SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  37
กาวและสารเคลือบผิว
สมาชิก นางสาว ติยพร		ชูโฉม		รหัสนักศึกษา 5211010035 นางสาว ธญวรรณตัณตรีบูรณ์	รหัสนักศึกษา 5211010040 นางสาว มณีกานต์	นะนิล		รหัสนักศึกษา 5211010078 นางสาว เสาวลักษณ์	ดิลกสิริพานิช	รหัสนักศึกษา 5211010138 นางสาว อนันตญา	ณ ตะกั่วทุ่ง	รหัสนักศึกษา 5211010141
กาว 		เป็นสารที่ใช้ในการเชื่อมผิววัสดุเข้าด้วยกัน อาจเป็นสารอินทรีย์หรืออนินทรีย์ก็ได้ โดยอาศัย surface adhesion และ internal strength และโครงสร้างของผิววัสดุนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ทฤษฎีการยึดติดกันมีหลายทฤษฎี เช่น Diffusion Theory, Adsorption Theory  ขึ้นอยู่กับแรงโมเลกุล เช่น แรงแวนเดอร์วาล์ว และช่องว่างระหว่างโมเลกุลของวัสดุ  Electrostatic Theory, Surface Energentics and Wettability Theory เป็นต้น
โครงสร้างของกาว  อาทิเช่น  กาวใส 		มีส่วนประกอบหลักคือน้ำ และโพลิไวนิลอัลกอฮอล์ (poly(vinylalcohol), PVOH) ซึ่งเป็นโพลิเมอร์ สังเคราะห์ (synthetic polymer) ที่มีโครงสร้างทางเคมีเป็นสายโซ่ตรงยาวๆ หากสังเกตที่โครงสร้างทางเคมีของกาวชนิดนี้จะเห็นว่ามีหมู่ไฮดรอกซิล (OH group) ติดอยู่กับโครงสร้างหลักของสายโซ่โพลิเมอร์อยู่มาก จึงทำให้โพลิเมอร์ชนิดนี้ละลายน้ำได้ดี อนุภาคของโพลิเมอร์ในสารละลายมีขนาดเล็กมากซึ่งแสงสามารถส่องผ่านสารละลายได้ ทำให้กาวมีลักษณะเป็นของเหลวใส
กาวลาเทกส์ 		มีส่วนประกอบสำคัญคือ   โพลิไวนิลอะซิเทต (PVAC)  ซึ่งเป็นโพลิเมอร์สังเคราะห์อีกชนิดหนึ่งที่มีสายโซ่ยาว แต่ละลายน้ำได้ไม่ดีนัก เมื่ออยู่ในน้ำจึงอยู่ในลักษณะของสารอีมัลชัน (emulsion) คือเป็นอนุภาคเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไปในน้ำ ขนาดของอนุภาคในสารอีมัลชันมีขนาดใหญ่เกินไปกว่าที่จะทำให้แสงส่องผ่านไปได้ ดังนั้นเมื่อมีแสงตกกระทบกับอนุภาคของกาวจึงเกิดการหักเห และสะท้อนกลับ ทำให้กาวลาเทกส์มีลักษณะเป็นสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนม  หรือน้ำยางซึ่งมีอนุภาคเล็กๆของโปรตีน และเนื้อยางกระจายอยู่ทั่วไปในน้ำตามลำดับเช่นกัน แต่เมื่อกาวลาเทกส์แห้งก็จะมีลักษณะใสเหมือนกาวใส
ประเภทของกาว อาจแบ่งตามการใช้งาน สารที่ใช้ผลิต ราคา และความคงตัวของกาว เป็นต้น โดยทั่วไปมักแบ่งกาวออกเป็น 2 ชนิด คือ  กาวที่ทำมาจากธรรมชาติ  กาวที่มาจากการสังเคราะห์
กาวจากธรรมชาติ กาวจากน้ำยางธรรมชาติ  ส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมรองเท้าและการบรรจุ กาวจากน้ำยางธรรมชาติดีกว่ากาวจากสารละลายเนื่องจาก มีต้นทุนต่ำกว่า ไม่ติดไฟ ไม่มีสารละลายที่เป็นพิษและทนต่อการบ่มเร่งได้ดีกว่า กาวที่ได้จากพืชได้แก่ ยางเหนียวของต้นไม้และแป้ง รากของต้นมันสำปะหลังที่เป็นแป้ง แป้งข้าวโพดและแป้งจากมันฝรั่งใช้เป็นตัวประสานในไม้อัด เกรดต่ำ
กาวสังเคราะห์  อาทิเช่น กาวนีโอพรีน 		เป็น กาวอเนกประสงค์ ใช้ยิดติดพื้นยางวัลคาไนซ์ หนังแท้ ผ้ายีนส์ ผ้าใบ ผ้าพีวีซี หรือพียู โฟมอีวีเอ หนังเทียมชนิดต่าง ๆ และวัสดุที่มีรูพรุน เช่น ส้นไม้ และผ้าอัด เป็นต้น  บางชนิดเป็นกาวนีโอพรีนที่มีความเหนียวข้นสูง สารละลายมีเนื้อเดียวกันไม่มีการแยกชั้น หรือเปลี่ยนสี ใช้ยึดติดวัสดุประเภทต่าง ๆ สำหรับอุตสาหกรรมรองเท้า ที่ต้องการความแข็งแรงในการยึดติดสูง กับวัสดุหน้าผ้าชนิดต่าง ๆ ให้ผลการยึดติดสมบูรณ์ และแข็งแรง กาวไม่ร่อน
กาวกราฟท์ เป็นกาวสังเคราะห์ที่นิยมกันแพร่หลายทั่วไปในอุตสาหกรรมรองเท้าเป็นกาวที่มีคุณสมบัติพิเศษ สามารถทนความร้อนได้สูง สำหรับยึดติดพื้นรองเท้า เช่น โฟมอีวีเอ ยางวัลคาไนซ์ พีวีซี-พียู ยางนีโอไลท์ หนังและพื้นวัสดุสังเคราะห์เข้ากับวัสดุหน้าผ้า เช่น หนัง ผ้าใบ เส้นใย และหนังเทียม กาวพียู  เตรียมขึ้นจากสารอะโรมาติก พอลิเอสเทอร์ พอลิยูริเทน ภายใต้การควบคุมสภาวะการผลิต จึงเหมาะสมสำหรับใช้ยึดติดหน้าผ้าพีวีซี หรือพียู ยาง ทีพีอาร์โฟมอีวีเอ พื้นยางวัลคาไนซ์ หนังแท้ ผ้าแฟล็กซ์ พื้นยางธรรมชาติ ส้นไม้ และผ้าใบ เป็นต้น
กาวพีวีซี  เป็น กาวสังเคราะห์ที่ใช้ยึดติดหนังเทียมชนิดต่าง ๆ พื้นพีวีซี พียู ให้การยึดติดแน่นถาวร ทนต่อความร้อน สารเคมี น้ำมันและพลาสติกไซเซอร์ได้ดี หลังจากการใช้งานจะให้ฟิล์ม กาวโปร่งใส ทำความสะอาดง่าย เหมาะสมในการผลิต รองเท้าที่ทำมาจากวัสดุสังเคราะห์ เช่น พีวีซี และพียู เป็นต้น กาวพ่น 		เป็น กาวยางนีโอพรีนชนิดพ่น เหมาะสำหรับใช้งานสารพัดประโยชน์ มีคุณสมบัติสามารถใช้เชื่อมติดกับไม้ คอนกรีต โลหะ หนังเทียม หนังแท้ เหมาะสำหรับใช้ในกระบวนการผลิตเฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ประกอบรถยนต์ เครื่องหนัง และรองเท้า สามารถใช้ในงานยึดติดหนังเทียมพีวีซี หนังเทียมพียู กับฟองน้ำ ผ้าทุกชนิด หนังแท้ ใยแก้วไฟเบอร์ แผ่นยาง และฉนวนกันความร้อนทุกประเภท
