่อยู่ในยุคเศรษฐกิจถดถอย ทาให้องค์กรธุรกิจ มากมายต้องปิดกิจการลง ทาให้คนว่างงาน ส่วนที่เปิดดาเนินธุรกิจต่อไปก็พยายามลดจานวน พนักงานลง เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้เหลือน้อยที่สุด ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้นจึงทาให้ผู้คนเหล่านั้นหันมา สร้างอาชีพส่วนตัวหรืออาชีพอิสระมากขึ้น โครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ เป็นกิจกรรมที่ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลาลูกกา ได้ดาเนินการทุกปีการศึกษา เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ นักเรียนทุกคนในโรงเรียนมีส่วนร่วม นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดงานมาโดยตลอด และที่สาคัญ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีรายได้ และพัฒนาทักษะทางอาชีพของตนเอง แต่ทั้งนี้การสอบถาม ความพึงพอใจต่อโครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ ยังเป็นการสอบถาม ความพึงพอใจของนักเรียน ครู และผู้ปกครองเท่านั้น ยังไม่มีการประเมินผลและติดตามผลหลังจาก
  • 6. 2 กิจกรรมดาเนินเสร็จสิ้นแล้ว ทาให้ยังไม่มีข้อมูลและสารสนเทศเพื่อหาข้อสรุปว่านักเรียนส่วนใหญ่ สามารถนาความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมตลาดนัดอาชีพนี้ไปใช้ในการประกอบ อาชีพเสริมเพื่อหารายได้ระหว่างเรียนได้หรือไม่ ดังนั้นคณะผู้จัดทาโครงการจึงไม่สามารถขยายงานได้ ในภาพรวม และไม่มีข้อมูลที่เป็นสิ่งยืนยันจากการจัดโครงการว่าควรจะดาเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป ในภายภาคหน้าหรือไม่ รวมทั้งการจัดโครงการนี้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ครบทุกประเด็นหรือไม่ จากความสาคัญของการประเมินโครงการ ที่จะช่วยทาให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างคุ้มค่า หรือเกิดประโยชน์เต็มที่ เพราะการประเมินโครงการจะต้องวิเคราะห์ทุกส่วนของโครงการ ข้อมูลใด หรือปัจจัยใดที่เป็นปัญหาจะได้รับการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมคุ้มค่า ช่วยให้แผนงานบรรลุวัตถุประสงค์ ช่วยแก้ปัญหาอันเกิดจากผลกระทบของโครงการ และทาให้ โครงการมีข้อที่ทาให้เกิดความเสียหายลดน้อยลง ช่วยในการควบคุมคุณภาพของงาน มีส่วนในการ สร้างขวัญและกาลังใจให้ผู้ปฏิบัติงานตามโครงการ และที่สาคัญคือช่วยในการตัดสินใจในการบริหาร โครงการ เพราะการประเมินโครงการทาให้ผู้บริหารได้ทราบถึงอุปสรรค ปัญหา ข้อดี ข้อเสีย ความ เป็นไปได้ และแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขการดาเนินการโครงการ ทาให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจ ไดว่าจะดาเนินโครงการนั้นต่อไปอย่างไร นอกจากนั้นผลของการประเมินโครงการยังอาจะเป็นข้อมูล สาคัญในการวางแผนหรือกาหนดนโยบายของผู้บริหารอีกด้วย จากปัญหาและความสาคัญของการประเมินโครงการข้างต้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะทา การติดตามผลโครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ ของโรงเรียนเตรียม อุดมศึกษาพัฒนาการ ลาลูกกา เพื่อศึกษาในด้านผลที่เกิดจากการจัดทาโครงการว่าเป็นไปตาม วัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้หรือไม่ และเป็นสารสนเทศสาหรับผู้จัดทาโครงการ กลุ่มบริหารวิชาการ ใน การจัดโครงการเพื่อส่งเสริมการมีรายได้ระหว่างเรียนที่เหมาะสม ตรงกับความต้องการต่อไป คาถามการประเมิน 1. โครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะ ในการประกอบอาชีพมากขึ้นหรือไม่
  • 7. 3 2. โครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ ส่งเสริมให้นักเรียนมี หลักการและการบวนการในการบริหารจัดการธุรกิจของตนเองหรือไม่ อย่างไร 3. โครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ ส่งผลให้นักเรียนมีคุณ ลักษณ์ของผู้ประกอบอาชีพที่ดี มีความซื่อสัตย์สุจริตหรือไม่ อย่างไร 4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดโครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาด นัดอาชีพ หรือไม่ อย่างไร วัตถุประสงค์การประเมิน 1. เพื่อศึกษาทักษะในการประกอบอาชีพของนักเรียน 2. เพื่อประเมินหลักการและการบวนการในการบริหารจัดการธุรกิจของนักเรียน 3. เพื่อประเมินคุณลักษณ์ของนักเรียนในการประกอบอาชีพหรือทาธุรกิจ 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดโครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาด นัดอาชีพ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คณะผู้จัดทาโครงการ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และฝ่ายวิชาการ ของโรงเรียน ได้สารสนเทศสาหรับใช้ในการวางแผนการจัดกิจกรรมตลาดนัดอาชีพในครั้งต่อไป โดย หากโครงการนี้ประสบความสาเร็จ ก็จะดาเนินการต่อ โดยปรับปรุงในส่วนที่ต้องแก้ไขตามคาแนะนา และข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง หากโครงการนี้ประสบความล้มเหลว ฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะได้หา แนวทางหรือเครื่องมืออื่นๆ มาใช้ในการอบรมและพัฒนาบุคลากรต่อไป เพื่อให้สอดคล้องและ เหมาะสมกับสภาพนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้มากที่สุด
