SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  27
Télécharger pour lire hors ligne
วิชา การสอบบัญชี
หนวยที่ 1 วิชาชีพสอบบัญชี
โดย
นิติ นาชิต
ครู วิทยฐานะชํานาญการพิเศษ
ความหมายของการสอบบัญชี
การสอบบัญชี หมายถึง การที่ผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งมี
ความเป็นอิสระ ได้รับมอบหมายจากเจ้าของกิจการที่
ตรวจสอบ ให้ทําหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินโดยการรวบรวม
หลักฐานการสอบบัญชี เพื่อแสดงความเห็นว่างบการเงินนั้น
ได้แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานโดยถูกต้องตามที่
ควรในสาระสําคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่
ความแตกต่างระหว่างการสอบบัญชีกับการบัญชี
เรื่อง การสอบบัญชี การบัญชี
1. จุดเริ่มต้นของ
กิจกรรม
งบทดลองหรืองบการเงิน รายการค้าหรือเอกสาร
ประกอบการบันทึกบัญชี
2. วิธีปฏิบัติงาน รวบรวมหลักฐานการสอบบัญชี
หรือจัดทํากระดาษทําการของ
ผู้สอบบัญชี
จดบันทึกรายการลงในสมุดบัญชี
3. ผลงานขั้นสุดท้าย รายงานของผู้สอบบัญชีรับ
อนุญาต
งบการเงิน
4. วัตถุประสงค์ เพื่อให้ความเชื่อมั่นอย่างมี
เหตุผลต่อข้อมูลในงบการเงิน
เพื่อให้ข้อมูลที่นําเสนอในงบ
การเงิน
5. มาตรฐานที่ใช้ในการ
ปฏิบัติงาน
มาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรอง
ทั่วไป
หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
หรือมาตรฐานการบัญชี
วัตถุประสงค์ของการสอบบัญชี
การให้ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชีที่เพียงพอและ
เหมาะสม เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการแสดงความเห็นต่องบ
การเงินของกิจการที่ตรวจสอบ ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็น
ไว้ในรายงานการสอบบัญชีว่า งบการเงินนั้นแสดงฐานะทาง
การเงินและผลการดําเนินงานโดยถูกต้องตามที่ควรใน
สาระสําคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่ เพียงใด
การสอบบัญชีจะให้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลแก่ผู้ใช้
งบการเงินได้ว่า งบการเงินที่ตรวจสอบนั้นแสดงฐานะทาง
การเงิน (งบดุล)  ผลการดําเนินงาน (งบกําไรขาดทุน)  และ
กระแสเงินสด (งบกระแสเงินสด)  โดยถูกต้องตามที่ควรใน
สาระสําคัญหรือไม่เพียงใด
สําคัญมาก
ความรับผิดชอบของผู้บริหารต่องบการเงิน
ผู้สอบบัญชีตรวจสอบงบการเงินแล้ว พบว่างบการเงิน
ไม่ถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ผู้สอบบัญชีไม่มี
อํานาจและหน้าที่ที่จะแก้ไขข้อมูลในงบการเงินโดยพลการ
ด้วยตนเอง เนื่องจากงบการเงินดังกล่าวเป็นของกิจการ ซึ่ง
ผู้บริหารเป็นผู้มีอํานาจหน้าที่ที่จะแก้ไขข้อมูลในงบการเงินนั้น
ได้
ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
ผู้สอบบัญชีรับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบ
การเงิน โดยปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบ
บัญชีที่รับรองทั่วไป และสรุปผลจากการตรวจสอบของตนว่า
งบการเงินที่ตรวจสอบแสดงฐานะทางการเงิน (งบดุล) 
ผลการดําเนินงาน (งบกําไรขาดทุน)  และกระแสเงินสด
(งบกระแสเงินสด)  โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสําคัญตาม
หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่เพียงใด
ประโยชน์ของการสอบบัญชี
ผู้ใช้งบการเงิน เช่น ผู้ลงทุน ผู้บริหารของกิจการ ผู้ให้
กู้และเจ้าหนี้ รัฐบาลและหน่วยงานราชการ และสาธารณชน
