SlideShare a Scribd company logo
1 of 33
สเกตช์ภาพเหมือน เลโอนาร์โด ดาวินชี ในวัยชรา ไม่แน่ใจว่าเขียนเอง หรือลูกศิษย์เป็นคนวาด   “ ... บางครั้ง สวรรค์ประทานพรเลอเลิศแก่คนคนหนึ่งอย่างล้นหลาม จนเบียดบังรัศมีผู้อื่นเสียสิ้น ...  เราเห็นปรากฏการณ์นี้ในตัว เลโอนาร์โด ดาวินชี ”    จีออร์จีโอ วาซารี ผู้เขียนชีวประวัติ เลโอนาร์โด ดาวินชี ค . ศ .  ๑๕๕๐  เลโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci)
เลโอนาร์โด ดาวินชี  (Leonardo da Vinci)   เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๕ เมษายน ค . ศ .  ๑๔๕๒ เวลา ๓ นาฬิกา ตอนเช้ามืด ที่เมืองวินชี ไม่ไกลจากกรุงฟลอเรนซ์ ในแคว้นทัสคานี อิตาลีตอนเหนือ เป็นลูกนอกสมรสของผู้ตรวจสอบเอกสารทางกฎหมายนาม เซร์ ปิเอโร ดี อันโทนีโอ  ( ser Piero di Antonio)  กับหญิงชาวนานามคาเทรีนา  ( Caterina)  ไม่ทราบสกุล ชื่อเต็มยศจึงได้แก่  เลโอนาร์โด  ดี เซร์ ปิเอโร ดาวินชี แปลว่า คุณสิงห์ ลูกนายปิเอโร จากเมืองวินชี  เพียงไม่กี่เดือนหลังเลโอนาร์โดเกิด  เซร์ ปิเอโร ก็แต่งงานกับ อัลบิเอรา อามาโดรี  ( Albiera Amadori)  หญิงชนชั้นกระฎุมพีมีสตางค์ สถานะคู่ควรกับตระกูลข้าราชการเก่าแก่ของ เซร์ ปิเอโร และคาเทรีนาก็จำต้องเลียแผลหัวใจ แต่งงานไปกับชายชาวนาละแวกบ้านแถวนั้น จนเลโอนาร์โดมีอายุได้ ๕ ขวบ พ่อก็เอาตัวไปอยู่ด้วย ให้แม่เลี้ยงซึ่งในตอนนั้นยังไม่มีลูกของตัวเองได้เลี้ยงเป็นลูก อย่างไรก็ตาม ที่สุดแล้วทั้งพ่อและแม่เลโอนาร์โดก็มีลูกกับคนอื่นในเวลาต่อมาอีกมากมาย จนรวมแล้ว เลโอนาร์โดมีพี่น้องต่างบิดามารดาถึง ๑๗ คน  เลโอนาร์โดจึงเติบโตมาในบ้านใหญ่แสนอบอุ่น พร้อมด้วยปู่ย่า และลุงที่ดูจะรักเขามากเป็นพิเศษจนทิ้งส่วนแบ่งมรดกไว้ให้ ความสัมพันธ์กับนางคาเทรีนา แม่แท้ ๆ ก็เข้าใจว่าคงจะดี เพราะตอนโตแล้ว เลโอนาร์โด ก็รับแม่มาอยู่ด้วย ชีวิตวัยเด็กของเลโอนาร์โดจึงไม่ลำบากมากนัก ในสมัยที่เลโอนาร์โดเป็นเด็กและหนุ่มน้อย เหล่าปัญญาชนฮิวแมนนิสต์ทั้งหลายจึงมุ่งศึกษาหาปัญญาจากตำรับตำราโรมัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปรมาจารย์กรีกรุ่นเดอะอย่างเพลโตและอริสโตเติลเป็นหลัก ลูกคนกิ๊บเก๋มีคลาสจึงต้องเรียนภาษาละติน และถ้าเก๋มาก ๆ ก็เรียนกรีกด้วย แต่แม้ว่าพ่อจะหาครูบาทหลวงมาสอนภาษาละตินโบราณให้ เลโอนาร์โดก็ไม่ยอมเรียนหนังสือในห้องสมุดทึม ๆ กลับหันไปค้นหา  “ ความจริง ”  จากธรรมชาติรอบตัว และชอบนั่งจ้อกับเหล่าชาวนาอารมณ์ดีใต้ต้นไม้กลางแดดหอมอุ่นแสงใสของแคว้น ทัสคานี เขาจะคอยจดตำนาน เรื่องเล่า สุภาษิต ความเชื่อ คำพังเพย ภูมิปัญญาต่าง ๆ ของชาวนาเก็บไว้มากมาย
ภาพสเกตช์ด้วยหมึก แสดงภูมิประเทศลุ่มน้ำอาร์โน บ้านเกิดเลโอนาร์โด ที่เขาเดินศึกษาธรรมชาติจนทะลุปรุโปร่ง เขียนในปี ค . ศ .  ๑๔๗๓ เมื่ออายุ ๒๑ ปี   เด็กชายเลโอนาร์โดใช้เวลานาน ๆ ทุกวันคลุกคลีอยู่กับธรรมชาติรอบบ้านเกิด วินชีเป็นเมืองเล็กข้างเขาที่แทบจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเลยตลอด ๕ ศตวรรษครึ่งที่ผ่านมาจวบจนวันนี้ มันเป็นเมืองชนบท บ้านสร้างด้วยหินเรียงเป็นก้อน ๆ ล้อมรอบไปด้วยไร่นาอุดมสมบูรณ์ ตามเนินเขาที่ดอนก็เต็มไปด้วยสวนองุ่น สวนผลไม้ และมีดงต้นมะกอกที่มีหลังใบสีเงินว็อบแว็บขึ้นกระจัดกระจายไปทั่ว มีเขาอัลบาโนตั้งตระหง่านอยู่ใกล้ ๆ เป็นต้นน้ำของลำธารกะรุกกะริกหลายสายที่ไหลผ่านเมืองวินชีสู่หุบลุ่มน้ำอาร์โน แม้ว่าครอบครัวจะอบอุ่น แต่เลโอนาร์โดก็เป็นเด็กรักสันโดษที่ชอบใช้เวลาอยู่เงียบ ๆ คนเดียว เขาชอบไปเดินเล่นไกล ๆ สอดส่องเฝ้ามองดอกไม้ นก แมลง ฯลฯ จนไม่มีนักประวัติศาสตร์คนใดแน่ใจว่าเด็กชายเลโอนาร์โดมีครูเป็นตัวเป็นตนแค่ไหนอย่างไรบ้าง นอกเหนือไปจากธรรมชาติซึ่งเขาจำกัดความไว้ในสมุดบันทึกว่าเป็น  “ เหตุผลบริสุทธิ์ ”  ของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งปวง  “ ในธรรมชาติ ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุ ถ้าเราเข้าใจในเหตุ เราก็ไม่จำเป็นต้องผ่านประสบการณ์นั้น ๆ เอง ”
ศิลปินดาวรุ่งแห่งกรุงฟลอเรนซ์  เซร์ ปิเอโร พ่อของเลโอนาร์โด คงจะเฝ้าสังเกตพรสวรรค์ของลูกชายมาโดยตลอด มีตำนานเล่ากันว่า เมื่อเลโอนาร์โดเริ่มเป็นวัยรุ่น ชาวนาคนหนึ่งฝากโล่ไม้มะเดื่อทรงกลมให้ เซร์ ปิเอโร เอาไปให้ช่างในกรุงฟลอเรนซ์วาดภาพประดับให้ เซร์ ปิเอโร จึงกลับบ้านมาวานให้เลโอนาร์โดวาด ตามประสาวัยรุ่น เลโอนาร์โดคงคิดว่ามันจะเท่มากถ้าวาดภาพสยดสยองสุดหลอน เขาเลยวาดหัวสัตว์ประหลาดพ่นควันพิษ เพียบพร้อมไปด้วยสัตว์ที่คนกลัวและขยะแขยง อย่างกิ้งก่า ค้างคาว และหนอนแมลงวัน เลโอนาร์โดมัวแต่มุ่งวาดภาพจนไม่ทันสังเกตเห็นว่า บรรดาซากสัตว์ที่เขาเก็บมาเป็นแบบเริ่มเน่า ส่งกลิ่นอบอวลเต็มห้อง และเขาก็วาดมันไปทั้งเน่า อย่างนั้น จนเมื่อให้พ่อดู เซร์ ปิเอโร ถึงกับตกใจในความเหมือนจริงของซากสัตว์บนโล่ แทนที่จะคืนโล่อันนี้แก่ชาวนา เซร์ ปิเอโร กลับไปซื้อโล่สำเร็จรูปเขียนลายหัวใจมีลูกศรเสียบในตลาดให้ชาวนา แล้วแอบเอาโล่ที่ลูกชายวาดไปทดลองขายให้แก่พ่อค้าในเมืองฟลอเรนซ์ ซึ่งขายต่อให้แก่ท่านดยุคแห่งกรุงมิลานไปในราคา ๑๐๐ ดูแก็ต   เซร์ ปิเอโร ก็เริ่มคิดถึงอาชีพของลูกชายอย่างจริงจัง และคิดว่าเลโอนาร์โดน่าจะเป็นศิลปิน  เมื่อเลโอนาร์โดอายุได้ราว ๑๗ ปี เซร์ ปิเอโร จึงเอาตัวอย่างภาพสเกตช์ของลูกชายไปให้เพื่อนสนิทดู คือ อันเดรีย เดล เวร์รอกชีโอ  (Andrea del Verrocchio,  ๑๔๓๕ - ๑๔๘๘ )  ซึ่งเป็นศิลปินและนักออกแบบมีชื่อในเมืองฟลอเรนซ์ เพื่อให้เวร์รอกชีโอช่วยวิจารณ์และประเมินดูว่าเลโอนาร์โดพอจะฝึกงานออกแบบยึดเป็นอาชีพเลี้ยงปากท้องได้หรือไม่ ว่ากันว่า เมื่อเวร์รอกชีโอเห็นตัวอย่างงานของเลโอนาร์โด เขาถึงกับตะลึงงัน และรบเร้าให้ปิเอโรพาลูกมาฝึกงานที่สตูดิโอ
ปรกติ เด็กฝึกงานในสมัยนั้นต้องทำหน้าที่สารพัดเบ๊ในสตูดิโอเป็นเวลาหลายปี ก่อนได้รับอนุญาตให้จับพู่กันช่วยเขียนรูป เริ่มตั้งแต่บดผงสี นวดดิน ฯลฯ ให้ครูและรุ่นพี่ เป็นนานกว่าจะได้ช่วยระบายสีฉากหลังและองค์ประกอบเล็ก ๆ ที่ไม่สำคัญ แต่เลโอนาร์โดฝึกงานเพียงไม่นาน เวร์รอกชีโอ ก็ให้ช่วยเขียนภาพให้ลูกค้าแล้ว จนเมื่อเลโอนาร์โดมีอายุได้ ๒๐ ปี เวร์รอกชีโอก็ให้ช่วยเขียนภาพจอห์นเดอะแบปทิสต์รดน้ำดำหัวพระเยซู  ( The Baptism of Christ)  โดยเวร์รอกชีโอเป็นผู้ออกแบบภาพ เขียนตัวละครและองค์ประกอบหลักๆ ให้เลโอนาร์โดเขียนวิวฉากหลังสุด เขียนตัวนางฟ้าถือผ้า และแต่งเติมตัวพระเยซูที่วาดไว้เกือบเสร็จแล้ว  ปรากฏว่าภาพส่วนที่เลโอนาร์โดวาด ฝีมือดีละเอียดอ่อนกว่าที่เวร์รอกชีโอวาดอย่างเห็นได้ชัด ว่ากันว่า เมื่อเวร์รอกชีโอเห็นฝีมือของศิษย์ เขาถึงกับลั่นวาจาเลิกจับพู่กันระบายสีอีกต่อไป เรื่องนี้จริงแท้แค่ไหนเราไม่รู้ รู้แต่ว่า หลังจากภาพนี้ เวร์รอกชีโอแทบจะทำแต่งานประติมากรรม   ภาพ  The Baptism of Christ  ( ๑๔๗๐ - ๑๔๗๒ )  ที่เลโอนาร์โดช่วยเวร์รอกชีโอวาดวิวฉากหลังสุด ตัวนางฟ้าถือผ้า และแต่งเติมตัวพระเยซูที่เวร์รอกชีโอวาดไว้ เห็นได้ชัดว่าฝีมือเลโอนาร์โดนุ่มเนียนกว่าฝีแปรงแข็งๆ ของเวร์รอกชีโอมากนัก
ทุกเรื่องที่เขาศึกษา เขาจะปรับใหม่ให้สอดคล้องกับความคิดของตัวเอง ไม่เคยโอนอ่อนไปตามกระแสแฟชั่นหรือการเมือง เลโอนาร์โดเชื่อในพระเจ้า แต่เป็นพระเจ้าในธรรมชาติ แม่ผู้สร้างสรรค์สรรพสิ่ง  ( mother nature)  ไม่ใช่พระเจ้าในคัมภีร์ไบเบิล ขนาดที่นักประวัติศาสตร์ในยุคสมัยเดียวกันยังมองว่าเขาเป็นนักปรัชญามากกว่าเป็นคริสตัง เลโอนาร์โดเห็นพ้องบ้างกับปราชญ์กรีกยุคคลาสสิกอย่างเพลโต และโดยเฉพาะอริสโตเติลซึ่งเป็นนักนิยมธรรมชาติเหมือนเขา แต่ก็ไม่ได้เห็นด้วยทั้งหมด เขาได้แนวคิดมากมายจากกระแสมนุษยนิยม แต่เขาก็คิดต่างมากมายเช่นกัน เพราะเขาจะเอาความคิดเหล่านั้นมาเปรียบเทียบกับข้อสังเกตในธรรมชาติของตัวเอง อย่างไรก็ตาม ปราชญ์โบราณที่ปัญญาชนสายมนุษยนิยมหยิบยกปัดฝุ่นขึ้นมาศึกษาบางคน เช่น อาร์คิมีดิส ก็จุดประกายความคิดเลโอนาร์โดเป็นอย่างมาก จนเขาพยายามฮึดเรียนภาษาละติน ๒ - ๓ ครั้ง แต่ก็ไม่เคยทนเรียนได้สำเร็จ ความไม่รู้ภาษาละตินจึงกลายเป็นปมด้อยเล็ก ๆ ของเลโอนาร์โด   การแต่งตัวของเขาก็เป็นเอกลักษณ์ ในขณะที่ผู้ชายสมัยนั้นนิยมใส่ชุดคลุมยาวสีขรึม เลโอนาร์โดกลับใส่ชุดสั้นแค่เข่า ผ้าเนื้อดีสีกุหลาบชมพูอมส้ม รับกับใบหน้าหล่อเหลา ผมทองดกยาว ตาสีฟ้า โก้เก๋ด้วยร่างสูงผอมแข็งแรง และจริตกิริยาที่สง่างาม มีเสน่ห์ เป็นคนนิ่ง อ่อนโยน เก็บอารมณ์ ไม่เคยแสดงอาการเกรี้ยวกราดกับใคร ไม่น่าเชื่อว่าสรรพคุณเริ่ดขนาดนี้ แต่กลับไม่ค่อยมีใครหมั่นไส้ มีแต่นับถือและชื่นชม เลโอนาร์โดรักสัตว์มาก เขาเป็นมังสวิรัติมาแต่เด็ก ในยุคสมัยที่คนทั่วไปไม่คิดจะเป็นกัน ในขณะที่พวกฮิวแมนนิสต์เห็นความเป็นเลิศในมนุษยชาติเหนือธรรมชาติและสัตว์อื่นๆ ส่วนศาสนจักรก็เห็นสรรพสัตว์เป็นเพียงบริวารรับใช้ความต้องการของมนุษย์ที่พระเจ้าสร้างไว้ให้ เลโอนาร์โดกลับเห็นความ  “ เหนือสัตว์ ”  ของมนุษย์ในแง่มุมที่ต่างออกไปว่า  “ โดยแท้จริง มนุษย์คือราชาแห่งบรรดาสัตว์เดรัจฉาน เพราะความโหดเหี้ยมทารุณของเขามีมากกว่าพวกมัน เราดำรงชีวิตด้วยความตายของชีวิตอื่น ๆ เราจึงเป็นป่าช้าฝังศพ ”  อาหารประจำของเลโอนาร์โดจะประกอบไปด้วยขนมปัง เห็ด ผัก ผลไม้ และไวน์ แม้แต่นมก็ไม่ยอม  “ ขโมย ”  มาจากวัว เพราะจะเป็นการแย่งอาหารสำคัญไปจากเด็กเล็ก ๆ ซึ่งต้องการนมมากกว่าผู้ใหญ่  ( สมัยนั้นยังไม่มีอุตสาหกรรมอาหารใหญ่โตอย่างในวันนี้ )  ไข่ไก่ก็ไม่กิน เพราะ  “ โอ  !  จะมีสักกี่ชีวิตที่จะไม่ได้เกิด ”
แม้ว่าหลักฐานชีวิตวัยเด็กของ เลโอนาร์โด ดาวินชี จะมีอยู่เพียงกะหร็อมกะแหร็ม แต่เรารู้ว่าอุปนิสัยและจริตต่าง ๆ ที่เราเห็นเป็นเอกลักษณ์ส่วนตัวของเลโอนาร์โดได้พัฒนาเป็นรูปเป็นร่างแล้วเมื่อเลโอนาร์โดมีอายุเพียง ๒๑ ปี ซึ่งรวมถึงการเขียนบันทึกกลับทางจากขวาไปซ้าย เหมือนภาพสะท้อนกระจกเงา การศึกษาภูมิทัศน์ด้วยมุมมองจากที่สูง ซึ่งเขาเริ่มด้วยการสำรวจจากเขาอัลบาโนข้างบ้านเกิด การวาดภาพสิ่งที่อยู่ไกล ซึ่งจะออกเบลอและเป็นสีฟ้า ด้วยการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแสงกับบรรยากาศ ที่เรียกว่า  “ สฟูมาโต ”  (sfumato)  และการวาดสเกตช์ด้วยเส้นง่าย ๆ ที่จับความรู้สึกและเอกลักษณ์ของสิ่งที่วาด ซึ่งออกจะเดิร์นเอามาก ๆ ไม่เห็นมีใครในละแวกนั้นทำกันมาก่อน จนทุกวันนี้ก็ยังดูได้ไม่เบื่อเลย   เลโอนาร์โดชอบไปเดินตลาดเป็นกิจวัตร และชอบซื้อนกที่คนจับมาขาย ทั้ง ๆ ที่เขาไม่ค่อยมีสตางค์ เมื่อจ่ายเงินเสร็จสรรพ เขาก็จะเปิดกรง ปล่อยนกให้บินหนีไปในทันที ท่ามกลางความตื่นตะลึงของคนทั้งตลาด พลางหัวเราะด้วยความเบิกบาน บางทีก็เป็นสัตว์อื่น อย่างแมวหรือหมา เขาเชื่อว่า  “ ไม่มีใครมีสิทธิ์ที่จะกักขังชีวิตอื่น โดยขาดกระบวนการพิจารณาและเหตุผลอันควร ไม่ว่าชีวิตนั้นจะเป็นคนหรือเป็นสัตว์ พระเจ้าให้อิสรภาพแก่ทุกชีวิต ไม่มีใครฉกฉวยพรนี้ไปได้ ”  ๕๕๐ ปีก่อน ความคิดแบบนี้ไม่ใช่แนวคิดธรรมดา  ที่น่าคิด คือ แม้เลโอนาร์โดจะมีพฤติกรรมไม่ธรรมดา เป็นตัวของตัวเองที่ปรกติสังคมสมัยนั้นจะไม่ค่อยยอมรับ แต่เขากลับได้รับการยอมรับ เช่น ไม่พยายามปกปิดว่าถนัดซ้าย แม้จะใช้มือขวาได้คล่องก็ตาม ซึ่งในสมัยนั้น การถนัดซ้ายถือเป็นร่องรอยของซาตาน หรือการเป็นลูกนอกสมรส ปรกติจะไม่ได้รับแบปไทซ์เข้าเป็นสมาชิกในโบสถ์ของชุมชน แต่เลโอนาร์โดก็ได้รับแบปไทซ์ ปัจจัยสำคัญน่าจะเป็นบรรยากาศที่ออกแนวเป็นเสรีนิยมมากขึ้นในสังคมฮิวแมนนิสต์ยุคเรอเนซองซ์ของกรุงฟลอเรนซ์ เแต่เลโอนาร์โดก็หวิดถูกเผาทั้งเป็น จากสมุดบันทึก ศึกษาแสงและเงา
คดีซาลตาเรลลี  ปี ค . ศ .  ๑๔๗๖ นับเป็นปีมืดของเลโอนาร์โด เขาและเพื่อนร่วมงานอีก ๓ คนในโรงศิลปะของ เวร์รอกชีโอ ถูกกล่าวหาถึง ๒ ครั้งว่ามีเพศสัมพันธ์กับนายแบบอายุ ๑๗ ปี ชื่อ จาโคโป ซาลตาเรลลี ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๘ เมษายน และครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน การกล่าวหาสมัยนั้นทำกันได้ง่ายมาก เพียงเขียนข้อความนิรนามเอาไปหยอดใส่ตู้ปากสิงโตที่ตั้งไว้หน้าอาคารปาลาซโซเวกชีโอ   (Palazzo Vecchio)   เพื่อเป็นข้อมูลให้ตำรวจ  เลโอนาร์โดกับเพื่อนต้องขึ้นศาลทั้ง ๒ ครั้ง และถูกจำคุกรวมทั้งสิ้น ๒ เดือน แต่ก็ได้รับการปล่อยตัวออกมาเพราะขาดหลักฐาน และเวร์รอกชีโอ คุณครูแสนดี วิ่งเต้นช่วยเหลือ ถึงกระนั้นก็ยังถูก  “ เจ้าหน้าที่ราตรี ”  ติดตามจับตา ตามหน้าที่ที่ตั้งขึ้นมาจำเพาะเพื่อปราบปรามพวกรักร่วมเพศ เป็นการจัดระเบียบสังคม   ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นช้าไปอีกเพียงไม่กี่ปี เมื่อฟลอเรนซ์เปลี่ยนผู้ปกครองไปตกอยู่ใต้อำนาจของ จีโรลาโม ซาโวนาโรลา  ( Girolamo Savonarola)  เราคงจะไม่ได้เห็นภาพ โมนาลิซา อาหารเย็นมื้อสุดท้าย วิทรูเวียนแมน ที่กางแขนขาอยู่ในจัตุรัสและวงกลม ฯลฯ เพราะซาโวนาโรลาเป็นพระพิวริแทนคลั่งศาสนาใจแคบจอมโหด มีประวัติกรรมโด่งดังจารึกถึงคนรุ่นเราว่า เป็นนักล่า  ( ฆ่า )  แม่มดตัวสำคัญ บังเอิญหาหนังสือประวัติศาสตร์แม่มดตรงนี้ไม่เจอ แต่ถ้าจำไม่ผิดก็กว่าหมื่นคน และเผาทำลายตำราวิชาการ วรรณกรรม ภาพเขียน และ  “ ของฟุ้งเฟ้อ ”  อื่น ๆ จำนวนมาก ภายใต้การปกครองของซาโวนาโรลา ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นเกย์จะถูกเผาทั้งเป็นโดยไม่มีการอุทธรณ์  ปรกติ เลโอนาร์โดก็เป็นคนสันโดษอยู่แล้ว พอเกิดเหตุการณ์นี้ เขายิ่งปกป้องความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ไม่มีวี่แววใด ๆ เกี่ยวกับชีวิตรักเขาเลย เลโอนาร์โดไม่เคยแต่งงาน และไม่มีตัวละครน่าสงสัยทั้งหญิงชายปรากฏในชีวิต อีกหลายปีต่อมา เขาได้อุปถัมภ์เด็กชายชาวนาหน้าตาดีคนหนึ่งเป็นลูกบุญธรรม แต่ก็ไม่มีอะไรไม่ชอบมาพากล ยกเว้นความไม่เอาถ่านไม่น่ารักของเด็กคนนี้เท่านั้น
เมื่อคดีฝันร้ายผ่านพ้นไป เลโอนาร์โดจึงตัดสินใจลาออกจากโรงศิลปะของเวร์รอกชีโอมาเป็นศิลปินเดี่ยวรับงานเอง ออกจะไส้แห้ง ได้งานน้อย เพราะเขาทำงานไม่ค่อยเสร็จ แต่ก็ยังพอมีคนจ้างอยู่เรื่อย ๆ เนื่องจากฝีมือดีเหลือเกิน ชีวิตช่วงนี้เป็นช่วงที่เขารับงานพระวาดภาพ  Adoration of the Magi  เป็นชีวิตพระเยซูตอนที่นักปราชญ์ ๓ คนเดินทางมาเบธเลเฮ็มเพื่อคารวะพระผู้ไถ่ผู้เกิดใหม่ ที่ผ่านมา ภาพชีวิตพระเยซูเหล่านี้จะนำเสนอในแนวฉากทองรุ่งโรจน์แสงสวรรค์ มีนางฟ้าร้องเพลงสรรเสริญดังอื้ออึง  แต่เลโอนาร์โดแหวกแนวนำเสนอ ให้เป็นฉากหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษย์ จริง ๆ อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับงานส่วนใหญ่ ภาพนี้ก็วาดไม่เสร็จ ยังไม่ได้เริ่มลงสีด้วยซ้ำ เป็นแค่ภาพร่างสีน้ำตาล ซึ่งคนปัจจุบันนี้แอบดีใจ เพราะกลับทำให้โดดเด่น มีเอกลักษณ์มากกว่าภาพสี  เลโอนาร์โดทำงานเป็นศิลปินเดี่ยวในฟลอเรนซ์ได้ ๕ ปี ก็ย้ายถิ่นไปปักหลักที่กรุงมิลาน  Adoration of the Magi ( ๑๔๘๑ )  เป็นงานใหญ่ชิ้นแรก ที่เลโอนาร์โดรับจ้างวาดให้วัด หลังแยกตัวออกมา เป็นศิลปินเดี่ยวไส้แห้ง ภาพนี้นับเป็นหลักกิโลสำคัญ ของประวัติศาสตร์ศิลปะยุโรป  บางครั้งเลโอนาร์โดชอบเขียนผู้ชาย ให้ออกเป็นผู้หญิง เช่นภาพ  St. John the Baptist  นี้
