SlideShare a Scribd company logo
1 of 37
36   กลยุทธิ์การศึก จัดนำเสนอโดย  SG.9979
กลยุทธ์ที่  1  ปิดฟ้าข้ามทะเล  กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า สิ่งที่ตนคิดว่าได้ตระเตรียมไว้อย่างพร้อมมูลแล้ว ก็มักจะมึนชาและประมาทศัตรูได้ง่าย สิ่งที่พบเห็นอยู่เสมอในยามปรกติก็ไม่เกิดความสงสัยอีกต่อไป ที่ว่า  “ มืดอยู่ในสว่าง ไม่อยู่ตรงข้ามสว่าง ”  ก็คือกลอุบายแจ้งมีอุบายลับ อุบายลับจะปรากฏเป็นจริงขึ้นในอุบายแจ้งนั้นเอง  “ สว่าง ”  คือเปิดเผย แจ้งชัด  “ มืด ”  คือแฝงเร้น ปกปิด ความหมายของคำว่า  “ สว่าง มืด ”  ก็คือ ในรูปแบบที่เปิดเผยอย่างที่สุด แฝงเร้นไว้ด้วยเนื้อหาที่ปิดลับที่สุด การใช้อุบายประสานกันทั้งมืดและสว่าง ยอมเป็นกลยุทธ์อันเป็นปกติวิสัยของคู่ต่อสู้ ในการสัประยุทธ์ห้ำหั่นซึ่งกันและกัน ที่กลยุทธ์นี้ชื่อ  “ ปิดฟ้าข้ามทะเล ”  ก็คือการสร้างภาพลวงฝ่าข้ามทะเลไปโดยไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามรู้เนื้อรู้ตัว เมื่อใช้ในด้านการทหาร มิได้หมายถึงการข้ามทะเลด้วยการปกปิดเป็นเฉพาะ แต่หมายถึงว่าเมื่อสองประเทศรบกัน ฝ่ายหนึ่งใช้กลยุทธ์สร้างภาพลวงขึ้น ปกปิดความจริง มึนชาฝ่ายตรงข้าม นี้ก็คือกลยุทธ์ใช้การพรางตามาปกปิดจุดประสงค์ของตนมิให้ฝ่ายตรงข้ามพบเห็นได้ง่าย เพื่อบรรลุภาระหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้อย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า  “ สำหรับเรื่องที่มีความเคยชิน มนุษย์เรามักจะปล่อยปละละเลยต่อการระมัดระวัง มิได้ป้องกันให้เข้มงวดกวดขัน
กลยุทธ์ที่  2  ล้อมเว่ยช่วยเจ้า  กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกรวมศูนย์กำลังพลไว้ ควรจะใช้กลอุบายดึงแยกข้าศึกออกไป ทำให้กำลังพลกระจัดกระจาย ห่วงหน้าพะวงหลัง ครั้นแล้วจึงเข้าโจมตี นี้ก็คือ  “ ศัตรูรวมมิสู้ศัตรูแยก ”  และตำราพิชัยสงครามในสมัยโบราณ ขนานนามยุทธศาสตร์การส่งทหารเข้าบุกข้าศึกก่อนเป็น  “ ศัตรูแจ้ง ”  ส่วนยุทธศาสตร์กำราบข้าศึกทีหลังเป็น  “ ศัตรูมืด ”  ภายในสภาพการณ์ที่แน่นอน การบุกข้าศึกทีหลังได้เปรียบกว่าการส่งทหารเข้าบุกก่อน กลยุทธ์นี้หมายถึงการใช้ศิลปะการต่อสู้ทางการทหารที่เรียกว่า  “ ถ้ามาหลายก็ให้แยก ” “ ถ้าบุกก็ให้ถอย ” “ การส่งทหารเข้าบุกก่อนมิสู้ตีโต้ตอบทีหลัง ”  นี้เป็นกลยุทธ์ที่  “ เลี่ยงแน่นตีกลวง   เลี่ยงแข็งตีอ่อน   เลื่ยงที่สงบตีที่ปั่นป่วน   เลี่ยงที่ฮึกเหิมตีที่ย่อท้อ ”  เพื่อขับข้าศึกและเข้าบดขยี้ข้าศึกในภายหลังอย่างหนึ่ง ในตำราพิสังสงครามซุนวู บทว่าด้วย  “ จริงลวง ”  ได้เขียนไว้ว่า  “ เรารวมเป็นหนึ่ง ข้าศึกแยกเป็นสิบ เราก็มากข้าศึกก็น้อย ”  กลยุทธ์นี้จึงสรุปว่า  “ อย่าปะทะกับข้าศึกซึ่งหน้า  ควรใช้ยุทธวิธีวกวนที่เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตน แบ่งแยกกำลังของข้าศึกให้กระจายเป็นหลายส่วน แล้วจึงพิชิตเสีย ”
กลยุทธ์ที่  3  ยืมดาบฆ่าคน  กลยุทธ์นี้มีความหวายว่า เมื่อศัตรูปรากฏแน่ชัด แต่มิตรยังลังเล สิ่งที่พึงกระทำก็คือล่อให้พันธมิตรออกไปปะทะศัตรู นี้เป็นกลวิธีอย่างหนึ่งใช้ความขัดแย้ง ยืมกำลังของคนอื่นไปทำลายศัตรู เพื่อรักษากำลังตนเองไว้ แต่การยืมเช่นนี้จะต้องให้แนบเนียน มิฉะนั้นแล้วก็ไม่อาจทำลายศัตรูได้ กลับอาจถูกศัตรูย้อนรอย กลยุทธ์นี้ได้ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง ใน   จดหมายเหตุราชวงศ์ฮั่นหลังประวัติหวางหยุน   มีเรื่อง ลิโป้ฆ่าตั๋งโต๊ะ   ใน   สามก๊ก   ก็มีเรื่อง ขงเบ้งยืมกำลังของซุนกวนไปต้านโจโฉที่ผาแดง   หรือ   โจโฉแตกทัพเรือ   เป็นต้น กลยุทธ์นี้สรุปว่า เมื่อศัตรูมีทีท่าแจ่มชัด แต่กำลังของฝ่ายเรายังมิกล้าแข็ง ควรจะหาทางอาศัยกำลังของพันธมิตรไปโจมตีศัตรู หลีกเลี่ยงการสูญเสียของฝ่ายเรา ด้วยวิธีทั้งปวง
กลยุทธ์ที่  4  รอซ้ำยามเปลี้ย  กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อประสงค์จักทำให้ข้าศึกตกอยู่ในภาวะลำบาก ไม่แน่ว่าจะต้องใช้วิธีรบแต่ฝ่ายเดียว อาจจะใช้วิธี   แกร่งเสีย อ่อนได้   ตามที่กล่าวไว้ใน คัมภีร์อี้จิง  สูญเสีย เมื่อให้ได้รับชัยชนะ ก็ได้   ความหมายของ  แกร่งเสีย   ก็คือ เมื่อการรุกของข้าศึกดุเดือดยิ่งนัก ดูภายนอกแล้วเสมือนหนึ่งเข้มแข็งใหญ่โตเหลือประมาณแต่ไม่อาจรบต่อเนื่องได้ยาวนาน อ่อนเปลี้ยเพลียแรงได้ง่าย  อ่อนได้   ก็คือ ฝ่ายรับที่ทำการป้องกัน ถูกตีกระหน่ำดูแล้วเหมือนหนึ่งอ่อนปวกเปียก แต่สามารถจะใช้ความสงบรอความเปลี้ย บั่นทอนกำลังข้าศึกไม่ขาดระยะ ทำให้ตนแปรเปลี่ยนจากฝ่ายเสียเปรียบเป็นฝ่ายได้เปรียบ นี้คือกลอุบายในการยึดกุมเป็นฝ่ายริเริ่มในสงคราม รอโอกาสทำลายข้าศึกแปรการรับให้เป็นการรุกอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้มีปรากฏอยู่ในตำราพิชัยสงครามหลายเล่ม เช่น ซุนจือ ว่าด้วยการศึก   ยุทธวิธีร้อยแปด ว่าด้วยสงคราม   ว่าด้วยการระดมพลเหนือใต้   บันทึกจ่อจ้วน   บันทึกประวัติศาสตร์   จดหมายเหตุราชวงศ์ฮั่น   ซึ่งใน ว่าด้วยการระดมพลเหนือใต้   กล่าวไว้ว่าทราบจากตำราพิชัยสงครามว่า ผู้รับมักสบาย แต่ผู้รุกมักเหนื่อยยาก รอซ้ำยามเปลี้ย   ใน จดหมายเหตุราชวงศ์ฮั่นหลัง ประวัติฝงอี้   กล่าวว่า   ผู้บุกกำลังไม่พอ แต่ผู้รับมีกำลังเหลือเฟือ บัดนี้รักษาเมืองไว้ก่อน ใช้ความสงบรอความเปลี้ย มิจำต้องไปรบด้วยเลย   กลยุทธ์นี้มาจาก   " ตำราพิชัยสงครามซุนจื่อ ว่าด้วยการทำศึก "  ความเดิมมีว่า   " ใช้ใกล้รอไกล ใช้สบายรอเหนื่อย ใช้อิ่มรอหิว  นี้คือการสยบผู้แกร่งกว่านั้นแล "  กลยุทธ์นี้สรุปว่า   เมื่อศัตรูมีทีท่าแจ่มชัด แต่กำลังของฝ่ายเรายังมิกล้าแข็ง ควรจะหาทางอาศัยกำลังของพันธมิตรไปโจมตีศัตรู หลีกเลี่ยงการสูญเสียของฝ่ายเรา ด้วยวิธีทั้งปวง
กลยุทธ์ที่   5 ตีชิงตายไฟ  กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกอยู่ในภาวะวิกฤติ ควรฉวยโอกาสรุกรบโจมตี เพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ หรือให้ผู้เข้มแข็งออกโรงเข้าแทรกแซงให้ผู้อ่อนกว่ายอมสยบด้วย นี้ก็คือที่เรียกว่า   ใช้ความแกร่งพิชิตความอ่อน   ความหมายเดิมของ ตีชิงตามไฟ คือในขณะที่ผู้อื่นถูกเพลิงเผาผลาญห่วงแต่ตัวเอง ไม่ว่างกับเรื่องอื่น ก็ฉวยโอกาสแย่งชิงเอาของผู้นั้นเมาหรือในขณะที่ผู้อื่นตกอยู่ในอันตรายหรือในความลำบาก ก็รุกล้ำเอาผลประโยชน์ของผู้นั้นมา เมื่อนำมาใช้ในการทหาร ก็คือสิ่งที่ตำราพิชัยสงครามของ  “ ซุนจือ ว่าด้วยอุบาย ”  กล่าวไว้ว่า  “ ชิงเอาในยามปั่นป่วน ”  หรือที่  “ ว่าด้วยอุบาย ”  ของตู้มู่นักการทหารอีกคนหนึ่งกล่าวไว้ว่า  “ เมื่อข้าศึกวุ่นว่ายปั่นป่วย อาจฉวยโอกาสช่วงชิงมาได้ ”  กลยุทธ์นี้ แต่เดิมมาจากตำราพิชัยสงครามของซุนจื่อ  “ ว่าด้วยอุบาย ”  ที่วกล่าวไว้ว่า  “ ชิงเอาในยามปั่นป่วน ”  ฉะนั้น กลบยุทธ์นี้จึงเป็นกลอุบายที่ฉวยโอกาสในยามที่ข้าศึกอยู่ในภาวะวิกฤติ เข้ารุกรบโจมตีอย่างหนึ่ง ที่กล่าวว่า  “ เมื่อข้าศึกมีภัย ให้ฉกฉวยเอาประโยชน์ ”  มิได้จำกัดอยู่แต่เพียงในด้ายการทหาร หากจะนำไปใช้ได้ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจและอื่นๆ อย่างกว้างขวาง จะได้ผลหรือไม่อย่างใดก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ ในบางครั้งยังอาจจะใช้วิธีการต่างๆ ทำให้ข้าศึกเกิดวิกฤติ ให้เกิดความระแวงสงสัยในกันและกัน ตอกย้ำความประหวั่นพรั่นพรึงทางจิตใจให้หนักหน่วงยิ่งขึ้น เพื่อบันทอนพลังสู้รบของข้าศึก เป็นต้น หลังจากนั้นจึงฉวยโอกาสชิงเอาชัยนี้ก็นับอยู่ในการใช้กลยุทธ์นี้ด้วย กลยุทธ์นี้จึงสรุปว่า  “ เมื่อข้าศึกประสบกับความยากลำบากทั้งภายในและภายนอก จักต้องรุกโจมตีอย่างไม่ปรานี ฉวยโอกาสอันดีนี้ กระหน่ำซ้ำเติมอย่างให้ตั้งตัวติดและพิชิตเอาชัยอย่างได้ช้า ”
กลยุทธ์ที่   6  ส่งเสียบุรพาฝ่าตีประจิม  กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ตามคำอธิบายของ  “ คัมภีร์อี้จิง ปั่นป่วน ”  คำว่า  “ ดุจจมในปลัก ”  ก็คือตกอยู่ในภาวะที่รวมตัวอยู่ในที่เดียวกัน แต่ขยับตัวหรือกระจายแนวออกต่อตีมิได้ มีอันตรายที่จะพังพินาศได้ทุกเวลา ประดุจฝูงสัตว์ที่ขาดหัวหน้า มิมีการบัญชาที่ถูกต้อง ก็จักต้องพ่ายแพ้ไม่ช้าก็เร็ว หรืออีกในหนึ่ง ในระหว่างสงครามาหรือการสัประยุทธ์ใดๆ ก็ดี เมื่อการบัญชาการของข้าศึกสับสนอลหม่าน มิอาจวินิจฉัยหรือป้องกันได้อย่างถูกต้องทันท่วงที จนเกิดเหตุอันไม่คาดฝันขึ้น พึงฉวยโอกาสที่ข้าศึกวุ่นวายไร้การควบคุม ทำลายเสีย ที่ว่า  “ ส่งเสียงบูรพาฝ่าตีประจิม ”  ยังหมายถึงกลอุบายที่เห็นอยู่ทางตะวันออกหยกๆ แต่กลับวกไปอยู่ทางตะวันตก ส่งเสียงทางนี้แต่ตีทางโน้น ทำทีถอยแต่กลับรุก ทำทีรุกแต่กลับถอย ลวงล่อข้าศึกอย่างแนบเนียน ทำให้ข้าศึกเกิดความเข้าใจผิด แล้วฉวยโอกาสเข้าพิชิตเอาชัยแก่ข้าศึกอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้มีอยู่ในตำราพิชัยสงครามหลายเล่มด้วยกัน เช่น  “ ซุนจือ ว่าด้วยภูมิประเทศ ” “ ยุทธ์วิธีร้อยแปด ว่าด้วยสงครามเสียง ” “ ไหวหนานจื่อ การฝึกยุทธวิธี ”  เป็นต้น ในเล่มหลังนี้กล่าวว่า  “ ดังนั้นมรรควิธีแห่งการใช้ทหาร แสดงให้เห็นว่าอ่อนแต่ปะทะด้วยแข็ง แสดงให้เห็นว่าเปราะแต่ปะทะด้วยแกร่ง เมื่อจะรวบ พึงกระจาย เมื่อจักไปประจิม ควรทำทีไปบูรพา ”  หรือ  “ คัมภีร์ทั่วไป ว่าด้วยการศึกหลายเลขหก ”  ของตู้อิ้วก็กล่าวไว้ว่า  “ ส่งเสียงว่าตีทางบูรพา แต่ที่แท้ตีทางประจิม ”  กลยุทธ์นี้สรุปว่า  “ ที่ว่าส่งเสียบูรพาฝ่าตีประจิม ก็คือโดยภายนอก โดยผิวเผิน ทำให้ดูเสมือนหนึ่งว่าจะบุกทางนี้อย่างจริงจัง แต่ที่แท้แล้วกลับบุกอีกด้านหนึ่ง ทำให้ข้าศึกหลงผิด แล้วพิชิตเอาชัยบนความหลงผิดนั้น ”
กลยุทธิ์เผชิญศึก กลยุทธ์ที่  7  มีในไม่มี  กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ให้ใช้ภาพลวงล่อหลอกข้าศึก แต่มิใช้จะล่อลวงจนถึงที่สุด หากแต่เพื่อแปรเปลี่ยนจากลวงเป็นจริง ทำให้ข้าศึกเกิดความหลงผิด ที่ว่า  “ ลวง ”  ก็คือ  “ หลอกลวง ”  ที่ว่า  “ มืด ”  ก็คือ  “ เท็จ ”  จากมืดน้อยไปถึงมืดมาก จากมืดมากแปรเปลี่ยนเป็นสว่างแจ้ง ก็คือใช้ภาพลวงปกปิดภาพจริง ผันจากเท็จลวงให้กลายเป็นแท้จริงแท้ นี้เป็นเรื่องในการศึกเท็จลวงและแท้จริงแท้สลับกันเป็นฟันปลา ในจริงมีเท็จ ในเท็จมีจริง  “ มีในไม่มี ”  หมายถึงกลอุบายซึ่ง  “ จริงในเท็จ ”  ที่ใช้ภาพลวงล่อหลอกข้าศึก ให้ข้าศึกเกิดความหลงผิดอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้มีอยู่ใจตำราพิชัยสงครามชื่อ  “ อุ้ยเหลียวจือ อำนาจศึก ”  ซึ่งกล่าวว่า  “ อำนาจศึกอยู่ที่วิถีอันทำได้ ผู้มีจักไม่มี ผู้ไม่มีจักมี ”  ในบทที่  34  ของ  “ คัมภีร์เหล่าจื่อเล่มหลัง ”  ก็กล่าวไว้ว่า  “ สรรพสิ่งใต้หล้าเกิดจากมี บางก็เกิดจากไม่มี ”  กลยุทธ์นี้สรุปว่า  “ เมื่อจักสั่นคลอนจิตใจของข้าศึก มิควรวู่วาม ควรใช้ยุทธวิธีจริงเท็จเท็จจริงกลับลวงกันไป ทำให้ข้าศึกเกิดความสับสนวุ่นวาย พึงจับจุดอ่อนของข้าศึก ยืนหยัดจนถึงวาระที่สำคัญที่สุด ครั้นแล้วก็รุกโจมตีอย่างถึงแก่ชีวิต ”
กลยุทธ์ที่  8  ลอบตีเฉินชัง  กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ในการศึก ใช้โอกาสที่ฝ่ายข้าศึกตัดสินใจจะรักษาพื้นที่ แสร้งทำเป็นจะโจมตีด้านหน้า แต่เข้าจู่โจมในพื้นที่ที่ข้าศึกไม่สนใจอย่างมิได้คาดคิด ใน  “ คัมภีร์อี้จิง ประโยชน์ ”  เรียกว่า  “ เข้าจู่โจมดุจพายุ ”  ซึ่งก็คือกลวิธีวกวนลอบเข้าจู่โจมอย่างเป็นฝ่ายกระทำ เข้าตีข้าศึกโดยมิได้ระวังตัว เอาชนะอย่างมหัศจรรย์อย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้สรุปว่า  “ เมื่อคู่ศึกทั้ง  2  ฝ่ายตั้งประจัญหน้ากัน จงใจสร้างเป้าหมายให้ฝ่ายตรงข้ามเพ่งเล็ง รอจนเมื่อฝ่ายตราข้ามวางกำลังใหญ่ป้องกันไว้ ณ ที่นั้นแล้ว จึงรุกรบโจมตีเอาเป้าหมายอื่น ซึ่งก็คือการใช้จุดอ่อนแห่งภาวะจิตมนุษย์ โจมตีในจุดที่ฝ่ายตรงข้ามมิได้คาดคิดมาก่อนแล้วมิได้ระมัดระวังตัว จึงได้มาซึ่งชัยชนะในการรุกรบ ”
