SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  36
บทที่ 1
สิท ธิ ประโยชน์แ ละสวัส ดิก ารซึ่ง พ.ร.บ. ส่ง เสริม และพัฒ นา
คุณ ภาพชีว ิต คนพิก าร พ.ศ. ๒๕๕๐
ได้บ ัญ ญัต ิร ับ รองและคุ้ม ครองให้ค นพิก าร
ในปัจจุบันกฎหมายได้ให้ความสำาคัญกับการส่งเสริมและพัฒนา
คุณภาพชีวิตคนพิการมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากรัฐธรรมนูญแห่งราช
อาณาจักรไทยซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดได้กำาหนดห้ามมิให้มีการเลือก
ปฏิบัติต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความพิการ เพื่อให้คนพิการมีความเสมอ
ภาคเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป นอกจากนี้ ในกฎหมายอื่นๆ ยังได้มีการ
บัญญัติรองรับหลักการตามรัฐธรรมนูญไว้ด้วย เช่น พระราชบัญญัติส่ง
เสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้กำาหนดสิทธิ
ประโยชน์และสวัสดิการให้กับคนพิการหลายประการด้วยกัน และเพื่อ
ให้หลักการที่ต้องการให้คนพิการได้รับการปฏิบัติที่ความเสมอภาคกับ
บุคคลทั่วไปสามารถเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง จึงได้มีการกำาหนดหลัก
เกณฑ์เกี่ยวกับการขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุแห่ง
ความพิการไว้ด้วย และเพื่อให้การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคน
พิการสามารถดำาเนินไปได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ
ของคนพิการอย่างแท้จริง พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ จึงได้มีการกำาหนดประเภทความพิการไว้ ๖
ประเภท ได้แก่
(๑) ความพิการทางการเห็น
(๒) ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย
(๓) ความพิการทางกายหรือการเคลื่อนไหว
(๔) ความพิการทางจิตใจ พฤติกรรม หรือออทิสติก
(๕) ความพิการทางสติปัญญา
(๖) ความพิการทางการเรียนรู้
ส่วนพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำาหรับคนพิการ พ.ศ.
๒๕๕๕๑ ได้กำาหนดประเภทความพิการไว้ถึง ๙ ประเภท โดยแยกความ
พิการออทิสติกออกมาเป็นความพิการอีกประเภทหนึ่ง และเพิ่มความ
พิการสำาหรับความพิการทางการเจ็บป่วยเรื้อรังและความพิการซำ้าซ้อน
ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาสำาหรับคนพิการให้มี
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สำาหรับในบทที่ ๑ นี้จะมุ่งเน้นอธิบายถึงสิทธิประโยชน์และ
สวัสดิการของคนพิการและขั้นตอน วิธีการและเงื่อนไขในการรับสิทธิ
ประโยชน์และสวัสดิการของคนพิการ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและ
พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และตามพระราชบัญญัติการ
จัดการศึกษาสำาหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยจะแยกอธิบายเป็น ๒
หัวข้อหลัก ตามลำาดับดังนี้
๑. สิทธิประโยชน์และสวัสดิการของคนพิการ
๒. ขันตอน วิธีการและเงื่อนไขในการรับสิทธิ ประโยชน์และ
้
สวัสดิการของคนพิการ
๑ . สิท ธิ ประโยชน์แ ละสวัส ดิก ารของคนพิก าร
พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการได้
กำาหนดสิทธิ ประโยชน์และสวัสดิการให้กับคนพิการไว้หลายประการ
ด้วยกัน โดยบัญญัติไว้ในมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง วรรคสาม และวรรคห้า
ของพระราชบัญญัติดังกล่าว และในมาตรา ๕ ของพระราชบัญญัติการ
จัดการศึกษาสำาหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑
- บทบัญญัติในวรรคหนึ่งกำาหนดให้คนพิการมีสิทธิเข้าถึงงบและ
ใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอำานวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ตลอดจน
สวัสดิการและความช่วยเหลือของรัฐ ซึ่งมีทั้งสิ้น ๑๐ ประการหลัก
- บทบัญญัติในวรรคสามได้บัญญัติถึงสิทธิได้รับการจัดสวัสดิการ
ด้านที่อยู่อาศัยและการเลี้ยงดูจากหน่วยงานของรัฐสำาหรับคนพิการที่
ไม่มีผู้ดูแลคนพิการ
- บทบัญญัติในวรรคห้าได้บัญญัติถึงสิทธิของคนพิการที่จะได้รับ
การลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษี
- ส่วนบทบัญญัติในมาตรา ๕ ของพระราชบัญญัติการจัดการ
ศึกษาสำาหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑
ได้บัญญัติถึงเรื่องสิทธิทางการศึกษาของคนพิการซึ่งเป็นการขยาย
ความมาตรา ๒๐(๒) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐
สิทธิประโยชน์และสวัสดิการของคนพิการตามที่กำาหนดไว้ในพระราช
บัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และพระ
ราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำาหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ดังกล่าวข้าง
ต้น ได้มีการจัดทำาร่างอนุบัญญัติเพื่อกำาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการใน
การจัดสิทธิ ประโยชน์และสวัสดิการให้กับคนพิการตามหลักการในพระ
ราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายแม่บท ดังนั้นในหัวข้อนี้จะได้
อธิบายถึงสิทธิประโยชน์และสวัสดิการดังกล่าวข้างต้นตามหลักเกณฑ์
และวิธีการที่บัญญัติไว้ในอนุบัญญัติในแต่ละเรื่อง โดยเฉพาะในส่วนที่
เป็นหลักการสำาคัญ ซึ่งจะแบ่งแยกสิทธิ ประโยชน์ สวัสดิการ เป็น ๑๒
ประการหลักดังนี้
๑. สิท ธิใ นการได้ร ับ การบริก ารฟื้น ฟูส มรรถภาพโดย
กระบวนการทางการแพทย์ และค่า ใช้จ ่า ยในการรัก ษา
พยาบาล ค่า อุป กรณ์ เครื่อ งช่ว ยความพิก าร และสื่อ ส่ง เสริม
พัฒ นาการเพื่อ ปรับ สภาพทางร่า งกาย จิต ใจ อารมณ์ สัง คม
พฤติก รรม สติป ัญ ญา การเรีย นรู้ หรือ เสริม สร้า งสมรรถภาพให้
ดีข ึ้น ตามที่ร ัฐ มนตรีว ่า การกระทรวงสาธารณสุข ประกาศ
กำา หนด
สิทธิดังกล่าวบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนา
คุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ (๑) ซึ่งกำาหนดให้สิทธิ
ดังกล่าวเป็นไปตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ
กำาหนด ดังนั้น จึงได้มีการจัดทำา (ร่าง) ประกาศกระทรวงว่าด้วยการ
บริการ ฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์และค่าใช้จ่าย
ในการรักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการ และสื่อส่งเสริม
พัฒนาการ พ.ศ. .... เพื่อรองรับกฎหมายแม่บท ซึ่งสาระสำาคัญของ
ประกาศกระทรวงดังกล่าวมีดังต่อไปนี้
๑.๑ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้าง
สมรรถภาพหรือความสามารถของคนพิการให้มีสภาพที่ดีขึ้น หรือดำารง
สมรรถภาพหรือความสามารถที่มีอยู่เดิมไว้ โดยอาศัยกระบวนการ
ทางการแพทย์ เพื่อให้คนพิการได้มีโอกาสทำางานหรือดำารงชีวิตใน
สังคมอย่างเต็มศักยภาพ
๑.๒ บริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์ที่คน
พิการมีสิทธิได้รับมีรายการดังต่อไปนี้
(๑) การตรวจวินิจฉัย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการ
ตรวจพิเศษด้วยวิธีอื่น ๆ
(๒) การแนะแนว และการให้บริการปรึกษา
(๓) การจัดการรายกรณีแบบครบวงจร
(๔) การให้ยา
(๕) การบริการอุปกรณ์เทียมอุปกรณ์เสริมหรือเครื่องช่วย
ความพิการ
(๖) การศัลยกรรม
(๗) การพยาบาลเวชกรรมฟื้นฟู
(๘) กายภาพบำาบัด
(๙) กิจกรรมบำาบัด
(๑๐) ดนตรีบำาบัด
(๑๑) ศิลปะบำาบัด
(๑๒) อาชีวะบำาบัด
(๑๓) พฤติกรรมบำาบัด
(๑๔) จิตบำาบัด
(๑๕) การบริการแพทย์ทางเลือก
(๑๖) การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยิน
(๑๗) การแก้ไขการพูด
(๑๘) การพัฒนาทักษะในการสื่อความหมาย
(๑๙) การพัฒนาทักษะทางสังคม สังคมสงเคราะห์ และ
สังคมบำาบัด
(๒๐) การบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มและการบริการส่ง
เสริมพัฒนาการ
(๒๑)การสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการ
เคลื่อนไหวหรือการฟื้นฟูสมรรถภาพสำาหรับผู้บกพร่องทางการ
เห็น
(๒๒)การบริการจัดสภาพแวดล้อมให้คนพิการสามารถเข้า
ถึงและใช้ประโยชน์ได้จากการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการ
ทางการแพทย์
(๒๓) การฝึกอบรมและการพัฒนาทักษะที่จำาเป็นแก่ผู้พิการ
และผู้ดูแลคนพิการ
(๒๔) การบริการด้านข้อมูลข่าวสารทางด้านสุขภาพและการ
ส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อบำาบัดรักษาหรือเพื่อปรับสภาพทางร่างกาย
จิตใจ อารมณ์ สังคมพฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ การดำาเนิน
ชีวิต ตลอดจนองค์ความรู้ทางการฟื้นฟูสมรรถภาพโดย
กระบวนการทางการแพทย์หรือการบริการด้านสุขภาพผ่านสื่อใน
รูปแบบที่เหมาะสมซึ่งคนพิการหรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงและ
ใช้ประโยชน์ได้
(๒๕) บริการอื่นใดตามที่รัฐมนตรีประกาศกำาหนด
๑.๓ คนพิการมีสิทธิได้รับการรับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยไม่
ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ต้องเป็นการรับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดย
กระบวนการทางการแพทย์ จากสถานพยาบาลของกระทรวง
สาธารณสุข หรือสถานพยาบาลของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วน
ท้องถิ่น องค์การมหาชน หรือรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงสาธารณสุข
ประกาศกำาหนด
๑.๔ คนพิการที่มีความจำาเป็นต้องใช้อุปกรณ์หรือเครื่องช่วยความ
พิการ มีสิทธิได้รับอุปกรณ์เทียม อุปกรณ์เสริมหรือเครื่องช่วยความ
พิการตามความต้องการจำาเป็นของแต่ละบุคคล
๑.๕ ในกรณีความพิการเปลี่ยนแปลง หรืออุปกรณ์เทียม อุปกรณ์
เสริม หรือเครื่องช่วยความพิการที่คนพิการได้รับ ชำารุดบกพร่อง จำาเป็น
ต้องเปลี่ยนตามกำาหนดเวลา ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนแปลงชิ้นส่วนของ
อุปกรณ์เทียม อุปกรณ์เสริม หรือเครื่องช่วยความพิการนั้น คนพิการ
สามารถดำาเนินการเปลี่ยนแปลง ซ่อมแซมอุปกรณ์ดังกล่าวได้โดยไม่
ต้องเสียค่าใช้จ่าย
๒. สิท ธิไ ด้ร ับ การศึก ษาตามกฎหมายว่า ด้ว ยการศึก ษา
แห่ง ชาติห รือ แผนการศึก ษาแห่ง ชาติต ามความเหมาะสมใน
สถานศึก ษาเฉพาะหรือ สถานศึก ษาทั่ว ไป หรือ การศึก ษาทาง
เลือ กหรือ การศึก ษานอกระบบ โดยให้ห น่ว ยงานที่ร ับ ผิด ชอบ
เกี่ย วกับ สิ่ง อำา นวยความสะดวก สื่อ บริก ารและความช่ว ยเหลือ
อื่น ใดทางการศึก ษาสำา หรับ คนพิก ารให้ก ารสนับ สนุน ตาม
ความเหมาะสม
สิทธิดังกล่าวนี้ได้รับการรับรองไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและ
พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ (๒) และพระราช
บัญญัติการจัดการศึกษาสำาหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ในส่วนนี้จะได้
อธิบายหลักการสำาคัญตามพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำาหรับคน
พิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งมีสาระสำาคัญดังต่อไปนี้
๒.๑ คนพิการมีสิทธิทางการศึกษาดังนี้
(๑) ได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิด
หรือพบความพิการจนตลอดชีวิต พร้อมทั้งได้รับเทคโนโลยี สิ่ง
อำานวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใด
ทางการศึกษา
(๒) เลือกบริการทางการศึกษา สถานศึกษา ระบบและรูป
แบบการศึกษา โดยคำานึงถึง ความสามารถ ความสนใจ ความ
ถนัดและความต้องการจำาเป็นพิเศษของบุคคลนั้น
(๓) ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานและประกันคุณภาพการ
ศึกษา รวมทั้งการจัดหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ การทดสอบ
ทางการศึกษา ที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการจำาเป็น
พิเศษ ของคนพิการแต่ละประเภทและบุคคล
๓. สิท ธิไ ด้ร ับ การฟื้น ฟูส มรรถภาพด้า นอาชีพ การให้
บริก ารที่ม ีม าตรฐาน การคุ้ม ครองแรงงาน มาตรการเพื่อ การมี
งานทำา ตลอดจนได้ร ับ การส่ง เสริม การประกอบอาชีพ อิส ระ
และบริก ารสื่อ สิ่ง อำา นวยความสะดวก เทคโนโลยีห รือ ความ
ช่ว ยเหลือ อื่น ใด เพื่อ การทำา งานและการประกอบอาชีพ ของคน