ประเภทของกาวแบ่งตามโครงสร้าง  กาวพวกแรก เป็นพวกที่มีสายโซ่ของโมเลกุลยาวอยู่แล้ว แต่จะละลายหรือแขวนลอยอยู่ในตัวทำละลาย อย่างเช่น กาวน้ำ กาวลาเทกซ์ หรือกาวยาง กาวพวกนี้ต้องรอให้ตัวทำละลายแห้งออกไปหมดเสียก่อน จึงจะแข็งและยึดติดมีจุดเด่นคือ ราคาถูก ใช้งานง่าย แต่มีจุดอ่อนคือ ไม่แข็งแรงมากนัก ไม่ทนความร้อน  กาวพวกที่สอง เป็นพวกที่เริ่มจากโมเลกุลเล็ก ๆ ซึ่งอาจจะเป็นโมโนเมอร์ตัวเดียว หรือไม่กี่ตัวมาต่อกัน (เรียกว่า พรีโพลิเมอร์ หรือ prepolymer) กาวแบบนี้จะใช้ปฏิกิริยาเคมีเพื่อทำให้ได้สายโซ่ยาว ตัวอย่างที่รู้จักกันดีก็คือ กาวตราช้าง (cyanoacrylate) ตอนที่กาวตราช้างอยู่ในหลอดจะเป็นของเหลวใสไหลไปมาได้ง่าย แต่พอบีบออกมา กาวจะแข็งตัวเนื่องจากโดนความชื้น โดยความชื้นนี่เองที่จะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ทำให้โมเลกุลเล็ก ๆ มาต่อกันเป็นสายโซ่ยาว ๆ ทำให้กาวตราช้างใช้ติดวัตถุได้หลายชนิด เพราะว่าที่ผิวของวัตถุมักจะมีความชื้นเสมอ ข้อดีคือ แข็งตัวเร็ว และยึดติดได้แน่นมาก
ส่วนกาวในพวกที่สองอีกแบบหนึ่ง เรียกว่า กาวอีพ็อกซี (epoxy) จะมี 2 หลอด หลอดหนึ่งมีชื่อเรียกว่า เรซิน (resin) ส่วนอีกหลอดหนึ่งเรียกว่า ตัวทำให้แข็ง ถ้าใช้แค่หลอดเดียวจะไม่เหนียว ต้องใช้ 2 หลอดผสมกันอย่างเหมาะสม เพราะว่า สารเคมีในหลอดแรกที่เรียกว่า เรซินนั้น มีโครงสร้างโมเลกุลเป็นสายโซ่สั้น ๆ ซึ่งยังไม่เป็นกาวแข็ง แต่ถ้าเติมตัวทำให้แข็งเข้าไป ตัวทำให้แข็งก็จะไปยึดสายโซ่สั้น ๆ เข้าด้วยกัน ทำให้ได้โมเลกุลใหญ่คล้ายร่างแห ส่งผลให้กาวอีพ็อกซีแข็งแรงมาก  มีจุดเด่นคือ แข็งแรงมาก แถมยังทนความร้อนและสารละลายได้ดีอีกต่างหาก แต่จุดอ่อนก็คือ ราคาแพง
กาวพวกที่สาม จะมาในรูปของแข็งเป็นแท่งพลาสติกยาว ๆ และต้องใช้ปืนที่ให้ความร้อนทำให้หลอม กาวพวกนี้เริ่มต้นก็เป็นสายโซ่ยาว ๆ แต่เนื่องจากไม่มีตัวทำละลายจึงมีสภาพเป็นของแข็ง เวลาจะใช้ก็จะต้องให้ความร้อนทำให้กาวหลอม เหลวแล้วปล่อยให้เย็นตัวแข็งใหม่อีกครั้ง ตัวอย่างในเชิงพาณิชย์ก็เช่น กาวแท่งโพลิเอไมด์ และกาวแท่งโพลิเอทิลีนไวนิลอะซิเทต  มีจุดเด่นคือ ไม่ค่อยหดตัว แต่มีจุดอ่อนคือ ไม่ทนความร้อน
การนำไปใช้งาน กาวธรรมชาติจะมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่ากาวสังเคราะห์  ในการใช้งานกาวขึ้นอยู่กับวัสดุที่ต้องการนำไปติด จะเลือกกาวให้เหมาะสมกับชิ้นงาน และให้งานนั้นมีประสิทธิภาพ รวมทั้งประหยัดเวลา และวัสดุนั้นยึดติดกันได้นานอีกด้วย  เช่น  กาวชนิดแห้ง ได้แก่ กาวขาว และ rubber glue เหมาะกับงานที่ใช้ตามบ้านเรือน เช่น ไม้ กระดาษเอกสาร ผ้า หนังสัตว์  กาวเหลือง เหมาะกับการติดไม้ และผลิตภัณฑ์จากไม้ กาวแท่งหรือ Hot Melt Adhesive เหมาะกับงาน โลหะ ผ้า พลาสติก กระเบื้องเคลือบ กาวเคลือบผิว ใช้สำหรับพลาสติกแผ่น และไม้อัด   กาวอีพอกซี่ (Epoxy) สำหรับ โลหะ เครื่องแก้ว กระเบื้องเคลือบ หินอ่อน เป็นต้น
กาวที่เราใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่เป็นกาวสังเคราะห์ ซึ่งมีให้เลือกมากมายหลายชนิดและมีสมบัติเหมาะสมในการใช้ติดวัตถุแตกต่างกัน เช่น  กาวใส  : กระดาษ                    กาวลาเทกส์ : กระดาษ ไม้ ผ้า กาวยาง : กระดาษ ไม้ แผ่นยาง ผ้า
กาวพลังช้าง : แก้ว เซรามิกส์ พลาสติก โลหะ กาวอีพ็อกซี : ไม้ โลหะ แก้ว  พลาสติก  กาวปืนซิลิโคน : ไม้  พลาสติก แก้ว  
สารเคลือบผิว วัตถุประสงค์ของสารเคลือบผิว เพื่อป้องกันพื้นผิววัสดุจากมลภาวะต่างๆ สารเคลือบผิวจะช่วยให้ผิวของวัสดุที่ถูกเคลือบมีความทนทานต่ออากาศ น้ำ และสารเคมีต่างๆ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผิวหน้าของวัสดุที่ถูกเคลือบมีความแข็งแรงขึ้น ทนทานต่อการขัดสีได้มากขึ้น และอายุการใช้งานมากขึ้น เพื่อตกแต่งให้แลดูสวยงาม ความสวยงามของวัสดุหลังจากการเคลือบผิวออกมาจากสี จากความเงา จากลวดลายตกแต่ง หรือจากความสว่างหรือจากทั้งหมดรวมกัน
ประเภทของสารเคลือบผิว แบ่งเป็น 3 ประเภท สี (Paint) หมายถึง สารที่มีส่วนผสมของผงสี (Pigment) สารยึด(Binder) หรือสิ่งนำสี(vehicle) ตัวทำละลาย (solvent) สารเติมแต่ง (additives) วาร์นิช (Varnish) คือ สารเคลือบผิวที่ประกอบไปด้วยสารยึดเพียงอย่างเดียว แลกเกอร์ (Lacquer) ได้แก่ สารละลายซึ่งได้จากการนำเรซินหรือสารยึดมาละลายในตัวทำละลายอินทรีย์
ยกตัวอย่างเช่น สารกันซึม(Sealers) 		สารกันซึมใช้เคลือบผิวหน้าวัสดุที่มีรูพรุนสูง หรือใช้เคลือบวัสดุที่ปล่อยสารบางประเภทออกมาซึ่งจะมีผลทำให้ฟิล์มของสีเสียหายได้ ตัวอย่างของวัสดุที่มีรูพรุนสูงได้แก่ ใยหิน (asbestos) ปลาสเตอร์ และไม้อัด ซึ่งไม้มักปล่อยเรซินบางประเภทไหลซึมออกมาจากตาไม้ (knot) ทำให้ฟิล์มของสีที่เคลือบอยู่นิ่มและเกิดการเปลี่ยนสี ซึ่งแก้ไขได้โดยใช้สารกันซึมเคลือบที่ผิวหน้าวัสดุก่อน สารกันซึมที่ใช้นี้มักเป็นสารละลายของเชลแลกในเมทิลเลเตดสปิริต และเรียกกันว่า ‘knotting’