  • 8. 4 ขอบเขตการประเมิน การประเมินครั้งนี้กาหนดขอบเขตไว้ดังนี้ 1. แหล่งข้อมูลในการประเมิน ได้แก่ 1.1 บุคลากรภายในโรงเรียนจานวน 40 คน ได้แก่ ครูที่เข้าร่วมโครงการหารายได้ ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ โดยจาแนกเป็นครูในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่ม สาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่ม สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ จานวนกลุ่มสาระการเรียนรู้ละ 5 คน 1.2 นักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลาลูกกา โดยเป็นนักเรียนที่ เรียนที่เข้าร่วมโครงการหารายได้ระหว่างเรียนทุกห้องเรียน ห้องเรียนละ 5 คน 2. ตัวแปรสาคัญในการติดตามผลโครงการหารายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาดนัด อาชีพ ตัวแปรสาคัญในการติดตามผลตามโครงการหารายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาด นัดอาชีพ แบ่งตามคาถามการประเมินเป็น 1 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ตัวบ่งชี้ คือ 1. ร้อยละของนักเรียนที่มีทักษะในการประกอบอาชีพอยู่ในระดับดี 2. ร้อยละของนักเรียนที่มีหลักการและการบวนการในการบริหารจัดการ ธุรกิจ
  • 9. 5 3. ร้อยละของนักเรียนที่มีคุณลักษณะของนักเรียนในการประกอบอาชีพ หรือทาธุรกิจ 4. ร้อยละของนักเรียนที่มีความพึงพอใจต่อการจัดโครงการส่งเสริมรายได้ ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ นิยามศัพท์ โครงการหารายได้ระหว่างเรียน หมายถึง โครงการที่ส่งเสริมให้นักเรียนรู้และเข้าใจ กระบวนการในการบริหารจัดการ และพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อนาไปจาหน่ายและหารายได้ระหว่างเรียน เพื่อนาเงินที่ได้มาใช้จ่ายในการเรียนรู้ของตนเอง โดยมีกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ กิจกรรมเรียนรู้กับวิทยากรท้องถิ่น เป็นต้น กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ หมายถึง กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนทุกคนในโรงเรียนได้มีส่วน ร่วมในการพัฒนาและจัดหาผลิตภัณฑ์ทั้งที่จัดหามาหรือผลิตขึ้นได้ด้วยตนเองมาจัดจาหน่ายในงานวัน ตลาดนัดอาชีพ เพื่อเป็นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของตนเองและหารายได้เพื่อนามาใช้ในการเรียนของ ตนเอง
  • 10. 6 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตามลําดับดังนี้ 1. โครงการหารายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ 2. แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินโครงการ 3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4. องค์ความรู้เกี่ยวกับอาชีพ
  • 11. 7 โครงการหารายได้ระหว่างเรียน : กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน (Mini Company) สนองนโยบาย กลยุทธ์ สพฐ. ข้อที่ ๑ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ตามหลักสูตร และส่งเสริมความสามารถด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ๒. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ๓. ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ๔. ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้อย่าง มีสติสมเหตุผล ๕. ผู้เรียน มีความรู้และทักษะที่จําเป็นตามหลักสูตร ๖. ผู้เรียนมีทักษะในการทํางาน รักการทํางาน สามารถทํางานร่วมกับผู้อื่นได้ ลักษณะกิกรรมตาม OUCP กิจกรรมรอง รหัสกิจกรรม ๒๑ ลักษณะโครงการ ต่อเนื่อง กลุ่มบริหารที่รับผิดชอบ กลุ่มบริหารงานวิชาการ ผู้รับผิดชอบ นางอนงค์ มีปัญญา ระยะเวลา ๑ ก.ย. ๒๕๕๕ ถึง ๓๐ มี.ค. ๒๕๕๖ ๑. หลักการและเหตุผล กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เป็นกลุ่มสาระที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียน มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะพื้นฐานที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิต และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสามารถนําความรู้เกี่ยวกับการ ดํารงชีวิต การอาชีพ และเทคโนโลยี มาใช้ประโยชน์ในการทํางานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ และแข่งขันใน สังคมไทย และสากล เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ รักการทํางาน และมีเจตคติที่ดีต่อการทํางาน สามารถ ดํารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างพอเพียง และมีความสุข โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวม เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะในการทํางาน เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ และการศึกษาต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๕๑ : ๒๐๔-๒๑๘) แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๕๙) ยังได้กล่าวถึงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงยึดทางสายกลางอยู่บนพื้นฐานของความสมดุลพอดี รู้จักพอประมาณ อย่างมีเหตุผล มีความรอบรู้เท่าทัน โลก เพื่อมุ่งให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย เกิดการบูรณาการแบบองค์รวมที่ยึด “คน” เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมี “ดุลยภาพ” ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม เป็นแผนที่บูรณา การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬากับการศึกษาทุกระดับ รวมทั้งเชื่อมโยงการพัฒนาการศึกษากับการพัฒนา ด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ และ