ต้องการความเชื่อถือได้ในงบการเงินเพื่อใช้ในการตัดสินใจ
เชิงเศรษฐกิจ
ตัวอย่างเช่น ผู้ลงทุนต้องการทราบข้อมูลในงบการเงิน
เพื่อประเมินความเสี่ยงและผลตอบแทนจากการลงทุน ผู้ให้กู้
และเจ้าหนี้ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรทางเศรษฐกิจ
เพื่อให้ทราบถึงความมั่นคงทางการเงิน สภาพคล่อง และ
ความสามารถของกิจการในการชําระหนี้ เป็นต้น
ผู้ใช้งบการเงินอาจได้ข้อมูลจากงบการเงินที่ไม่
น่าเชื่อถือ เนื่องด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น
‐ ความลําเอียงของผู้จัดทํางบการเงิน อาจทําให้
กิจการจัดทํางบการเงินไม่เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรอง
ทั่วไป
‐ ปริมาณรายการค้าจํานวนมาก และรายการค้าหรือ
ธุรกรรมที่ซับซ้อน อาจทําให้กิจการบันทึกบัญชีไม่ถูกต้อง
หรือไม่เหมาะสม
ด้วยเหตุนี้ กฎหมายในหลายประเทศ ซึ่งรวมถึง
ประเทศไทย จึงกําหนดให้งบการเงินต้องมีการตรวจสอบโดย
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ
ในวิชาชีพบัญชี และมีความเป็นอิสระ ทั้งนี้เพื่อให้งบการเงิน
เป็นที่น่าเชื่อถือต่อกลุ่มผู้ใช้งบการเงิน
ประเภทของการตรวจสอบ
การตรวจสอบอาจะแบ่งเป็น 3  ประเภทหลัก
ดังต่อไปนี้
1. การตรวจสอบงบการเงิน
2. การตรวจสอบการดําเนินงาน
3. การตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
ข้อพิจารณา
ประเภทของการตรวจสอบ
การตรวจสอบ
งบการเงิน
การตรวจสอบ
การดําเนินงาน
การตรวจสอบการ
ปฏิบัติตามกฎระเบียบ
1. ตัวอย่างของการ
ตรวจสอบประเภท
ต่างๆ
การตรวจสอบงบ
การเงินประจําปีของ
บริษัท
การประเมิน
ประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผลของการ
ประมวลผล
เงินเดือนด้วย
คอมพิวเตอร์
การพิจารณาว่าบริษัท
ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไข
ข้อตกลงในสัญญา
เงินกู้ยืมจากธนาคาร
หรือไม่
2. ข้อมูลที่ตรวจสอบ งบการเงินของบริษัท จํานวนระเบียบของ
เงินเดือนในเดือนหนึ่ง
ต้นทุนแผนกเงินเดือน
และจํานวน
ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น
สมุดบันทึกและการ
ปฏิบัติตามเงื่อนไขใน
สัญญาเงินกู้ยืม
ข้อพิจารณา
ประเภทของการตรวจสอบ
การตรวจสอบ
งบการเงิน
การตรวจสอบ
การดําเนินงาน
การตรวจสอบการ
ปฏิบัติตามกฎระเบียบ
3. เกณฑ์ที่กําหนดไว้ หลักการบัญชีที่
รับรองทั่วไป
มาตรฐานของบริษัทที่
ใช้เป็นเกณฑ์ในการ
ประเมินประสิทธิภาพ
ประสิทธิผลในแผนก
เงินเดือน
เงื่อนไขข้อตกลงใน
สัญญาเงินกู้ยืม
4. หลักฐานการ
ตรวจสอบที่
สามารถจัดหาได้
เอกสารบันทึก
หลักฐานจากแหล่ง
ภายนอกและภายใน
กิจการ
รายงานข้อผิดพลาด
ระเบียนของเงินเดือน
และต้นทุนการ
ประมวลผลเงินเดือน
สัญญาเงินกู้
งบการเงินและการ
คํานวณโดยผู้
ตรวจสอบ
ประเภทของผู้ตรวจสอบ
1. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตทําหน้าที่ตรวจสอบงบการเงิน
ของกิจการ บุคคลทั่วไปจะเรียกผู้สอบบัญชีรับอนุญาตโดยใช้
คําสั้น ๆ ว่า “ผู้สอบบัญชี”
ประเภทของผู้ตรวจสอบ
2. ผู้ตรวจสอบภายใน
หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ตรวจสอบภายในมี
มากมายหลาย ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริหาร ส่วน
ใหญ่จะเน้นการตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎระเบียบ การสอบ
ทานระบบการควบคุมภายใน หรือการตรวจสอบการ
ดําเนินงาน ผู้ตรวจสอบภายในจะนําเสนอผลการตรวจสอบ
ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารเพื่อนําไปใช้ในการตัดสินใจ