สีรองพื้น(Primers) สำหรับไม้ แบ่งเป็น 4 ชนิด 1.สีรองพื้นตะกั่ว เป็นที่นิยมใช้ในสมัยแรก เรียกกันว่า ‘pink primer’ ทำจากของผสมระหว่างน้ำมัน ตะกั่วแดง และตะกั่วขาว แต่เนื่องจากเป็นพิษจึงมีการใช้น้อยลง  2.สีรองพื้นไร้ตะกั่ว (Leadless Primer) มักทำจากน้ำมันวาร์นิช โพลิยูทีรีน หรือ อัลคิดเรซิน และนำมาผสมกับผงสีที่ไม่เป็นพิษ  3.สีรองพื้นจากอะลูมิเนียม (Aluminium Primer) โดยมีข้อดี คือ ป้องกันความชื้นได้ดีเนื่องจากผลอะลูมิเนียมมีมีรูปร่างของอนุภาคเป็นแผ่นเล็ก และยังช่วยเสริมแรงให้กับฟิล์มอีกด้วย  4.สีรองพื้นอิมัลชัน (Emulsion Primer) เป็นการนำสีอิมัลชันที่ทำจากอะคริลิกเรซินมาใช้ทำเป็นสีรองพื้นสำหรับไม้ มีข้อดีคือ ไม่เป็นพิษ ฟิล์มที่ได้มีความยืดหยุ่น และยึดกับผิวของไม้ได้ดี
สำหรับพื้นผิวที่ที่มีสภาพเป็นด่างและมีรูพรุน สีรองพื้นที่ใช้กับวัสดุประเภทนี้ต้องทนด่าง และสามารถอุดพื้นผิวส่วนที่เป็นรูพรุนได้ คือ ทำหน้าที่เป็นทั้งสารกันซึมและสีรองพื้น ซึ่งการทำหน้าที่เป็นสารกันซึมที่ดีต้องมีสารยึดที่ดีซึ่งได้จากน้ำมันวาร์นิช หรือโพลิเมอร์สังเคราะห์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง สำหรับโพลิเมอร์ที่ใช้เป็นสารยึดได้แก่ ฟีนอลิกเรซิน ยางคลอรีเนเตด   ไวนิลอิมัลชัน และสไตรีน– บิวตะไดอีนโคโพลิเมอร์ เป็นต้น
สำหรับเหล็กและเหล็กกล้า  		โลหะเหล็กเกิดการกัดกร่อนได้ เมื่อสัมผัสกับน้ำ ออกซิเจน เกลือกรดหรือด่างที่มีอยู่ในบรรยากาศ การกัดกร่อนเกิดขึ้นได้เมื่อจุ่มหรือแช่ในของเหลวเป็นเวลานานๆ เมื่อเกิดการกัดกร่อนเป็นสนิมจะใช้งานไม่ได้ จึงต้องมีการเคลือบผิวก่อนใช้งาน การเคลือบผิวหน้าด้วยสังกะสี ดีบุก และแคดเมียม จะให้ผลดีเนื่องจากความชื้นและออกซิเจนไม่สามารถซึมผ่านเข้าไปได้ สีรองพื้นสำหรับเหล็ก เช่น บลาสต์ไพรเมอร์    วอชไพรเมอร์ ซิงก์ริซไพรเมอร์
สตอปเปอร์ และ ฟิลเลอร์ (Stoppers and Fillers) สตอปเปอร์เป็นสารที่ใช้อุดรอยแตก หลุม และรอยเว้าลึกๆ โดยการใช้เกรียงปาดไปบนพื้นผิววัสดุที่ต้องการอุด มีลักษณะเป็นสารข้นและเหนียวและต้องไม่หดตัวเมื่อแห้ง การเตรียมสตอปเปอร์ สามารถทำได้โดยการนำเรซินชนิด short-oil มาบดผสมกับผงสีด้วย ลูกบดหรือลูกกลิ้ง ฟิลเลอร์หมายถึง สีที่ใช้อุดรูเล็กๆ โดยใช้แปรง หรือโดยการพ่น เพื่อให้พื้นผิวที่จะเคลือบเรียบสม่ำเสมอ ฟิลเลอร์จะให้ฟิล์มที่แข็งแรงและสามารถถูหรือขัดออกเพื่อให้ผิวเรียบได้ง่าย นอกจากนี้ฟิล์มที่ได้ยังมีความยืดหยุ่น จึงเป็นการช่วยเสริมการยึดเกาะของสีชั้นถัดไป มีองค์ประกอบเหมือนกับสตอปเปอร์แต่ต่างกันตรงที่ฟิลเลอร์จะมีปริมาณของตัวกลางหรือสารยึดมากกว่า และมีผงน้อยกว่า
สีชั้นล่าง (Undercoats)  	เป็นสีที่ใช้เคลือบบนผิวหลังจากการรองพื้นหรืออุดรูมาแล้ว หรือใช้เคลือบหลังจากการเตรียมพื้นที่ผิวที่เคลือบมาก่อนแล้วและก่อนการเคลือบชั้นสุดท้าย สีชั้นล่างควรมีความสามารถในการปิดบังผิวหน้าดี มีสีเดียวกับชั้นสุดท้ายและเข้ากันได้กับสีชั้นอื่น
สีทับหน้า (Topcoats or Finishing coats) 1.สีทับหน้าเพื่อการตกแต่ง เช่น สีทับหน้าจากอัลคิดเรซิน  สีทับหน้าชนิดกึ่งเงา  2. สีทับหน้าสำหรับวัสดุโครงสร้างทางวิศวกรรม  		วัสดุโครงสร้างทางวิศวกรรม เช่น สะพาน ท่อส่งน้ำมัน จะต้องสัมผัสกับบรรยากาศภายนอกต่างๆ กันเช่น น้ำทะเล หรือบรรยากาศ บริเวณโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดเวลา ดังนั้น สีทับหน้าต้องมีความทนทานต่อมลภาวะสูง เช่น สีเมซันรี  ,สีทับหน้าจากยางคลอริเนเตด 3.สีทับหน้าสำหรับงานอุตสาหกรรม
สีอิมัลชัน (Emulsion Paints) หมายถึง สีที่มีสิ่งนำสีเป็นอิมัลชันของสารยึดกับน้ำ อาจเรียกอิมัลชันว่า สีลาเทกซ์ (Latex paint) หรือสีน้ำพลาสติก (plastic paint) สมบัติของสีอิมัลชัน 1.สามารถทำเจอืจางหรือเหลวได้ 2.ทาง่าย เนื่องจากมีอนุภาคเล็ก 3.แห้งเร็ว เกิดเป็นฟิล์มที่ไม่หลุดง่าย 4.ทาได้เรียบโดยง่าย แม้ในผิวที่มีรูพรุน 5.ทนด่างได้ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สไตรีน– บิวตะไดอีนลาเทกซ์ และอะคริริกลาเทกซ์
น้ำมัน (Oils)  ถูกนำมาใช้เป็นสารยึดในอุตสาหกรรมเคลือบผิว น้ำมันที่ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบผิว ได้มาจาก 2 แหล่งใหญ่ คือ น้ำมันพืช และน้ำมันจากทะเล องค์ประกอบของน้ำมัน  น้ำมันเป็นสารประกอบไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride)
น้ำมันที่ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบผิว น้ำมันลิดสีด (Linseed Oil) น้ำมันทัง (Tung Oil) ฟิล์มที่ได้จากน้ำมันทังจะแห้งเร็วกว่าฟิล์มจากน้ำมันลินสีด แต่ฟิล์มที่ได้มีลักษณะย่น น้ำมันโออิทิซิกา (Oiticica Oil) แห้งแบบเดียวกับน้ำมันทัง ได้ฟิล์มลักษณะย่นและมีคุณภาพด้อยกว่าฟิล์มที่ได้จากน้ำมันทัง น้ำมันละหุ่งที่ถูกขจัดน้ำออก(Dehydrated Castor Oil, DCO) มักแห้งตัวเป็นฟิล์มย่น แต่ไม่มากเท่าน้ำมันทังซึ่งสามารถแก้ปัญหาการเกิดเป็นฟิล์มย่นนี้ได้โดยการเลือกใช้สารเร่งแห้งให้เหมาะสม