  • 12. 8 เทคโนโลยี เป็นต้น โดยคํานึงถึงการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อให้บรรลุตามปรัชญาหลักและเจตนารมณ์ ของแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง จึงกําหนดวัตถุประสงค์ของแผนที่สําคัญ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อพัฒนาคนอย่างรอบด้านและสมดุลเพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนา ๒) เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้ ๓) เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคนและสร้างสังคม คุณธรรม ภูมิ ปัญญา การเรียนรู้ (สภาการศึกษา,สํานักงาน:๒๕๕๓) จากการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ของครูที่ปรึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลําลูกกา พบว่าผู้เรียนมีปัญหาด้านเศรษฐกิจ ประมาณ ร้อยละ ๑๐ ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนมีปัญหาด้านต่าง ๆ เช่น ไม่มีเงินมาโรงเรียน หรือซื้ออุปกรณ์การเรียน ดังนั้น นั้นทางกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี จึง ได้จัดทําโครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน (Mini Company) เพื่อเป็นการแสดง หรือจัดการสาธิต ในเรื่องการฝึก อาชีพต่าง ๆ ให้ผู้เรียนได้รู้จัก ได้ศึกษา เกิดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติจริง มีทักษะงานอาชีพตามความสนใจ มี ความรู้ในการบริหารจัดการอย่างครบวงจรในลักษณะบริษัทจําลอง (Mini Company) มีรายได้จากการทํางาน เรียนรู้การทํางานกับผู้อื่น เกิดความเอื้ออาทร มีคุณธรรม จริยธรรม ในการดําเนินชีวิต สามารถนําความรู้ ทักษะที่ได้จากการปฏิบัติงานอาชีพ มาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพสุจริตต่อไปในอนาคต ส่งผลให้ผู้ปกครอง และชุมชนเกิดความภาคภูมิใจในตัวบุตรหลาน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดเน้นของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคุณลักษณะอัน พึงประสงค์ คือมีความมุ่งมั่นในการทํางาน บรรลุตามวัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ และบรรลุมาตรฐาน การศึกษาที่ ๒ ๓ ๔ ๕ และ ๖ ตามที่โรงเรียนคาดหวัง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลําลูกกา จึงได้จัดทําโครงการส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน (Mini Company) ปี การศึกษา ๒๕๕๕ ขึ้น ๒. วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียน ๒.๑ ผลลัพธ์ (Outcomes) เชิงปริมาณ - กลุ่มที่ ๑ ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ ที่เรียนรายวิชาพื้นฐาน ร้อยละ ๘๐ ๑. มีทักษะในการปฏิบัติงานอาชีพที่ตนเองสนใจ อย่างน้อย ๑ งาน ๒. มีจิตสํานึกในการประกอบอาชีพสุจริต และรู้วิธีการหารายได้ อย่างเป็นระบบ - กลุ่มที่ ๒ ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ ที่เรียนรายวิชาเพิ่มเติม ร้อยละ ๘๐ ๑. มีทักษะในการปฏิบัติงานอาชีพที่ตนเองสนใจ อย่างน้อย ๑ งาน ๒. มีจิตสํานึกในการประกอบอาชีพสุจริต ๓. มีรายได้ระหว่างเรียน - กลุ่มที่ ๓ ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ ที่เลือกกิจกรรมชุมนุมส่งเสริมรายได้ ระหว่างเรียน (สอร.) ร้อยละ ๘๐
  • 13. 9 ๑. ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ที่เลือกกิจกรรมชุมนุมส่งเสริมรายได้ ระหว่างเรียน (สอร.) ร้อยละ ๘๐ ๑). มีทักษะในการปฏิบัติงานอาชีพที่ตนเองสนใจ อย่างน้อย ๑ งาน ๒). มีจิตสํานึกในการประกอบอาชีพสุจริต ๓) รู้วิธีการหารายได้ระหว่างเรียนอย่างเป็นระบบ - ๒. ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖ ที่เลือกกิจกรรมชุมนุมส่งเสริมรายได้ ระหว่างเรียน (สอร.) ร้อยละ ๘๐ ๑). มีทักษะในการปฏิบัติงานอาชีพที่ตนเองสนใจ อย่างน้อย ๑ งาน ๒). มีจิตสํานึกในการประกอบอาชีพสุจริต ๓) มีรายได้ระหว่างเรียน เชิงคุณภาพ กลุ่มที่ ๑ ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ ที่เรียนรายวิชาพื้นฐาน ๑. มีทักษะในการปฏิบัติงานอาชีพที่ตนเองสนใจ ๒. มีจิตสํานึกในการประกอบอาชีพสุจริต ๓. รู้วิธีการหารายได้ ระหว่างเรียน - กลุ่มที่ ๒ ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ ที่เรียนรายวิชาเพิ่มเติม ๑. มีทักษะในการปฏิบัติงานอาชีพที่ตนเองสนใจ ๒. มีจิตสํานึกในการประกอบอาชีพสุจริต ๓. รู้วิธีการหารายได้ ระหว่างเรียน - กลุ่มที่ ๓ ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ ที่เลือกกิจกรรมชุมนุมส่งเสริมรายได้ ระหว่างเรียน (สอร.) ๑. มีทักษะในการปฏิบัติงานอาชีพที่ตนเองสนใจ ๒. มีจิตสํานึกในการประกอบอาชีพสุจริต ๓. รู้วิธีการหารายได้ ระหว่างเรียน ๓. เป้าหมาย ๓.๑ ผลลัพธ์ (Outcomes) ๑. ผู้เรียนมีทักษะในการปฏิบัติงานอาชีพที่ตนเองสนใจ ๒. ผู้เรียนมีจิตสํานึกในการประกอบอาชีพสุจริต ๓. ผู้เรียนมีรายได้ ระหว่างเรียน ๔. กิจกรรม และขั้นตอนการดาเนินงาน ที่ กิจกรรม ระยะเวลา ดาเนินงาน ผู้รับผิดชอบ ๑ กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ บูรณาการ ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้นักเรียน จํานวน ๒,๓๐๐ คน ระยะเวลา กันยายน ๒๕๕๕ กันยายน ๒๕๕๕ ถึง นางอนงค์