ภาพ  The Last Supper  บนผนังโรงอาหาร วัดซานตามาเรียฯ The Last Supper  ภาพ อาหารเย็นมื้อสุดท้าย  ( The Last Supper)  ซึ่งเลโอนาร์โดเขียนไว้บนกำแพงโรงอาหารวัดซานตามาเรียเดลเลกราซี  ( Santa Maria delle Grazie)  ในเมืองมิลาน น่าเสียดายที่เลโอนาร์โดทดลองใช้สีน้ำมันผสมปูนสูตรพิเศษที่คิดขึ้นเอง แทนการใช้ผงสีผสมปูนแบบดั้งเดิมที่ผ่านการลองผิดลองถูกมาได้ที่แล้ว ปรากฏว่าสีสูตรพิเศษนี้ติดกำแพงไม่ค่อยดี ลอกหลุดไปในช่วงอายุของเลโอนาร์โดเอง สภาพของ อาหารเย็นมื้อสุดท้าย จึงถลอกปอกเปิกน่าสงสารเอาการ  ในภาพนี้ เลโอนาร์โดเลือกแสดงเหตุการณ์ในชั่วขณะที่พระเยซูประกาศกับหมู่สาวกว่า  “ หนึ่งในพวกเจ้าจะทรยศข้า ”  จึงเกิดปฏิกิริยาชุลมุนบนโต๊ะอาหาร เลโอนาร์โดวาดเป็นโต๊ะยาวตั้งอยู่กลางห้องใกล้สวนเกธเซเมนที่พระเยซูไปสวดมนต์ก่อนถูกจับ มีหน้าต่างเรียบ ๆ อยู่ข้างหลัง มองออกไปเห็นทิวทัศน์ด้านนอก ตำแหน่งของภาพนี้เชื่อมโยงกับสถาปัตยกรรมจริงของโรงอาหารวัดซานตามาเรียฯ ทำให้รู้สึกเหมือนเป็นเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นภายในห้องนี้จริง ๆ มีพระเยซูนั่งอยู่กลางโต๊ะ และสาวกทั้ง ๑๒ เรียงรายซ้ายขวาข้างละ ๖ คน จับกลุ่มเป็นหมู่ย่อยกลุ่มละ ๓ คน จูดาส ผู้จะเป็นคนทรยศพระเยซู หันเอี้ยวตัวมามองพระเยซูจนใบหน้าตกอยู่ในเงามืด เป็นการแสดงเรื่องราวของตัวละครที่ชัดเจนแต่เป็นธรรมชาติอย่างที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน  ว่ากันว่า เมื่อรองเจ้าอาวาสวัดมาไล่ทวงงานว่าทำไมไม่เสร็จสักที กะอีแค่วาดหน้าพระเยซูและจูดาสที่ถูกทิ้งโบ๋ว่างเปล่าอยู่นาน เลโอนาร์โดก็สวนตอบไปว่า ก็เดินดูหน้าคนในเมืองอยู่ทุกวัน ยังหานายแบบหน้าชั่วพอเป็นจูดาสไม่ได้สักที จริง ๆ หน้าพระคุณท่านก็ออกจะเหมาะเจาะ แต่ถ้าใช้ก็เกรงว่าจะทำให้ท่านกลายเป็นตัวตลกประจำวัดไป
นักประวัติศาสตร์ศิลป์ส่วนใหญ่เชื่อว่า ผู้หญิงในภาพ  The Last Supper  คือ เซนต์จอห์น  ( St. John the Evangelist)  ผู้ซื่อสัตย์และอ่อนโยน ซึ่งเลโอนาร์โดตั้งใจเขียนให้ออกหยิน ๆ เช่นเดียวกับที่เขียนจอห์นเดอะแบปทิสต์  ( John the Baptist)  ให้ออกหญิง หรือเขียนเทวดายูไรเอล  ( Uriel)  ในภาพ  The Virgin of the Rocks  ให้เป็นผู้หญิง ความไร้เพศหรือสลับเพศไปมาดูจะเป็นสไตล์ของเลโอนาร์โด แม่นางโมนาลิซาเองก็เป็นผู้หญิงสง่าที่มีความเป็นชายแฝงอยู่ในตัวไม่น้อยเลย   อย่างไรก็ตาม ในยุคสมัยเลโอนาร์โด ความเชื่อของพวกคาทาร์ก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องลี้ลับมากนัก โดยเฉพาะในหมู่ปัญญาชนสอดรู้สอดเห็นอย่างเลโอนาร์โด นอกเหนือจากพวกคาทาร์ ยังมีกลุ่มคนที่นับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในธรรมชาติ หรือพระแม่เจ้า แม่ธรณี และถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกแม่มดผีห่าซาตานต่าง ๆ นานา ล้วนแล้วแต่เป็นเหตุให้ศาสนจักรต้องพยายามจัดระเบียบให้เข้าจารีต โดยหยิบยื่นพระแม่มารี แม่พรหมจรรย์แสนดีและเรียบร้อยของพระเยซูให้บูชาแทนเพศแม่องค์อื่น ถ้ายังไม่ยอม ก็กำจัดให้สิ้นซากไปเลย จึงเป็นไปได้ว่าเลโอนาร์โดผู้เป็นเสรีชน ไม่ชอบการจำกัดความคิดสังคมของศาสนจักร จะอยากให้เกียรติ แมรี่ แม็กดาเลน โดยแสดงภาพเคียงข้างพระเยซูใน  The Last Supper  ซึ่งเป็นภาพที่เขียนขึ้นในระหว่างที่เลโอนาร์โดอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์คุ้มครองจากสฟอร์ซา ฮิวแมนนิสต์ผู้ทรงอิทธิพล และถ้าใครจะมองว่าตัวละคร หยินคนนี้คือเซนต์จอห์นก็ได้ ไม่แปลกอะไร ปลอดภัยดี   เลโอนาร์โดนับถือพระเจ้าในธรรมชาติ ไม่ใช่ในสถาบันศาสนา เขาเคารพพระเยซูในฐานะบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ เลโอนาร์โดไม่ชอบสุงสิงกับการเมืองในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเมืองในสังคม การเมืองในวงการศิลปะ หรือการเมืองเชิงอำนาจปกครอง เขาหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้เสมอ ขออย่างเดียวคือให้มีโอกาสได้ทำสิ่งที่ตัวเองสนใจอยากจะทำ   การเดาใจเลโอนาร์โดไม่ใช่เรื่องง่าย จากมุมมองของตรรกะทั่ว ๆ ไป เลโอนาร์โดดูจะเต็มไปด้วยความขัดแย้งในตัวเอง เขาเกลียดสงคราม แต่ออกแบบอาวุธสงคราม ไม่ชอบเดินทางไกล แต่  ( อาจจะ )  ไปผจญภัยถึงอียิปต์ สอนลูกศิษย์ว่าการลอกเลียนธรรมชาติเป็นศิลปะอันสูงสุด แต่ตัวเองมักวาดจากจินตนาการ   ( ที่ซึมซับธรรมชาติมาเต็มที่แล้ว )  ชอบเก็บตัวมุด ๆ อยู่คนเดียว แต่เป็นนักออกแบบปาร์ตี้ และมีบุคลิกเป็นคนขี้เล่นช่างคุย เป็นสีสันสนุกสนานของสังคม
Leonardo  เคยกล่าวว่า การค้นหาความรู้คือวิถีชีวิตของปราชญ์ การศึกษาภาพสเกตซ์และการอ่านข้อความที่ปรากฏในสมุดบันทึกทำให้เรารู้ว่า  Leonardo  กระหายที่จะเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่าง และวาดทุกสิ่งทุกอย่างที่เห็น ทำให้เรารู้ว่าเขาสนใจวิทยาการหลายด้าน เช่น กายวิภาคศาสตร์ พฤกษศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ปรัชญา การวางผังเมือง วิทยาการกลาโหม และชลศาสตร์ ความรู้ที่มากมายและหลากหลายรูปแบบเช่นนี้ ทำให้สมุดบันทึกของ  Leonardo  มีค่าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าภาพวาดของเขา ถือเป็นมรดกทางปัญญาอันล้ำค่าที่  Leonardo  ได้ทิ้งไว้ให้มนุษย์ได้ศึกษาตราบจนทุกวันนี้ เขาเป็นผู้ที่รู้ทั้งศาสตร์และศิลป์มาก จนสมควรได้รับการยกย่องเป็นมนุษย์  Renaissance  ตัวจริง   Leonardo  มีความเห็นว่า การแสวงหาความรู้ของมนุษย์ ต้องเกิดจากการได้เห็นด้วยตาก่อน  Leonardo  จึงใช้สายตาที่แหลมคมของเขาศึกษาธรรมชาติตลอดเวลา แล้วพยายามเข้าใจสิ่งที่เขาเห็นนั้น ด้วยเหตุนี้วิทยาศาสตร์ของ  Leonardo  จึงเป็นวิทยาศาสตร์ที่เกิดจากการเห็น ขณะที่วิทยาศาสตร์ของ  Galileo  เป็นวิชาที่สามารถพยากรณ์เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ ด้วยการเห็นมากนี่เองที่ทำให้  Leonardo  เป็นจิตรกรที่รู้วิทยาศาสตร์มากกว่านักวิทยาศาสตร์ร่วมรุ่นหลายคน และเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีฝีมือวาดภาพสูงยิ่งกว่าจิตรกรแทบทุกคนในสมัยนั้น ความสนใจด้านดาราศาสตร์ของ  Leonardo  ปรากฏในการสังเกตดวงจันทร์ข้างขึ้น - แรม  Leonardo  เป็นบุคคลแรกที่สามารถอธิบายได้ว่า การที่บริเวณมืดของดวงจันทร์ไม่มืดสนิท แต่มีแสงสลัวนั้น ก็เพราะบริเวณนั้นของดวงจันทร์ได้รับแสงอาทิตย์ที่สะท้อนจากมหาสมุทรบนโลก  ( ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันนี้เรียกว่า แสงโลก )  เหมือนกับที่โลกได้รับแสงอาทิตย์ที่สะท้อนจากดวงจันทร์ ซึ่งเราเรียกแสงจันทร์ คำอธิบายของ  Leonardo  จึงขัดแย้งกับความเชื่อของผู้รู้ในสมัยนั้น ที่คิดว่าดวงจันทร์เป็นดาวที่มีแสงในตัวเอง แต่ความรู้ด้านดาราศาสตร์ของ  Leonardo  ก็ไม่ถูกต้องเสมอไป เช่นเขาคิดว่าดวงจันทร์มีทะเลห่อหุ้มเช่นเดียวกับโลก อย่างไรก็ตาม การที่ความรู้ของ  Leonardo  ถูกเก็บไว้เฉพาะในสมุดบันทึกโดยไม่ได้รับการเผยแพร่ ทำให้ความคิดของเขาไม่มีอิทธิพลใด ๆ ต่อการพัฒนาดาราศาสตร์ในยุคนั้นเลย
Mona Lisa  ภาพเหมือนของ ลิซา เกอราร์ดีนี ที่เศรษฐีพ่อค้าไหม ฟรานเชสโก เดล จีโอคอนโด ผู้เป็นสามี ว่าจ้างให้เลโอนาร์โดเขียน เนื่องในโอกาสที่คลอดลูกชายให้ ภาพนี้กลายเป็นภาพเขียน ที่โด่งดังที่สุดในโลก ด้วยรอยยิ้มและสายตา ที่ไม่มีใครเห็นพ้องต้องกัน ได้ว่าแฝงความรู้สึกนึกคิดอะไรไว้ เลโอนาร์โดเน้นการลอกเลียนความจริงจากธรรมชาติที่ตามองเห็น แต่เอาเข้าจริงเขาก็ใช้จินตนาการ อย่างภาพทิวทัศน์อารมณ์มาคุต่าง ๆ ในภาพเขียน ก็ล้วนแล้วแต่เป็นภูมิประเทศในจินตนาการที่มีพื้นฐานจากการสังเกตธรรมชาติของหินประเภทต่าง ๆ เป็นอย่างดี นอกจากนี้ เขายังเข้าใจในมายาภาพหลอกสายตา จึงสามารถจงใจทำให้ภาพเคลื่อนไหวได้ เห็นได้ชัดที่สุดในภาพ โมนาลิซา  ( Mona Lisa)  ซึ่งจะมองตามเราไปทุกแห่ง ไม่ว่าเราจะเคลื่อนไปยืนอยู่จุดใดในมุมห้อง จนรู้สึกเหมือนถูกงูสะกดจิต ทิวทัศน์ข้างหลังโมนาลิซาก็เล่นระดับต่างกัน ทำให้น้ำไหลได้ มีชีวิตชีวา  Mona Lisa
แตกแขนงในมิลาน  มีหลายเหตุผลที่เลโอนาร์โดย้ายออกจากฟลอเรนซ์ ส่วนหนึ่งเพราะฟลอเรนซ์มีศิลปินฝีมือดีอยู่ไม่น้อย ซึ่งนอกจากจะเก่งแล้ว ยังทำงานเสร็จอีกด้วย เลโอนาร์โดจึงหางานได้ยากขึ้น แต่สาเหตุใหญ่จริง ๆ น่าจะเป็นทิศทางความสนใจของเลโอนาร์โดเอง ซึ่งเริ่มรู้สึกมันกับวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ แต่เป็นในลักษณะประยุกต์ตามนิสัยนักปฏิบัติ เขาจึงเริ่มโอนเอียงไปสู่งานวิศวกรรม ถึงเลโอนาร์โดจะได้ตระกูลเมดิชี  ( Medici)  เป็นผู้อุปถัมภ์ในปี ค . ศ .  ๑๔๘๒ แต่เขาก็ทิ้งงานเพราะไม่รู้สึกท้าทาย  ในยุคเรอเนซองซ์ของอิตาลี ศิลปกรรมแขนงที่ถือว่าสำคัญที่สุด ได้แก่ ศิลปะแห่งการสงคราม เพราะแหลมรูปเกือกบูตแห่งยุโรปในสมัยนั้นไม่ได้รวมศูนย์รัฐเป็นประเทศอิตาลีอย่างในปัจจุบันจนอีก ๔๐๐ ปีต่อมา แต่ประกอบไปด้วยหัวเมืองใหญ่ต่าง ๆ ที่ตีกันไปตีกันมา ผลัดกันยึดอำนาจเป็นว่าเล่น ผู้ครองนครจึงต้องทุ่มทุนปกป้องเมือง ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าเลโอนาร์โดจะเกลียดสงคราม แต่งานออกแบบอาวุธสงครามก็เป็นช่องทางเดียวที่จะเปิดโอกาสให้เขาได้ใช้จินตนาการทางวิศวกรรม ในอิตาลีตอนเหนือ ผู้ทรงอำนาจเทียบเท่าตระกูลเมดิชีแห่งฟลอเรนซ์ ก็ได้แก่ตระกูลสฟอร์ซา  ( Sforza)  แห่งมิลาน วังดูคาลของเจ้าเมืองมิลานนี้ใหญ่โตแทบจะครอบคลุมใจกลางเมืองเสียทั้งหมด ล้อมรอบด้วยกำแพงเมืองขนาดยักษ์พร้อมคูเมือง มีสะพานชักขึ้นเก็บได้ ๖๓ อัน อาวุธสงครามประมาณ ๑ , ๕๐๐ - ๒ , ๐๐๐ ชิ้น และทหารรับจ้างกินเบี้ยหวัดอัตราดีถึง ๑ , ๕๐๐ คน   ลูโดวีโก สฟอร์ซา  ( Ludovico Sforza)  ท่านดยุคแห่งมิลาน กำลังต้องการศิลปินฝีมือดีเพื่อสร้างประติมากรรมบรอนซ์รูปพ่อของเขา คือ ฟรานเชสโก สฟอร์ซา  ( Francesco Sforza)  กำลังขี่ม้า เลโอนาร์โดจึงเสนอตัว โดยเขียนจดหมายสาธยายถึงสิ่งที่เขาสามารถออกแบบสร้างให้ได้ ๑๐ รายการอัศจรรย์ชวนฝัน ทั้งในภาวะสงครามและในภาวะสงบสุข เช่น สะพานทนไฟน้ำหนักเบาแต่แข็งแรงแบบพกพา รื้อออกประกอบใหม่ได้ง่าย วิธีก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินลอดด่านข้าศึกโดยไม่มีเสียงเล็ดลอดให้ข้าศึกตื่นตัว ฯลฯ แถมทิ้งท้ายด้วยความสามารถทางวิจิตรศิลป์ และความประสงค์จะขอรับใช้สร้างประติมากรรมบรอนซ์รูปสฟอร์ซาขี่ม้าให้เป็นอมตะชั่วนิรันดร์
การพบสมุดบันทึกของ  Leonardo  ที่  National Library of Madrid  เมื่อ ๔๐ ปีก่อน ทำให้มีการศึกษาภาพสเกตซ์และข้อความที่เขียนในสมุด และพบว่า  Leonardo  ได้ออกแบบวิธีการหล่อม้าไว้อย่างละเอียดทุกขั้นตอน จนใครที่อ่านบันทึกนั้นได้ ก็สามารถสร้างอนุสาวรีย์คนขี่ม้านั้นได้ ส่วนช่างหล่อที่ได้วิเคราะห์ขนาดและโครงสร้างของม้าที่  Leonardo  คิดสร้าง ก็กล่าวว่า  Leonardo  ไม่มีทางหล่อม้าได้สำเร็จ เพราะในสมัยของเขายังไม่มีเทคโนโลยีที่เหมาะสมพอจะทำได้   ดังได้กล่าวแล้วว่า สมุดบันทึกของ  Leonardo  เท่าที่ปรากฏมี ๑๓ เล่ม สมุดแต่ละเล่มก็มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน และ ณ วันนี้ สมุดเหล่านั้นก็กระจัดกระจายไปอยู่ตามห้องสมุดส่วนบุคคลและพิพิธภัณฑ์หลายแห่งทั่วโลก เช่น สมุด  Codex Madrid  อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ในกรุงมาดริด ประเทศสเปน สมุดบางส่วนอยู่ที่พระราชวัง  Windsor  ในอังกฤษ พิพิธภัณฑ์  Louvre  ในฝรั่งเศส  National Gallery  ในสหรัฐอเมริกา ส่วนสมุด  Codex Leicester  มูลค่า ๓๐ . ๘ ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะนี้อยู่ในความครอบครองของอภิมหาเศรษฐี  Bill Gates  มีข้อสังเกตหลายประการเกี่ยวกับสมุดบันทึกของ  Leonardo  ข้อสังเกตแรกคือเขาเขียนบันทึกเป็นภาษาอิตาลี ขณะที่ตำราในสมัยนั้นใช้ภาษาละติน การที่  Leonardo  เขียนบันทึกเป็นภาษาอิตาลี ก็เพราะเขาเขียนภาษาละตินไม่ได้ การอ่านภาษาละตินไม่ออก ยังมีส่วนทำให้  Leonardo  รู้วิทยาศาสตร์ในสมัยนั้นไม่มากด้วย   ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ  Leonardo  เขียนตัวหนังสือกลับข้าง คือเขียนเหมือนภาพตัวอักษรที่เห็นในกระจกเงา และเขียนจากขวาไปซ้าย วิธีการเขียนที่แปลกเช่นนี้ทำให้นักวิชาการบางคนสันนิษฐานว่า เป็นเพราะ  Leonardo  ไม่ต้องการให้คนอื่นแอบอ่านบันทึก แล้วขโมยความคิดของเขาไปสบาย ๆ ส่วนบางคนก็คิดว่า  Leonardo  ไม่ต้องการให้ฝ่ายศาสนารู้ว่า ความรู้ใหม่ ๆ หลายเรื่องที่เขาพบนั้นขัดแย้งกับคำสอนทางศาสนา แต่นักวิชาการส่วนมากในปัจจุบันคิดว่าเป็นเพราะ  Leonardo  ถนัดซ้าย ดังนั้นหากเขาเขียนหนังสือจากซ้ายไปขวาเช่นคนทั่วไป มือซ้ายของเขาจะทับหมึกที่ยังไม่ทันแห้ง ทำให้กระดาษเลอะ และมือเปื้อนหมึก   ข้อสังเกตประการสุดท้ายคือ ในภาพสเกตซ์หลายภาพ มีลายเส้นที่  Leonardo  ลากเป็นเส้นตรง แน่วแน่ บางภาพมีรายละเอียดที่สมบูรณ์ แสดงให้เห็นว่า ทั้ง ๆ ที่สมุดบันทึกมีขนาดเล็ก และภาพสเกตซ์ก็ยิ่งมีขนาดเล็กลงไปอีก แต่  Leonardo  ก็สามารถเขียนให้มีรายละเอียดได้ นั่นแสดงว่าเขาใช้ปากกาที่เขาประดิษฐ์เองซึ่งมีปลายคมมาก และใช้พลังนิ้วมือในการลากเส้นในภาพให้ตรงได้
ศึกษาสัดส่วนม้า เพื่อสร้างประติมากรรมรูปสฟอร์ซาขี่ม้า   ภาพสเกตซ์อนุสาวรีย์คนขี่ม้าที่  Leonardo  เตรียมสร้างให้ตระกูล  Sforza   แม่พิมพ์ สำหรับหล่อส่วนหัวของม้า
[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object]
ปืนใหญ่สำหรับยิงก้อนหิน โจมตีฝ่ายข้าศึกอีกหนึ่งผลงานออกแบบ อาวุธสงครามสุดอลังการของ  Leonardo  อาวุธสงครามที่มีชื่อเสียงมากชนิดหนึ่งคือ รถม้าที่มีเคียวคม ๆ ติดประดับ เวลาขับรถม้านี้เข้าปะทะกองทัพข้าศึก เคียวคมที่ติดกับรถม้าจะหมุนสับทำร้ายหรือฆ่าศัตรูได้ ในหน้าเดียวกับภาพรถม้ามฤตยู  Leonardo  ยังวาดภาพของรถถังไว้ด้วย ภาพข้างซ้ายแสดงลักษณะภายในของตัวรถเวลาฝาครอบเปิด ส่วนภาพข้างขวาแสดงตัวรถเวลามีเกราะปิดครอบ  Leonardo  ยังได้ออกแบบรถให้ทหารที่อยู่ภายใน สามารถใช้ปืนยิงข้าศึกได้ขณะที่รถเคลื่อนที่ ซึ่งหากงานออกแบบนี้ของ  Leonardo  สร้างได้จริง มันจะเป็นรถมรณะที่น่ากลัวมากในสมัยนั้น   ภาพสเกตช์การทำงาน ของเครื่องยกปืนใหญ่ ในโรงหล่อสรรพาวุธ ที่เลโอนาร์โดออกแบบ