น้ำมันทอลล์ (Tall oil) นำมาใช้เป็นเป็นส่วนประกอบในการผลิตอัลคิดเรซินเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้นำมาใช้ทำสีเข้มๆและหมึกพิมพ์ น้ำมันปลา (Fish Oil) เป็นที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบผิวแต่จะมีกลิ่นคาวเพราะมีโปรตีนจากเนื้อปลาปนอยู่ น้ำมันข้น (Bodied Oil) การใช้มักนำมาผ่านกระบวนการบางอย่าง เพื่อสมบัติดีขึ้นเสียก่อน แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้คือ - สแตนด์ออยล์ (Stand Oil) มักใช้เคลือบป้องกันไม้และโลหะ เนื่องจากมีสมบัติการไหลและทนน้ำดี และให้ฟิล์มที่มีความเงา - น้ำมันเป่าอากาศ (Blown Oil) - น้ำมันต้ม (Boiled Oil) ไม่ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบผิวแต่ใช้เป็นเอกซ์เทนเดอร์สำหรับยาง
เรซินธรรมชาติ (Natural Resins) เป็นของเหลวที่ปลดปล่อยออกมาจากเปลือกไม้หรือต้นหรือสัตว์ เป็นสารโพลิเมอร์หรือสารที่มีโมเลกุลค่อนข้างใหญ่ แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ ซากดึกดำบรรพ์ (fossil) ซากกึ่งดึกดำบรรพ์ (semi-fossil) และเรซินใหม่ (recent resins )  ชันสน (Rosin or Colophony) นับว่าเป็นวัตถุดิบที่สำคัญตัวหนึ่งในอุตสาหกรรมเคลือบผิว เรซินธรรมชาติอื่นๆ 1.อำพัน (Amber) เป็นดึกดำบรรพ์ มีความแข็งและเสถียร 2.แดมมาร์ (Dammar) จัดเป็นเรซินใหม่ที่อ่อนนิ่ม มักใช้ผสมในไตรเซลลูโลสแลกเกอร์ 3.แมสติก (Mastic) ใช้ในอุตสาหกรรมการพิมพ์ 4.แซนดาแรก (Sandarac) ใช้ทำวาร์นิชสำหรับภาพเขียน เนื่องจากฟิล์มที่ได้มีความแข็งแรงและสุกใส
เรซินสังเคราะห์ (Synthesis Resins) อัลคิดเรซิน (Alkyd Resins) เป็นที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบผิวมากที่สุด เนื่องจากมีสมบัติดังนี้ 1. มีสมบัติในการทำให้เปียก 2. ราคาถูก 3. คงทนดีมาก 4. อ่อนตัว ไม่เปราะ 5. รักษาความเงาของฟิล์มได้ดี 6. ทนต่อความร้อนและตัวทำละลาย องค์ประกอบของอัลคิดเรซิน 	เป็นโพลิเอสเตอร์ที่ได้จากปฏิกิริยาระหว่างโพลิไฮดริกแอลกอฮอล์กับกรดไดหรือโพลิเบสิก
ฟีนอลิกเรซิน (Phenolic Resins) เป็นโพลิเมอร์สังเคราะห์ชนิดแรกที่ผลิตขึ้นในทางการค้า มีสมบัติเป็นฉนวนยอดเยี่ยม ทนต่อความร้อน ความชื้น เคมีภัณฑ์ต่างๆ และทนการกัดกร่อนได้อย่างดี อีพอกซีเรซิน (Epoxy Resins)เป็นเรซินที่ใช้ประโยชน์ได้มากในทางอุตสาหกรรมเนื่องจากมีสมบัติต่างๆ ดังนี้ 1.ทนทานเคมีภัณฑ์ต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อด่างทั้งหลาย 2. ยึดกับผิวหน้าต่างๆได้ดี 3. มีความแข็งแรง และอ่อนตัวไม่เปราะ
ข้อบกพร่องที่เกิดกับสารเคลือบผิว มีสาเหตุดังนี้ การเตรียมพื้นผิววัสดุที่ต้องการเคลือบยังไม่ดีพอ เช่น พื้นผิวไม่สะอาด หรือแห้งไม่สนิท ใช้เทคนิคหรือกรรมวิธีการเคลือบไม่ถูกต้อง ทำการเคลือบภายใต้สภาวะที่ไม่เหมาะสม เช่น อุณหภูมิต่ำเกินไป ความชื้นสูงเกินไป เคลือบผิวหนาหรือบางเกินไป เลือกใช้สารเคลือบผิวที่ไม่เหมาะกับพื้นผิววัสดุ เลือกใช้วัตถุดิบที่ไม่เหมาะสมกับชนิดของสารเคลือบผิว
ลักษณะข้อบกพร่องที่เกิดกับสารเคลือบผิว การเป็นฝ้า : ลักษณะมัวคล้ายหมอก เกิดขึ้นบนผิวของฟิล์มของสีเคลือบ ทำให้เกิดการตกตะกอน ทำให้ความเงาลดลง กำจัดได้โดย ใช้ผ้าเปียกเช็ด และป้องกันการเกิดฝ้าโดยใส่แคลเซียมแนฟทีเนตลงในสารเคลือบผิว ความด้าน (Blushing) : ลักษณะทึบแสงของฟิล์มแลกเกอร์ที่กำลังแห้ง เกิดจากการตกตะกอนส่วนที่เป็นของแข็งของผลิตภัณฑ์ ความด้านมี 2 แบบ คือ ความด้านเนื่องจากความชื้น สาเหตุมาจากความชื้นสูง และ ความด้านเนื่องจากกัม สาเหตุมาจากใช้สารละลายไม่ถูกต้อง  การพอง (Blistering) : เป็นการพองฟิล์มของสีที่แห้งแล้ว การพองจะเกิดกับสีสำหรับการตกแต่งที่ทำมาจาก Epoxy ester , Alkyl resin
ความต้านแปรง : ความต้านทานของสีต่อขนแปรงเมื่อทาสีด้วยแปรง ความต้านแปรงมีสาเหตุจากความหนืดของสีสูงเกินไป แก้ไขโดยการเติมทินเนอร์จะช่วยลดความหนืด รอยแปรง : ริ้วในฟิล์มของสีแห้งอยู่หลังการทาสีด้วยแปรง มีสาเหตุมาจากสีมีสมบัติไหลไม่ดี  การเป็นฝุ่น : ผิวหน้าของฟิล์มเป็นฝุ่นเนื่องมาจากการเสื่อมคุณภาพ หรือการสลายตัวของสารยึดทำปฏิกิริยากับอากาศ รอยแตก : เกิดการแยกตัวเนื่องจากสารเคลือบผิวไม่สามารถขยายตัวและหดตัวได้
การย้อย : ฟิล์มสารเคลือบผิวไหลลงมาระหว่างทำการเคลือบและเกิดการแข็งตัว ทำให้ผิวไม่สม่ำเสมอ  การเกิดรอยย่น : เนื่องมาจากผิวฟิล์มแห้งไม่สม่ำเสมอ มีสาเหตุมาจาก สารเคลือบผิวมีสารเร่งแห้งมากเกินไป หรือเคลือบหนาไป การขึ้นเหลือง : พบกับฟิล์มของสีขาวที่ตั้งทิ้งไว้นานๆ  ซึ่งการเหลืองจะเกิดเร็วยิ่งขึ้น ถ้าบรรยากาศมีแอมโมเนียอยู่
แหล่งอ้างอิง http://seasunresin.wordpress.com