พิก าร ตามหลัก เกณฑ์ วิธ ีก ารและเงื่อ นไขที่ร ัฐ มนตรีว ่า การ
กระทรวงแรงงานประกาศกำา หนด
สิทธิดังกล่าวนี้เป็นสิทธิในด้านอาชีพ ซึ่งได้รับการรับรองไว้ใน
พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๒๐ (๓) และมีการจัดทำา (ร่าง) ประกาศกระทรวงว่าด้วย
มาตรการเพื่อการมีงานทำา การส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระและ
บริการสื่อ สิ่งอำานวยความสะดวก เทคโนโลยีหรือความช่วยเหลืออื่นใด
สำาหรับคนพิการ พ.ศ. .... เพื่อกำาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข
ซึ่งมีสาระสำาคัญดังต่อไปนี้
๓.๑ คนพิการมีสิทธิได้รับบริการการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
โดยที่การให้บริการต่างๆจะต้องมีมาตรฐาน คำานึงถึงคนพิการทุก
ประเภทเพื่อให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสวัสดิการอย่าง
เท่าเทียม ทั่วถึงและเป็นธรรม และการคุ้มครองแรงงานสำาหรับคนพิการ
๓.๒ หน่วยงานของรัฐซึ่งได้มีหรือรับคนพิการเข้าทำางาน ต้องจัด
ให้มีบริการสื่อสิ่งอำานวยความสะดวกและความช่วยเหลืออื่นใด ไม่ว่าคน
พิการผู้นั้นจะอยู่ในตำาแหน่งใดในหน่วยงานนั้นก็ตาม ทั้งนี้ เพื่อ
ประโยชน์ในการทำางานและการประกอบอาชีพของคนพิการ
๓.๓ ประกาศกระทรวงดังกล่าวยังได้กำาหนดอำานาจหน้าที่ของ
หน่วยงานของรัฐไว้ด้วย โดยหลักได้กำาหนดให้
- กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มีอำานาจหน้าที่ในการฝึกอบรมอาชีพ
ฝึกเพื่อเตรียมเข้าทำางาน การฝึกยกระดับฝีมือ และการฝึกเสริม
ทักษะ เพื่อการทำางานในสถานประกอบการหรือการประกอบ
อาชีพอิสระ จัดให้มีการฝึกอบรมและให้บริการผู้สอนงานแก่
นายจ้าง และจัดให้มีการส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ
- กรมการจัดหางาน มีอำานาจหน้าที่จัดให้มีบริการแนะแนวอาชีพ
จัดให้มีการรับจดแจ้งความต้องการมีงานทำาของคนพิการ จัดให้มี
บริการวิเคราะห์ตำาแหน่งงาน และจัดให้มีระบบการจับคู่งาน
ระหว่างความต้องการมีงานทำาของคนพิการ กับความต้องการรับ
คนพิการเข้าทำางานของหน่วยงานของรัฐและนายจ้าง
๔. สิท ธิใ นการได้ร ับ การยอมรับ และมีส ่ว นร่ว มในกิจ กรรม
ทางสัง คม เศรษฐกิจ และการเมือ งอย่า งเต็ม ที่แ ละมี
ประสิท ธิภ าพบนพื้น ฐานแห่ง ความเท่า เทีย มกับ บุค คลทั่ว ไป
ตลอดจนได้ร ับ สิ่ง อำา นวยความสะดวกและบริก ารต่า งๆ ที่จ ำา เป็น
สำา หรับ คนพิก าร
สิทธิประการนี้ได้รับการรับรองไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและ
พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ (๔)
๕. สิท ธิใ นการได้ร ับ การช่ว ยเหลือ ให้เ ข้า ถึง นโยบาย แผน
งาน โครงการ กิจ กรรม การพัฒ นาการและการบริก ารอัน เป็น
สาธารณะ ผลิต ภัณ ฑ์ท ี่ม ีค วามจำา เป็น ต่อ การดำา รงชีว ิต การ
ช่ว ยเหลือ ทางกฎหมายและการจัด หาทนายความว่า ต่า งแก้ต ่า ง
คดี ให้เ ป็น ไปตามระเบีย บที่ค ณะกรรมการกำา หนด
สิทธิประการนี้บัญญัติรับรองไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและ
พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ (๕) และมีการจัด
ทำา (ร่าง) ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคน
พิการแห่งชาติว่าด้วยการช่วยเหลือทางกฎหมายและการจัดหาทนายว่า
ต่างแก้คดี พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำาคัญดังต่อไปนี้
๕.๑ “การบริการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย” ได้แก่
(๑) การให้คำาปรึกษาหารือทางกฎหมาย
(๒) การให้ความรู้ทางกฎหมาย
(๓) การจัดทำานิติกรรมสัญญา
(๔) การไกล่เกลี่ยหรือการประนีประนอมยอมความ
(๕) การจัดหาทนายความ
(๖) การให้ความช่วยเหลืออื่นๆ ในทางคดี
๕.๒ การยื่นคำาขอรับบริการ
ผู้ขอรับการช่วยเหลือ อาจยื่นคำาขอด้วยวาจา เป็นหนังสือ หรือส่ง
ทางไปรษณี ย์ เ พื่ อ ขอรั บ การช่ ว ยเหลื อ ทางกฎหมายและการจั ด หา
ทนายความว่าต่างแก้ต่างคดี โดยยื่นคำาขอ
(๑) ในกรุ ง เทพมหานคร ให้ ยื่ น คำา ขอต่ อ กรมพั ฒ นาสั ง คมและ
สวั ส ดิ การ หรือ สถานที่อื่นตามที่ อ ธิ บ ดี กรมพั ฒนาสั งคมและสวั ส ดิ ก าร
ประกาศกำาหนด
(๒) ในท้องที่จังหวัดอื่นให้ยื่นคำาขอต่อสำานักงานพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หรือที่หน่วยบริการในพื้นที่ตามที่ผู้ว่า
ราชการจังหวัดประกาศกำาหนด
กรณีม ีเ หตุข ัด ข้อ ง เมื่อผู้ขอรับความช่วยเหลือเป็นผู้เยาว์ คน
เสมือนไร้ความสามารถหรือคนไร้ความสามารถหรือในกรณีที่คนพิการ
มีสภาพความพิการถึงขั้นไม่สามารถไปยื่นขอรับบริการด้วยตนเองได้ ผู้
ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาลหรือผูดูแลคนพิการ แล้วแต่กรณี อาจยื่น
้
คำาขอรับการบริการช่วยเหลือทางกฎหมายและการจัดหาทนายความว่า
ต่างแก้ต่างแทนก็ได้
๕.๓ หลักเกณฑ์การพิจารณาให้การช่วยเหลือ
(๑) ผู้ขอรับการช่วยเหลือมีความจำาเป็น เนื่องจากมีรายได้
ตำ่ากว่าเกณฑ์ที่เลขาธิการประกาศกำาหนด หรือเป็นคดีที่คนพิการ
ได้รับความเสียหาย เนื่องจากถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(๒) ผูขอรับการช่วยเหลือจะฟ้องหรือถูกฟ้อง มีโอกาสใน
้
การชนะคดี
(๓) ผู้ขอรับการช่วยเหลือมีความประพฤติดีหรือไม่มี
พฤติการณ์ว่าจะหลบหนี
(๔) ไม่ผิดสัญญา ที่ผู้ขอรับการช่วยเหลือจะต้องคืนเงินที่ได้
รับการสนับสนุนให้แก่สำานักงาน คือ เงินค่าธรรมเนียม ค่า
ทนายความที่ได้ตามคำาพิพากษาของศาล และเงินหลักประกันใน
การปล่อยชั่วคราว เมื่อความรับผิดตามสัญญาประกันหมดไป
๖. สิท ธิใ นด้า นข้อ มูล ข่า วสาร การสื่อ สาร บริก าร
โทรคมนาคม เทคโนโลยีส ารสนเทศและการสื่อ สารและ
เทคโนโลยีส ิ่ง อำา นวยความสะดวกเพื่อ การสื่อ สารสำา หรับ คน
พิก ารทุก ประเภท ตลอดจนบริก ารสื่อ สาธารณะจากหน่ว ยงาน
ของรัฐ หรือ เอกชนที่ไ ด้ร ับ งบประมาณสนับ สนุน จากรัฐ ตาม
หลัก เกณฑ์ วิธ ีก ารหรือ เงื่อ นไขที่ร ัฐ มนตรีว ่า การกระทรวง
เทคโนโลยีส ารสนเทศและการสื่อ สารกำา หนดในกฎกระทรวง
สิทธิประการนี้เป็นสิทธิตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนา
คุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ (๖) และได้มีการกำาหนด
หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ไว้ใน (ร่าง) กฎกระทรวงกำาหนดหลัก
เกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเพื่อให้คนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จาก
ข้อมูลข่าวสาร การสื่อสารบริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสารเทคโนโลยีสิ่งอำานวยความสะดวกเพื่อการสื่อสารสำาหรับ
คนพิการทุกประเภท ตลอดจนบริการสื่อสาธารณะจากหน่วยงานของรัฐ
หรือเอกชนที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐ พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระ
สำาคัญดังต่อไปนี้
๖.๑ คนพิการมีสิทธิยืม หรือให้เปล่าอุปกรณ์หรือเครื่องมือ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีสิ่งอำานวยความ
สะดวกเพื่อการสื่อสาร นอกจากนี้ ได้ให้สิทธิคนพิการได้รับการฝึก
อบรม เพื่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสาร และเทคโนโลยีสิ่งอำานวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร โดย
ไม่เสียค่าใช้จ่าย
๖.๒ การยื่นขอรับสิทธิ : คนพิการที่ประสงค์จะขอรับบริการต้อง
ยื่นคำาขอรับบริการนั้นต่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สำานักงานสถิติจังหวัดหรือสำานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
มนุษย์จังหวัดหรือหน่วยงานอื่นที่รัฐมนตรีมอบหมาย โดยคำาแนะนำาของ
คณะอนุกรรมการ
ในกรณีที่บุคคลอื่นยื่นคำาขอรับบริการแทนคนพิการให้นำาสำาเนา
บัตรประจำาตัวประชาชนหรือสำาเนาทะเบียนบ้านของบุคคลนั้น และหลัก
ฐานอื่นที่แสดงให้เห็นว่าได้รับมอบอำานาจจากคนพิการหรือมีส่วน
เกี่ยวข้องกับคนพิการเนื่องจากเป็นผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล หรือผู้
ดูแลคนพิการมาประกอบการพิจารณาด้วย
๗. สิท ธิไ ด้ร ับ บริก ารล่า มภาษามือ ตามระเบีย บที่ค ณะ
กรรมการกำา หนด
พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.
๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ (๗) ได้บัญญัติให้คนพิการมีสิทธิได้รับบริการล่าม
ภาษามือ ซึ่งหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการได้รับสิทธิดังกล่าวนี้
เป็นไปตาม (ร่าง) ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วยบริการล่ามภาษามือ พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระ
สำาคัญดังนี้
๗.๑ คนพิการที่มีสิทธิได้รับบริการล่ามภาษามือ คือ “คนพิการ
ทางการได้ยิน” ซึ่งหมายความถึง คนพิการที่มีบัตรประจำาตัวประเภท
ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย
๗.๒ กิจกรรมที่คนพิการทางการได้ยินสามารถยื่นคำาขอรับบริการ
ล่ามภาษามือได้ ได้แก่
(๑) การใช้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุข
(๒) การสมัครงานหรือการติดต่อประสานงานด้านการ
ประกอบอาชีพ
(๓) การร้องทุกข์ หรือการกล่าวโทษหรือการเป็นพยานในชั้น
พนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่น
(๔) การเข้าร่วมประชุม สัมมนา หรือฝึกอบรมรวมทั้งเป็นผู้
บรรยายโดยหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรภาคเอกชนเป็นผู้จัดซึ่งมี
คนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมายเข้าร่วมด้วย
(๕) บริการอื่นๆ ตามที่คณะอนุกรรมการประกาศกำาหนด
๗.๓ สถานที่ในการยื่นคำาขอรับบริการล่ามภาษามือ
- ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำาขอต่อกรมพัฒนาสังคมและ
สวัสดิการ หรือสถานที่อื่นตามที่อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ประกาศกำาหนด
- ในท้องที่จังหวัดอื่นให้ยื่นคำาขอต่อสำานักงานพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหรือทีหน่วยบริการในพื้นที่
่
๘. สิท ธิท ี่จ ะนำา สัต ว์น ำา ทาง เครื่อ งมือ หรือ อุป กรณ์น ำา ทาง
หรือ เครื่อ งช่ว ยความพิก ารใดๆ ติด ตัว ไปในยานพาหนะหรือ
สถานที่ใ ดๆ เพื่อ ประโยชน์ใ นการเดิน ทาง และการได้ร ับ สิ่ง
อำา นวยความสะดวกอัน เป็น สาธารณะ โดยได้ร ับ การยกเว้น ค่า
บริก าร ค่า ธรรมเนีย ม และค่า เช่า เพิ่ม เติม สำา หรับ สัต ว์ เครื่อ งมือ
อุป กรณ์ หรือ เครื่อ งช่ว ยความพิก ารดัง กล่า ว
สิทธิประการนี้ได้รับการรับรองไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและ
พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ (๘)
๙. สิท ธิไ ด้ร ับ การจัด สวัส ดิก ารเบี้ย ความพิก าร ตามหลัก
เกณฑ์แ ละวิธ ีก ารที่ค ณะกรรมการกำา หนดในระเบีย บ
สิทธิประการนี้เป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนา
คุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ (๙) โดยหลักเกณฑ์และ
วิธีการเป็นไปตาม (ร่าง) ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนา
คุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
ในการจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการ พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำาคัญดังนี้
๙.๑ “เบี้ยความพิการ” หมายความว่า เงินที่จ่ายเป็นรายเดือนเพื่อ
เอื้ออำานวยให้คนพิการมีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ที่ดี เนื่องจากคน
พิการมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำาวันหรือเข้าไปมี
ส่วนร่วมทางสังคมมากกว่าบุคคลทั่วไปนอกจากเงินสงเคราะห์เพื่อการ
ยังชีพคนพิการตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงิน
สงเคราะห์เพื่อการยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือระเบียบอื่น
ของทางราชการ
๙.๒ คนพิการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยความพิการต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
ถิ่น