ปรับปรุงแก้ไขการดําเนินงานให้มีประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผลยิ่งขึ้น
ประเภทของผู้ตรวจสอบ
3. เจ้าหน้าที่ตรวจเงินแผ่นดิน
สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน เป็นส่วนราชการที่เป็น
หน่วยงานอิสระ ซึ่งทําหน้าที่ตรวจสอบการเงินแผ่นดิน
เกี่ยวกับรับจ่าย การเก็บรักษา และการใช้จ่ายเงินและ
ทรัพย์สินของหน่วยรับตรวจ การจัดซื้อจัดจ้าง ตรวจสอบบัญชี
และรายงานการรับจ่ายเงินประจําปีงบประมาณ ตรวจสอบ
บัญชีทุนสํารองเงินตราประจําปี แจ้งผลการตรวจสอบ และ
เสนอรายงานต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี
ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน
ประเภทของผู้ตรวจสอบ
4. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีอากร
เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีอากรเป็นเจ้าหน้าที่ของ
กรมสรรพากร หรือตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งจาก
กรมสรรพากรเพื่อทําหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลในแบบแสดง
รายการภาษีของผู้มีหน้าที่เสียภาษีว่าเป็นไปตามประมวล
รัษฎากรหรือไม่
ประเภทของผู้ตรวจสอบ
5. ผู้สอบบัญชีภาษีอากร
ผู้สอบบัญชีภาษีอากรเป็นนักบัญชีที่มีคุณสมบัติตามที่
อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดและได้รับอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชี
ภาษีอากร ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินของห้างหุ้นส่วนนิติ
บุคคลขนาดเล็ก (ซึ่งมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5  ล้านบาท สินทรัพย์รวม
ไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท) การปฏิบัติงาน
ตรวจสอบของผู้สอบบัญชีภาษีอากรเป็นไปตามคําสั่งของ
อธิบดีกรมสรรพากรจึงจัดเป็นการตรวจสอบงบการเงินและ
การตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
หลักการพื้นฐานของการตรวจสอบงบการเงิน
1. มรรยาทของผู้สอบบัญชี
ผู้สอบบัญชีต้องปฏิบัติตามมรรยาทของผู้สอบบัญชีที่
กําหนดโดยสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพ หรือโดยหน่วยงาน
กํากับดูแลตามกฎหมายในประเทศไทย
กฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2534) ออกตามความ
ในพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ.2505 ได้กําหนด
หลักการพื้นฐานของมรรยาทของผู้สอบบัญชี ซึ่งประกอบด้วย
5 หมวด
หลักการพื้นฐานของการตรวจสอบงบการเงิน
2. มาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป
ผู้สอบบัญชีต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่
รับรองทั่วไป ซึ่งกําหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
รับอนุญาตแห่งประเทศไทย มาตรฐานการสอบบัญชี
ประกอบด้วยหลักการพื้นฐานและวิธีการตรวจสอบที่สําคัญ
รวมทั้งแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบงบ
การเงิน
หลักการพื้นฐานของการตรวจสอบงบการเงิน
3. วิจารณญาณในการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ
ผู้สอบบัญชีต้องวางแผนและปฏิบัติงานตรวจสอบโดย
ใช้วิจารณญาณในการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ
ต่อข้อมูลของกิจการ โดยคํานึงถึงสถานการณ์แวดล้อมที่อาจมี
อยู่ ซึ่งเป็นเหตุให้ข้อมูลในงบการเงินข้อต่อข้อเท็จจริงอันเป็น
สาระสําคัญ
ข้อจํากัดของการตรวจสอบงบการเงิน
1. การใช้วิธีการทดสอบรายการ