Contenu connexe

En vedette

AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfAI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfmarketingartwork
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024Neil Kimberley
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)contently
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024Albert Qian
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsKurio // The Social Media Age(ncy)
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Search Engine Journal
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summarySpeakerHub
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Tessa Mero
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentLily Ray
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best PracticesVit Horky
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementMindGenius
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...RachelPearson36
 
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Applitools
 
12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at WorkGetSmarter
 

En vedette (20)

AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfAI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
 
Skeleton Culture Code
Skeleton Culture CodeSkeleton Culture Code
Skeleton Culture Code
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
 
How to have difficult conversations
How to have difficult conversations How to have difficult conversations
How to have difficult conversations
 
Introduction to Data Science
Introduction to Data ScienceIntroduction to Data Science
Introduction to Data Science
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best Practices
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project management
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
 
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
Unlocking the Power of ChatGPT and AI in Testing - A Real-World Look, present...
 
12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work12 Ways to Increase Your Influence at Work
12 Ways to Increase Your Influence at Work
 
ChatGPT webinar slides
ChatGPT webinar slidesChatGPT webinar slides
ChatGPT webinar slides
 
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike RoutesMore than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
More than Just Lines on a Map: Best Practices for U.S Bike Routes
 

กาวและสารเคลือบผิว.Pptx

  • 2. สมาชิก นางสาว ติยพร ชูโฉม รหัสนักศึกษา 5211010035 นางสาว ธญวรรณตัณตรีบูรณ์ รหัสนักศึกษา 5211010040 นางสาว มณีกานต์ นะนิล รหัสนักศึกษา 5211010078 นางสาว เสาวลักษณ์ ดิลกสิริพานิช รหัสนักศึกษา 5211010138 นางสาว อนันตญา ณ ตะกั่วทุ่ง รหัสนักศึกษา 5211010141
  • 3. กาว เป็นสารที่ใช้ในการเชื่อมผิววัสดุเข้าด้วยกัน อาจเป็นสารอินทรีย์หรืออนินทรีย์ก็ได้ โดยอาศัย surface adhesion และ internal strength และโครงสร้างของผิววัสดุนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ทฤษฎีการยึดติดกันมีหลายทฤษฎี เช่น Diffusion Theory, Adsorption Theory ขึ้นอยู่กับแรงโมเลกุล เช่น แรงแวนเดอร์วาล์ว และช่องว่างระหว่างโมเลกุลของวัสดุ Electrostatic Theory, Surface Energentics and Wettability Theory เป็นต้น
  • 4. โครงสร้างของกาว อาทิเช่น กาวใส มีส่วนประกอบหลักคือน้ำ และโพลิไวนิลอัลกอฮอล์ (poly(vinylalcohol), PVOH) ซึ่งเป็นโพลิเมอร์ สังเคราะห์ (synthetic polymer) ที่มีโครงสร้างทางเคมีเป็นสายโซ่ตรงยาวๆ หากสังเกตที่โครงสร้างทางเคมีของกาวชนิดนี้จะเห็นว่ามีหมู่ไฮดรอกซิล (OH group) ติดอยู่กับโครงสร้างหลักของสายโซ่โพลิเมอร์อยู่มาก จึงทำให้โพลิเมอร์ชนิดนี้ละลายน้ำได้ดี อนุภาคของโพลิเมอร์ในสารละลายมีขนาดเล็กมากซึ่งแสงสามารถส่องผ่านสารละลายได้ ทำให้กาวมีลักษณะเป็นของเหลวใส
  • 5. กาวลาเทกส์ มีส่วนประกอบสำคัญคือ   โพลิไวนิลอะซิเทต (PVAC)  ซึ่งเป็นโพลิเมอร์สังเคราะห์อีกชนิดหนึ่งที่มีสายโซ่ยาว แต่ละลายน้ำได้ไม่ดีนัก เมื่ออยู่ในน้ำจึงอยู่ในลักษณะของสารอีมัลชัน (emulsion) คือเป็นอนุภาคเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไปในน้ำ ขนาดของอนุภาคในสารอีมัลชันมีขนาดใหญ่เกินไปกว่าที่จะทำให้แสงส่องผ่านไปได้ ดังนั้นเมื่อมีแสงตกกระทบกับอนุภาคของกาวจึงเกิดการหักเห และสะท้อนกลับ ทำให้กาวลาเทกส์มีลักษณะเป็นสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนม  หรือน้ำยางซึ่งมีอนุภาคเล็กๆของโปรตีน และเนื้อยางกระจายอยู่ทั่วไปในน้ำตามลำดับเช่นกัน แต่เมื่อกาวลาเทกส์แห้งก็จะมีลักษณะใสเหมือนกาวใส
  • 6. ประเภทของกาว อาจแบ่งตามการใช้งาน สารที่ใช้ผลิต ราคา และความคงตัวของกาว เป็นต้น โดยทั่วไปมักแบ่งกาวออกเป็น 2 ชนิด คือ กาวที่ทำมาจากธรรมชาติ กาวที่มาจากการสังเคราะห์
  • 7. กาวจากธรรมชาติ กาวจากน้ำยางธรรมชาติ ส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมรองเท้าและการบรรจุ กาวจากน้ำยางธรรมชาติดีกว่ากาวจากสารละลายเนื่องจาก มีต้นทุนต่ำกว่า ไม่ติดไฟ ไม่มีสารละลายที่เป็นพิษและทนต่อการบ่มเร่งได้ดีกว่า กาวที่ได้จากพืชได้แก่ ยางเหนียวของต้นไม้และแป้ง รากของต้นมันสำปะหลังที่เป็นแป้ง แป้งข้าวโพดและแป้งจากมันฝรั่งใช้เป็นตัวประสานในไม้อัด เกรดต่ำ