กลยุทธ์ที่  9 ดูไฟชายฝั่ง  กลยุทธ์ นี้มีความหมายว่า เมื่อประสบกับภาวะที่ข้าศึกแตกแยกวุ่นวายปั่นป่วนอย่างหนัก พึงรอให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสงบ หากข้าศึกใช้ความป่าเถื่อนแก่กัน ต่างพิพากเข่นฆ่ากัน แนวโน้มก็จักพาไปสู่ความวินาศเอง ในเวลาเยี่ยงนี้จำต้องปฏิบัติให้คล้อยตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพข้าศึก ตระเตรียมไว้ก่อนล่งหน้า เพื่อดำเนินการให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ชิงมาซึ่งชัยชนะโดยใช้การเปลี่ยน แปลงอย่างฉับพลันของทางฝ่ายข้าศึกให้เป็นประโยชน์ นี้คือความหมายของคำว่า  “ คล้อยเพื่อเคลื่อนตาม คล้อยตามจึงเคลื่อน ”  ใน  “ คัมภีร์อี้จิงว่าด้วยสงบ ”  ซึ่งก็คือกลอุบายที่ยึดถือการแปรผันของข้าศึก เปลี่ยนแปลงตามสภาพ เพื่อเอาประโยชน์อย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้เดิมมาจากตำราพิชัยสงคราม  “ ซุนจื่อ ว่าด้วยการศึก ”  ที่ว่า  “ ใช้ความสงบรอความปั่นป่วน ใช้ความเงียบรอความวุ่นวาย ”  ใน  “ บันทึกประวัติศาสตร์ ประวัติจางอี๋ ”  ก็ได้บันทึกเรื่องของเปี้ยนจวงจื่อว่า  “ นังภูดูเสื่อกัดกัน ” “ ได้เสือ  2  ตัวเพียงดำเนินการครั้งเดียว ”  ซึ่งก็คล้ายคลึงกับกลยุทธ์นี้ กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า  “ เมื่อข้าศึกเกิดความปั่นป่วนภายใน ให้รอดูการเปลี่ยนแปลงโดยสงบ ให้ข้าศึกเกิดความปั่นป่วน ก้าวไปสู่ความพินาศเอง ที่ว่า  “ ไฟ ”  ในกลยุทธ์นี้ ก็หมายถึงการบาดหมางภายในฝ่ายข้าศึก เช่นเกิดมีคนทรยศหรือไส้ศึก หรือความปั่นป่วน ในช่วงเวลานี้เอง การคอยสังเกตการณ์อยู่ด้วยความสงบ แล้วค่อยตักตวงเอาในภายหลังจึงเป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุด ”
กลยุทธ์ที่  10   ซ่อนดาบบนรอยยิ้ม  กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จะต้องทำให้ข้าศึกเชื่อว่าเรามิได้เคลื่อนไหวอะไรเลย จึงสงบไม่เคลื่อนเช่นกัน ทั้งเกิดความคิดมึนชาขึ้น แต่เรากลับดำเนินการตระเตรียมเป็นการลับ รอคอยโอกาส เพื่อที่จะออกปฏิบัติการ โดยฉับพลันทันที แต่ต้องระวังมิให้ข้าศึกล่วงรู้ก่อน อันจะทำให้สภาพการณ์เกิดเปลี่ยนแปลงไป  “ แข็งในอ่อนนอก ”  คือภายนอกนั้นดูละมุนละไม แต่ภายในนั้นเต็มไปด้วยความแข็งแกร่ง  “ ซ่อนดาบในรอยยิ้ม ”  ความเดิมหมายถึงโดยผิวเผินก็อ่อนโยน แต่ภายในนั้นมากด้วยเล่ห์ เมื่อนำมาใช้ ก็คือกลยุทธ์ที่ นอกอย่างในอย่าง แจ้งอย่างลับอย่าง ภายนอกแสดงความอ่อนละมุน แต่ภายในแฝงไว้ด้วยการเอาเป็นเอาตายอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้มีอยู่ใน  “ จดหมายเหตุราชวงศ์ถังเก่า ประวัติหลี่อี้ฝู่ ”  ซึ่งกล่าวว่า  “ ภายนอกของอี้ฝู่นอบน้อยถ่อมตน พบใครใบหน้าก็ยิ้มย่องผ่องใส แต่เป็นคนที่เห็นแก่ตัว เชือดคอคนได้ในทางลับ ต้องการได้อำนาจ จัดให้ผู้อื่นศิโรราบด้วยตน หากไม่พึงพอใจใคร ก็จักทำลายเสียโดยพลัน ดังนั้นคนจึงโจษจันกันว่า อี้ฝู่มีดาบเป็นรอยยิ้ม ”  กลยุทธ์นี้สรุปว่า  “ พยายามทำให้ฝ่ายข้าศึกเข้าใจว่าฝ่ายเรา มิได้มีการตระเตรียมแต่อย่างใดเลย จึงสูญเสียความระมัดระวัง แต่ฝ่ายเรากลับวางแผนอย่างลับๆ เมื่อตระเตรียมพร้อมแล้วก็ให้รวบหัวรวบหางพิชิตเอาชัยในทันที แต่ไม่ควรจะให้ข้าศึกรู้ตัวก่อนเป็นอันขาด อันอาจจะก่อให้เกิดอุปสรรค์ที่ไม่จำเป็นขึ้น ที่ว่า  “ ซ่อนดาบในยิ้ม ”  ก็คือ  “ ปากหวานใจคด ”  ใบหน้านั้นยิ้มแย้มแจ่มใส แต่ในใจแฝงไว้ด้วยความเหี้ยมเกรียมที่จะเอาชีวิตกัน ”
กลยุทธ์ที่  11  หลี่ตายแทนถาว  กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อการพัฒนาของสถานการณ์มิเป็นผลดีแก่ตน จักต้องเกิดความเสียหายอย่างหลียกเลี่ยงไม่พัน เพื่อที่จะแปรความเสียเปรียบเป็นความได้เปรียบ ก็จะต้องยอมเสีย  “ มืด ”  เพื่อประโยชน์แก่  “ สว่าง ”  ซึ่งก็หมายความว่าจำต้องเสียสละส่วนหนึ่ง เสียค่าตอบแทนน้อย เพื่อแลกกับชัยชนะทั่วทุกด้าน  “ หลี่ตายแทนถาว ”  ความหมายเดิมเป็นการเปรียบเทียบความรักใคร่ช่วยเลือกกับระหว่างพี่น้อง แต่เพื่อใช้ในการทหารหรือในกรณีอื่นๆ ก็เปรียบเทียบเป็นการทดแทนซึ่งกันและกัน อันเป็นกลอุบายที่ให้ ก .  เข้าแทนที่ ข .  หรือให้ ข .  แทนที่ ก .  อย่างหนึ่ง ที่ว่า  “ เสียกำเอากอบ ”  หรือ  “ เสียบ่าวเอานาย ”  ก็เป็นกลอุบายในทำนองนี้ คำๆ นี้เดิมมาจากกวีนิพนธ์บนหนึ่งชื่อ  “ ไก่ขัน ”  ใน   " ชุมนุมกวี่นิพนธ์กู่เล่อฝู่ ”  ความหมายว่า  “ ต้นถาวเกิดที่ปากบ่อ ต้นหลี่โตเคียงมาก หนอนบ่อนไชต้นถาวหลี่ตายแทนถาว ต้นไม้ยังตายแทนกัน พี่น้อยไฉนไยจึงลืม ?”  กลยุทธ์นี้สรุปว่า  “ ในขณะที่  2  ฝ่ายประจันหน้ากันอยู่ ไม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะต้องประสบความสูญเสีย จักไม่บาดเจ็บล้มตายเลยหาได้ไม่ ในขณะที่กำลังของทั้งสองฝ่ายทัดเทียมกัน ใครจะอยู่ใครจะไปยังมิอาจรู้ได้ ก็ควรจักยอมเสียคาตอบแทนไปบ้างแต่น้อย เพื่อแลกมาซึ่งผลประโยชน์ใหญ่ที่สุด จึงถูก ”
กลยุทธ์ที่  12  จูงแพะติดมือ  กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า แม้จะเป็นความเลินเล่อของข้าศึกเพียงเล็กน้อย เราก็พึงฉกฉวยเอาประโยชน์ แม้จะเป็นชัยชนะเพียงเล็กน้อย ก็จะต้องชิงเอามาให้ได้  “ มืดน้อย ”  หมายถึง ความผิดพลาดเล็กๆน้อยๆ ของข้าศึก  “ สว่างน้อย ”  หมายถึงชัยชนะเล็กๆน้อยๆของฝ่ายเรา  “ จูงแพะติดมือ ”  หมายถึง อาศัยความประมาทแม้เพียงเล็กน้อยของฝ่ายตราข้าม ชิงเอาผลประโยชน์มาเป็นของเราเสีย กลยุทธ์นี้เป็นกลอุบายที่ใช้ช่องอันเป็นจุดอ่อนข้าศึก ขยายพลังของตนเองออกไป เหมือนหนึ่งจูงแพะของฝ่ายตรงข้ามติดมือเราไปด้วย ช่วงชิงมาซึ่งชัยชนะอย่างสะดวกใจสบายกายอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้เดิมมาจาก  “ คัมภีร์จิงเลี่ย ว่าด้วยการเคลื่อนพล ”  ซึ่งกล่าวไว้ว่า  “ คอยจ้องหาจุดอ่อนของข้าศึก ฉกฉวยเอาประโยชน์ให้ทันท่วงที ”  กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า  “ โอกาสแม้จะน้อยแสนน้อยก็ควรจะใช้ให้เป็นประโยชน์ ชัยชนะแม้จะเล็กแสนเล็กก็ควรจะช่วงชิงมาให้ได้  “ จูงแพะติดมือ ”  ก็คือการใช้กลอุบายที่อีกฝ่ายหนึ่งมิสำเหนียกหรือมิได้รู้สึกตัว ฉะนั้นจึงย่อมจะตกหลุมพรางถูกบั่นทอนหรือได้รับความสูญเสียอย่างยับเยินโดยมิได้คาดคิด ”
กลยุทธิ์เข้าตี กลยุทธ์ที่  13   ตีหญ้าให้งูตื่น  กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อมีสิ่งใดพึงสงสัย ควรจังส่งคนสอดแนมให้รู้ชัด กุมสภาพข้าศึกได้แล้ว จึงเคลื่อน นี้เรียกว่า  “ สงสัยพึงแจ้ง สังเกตจึงเคลื่อน ”  ใน  “ คัมภีร์อี้จิง ซ้ำ ”  ได้อธิบายไว้ว่า  “ ใช้มรรควิธีเดิมกลับไปมา  7  วัน เมื่อละเอียดแล้ว จึงเข้าใจสิ่งนั้นได้ ”  ความหมายของคำนี้ก็คือ ต่อสิ่งใดก็ตามจังต้องสังเกตซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงจะสามารถจำแนกแยกแยะมันได้ถูก ที่ว่า  “ ซ้ำซาก คืออุบายรู้มืด ”  นั้น เมื่อนำมาใช้ในการทหาร หมายถึงใช้วิธีการสอดแนมหลายครั้งหลายหน อันเป็นวิธีสำคัญในการเข้าใจสภาพข้าศึก ค้นพบศัตรูที่แฝงเร้นอยู่ ความหมายของ  “ ตีหญ้าให้งูตื้น ”  ก็คือแม้เราจะตีหญ้า แต่งูที่ซ่อนอยู่ในหญ้าก็ตื่นตกใจ นี้เป็นกลอุบายที่ใช้การสอดแนม แจ้งชัดในสภาพข้าศึกที่เราโอบล้อมอยู่ แล้วตียังจุดหนึ่งซึ่งจะกระเทือนไปทั้งแนว หลักจากนั้นจึงทำลายข้าศึกให้แหลกลาญไปทีละส่วนอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า  “ เมื่อสภาพของข้าศึกยังไม่ชัดแจ้งแก่เรา เราไม่ควรจะปฏิติการอย่างลวกๆ จะต้องหาทางสืบทราบสภาพของข้าศึกให้ถ่องแท้ ครั้งเมื่อทราบเจตนาของฝ่ายตรงข้ามแล้ว จึงออกโจมตี เยี่ยงเดียวกับงูที่ซ่อนอยู่ในหญ้า ควรจะใช้ไม่ตีพงหญ้าไปรอบๆ เพื่อให้งูปรากฏให้เห็น แล้วจึงจับเอาในภายหลัง ไม่จำเป็นต้องบุกเข้าไปจับจนถึงรังงูให้เปลืองแรง
กลยุทธ์ที่  14 ยืมซากคืนชีพ  กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ผู้ที่มีความสามารถและมีบทบาทนั้น จะใช้อย่างผลีผลามมิได้ ส่วนผู้ที่ไร้ความสามารถ ก็มักจะมาของความช่วยเหลือจากเรา การใช้ผู้ที่ไร้ความสามารถ มิใช้เพราะว่าเราต้องการจะใช้เขา หากแต่เพราะเขาต้องการพึ่งเรา คำว่า เด็กไร้เดียงสา   มาจาก คัมภีร์อี้จิง ไร้เดียงสา   ยืมซากศพคืนชีพ   ความหมายเดิมเปรียบกับของที่ตายแล้ว แต่ได้ปรากฏตัวขึ้นมาใหม่โดยใช้อีกรูปแบบหนึ่ง แต่เมื่อใช้ในสงครามหรือในการต่อสู้อื่นใด ก็หมายถึงกลยุทธ์การใช้พลังทีสามารถจะใช้ได้ทั้งปวงมาบรรลุซึ่งเจตนารมณ์ของเราอย่างหนึ่ง ในประวัติศาสตร์แต่กาลก่อน ในระหว่างการผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน จักมีผู้แกล้วกล้าตั้งตัวเป็นใหญ่ขึ้นมามากมาย ซึ่งมักจะแอบอ้างพระนามของกษัตริย์และราชทายาที่สูญชาติเป็นเครื่องมือ ป่าวร้องชักชวนให้กู้ชาติแล้วได้ชาติไปครองในภายหลัง นี้ก็คือการใช้กลยุทธ์ข้างต้น การใช้กำลังสนับสนุนผู้อื่นเข้าโจมตีหรือป้องกันแทนเขาโดยที่มีเจตนาจะเข้าควบคุมผู้นั้น ก็นับอยู่ในกลยุทธ์นี้เช่นเดียวกัน กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า  “ ยืมซากคืนชีพ หมายถึงใช้สิ่งที่ใช้ไม่ได้แล้วในทางเป็นจริง หรือฉวยโอกาสทุกอย่างเท่าที่จะสามารถจักหยิบฉวยได้ ให้เป็นประโยชน์ เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายบางประการของตน ให้รอดพ้นจากความหายนะ เพื่อที่จะได้ยืนผงาดขึ้นมาใหม่ในวันหน้า หรือไม่วันใดก็วันหนึ่ง
กลยุทธ์ที่  15  ล่อเสือออกจากถ้ำ  กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จะต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลอันเป็นเงือนไขตามธรรมชาติ เช่น หนาว ร้อน ฝน แจ้ง เป็นต้น ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ เพื่อสร้างและเพิ่มความยากลำบากให้กับข้าศึก ในขณะเดียวกัน ก็ใช้ภาพลวงที่เราจงใจสร้างขึ้น ล่อให้ข้าศึกออกจากแนวป้องกัน หลังจากนั้นก็โจมตีหรือทำลายเสีย  “ ไปยากก็ลวงให้มา ”  คำนี่มาจาก  “ คัมภีร์อี้จิง ยาก ”  ความว่า  “ ยาก คือยากลำบาก อันตรายอยู่ ณ เบื้องหน้า เห็นภัยก็หยุด นับได้ว่ารู้ " “ มา ”  มีความหมายว่าเคลื่อนย้ายข้าศึกหรือให้ข้าศึกเคลื่อนที่ ในขณะที่สองทัพประจันหน้ากัน จักรุกเข้าตีข้าศึกที่มีการเตรียมพร้อมก็ให้ลำบากนัก การที่จะเข้าตีจุดแข็งของข้าศึก มิใช้แต่จะชนะได้โดยยาก ซ้ำยังจะเป็นอันตรายแก่ตนอีกด้วย  “ ล่อเสือออกจากถ้ำ ”  ก็คือกลอุบายที่ล่อหลอกข้าศึกให้ออกมาจากที่ตั้งอันแข็งแกร่ง แล้วโจมตีทำลายเสียอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า  “ เมื่อใคร่ทำลายหรือได้ตัวข้าศึกจึงต้องรอโอกาสที่เหมาะสม ประกอบด้วยเงื่อนไขทางธรรมชาติบวกด้วยมาตรการที่คนเราสร้างขึ้น ถ้าแม้นบุ่มบ่ามเข้าไปในอาณาเขตของข้าศึกอย่างพลีพลาม ก็มิอาจเห็นตัวข้าศึก ซ้ำยังอาจจะถูกลอบตีในที่ลับอีกด้วย ได้ไม่เท่าเสีย ดังนั้น การใช้อุบายล่อให้ข้าศึกออกมาจากเขตของตนแล้วบทขยี้เสีย จึงควร ”