โดยทั่วไปในการปฏิบัติงานตรวจสอบ ผู้สอบบัญชีจะไม่
ตรวจสอบรายการทุกรายการ แต่จะใช้วิธีเลือกตัวอย่างรายการขึ้นมา
ทดสอบแล้วสรุปผลการตรวจสอบจากตัวอย่างนั้น การตรวจสอบงบ
การเงินจึงอาจมีความเสี่ยงที่ตัวอย่างที่เลือกขึ้นมาตรวจสอบนั้นมิได้
เป็นตัวแทนที่เหมาะสมของรายการค้าทั้งหมด ซึ่งอาจทําให้ผู้สอบ
บัญชีตรวจไม่พบข้อผิดพลาดได้
ข้อจํากัดของการตรวจสอบงบการเงิน
2. ข้อจํากัดของระบบการควบคุมภายใน
ระบบการควบคุมภายในถึงแม้จะมีการออกแบบไว้อย่างดี
แล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีข้อจํากัด เช่น โอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดจาก
บุคลากรเนื่องจากความไม่ระมัดระวัง พลั้งเผลอ การใช้ดุลยพินิจ
ผิดพลาด หรือไม่เข้าใจคําสั่ง โอกาสที่จะเกิดการหลีกเลี่ยงขั้นตอน
โดยผู้บริหาร หรือโอกาสที่บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการควบคุมภายใน
ใช้อํานาจนั้นในทางที่ผิด เป็นต้น
ข้อจํากัดของการตรวจสอบงบการเงิน
3. การใช้ดุลยพินิจอย่างมีเหตุผลในการพิจารณาความเชื่อถือได้ของ
หลักฐานการสอบบัญชี
หลักฐานการสอบบัญชีไม่ได้ให้ข้อสรุปในตัวเอง กล่าวคือ
ผู้สอบบัญชีต้องใช้ดุลยพินิจอย่างมีเหตุผลในการพิจารณาความ
เชื่อถือได้ ทั้งในเรื่องความเพียงพอและเหมาะสมของหลักฐานการ
สอบบัญชีที่รวบรวม เพื่อให้ได้ข้อสรุปจากผลการตรวจสอบนั้น
ความหมายมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป
มาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป หมายถึง แนวทาง
ปฏิบัติงานการสอบบัญชีซึ่งใช้เป็นเครื่องวัดคุณภาพผลงานของผู้สอบ
บัญชี
สาธารณชนจะยอมรับและเชื่อถือในผลงานของผู้สอบบัญชีก็
ต่อเมื่อผู้สอบบัญชีได้ปฏิบัติงานตรวจสอบงบการเงินตามมาตรฐาน
การสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ถ้าผู้สอบบัญชีไม่ได้ปฏิบัติงานตรวจสอบ
งบการเงินตามมาตรฐานการสอบบัญชี งานของผู้สอบบัญชีรายนั้นจะ
ไม่ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้งบการเงินและสาธารณชน ผู้สอบบัญชี
อาจต้องรับผิดในความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นทั้งทางกฎหมายและ
วิชาชีพสอบบัญชีด้วย
แนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
1. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต้องปฏิบัติงานตามมรรยาทของ
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่กําหนดในกฎกระทรวง และตามมาตรฐาน
การสอบบัญชีที่กําหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับ
อนุญาตแห่งประเทศไทย
2. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต้องวางแผนและปฏิบัติงานโดยใช้
วิจารณญาณในการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพต่อข้อมูล
ของกิจการ โดยคํานึงถึงสถานการณ์แวดล้อมที่อาจมีอยู่ ซึ่งเป็นเหตุ
ให้ข้อมูลในงบการเงินขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญ
แนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
3. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต้องกําหนดขอบเขตวิธีการ
ตรวจสอบโดยอาศัย มาตรฐานการสอบบัญชีที่กําหนดโดยสมาคมนัก
บัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยเป็นหลัก และต้อง
คํานึงถึงข้อกําหนดขององค์กร หรือหน่วยงาน หรือสถาบันที่เกี่ยวข้อง
กับวิชาชีพ ข้อกําหนดของกฎหมาย หรือบางกรณีตามหนังสือตอบรับ
งานสอบบัญชี และตามรูปแบบรายงานที่กําหนดไว้ในหนังสือตอบรับ
งาน