  • 14. 10 ที่ กิจกรรม ระยะเวลา ดาเนินงาน ผู้รับผิดชอบ และ มีนาคม ๒๕๕๖ ผู้เรียน จํานวน ๒,๓๐๐ คน ระยะเวลา ตลอดปีการศึกษา ๑.ตู้ไม้จําหน่ายสินค้า จํานวน ๓ หลัง ๆ ละ ๕,๐๐๐ ๒.แผ่นปูายไวนิล จํานวน ๑๐ ปูาย ๆ ละ ๕๐๐ (๕๐๐X๑๐) ๓.กรอบรูปขนาด A๔ ใส่เกียรติบัตร บริษัทจําลองที่ประสบผลสําเร็จ ประมาณ ๑๐ บริษัท (๒๐๐X๑๐) ๔.ค่าเช่าเวทีจัดงาน จํานวน ๒ ครั้ง ๆ ละ ๕,๐๐๐ ๕.ค่าแผ่นปูายไวนิล จํานวน ๑ ปูาย ๆ ละ ๑,๐๐๐ มีนาคม ๒๕๕๖ ๒ หนึ่งคนหนึ่งชิ้นงาน ผู้เรียน จํานวน ๒,๓๐๐ คน ระยะเวลา ตลอดปีการศึกษา ผู้เรียน จํานวน ๒,๓๐๐ คน ระยะเวลา ตลอดปีการศึกษา ๑.ประกวดผลงาน ภายในโรงเรียน และจัดทําปูายนิเทศ การ นําเสนองาน สําหรับกลุ่มที่บรรลุผลสําเร็จ ๕ ปูาย ๒.กระดาษการ์ดขาว จัดทําเกียรติบัตร ๓.แผ่นปูายไวนิลแสดงขั้นตอนการปฏิบัติชิ้นงาน จํานวน ๑๐ ปูาย ๆ ละ ๕๐๐ (๕๐๐X๑๐) ๔.ตู้โชว์ผลงาน จํานวน ๑ หลัง ๆ ละ ๘,๐๐๐ ตุลาคม๒๕๕๕ ถึง มีนาคม ๒๕๕๖ นางอนงค์ ๓ เรียนรู้กับวิทยากรท้องถิ่น (สาระท้องถิ่น) ผู้เรียน จํานวน ๒,๓๐๐ คน ระยะเวลา ตุลาคม ๒๕๕๕ และ มีนาคม ๒๕๕๖ ๑. ค่าวิทยากร ๓ งาน ๑.๑ งานอาหาร ๑.๒. งานประดิษฐ์ ๑.๓ งานเกษตร ชั่วโมงละ ๒๐๐ จํานวน ๑๒ : วิชา จํานวน ๑๐๐ ชั่วโมง ตุลาคม๒๕๕๕ ถึง มีนาคม ๒๕๕๖ นางอนงค์ ๕.งบประมาณที่ใช้ เงินงบประมาณ (ระดมทรัพย์) บาท เงินนอกงบประมาณ - บาท รวมงบประมาณทั้งสิ้น ๖๗,๘๐๐ บาท รายการ/ กิจกรรม/คาชี้แจง/ในการใช้เงินงบประมาณ งบ ประมาณ นอก งบประมาณ รวม ไตรมาศ ที่ใช้งบ
  • 15. 11 ๑. กิจกรรมตลาดนัดอาชีพ บูรณาการ ๘ กลุ่มสาระ การเรียนรู้นักเรียน จํานวน ๒,๓๐๐ คน ระยะเวลา กันยายน ๒๕๕๕ และ มีนาคม ๒๕๕๖ ๑.ตู้ไม้จําหน่ายสินค้า จํานวน ๓ หลัง ๆ ละ ๕,๐๐๐ ๒.แผ่นปูายไวนิล จํานวน ๑๐ ปูาย ๆ ละ ๕๐๐ (๕๐๐X๑๐) ๓.กรอบรูปขนาด A๔ ใส่เกียรติบัตร บริษัทจําลอง ที่ ประสบผลสําเร็จ ประมาณ ๑๐ บริษัท (๒๐๐X๑๐) ๔.ค่าเช่าเวทีจัดงาน จํานวน ๒ ครั้ง ๆ ละ ๕,๐๐๐ ๕.ค่าแผ่นปูายไวนิล จํานวน ๑ ปูาย ๆ ละ ๑,๐๐๐ ๑๕,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑๕,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๒. หนึ่งคนหนึ่งชิ้นงาน ผู้เรียน จํานวน ๒,๓๐๐ คน ระยะเวลา ตลอดปีการศึกษา ผู้เรียน จํานวน ๒,๓๐๐ คน ระยะเวลา ตลอดปีการศึกษา ๑.ประกวดผลงาน ภายในโรงเรียน และจัดทําปูายนิเทศ การ นําเสนองาน สําหรับกลุ่มที่บรรลุผลสําเร็จ ๓ ปูาย ๒.กระดาษการ์ดขาว จัดทําเกียรติบัตร ๓.แผ่นปูายไวนิลแสดงขั้นตอนการปฏิบัติชิ้นงาน จํานวน ๑๐ ปูาย ๆ ละ ๕๐๐ (๕๐๐X๑๐) ๔.ตู้โชว์ผลงาน จํานวน ๑ หลัง ๆ ละ ๘,๐๐๐ ๑,๕๐๐ ๓๐๐ ๕,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๑,๕๐๐ ๓๐๐ ๕,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๓.เรียนรู้กับวิทยากรท้องถิ่น (สาระท้องถิ่น) ผู้เรียน จํานวน ๒,๓๐๐ คน ระยะเวลา ตุลาคม ๒๕๕๕ และ มีนาคม ๒๕๕๖ ๑. ค่าวิทยากร ๓ งาน ๑.๑ งานอาหาร ๑.๒. งานประดิษฐ์ ๑.๓ งานเกษตร ชั่วโมงละ ๒๐๐ จํานวน ๑๒ : วิชา จํานวน ๑๐๐ ชั่วโมง ๒๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๔. กิจกรรมถนนอาชีพ - -
  • 16. 12 (ลงชื่อ) ผู้เสนอโครงการ (นางอนงค์ มีปัญญา) หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (ลงชื่อ) ผู้ตรวจสอบโครงการ (นายณัฐพล บัวอุไร) หัวหน้าแผนงาน (ลงชื่อ) ผู้ตรวจสอบโครงการ (นางอรวรรณ วุฒิเวช) รองผู้อํานวยการกลุ่มบริหารวิชาการ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลําลูกกา (ลงชื่อ) ผู้อนุมัติโครงการ (นายประสงค์ สุบรรณพงษ์) ผู้อํานวยการ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลําลูกกา
  • 17. 13 แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินโครงการ การประเมินโครงการเป็น “ศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science)” หรือเป็น “วิทยาการประยุกต์ที่ เกิดจากการผสมผสานของศาสตร์หลายแขนง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีแนวคิดและวิธีการที่ผูกพันกับ วิชาการสาขาเศรษฐศาสตร์เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดีถ้าพิจารณาเฉพาะคําว่า “การประเมินโครงการ” แล้ว อาจบอกได้ว่าเป็นคําผสมของคําสองคําคือคําว่า “การประเมิน” กับคําว่า “โครงการ” ซึ่งทั้ง สองคําต่างก็มีความหมายหรือคําจํากัดความเฉพาะของตนเอง ความหมายของการประเมินโครงการ นักวิชาการการศึกษาหลายท่าน ให้ความหมายของคําว่า “การประเมิน” ไว้ดังนี้ Stake (1973) ได้ให้ความหมายของการประเมินว่า เป็นการบรรยายและตัดสินคุณค่า โครงการศึกษา ซึ่งเน้นเรื่องการบรรยายสิ่งที่จะถูกประเมินโดยอาศัยผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญใน การตัดสินคุณค่า