กลยุทธ์ที่  16  แสร้งปล่อยเพื่อจับ  กลยุทธ์นี้หมายความว่า ถ้าบีบคั้นจนเกินไปนัก สุนัขก็จักสู้อย่างจนตรอก ปล่ายข้าศึกหนี ก็จักทำลายความเหิมเกริมของข้าศึกได้ ทว่าต้องไล่ตามอย่าละ เพื่อบั่นทอนกำลังของข้าศึกให้กระปลกกะเปลี้ย ครั้นเมื่อสิ้นเรี่ยวแรงใจก็มิคิดต่อสู้ด้วยแล้ว จึงจับ อันเป็นการรบที่ไม่เสียเลือดเนื้อ อีกทั้งทำให้ข้าศึกแตกสลายไปเอง รอ ฟังตัว สว่าง   มีอยู่ใน คัมภีร์อี้จิง รอ   รอ   หมายถึงการรอคอยอย่างอดทน ฟังตัว   ก็คือไก่ฟักไข่จนเป็นลูกไก่ หมายถึง   " ได้ "  ส่วน   " สว่าง "  ก็คือแสดงสว่าง หมายถึง   ชัยชนะ   ความหมายของกลยุทธ์นี้ทั้งคำก็คือ เมื่อสองทัพประจันหน้ากัน จักต้องใช้ความอดทนรอคอย ให้ใช้วิธีการอันแยบยล ให้ข้าศึกมาสวามิภักดิ์ด้วยใจ นี้ก็คือกลอุบายปล่อยป่านยาวตกปลาตัวโตอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้มีอยู่ใน   คัมภีร์เหลาจื่อ บทต้น   บรรยายไว้ว่า มื่อจักเอา จะต้องให้   ในบันทึก  “ ไท่ผิงเทียนว๋อ อักษรศาสตร์   ก็มีอธิบายไว้ว่า  “ เมื่อจักจับให้ปล่อย เมื่อจักเร็วให้ช้า รอเมื่อหย่อนยานจึงตี มิมีที่ไม่ชนะกลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า  “ แสร้งปล่อยเพื่อจับ จุดประสงค์อยู่ที่ จับ   ปล่อย   เป็นวิธีการ จับ   คือจับทาง   ใจ   ให้ยินยอมอ่อนน้อมทั้งกายและใจ ผู้ถูกจับ ใจ   จักกลายเป็นข้าทาสบริวารของอีกฝ่ายหนึ่งอย่างไม่ลืมหูลืมตา จนกว่าจะเกิดความสำนึกใน   ศักดิ์ศรี   ของตนเอง กลยุทธ์นี้ จึงเป็นกลยุทธ์อันชาญฉลาด ในการบั่นทอนจิตใจสู้รบและขวัญของข้าศึก ด้วยวิธีการทั้งแจ้งและลับอย่างหนึ่ง อันได้ผลเกิดความคาดหมาย นั้นแล ”
กลยุทธ์ที่  17  โยนกระเบื้องล่อหยก  กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ใช้สิ่งที่คล้ายคลึงกันไปล่อข้าศึก ให้ข้าศึกต้องอุบายพ่ายแพ้ไป การใช้กลยุทธ์นี้ กำหนดขึ้นตามสภาพรูปธรรมของข้าศึก ในตำราพิชัยสงครามชื่อ   " ร้อยยุทธการพิสดาร การรบที่ได้ประโยชน์   กล่าวไว้ว่า   เมื่อประมือกับข้าศึก ขุนพลฝ่ายตราข้ามโง่เง่ามิรู้พลิกแพลง จักล่อด้วยประโยชน์ เขาละโมบในประโยชน์ มิรู้ผลร้าย ก็ซุ่มทหารลอบตีได้ ข้าศึกจักพ่ายนี้คือ   ล่อด้วยประโยชน์   โยนกระเบื้องล่อหยก   คำนี้ เดิมมาจากเรื่องราวของกวีสมัยราชวงศ์ถัง  2  คน ชื่อ ฉางเจี้ยน และ จ้าวกู่ กล่าวคือ ฉางเจี้ยนนิยชมชอบและยกย่องบทกวีของจ้างกู่มาช้านาน ครั้นเมื่อทราบว่าจ้าวกู่เดินทางมาเมืองซูโจว ก็คาดคะเนว่าคงจะไปเที่ยว ณ วัดหลิงเอี๋ยนสื้อ ฉางเจี๋ยนจึงเขียนบทกวีไว้  2  คำบนผนังวัด เมื่อจ้าวกู่มาเห็นเข้า ก็ต่อบทกวีนี้อีก  2  คำ จึงกลายเป็นกวีที่ครบถ้วนสมบูรณ์และสวยงาม ไพเราะจับใจยิ่งนัก แต่เนื่องจากบทกวีของฉางเจี้ยนด้อยกว่าของจ้าวกู่ คนทั้งหลายจึงเรียกบกวีของฉางเจี้ยนเป็นเสมือนหนึ่ง กระเบื้อง   แต่หากแม้นมิมี   กระเบื้อง   ที่ฉางเจี้ยนเอาไปล่อไว้ ไฉนเลยจะมาซึ่ง หยก   ของจ้าวกู่ ที่ต่อ   กระเบื้อง   ชของฉางเจี้ ยนจนกลายเป็นบทกวี่มีค่าล้ำที่ทุกคนยกให้   กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า วิธีหลอกลวงข้าศึกมีมากมาย ที่แยบค่ายที่สุดมิมีใดเกิน ความละม้ายแม้น ”  หรือ ความเหมือน   ที่เรียกว่า กระเบื้องหมายถึงสิ่งที่ไม่มีค่างวด ส่วน หยก   นั้นเป็นจิดาสูงค่าอันพึงปรารถนาของผู้คนทั้งหลาย ที่ว่า โยนกระเบื้องล่อหยก   ก็คือใช้สิ่งของที่มีค่าน้อยไปล่อสิ่งของที่มีค่าสูง กระเบื้องกับหยกนั้น มองผ่านๆก็มีส่วนที่คล้ายคลึงกันอยู่ นักการทหารผู้มีความชำนาญในกลศึก ก็สามารถจะใช้ความ ละม้ายแม้น   ความ เหมือน   ความ คล้ายคลึง   ของทั้งสองสิ่งสร้างความสับสนฉงนใจให้แก่ข้าศึก ฉวยโอกาสที่ข้าศึกกำลังวุ่นวายหรือหลงกลจู่โจมเอาชัยโดยพลัน
กลยุทธ์ที่  18  จับโจรเอาหัวโจก  กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จักต้องตีข้าศึกในจุดที่เป็นหัวโจของกองทัพ เพื่อสลายพลังของข้าศึก มังกรสู้บนปฐพี ก็อับจนหมดหนทาง   เปรียบประดุจมังกรในทะเล ขึ้นมาสู้กับศัตรูบนพื้นแผ่นดิน ก็จักปราชัยแก่ข้าศึกโดยง่าย คำนี้เดิมพบใน คัมภีร์อี้จิง ดินซึ่งแฝงความนัยว่า   จับโจรให้เอาตัวหัวโจก   อันเป็นกลอุบายใช้วิธี  ตีงูให้ตีหัว   เพื่อสยบข้าศึกอย่างหนึ่ง จับโจรเอาหัวโจก   มาจากบทกวีของตู้ผู่ กวีอมตะแห่งอุคราชวงศ์ถังของจีน ความว่า น้าวเกาทัณฑ์ต้องให้ตึง ลูกเกาทัณฑ์ควรจะยาว  ยิงคนควรยิงม้า  จับโจรเอาหัวโจก   กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า   ความหมายที่แท้ของกลยุทธ์นี้ คือให้โจมตีส่วนที่สำคัญที่สุดของข้าศึก เพื่อไห้ได้รับชัยชนะอย่างสิ้นเชิง ในการบัญชาการรบ จะต้องสันทัดในการขยายผลของการรบให้ใหญ่หลวงยิ่งขึ้น อย่าได้ปล่อยโอกาสที่จะได้รับชัยชนะให้หลุดลอยไปเป็นอันขาด หากคิดง่ายๆแต่เพียงว่า ขอให้โจมตีข้าศึกถอยไปได้เท่านั้นก็พอใจแล้ว แต่ไม่ทำลายกำลังหลักของข้าศึก จับตัวผู้บัญชาการหรือทลายกองบัญชาการของข้าศึกให้ย่อยยับไปแล้ว ก็จะเหมือนดั่งปล่อยเสือเข้า
กลยุทธิ์ติดพัน กลยุทธ์ที่  19   ถอนฟืนใต้กระทะ  กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อเปรียบเทียบกำลังกันแล้ว มิเหนือกว่าข้าศึก พิงหาทางบันทอนความฮึกเหิมลงเสีย  “ ดุจฟ้าอยู่เหนือน้ำ ”  ตามคำอธิบายของ คัมภีร์  64  ทิศ ปฏิบัติ   น้ำ   หมายถึงความแกร่ง ฟ้าหมายถึงความอ่อน รวมแล้วหมายความว่า เอาอ่อนชนะแข็ง ซึ่งก็คือพึงใช้วิธีอ่อนพิชิตแข็ง ฉกฉวยโอกาสทำลายกำลังส่วนหนึ่งของข้าศึกไปเสีย ให้พ่ายไปสิ้นในภายหลัง ที่ว่า ดุจฟ้าอยู่เหนือน้ำ   เปรียบเทียบเป็นการแก้ปัญหาให้สิ้นไปโดยพื้นฐาน กลยุทธ์นี้เป็นอุบายในการบั่นทอนพลังของข้าศึกที่ละส่วน จนทำลายข้าศึกเป็นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดได้อย่างหนึ่ง คำนี้ เดิมมาจากหนังสือเรื่อง ไหวหนานจื่อ   ความว่า เทน้ำร้อนลงในน้ำเดือด มิอาจหยุดเดือด จักต้องรู้ลักษณะของมัน ทอนไฟจึงหยุด   ใน ฎีกาประท้วงราชวงศ์เหลียง   สมัยเว่อเหนือก็ว่า ถอนฟืนจึงหยุดเดือด ตัดหญ้าพึงถอนราก   กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า ในสถานการณ์ศึกซึ่งติดพันชุลมุนเป็นอย่างยิ่งนั้น การรบด้วยภาวะจิตจักเป็นยุทธวิธีที่ดีที่สุด และเป็นโอกาสที่จะรบให้ชนะ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อใคร่ประสงค์จะทำลายกำลังของข้าศึก ก็จักต้องทำลายกำลังหลัก ทำลายหัวใจของข้าศึกเป็นเบื้องแรก ในเวลาเช่นนี้ จิตใจของแม่ทัพนายกอง ก็คือ ฟืนเมื่อถอน ฟื้น   ออกแล้ว น้ำใน กระทะก็จัก เดือด   ต่อไปมิได้ฉันนั้น
กลยุทธ์ที่  20  กวนน้ำจับปลา  กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกเกิดความปั่นป่วนในกองทัพของตน เราจักต้องฉวยโอกาสความวุ่นวาย มิรู้ที่จะทำประการใดของข้าศึกนี้ แย่งยึดเอาผลประโยชน์มา หรืออีกนัยหนึ่ง  “ เอาชัยจากความปั่นป่วน ”  ดุจดังพายุฝนกระหน่ำยามค่ำคืน ที่ต่ำก็จักขังน้ำ ผู้คนจักเข้าสู่นิทรารมณ์ อันเป็นปกติวิสัยของธรรมชาติมนุษย์  “ กวนน้ำจับปลา ”  ก็คือกวนน้ำให้ขุ่น ให้ปลางุนงง ลงจับก็ง่าย อันนับเป็นกลยุทธ์ฉวยโอกาสเข้าตีเอาชัย เมื่อข้าศึกกำลังชุลมุนปั่นป่วนอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า  “ ปลาไม่เห็นทิศทางเมื่อน้ำขุ่น คนแยกจริงเท็จไม่ออกยามชุลมุน จึงเกิดช่องว่างอันมากหลายที่จะเอาประโยชน์ได้  “ กวนน้ำจับปลา ”  ย่อมหมายถึงในสงครามชุลมุนแห่งการแก่งแย่งอำนาจกันนั้น ควรฉวยโอกาสใช้กำลังที่อ่อนแอโลเลให้คล้อยตามความประสงค์ของตน ที่สำคัญคือเอาเท็จพรางจริง กวนน้ำให้ขุ่นโดยเจตนา แล้วรีบซ้ำเติมเอาชัยแก่ศึกเสีย ดังนี้
กลยุทธ์ที่  21 จักจั่นลอกคราบ  กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า รักษาไว้ซึ่งแนวรบเยี่ยงเดิม ให้ดูน่าเกรงขามเหมือนเก่า ฝ่ายมิตรก็มิสงสัย ฝ่ายข้าศึกมิกล้าผลีผลาม ครั้นแล้ว จึงถอนตัวอย่างปกปิด เคลื่อนกำลังหลักให้หลบเลี่ยงไป   เลี่ยงเพื่อสลาย ลวง   คำนี้มาจาก คัมภีร์อี้จิง ลวง   เลี่ยงก็คือหลบหลีก ลวง   ก็คือทำให้งงงวย นี้นับเป็นกลยุทธ์ถอยทัพอย่างไม่กระโตกกระตาก เพื่อเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ หรือหลีกเลี่ยงความสูญเสียอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า จักจั่นรอกคราบ เป็นวิธีสะบัดให้หลุดพ้นจากการเผชิญหน้ากันข้าศึก ด้วยการเคลื่อนย้ายหรือถอยทัพ ที่ว่า ลอก   มิใช้อย่างตื่นตระหนก อย่างขวัญหนีดีฝ่อ แต่ยังคงไว้ซึ่งรูปโฉมภายนอก ทว่าได้ถอดเนื้อหาออกไปหมดสิ้นแล้ว หนีแสดงว่าไม่หนี ปกปิดข้าศึก เพื่อให้หลุดพ้นจากห้วงอันตราย วิธีการ ลอกคราบ   มีหลายแบบหลายอย่าง เนื้อแท้ก็คือการใช้เล่ห์กลหลอกลวงข้าศึก เป็นพฤติการณ์ที่ใช้การพรางตา ปลอมปนความจริงเอาตัวรอดนั้นเอง
กลยุทธ์ที่  22  ปิดประตูจับโจร  กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ต่อข้าศึกอ่อนแอจำนวนน้อย พึงโอบล้อมแล้ว ทำลายเสียให้สิ้น เพื่อมิให้เป็นภัยแก่เราในภายหลัง  “ ปล่อย มิเป็นคุณซึ่งติดพัน ”  มาจาก  “ คัมภีร์อีกจิง ปล่อย ” “ ปล่อย ”  ในที่นี้หมายถึงการแตกกระจายออกเป็นกองเล็กกองน้อยของข้าศึก กำลังก็อ่อนเปลี้ยจนไร้สมรรถนะที่จะสู้รบแล้ว  “ ติดพัน ”  หมายถึงการไล่ติดตามไม่ลดละทั้งใกล้และไกล  “ มิเป็นคุณซึ่งติดพัน ”  ก็คือ ต่อข้าศึกกองเล็กกองน้อย ปล่อยให้หนีไปได้ แม้จะเล็ก แต่ก็สามารถย้อยกลับมาสร้างความยุ่งยากแก่เรา จนเราต้องไล่ติดตามเพื่อทำลายเสีย เช่นนี้มิเป็นประโยชน์แก่เรา ความหมายเดิมของ  “ ปิดประตูจับโจร ”  ก็คือ เมื่อโจรเข้าตีชิงในบ้าน ปิดประตูบ้านจึงจะจับโจรไว้ได้ ส่วนความหมายทางด้านการทหารและอื่นๆ ก็อุปมาว่าเป็นกลยุทธ์โอบล้อมทำลายข้าศึกกองย่อยๆให้สิ้น เพื่อมิให้ก่อกวน ทำอันตรายแก่เราได้ในภายหลังอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า  “ เมื่อจักจับโจร พึงตัดทางหนี โอบล้อมไว้ให้แน่นหนา หากโจรเข้าในเมือง จงปิดประตูเมืองให้สนิท มิให้ทางเล็กรอดออกไปได้ จึงจักถูกจับได้โดยละม่อม กลับกัน พบโจรก็ไล่ ไม่ปิดประตูเมือง ไล่เหนือไปใต้ โจรก็พ้นไป โจรที่หนีพ้น ย่อมจักย่ามใจ จักย้อยกลับมาอีกพร้อมด้วยพรรคพวก หากปิดทางหนีโจรจะมิกล้า อู๋จื่อกล่าวไว้ว่า  " โจรที่ไม่คำนึงถึงความตาย หากซ่อนตัวตามสุมทุมพุ่งไม้ในป่ากว้าง ก็พอจักทำให้กำลังซึ่งติดตามมาเป็นพ้นคนอกสั่นขวัญแขวน ลมพันใบไม้ไหวก็แตกตื้น เพราะมิรู้ว่า โจรจะปรากฏตัวออกมาจู่โจมเอาชีวิตเมื่อใด จับโจร จึงควรระวังมิให้เป็นปลาลอดร่างแห ”
กลยุทธ์ที่  23   คบไกลตีใกล้  กลยุทธ์นี้หมายความว่า เมื่อถูกจำกัดโดยสภาพแวดล้อม ควรตีเอาข้าศึกที่อยู่ใกล้ตัว จึงจะเป็นประโยชน์แก่ตน โจมตีข้าศึกที่อยู่ไกล จักเป็นผลร้ายแก่ตน  เปลวไฟลอยขึ้น น้ำบึงไหลลง  หมายความว่า การผูกมิตรนั้น แม้ความคิดเห็นจะไม่ตรงกัน ก็สามารถที่จะร่วมมือกันได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง คำนี้มาจาก คัมภีร์อี้จิง ต่าง   ความว่า เปลงไฟลอยขึ้น น้ำบึงไหลลง บุรุษจักร่วมกันเพราะความผิดแผก   ดังนั้น ต่อข้าศึกใกล้และไกล พึงมีนโยบายที่แตกต่างกัน นี้เป็นกลยุทธ์ที่ผูกมิตรกับรัฐไกล เพื่อเอาชัยต่อรัฐใกล้อย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า นี้เป็นยุทธศาสตร์ยุทธวิธีแยกสลายหรือป้องกันการร่วมมือกันของฝ่ายตรงข้าม เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายในการตีให้แตกที่ละส่วน ที่คำโบราณจีนเคยกล่าวไว้ ว่า  ญาติไกลมิสู้มิตรใกล้   นั้นตรงกันข้ามกับกลยุทธ์นี้ แท้ที่จริงแล้ว ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบัน ความขัดแย้งกับประเทศไกลมักจะเกิดน้อย กับประเทศใกล้กับจะมากว่า เพราะอาจจะมีการกระทบกระทั้งกันในเรื่องผลประโยชน์และอื่นๆอีกนานาประการ กลยุทธ์นี้จึงเป็นหลักปรัชญาในการแสวงหาประโยชน์พร้อมทั้งป้องกันตัวไปด้วยในขณะเดียวกัน สุดแต่ผู้ใดจักใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตน ”
