SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  49
Télécharger pour lire hors ligne
1 
 
หลักสูตรมาตรฐานสากล
สาระการเรียนรู้ IS1-IS3
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์
พุทธศักราช 2556
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ 
2 
 
ประกาศโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์
เรื่อง ให้ใช้หลักสูตรมาตรฐานสากล โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ พุทธศักราช 2556
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
เพื่อให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสอดคล้องกับสภาพความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
สังคมและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ เป็นการสร้างกลยุทธ์ใหม่ในการพัฒนาคุณภาพการ
ศึกษาให้สามารถตอบสนองความต้องการของบุคคล สังคมไทย ผู้เรียนมีศักยภาพในการแข่งขัน
และร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในสังคมโลก ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสํานึกในความเป็นไทย
มีระเบียบวินัย คํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นไปตามเจตนารมณ์มาตรา 80 ของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
และที่แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตร 12 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ
บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ได้มีมติเห็นชอบให้ใช้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 ปรากฏรายละเอียดตามคําสั่งดังแนบ
ทั้งนี้ หลักสูตรมาตรฐานสากลโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ได้รับความเห็นชอบจาก
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อวันที่ 29 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2556 จึงประกาศให้
ใช้หลักสูตรโรงเรียนตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 29 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2556
……………………………
(นายสมพล เก้าเอี้ยน)
ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
……………………………
(นายภิญโญ จินตนปัญญา)
ผู้อํานวยการโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์
3 
 
คํานํา
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทางกระทรวงศึกษาธิการให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน เพื่อมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาและประกอบอาชีพ
มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ รวมทั้งมีจิตสํานึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย
พัฒนาสิ่งแวดล้อม ร่วมกันอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียน เห็นว่าเป็นหลักสูตรแกนกลางที่มีประโยชน์ มุ่ง
พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ต่อเยาวชนของท้องถิ่นและของชาติ มีความสามารถใน
การสื่อสาร , ความสามารถในการคิด , ความสามารถในการแก้ปัญหา , ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ,
ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ให้ถูกต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม จึงเห็นสมควรและสนับสนุนส่งเสริมให้
ทางโรงเรียนได้นําหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานมาใช้และจัดการเรียน การสอนเพื่อพัฒนาเด็ก
และเยาวชนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในลําดับต่อไป
(นายสมพล เก้าเอี้ยน)
ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์
4 
 
2. โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
2.1 โครงสร้างเวลาเรียนโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2556
กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม
เวลาเรียน
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ม.1 ม.2 ม.3 ม.4-6
กลุ่มสาระการเรียนรู้
รายวิชาพื้นฐาน รวม 880 (22 นก) 880 (22 นก) 880 (22 นก) 1,640(41 นก)
ภาษาไทย 120 (3 นก) 120 (3 นก) 120 (3 นก) 240(6 นก)
คณิตศาสตร์ 120 (3 นก) 120 (3 นก) 120 (3 นก) 240(6 นก)
วิทยาศาสตร์ 120 (3 นก) 120 (3 นก) 120 (3 นก) 240(6 นก)
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 120 (3 นก) 120 (3 นก) 120 (3 นก) 240(6 นก)
ประวัติศาสตร์ 40 (1 นก) 40 (1 นก) 40 (1 นก) 80(2 นก)
สุขศึกษาและพลศึกษา 80 (2 นก) 80 (2 นก) 80 (2 นก) 120(3 นก)
ศิลปะ 80 (2 นก) 80 (2 นก) 80 (2 นก) 120(3 นก)
การงานอาชีพและเทคโนโลยี 80 (2 นก) 80 (2 นก) 80 (2 นก) 120(3 นก)
ภาษาต่างประเทศ 120 (3 นก) 120 (3 นก) 120 (3 นก) 240(6 นก)
รายวิชาเพิ่มเติม รวม 400(10 นก) 520(13 นก) 400(10 นก) 1,800(45 นก)
พลศึกษา-เพศศึกษา 40 (1 นก) 40 (1 นก) - 60 (1.5 นก)
ภาษาจีน 80 (2 นก) 80 (2 นก) 80 (2 นก) 80 (2 นก)
ภาษาอังกฤษ 80 (2 นก) 80 (2 นก) 80 (2 นก) 80 (2 นก)
อาเซียนศึกษา 40 (1 นก) - - 40 (1 นก)
IS1-IS2 - 120 (3 นก) - 120 (3 นก)
เลือกตามความสนใจ 8 กลุ่มสาระ 160 (4 นก) 160 (4 นก) 160 (4 นก) -
รายวิชาและกิจกรรมไม่คิดหน่วยกิต
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรมแนะแนว 40 40 40 120
กิจกรรมนักเรียน
60 60 60 180* กิจกรรมชุมนุม
* กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี กิจกรรม 5ส
กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณาประโยชน์ 20 20 20 20
รวมเวลากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 120 120 120 360
รวมเวลาเรียน 1,600 ชั่วโมง/ปี 1,600 ชั่วโมง/ปี 1,600 ชั่วโมง/ปี รวม 3 ปี 4,800 ชั่วโมง
5 
 
โครงสร้างหลักสูตรชั้นปี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556
ภาคเรียนที่ 1 ภาคเรียนที่ 2
ที่ รหัสวิชา รายวิชา/กิจกรรม เวลาเรียน ที่ รหัสวิชา รายวิชา/กิจกรรม เวลาเรียน
รายวิชาพื้นฐาน 11(440) รายวิชาพื้นฐาน 11(440)
1 ท 22101 ภาษาไทย 3 1.5(60) 1 ค 21102 ภาษาไทย 4 1.5(60)
2 ค 22101 คณิตศาสตร์ 3 1.5(60) 2 ค 21102 คณิตศาสตร์ 4 1.5(60)
3 ว 22101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 1.5(60) 3 ว 21102 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน 4 1.5(60)
4 ส 22101 สังคมศึกษา 3 1.5(60) 4 ส 21103 สังคมศึกษา 4 1.5(60)
5 ส 22102 ประวัติศาสตร์ 3 0.5(20) 5 ส 21104 ประวัติศาสตร์ 4 0.5(20)
6 พ 22101 สุขศึกษา 3 0.5(20) 6 พ 21103 สุขศึกษา 4 0.5(20)
7 พ 22102 พลศึกษา 3 0.5(20) 7 พ 21104 พลศึกษา 4 0.5(20)
8 ศ 22101 ดนตรี 1 1.0(40) 8 ศ 21102 ดนตรี 2 1(40)
9 ง 22101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 4
(งานเกษตร)
0.5(20) 9 ง 21102 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 6
(งานช่าง)
0.5(20)
10 ง 22102 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 5
(คอมพิวเตอร์)
0.5(20) 10 ง 21103 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 7
(คอมพิวเตอร์)
0.5(20)
11 อ 22101 ภาษาอังกฤษ 3 1.5(60) 11 อ 21102 ภาษาอังกฤษ 4 1.5(60)
รายวิชาเพิ่มเติมเรียนทุกคน 2.5(100) รายวิชาเพิ่มเติมเรียนทุกคน 1.0(40)
12 จ 22201 ภาษาจีน 5 1.0(40) 12 จ 22202 ภาษาจีน 6 1.0(40)
13 พ 22201 เพศศึกษา 2 0.5(20) 13 พ 22202 พลศึกษาเพิ่มเติม 1 0.5(20)
14 อ 22201 ภาษาอังกฤษในชีวิตประจําวัน 1 1.0(40) 14 อ 22202 ภาษาอังกฤษในชีวิตประจําวัน 2 1.0(40)
รายวิชาเพิ่มเติมเลือกเรียนตามความสนใจ 3.5 (140) รายวิชาเพิ่มเติมเลือกเรียนตามความสนใจ 1.5(60)
14 I 22201 การศึกษาค้นคว้า(IS1) 1.5(60) 14 I 22201 การสื่อสาร(IS2) 1.5(60)
15 ค 22201 คณิตศาสตร์ 3 1.0(40) 15 ค 22202 คณิตศาสตร์ 4 1.0(40)
16 ว 22201 โครงงานวิทยาศาสตร์ 1.0(40) 16 ว 22202 วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม 1.0(40)
17 ศ 22201 จิตกรรม 1 2.0(80) 17 ศ 22203 จิตกรรม 2 2.0(80)
18 ง 22201 งานมาลัย 1 2.0(80) 18 ง 22202 งานมาลัย 2 2.0(80)
19 ง 22202 งานเกษตร 1 2.0(80) 19 ง 22202 งานเกษตร 2 2.0(80)
20 ง 22203 คอมพิวเตอร์ 3 2.0(80) 20 ง 22204 คอมพิวเตอร์ 4 2.0(80)
รายวิชาเพิ่มเติมไม่คิดหน่วยกิต (3 คาบ) รายวิชาเพิ่มเติมไม่คิดหน่วยกิต (3 คาบ)
21 ท 20201 หลักการใช้ห้องสมุด 1 คาบ 21 ท 20201 หลักการใช้ห้องสมุด 1 คาบ
โฮมรูมและอบรม 2 คาบ โฮมรูมและอบรม 2 คาบ
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
22 แนะแนว 1 คาบ 22 แนะแนว 1 คาบ
23 ลูกเสือ-เนตรนารี 1 คาบ 23 ลูกเสือ-เนตรนารี 1 คาบ
24 กิจกรรมชุมนุม 1 คาบ 24 กิจกรรมชุมนุม 1 คาบ
25 กิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมและ
สาธารณประโยชน์
ทํานอกเวลา 25 กิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมและ
สาธารณประโยชน์
ทํานอกเวลา
รวมเวลาเรียน 40 คาบ รวมเวลาเรียน 40 คาบ
6 
 
การจัดการเรียนรู้โรงเรียนมาตรฐานสากล โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์
การพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลที่กําหนด สถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูผู้สอน
ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนมาตรฐานสากลจัดทําหน่วยการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตาม
กระบวนการ 5 ขั้นตอน หรือบันได 5 ขั้น ของการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมาตรฐานสากล ทั้งในรายวิชา
พื้นฐาน รายวิชาเพิ่มเติม และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ซึ่งกระบวนการ 5 ขั้นตอน หรือบันได 5 ขั้น ของการ
จัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมาตรฐานสากล เป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่อง ได้แก่
1. การตั้งประเด็นคําถาม / สมมุติฐาน
2. การสืบค้นความรู้จากแหล่งการเรียนรู้และสารสนเทศ
3. การสรุปองค์ความรู้
4. การสื่อสารและการนําเสนออย่างมีประสิทธิภาพ
5. การบริการสังคมและจิตสาธารณะ
1. การตั้งประเด็นคําถาม/ Formulation
กระบวนการดังกล่าวจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ และได้รับการ
พัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ บรรลุตามเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมาตรฐานสากล
การจัดการเรียนรู้ IS (Independent Study) ในโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับมัธยมศึกษา
สามารถจัดได้ 2 ลักษณะ คือ จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม 2 รายวิชา ได้แก่ 1) รายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้าง
องค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation: IS1) เป็นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความรู้และทักษะ
ตาม IS1 ผู้เรียนเลือกประเด็นที่สนใจในการเรียนรู้ เพื่อกําหนดประเด็นปัญหา ตั้งสมมุติฐาน ค้นคว้า แสวงหา
ความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ และฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้ และ 2)
รายวิชาการสื่อสารและการนําเสนอ (Communication and Presentation: IS2) เป็นการเรียนรู้ต่อเนื่องจาก
รายวิชา IS1 ผู้เรียนนําสิ่งที่ได้ศึกษาค้นคว้าจากรายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้มาเขียนรายงาน
หรือเอกสารทางวิชาการ และนําเสนอเพื่อสื่อสารถ่ายทอดข้อมูลความรู้นั้นให้ผู้อื่นเข้าใจ โดยจัดทําเป็นผลงาน
การเขียนทางวิชาการ 1 ชิ้น และการสื่อสารนําเสนอสิ่งที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
เป็นภาษาไทย 2,500 คํา มัธยมศึกษาตอนปลายเป็นภาษาไทย 4,000 คํา
หรือภาษาอังกฤษ 2,000 คํา และจัดเป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
โดยจัดกิจกรรมการนําองค์ความรู้ไปใช้บริการสังคม (Social Service Activity: IS3) ซึ่งเป็นการนําสิ่งที่เรียนรู้
จากรายวิชาเพิ่มเติมทั้ง 2 รายวิชาข้างต้น ไปประยุกต์ใช้ในการทําประโยชน์ต่อสังคม ดังตัวอย่างการจัดการ
เรียนรู้ ต่อไปนี้
7 
 
รายวิชาเพิ่มเติมการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation: IS1)
รายวิชาเพิ่มเติมการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation: IS1)
ประกอบด้วยสาระการค้นคว้าและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้ผู้เรียนได้พิสูจน์ประเด็นความรู้
ข้อค้นพบหรือสมมติฐานของความรู้ที่ได้รับรู้ และส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของ
แหล่งที่มาของความรู้ รวมทั้งจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเรียนรู้กระบวนการรับรู้ในลักษณะที่เป็นวัฒนธรรมของ
การรับรู้และการรับรู้ที่ใช้ความรู้สึก และปลูกฝังการสร้างความเข้าใจที่เป็นสากลให้แก่ผู้เรียน
การจัดการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนแสดง
ความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานและหาคําตอบเกี่ยวกับสิ่งที่รู้ ตั้งคําถาม
ให้คําอธิบายแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ รู้จักหาทางออกในการแก้ปัญหาได้อย่างกระจ่างชัด เชื่อมโยงความรู้
เปรียบเทียบวิธีการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาต่าง ๆ และวิธีการรับความรู้ (Ways of Knowing) 4 วิธี
ได้แก่ 1) วิธีการสร้างความรู้จากการสัมผัสรับรู้ 2) วิธีการสร้างความรู้จากการใช้ภาษา 3) วิธีการสร้างความรู้
จากการให้เหตุผล และ 4) วิธีการการสร้างความรู้จากสิ่งที่เป็นอารมณ์
แนวการจัดการเรียนรู้
1. ครูผู้สอนร่วมกับผู้เรียนในการกําหนด หรือตั้งประเด็นความรู้ หรือหัวข้อเกี่ยวกับ Public
Issues หรือ Global Issues สําหรับการศึกษาค้นคว้า เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะรับรู้ถึงจุดหมายและมีแรงจูงใจในการ
เรียนรู้บทเรียน ผู้สอนสามารถเลือกใช้กิจกรรมต่าง ๆ ในการจัดการเรียนรู้ เช่น
1.1 การเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ผู้เรียนซักถาม หรือตั้งคําถาม
1.2 การฉายภาพนิ่งให้ผู้เรียนชมและติดตาม
1.3 การชวนสนทนา เพื่อให้ผู้เรียนตั้งประเด็นที่ต้องการรู้
1.4 การกระตุ้นความสนใจด้วยเกม เพลง ภาพ ฯลฯ
1.5 การอ่าน / ฟังข่าวจากหนังสือพิมพ์
1.6 การตั้งประเด็นอภิปราย / คําถามสร้างพลังความคิด
1.7 การยกตัวอย่างประโยค คําพังเพย บทกวี
1.8 การกําหนด หรือการตั้งประเด็นความรู้ หรือหัวข้อเกี่ยวกับ Public Issues หรือ Global
Issues
2. ให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างองค์ความรู้ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 “Ways of
Knowing” วิถีการรับรู้ ความรู้ ส่วนที่ 2 “Areas of Knowledge” ศาสตร์ / สาขา แขนงความรู้ ส่วนที่ 3
การเรียบเรียงข้อมูล ข้อค้นพบ ความคิด ความคิดเห็น การให้เหตุผลโต้แย้ง และสนับสนุน เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจ
ถึงการกระบวนการสร้างองค์ความรู้ ครูผู้สอนควรมีเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้แก่
2.1 การอภิปรายกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
2.2 การระดมพลังความคิด
2.3 การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จําลอง
8 
 
3. ปรับเปลี่ยนความคิด เป็นขั้นตอนสําคัญซึ่งเป็นหัวใจของขั้นตอนการเรียนรู้ ผู้เรียนจะศึกษา
ค้นคว้าตามประเด็นความรู้ หรือหัวข้อที่ครอบคลุม Public Issues และ Global Issues ครูผู้สอนควรมีเทคนิค
การจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้แก่
3.1 ทําความกระจ่างและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ครูผู้สอนจะกระตุ้นให้ผู้เรียนดําเนิน
กิจกรรมเพื่อสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ โดยใช้วิธีการ ดังนี้
- ค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ
- สัมภาษณ์ผู้รู้
- ปฏิบัติการค้นหา (ทดลอง สืบเสาะ สังเกต สํารวจ)
- ร่วมมือเพื่อเขียนคําอธิบาย
- แบ่งงานความรับผิดชอบภายในกลุ่ม
3.2 สร้างความคิดใหม่ ผู้เรียนนําผลการอภิปรายและสาธิตที่เป็นผลจากการ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันมากําหนดเป็นความคิดใหม่ หรือความรู้ใหม่ โดยใช้วิธีการ ดังนี้
- เขียนด้วยแผนผังความคิด
- เขียนโครงงาน / โครงการ
- เขียนบรรยาย / เขียนรายงาน
- นําเสนอแนวคิดใหม่
- นําเสนอรูปแบบนวัตกรรมใหม่
3.3 ประเมินความคิดใหม่ ผู้เรียนออกแบบดําเนินการตรวจสอบความรู้ ความคิดใหม่
ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น โดยใช้วิธีการ ดังนี้
- อภิปราย
- ทดสอบผลงาน
- ทดสอบความคิดของกลุ่ม
- ทดสอบความรู้
3.4 นําความคิดไปใช้ เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนใช้แนวคิด หรือความรู้ความเข้าใจที่ได้พัฒนาขึ้น
ใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ จนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย เป็นกิจกรรมที่ต้องการให้ผู้เรียนได้ประมวลองค์
ความรู้เพื่อการนําไปใช้ประโยชน์ โดยใช้วิธีการ ดังนี้
- สรุปแผนผังความคิดเกี่ยวกับความรู้ใหม่
- นําเสนอโครงงาน / โครงการที่ผู้เรียนคิดค้น / ประดิษฐ์ขึ้น
- บรรยายสรุปแนวคิดใหม่ / การสร้างสถานการณ์ใหม่
- จัดนิทรรศการ / สาธิตผลงานของกลุ่ม
- แสดงบทบาทสมมติ / โต้วาทีเพื่อสรุปการแก้ปัญหา
4. สะท้อนความคิด /ทบทวน เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนได้ประเมินและพัฒนาความคิดอย่างรอบคอบ
และต่อเนื่องจนสามารถประเมินผลได้ ประกอบด้วย
9 
 