(๒) มีบัตรประจำาตัวคนพิการ
(๓) มีภูมิลำาเนาหรือถิ่นที่อยู่ในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้อง

๙.๓ สถานที่ยื่นคำาขอรับเบี้ยความพิการ
- คนพิการที่มีภูมิลำาเนาหรือถิ่นที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้
ยื่นคำาขอต่อสำานักงานเขต
- คนพิการที่มีภูมิลำาเนาหรือถิ่นที่อยู่ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำาขอต่อ
ที่ทำาการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีภูมิลำาเนาหรือถิ่นที่อยู่นั้น
๙.๔ ในกรณีที่คนพิการไม่สามารถยื่นคำาขอได้ด้วยตนเอง
เนื่องจากเป็นผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนไร้ความ
สามารถ หรือในกรณีที่มีสภาพความพิการถึงขนาดไม่สามารถไปยื่น
คำาขอรับสวัสดิการเบี้ยความพิการด้วยตนเองได้ ให้ “ผูดูแลคนพิการ”
้
ได้แก่ บิดา มารดา บุตร สามี ภรรยา ญาติ พี่น้อง หรือบุคคลอื่นใดที่รับ
ดูแลหรืออุปการะคนพิการ ยื่นคำาขอนั้นแทนก็ได้ โดยต้องนำาหลักฐาน
ของคนพิการไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย
๙.๕ หลักฐานที่ต้องนำายื่นต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอรับเบี้ยความพิการ
ได้แก่
(๑) บัตรประจำาตัวคนพิการ พร้อมสำาเนาเอกสาร ๑ ฉบับ
(๒) ทะเบียนบ้าน (ทร.๑๔) พร้อมสำาเนา ๑ ฉบับ
(๓) ในกรณีมีบุคคลยื่นคำาขอแทน ให้นำาสำาเนาบัตรประชาชนของ
ผู้ยื่นคำาขอแทน จำานวน ๑ ฉบับ พร้อมหนังสือรับรองจากกำานันผู้ใหญ่
บ้าน หรือประธานชุมชนหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งแต่ระดับ ๓ หรือเทียบ
เท่าขึ้นไปหรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าเป็นผู้ดูแลคนพิการ
๑๐. การปรับ สภาพแวดล้อ มที่อ ยู่อ าศัย การมีผ ู้ช ่ว ยคน
พิก าร หรือ การให้ม ีส วัส ดิก ารอื่น ตามหลัก เกณฑ์แ ละวิธ ีก ารที่
คณะกรรมการ กำา หนดในระเบีย บ
สิทธิประการนี้เป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนา
คุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ (๑๐) ซึ่งมีสิทธิ ๒
ประการหลัก
ประการแรก คือ สิทธิในการได้รับการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่
อาศัย โดยได้มีการกำาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการไว้ใน (ร่าง) ระเบียบ
คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วย
หลักเกณฑ์ วิธีการเกี่ยวกับการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำาหรับคน
พิการ พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำาคัญดังต่อไปนี้
(๑) คนพิการที่จะได้รับสิทธิได้รับการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่
อาศัยต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) มีบัตรประจำาตัวคนพิการ
(๒) อาศัยอยู่ในที่อยู่อาศัยนั้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือน
ติดต่อกัน ยกเว้นกรณีการย้ายเข้ามาอยู่ภายหลังเกิดความ
พิการ
(๓) ที่อยู่อาศัยไม่มั่นคง หรือไม่เหมาะสมกับสภาพความ
พิการ
(๔) มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ
(๕) ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นหรือได้รับแต่
ไม่เพียงพอ
ในกรณีคนพิการไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยแห่งนั้น
ต้องมีหลักฐานการให้ความยินยอมจากเจ้าของหรือผู้ได้รับ
มอบอำานาจจากเจ้าของเพื่อให้มาปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่
อาศัยได้ และในกรณีเป็นบ้านเช่าจะมีหลักฐานให้คนพิการ
อยู่อาศัยได้ไม่น้อยกว่าหกเดือน
(๒) สถานที่ยื่นคำาร้องเพื่อขอรับสิทธิได้แก่
- ในกรุ ง เทพมหานคร ให้ ยื่ น คำา ขอต่ อ กรมพั ฒ นาสั ง คมและ
สวั ส ดิ การ หรือ สถานที่อื่นตามที่ อ ธิ บ ดี กรมพั ฒนาสั งคมและสวั ส ดิ ก าร
ประกาศกำาหนด
- ในท้ อ งที่จั งหวัด อื่น ให้ ยื่ น คำา ขอต่ อ สำา นั ก งานพั ฒ นาสั ง คมและ
ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหรือทีหน่วยบริการในพื้นที่
่
ประการที่สอง คือ สิทธิในการมีผู้ช่วยคนพิการ โดยได้มีการ
กำาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการไว้ใน (ร่าง)ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริม
และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ
จัดให้มีผู้ช่วยคนพิการ พ.ศ. .… ซึ่งมีสาระสำาคัญดังต่อไปนี้
(๑) คนพิการที่ยื่นคำาขอให้มีผู้ช่วยคนพิการต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อ
ไปนี้
(๑) มีบัตรประจำาตัวคนพิการ
(๒) เป็นคนพิการที่มีความจำาเป็นต้องมีผู้ช่วยคนพิการเพื่อ
ให้สามารถปฏิบัติกิจวัตรที่สำาคัญในการดำารงชีวิตได้
(๓) ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นหรือได้รับแต่
ไม่เพียงพอ
ในกรณีที่คนพิการตามวรรคหนึ่งเป็นผู้เยาว์ หรือมีความ
พิการมากจนไม่สามารถยื่นคำาขอด้วยตนเองได้ ให้บุคคลอื่นที่
กระทำาแทนคนพิการยื่นคำาขอแทนได้ แต่ต้องนำาหลักฐานตาม
วรรคหนึ่งไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย
(๒) สถานที่ยื่นคำาร้องขอเพื่อรับสิทธิ
- ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำาขอต่อกรมพัฒนาสังคมและ
สวัสดิการ หรือสถานที่อื่นตามที่อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ประกาศกำาหนด
- ในท้องที่จังหวัดอื่นให้ยื่นคำาขอต่อสำานักงานพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหรือทีหน่วยบริการในพื้นที่
่
(๓) หลักการพิจารณาให้คนพิการมีผู้ช่วยคนพิการ จะต้องปรากฏ
ข้อเท็จจริงว่า บุคคลนั้นมีสภาพความพิการมากจนไม่สามารถปฏิบัติ
กิจวัตรที่สำาคัญในการดำารงชีวิตได้ด้วยตนเอง หากไม่ได้ปฏิบัติกิจวัตร
เหล่านี้จะส่งผลกระทบอย่างสำาคัญและเด่นชัดต่อการดำารงชีวิต สุขภาพ
อนามัย ภาวะจิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สภาพความเป็นอยู่ และศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์ และกรณีคนพิการมีฐานะยากจนมาก ให้พิจารณาให้
บริการผู้ช่วยคนพิการเป็นลำาดับแรก
(๔) คนพิการจะได้รับการบริการตามความจำาเป็นในการต้องมีผู้
ช่วยคนพิการแต่ไม่เกินเดือนละ ๑๘๐ ชั่วโมง
๑๑. สิท ธิไ ด้ร ับ การจัด สวัส ดิก ารด้า นที่อ ยู่อ าศัย และการ
เลี้ย งดูจ ากหน่ว ยงานของรัฐ สำา หรับ คนพิก ารที่ไ ม่ม ีผ ู้ด ูแ ลคน
พิก าร
สิทธิประการนี้เป็นสิทธิที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและ
พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ วรรคสาม โดย
หลักเกณฑ์และวิธีการในการรับสิทธิดังกล่าวเป็นไปตาม (ร่าง) ระเบียบ
คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วย
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสวัสดิการให้แก่คนพิการที่ไม่มีผู้ดูแล พ.ศ. ....
ซึ่งมีสาระสำาคัญดังนี้
๑๑.๑ คนพิการที่จะได้รับสิทธิดังกล่าวนี้ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไป
นี้
(๑) มีบัตรประจำาตัวคนพิการ
(๒) ไม่มีผู้อุปการะเลี้ยงดู หรือมีแต่ไม่สามารถเลี้ยงดูได้
(๓) ไม่ มี ที่ อ ยู่ อ าศั ย เป็ น หลั ก แหล่ ง หรื อ ที่ อ ยู่ อ าศั ย ไม่ มั่ น คง
หรือไม่เหมาะสม
(๔) ไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้
(๕) ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นหรือได้รับแต่
ไม่เพียงพอ
๑๑.๒ สถานที่ยื่นคำาขอเพื่อรับสิทธิ
- ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำาขอต่อกรมพัฒนาสังคมและ
สวัสดิการ หรือสถานที่อื่นตามที่อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ประกาศกำาหนด
- ในท้องที่จังหวัดอื่นให้ยื่นคำาขอต่อสำานักงานพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหรือหน่วยบริการในพื้นที่
๑๑.๓ การจัดสวัสดิการที่อยู่อาศัยหรือการเลี้ยงดูคนพิการ อาจ
ทำาได้โดยวิธีการดังต่อไปนี้
(๑) การช่วยเหลือเป็นเงินหรือสิ่งของ
(๒) การจัดหาครอบครัวอุปการะ
(๓) การส่งเข้าอุปการะในสถานสงเคราะห์
(๔) การจัดให้มีผู้ช่วยคนพิการตามระเบียบที่คณะกรรมการ
กำาหนด
(๕) การช่วยเหลือเรื่องอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการกำาหนด
๑๒. สิท ธิข องคนพิก ารที่จ ะได้ร ับ การลดหย่อ นภาษีห รือ
ยกเว้น ภาษี
สิทธิดังกล่าวนี้บัญญัติรับรองไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและ
พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ วรรคห้า และมี
การจัดทำา (ร่าง) กฎกระทรวง (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... ออกตามความใน
ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร และ (ร่าง) ประกาศอธิบดี
กรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่...) เรื่อง กำาหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำาหรับผู้มีเงินได้ที่เป็น
คนพิการซึ่งมีอายุไม่เกิน ๖๕ ปี เป็นผู้อยู่อาศัยในประเทศไทย และมี
บัตรประจำาตัวคนพิการในปีภาษีที่ได้รับ ซึ่งมีสาระสำาคัญดังต่อไปนี้
๑๒.๑ ยกเว้นภาษีเงินได้ให้กับคนพิการที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย คือ เป็นผู้ที่อยู่ในประเทศไทยถึงหนึ่ง
ร้อยแปดสิบวันในปีภาษีนั้น
- มีบัตรประจำาตัวคนพิการ
- ได้รับยกเว้นภาษีสำาหรับเงินได้ส่วนที่ไม่เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่น
บาท
๑๒.๒ ผู้มีเงินได้ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ดังกล่าวข้างต้นต้อง
แสดงรายการเงินได้และจำานวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นั้น
พร้อมแนบสำาเนาบัตรประจำาตัวคนพิการในการยื่นแบบแสดงรายการ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
๒ . ขั้น ตอน วิธ ีก ารและเงื่อ นไขในการรับ สิท ธิ ประโยชน์แ ละ
สวัส ดิก ารเฉพาะของคนพิก าร
พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.
๒๕๕๐ ได้กำาหนดสิทธิประโยชน์สำาหรับคนพิการไว้หลายประการดังที่
ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งเพื่อประโยชน์ในการได้รับสิทธิดังกล่าวคน
พิการควรยื่นคำาขอมีบัตรประจำาตัวคนพิการ1 เพื่อความสะดวกและใช้
เป็นหลักฐานในการขอรับสิทธิประโยชน์ตามที่กฎหมายกำาหนดให้แก่
คนพิการ ซึ่งการยื่นคำาขอมีบัตรประจำาตัวคนพิการและการออกบัตร
การกำาหนดสิทธิหรือการเปลี่ยนแปลงสิทธิ การขอสละสิทธิของคนพิการ
และอายุบัตรประจำาตัวคนพิการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและ
เงื่อนไขที่คณะกรรรมการกำาหนดในระเบียบ ซึ่งในประเด็นนี้ได้มีการจัด
ทำา (ร่าง) ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคน
พิการแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับบัตร
ประจำาตัวคนพิการ พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำาคัญดังนี้
(๑) สถานที่ยื่นคำาขอมีบัตรประจำาตัวคนพิการ
- คนพิการซึ่งอยู่ในกรุงเทพมหานคร อาจยื่นคำาขอมีบัตรประจำาตัว
คนพิการต่อสำานักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
หรือหน่วยงานภาครัฐอื่นตามที่เลขาธิการประกาศกำาหนด
- ในจังหวัดอื่น อาจยื่นต่อสำานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์จังหวัด หรือหน่วยงานภาครัฐอื่นตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัด
ประกาศกำาหนด
(๒) อายุการใช้งานบัตรประจำาตัวคนพิการ : ให้บัตรประจำาตัวคน
พิการมีอายุหกปีนับแต่วันที่ออกบัตร
(๓) กรณีคนพิการที่ยื่นคำาขอมีบัตรประจำาตัวคนพิการ เป็นผู้เยาว์
คนเสมือนไร้ความสามารถหรือคนไร้ความสามารถ หรือกรณีมีสภาพ
ความพิการถึงขั้นไม่สามารถไปยื่นคำาขอด้วยตนเองให้ผู้ปกครอง ผู้
1

มาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการได้รับสิทธิตามมาตรา ๒๐ คนพิการอาจยื่น
คำาขอมีบัตรประจำาตัวคนพิการต่อนายทะเบียนกลางหรือนายทะเบียนจังหวัด ณ
สำานักงานทะเบียนกลาง สำานักงานทะเบียนจังหวัด หรือสถานที่อื่นตามระเบียบที่
คณะกรรมการกำาหนด
ในกรณีที่คนพิการเป็นผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถหรือคนไร้ความ
สามารถ หรือในกรณีที่คนพิการมีสภาพความพิการถึงขั้นไม่สามารถไปยื่นคำาขอ
ด้วยตนเอง ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาลหรือผู้ดูแลคนพิการ แล้วแต่กรณี จะยื่น
คำาขอแทนก็ได้ แต่ต้องนำาหลักฐานว่าเป็นคนพิการไปแสดงต่อนายทะเบียนกลาง
หรือนายทะเบียนจังหวัด แล้วแต่กรณีด้วย
การยื่นคำาขอมีบัตรประจำาตัวคนพิการและการออกบัตร การกำาหนดสิทธิ
หรือการเปลี่ยนแปลงสิทธิ การขอสละสิทธิของคนพิการ และอายุบัตรประจำาตัวคน
พิการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรรมการกำาหนดใน
ระเบียบ
พิทักษ์ ผูอนุบาล หรือผู้ดูแลคนพิการ แล้วแต่กรณี จะยื่นคำาขอแทนก็ได้
้
(๔) หลักฐานการยื่นขอมีบัตรประจำาตัวคนพิการ
- สำาเนาบัตรประจำาตัวประชาชน หรือสำาเนาบัตรประจำาตัว
ข้าราชการ หรือสำาเนาสูติบัตรของคนพิการ
- สำาเนาทะเบียนบ้าน (ทร.๑๔) ของคนพิการ
- รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว ถ่ายมาแล้วไม่เกิน ๖ เดือน จำานวน ๒ รูป
- ใบรับรองความพิการหรือใบรับรองแพทย์ที่รับรองโดยผู้ประกอบ
วิชาชีพเวชกรรมของสถานพยาบาลของรัฐ หรือสถานพยาบาลเอกชนที่
เลขาธิการประกาศกำาหนด เว้นแต่กรณีสภาพความพิการที่สามารถเห็น
ได้โดยประจักษ์จะไม่ต้องมีเอกสารรับรองความพิการหรือใบรับรอง
แพทย์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เลขาธิการประกาศกำาหนดแบบและรายละเอียดใน
การปฏิบัติ
ในกรณีบุคคลอื่นยื่นคำาขอแทนคนพิการให้นำาสำาเนาบัตรประจำา
ตัวประชาชน หรือสำาเนาทะเบียนบ้านของบุคคลนั้น และหลักฐานอื่นที่
แสดงให้เห็นว่าได้รับมอบอำานาจจากคนพิการหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับคน
พิการเนื่องจากเป็นผู้ปกครอง ผูพิทักษ์ ผูอนุบาล หรือผู้ดูแลคนพิการ
้
้
(๕) ในกรณีบัตรประจำาตัวคนพิการหมดอายุ ชำารุด สูญหาย หรือมี
การเปลี่ยนแปลงในสาระสำาคัญเกี่ยวกับคนพิการ ให้ยื่นคำาขอต่อนาย
ทะเบียน เพื่อขอมีบัตรประจำาตัวคนพิการใหม่ทั้งนี้ ให้นำาเอกสารหลัก
ฐาน ไปประกอบการพิจารณาด้วย
ในกรณีคนพิการที่มีบัตรประจำาตัวคนพิการถึงแก่ความตาย หรือ
ได้รับการแก้ไขฟื้นฟูจนไม่มีสภาพความพิการ หรือมีความประสงค์จะ
ยกเลิกการมีบัตรประจำาตัวคนพิการ ให้แจ้งต่อนายทะเบียนเพื่อจำาหน่าย
ออกจากทะเบียนบัตรประจำาตัวคนพิการต่อไป

บทที่ ๒
สิท ธิป ระโยชน์ซ ึ่ง พ.ร.บ. ส่ง เสริม และพัฒ นาคุณ ภาพชีว ิต คน
พิก าร พ.ศ. ๒๕๕๐ และพ.ร.บ. การจัด การศึก ษาสำา หรับ คน
พิก าร พ.ศ. 2551 ได้บ ัญ ญัต ิร ับ รองและคุ้ม ครองให้ก ับ ผู้ด ูแ ลคน
พิก าร ผู้ช ่ว ยคนพิก าร ครูแ ละคณาจารย์ สถานศึก ษาที่จ ัด การ
ศึก ษาให้แ ก่ค นพิก าร และองค์ก รเอกชน
พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.
๒๕๕๐ และพ.ร.บ. การจัดการศึกษาสำาหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 มิได้
กำาหนดสิทธิ ประโยชน์ และสวัสดิการต่างๆ ให้เฉพาะแต่คนพิการ
เท่านั้น แต่ยังมีบทบัญญัติให้สิทธิประโยชน์แก่บุคคลอื่นที่มิใช่คนพิการ
แต่เป็นบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคนพิการด้วย บุคคลและ
หน่วยงานดังกล่าว ได้แก่ ผูดูแลคนพิการ ผู้ช่วยคนพิการ ครูและ
้
คณาจารย์ สถานศึกษาที่จัดการศึกษาสำาหรับคนพิการ และองค์กร
เอกชน ดังนั้น ในบทที่ ๒ นี้ จะได้อธิบายถึงสิทธิประโยชน์ของผู้ดูแล
คนพิการ ผู้ช่วยคนพิการ ครูและคณาจารย์ สถานศึกษาที่จัดการศึกษา
สำาหรับคนพิการ และองค์กรเอกชน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและ
พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และพระราชบัญญัติการจัดการศึกษา
สำาหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ รวมทั้งตามอนุบัญญัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งออกโดยอาศัยอำานาจตามพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยแบ่งเป็น ๕
หัวข้อดังนี้
๑. สิทธิประโยชน์ของผู้ดูแลคนพิการ
๒. สิทธิประโยชน์ของผู้ช่วยคนพิการ
๓. สิทธิประโยชน์ขององค์กรเอกชน
๔. สิทธิประโยชน์ของครูและคณาจารย์
๕. สิทธิประโยชน์ของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาสำาหรับคนพิการ
๑ . สิท ธิป ระโยชน์ข องผู้ด ูแ ลคนพิก าร
พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.
๒๕๕๐ ได้บัญญัติสิทธิของผู้ดูแลคนพิการไว้ ๒ ประการ ได้แก่
๑ .๑ สิท ธิไ ด้ร ับ บริก ารให้ป รึก ษา แนะนำา ฝึก อบรมทัก ษะ
การเลี้ย งดู การจัด การศึก ษา การส่ง เสริม อาชีพ และการมีง าน
ทำา ตลอดจนความช่ว ยเหลือ อื่น ใดเพื่อ ให้พ ึ่ง ตนเองได้
สิทธิของผู้ดูแลคนพิการประการแรกนี้เป็นสิทธิตามพระราช
บัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา
๒๐ วรรคสี่2 และได้มีการจัดทำา (ร่าง) ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริม
2

มาตรา ๒๐ วรรค ๔ ผู้ดูแลคนพิการมีสิทธิได้รับบริการให้ปรึกษา แนะนำา ฝึก
อบรมทักษะ การเลี้ยงดู การจัดการศึกษา การส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำา
ตลอดจนความช่วยเหลืออื่นใดเพื่อให้พึ่งตนเองได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ
ให้ความช่วยเหลือผู้ดูแลคนพิการ พ.ศ. .... เพื่อกำาหนดหลักเกณฑ์
และวิธีการเกี่ยวกับสิทธิดังกล่าว โดยมีสาระสำาคัญดังต่อไปนี้
(๑) “ผู้ดูแลคนพิการ” หมายถึง บิดา มารดา บุตร สามี ภรรยา
ญาติ พี่น้อง หรือบุคคลอื่นใดที่รับดูแลหรืออุปการะคนพิการ
(๒) คุณสมบัติของผู้ดูแลคนพิการที่มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือ
- เป็นผู้ดูแลคนพิการโดยตรงและคนพิการนั้นมีบัตรประจำาตัวคน
พิการ
- ได้รับความเดือดร้อนหรือยากลำาบากเนื่องจากต้องดูแลคนพิการ
- มีภูมิลำาเนาหรือถิ่นที่อยู่ในท้องที่ยื่นคำาขอ
- ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นหรือได้รับแต่ไม่เพียง
พอ
(๓) สถานที่ที่ผู้ดูแลคนพิการสามารถยื่นคำาขอใช้สิทธิ ได้แก่
- ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำาขอต่อกรมพัฒนาสังคมและ
สวัสดิการ หรือสถานที่อื่นตามที่อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ประกาศกำาหนด
- ในท้องที่จังหวัดอื่น ให้ยื่นคำาขอต่อสำานักงานพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหรือทีหน่วยบริการในพื้นที่
่
(๔) เอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำาขอใช้สิทธิ
- สำาเนาบัตรประชาชนของผู้ดูแลคนพิการ
- สำาเนาบัตรประจำาตัวคนพิการ
- สำาเนาทะเบียนบ้านของผู้ดูแลคนพิการและคนพิการ
- ได้รับการรับรองเป็นหนังสือจากผู้แทนองค์กรด้านคนพิการ
กำานันผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผู้นั้นมีภูมิลำาเนา
ข้าราชการระดับ ๓ หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือมีหลักฐานเชื่อได้ว่าเป็นผู้
อุปการะเลี้ยงดูคนพิการ
(๕) ความช่วยเหลือที่ผู้ดูแลคนพิการมีสิทธิได้รับ
(๕.๑) การบริการให้คำาปรึกษา แนะนำา ฝึกอบรมทักษะการ
เลี้ยงดูคนพิการให้ได้มาตรฐานตามหลักวิชาการและวิชาชีพ
(๕.๒) การจัดการศึกษาโดยส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนา
ทักษะเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
(๕.๓) การส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำาโดยการส่งเสริม
การประกอบอาชีพอิสระ การทำางานในสถานประกอบการ การฝึก
อาชีพ การสนับสนุนเงินทุนประกอบอาชีพ การมีงานทำาการให้
สัมปทานหรือสถานที่จำาหน่ายสินค้า การจัดจ้างแบบเหมางานและ
คณะกรรมการกำาหนดในระเบียบ
อื่นๆ