กลยุทธ์ที่  24  ยืมทางพรางกล  กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ประเทศเล็กที่อยู่ในระหว่าง  2  ประเทศใหญ่เมื่อถูกข้าศึกบังคับให้สยบอยู่ใต้อำนาจ เราพึงให้ความช่วยเหลือโดยพลัน เพื่อให้ประเทศที่ถูกข่มเหงเชื่อถือ ต่อประเทศที่ตกอยู่ในความยากลำบาก การช่วยเหลือแต่เพียงทางวาจา มิได้มีการกระทำที่เป็นจริง ย่อมจะได้รับความไว้วางใจจากผู้ที่รอดความช่วยเหลือ   ทุกข์ จักมิเชื่อเพียงวาจา   มาจาก คัมภีร์อี้จิง ทุกข์   ความเต็มว่า เมื่อ อยู่ในทุกข์ จักไม่เชื่อใครโดยง่าย  จึงมิเชื่อเพียงวาจา   อันนับเป็นกลยุทธ์ในการหลอกยืมทางผ่าน เพื่อบรรลุการให้ยึดครองอีกฝ่ายที่เราประสงค์อย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า ปัญหาของกลยุทธ์นี้อยู่ที่คำว่า ยืมทาง ถ้ายืมทางได้ ทุกสิ่งทุกอย่างก็สำเร็จ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ใช้กลยุทธ์ยืมทาง จักอ้างเหตุผลในการยืมทางให้ดี เพื่อปกปิดจุดประสงค์ที่แท้จริงของตน ความจริงคำว่า ศัตรูบังคับให้ ( อีกฝ่ายหนึ่ง ) สยบ เราพึงแสดงท่าที   นั้น ก็คือฉวยโอกาสที่ อีกฝ่ายหนึ่ง   เพลี่ยงพล้ำ เรายืมมือเข้าไปช่วย แล้วเอาประโยชน์จากนี้ อันที่จริงการกระทำดังนี้ เป็นพฤติการณ์ที่ไร้คุณธรรมอย่ายิ่ง แต่ในสงครามหรือการต่อสูงใดๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเรามักจะเป็นปรากฏการณ์เช่นนี้อยู่ทั่วไปในชีวิตจริง เพราะเหตุว่า แต่ละฝ่ายย่อมจะเริ่มต้นจากผลประโยชน์ของตนเองเป็นใหญ่ หากปราศจากเสียซึ่งการร่วมมืออันถาวร ก็จักไม่มีการช่วยเหลือที่แท้จริง มิตรและศัตรู คำมั่นสัญญากับการปฏิบัติจึงพึงจำแนกให้ชัด พิจารณาให้ถ่องแท้ มิฉะนั้นแล้ว หากเห็นแก่ได้ถ่อยเดียวก็จักสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่าง แม้กระทั้งชีวิตตน ”
กลยุทธ์ร่วมรบ   กลยุทธ์ที่  25  ลักขื่อเปลี่ยนเสา  กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ต่อกำลังที่ร่วมรบด้วยข้าศึกกับเราหรือต่อข้าศึกจักต้องหาทางเปลี่ยนแปลงแนวรบฝ่ายนั้นอยู่เสมอ ถอดถอนเคลื่อย้ายกำลังสำคัญของฝ่ายนั้นไป รอให้ฝ่ายนั้นอ่อนแอต้องประสบกับความพ่ายแพ้จึงฉวยโอกาสแปรกำลังฝ่ายนั้น ให้กลายมาเป็นของเรา แล้วควบคุมกำลังของฝ่ายนั้นไว้ใต้การบัญชา   หยุดซึ่งกงล้อ   มาจาก คัมภีร์อี่จิง มิทัน   อันหมายความว่ารถคันหนึ่งนั้นสำคัญที่ล้อ ถ้าหยุดล้อได้ก็สามารถบังคับให้เคลื่อนที่ไปตามความประสงค์ของเรา อันเป็นกลยุทธ์กลืนกำลังของพันธมิตรหรืสลายกำลังของข้าศึกอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า กลยุทธ์นี้มีความหมาย  2  นัย หนึ่งหมายถึงการหาทางสับเปลี่ยนกำลังหลักของพันธมิตรชั่วคราวที่เป็นศัตรูโดยเนื้อแท้ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการทำลายหรือกลืนกินพันธมิตรนั้นเสีย ซึ่งในสมัยศักดินาโบราณ มักจะชอบกระทำกันเป็นนิจ โดยมิได้คำนึงสัจวาจาหรือศิลธรรมแต่ประการใด อีกนัยหนึ่งหมายถึงเป็นกลยุทธ์ในการโยกย้ายกำลังหลักของฝ่ายข้าศึก โดยใช้กลลวงต่างๆนานา ทำให้ข้าศึกต้องเปลี่ยนแนวรบหรือเคลื่อนย้ายกำลังไปตามความประสงค์ของเรา ครั้งแล้วจึงเข้าตีจุดอ่อนข้าศึก เพื่อให้ได้รับชัยชนะ ดังนั้น ผู้บัญชาการทีชาญฉลาดจึงมิใช้แต่จะสันทัดในการใช้กำลังพลของฝ่ายตนเท่านั้น หากยังต้องสันทัดในการเคลื่อนย้ายหรือกระจายกำลังของฝ่ายข้าศึกด้วยกลยุทธ์ ให้เกิดประโยชน์แก่ตนอีกด้วย
กลยุทธ์ที่  26   ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหว  กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อผู้ที่เข้มแข็งกว่าหรือรัฐใหญ่รังแกผู้ที่อ่อนแอหรือรัฐเล็กแล้ว ก็ควรจะใช้วิธีการตักเตือนให้เกรงกลัว ถ้าแม้นเราแสดงความเข้มแข็งให้ประจักษ์ ก็จักได้รับการสนับสนุนจากผู้อ่อนแอ ถ้าเรากล้าใช้ความรุนแรง ก็จักเป็นที่ยอมรับนับถือแก่ผู้อ่อนแอ   แกร่งจึงต้อนรับ เสี่ยงจึงยอมสยบ เดิมาจาก  “ คัมภีร์อี้จิง แม้ทัพ ”  ความเต็มว่า แกร่งจึงต้อนรับ เสี่ยงจึงยอมสยบ นี้คือหนทางปกครองแผ่นดินราษฎรจึงขึ้นต่อ   ความหมายของ  " ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหว "  ตรงกับสุภาษิตไทยเราคำว่า ตีวัวกระทบคราด   แต่เมื่อใช้ในการสัประยุทธ์ ไม่ว่าจะเป็นทางการทหารหรืออื่นๆ ก็เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายในทำนองสร้างเกียรติภูมิของตนขึ้นด้วยวิธี  ฆ่าไก่สอนลิง   เพื่อให้ฝ่ายอื่นที่อ่อนแอกว่าหรือผู้อยู่ใต้การบังคับบัญชายอมสยบด้วยอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า เพื่อที่จะดำเนินตามแผนการที่ได้วางไว้ จักต้องใช้มาตรการเด็ดขาด จึงจะสามารถได้รับผลตามที่ได้กำหนด แต่ความเด็ดขาดนั้น ใช้ว่าจะต้องอาศัยกำลังความรุนแรงเสมอไป อาจดำเนินด้วยวิธีการหนึ่งใด ที่ทำให้ฝ่ายตรงข้างตระหนักในเจตนา ยอมสยบแต่โดยดี เพราะจนปัญญาที่จะต่อตีด้วยเรา นั้นเอง
กลยุทธ์ที่  27   แสร้าทำบอแต่ไม่บ้า  กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ยอมแสร้งทำเป็นโง่ มิเคลื่อนไหว อย่าทำเป็นสู่รู้ทำบู่มบ่าม คำว่า  “ ดุจดั่งอสนีบาตหยุดฟาดฟัน ”  เก็บความมาจาก  “ คัมภีร์อี้จิง หยุด ”  ความว่า  “ อสนีบาตฤดูหนาวแฝงกายอยู่ใต้พื้นพสุธา จักแผดร้องก้องนภาคราฤดูใบไม้ผลิ ”  ซึ่งความหมายว่า ผู้ที่มีสติปัญญามิพึงแสดงตัว แต่พึงเตรียมการทั้งปวงอย่างลับๆ ประหนึ่งคมดาบอยู่ในฝัก มิปรากฏให้เห็น ครั้งเมื่อถึงกาลอันควร ก็จักคำรนคำรามเหมือนสายฟ้า ที่จะกระหน่ำพสุธาให้แตกสลายไปฉะนั้น นี้นับเป็นกลยุทธ์หลอกลวงมึนชาข้าศึก แสดงความบ้าใบ้ทางภายนอก แต่ตื่นตัวโดยตลอดอยู่ภายใน ดำเนินการอย่างลับและพลิกแพลงเพื่อเอาชนะข้าศึกอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้มีส่วนละม้ายคล้ายกับสำนวนไทยเราที่ว่า  " หน้าไหว้หลังหลอก "  หรือ  " ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก "  ในบางแง่บางมุม กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า  “ ยามเมื่อสถานการณ์ไม่เป็นผลดี ควรจะสะกดกลั้นตัวเองไว้ แสร้งทำเป็นโง่เง่า อวดฉลาดยิ่งจะไม่เป็นผลดีแก่ตน นี้เป็นวิธีรู้รักษาตัวรอดอย่างหนึ่งในยามปั่นป่วน คนฉลาดมักจะใช้วิธีการนี้ป้องกันตัวและวางแผนเอาชนะศัตรู คนที่ดูโง่เขลานั้น โดยภายนอกก็อาจจะเห็นเป็นเต่าตุ่น แต่ที่แท้แล้วภายในนั้นคมกริบ รู้เขารู้เรา พึงถอยก็รู้จักถอย มิดันทุรังรุกไปโดยไม่ดูตาม้าตาเรือ ดังนั้นจึงสามารถที่จะเป็นฝ่ายริเริ่มกระทำในการทั้งปวง เพราะเข้าใจในเหตุการณ์อย่างรู้แจ้งแทงตลอด และรอจังหวะที่จะบุกกระหน่ำมิยอมให้ศัตรูตั้งตัวติดตลอดเวลา กลยุทธ์นี้มักจะพบเห็นบ่อยๆ โดยทั่วไป ผู้ใดใช้เป็นด้วยความสันทัดจัดเจน ผู้นั้นย่อมจะได้รับผลสำเร็จ และเป็นผู้ทีน่ากลัวสำหรับฝ่ายตรงข้ามที่มิรู้แจ้งในกล ”
กลยุทธ์ที่  28  ขึ้นบ้านชักบันได  กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จงใจเปิดจุดอ่อนให้ข้าศึกเห็น สร้างเงื่อนไขและล่อหลอกให้ข้าศึกเข้าตี ครั้นแล้วตัดขาดส่วนหน้าที่คอยสมทบ และส่วนหลังที่เป็นกำลังหนุน บีบให้ข้าศึกเข้าไปในปากถุงที่เปิดอ้าไว้รับหรือในวงล้อมหลุมพรางที่วางดักไว้   เจอพิษ มิควรที่   มีใน คัมภีร์อี้จิง ขบ   เปรียบประดุจเคี้ยวกระดูกหรือเนื้อเหนี่ยว รังแต่จะทำให้ฟันชำรุดเสียหาย หรือเหมือนดั่งมักได้ในสิ่งที่มิควรได้ ย่อมจักนำมาซึ่งความวิบัติฉะนั้น   ขึ้นบ้านชักบันได   มีความหมายอย่างเดียวกันกับ  ข้ามคลองรื้อสะพาน   นี้คือกลยุทธ์ที่ใช้ผลประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ ล่อลอกให้ข้าศึกพินาศไปทั้งกองทัพอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า ขึ้นบ้านชัดบันได   มีความหมายค่อยข้างกว้าง หนึ่งในนั้นก็คือใช้ผลประโยชน์เล็กน้อย ล่อให้ข้าศึกเข้าปิ้ง แล้วทำลายเสียให้สิ้น ซึ่งก็หมายความว่าเมื่อข้าศึกบุกเข้าในอาณาเขตของเรา เราจงใจจะเปิดทางตันให้กับเขา เมื่อข้าศึกหลงกลตกอยู่ในวงล้อม ก็จะตื่นตระหนกเดินไปตามหนทางที่เราเปิดไว้ให้ เมื่อเราตัดทางรุกและทางถอย ข้าศึกก็จนด้วยเกล้า ถ้าไม่ยอมจำนน ก็เหลืออยู่แต่ทางตายถ่ายเดียว ในกลยุทธ์นี้ ที่สำคัญคือ บันได้   จงใจให้ข้าศึกเห็นจุดอ่อนและมุ่งมั่นจะใช้จุดอ่อนให้เป็นประโยชน์แต่ตน นี้ก็คือ บันได   ถ้าไม่มี บันได้   ดังกล่าว กลยุทธ์นี้ก็ยากที่จะได้รับผล
กลยุทธ์ที่  29   ต้นไม้ผลิดอก  กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ใช้แนวรบของมิตรมาสร้างแนวรบที่เป็นประโยชน์แต่เราขึ้น แม้กำลังจะน้อย แต่ก็สามารถทำให้ดูเหมือนใหญ่โต ดุจเดียวกับนกอินทรีที่ผกผินอยู่ในอากาศ ปีกขนกางเหยียดมีท่วงท่าน่าเกรงขาม คำว่า นกใหญ่โผบิน ปีกนกช่วยพาสง่างาม   มากจา คัมภีร์อีจิง รุก   หมายความว่า นกใหญ่เหินฟ้า อาศัยสองปีกอันแข็งแรง บินร่อนซอกซอนไปตามปุยเมฆ มิมีสิ่งกีดขวาง อันคล้ายกับสำนวนไทยที่ว่า ปีกหนักกวักละประโยชน์   กลยุทธ์นี้ มองอีกแง่หนึ่ง ก็จะเหมือนกับคำว่า สร้างสถานการณ์ให้เป็นประโยชน์   หรือ  ยืมมือที่สาม   เมื่อใช้ในการทหาร ก็เป็นกลยุทธ์ในการยืมกำลังผู้อื่น มาเสริมกำลังตนให้ดูแข็งแกร่งขึ้น เพื่อสยบข้าศึกอย่างหนึ่ง กลบยุทธ์นี้จึงสรุปได้ว่า ทีว่า ต้นไม้ผลิดอก   ก็คือทำให้ต้นไม้ซึ่งที่แท้ไม่มีดอก สามารถผลิดดอกออกสะพรั่งให้เห็นโดยใช้วิธีเอาดอกไม้ปลอมไปติดไว้ที่ต้นนั้น ซึ่งหากไม่พินิจพิจารณาให้ดี ก็จะไม่รู้ว่าเป็นของปลอม และอาศัยสิ่งนี้ หมุนเปลี่ยนสภาพการณ์ให้กลายมาเป็นผลดีแก่เรา หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ยืมสิ่งอื่นมาบังหน้า ให้ข้าศึกเกิดความเข้าใจผิด แล้วฉวยโอกาสเคลื่อนไหวให้เป็นไปตามความประสงค์ นั้นเอง
กลยุทธ์ที่  30  สลับแขกเป็นเจ้าบ้าน  กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งเปิดช่องให้สอดแทรก ควรแทรก กุมจุดสำคัญหรือหัวใจของอีกฝ่ายไว้   ค่อยผันสู่ชัยชนะ   พบได้ในคัมภีร์อี้จิง รุก   ซึ่งมีความเต็มว่า  “ สรรพสิงในใต้หล้า เคลื่อนอย่างใจร้อนจักเสีย สงบแต่คล้อยตามจักได้ ค่อยๆผันไปช้าๆ จักเป็นคุณ เคลื่อนดังนี้จึงจะมีผล ”  อันหมายความว่า การตอกลิ้มเข้าไปในฝ่ายตรงข้าม เพื่อยึดอำนาจการบัญชาการนั้น จัดต้องค่อยเป็นค่อยไป ดังนี้จึงจะบรรลุซึ่งชัยชนะได้   สลับแขกเป็นเจ้าบ้าน ความหมายเดิมก็คือ เจ้าบ้านต้อนรับแขกไม่เป็น แขกจึงชิงกลับมาเป็นฝ่ายต้อนรับเจ้าบ้านเสียเอง อันเป็นกลยุทธ์เปลี่ยนจากฝ่ายถูกกระทำเป็นฝ่ายการะทำอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า  " สลับแขกเป็นเจ้าบ้าน "  ก็คือแขกแย่งเป็นเจ้าบ้านเสียเอง เปลี่ยนฐานะจากฝ่ายถูกกระทำ เป็นฝ่ายกุมอำนาจการกระทำ และบงการให้สถานการณ์เป็นไปตามความประสงค์ ในขณะที่ตกอยู่ในภาวะเสียเปรียบ จะต้องยอมเป็น  " แขก "  ชั่วคราว เพื่อช่วงชิงเวลาสะสมกำลัง อาศัยชัยชนะเล็กๆน้อยๆ ครั้งแล้วครั้งเล่าโดย เจ้าบ้าน จำยอมต้องกลับกลายเป็น แขก เพราะมิมีปัญญาที่จะต้านทานได้เลย ฉะนี้
กลยุทธ์ยามพ่าย  กลยุทธ์ที่  31   กลสาวงาม  กลยุทธ์นี้หมายความว่า สำรับข้าศึกที่มีกำลังเข้มแข็ง พึงสยบแม่ทัพเสียก่อน ต่อแม่ทัพที่เฉลียวฉลาด ก็โจมตีจุดอ่อนทางใจ ให้มีอุปสรรค ส่วนแม่ทัพที่ย่อนย่อท้อแท้ ไพร่พลที่กำลังถดถอย ก็จักเสื่อมโทรมแพ้พ่ายไปเอง บัญชาศัตรูได้ จักรักษาตัวรอด   มาจาก คัมภีร์อี้จิง รุก   หมายความว่า ต่อข้าศึกที่เข้มแข็ง มิพึงใช้กำลังเข้าปะทะ ควรอาศัยจุดอ่อนของฝ่ายนั้น แทรกซึมและสลายเสีย ต่อตัวเอง พึงสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน รักษาและเสริมสร้างกำลังของตนเอง แปรเปลี่ยนสภาพการณ์ เพื่อเอาชนะข้าศึก กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า   เมื่อข้าศึกมีความเข้มแข็งดุจกำแพงเหล็ก มิมีจุดอ่อนที่จะทะลวงเข้าไปได้ วิธีเอาชนะแต่เพียงหนึ่งเดียว ก็คือจะต้องแทรกซึมเข้าไปภายในของข้าศึก ดุจดั่งหนอนกินลูกแอปเปิ้ลเจาะไซจากภายในออกมายังภายนอก จนเน่าไปทั้งลูกฉะนั้น และขุนทัพย่อมเป็นหัวใจของกองทัพ เป็นประมุขของไพร่พล ถ้าขุนทัพถ�
36 กลศึก
36 กลศึก
36 กลศึก
36 กลศึก
36 กลศึก