Stufflebeam (1971) ได้กล่าวไว้ว่า การประเมินผลเป็นกระบวนการของการกําจัดข้อมูล การได้รับและการให้ข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ เพื่อตัดสินทางเลือกที่แน่นอน Rossi and Freeman (1985) ให้ความหมายของคําว่าประเมินผล ว่าหมายถึงแบบแผนใน การกํากับควบคุมการดําเนินการใช้โครงการ และการประเมินค่าคุณประโยชน์ของโครงการ Cronbach (1980) ให้ความหมายของคําว่าประเมินผลว่าหมายถึงการตรวจสอบหรือสอบวัด อย่างเป็นระบบของสิ่งที่เกิดขึ้นอันเนื่องมากจากโครงการ เพื่อที่จะรวบรวมสิ่งที่ได้จากการตรวจสอบนี้ ไปปรับปรุงโครงการ สมหวัง, พิริยานุวัฒน์ (2544) การประเมินโครงการ หมายถึง กระบวนการที่ก่อให้เกิด สารนิเทศในการปรับปรุงโครงการ และสารนิเทศในการตัดสินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ เยาวดี รางชัยกุล (2546) การประเมินโครงการ หมายถึง กระบวนการรวบรวมและวิเคราะห์ ข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อสรุปผลว่าโครงการนั้นๆ ได้บรรลุวัตถุประสงค์/เปูาหมาย และมี ประสิทธิภาพเพียงใด
  • 18. 14 จากความหมายดังกล่าวแล้วอาจสรุปได้ว่า การประเมินโครงการหมายถึง กระบวนการใน การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลของการดําเนินโครงการ และพิจารณาบ่งชี้ให้ทราบถึงจุดเด่นหรือ จุดด้อยของโครงการนั้นอย่างมีระบบแล้วตัดสินใจว่าจะปรับปรุงแก้ไขโครงการนั้นเพื่อการดําเนินงาน ต่อไปหรือจะยุติการดําเนินงานโครงการนั้น ทาไมต้องประเมินโครงการ ในการประเมินโครงการมีเปูาประสงค์หลักคือ ต้องการข้อมูลที่บ่งชี้ว่าโครงการที่ ดําเนินการนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่หรือเป็นโครงการที่คุ้มค่าต่อการตัดสินใจในการ ดําเนินการหรือไม่ รวมถึงการศึกษาว่าในการดําเนินการโครงการมีปัญหาที่ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขในเรื่องอะไรบ้าง และเป็นโครงการที่มีคุณค่ามากน้อยเพียงใด ประเภทของการประเมินโครงการ การแบ่งประเภทการประเมินโครงการคงมิใช่เป็นการกําหนดเกณฑ์เด็ดขาด แต่ จําเป็นต้องอาศัยเกณฑ์หลายชนิดมาจําแนกประเภท เช่น ใช้เวลา วัตถุประสงค์ วิธีการ และรูปแบบ การประเมินมาบ่งบอกถึงประเภทของการประเมิน ซึ่งในที่นี้อาจจําแนกการประเมินโครงการออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1. การประเมินโครงการก่อนดาเนินการ (Preliminary Evaluation) เป็นการศึกษา ประเมินความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ก่อนที่เริ่มโครงการใดๆ โดยอาจทําการศึกษาถึง ประสิทธิภาพของปัจจัยปูอน ความเหมาะสมของกระบวนการที่คาดว่าจะนํามาใช้ในการบริหาร จัดการโครงการ ปัญหา อุปสรรค ความเสี่ยงของโครงการ ตลอดจนผลลัพธ์ หรือประสิทธิผลที่คาด ว่าจะได้รับ ในขณะเดียวกันก็อาจจะศึกษาปลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ เช่น - การประเมินผลกระทบด้านสังคม Social Impact Assessment-SIA) - การประเมินผลกระทบด้านนิเวศ (Ecological Impact Assessment- EIA) - การประเมินผลกระทบด้านการเมือง (Political Impact Assessment- PIA)
  • 19. 15 - การประเมินผลกระทบด้านเทคโนโลยี (Technological Impact Assessment-TIA) - การประเมินผลกระทบด้านประชากร (Population Impact Assessment-PIA) - การประเมินผลกระทบด้านนโยบาย (Policy Impact Assessment- POIA) - การประเมินผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ (Economic Impact Assessment) การประเมินโครงการก่อนการดําเนินการนี้มีประโยชน์สําหรับนักลงทุน เพื่อศึกษาดู ว่าก่อนลงมือโครงการใดๆ นั้น จะเกิดความคุ้มค่าแก่การลงทุน (Cost effectiveness) หรือจะเกิด ผลกระทบต่อระบบสิ่งแวดล้อมทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ประชากร เทคโนโลยี และระดับ นโยบายหรือไม่ หากได้ทําการศึกษารอบคอบแล้วอาจจะได้ผลการคาดการณ์ล่วงหน้าว่า จะได้เกิด ประโยชน์หรือโทษอย่างไร ปัญหา อุปสรรค เป็นอย่างไร เพื่อผู้เป็นเจ้าของโครงการจะได้ตัดสิน ล่วงหน้าว่าจะเลิกล้มโครงการหรือปรับปรุงองค์ประกอบ และกระบวนการบริหารจัดการโครงการ เพียงใดเพื่อให้เกิดผลดี 2. การประเมินระหว่างดาเนินการโครงการ (Formative evaluation) เป็นการ ประเมินผลเพื่อการปรับปรุงเป็นสําคัญซึ่งมักจะใช้ประเมินผลระหว่างแผนหรือระหว่างพัฒนาโครงการ ผลที่ได้จาก Formative evaluation นั้น จะช่วยตั้งวัตถุประสงค์ของโครงการให้เป็นไปตาม เปูาหมายที่แท้จริง นอกจากนั้น Formative evaluation อาจใช้ในระหว่างดําเนินโครงการ จะช่วย ตรวจสอบว่า โครงการได้ดําเนินไปตามแผนของโครงการอย่างไร อาจเรียกชื่อเฉพาะว่า Implementation evaluation หรือ Formative evaluation อาจตรวจสอบความก้าวหน้าของ โครงการว่าดําเนินได้ผลเพียงไร เรียกว่า Progress evaluation โดยทั่วไปแล้ว Formative evaluation อาจใช้ประเมินสิ่งต่อไปนี้ 1. ทบทวนแผนของโครงการ 2. การสร้างแผนของโครงการ