แต่แล้วเลโอนาร์โดก็เริ่มโหยหาชีวิตสันโดษและประเด็นค้นคว้าใหม่ ๆ เนื่องจากภูมิประเทศแถวมิลานเป็นหนองที่ราบลุ่มแบน ๆ ไม่ให้แรงบันดาลใจเหมือนที่ลุ่มดอนมีภูเขาสูง ๆ ต่ำ ๆ ของแคว้นทัสคานีบ้านเกิด เขาจึงเบนความสนใจไปที่คนในเมือง โดยเฉพาะคนหน้าตาแปลก ๆ เลโอนาร์โดจะสะกดรอยตาม คอยสังเกตท่าทีพฤติกรรมคนที่เขาติดใจทั้งวัน สเกตช์ภาพเพื่อจับจิตวิญญาณชีวิตภายในร่างนั้น ๆ ถ้าไม่มีกระดาษเครื่องเขียนติดตัว เขาก็จะจำเอา แล้วรีบกลับมาสเกตช์ภาพที่สตูดิโอ หลายภาพเหมือนการ์ตูนสมัยใหม่เลย   ในช่วงนี้ เลโอนาร์โดได้ร่างหนังสือทฤษฎีและเทคนิคการวาดภาพไว้   ( แต่เขียนไม่เสร็จ )  ซึ่งสังเคราะห์และรวบรวมสิ่งที่เขาค้นพบ ตั้งแต่ปรากฏการณ์ที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างแสง สายตา และการรับรู้ โดยตัวศิลปินเองสามารถพัฒนาขัดเกลาทักษะในการวิเคราะห์รับรู้เรื่องเหล่านี้ให้ละเอียดขึ้น เพื่อถ่ายทอดลงในงานของตน ด้วยการฝึกจิตให้มีคุณสมบัติเสมือนกระจกเงา สะท้อนรับแสงสีที่ปรากฏขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางกับบรรยากาศอย่างที่เล่าไว้แล้ว เทคนิคการแปรวิสัยทัศน์สามมิติที่ตาเห็นให้เป็นภาพแบน โดยหัดมองให้เห็นเป็นเส้นสายจากภาพในกรอบหน้าต่าง ความสำคัญจึงอยู่ที่การซื่อสัตย์ต่อสายตา ไม่ใช่วาดตาม ๆ กันจนถือเป็นสัจธรรม เช่น วาดสัดส่วนเด็กให้เป็นเด็ก ไม่ใช่วาดเด็กเป็นผู้ใหญ่ตัวเล็ก หัวเล็กขายาวอย่างที่วาด ๆ กันมาตลอด ทั้งยังต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาชีวิตภายใน ซึ่งไม่ใช่แค่ตัวกระดูกกล้ามเนื้อภายใต้ร่มผ้า แต่รวมถึงอารมณ์ความรู้สึกที่ผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหวนั้น ๆ ด้วย   บันทึกศึกษาดอกไม้ทุ่ง เช่น ในกลุ่มดอกไวโอเล็ต กลุ่มดอกอานีโมน และกลุ่มดอกรานันคูลัส   ภาพสเกตช์ศึกษาสัดส่วนเด็ก ก่อนหน้า เลโอนาร์โด ศิลปินจะวาดเด็ก เป็นผู้ใหญ่ขายาวตัวเล็ก
ระเหเร่ร่อน  กรุงมิลานเริ่มระส่ำระสายเมื่อฝรั่งเศสยกทัพเข้าล้อมในปี ค . ศ .  ๑๔๙๔ โลหะที่เตรียมไว้หลอมประติมากรรมบรอนซ์รูป ฟรานเชสโก สฟอร์ซา ขี่ม้า ก็ต้องเอามาทำลูกปืนเสียหมดสิ้น จนเมื่อกรุงแตกลงในปี ค . ศ .  ๑๔๙๘ และ ลูโดวีโก สฟอร์ซา เจ้าเมืองมิลานผู้อุปถัมภ์เลโอนาร์โด ตายลงในปี ค . ศ .  ๑๔๙๙ พลธนูกองทัพฝรั่งเศสยังเอารูปปั้นม้าดินที่เลโอนาร์โดทำเป็นแบบสำหรับรูปหลอมจริง มาใช้เป็นเป้าซ้อมยิงธนูเล่นจนพัง พวกเราจึงไม่มีโอกาสได้เห็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ร่ำลือกันว่าเป็น  “ งานศิลปกรรมสุดวิเศษ ยิ่งใหญ่ที่สุด และขนาดใหญ่ที่สุด ที่มือมนุษย์เคยสร้างขึ้นมา ”  ชีวิตเลโอนาร์โดในช่วง ๑๕ ปีหลังกรุงมิลานแตก เป็นช่วงระเหเร่ร่อน รับงานต่าง ๆ นานาทั่วอิตาลี เป็นต้นว่า   งานวิศวกรรมและศิลปะให้แก่ผู้ว่ากรุงมิลาน ชาวฝรั่งเศส   งานวิศวกรรมสงครามให้กรุงเวนิซ ออกแบบวิธีปกป้องเมือง ช่วงนี้เป็นตอนที่เลโอนาร์โดออกแบบเรือดำน้ำและชุดประดาน้ำ ล้ำสมัยไปหลายร้อยปีเช่นเคย   งานวิศวกรรมสงครามให้แก่ เซซาเร บอร์เจีย  ( Cesare Borgia)  เจ้าชายนักรบจอมโหด ผู้ใฝ่ฝันจะครองดินแดนแหลมรองเท้าบูตอิตาลีทั้งหมด จึงส่งเลโอนาร์โดไปศึกษาปราการเมืองต่าง ๆ ทั่วอิตาลีตอนเหนือและตอนกลาง  ช่วงนี้ เลโอนาร์โดวาดภาพสเกตช์จำนวนมหาศาล ทั้งในส่วนที่เป็นงานว่าจ้าง ได้แก่ แผนที่คุณภาพสุดยอดแห่งยุคสมัย แบบป้อม สะพาน เครื่องจักรกลต่าง ๆ และในส่วนที่เป็นความสนใจพิเศษส่วนตัวด้วย เช่น หน้าคน ดอกไม้นานาพันธุ์ ตลอดจนฟอสซิลต่าง ๆ เลโอนาร์โดเริ่มศึกษาหอยในชั้นดิน เพื่อให้รู้ถึงภูมิประเทศในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เขาเริ่มกะเทาะเรื่องราวของการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์และวิวัฒนาการก่อนหน้า ลามาร์ก ,  ดาร์วิน และวอลเลซ ถึง ๒๐๐ กว่าปี   งานวิศวกรรมสงครามและการชลประทานให้แก่ ปิเอโร โซเดอรินี  ( Piero Soderini)  ผู้ปกครองกรุงฟลอเรนซ์คนใหม่  ( แทนที่ซาโวนาโรลา ผู้บ้าคลั่งเคร่งศาสนา นักเผาตำราและแม่มด )   งานศิลปะในกรุงฟลอเรนซ์ รวมถึงภาพ โมนาลิซา   งานวิศวกรรมกับคาร์ดินัล กิวลิอาโน เดอ เมดิชี  ( Giuliano de Medici)  พี่ชายของโป๊ปลีโอที่ ๑๐ ในกรุงโรม
แผนการศึกษาแนวทางการผันน้ำแม่น้ำอาร์โน ใกล้เมืองฟลอเรนซ์ ค . ศ .  ๑๕๐๔   ถ้าดูเพียงรายการงานหลากหลายนี้ เราจะไม่รู้เลยว่า ชีวิตช่วงนี้ของเลโอนาร์โดเป็นช่วงที่ออกจะตกต่ำในมุมมองทางโลก สังคมอิตาลีเต็มไปด้วยศิลปินรุ่นใหม่ฝีมือระดับปรมาจารย์ที่พัฒนาศิลปะยุคเรอเนซองซ์ไปจนถึงจุดสูงสุด อย่างไมเคิลแองเจโล  ( Michelangelo Buonarroti,  ๑๔๗๕ - ๑๕๖๔ )  และราฟาเอล  ( Raphael,  ๑๔๘๓ - ๑๕๒๐ )  จึงเริ่มมีคนที่มีความสามารถ อย่างน้อยก็ในเชิงทักษะและเทคนิค เทียบเคียงกับเลโอนาร์โด เมื่อเลโอนาร์โดฉีกตัวไปทำงานวิศวกรรมเสียมาก วงการศิลปะจึงเริ่มลืมคิดถึงเลโอนาร์โดในฐานะศิลปิน การเอาสมองอัจฉริยะไปรับใช้เผด็จการจอมโหดอย่าง เซซาเร บอร์เจีย ซึ่งไม่ต่างไปจากการทำงานให้ฮิตเลอร์และมุสโสลินีในยุคสมัยเรา ยังทำให้เลโอนาร์โดถูกติเตียน โดยเฉพาะในหมู่เสรีชนเมืองฟลอเรนซ์ แถมเมื่อเลโอนาร์โดกลับมาทำงานที่บ้านเกิด ยังเกิดเหตุผิดพลาดใหญ่โตถึง ๒ เรื่อง  เรื่องแรกเกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคม ค . ศ .  ๑๕๐๓ เมื่อเลโอนาร์โดรับทำงานวิศวกรรมให้แก่โซเดอรินี ผู้ปกครองฟลอเรนซ์คนใหม่ ตามคำสั่งของโซเดอรินี เขาวางแผนที่จะเปลี่ยนเส้นทางแม่น้ำอาร์โน เพื่อทำให้ฟลอเรนซ์มีสภาพเป็นเมืองท่า สามารถเดินทางถึงทะเลได้โดยสะดวก พร้อมกับระบายพื้นที่ลุ่มที่น้ำท่วมง่ายในหุบ และใช้น้ำมาผลิตพลังงานสำหรับอุตสาหกรรม แต่ความพยายามที่จะเปลี่ยนทางน้ำกลับล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เพราะทำให้เกิดหนองน้ำขังเก๊ขึ้น กลายเป็นที่เพาะยุง และส่งผลให้มาลาเรียระบาดในปี ค . ศ .  ๑๕๐๔ ชาวฟลอเรนซ์ล้มตายกันมากมาย
ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน คณะสภาเทศมนตรีเมืองฟลอเรนซ์เกิดไอเดียเก๋ที่จะแสดงความเป็นเลิศทางศิลปวัฒนธรรมของฟลอเรนซ์ โดยเสนอให้สองศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งยุค ได้แก่ เลโอนาร์โด ดาวินชี และไมเคิลแองเจโล ประชันฝีมือวาดภาพผนังขนาดยักษ์ในห้องโถงอันทรงเกียรติของสภา เป็นภาพศึกประวัติศาสตร์เกรียงไกร  ไมเคิลแองเจโลเลือกศึกแห่งคาสชินา  ( Battle of Cascina)  จากสงครามระหว่างเมืองฟลอเรนซ์และเมืองปิซา ตอนที่ทหารฟลอเรนซ์ถูกทหารปิซาลอบจู่โจมขณะที่อาบน้ำอยู่ในแม่น้ำและทิ้งอาวุธไว้บนริมฝั่ง  เลโอนาร์โดเลือกศึกแห่งแองกีอารี  ( Battle of Anghiari)  เมื่อกองทัพฟลอเรนซ์ชนะกองทัพมิลานใน ค . ศ .  ๑๔๔๐   เลโอนาร์โดสาธยายองค์ประกอบของภาพที่คิดไว้ในสมุดบันทึก ทั้งในภาพรวมและรายละเอียดของบรรยากาศ สี แสง ฝุ่น เลือด เหงื่อ ตัวละครทั้งม้าทั้งคน ชิ้นส่วนอวัยวะ สีหน้า กลิ่น เสียง สื่อสารถึงความโหดร้าย ชุลมุนวุ่นวายของสงครามอย่างที่ไม่เคยมีใครวาดมาก่อน พร้อมสเกตช์ศึกษารายละเอียดประกอบภาพจำนวนมากมาย แต่ถึงที่สุดแล้ว เราก็ไม่ได้เห็นภาพจริง   เมื่อร่างภาพเป็นเค้าโครงบนผนังเรียบร้อยแล้ว ทั้งเลโอนาร์โดและไมเคิลแองเจโลต่างก็ถูกเรียกตัวไปรับงานที่อื่น ไมเคิลแองเจโลลงไปโรม เลโอนาร์โดไปมิลาน และติดลมต่อ รับคำเชิญไปพักกับลุงที่เป็นพี่ชายของแม่เลี้ยงคนแรก ไปศึกษาการบินของนก ถึงขนาดสร้างเครื่องร่อนขึ้นมา และอาจจะได้ทำการทดลองบินจากเขาเซเซรี  ( Ceceri)  สนุกสนานสบายอกสบายใจดีแล้ว จึงกลับฟลอเรนซ์มาเขียนภาพผนังต่อ   หลังจากที่ถูกไมเคิลแองเจโลปรามาสไว้ว่า เลโอนาร์โดเป็นคนที่  “ ได้แต่คิด สร้างไม่เป็น ”  เพราะทำอะไรไม่เสร็จเป็นชิ้นเป็นอัน เลโอนาร์โดจึงตั้งใจเต็มร้อย รีบเร่งลงสีภาพศึกแห่งแองกีอารี แต่เขาใจร้อนเกินไป เอาเตาถ่านคุไฟไปอังใต้ภาพเพื่อเร่งให้สีแห้ง ปรากฏว่าสีแห้งแต่ด้านล่าง ส่วนด้านบนไหลย้อยลงมาเลอะเทอะเต็มผนัง   เลโอนาร์โดพยายามหาทางแก้ไข  แต่พอเกิดเหตุนี้ขึ้น ติด ๆ กับเหตุการณ์มาลาเรียระบาดหลังเปลี่ยนเส้นทางน้ำ โซเดอรินีและกรรมการสภาเทศมนตรีก็หมดศรัทธาในตัวเลโอนาร์โด ชาวฟลอเรนซ์เริ่มมีการแบ่งค่าย เป็นพวกที่เห็นด้วยกับไมเคิลแองเจโลว่าเลโอนาร์โดไม่มีน้ำยา และพวกที่ยังคงนับถือเลโอนาร์โด ฝ่ายหลังนี้รวมราฟาเอล ศิลปินเอกผู้หลงใหลในภาพ โมนาลิซา อย่างมากด้วย   ตกลงในที่สุด ภาพเขียนผนังห้องโถงสภาเลยตกเป็นหน้าที่ของวาซารี ผู้เขียนชีวประวัติเลโอนาร์โดนั่นเอง
แม้ว่าในเบื้องต้นเลโอนาร์โดจะเสียใจและน้อยใจในโชคชะตาและสังคม แต่เขาก็บอกกับตัวเองไว้ในสมุดบันทึกว่า  “ ข้าจะดำเนินต่อไป ”  จากคำบอกเล่าของคนรอบข้างที่วาซารีรวบรวมมาได้ ในสภาวการณ์ตกต่ำเช่นนี้ เลโอนาร์โดคงใช้ชีวิตเป็นปรกติธรรมดาของตนเอง ใส่เสื้อสีชมพู กินมังสวิรัติง่าย ๆ ปล่อยนกในตลาด ฯลฯ หากว่านิ่งขึ้น และคงใช้เวลาอยู่กับธรรมชาตินาน ๆ ชอบออกไปเดินเล่นไกล ๆ ตามชนบทแคว้นทัสคานีที่เขารักอยู่เป็นประจำเหมือนตอนเด็ก ๆ เขาหันกลับมาศึกษาพฤกษศาสตร์และดาราศาสตร์ และรับเด็กชายชาวนามาเลี้ยงดูเป็นลูกบุญธรรม  เลโอนาร์โดเขียนบันทึกถึงชีวิตช่วงนี้ไว้ว่า  “ ความอดกลั้นต่อการดูถูกเหยียดหยามเป็นเสมือนเสื้อกันหนาว อากาศยิ่งเย็นเท่าไร เราก็ยิ่งต้องสวมใส่เสื้อผ้าเพื่อปกป้องตัวเองมากขึ้นเท่านั้น ”  อย่างไรก็ตาม เลโอนาร์โดคงได้งานจาก ชาร์ลส์ ดามบัวส์  ( Charles d’Amboise)  ผู้ว่ากรุงมิลาน ตัวแทนพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๒ แห่งฝรั่งเศส อยู่เรื่อย ๆ จนใน ค . ศ .  ๑๕๑๓ เลโอนาร์โดก็ย้ายไปโรมเพื่อรับงานวิศวกรรมกับคาร์ดินัล กิวลิอาโน เดอ เมดิชี พี่ชายของโป๊ป แต่สำนักวาติกันในตอนนั้นกำลังเป็นถิ่นของไมเคิลแองเจโล ศิลปินคนโปรดของโป๊ป ไมเคิลแองเจโลเคยหมั่นไส้ เลโอนาร์โดอย่างไร ก็ยังคงหมั่นไส้อยู่อย่างนั้น ไม่ลดดีกรีลงเลย   ( แม้ภายหลังเมื่อเลโอนาร์โดตายไปแล้วก็ตาม )  เขาคอยพูดจาถากถางเหน็บแนม โป๊ปซึ่งไม่ชอบเลโอนาร์โดอยู่แล้วเลยยิ่งพาลไม่ชอบ เลโอนาร์โดมากขึ้นไปอีก ทำให้บรรยากาศการใช้ชีวิตในสังคมกรุงโรมไม่ค่อยจะสุนทรีย์นัก ยิ่งเมื่อกิวลิอาโน ผู้อุปถัมภ์เลโอนาร์โดตายลง เลโอนาร์โดยิ่งอยู่ในโรมต่อไปไม่ได้เลย   เลโอนาร์โดชอบวาดคน บุคลิกหน้าตาแปลก ๆ ในตลาด ซึ่งเขาจะเดินสะกดรอยตาม เฝ้าดูได้ทั้งวัน
โลกรู้จัก  Leonardo da Vinci  ในฐานะจิตรกรชาวอิตาลีคนสำคัญที่สุดคนหนึ่ง ซึ่งเคยมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ ๕๐๐ ปีก่อน อันเป็นเวลาที่ยุโรปกำลังปั่นป่วนด้วยสงคราม ขณะเดียวกัน  Christopher Columbus  กับ  Amerigo Vespucci  ได้เดินทางพบโลกใหม่ ส่วน  Vasco da Gama  ก็ได้แล่นเรืออ้อมแหลม  Good Hope  จากยุโรปสู่อินเดีย และ  Johann Gutenburg  ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ขึ้นใช้เป็นครั้งแรก ยุคนั้นจึงมีชื่อเรียกว่า ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา หรือ  Renaissance  ความสามารถของ  Leonardo  ในการวาดภาพ  Mona Lisa  ที่ยิ่งใหญ่อมตะนิรันดรกาล และภาพอื่น ๆ เช่น  The Last Supper  กับ  Adoration of the Magi  นั้นก็เป็นที่ประจักษ์ดี แต่ก็มีคนอีกหลายคนที่ไม่รู้ว่า  Leonardo  ชอบบันทึกความนึกคิดและจินตนาการต่าง ๆ ของตนลงในสมุดบันทึก ซึ่งมีจำนวนมากถึง ๑๓ เล่ม รวมเป็นเอกสารที่หนากว่า ๔ , ๐๐๐ หน้า โดยมีภาพสเกตซ์พร้อมคำบรรยายอีกกว่าหมื่นภาพรวมอยู่ในนั้นด้วย เอกสารเหล่านี้ไม่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่มากนัก จึงมีคนไม่มากที่ได้รับรู้ถึงความสามารถด้านการเขียนเชิงวิชาการของ  Leonardo  แต่ถ้าเราได้ศึกษาเนื้อหาที่  Leonardo  เขียนไว้ในสมุดบันทึกแล้ว เราก็จะเห็นว่า  Leonardo  มีความเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักเทคโนโลยี มากกว่าความเป็นจิตรกรอีก   Leonardo  เริ่มมีนิสัยชอบวาดภาพ สเกตซ์ภาพ และจดบันทึกตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะเด็กชาย  Leonardo  ชอบศึกษาธรรมชาติมาก เขาชอบไล่จับผีเสื้อมาดูวิธีกระพือปีก เพื่อให้เข้าใจว่า เหตุใดมันจึงบินได้ หรือดูหนอนที่กำลังจะเป็นดักแด้ให้เห็นว่ามันกลายเป็นผีเสื้อในเวลาต่อมาได้อย่างไร และชอบดูลักษณะการบินของนก เป็นต้น  Leonardo  จะวาดภาพสิ่งที่เขาเห็น แล้วบันทึกความรู้สึกขณะเห็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติไว้ด้วย
ในส่วนของความสนใจด้านวิศวกรรมทหารนั้น  Leonardo  ก็ได้สเกตช์ภาพอาวุธสงครามไว้มากมาย ทั้ง ๆ ที่เขาเป็นคนเกลียดสงคราม เขาเคยกล่าวไว้ว่า สงครามคือความบ้าคลั่งเยี่ยงสัตว์ของคน แต่เมื่อในสมัยที่  Leonardo  ยังมีชีวิตอยู่ เจ้าครองแคว้นต่าง ๆ เช่น ทัสคานี และลอมบาร์ดี ทำสงครามกันเป็นประจำ และในตอนที่  Leonardo  อายุ ๔๒ ปี เขาได้เห็นกองทัพของพระเจ้า  Charles  ที่ ๘ แห่งฝรั่งเศสบุกอิตาลี อีก ๒ ปีต่อมา เขาก็ได้เห็นกองทัพเยอรมันและสเปนบุกอิตาลีอีก การทำงานรับใช้  Cesare Borgia  จึงทำให้  Leonardo  ต้องเข้ามามีบทบาทในการออกแบบอาวุธสงคราม งานออกแบบทางด้านวิศวกรรมทหารของ  Leonardo  ได้แก่ วิธีสร้างป้อมปราการป้องกันเมือง อาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับโจมตีข้าศึก อุปกรณ์ขุดเจาะอุโมงค์ทะลุภูเขาและคลอง อีกทั้งยังได้ดัดแปลงอุปกรณ์ทุกชนิดที่เคยใช้มือควบคุม ให้ใช้เครื่องกลแทน   และเนื่องจากอาวุธปืนใหญ่ที่ใช้กันในสมัยนั้นยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าไรนัก  Leonardo  จึงได้ออกแบบวิธีสร้างปืนใหญ่ใหม่ ให้สามารถยิงกระสุนได้หลายนัดพร้อมกัน ทั้งยังศึกษาวิธีที่จะทำให้มีกลไกการยิงที่แม่นยำ โดยได้พบว่า หากลำปืนยาว แล้วเล็งกระสุนทำมุมยกขึ้นต่ำ พิสัยในการยิงกระสุนจะไม่ดีเท่ากับการใช้ปืนที่มีลำกล้องสั้น แต่ยิงกระสุนทำมุมยกขึ้นสูง   ในส่วนของการออกแบบกระสุนนั้น  Leonardo  ได้ออกแบบกระสุนที่มีลักษณะเรียวยาว และมีครีบ โดยมุ่งหวังให้ครีบทำหน้าที่ควบคุมเสถียรภาพในการบินของกระสุน ขณะพุ่งผ่านอากาศ กระสุนที่มีครีบนี้ มีลักษณะเหมือนจรวดที่ทหารทุกวันนี้ใช้ในการทำสงคราม   อุปกรณ์ผลักบันไดข้าศึก   Leonardo  ยังได้ออกแบบธนูยักษ์ที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งใหญ่เสียจนถ้ามีใครสร้างได้จริง คงขนย้ายไปตามถนนในสมัยนั้นไม่ได้ ถึงกระนั้นการออกแบบอาวุธขนาดมโหฬารเหล่านี้ก็คงทำให้คนออกแบบมีความสุขที่ได้นั่งคิด
กายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ก็เป็นความรู้อีกแขนงหนึ่งที่  Leonardo  สนใจ เขาศึกษาระบบต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ โดยการผ่าศพคน แล้ววาดภาพอวัยวะส่วนต่าง ๆ อย่างละเอียด การมีสายตาที่เฉียบคมและมีความพิถีพิถันในการวาด ทำให้ภาพที่  Leonardo  วาด ละเอียดและถูกต้องยิ่งกว่าภาพใด ๆ ที่ใช้สอนนิสิตแพทย์ในสมัยนั้น ความละเอียดถี่ถ้วนนี้ยังได้ทำให้แพทย์รู้ว่าคำสอนบางคำสอนของ  Aristotle  และ  Galen  นั้นผิด   เลโอนาร์โดเองก็สนใจทั้งโครงสร้างมนุษย์และระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ มาโดยตลอด แต่เขาเป็นคนเดียวที่ลุกขึ้นศึกษาข้อเท็จจริงอย่างเป็นระบบ โดยใช้เวลาหลายเดือนในการวัดสัดส่วนตัวอย่างค�
เลโอนาร์โด
เลโอนาร์โด
เลโอนาร์โด
เลโอนาร์โด
เลโอนาร์โด
เลโอนาร์โด
เลโอนาร์โด