More Related Content

What's hot

Шекспір. Життєвий і творчий шлях
Шекспір. Життєвий і творчий шляхШекспір. Життєвий і творчий шлях
Шекспір. Життєвий і творчий шляхAdriana Himinets
 
Exemplo de relatorio de Acidente de trânsito
Exemplo de relatorio de Acidente de trânsito Exemplo de relatorio de Acidente de trânsito
Exemplo de relatorio de Acidente de trânsito Alan Newman
 
ทวีปแอฟริก่า
ทวีปแอฟริก่าทวีปแอฟริก่า
ทวีปแอฟริก่าleemeanxun
 
เลขยกกำลัง_onet_เฉลย_.pdf
เลขยกกำลัง_onet_เฉลย_.pdfเลขยกกำลัง_onet_เฉลย_.pdf
เลขยกกำลัง_onet_เฉลย_.pdfThanuphong Ngoapm
 
Nihongo sou matome n1 goi
Nihongo sou matome n1   goiNihongo sou matome n1   goi
Nihongo sou matome n1 goiMèo Mỡ
 
Teacher's book
Teacher's bookTeacher's book
Teacher's bookVadimPiven
 
102.กรณีตัวอย่างความผิดวินัยไม่ร้ายแรง ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตาม...
102.กรณีตัวอย่างความผิดวินัยไม่ร้ายแรง ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตาม...102.กรณีตัวอย่างความผิดวินัยไม่ร้ายแรง ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตาม...
102.กรณีตัวอย่างความผิดวินัยไม่ร้ายแรง ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตาม...Nayada Siri-oin
 
เรื่องสั้นสำนวนไทย 03
เรื่องสั้นสำนวนไทย 03เรื่องสั้นสำนวนไทย 03
เรื่องสั้นสำนวนไทย 03kerdnakorn
 
Bimby pao e padaria com bimby-1
Bimby   pao e padaria com bimby-1Bimby   pao e padaria com bimby-1
Bimby pao e padaria com bimby-1Teresa Campos
 
พ่อแม่ก็แก่เฒ่า
พ่อแม่ก็แก่เฒ่าพ่อแม่ก็แก่เฒ่า
พ่อแม่ก็แก่เฒ่าniralai
 
ลักษณะของจิต
ลักษณะของจิตลักษณะของจิต
ลักษณะของจิตWataustin Austin
 
หนังสือเรียนภาษาไทย ประถม 1 เล่ม 1
หนังสือเรียนภาษาไทย ประถม 1 เล่ม 1หนังสือเรียนภาษาไทย ประถม 1 เล่ม 1
หนังสือเรียนภาษาไทย ประถม 1 เล่ม 1kanidta vatanyoo
 
Ni je - ZS 669 - KoM
Ni je - ZS 669 - KoMNi je - ZS 669 - KoM
Ni je - ZS 669 - KoMStripovi Klub
 
1oral 140908061755-phpapp02
1oral 140908061755-phpapp021oral 140908061755-phpapp02
1oral 140908061755-phpapp02TG Tuugii
 
60 dias comigo dr. dukan - parte 9 (306 a 343)
60 dias comigo   dr. dukan - parte 9 (306 a 343)60 dias comigo   dr. dukan - parte 9 (306 a 343)
60 dias comigo dr. dukan - parte 9 (306 a 343)Vanessa Dias
 
the secondary school certificate english
the secondary school certificate englishthe secondary school certificate english
the secondary school certificate englishshraf eldin sati
 
พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์ ตอน พระพยอม พ่อพระของผู้ยากจน
พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์ ตอน พระพยอม พ่อพระของผู้ยากจน พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์ ตอน พระพยอม พ่อพระของผู้ยากจน
พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์ ตอน พระพยอม พ่อพระของผู้ยากจน Padvee Academy
 

What's hot (20)

มหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดกมหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดก
 
Шекспір. Життєвий і творчий шлях
Шекспір. Життєвий і творчий шляхШекспір. Життєвий і творчий шлях
Шекспір. Життєвий і творчий шлях
 
Exemplo de relatorio de Acidente de trânsito
Exemplo de relatorio de Acidente de trânsito Exemplo de relatorio de Acidente de trânsito
Exemplo de relatorio de Acidente de trânsito
 
ทวีปแอฟริก่า
ทวีปแอฟริก่าทวีปแอฟริก่า
ทวีปแอฟริก่า
 
เลขยกกำลัง_onet_เฉลย_.pdf
เลขยกกำลัง_onet_เฉลย_.pdfเลขยกกำลัง_onet_เฉลย_.pdf
เลขยกกำลัง_onet_เฉลย_.pdf
 
Nihongo sou matome n1 goi
Nihongo sou matome n1   goiNihongo sou matome n1   goi
Nihongo sou matome n1 goi
 
7
77
7
 
Teacher's book
Teacher's bookTeacher's book
Teacher's book
 
102.กรณีตัวอย่างความผิดวินัยไม่ร้ายแรง ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตาม...
102.กรณีตัวอย่างความผิดวินัยไม่ร้ายแรง ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตาม...102.กรณีตัวอย่างความผิดวินัยไม่ร้ายแรง ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตาม...
102.กรณีตัวอย่างความผิดวินัยไม่ร้ายแรง ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตาม...
 
เรื่องสั้นสำนวนไทย 03
เรื่องสั้นสำนวนไทย 03เรื่องสั้นสำนวนไทย 03
เรื่องสั้นสำนวนไทย 03
 
Bimby pao e padaria com bimby-1
Bimby   pao e padaria com bimby-1Bimby   pao e padaria com bimby-1
Bimby pao e padaria com bimby-1
 
พ่อแม่ก็แก่เฒ่า
พ่อแม่ก็แก่เฒ่าพ่อแม่ก็แก่เฒ่า
พ่อแม่ก็แก่เฒ่า
 
ลักษณะของจิต
ลักษณะของจิตลักษณะของจิต
ลักษณะของจิต
 
หนังสือเรียนภาษาไทย ประถม 1 เล่ม 1
หนังสือเรียนภาษาไทย ประถม 1 เล่ม 1หนังสือเรียนภาษาไทย ประถม 1 เล่ม 1
หนังสือเรียนภาษาไทย ประถม 1 เล่ม 1
 
Ni je - ZS 669 - KoM
Ni je - ZS 669 - KoMNi je - ZS 669 - KoM
Ni je - ZS 669 - KoM
 
Mötərizəli ifadələr
Mötərizəli ifadələrMötərizəli ifadələr
Mötərizəli ifadələr
 
1oral 140908061755-phpapp02
1oral 140908061755-phpapp021oral 140908061755-phpapp02
1oral 140908061755-phpapp02
 
60 dias comigo dr. dukan - parte 9 (306 a 343)
60 dias comigo   dr. dukan - parte 9 (306 a 343)60 dias comigo   dr. dukan - parte 9 (306 a 343)
60 dias comigo dr. dukan - parte 9 (306 a 343)
 
the secondary school certificate english
the secondary school certificate englishthe secondary school certificate english
the secondary school certificate english
 
พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์ ตอน พระพยอม พ่อพระของผู้ยากจน
พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์ ตอน พระพยอม พ่อพระของผู้ยากจน พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์ ตอน พระพยอม พ่อพระของผู้ยากจน
พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์ ตอน พระพยอม พ่อพระของผู้ยากจน
 

Viewers also liked

หนังสือหายาก คลังปัญญาของชาติ : กรณีโครงการหนังสือเก่าชาวสยาม
หนังสือหายาก คลังปัญญาของชาติ : กรณีโครงการหนังสือเก่าชาวสยามหนังสือหายาก คลังปัญญาของชาติ : กรณีโครงการหนังสือเก่าชาวสยาม
หนังสือหายาก คลังปัญญาของชาติ : กรณีโครงการหนังสือเก่าชาวสยามHumanities Information Center
 
ตำราพิชัยสงครามซุนวู
ตำราพิชัยสงครามซุนวูตำราพิชัยสงครามซุนวู
ตำราพิชัยสงครามซุนวูPor Waragorn
 
36 กลยุทธิ์ชนะศึก
36 กลยุทธิ์ชนะศึก36 กลยุทธิ์ชนะศึก
36 กลยุทธิ์ชนะศึกtommy
 
ตำราพรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์
ตำราพรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์ตำราพรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์
ตำราพรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์sornblog2u
 
คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น
คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็นคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น
คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็นsornblog2u
 
โหราศาสตร์ ฉบับพิศดาร
โหราศาสตร์ ฉบับพิศดารโหราศาสตร์ ฉบับพิศดาร
โหราศาสตร์ ฉบับพิศดารChart Chiang Mai
 
การจัดทำแผนเผชิญเหตุ Ddpm
การจัดทำแผนเผชิญเหตุ Ddpmการจัดทำแผนเผชิญเหตุ Ddpm
การจัดทำแผนเผชิญเหตุ DdpmPongsatorn Sirisakorn
 
แสวงข้อตกลงใจทางทหาร
แสวงข้อตกลงใจทางทหารแสวงข้อตกลงใจทางทหาร
แสวงข้อตกลงใจทางทหารameddschool
 