  • 20. 16 3. การพัฒนาแบบสอบถาม (Questionnaire) หรือรายการ (Check list) สําหรับรวบรวมข้อมูลตามเรื่องที่ต้องการ 4. การคัดเลือกวิธีการวัดผลที่เหมาะสม 5. การกําหนดตารางเวลาการประเมินผลให้สอดคล้องกับการดําเนินโครงการ 6. การเตรียมข้อมูลที่จะเป็นข่าวสารสําหรับการรายงานและเสนอแนะสําหรับ การตัดสินเกี่ยวกับการดําเนินโครงการ 7. การแนะนําแนวทางปรับปรุง การแก้ปัญหา และการเปลี่ยนแปลงการ ปฏิบัติของโครงการ 3. การประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการหรือประเมินผลผลิต (Summative Evaluation) เป็นการประเมินผลรวมสรุป มักจะใช้ประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ สําหรับโครงการที่มี การดําเนินระยะยาวก็อาจใช้ Summative Evaluation ในการสรุปย่อความระยะยาวต่างๆ ข้อมูลที่ ได้จากระยะต่างๆ จะช่วยให้มีการประเมินสรุปรวมนั้น ส่วนใหญ่จะรวบรวมจากผลของ Formative evaluationเป็น Summative Evaluation ซึ่งผลสรุปที่ได้จะนําสู่การรายงายว่า โครงการได้บรรลุ เปูาหมาย (Goals) หรือไม่อย่างไร ตลอดจนการรายงานถึงสถานภาพของโครงการว่าประสบ ความสําเร็จหรือล้มเหลวเพียงไร มีปัญหาหรืออุปสรรคใดที่ต้องแก้ไขปรับปรุงข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ ผู้บริหารโครงการสามารถนําไปสู่การตัดสินว่า โครงการนั้นควรดําเนินการต่อหรือยกเลิก 4. การประเมินประสิทธิภาพ การประเมินโครงการโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ประเทศไทยที่ผ่านมา ยังจํากัดอยู่ตาเพียงการประเมินผลผลิต โดยมุ่งที่จะทราบความสําเร็จหรือความ ล้มเหลวของโครงการเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้ให้บริการหรือผู้ให้ทุนในการยุติหรือ ขยายโครงการ แต่ในปัจจุบันนักประเมินและผู้บริหารโครงการ ได้ตระหนักถึงความสําคัญของการ ประเมินประสิทธิภาพของโครงการด้วย โดยถือว่าเป็นประเภทของการประเมินที่จําเป็นสําหรับ โครงการบริการทั่วไป เพราะจะช่วยเสริมให้โครงการเหล่านั้น สามารถดําเนินการอย่างสอดคล้องกับ สภาวการณ์ของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการที่เอื้ออํานวยต่อการพัฒนาท้องถิ่น หรือโครงการที่ เป็นตัวกําหนดเกณฑ์สําคัญสําหรับประกันโครงการขนาดใหญ่ระดับชาติ ที่จะไม่ต้องสูญเสียทรัพยากร ที่มีอยู่อย่างจํากัดโดยไม่จําเป็น การดําเนินโครงการบริการสังคมนั้น จะไม่มุ่งแต่เพียงความสําเร็จของ โครงการเท่านั้น แต่จะต้องให้คุ้มค่าในเชิงของประสิทธิภาพด้วย
  • 21. 17 โดยปกติการประเมินประสิทธิภาพของโครงการมักจะเริ่มจากคําถามต่างๆ กัน เช่น 1. ความสําเร็จของโครงการนั้นๆ เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายแล้วมีความเหมาะสม หรือไม่ 2. ผลผลิตของโครงการเกิดจากปัจจัยที่ลงทุนไปใช่หรือไม่ 3. โครงการนี้มีผลผลิตสูงกว่าโครงการอื่นๆ เมื่อลงทุนเท่ากันหรือไม่ และ เพราะเหตุใด การประเมินโครงการบางครั้งอาจจะไม่จําเป็นต้องประเมินแยกเป็นประเภทที่ได้กล่าวมา ข้างต้น แต่สามารถทําการประเมินตลอดช่วงของโครงการก็ได้ โดยทําการประเมินก่อนดําเนินการ จนถึงดําเนินโครงการเสร็จสิ้น แต่หากผู้ประเมินต้องการศึกษาและต้องการสารสนเทศสําหรับพัฒนา โครงการในช่วงใด ก็อาจจะทําการประเมินในช่วงนั้นเพียงอย่างเดียวก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความ เหมาะสมและความต้องการของเจ้าของโครงการ รูปแบบการประเมินโครงการ 1. แนวคิดและโมเดิลซิปในการประเมินของสตัฟเฟิลบีม (Srufflebeam’s CIPP Model) ในปี ค.ศ. 1971 สตัฟเฟิลบีมและคณะได้เขียนหนังสือทางการประเมินออกมาหนึ่งเล่ม ชื่อ “Educational Evaluation and decision Making” หนังสือเล่มนี้ได้เป็นที่ยอมรับกันอย่าง กว้างขวางในวงการศึกษาของไทยเพราะได้ให้แนวคิดและวิธีการทางการวัดและประเมินผลการศึกษา ได้อย่างน่าสนใจและทันสมัยด้วย นอกจากนั้น สตัฟเฟิลบีมก็ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการประเมินและ รูปแบบของการประเมินอีกหลายเล่มอย่างต่อเนื่อง จึงกล่าวได้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้มีบทบาทสําคัญในการ พัฒนาทฤษฎีการประเมิน จนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในปัจจุบัน เรียกว่า CIPP Model
  • 22. 18 รูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) เป็นการประเมนภาพรวมของ โครงการ ตั้งแต่บริบท ปัจจัยปูอน กระบวนการ และผลผลิต (Context, Input, Process and product) โดยจะใช้วิธีการสร้างเกณฑ์และประสิทธิภาพของโครงการ ทั้งภาพรวมหรือรายปัจจัยเป็น สําคัญ ซึ่งพออธิบายได้ดังนี้ การประเมินด้านบริบท หรือประเมินเนื้อความ (context Evaluation ) เป็น การศึกษาปัจจัยพื้นฐานที่นําไปสู่การพัฒนาเปูาหมายของโครงการ ได้แก่ บริบทของสภาพแวดล้อม นโยบาย วิสัยทัศน์ ปัญหา แหล่งทุน สภาพความผันผวนทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ตลอดจนแนวโน้มการก่อตัวของปัญหาที่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการดําเนินโครงการ เป็นต้น การประเมินปัจจัยป้อน (Input Evaluation) เพื่อต้นหาประสิทธิภาพของ องค์ประกอบที่นํามาเป็นปัจจัยปูอน ซึ่งในด้านการท่องเที่ยวอาจจะจําแนกเป็นบุคคล สิ่งอํานวยความ สะดวก เครื่องมือ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ ศักยภาพการบริหารงาน ซึ่งแต่ละปัจจัยก็ยังจําแนกย่อยออกไป อีก เช่น บุคคล อาจพิจารณาเป็น เพศ อายุ มีสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ ความพึงพอใจ ความคาดหวัง ทัศนคติ ศักยภาพ ความสามารถ ประสบการณ์ ความรู้ คุณวุฒิทางการศึกษา ถิ่นที่ อยู่และลักษณะกระบวนการกลุ่ม เป็นต้น การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เป็นการศึกษาต่อจากการ ประเมินบริบทและปัจจัยปูอนว่า กระบวนการเป็นไปตามแผนที่วางไว้ เป็นการศึกษาค้นหา ข้อบกพร่อง จุดอ่อน หรือจุดแข็งของกระบวนการบริหารจัดการโครงการที่จะนําโครงการบรรลุ วัตถุประสงค์ที่วางไว้ว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด การประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) การประเมินปัจจัยเบื้องต้น/ตัวป้อน (Input Evaluation) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) การประเมินผลผลิต (Product Evaluation)
  • 23. 19 การประเมินผลิตผล (Product Evaluation) เป็นการตรวจสอบ ประสิทธิผลของโครงการ โดยเฉพาะความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับผลลัพธ์ที่ได้แล้วนํา เกณฑ์ที่กําหนดไว้ไปตัดสิน เกณฑ์มาตรฐานนั้นอาจจะกําหนดขึ้นเองหรืออาศัยเกณฑ์ที่บุคคลหรือ หน่วยงานอื่นกําหนดไว้ก็ได้ ซึ่งในที่นี้ผู้วิจัยจะกล่าวในตอนต่อไป 2. แนวความคิดและแบบจาลองของ R.W. Tyler R.W. Tyler เป็นนักประเมินรุ่นแรกๆ ในปี ค.ศ. 1930 และเป็นผู้ที่เริ่มต้นบุกเบิก แนวความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินโครงการ เขามีความเห็นว่า “การประเมินคือการเปรียบเทียบ พฤติกรรมเฉพาะอย่าง (performance) กับจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมที่วางไว้” โดยมีความเชื่อว่า จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้อย่างชัดเจน รัดกุมและจําเพาะเจาะจงแล้ว จะเป็นแนวทางช่วยในการประเมินได้ เป็นอย่างดีในภายหลัง จากคําจํากัดความของการประเมินดังกล่าวแล้วนี้จะเห็นได้ว่า มีแนวความคิด เห็นว่า โครงการจะประสบผลสําเร็จหรือไม่ ดูได้จากผลผลิตของโครงการว่าตรงตามจุดมุ่งหมายที่ตั้ง ไว้แต่แรกหรือไม่เท่านั้น แนวความคิดในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า “แบบจําลองที่ยึดความสําเร็จของ จุดมุ่งหมายเป็นหลัก (Goal Attainment Model or Objective) เรียกว่า Tyler’s Goal Attainment Model ซึ่งต่อมาปี 1950 ได้มีรูปแบบ มาใช้เป็นกระบวนการตัดสินการบรรลุวัตถุประสงค์ ของสิ่งที่ทําการประเมิน (R.W. Tyler.1950) เรียกว่า “Triple Ps Model” ดังนี้ P-Philosophy & Purpose -ปรัชญา/จุดมุ่งหมาย P-Process -กระบวนการ P-Product -ผลผลิต ในการประยุกต์ใช้ในการประเมินโครงการทางการศึกษาได้โดยการประเมิน ความสัมพันธ์ของทั้ง 3 ว่า ปรัชญา/จุดมุ่งหมายของโครงการมีความสัมพันธ์กับกระบวนการและ ผลผลิตหรือไม่ ถ้าประเมินเป็นส่วนๆ ก็จะประเมินในด้านประสิทธิภาพของปรัชญา/จุดมุ่งหมายและ กระบวนการประเมินประสิทธิผลของผลผลิตว่าตรงกับปรัชญา/จุดมุ่งหมายหรือไม่ มีประสิทธิภาพ เพียงใด เป็นต้น
  • 24. 20 3. แนวความคิดของ Stake ในการประเมิน แนวความคิดของ Robert E. Stake นั้น คํานึงถึงความต้องการสารสนเทศที่แตกต่าง กันของบุคคลหลายๆ ฝุาย ที่เกี่ยวข้องกับโครงการในการประเมินโครงการ ผู้เกี่ยวข้องคนหนึ่งอาจ ต้องการทราบเกี่ยวกับความแน่นอนและสอดคล้องในการวัด เพื่อการประเมินนั้นๆในขณะที่ ผู้เกี่ยวข้องคนอื่นอาจต้องการทราบทิศทางการดําเนินงานของโครงการหรือผู้ใช้ผลผลิตของโครงการ อาจมีความต้องการอีกรูปหนึ่ง สําหรับนักวิจัยอาจต้องการสารสนเทศที่แตกต่างไปจากผู้เกี่ยวข้อง อื่นๆ เพราะการประเมินนั้นเพื่อที่จะรู้เรื่องราวต่างๆ ของโครงการอย่างละเอียดลึกซึ้ง เพื่อนํามา ประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการ ดังนั้นการประเมินโครงการจึงต้องมีการบรรยายเกี่ยวกับโครงการอย่างละเอียด เพื่อให้ครอบคลุมถึงสารสนเทศที่จะตองสนองความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อจะนําไปสู่การตัดสินใจ เกี่ยวกับโครงการนั้น จึงเสนอรูปแบบของการประเมินโครงการอย่างมีระบบ โดยการบรรยายและ ตัดสินคุณค่าเกี่ยวกับโครงการตามหลักการของโครงการนั้นๆ Stake ได้ตั้งชื่อแบบจําลองในการประเมินผลของเขาว่า แบบจําลองการสนับสนุน (Countenance Model) โดย Stake ได้เน้นว่า การประเมินโครงการจะต้องมี 2 ส่วน คือ การ บรรยาย (Descriptive) และการตัดสินคุณค่า (Judgment) ในภาคการบรรยายนั้น ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ประเมินจะต้องหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ โครงการให้ได้มากที่สุด ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1. เป้าหมายหรือความคาดหวัง (Goals or Intents) เปูาหมายที่ครอบคลุม นโยบายทั้งหมด สําหรับการประเมินการศึกษาไม่ควรจะสนใจเปูาหมายเฉพาะในแง่พฤติกรรมของ ผู้เรียนเพียงอย่างเดียว ต้องคํานึงถึงองค์ประกอบอื่นๆ ด้วย ความคาดหวังนี้ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1.1 สิ่งนํา (Antecedence) เป็นสภาพที่มีอยู่ก่อน ซึ่งอาจจะเกี่ยวพันกับ ผลของการเรียนการสอน 1.2 ปฏิบัติการ (Transactions) เป็นผลสําเร็จของการจัดกระทํางานเป็น องค์ประกอบของขบวนการเรียนการสอน 1.3 ผลลัพธ์ (Outcomes) เป็นผลของโปรแกรมทางการศึกษา