More Related Content

What's hot

สรุปนิราศภูเขาทอง
สรุปนิราศภูเขาทองสรุปนิราศภูเขาทอง
สรุปนิราศภูเขาทองkanchana13
 
ไพรมหากาฬ3
ไพรมหากาฬ3ไพรมหากาฬ3
ไพรมหากาฬ3krutew Sudarat
 
ไพรมหากาฬ4
ไพรมหากาฬ4ไพรมหากาฬ4
ไพรมหากาฬ4krutew Sudarat
 
พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22
พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22
พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22phornphan1111
 
พระเวสสันดร
พระเวสสันดรพระเวสสันดร
พระเวสสันดรkhaek
 
หัวข้อที่ ๒ หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๒  หลักฐานทางประวัติศาสตร์หัวข้อที่ ๒  หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๒ หลักฐานทางประวัติศาสตร์chakaew4524
 

What's hot (6)

สรุปนิราศภูเขาทอง
สรุปนิราศภูเขาทองสรุปนิราศภูเขาทอง
สรุปนิราศภูเขาทอง
 
ไพรมหากาฬ3
ไพรมหากาฬ3ไพรมหากาฬ3
ไพรมหากาฬ3
 
ไพรมหากาฬ4
ไพรมหากาฬ4ไพรมหากาฬ4
ไพรมหากาฬ4
 
พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22
พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22
พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22
 