  • 8. กาวสังเคราะห์ อาทิเช่น กาวนีโอพรีน เป็น กาวอเนกประสงค์ ใช้ยิดติดพื้นยางวัลคาไนซ์ หนังแท้ ผ้ายีนส์ ผ้าใบ ผ้าพีวีซี หรือพียู โฟมอีวีเอ หนังเทียมชนิดต่าง ๆ และวัสดุที่มีรูพรุน เช่น ส้นไม้ และผ้าอัด เป็นต้น บางชนิดเป็นกาวนีโอพรีนที่มีความเหนียวข้นสูง สารละลายมีเนื้อเดียวกันไม่มีการแยกชั้น หรือเปลี่ยนสี ใช้ยึดติดวัสดุประเภทต่าง ๆ สำหรับอุตสาหกรรมรองเท้า ที่ต้องการความแข็งแรงในการยึดติดสูง กับวัสดุหน้าผ้าชนิดต่าง ๆ ให้ผลการยึดติดสมบูรณ์ และแข็งแรง กาวไม่ร่อน
  • 9. กาวกราฟท์ เป็นกาวสังเคราะห์ที่นิยมกันแพร่หลายทั่วไปในอุตสาหกรรมรองเท้าเป็นกาวที่มีคุณสมบัติพิเศษ สามารถทนความร้อนได้สูง สำหรับยึดติดพื้นรองเท้า เช่น โฟมอีวีเอ ยางวัลคาไนซ์ พีวีซี-พียู ยางนีโอไลท์ หนังและพื้นวัสดุสังเคราะห์เข้ากับวัสดุหน้าผ้า เช่น หนัง ผ้าใบ เส้นใย และหนังเทียม กาวพียู เตรียมขึ้นจากสารอะโรมาติก พอลิเอสเทอร์ พอลิยูริเทน ภายใต้การควบคุมสภาวะการผลิต จึงเหมาะสมสำหรับใช้ยึดติดหน้าผ้าพีวีซี หรือพียู ยาง ทีพีอาร์โฟมอีวีเอ พื้นยางวัลคาไนซ์ หนังแท้ ผ้าแฟล็กซ์ พื้นยางธรรมชาติ ส้นไม้ และผ้าใบ เป็นต้น
  • 10. กาวพีวีซี เป็น กาวสังเคราะห์ที่ใช้ยึดติดหนังเทียมชนิดต่าง ๆ พื้นพีวีซี พียู ให้การยึดติดแน่นถาวร ทนต่อความร้อน สารเคมี น้ำมันและพลาสติกไซเซอร์ได้ดี หลังจากการใช้งานจะให้ฟิล์ม กาวโปร่งใส ทำความสะอาดง่าย เหมาะสมในการผลิต รองเท้าที่ทำมาจากวัสดุสังเคราะห์ เช่น พีวีซี และพียู เป็นต้น กาวพ่น เป็น กาวยางนีโอพรีนชนิดพ่น เหมาะสำหรับใช้งานสารพัดประโยชน์ มีคุณสมบัติสามารถใช้เชื่อมติดกับไม้ คอนกรีต โลหะ หนังเทียม หนังแท้ เหมาะสำหรับใช้ในกระบวนการผลิตเฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ประกอบรถยนต์ เครื่องหนัง และรองเท้า สามารถใช้ในงานยึดติดหนังเทียมพีวีซี หนังเทียมพียู กับฟองน้ำ ผ้าทุกชนิด หนังแท้ ใยแก้วไฟเบอร์ แผ่นยาง และฉนวนกันความร้อนทุกประเภท
  • 11. ประเภทของกาวแบ่งตามโครงสร้าง กาวพวกแรก เป็นพวกที่มีสายโซ่ของโมเลกุลยาวอยู่แล้ว แต่จะละลายหรือแขวนลอยอยู่ในตัวทำละลาย อย่างเช่น กาวน้ำ กาวลาเทกซ์ หรือกาวยาง กาวพวกนี้ต้องรอให้ตัวทำละลายแห้งออกไปหมดเสียก่อน จึงจะแข็งและยึดติดมีจุดเด่นคือ ราคาถูก ใช้งานง่าย แต่มีจุดอ่อนคือ ไม่แข็งแรงมากนัก ไม่ทนความร้อน  กาวพวกที่สอง เป็นพวกที่เริ่มจากโมเลกุลเล็ก ๆ ซึ่งอาจจะเป็นโมโนเมอร์ตัวเดียว หรือไม่กี่ตัวมาต่อกัน (เรียกว่า พรีโพลิเมอร์ หรือ prepolymer) กาวแบบนี้จะใช้ปฏิกิริยาเคมีเพื่อทำให้ได้สายโซ่ยาว ตัวอย่างที่รู้จักกันดีก็คือ กาวตราช้าง (cyanoacrylate) ตอนที่กาวตราช้างอยู่ในหลอดจะเป็นของเหลวใสไหลไปมาได้ง่าย แต่พอบีบออกมา กาวจะแข็งตัวเนื่องจากโดนความชื้น โดยความชื้นนี่เองที่จะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ทำให้โมเลกุลเล็ก ๆ มาต่อกันเป็นสายโซ่ยาว ๆ ทำให้กาวตราช้างใช้ติดวัตถุได้หลายชนิด เพราะว่าที่ผิวของวัตถุมักจะมีความชื้นเสมอ ข้อดีคือ แข็งตัวเร็ว และยึดติดได้แน่นมาก
  • 12. ส่วนกาวในพวกที่สองอีกแบบหนึ่ง เรียกว่า กาวอีพ็อกซี (epoxy) จะมี 2 หลอด หลอดหนึ่งมีชื่อเรียกว่า เรซิน (resin) ส่วนอีกหลอดหนึ่งเรียกว่า ตัวทำให้แข็ง ถ้าใช้แค่หลอดเดียวจะไม่เหนียว ต้องใช้ 2 หลอดผสมกันอย่างเหมาะสม เพราะว่า สารเคมีในหลอดแรกที่เรียกว่า เรซินนั้น มีโครงสร้างโมเลกุลเป็นสายโซ่สั้น ๆ ซึ่งยังไม่เป็นกาวแข็ง แต่ถ้าเติมตัวทำให้แข็งเข้าไป ตัวทำให้แข็งก็จะไปยึดสายโซ่สั้น ๆ เข้าด้วยกัน ทำให้ได้โมเลกุลใหญ่คล้ายร่างแห ส่งผลให้กาวอีพ็อกซีแข็งแรงมาก มีจุดเด่นคือ แข็งแรงมาก แถมยังทนความร้อนและสารละลายได้ดีอีกต่างหาก แต่จุดอ่อนก็คือ ราคาแพง
  • 13. กาวพวกที่สาม จะมาในรูปของแข็งเป็นแท่งพลาสติกยาว ๆ และต้องใช้ปืนที่ให้ความร้อนทำให้หลอม กาวพวกนี้เริ่มต้นก็เป็นสายโซ่ยาว ๆ แต่เนื่องจากไม่มีตัวทำละลายจึงมีสภาพเป็นของแข็ง เวลาจะใช้ก็จะต้องให้ความร้อนทำให้กาวหลอม เหลวแล้วปล่อยให้เย็นตัวแข็งใหม่อีกครั้ง ตัวอย่างในเชิงพาณิชย์ก็เช่น กาวแท่งโพลิเอไมด์ และกาวแท่งโพลิเอทิลีนไวนิลอะซิเทต มีจุดเด่นคือ ไม่ค่อยหดตัว แต่มีจุดอ่อนคือ ไม่ทนความร้อน
  • 14. การนำไปใช้งาน กาวธรรมชาติจะมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่ากาวสังเคราะห์ ในการใช้งานกาวขึ้นอยู่กับวัสดุที่ต้องการนำไปติด จะเลือกกาวให้เหมาะสมกับชิ้นงาน และให้งานนั้นมีประสิทธิภาพ รวมทั้งประหยัดเวลา และวัสดุนั้นยึดติดกันได้นานอีกด้วย เช่น กาวชนิดแห้ง ได้แก่ กาวขาว และ rubber glue เหมาะกับงานที่ใช้ตามบ้านเรือน เช่น ไม้ กระดาษเอกสาร ผ้า หนังสัตว์ กาวเหลือง เหมาะกับการติดไม้ และผลิตภัณฑ์จากไม้ กาวแท่งหรือ Hot Melt Adhesive เหมาะกับงาน โลหะ ผ้า พลาสติก กระเบื้องเคลือบ กาวเคลือบผิว ใช้สำหรับพลาสติกแผ่น และไม้อัด กาวอีพอกซี่ (Epoxy) สำหรับ โลหะ เครื่องแก้ว กระเบื้องเคลือบ หินอ่อน เป็นต้น
  • 16. กาวพลังช้าง : แก้ว เซรามิกส์ พลาสติก โลหะ กาวอีพ็อกซี : ไม้ โลหะ แก้ว พลาสติก  กาวปืนซิลิโคน : ไม้ พลาสติก แก้ว  