4.1 ประเมินผลงาน
4.2 เสนอแนะความคิดเห็น เพื่อปรับปรุงและพัฒนา
4.3 วางแผนเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
บทบาทของผู้สอน
1. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสังเกต เพื่อให้สามารถมองเห็นปัญหาได้อย่างชัดเจน
2. มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน แนะนํา ถามให้คิด เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบ หรือสร้างความรู้
ความเข้าใจได้ด้วยตนเอง
3. สร้างแรงจูงใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน ช่วยให้ผู้เรียนคิดค้นต่อไป ฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะการทํางาน
เป็นกลุ่ม
4. เป็นผู้ชี้แนะไม่ใช่ผู้ชี้นํา กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดมากกว่าบอกความรู้
5. ประเมินความคิดรวบยอดของผู้เรียน ตรวจสอบความคิดและทักษะการคิด
บทบาทของผู้เรียน
1. ค้นคว้า แสวงหาความรู้ ฝึกฝนวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นเจ้าของบทเรียน ลงมือ
ปฏิบัติจริง
2. กระตือรือร้นในการเรียนรู้ กล้าแสดงออก กล้านําเสนอความคิดอย่างสร้างสรรค์
3. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกันและกับครูผู้สอน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ยอมรับฟัง
ความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นผู้นําและผู้ตามที่ดี
4. ทํางานร่วมกันเป็นกลุ่ม
5. เชื่อมโยงความรู้เดิมเข้ากับความรู้ใหม่ มีผลงานที่สร้างสรรค์
6. เคารพกติกาทางสังคม รับผิดชอบต่อส่วนรวม
7. มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ รักการอ่าน กล้าซักถาม
8. บันทึกความรู้อย่างเป็นระบบ นําความรู้สู่การปฏิบัติได้จริง
10 
 
คําอธิบายรายวิชา
รายวิชาเพิ่มเติมการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้
(Research and Knowledge Formation: IS1)
รายวิชาเพิ่มเติม บูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามศักยภาพ I 33201
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เวลา 60 ชั่วโมง จํานวน 1.5 หน่วยกิต
-------------------------------------------------
ศึกษา วิเคราะห์การตั้งประเด็น / คําถามในเรื่องที่สนใจ การตั้งสมมติฐาน การค้นคว้า
การแสวงหาความรู้ข้อมูล การออกแบบ การวางแผนรวบรวมข้อมูล การใช้กระบวนการกลุ่ม
การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ การสังเคราะห์ การสรุปองค์ความรู้และการเสนอวิธีคิดแก้ปัญหา
ที่เป็นระบบ
ฝึกทักษะตั้งประเด็นปัญหา / ตั้งคําถามในเรื่องที่สนใจโดยเริ่มจากตนเอง เชื่อมโยงกับชุมชน ท้องถิ่น
และประเทศ ตั้งสมมติฐานและให้เหตุผลโดยใช้ความรู้จากศาสตร์สาขาต่าง ๆ ค้นคว้า แสวงหาความรู้เกี่ยวกับ
สมมติฐานที่ตั้งไว้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ออกแบบ วางแผน รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้
วิธีการที่เหมาะสม สังเคราะห์ สรุปองค์ความรู้และร่วมกันเสนอแนวคิด วิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ด้วย
กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการปฏิบัติและกระบวนการกลุ่มในการ
วิพากษ์
เพื่อให้เกิดทักษะในการค้นคว้า แสวงหาความรู้ สังเคราะห์ สรุป อภิปราย เปรียบเทียบเชื่อมโยงองค์
ความรู้และมีทักษะการนําเสนอการศึกษาค้นคว้าและนําองค์ความรู้ไปแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ เห็นประโยชน์
และคุณค่าของการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
ผลการเรียนรู้
1. ตั้งประเด็นปัญหา โดยเลือกประเด็นที่สนใจ เริ่มจากตนเอง ชุมชนท้องถิ่น ประเทศ
2. ตั้งสมมติฐานประเด็นปัญหาที่ตนเองสนใจ
3. ออกแบบ วางแผน ใช้กระบวนการรวบรวมข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ศึกษา ค้นคว้า แสวงหาความรู้เกี่ยวกับประเด็นที่เลือก จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
5. ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข้อมูลได้
6. วิเคราะห์ข้อค้นพบด้วยวิธีการที่เหมาะสม
7. สังเคราะห์สรุปองค์ความรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม
8. เสนอแนวคิด การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้จากการค้นพบ
9. เห็นประโยชน์และคุณค่าของการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
11 
 
โครงสร้างรายวิชาเพิ่มเติมการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (IS1)
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2
หน่วยที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ สาระสําคัญ เวลา น้ําหนักคะแนน
1 ไขข้อสงสัย 1. ตั้งประเด็นปัญหา โดย
เลือกประเด็นที่สนใจ เริ่มจาก
ตนเอง ชุมชน ท้องถิ่น
ประเทศ
2. ตั้งสมมติฐานประเด็น
ปัญหาที่ตนเองสนใจ
3. ออกแบบ วางแผน ใช้
กระบวนการรวบรวมข้อมูล
อย่างมีประสิทธิภาพ
- การตั้งคําถาม
ในเรื่องที่สนใจเริ่ม
จากตัวเอง เชื่อมโยง
กับชุมชน ท้องถิ่น
และประเทศ
-การตั้งสมมติฐาน
และให้เหตุผล โดย
ใช้ความรู้จากศาสตร์
สาขาต่าง ๆ
5 - 9 15
2 ห ล า ก ห ล า ย จ า ก
แหล่งเรียนรู้
4. ศึกษา ค้นคว้า แสวงหา
ความรู้เกี่ยวกับประเด็น
ที่เลือก จากแหล่งเรียนรู้
ที่หลากหลาย
- การค้นคว้า
แสวงหาความรู้
เกี่ยวกับสมมติฐาน
ที่ตั้งไว้
10 - 15 20
3 เปิดประตูสู่ความจริง 5. ตรวจสอบความน่าเชื่อถือ
ของแหล่งที่มาของข้อมูลได้
6. วิเคราะห์ข้อค้นพบด้วย
สถิติที่เหมาะสม
- วิเคราะห์
ความน่าเชื่อถือของ
ข้อมูล
10 - 15 25
4 ประมวลทุกสิ่งที่ค้นพบ 6. วิเครา ะห์ข้อค้นพบ
ด้วยสถิติที่เหมาะสม
7. สังเคราะห์สรุปองค์ความรู้
ด้วยกระบวนการกลุ่ม
8. เสนอแนวคิด การแก้
ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วย
องค์ความรู้จากการค้นพบ
9. เห็นประโยชน์และคุณค่า
ของการศึกษาค้นคว้าด้วย
ตนเอง
- การเปรียบเทียบ /
เชื่อมโยงองค์ความรู้
สังเคราะห์ สรุป
อภิปรายเพื่อให้เห็น
ประโยชน์และคุณค่า
ข อ ง ก า ร ศึ ก ษ า
ค้นคว้าด้วยตัวเอง
15 - 21 40
รวม 40 - 60 100
12 
 
การออกแบบหน่วยการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ไขข้อสงสัย รายวิชาเพิ่มเติม การศึกษาค้นคว้าและการสร้างองค์ความรู้
ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เวลา 5 ชั่วโมง
เป้าหมายการเรียนรู้ (ผลการเรียนรู้)
1. ตั้งประเด็นปัญหา โดยเลือกประเด็นที่สนใจ เริ่มจากตนเอง ชุมชน ท้องถิ่น ประเทศ
2. ตั้งสมมติฐานประเด็นปัญหาที่ตนเองสนใจ
3. ออกแบบ วางแผน ใช้กระบวนการรวบรวมข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
ความเข้าใจที่คงทน (สาระสําคัญ / ความคิดรวบยอด)
- การตั้งคําถามในเรื่องที่สนใจเริ่มจากตัวเอง เชื่อมโยง
กับชุมชน ท้องถิ่นและประเทศ
- การตั้งสมมติฐานและให้เหตุผลโดยใช้ความรู้จาก
ศาสตร์สาขาต่าง ๆ
- การออกแบบ วางแผน ใช้กระบวนการรวบรวมข้อมูล
คําถามสําคัญ
- จะตั้งคําถามในเรื่องที่สนใจให้เชื่อมโยงกับชุมชน ท้องถิ่นและ
ประเทศได้อย่างไร
- จะตั้งสมมติฐานและให้เหตุผลโดยใช้ความรู้จากศาสตร์สาขา
ต่าง ๆ ได้อย่างไร
- จะออกแบบ วางแผน โดยใช้กระบวนการรวบรวมข้อมูลได้
อย่างไร
ผู้เรียนรู้อะไร (สาระการเรียนรู้)
- การกําหนดประเด็นความรู้
- ธรรมชาติของความรู้
- ลักษณะของความรู้
- แหล่งเรียนรู้
- วิธีการสร้างความรู้
1) การสร้างความรู้จากความรู้สึก
2) การสร้างความรู้จากภาษา
3) การสร้างความรู้จากเหตุผล
4) การสร้างความรู้จากอารมณ์
- ทฤษฎีของกลุ่มสาระการเรียนรู้พื้นฐาน 8 กลุ่มสาระ
- ศาสตร์ / สาขาวิชาของความรู้
- นักคิด / บิดาศาสตร์ของแต่ละสาระการเรียนรู้
- หลักการตั้งวัตถุประสงค์และสมมุติฐาน
- วิธีการนําเสนอ
ผู้เรียนทําอะไรได้ (ทักษะ / กระบวนการ)
- การคิดวิเคราะห์
- การคิดเปรียบเทียบ
- การคิดเชื่อมโยง
- การคิดสร้างสรรค์
- การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
- กระบวนการปฏิบัติ
- กระบวนการกลุ่ม
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. ใฝ่เรียนรู้
2. มุ่งมั่นในการทํางาน
การออกแบบการวัดผลประเมินผล
ภาระงานรวบยอด / ชิ้นงาน
1. การออกแบบโครงร่างการศึกษาค้นคว้า 2. ผลงานที่ปรากฏจริง
เกณฑ์การประเมินภาระงาน / ชิ้นงาน (ระบุประเด็นประเมิน)
13 
 
1. มีองค์ประกอบครบ (ขอบเขตของข้อมูล แผนการจัดเก็บข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล)
2. มีความสัมพันธ์กันอย่างสมเหตุสมผลระหว่างขอบเขตของข้อมูล แผนการจัดเก็บข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
3. สามารถนําไปใช้ได้จริง
ร่องรอยการเรียนรู้อื่น ๆ
การวางแผนการเรียนรู้
กิจกรรมการเรียนรู้
นักเรียนจะ
1. ดูตัวอย่างประเด็นความรู้จากสาระวิชาพื้นฐาน
2. ร่วมกันวิเคราะห์ประเด็นความรู้ ตั้งสมมติฐาน และข้อสันนิษฐานของประเด็นความรู้
3. ตั้งคําถามกระตุ้นให้เหตุผล ความคิดต่างมุม เพื่อแก้ไขปัญหาโดยใช้สาขาวิชาต่าง ๆ โดยใช้วิธีการโต้แย้งสนับสนุนและ
โต้แย้งคัดค้าน
4. แบ่งกลุ่มนักเรียนค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งการเรียนรู้ตามสาขาวิชาต่าง ๆ
5. นําเสนอข้อมูลจากการค้นคว้า ระบุแหล่งเรียนรู้ ความคิด เหตุผล วิธีการแก้ปัญหาในแต่ละสาขาวิชา
6. ร่วมกันสรุปเชื่อมโยงและเปรียบเทียบ วิธีการค้นคว้าหาความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ
สื่อ / แหล่งเรียนรู้
1. ตัวอย่างประเด็นความรู้
2. ตัวอย่างแหล่งการเรียนรู้
14 
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
ชื่อหน่วยการเรียนรู้ หลากหลายจากแหล่งเรียนรู้ รายวิชาเพิ่มเติม การศึกษาค้นคว้าและการสร้างองค์ความรู้
ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เวลา 10 ชั่วโมง
เป้าหมายการเรียนรู้ (ผลการเรียนรู้)
4. ศึกษา ค้นคว้า แสวงหาความรู้เกี่ยวกับประเด็นที่เลือกจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
ความเข้าใจที่คงทน (สาระสําคัญ / ความคิดรวบยอด)
การค้นคว้า แสวงหาความรู้เกี่ยวกับประเด็นที่ศึกษา
นํามาสู่การตั้งสมมติฐานได้
คําถามสําคัญ
- จะค้นคว้า แสวงหาความรู้ได้อย่างไร
- จะนําความรู้มาตั้งสมมติฐานได้อย่างไร
ผู้เรียนรู้อะไร (สาระการเรียนรู้)
- วิธีการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
- การกําหนดประเด็นความรู้จากเรื่องที่ศึกษาค้นคว้า
- การตั้งสมมติฐาน
ผู้เรียนทําอะไรได้ (ทักษะ / กระบวนการ)
- ค้นคว้าความรู้ในประเด็นที่ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้
ที่หลากหลาย
- กําหนดประเด็นความรู้จากเรื่องที่สนใจศึกษาค้นคว้า
- ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ศึกษาค้นคว้า
- ทํ า ง า น ร่ ว ม กั บ ผู้ อื่ น ต า ม ก ร ะ บ ว น ก า ร ก ลุ่ ม
- วิพากษ์ความน่าเชื่อถือของข้อมูล
- นําข้อวิพากษ์มาปรับปรุงงานงานของตน
- นําประเด็นความรู้จากเรื่องที่ศึกษามาตั้งสมมติฐาน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย
2. ใฝ่เรียนรู้
3. มุ่งมั่นในการทํางาน
การออกแบบการวัดผลประเมินผล
ภาระงานรวบยอด / ชิ้นงาน
- แฟ้มผลงานที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้า
- สมมติฐาน
เกณฑ์การประเมินภาระงาน / ชิ้นงาน (ระบุประเด็นประเมิน)
- ความหลากหลายของแหล่งข้อมูล
- กระบวนการรวบรวมมีระบบชัดเจน สะดวกต่อการใช้ ตรวจสอบได้
ร่องรอยการเรียนรู้อื่น ๆ
- แบบบันทึกต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูล
- แบบบันทึกการตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล
- แบบบันทึกเกี่ยวกับกระบวนการทํางาน
การวางแผนการเรียนรู้
กิจกรรมการเรียนรู้
นักเรียนจะ
1. ศึกษาวิธีการค้นคว้า / แสวงหาความรู้เกี่ยวกับประเด็นที่ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
2. ตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูล / สารสนเทศในประเด็นที่ศึกษาจากแหล่งสืบค้นข้อมูลที่หลากหลาย
3. แบ่งกลุ่มนักเรียนฝึกทักษะการตรวจสอบข้อมูล / สารสนเทศ ด้วยตนเอง
4. วางแผนจัดเก็บข้อมูลในประเด็นที่ศึกษา
5. จัดหมวดหมู่ข้อมูล / สารสนเทศ เรียงลําดับตามที่วางแผนให้เป็นระบบ
6. ตรวจทาน / วิพากษ์นําผลไปปรับปรุงข้อมูล / สารสนเทศรายบุคคล
7. นําความรู้จากประเด็นที่ศึกษามาตั้งสมมติฐาน
สื่อ / แหล่งเรียนรู้
1. ตัวอย่างการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นระบบ
2. ตัวอย่างการตั้งสมมติฐาน
15 
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
ชื่อหน่วยการเรียนรู้ เปิดประตูสู่ความจริง รายวิชาเพิ่มเติม การศึกษาค้นคว้าและการสร้างองค์ความรู้
ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เวลา 10 ชั่วโมง
เป้าหมายการเรียนรู้ (ผลการเรียนรู้)
5. ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข้อมูลได้
6. วิเคราะห์ข้อค้นพบด้วยสถิติที่เหมาะสม
ความเข้าใจที่คงทน (สาระสําคัญ / ความคิดรวบยอด)
การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลจะช่วยให้
ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มีคุณภาพ
คําถามสําคัญ
- จะมีวิธีตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลได้อย่างไร
- จะนําสถิติพื้นฐานมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร
ผู้เรียนรู้อะไร (สาระการเรียนรู้)
- การตรวจความน่าเชื่อถือของข้อมูล
- สถิติพื้นฐาน
ผู้เรียนทําอะไรได้ (ทักษะ / กระบวนการ)
- ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล
- นําสถิติพื้นฐานมาวิเคราะห์ข้อมูล
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย
2. ซื่อสัตย์
3. ใฝ่เรียนรู้
4. มุ่งมั่นในการทํางาน
5. จิตสาธารณะ
การออกแบบการวัดผลประเมินผล
ภาระงานรวบยอด / ชิ้นงาน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคล
เกณฑ์การประเมินภาระงาน / ชิ้นงาน(ระบุประเด็นประเมิน)
- ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลที่สืบค้น
- ความถูกต้อง / ครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูล
- กระบวนการรวบรวมมีระบบชัดเจน สะดวกต่อการใช้ ตรวจสอบได้
ร่องรอยการเรียนรู้อื่น ๆ
- แบบบันทึกต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูล
- แบบบันทึกการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล
- แบบบันทึกเกี่ยวกับกระบวนการทํางาน
- แบบบันทึกการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
การวางแผนการเรียนรู้
กิจกรรมการเรียนรู้
นักเรียนจะ
1. ศึกษาการตรวจสอบความน่าเชื่อของข้อมูล
2. ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล
3. รวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบ เตรียมข้อมูลวิเคราะห์
4. เลือกสถิติพื้นฐานที่เหมาะสมกับข้อมูลที่วิเคราะห์
5. วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
6. ร่วมกันตรวจสอบผลการวิเคราะห์ข้อมูล
7. วิพากษ์ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการตรวจสอบ
8. นําผลการวิพากษ์ผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาปรับ / พัฒนา
9. รวบรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนําไปสังเคราะห์สรุปเป็นองค์ความรู้
สื่อ / แหล่งเรียนรู้
1. แหล่งค้นคว้าอ้างอิง เช่น อินเทอร์เน็ต หนังสือ บุคคล ฯลฯ
2. เครื่องคอมพิวเตอร์
16 
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ประมวลทุกสิ่งที่ค้นพบ รายวิชาเพิ่มเติม การศึกษาค้นคว้าและการสร้างองค์ความรู้
ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เวลา 15 ชั่วโมง
เป้าหมายการเรียนรู้ (ผลการเรียนรู้)
6. วิเคราะห์ข้อค้นพบด้วยวิธีการรที่เหมาะสม
7. สังเคราะห์ สรุปองค์ความรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม
8. เสนอแนวคิด การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้จากการค้นพบ
9. เห็นประโยชน์และคุณค่าของการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
ความเข้าใจที่คงทน (สาระสําคัญ / ความคิดรวบยอด)
การวิเคราะห์ข้อค้นพบด้วยวิธีการที่เหมาะสม
การสังเคราะห์ สรุปองค์ความรู้ และเสนอแนวคิด
การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้จากการ
ค้นพบ เห็นประโยชน์และคุณค่าของการศึกษาค้นคว้า
ด้วยตนเอง
คําถามสําคัญ
- จะใช้วิธีการที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อค้นพบได้อย่างไร
- จะสังเคราะห์ สรุปองค์ความรู้ด้วยกระบวนกลุ่มได้อย่างไร
- จะเสนอแนวคิด การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้
จากการค้นพบได้อย่างไร
ผู้เรียนรู้อะไร (สาระการเรียนรู้)
- การใช้วิธีการในการวิเคราะห์ข้อค้นพบ
- การเปรียบเทียบ / เชื่อมโยงองค์ความรู้ สังเคราะห์
สรุป อภิปรายเพื่อให้เห็นประโยชน์และคุณค่าของ
การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง
- การเสนอแนวคิด การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วย
องค์ความรู้จากการค้นพบ
ผู้เรียนทําอะไรได้ (ทักษะ / กระบวนการ)
- ใช้วิธีการในการวิเคราะห์ข้อค้นพบ
- เปรียบเทียบ / เชื่อมโยงองค์ความรู้ สังเคราะห์ สรุป อภิปราย
เพื่อให้เห็นประโยชน์และคุณค่าของการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง
- เสนอแนวคิด การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้
จากการค้นพบ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. วินัย
2. ใฝ่เรียนรู้
3. มุ่งมั่นในการทํางาน
4. รักความเป็นไทย
5. จิตสาธารณะ
การออกแบบการวัดผลประเมินผล
ภาระงานรวบยอด / ชิ้นงาน
เขียนรายงานนําเสนอแนวคิด การแก้ปัญหาจากการศึกษาค้นคว้า
เกณฑ์การประเมินภาระงาน / ชิ้นงาน (ระบุประเด็นประเมิน)
- ความถูกต้อง / ครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูล / สารสนเทศ
- ความถูกต้องและน่าเชื่อถือของข้อค้นพบที่นําเสนอ
- กระบวนการรวบรวมมีระบบชัดเจน
ร่องรอยการเรียนรู้อื่น ๆ
- แบบบันทึกต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์สรุปองค์ความรู้
17 
 