พระเวสสันดร
พระเวสสันดรพระเวสสันดร
พระเวสสันดร
 
หัวข้อที่ ๒ หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๒  หลักฐานทางประวัติศาสตร์หัวข้อที่ ๒  หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๒ หลักฐานทางประวัติศาสตร์
 

More from kruart2010

ข้อสอบการอ่านม.๖
ข้อสอบการอ่านม.๖ข้อสอบการอ่านม.๖
ข้อสอบการอ่านม.๖kruart2010
 
คำถามแฟ้มประวัติ
คำถามแฟ้มประวัติคำถามแฟ้มประวัติ
คำถามแฟ้มประวัติkruart2010
 
กรุวัดราชบูรณะ
กรุวัดราชบูรณะกรุวัดราชบูรณะ
กรุวัดราชบูรณะkruart2010
 
การกำกับภาพ
การกำกับภาพการกำกับภาพ
การกำกับภาพkruart2010
 

More from kruart2010 (6)

ข้อสอบการอ่านม.๖
ข้อสอบการอ่านม.๖ข้อสอบการอ่านม.๖
ข้อสอบการอ่านม.๖
 
คำถามแฟ้มประวัติ
คำถามแฟ้มประวัติคำถามแฟ้มประวัติ
คำถามแฟ้มประวัติ
 
กรุวัดราชบูรณะ
กรุวัดราชบูรณะกรุวัดราชบูรณะ
กรุวัดราชบูรณะ
 
Pop up
Pop upPop up
Pop up
 
Pop up
Pop upPop up
Pop up
 
การกำกับภาพ
การกำกับภาพการกำกับภาพ
การกำกับภาพ
 

เลโอนาร์โด

  • 1. สเกตช์ภาพเหมือน เลโอนาร์โด ดาวินชี ในวัยชรา ไม่แน่ใจว่าเขียนเอง หรือลูกศิษย์เป็นคนวาด “ ... บางครั้ง สวรรค์ประทานพรเลอเลิศแก่คนคนหนึ่งอย่างล้นหลาม จนเบียดบังรัศมีผู้อื่นเสียสิ้น ... เราเห็นปรากฏการณ์นี้ในตัว เลโอนาร์โด ดาวินชี ” จีออร์จีโอ วาซารี ผู้เขียนชีวประวัติ เลโอนาร์โด ดาวินชี ค . ศ . ๑๕๕๐ เลโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci)
  • 2. เลโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci) เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๕ เมษายน ค . ศ . ๑๔๕๒ เวลา ๓ นาฬิกา ตอนเช้ามืด ที่เมืองวินชี ไม่ไกลจากกรุงฟลอเรนซ์ ในแคว้นทัสคานี อิตาลีตอนเหนือ เป็นลูกนอกสมรสของผู้ตรวจสอบเอกสารทางกฎหมายนาม เซร์ ปิเอโร ดี อันโทนีโอ ( ser Piero di Antonio) กับหญิงชาวนานามคาเทรีนา ( Caterina) ไม่ทราบสกุล ชื่อเต็มยศจึงได้แก่ เลโอนาร์โด ดี เซร์ ปิเอโร ดาวินชี แปลว่า คุณสิงห์ ลูกนายปิเอโร จากเมืองวินชี เพียงไม่กี่เดือนหลังเลโอนาร์โดเกิด เซร์ ปิเอโร ก็แต่งงานกับ อัลบิเอรา อามาโดรี ( Albiera Amadori) หญิงชนชั้นกระฎุมพีมีสตางค์ สถานะคู่ควรกับตระกูลข้าราชการเก่าแก่ของ เซร์ ปิเอโร และคาเทรีนาก็จำต้องเลียแผลหัวใจ แต่งงานไปกับชายชาวนาละแวกบ้านแถวนั้น จนเลโอนาร์โดมีอายุได้ ๕ ขวบ พ่อก็เอาตัวไปอยู่ด้วย ให้แม่เลี้ยงซึ่งในตอนนั้นยังไม่มีลูกของตัวเองได้เลี้ยงเป็นลูก อย่างไรก็ตาม ที่สุดแล้วทั้งพ่อและแม่เลโอนาร์โดก็มีลูกกับคนอื่นในเวลาต่อมาอีกมากมาย จนรวมแล้ว เลโอนาร์โดมีพี่น้องต่างบิดามารดาถึง ๑๗ คน เลโอนาร์โดจึงเติบโตมาในบ้านใหญ่แสนอบอุ่น พร้อมด้วยปู่ย่า และลุงที่ดูจะรักเขามากเป็นพิเศษจนทิ้งส่วนแบ่งมรดกไว้ให้ ความสัมพันธ์กับนางคาเทรีนา แม่แท้ ๆ ก็เข้าใจว่าคงจะดี เพราะตอนโตแล้ว เลโอนาร์โด ก็รับแม่มาอยู่ด้วย ชีวิตวัยเด็กของเลโอนาร์โดจึงไม่ลำบากมากนัก ในสมัยที่เลโอนาร์โดเป็นเด็กและหนุ่มน้อย เหล่าปัญญาชนฮิวแมนนิสต์ทั้งหลายจึงมุ่งศึกษาหาปัญญาจากตำรับตำราโรมัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปรมาจารย์กรีกรุ่นเดอะอย่างเพลโตและอริสโตเติลเป็นหลัก ลูกคนกิ๊บเก๋มีคลาสจึงต้องเรียนภาษาละติน และถ้าเก๋มาก ๆ ก็เรียนกรีกด้วย แต่แม้ว่าพ่อจะหาครูบาทหลวงมาสอนภาษาละตินโบราณให้ เลโอนาร์โดก็ไม่ยอมเรียนหนังสือในห้องสมุดทึม ๆ กลับหันไปค้นหา “ ความจริง ” จากธรรมชาติรอบตัว และชอบนั่งจ้อกับเหล่าชาวนาอารมณ์ดีใต้ต้นไม้กลางแดดหอมอุ่นแสงใสของแคว้น ทัสคานี เขาจะคอยจดตำนาน เรื่องเล่า สุภาษิต ความเชื่อ คำพังเพย ภูมิปัญญาต่าง ๆ ของชาวนาเก็บไว้มากมาย
  • 3. ภาพสเกตช์ด้วยหมึก แสดงภูมิประเทศลุ่มน้ำอาร์โน บ้านเกิดเลโอนาร์โด ที่เขาเดินศึกษาธรรมชาติจนทะลุปรุโปร่ง เขียนในปี ค . ศ . ๑๔๗๓ เมื่ออายุ ๒๑ ปี เด็กชายเลโอนาร์โดใช้เวลานาน ๆ ทุกวันคลุกคลีอยู่กับธรรมชาติรอบบ้านเกิด วินชีเป็นเมืองเล็กข้างเขาที่แทบจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเลยตลอด ๕ ศตวรรษครึ่งที่ผ่านมาจวบจนวันนี้ มันเป็นเมืองชนบท บ้านสร้างด้วยหินเรียงเป็นก้อน ๆ ล้อมรอบไปด้วยไร่นาอุดมสมบูรณ์ ตามเนินเขาที่ดอนก็เต็มไปด้วยสวนองุ่น สวนผลไม้ และมีดงต้นมะกอกที่มีหลังใบสีเงินว็อบแว็บขึ้นกระจัดกระจายไปทั่ว มีเขาอัลบาโนตั้งตระหง่านอยู่ใกล้ ๆ เป็นต้นน้ำของลำธารกะรุกกะริกหลายสายที่ไหลผ่านเมืองวินชีสู่หุบลุ่มน้ำอาร์โน แม้ว่าครอบครัวจะอบอุ่น แต่เลโอนาร์โดก็เป็นเด็กรักสันโดษที่ชอบใช้เวลาอยู่เงียบ ๆ คนเดียว เขาชอบไปเดินเล่นไกล ๆ สอดส่องเฝ้ามองดอกไม้ นก แมลง ฯลฯ จนไม่มีนักประวัติศาสตร์คนใดแน่ใจว่าเด็กชายเลโอนาร์โดมีครูเป็นตัวเป็นตนแค่ไหนอย่างไรบ้าง นอกเหนือไปจากธรรมชาติซึ่งเขาจำกัดความไว้ในสมุดบันทึกว่าเป็น “ เหตุผลบริสุทธิ์ ” ของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งปวง “ ในธรรมชาติ ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุ ถ้าเราเข้าใจในเหตุ เราก็ไม่จำเป็นต้องผ่านประสบการณ์นั้น ๆ เอง ”
  • 4. ศิลปินดาวรุ่งแห่งกรุงฟลอเรนซ์ เซร์ ปิเอโร พ่อของเลโอนาร์โด คงจะเฝ้าสังเกตพรสวรรค์ของลูกชายมาโดยตลอด มีตำนานเล่ากันว่า เมื่อเลโอนาร์โดเริ่มเป็นวัยรุ่น ชาวนาคนหนึ่งฝากโล่ไม้มะเดื่อทรงกลมให้ เซร์ ปิเอโร เอาไปให้ช่างในกรุงฟลอเรนซ์วาดภาพประดับให้ เซร์ ปิเอโร จึงกลับบ้านมาวานให้เลโอนาร์โดวาด ตามประสาวัยรุ่น เลโอนาร์โดคงคิดว่ามันจะเท่มากถ้าวาดภาพสยดสยองสุดหลอน เขาเลยวาดหัวสัตว์ประหลาดพ่นควันพิษ เพียบพร้อมไปด้วยสัตว์ที่คนกลัวและขยะแขยง อย่างกิ้งก่า ค้างคาว และหนอนแมลงวัน เลโอนาร์โดมัวแต่มุ่งวาดภาพจนไม่ทันสังเกตเห็นว่า บรรดาซากสัตว์ที่เขาเก็บมาเป็นแบบเริ่มเน่า ส่งกลิ่นอบอวลเต็มห้อง และเขาก็วาดมันไปทั้งเน่า อย่างนั้น จนเมื่อให้พ่อดู เซร์ ปิเอโร ถึงกับตกใจในความเหมือนจริงของซากสัตว์บนโล่ แทนที่จะคืนโล่อันนี้แก่ชาวนา เซร์ ปิเอโร กลับไปซื้อโล่สำเร็จรูปเขียนลายหัวใจมีลูกศรเสียบในตลาดให้ชาวนา แล้วแอบเอาโล่ที่ลูกชายวาดไปทดลองขายให้แก่พ่อค้าในเมืองฟลอเรนซ์ ซึ่งขายต่อให้แก่ท่านดยุคแห่งกรุงมิลานไปในราคา ๑๐๐ ดูแก็ต เซร์ ปิเอโร ก็เริ่มคิดถึงอาชีพของลูกชายอย่างจริงจัง และคิดว่าเลโอนาร์โดน่าจะเป็นศิลปิน เมื่อเลโอนาร์โดอายุได้ราว ๑๗ ปี เซร์ ปิเอโร จึงเอาตัวอย่างภาพสเกตช์ของลูกชายไปให้เพื่อนสนิทดู คือ อันเดรีย เดล เวร์รอกชีโอ (Andrea del Verrocchio, ๑๔๓๕ - ๑๔๘๘ ) ซึ่งเป็นศิลปินและนักออกแบบมีชื่อในเมืองฟลอเรนซ์ เพื่อให้เวร์รอกชีโอช่วยวิจารณ์และประเมินดูว่าเลโอนาร์โดพอจะฝึกงานออกแบบยึดเป็นอาชีพเลี้ยงปากท้องได้หรือไม่ ว่ากันว่า เมื่อเวร์รอกชีโอเห็นตัวอย่างงานของเลโอนาร์โด เขาถึงกับตะลึงงัน และรบเร้าให้ปิเอโรพาลูกมาฝึกงานที่สตูดิโอ
  • 5. ปรกติ เด็กฝึกงานในสมัยนั้นต้องทำหน้าที่สารพัดเบ๊ในสตูดิโอเป็นเวลาหลายปี ก่อนได้รับอนุญาตให้จับพู่กันช่วยเขียนรูป เริ่มตั้งแต่บดผงสี นวดดิน ฯลฯ ให้ครูและรุ่นพี่ เป็นนานกว่าจะได้ช่วยระบายสีฉากหลังและองค์ประกอบเล็ก ๆ ที่ไม่สำคัญ แต่เลโอนาร์โดฝึกงานเพียงไม่นาน เวร์รอกชีโอ ก็ให้ช่วยเขียนภาพให้ลูกค้าแล้ว จนเมื่อเลโอนาร์โดมีอายุได้ ๒๐ ปี เวร์รอกชีโอก็ให้ช่วยเขียนภาพจอห์นเดอะแบปทิสต์รดน้ำดำหัวพระเยซู ( The Baptism of Christ) โดยเวร์รอกชีโอเป็นผู้ออกแบบภาพ เขียนตัวละครและองค์ประกอบหลักๆ ให้เลโอนาร์โดเขียนวิวฉากหลังสุด เขียนตัวนางฟ้าถือผ้า และแต่งเติมตัวพระเยซูที่วาดไว้เกือบเสร็จแล้ว ปรากฏว่าภาพส่วนที่เลโอนาร์โดวาด ฝีมือดีละเอียดอ่อนกว่าที่เวร์รอกชีโอวาดอย่างเห็นได้ชัด ว่ากันว่า เมื่อเวร์รอกชีโอเห็นฝีมือของศิษย์ เขาถึงกับลั่นวาจาเลิกจับพู่กันระบายสีอีกต่อไป เรื่องนี้จริงแท้แค่ไหนเราไม่รู้ รู้แต่ว่า หลังจากภาพนี้ เวร์รอกชีโอแทบจะทำแต่งานประติมากรรม ภาพ The Baptism of Christ ( ๑๔๗๐ - ๑๔๗๒ ) ที่เลโอนาร์โดช่วยเวร์รอกชีโอวาดวิวฉากหลังสุด ตัวนางฟ้าถือผ้า และแต่งเติมตัวพระเยซูที่เวร์รอกชีโอวาดไว้ เห็นได้ชัดว่าฝีมือเลโอนาร์โดนุ่มเนียนกว่าฝีแปรงแข็งๆ ของเวร์รอกชีโอมากนัก
  • 6. ทุกเรื่องที่เขาศึกษา เขาจะปรับใหม่ให้สอดคล้องกับความคิดของตัวเอง ไม่เคยโอนอ่อนไปตามกระแสแฟชั่นหรือการเมือง เลโอนาร์โดเชื่อในพระเจ้า แต่เป็นพระเจ้าในธรรมชาติ แม่ผู้สร้างสรรค์สรรพสิ่ง ( mother nature) ไม่ใช่พระเจ้าในคัมภีร์ไบเบิล ขนาดที่นักประวัติศาสตร์ในยุคสมัยเดียวกันยังมองว่าเขาเป็นนักปรัชญามากกว่าเป็นคริสตัง เลโอนาร์โดเห็นพ้องบ้างกับปราชญ์กรีกยุคคลาสสิกอย่างเพลโต และโดยเฉพาะอริสโตเติลซึ่งเป็นนักนิยมธรรมชาติเหมือนเขา แต่ก็ไม่ได้เห็นด้วยทั้งหมด เขาได้แนวคิดมากมายจากกระแสมนุษยนิยม แต่เขาก็คิดต่างมากมายเช่นกัน เพราะเขาจะเอาความคิดเหล่านั้นมาเปรียบเทียบกับข้อสังเกตในธรรมชาติของตัวเอง อย่างไรก็ตาม ปราชญ์โบราณที่ปัญญาชนสายมนุษยนิยมหยิบยกปัดฝุ่นขึ้นมาศึกษาบางคน เช่น อาร์คิมีดิส ก็จุดประกายความคิดเลโอนาร์โดเป็นอย่างมาก จนเขาพยายามฮึดเรียนภาษาละติน ๒ - ๓ ครั้ง แต่ก็ไม่เคยทนเรียนได้สำเร็จ ความไม่รู้ภาษาละตินจึงกลายเป็นปมด้อยเล็ก ๆ ของเลโอนาร์โด การแต่งตัวของเขาก็เป็นเอกลักษณ์ ในขณะที่ผู้ชายสมัยนั้นนิยมใส่ชุดคลุมยาวสีขรึม เลโอนาร์โดกลับใส่ชุดสั้นแค่เข่า ผ้าเนื้อดีสีกุหลาบชมพูอมส้ม รับกับใบหน้าหล่อเหลา ผมทองดกยาว ตาสีฟ้า โก้เก๋ด้วยร่างสูงผอมแข็งแรง และจริตกิริยาที่สง่างาม มีเสน่ห์ เป็นคนนิ่ง อ่อนโยน เก็บอารมณ์ ไม่เคยแสดงอาการเกรี้ยวกราดกับใคร ไม่น่าเชื่อว่าสรรพคุณเริ่ดขนาดนี้ แต่กลับไม่ค่อยมีใครหมั่นไส้ มีแต่นับถือและชื่นชม เลโอนาร์โดรักสัตว์มาก เขาเป็นมังสวิรัติมาแต่เด็ก ในยุคสมัยที่คนทั่วไปไม่คิดจะเป็นกัน ในขณะที่พวกฮิวแมนนิสต์เห็นความเป็นเลิศในมนุษยชาติเหนือธรรมชาติและสัตว์อื่นๆ ส่วนศาสนจักรก็เห็นสรรพสัตว์เป็นเพียงบริวารรับใช้ความต้องการของมนุษย์ที่พระเจ้าสร้างไว้ให้ เลโอนาร์โดกลับเห็นความ “ เหนือสัตว์ ” ของมนุษย์ในแง่มุมที่ต่างออกไปว่า “ โดยแท้จริง มนุษย์คือราชาแห่งบรรดาสัตว์เดรัจฉาน เพราะความโหดเหี้ยมทารุณของเขามีมากกว่าพวกมัน เราดำรงชีวิตด้วยความตายของชีวิตอื่น ๆ เราจึงเป็นป่าช้าฝังศพ ” อาหารประจำของเลโอนาร์โดจะประกอบไปด้วยขนมปัง เห็ด ผัก ผลไม้ และไวน์ แม้แต่นมก็ไม่ยอม “ ขโมย ” มาจากวัว เพราะจะเป็นการแย่งอาหารสำคัญไปจากเด็กเล็ก ๆ ซึ่งต้องการนมมากกว่าผู้ใหญ่ ( สมัยนั้นยังไม่มีอุตสาหกรรมอาหารใหญ่โตอย่างในวันนี้ ) ไข่ไก่ก็ไม่กิน เพราะ “ โอ ! จะมีสักกี่ชีวิตที่จะไม่ได้เกิด ”