(๕.๔) การให้ความช่วยเหลืออื่นๆ เพื่อประโยชน์ในการส่ง
เสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามที่คณะกรรมการกำาหนด
๑ .๒ สิท ธิไ ด้ร ับ ลดหย่อ นหรือ ยกเว้น ภาษี
สิทธิสำาหรับผู้ดูแลคนพิการ ประการที่สองนี้ เป็นสิทธิที่พระราช
บัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้
บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๐ วรรคห้า3 และได้มีการจัดทำา (ร่าง) พระราช
บัญญัติแก้ไขประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... และ (ร่าง)
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่...) เรื่อง
กำาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการหักลดหย่อนค่าอุปการะ
เลี้ยงดูคนพิการของผู้มีเงินได้ รวมทั้ง การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยง
ดูคนพิการของผู้ดูแลคนพิการ ตามมาตรา ๔๗ (๑) (ฎ) แห่งประมวล
รัษฎากร เพื่อกำาหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการหักลดหย่อนภาษีสำาหรับผู้
ดูแลคนพิการ
สำาหรับ (ร่าง) พระราชบัญญัติแก้ไขประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ...)
พ.ศ. .... ได้ผ่านความเห็นชอบของวุฒิสภาแล้ว โดยมีหลักการและ
สาระสำาคัญ คือ กำาหนดให้ผดูแลคนพิการซึ่งเป็นผู้มีเงินได้มีสิทธิหักค่า
ู้
ลดหย่อนภาษีได้ ๖๐,๐๐๐ บาท เมื่อคนพิการที่ผู้มีเงินได้เลี้ยงดูเป็นบิดา
มารดา สามีหรือภริยา บุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมของผู้มี
เงินได้ รวมทั้ง บิดามารดาหรือบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยา
ของผู้มีเงินได้ รวมถึงบุคคลที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลตามกฎหมายว่าด้วย
การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
๒ . สิท ธิป ระโยชน์ข องผู้ช ่ว ยคนพิก าร
พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.
๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ วรรคสอง4 กำาหนดให้ผู้ช่วยคนพิการให้มีสิทธิได้รับ
การลดหย่อนหรือยกเว้นค่าบริการ ค่าธรรมเนียม ตามระเบียบที่คณะ
กรรมการกำาหนด จึงได้มีการจัดทำา (ร่าง) ร่างระเบียบคณะกรรมการส่ง
3

มาตรา ๒๐ วรรคห้า คนพิการและผู้ดูแลคนพิการมีสิทธิได้รับการลดหย่อน
ภาษีหรือยกเว้นภาษี ตามที่กฎหมายกำาหนด
4
มาตรา ๒๐ วรรคสอง ผู้ช่วยคนพิการให้มีสิทธิได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้น
ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำาหนด
เสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วย สิทธิของผู้ช่วย
คนพิการในการได้รับลดหย่อนค่าบริการค่าธรรมเนียมในการเดินทาง
หรือเข้าสถานที่ พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำาคัญดังต่อไปนี้
(๑) ให้ผู้ช่วยคนพิการมีสิทธิได้รับการลดหย่อนค่าบริการ หรือ
ค่าธรรมเนียมในการใช้บริการการเดินทางหรือใช้บริการสถานที่ คนละ
ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของราคารวมของค่าบริการหรือค่าธรรมเนียม
นั้น โดยผู้ช่วยคนพิการผู้นั้นต้องใช้บริการในการเดินทางหรือใช้
บริการสถานที่พร้อมกับคนพิการ และ เป็นไปเพื่อประโยชน์ของคน
พิการโดยแท้
(๒) ให้หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ออกใบอนุญาต ควบคุม กำากับ
ดูแล การกำาหนดค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมในการใช้บริการการเดิน
ทางหรือใช้บริการสถานที่ ออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือประกาศอื่นใด
เพื่อกำาหนดการลดหย่อนค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมดังกล่าว
๓ . สิท ธิป ระโยชน์ข ององค์ก รเอกชน
พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.
๒๕๕๐ ได้กำาหนดสิทธิประโยชน์ให้แก่องค์กรเอกชนที่ได้ให้ความช่วย
เหลือแก่คนพิการไว้ ๒ ประการ ดังนี้
๓.๑ สิท ธิป ระโยชน์ส ำา หรับ สถานสงเคราะห์เ อกชนซึ่ง จัด ที่
อยู่อ าศัย และสวัส ดิก ารให้แ ก่ค นพิก ารที่ไ ม่ม ีผ ู้ด ูแ ลคนพิก าร
พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.
๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ วรรคสาม5 กำาหนดให้กรณีที่มีสถานสงเคราะห์
เอกชนจัดที่อยู่อาศัยและสวัสดิการให้แก่คนพิการ รัฐต้องจัดเงินอุดหนุน
ให้แก่สถานสงเคราะห์เอกชนนั้น โดยได้มีการจัดทำาร่างระเบียบคณะ
กรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วยหลัก
เกณฑ์และวิธีการจัดสวัสดิการให้แก่คนพิการที่ไม่มีผู้ดูแล พ.ศ. .... ซึ่ง
มีสาระสำาคัญเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์สำาหรับสถานสงเคราะห์เอกชนดังนี้
(๑) สถานสงเคราะห์เอกชน ที่ เป็ นผู้ จัด สวั สดิ การด้ านที่อ ยู่ อ าศั ย
หรือการเลี้ยงดูคนพิการ อาจยื่นคำาขอรับเงินอุดหนุนตามระเบียบนี้ได้
(๒) คุณสมบัติของสถานสงเคราะห์เอกชนที่ยื่นขอรับเงินอุดหนุน
5

มาตรา ๒๐ วรรคสาม คนพิการที่ไม่มีผู้ดูแลคนพิการ มีสิทธิได้รับการจัด
สวัสดิการด้านที่อยู่อาศัยและการเลี้ยงดูจากหน่วยงานของรัฐ ในกรณีที่มีสถาน
สงเคราะห์เอกชนจัดที่อยู่อาศัยและสวัสดิการให้แล้ว รัฐต้องจัดเงินอุดหนุนให้แก่
สถานสงเคราะห์เอกชนนั้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำาหนดใน
ระเบียบ
สิทธิ ประโยชน์และสวัสดิการซึ่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐
สิทธิ ประโยชน์และสวัสดิการซึ่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐
สิทธิ ประโยชน์และสวัสดิการซึ่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐
สิทธิ ประโยชน์และสวัสดิการซึ่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐
สิทธิ ประโยชน์และสวัสดิการซึ่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐
สิทธิ ประโยชน์และสวัสดิการซึ่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐
สิทธิ ประโยชน์และสวัสดิการซึ่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐
สิทธิ ประโยชน์และสวัสดิการซึ่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐
สิทธิ ประโยชน์และสวัสดิการซึ่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐
สิทธิ ประโยชน์และสวัสดิการซึ่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐
สิทธิ ประโยชน์และสวัสดิการซึ่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐
สิทธิ ประโยชน์และสวัสดิการซึ่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐
สิทธิ ประโยชน์และสวัสดิการซึ่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐
สิทธิ ประโยชน์และสวัสดิการซึ่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐
สิทธิ ประโยชน์และสวัสดิการซึ่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐
สิทธิ ประโยชน์และสวัสดิการซึ่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐

Contenu connexe

Tendances

แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 1,2 ...
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 1,2 ...แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 1,2 ...
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 1,2 ...ประพันธ์ เวารัมย์
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เคยออก ชุดที่ 3
แนวข้อสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เคยออก ชุดที่ 3แนวข้อสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เคยออก ชุดที่ 3
แนวข้อสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เคยออก ชุดที่ 3ประพันธ์ เวารัมย์
 
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำissareening
 
แนวข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 150 ข้อ
แนวข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 150 ข้อแนวข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 150 ข้อ
แนวข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 150 ข้อประพันธ์ เวารัมย์
 
พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2547 ย่อ
พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2547 ย่อพรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2547 ย่อ
พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2547 ย่อโทษฐาน ที่รู้จักกัน
 
สรุประเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526
สรุประเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526สรุประเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526
สรุประเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ. พ.ศ. 2540
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ. พ.ศ. 2540แนวข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ. พ.ศ. 2540
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ. พ.ศ. 2540ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป 120 ข้อ (สอบครูดอทคอม ติวสอบครูผู้ช่วย)
แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป 120 ข้อ (สอบครูดอทคอม ติวสอบครูผู้ช่วย)แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป 120 ข้อ (สอบครูดอทคอม ติวสอบครูผู้ช่วย)
แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป 120 ข้อ (สอบครูดอทคอม ติวสอบครูผู้ช่วย)สอบครูดอทคอม เว็บเตรียมสอบ
 
แนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 1 ความรู้ความสามารถทั่วไป
แนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 1 ความรู้ความสามารถทั่วไปแนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 1 ความรู้ความสามารถทั่วไป
แนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 1 ความรู้ความสามารถทั่วไปประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบการวางแผน แผนงาน โครงการ
แนวข้อสอบการวางแผน  แผนงาน โครงการแนวข้อสอบการวางแผน  แผนงาน โครงการ
แนวข้อสอบการวางแผน แผนงาน โครงการประพันธ์ เวารัมย์
 

Tendances (20)

แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 1,2 ...
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 1,2 ...แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 1,2 ...
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 1,2 ...
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
 
แนวข้อสอบ พรบ. กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ พ.ศ. 2542 แก้ไข ถึง 2549 4...
แนวข้อสอบ พรบ. กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ พ.ศ. 2542 แก้ไข ถึง 2549  4...แนวข้อสอบ พรบ. กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ พ.ศ. 2542 แก้ไข ถึง 2549  4...
แนวข้อสอบ พรบ. กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจ พ.ศ. 2542 แก้ไข ถึง 2549 4...
 
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...
 
แนวข้อสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เคยออก ชุดที่ 3
แนวข้อสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เคยออก ชุดที่ 3แนวข้อสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เคยออก ชุดที่ 3
แนวข้อสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เคยออก ชุดที่ 3
 
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ
 
เอกสารแสดงวิสัยทัศน์และผลงาน
เอกสารแสดงวิสัยทัศน์และผลงานเอกสารแสดงวิสัยทัศน์และผลงาน
เอกสารแสดงวิสัยทัศน์และผลงาน
 
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (1)
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (1)แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (1)
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (1)
 
แนวข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 150 ข้อ
แนวข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 150 ข้อแนวข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 150 ข้อ
แนวข้อสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 150 ข้อ
 
แนวข้อสอบ พรบ.ข้อมุลข่าวสาร 2540 ok
แนวข้อสอบ พรบ.ข้อมุลข่าวสาร 2540 okแนวข้อสอบ พรบ.ข้อมุลข่าวสาร 2540 ok
แนวข้อสอบ พรบ.ข้อมุลข่าวสาร 2540 ok
 
ระเบียบงานสารบรรณ ฉบับพิเศษ
ระเบียบงานสารบรรณ ฉบับพิเศษระเบียบงานสารบรรณ ฉบับพิเศษ
ระเบียบงานสารบรรณ ฉบับพิเศษ
 
พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2547 ย่อ
พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2547 ย่อพรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2547 ย่อ
พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2547 ย่อ
 
แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ
แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณแนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ
แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ
 
สรุประเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526
สรุประเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526สรุประเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526
สรุประเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ. พ.ศ. 2540
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ. พ.ศ. 2540แนวข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ. พ.ศ. 2540
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ. พ.ศ. 2540
 
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
แนวข้อสอบภาค ก. เผยแพร่โดยประพันธ์ เวารัมย์ (ฉบับเต็ม)
 
แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป 120 ข้อ (สอบครูดอทคอม ติวสอบครูผู้ช่วย)
แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป 120 ข้อ (สอบครูดอทคอม ติวสอบครูผู้ช่วย)แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป 120 ข้อ (สอบครูดอทคอม ติวสอบครูผู้ช่วย)
แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป 120 ข้อ (สอบครูดอทคอม ติวสอบครูผู้ช่วย)
 
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
 
แนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 1 ความรู้ความสามารถทั่วไป
แนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 1 ความรู้ความสามารถทั่วไปแนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 1 ความรู้ความสามารถทั่วไป
แนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 1 ความรู้ความสามารถทั่วไป
 
แนวข้อสอบการวางแผน แผนงาน โครงการ
แนวข้อสอบการวางแผน  แผนงาน โครงการแนวข้อสอบการวางแผน  แผนงาน โครงการ
แนวข้อสอบการวางแผน แผนงาน โครงการ
 

En vedette

ประกาศกระทรวงพม ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ7ประเภท
ประกาศกระทรวงพม ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ7ประเภทประกาศกระทรวงพม ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ7ประเภท
ประกาศกระทรวงพม ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ7ประเภทสปสช นครสวรรค์
 
พ.ร.บ.การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ2551
พ.ร.บ.การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ2551พ.ร.บ.การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ2551
พ.ร.บ.การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ2551Nanthapong Sornkaew
 
แนวข้อสอบพัฒนาชุมชน
แนวข้อสอบพัฒนาชุมชนแนวข้อสอบพัฒนาชุมชน
แนวข้อสอบพัฒนาชุมชนหน่อย จ๋า
 
สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับ พรบ
สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับ พรบสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับ พรบ
สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับ พรบtunyapisit
 
คู่มือ…คนพิการรู้ทัน
คู่มือ…คนพิการรู้ทันคู่มือ…คนพิการรู้ทัน
คู่มือ…คนพิการรู้ทันKasidit Pathomkul
 
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว2
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว2ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว2
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว2ss
 
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว1
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว1ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว1
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว1ss
 
หลักสูตรเพื่อการเรียนรวม
หลักสูตรเพื่อการเรียนรวมหลักสูตรเพื่อการเรียนรวม
หลักสูตรเพื่อการเรียนรวมwanwisa491
 
สิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนAssasin Achreet
 
เด็ก
เด็กเด็ก
เด็กyungpuy
 
สิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนiearn4234
 
ประเภทของสิทธิมนุษยชน
ประเภทของสิทธิมนุษยชนประเภทของสิทธิมนุษยชน
ประเภทของสิทธิมนุษยชนNoojen
 
หลักการและสาระสำคัญของ สิทธิมนุษยชน
หลักการและสาระสำคัญของ สิทธิมนุษยชนหลักการและสาระสำคัญของ สิทธิมนุษยชน
หลักการและสาระสำคัญของ สิทธิมนุษยชนพัน พัน
 
แนวข้อสอบวิชาความสามารถทั่วไป (ติวสอบครูผู้ช่วย สอบครูดอทคอม)
แนวข้อสอบวิชาความสามารถทั่วไป (ติวสอบครูผู้ช่วย สอบครูดอทคอม)แนวข้อสอบวิชาความสามารถทั่วไป (ติวสอบครูผู้ช่วย สอบครูดอทคอม)
แนวข้อสอบวิชาความสามารถทั่วไป (ติวสอบครูผู้ช่วย สอบครูดอทคอม)สอบครูดอทคอม เว็บเตรียมสอบ
 
"โรงเรียน ICU" ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทย
"โรงเรียน ICU" ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทย"โรงเรียน ICU" ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทย
"โรงเรียน ICU" ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทยPR OBEC
 
การพัฒนาคุณภาพในการทำงานชุมชน
การพัฒนาคุณภาพในการทำงานชุมชนการพัฒนาคุณภาพในการทำงานชุมชน
การพัฒนาคุณภาพในการทำงานชุมชนsoftganz
 

En vedette (20)

พรบ คนพิการ 2551 ย่อ
พรบ คนพิการ 2551 ย่อพรบ คนพิการ 2551 ย่อ
พรบ คนพิการ 2551 ย่อ
 
ประกาศกระทรวงพม ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ7ประเภท
ประกาศกระทรวงพม ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ7ประเภทประกาศกระทรวงพม ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ7ประเภท
ประกาศกระทรวงพม ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ7ประเภท
 
พ.ร.บ.การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ2551
พ.ร.บ.การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ2551พ.ร.บ.การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ2551
พ.ร.บ.การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ2551
 
แนวข้อสอบพัฒนาชุมชน
แนวข้อสอบพัฒนาชุมชนแนวข้อสอบพัฒนาชุมชน
แนวข้อสอบพัฒนาชุมชน
 
สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับ พรบ
สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับ พรบสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับ พรบ
สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับ พรบ
 
คู่มือ…คนพิการรู้ทัน
คู่มือ…คนพิการรู้ทันคู่มือ…คนพิการรู้ทัน
คู่มือ…คนพิการรู้ทัน
 
แนวข้อสอบนักพัฒนาชุมชน 2
แนวข้อสอบนักพัฒนาชุมชน 2แนวข้อสอบนักพัฒนาชุมชน 2
แนวข้อสอบนักพัฒนาชุมชน 2
 
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว2
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว2ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว2
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว2
 
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว1
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว1ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว1
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว1
 
หลักสูตรเพื่อการเรียนรวม
หลักสูตรเพื่อการเรียนรวมหลักสูตรเพื่อการเรียนรวม
หลักสูตรเพื่อการเรียนรวม
 
พัฒนาชุมชน
พัฒนาชุมชนพัฒนาชุมชน
พัฒนาชุมชน
 
สิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชน
 
เด็ก
เด็กเด็ก
เด็ก
 
สิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชน
 
ประเภทของสิทธิมนุษยชน
ประเภทของสิทธิมนุษยชนประเภทของสิทธิมนุษยชน
ประเภทของสิทธิมนุษยชน
 
หลักการและสาระสำคัญของ สิทธิมนุษยชน
หลักการและสาระสำคัญของ สิทธิมนุษยชนหลักการและสาระสำคัญของ สิทธิมนุษยชน
หลักการและสาระสำคัญของ สิทธิมนุษยชน
 
แนวข้อสอบวิชาความสามารถทั่วไป (ติวสอบครูผู้ช่วย สอบครูดอทคอม)
แนวข้อสอบวิชาความสามารถทั่วไป (ติวสอบครูผู้ช่วย สอบครูดอทคอม)แนวข้อสอบวิชาความสามารถทั่วไป (ติวสอบครูผู้ช่วย สอบครูดอทคอม)
แนวข้อสอบวิชาความสามารถทั่วไป (ติวสอบครูผู้ช่วย สอบครูดอทคอม)
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547แนวข้อสอบพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547
 
"โรงเรียน ICU" ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทย
"โรงเรียน ICU" ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทย"โรงเรียน ICU" ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทย
"โรงเรียน ICU" ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทย
 
การพัฒนาคุณภาพในการทำงานชุมชน
การพัฒนาคุณภาพในการทำงานชุมชนการพัฒนาคุณภาพในการทำงานชุมชน
การพัฒนาคุณภาพในการทำงานชุมชน
 

Similaire à สิทธิ ประโยชน์และสวัสดิการซึ่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐

รายงานทบทวนส่งอำนวยความสะดวกผู้สูวอายุPdf
รายงานทบทวนส่งอำนวยความสะดวกผู้สูวอายุPdfรายงานทบทวนส่งอำนวยความสะดวกผู้สูวอายุPdf
รายงานทบทวนส่งอำนวยความสะดวกผู้สูวอายุPdfNarong Jaiharn
 
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พKing Mam
 
พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม
พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม
พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมPoramate Minsiri
 
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพweeraboon wisartsakul
 
กฎหมายออนไลน์ ระบบสุขภาพ.pdf
กฎหมายออนไลน์ ระบบสุขภาพ.pdfกฎหมายออนไลน์ ระบบสุขภาพ.pdf
กฎหมายออนไลน์ ระบบสุขภาพ.pdfIjimaruGin
 
teedanai,+{$userGroup},+14-บทความวิจัย-JMLD..pdf
teedanai,+{$userGroup},+14-บทความวิจัย-JMLD..pdfteedanai,+{$userGroup},+14-บทความวิจัย-JMLD..pdf
teedanai,+{$userGroup},+14-บทความวิจัย-JMLD..pdfssuserf1346a
 
สิทธิ และหน้าที่ด้านสุขภาพ
สิทธิ และหน้าที่ด้านสุขภาพสิทธิ และหน้าที่ด้านสุขภาพ
สิทธิ และหน้าที่ด้านสุขภาพChacrit Sitdhiwej
 
มาตรการเสริม
มาตรการเสริมมาตรการเสริม
มาตรการเสริมChacrit Sitdhiwej
 
พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน 2556
พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน 2556พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน 2556
พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน 2556อินทนนท์ อินทนพ
 
การปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
การปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพการปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
การปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพsoftganz
 
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)Chuchai Sornchumni
 
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคม
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคมหน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคม
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคมChalit Arm'k
 

Similaire à สิทธิ ประโยชน์และสวัสดิการซึ่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ (16)

Utq2125
Utq2125Utq2125
Utq2125
 
Primary Health Care System_Padkao T
Primary Health Care System_Padkao TPrimary Health Care System_Padkao T
Primary Health Care System_Padkao T
 
รายงานทบทวนส่งอำนวยความสะดวกผู้สูวอายุPdf
รายงานทบทวนส่งอำนวยความสะดวกผู้สูวอายุPdfรายงานทบทวนส่งอำนวยความสะดวกผู้สูวอายุPdf
รายงานทบทวนส่งอำนวยความสะดวกผู้สูวอายุPdf
 
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ
 
Ll101
Ll101Ll101
Ll101
 
พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม
พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม
พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม
 
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
 
กฎหมายออนไลน์ ระบบสุขภาพ.pdf
กฎหมายออนไลน์ ระบบสุขภาพ.pdfกฎหมายออนไลน์ ระบบสุขภาพ.pdf
กฎหมายออนไลน์ ระบบสุขภาพ.pdf
 
teedanai,+{$userGroup},+14-บทความวิจัย-JMLD..pdf
teedanai,+{$userGroup},+14-บทความวิจัย-JMLD..pdfteedanai,+{$userGroup},+14-บทความวิจัย-JMLD..pdf
teedanai,+{$userGroup},+14-บทความวิจัย-JMLD..pdf
 
สิทธิ และหน้าที่ด้านสุขภาพ
สิทธิ และหน้าที่ด้านสุขภาพสิทธิ และหน้าที่ด้านสุขภาพ
สิทธิ และหน้าที่ด้านสุขภาพ
 
มาตรการเสริม
มาตรการเสริมมาตรการเสริม
มาตรการเสริม
 
พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน 2556
พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน 2556พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน 2556
พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน 2556
 
Health Reform
Health ReformHealth Reform
Health Reform
 
การปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
การปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพการปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
การปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
 
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)
 
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคม
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคมหน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคม
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคม
 

Plus de Nanthapong Sornkaew

วารสารกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวี ปี 9 ฉบับที่ 9 เดือนพฤศจิกายน 2557 1
วารสารกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวี ปี 9 ฉบับที่ 9 เดือนพฤศจิกายน  2557 1 วารสารกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวี ปี 9 ฉบับที่ 9 เดือนพฤศจิกายน  2557 1
วารสารกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวี ปี 9 ฉบับที่ 9 เดือนพฤศจิกายน 2557 1 Nanthapong Sornkaew
 
การร้องทุกข์ทางรธน.ในระบบฯเยอรมัน วิเคราะห์เปรียบเทียบการฟ้องคดีโดยปชช.ต่อศาล...
การร้องทุกข์ทางรธน.ในระบบฯเยอรมัน วิเคราะห์เปรียบเทียบการฟ้องคดีโดยปชช.ต่อศาล...การร้องทุกข์ทางรธน.ในระบบฯเยอรมัน วิเคราะห์เปรียบเทียบการฟ้องคดีโดยปชช.ต่อศาล...
การร้องทุกข์ทางรธน.ในระบบฯเยอรมัน วิเคราะห์เปรียบเทียบการฟ้องคดีโดยปชช.ต่อศาล...Nanthapong Sornkaew
 
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญNanthapong Sornkaew
 
ประกาศ คณะราษฎร 1
ประกาศ คณะราษฎร 1ประกาศ คณะราษฎร 1
ประกาศ คณะราษฎร 1Nanthapong Sornkaew
 
kคู่สัญญาฝ่ายเอกชนกับการบอกเลิกสัญญาทางปกครอง
kคู่สัญญาฝ่ายเอกชนกับการบอกเลิกสัญญาทางปกครองkคู่สัญญาฝ่ายเอกชนกับการบอกเลิกสัญญาทางปกครอง
kคู่สัญญาฝ่ายเอกชนกับการบอกเลิกสัญญาทางปกครองNanthapong Sornkaew
 
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ 2545
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ 2545พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ 2545
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ 2545Nanthapong Sornkaew
 
ดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมในสหรัฐฯ
ดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมในสหรัฐฯดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมในสหรัฐฯ
ดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมในสหรัฐฯNanthapong Sornkaew
 
อากงปลงไม่ตก
อากงปลงไม่ตกอากงปลงไม่ตก
อากงปลงไม่ตกNanthapong Sornkaew
 
คำพิพากษาคดีอากง
คำพิพากษาคดีอากงคำพิพากษาคดีอากง
คำพิพากษาคดีอากงNanthapong Sornkaew
 
ประเทศไทยมีกี่ศาล
ประเทศไทยมีกี่ศาลประเทศไทยมีกี่ศาล
ประเทศไทยมีกี่ศาลNanthapong Sornkaew
 
kจดหมายข่าวรายปักษ์ รอบรั้วศาลยุติธรรม
kจดหมายข่าวรายปักษ์ รอบรั้วศาลยุติธรรมkจดหมายข่าวรายปักษ์ รอบรั้วศาลยุติธรรม
kจดหมายข่าวรายปักษ์ รอบรั้วศาลยุติธรรมNanthapong Sornkaew
 
เปิดปิดประตูระบายน้ำเอา(ไม่)อยู่
เปิดปิดประตูระบายน้ำเอา(ไม่)อยู่เปิดปิดประตูระบายน้ำเอา(ไม่)อยู่
เปิดปิดประตูระบายน้ำเอา(ไม่)อยู่Nanthapong Sornkaew
 

Plus de Nanthapong Sornkaew (20)

วารสารกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวี ปี 9 ฉบับที่ 9 เดือนพฤศจิกายน 2557 1
วารสารกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวี ปี 9 ฉบับที่ 9 เดือนพฤศจิกายน  2557 1 วารสารกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวี ปี 9 ฉบับที่ 9 เดือนพฤศจิกายน  2557 1
วารสารกฎหมายขนส่งและพาณิชยนาวี ปี 9 ฉบับที่ 9 เดือนพฤศจิกายน 2557 1
 
Pantipontour
PantipontourPantipontour
Pantipontour
 
Bo tmuseum
Bo tmuseumBo tmuseum
Bo tmuseum
 
การร้องทุกข์ทางรธน.ในระบบฯเยอรมัน วิเคราะห์เปรียบเทียบการฟ้องคดีโดยปชช.ต่อศาล...
การร้องทุกข์ทางรธน.ในระบบฯเยอรมัน วิเคราะห์เปรียบเทียบการฟ้องคดีโดยปชช.ต่อศาล...การร้องทุกข์ทางรธน.ในระบบฯเยอรมัน วิเคราะห์เปรียบเทียบการฟ้องคดีโดยปชช.ต่อศาล...
การร้องทุกข์ทางรธน.ในระบบฯเยอรมัน วิเคราะห์เปรียบเทียบการฟ้องคดีโดยปชช.ต่อศาล...
 
Politics1
Politics1Politics1
Politics1
 
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
 
10 12-2475
10 12-247510 12-2475
10 12-2475
 
ประกาศ คณะราษฎร 1
ประกาศ คณะราษฎร 1ประกาศ คณะราษฎร 1
ประกาศ คณะราษฎร 1
 
Book inter germany
Book inter germanyBook inter germany
Book inter germany
 
บทความ+ศา..
บทความ+ศา..บทความ+ศา..
บทความ+ศา..
 
kคู่สัญญาฝ่ายเอกชนกับการบอกเลิกสัญญาทางปกครอง
kคู่สัญญาฝ่ายเอกชนกับการบอกเลิกสัญญาทางปกครองkคู่สัญญาฝ่ายเอกชนกับการบอกเลิกสัญญาทางปกครอง
kคู่สัญญาฝ่ายเอกชนกับการบอกเลิกสัญญาทางปกครอง
 
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ 2545
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ 2545พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ 2545
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ 2545
 
Article t2
Article t2Article t2
Article t2
 
ดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมในสหรัฐฯ
ดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมในสหรัฐฯดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมในสหรัฐฯ
ดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมในสหรัฐฯ
 
อากงปลงไม่ตก
อากงปลงไม่ตกอากงปลงไม่ตก
อากงปลงไม่ตก
 
คำพิพากษาคดีอากง
คำพิพากษาคดีอากงคำพิพากษาคดีอากง
คำพิพากษาคดีอากง
 
ประเทศไทยมีกี่ศาล
ประเทศไทยมีกี่ศาลประเทศไทยมีกี่ศาล
ประเทศไทยมีกี่ศาล
 
kจดหมายข่าวรายปักษ์ รอบรั้วศาลยุติธรรม
kจดหมายข่าวรายปักษ์ รอบรั้วศาลยุติธรรมkจดหมายข่าวรายปักษ์ รอบรั้วศาลยุติธรรม
kจดหมายข่าวรายปักษ์ รอบรั้วศาลยุติธรรม
 
เปิดปิดประตูระบายน้ำเอา(ไม่)อยู่
เปิดปิดประตูระบายน้ำเอา(ไม่)อยู่เปิดปิดประตูระบายน้ำเอา(ไม่)อยู่
เปิดปิดประตูระบายน้ำเอา(ไม่)อยู่
 
V2011 4
V2011 4V2011 4
V2011 4
 

สิทธิ ประโยชน์และสวัสดิการซึ่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐

  • 1. บทที่ 1 สิท ธิ ประโยชน์แ ละสวัส ดิก ารซึ่ง พ.ร.บ. ส่ง เสริม และพัฒ นา คุณ ภาพชีว ิต คนพิก าร พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้บ ัญ ญัต ิร ับ รองและคุ้ม ครองให้ค นพิก าร ในปัจจุบันกฎหมายได้ให้ความสำาคัญกับการส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทยซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดได้กำาหนดห้ามมิให้มีการเลือก ปฏิบัติต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความพิการ เพื่อให้คนพิการมีความเสมอ ภาคเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป นอกจากนี้ ในกฎหมายอื่นๆ ยังได้มีการ บัญญัติรองรับหลักการตามรัฐธรรมนูญไว้ด้วย เช่น พระราชบัญญัติส่ง เสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้กำาหนดสิทธิ ประโยชน์และสวัสดิการให้กับคนพิการหลายประการด้วยกัน และเพื่อ ให้หลักการที่ต้องการให้คนพิการได้รับการปฏิบัติที่ความเสมอภาคกับ บุคคลทั่วไปสามารถเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง จึงได้มีการกำาหนดหลัก เกณฑ์เกี่ยวกับการขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุแห่ง ความพิการไว้ด้วย และเพื่อให้การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคน พิการสามารถดำาเนินไปได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ ของคนพิการอย่างแท้จริง พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ ชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ จึงได้มีการกำาหนดประเภทความพิการไว้ ๖ ประเภท ได้แก่ (๑) ความพิการทางการเห็น (๒) ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย (๓) ความพิการทางกายหรือการเคลื่อนไหว (๔) ความพิการทางจิตใจ พฤติกรรม หรือออทิสติก (๕) ความพิการทางสติปัญญา (๖) ความพิการทางการเรียนรู้ ส่วนพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำาหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๕๑ ได้กำาหนดประเภทความพิการไว้ถึง ๙ ประเภท โดยแยกความ พิการออทิสติกออกมาเป็นความพิการอีกประเภทหนึ่ง และเพิ่มความ พิการสำาหรับความพิการทางการเจ็บป่วยเรื้อรังและความพิการซำ้าซ้อน ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาสำาหรับคนพิการให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำาหรับในบทที่ ๑ นี้จะมุ่งเน้นอธิบายถึงสิทธิประโยชน์และ สวัสดิการของคนพิการและขั้นตอน วิธีการและเงื่อนไขในการรับสิทธิ
  • 2. ประโยชน์และสวัสดิการของคนพิการ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และตามพระราชบัญญัติการ จัดการศึกษาสำาหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยจะแยกอธิบายเป็น ๒ หัวข้อหลัก ตามลำาดับดังนี้ ๑. สิทธิประโยชน์และสวัสดิการของคนพิการ ๒. ขันตอน วิธีการและเงื่อนไขในการรับสิทธิ ประโยชน์และ ้ สวัสดิการของคนพิการ ๑ . สิท ธิ ประโยชน์แ ละสวัส ดิก ารของคนพิก าร พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการได้ กำาหนดสิทธิ ประโยชน์และสวัสดิการให้กับคนพิการไว้หลายประการ ด้วยกัน โดยบัญญัติไว้ในมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง วรรคสาม และวรรคห้า ของพระราชบัญญัติดังกล่าว และในมาตรา ๕ ของพระราชบัญญัติการ จัดการศึกษาสำาหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ - บทบัญญัติในวรรคหนึ่งกำาหนดให้คนพิการมีสิทธิเข้าถึงงบและ ใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอำานวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ตลอดจน สวัสดิการและความช่วยเหลือของรัฐ ซึ่งมีทั้งสิ้น ๑๐ ประการหลัก - บทบัญญัติในวรรคสามได้บัญญัติถึงสิทธิได้รับการจัดสวัสดิการ ด้านที่อยู่อาศัยและการเลี้ยงดูจากหน่วยงานของรัฐสำาหรับคนพิการที่ ไม่มีผู้ดูแลคนพิการ - บทบัญญัติในวรรคห้าได้บัญญัติถึงสิทธิของคนพิการที่จะได้รับ การลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษี - ส่วนบทบัญญัติในมาตรา ๕ ของพระราชบัญญัติการจัดการ ศึกษาสำาหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้บัญญัติถึงเรื่องสิทธิทางการศึกษาของคนพิการซึ่งเป็นการขยาย ความมาตรา ๒๐(๒) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ ชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ สิทธิประโยชน์และสวัสดิการของคนพิการตามที่กำาหนดไว้ในพระราช บัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และพระ ราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำาหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ดังกล่าวข้าง ต้น ได้มีการจัดทำาร่างอนุบัญญัติเพื่อกำาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการใน การจัดสิทธิ ประโยชน์และสวัสดิการให้กับคนพิการตามหลักการในพระ ราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายแม่บท ดังนั้นในหัวข้อนี้จะได้ อธิบายถึงสิทธิประโยชน์และสวัสดิการดังกล่าวข้างต้นตามหลักเกณฑ์
  • 3. และวิธีการที่บัญญัติไว้ในอนุบัญญัติในแต่ละเรื่อง โดยเฉพาะในส่วนที่ เป็นหลักการสำาคัญ ซึ่งจะแบ่งแยกสิทธิ ประโยชน์ สวัสดิการ เป็น ๑๒ ประการหลักดังนี้ ๑. สิท ธิใ นการได้ร ับ การบริก ารฟื้น ฟูส มรรถภาพโดย กระบวนการทางการแพทย์ และค่า ใช้จ ่า ยในการรัก ษา พยาบาล ค่า อุป กรณ์ เครื่อ งช่ว ยความพิก าร และสื่อ ส่ง เสริม พัฒ นาการเพื่อ ปรับ สภาพทางร่า งกาย จิต ใจ อารมณ์ สัง คม พฤติก รรม สติป ัญ ญา การเรีย นรู้ หรือ เสริม สร้า งสมรรถภาพให้ ดีข ึ้น ตามที่ร ัฐ มนตรีว ่า การกระทรวงสาธารณสุข ประกาศ กำา หนด สิทธิดังกล่าวบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ (๑) ซึ่งกำาหนดให้สิทธิ ดังกล่าวเป็นไปตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ กำาหนด ดังนั้น จึงได้มีการจัดทำา (ร่าง) ประกาศกระทรวงว่าด้วยการ บริการ ฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์และค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการ และสื่อส่งเสริม พัฒนาการ พ.ศ. .... เพื่อรองรับกฎหมายแม่บท ซึ่งสาระสำาคัญของ ประกาศกระทรวงดังกล่าวมีดังต่อไปนี้ ๑.๑ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้าง สมรรถภาพหรือความสามารถของคนพิการให้มีสภาพที่ดีขึ้น หรือดำารง สมรรถภาพหรือความสามารถที่มีอยู่เดิมไว้ โดยอาศัยกระบวนการ ทางการแพทย์ เพื่อให้คนพิการได้มีโอกาสทำางานหรือดำารงชีวิตใน สังคมอย่างเต็มศักยภาพ ๑.๒ บริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์ที่คน พิการมีสิทธิได้รับมีรายการดังต่อไปนี้ (๑) การตรวจวินิจฉัย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการ ตรวจพิเศษด้วยวิธีอื่น ๆ (๒) การแนะแนว และการให้บริการปรึกษา (๓) การจัดการรายกรณีแบบครบวงจร (๔) การให้ยา (๕) การบริการอุปกรณ์เทียมอุปกรณ์เสริมหรือเครื่องช่วย ความพิการ (๖) การศัลยกรรม (๗) การพยาบาลเวชกรรมฟื้นฟู (๘) กายภาพบำาบัด
  • 4. (๙) กิจกรรมบำาบัด (๑๐) ดนตรีบำาบัด (๑๑) ศิลปะบำาบัด (๑๒) อาชีวะบำาบัด (๑๓) พฤติกรรมบำาบัด (๑๔) จิตบำาบัด (๑๕) การบริการแพทย์ทางเลือก (๑๖) การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยิน (๑๗) การแก้ไขการพูด (๑๘) การพัฒนาทักษะในการสื่อความหมาย (๑๙) การพัฒนาทักษะทางสังคม สังคมสงเคราะห์ และ สังคมบำาบัด (๒๐) การบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มและการบริการส่ง เสริมพัฒนาการ (๒๑)การสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการ เคลื่อนไหวหรือการฟื้นฟูสมรรถภาพสำาหรับผู้บกพร่องทางการ เห็น (๒๒)การบริการจัดสภาพแวดล้อมให้คนพิการสามารถเข้า ถึงและใช้ประโยชน์ได้จากการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการ ทางการแพทย์ (๒๓) การฝึกอบรมและการพัฒนาทักษะที่จำาเป็นแก่ผู้พิการ และผู้ดูแลคนพิการ (๒๔) การบริการด้านข้อมูลข่าวสารทางด้านสุขภาพและการ ส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อบำาบัดรักษาหรือเพื่อปรับสภาพทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมพฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ การดำาเนิน ชีวิต ตลอดจนองค์ความรู้ทางการฟื้นฟูสมรรถภาพโดย กระบวนการทางการแพทย์หรือการบริการด้านสุขภาพผ่านสื่อใน รูปแบบที่เหมาะสมซึ่งคนพิการหรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงและ ใช้ประโยชน์ได้ (๒๕) บริการอื่นใดตามที่รัฐมนตรีประกาศกำาหนด ๑.๓ คนพิการมีสิทธิได้รับการรับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยไม่ ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ต้องเป็นการรับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดย กระบวนการทางการแพทย์ จากสถานพยาบาลของกระทรวง สาธารณสุข หรือสถานพยาบาลของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วน ท้องถิ่น องค์การมหาชน หรือรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงสาธารณสุข ประกาศกำาหนด
  • 5. ๑.๔ คนพิการที่มีความจำาเป็นต้องใช้อุปกรณ์หรือเครื่องช่วยความ พิการ มีสิทธิได้รับอุปกรณ์เทียม อุปกรณ์เสริมหรือเครื่องช่วยความ พิการตามความต้องการจำาเป็นของแต่ละบุคคล ๑.๕ ในกรณีความพิการเปลี่ยนแปลง หรืออุปกรณ์เทียม อุปกรณ์ เสริม หรือเครื่องช่วยความพิการที่คนพิการได้รับ ชำารุดบกพร่อง จำาเป็น ต้องเปลี่ยนตามกำาหนดเวลา ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนแปลงชิ้นส่วนของ อุปกรณ์เทียม อุปกรณ์เสริม หรือเครื่องช่วยความพิการนั้น คนพิการ สามารถดำาเนินการเปลี่ยนแปลง ซ่อมแซมอุปกรณ์ดังกล่าวได้โดยไม่ ต้องเสียค่าใช้จ่าย ๒. สิท ธิไ ด้ร ับ การศึก ษาตามกฎหมายว่า ด้ว ยการศึก ษา แห่ง ชาติห รือ แผนการศึก ษาแห่ง ชาติต ามความเหมาะสมใน สถานศึก ษาเฉพาะหรือ สถานศึก ษาทั่ว ไป หรือ การศึก ษาทาง เลือ กหรือ การศึก ษานอกระบบ โดยให้ห น่ว ยงานที่ร ับ ผิด ชอบ เกี่ย วกับ สิ่ง อำา นวยความสะดวก สื่อ บริก ารและความช่ว ยเหลือ อื่น ใดทางการศึก ษาสำา หรับ คนพิก ารให้ก ารสนับ สนุน ตาม ความเหมาะสม สิทธิดังกล่าวนี้ได้รับการรับรองไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ (๒) และพระราช บัญญัติการจัดการศึกษาสำาหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ในส่วนนี้จะได้ อธิบายหลักการสำาคัญตามพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำาหรับคน พิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งมีสาระสำาคัญดังต่อไปนี้ ๒.๑ คนพิการมีสิทธิทางการศึกษาดังนี้ (๑) ได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิด หรือพบความพิการจนตลอดชีวิต พร้อมทั้งได้รับเทคโนโลยี สิ่ง อำานวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใด ทางการศึกษา (๒) เลือกบริการทางการศึกษา สถานศึกษา ระบบและรูป แบบการศึกษา โดยคำานึงถึง ความสามารถ ความสนใจ ความ ถนัดและความต้องการจำาเป็นพิเศษของบุคคลนั้น (๓) ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานและประกันคุณภาพการ ศึกษา รวมทั้งการจัดหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ การทดสอบ ทางการศึกษา ที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการจำาเป็น พิเศษ ของคนพิการแต่ละประเภทและบุคคล
  • 6. ๓. สิท ธิไ ด้ร ับ การฟื้น ฟูส มรรถภาพด้า นอาชีพ การให้ บริก ารที่ม ีม าตรฐาน การคุ้ม ครองแรงงาน มาตรการเพื่อ การมี งานทำา ตลอดจนได้ร ับ การส่ง เสริม การประกอบอาชีพ อิส ระ และบริก ารสื่อ สิ่ง อำา นวยความสะดวก เทคโนโลยีห รือ ความ ช่ว ยเหลือ อื่น ใด เพื่อ การทำา งานและการประกอบอาชีพ ของคน พิก าร ตามหลัก เกณฑ์ วิธ ีก ารและเงื่อ นไขที่ร ัฐ มนตรีว ่า การ กระทรวงแรงงานประกาศกำา หนด สิทธิดังกล่าวนี้เป็นสิทธิในด้านอาชีพ ซึ่งได้รับการรับรองไว้ใน พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ (๓) และมีการจัดทำา (ร่าง) ประกาศกระทรวงว่าด้วย มาตรการเพื่อการมีงานทำา การส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระและ บริการสื่อ สิ่งอำานวยความสะดวก เทคโนโลยีหรือความช่วยเหลืออื่นใด สำาหรับคนพิการ พ.ศ. .... เพื่อกำาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ซึ่งมีสาระสำาคัญดังต่อไปนี้ ๓.๑ คนพิการมีสิทธิได้รับบริการการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ โดยที่การให้บริการต่างๆจะต้องมีมาตรฐาน คำานึงถึงคนพิการทุก ประเภทเพื่อให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสวัสดิการอย่าง เท่าเทียม ทั่วถึงและเป็นธรรม และการคุ้มครองแรงงานสำาหรับคนพิการ ๓.๒ หน่วยงานของรัฐซึ่งได้มีหรือรับคนพิการเข้าทำางาน ต้องจัด ให้มีบริการสื่อสิ่งอำานวยความสะดวกและความช่วยเหลืออื่นใด ไม่ว่าคน พิการผู้นั้นจะอยู่ในตำาแหน่งใดในหน่วยงานนั้นก็ตาม ทั้งนี้ เพื่อ ประโยชน์ในการทำางานและการประกอบอาชีพของคนพิการ ๓.๓ ประกาศกระทรวงดังกล่าวยังได้กำาหนดอำานาจหน้าที่ของ หน่วยงานของรัฐไว้ด้วย โดยหลักได้กำาหนดให้ - กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มีอำานาจหน้าที่ในการฝึกอบรมอาชีพ ฝึกเพื่อเตรียมเข้าทำางาน การฝึกยกระดับฝีมือ และการฝึกเสริม ทักษะ เพื่อการทำางานในสถานประกอบการหรือการประกอบ อาชีพอิสระ จัดให้มีการฝึกอบรมและให้บริการผู้สอนงานแก่ นายจ้าง และจัดให้มีการส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ - กรมการจัดหางาน มีอำานาจหน้าที่จัดให้มีบริการแนะแนวอาชีพ จัดให้มีการรับจดแจ้งความต้องการมีงานทำาของคนพิการ จัดให้มี บริการวิเคราะห์ตำาแหน่งงาน และจัดให้มีระบบการจับคู่งาน ระหว่างความต้องการมีงานทำาของคนพิการ กับความต้องการรับ คนพิการเข้าทำางานของหน่วยงานของรัฐและนายจ้าง
  • 7. ๔. สิท ธิใ นการได้ร ับ การยอมรับ และมีส ่ว นร่ว มในกิจ กรรม ทางสัง คม เศรษฐกิจ และการเมือ งอย่า งเต็ม ที่แ ละมี ประสิท ธิภ าพบนพื้น ฐานแห่ง ความเท่า เทีย มกับ บุค คลทั่ว ไป ตลอดจนได้ร ับ สิ่ง อำา นวยความสะดวกและบริก ารต่า งๆ ที่จ ำา เป็น สำา หรับ คนพิก าร สิทธิประการนี้ได้รับการรับรองไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ (๔) ๕. สิท ธิใ นการได้ร ับ การช่ว ยเหลือ ให้เ ข้า ถึง นโยบาย แผน งาน โครงการ กิจ กรรม การพัฒ นาการและการบริก ารอัน เป็น สาธารณะ ผลิต ภัณ ฑ์ท ี่ม ีค วามจำา เป็น ต่อ การดำา รงชีว ิต การ ช่ว ยเหลือ ทางกฎหมายและการจัด หาทนายความว่า ต่า งแก้ต ่า ง คดี ให้เ ป็น ไปตามระเบีย บที่ค ณะกรรมการกำา หนด สิทธิประการนี้บัญญัติรับรองไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ (๕) และมีการจัด ทำา (ร่าง) ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคน พิการแห่งชาติว่าด้วยการช่วยเหลือทางกฎหมายและการจัดหาทนายว่า ต่างแก้คดี พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำาคัญดังต่อไปนี้ ๕.๑ “การบริการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย” ได้แก่ (๑) การให้คำาปรึกษาหารือทางกฎหมาย (๒) การให้ความรู้ทางกฎหมาย (๓) การจัดทำานิติกรรมสัญญา (๔) การไกล่เกลี่ยหรือการประนีประนอมยอมความ (๕) การจัดหาทนายความ (๖) การให้ความช่วยเหลืออื่นๆ ในทางคดี ๕.๒ การยื่นคำาขอรับบริการ ผู้ขอรับการช่วยเหลือ อาจยื่นคำาขอด้วยวาจา เป็นหนังสือ หรือส่ง ทางไปรษณี ย์ เ พื่ อ ขอรั บ การช่ ว ยเหลื อ ทางกฎหมายและการจั ด หา ทนายความว่าต่างแก้ต่างคดี โดยยื่นคำาขอ (๑) ในกรุ ง เทพมหานคร ให้ ยื่ น คำา ขอต่ อ กรมพั ฒ นาสั ง คมและ สวั ส ดิ การ หรือ สถานที่อื่นตามที่ อ ธิ บ ดี กรมพั ฒนาสั งคมและสวั ส ดิ ก าร ประกาศกำาหนด (๒) ในท้องที่จังหวัดอื่นให้ยื่นคำาขอต่อสำานักงานพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หรือที่หน่วยบริการในพื้นที่ตามที่ผู้ว่า