Contenu connexe

Tendances

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบัญชีรัฐบาล
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบัญชีรัฐบาลความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบัญชีรัฐบาล
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบัญชีรัฐบาลYeah Pitloke
 
บทที่ 6 ทฤษฎีการผลิต
บทที่ 6 ทฤษฎีการผลิตบทที่ 6 ทฤษฎีการผลิต
บทที่ 6 ทฤษฎีการผลิตOrnkapat Bualom
 
หลักการบัญชีเบื้องต้น รวมเล่ม
หลักการบัญชีเบื้องต้น  รวมเล่มหลักการบัญชีเบื้องต้น  รวมเล่ม
หลักการบัญชีเบื้องต้น รวมเล่มpaka10011
 
ความรู้เกี่ยวกับระบบบัญชี
ความรู้เกี่ยวกับระบบบัญชีความรู้เกี่ยวกับระบบบัญชี
ความรู้เกี่ยวกับระบบบัญชีAttachoke Putththai
 
แบบฝึกทำ Acc1102 + เฉยแบบฝึกทำ acc1102
แบบฝึกทำ Acc1102 + เฉยแบบฝึกทำ acc1102แบบฝึกทำ Acc1102 + เฉยแบบฝึกทำ acc1102
แบบฝึกทำ Acc1102 + เฉยแบบฝึกทำ acc1102Chenchira Chaengson
 
สถิติสำหรับธุรกิจ
สถิติสำหรับธุรกิจสถิติสำหรับธุรกิจ
สถิติสำหรับธุรกิจTeetut Tresirichod
 
กระบวนการขั้นตอนการเจรจาต่อรอง
กระบวนการขั้นตอนการเจรจาต่อรองกระบวนการขั้นตอนการเจรจาต่อรอง
กระบวนการขั้นตอนการเจรจาต่อรองThida Noodaeng
 
ส่วนที่ 4 ผังบัญชี รหัสบัญชี และผังทางเดินเอกสาร
ส่วนที่ 4 ผังบัญชี รหัสบัญชี และผังทางเดินเอกสารส่วนที่ 4 ผังบัญชี รหัสบัญชี และผังทางเดินเอกสาร
ส่วนที่ 4 ผังบัญชี รหัสบัญชี และผังทางเดินเอกสารAttachoke Putththai
 
แผน บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
แผน  บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแผน  บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
แผน บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทับทิม เจริญตา
 
ประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัยประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัยYanee Chaiwongsa
 
การเคลื่อนที่
การเคลื่อนที่การเคลื่อนที่
การเคลื่อนที่kroosarisa
 
โครงสร้างองค์กร เสริมสุข
โครงสร้างองค์กร เสริมสุขโครงสร้างองค์กร เสริมสุข
โครงสร้างองค์กร เสริมสุข0868472700
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : เปิดโลกอาชีพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : เปิดโลกอาชีพหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : เปิดโลกอาชีพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : เปิดโลกอาชีพณัฐะ หิรัญ
 
แผน 1 the curious boy and the fish
แผน 1 the curious boy and the fishแผน 1 the curious boy and the fish
แผน 1 the curious boy and the fishTeacher Sophonnawit
 

Tendances (20)

ระบบใบสำคัญจ่าย 2
ระบบใบสำคัญจ่าย 2ระบบใบสำคัญจ่าย 2
ระบบใบสำคัญจ่าย 2
 
วิชาต้นทุน บทที่ 2 ต้นทุนและงบ 1
วิชาต้นทุน บทที่ 2 ต้นทุนและงบ 1วิชาต้นทุน บทที่ 2 ต้นทุนและงบ 1
วิชาต้นทุน บทที่ 2 ต้นทุนและงบ 1
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบัญชีรัฐบาล
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบัญชีรัฐบาลความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบัญชีรัฐบาล
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบัญชีรัฐบาล
 
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 8 พ...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 8 พ...สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 8 พ...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 8 พ...
 
007
007007
007
 
บทที่ 6 ทฤษฎีการผลิต
บทที่ 6 ทฤษฎีการผลิตบทที่ 6 ทฤษฎีการผลิต
บทที่ 6 ทฤษฎีการผลิต
 
หลักการบัญชีเบื้องต้น รวมเล่ม
หลักการบัญชีเบื้องต้น  รวมเล่มหลักการบัญชีเบื้องต้น  รวมเล่ม
หลักการบัญชีเบื้องต้น รวมเล่ม
 
ความรู้เกี่ยวกับระบบบัญชี
ความรู้เกี่ยวกับระบบบัญชีความรู้เกี่ยวกับระบบบัญชี
ความรู้เกี่ยวกับระบบบัญชี
 