  • 7. แม้ว่าหลักฐานชีวิตวัยเด็กของ เลโอนาร์โด ดาวินชี จะมีอยู่เพียงกะหร็อมกะแหร็ม แต่เรารู้ว่าอุปนิสัยและจริตต่าง ๆ ที่เราเห็นเป็นเอกลักษณ์ส่วนตัวของเลโอนาร์โดได้พัฒนาเป็นรูปเป็นร่างแล้วเมื่อเลโอนาร์โดมีอายุเพียง ๒๑ ปี ซึ่งรวมถึงการเขียนบันทึกกลับทางจากขวาไปซ้าย เหมือนภาพสะท้อนกระจกเงา การศึกษาภูมิทัศน์ด้วยมุมมองจากที่สูง ซึ่งเขาเริ่มด้วยการสำรวจจากเขาอัลบาโนข้างบ้านเกิด การวาดภาพสิ่งที่อยู่ไกล ซึ่งจะออกเบลอและเป็นสีฟ้า ด้วยการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแสงกับบรรยากาศ ที่เรียกว่า “ สฟูมาโต ” (sfumato) และการวาดสเกตช์ด้วยเส้นง่าย ๆ ที่จับความรู้สึกและเอกลักษณ์ของสิ่งที่วาด ซึ่งออกจะเดิร์นเอามาก ๆ ไม่เห็นมีใครในละแวกนั้นทำกันมาก่อน จนทุกวันนี้ก็ยังดูได้ไม่เบื่อเลย เลโอนาร์โดชอบไปเดินตลาดเป็นกิจวัตร และชอบซื้อนกที่คนจับมาขาย ทั้ง ๆ ที่เขาไม่ค่อยมีสตางค์ เมื่อจ่ายเงินเสร็จสรรพ เขาก็จะเปิดกรง ปล่อยนกให้บินหนีไปในทันที ท่ามกลางความตื่นตะลึงของคนทั้งตลาด พลางหัวเราะด้วยความเบิกบาน บางทีก็เป็นสัตว์อื่น อย่างแมวหรือหมา เขาเชื่อว่า “ ไม่มีใครมีสิทธิ์ที่จะกักขังชีวิตอื่น โดยขาดกระบวนการพิจารณาและเหตุผลอันควร ไม่ว่าชีวิตนั้นจะเป็นคนหรือเป็นสัตว์ พระเจ้าให้อิสรภาพแก่ทุกชีวิต ไม่มีใครฉกฉวยพรนี้ไปได้ ” ๕๕๐ ปีก่อน ความคิดแบบนี้ไม่ใช่แนวคิดธรรมดา ที่น่าคิด คือ แม้เลโอนาร์โดจะมีพฤติกรรมไม่ธรรมดา เป็นตัวของตัวเองที่ปรกติสังคมสมัยนั้นจะไม่ค่อยยอมรับ แต่เขากลับได้รับการยอมรับ เช่น ไม่พยายามปกปิดว่าถนัดซ้าย แม้จะใช้มือขวาได้คล่องก็ตาม ซึ่งในสมัยนั้น การถนัดซ้ายถือเป็นร่องรอยของซาตาน หรือการเป็นลูกนอกสมรส ปรกติจะไม่ได้รับแบปไทซ์เข้าเป็นสมาชิกในโบสถ์ของชุมชน แต่เลโอนาร์โดก็ได้รับแบปไทซ์ ปัจจัยสำคัญน่าจะเป็นบรรยากาศที่ออกแนวเป็นเสรีนิยมมากขึ้นในสังคมฮิวแมนนิสต์ยุคเรอเนซองซ์ของกรุงฟลอเรนซ์ เแต่เลโอนาร์โดก็หวิดถูกเผาทั้งเป็น จากสมุดบันทึก ศึกษาแสงและเงา
  • 8. คดีซาลตาเรลลี ปี ค . ศ . ๑๔๗๖ นับเป็นปีมืดของเลโอนาร์โด เขาและเพื่อนร่วมงานอีก ๓ คนในโรงศิลปะของ เวร์รอกชีโอ ถูกกล่าวหาถึง ๒ ครั้งว่ามีเพศสัมพันธ์กับนายแบบอายุ ๑๗ ปี ชื่อ จาโคโป ซาลตาเรลลี ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๘ เมษายน และครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน การกล่าวหาสมัยนั้นทำกันได้ง่ายมาก เพียงเขียนข้อความนิรนามเอาไปหยอดใส่ตู้ปากสิงโตที่ตั้งไว้หน้าอาคารปาลาซโซเวกชีโอ (Palazzo Vecchio) เพื่อเป็นข้อมูลให้ตำรวจ เลโอนาร์โดกับเพื่อนต้องขึ้นศาลทั้ง ๒ ครั้ง และถูกจำคุกรวมทั้งสิ้น ๒ เดือน แต่ก็ได้รับการปล่อยตัวออกมาเพราะขาดหลักฐาน และเวร์รอกชีโอ คุณครูแสนดี วิ่งเต้นช่วยเหลือ ถึงกระนั้นก็ยังถูก “ เจ้าหน้าที่ราตรี ” ติดตามจับตา ตามหน้าที่ที่ตั้งขึ้นมาจำเพาะเพื่อปราบปรามพวกรักร่วมเพศ เป็นการจัดระเบียบสังคม ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นช้าไปอีกเพียงไม่กี่ปี เมื่อฟลอเรนซ์เปลี่ยนผู้ปกครองไปตกอยู่ใต้อำนาจของ จีโรลาโม ซาโวนาโรลา ( Girolamo Savonarola) เราคงจะไม่ได้เห็นภาพ โมนาลิซา อาหารเย็นมื้อสุดท้าย วิทรูเวียนแมน ที่กางแขนขาอยู่ในจัตุรัสและวงกลม ฯลฯ เพราะซาโวนาโรลาเป็นพระพิวริแทนคลั่งศาสนาใจแคบจอมโหด มีประวัติกรรมโด่งดังจารึกถึงคนรุ่นเราว่า เป็นนักล่า ( ฆ่า ) แม่มดตัวสำคัญ บังเอิญหาหนังสือประวัติศาสตร์แม่มดตรงนี้ไม่เจอ แต่ถ้าจำไม่ผิดก็กว่าหมื่นคน และเผาทำลายตำราวิชาการ วรรณกรรม ภาพเขียน และ “ ของฟุ้งเฟ้อ ” อื่น ๆ จำนวนมาก ภายใต้การปกครองของซาโวนาโรลา ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นเกย์จะถูกเผาทั้งเป็นโดยไม่มีการอุทธรณ์ ปรกติ เลโอนาร์โดก็เป็นคนสันโดษอยู่แล้ว พอเกิดเหตุการณ์นี้ เขายิ่งปกป้องความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ไม่มีวี่แววใด ๆ เกี่ยวกับชีวิตรักเขาเลย เลโอนาร์โดไม่เคยแต่งงาน และไม่มีตัวละครน่าสงสัยทั้งหญิงชายปรากฏในชีวิต อีกหลายปีต่อมา เขาได้อุปถัมภ์เด็กชายชาวนาหน้าตาดีคนหนึ่งเป็นลูกบุญธรรม แต่ก็ไม่มีอะไรไม่ชอบมาพากล ยกเว้นความไม่เอาถ่านไม่น่ารักของเด็กคนนี้เท่านั้น
  • 9. เมื่อคดีฝันร้ายผ่านพ้นไป เลโอนาร์โดจึงตัดสินใจลาออกจากโรงศิลปะของเวร์รอกชีโอมาเป็นศิลปินเดี่ยวรับงานเอง ออกจะไส้แห้ง ได้งานน้อย เพราะเขาทำงานไม่ค่อยเสร็จ แต่ก็ยังพอมีคนจ้างอยู่เรื่อย ๆ เนื่องจากฝีมือดีเหลือเกิน ชีวิตช่วงนี้เป็นช่วงที่เขารับงานพระวาดภาพ Adoration of the Magi เป็นชีวิตพระเยซูตอนที่นักปราชญ์ ๓ คนเดินทางมาเบธเลเฮ็มเพื่อคารวะพระผู้ไถ่ผู้เกิดใหม่ ที่ผ่านมา ภาพชีวิตพระเยซูเหล่านี้จะนำเสนอในแนวฉากทองรุ่งโรจน์แสงสวรรค์ มีนางฟ้าร้องเพลงสรรเสริญดังอื้ออึง แต่เลโอนาร์โดแหวกแนวนำเสนอ ให้เป็นฉากหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษย์ จริง ๆ อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับงานส่วนใหญ่ ภาพนี้ก็วาดไม่เสร็จ ยังไม่ได้เริ่มลงสีด้วยซ้ำ เป็นแค่ภาพร่างสีน้ำตาล ซึ่งคนปัจจุบันนี้แอบดีใจ เพราะกลับทำให้โดดเด่น มีเอกลักษณ์มากกว่าภาพสี เลโอนาร์โดทำงานเป็นศิลปินเดี่ยวในฟลอเรนซ์ได้ ๕ ปี ก็ย้ายถิ่นไปปักหลักที่กรุงมิลาน Adoration of the Magi ( ๑๔๘๑ ) เป็นงานใหญ่ชิ้นแรก ที่เลโอนาร์โดรับจ้างวาดให้วัด หลังแยกตัวออกมา เป็นศิลปินเดี่ยวไส้แห้ง ภาพนี้นับเป็นหลักกิโลสำคัญ ของประวัติศาสตร์ศิลปะยุโรป บางครั้งเลโอนาร์โดชอบเขียนผู้ชาย ให้ออกเป็นผู้หญิง เช่นภาพ St. John the Baptist นี้
  • 10. ภาพ The Last Supper บนผนังโรงอาหาร วัดซานตามาเรียฯ The Last Supper ภาพ อาหารเย็นมื้อสุดท้าย ( The Last Supper) ซึ่งเลโอนาร์โดเขียนไว้บนกำแพงโรงอาหารวัดซานตามาเรียเดลเลกราซี ( Santa Maria delle Grazie) ในเมืองมิลาน น่าเสียดายที่เลโอนาร์โดทดลองใช้สีน้ำมันผสมปูนสูตรพิเศษที่คิดขึ้นเอง แทนการใช้ผงสีผสมปูนแบบดั้งเดิมที่ผ่านการลองผิดลองถูกมาได้ที่แล้ว ปรากฏว่าสีสูตรพิเศษนี้ติดกำแพงไม่ค่อยดี ลอกหลุดไปในช่วงอายุของเลโอนาร์โดเอง สภาพของ อาหารเย็นมื้อสุดท้าย จึงถลอกปอกเปิกน่าสงสารเอาการ ในภาพนี้ เลโอนาร์โดเลือกแสดงเหตุการณ์ในชั่วขณะที่พระเยซูประกาศกับหมู่สาวกว่า “ หนึ่งในพวกเจ้าจะทรยศข้า ” จึงเกิดปฏิกิริยาชุลมุนบนโต๊ะอาหาร เลโอนาร์โดวาดเป็นโต๊ะยาวตั้งอยู่กลางห้องใกล้สวนเกธเซเมนที่พระเยซูไปสวดมนต์ก่อนถูกจับ มีหน้าต่างเรียบ ๆ อยู่ข้างหลัง มองออกไปเห็นทิวทัศน์ด้านนอก ตำแหน่งของภาพนี้เชื่อมโยงกับสถาปัตยกรรมจริงของโรงอาหารวัดซานตามาเรียฯ ทำให้รู้สึกเหมือนเป็นเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นภายในห้องนี้จริง ๆ มีพระเยซูนั่งอยู่กลางโต๊ะ และสาวกทั้ง ๑๒ เรียงรายซ้ายขวาข้างละ ๖ คน จับกลุ่มเป็นหมู่ย่อยกลุ่มละ ๓ คน จูดาส ผู้จะเป็นคนทรยศพระเยซู หันเอี้ยวตัวมามองพระเยซูจนใบหน้าตกอยู่ในเงามืด เป็นการแสดงเรื่องราวของตัวละครที่ชัดเจนแต่เป็นธรรมชาติอย่างที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน ว่ากันว่า เมื่อรองเจ้าอาวาสวัดมาไล่ทวงงานว่าทำไมไม่เสร็จสักที กะอีแค่วาดหน้าพระเยซูและจูดาสที่ถูกทิ้งโบ๋ว่างเปล่าอยู่นาน เลโอนาร์โดก็สวนตอบไปว่า ก็เดินดูหน้าคนในเมืองอยู่ทุกวัน ยังหานายแบบหน้าชั่วพอเป็นจูดาสไม่ได้สักที จริง ๆ หน้าพระคุณท่านก็ออกจะเหมาะเจาะ แต่ถ้าใช้ก็เกรงว่าจะทำให้ท่านกลายเป็นตัวตลกประจำวัดไป
  • 11. นักประวัติศาสตร์ศิลป์ส่วนใหญ่เชื่อว่า ผู้หญิงในภาพ The Last Supper คือ เซนต์จอห์น ( St. John the Evangelist) ผู้ซื่อสัตย์และอ่อนโยน ซึ่งเลโอนาร์โดตั้งใจเขียนให้ออกหยิน ๆ เช่นเดียวกับที่เขียนจอห์นเดอะแบปทิสต์ ( John the Baptist) ให้ออกหญิง หรือเขียนเทวดายูไรเอล ( Uriel) ในภาพ The Virgin of the Rocks ให้เป็นผู้หญิง ความไร้เพศหรือสลับเพศไปมาดูจะเป็นสไตล์ของเลโอนาร์โด แม่นางโมนาลิซาเองก็เป็นผู้หญิงสง่าที่มีความเป็นชายแฝงอยู่ในตัวไม่น้อยเลย อย่างไรก็ตาม ในยุคสมัยเลโอนาร์โด ความเชื่อของพวกคาทาร์ก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องลี้ลับมากนัก โดยเฉพาะในหมู่ปัญญาชนสอดรู้สอดเห็นอย่างเลโอนาร์โด นอกเหนือจากพวกคาทาร์ ยังมีกลุ่มคนที่นับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในธรรมชาติ หรือพระแม่เจ้า แม่ธรณี และถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกแม่มดผีห่าซาตานต่าง ๆ นานา ล้วนแล้วแต่เป็นเหตุให้ศาสนจักรต้องพยายามจัดระเบียบให้เข้าจารีต โดยหยิบยื่นพระแม่มารี แม่พรหมจรรย์แสนดีและเรียบร้อยของพระเยซูให้บูชาแทนเพศแม่องค์อื่น ถ้ายังไม่ยอม ก็กำจัดให้สิ้นซากไปเลย จึงเป็นไปได้ว่าเลโอนาร์โดผู้เป็นเสรีชน ไม่ชอบการจำกัดความคิดสังคมของศาสนจักร จะอยากให้เกียรติ แมรี่ แม็กดาเลน โดยแสดงภาพเคียงข้างพระเยซูใน The Last Supper ซึ่งเป็นภาพที่เขียนขึ้นในระหว่างที่เลโอนาร์โดอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์คุ้มครองจากสฟอร์ซา ฮิวแมนนิสต์ผู้ทรงอิทธิพล และถ้าใครจะมองว่าตัวละคร หยินคนนี้คือเซนต์จอห์นก็ได้ ไม่แปลกอะไร ปลอดภัยดี เลโอนาร์โดนับถือพระเจ้าในธรรมชาติ ไม่ใช่ในสถาบันศาสนา เขาเคารพพระเยซูในฐานะบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ เลโอนาร์โดไม่ชอบสุงสิงกับการเมืองในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเมืองในสังคม การเมืองในวงการศิลปะ หรือการเมืองเชิงอำนาจปกครอง เขาหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้เสมอ ขออย่างเดียวคือให้มีโอกาสได้ทำสิ่งที่ตัวเองสนใจอยากจะทำ การเดาใจเลโอนาร์โดไม่ใช่เรื่องง่าย จากมุมมองของตรรกะทั่ว ๆ ไป เลโอนาร์โดดูจะเต็มไปด้วยความขัดแย้งในตัวเอง เขาเกลียดสงคราม แต่ออกแบบอาวุธสงคราม ไม่ชอบเดินทางไกล แต่ ( อาจจะ ) ไปผจญภัยถึงอียิปต์ สอนลูกศิษย์ว่าการลอกเลียนธรรมชาติเป็นศิลปะอันสูงสุด แต่ตัวเองมักวาดจากจินตนาการ ( ที่ซึมซับธรรมชาติมาเต็มที่แล้ว ) ชอบเก็บตัวมุด ๆ อยู่คนเดียว แต่เป็นนักออกแบบปาร์ตี้ และมีบุคลิกเป็นคนขี้เล่นช่างคุย เป็นสีสันสนุกสนานของสังคม
  • 12. Leonardo เคยกล่าวว่า การค้นหาความรู้คือวิถีชีวิตของปราชญ์ การศึกษาภาพสเกตซ์และการอ่านข้อความที่ปรากฏในสมุดบันทึกทำให้เรารู้ว่า Leonardo กระหายที่จะเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่าง และวาดทุกสิ่งทุกอย่างที่เห็น ทำให้เรารู้ว่าเขาสนใจวิทยาการหลายด้าน เช่น กายวิภาคศาสตร์ พฤกษศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ปรัชญา การวางผังเมือง วิทยาการกลาโหม และชลศาสตร์ ความรู้ที่มากมายและหลากหลายรูปแบบเช่นนี้ ทำให้สมุดบันทึกของ Leonardo มีค่าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าภาพวาดของเขา ถือเป็นมรดกทางปัญญาอันล้ำค่าที่ Leonardo ได้ทิ้งไว้ให้มนุษย์ได้ศึกษาตราบจนทุกวันนี้ เขาเป็นผู้ที่รู้ทั้งศาสตร์และศิลป์มาก จนสมควรได้รับการยกย่องเป็นมนุษย์ Renaissance ตัวจริง Leonardo มีความเห็นว่า การแสวงหาความรู้ของมนุษย์ ต้องเกิดจากการได้เห็นด้วยตาก่อน Leonardo จึงใช้สายตาที่แหลมคมของเขาศึกษาธรรมชาติตลอดเวลา แล้วพยายามเข้าใจสิ่งที่เขาเห็นนั้น ด้วยเหตุนี้วิทยาศาสตร์ของ Leonardo จึงเป็นวิทยาศาสตร์ที่เกิดจากการเห็น ขณะที่วิทยาศาสตร์ของ Galileo เป็นวิชาที่สามารถพยากรณ์เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ ด้วยการเห็นมากนี่เองที่ทำให้ Leonardo เป็นจิตรกรที่รู้วิทยาศาสตร์มากกว่านักวิทยาศาสตร์ร่วมรุ่นหลายคน และเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีฝีมือวาดภาพสูงยิ่งกว่าจิตรกรแทบทุกคนในสมัยนั้น ความสนใจด้านดาราศาสตร์ของ Leonardo ปรากฏในการสังเกตดวงจันทร์ข้างขึ้น - แรม Leonardo เป็นบุคคลแรกที่สามารถอธิบายได้ว่า การที่บริเวณมืดของดวงจันทร์ไม่มืดสนิท แต่มีแสงสลัวนั้น ก็เพราะบริเวณนั้นของดวงจันทร์ได้รับแสงอาทิตย์ที่สะท้อนจากมหาสมุทรบนโลก ( ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันนี้เรียกว่า แสงโลก ) เหมือนกับที่โลกได้รับแสงอาทิตย์ที่สะท้อนจากดวงจันทร์ ซึ่งเราเรียกแสงจันทร์ คำอธิบายของ Leonardo จึงขัดแย้งกับความเชื่อของผู้รู้ในสมัยนั้น ที่คิดว่าดวงจันทร์เป็นดาวที่มีแสงในตัวเอง แต่ความรู้ด้านดาราศาสตร์ของ Leonardo ก็ไม่ถูกต้องเสมอไป เช่นเขาคิดว่าดวงจันทร์มีทะเลห่อหุ้มเช่นเดียวกับโลก อย่างไรก็ตาม การที่ความรู้ของ Leonardo ถูกเก็บไว้เฉพาะในสมุดบันทึกโดยไม่ได้รับการเผยแพร่ ทำให้ความคิดของเขาไม่มีอิทธิพลใด ๆ ต่อการพัฒนาดาราศาสตร์ในยุคนั้นเลย