- แบบบันทึกการตรวจสอบคุณภาพงานเขียน
- แบบบันทึกเกี่ยวกับกระบวนการทํางาน
การวางแผนการเรียนรู้
กิจกรรมการเรียนรู้
นักเรียนจะ
1. รวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบ เตรียมข้อมูลวิเคราะห์
2. เลือกสถิติที่เหมาะสมกับข้อมูลที่วิเคราะห์
3. วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม
4. ร่วมกันตรวจสอบและวิพากษ์ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
5. นําผลการวิพากษ์ผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาปรับ / พัฒนา
6. รวบรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนําไปสังเคราะห์สรุปเป็นองค์ความรู้
สื่อ / แหล่งเรียนรู้
- แหล่งค้นคว้าอ้างอิง เช่น อินเทอร์เน็ต หนังสือ บุคคล ฯลฯ
- เครื่องคอมพิวเตอร์
18 
 
รายวิชาเพิ่มเติมการสื่อสารและการนําเสนอ (Communication and Presentation: IS2)
รายวิชาเพิ่มเติมการสื่อสารและการนําเสนอ (Communication and Presentation: IS2) เป็น
สาระการเรียนรู้ที่จัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนนําข้อสรุป ข้อค้นพบใหม่ ความคิดใหม่ หรือองค์ความรู้
ใหม่ที่ได้จากการศึกษาศึกษาค้นคว้าและการสร้างองค์ความรู้ในสิ่งที่สนใจแล้วเรียบเรียงนําเสนอความคิด
ข้อคิดเห็น และข้อเสนอเชิงวิชาการ โดยใช้ภาษาอย่างถูกต้อง และนําเสนอองค์ความรู้ด้วยด้วยวิธีการที่
หลากหลายและเหมาะสม
การจัดการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมการสื่อสารและการนําเสนอมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ
สื่อสารและนําเสนอข้อค้นพบ ข้อสรุป หรือองค์ความรู้ ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
และเหมาะสม
แนวการจัดการเรียนรู้
ครูผู้สอนจะต้องให้ความสําคัญกับ “การจัดโครงร่างของผลงาน” เนื่องจากจะช่วยให้ผู้เรียนจัดลําดับ
เนื้อหาของการเขียนรายงานการค้นคว้าและการนําเสนอได้ดี โดยดําเนินการ ดังนี้
1. การรายงานการค้นคว้าของผู้เรียน ให้ผู้เรียนนําหัวข้อเรื่องจากข้อค้นพบ ข้อสรุป ความคิดใหม่
องค์ความรู้ใหม่ที่ตนเองสนใจเรียนรู้ เป็นข้อมูลในการนําเสนอ จากนั้นครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมี
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
- การเรียบเรียงหัวข้อการศึกษาค้นคว้า (Research Question)
- แหล่งค้นคว้า / แหล่งการเรียนรู้
- การกําหนด / เขียนโครงร่าง (Outline)
2. การกําหนดโครงร่างของผลงาน การเขียนรายงานการค้นคว้าหาความรู้จากแหล่ง
การเรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่องที่ผู้เรียนได้เลือกอย่างอิสระ จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ คํา
นํา (Introduction) เนื้อเรื่อง (Body /Development) และบทสรุป (Conclusion)
3. การนําเสนอการนําเสนองาน เป็นทักษะที่มีความสําคัญอย่างยิ่งสําหรับการนําเสนอ
ผลการศึกษาค้นคว้า ตามองค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่
3.1 การกําหนดวัตถุประสงค์และวิเคราะห์ผู้ฟัง
3.2 การวางโครงสร้างเนื้อหาการนําเสนอ
3.3 วิธีการนําเสนอ
การวิเคราะห์ผู้ฟัง เป็นการวิเคราะห์ความต้องการ ความสนใจ หรือความกังวลใจของผู้ฟัง
รวมถึงความเข้าใจในสไตล์ ความชอบของผู้ฟัง เพื่อให้สามารถออกแบบโครงสร้างและเนื้อหาการนําเสนอ
รวมทั้งการใช้สื่อประกอบที่มีความเหมาะสม สอดคล้องและถูกใจผู้ฟัง
บทบาทของผู้สอน
1. ส่งเสริม กระตุ้น สนับสนุน ชี้แนะให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการคิด ค้นคว้าเกี่ยวกับหัวข้อ / เรื่องที่ผู้เรียน
เลือกค้นคว้า
19 
 
2. ช่วยเหลือ แนะนําผู้เรียนในการค้นคว้าความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ
3. ช่วยเหลือแนะนําผู้เรียนสามารถเขียนรายงานการค้นคว้าได้อย่างถูกต้องตามเกณฑ์กําหนด
4. การนําเสนอ ครูควรดําเนินการ ดังนี้
4.1 นําเสนอด้วยสื่อรูปธรรม เช่น รูปภาพ ของจริง กราฟ ตาราง แผนภูมิ ภาพสัญลักษณ์ สื่อ
วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ แล้วให้ผู้เรียนได้พรรณนาถึงสิ่งที่พบ
4.2 ควรใช้คําถามที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดอย่างหลากหลายและคิดอย่างสร้างสรรค์ สามารถ
อธิบายความคิดของตนออกมา ด้วยการพูด การเขียน และให้ผู้เรียนได้ตั้งคําถามและหาคําตอบด้วยตนเองตาม
ความสนใจ
4.3 เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงแนวคิดของตนเอง
4.4 จัดกลุ่มให้ผู้เรียนได้ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้ เพื่อช่วยส่งเสริมให้เกิดการสื่อสาร
ในรูปแบบของการอธิบายแนวคิดและการอภิปรายในกลุ่ม
4.5 ใช้การชี้แนะทางตรงและชี้แนะทางอ้อม เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ และเห็น
เป้าหมายที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
บทบาทของผู้เรียน
1. กําหนดแผนการทํางาน วันส่งงาน และการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งค้นคว้า รวมทั้ง
การวางแผนการเขียนเรียบเรียงผลงาน
2. ศึกษาและฝึกการเขียนรายงานเชิงวิชาการแต่ละองค์ประกอบให้ถูกต้องสมบูรณ์
3. เรียบเรียง รวบรวมโครงร่าง (Rough draft) ของรายงานให้ครบองค์ประกอบ และฝึกการ
ตรวจสอบ (Edit) รายงานโดยใช้สัญลักษณ์ในการตรวจสอบ
4. จัดทําสื่อประกอบการนําเสนอ และเลือกวิธีการนําเสนอที่เหมาะสมกับผู้อ่าน/ผู้ฟัง
20 
 
คําอธิบายรายวิชา
การสื่อสารและการนําเสนอ
(Communication and Presentation: IS2)
รายวิชาเพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จํานวน 1.5 หน่วยกิต
เงื่อนไขการเรียน: ผู้เรียนต้องผ่านการเรียนรายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้มาก่อน
----------------------------------
ศึกษา เรียบเรียง และถ่ายทอดความคิดอย่างชัดเจน เป็นระบบจากข้อมูลองค์ความรู้จากการศึกษา
ค้นคว้าในรายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation: IS1) โดย
เขียนโครงร่าง บทนํา เนื้อเรื่อง สรุป ในรูปของรายงานเชิงวิชาการ โดยใช้คําจํานวน 2,500 คํา มีการอ้างอิง
แหล่งความรู้ที่เชื่อถือได้อย่างหลากหลาย เรียบเรียงและถ่ายทอดความคิดอย่างชัดเจน เป็นระบบ มีการ
นําเสนอในรูปแบบเดี่ยว (Oral individual) หรือกลุ่ม (Oral panel presentation) โดยใช้สื่อประกอบที่
หลากหลาย และเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ เพื่อให้เกิดทักษะ ในการเขียนรายงานเชิงวิชาการ และทักษะการ
สื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เห็นประโยชน์และคุณค่าในการสร้างสรรค์งานและถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้ให้เป็น
ประโยชน์แก่สาธารณะ
ผลการเรียนรู้
1. วางโครงร่างการเขียนตามหลักเกณฑ์ องค์ประกอบและวิธีการเขียนโครงร่าง
2. เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าเชิงวิชาการภาษาไทย ความยาว 2,500 คํา
3. นําเสนอข้อค้นพบ ข้อสรุปจากประเด็นที่เลือกในรูปแบบเดี่ยว (Oral individual
presentation) หรือกลุ่ม (Oral panel presentation) โดยใช้สื่ออุปกรณ์ในการนําเสนอได้อย่างเหมาะสม
4. เผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ
5. เห็นประโยชน์และคุณค่าในการสร้างสรรค์งานและถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้แก่สาธารณะ
21 
 
โครงสร้างรายวิชาเพิ่มเติมการสื่อสารและการนําเสนอ
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2
หน่วยที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ สาระสําคัญ ชั่วโมง น้ําหนักคะแนน
1 เตรียมความพร้อม 1. วางโครงร่างการเขียน
ต า ม ห ลั ก เ ก ณ ฑ์
องค์ประกอบและวิธีการ
เขียนโครงร่าง
5. เห็นประโยชน์และ
คุณค่าในการสร้างสรรค์
งานและถ่ายทอดสิ่งที่
เรียนรู้แก่สาธารณะ
การเชื่อมโยงทบทวนความรู้จาก
การศึกษาค้นคว้า การวิเคราะห์
สังเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้
มาสู่การสื่อสาร และการนําเสนอ
มาเขียนสรุปความให้เป็นความ
เรียงเชิงวิชาการพร้อมอ้างอิงตาม
หลักวิชาการเป็นพื้นฐานสําคัญ
ของการสื่อสารและการนําเสนอให้
เหมาะสมกับผู้อ่าน / ผู้ฟัง
4 10
2 ฝึ ก ซ้ อ ม เ ขี ย น
โครงร่าง
1. วางโครงร่างการเขียน
ต า ม ห ลั ก เ ก ณ ฑ์
องค์ประกอบและวิธีการ
เขียนโครงร่าง
การฝึกเขียนโครงร่างรายงาน
เชิงวิชาการ ซึ่งมีองค์ประกอบด้วย
ชื่อเรื่อง ความนํา วัตถุประสงค์
สมมุติฐาน ขอบเขตการศึกษา
เนื้อหา วิธีการศึกษาและการเก็บ
รวบรวมข้อมูล เป็นการวางแผน
การเขียนรายงานเชิงวิชาการอย่าง
เป็นระบบ และการตรวจสอบทั้ง
ด้วยตนเอง และเพื่อนช่วย
ตรวจสอบโดยใช้สัญลักษณ์ในการ
ตรวจสอบช่วยให้รายงานเชิง
วิชาการนั้นถูกต้องแม่นยําและ
สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
8 20
3 สร้างผลงานเขียน 2. เขียนรายงานการศึกษา
ค้ น ค ว้ า เ ชิ ง วิ ช า ก า ร
ภาษาไทย ความยาว
2,500 คํา
การถ่ายโอนองค์ความรู้จาก
การศึกษา ค้นคว้า และข้อค้นพบ
โดยการรายงานที่ใช้รูปแบบการ
เขียนรายงานเชิงวิชาการได้ครบ
องค์ประกอบและถูกต้องตาม
หลักวิชาการเป็นการสื่อสารที่มี
ประสิทธิภาพ
28 40
22 
 
หน่วยที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ สาระสําคัญ ชั่วโมง น้ําหนักคะแนน
4 เพียรนําเสนอ 3. นําเสนอข้อค้นพบ
ข้อสรุปจากประเด็นที่
เลือกในรูปแบบเดี่ยว
(Oral individual
presentation) หรือกลุ่ม
(Oral panel
presentation)
โดยใช้สื่อ อุปกรณ์ในการ
นําเสนอได้อย่างเหมาะสม
4. เผยแพร่ผลงานสู่
สาธารณะ
การนําเสนอผลงานจากการศึกษา
ค้นคว้า ข้อค้นพบโดยมีการเตรียม
ความพร้อมของผู้นําเสนอ
การเลือกรูปแบบประเภทสื่อ
ประกอบการนําเสนอให้เหมาะสม
และสอดคล้องกับตามความ
ต้องการ ความสนใจ ความชื่นชอบ
ของผู้ฟัง ช่วยให้การเผยแพร่
ผลงานได้อย่างมีประสิทธิผล
20 30
รวม 60 100
23 
 