บทเรียนทางไปรษณีย์ อ.อรุณ ลำเพ็ญ ฉบับรวม
บทเรียนทางไปรษณีย์ อ.อรุณ ลำเพ็ญ ฉบับรวมบทเรียนทางไปรษณีย์ อ.อรุณ ลำเพ็ญ ฉบับรวม
บทเรียนทางไปรษณีย์ อ.อรุณ ลำเพ็ญ ฉบับรวมศิ ศิลป์
 
สมุนไพรไทย ตอนที่ ๑
สมุนไพรไทย ตอนที่ ๑สมุนไพรไทย ตอนที่ ๑
สมุนไพรไทย ตอนที่ ๑tommy
 
แก้อาการสะบักจม
แก้อาการสะบักจมแก้อาการสะบักจม
แก้อาการสะบักจมtommy
 
ประชุมพงศาวดา
ประชุมพงศาวดาประชุมพงศาวดา
ประชุมพงศาวดาtommy
 
ประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยtommy
 
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์tommy
 
Rongse
RongseRongse
Rongsetommy
 
โลกพระศรีอารย
โลกพระศรีอารยโลกพระศรีอารย
โลกพระศรีอารยtommy
 
แนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ ปรีดี
แนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ ปรีดีแนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ ปรีดี
แนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ ปรีดีtommy
 
นางแมวผี
นางแมวผีนางแมวผี
นางแมวผีtommy
 

Viewers also liked (20)

หนังสือหายาก คลังปัญญาของชาติ : กรณีโครงการหนังสือเก่าชาวสยาม
หนังสือหายาก คลังปัญญาของชาติ : กรณีโครงการหนังสือเก่าชาวสยามหนังสือหายาก คลังปัญญาของชาติ : กรณีโครงการหนังสือเก่าชาวสยาม
หนังสือหายาก คลังปัญญาของชาติ : กรณีโครงการหนังสือเก่าชาวสยาม
 
ตำราพิชัยสงครามซุนวู
ตำราพิชัยสงครามซุนวูตำราพิชัยสงครามซุนวู
ตำราพิชัยสงครามซุนวู
 
36 กลยุทธิ์ชนะศึก
36 กลยุทธิ์ชนะศึก36 กลยุทธิ์ชนะศึก
36 กลยุทธิ์ชนะศึก
 
ตำราพรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์
ตำราพรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์ตำราพรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์
ตำราพรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์
 
หมอธรรม
หมอธรรมหมอธรรม
หมอธรรม
 
คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น
คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็นคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น
คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น
 
โหราศาสตร์ ฉบับพิศดาร
โหราศาสตร์ ฉบับพิศดารโหราศาสตร์ ฉบับพิศดาร
โหราศาสตร์ ฉบับพิศดาร
 
การจัดทำแผนเผชิญเหตุ Ddpm
การจัดทำแผนเผชิญเหตุ Ddpmการจัดทำแผนเผชิญเหตุ Ddpm
การจัดทำแผนเผชิญเหตุ Ddpm
 
แสวงข้อตกลงใจทางทหาร
แสวงข้อตกลงใจทางทหารแสวงข้อตกลงใจทางทหาร
แสวงข้อตกลงใจทางทหาร
 
บทเรียนทางไปรษณีย์ อ.อรุณ ลำเพ็ญ ฉบับรวม
บทเรียนทางไปรษณีย์ อ.อรุณ ลำเพ็ญ ฉบับรวมบทเรียนทางไปรษณีย์ อ.อรุณ ลำเพ็ญ ฉบับรวม
บทเรียนทางไปรษณีย์ อ.อรุณ ลำเพ็ญ ฉบับรวม
 
Presentation
PresentationPresentation
Presentation
 
สมุนไพรไทย ตอนที่ ๑
สมุนไพรไทย ตอนที่ ๑สมุนไพรไทย ตอนที่ ๑
สมุนไพรไทย ตอนที่ ๑
 
แก้อาการสะบักจม
แก้อาการสะบักจมแก้อาการสะบักจม
แก้อาการสะบักจม
 
ประชุมพงศาวดา
ประชุมพงศาวดาประชุมพงศาวดา
ประชุมพงศาวดา
 
ประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยประชาธิปไตย
ประชาธิปไตย
 
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
 
Rongse
RongseRongse
Rongse
 
โลกพระศรีอารย
โลกพระศรีอารยโลกพระศรีอารย
โลกพระศรีอารย
 
แนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ ปรีดี
แนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ ปรีดีแนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ ปรีดี
แนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ ปรีดี
 
นางแมวผี
นางแมวผีนางแมวผี
นางแมวผี
 

More from tommy

ความรู้เรื่อง เพชร-
ความรู้เรื่อง  เพชร-ความรู้เรื่อง  เพชร-
ความรู้เรื่อง เพชร-tommy
 
อันตรายจากอาหารมื้อเย็น
อันตรายจากอาหารมื้อเย็นอันตรายจากอาหารมื้อเย็น
อันตรายจากอาหารมื้อเย็นtommy
 
ศักดินาไทย
ศักดินาไทยศักดินาไทย
ศักดินาไทยtommy
 
แบบทดสอบสมาธิ
แบบทดสอบสมาธิแบบทดสอบสมาธิ
แบบทดสอบสมาธิtommy
 
พจนานุกรมฉบับคึกฤทธิ์
พจนานุกรมฉบับคึกฤทธิ์พจนานุกรมฉบับคึกฤทธิ์
พจนานุกรมฉบับคึกฤทธิ์tommy
 
เศรษศาสตร์กลางทะเลลึก
เศรษศาสตร์กลางทะเลลึกเศรษศาสตร์กลางทะเลลึก
เศรษศาสตร์กลางทะเลลึกtommy
 
พระปกเกล้าทรงโต้แย้งปรีดี
พระปกเกล้าทรงโต้แย้งปรีดีพระปกเกล้าทรงโต้แย้งปรีดี
พระปกเกล้าทรงโต้แย้งปรีดีtommy
 
การเมืองของประชาชน กุหลาบ
การเมืองของประชาชน กุหลาบการเมืองของประชาชน กุหลาบ
การเมืองของประชาชน กุหลาบtommy
 
สามเกลอ ตอนสู่อนาคต
สามเกลอ ตอนสู่อนาคตสามเกลอ ตอนสู่อนาคต
สามเกลอ ตอนสู่อนาคตtommy
 
ล่าพรายทะเล
ล่าพรายทะเลล่าพรายทะเล
ล่าพรายทะเลtommy
 
ไทยเตะเขมร
ไทยเตะเขมรไทยเตะเขมร
ไทยเตะเขมรtommy
 
ประกาศเปลี่ยนธรรมเนียมใหม่
ประกาศเปลี่ยนธรรมเนียมใหม่ประกาศเปลี่ยนธรรมเนียมใหม่
ประกาศเปลี่ยนธรรมเนียมใหม่tommy
 
สี่แผ่นดิน
สี่แผ่นดินสี่แผ่นดิน
สี่แผ่นดินtommy
 
Samkok01
Samkok01Samkok01
Samkok01tommy
 
เย้ยพระยม
เย้ยพระยมเย้ยพระยม
เย้ยพระยมtommy
 
ผีตายซาก
ผีตายซากผีตายซาก
ผีตายซากtommy
 
สมบัติปิศาจ
สมบัติปิศาจสมบัติปิศาจ
สมบัติปิศาจtommy
 
หมู่บ้านผีดิบ
หมู่บ้านผีดิบหมู่บ้านผีดิบ
หมู่บ้านผีดิบtommy
 
เจ้าพ่อเชย
เจ้าพ่อเชยเจ้าพ่อเชย
เจ้าพ่อเชยtommy
 
บ้านผีสิง
บ้านผีสิงบ้านผีสิง
บ้านผีสิงtommy
 

More from tommy (20)

ความรู้เรื่อง เพชร-
ความรู้เรื่อง  เพชร-ความรู้เรื่อง  เพชร-
ความรู้เรื่อง เพชร-
 
อันตรายจากอาหารมื้อเย็น
อันตรายจากอาหารมื้อเย็นอันตรายจากอาหารมื้อเย็น
อันตรายจากอาหารมื้อเย็น
 
ศักดินาไทย
ศักดินาไทยศักดินาไทย
ศักดินาไทย
 
แบบทดสอบสมาธิ
แบบทดสอบสมาธิแบบทดสอบสมาธิ
แบบทดสอบสมาธิ
 
พจนานุกรมฉบับคึกฤทธิ์
พจนานุกรมฉบับคึกฤทธิ์พจนานุกรมฉบับคึกฤทธิ์
พจนานุกรมฉบับคึกฤทธิ์
 
เศรษศาสตร์กลางทะเลลึก
เศรษศาสตร์กลางทะเลลึกเศรษศาสตร์กลางทะเลลึก
เศรษศาสตร์กลางทะเลลึก
 
พระปกเกล้าทรงโต้แย้งปรีดี
พระปกเกล้าทรงโต้แย้งปรีดีพระปกเกล้าทรงโต้แย้งปรีดี
พระปกเกล้าทรงโต้แย้งปรีดี
 
การเมืองของประชาชน กุหลาบ
การเมืองของประชาชน กุหลาบการเมืองของประชาชน กุหลาบ
การเมืองของประชาชน กุหลาบ
 
สามเกลอ ตอนสู่อนาคต
สามเกลอ ตอนสู่อนาคตสามเกลอ ตอนสู่อนาคต
สามเกลอ ตอนสู่อนาคต
 
ล่าพรายทะเล
ล่าพรายทะเลล่าพรายทะเล
ล่าพรายทะเล
 
ไทยเตะเขมร
ไทยเตะเขมรไทยเตะเขมร
ไทยเตะเขมร
 
ประกาศเปลี่ยนธรรมเนียมใหม่
ประกาศเปลี่ยนธรรมเนียมใหม่ประกาศเปลี่ยนธรรมเนียมใหม่
ประกาศเปลี่ยนธรรมเนียมใหม่
 