  • 13. Mona Lisa ภาพเหมือนของ ลิซา เกอราร์ดีนี ที่เศรษฐีพ่อค้าไหม ฟรานเชสโก เดล จีโอคอนโด ผู้เป็นสามี ว่าจ้างให้เลโอนาร์โดเขียน เนื่องในโอกาสที่คลอดลูกชายให้ ภาพนี้กลายเป็นภาพเขียน ที่โด่งดังที่สุดในโลก ด้วยรอยยิ้มและสายตา ที่ไม่มีใครเห็นพ้องต้องกัน ได้ว่าแฝงความรู้สึกนึกคิดอะไรไว้ เลโอนาร์โดเน้นการลอกเลียนความจริงจากธรรมชาติที่ตามองเห็น แต่เอาเข้าจริงเขาก็ใช้จินตนาการ อย่างภาพทิวทัศน์อารมณ์มาคุต่าง ๆ ในภาพเขียน ก็ล้วนแล้วแต่เป็นภูมิประเทศในจินตนาการที่มีพื้นฐานจากการสังเกตธรรมชาติของหินประเภทต่าง ๆ เป็นอย่างดี นอกจากนี้ เขายังเข้าใจในมายาภาพหลอกสายตา จึงสามารถจงใจทำให้ภาพเคลื่อนไหวได้ เห็นได้ชัดที่สุดในภาพ โมนาลิซา ( Mona Lisa) ซึ่งจะมองตามเราไปทุกแห่ง ไม่ว่าเราจะเคลื่อนไปยืนอยู่จุดใดในมุมห้อง จนรู้สึกเหมือนถูกงูสะกดจิต ทิวทัศน์ข้างหลังโมนาลิซาก็เล่นระดับต่างกัน ทำให้น้ำไหลได้ มีชีวิตชีวา Mona Lisa
  • 14. แตกแขนงในมิลาน มีหลายเหตุผลที่เลโอนาร์โดย้ายออกจากฟลอเรนซ์ ส่วนหนึ่งเพราะฟลอเรนซ์มีศิลปินฝีมือดีอยู่ไม่น้อย ซึ่งนอกจากจะเก่งแล้ว ยังทำงานเสร็จอีกด้วย เลโอนาร์โดจึงหางานได้ยากขึ้น แต่สาเหตุใหญ่จริง ๆ น่าจะเป็นทิศทางความสนใจของเลโอนาร์โดเอง ซึ่งเริ่มรู้สึกมันกับวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ แต่เป็นในลักษณะประยุกต์ตามนิสัยนักปฏิบัติ เขาจึงเริ่มโอนเอียงไปสู่งานวิศวกรรม ถึงเลโอนาร์โดจะได้ตระกูลเมดิชี ( Medici) เป็นผู้อุปถัมภ์ในปี ค . ศ . ๑๔๘๒ แต่เขาก็ทิ้งงานเพราะไม่รู้สึกท้าทาย ในยุคเรอเนซองซ์ของอิตาลี ศิลปกรรมแขนงที่ถือว่าสำคัญที่สุด ได้แก่ ศิลปะแห่งการสงคราม เพราะแหลมรูปเกือกบูตแห่งยุโรปในสมัยนั้นไม่ได้รวมศูนย์รัฐเป็นประเทศอิตาลีอย่างในปัจจุบันจนอีก ๔๐๐ ปีต่อมา แต่ประกอบไปด้วยหัวเมืองใหญ่ต่าง ๆ ที่ตีกันไปตีกันมา ผลัดกันยึดอำนาจเป็นว่าเล่น ผู้ครองนครจึงต้องทุ่มทุนปกป้องเมือง ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าเลโอนาร์โดจะเกลียดสงคราม แต่งานออกแบบอาวุธสงครามก็เป็นช่องทางเดียวที่จะเปิดโอกาสให้เขาได้ใช้จินตนาการทางวิศวกรรม ในอิตาลีตอนเหนือ ผู้ทรงอำนาจเทียบเท่าตระกูลเมดิชีแห่งฟลอเรนซ์ ก็ได้แก่ตระกูลสฟอร์ซา ( Sforza) แห่งมิลาน วังดูคาลของเจ้าเมืองมิลานนี้ใหญ่โตแทบจะครอบคลุมใจกลางเมืองเสียทั้งหมด ล้อมรอบด้วยกำแพงเมืองขนาดยักษ์พร้อมคูเมือง มีสะพานชักขึ้นเก็บได้ ๖๓ อัน อาวุธสงครามประมาณ ๑ , ๕๐๐ - ๒ , ๐๐๐ ชิ้น และทหารรับจ้างกินเบี้ยหวัดอัตราดีถึง ๑ , ๕๐๐ คน ลูโดวีโก สฟอร์ซา ( Ludovico Sforza) ท่านดยุคแห่งมิลาน กำลังต้องการศิลปินฝีมือดีเพื่อสร้างประติมากรรมบรอนซ์รูปพ่อของเขา คือ ฟรานเชสโก สฟอร์ซา ( Francesco Sforza) กำลังขี่ม้า เลโอนาร์โดจึงเสนอตัว โดยเขียนจดหมายสาธยายถึงสิ่งที่เขาสามารถออกแบบสร้างให้ได้ ๑๐ รายการอัศจรรย์ชวนฝัน ทั้งในภาวะสงครามและในภาวะสงบสุข เช่น สะพานทนไฟน้ำหนักเบาแต่แข็งแรงแบบพกพา รื้อออกประกอบใหม่ได้ง่าย วิธีก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินลอดด่านข้าศึกโดยไม่มีเสียงเล็ดลอดให้ข้าศึกตื่นตัว ฯลฯ แถมทิ้งท้ายด้วยความสามารถทางวิจิตรศิลป์ และความประสงค์จะขอรับใช้สร้างประติมากรรมบรอนซ์รูปสฟอร์ซาขี่ม้าให้เป็นอมตะชั่วนิรันดร์
  • 15. การพบสมุดบันทึกของ Leonardo ที่ National Library of Madrid เมื่อ ๔๐ ปีก่อน ทำให้มีการศึกษาภาพสเกตซ์และข้อความที่เขียนในสมุด และพบว่า Leonardo ได้ออกแบบวิธีการหล่อม้าไว้อย่างละเอียดทุกขั้นตอน จนใครที่อ่านบันทึกนั้นได้ ก็สามารถสร้างอนุสาวรีย์คนขี่ม้านั้นได้ ส่วนช่างหล่อที่ได้วิเคราะห์ขนาดและโครงสร้างของม้าที่ Leonardo คิดสร้าง ก็กล่าวว่า Leonardo ไม่มีทางหล่อม้าได้สำเร็จ เพราะในสมัยของเขายังไม่มีเทคโนโลยีที่เหมาะสมพอจะทำได้ ดังได้กล่าวแล้วว่า สมุดบันทึกของ Leonardo เท่าที่ปรากฏมี ๑๓ เล่ม สมุดแต่ละเล่มก็มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน และ ณ วันนี้ สมุดเหล่านั้นก็กระจัดกระจายไปอยู่ตามห้องสมุดส่วนบุคคลและพิพิธภัณฑ์หลายแห่งทั่วโลก เช่น สมุด Codex Madrid อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ในกรุงมาดริด ประเทศสเปน สมุดบางส่วนอยู่ที่พระราชวัง Windsor ในอังกฤษ พิพิธภัณฑ์ Louvre ในฝรั่งเศส National Gallery ในสหรัฐอเมริกา ส่วนสมุด Codex Leicester มูลค่า ๓๐ . ๘ ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะนี้อยู่ในความครอบครองของอภิมหาเศรษฐี Bill Gates มีข้อสังเกตหลายประการเกี่ยวกับสมุดบันทึกของ Leonardo ข้อสังเกตแรกคือเขาเขียนบันทึกเป็นภาษาอิตาลี ขณะที่ตำราในสมัยนั้นใช้ภาษาละติน การที่ Leonardo เขียนบันทึกเป็นภาษาอิตาลี ก็เพราะเขาเขียนภาษาละตินไม่ได้ การอ่านภาษาละตินไม่ออก ยังมีส่วนทำให้ Leonardo รู้วิทยาศาสตร์ในสมัยนั้นไม่มากด้วย ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ Leonardo เขียนตัวหนังสือกลับข้าง คือเขียนเหมือนภาพตัวอักษรที่เห็นในกระจกเงา และเขียนจากขวาไปซ้าย วิธีการเขียนที่แปลกเช่นนี้ทำให้นักวิชาการบางคนสันนิษฐานว่า เป็นเพราะ Leonardo ไม่ต้องการให้คนอื่นแอบอ่านบันทึก แล้วขโมยความคิดของเขาไปสบาย ๆ ส่วนบางคนก็คิดว่า Leonardo ไม่ต้องการให้ฝ่ายศาสนารู้ว่า ความรู้ใหม่ ๆ หลายเรื่องที่เขาพบนั้นขัดแย้งกับคำสอนทางศาสนา แต่นักวิชาการส่วนมากในปัจจุบันคิดว่าเป็นเพราะ Leonardo ถนัดซ้าย ดังนั้นหากเขาเขียนหนังสือจากซ้ายไปขวาเช่นคนทั่วไป มือซ้ายของเขาจะทับหมึกที่ยังไม่ทันแห้ง ทำให้กระดาษเลอะ และมือเปื้อนหมึก ข้อสังเกตประการสุดท้ายคือ ในภาพสเกตซ์หลายภาพ มีลายเส้นที่ Leonardo ลากเป็นเส้นตรง แน่วแน่ บางภาพมีรายละเอียดที่สมบูรณ์ แสดงให้เห็นว่า ทั้ง ๆ ที่สมุดบันทึกมีขนาดเล็ก และภาพสเกตซ์ก็ยิ่งมีขนาดเล็กลงไปอีก แต่ Leonardo ก็สามารถเขียนให้มีรายละเอียดได้ นั่นแสดงว่าเขาใช้ปากกาที่เขาประดิษฐ์เองซึ่งมีปลายคมมาก และใช้พลังนิ้วมือในการลากเส้นในภาพให้ตรงได้
  • 16. ศึกษาสัดส่วนม้า เพื่อสร้างประติมากรรมรูปสฟอร์ซาขี่ม้า ภาพสเกตซ์อนุสาวรีย์คนขี่ม้าที่ Leonardo เตรียมสร้างให้ตระกูล Sforza แม่พิมพ์ สำหรับหล่อส่วนหัวของม้า
  • 17.
  • 18. ปืนใหญ่สำหรับยิงก้อนหิน โจมตีฝ่ายข้าศึกอีกหนึ่งผลงานออกแบบ อาวุธสงครามสุดอลังการของ Leonardo อาวุธสงครามที่มีชื่อเสียงมากชนิดหนึ่งคือ รถม้าที่มีเคียวคม ๆ ติดประดับ เวลาขับรถม้านี้เข้าปะทะกองทัพข้าศึก เคียวคมที่ติดกับรถม้าจะหมุนสับทำร้ายหรือฆ่าศัตรูได้ ในหน้าเดียวกับภาพรถม้ามฤตยู Leonardo ยังวาดภาพของรถถังไว้ด้วย ภาพข้างซ้ายแสดงลักษณะภายในของตัวรถเวลาฝาครอบเปิด ส่วนภาพข้างขวาแสดงตัวรถเวลามีเกราะปิดครอบ Leonardo ยังได้ออกแบบรถให้ทหารที่อยู่ภายใน สามารถใช้ปืนยิงข้าศึกได้ขณะที่รถเคลื่อนที่ ซึ่งหากงานออกแบบนี้ของ Leonardo สร้างได้จริง มันจะเป็นรถมรณะที่น่ากลัวมากในสมัยนั้น ภาพสเกตช์การทำงาน ของเครื่องยกปืนใหญ่ ในโรงหล่อสรรพาวุธ ที่เลโอนาร์โดออกแบบ
  • 19. แต่แล้วเลโอนาร์โดก็เริ่มโหยหาชีวิตสันโดษและประเด็นค้นคว้าใหม่ ๆ เนื่องจากภูมิประเทศแถวมิลานเป็นหนองที่ราบลุ่มแบน ๆ ไม่ให้แรงบันดาลใจเหมือนที่ลุ่มดอนมีภูเขาสูง ๆ ต่ำ ๆ ของแคว้นทัสคานีบ้านเกิด เขาจึงเบนความสนใจไปที่คนในเมือง โดยเฉพาะคนหน้าตาแปลก ๆ เลโอนาร์โดจะสะกดรอยตาม คอยสังเกตท่าทีพฤติกรรมคนที่เขาติดใจทั้งวัน สเกตช์ภาพเพื่อจับจิตวิญญาณชีวิตภายในร่างนั้น ๆ ถ้าไม่มีกระดาษเครื่องเขียนติดตัว เขาก็จะจำเอา แล้วรีบกลับมาสเกตช์ภาพที่สตูดิโอ หลายภาพเหมือนการ์ตูนสมัยใหม่เลย ในช่วงนี้ เลโอนาร์โดได้ร่างหนังสือทฤษฎีและเทคนิคการวาดภาพไว้ ( แต่เขียนไม่เสร็จ ) ซึ่งสังเคราะห์และรวบรวมสิ่งที่เขาค้นพบ ตั้งแต่ปรากฏการณ์ที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างแสง สายตา และการรับรู้ โดยตัวศิลปินเองสามารถพัฒนาขัดเกลาทักษะในการวิเคราะห์รับรู้เรื่องเหล่านี้ให้ละเอียดขึ้น เพื่อถ่ายทอดลงในงานของตน ด้วยการฝึกจิตให้มีคุณสมบัติเสมือนกระจกเงา สะท้อนรับแสงสีที่ปรากฏขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางกับบรรยากาศอย่างที่เล่าไว้แล้ว เทคนิคการแปรวิสัยทัศน์สามมิติที่ตาเห็นให้เป็นภาพแบน โดยหัดมองให้เห็นเป็นเส้นสายจากภาพในกรอบหน้าต่าง ความสำคัญจึงอยู่ที่การซื่อสัตย์ต่อสายตา ไม่ใช่วาดตาม ๆ กันจนถือเป็นสัจธรรม เช่น วาดสัดส่วนเด็กให้เป็นเด็ก ไม่ใช่วาดเด็กเป็นผู้ใหญ่ตัวเล็ก หัวเล็กขายาวอย่างที่วาด ๆ กันมาตลอด ทั้งยังต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาชีวิตภายใน ซึ่งไม่ใช่แค่ตัวกระดูกกล้ามเนื้อภายใต้ร่มผ้า แต่รวมถึงอารมณ์ความรู้สึกที่ผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหวนั้น ๆ ด้วย บันทึกศึกษาดอกไม้ทุ่ง เช่น ในกลุ่มดอกไวโอเล็ต กลุ่มดอกอานีโมน และกลุ่มดอกรานันคูลัส ภาพสเกตช์ศึกษาสัดส่วนเด็ก ก่อนหน้า เลโอนาร์โด ศิลปินจะวาดเด็ก เป็นผู้ใหญ่ขายาวตัวเล็ก
  • 20. ระเหเร่ร่อน กรุงมิลานเริ่มระส่ำระสายเมื่อฝรั่งเศสยกทัพเข้าล้อมในปี ค . ศ . ๑๔๙๔ โลหะที่เตรียมไว้หลอมประติมากรรมบรอนซ์รูป ฟรานเชสโก สฟอร์ซา ขี่ม้า ก็ต้องเอามาทำลูกปืนเสียหมดสิ้น จนเมื่อกรุงแตกลงในปี ค . ศ . ๑๔๙๘ และ ลูโดวีโก สฟอร์ซา เจ้าเมืองมิลานผู้อุปถัมภ์เลโอนาร์โด ตายลงในปี ค . ศ . ๑๔๙๙ พลธนูกองทัพฝรั่งเศสยังเอารูปปั้นม้าดินที่เลโอนาร์โดทำเป็นแบบสำหรับรูปหลอมจริง มาใช้เป็นเป้าซ้อมยิงธนูเล่นจนพัง พวกเราจึงไม่มีโอกาสได้เห็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ร่ำลือกันว่าเป็น “ งานศิลปกรรมสุดวิเศษ ยิ่งใหญ่ที่สุด และขนาดใหญ่ที่สุด ที่มือมนุษย์เคยสร้างขึ้นมา ” ชีวิตเลโอนาร์โดในช่วง ๑๕ ปีหลังกรุงมิลานแตก เป็นช่วงระเหเร่ร่อน รับงานต่าง ๆ นานาทั่วอิตาลี เป็นต้นว่า งานวิศวกรรมและศิลปะให้แก่ผู้ว่ากรุงมิลาน ชาวฝรั่งเศส งานวิศวกรรมสงครามให้กรุงเวนิซ ออกแบบวิธีปกป้องเมือง ช่วงนี้เป็นตอนที่เลโอนาร์โดออกแบบเรือดำน้ำและชุดประดาน้ำ ล้ำสมัยไปหลายร้อยปีเช่นเคย งานวิศวกรรมสงครามให้แก่ เซซาเร บอร์เจีย ( Cesare Borgia) เจ้าชายนักรบจอมโหด ผู้ใฝ่ฝันจะครองดินแดนแหลมรองเท้าบูตอิตาลีทั้งหมด จึงส่งเลโอนาร์โดไปศึกษาปราการเมืองต่าง ๆ ทั่วอิตาลีตอนเหนือและตอนกลาง ช่วงนี้ เลโอนาร์โดวาดภาพสเกตช์จำนวนมหาศาล ทั้งในส่วนที่เป็นงานว่าจ้าง ได้แก่ แผนที่คุณภาพสุดยอดแห่งยุคสมัย แบบป้อม สะพาน เครื่องจักรกลต่าง ๆ และในส่วนที่เป็นความสนใจพิเศษส่วนตัวด้วย เช่น หน้าคน ดอกไม้นานาพันธุ์ ตลอดจนฟอสซิลต่าง ๆ เลโอนาร์โดเริ่มศึกษาหอยในชั้นดิน เพื่อให้รู้ถึงภูมิประเทศในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เขาเริ่มกะเทาะเรื่องราวของการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์และวิวัฒนาการก่อนหน้า ลามาร์ก , ดาร์วิน และวอลเลซ ถึง ๒๐๐ กว่าปี งานวิศวกรรมสงครามและการชลประทานให้แก่ ปิเอโร โซเดอรินี ( Piero Soderini) ผู้ปกครองกรุงฟลอเรนซ์คนใหม่ ( แทนที่ซาโวนาโรลา ผู้บ้าคลั่งเคร่งศาสนา นักเผาตำราและแม่มด ) งานศิลปะในกรุงฟลอเรนซ์ รวมถึงภาพ โมนาลิซา งานวิศวกรรมกับคาร์ดินัล กิวลิอาโน เดอ เมดิชี ( Giuliano de Medici) พี่ชายของโป๊ปลีโอที่ ๑๐ ในกรุงโรม