แบบฝึกทำ Acc1102 + เฉยแบบฝึกทำ acc1102
แบบฝึกทำ Acc1102 + เฉยแบบฝึกทำ acc1102แบบฝึกทำ Acc1102 + เฉยแบบฝึกทำ acc1102
แบบฝึกทำ Acc1102 + เฉยแบบฝึกทำ acc1102
 
สรุปแนวข้อสอบการเงิน
สรุปแนวข้อสอบการเงินสรุปแนวข้อสอบการเงิน
สรุปแนวข้อสอบการเงิน
 
สถิติสำหรับธุรกิจ
สถิติสำหรับธุรกิจสถิติสำหรับธุรกิจ
สถิติสำหรับธุรกิจ
 
กระบวนการขั้นตอนการเจรจาต่อรอง
กระบวนการขั้นตอนการเจรจาต่อรองกระบวนการขั้นตอนการเจรจาต่อรอง
กระบวนการขั้นตอนการเจรจาต่อรอง
 
Ac+102+เฉลยหลักการบัญชี+2
Ac+102+เฉลยหลักการบัญชี+2Ac+102+เฉลยหลักการบัญชี+2
Ac+102+เฉลยหลักการบัญชี+2
 
ส่วนที่ 4 ผังบัญชี รหัสบัญชี และผังทางเดินเอกสาร
ส่วนที่ 4 ผังบัญชี รหัสบัญชี และผังทางเดินเอกสารส่วนที่ 4 ผังบัญชี รหัสบัญชี และผังทางเดินเอกสาร
ส่วนที่ 4 ผังบัญชี รหัสบัญชี และผังทางเดินเอกสาร
 
แผน บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
แผน  บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแผน  บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
แผน บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 
ประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัยประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัย
 
การเคลื่อนที่
การเคลื่อนที่การเคลื่อนที่
การเคลื่อนที่
 
โครงสร้างองค์กร เสริมสุข
โครงสร้างองค์กร เสริมสุขโครงสร้างองค์กร เสริมสุข
โครงสร้างองค์กร เสริมสุข
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : เปิดโลกอาชีพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : เปิดโลกอาชีพหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : เปิดโลกอาชีพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 : เปิดโลกอาชีพ
 
แผน 1 the curious boy and the fish
แผน 1 the curious boy and the fishแผน 1 the curious boy and the fish
แผน 1 the curious boy and the fish
 

En vedette

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสอบบัญชี
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสอบบัญชีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสอบบัญชี
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสอบบัญชีarunrung suwanachot
 
แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)
แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)
แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)peter dontoom
 
งบการเงิน
งบการเงินงบการเงิน
งบการเงินsiriwaan seudee
 
การบัญชีบริหาร
การบัญชีบริหารการบัญชีบริหาร
การบัญชีบริหารYeah Pitloke
 
แบบทดสอบความรูเบื้องต้นเกี่ยวกับบัญชี
แบบทดสอบความรูเบื้องต้นเกี่ยวกับบัญชีแบบทดสอบความรูเบื้องต้นเกี่ยวกับบัญชี
แบบทดสอบความรูเบื้องต้นเกี่ยวกับบัญชีวาสนา ทีคะสาย
 
งบต้นทุนการผลิต
งบต้นทุนการผลิต งบต้นทุนการผลิต
งบต้นทุนการผลิต 0834731327
 
แผนการสอนการบัญชีการเงิน01ความรู้ทั่วไป
แผนการสอนการบัญชีการเงิน01ความรู้ทั่วไปแผนการสอนการบัญชีการเงิน01ความรู้ทั่วไป
แผนการสอนการบัญชีการเงิน01ความรู้ทั่วไปNoree Sapsopon
 
Ch5 หนี้สิน
Ch5 หนี้สินCh5 หนี้สิน
Ch5 หนี้สินple2516
 
แบบทดสอบ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม.1
แบบทดสอบ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม.1แบบทดสอบ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม.1
แบบทดสอบ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม.1teerachon
 
เฉลยการวัดตำแหน่งและกระจาย
เฉลยการวัดตำแหน่งและกระจายเฉลยการวัดตำแหน่งและกระจาย
เฉลยการวัดตำแหน่งและกระจายkrurutsamee
 
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพแนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพปกรณ์กฤช ออนไลน์
 
การประเมินผลการควบคุมภายใน1
การประเมินผลการควบคุมภายใน1การประเมินผลการควบคุมภายใน1
การประเมินผลการควบคุมภายใน1Nan ZuZa
 