สี่แผ่นดิน
สี่แผ่นดินสี่แผ่นดิน
สี่แผ่นดิน
 
Samkok01
Samkok01Samkok01
Samkok01
 
เย้ยพระยม
เย้ยพระยมเย้ยพระยม
เย้ยพระยม
 
ผีตายซาก
ผีตายซากผีตายซาก
ผีตายซาก
 
สมบัติปิศาจ
สมบัติปิศาจสมบัติปิศาจ
สมบัติปิศาจ
 
หมู่บ้านผีดิบ
หมู่บ้านผีดิบหมู่บ้านผีดิบ
หมู่บ้านผีดิบ
 
เจ้าพ่อเชย
เจ้าพ่อเชยเจ้าพ่อเชย
เจ้าพ่อเชย
 
บ้านผีสิง
บ้านผีสิงบ้านผีสิง
บ้านผีสิง
 

36 กลศึก

  • 1. 36 กลยุทธิ์การศึก จัดนำเสนอโดย SG.9979
  • 2. กลยุทธ์ที่ 1 ปิดฟ้าข้ามทะเล กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า สิ่งที่ตนคิดว่าได้ตระเตรียมไว้อย่างพร้อมมูลแล้ว ก็มักจะมึนชาและประมาทศัตรูได้ง่าย สิ่งที่พบเห็นอยู่เสมอในยามปรกติก็ไม่เกิดความสงสัยอีกต่อไป ที่ว่า “ มืดอยู่ในสว่าง ไม่อยู่ตรงข้ามสว่าง ” ก็คือกลอุบายแจ้งมีอุบายลับ อุบายลับจะปรากฏเป็นจริงขึ้นในอุบายแจ้งนั้นเอง “ สว่าง ” คือเปิดเผย แจ้งชัด “ มืด ” คือแฝงเร้น ปกปิด ความหมายของคำว่า “ สว่าง มืด ” ก็คือ ในรูปแบบที่เปิดเผยอย่างที่สุด แฝงเร้นไว้ด้วยเนื้อหาที่ปิดลับที่สุด การใช้อุบายประสานกันทั้งมืดและสว่าง ยอมเป็นกลยุทธ์อันเป็นปกติวิสัยของคู่ต่อสู้ ในการสัประยุทธ์ห้ำหั่นซึ่งกันและกัน ที่กลยุทธ์นี้ชื่อ “ ปิดฟ้าข้ามทะเล ” ก็คือการสร้างภาพลวงฝ่าข้ามทะเลไปโดยไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามรู้เนื้อรู้ตัว เมื่อใช้ในด้านการทหาร มิได้หมายถึงการข้ามทะเลด้วยการปกปิดเป็นเฉพาะ แต่หมายถึงว่าเมื่อสองประเทศรบกัน ฝ่ายหนึ่งใช้กลยุทธ์สร้างภาพลวงขึ้น ปกปิดความจริง มึนชาฝ่ายตรงข้าม นี้ก็คือกลยุทธ์ใช้การพรางตามาปกปิดจุดประสงค์ของตนมิให้ฝ่ายตรงข้ามพบเห็นได้ง่าย เพื่อบรรลุภาระหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้อย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ สำหรับเรื่องที่มีความเคยชิน มนุษย์เรามักจะปล่อยปละละเลยต่อการระมัดระวัง มิได้ป้องกันให้เข้มงวดกวดขัน
  • 3. กลยุทธ์ที่ 2 ล้อมเว่ยช่วยเจ้า กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกรวมศูนย์กำลังพลไว้ ควรจะใช้กลอุบายดึงแยกข้าศึกออกไป ทำให้กำลังพลกระจัดกระจาย ห่วงหน้าพะวงหลัง ครั้นแล้วจึงเข้าโจมตี นี้ก็คือ “ ศัตรูรวมมิสู้ศัตรูแยก ” และตำราพิชัยสงครามในสมัยโบราณ ขนานนามยุทธศาสตร์การส่งทหารเข้าบุกข้าศึกก่อนเป็น “ ศัตรูแจ้ง ” ส่วนยุทธศาสตร์กำราบข้าศึกทีหลังเป็น “ ศัตรูมืด ” ภายในสภาพการณ์ที่แน่นอน การบุกข้าศึกทีหลังได้เปรียบกว่าการส่งทหารเข้าบุกก่อน กลยุทธ์นี้หมายถึงการใช้ศิลปะการต่อสู้ทางการทหารที่เรียกว่า “ ถ้ามาหลายก็ให้แยก ” “ ถ้าบุกก็ให้ถอย ” “ การส่งทหารเข้าบุกก่อนมิสู้ตีโต้ตอบทีหลัง ” นี้เป็นกลยุทธ์ที่ “ เลี่ยงแน่นตีกลวง เลี่ยงแข็งตีอ่อน เลื่ยงที่สงบตีที่ปั่นป่วน เลี่ยงที่ฮึกเหิมตีที่ย่อท้อ ” เพื่อขับข้าศึกและเข้าบดขยี้ข้าศึกในภายหลังอย่างหนึ่ง ในตำราพิสังสงครามซุนวู บทว่าด้วย “ จริงลวง ” ได้เขียนไว้ว่า “ เรารวมเป็นหนึ่ง ข้าศึกแยกเป็นสิบ เราก็มากข้าศึกก็น้อย ” กลยุทธ์นี้จึงสรุปว่า “ อย่าปะทะกับข้าศึกซึ่งหน้า ควรใช้ยุทธวิธีวกวนที่เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตน แบ่งแยกกำลังของข้าศึกให้กระจายเป็นหลายส่วน แล้วจึงพิชิตเสีย ”
  • 4. กลยุทธ์ที่ 3 ยืมดาบฆ่าคน กลยุทธ์นี้มีความหวายว่า เมื่อศัตรูปรากฏแน่ชัด แต่มิตรยังลังเล สิ่งที่พึงกระทำก็คือล่อให้พันธมิตรออกไปปะทะศัตรู นี้เป็นกลวิธีอย่างหนึ่งใช้ความขัดแย้ง ยืมกำลังของคนอื่นไปทำลายศัตรู เพื่อรักษากำลังตนเองไว้ แต่การยืมเช่นนี้จะต้องให้แนบเนียน มิฉะนั้นแล้วก็ไม่อาจทำลายศัตรูได้ กลับอาจถูกศัตรูย้อนรอย กลยุทธ์นี้ได้ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง ใน จดหมายเหตุราชวงศ์ฮั่นหลังประวัติหวางหยุน มีเรื่อง ลิโป้ฆ่าตั๋งโต๊ะ ใน สามก๊ก ก็มีเรื่อง ขงเบ้งยืมกำลังของซุนกวนไปต้านโจโฉที่ผาแดง หรือ โจโฉแตกทัพเรือ เป็นต้น กลยุทธ์นี้สรุปว่า เมื่อศัตรูมีทีท่าแจ่มชัด แต่กำลังของฝ่ายเรายังมิกล้าแข็ง ควรจะหาทางอาศัยกำลังของพันธมิตรไปโจมตีศัตรู หลีกเลี่ยงการสูญเสียของฝ่ายเรา ด้วยวิธีทั้งปวง
  • 5. กลยุทธ์ที่ 4 รอซ้ำยามเปลี้ย กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อประสงค์จักทำให้ข้าศึกตกอยู่ในภาวะลำบาก ไม่แน่ว่าจะต้องใช้วิธีรบแต่ฝ่ายเดียว อาจจะใช้วิธี แกร่งเสีย อ่อนได้ ตามที่กล่าวไว้ใน คัมภีร์อี้จิง สูญเสีย เมื่อให้ได้รับชัยชนะ ก็ได้ ความหมายของ แกร่งเสีย ก็คือ เมื่อการรุกของข้าศึกดุเดือดยิ่งนัก ดูภายนอกแล้วเสมือนหนึ่งเข้มแข็งใหญ่โตเหลือประมาณแต่ไม่อาจรบต่อเนื่องได้ยาวนาน อ่อนเปลี้ยเพลียแรงได้ง่าย อ่อนได้ ก็คือ ฝ่ายรับที่ทำการป้องกัน ถูกตีกระหน่ำดูแล้วเหมือนหนึ่งอ่อนปวกเปียก แต่สามารถจะใช้ความสงบรอความเปลี้ย บั่นทอนกำลังข้าศึกไม่ขาดระยะ ทำให้ตนแปรเปลี่ยนจากฝ่ายเสียเปรียบเป็นฝ่ายได้เปรียบ นี้คือกลอุบายในการยึดกุมเป็นฝ่ายริเริ่มในสงคราม รอโอกาสทำลายข้าศึกแปรการรับให้เป็นการรุกอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้มีปรากฏอยู่ในตำราพิชัยสงครามหลายเล่ม เช่น ซุนจือ ว่าด้วยการศึก ยุทธวิธีร้อยแปด ว่าด้วยสงคราม ว่าด้วยการระดมพลเหนือใต้ บันทึกจ่อจ้วน บันทึกประวัติศาสตร์ จดหมายเหตุราชวงศ์ฮั่น ซึ่งใน ว่าด้วยการระดมพลเหนือใต้ กล่าวไว้ว่าทราบจากตำราพิชัยสงครามว่า ผู้รับมักสบาย แต่ผู้รุกมักเหนื่อยยาก รอซ้ำยามเปลี้ย ใน จดหมายเหตุราชวงศ์ฮั่นหลัง ประวัติฝงอี้ กล่าวว่า ผู้บุกกำลังไม่พอ แต่ผู้รับมีกำลังเหลือเฟือ บัดนี้รักษาเมืองไว้ก่อน ใช้ความสงบรอความเปลี้ย มิจำต้องไปรบด้วยเลย กลยุทธ์นี้มาจาก " ตำราพิชัยสงครามซุนจื่อ ว่าด้วยการทำศึก " ความเดิมมีว่า " ใช้ใกล้รอไกล ใช้สบายรอเหนื่อย ใช้อิ่มรอหิว นี้คือการสยบผู้แกร่งกว่านั้นแล " กลยุทธ์นี้สรุปว่า เมื่อศัตรูมีทีท่าแจ่มชัด แต่กำลังของฝ่ายเรายังมิกล้าแข็ง ควรจะหาทางอาศัยกำลังของพันธมิตรไปโจมตีศัตรู หลีกเลี่ยงการสูญเสียของฝ่ายเรา ด้วยวิธีทั้งปวง
  • 6. กลยุทธ์ที่ 5 ตีชิงตายไฟ กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกอยู่ในภาวะวิกฤติ ควรฉวยโอกาสรุกรบโจมตี เพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ หรือให้ผู้เข้มแข็งออกโรงเข้าแทรกแซงให้ผู้อ่อนกว่ายอมสยบด้วย นี้ก็คือที่เรียกว่า ใช้ความแกร่งพิชิตความอ่อน ความหมายเดิมของ ตีชิงตามไฟ คือในขณะที่ผู้อื่นถูกเพลิงเผาผลาญห่วงแต่ตัวเอง ไม่ว่างกับเรื่องอื่น ก็ฉวยโอกาสแย่งชิงเอาของผู้นั้นเมาหรือในขณะที่ผู้อื่นตกอยู่ในอันตรายหรือในความลำบาก ก็รุกล้ำเอาผลประโยชน์ของผู้นั้นมา เมื่อนำมาใช้ในการทหาร ก็คือสิ่งที่ตำราพิชัยสงครามของ “ ซุนจือ ว่าด้วยอุบาย ” กล่าวไว้ว่า “ ชิงเอาในยามปั่นป่วน ” หรือที่ “ ว่าด้วยอุบาย ” ของตู้มู่นักการทหารอีกคนหนึ่งกล่าวไว้ว่า “ เมื่อข้าศึกวุ่นว่ายปั่นป่วย อาจฉวยโอกาสช่วงชิงมาได้ ” กลยุทธ์นี้ แต่เดิมมาจากตำราพิชัยสงครามของซุนจื่อ “ ว่าด้วยอุบาย ” ที่วกล่าวไว้ว่า “ ชิงเอาในยามปั่นป่วน ” ฉะนั้น กลบยุทธ์นี้จึงเป็นกลอุบายที่ฉวยโอกาสในยามที่ข้าศึกอยู่ในภาวะวิกฤติ เข้ารุกรบโจมตีอย่างหนึ่ง ที่กล่าวว่า “ เมื่อข้าศึกมีภัย ให้ฉกฉวยเอาประโยชน์ ” มิได้จำกัดอยู่แต่เพียงในด้ายการทหาร หากจะนำไปใช้ได้ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจและอื่นๆ อย่างกว้างขวาง จะได้ผลหรือไม่อย่างใดก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ ในบางครั้งยังอาจจะใช้วิธีการต่างๆ ทำให้ข้าศึกเกิดวิกฤติ ให้เกิดความระแวงสงสัยในกันและกัน ตอกย้ำความประหวั่นพรั่นพรึงทางจิตใจให้หนักหน่วงยิ่งขึ้น เพื่อบันทอนพลังสู้รบของข้าศึก เป็นต้น หลังจากนั้นจึงฉวยโอกาสชิงเอาชัยนี้ก็นับอยู่ในการใช้กลยุทธ์นี้ด้วย กลยุทธ์นี้จึงสรุปว่า “ เมื่อข้าศึกประสบกับความยากลำบากทั้งภายในและภายนอก จักต้องรุกโจมตีอย่างไม่ปรานี ฉวยโอกาสอันดีนี้ กระหน่ำซ้ำเติมอย่างให้ตั้งตัวติดและพิชิตเอาชัยอย่างได้ช้า ”
  • 7. กลยุทธ์ที่ 6 ส่งเสียบุรพาฝ่าตีประจิม กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ตามคำอธิบายของ “ คัมภีร์อี้จิง ปั่นป่วน ” คำว่า “ ดุจจมในปลัก ” ก็คือตกอยู่ในภาวะที่รวมตัวอยู่ในที่เดียวกัน แต่ขยับตัวหรือกระจายแนวออกต่อตีมิได้ มีอันตรายที่จะพังพินาศได้ทุกเวลา ประดุจฝูงสัตว์ที่ขาดหัวหน้า มิมีการบัญชาที่ถูกต้อง ก็จักต้องพ่ายแพ้ไม่ช้าก็เร็ว หรืออีกในหนึ่ง ในระหว่างสงครามาหรือการสัประยุทธ์ใดๆ ก็ดี เมื่อการบัญชาการของข้าศึกสับสนอลหม่าน มิอาจวินิจฉัยหรือป้องกันได้อย่างถูกต้องทันท่วงที จนเกิดเหตุอันไม่คาดฝันขึ้น พึงฉวยโอกาสที่ข้าศึกวุ่นวายไร้การควบคุม ทำลายเสีย ที่ว่า “ ส่งเสียงบูรพาฝ่าตีประจิม ” ยังหมายถึงกลอุบายที่เห็นอยู่ทางตะวันออกหยกๆ แต่กลับวกไปอยู่ทางตะวันตก ส่งเสียงทางนี้แต่ตีทางโน้น ทำทีถอยแต่กลับรุก ทำทีรุกแต่กลับถอย ลวงล่อข้าศึกอย่างแนบเนียน ทำให้ข้าศึกเกิดความเข้าใจผิด แล้วฉวยโอกาสเข้าพิชิตเอาชัยแก่ข้าศึกอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้มีอยู่ในตำราพิชัยสงครามหลายเล่มด้วยกัน เช่น “ ซุนจือ ว่าด้วยภูมิประเทศ ” “ ยุทธ์วิธีร้อยแปด ว่าด้วยสงครามเสียง ” “ ไหวหนานจื่อ การฝึกยุทธวิธี ” เป็นต้น ในเล่มหลังนี้กล่าวว่า “ ดังนั้นมรรควิธีแห่งการใช้ทหาร แสดงให้เห็นว่าอ่อนแต่ปะทะด้วยแข็ง แสดงให้เห็นว่าเปราะแต่ปะทะด้วยแกร่ง เมื่อจะรวบ พึงกระจาย เมื่อจักไปประจิม ควรทำทีไปบูรพา ” หรือ “ คัมภีร์ทั่วไป ว่าด้วยการศึกหลายเลขหก ” ของตู้อิ้วก็กล่าวไว้ว่า “ ส่งเสียงว่าตีทางบูรพา แต่ที่แท้ตีทางประจิม ” กลยุทธ์นี้สรุปว่า “ ที่ว่าส่งเสียบูรพาฝ่าตีประจิม ก็คือโดยภายนอก โดยผิวเผิน ทำให้ดูเสมือนหนึ่งว่าจะบุกทางนี้อย่างจริงจัง แต่ที่แท้แล้วกลับบุกอีกด้านหนึ่ง ทำให้ข้าศึกหลงผิด แล้วพิชิตเอาชัยบนความหลงผิดนั้น ”
  • 8. กลยุทธิ์เผชิญศึก กลยุทธ์ที่ 7 มีในไม่มี กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ให้ใช้ภาพลวงล่อหลอกข้าศึก แต่มิใช้จะล่อลวงจนถึงที่สุด หากแต่เพื่อแปรเปลี่ยนจากลวงเป็นจริง ทำให้ข้าศึกเกิดความหลงผิด ที่ว่า “ ลวง ” ก็คือ “ หลอกลวง ” ที่ว่า “ มืด ” ก็คือ “ เท็จ ” จากมืดน้อยไปถึงมืดมาก จากมืดมากแปรเปลี่ยนเป็นสว่างแจ้ง ก็คือใช้ภาพลวงปกปิดภาพจริง ผันจากเท็จลวงให้กลายเป็นแท้จริงแท้ นี้เป็นเรื่องในการศึกเท็จลวงและแท้จริงแท้สลับกันเป็นฟันปลา ในจริงมีเท็จ ในเท็จมีจริง “ มีในไม่มี ” หมายถึงกลอุบายซึ่ง “ จริงในเท็จ ” ที่ใช้ภาพลวงล่อหลอกข้าศึก ให้ข้าศึกเกิดความหลงผิดอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้มีอยู่ใจตำราพิชัยสงครามชื่อ “ อุ้ยเหลียวจือ อำนาจศึก ” ซึ่งกล่าวว่า “ อำนาจศึกอยู่ที่วิถีอันทำได้ ผู้มีจักไม่มี ผู้ไม่มีจักมี ” ในบทที่ 34 ของ “ คัมภีร์เหล่าจื่อเล่มหลัง ” ก็กล่าวไว้ว่า “ สรรพสิ่งใต้หล้าเกิดจากมี บางก็เกิดจากไม่มี ” กลยุทธ์นี้สรุปว่า “ เมื่อจักสั่นคลอนจิตใจของข้าศึก มิควรวู่วาม ควรใช้ยุทธวิธีจริงเท็จเท็จจริงกลับลวงกันไป ทำให้ข้าศึกเกิดความสับสนวุ่นวาย พึงจับจุดอ่อนของข้าศึก ยืนหยัดจนถึงวาระที่สำคัญที่สุด ครั้นแล้วก็รุกโจมตีอย่างถึงแก่ชีวิต ”
  • 9. กลยุทธ์ที่ 8 ลอบตีเฉินชัง กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ในการศึก ใช้โอกาสที่ฝ่ายข้าศึกตัดสินใจจะรักษาพื้นที่ แสร้งทำเป็นจะโจมตีด้านหน้า แต่เข้าจู่โจมในพื้นที่ที่ข้าศึกไม่สนใจอย่างมิได้คาดคิด ใน “ คัมภีร์อี้จิง ประโยชน์ ” เรียกว่า “ เข้าจู่โจมดุจพายุ ” ซึ่งก็คือกลวิธีวกวนลอบเข้าจู่โจมอย่างเป็นฝ่ายกระทำ เข้าตีข้าศึกโดยมิได้ระวังตัว เอาชนะอย่างมหัศจรรย์อย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้สรุปว่า “ เมื่อคู่ศึกทั้ง 2 ฝ่ายตั้งประจัญหน้ากัน จงใจสร้างเป้าหมายให้ฝ่ายตรงข้ามเพ่งเล็ง รอจนเมื่อฝ่ายตราข้ามวางกำลังใหญ่ป้องกันไว้ ณ ที่นั้นแล้ว จึงรุกรบโจมตีเอาเป้าหมายอื่น ซึ่งก็คือการใช้จุดอ่อนแห่งภาวะจิตมนุษย์ โจมตีในจุดที่ฝ่ายตรงข้ามมิได้คาดคิดมาก่อนแล้วมิได้ระมัดระวังตัว จึงได้มาซึ่งชัยชนะในการรุกรบ ”