การออกแบบหน่วยการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
ชื่อหน่วยการเรียนรู้ เตรียมความพร้อม รายวิชาเพิ่มเติม การสื่อสารและการนําเสนอ
ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เวลา 4 ชั่วโมง
เป้าหมายการเรียนรู้ (ผลการเรียนรู้)
1. วางโครงร่างการเขียนตามหลักเกณฑ์ องค์ประกอบและวิธีการเขียนโครงร่าง
5. เห็นประโยชน์และคุณค่าในการสร้างสรรค์งานและถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้แก่สาธารณะ
ความเข้าใจที่คงทน (สาระสําคัญ / ความคิดรวบยอด)
การเชื่อมโยงทบทวนความรู้จากการศึกษาค้นคว้า
การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้มาสู่
การสื่อสารและการนําเสนอ มาเขียนสรุปความให้เป็น
ความเรียงเชิงวิชาการพร้อมอ้างอิงตามหลักวิชาการ
เป็นพื้นฐานสําคัญของการสื่อสารและการนําเสนอให้
เหมาะสมกับผู้อ่าน / ผู้ฟัง
คําถามสําคัญ
- จะนําทักษะและองค์ความรู้ที่สังเคราะห์ได้จากรายวิชา IS1
ม า ใ ช้ ใ น ก า ร นํ า เ ส น อ แ ล ะ ก า ร สื่ อ ส า ร อ ย่ า ง ไ ร
- การเขียนสรุปความมีวิธีการอย่างไร
- การเขียนความเรียงวิธีการอย่างไร
- การเขียนอ้างอิงวิธีการอย่างไร
ผู้เรียนรู้อะไร(สาระการเรียนรู้)
- การเชื่อมโยงข้อมูลและองค์ความรู้จากรายวิชา IS1
สู่การเรียนรายวิชา IS2
- การเขียนสรุปความ
- การเขียนความเรียง
- การเขียนอ้างอิง
ผู้เรียนทําอะไรได้(ทักษะ/ทักษะกระบวนการ)
- รวบรวมข้อมูลและองค์ความรู้จากรายวิชา IS1
มาเชื่อมโยงสู่การนําเสนอและการสื่อสาร
- เขียนสรุปความและนํามาเชื่อมเป็นความเรียง
- เ ขี ย น อ้ า ง อิ ง ไ ด้ ถู ก ห ลั ก ก า ร
- ทํ า ง า น ร่ ว ม กั บ ผู้ อื่ น ต า ม ก ร ะ บ ว น ก า ร ก ลุ่ ม
- ตรวจสอบงานเขียนความเรียง
- วิ พ า ก ษ์ ง า น เ ขี ย น ค ว า ม เ รี ย ง ข อ ง ผู้ อื่ น
- นําข้อวิพากษ์มาปรับปรุงงานเขียนของตน
- นําข้อมูลจาก IS1มาวางแผนปฏิบัติใน IS2 - IS3
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย
2. ใฝ่เรียนรู้
3. มุ่งมั่นในการทํางาน
การออกแบบการวัดผลประเมินผล
ภาระงานรวบยอด / ชิ้นงาน
นําเสนอการวางแผนนําข้อมูลจากรายวิชา IS1 สู่การจัดทํารายงานเชิงวิชาการในรายวิชา IS2 และเชื่อมโยง
นําความรู้สู่การปฏิบัติบริการสังคมในรายวิชา IS3
เกณฑ์การประเมินภาระงาน/ชิ้นงาน(ระบุประเด็นประเมิน)
- ความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูล
- การเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่การเขียน
- ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของการศึกษา IS1 - IS3
24 
 
ร่องรอยการเรียนรู้อื่นๆ
- แบบบันทึกต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ / สังเคราะห์ข้อมูล
- แบบบันทึกการเชื่อมข้อมูลจาก IS1 - IS3
- แบบบันทึกเกี่ยวกับกระบวนการทํางาน
การวางแผนการเรียนรู้
กิจกรรมการเรียนรู้
นักเรียนจะ
1. รวบรวมข้อมูลพื้นฐานจากการเรียน IS1 มาทบทวนความรู้จากการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์และสร้างองค์
ความรู้มาสู่การสื่อสารและการนําเสนอ
2. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลที่จะนํามาออกแบบ วางแผนเชื่อมโยงข้อมูลสู่การเรียน IS2
3. ฝึกทักษะการเขียนสรุปความ
4. ฝึกทักษะการเขียนความเรียง
5. ฝึกทักษะการเขียนอ้างอิง
6. ศึกษาตัวอย่างการวางแผนการนําข้อมูลสู่การปฏิบัติโดยใช้แผนผังความคิด
7. ใช้กระบวนการกลุ่มร่วมกันวางแผนนําข้อมูลจากการสรุปความและเขียนความเรียงใน IS1 สู่การจัดทํารายงานเชิง
วิชาการใน IS2 และเชื่อมโยงนําความรู้สู่การปฏิบัติบริการสังคมใน IS3
8. ใช้ความรู้ หลักการและจินตนาการเพื่อคาดคะเนคําตอบที่เป็นไปได้ของการวางแผนจาก IS1 - IS3
9. ร่วมกันอภิปรายการวางแผนจาก IS1 - IS3 แล้วนําข้อมูลมานําเสนอ
10.ร่วมกันวิพากษ์การวางแผนของแต่และกลุ่ม
11.ปรับปรุงแผนที่วางไว้ก่อนนําไปจัดทําแผนการปฏิบัติระยะยาว
สื่อ / แหล่งเรียนรู้
1. ตัวอย่างการเขียนสรุปความ, การเขียนความเรียง,การเขียนอ้างอิง
2. แหล่งค้นคว้าอ้างอิง เช่น อินเทอร์เน็ต หนังสือ บุคคล ฯลฯ
3. ตัวอย่างการวางแผนระยะยาว
4. แผนผังการคิด
25 
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ฝึกซ้อมเขียนโครงร่าง รายวิชาเพิ่มเติม การสื่อสารและการนําเสนอ
ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เวลา 6 ชั่วโมง
เป้าหมายการเรียนรู้ (ผลการเรียนรู้)
1. วางโครงร่างการเขียนตามหลักเกณฑ์ องค์ประกอบและวิธีการเขียนโครงร่าง
ความเข้าใจที่คงทน (สาระสําคัญ / ความคิดรวบยอด)
การเขียนโครงร่างรายงานเชิงวิชาการ มีองค์ประกอบคือ ชื่อเรื่อง
ความนํา วัตถุประสงค์ สมมติฐาน ขอบเขตการศึกษา เนื้อหา วิธี
การศึกษาและการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการวางแผนการเขียนรายงาน
เชิงวิชาการอย่างเป็นระบบ และการตรวจสอบด้วยตนเองและเพื่อนช่วย
ตรวจสอบ โดยใช้สัญลักษณ์ในการตรวจสอบช่วยให้รายงานเชิงวิชาการ
นั้นถูกต้องแม่นยําและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
คําถามสําคัญ
- องค์ประกอบของการเขียนโครงร่างมีอะไรบ้าง
- แต่ละองค์ประกอบของการเขียนโครงร่าง
มีวิธีการเขียนอย่างไร
- การเขียนโครงร่างที่สมบูรณ์มีลักษณะอย่างไร
ผู้เรียนรู้อะไร (สาระการเรียนรู้)
การวางโครงร่างการเขียนรายงานเชิงวิชาการ
- องค์ประกอบของโครงร่าง
- ชื่อเรื่อง
- ความนํา
- วัตถุประสงค์
- สมมุติฐาน
- ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
- เนื้อเรื่อง
- วิธีการศึกษาและรวบรวมข้อมูล
ผู้เรียนทําอะไรได้ (ทักษะ / ทักษะกระบวนการ)
- เขียนโครงร่างรายงานเชิงวิชาการ
- ทํางานร่วมกับผู้อื่นตามกระบวนการกลุ่ม
- ตรวจสอบงานเขียนโครงร่างเชิงวิชาการ
- วิพากษ์งานเขียนโครงร่างของผู้อื่น
- นําข้อวิพากษ์มาปรับปรุงงานเขียนโครงร่าง
ของตนได้
คุณลักษณะที่พึงประสงค์
1. มีวินัย
2. ใฝ่เรียนรู้
3. มุ่งมั่นในการทํางาน
การออกแบบการวัดผลประเมินผล
ภาระงานรวบยอด / ชิ้นงาน
โครงร่างรายงานเชิงวิชาการ
เกณฑ์การประเมินภาระงาน / ชิ้นงาน (ระบุประเด็นประเมิน)
- ความครบถ้วนขององค์ประกอบโครงร่างรายงานเชิงวิชาการ
- ความถูกต้องสมบูรณ์ของโครงร่างรายงานเชิงวิชาการ
ร่องรอยการเรียนรู้อื่น ๆ
- แบบบันทึกต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการตรวจสอบ / วิพากษ์
- แบบบันทึกการประเมินการเขียนโครงร่างรายงานเชิงวิชาการ
- แบบบันทึกเกี่ยวกับกระบวนการทํางาน
26 
 
การวางแผนการเรียนรู้
กิจกรรมการเรียนรู้
นักเรียนจะ
1. ศึกษาและวิธีเขียนองค์ประกอบของโครงร่างรายงานเชิงวิชาการฉบับสมบูรณ์
2. ร่วมกันฝึกเขียนองค์ประกอบของโครงร่างรายงานเชิงวิชาการ
3. กลุ่มอภิปรายการเขียนองค์ประกอบของโครงร่างรายงานเชิงวิชาการ
4. สรุปผลการอภิปรายการเขียนองค์ประกอบของโครงร่างรายงานเชิงวิชาการของกลุ่มเตรียมนําเสนอ
5. กลุ่มนําเสนอโครงร่างรายงานเชิงวิชาการ
6. ร่วมกันตรวจสอบและวิพากษ์ความสมบูรณ์ของโครงร่างรายงานเชิงวิชาการ
7. กลุ่มปรับโครงร่างรายงานเชิงวิชาการตามข้อเสนอแนะ
8. นักเรียนแต่ละคนนําแนวทางการจัดทําโครงร่างรายงานเชิงวิชาการที่ถูกต้อง ไปจัดทําโครงร่างรายงาน
เชิงวิชาการของตนเอง
สื่อ / แหล่งเรียนรู้
1. ตัวอย่างการเขียนโครงร่างรายงานเชิงวิชาการ
2. แหล่งค้นคว้าอ้างอิง เช่น อินเทอร์เน็ต หนังสือ บุคคล ฯลฯ
หลักสูตร Is ม.ต้น.56doc
หลักสูตร Is ม.ต้น.56doc
หลักสูตร Is ม.ต้น.56doc
หลักสูตร Is ม.ต้น.56doc
หลักสูตร Is ม.ต้น.56doc
หลักสูตร Is ม.ต้น.56doc
หลักสูตร Is ม.ต้น.56doc
หลักสูตร Is ม.ต้น.56doc
หลักสูตร Is ม.ต้น.56doc
หลักสูตร Is ม.ต้น.56doc
หลักสูตร Is ม.ต้น.56doc
หลักสูตร Is ม.ต้น.56doc
หลักสูตร Is ม.ต้น.56doc
หลักสูตร Is ม.ต้น.56doc
หลักสูตร Is ม.ต้น.56doc
หลักสูตร Is ม.ต้น.56doc
หลักสูตร Is ม.ต้น.56doc
หลักสูตร Is ม.ต้น.56doc
หลักสูตร Is ม.ต้น.56doc
หลักสูตร Is ม.ต้น.56doc
หลักสูตร Is ม.ต้น.56doc
หลักสูตร Is ม.ต้น.56doc
หลักสูตร Is ม.ต้น.56doc

Contenu connexe

Tendances

ภาคผนวกโครงงานกล้อง
ภาคผนวกโครงงานกล้องภาคผนวกโครงงานกล้อง
ภาคผนวกโครงงานกล้องkrupornpana55
 
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาThongsawan Seeha
 
ระบบย่อยอาหารของสัตว์
ระบบย่อยอาหารของสัตว์ระบบย่อยอาหารของสัตว์
ระบบย่อยอาหารของสัตว์Anissa Aromsawa
 
แบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานแบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานpacharawalee
 
ค่าอำนาจจำแนก
ค่าอำนาจจำแนก ค่าอำนาจจำแนก
ค่าอำนาจจำแนก Jeerapob Seangboonme
 
แบบฝึกหัดรูปสี่เหลี่ยมป.5 6
แบบฝึกหัดรูปสี่เหลี่ยมป.5 6แบบฝึกหัดรูปสี่เหลี่ยมป.5 6
แบบฝึกหัดรูปสี่เหลี่ยมป.5 6Jaar Alissala
 
ตัวอย่างโครงการสอน
ตัวอย่างโครงการสอนตัวอย่างโครงการสอน
ตัวอย่างโครงการสอนKrupol Phato
 
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลย...
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลย...ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลย...
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลย...Prachoom Rangkasikorn
 
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิตแบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิตsripayom
 
โวหารในการเขียน
โวหารในการเขียนโวหารในการเขียน
โวหารในการเขียนkrubuatoom
 
โครงงานยาเสพติด
โครงงานยาเสพติดโครงงานยาเสพติด
โครงงานยาเสพติดพัน พัน
 
Is2 การสื่อสารและการนำเสนอ กลุ่ม1
Is2  การสื่อสารและการนำเสนอ  กลุ่ม1Is2  การสื่อสารและการนำเสนอ  กลุ่ม1
Is2 การสื่อสารและการนำเสนอ กลุ่ม1พัน พัน
 
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...Prachoom Rangkasikorn
 
ปกนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
ปกนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศปกนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
ปกนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศsomdetpittayakom school
 
Slชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะ
SlชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะSlชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะ
Slชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะkrupornpana55
 

Tendances (20)

ภาคผนวกโครงงานกล้อง
ภาคผนวกโครงงานกล้องภาคผนวกโครงงานกล้อง
ภาคผนวกโครงงานกล้อง
 
ส่วนประกอบของดอก
ส่วนประกอบของดอกส่วนประกอบของดอก
ส่วนประกอบของดอก
 
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
 
ระบบย่อยอาหารของสัตว์
ระบบย่อยอาหารของสัตว์ระบบย่อยอาหารของสัตว์
ระบบย่อยอาหารของสัตว์
 
แบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานแบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงาน
 
ค่าอำนาจจำแนก
ค่าอำนาจจำแนก ค่าอำนาจจำแนก
ค่าอำนาจจำแนก
 
แบบฝึกหัดรูปสี่เหลี่ยมป.5 6
แบบฝึกหัดรูปสี่เหลี่ยมป.5 6แบบฝึกหัดรูปสี่เหลี่ยมป.5 6
แบบฝึกหัดรูปสี่เหลี่ยมป.5 6
 
1111111111111111111
11111111111111111111111111111111111111
1111111111111111111
 
ตัวอย่างโครงการสอน
ตัวอย่างโครงการสอนตัวอย่างโครงการสอน
ตัวอย่างโครงการสอน
 
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลย...
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลย...ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลย...
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลย...
 
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิตแบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
 
โวหารในการเขียน
โวหารในการเขียนโวหารในการเขียน
โวหารในการเขียน
 
โครงงานยาเสพติด
โครงงานยาเสพติดโครงงานยาเสพติด
โครงงานยาเสพติด
 
Is2 การสื่อสารและการนำเสนอ กลุ่ม1
Is2  การสื่อสารและการนำเสนอ  กลุ่ม1Is2  การสื่อสารและการนำเสนอ  กลุ่ม1
Is2 การสื่อสารและการนำเสนอ กลุ่ม1
 
แผนเศรษฐกิจพอเพียง
แผนเศรษฐกิจพอเพียงแผนเศรษฐกิจพอเพียง
แผนเศรษฐกิจพอเพียง
 
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...
 
ปกนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
ปกนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศปกนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
ปกนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
 
Slชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะ
SlชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะSlชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะ
Slชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะ
 
หน่วย 1
หน่วย 1หน่วย 1
หน่วย 1
 
Cippa model
Cippa modelCippa model
Cippa model
 

Similaire à หลักสูตร Is ม.ต้น.56doc

หลักสูตร Is ม.ปลาย56
หลักสูตร Is ม.ปลาย56หลักสูตร Is ม.ปลาย56
หลักสูตร Is ม.ปลาย56krupornpana55
 
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfSAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfWichai Likitponrak
 
ร่างหลักสูตรสถานศึกษา (แทนตัวเดิม)
ร่างหลักสูตรสถานศึกษา (แทนตัวเดิม)ร่างหลักสูตรสถานศึกษา (แทนตัวเดิม)
ร่างหลักสูตรสถานศึกษา (แทนตัวเดิม)Nattayaporn Dokbua
 
หลักสูตรโครงสร้างหลักสูตร ม.ปลาย55
หลักสูตรโครงสร้างหลักสูตร ม.ปลาย55หลักสูตรโครงสร้างหลักสูตร ม.ปลาย55
หลักสูตรโครงสร้างหลักสูตร ม.ปลาย55krupornpana55
 
รายงานผลการปฏิบัติงานและการประเมินตนเองTeacher Self Assessment Report : T-SAR...
รายงานผลการปฏิบัติงานและการประเมินตนเองTeacher Self Assessment Report : T-SAR...รายงานผลการปฏิบัติงานและการประเมินตนเองTeacher Self Assessment Report : T-SAR...
รายงานผลการปฏิบัติงานและการประเมินตนเองTeacher Self Assessment Report : T-SAR...KruKaiNui
 
หลักสูตรโครงสร้างหลักสูตรม.ต้น ปี 55
หลักสูตรโครงสร้างหลักสูตรม.ต้น ปี 55หลักสูตรโครงสร้างหลักสูตรม.ต้น ปี 55
หลักสูตรโครงสร้างหลักสูตรม.ต้น ปี 55krupornpana55
 
การพัฒนาหลักสูตร สว
การพัฒนาหลักสูตร สวการพัฒนาหลักสูตร สว
การพัฒนาหลักสูตร สวdeegree
 
การพัฒนาหลักสูตร สว
การพัฒนาหลักสูตร สวการพัฒนาหลักสูตร สว
การพัฒนาหลักสูตร สวdeegree
 
นำเสนอหลักสูตร ร.ร.เมืองยม
นำเสนอหลักสูตร ร.ร.เมืองยมนำเสนอหลักสูตร ร.ร.เมืองยม
นำเสนอหลักสูตร ร.ร.เมืองยมkrupawit
 
04 15กค56 2สารสนเทศ 56-2
04 15กค56 2สารสนเทศ 56-204 15กค56 2สารสนเทศ 56-2
04 15กค56 2สารสนเทศ 56-2Nadeewittaya School
 