  • 21. แผนการศึกษาแนวทางการผันน้ำแม่น้ำอาร์โน ใกล้เมืองฟลอเรนซ์ ค . ศ . ๑๕๐๔ ถ้าดูเพียงรายการงานหลากหลายนี้ เราจะไม่รู้เลยว่า ชีวิตช่วงนี้ของเลโอนาร์โดเป็นช่วงที่ออกจะตกต่ำในมุมมองทางโลก สังคมอิตาลีเต็มไปด้วยศิลปินรุ่นใหม่ฝีมือระดับปรมาจารย์ที่พัฒนาศิลปะยุคเรอเนซองซ์ไปจนถึงจุดสูงสุด อย่างไมเคิลแองเจโล ( Michelangelo Buonarroti, ๑๔๗๕ - ๑๕๖๔ ) และราฟาเอล ( Raphael, ๑๔๘๓ - ๑๕๒๐ ) จึงเริ่มมีคนที่มีความสามารถ อย่างน้อยก็ในเชิงทักษะและเทคนิค เทียบเคียงกับเลโอนาร์โด เมื่อเลโอนาร์โดฉีกตัวไปทำงานวิศวกรรมเสียมาก วงการศิลปะจึงเริ่มลืมคิดถึงเลโอนาร์โดในฐานะศิลปิน การเอาสมองอัจฉริยะไปรับใช้เผด็จการจอมโหดอย่าง เซซาเร บอร์เจีย ซึ่งไม่ต่างไปจากการทำงานให้ฮิตเลอร์และมุสโสลินีในยุคสมัยเรา ยังทำให้เลโอนาร์โดถูกติเตียน โดยเฉพาะในหมู่เสรีชนเมืองฟลอเรนซ์ แถมเมื่อเลโอนาร์โดกลับมาทำงานที่บ้านเกิด ยังเกิดเหตุผิดพลาดใหญ่โตถึง ๒ เรื่อง เรื่องแรกเกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคม ค . ศ . ๑๕๐๓ เมื่อเลโอนาร์โดรับทำงานวิศวกรรมให้แก่โซเดอรินี ผู้ปกครองฟลอเรนซ์คนใหม่ ตามคำสั่งของโซเดอรินี เขาวางแผนที่จะเปลี่ยนเส้นทางแม่น้ำอาร์โน เพื่อทำให้ฟลอเรนซ์มีสภาพเป็นเมืองท่า สามารถเดินทางถึงทะเลได้โดยสะดวก พร้อมกับระบายพื้นที่ลุ่มที่น้ำท่วมง่ายในหุบ และใช้น้ำมาผลิตพลังงานสำหรับอุตสาหกรรม แต่ความพยายามที่จะเปลี่ยนทางน้ำกลับล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เพราะทำให้เกิดหนองน้ำขังเก๊ขึ้น กลายเป็นที่เพาะยุง และส่งผลให้มาลาเรียระบาดในปี ค . ศ . ๑๕๐๔ ชาวฟลอเรนซ์ล้มตายกันมากมาย
  • 22. ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน คณะสภาเทศมนตรีเมืองฟลอเรนซ์เกิดไอเดียเก๋ที่จะแสดงความเป็นเลิศทางศิลปวัฒนธรรมของฟลอเรนซ์ โดยเสนอให้สองศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งยุค ได้แก่ เลโอนาร์โด ดาวินชี และไมเคิลแองเจโล ประชันฝีมือวาดภาพผนังขนาดยักษ์ในห้องโถงอันทรงเกียรติของสภา เป็นภาพศึกประวัติศาสตร์เกรียงไกร ไมเคิลแองเจโลเลือกศึกแห่งคาสชินา ( Battle of Cascina) จากสงครามระหว่างเมืองฟลอเรนซ์และเมืองปิซา ตอนที่ทหารฟลอเรนซ์ถูกทหารปิซาลอบจู่โจมขณะที่อาบน้ำอยู่ในแม่น้ำและทิ้งอาวุธไว้บนริมฝั่ง เลโอนาร์โดเลือกศึกแห่งแองกีอารี ( Battle of Anghiari) เมื่อกองทัพฟลอเรนซ์ชนะกองทัพมิลานใน ค . ศ . ๑๔๔๐ เลโอนาร์โดสาธยายองค์ประกอบของภาพที่คิดไว้ในสมุดบันทึก ทั้งในภาพรวมและรายละเอียดของบรรยากาศ สี แสง ฝุ่น เลือด เหงื่อ ตัวละครทั้งม้าทั้งคน ชิ้นส่วนอวัยวะ สีหน้า กลิ่น เสียง สื่อสารถึงความโหดร้าย ชุลมุนวุ่นวายของสงครามอย่างที่ไม่เคยมีใครวาดมาก่อน พร้อมสเกตช์ศึกษารายละเอียดประกอบภาพจำนวนมากมาย แต่ถึงที่สุดแล้ว เราก็ไม่ได้เห็นภาพจริง เมื่อร่างภาพเป็นเค้าโครงบนผนังเรียบร้อยแล้ว ทั้งเลโอนาร์โดและไมเคิลแองเจโลต่างก็ถูกเรียกตัวไปรับงานที่อื่น ไมเคิลแองเจโลลงไปโรม เลโอนาร์โดไปมิลาน และติดลมต่อ รับคำเชิญไปพักกับลุงที่เป็นพี่ชายของแม่เลี้ยงคนแรก ไปศึกษาการบินของนก ถึงขนาดสร้างเครื่องร่อนขึ้นมา และอาจจะได้ทำการทดลองบินจากเขาเซเซรี ( Ceceri) สนุกสนานสบายอกสบายใจดีแล้ว จึงกลับฟลอเรนซ์มาเขียนภาพผนังต่อ หลังจากที่ถูกไมเคิลแองเจโลปรามาสไว้ว่า เลโอนาร์โดเป็นคนที่ “ ได้แต่คิด สร้างไม่เป็น ” เพราะทำอะไรไม่เสร็จเป็นชิ้นเป็นอัน เลโอนาร์โดจึงตั้งใจเต็มร้อย รีบเร่งลงสีภาพศึกแห่งแองกีอารี แต่เขาใจร้อนเกินไป เอาเตาถ่านคุไฟไปอังใต้ภาพเพื่อเร่งให้สีแห้ง ปรากฏว่าสีแห้งแต่ด้านล่าง ส่วนด้านบนไหลย้อยลงมาเลอะเทอะเต็มผนัง เลโอนาร์โดพยายามหาทางแก้ไข แต่พอเกิดเหตุนี้ขึ้น ติด ๆ กับเหตุการณ์มาลาเรียระบาดหลังเปลี่ยนเส้นทางน้ำ โซเดอรินีและกรรมการสภาเทศมนตรีก็หมดศรัทธาในตัวเลโอนาร์โด ชาวฟลอเรนซ์เริ่มมีการแบ่งค่าย เป็นพวกที่เห็นด้วยกับไมเคิลแองเจโลว่าเลโอนาร์โดไม่มีน้ำยา และพวกที่ยังคงนับถือเลโอนาร์โด ฝ่ายหลังนี้รวมราฟาเอล ศิลปินเอกผู้หลงใหลในภาพ โมนาลิซา อย่างมากด้วย ตกลงในที่สุด ภาพเขียนผนังห้องโถงสภาเลยตกเป็นหน้าที่ของวาซารี ผู้เขียนชีวประวัติเลโอนาร์โดนั่นเอง
  • 23. แม้ว่าในเบื้องต้นเลโอนาร์โดจะเสียใจและน้อยใจในโชคชะตาและสังคม แต่เขาก็บอกกับตัวเองไว้ในสมุดบันทึกว่า “ ข้าจะดำเนินต่อไป ” จากคำบอกเล่าของคนรอบข้างที่วาซารีรวบรวมมาได้ ในสภาวการณ์ตกต่ำเช่นนี้ เลโอนาร์โดคงใช้ชีวิตเป็นปรกติธรรมดาของตนเอง ใส่เสื้อสีชมพู กินมังสวิรัติง่าย ๆ ปล่อยนกในตลาด ฯลฯ หากว่านิ่งขึ้น และคงใช้เวลาอยู่กับธรรมชาตินาน ๆ ชอบออกไปเดินเล่นไกล ๆ ตามชนบทแคว้นทัสคานีที่เขารักอยู่เป็นประจำเหมือนตอนเด็ก ๆ เขาหันกลับมาศึกษาพฤกษศาสตร์และดาราศาสตร์ และรับเด็กชายชาวนามาเลี้ยงดูเป็นลูกบุญธรรม เลโอนาร์โดเขียนบันทึกถึงชีวิตช่วงนี้ไว้ว่า “ ความอดกลั้นต่อการดูถูกเหยียดหยามเป็นเสมือนเสื้อกันหนาว อากาศยิ่งเย็นเท่าไร เราก็ยิ่งต้องสวมใส่เสื้อผ้าเพื่อปกป้องตัวเองมากขึ้นเท่านั้น ” อย่างไรก็ตาม เลโอนาร์โดคงได้งานจาก ชาร์ลส์ ดามบัวส์ ( Charles d’Amboise) ผู้ว่ากรุงมิลาน ตัวแทนพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๒ แห่งฝรั่งเศส อยู่เรื่อย ๆ จนใน ค . ศ . ๑๕๑๓ เลโอนาร์โดก็ย้ายไปโรมเพื่อรับงานวิศวกรรมกับคาร์ดินัล กิวลิอาโน เดอ เมดิชี พี่ชายของโป๊ป แต่สำนักวาติกันในตอนนั้นกำลังเป็นถิ่นของไมเคิลแองเจโล ศิลปินคนโปรดของโป๊ป ไมเคิลแองเจโลเคยหมั่นไส้ เลโอนาร์โดอย่างไร ก็ยังคงหมั่นไส้อยู่อย่างนั้น ไม่ลดดีกรีลงเลย ( แม้ภายหลังเมื่อเลโอนาร์โดตายไปแล้วก็ตาม ) เขาคอยพูดจาถากถางเหน็บแนม โป๊ปซึ่งไม่ชอบเลโอนาร์โดอยู่แล้วเลยยิ่งพาลไม่ชอบ เลโอนาร์โดมากขึ้นไปอีก ทำให้บรรยากาศการใช้ชีวิตในสังคมกรุงโรมไม่ค่อยจะสุนทรีย์นัก ยิ่งเมื่อกิวลิอาโน ผู้อุปถัมภ์เลโอนาร์โดตายลง เลโอนาร์โดยิ่งอยู่ในโรมต่อไปไม่ได้เลย เลโอนาร์โดชอบวาดคน บุคลิกหน้าตาแปลก ๆ ในตลาด ซึ่งเขาจะเดินสะกดรอยตาม เฝ้าดูได้ทั้งวัน
  • 24. โลกรู้จัก Leonardo da Vinci ในฐานะจิตรกรชาวอิตาลีคนสำคัญที่สุดคนหนึ่ง ซึ่งเคยมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ ๕๐๐ ปีก่อน อันเป็นเวลาที่ยุโรปกำลังปั่นป่วนด้วยสงคราม ขณะเดียวกัน Christopher Columbus กับ Amerigo Vespucci ได้เดินทางพบโลกใหม่ ส่วน Vasco da Gama ก็ได้แล่นเรืออ้อมแหลม Good Hope จากยุโรปสู่อินเดีย และ Johann Gutenburg ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ขึ้นใช้เป็นครั้งแรก ยุคนั้นจึงมีชื่อเรียกว่า ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา หรือ Renaissance ความสามารถของ Leonardo ในการวาดภาพ Mona Lisa ที่ยิ่งใหญ่อมตะนิรันดรกาล และภาพอื่น ๆ เช่น The Last Supper กับ Adoration of the Magi นั้นก็เป็นที่ประจักษ์ดี แต่ก็มีคนอีกหลายคนที่ไม่รู้ว่า Leonardo ชอบบันทึกความนึกคิดและจินตนาการต่าง ๆ ของตนลงในสมุดบันทึก ซึ่งมีจำนวนมากถึง ๑๓ เล่ม รวมเป็นเอกสารที่หนากว่า ๔ , ๐๐๐ หน้า โดยมีภาพสเกตซ์พร้อมคำบรรยายอีกกว่าหมื่นภาพรวมอยู่ในนั้นด้วย เอกสารเหล่านี้ไม่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่มากนัก จึงมีคนไม่มากที่ได้รับรู้ถึงความสามารถด้านการเขียนเชิงวิชาการของ Leonardo แต่ถ้าเราได้ศึกษาเนื้อหาที่ Leonardo เขียนไว้ในสมุดบันทึกแล้ว เราก็จะเห็นว่า Leonardo มีความเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักเทคโนโลยี มากกว่าความเป็นจิตรกรอีก Leonardo เริ่มมีนิสัยชอบวาดภาพ สเกตซ์ภาพ และจดบันทึกตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะเด็กชาย Leonardo ชอบศึกษาธรรมชาติมาก เขาชอบไล่จับผีเสื้อมาดูวิธีกระพือปีก เพื่อให้เข้าใจว่า เหตุใดมันจึงบินได้ หรือดูหนอนที่กำลังจะเป็นดักแด้ให้เห็นว่ามันกลายเป็นผีเสื้อในเวลาต่อมาได้อย่างไร และชอบดูลักษณะการบินของนก เป็นต้น Leonardo จะวาดภาพสิ่งที่เขาเห็น แล้วบันทึกความรู้สึกขณะเห็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติไว้ด้วย
  • 25. ในส่วนของความสนใจด้านวิศวกรรมทหารนั้น Leonardo ก็ได้สเกตช์ภาพอาวุธสงครามไว้มากมาย ทั้ง ๆ ที่เขาเป็นคนเกลียดสงคราม เขาเคยกล่าวไว้ว่า สงครามคือความบ้าคลั่งเยี่ยงสัตว์ของคน แต่เมื่อในสมัยที่ Leonardo ยังมีชีวิตอยู่ เจ้าครองแคว้นต่าง ๆ เช่น ทัสคานี และลอมบาร์ดี ทำสงครามกันเป็นประจำ และในตอนที่ Leonardo อายุ ๔๒ ปี เขาได้เห็นกองทัพของพระเจ้า Charles ที่ ๘ แห่งฝรั่งเศสบุกอิตาลี อีก ๒ ปีต่อมา เขาก็ได้เห็นกองทัพเยอรมันและสเปนบุกอิตาลีอีก การทำงานรับใช้ Cesare Borgia จึงทำให้ Leonardo ต้องเข้ามามีบทบาทในการออกแบบอาวุธสงคราม งานออกแบบทางด้านวิศวกรรมทหารของ Leonardo ได้แก่ วิธีสร้างป้อมปราการป้องกันเมือง อาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับโจมตีข้าศึก อุปกรณ์ขุดเจาะอุโมงค์ทะลุภูเขาและคลอง อีกทั้งยังได้ดัดแปลงอุปกรณ์ทุกชนิดที่เคยใช้มือควบคุม ให้ใช้เครื่องกลแทน และเนื่องจากอาวุธปืนใหญ่ที่ใช้กันในสมัยนั้นยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าไรนัก Leonardo จึงได้ออกแบบวิธีสร้างปืนใหญ่ใหม่ ให้สามารถยิงกระสุนได้หลายนัดพร้อมกัน ทั้งยังศึกษาวิธีที่จะทำให้มีกลไกการยิงที่แม่นยำ โดยได้พบว่า หากลำปืนยาว แล้วเล็งกระสุนทำมุมยกขึ้นต่ำ พิสัยในการยิงกระสุนจะไม่ดีเท่ากับการใช้ปืนที่มีลำกล้องสั้น แต่ยิงกระสุนทำมุมยกขึ้นสูง ในส่วนของการออกแบบกระสุนนั้น Leonardo ได้ออกแบบกระสุนที่มีลักษณะเรียวยาว และมีครีบ โดยมุ่งหวังให้ครีบทำหน้าที่ควบคุมเสถียรภาพในการบินของกระสุน ขณะพุ่งผ่านอากาศ กระสุนที่มีครีบนี้ มีลักษณะเหมือนจรวดที่ทหารทุกวันนี้ใช้ในการทำสงคราม อุปกรณ์ผลักบันไดข้าศึก Leonardo ยังได้ออกแบบธนูยักษ์ที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งใหญ่เสียจนถ้ามีใครสร้างได้จริง คงขนย้ายไปตามถนนในสมัยนั้นไม่ได้ ถึงกระนั้นการออกแบบอาวุธขนาดมโหฬารเหล่านี้ก็คงทำให้คนออกแบบมีความสุขที่ได้นั่งคิด
  • 26. กายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ก็เป็นความรู้อีกแขนงหนึ่งที่ Leonardo สนใจ เขาศึกษาระบบต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ โดยการผ่าศพคน แล้ววาดภาพอวัยวะส่วนต่าง ๆ อย่างละเอียด การมีสายตาที่เฉียบคมและมีความพิถีพิถันในการวาด ทำให้ภาพที่ Leonardo วาด ละเอียดและถูกต้องยิ่งกว่าภาพใด ๆ ที่ใช้สอนนิสิตแพทย์ในสมัยนั้น ความละเอียดถี่ถ้วนนี้ยังได้ทำให้แพทย์รู้ว่าคำสอนบางคำสอนของ Aristotle และ Galen นั้นผิด เลโอนาร์โดเองก็สนใจทั้งโครงสร้างมนุษย์และระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ มาโดยตลอด แต่เขาเป็นคนเดียวที่ลุกขึ้นศึกษาข้อเท็จจริงอย่างเป็นระบบ โดยใช้เวลาหลายเดือนในการวัดสัดส่วนตัวอย่างค