  • 17. สารเคลือบผิว วัตถุประสงค์ของสารเคลือบผิว เพื่อป้องกันพื้นผิววัสดุจากมลภาวะต่างๆ สารเคลือบผิวจะช่วยให้ผิวของวัสดุที่ถูกเคลือบมีความทนทานต่ออากาศ น้ำ และสารเคมีต่างๆ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผิวหน้าของวัสดุที่ถูกเคลือบมีความแข็งแรงขึ้น ทนทานต่อการขัดสีได้มากขึ้น และอายุการใช้งานมากขึ้น เพื่อตกแต่งให้แลดูสวยงาม ความสวยงามของวัสดุหลังจากการเคลือบผิวออกมาจากสี จากความเงา จากลวดลายตกแต่ง หรือจากความสว่างหรือจากทั้งหมดรวมกัน
  • 18. ประเภทของสารเคลือบผิว แบ่งเป็น 3 ประเภท สี (Paint) หมายถึง สารที่มีส่วนผสมของผงสี (Pigment) สารยึด(Binder) หรือสิ่งนำสี(vehicle) ตัวทำละลาย (solvent) สารเติมแต่ง (additives) วาร์นิช (Varnish) คือ สารเคลือบผิวที่ประกอบไปด้วยสารยึดเพียงอย่างเดียว แลกเกอร์ (Lacquer) ได้แก่ สารละลายซึ่งได้จากการนำเรซินหรือสารยึดมาละลายในตัวทำละลายอินทรีย์
  • 19. ยกตัวอย่างเช่น สารกันซึม(Sealers) สารกันซึมใช้เคลือบผิวหน้าวัสดุที่มีรูพรุนสูง หรือใช้เคลือบวัสดุที่ปล่อยสารบางประเภทออกมาซึ่งจะมีผลทำให้ฟิล์มของสีเสียหายได้ ตัวอย่างของวัสดุที่มีรูพรุนสูงได้แก่ ใยหิน (asbestos) ปลาสเตอร์ และไม้อัด ซึ่งไม้มักปล่อยเรซินบางประเภทไหลซึมออกมาจากตาไม้ (knot) ทำให้ฟิล์มของสีที่เคลือบอยู่นิ่มและเกิดการเปลี่ยนสี ซึ่งแก้ไขได้โดยใช้สารกันซึมเคลือบที่ผิวหน้าวัสดุก่อน สารกันซึมที่ใช้นี้มักเป็นสารละลายของเชลแลกในเมทิลเลเตดสปิริต และเรียกกันว่า ‘knotting’
  • 20. สีรองพื้น(Primers) สำหรับไม้ แบ่งเป็น 4 ชนิด 1.สีรองพื้นตะกั่ว เป็นที่นิยมใช้ในสมัยแรก เรียกกันว่า ‘pink primer’ ทำจากของผสมระหว่างน้ำมัน ตะกั่วแดง และตะกั่วขาว แต่เนื่องจากเป็นพิษจึงมีการใช้น้อยลง 2.สีรองพื้นไร้ตะกั่ว (Leadless Primer) มักทำจากน้ำมันวาร์นิช โพลิยูทีรีน หรือ อัลคิดเรซิน และนำมาผสมกับผงสีที่ไม่เป็นพิษ 3.สีรองพื้นจากอะลูมิเนียม (Aluminium Primer) โดยมีข้อดี คือ ป้องกันความชื้นได้ดีเนื่องจากผลอะลูมิเนียมมีมีรูปร่างของอนุภาคเป็นแผ่นเล็ก และยังช่วยเสริมแรงให้กับฟิล์มอีกด้วย 4.สีรองพื้นอิมัลชัน (Emulsion Primer) เป็นการนำสีอิมัลชันที่ทำจากอะคริลิกเรซินมาใช้ทำเป็นสีรองพื้นสำหรับไม้ มีข้อดีคือ ไม่เป็นพิษ ฟิล์มที่ได้มีความยืดหยุ่น และยึดกับผิวของไม้ได้ดี
  • 21. สำหรับพื้นผิวที่ที่มีสภาพเป็นด่างและมีรูพรุน สีรองพื้นที่ใช้กับวัสดุประเภทนี้ต้องทนด่าง และสามารถอุดพื้นผิวส่วนที่เป็นรูพรุนได้ คือ ทำหน้าที่เป็นทั้งสารกันซึมและสีรองพื้น ซึ่งการทำหน้าที่เป็นสารกันซึมที่ดีต้องมีสารยึดที่ดีซึ่งได้จากน้ำมันวาร์นิช หรือโพลิเมอร์สังเคราะห์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง สำหรับโพลิเมอร์ที่ใช้เป็นสารยึดได้แก่ ฟีนอลิกเรซิน ยางคลอรีเนเตด ไวนิลอิมัลชัน และสไตรีน– บิวตะไดอีนโคโพลิเมอร์ เป็นต้น
  • 22. สำหรับเหล็กและเหล็กกล้า โลหะเหล็กเกิดการกัดกร่อนได้ เมื่อสัมผัสกับน้ำ ออกซิเจน เกลือกรดหรือด่างที่มีอยู่ในบรรยากาศ การกัดกร่อนเกิดขึ้นได้เมื่อจุ่มหรือแช่ในของเหลวเป็นเวลานานๆ เมื่อเกิดการกัดกร่อนเป็นสนิมจะใช้งานไม่ได้ จึงต้องมีการเคลือบผิวก่อนใช้งาน การเคลือบผิวหน้าด้วยสังกะสี ดีบุก และแคดเมียม จะให้ผลดีเนื่องจากความชื้นและออกซิเจนไม่สามารถซึมผ่านเข้าไปได้ สีรองพื้นสำหรับเหล็ก เช่น บลาสต์ไพรเมอร์ วอชไพรเมอร์ ซิงก์ริซไพรเมอร์
  • 23. สตอปเปอร์ และ ฟิลเลอร์ (Stoppers and Fillers) สตอปเปอร์เป็นสารที่ใช้อุดรอยแตก หลุม และรอยเว้าลึกๆ โดยการใช้เกรียงปาดไปบนพื้นผิววัสดุที่ต้องการอุด มีลักษณะเป็นสารข้นและเหนียวและต้องไม่หดตัวเมื่อแห้ง การเตรียมสตอปเปอร์ สามารถทำได้โดยการนำเรซินชนิด short-oil มาบดผสมกับผงสีด้วย ลูกบดหรือลูกกลิ้ง ฟิลเลอร์หมายถึง สีที่ใช้อุดรูเล็กๆ โดยใช้แปรง หรือโดยการพ่น เพื่อให้พื้นผิวที่จะเคลือบเรียบสม่ำเสมอ ฟิลเลอร์จะให้ฟิล์มที่แข็งแรงและสามารถถูหรือขัดออกเพื่อให้ผิวเรียบได้ง่าย นอกจากนี้ฟิล์มที่ได้ยังมีความยืดหยุ่น จึงเป็นการช่วยเสริมการยึดเกาะของสีชั้นถัดไป มีองค์ประกอบเหมือนกับสตอปเปอร์แต่ต่างกันตรงที่ฟิลเลอร์จะมีปริมาณของตัวกลางหรือสารยึดมากกว่า และมีผงน้อยกว่า
  • 24. สีชั้นล่าง (Undercoats) เป็นสีที่ใช้เคลือบบนผิวหลังจากการรองพื้นหรืออุดรูมาแล้ว หรือใช้เคลือบหลังจากการเตรียมพื้นที่ผิวที่เคลือบมาก่อนแล้วและก่อนการเคลือบชั้นสุดท้าย สีชั้นล่างควรมีความสามารถในการปิดบังผิวหน้าดี มีสีเดียวกับชั้นสุดท้ายและเข้ากันได้กับสีชั้นอื่น
  • 25. สีทับหน้า (Topcoats or Finishing coats) 1.สีทับหน้าเพื่อการตกแต่ง เช่น สีทับหน้าจากอัลคิดเรซิน สีทับหน้าชนิดกึ่งเงา 2. สีทับหน้าสำหรับวัสดุโครงสร้างทางวิศวกรรม วัสดุโครงสร้างทางวิศวกรรม เช่น สะพาน ท่อส่งน้ำมัน จะต้องสัมผัสกับบรรยากาศภายนอกต่างๆ กันเช่น น้ำทะเล หรือบรรยากาศ บริเวณโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดเวลา ดังนั้น สีทับหน้าต้องมีความทนทานต่อมลภาวะสูง เช่น สีเมซันรี ,สีทับหน้าจากยางคลอริเนเตด 3.สีทับหน้าสำหรับงานอุตสาหกรรม
  • 26. สีอิมัลชัน (Emulsion Paints) หมายถึง สีที่มีสิ่งนำสีเป็นอิมัลชันของสารยึดกับน้ำ อาจเรียกอิมัลชันว่า สีลาเทกซ์ (Latex paint) หรือสีน้ำพลาสติก (plastic paint) สมบัติของสีอิมัลชัน 1.สามารถทำเจอืจางหรือเหลวได้ 2.ทาง่าย เนื่องจากมีอนุภาคเล็ก 3.แห้งเร็ว เกิดเป็นฟิล์มที่ไม่หลุดง่าย 4.ทาได้เรียบโดยง่าย แม้ในผิวที่มีรูพรุน 5.ทนด่างได้ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สไตรีน– บิวตะไดอีนลาเทกซ์ และอะคริริกลาเทกซ์