มัธยมปลาย ภาคเรียนที่2 ศิลป์
มัธยมปลาย ภาคเรียนที่2 ศิลป์มัธยมปลาย ภาคเรียนที่2 ศิลป์
มัธยมปลาย ภาคเรียนที่2 ศิลป์nang_phy29
 
บทที่ 2 คณิตฯ
บทที่ 2 คณิตฯบทที่ 2 คณิตฯ
บทที่ 2 คณิตฯsupanyasaengpet
 
หลักสูตรแกนกลาง2551(ล่าสุด)
หลักสูตรแกนกลาง2551(ล่าสุด)หลักสูตรแกนกลาง2551(ล่าสุด)
หลักสูตรแกนกลาง2551(ล่าสุด)wasan
 
หลักสูตรแกนกลาง2551(ล่าสุด)
หลักสูตรแกนกลาง2551(ล่าสุด)หลักสูตรแกนกลาง2551(ล่าสุด)
หลักสูตรแกนกลาง2551(ล่าสุด)wasan
 
ภูมิศาสตร์ครูปานใจ
ภูมิศาสตร์ครูปานใจภูมิศาสตร์ครูปานใจ
ภูมิศาสตร์ครูปานใจkrupanjairs
 
2.หลักสูตรคณิต
2.หลักสูตรคณิต2.หลักสูตรคณิต
2.หลักสูตรคณิตnang_phy29
 

Similaire à หลักสูตร Is ม.ต้น.56doc (20)

หลักสูตร Is ม.ปลาย56
หลักสูตร Is ม.ปลาย56หลักสูตร Is ม.ปลาย56
หลักสูตร Is ม.ปลาย56
 
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfSAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
 
Focus3
Focus3Focus3
Focus3
 
ร่างหลักสูตรสถานศึกษา (แทนตัวเดิม)
ร่างหลักสูตรสถานศึกษา (แทนตัวเดิม)ร่างหลักสูตรสถานศึกษา (แทนตัวเดิม)
ร่างหลักสูตรสถานศึกษา (แทนตัวเดิม)
 
หลักสูตรโครงสร้างหลักสูตร ม.ปลาย55
หลักสูตรโครงสร้างหลักสูตร ม.ปลาย55หลักสูตรโครงสร้างหลักสูตร ม.ปลาย55
หลักสูตรโครงสร้างหลักสูตร ม.ปลาย55
 
รายงานผลการปฏิบัติงานและการประเมินตนเองTeacher Self Assessment Report : T-SAR...
รายงานผลการปฏิบัติงานและการประเมินตนเองTeacher Self Assessment Report : T-SAR...รายงานผลการปฏิบัติงานและการประเมินตนเองTeacher Self Assessment Report : T-SAR...
รายงานผลการปฏิบัติงานและการประเมินตนเองTeacher Self Assessment Report : T-SAR...
 
หลักสูตรโครงสร้างหลักสูตรม.ต้น ปี 55
หลักสูตรโครงสร้างหลักสูตรม.ต้น ปี 55หลักสูตรโครงสร้างหลักสูตรม.ต้น ปี 55
หลักสูตรโครงสร้างหลักสูตรม.ต้น ปี 55
 
การพัฒนาหลักสูตร สว
การพัฒนาหลักสูตร สวการพัฒนาหลักสูตร สว
การพัฒนาหลักสูตร สว
 
การพัฒนาหลักสูตร สว
การพัฒนาหลักสูตร สวการพัฒนาหลักสูตร สว
การพัฒนาหลักสูตร สว
 
นำเสนอหลักสูตร ร.ร.เมืองยม
นำเสนอหลักสูตร ร.ร.เมืองยมนำเสนอหลักสูตร ร.ร.เมืองยม
นำเสนอหลักสูตร ร.ร.เมืองยม
 
Kankuson
KankusonKankuson
Kankuson
 
SAR 2560
SAR 2560SAR 2560
SAR 2560
 
04 15กค56 2สารสนเทศ 56-2
04 15กค56 2สารสนเทศ 56-204 15กค56 2สารสนเทศ 56-2
04 15กค56 2สารสนเทศ 56-2
 
มัธยมปลาย ภาคเรียนที่2 ศิลป์
มัธยมปลาย ภาคเรียนที่2 ศิลป์มัธยมปลาย ภาคเรียนที่2 ศิลป์
มัธยมปลาย ภาคเรียนที่2 ศิลป์
 
SARkruwichaiTU2562
SARkruwichaiTU2562SARkruwichaiTU2562
SARkruwichaiTU2562
 
บทที่ 2 คณิตฯ
บทที่ 2 คณิตฯบทที่ 2 คณิตฯ
บทที่ 2 คณิตฯ
 
หลักสูตรแกนกลาง2551(ล่าสุด)
หลักสูตรแกนกลาง2551(ล่าสุด)หลักสูตรแกนกลาง2551(ล่าสุด)
หลักสูตรแกนกลาง2551(ล่าสุด)
 
หลักสูตรแกนกลาง2551(ล่าสุด)
หลักสูตรแกนกลาง2551(ล่าสุด)หลักสูตรแกนกลาง2551(ล่าสุด)
หลักสูตรแกนกลาง2551(ล่าสุด)
 
ภูมิศาสตร์ครูปานใจ
ภูมิศาสตร์ครูปานใจภูมิศาสตร์ครูปานใจ
ภูมิศาสตร์ครูปานใจ
 
2.หลักสูตรคณิต
2.หลักสูตรคณิต2.หลักสูตรคณิต
2.หลักสูตรคณิต
 

Plus de krupornpana55

รายงานผล กิจกรรมต่างๆ
รายงานผล  กิจกรรมต่างๆ รายงานผล  กิจกรรมต่างๆ
รายงานผล กิจกรรมต่างๆ krupornpana55
 
การคงสภาพโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียน
การคงสภาพโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียนการคงสภาพโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียน
การคงสภาพโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียนkrupornpana55
 
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4krupornpana55
 
ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...
ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...
ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...krupornpana55
 
โฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาว
โฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาวโฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาว
โฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาวkrupornpana55
 
บอร์ดสิ่งแวดล้อม
บอร์ดสิ่งแวดล้อมบอร์ดสิ่งแวดล้อม
บอร์ดสิ่งแวดล้อมkrupornpana55
 
บอร์ดโรงเรียนสีขาว
บอร์ดโรงเรียนสีขาวบอร์ดโรงเรียนสีขาว
บอร์ดโรงเรียนสีขาวkrupornpana55
 
บอร์ดพลโลก
บอร์ดพลโลกบอร์ดพลโลก
บอร์ดพลโลกkrupornpana55
 
คุณลักษณะ
คุณลักษณะคุณลักษณะ
คุณลักษณะkrupornpana55
 
การสร้างเครือข่าย
การสร้างเครือข่ายการสร้างเครือข่าย
การสร้างเครือข่ายkrupornpana55
 
5สิทธิเด็ก
5สิทธิเด็ก5สิทธิเด็ก
5สิทธิเด็กkrupornpana55
 
3คุณธรรมตามวิถีประชาธิปไตย
3คุณธรรมตามวิถีประชาธิปไตย3คุณธรรมตามวิถีประชาธิปไตย
3คุณธรรมตามวิถีประชาธิปไตยkrupornpana55
 
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4krupornpana55
 
คู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียนคู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียนkrupornpana55
 
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วมkrupornpana55
 
1ปกรายงานการประชุม
1ปกรายงานการประชุม1ปกรายงานการประชุม
1ปกรายงานการประชุมkrupornpana55
 
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
3ภาพประกอบการอบรม เปล่าkrupornpana55
 
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วมkrupornpana55
 
1ปกรายงานการประชุม
1ปกรายงานการประชุม1ปกรายงานการประชุม
1ปกรายงานการประชุมkrupornpana55
 
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
3ภาพประกอบการอบรม เปล่าkrupornpana55
 

Plus de krupornpana55 (20)

รายงานผล กิจกรรมต่างๆ
รายงานผล  กิจกรรมต่างๆ รายงานผล  กิจกรรมต่างๆ
รายงานผล กิจกรรมต่างๆ
 
การคงสภาพโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียน
การคงสภาพโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียนการคงสภาพโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียน
การคงสภาพโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียน
 
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
 
ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...
ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...
ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...
 
โฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาว
โฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาวโฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาว
โฟมบอร์ดห้องเรียนสีขาว
 
บอร์ดสิ่งแวดล้อม
บอร์ดสิ่งแวดล้อมบอร์ดสิ่งแวดล้อม
บอร์ดสิ่งแวดล้อม
 
บอร์ดโรงเรียนสีขาว
บอร์ดโรงเรียนสีขาวบอร์ดโรงเรียนสีขาว
บอร์ดโรงเรียนสีขาว
 
บอร์ดพลโลก
บอร์ดพลโลกบอร์ดพลโลก
บอร์ดพลโลก
 
คุณลักษณะ
คุณลักษณะคุณลักษณะ
คุณลักษณะ
 
การสร้างเครือข่าย
การสร้างเครือข่ายการสร้างเครือข่าย
การสร้างเครือข่าย
 
5สิทธิเด็ก
5สิทธิเด็ก5สิทธิเด็ก
5สิทธิเด็ก
 
3คุณธรรมตามวิถีประชาธิปไตย
3คุณธรรมตามวิถีประชาธิปไตย3คุณธรรมตามวิถีประชาธิปไตย
3คุณธรรมตามวิถีประชาธิปไตย
 
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
ผังการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนโรงเรียน A4
 
คู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียนคู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียน
 