  • 25. 21 2. สิ่งที่เป็นจริงหรือสังเกตได้ (Observations) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสภาพความ เป็นจริง มีส่วนประกอบ 3 ส่วนเช่นกัน คือ สิ่งนํา ปฏิบัติการ และผลลัพธ์ ความสอดคล้องระหว่างสิ่งที่คาดหวังกับสิ่งที่เป็นจริง มิได้เป็นตัวชี้บ่งว่าข้อมูลที่เราได้ มีความเที่ยงหรือความตรง แต่เป็นเพียงสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า สิ่งที่ตั้งใจไว้ได้เกิดขึ้นจริงเท่านั้น ในภาคการตัดสินคุณค่า เป็นส่วนที่จะตัดสินว่า โครงการประสบความสําเร็จหรือไม่ เพียงใด นักประเมินต้องพยายามศึกษาดูว่า มาตรฐานอะไรบ้างที่เหมาะสมในการที่จะนํามา เปรียบเทียบเพื่อช่วยในการตัดสินใจโดยทั่วๆ ไป เกณฑ์ที่ใช้มี 2 ชนิด คือ 1. เกณฑ์สัมบูรณ์ (Absolute Criterion) เป็นเกณฑ์ที่เราตั้งไว้ อาจจะเกิดขึ้นก่อน โดยมีความเป็นอิสระจากพฤติกรรมของกลุ่ม 2. เกณฑ์สัมพัทธ์ (Relative Criterion) เป็นเกณฑ์ที่ได้มาจากพฤติกรรมของกลุ่ม ถ้าผู้ประเมินไม่สามารถหามาตรฐานที่จะนํามาเปรียบเทียบได้ ก็ต้องพยายามหา โครงการอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาเปรียบเทียบเพื่อช่วยในการตัดสินใจ แบบจําลองนี้มุ่งเน้น ความสอดคล้อง และความสมเหตุสมผลของเมตริกบรรยาย และเมตริกตัดสินคุณค่า สําหรับความ สอดคล้องนั้น มี 2 ลักษณะ คือ 1. Contingence เป็นความสอดคล้องเชิงเหตุผล จะพิจารณาความสัมพันธ์ใน แนวตั้งตาม ของ Stake 2. Congruence เป็นความสอดคล้องที่ปรากฏขึ้นจริง หรือเป็นความสอดคล้องใน เชิงประจักษ์ (empirical) พิจารณาความสัมพันธ์ในแนวนอนตามของ Stake ข้อดีสําหรับรูปแบบของการประเมินของ Stake คือ เสนอวิธีการประเมินเป็นระบบ เพื่อ จัดเตรียมข้อมูลเชิงบรรยาย และตัดสินคุณค่า มีมาตรฐานในการประเมินปรากฏชัดเจน แต่มีข้อจํากัด คือ เซลล์บางเซลล์ของเมตริกมีความคาบเกี่ยวกัน และความแตกต่างระหว่างเซลล์ไม่ชัดเจน ซึ่ง อาจจะทําให้เกิดความขัดแย้งภายในโครงการได้ การเลือกใช้แนวคิดและโมเดลการประเมิน ผู้ประเมินควรเลือกให้เหมาะสมและเป็นโมเดลที่ สามารถตอบคําถามการประเมินได้ตรงประเด็น เพราะโมเดลการประเมินแต่ละแบบมีลักษณะและ
  • 26. 22 สถานการณ์ที่เหมาะสมต่างๆ กัน เช่น โมเดลการประเมินของสตัฟเฟิลบีม ที่เรียกกว่า CIPP Model เป็นโมเดลที่มีลักษณะเป็นการประเมินตลอดช่วง ตั้งแต่การประเมินบริบท ไปจนถึงการประเมินผลิต ดังนั้นหากโครงการที่ต้องการประเมินดําเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว การใช้โมเดลนี้ก็จะไม่เหมาะสม ดังนั้นผู้ประเมินจึงควรเลือกโมเดลการประเมินที่เหมาะสมก่อนทําการประเมินทุกครั้ง ประโยชน์ของการประเมินโครงการ 1. การประเมินจะช่วยทําให้การกําหนดวัตถุประสงค์และมาตรฐานของการดําเนินงานมีความ ชัดเจนขึ้นกล่าวคือก่อนที่โครงการจะได้รับการสนับสนุนให้นําไปใช้ย่อมจะได้รับการตรวจสอบอย่าง ละเอียดจากผู้บริหารและผู้ประเมิน ส่วนใดที่ไม่ชัดเจนเช่นวัตถุประสงค์หรือมาตรฐานในการ ดําเนินงานหากขาดความแน่นอนแจ่มชัดจะต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้มีความถูกต้องชัดเจน เสียก่อน ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าการประเมินโครงการมีส่วนช่วยทําให้โครงการมีความชัดเจนและสามารถ ที่จะนําไปปฏิบัติได้อย่างได้ผล มากกว่าโครงการที่ไม่ได้รับการประเมิน 2. การประเมินโครงการช่วยให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างคุ้มค่าหรือเกิดประโยชน์เต็มที่ ทั้งนี้เพราะการประเมินโครงการจะต้องวิเคราะห์ทุกส่วนของโครงการ ข้อมูลใดหรือปัจจัยใดที่เป็น ปัญหาจะได้รับการจัดสรรให้อยู่ในจํานวนหรือปริมาณที่เหมาะสมเพียงพอแก่การดําเนินงาน ทรัพยากรที่ไม่จําเป็นหรือมีมากเกินไปจะได้รับการตัดทอน และทรัพยากรใดที่ขาดก็จะได้รับการ จัดหาเพิ่มเติม ฉะนั้นการประเมินโครงการจึงมีส่วนที่ทําให้การใช้ทรัพยากรของโครงการเป็นไปอย่าง คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ 3. การประเมินโครงการช่วยให้แผนงานบรรลุวัตถุประสงค์ ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าโครงการเป็น ส่วนหนึ่งของแผน ดังนั้นเมื่อโครงการได้รับการตรวจสอบวิเคราะห์ปรับปรุงแก้ไขให้ดําเนินการไป ด้วยดี ย่อมจะทําให้แผนงานดําเนินไปด้วยดีและบรรลุถึงวัตถุประสงค์ที่ได้กําหนดไว้ หากโครงการใด โครงการหนึ่งมีปัญหาในการนําไปปฏิบัติย่อมกระทบกระเทือนต่อแผนงานทั้งหมดโดยส่วนรวม ฉะนั้น จึงอาจกล่าวได้เช่นเดียวกันว่าหากการประเมินโครงการมีส่วนช่วยให้โครงการดําเนินไปอย่างมี ประสิทธิภาพ ย่อมหมายถึงการประเมินโครงการมีส่วนช่วยให้แผนงานบรรลุถึงวัตถุประสงค์และ ดําเนินงานไปด้วยดีเช่นเดียวกัน 4. การประเมินโครงการมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาอันเกิดจากผลกระทบ (Impact) ของ โครงการและทําให้โครงการมีข้อที่ทําให้เกิดความเสียหายลดน้อยลง ดังตัวอย่างโครงการเขื่อนน้ําโจน ซึ่งในการสร้างถนนเพื่อไปสู่สถานที่สร้างเขื่อนนั้นต้องผ่านปุาไม้ธรรมชาติ ทําให้เกิดการลักลอบตัดไม้ ทําลายปุาและสัตว์ปุาหลายชนิดอาจต้องสูญพันธ์การประเมินโครงการจะช่วยให้เกิดโครงการปูองกัน