  • 27. น้ำมัน (Oils) ถูกนำมาใช้เป็นสารยึดในอุตสาหกรรมเคลือบผิว น้ำมันที่ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบผิว ได้มาจาก 2 แหล่งใหญ่ คือ น้ำมันพืช และน้ำมันจากทะเล องค์ประกอบของน้ำมัน น้ำมันเป็นสารประกอบไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride)
  • 28. น้ำมันที่ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบผิว น้ำมันลิดสีด (Linseed Oil) น้ำมันทัง (Tung Oil) ฟิล์มที่ได้จากน้ำมันทังจะแห้งเร็วกว่าฟิล์มจากน้ำมันลินสีด แต่ฟิล์มที่ได้มีลักษณะย่น น้ำมันโออิทิซิกา (Oiticica Oil) แห้งแบบเดียวกับน้ำมันทัง ได้ฟิล์มลักษณะย่นและมีคุณภาพด้อยกว่าฟิล์มที่ได้จากน้ำมันทัง น้ำมันละหุ่งที่ถูกขจัดน้ำออก(Dehydrated Castor Oil, DCO) มักแห้งตัวเป็นฟิล์มย่น แต่ไม่มากเท่าน้ำมันทังซึ่งสามารถแก้ปัญหาการเกิดเป็นฟิล์มย่นนี้ได้โดยการเลือกใช้สารเร่งแห้งให้เหมาะสม
  • 29. น้ำมันทอลล์ (Tall oil) นำมาใช้เป็นเป็นส่วนประกอบในการผลิตอัลคิดเรซินเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้นำมาใช้ทำสีเข้มๆและหมึกพิมพ์ น้ำมันปลา (Fish Oil) เป็นที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบผิวแต่จะมีกลิ่นคาวเพราะมีโปรตีนจากเนื้อปลาปนอยู่ น้ำมันข้น (Bodied Oil) การใช้มักนำมาผ่านกระบวนการบางอย่าง เพื่อสมบัติดีขึ้นเสียก่อน แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้คือ - สแตนด์ออยล์ (Stand Oil) มักใช้เคลือบป้องกันไม้และโลหะ เนื่องจากมีสมบัติการไหลและทนน้ำดี และให้ฟิล์มที่มีความเงา - น้ำมันเป่าอากาศ (Blown Oil) - น้ำมันต้ม (Boiled Oil) ไม่ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบผิวแต่ใช้เป็นเอกซ์เทนเดอร์สำหรับยาง
  • 30. เรซินธรรมชาติ (Natural Resins) เป็นของเหลวที่ปลดปล่อยออกมาจากเปลือกไม้หรือต้นหรือสัตว์ เป็นสารโพลิเมอร์หรือสารที่มีโมเลกุลค่อนข้างใหญ่ แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ ซากดึกดำบรรพ์ (fossil) ซากกึ่งดึกดำบรรพ์ (semi-fossil) และเรซินใหม่ (recent resins ) ชันสน (Rosin or Colophony) นับว่าเป็นวัตถุดิบที่สำคัญตัวหนึ่งในอุตสาหกรรมเคลือบผิว เรซินธรรมชาติอื่นๆ 1.อำพัน (Amber) เป็นดึกดำบรรพ์ มีความแข็งและเสถียร 2.แดมมาร์ (Dammar) จัดเป็นเรซินใหม่ที่อ่อนนิ่ม มักใช้ผสมในไตรเซลลูโลสแลกเกอร์ 3.แมสติก (Mastic) ใช้ในอุตสาหกรรมการพิมพ์ 4.แซนดาแรก (Sandarac) ใช้ทำวาร์นิชสำหรับภาพเขียน เนื่องจากฟิล์มที่ได้มีความแข็งแรงและสุกใส
  • 31. เรซินสังเคราะห์ (Synthesis Resins) อัลคิดเรซิน (Alkyd Resins) เป็นที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบผิวมากที่สุด เนื่องจากมีสมบัติดังนี้ 1. มีสมบัติในการทำให้เปียก 2. ราคาถูก 3. คงทนดีมาก 4. อ่อนตัว ไม่เปราะ 5. รักษาความเงาของฟิล์มได้ดี 6. ทนต่อความร้อนและตัวทำละลาย องค์ประกอบของอัลคิดเรซิน เป็นโพลิเอสเตอร์ที่ได้จากปฏิกิริยาระหว่างโพลิไฮดริกแอลกอฮอล์กับกรดไดหรือโพลิเบสิก
  • 32. ฟีนอลิกเรซิน (Phenolic Resins) เป็นโพลิเมอร์สังเคราะห์ชนิดแรกที่ผลิตขึ้นในทางการค้า มีสมบัติเป็นฉนวนยอดเยี่ยม ทนต่อความร้อน ความชื้น เคมีภัณฑ์ต่างๆ และทนการกัดกร่อนได้อย่างดี อีพอกซีเรซิน (Epoxy Resins)เป็นเรซินที่ใช้ประโยชน์ได้มากในทางอุตสาหกรรมเนื่องจากมีสมบัติต่างๆ ดังนี้ 1.ทนทานเคมีภัณฑ์ต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อด่างทั้งหลาย 2. ยึดกับผิวหน้าต่างๆได้ดี 3. มีความแข็งแรง และอ่อนตัวไม่เปราะ
  • 33. ข้อบกพร่องที่เกิดกับสารเคลือบผิว มีสาเหตุดังนี้ การเตรียมพื้นผิววัสดุที่ต้องการเคลือบยังไม่ดีพอ เช่น พื้นผิวไม่สะอาด หรือแห้งไม่สนิท ใช้เทคนิคหรือกรรมวิธีการเคลือบไม่ถูกต้อง ทำการเคลือบภายใต้สภาวะที่ไม่เหมาะสม เช่น อุณหภูมิต่ำเกินไป ความชื้นสูงเกินไป เคลือบผิวหนาหรือบางเกินไป เลือกใช้สารเคลือบผิวที่ไม่เหมาะกับพื้นผิววัสดุ เลือกใช้วัตถุดิบที่ไม่เหมาะสมกับชนิดของสารเคลือบผิว
  • 34. ลักษณะข้อบกพร่องที่เกิดกับสารเคลือบผิว การเป็นฝ้า : ลักษณะมัวคล้ายหมอก เกิดขึ้นบนผิวของฟิล์มของสีเคลือบ ทำให้เกิดการตกตะกอน ทำให้ความเงาลดลง กำจัดได้โดย ใช้ผ้าเปียกเช็ด และป้องกันการเกิดฝ้าโดยใส่แคลเซียมแนฟทีเนตลงในสารเคลือบผิว ความด้าน (Blushing) : ลักษณะทึบแสงของฟิล์มแลกเกอร์ที่กำลังแห้ง เกิดจากการตกตะกอนส่วนที่เป็นของแข็งของผลิตภัณฑ์ ความด้านมี 2 แบบ คือ ความด้านเนื่องจากความชื้น สาเหตุมาจากความชื้นสูง และ ความด้านเนื่องจากกัม สาเหตุมาจากใช้สารละลายไม่ถูกต้อง การพอง (Blistering) : เป็นการพองฟิล์มของสีที่แห้งแล้ว การพองจะเกิดกับสีสำหรับการตกแต่งที่ทำมาจาก Epoxy ester , Alkyl resin
  • 35. ความต้านแปรง : ความต้านทานของสีต่อขนแปรงเมื่อทาสีด้วยแปรง ความต้านแปรงมีสาเหตุจากความหนืดของสีสูงเกินไป แก้ไขโดยการเติมทินเนอร์จะช่วยลดความหนืด รอยแปรง : ริ้วในฟิล์มของสีแห้งอยู่หลังการทาสีด้วยแปรง มีสาเหตุมาจากสีมีสมบัติไหลไม่ดี การเป็นฝุ่น : ผิวหน้าของฟิล์มเป็นฝุ่นเนื่องมาจากการเสื่อมคุณภาพ หรือการสลายตัวของสารยึดทำปฏิกิริยากับอากาศ รอยแตก : เกิดการแยกตัวเนื่องจากสารเคลือบผิวไม่สามารถขยายตัวและหดตัวได้
  • 36. การย้อย : ฟิล์มสารเคลือบผิวไหลลงมาระหว่างทำการเคลือบและเกิดการแข็งตัว ทำให้ผิวไม่สม่ำเสมอ การเกิดรอยย่น : เนื่องมาจากผิวฟิล์มแห้งไม่สม่ำเสมอ มีสาเหตุมาจาก สารเคลือบผิวมีสารเร่งแห้งมากเกินไป หรือเคลือบหนาไป การขึ้นเหลือง : พบกับฟิล์มของสีขาวที่ตั้งทิ้งไว้นานๆ ซึ่งการเหลืองจะเกิดเร็วยิ่งขึ้น ถ้าบรรยากาศมีแอมโมเนียอยู่