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
 
1ปกรายงานการประชุม
1ปกรายงานการประชุม1ปกรายงานการประชุม
1ปกรายงานการประชุม
 
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
 
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
2บันทึกรายงานผลการเข้าร่วม
 
1ปกรายงานการประชุม
1ปกรายงานการประชุม1ปกรายงานการประชุม
1ปกรายงานการประชุม
 
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
3ภาพประกอบการอบรม เปล่า
 

หลักสูตร Is ม.ต้น.56doc

  • 1. 1    หลักสูตรมาตรฐานสากล สาระการเรียนรู้ IS1-IS3 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ พุทธศักราช 2556 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ 
  • 2. 2    ประกาศโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ เรื่อง ให้ใช้หลักสูตรมาตรฐานสากล โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ พุทธศักราช 2556 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสอดคล้องกับสภาพความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ เป็นการสร้างกลยุทธ์ใหม่ในการพัฒนาคุณภาพการ ศึกษาให้สามารถตอบสนองความต้องการของบุคคล สังคมไทย ผู้เรียนมีศักยภาพในการแข่งขัน และร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในสังคมโลก ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสํานึกในความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นไปตามเจตนารมณ์มาตรา 80 ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตร 12 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ได้มีมติเห็นชอบให้ใช้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ปรากฏรายละเอียดตามคําสั่งดังแนบ ทั้งนี้ หลักสูตรมาตรฐานสากลโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อวันที่ 29 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2556 จึงประกาศให้ ใช้หลักสูตรโรงเรียนตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 29 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 …………………………… (นายสมพล เก้าเอี้ยน) ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน …………………………… (นายภิญโญ จินตนปัญญา) ผู้อํานวยการโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์
  • 3. 3    คํานํา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทางกระทรวงศึกษาธิการให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน เพื่อมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาและประกอบอาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ รวมทั้งมีจิตสํานึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย พัฒนาสิ่งแวดล้อม ร่วมกันอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียน เห็นว่าเป็นหลักสูตรแกนกลางที่มีประโยชน์ มุ่ง พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ต่อเยาวชนของท้องถิ่นและของชาติ มีความสามารถใน การสื่อสาร , ความสามารถในการคิด , ความสามารถในการแก้ปัญหา , ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต , ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ให้ถูกต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม จึงเห็นสมควรและสนับสนุนส่งเสริมให้ ทางโรงเรียนได้นําหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานมาใช้และจัดการเรียน การสอนเพื่อพัฒนาเด็ก และเยาวชนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในลําดับต่อไป (นายสมพล เก้าเอี้ยน) ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์
  • 4. 4    2. โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 2.1 โครงสร้างเวลาเรียนโรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2556 กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม เวลาเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.1 ม.2 ม.3 ม.4-6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ รายวิชาพื้นฐาน รวม 880 (22 นก) 880 (22 นก) 880 (22 นก) 1,640(41 นก) ภาษาไทย 120 (3 นก) 120 (3 นก) 120 (3 นก) 240(6 นก) คณิตศาสตร์ 120 (3 นก) 120 (3 นก) 120 (3 นก) 240(6 นก) วิทยาศาสตร์ 120 (3 นก) 120 (3 นก) 120 (3 นก) 240(6 นก) สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 120 (3 นก) 120 (3 นก) 120 (3 นก) 240(6 นก) ประวัติศาสตร์ 40 (1 นก) 40 (1 นก) 40 (1 นก) 80(2 นก) สุขศึกษาและพลศึกษา 80 (2 นก) 80 (2 นก) 80 (2 นก) 120(3 นก) ศิลปะ 80 (2 นก) 80 (2 นก) 80 (2 นก) 120(3 นก) การงานอาชีพและเทคโนโลยี 80 (2 นก) 80 (2 นก) 80 (2 นก) 120(3 นก) ภาษาต่างประเทศ 120 (3 นก) 120 (3 นก) 120 (3 นก) 240(6 นก) รายวิชาเพิ่มเติม รวม 400(10 นก) 520(13 นก) 400(10 นก) 1,800(45 นก) พลศึกษา-เพศศึกษา 40 (1 นก) 40 (1 นก) - 60 (1.5 นก) ภาษาจีน 80 (2 นก) 80 (2 นก) 80 (2 นก) 80 (2 นก) ภาษาอังกฤษ 80 (2 นก) 80 (2 นก) 80 (2 นก) 80 (2 นก) อาเซียนศึกษา 40 (1 นก) - - 40 (1 นก) IS1-IS2 - 120 (3 นก) - 120 (3 นก) เลือกตามความสนใจ 8 กลุ่มสาระ 160 (4 นก) 160 (4 นก) 160 (4 นก) - รายวิชาและกิจกรรมไม่คิดหน่วยกิต กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมแนะแนว 40 40 40 120 กิจกรรมนักเรียน 60 60 60 180* กิจกรรมชุมนุม * กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี กิจกรรม 5ส กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณาประโยชน์ 20 20 20 20 รวมเวลากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 120 120 120 360 รวมเวลาเรียน 1,600 ชั่วโมง/ปี 1,600 ชั่วโมง/ปี 1,600 ชั่วโมง/ปี รวม 3 ปี 4,800 ชั่วโมง
  • 5. 5    โครงสร้างหลักสูตรชั้นปี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ภาคเรียนที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ที่ รหัสวิชา รายวิชา/กิจกรรม เวลาเรียน ที่ รหัสวิชา รายวิชา/กิจกรรม เวลาเรียน รายวิชาพื้นฐาน 11(440) รายวิชาพื้นฐาน 11(440) 1 ท 22101 ภาษาไทย 3 1.5(60) 1 ค 21102 ภาษาไทย 4 1.5(60) 2 ค 22101 คณิตศาสตร์ 3 1.5(60) 2 ค 21102 คณิตศาสตร์ 4 1.5(60) 3 ว 22101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3 1.5(60) 3 ว 21102 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน 4 1.5(60) 4 ส 22101 สังคมศึกษา 3 1.5(60) 4 ส 21103 สังคมศึกษา 4 1.5(60) 5 ส 22102 ประวัติศาสตร์ 3 0.5(20) 5 ส 21104 ประวัติศาสตร์ 4 0.5(20) 6 พ 22101 สุขศึกษา 3 0.5(20) 6 พ 21103 สุขศึกษา 4 0.5(20) 7 พ 22102 พลศึกษา 3 0.5(20) 7 พ 21104 พลศึกษา 4 0.5(20) 8 ศ 22101 ดนตรี 1 1.0(40) 8 ศ 21102 ดนตรี 2 1(40) 9 ง 22101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 4 (งานเกษตร) 0.5(20) 9 ง 21102 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 6 (งานช่าง) 0.5(20) 10 ง 22102 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 5 (คอมพิวเตอร์) 0.5(20) 10 ง 21103 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 7 (คอมพิวเตอร์) 0.5(20) 11 อ 22101 ภาษาอังกฤษ 3 1.5(60) 11 อ 21102 ภาษาอังกฤษ 4 1.5(60) รายวิชาเพิ่มเติมเรียนทุกคน 2.5(100) รายวิชาเพิ่มเติมเรียนทุกคน 1.0(40) 12 จ 22201 ภาษาจีน 5 1.0(40) 12 จ 22202 ภาษาจีน 6 1.0(40) 13 พ 22201 เพศศึกษา 2 0.5(20) 13 พ 22202 พลศึกษาเพิ่มเติม 1 0.5(20) 14 อ 22201 ภาษาอังกฤษในชีวิตประจําวัน 1 1.0(40) 14 อ 22202 ภาษาอังกฤษในชีวิตประจําวัน 2 1.0(40) รายวิชาเพิ่มเติมเลือกเรียนตามความสนใจ 3.5 (140) รายวิชาเพิ่มเติมเลือกเรียนตามความสนใจ 1.5(60) 14 I 22201 การศึกษาค้นคว้า(IS1) 1.5(60) 14 I 22201 การสื่อสาร(IS2) 1.5(60) 15 ค 22201 คณิตศาสตร์ 3 1.0(40) 15 ค 22202 คณิตศาสตร์ 4 1.0(40) 16 ว 22201 โครงงานวิทยาศาสตร์ 1.0(40) 16 ว 22202 วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม 1.0(40) 17 ศ 22201 จิตกรรม 1 2.0(80) 17 ศ 22203 จิตกรรม 2 2.0(80) 18 ง 22201 งานมาลัย 1 2.0(80) 18 ง 22202 งานมาลัย 2 2.0(80) 19 ง 22202 งานเกษตร 1 2.0(80) 19 ง 22202 งานเกษตร 2 2.0(80) 20 ง 22203 คอมพิวเตอร์ 3 2.0(80) 20 ง 22204 คอมพิวเตอร์ 4 2.0(80) รายวิชาเพิ่มเติมไม่คิดหน่วยกิต (3 คาบ) รายวิชาเพิ่มเติมไม่คิดหน่วยกิต (3 คาบ) 21 ท 20201 หลักการใช้ห้องสมุด 1 คาบ 21 ท 20201 หลักการใช้ห้องสมุด 1 คาบ โฮมรูมและอบรม 2 คาบ โฮมรูมและอบรม 2 คาบ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 22 แนะแนว 1 คาบ 22 แนะแนว 1 คาบ 23 ลูกเสือ-เนตรนารี 1 คาบ 23 ลูกเสือ-เนตรนารี 1 คาบ 24 กิจกรรมชุมนุม 1 คาบ 24 กิจกรรมชุมนุม 1 คาบ 25 กิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมและ สาธารณประโยชน์ ทํานอกเวลา 25 กิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมและ สาธารณประโยชน์ ทํานอกเวลา รวมเวลาเรียน 40 คาบ รวมเวลาเรียน 40 คาบ
  • 6. 6    การจัดการเรียนรู้โรงเรียนมาตรฐานสากล โรงเรียนทุ่งยาวผดุงศิษย์ การพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลที่กําหนด สถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูผู้สอน ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนมาตรฐานสากลจัดทําหน่วยการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตาม กระบวนการ 5 ขั้นตอน หรือบันได 5 ขั้น ของการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมาตรฐานสากล ทั้งในรายวิชา พื้นฐาน รายวิชาเพิ่มเติม และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ซึ่งกระบวนการ 5 ขั้นตอน หรือบันได 5 ขั้น ของการ จัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมาตรฐานสากล เป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่อง ได้แก่ 1. การตั้งประเด็นคําถาม / สมมุติฐาน 2. การสืบค้นความรู้จากแหล่งการเรียนรู้และสารสนเทศ 3. การสรุปองค์ความรู้ 4. การสื่อสารและการนําเสนออย่างมีประสิทธิภาพ 5. การบริการสังคมและจิตสาธารณะ 1. การตั้งประเด็นคําถาม/ Formulation กระบวนการดังกล่าวจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ และได้รับการ พัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ บรรลุตามเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมาตรฐานสากล การจัดการเรียนรู้ IS (Independent Study) ในโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับมัธยมศึกษา สามารถจัดได้ 2 ลักษณะ คือ จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม 2 รายวิชา ได้แก่ 1) รายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้าง องค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation: IS1) เป็นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความรู้และทักษะ ตาม IS1 ผู้เรียนเลือกประเด็นที่สนใจในการเรียนรู้ เพื่อกําหนดประเด็นปัญหา ตั้งสมมุติฐาน ค้นคว้า แสวงหา ความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ และฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้ และ 2) รายวิชาการสื่อสารและการนําเสนอ (Communication and Presentation: IS2) เป็นการเรียนรู้ต่อเนื่องจาก รายวิชา IS1 ผู้เรียนนําสิ่งที่ได้ศึกษาค้นคว้าจากรายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้มาเขียนรายงาน หรือเอกสารทางวิชาการ และนําเสนอเพื่อสื่อสารถ่ายทอดข้อมูลความรู้นั้นให้ผู้อื่นเข้าใจ โดยจัดทําเป็นผลงาน การเขียนทางวิชาการ 1 ชิ้น และการสื่อสารนําเสนอสิ่งที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นภาษาไทย 2,500 คํา มัธยมศึกษาตอนปลายเป็นภาษาไทย 4,000 คํา หรือภาษาอังกฤษ 2,000 คํา และจัดเป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ โดยจัดกิจกรรมการนําองค์ความรู้ไปใช้บริการสังคม (Social Service Activity: IS3) ซึ่งเป็นการนําสิ่งที่เรียนรู้ จากรายวิชาเพิ่มเติมทั้ง 2 รายวิชาข้างต้น ไปประยุกต์ใช้ในการทําประโยชน์ต่อสังคม ดังตัวอย่างการจัดการ เรียนรู้ ต่อไปนี้
  • 7. 7    รายวิชาเพิ่มเติมการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation: IS1) รายวิชาเพิ่มเติมการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation: IS1) ประกอบด้วยสาระการค้นคว้าและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้ผู้เรียนได้พิสูจน์ประเด็นความรู้ ข้อค้นพบหรือสมมติฐานของความรู้ที่ได้รับรู้ และส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของ แหล่งที่มาของความรู้ รวมทั้งจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเรียนรู้กระบวนการรับรู้ในลักษณะที่เป็นวัฒนธรรมของ การรับรู้และการรับรู้ที่ใช้ความรู้สึก และปลูกฝังการสร้างความเข้าใจที่เป็นสากลให้แก่ผู้เรียน การจัดการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนแสดง ความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานและหาคําตอบเกี่ยวกับสิ่งที่รู้ ตั้งคําถาม ให้คําอธิบายแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ รู้จักหาทางออกในการแก้ปัญหาได้อย่างกระจ่างชัด เชื่อมโยงความรู้ เปรียบเทียบวิธีการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาต่าง ๆ และวิธีการรับความรู้ (Ways of Knowing) 4 วิธี ได้แก่ 1) วิธีการสร้างความรู้จากการสัมผัสรับรู้ 2) วิธีการสร้างความรู้จากการใช้ภาษา 3) วิธีการสร้างความรู้ จากการให้เหตุผล และ 4) วิธีการการสร้างความรู้จากสิ่งที่เป็นอารมณ์ แนวการจัดการเรียนรู้ 1. ครูผู้สอนร่วมกับผู้เรียนในการกําหนด หรือตั้งประเด็นความรู้ หรือหัวข้อเกี่ยวกับ Public Issues หรือ Global Issues สําหรับการศึกษาค้นคว้า เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะรับรู้ถึงจุดหมายและมีแรงจูงใจในการ เรียนรู้บทเรียน ผู้สอนสามารถเลือกใช้กิจกรรมต่าง ๆ ในการจัดการเรียนรู้ เช่น 1.1 การเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ผู้เรียนซักถาม หรือตั้งคําถาม 1.2 การฉายภาพนิ่งให้ผู้เรียนชมและติดตาม 1.3 การชวนสนทนา เพื่อให้ผู้เรียนตั้งประเด็นที่ต้องการรู้ 1.4 การกระตุ้นความสนใจด้วยเกม เพลง ภาพ ฯลฯ 1.5 การอ่าน / ฟังข่าวจากหนังสือพิมพ์ 1.6 การตั้งประเด็นอภิปราย / คําถามสร้างพลังความคิด 1.7 การยกตัวอย่างประโยค คําพังเพย บทกวี 1.8 การกําหนด หรือการตั้งประเด็นความรู้ หรือหัวข้อเกี่ยวกับ Public Issues หรือ Global Issues 2. ให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างองค์ความรู้ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 “Ways of Knowing” วิถีการรับรู้ ความรู้ ส่วนที่ 2 “Areas of Knowledge” ศาสตร์ / สาขา แขนงความรู้ ส่วนที่ 3 การเรียบเรียงข้อมูล ข้อค้นพบ ความคิด ความคิดเห็น การให้เหตุผลโต้แย้ง และสนับสนุน เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจ ถึงการกระบวนการสร้างองค์ความรู้ ครูผู้สอนควรมีเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้แก่ 2.1 การอภิปรายกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 2.2 การระดมพลังความคิด 2.3 การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จําลอง
  • 8. 8    3. ปรับเปลี่ยนความคิด เป็นขั้นตอนสําคัญซึ่งเป็นหัวใจของขั้นตอนการเรียนรู้ ผู้เรียนจะศึกษา ค้นคว้าตามประเด็นความรู้ หรือหัวข้อที่ครอบคลุม Public Issues และ Global Issues ครูผู้สอนควรมีเทคนิค การจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้แก่ 3.1 ทําความกระจ่างและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ครูผู้สอนจะกระตุ้นให้ผู้เรียนดําเนิน กิจกรรมเพื่อสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ โดยใช้วิธีการ ดังนี้ - ค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ - สัมภาษณ์ผู้รู้ - ปฏิบัติการค้นหา (ทดลอง สืบเสาะ สังเกต สํารวจ) - ร่วมมือเพื่อเขียนคําอธิบาย - แบ่งงานความรับผิดชอบภายในกลุ่ม 3.2 สร้างความคิดใหม่ ผู้เรียนนําผลการอภิปรายและสาธิตที่เป็นผลจากการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันมากําหนดเป็นความคิดใหม่ หรือความรู้ใหม่ โดยใช้วิธีการ ดังนี้ - เขียนด้วยแผนผังความคิด - เขียนโครงงาน / โครงการ - เขียนบรรยาย / เขียนรายงาน - นําเสนอแนวคิดใหม่ - นําเสนอรูปแบบนวัตกรรมใหม่ 3.3 ประเมินความคิดใหม่ ผู้เรียนออกแบบดําเนินการตรวจสอบความรู้ ความคิดใหม่ ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น โดยใช้วิธีการ ดังนี้ - อภิปราย - ทดสอบผลงาน - ทดสอบความคิดของกลุ่ม - ทดสอบความรู้ 3.4 นําความคิดไปใช้ เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนใช้แนวคิด หรือความรู้ความเข้าใจที่ได้พัฒนาขึ้น ใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ จนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย เป็นกิจกรรมที่ต้องการให้ผู้เรียนได้ประมวลองค์ ความรู้เพื่อการนําไปใช้ประโยชน์ โดยใช้วิธีการ ดังนี้ - สรุปแผนผังความคิดเกี่ยวกับความรู้ใหม่ - นําเสนอโครงงาน / โครงการที่ผู้เรียนคิดค้น / ประดิษฐ์ขึ้น - บรรยายสรุปแนวคิดใหม่ / การสร้างสถานการณ์ใหม่ - จัดนิทรรศการ / สาธิตผลงานของกลุ่ม - แสดงบทบาทสมมติ / โต้วาทีเพื่อสรุปการแก้ปัญหา 4. สะท้อนความคิด /ทบทวน เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนได้ประเมินและพัฒนาความคิดอย่างรอบคอบ และต่อเนื่องจนสามารถประเมินผลได้ ประกอบด้วย