  • 8. ราชการจังหวัดประกาศกำาหนด กรณีม ีเ หตุข ัด ข้อ ง เมื่อผู้ขอรับความช่วยเหลือเป็นผู้เยาว์ คน เสมือนไร้ความสามารถหรือคนไร้ความสามารถหรือในกรณีที่คนพิการ มีสภาพความพิการถึงขั้นไม่สามารถไปยื่นขอรับบริการด้วยตนเองได้ ผู้ ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาลหรือผูดูแลคนพิการ แล้วแต่กรณี อาจยื่น ้ คำาขอรับการบริการช่วยเหลือทางกฎหมายและการจัดหาทนายความว่า ต่างแก้ต่างแทนก็ได้ ๕.๓ หลักเกณฑ์การพิจารณาให้การช่วยเหลือ (๑) ผู้ขอรับการช่วยเหลือมีความจำาเป็น เนื่องจากมีรายได้ ตำ่ากว่าเกณฑ์ที่เลขาธิการประกาศกำาหนด หรือเป็นคดีที่คนพิการ ได้รับความเสียหาย เนื่องจากถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม (๒) ผูขอรับการช่วยเหลือจะฟ้องหรือถูกฟ้อง มีโอกาสใน ้ การชนะคดี (๓) ผู้ขอรับการช่วยเหลือมีความประพฤติดีหรือไม่มี พฤติการณ์ว่าจะหลบหนี (๔) ไม่ผิดสัญญา ที่ผู้ขอรับการช่วยเหลือจะต้องคืนเงินที่ได้ รับการสนับสนุนให้แก่สำานักงาน คือ เงินค่าธรรมเนียม ค่า ทนายความที่ได้ตามคำาพิพากษาของศาล และเงินหลักประกันใน การปล่อยชั่วคราว เมื่อความรับผิดตามสัญญาประกันหมดไป ๖. สิท ธิใ นด้า นข้อ มูล ข่า วสาร การสื่อ สาร บริก าร โทรคมนาคม เทคโนโลยีส ารสนเทศและการสื่อ สารและ เทคโนโลยีส ิ่ง อำา นวยความสะดวกเพื่อ การสื่อ สารสำา หรับ คน พิก ารทุก ประเภท ตลอดจนบริก ารสื่อ สาธารณะจากหน่ว ยงาน ของรัฐ หรือ เอกชนที่ไ ด้ร ับ งบประมาณสนับ สนุน จากรัฐ ตาม หลัก เกณฑ์ วิธ ีก ารหรือ เงื่อ นไขที่ร ัฐ มนตรีว ่า การกระทรวง เทคโนโลยีส ารสนเทศและการสื่อ สารกำา หนดในกฎกระทรวง สิทธิประการนี้เป็นสิทธิตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ (๖) และได้มีการกำาหนด หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ไว้ใน (ร่าง) กฎกระทรวงกำาหนดหลัก เกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเพื่อให้คนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จาก ข้อมูลข่าวสาร การสื่อสารบริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเทคโนโลยีสิ่งอำานวยความสะดวกเพื่อการสื่อสารสำาหรับ คนพิการทุกประเภท ตลอดจนบริการสื่อสาธารณะจากหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชนที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐ พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระ สำาคัญดังต่อไปนี้
  • 9. ๖.๑ คนพิการมีสิทธิยืม หรือให้เปล่าอุปกรณ์หรือเครื่องมือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีสิ่งอำานวยความ สะดวกเพื่อการสื่อสาร นอกจากนี้ ได้ให้สิทธิคนพิการได้รับการฝึก อบรม เพื่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร และเทคโนโลยีสิ่งอำานวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร โดย ไม่เสียค่าใช้จ่าย ๖.๒ การยื่นขอรับสิทธิ : คนพิการที่ประสงค์จะขอรับบริการต้อง ยื่นคำาขอรับบริการนั้นต่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำานักงานสถิติจังหวัดหรือสำานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์จังหวัดหรือหน่วยงานอื่นที่รัฐมนตรีมอบหมาย โดยคำาแนะนำาของ คณะอนุกรรมการ ในกรณีที่บุคคลอื่นยื่นคำาขอรับบริการแทนคนพิการให้นำาสำาเนา บัตรประจำาตัวประชาชนหรือสำาเนาทะเบียนบ้านของบุคคลนั้น และหลัก ฐานอื่นที่แสดงให้เห็นว่าได้รับมอบอำานาจจากคนพิการหรือมีส่วน เกี่ยวข้องกับคนพิการเนื่องจากเป็นผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล หรือผู้ ดูแลคนพิการมาประกอบการพิจารณาด้วย ๗. สิท ธิไ ด้ร ับ บริก ารล่า มภาษามือ ตามระเบีย บที่ค ณะ กรรมการกำา หนด พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ (๗) ได้บัญญัติให้คนพิการมีสิทธิได้รับบริการล่าม ภาษามือ ซึ่งหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการได้รับสิทธิดังกล่าวนี้ เป็นไปตาม (ร่าง) ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ ชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วยบริการล่ามภาษามือ พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระ สำาคัญดังนี้ ๗.๑ คนพิการที่มีสิทธิได้รับบริการล่ามภาษามือ คือ “คนพิการ ทางการได้ยิน” ซึ่งหมายความถึง คนพิการที่มีบัตรประจำาตัวประเภท ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย ๗.๒ กิจกรรมที่คนพิการทางการได้ยินสามารถยื่นคำาขอรับบริการ ล่ามภาษามือได้ ได้แก่ (๑) การใช้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุข (๒) การสมัครงานหรือการติดต่อประสานงานด้านการ ประกอบอาชีพ (๓) การร้องทุกข์ หรือการกล่าวโทษหรือการเป็นพยานในชั้น พนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่น (๔) การเข้าร่วมประชุม สัมมนา หรือฝึกอบรมรวมทั้งเป็นผู้
  • 10. บรรยายโดยหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรภาคเอกชนเป็นผู้จัดซึ่งมี คนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมายเข้าร่วมด้วย (๕) บริการอื่นๆ ตามที่คณะอนุกรรมการประกาศกำาหนด ๗.๓ สถานที่ในการยื่นคำาขอรับบริการล่ามภาษามือ - ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำาขอต่อกรมพัฒนาสังคมและ สวัสดิการ หรือสถานที่อื่นตามที่อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ประกาศกำาหนด - ในท้องที่จังหวัดอื่นให้ยื่นคำาขอต่อสำานักงานพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหรือทีหน่วยบริการในพื้นที่ ่ ๘. สิท ธิท ี่จ ะนำา สัต ว์น ำา ทาง เครื่อ งมือ หรือ อุป กรณ์น ำา ทาง หรือ เครื่อ งช่ว ยความพิก ารใดๆ ติด ตัว ไปในยานพาหนะหรือ สถานที่ใ ดๆ เพื่อ ประโยชน์ใ นการเดิน ทาง และการได้ร ับ สิ่ง อำา นวยความสะดวกอัน เป็น สาธารณะ โดยได้ร ับ การยกเว้น ค่า บริก าร ค่า ธรรมเนีย ม และค่า เช่า เพิ่ม เติม สำา หรับ สัต ว์ เครื่อ งมือ อุป กรณ์ หรือ เครื่อ งช่ว ยความพิก ารดัง กล่า ว สิทธิประการนี้ได้รับการรับรองไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ (๘) ๙. สิท ธิไ ด้ร ับ การจัด สวัส ดิก ารเบี้ย ความพิก าร ตามหลัก เกณฑ์แ ละวิธ ีก ารที่ค ณะกรรมการกำา หนดในระเบีย บ สิทธิประการนี้เป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ (๙) โดยหลักเกณฑ์และ วิธีการเป็นไปตาม (ร่าง) ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการ พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำาคัญดังนี้ ๙.๑ “เบี้ยความพิการ” หมายความว่า เงินที่จ่ายเป็นรายเดือนเพื่อ เอื้ออำานวยให้คนพิการมีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ที่ดี เนื่องจากคน พิการมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำาวันหรือเข้าไปมี ส่วนร่วมทางสังคมมากกว่าบุคคลทั่วไปนอกจากเงินสงเคราะห์เพื่อการ ยังชีพคนพิการตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงิน สงเคราะห์เพื่อการยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือระเบียบอื่น ของทางราชการ ๙.๒ คนพิการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยความพิการต้องมีคุณสมบัติดังนี้ (๑) มีสัญชาติไทย
  • 11. ถิ่น (๒) มีบัตรประจำาตัวคนพิการ (๓) มีภูมิลำาเนาหรือถิ่นที่อยู่ในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้อง ๙.๓ สถานที่ยื่นคำาขอรับเบี้ยความพิการ - คนพิการที่มีภูมิลำาเนาหรือถิ่นที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ ยื่นคำาขอต่อสำานักงานเขต - คนพิการที่มีภูมิลำาเนาหรือถิ่นที่อยู่ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำาขอต่อ ที่ทำาการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีภูมิลำาเนาหรือถิ่นที่อยู่นั้น ๙.๔ ในกรณีที่คนพิการไม่สามารถยื่นคำาขอได้ด้วยตนเอง เนื่องจากเป็นผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนไร้ความ สามารถ หรือในกรณีที่มีสภาพความพิการถึงขนาดไม่สามารถไปยื่น คำาขอรับสวัสดิการเบี้ยความพิการด้วยตนเองได้ ให้ “ผูดูแลคนพิการ” ้ ได้แก่ บิดา มารดา บุตร สามี ภรรยา ญาติ พี่น้อง หรือบุคคลอื่นใดที่รับ ดูแลหรืออุปการะคนพิการ ยื่นคำาขอนั้นแทนก็ได้ โดยต้องนำาหลักฐาน ของคนพิการไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย ๙.๕ หลักฐานที่ต้องนำายื่นต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอรับเบี้ยความพิการ ได้แก่ (๑) บัตรประจำาตัวคนพิการ พร้อมสำาเนาเอกสาร ๑ ฉบับ (๒) ทะเบียนบ้าน (ทร.๑๔) พร้อมสำาเนา ๑ ฉบับ (๓) ในกรณีมีบุคคลยื่นคำาขอแทน ให้นำาสำาเนาบัตรประชาชนของ ผู้ยื่นคำาขอแทน จำานวน ๑ ฉบับ พร้อมหนังสือรับรองจากกำานันผู้ใหญ่ บ้าน หรือประธานชุมชนหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งแต่ระดับ ๓ หรือเทียบ เท่าขึ้นไปหรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าเป็นผู้ดูแลคนพิการ ๑๐. การปรับ สภาพแวดล้อ มที่อ ยู่อ าศัย การมีผ ู้ช ่ว ยคน พิก าร หรือ การให้ม ีส วัส ดิก ารอื่น ตามหลัก เกณฑ์แ ละวิธ ีก ารที่ คณะกรรมการ กำา หนดในระเบีย บ สิทธิประการนี้เป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ (๑๐) ซึ่งมีสิทธิ ๒ ประการหลัก ประการแรก คือ สิทธิในการได้รับการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่ อาศัย โดยได้มีการกำาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการไว้ใน (ร่าง) ระเบียบ คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการเกี่ยวกับการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำาหรับคน พิการ พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำาคัญดังต่อไปนี้ (๑) คนพิการที่จะได้รับสิทธิได้รับการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่
  • 12. อาศัยต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) มีบัตรประจำาตัวคนพิการ (๒) อาศัยอยู่ในที่อยู่อาศัยนั้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือน ติดต่อกัน ยกเว้นกรณีการย้ายเข้ามาอยู่ภายหลังเกิดความ พิการ (๓) ที่อยู่อาศัยไม่มั่นคง หรือไม่เหมาะสมกับสภาพความ พิการ (๔) มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ (๕) ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นหรือได้รับแต่ ไม่เพียงพอ ในกรณีคนพิการไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยแห่งนั้น ต้องมีหลักฐานการให้ความยินยอมจากเจ้าของหรือผู้ได้รับ มอบอำานาจจากเจ้าของเพื่อให้มาปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่ อาศัยได้ และในกรณีเป็นบ้านเช่าจะมีหลักฐานให้คนพิการ อยู่อาศัยได้ไม่น้อยกว่าหกเดือน (๒) สถานที่ยื่นคำาร้องเพื่อขอรับสิทธิได้แก่ - ในกรุ ง เทพมหานคร ให้ ยื่ น คำา ขอต่ อ กรมพั ฒ นาสั ง คมและ สวั ส ดิ การ หรือ สถานที่อื่นตามที่ อ ธิ บ ดี กรมพั ฒนาสั งคมและสวั ส ดิ ก าร ประกาศกำาหนด - ในท้ อ งที่จั งหวัด อื่น ให้ ยื่ น คำา ขอต่ อ สำา นั ก งานพั ฒ นาสั ง คมและ ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหรือทีหน่วยบริการในพื้นที่ ่ ประการที่สอง คือ สิทธิในการมีผู้ช่วยคนพิการ โดยได้มีการ กำาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการไว้ใน (ร่าง)ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ จัดให้มีผู้ช่วยคนพิการ พ.ศ. .… ซึ่งมีสาระสำาคัญดังต่อไปนี้ (๑) คนพิการที่ยื่นคำาขอให้มีผู้ช่วยคนพิการต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อ ไปนี้ (๑) มีบัตรประจำาตัวคนพิการ (๒) เป็นคนพิการที่มีความจำาเป็นต้องมีผู้ช่วยคนพิการเพื่อ ให้สามารถปฏิบัติกิจวัตรที่สำาคัญในการดำารงชีวิตได้ (๓) ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นหรือได้รับแต่ ไม่เพียงพอ ในกรณีที่คนพิการตามวรรคหนึ่งเป็นผู้เยาว์ หรือมีความ พิการมากจนไม่สามารถยื่นคำาขอด้วยตนเองได้ ให้บุคคลอื่นที่ กระทำาแทนคนพิการยื่นคำาขอแทนได้ แต่ต้องนำาหลักฐานตาม วรรคหนึ่งไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย (๒) สถานที่ยื่นคำาร้องขอเพื่อรับสิทธิ
  • 13. - ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำาขอต่อกรมพัฒนาสังคมและ สวัสดิการ หรือสถานที่อื่นตามที่อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ประกาศกำาหนด - ในท้องที่จังหวัดอื่นให้ยื่นคำาขอต่อสำานักงานพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหรือทีหน่วยบริการในพื้นที่ ่ (๓) หลักการพิจารณาให้คนพิการมีผู้ช่วยคนพิการ จะต้องปรากฏ ข้อเท็จจริงว่า บุคคลนั้นมีสภาพความพิการมากจนไม่สามารถปฏิบัติ กิจวัตรที่สำาคัญในการดำารงชีวิตได้ด้วยตนเอง หากไม่ได้ปฏิบัติกิจวัตร เหล่านี้จะส่งผลกระทบอย่างสำาคัญและเด่นชัดต่อการดำารงชีวิต สุขภาพ อนามัย ภาวะจิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สภาพความเป็นอยู่ และศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ และกรณีคนพิการมีฐานะยากจนมาก ให้พิจารณาให้ บริการผู้ช่วยคนพิการเป็นลำาดับแรก (๔) คนพิการจะได้รับการบริการตามความจำาเป็นในการต้องมีผู้ ช่วยคนพิการแต่ไม่เกินเดือนละ ๑๘๐ ชั่วโมง ๑๑. สิท ธิไ ด้ร ับ การจัด สวัส ดิก ารด้า นที่อ ยู่อ าศัย และการ เลี้ย งดูจ ากหน่ว ยงานของรัฐ สำา หรับ คนพิก ารที่ไ ม่ม ีผ ู้ด ูแ ลคน พิก าร สิทธิประการนี้เป็นสิทธิที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ วรรคสาม โดย หลักเกณฑ์และวิธีการในการรับสิทธิดังกล่าวเป็นไปตาม (ร่าง) ระเบียบ คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสวัสดิการให้แก่คนพิการที่ไม่มีผู้ดูแล พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำาคัญดังนี้ ๑๑.๑ คนพิการที่จะได้รับสิทธิดังกล่าวนี้ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไป นี้ (๑) มีบัตรประจำาตัวคนพิการ (๒) ไม่มีผู้อุปการะเลี้ยงดู หรือมีแต่ไม่สามารถเลี้ยงดูได้ (๓) ไม่ มี ที่ อ ยู่ อ าศั ย เป็ น หลั ก แหล่ ง หรื อ ที่ อ ยู่ อ าศั ย ไม่ มั่ น คง หรือไม่เหมาะสม (๔) ไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ (๕) ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นหรือได้รับแต่ ไม่เพียงพอ ๑๑.๒ สถานที่ยื่นคำาขอเพื่อรับสิทธิ - ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำาขอต่อกรมพัฒนาสังคมและ
  • 14. สวัสดิการ หรือสถานที่อื่นตามที่อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ประกาศกำาหนด - ในท้องที่จังหวัดอื่นให้ยื่นคำาขอต่อสำานักงานพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหรือหน่วยบริการในพื้นที่ ๑๑.๓ การจัดสวัสดิการที่อยู่อาศัยหรือการเลี้ยงดูคนพิการ อาจ ทำาได้โดยวิธีการดังต่อไปนี้ (๑) การช่วยเหลือเป็นเงินหรือสิ่งของ (๒) การจัดหาครอบครัวอุปการะ (๓) การส่งเข้าอุปการะในสถานสงเคราะห์ (๔) การจัดให้มีผู้ช่วยคนพิการตามระเบียบที่คณะกรรมการ กำาหนด (๕) การช่วยเหลือเรื่องอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการกำาหนด ๑๒. สิท ธิข องคนพิก ารที่จ ะได้ร ับ การลดหย่อ นภาษีห รือ ยกเว้น ภาษี สิทธิดังกล่าวนี้บัญญัติรับรองไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ วรรคห้า และมี การจัดทำา (ร่าง) กฎกระทรวง (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... ออกตามความใน ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร และ (ร่าง) ประกาศอธิบดี กรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่...) เรื่อง กำาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำาหรับผู้มีเงินได้ที่เป็น คนพิการซึ่งมีอายุไม่เกิน ๖๕ ปี เป็นผู้อยู่อาศัยในประเทศไทย และมี บัตรประจำาตัวคนพิการในปีภาษีที่ได้รับ ซึ่งมีสาระสำาคัญดังต่อไปนี้ ๑๒.๑ ยกเว้นภาษีเงินได้ให้กับคนพิการที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ - เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย คือ เป็นผู้ที่อยู่ในประเทศไทยถึงหนึ่ง ร้อยแปดสิบวันในปีภาษีนั้น - มีบัตรประจำาตัวคนพิการ - ได้รับยกเว้นภาษีสำาหรับเงินได้ส่วนที่ไม่เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่น บาท ๑๒.๒ ผู้มีเงินได้ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ดังกล่าวข้างต้นต้อง แสดงรายการเงินได้และจำานวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นั้น พร้อมแนบสำาเนาบัตรประจำาตัวคนพิการในการยื่นแบบแสดงรายการ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ๒ . ขั้น ตอน วิธ ีก ารและเงื่อ นไขในการรับ สิท ธิ ประโยชน์แ ละ สวัส ดิก ารเฉพาะของคนพิก าร