En vedette (15)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสอบบัญชี
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสอบบัญชีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสอบบัญชี
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสอบบัญชี
 
แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)
แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)
แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)
 
บัญชีต้นทุน1
บัญชีต้นทุน1บัญชีต้นทุน1
บัญชีต้นทุน1
 
งบการเงิน
งบการเงินงบการเงิน
งบการเงิน
 
การบัญชีบริหาร
การบัญชีบริหารการบัญชีบริหาร
การบัญชีบริหาร
 
Internal Audit Planning
Internal Audit PlanningInternal Audit Planning
Internal Audit Planning
 
Dd
DdDd
Dd
 
แบบทดสอบความรูเบื้องต้นเกี่ยวกับบัญชี
แบบทดสอบความรูเบื้องต้นเกี่ยวกับบัญชีแบบทดสอบความรูเบื้องต้นเกี่ยวกับบัญชี
แบบทดสอบความรูเบื้องต้นเกี่ยวกับบัญชี
 
งบต้นทุนการผลิต
งบต้นทุนการผลิต งบต้นทุนการผลิต
งบต้นทุนการผลิต
 
แผนการสอนการบัญชีการเงิน01ความรู้ทั่วไป
แผนการสอนการบัญชีการเงิน01ความรู้ทั่วไปแผนการสอนการบัญชีการเงิน01ความรู้ทั่วไป
แผนการสอนการบัญชีการเงิน01ความรู้ทั่วไป
 
Ch5 หนี้สิน
Ch5 หนี้สินCh5 หนี้สิน
Ch5 หนี้สิน
 
แบบทดสอบ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม.1
แบบทดสอบ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม.1แบบทดสอบ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม.1
แบบทดสอบ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม.1
 
เฉลยการวัดตำแหน่งและกระจาย
เฉลยการวัดตำแหน่งและกระจายเฉลยการวัดตำแหน่งและกระจาย
เฉลยการวัดตำแหน่งและกระจาย
 
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพแนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
 
การประเมินผลการควบคุมภายใน1
การประเมินผลการควบคุมภายใน1การประเมินผลการควบคุมภายใน1
การประเมินผลการควบคุมภายใน1
 

Similaire à นำเสนอวิชาการสอบบัญชี หน่วยที่1

บัญชีเบื้องต้น.pdf
บัญชีเบื้องต้น.pdfบัญชีเบื้องต้น.pdf
บัญชีเบื้องต้น.pdfWattanaNanok
 
__________ 2
  __________ 2  __________ 2
__________ 2paka10011
 
ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน (29)
ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน (29)ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน (29)
ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน (29)ประพันธ์ เวารัมย์
 
บัญชีเบื้องต้น
บัญชีเบื้องต้นบัญชีเบื้องต้น
บัญชีเบื้องต้นsaowanee
 
พ้อยทดสอบเขียนบล็อค
พ้อยทดสอบเขียนบล็อคพ้อยทดสอบเขียนบล็อค
พ้อยทดสอบเขียนบล็อคpitcha13
 
9789740336327
97897403363279789740336327
9789740336327CUPress
 
การบริหารจัดการโครงการสสส.
การบริหารจัดการโครงการสสส.การบริหารจัดการโครงการสสส.
การบริหารจัดการโครงการสสส.Thira Woratanarat
 

Similaire à นำเสนอวิชาการสอบบัญชี หน่วยที่1 (7)

บัญชีเบื้องต้น.pdf
บัญชีเบื้องต้น.pdfบัญชีเบื้องต้น.pdf
บัญชีเบื้องต้น.pdf
 
__________ 2
  __________ 2  __________ 2
__________ 2
 
ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน (29)
ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน (29)ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน (29)
ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน (29)
 
บัญชีเบื้องต้น
บัญชีเบื้องต้นบัญชีเบื้องต้น
บัญชีเบื้องต้น
 
พ้อยทดสอบเขียนบล็อค
พ้อยทดสอบเขียนบล็อคพ้อยทดสอบเขียนบล็อค
พ้อยทดสอบเขียนบล็อค
 
9789740336327
97897403363279789740336327
9789740336327
 
การบริหารจัดการโครงการสสส.
การบริหารจัดการโครงการสสส.การบริหารจัดการโครงการสสส.
การบริหารจัดการโครงการสสส.
 

นำเสนอวิชาการสอบบัญชี หน่วยที่1