  • 9. 9    4.1 ประเมินผลงาน 4.2 เสนอแนะความคิดเห็น เพื่อปรับปรุงและพัฒนา 4.3 วางแผนเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง บทบาทของผู้สอน 1. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสังเกต เพื่อให้สามารถมองเห็นปัญหาได้อย่างชัดเจน 2. มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน แนะนํา ถามให้คิด เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบ หรือสร้างความรู้ ความเข้าใจได้ด้วยตนเอง 3. สร้างแรงจูงใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน ช่วยให้ผู้เรียนคิดค้นต่อไป ฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะการทํางาน เป็นกลุ่ม 4. เป็นผู้ชี้แนะไม่ใช่ผู้ชี้นํา กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดมากกว่าบอกความรู้ 5. ประเมินความคิดรวบยอดของผู้เรียน ตรวจสอบความคิดและทักษะการคิด บทบาทของผู้เรียน 1. ค้นคว้า แสวงหาความรู้ ฝึกฝนวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นเจ้าของบทเรียน ลงมือ ปฏิบัติจริง 2. กระตือรือร้นในการเรียนรู้ กล้าแสดงออก กล้านําเสนอความคิดอย่างสร้างสรรค์ 3. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกันและกับครูผู้สอน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ยอมรับฟัง ความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นผู้นําและผู้ตามที่ดี 4. ทํางานร่วมกันเป็นกลุ่ม 5. เชื่อมโยงความรู้เดิมเข้ากับความรู้ใหม่ มีผลงานที่สร้างสรรค์ 6. เคารพกติกาทางสังคม รับผิดชอบต่อส่วนรวม 7. มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ รักการอ่าน กล้าซักถาม 8. บันทึกความรู้อย่างเป็นระบบ นําความรู้สู่การปฏิบัติได้จริง
  • 10. 10    คําอธิบายรายวิชา รายวิชาเพิ่มเติมการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation: IS1) รายวิชาเพิ่มเติม บูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามศักยภาพ I 33201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เวลา 60 ชั่วโมง จํานวน 1.5 หน่วยกิต ------------------------------------------------- ศึกษา วิเคราะห์การตั้งประเด็น / คําถามในเรื่องที่สนใจ การตั้งสมมติฐาน การค้นคว้า การแสวงหาความรู้ข้อมูล การออกแบบ การวางแผนรวบรวมข้อมูล การใช้กระบวนการกลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ การสังเคราะห์ การสรุปองค์ความรู้และการเสนอวิธีคิดแก้ปัญหา ที่เป็นระบบ ฝึกทักษะตั้งประเด็นปัญหา / ตั้งคําถามในเรื่องที่สนใจโดยเริ่มจากตนเอง เชื่อมโยงกับชุมชน ท้องถิ่น และประเทศ ตั้งสมมติฐานและให้เหตุผลโดยใช้ความรู้จากศาสตร์สาขาต่าง ๆ ค้นคว้า แสวงหาความรู้เกี่ยวกับ สมมติฐานที่ตั้งไว้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ออกแบบ วางแผน รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ วิธีการที่เหมาะสม สังเคราะห์ สรุปองค์ความรู้และร่วมกันเสนอแนวคิด วิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ด้วย กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการปฏิบัติและกระบวนการกลุ่มในการ วิพากษ์ เพื่อให้เกิดทักษะในการค้นคว้า แสวงหาความรู้ สังเคราะห์ สรุป อภิปราย เปรียบเทียบเชื่อมโยงองค์ ความรู้และมีทักษะการนําเสนอการศึกษาค้นคว้าและนําองค์ความรู้ไปแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ เห็นประโยชน์ และคุณค่าของการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ผลการเรียนรู้ 1. ตั้งประเด็นปัญหา โดยเลือกประเด็นที่สนใจ เริ่มจากตนเอง ชุมชนท้องถิ่น ประเทศ 2. ตั้งสมมติฐานประเด็นปัญหาที่ตนเองสนใจ 3. ออกแบบ วางแผน ใช้กระบวนการรวบรวมข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ 4. ศึกษา ค้นคว้า แสวงหาความรู้เกี่ยวกับประเด็นที่เลือก จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย 5. ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข้อมูลได้ 6. วิเคราะห์ข้อค้นพบด้วยวิธีการที่เหมาะสม 7. สังเคราะห์สรุปองค์ความรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม 8. เสนอแนวคิด การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้จากการค้นพบ 9. เห็นประโยชน์และคุณค่าของการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
  • 11. 11    โครงสร้างรายวิชาเพิ่มเติมการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (IS1) ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 หน่วยที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ สาระสําคัญ เวลา น้ําหนักคะแนน 1 ไขข้อสงสัย 1. ตั้งประเด็นปัญหา โดย เลือกประเด็นที่สนใจ เริ่มจาก ตนเอง ชุมชน ท้องถิ่น ประเทศ 2. ตั้งสมมติฐานประเด็น ปัญหาที่ตนเองสนใจ 3. ออกแบบ วางแผน ใช้ กระบวนการรวบรวมข้อมูล อย่างมีประสิทธิภาพ - การตั้งคําถาม ในเรื่องที่สนใจเริ่ม จากตัวเอง เชื่อมโยง กับชุมชน ท้องถิ่น และประเทศ -การตั้งสมมติฐาน และให้เหตุผล โดย ใช้ความรู้จากศาสตร์ สาขาต่าง ๆ 5 - 9 15 2 ห ล า ก ห ล า ย จ า ก แหล่งเรียนรู้ 4. ศึกษา ค้นคว้า แสวงหา ความรู้เกี่ยวกับประเด็น ที่เลือก จากแหล่งเรียนรู้ ที่หลากหลาย - การค้นคว้า แสวงหาความรู้ เกี่ยวกับสมมติฐาน ที่ตั้งไว้ 10 - 15 20 3 เปิดประตูสู่ความจริง 5. ตรวจสอบความน่าเชื่อถือ ของแหล่งที่มาของข้อมูลได้ 6. วิเคราะห์ข้อค้นพบด้วย สถิติที่เหมาะสม - วิเคราะห์ ความน่าเชื่อถือของ ข้อมูล 10 - 15 25 4 ประมวลทุกสิ่งที่ค้นพบ 6. วิเครา ะห์ข้อค้นพบ ด้วยสถิติที่เหมาะสม 7. สังเคราะห์สรุปองค์ความรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่ม 8. เสนอแนวคิด การแก้ ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วย องค์ความรู้จากการค้นพบ 9. เห็นประโยชน์และคุณค่า ของการศึกษาค้นคว้าด้วย ตนเอง - การเปรียบเทียบ / เชื่อมโยงองค์ความรู้ สังเคราะห์ สรุป อภิปรายเพื่อให้เห็น ประโยชน์และคุณค่า ข อ ง ก า ร ศึ ก ษ า ค้นคว้าด้วยตัวเอง 15 - 21 40 รวม 40 - 60 100
  • 12. 12    การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ไขข้อสงสัย รายวิชาเพิ่มเติม การศึกษาค้นคว้าและการสร้างองค์ความรู้ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เวลา 5 ชั่วโมง เป้าหมายการเรียนรู้ (ผลการเรียนรู้) 1. ตั้งประเด็นปัญหา โดยเลือกประเด็นที่สนใจ เริ่มจากตนเอง ชุมชน ท้องถิ่น ประเทศ 2. ตั้งสมมติฐานประเด็นปัญหาที่ตนเองสนใจ 3. ออกแบบ วางแผน ใช้กระบวนการรวบรวมข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ความเข้าใจที่คงทน (สาระสําคัญ / ความคิดรวบยอด) - การตั้งคําถามในเรื่องที่สนใจเริ่มจากตัวเอง เชื่อมโยง กับชุมชน ท้องถิ่นและประเทศ - การตั้งสมมติฐานและให้เหตุผลโดยใช้ความรู้จาก ศาสตร์สาขาต่าง ๆ - การออกแบบ วางแผน ใช้กระบวนการรวบรวมข้อมูล คําถามสําคัญ - จะตั้งคําถามในเรื่องที่สนใจให้เชื่อมโยงกับชุมชน ท้องถิ่นและ ประเทศได้อย่างไร - จะตั้งสมมติฐานและให้เหตุผลโดยใช้ความรู้จากศาสตร์สาขา ต่าง ๆ ได้อย่างไร - จะออกแบบ วางแผน โดยใช้กระบวนการรวบรวมข้อมูลได้ อย่างไร ผู้เรียนรู้อะไร (สาระการเรียนรู้) - การกําหนดประเด็นความรู้ - ธรรมชาติของความรู้ - ลักษณะของความรู้ - แหล่งเรียนรู้ - วิธีการสร้างความรู้ 1) การสร้างความรู้จากความรู้สึก 2) การสร้างความรู้จากภาษา 3) การสร้างความรู้จากเหตุผล 4) การสร้างความรู้จากอารมณ์ - ทฤษฎีของกลุ่มสาระการเรียนรู้พื้นฐาน 8 กลุ่มสาระ - ศาสตร์ / สาขาวิชาของความรู้ - นักคิด / บิดาศาสตร์ของแต่ละสาระการเรียนรู้ - หลักการตั้งวัตถุประสงค์และสมมุติฐาน - วิธีการนําเสนอ ผู้เรียนทําอะไรได้ (ทักษะ / กระบวนการ) - การคิดวิเคราะห์ - การคิดเปรียบเทียบ - การคิดเชื่อมโยง - การคิดสร้างสรรค์ - การคิดอย่างมีวิจารณญาณ - กระบวนการปฏิบัติ - กระบวนการกลุ่ม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. ใฝ่เรียนรู้ 2. มุ่งมั่นในการทํางาน การออกแบบการวัดผลประเมินผล ภาระงานรวบยอด / ชิ้นงาน 1. การออกแบบโครงร่างการศึกษาค้นคว้า 2. ผลงานที่ปรากฏจริง เกณฑ์การประเมินภาระงาน / ชิ้นงาน (ระบุประเด็นประเมิน)
  • 13. 13    1. มีองค์ประกอบครบ (ขอบเขตของข้อมูล แผนการจัดเก็บข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล) 2. มีความสัมพันธ์กันอย่างสมเหตุสมผลระหว่างขอบเขตของข้อมูล แผนการจัดเก็บข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล 3. สามารถนําไปใช้ได้จริง ร่องรอยการเรียนรู้อื่น ๆ การวางแผนการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนจะ 1. ดูตัวอย่างประเด็นความรู้จากสาระวิชาพื้นฐาน 2. ร่วมกันวิเคราะห์ประเด็นความรู้ ตั้งสมมติฐาน และข้อสันนิษฐานของประเด็นความรู้ 3. ตั้งคําถามกระตุ้นให้เหตุผล ความคิดต่างมุม เพื่อแก้ไขปัญหาโดยใช้สาขาวิชาต่าง ๆ โดยใช้วิธีการโต้แย้งสนับสนุนและ โต้แย้งคัดค้าน 4. แบ่งกลุ่มนักเรียนค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งการเรียนรู้ตามสาขาวิชาต่าง ๆ 5. นําเสนอข้อมูลจากการค้นคว้า ระบุแหล่งเรียนรู้ ความคิด เหตุผล วิธีการแก้ปัญหาในแต่ละสาขาวิชา 6. ร่วมกันสรุปเชื่อมโยงและเปรียบเทียบ วิธีการค้นคว้าหาความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ สื่อ / แหล่งเรียนรู้ 1. ตัวอย่างประเด็นความรู้ 2. ตัวอย่างแหล่งการเรียนรู้
  • 14. 14    หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชื่อหน่วยการเรียนรู้ หลากหลายจากแหล่งเรียนรู้ รายวิชาเพิ่มเติม การศึกษาค้นคว้าและการสร้างองค์ความรู้ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เวลา 10 ชั่วโมง เป้าหมายการเรียนรู้ (ผลการเรียนรู้) 4. ศึกษา ค้นคว้า แสวงหาความรู้เกี่ยวกับประเด็นที่เลือกจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ความเข้าใจที่คงทน (สาระสําคัญ / ความคิดรวบยอด) การค้นคว้า แสวงหาความรู้เกี่ยวกับประเด็นที่ศึกษา นํามาสู่การตั้งสมมติฐานได้ คําถามสําคัญ - จะค้นคว้า แสวงหาความรู้ได้อย่างไร - จะนําความรู้มาตั้งสมมติฐานได้อย่างไร ผู้เรียนรู้อะไร (สาระการเรียนรู้) - วิธีการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย - การกําหนดประเด็นความรู้จากเรื่องที่ศึกษาค้นคว้า - การตั้งสมมติฐาน ผู้เรียนทําอะไรได้ (ทักษะ / กระบวนการ) - ค้นคว้าความรู้ในประเด็นที่ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ ที่หลากหลาย - กําหนดประเด็นความรู้จากเรื่องที่สนใจศึกษาค้นคว้า - ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ศึกษาค้นคว้า - ทํ า ง า น ร่ ว ม กั บ ผู้ อื่ น ต า ม ก ร ะ บ ว น ก า ร ก ลุ่ ม - วิพากษ์ความน่าเชื่อถือของข้อมูล - นําข้อวิพากษ์มาปรับปรุงงานงานของตน - นําประเด็นความรู้จากเรื่องที่ศึกษามาตั้งสมมติฐาน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทํางาน การออกแบบการวัดผลประเมินผล ภาระงานรวบยอด / ชิ้นงาน - แฟ้มผลงานที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้า - สมมติฐาน เกณฑ์การประเมินภาระงาน / ชิ้นงาน (ระบุประเด็นประเมิน) - ความหลากหลายของแหล่งข้อมูล - กระบวนการรวบรวมมีระบบชัดเจน สะดวกต่อการใช้ ตรวจสอบได้ ร่องรอยการเรียนรู้อื่น ๆ - แบบบันทึกต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูล - แบบบันทึกการตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล - แบบบันทึกเกี่ยวกับกระบวนการทํางาน การวางแผนการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนจะ 1. ศึกษาวิธีการค้นคว้า / แสวงหาความรู้เกี่ยวกับประเด็นที่ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย 2. ตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูล / สารสนเทศในประเด็นที่ศึกษาจากแหล่งสืบค้นข้อมูลที่หลากหลาย 3. แบ่งกลุ่มนักเรียนฝึกทักษะการตรวจสอบข้อมูล / สารสนเทศ ด้วยตนเอง 4. วางแผนจัดเก็บข้อมูลในประเด็นที่ศึกษา 5. จัดหมวดหมู่ข้อมูล / สารสนเทศ เรียงลําดับตามที่วางแผนให้เป็นระบบ 6. ตรวจทาน / วิพากษ์นําผลไปปรับปรุงข้อมูล / สารสนเทศรายบุคคล 7. นําความรู้จากประเด็นที่ศึกษามาตั้งสมมติฐาน สื่อ / แหล่งเรียนรู้ 1. ตัวอย่างการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นระบบ 2. ตัวอย่างการตั้งสมมติฐาน
  • 15. 15    หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ชื่อหน่วยการเรียนรู้ เปิดประตูสู่ความจริง รายวิชาเพิ่มเติม การศึกษาค้นคว้าและการสร้างองค์ความรู้ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เวลา 10 ชั่วโมง เป้าหมายการเรียนรู้ (ผลการเรียนรู้) 5. ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข้อมูลได้ 6. วิเคราะห์ข้อค้นพบด้วยสถิติที่เหมาะสม ความเข้าใจที่คงทน (สาระสําคัญ / ความคิดรวบยอด) การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลจะช่วยให้ ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มีคุณภาพ คําถามสําคัญ - จะมีวิธีตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลได้อย่างไร - จะนําสถิติพื้นฐานมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร ผู้เรียนรู้อะไร (สาระการเรียนรู้) - การตรวจความน่าเชื่อถือของข้อมูล - สถิติพื้นฐาน ผู้เรียนทําอะไรได้ (ทักษะ / กระบวนการ) - ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล - นําสถิติพื้นฐานมาวิเคราะห์ข้อมูล คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. มีวินัย 2. ซื่อสัตย์ 3. ใฝ่เรียนรู้ 4. มุ่งมั่นในการทํางาน 5. จิตสาธารณะ การออกแบบการวัดผลประเมินผล ภาระงานรวบยอด / ชิ้นงาน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคล เกณฑ์การประเมินภาระงาน / ชิ้นงาน(ระบุประเด็นประเมิน) - ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลที่สืบค้น - ความถูกต้อง / ครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูล - กระบวนการรวบรวมมีระบบชัดเจน สะดวกต่อการใช้ ตรวจสอบได้ ร่องรอยการเรียนรู้อื่น ๆ - แบบบันทึกต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูล - แบบบันทึกการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล - แบบบันทึกเกี่ยวกับกระบวนการทํางาน - แบบบันทึกการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การวางแผนการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนจะ 1. ศึกษาการตรวจสอบความน่าเชื่อของข้อมูล 2. ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล 3. รวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบ เตรียมข้อมูลวิเคราะห์ 4. เลือกสถิติพื้นฐานที่เหมาะสมกับข้อมูลที่วิเคราะห์ 5. วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 6. ร่วมกันตรวจสอบผลการวิเคราะห์ข้อมูล 7. วิพากษ์ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการตรวจสอบ 8. นําผลการวิพากษ์ผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาปรับ / พัฒนา 9. รวบรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนําไปสังเคราะห์สรุปเป็นองค์ความรู้ สื่อ / แหล่งเรียนรู้ 1. แหล่งค้นคว้าอ้างอิง เช่น อินเทอร์เน็ต หนังสือ บุคคล ฯลฯ 2. เครื่องคอมพิวเตอร์
  • 16. 16    หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ประมวลทุกสิ่งที่ค้นพบ รายวิชาเพิ่มเติม การศึกษาค้นคว้าและการสร้างองค์ความรู้ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เวลา 15 ชั่วโมง เป้าหมายการเรียนรู้ (ผลการเรียนรู้) 6. วิเคราะห์ข้อค้นพบด้วยวิธีการรที่เหมาะสม 7. สังเคราะห์ สรุปองค์ความรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม 8. เสนอแนวคิด การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้จากการค้นพบ 9. เห็นประโยชน์และคุณค่าของการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ความเข้าใจที่คงทน (สาระสําคัญ / ความคิดรวบยอด) การวิเคราะห์ข้อค้นพบด้วยวิธีการที่เหมาะสม การสังเคราะห์ สรุปองค์ความรู้ และเสนอแนวคิด การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้จากการ ค้นพบ เห็นประโยชน์และคุณค่าของการศึกษาค้นคว้า ด้วยตนเอง คําถามสําคัญ - จะใช้วิธีการที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อค้นพบได้อย่างไร - จะสังเคราะห์ สรุปองค์ความรู้ด้วยกระบวนกลุ่มได้อย่างไร - จะเสนอแนวคิด การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้ จากการค้นพบได้อย่างไร ผู้เรียนรู้อะไร (สาระการเรียนรู้) - การใช้วิธีการในการวิเคราะห์ข้อค้นพบ - การเปรียบเทียบ / เชื่อมโยงองค์ความรู้ สังเคราะห์ สรุป อภิปรายเพื่อให้เห็นประโยชน์และคุณค่าของ การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง - การเสนอแนวคิด การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วย องค์ความรู้จากการค้นพบ ผู้เรียนทําอะไรได้ (ทักษะ / กระบวนการ) - ใช้วิธีการในการวิเคราะห์ข้อค้นพบ - เปรียบเทียบ / เชื่อมโยงองค์ความรู้ สังเคราะห์ สรุป อภิปราย เพื่อให้เห็นประโยชน์และคุณค่าของการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง - เสนอแนวคิด การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้ จากการค้นพบ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. วินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทํางาน 4. รักความเป็นไทย 5. จิตสาธารณะ การออกแบบการวัดผลประเมินผล ภาระงานรวบยอด / ชิ้นงาน เขียนรายงานนําเสนอแนวคิด การแก้ปัญหาจากการศึกษาค้นคว้า เกณฑ์การประเมินภาระงาน / ชิ้นงาน (ระบุประเด็นประเมิน) - ความถูกต้อง / ครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูล / สารสนเทศ - ความถูกต้องและน่าเชื่อถือของข้อค้นพบที่นําเสนอ - กระบวนการรวบรวมมีระบบชัดเจน ร่องรอยการเรียนรู้อื่น ๆ - แบบบันทึกต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์สรุปองค์ความรู้