  • 15. พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้กำาหนดสิทธิประโยชน์สำาหรับคนพิการไว้หลายประการดังที่ ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งเพื่อประโยชน์ในการได้รับสิทธิดังกล่าวคน พิการควรยื่นคำาขอมีบัตรประจำาตัวคนพิการ1 เพื่อความสะดวกและใช้ เป็นหลักฐานในการขอรับสิทธิประโยชน์ตามที่กฎหมายกำาหนดให้แก่ คนพิการ ซึ่งการยื่นคำาขอมีบัตรประจำาตัวคนพิการและการออกบัตร การกำาหนดสิทธิหรือการเปลี่ยนแปลงสิทธิ การขอสละสิทธิของคนพิการ และอายุบัตรประจำาตัวคนพิการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและ เงื่อนไขที่คณะกรรรมการกำาหนดในระเบียบ ซึ่งในประเด็นนี้ได้มีการจัด ทำา (ร่าง) ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคน พิการแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับบัตร ประจำาตัวคนพิการ พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำาคัญดังนี้ (๑) สถานที่ยื่นคำาขอมีบัตรประจำาตัวคนพิการ - คนพิการซึ่งอยู่ในกรุงเทพมหานคร อาจยื่นคำาขอมีบัตรประจำาตัว คนพิการต่อสำานักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ หรือหน่วยงานภาครัฐอื่นตามที่เลขาธิการประกาศกำาหนด - ในจังหวัดอื่น อาจยื่นต่อสำานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์จังหวัด หรือหน่วยงานภาครัฐอื่นตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัด ประกาศกำาหนด (๒) อายุการใช้งานบัตรประจำาตัวคนพิการ : ให้บัตรประจำาตัวคน พิการมีอายุหกปีนับแต่วันที่ออกบัตร (๓) กรณีคนพิการที่ยื่นคำาขอมีบัตรประจำาตัวคนพิการ เป็นผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถหรือคนไร้ความสามารถ หรือกรณีมีสภาพ ความพิการถึงขั้นไม่สามารถไปยื่นคำาขอด้วยตนเองให้ผู้ปกครอง ผู้ 1 มาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการได้รับสิทธิตามมาตรา ๒๐ คนพิการอาจยื่น คำาขอมีบัตรประจำาตัวคนพิการต่อนายทะเบียนกลางหรือนายทะเบียนจังหวัด ณ สำานักงานทะเบียนกลาง สำานักงานทะเบียนจังหวัด หรือสถานที่อื่นตามระเบียบที่ คณะกรรมการกำาหนด ในกรณีที่คนพิการเป็นผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถหรือคนไร้ความ สามารถ หรือในกรณีที่คนพิการมีสภาพความพิการถึงขั้นไม่สามารถไปยื่นคำาขอ ด้วยตนเอง ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาลหรือผู้ดูแลคนพิการ แล้วแต่กรณี จะยื่น คำาขอแทนก็ได้ แต่ต้องนำาหลักฐานว่าเป็นคนพิการไปแสดงต่อนายทะเบียนกลาง หรือนายทะเบียนจังหวัด แล้วแต่กรณีด้วย การยื่นคำาขอมีบัตรประจำาตัวคนพิการและการออกบัตร การกำาหนดสิทธิ หรือการเปลี่ยนแปลงสิทธิ การขอสละสิทธิของคนพิการ และอายุบัตรประจำาตัวคน พิการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรรมการกำาหนดใน ระเบียบ
  • 16. พิทักษ์ ผูอนุบาล หรือผู้ดูแลคนพิการ แล้วแต่กรณี จะยื่นคำาขอแทนก็ได้ ้ (๔) หลักฐานการยื่นขอมีบัตรประจำาตัวคนพิการ - สำาเนาบัตรประจำาตัวประชาชน หรือสำาเนาบัตรประจำาตัว ข้าราชการ หรือสำาเนาสูติบัตรของคนพิการ - สำาเนาทะเบียนบ้าน (ทร.๑๔) ของคนพิการ - รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว ถ่ายมาแล้วไม่เกิน ๖ เดือน จำานวน ๒ รูป - ใบรับรองความพิการหรือใบรับรองแพทย์ที่รับรองโดยผู้ประกอบ วิชาชีพเวชกรรมของสถานพยาบาลของรัฐ หรือสถานพยาบาลเอกชนที่ เลขาธิการประกาศกำาหนด เว้นแต่กรณีสภาพความพิการที่สามารถเห็น ได้โดยประจักษ์จะไม่ต้องมีเอกสารรับรองความพิการหรือใบรับรอง แพทย์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เลขาธิการประกาศกำาหนดแบบและรายละเอียดใน การปฏิบัติ ในกรณีบุคคลอื่นยื่นคำาขอแทนคนพิการให้นำาสำาเนาบัตรประจำา ตัวประชาชน หรือสำาเนาทะเบียนบ้านของบุคคลนั้น และหลักฐานอื่นที่ แสดงให้เห็นว่าได้รับมอบอำานาจจากคนพิการหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับคน พิการเนื่องจากเป็นผู้ปกครอง ผูพิทักษ์ ผูอนุบาล หรือผู้ดูแลคนพิการ ้ ้ (๕) ในกรณีบัตรประจำาตัวคนพิการหมดอายุ ชำารุด สูญหาย หรือมี การเปลี่ยนแปลงในสาระสำาคัญเกี่ยวกับคนพิการ ให้ยื่นคำาขอต่อนาย ทะเบียน เพื่อขอมีบัตรประจำาตัวคนพิการใหม่ทั้งนี้ ให้นำาเอกสารหลัก ฐาน ไปประกอบการพิจารณาด้วย ในกรณีคนพิการที่มีบัตรประจำาตัวคนพิการถึงแก่ความตาย หรือ ได้รับการแก้ไขฟื้นฟูจนไม่มีสภาพความพิการ หรือมีความประสงค์จะ ยกเลิกการมีบัตรประจำาตัวคนพิการ ให้แจ้งต่อนายทะเบียนเพื่อจำาหน่าย ออกจากทะเบียนบัตรประจำาตัวคนพิการต่อไป บทที่ ๒ สิท ธิป ระโยชน์ซ ึ่ง พ.ร.บ. ส่ง เสริม และพัฒ นาคุณ ภาพชีว ิต คน พิก าร พ.ศ. ๒๕๕๐ และพ.ร.บ. การจัด การศึก ษาสำา หรับ คน พิก าร พ.ศ. 2551 ได้บ ัญ ญัต ิร ับ รองและคุ้ม ครองให้ก ับ ผู้ด ูแ ลคน พิก าร ผู้ช ่ว ยคนพิก าร ครูแ ละคณาจารย์ สถานศึก ษาที่จ ัด การ ศึก ษาให้แ ก่ค นพิก าร และองค์ก รเอกชน
  • 17. พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และพ.ร.บ. การจัดการศึกษาสำาหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 มิได้ กำาหนดสิทธิ ประโยชน์ และสวัสดิการต่างๆ ให้เฉพาะแต่คนพิการ เท่านั้น แต่ยังมีบทบัญญัติให้สิทธิประโยชน์แก่บุคคลอื่นที่มิใช่คนพิการ แต่เป็นบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคนพิการด้วย บุคคลและ หน่วยงานดังกล่าว ได้แก่ ผูดูแลคนพิการ ผู้ช่วยคนพิการ ครูและ ้ คณาจารย์ สถานศึกษาที่จัดการศึกษาสำาหรับคนพิการ และองค์กร เอกชน ดังนั้น ในบทที่ ๒ นี้ จะได้อธิบายถึงสิทธิประโยชน์ของผู้ดูแล คนพิการ ผู้ช่วยคนพิการ ครูและคณาจารย์ สถานศึกษาที่จัดการศึกษา สำาหรับคนพิการ และองค์กรเอกชน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และพระราชบัญญัติการจัดการศึกษา สำาหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ รวมทั้งตามอนุบัญญัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งออกโดยอาศัยอำานาจตามพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยแบ่งเป็น ๕ หัวข้อดังนี้ ๑. สิทธิประโยชน์ของผู้ดูแลคนพิการ ๒. สิทธิประโยชน์ของผู้ช่วยคนพิการ ๓. สิทธิประโยชน์ขององค์กรเอกชน ๔. สิทธิประโยชน์ของครูและคณาจารย์ ๕. สิทธิประโยชน์ของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาสำาหรับคนพิการ ๑ . สิท ธิป ระโยชน์ข องผู้ด ูแ ลคนพิก าร พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้บัญญัติสิทธิของผู้ดูแลคนพิการไว้ ๒ ประการ ได้แก่ ๑ .๑ สิท ธิไ ด้ร ับ บริก ารให้ป รึก ษา แนะนำา ฝึก อบรมทัก ษะ การเลี้ย งดู การจัด การศึก ษา การส่ง เสริม อาชีพ และการมีง าน ทำา ตลอดจนความช่ว ยเหลือ อื่น ใดเพื่อ ให้พ ึ่ง ตนเองได้ สิทธิของผู้ดูแลคนพิการประการแรกนี้เป็นสิทธิตามพระราช บัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ วรรคสี่2 และได้มีการจัดทำา (ร่าง) ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริม 2 มาตรา ๒๐ วรรค ๔ ผู้ดูแลคนพิการมีสิทธิได้รับบริการให้ปรึกษา แนะนำา ฝึก อบรมทักษะ การเลี้ยงดู การจัดการศึกษา การส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำา ตลอดจนความช่วยเหลืออื่นใดเพื่อให้พึ่งตนเองได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
  • 18. และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ ให้ความช่วยเหลือผู้ดูแลคนพิการ พ.ศ. .... เพื่อกำาหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับสิทธิดังกล่าว โดยมีสาระสำาคัญดังต่อไปนี้ (๑) “ผู้ดูแลคนพิการ” หมายถึง บิดา มารดา บุตร สามี ภรรยา ญาติ พี่น้อง หรือบุคคลอื่นใดที่รับดูแลหรืออุปการะคนพิการ (๒) คุณสมบัติของผู้ดูแลคนพิการที่มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือ - เป็นผู้ดูแลคนพิการโดยตรงและคนพิการนั้นมีบัตรประจำาตัวคน พิการ - ได้รับความเดือดร้อนหรือยากลำาบากเนื่องจากต้องดูแลคนพิการ - มีภูมิลำาเนาหรือถิ่นที่อยู่ในท้องที่ยื่นคำาขอ - ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นหรือได้รับแต่ไม่เพียง พอ (๓) สถานที่ที่ผู้ดูแลคนพิการสามารถยื่นคำาขอใช้สิทธิ ได้แก่ - ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำาขอต่อกรมพัฒนาสังคมและ สวัสดิการ หรือสถานที่อื่นตามที่อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ประกาศกำาหนด - ในท้องที่จังหวัดอื่น ให้ยื่นคำาขอต่อสำานักงานพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหรือทีหน่วยบริการในพื้นที่ ่ (๔) เอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำาขอใช้สิทธิ - สำาเนาบัตรประชาชนของผู้ดูแลคนพิการ - สำาเนาบัตรประจำาตัวคนพิการ - สำาเนาทะเบียนบ้านของผู้ดูแลคนพิการและคนพิการ - ได้รับการรับรองเป็นหนังสือจากผู้แทนองค์กรด้านคนพิการ กำานันผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผู้นั้นมีภูมิลำาเนา ข้าราชการระดับ ๓ หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือมีหลักฐานเชื่อได้ว่าเป็นผู้ อุปการะเลี้ยงดูคนพิการ (๕) ความช่วยเหลือที่ผู้ดูแลคนพิการมีสิทธิได้รับ (๕.๑) การบริการให้คำาปรึกษา แนะนำา ฝึกอบรมทักษะการ เลี้ยงดูคนพิการให้ได้มาตรฐานตามหลักวิชาการและวิชาชีพ (๕.๒) การจัดการศึกษาโดยส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนา ทักษะเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (๕.๓) การส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำาโดยการส่งเสริม การประกอบอาชีพอิสระ การทำางานในสถานประกอบการ การฝึก อาชีพ การสนับสนุนเงินทุนประกอบอาชีพ การมีงานทำาการให้ สัมปทานหรือสถานที่จำาหน่ายสินค้า การจัดจ้างแบบเหมางานและ คณะกรรมการกำาหนดในระเบียบ
  • 19. อื่นๆ (๕.๔) การให้ความช่วยเหลืออื่นๆ เพื่อประโยชน์ในการส่ง เสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามที่คณะกรรมการกำาหนด ๑ .๒ สิท ธิไ ด้ร ับ ลดหย่อ นหรือ ยกเว้น ภาษี สิทธิสำาหรับผู้ดูแลคนพิการ ประการที่สองนี้ เป็นสิทธิที่พระราช บัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้ บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๐ วรรคห้า3 และได้มีการจัดทำา (ร่าง) พระราช บัญญัติแก้ไขประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... และ (ร่าง) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่...) เรื่อง กำาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการหักลดหย่อนค่าอุปการะ เลี้ยงดูคนพิการของผู้มีเงินได้ รวมทั้ง การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยง ดูคนพิการของผู้ดูแลคนพิการ ตามมาตรา ๔๗ (๑) (ฎ) แห่งประมวล รัษฎากร เพื่อกำาหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการหักลดหย่อนภาษีสำาหรับผู้ ดูแลคนพิการ สำาหรับ (ร่าง) พระราชบัญญัติแก้ไขประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... ได้ผ่านความเห็นชอบของวุฒิสภาแล้ว โดยมีหลักการและ สาระสำาคัญ คือ กำาหนดให้ผดูแลคนพิการซึ่งเป็นผู้มีเงินได้มีสิทธิหักค่า ู้ ลดหย่อนภาษีได้ ๖๐,๐๐๐ บาท เมื่อคนพิการที่ผู้มีเงินได้เลี้ยงดูเป็นบิดา มารดา สามีหรือภริยา บุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมของผู้มี เงินได้ รวมทั้ง บิดามารดาหรือบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยา ของผู้มีเงินได้ รวมถึงบุคคลที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลตามกฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ๒ . สิท ธิป ระโยชน์ข องผู้ช ่ว ยคนพิก าร พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ วรรคสอง4 กำาหนดให้ผู้ช่วยคนพิการให้มีสิทธิได้รับ การลดหย่อนหรือยกเว้นค่าบริการ ค่าธรรมเนียม ตามระเบียบที่คณะ กรรมการกำาหนด จึงได้มีการจัดทำา (ร่าง) ร่างระเบียบคณะกรรมการส่ง 3 มาตรา ๒๐ วรรคห้า คนพิการและผู้ดูแลคนพิการมีสิทธิได้รับการลดหย่อน ภาษีหรือยกเว้นภาษี ตามที่กฎหมายกำาหนด 4 มาตรา ๒๐ วรรคสอง ผู้ช่วยคนพิการให้มีสิทธิได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้น ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำาหนด
  • 20. เสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วย สิทธิของผู้ช่วย คนพิการในการได้รับลดหย่อนค่าบริการค่าธรรมเนียมในการเดินทาง หรือเข้าสถานที่ พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำาคัญดังต่อไปนี้ (๑) ให้ผู้ช่วยคนพิการมีสิทธิได้รับการลดหย่อนค่าบริการ หรือ ค่าธรรมเนียมในการใช้บริการการเดินทางหรือใช้บริการสถานที่ คนละ ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของราคารวมของค่าบริการหรือค่าธรรมเนียม นั้น โดยผู้ช่วยคนพิการผู้นั้นต้องใช้บริการในการเดินทางหรือใช้ บริการสถานที่พร้อมกับคนพิการ และ เป็นไปเพื่อประโยชน์ของคน พิการโดยแท้ (๒) ให้หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ออกใบอนุญาต ควบคุม กำากับ ดูแล การกำาหนดค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมในการใช้บริการการเดิน ทางหรือใช้บริการสถานที่ ออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือประกาศอื่นใด เพื่อกำาหนดการลดหย่อนค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมดังกล่าว ๓ . สิท ธิป ระโยชน์ข ององค์ก รเอกชน พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้กำาหนดสิทธิประโยชน์ให้แก่องค์กรเอกชนที่ได้ให้ความช่วย เหลือแก่คนพิการไว้ ๒ ประการ ดังนี้ ๓.๑ สิท ธิป ระโยชน์ส ำา หรับ สถานสงเคราะห์เ อกชนซึ่ง จัด ที่ อยู่อ าศัย และสวัส ดิก ารให้แ ก่ค นพิก ารที่ไ ม่ม ีผ ู้ด ูแ ลคนพิก าร พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ วรรคสาม5 กำาหนดให้กรณีที่มีสถานสงเคราะห์ เอกชนจัดที่อยู่อาศัยและสวัสดิการให้แก่คนพิการ รัฐต้องจัดเงินอุดหนุน ให้แก่สถานสงเคราะห์เอกชนนั้น โดยได้มีการจัดทำาร่างระเบียบคณะ กรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วยหลัก เกณฑ์และวิธีการจัดสวัสดิการให้แก่คนพิการที่ไม่มีผู้ดูแล พ.ศ. .... ซึ่ง มีสาระสำาคัญเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์สำาหรับสถานสงเคราะห์เอกชนดังนี้ (๑) สถานสงเคราะห์เอกชน ที่ เป็ นผู้ จัด สวั สดิ การด้ านที่อ ยู่ อ าศั ย หรือการเลี้ยงดูคนพิการ อาจยื่นคำาขอรับเงินอุดหนุนตามระเบียบนี้ได้ (๒) คุณสมบัติของสถานสงเคราะห์เอกชนที่ยื่นขอรับเงินอุดหนุน 5 มาตรา ๒๐ วรรคสาม คนพิการที่ไม่มีผู้ดูแลคนพิการ มีสิทธิได้รับการจัด สวัสดิการด้านที่อยู่อาศัยและการเลี้ยงดูจากหน่วยงานของรัฐ ในกรณีที่มีสถาน สงเคราะห์เอกชนจัดที่อยู่อาศัยและสวัสดิการให้แล้ว รัฐต้องจัดเงินอุดหนุนให้แก่ สถานสงเคราะห์เอกชนนั้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำาหนดใน ระเบียบ