  • 17. 17    - แบบบันทึกการตรวจสอบคุณภาพงานเขียน - แบบบันทึกเกี่ยวกับกระบวนการทํางาน การวางแผนการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนจะ 1. รวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบ เตรียมข้อมูลวิเคราะห์ 2. เลือกสถิติที่เหมาะสมกับข้อมูลที่วิเคราะห์ 3. วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม 4. ร่วมกันตรวจสอบและวิพากษ์ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 5. นําผลการวิพากษ์ผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาปรับ / พัฒนา 6. รวบรวมผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนําไปสังเคราะห์สรุปเป็นองค์ความรู้ สื่อ / แหล่งเรียนรู้ - แหล่งค้นคว้าอ้างอิง เช่น อินเทอร์เน็ต หนังสือ บุคคล ฯลฯ - เครื่องคอมพิวเตอร์
  • 18. 18    รายวิชาเพิ่มเติมการสื่อสารและการนําเสนอ (Communication and Presentation: IS2) รายวิชาเพิ่มเติมการสื่อสารและการนําเสนอ (Communication and Presentation: IS2) เป็น สาระการเรียนรู้ที่จัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนนําข้อสรุป ข้อค้นพบใหม่ ความคิดใหม่ หรือองค์ความรู้ ใหม่ที่ได้จากการศึกษาศึกษาค้นคว้าและการสร้างองค์ความรู้ในสิ่งที่สนใจแล้วเรียบเรียงนําเสนอความคิด ข้อคิดเห็น และข้อเสนอเชิงวิชาการ โดยใช้ภาษาอย่างถูกต้อง และนําเสนอองค์ความรู้ด้วยด้วยวิธีการที่ หลากหลายและเหมาะสม การจัดการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมการสื่อสารและการนําเสนอมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ สื่อสารและนําเสนอข้อค้นพบ ข้อสรุป หรือองค์ความรู้ ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ด้วยวิธีการที่หลากหลาย และเหมาะสม แนวการจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอนจะต้องให้ความสําคัญกับ “การจัดโครงร่างของผลงาน” เนื่องจากจะช่วยให้ผู้เรียนจัดลําดับ เนื้อหาของการเขียนรายงานการค้นคว้าและการนําเสนอได้ดี โดยดําเนินการ ดังนี้ 1. การรายงานการค้นคว้าของผู้เรียน ให้ผู้เรียนนําหัวข้อเรื่องจากข้อค้นพบ ข้อสรุป ความคิดใหม่ องค์ความรู้ใหม่ที่ตนเองสนใจเรียนรู้ เป็นข้อมูลในการนําเสนอ จากนั้นครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมี ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ - การเรียบเรียงหัวข้อการศึกษาค้นคว้า (Research Question) - แหล่งค้นคว้า / แหล่งการเรียนรู้ - การกําหนด / เขียนโครงร่าง (Outline) 2. การกําหนดโครงร่างของผลงาน การเขียนรายงานการค้นคว้าหาความรู้จากแหล่ง การเรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่องที่ผู้เรียนได้เลือกอย่างอิสระ จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ คํา นํา (Introduction) เนื้อเรื่อง (Body /Development) และบทสรุป (Conclusion) 3. การนําเสนอการนําเสนองาน เป็นทักษะที่มีความสําคัญอย่างยิ่งสําหรับการนําเสนอ ผลการศึกษาค้นคว้า ตามองค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่ 3.1 การกําหนดวัตถุประสงค์และวิเคราะห์ผู้ฟัง 3.2 การวางโครงสร้างเนื้อหาการนําเสนอ 3.3 วิธีการนําเสนอ การวิเคราะห์ผู้ฟัง เป็นการวิเคราะห์ความต้องการ ความสนใจ หรือความกังวลใจของผู้ฟัง รวมถึงความเข้าใจในสไตล์ ความชอบของผู้ฟัง เพื่อให้สามารถออกแบบโครงสร้างและเนื้อหาการนําเสนอ รวมทั้งการใช้สื่อประกอบที่มีความเหมาะสม สอดคล้องและถูกใจผู้ฟัง บทบาทของผู้สอน 1. ส่งเสริม กระตุ้น สนับสนุน ชี้แนะให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการคิด ค้นคว้าเกี่ยวกับหัวข้อ / เรื่องที่ผู้เรียน เลือกค้นคว้า
  • 19. 19    2. ช่วยเหลือ แนะนําผู้เรียนในการค้นคว้าความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ 3. ช่วยเหลือแนะนําผู้เรียนสามารถเขียนรายงานการค้นคว้าได้อย่างถูกต้องตามเกณฑ์กําหนด 4. การนําเสนอ ครูควรดําเนินการ ดังนี้ 4.1 นําเสนอด้วยสื่อรูปธรรม เช่น รูปภาพ ของจริง กราฟ ตาราง แผนภูมิ ภาพสัญลักษณ์ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ แล้วให้ผู้เรียนได้พรรณนาถึงสิ่งที่พบ 4.2 ควรใช้คําถามที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดอย่างหลากหลายและคิดอย่างสร้างสรรค์ สามารถ อธิบายความคิดของตนออกมา ด้วยการพูด การเขียน และให้ผู้เรียนได้ตั้งคําถามและหาคําตอบด้วยตนเองตาม ความสนใจ 4.3 เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงแนวคิดของตนเอง 4.4 จัดกลุ่มให้ผู้เรียนได้ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้ เพื่อช่วยส่งเสริมให้เกิดการสื่อสาร ในรูปแบบของการอธิบายแนวคิดและการอภิปรายในกลุ่ม 4.5 ใช้การชี้แนะทางตรงและชี้แนะทางอ้อม เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ และเห็น เป้าหมายที่ชัดเจนยิ่งขึ้น บทบาทของผู้เรียน 1. กําหนดแผนการทํางาน วันส่งงาน และการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งค้นคว้า รวมทั้ง การวางแผนการเขียนเรียบเรียงผลงาน 2. ศึกษาและฝึกการเขียนรายงานเชิงวิชาการแต่ละองค์ประกอบให้ถูกต้องสมบูรณ์ 3. เรียบเรียง รวบรวมโครงร่าง (Rough draft) ของรายงานให้ครบองค์ประกอบ และฝึกการ ตรวจสอบ (Edit) รายงานโดยใช้สัญลักษณ์ในการตรวจสอบ 4. จัดทําสื่อประกอบการนําเสนอ และเลือกวิธีการนําเสนอที่เหมาะสมกับผู้อ่าน/ผู้ฟัง
  • 20. 20    คําอธิบายรายวิชา การสื่อสารและการนําเสนอ (Communication and Presentation: IS2) รายวิชาเพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จํานวน 1.5 หน่วยกิต เงื่อนไขการเรียน: ผู้เรียนต้องผ่านการเรียนรายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้มาก่อน ---------------------------------- ศึกษา เรียบเรียง และถ่ายทอดความคิดอย่างชัดเจน เป็นระบบจากข้อมูลองค์ความรู้จากการศึกษา ค้นคว้าในรายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation: IS1) โดย เขียนโครงร่าง บทนํา เนื้อเรื่อง สรุป ในรูปของรายงานเชิงวิชาการ โดยใช้คําจํานวน 2,500 คํา มีการอ้างอิง แหล่งความรู้ที่เชื่อถือได้อย่างหลากหลาย เรียบเรียงและถ่ายทอดความคิดอย่างชัดเจน เป็นระบบ มีการ นําเสนอในรูปแบบเดี่ยว (Oral individual) หรือกลุ่ม (Oral panel presentation) โดยใช้สื่อประกอบที่ หลากหลาย และเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ เพื่อให้เกิดทักษะ ในการเขียนรายงานเชิงวิชาการ และทักษะการ สื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เห็นประโยชน์และคุณค่าในการสร้างสรรค์งานและถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้ให้เป็น ประโยชน์แก่สาธารณะ ผลการเรียนรู้ 1. วางโครงร่างการเขียนตามหลักเกณฑ์ องค์ประกอบและวิธีการเขียนโครงร่าง 2. เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าเชิงวิชาการภาษาไทย ความยาว 2,500 คํา 3. นําเสนอข้อค้นพบ ข้อสรุปจากประเด็นที่เลือกในรูปแบบเดี่ยว (Oral individual presentation) หรือกลุ่ม (Oral panel presentation) โดยใช้สื่ออุปกรณ์ในการนําเสนอได้อย่างเหมาะสม 4. เผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ 5. เห็นประโยชน์และคุณค่าในการสร้างสรรค์งานและถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้แก่สาธารณะ
  • 21. 21    โครงสร้างรายวิชาเพิ่มเติมการสื่อสารและการนําเสนอ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 หน่วยที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ สาระสําคัญ ชั่วโมง น้ําหนักคะแนน 1 เตรียมความพร้อม 1. วางโครงร่างการเขียน ต า ม ห ลั ก เ ก ณ ฑ์ องค์ประกอบและวิธีการ เขียนโครงร่าง 5. เห็นประโยชน์และ คุณค่าในการสร้างสรรค์ งานและถ่ายทอดสิ่งที่ เรียนรู้แก่สาธารณะ การเชื่อมโยงทบทวนความรู้จาก การศึกษาค้นคว้า การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้ มาสู่การสื่อสาร และการนําเสนอ มาเขียนสรุปความให้เป็นความ เรียงเชิงวิชาการพร้อมอ้างอิงตาม หลักวิชาการเป็นพื้นฐานสําคัญ ของการสื่อสารและการนําเสนอให้ เหมาะสมกับผู้อ่าน / ผู้ฟัง 4 10 2 ฝึ ก ซ้ อ ม เ ขี ย น โครงร่าง 1. วางโครงร่างการเขียน ต า ม ห ลั ก เ ก ณ ฑ์ องค์ประกอบและวิธีการ เขียนโครงร่าง การฝึกเขียนโครงร่างรายงาน เชิงวิชาการ ซึ่งมีองค์ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ความนํา วัตถุประสงค์ สมมุติฐาน ขอบเขตการศึกษา เนื้อหา วิธีการศึกษาและการเก็บ รวบรวมข้อมูล เป็นการวางแผน การเขียนรายงานเชิงวิชาการอย่าง เป็นระบบ และการตรวจสอบทั้ง ด้วยตนเอง และเพื่อนช่วย ตรวจสอบโดยใช้สัญลักษณ์ในการ ตรวจสอบช่วยให้รายงานเชิง วิชาการนั้นถูกต้องแม่นยําและ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น 8 20 3 สร้างผลงานเขียน 2. เขียนรายงานการศึกษา ค้ น ค ว้ า เ ชิ ง วิ ช า ก า ร ภาษาไทย ความยาว 2,500 คํา การถ่ายโอนองค์ความรู้จาก การศึกษา ค้นคว้า และข้อค้นพบ โดยการรายงานที่ใช้รูปแบบการ เขียนรายงานเชิงวิชาการได้ครบ องค์ประกอบและถูกต้องตาม หลักวิชาการเป็นการสื่อสารที่มี ประสิทธิภาพ 28 40
  • 22. 22    หน่วยที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ สาระสําคัญ ชั่วโมง น้ําหนักคะแนน 4 เพียรนําเสนอ 3. นําเสนอข้อค้นพบ ข้อสรุปจากประเด็นที่ เลือกในรูปแบบเดี่ยว (Oral individual presentation) หรือกลุ่ม (Oral panel presentation) โดยใช้สื่อ อุปกรณ์ในการ นําเสนอได้อย่างเหมาะสม 4. เผยแพร่ผลงานสู่ สาธารณะ การนําเสนอผลงานจากการศึกษา ค้นคว้า ข้อค้นพบโดยมีการเตรียม ความพร้อมของผู้นําเสนอ การเลือกรูปแบบประเภทสื่อ ประกอบการนําเสนอให้เหมาะสม และสอดคล้องกับตามความ ต้องการ ความสนใจ ความชื่นชอบ ของผู้ฟัง ช่วยให้การเผยแพร่ ผลงานได้อย่างมีประสิทธิผล 20 30 รวม 60 100
  • 23. 23    การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชื่อหน่วยการเรียนรู้ เตรียมความพร้อม รายวิชาเพิ่มเติม การสื่อสารและการนําเสนอ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เวลา 4 ชั่วโมง เป้าหมายการเรียนรู้ (ผลการเรียนรู้) 1. วางโครงร่างการเขียนตามหลักเกณฑ์ องค์ประกอบและวิธีการเขียนโครงร่าง 5. เห็นประโยชน์และคุณค่าในการสร้างสรรค์งานและถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้แก่สาธารณะ ความเข้าใจที่คงทน (สาระสําคัญ / ความคิดรวบยอด) การเชื่อมโยงทบทวนความรู้จากการศึกษาค้นคว้า การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้มาสู่ การสื่อสารและการนําเสนอ มาเขียนสรุปความให้เป็น ความเรียงเชิงวิชาการพร้อมอ้างอิงตามหลักวิชาการ เป็นพื้นฐานสําคัญของการสื่อสารและการนําเสนอให้ เหมาะสมกับผู้อ่าน / ผู้ฟัง คําถามสําคัญ - จะนําทักษะและองค์ความรู้ที่สังเคราะห์ได้จากรายวิชา IS1 ม า ใ ช้ ใ น ก า ร นํ า เ ส น อ แ ล ะ ก า ร สื่ อ ส า ร อ ย่ า ง ไ ร - การเขียนสรุปความมีวิธีการอย่างไร - การเขียนความเรียงวิธีการอย่างไร - การเขียนอ้างอิงวิธีการอย่างไร ผู้เรียนรู้อะไร(สาระการเรียนรู้) - การเชื่อมโยงข้อมูลและองค์ความรู้จากรายวิชา IS1 สู่การเรียนรายวิชา IS2 - การเขียนสรุปความ - การเขียนความเรียง - การเขียนอ้างอิง ผู้เรียนทําอะไรได้(ทักษะ/ทักษะกระบวนการ) - รวบรวมข้อมูลและองค์ความรู้จากรายวิชา IS1 มาเชื่อมโยงสู่การนําเสนอและการสื่อสาร - เขียนสรุปความและนํามาเชื่อมเป็นความเรียง - เ ขี ย น อ้ า ง อิ ง ไ ด้ ถู ก ห ลั ก ก า ร - ทํ า ง า น ร่ ว ม กั บ ผู้ อื่ น ต า ม ก ร ะ บ ว น ก า ร ก ลุ่ ม - ตรวจสอบงานเขียนความเรียง - วิ พ า ก ษ์ ง า น เ ขี ย น ค ว า ม เ รี ย ง ข อ ง ผู้ อื่ น - นําข้อวิพากษ์มาปรับปรุงงานเขียนของตน - นําข้อมูลจาก IS1มาวางแผนปฏิบัติใน IS2 - IS3 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทํางาน การออกแบบการวัดผลประเมินผล ภาระงานรวบยอด / ชิ้นงาน นําเสนอการวางแผนนําข้อมูลจากรายวิชา IS1 สู่การจัดทํารายงานเชิงวิชาการในรายวิชา IS2 และเชื่อมโยง นําความรู้สู่การปฏิบัติบริการสังคมในรายวิชา IS3 เกณฑ์การประเมินภาระงาน/ชิ้นงาน(ระบุประเด็นประเมิน) - ความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูล - การเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่การเขียน - ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของการศึกษา IS1 - IS3
  • 24. 24    ร่องรอยการเรียนรู้อื่นๆ - แบบบันทึกต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ / สังเคราะห์ข้อมูล - แบบบันทึกการเชื่อมข้อมูลจาก IS1 - IS3 - แบบบันทึกเกี่ยวกับกระบวนการทํางาน การวางแผนการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนจะ 1. รวบรวมข้อมูลพื้นฐานจากการเรียน IS1 มาทบทวนความรู้จากการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์และสร้างองค์ ความรู้มาสู่การสื่อสารและการนําเสนอ 2. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลที่จะนํามาออกแบบ วางแผนเชื่อมโยงข้อมูลสู่การเรียน IS2 3. ฝึกทักษะการเขียนสรุปความ 4. ฝึกทักษะการเขียนความเรียง 5. ฝึกทักษะการเขียนอ้างอิง 6. ศึกษาตัวอย่างการวางแผนการนําข้อมูลสู่การปฏิบัติโดยใช้แผนผังความคิด 7. ใช้กระบวนการกลุ่มร่วมกันวางแผนนําข้อมูลจากการสรุปความและเขียนความเรียงใน IS1 สู่การจัดทํารายงานเชิง วิชาการใน IS2 และเชื่อมโยงนําความรู้สู่การปฏิบัติบริการสังคมใน IS3 8. ใช้ความรู้ หลักการและจินตนาการเพื่อคาดคะเนคําตอบที่เป็นไปได้ของการวางแผนจาก IS1 - IS3 9. ร่วมกันอภิปรายการวางแผนจาก IS1 - IS3 แล้วนําข้อมูลมานําเสนอ 10.ร่วมกันวิพากษ์การวางแผนของแต่และกลุ่ม 11.ปรับปรุงแผนที่วางไว้ก่อนนําไปจัดทําแผนการปฏิบัติระยะยาว สื่อ / แหล่งเรียนรู้ 1. ตัวอย่างการเขียนสรุปความ, การเขียนความเรียง,การเขียนอ้างอิง 2. แหล่งค้นคว้าอ้างอิง เช่น อินเทอร์เน็ต หนังสือ บุคคล ฯลฯ 3. ตัวอย่างการวางแผนระยะยาว 4. แผนผังการคิด
  • 25. 25    หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ฝึกซ้อมเขียนโครงร่าง รายวิชาเพิ่มเติม การสื่อสารและการนําเสนอ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เวลา 6 ชั่วโมง เป้าหมายการเรียนรู้ (ผลการเรียนรู้) 1. วางโครงร่างการเขียนตามหลักเกณฑ์ องค์ประกอบและวิธีการเขียนโครงร่าง ความเข้าใจที่คงทน (สาระสําคัญ / ความคิดรวบยอด) การเขียนโครงร่างรายงานเชิงวิชาการ มีองค์ประกอบคือ ชื่อเรื่อง ความนํา วัตถุประสงค์ สมมติฐาน ขอบเขตการศึกษา เนื้อหา วิธี การศึกษาและการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการวางแผนการเขียนรายงาน เชิงวิชาการอย่างเป็นระบบ และการตรวจสอบด้วยตนเองและเพื่อนช่วย ตรวจสอบ โดยใช้สัญลักษณ์ในการตรวจสอบช่วยให้รายงานเชิงวิชาการ นั้นถูกต้องแม่นยําและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น คําถามสําคัญ - องค์ประกอบของการเขียนโครงร่างมีอะไรบ้าง - แต่ละองค์ประกอบของการเขียนโครงร่าง มีวิธีการเขียนอย่างไร - การเขียนโครงร่างที่สมบูรณ์มีลักษณะอย่างไร ผู้เรียนรู้อะไร (สาระการเรียนรู้) การวางโครงร่างการเขียนรายงานเชิงวิชาการ - องค์ประกอบของโครงร่าง - ชื่อเรื่อง - ความนํา - วัตถุประสงค์ - สมมุติฐาน - ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า - เนื้อเรื่อง - วิธีการศึกษาและรวบรวมข้อมูล ผู้เรียนทําอะไรได้ (ทักษะ / ทักษะกระบวนการ) - เขียนโครงร่างรายงานเชิงวิชาการ - ทํางานร่วมกับผู้อื่นตามกระบวนการกลุ่ม - ตรวจสอบงานเขียนโครงร่างเชิงวิชาการ - วิพากษ์งานเขียนโครงร่างของผู้อื่น - นําข้อวิพากษ์มาปรับปรุงงานเขียนโครงร่าง ของตนได้ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ 1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทํางาน การออกแบบการวัดผลประเมินผล ภาระงานรวบยอด / ชิ้นงาน โครงร่างรายงานเชิงวิชาการ เกณฑ์การประเมินภาระงาน / ชิ้นงาน (ระบุประเด็นประเมิน) - ความครบถ้วนขององค์ประกอบโครงร่างรายงานเชิงวิชาการ - ความถูกต้องสมบูรณ์ของโครงร่างรายงานเชิงวิชาการ ร่องรอยการเรียนรู้อื่น ๆ - แบบบันทึกต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการตรวจสอบ / วิพากษ์ - แบบบันทึกการประเมินการเขียนโครงร่างรายงานเชิงวิชาการ - แบบบันทึกเกี่ยวกับกระบวนการทํางาน
  • 26. 26    การวางแผนการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนจะ 1. ศึกษาและวิธีเขียนองค์ประกอบของโครงร่างรายงานเชิงวิชาการฉบับสมบูรณ์ 2. ร่วมกันฝึกเขียนองค์ประกอบของโครงร่างรายงานเชิงวิชาการ 3. กลุ่มอภิปรายการเขียนองค์ประกอบของโครงร่างรายงานเชิงวิชาการ 4. สรุปผลการอภิปรายการเขียนองค์ประกอบของโครงร่างรายงานเชิงวิชาการของกลุ่มเตรียมนําเสนอ 5. กลุ่มนําเสนอโครงร่างรายงานเชิงวิชาการ 6. ร่วมกันตรวจสอบและวิพากษ์ความสมบูรณ์ของโครงร่างรายงานเชิงวิชาการ 7. กลุ่มปรับโครงร่างรายงานเชิงวิชาการตามข้อเสนอแนะ 8. นักเรียนแต่ละคนนําแนวทางการจัดทําโครงร่างรายงานเชิงวิชาการที่ถูกต้อง ไปจัดทําโครงร่างรายงาน เชิงวิชาการของตนเอง สื่อ / แหล่งเรียนรู้ 1. ตัวอย่างการเขียนโครงร่างรายงานเชิงวิชาการ 2. แหล่งค้นคว้าอ้างอิง เช่น อินเทอร์เน็ต หนังสือ บุคคล ฯลฯ