  • 10. กลยุทธ์ที่ 9 ดูไฟชายฝั่ง กลยุทธ์ นี้มีความหมายว่า เมื่อประสบกับภาวะที่ข้าศึกแตกแยกวุ่นวายปั่นป่วนอย่างหนัก พึงรอให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสงบ หากข้าศึกใช้ความป่าเถื่อนแก่กัน ต่างพิพากเข่นฆ่ากัน แนวโน้มก็จักพาไปสู่ความวินาศเอง ในเวลาเยี่ยงนี้จำต้องปฏิบัติให้คล้อยตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพข้าศึก ตระเตรียมไว้ก่อนล่งหน้า เพื่อดำเนินการให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ชิงมาซึ่งชัยชนะโดยใช้การเปลี่ยน แปลงอย่างฉับพลันของทางฝ่ายข้าศึกให้เป็นประโยชน์ นี้คือความหมายของคำว่า “ คล้อยเพื่อเคลื่อนตาม คล้อยตามจึงเคลื่อน ” ใน “ คัมภีร์อี้จิงว่าด้วยสงบ ” ซึ่งก็คือกลอุบายที่ยึดถือการแปรผันของข้าศึก เปลี่ยนแปลงตามสภาพ เพื่อเอาประโยชน์อย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้เดิมมาจากตำราพิชัยสงคราม “ ซุนจื่อ ว่าด้วยการศึก ” ที่ว่า “ ใช้ความสงบรอความปั่นป่วน ใช้ความเงียบรอความวุ่นวาย ” ใน “ บันทึกประวัติศาสตร์ ประวัติจางอี๋ ” ก็ได้บันทึกเรื่องของเปี้ยนจวงจื่อว่า “ นังภูดูเสื่อกัดกัน ” “ ได้เสือ 2 ตัวเพียงดำเนินการครั้งเดียว ” ซึ่งก็คล้ายคลึงกับกลยุทธ์นี้ กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ เมื่อข้าศึกเกิดความปั่นป่วนภายใน ให้รอดูการเปลี่ยนแปลงโดยสงบ ให้ข้าศึกเกิดความปั่นป่วน ก้าวไปสู่ความพินาศเอง ที่ว่า “ ไฟ ” ในกลยุทธ์นี้ ก็หมายถึงการบาดหมางภายในฝ่ายข้าศึก เช่นเกิดมีคนทรยศหรือไส้ศึก หรือความปั่นป่วน ในช่วงเวลานี้เอง การคอยสังเกตการณ์อยู่ด้วยความสงบ แล้วค่อยตักตวงเอาในภายหลังจึงเป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุด ”
  • 11. กลยุทธ์ที่ 10 ซ่อนดาบบนรอยยิ้ม กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จะต้องทำให้ข้าศึกเชื่อว่าเรามิได้เคลื่อนไหวอะไรเลย จึงสงบไม่เคลื่อนเช่นกัน ทั้งเกิดความคิดมึนชาขึ้น แต่เรากลับดำเนินการตระเตรียมเป็นการลับ รอคอยโอกาส เพื่อที่จะออกปฏิบัติการ โดยฉับพลันทันที แต่ต้องระวังมิให้ข้าศึกล่วงรู้ก่อน อันจะทำให้สภาพการณ์เกิดเปลี่ยนแปลงไป “ แข็งในอ่อนนอก ” คือภายนอกนั้นดูละมุนละไม แต่ภายในนั้นเต็มไปด้วยความแข็งแกร่ง “ ซ่อนดาบในรอยยิ้ม ” ความเดิมหมายถึงโดยผิวเผินก็อ่อนโยน แต่ภายในนั้นมากด้วยเล่ห์ เมื่อนำมาใช้ ก็คือกลยุทธ์ที่ นอกอย่างในอย่าง แจ้งอย่างลับอย่าง ภายนอกแสดงความอ่อนละมุน แต่ภายในแฝงไว้ด้วยการเอาเป็นเอาตายอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้มีอยู่ใน “ จดหมายเหตุราชวงศ์ถังเก่า ประวัติหลี่อี้ฝู่ ” ซึ่งกล่าวว่า “ ภายนอกของอี้ฝู่นอบน้อยถ่อมตน พบใครใบหน้าก็ยิ้มย่องผ่องใส แต่เป็นคนที่เห็นแก่ตัว เชือดคอคนได้ในทางลับ ต้องการได้อำนาจ จัดให้ผู้อื่นศิโรราบด้วยตน หากไม่พึงพอใจใคร ก็จักทำลายเสียโดยพลัน ดังนั้นคนจึงโจษจันกันว่า อี้ฝู่มีดาบเป็นรอยยิ้ม ” กลยุทธ์นี้สรุปว่า “ พยายามทำให้ฝ่ายข้าศึกเข้าใจว่าฝ่ายเรา มิได้มีการตระเตรียมแต่อย่างใดเลย จึงสูญเสียความระมัดระวัง แต่ฝ่ายเรากลับวางแผนอย่างลับๆ เมื่อตระเตรียมพร้อมแล้วก็ให้รวบหัวรวบหางพิชิตเอาชัยในทันที แต่ไม่ควรจะให้ข้าศึกรู้ตัวก่อนเป็นอันขาด อันอาจจะก่อให้เกิดอุปสรรค์ที่ไม่จำเป็นขึ้น ที่ว่า “ ซ่อนดาบในยิ้ม ” ก็คือ “ ปากหวานใจคด ” ใบหน้านั้นยิ้มแย้มแจ่มใส แต่ในใจแฝงไว้ด้วยความเหี้ยมเกรียมที่จะเอาชีวิตกัน ”
  • 12. กลยุทธ์ที่ 11 หลี่ตายแทนถาว กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อการพัฒนาของสถานการณ์มิเป็นผลดีแก่ตน จักต้องเกิดความเสียหายอย่างหลียกเลี่ยงไม่พัน เพื่อที่จะแปรความเสียเปรียบเป็นความได้เปรียบ ก็จะต้องยอมเสีย “ มืด ” เพื่อประโยชน์แก่ “ สว่าง ” ซึ่งก็หมายความว่าจำต้องเสียสละส่วนหนึ่ง เสียค่าตอบแทนน้อย เพื่อแลกกับชัยชนะทั่วทุกด้าน “ หลี่ตายแทนถาว ” ความหมายเดิมเป็นการเปรียบเทียบความรักใคร่ช่วยเลือกกับระหว่างพี่น้อง แต่เพื่อใช้ในการทหารหรือในกรณีอื่นๆ ก็เปรียบเทียบเป็นการทดแทนซึ่งกันและกัน อันเป็นกลอุบายที่ให้ ก . เข้าแทนที่ ข . หรือให้ ข . แทนที่ ก . อย่างหนึ่ง ที่ว่า “ เสียกำเอากอบ ” หรือ “ เสียบ่าวเอานาย ” ก็เป็นกลอุบายในทำนองนี้ คำๆ นี้เดิมมาจากกวีนิพนธ์บนหนึ่งชื่อ “ ไก่ขัน ” ใน " ชุมนุมกวี่นิพนธ์กู่เล่อฝู่ ” ความหมายว่า “ ต้นถาวเกิดที่ปากบ่อ ต้นหลี่โตเคียงมาก หนอนบ่อนไชต้นถาวหลี่ตายแทนถาว ต้นไม้ยังตายแทนกัน พี่น้อยไฉนไยจึงลืม ?” กลยุทธ์นี้สรุปว่า “ ในขณะที่ 2 ฝ่ายประจันหน้ากันอยู่ ไม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะต้องประสบความสูญเสีย จักไม่บาดเจ็บล้มตายเลยหาได้ไม่ ในขณะที่กำลังของทั้งสองฝ่ายทัดเทียมกัน ใครจะอยู่ใครจะไปยังมิอาจรู้ได้ ก็ควรจักยอมเสียคาตอบแทนไปบ้างแต่น้อย เพื่อแลกมาซึ่งผลประโยชน์ใหญ่ที่สุด จึงถูก ”
  • 13. กลยุทธ์ที่ 12 จูงแพะติดมือ กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า แม้จะเป็นความเลินเล่อของข้าศึกเพียงเล็กน้อย เราก็พึงฉกฉวยเอาประโยชน์ แม้จะเป็นชัยชนะเพียงเล็กน้อย ก็จะต้องชิงเอามาให้ได้ “ มืดน้อย ” หมายถึง ความผิดพลาดเล็กๆน้อยๆ ของข้าศึก “ สว่างน้อย ” หมายถึงชัยชนะเล็กๆน้อยๆของฝ่ายเรา “ จูงแพะติดมือ ” หมายถึง อาศัยความประมาทแม้เพียงเล็กน้อยของฝ่ายตราข้าม ชิงเอาผลประโยชน์มาเป็นของเราเสีย กลยุทธ์นี้เป็นกลอุบายที่ใช้ช่องอันเป็นจุดอ่อนข้าศึก ขยายพลังของตนเองออกไป เหมือนหนึ่งจูงแพะของฝ่ายตรงข้ามติดมือเราไปด้วย ช่วงชิงมาซึ่งชัยชนะอย่างสะดวกใจสบายกายอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้เดิมมาจาก “ คัมภีร์จิงเลี่ย ว่าด้วยการเคลื่อนพล ” ซึ่งกล่าวไว้ว่า “ คอยจ้องหาจุดอ่อนของข้าศึก ฉกฉวยเอาประโยชน์ให้ทันท่วงที ” กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ โอกาสแม้จะน้อยแสนน้อยก็ควรจะใช้ให้เป็นประโยชน์ ชัยชนะแม้จะเล็กแสนเล็กก็ควรจะช่วงชิงมาให้ได้ “ จูงแพะติดมือ ” ก็คือการใช้กลอุบายที่อีกฝ่ายหนึ่งมิสำเหนียกหรือมิได้รู้สึกตัว ฉะนั้นจึงย่อมจะตกหลุมพรางถูกบั่นทอนหรือได้รับความสูญเสียอย่างยับเยินโดยมิได้คาดคิด ”
  • 14. กลยุทธิ์เข้าตี กลยุทธ์ที่ 13 ตีหญ้าให้งูตื่น กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อมีสิ่งใดพึงสงสัย ควรจังส่งคนสอดแนมให้รู้ชัด กุมสภาพข้าศึกได้แล้ว จึงเคลื่อน นี้เรียกว่า “ สงสัยพึงแจ้ง สังเกตจึงเคลื่อน ” ใน “ คัมภีร์อี้จิง ซ้ำ ” ได้อธิบายไว้ว่า “ ใช้มรรควิธีเดิมกลับไปมา 7 วัน เมื่อละเอียดแล้ว จึงเข้าใจสิ่งนั้นได้ ” ความหมายของคำนี้ก็คือ ต่อสิ่งใดก็ตามจังต้องสังเกตซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงจะสามารถจำแนกแยกแยะมันได้ถูก ที่ว่า “ ซ้ำซาก คืออุบายรู้มืด ” นั้น เมื่อนำมาใช้ในการทหาร หมายถึงใช้วิธีการสอดแนมหลายครั้งหลายหน อันเป็นวิธีสำคัญในการเข้าใจสภาพข้าศึก ค้นพบศัตรูที่แฝงเร้นอยู่ ความหมายของ “ ตีหญ้าให้งูตื้น ” ก็คือแม้เราจะตีหญ้า แต่งูที่ซ่อนอยู่ในหญ้าก็ตื่นตกใจ นี้เป็นกลอุบายที่ใช้การสอดแนม แจ้งชัดในสภาพข้าศึกที่เราโอบล้อมอยู่ แล้วตียังจุดหนึ่งซึ่งจะกระเทือนไปทั้งแนว หลักจากนั้นจึงทำลายข้าศึกให้แหลกลาญไปทีละส่วนอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ เมื่อสภาพของข้าศึกยังไม่ชัดแจ้งแก่เรา เราไม่ควรจะปฏิติการอย่างลวกๆ จะต้องหาทางสืบทราบสภาพของข้าศึกให้ถ่องแท้ ครั้งเมื่อทราบเจตนาของฝ่ายตรงข้ามแล้ว จึงออกโจมตี เยี่ยงเดียวกับงูที่ซ่อนอยู่ในหญ้า ควรจะใช้ไม่ตีพงหญ้าไปรอบๆ เพื่อให้งูปรากฏให้เห็น แล้วจึงจับเอาในภายหลัง ไม่จำเป็นต้องบุกเข้าไปจับจนถึงรังงูให้เปลืองแรง
  • 15. กลยุทธ์ที่ 14 ยืมซากคืนชีพ กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ผู้ที่มีความสามารถและมีบทบาทนั้น จะใช้อย่างผลีผลามมิได้ ส่วนผู้ที่ไร้ความสามารถ ก็มักจะมาของความช่วยเหลือจากเรา การใช้ผู้ที่ไร้ความสามารถ มิใช้เพราะว่าเราต้องการจะใช้เขา หากแต่เพราะเขาต้องการพึ่งเรา คำว่า เด็กไร้เดียงสา มาจาก คัมภีร์อี้จิง ไร้เดียงสา ยืมซากศพคืนชีพ ความหมายเดิมเปรียบกับของที่ตายแล้ว แต่ได้ปรากฏตัวขึ้นมาใหม่โดยใช้อีกรูปแบบหนึ่ง แต่เมื่อใช้ในสงครามหรือในการต่อสู้อื่นใด ก็หมายถึงกลยุทธ์การใช้พลังทีสามารถจะใช้ได้ทั้งปวงมาบรรลุซึ่งเจตนารมณ์ของเราอย่างหนึ่ง ในประวัติศาสตร์แต่กาลก่อน ในระหว่างการผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน จักมีผู้แกล้วกล้าตั้งตัวเป็นใหญ่ขึ้นมามากมาย ซึ่งมักจะแอบอ้างพระนามของกษัตริย์และราชทายาที่สูญชาติเป็นเครื่องมือ ป่าวร้องชักชวนให้กู้ชาติแล้วได้ชาติไปครองในภายหลัง นี้ก็คือการใช้กลยุทธ์ข้างต้น การใช้กำลังสนับสนุนผู้อื่นเข้าโจมตีหรือป้องกันแทนเขาโดยที่มีเจตนาจะเข้าควบคุมผู้นั้น ก็นับอยู่ในกลยุทธ์นี้เช่นเดียวกัน กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ ยืมซากคืนชีพ หมายถึงใช้สิ่งที่ใช้ไม่ได้แล้วในทางเป็นจริง หรือฉวยโอกาสทุกอย่างเท่าที่จะสามารถจักหยิบฉวยได้ ให้เป็นประโยชน์ เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายบางประการของตน ให้รอดพ้นจากความหายนะ เพื่อที่จะได้ยืนผงาดขึ้นมาใหม่ในวันหน้า หรือไม่วันใดก็วันหนึ่ง
  • 16. กลยุทธ์ที่ 15 ล่อเสือออกจากถ้ำ กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จะต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลอันเป็นเงือนไขตามธรรมชาติ เช่น หนาว ร้อน ฝน แจ้ง เป็นต้น ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ เพื่อสร้างและเพิ่มความยากลำบากให้กับข้าศึก ในขณะเดียวกัน ก็ใช้ภาพลวงที่เราจงใจสร้างขึ้น ล่อให้ข้าศึกออกจากแนวป้องกัน หลังจากนั้นก็โจมตีหรือทำลายเสีย “ ไปยากก็ลวงให้มา ” คำนี่มาจาก “ คัมภีร์อี้จิง ยาก ” ความว่า “ ยาก คือยากลำบาก อันตรายอยู่ ณ เบื้องหน้า เห็นภัยก็หยุด นับได้ว่ารู้ " “ มา ” มีความหมายว่าเคลื่อนย้ายข้าศึกหรือให้ข้าศึกเคลื่อนที่ ในขณะที่สองทัพประจันหน้ากัน จักรุกเข้าตีข้าศึกที่มีการเตรียมพร้อมก็ให้ลำบากนัก การที่จะเข้าตีจุดแข็งของข้าศึก มิใช้แต่จะชนะได้โดยยาก ซ้ำยังจะเป็นอันตรายแก่ตนอีกด้วย “ ล่อเสือออกจากถ้ำ ” ก็คือกลอุบายที่ล่อหลอกข้าศึกให้ออกมาจากที่ตั้งอันแข็งแกร่ง แล้วโจมตีทำลายเสียอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ เมื่อใคร่ทำลายหรือได้ตัวข้าศึกจึงต้องรอโอกาสที่เหมาะสม ประกอบด้วยเงื่อนไขทางธรรมชาติบวกด้วยมาตรการที่คนเราสร้างขึ้น ถ้าแม้นบุ่มบ่ามเข้าไปในอาณาเขตของข้าศึกอย่างพลีพลาม ก็มิอาจเห็นตัวข้าศึก ซ้ำยังอาจจะถูกลอบตีในที่ลับอีกด้วย ได้ไม่เท่าเสีย ดังนั้น การใช้อุบายล่อให้ข้าศึกออกมาจากเขตของตนแล้วบทขยี้เสีย จึงควร ”
  • 17. กลยุทธ์ที่ 16 แสร้งปล่อยเพื่อจับ กลยุทธ์นี้หมายความว่า ถ้าบีบคั้นจนเกินไปนัก สุนัขก็จักสู้อย่างจนตรอก ปล่ายข้าศึกหนี ก็จักทำลายความเหิมเกริมของข้าศึกได้ ทว่าต้องไล่ตามอย่าละ เพื่อบั่นทอนกำลังของข้าศึกให้กระปลกกะเปลี้ย ครั้นเมื่อสิ้นเรี่ยวแรงใจก็มิคิดต่อสู้ด้วยแล้ว จึงจับ อันเป็นการรบที่ไม่เสียเลือดเนื้อ อีกทั้งทำให้ข้าศึกแตกสลายไปเอง รอ ฟังตัว สว่าง มีอยู่ใน คัมภีร์อี้จิง รอ รอ หมายถึงการรอคอยอย่างอดทน ฟังตัว ก็คือไก่ฟักไข่จนเป็นลูกไก่ หมายถึง " ได้ " ส่วน " สว่าง " ก็คือแสดงสว่าง หมายถึง ชัยชนะ ความหมายของกลยุทธ์นี้ทั้งคำก็คือ เมื่อสองทัพประจันหน้ากัน จักต้องใช้ความอดทนรอคอย ให้ใช้วิธีการอันแยบยล ให้ข้าศึกมาสวามิภักดิ์ด้วยใจ นี้ก็คือกลอุบายปล่อยป่านยาวตกปลาตัวโตอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้มีอยู่ใน คัมภีร์เหลาจื่อ บทต้น บรรยายไว้ว่า มื่อจักเอา จะต้องให้ ในบันทึก “ ไท่ผิงเทียนว๋อ อักษรศาสตร์ ก็มีอธิบายไว้ว่า “ เมื่อจักจับให้ปล่อย เมื่อจักเร็วให้ช้า รอเมื่อหย่อนยานจึงตี มิมีที่ไม่ชนะกลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ แสร้งปล่อยเพื่อจับ จุดประสงค์อยู่ที่ จับ ปล่อย เป็นวิธีการ จับ คือจับทาง ใจ ให้ยินยอมอ่อนน้อมทั้งกายและใจ ผู้ถูกจับ ใจ จักกลายเป็นข้าทาสบริวารของอีกฝ่ายหนึ่งอย่างไม่ลืมหูลืมตา จนกว่าจะเกิดความสำนึกใน ศักดิ์ศรี ของตนเอง กลยุทธ์นี้ จึงเป็นกลยุทธ์อันชาญฉลาด ในการบั่นทอนจิตใจสู้รบและขวัญของข้าศึก ด้วยวิธีการทั้งแจ้งและลับอย่างหนึ่ง อันได้ผลเกิดความคาดหมาย นั้นแล ”
  • 18. กลยุทธ์ที่ 17 โยนกระเบื้องล่อหยก กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ใช้สิ่งที่คล้ายคลึงกันไปล่อข้าศึก ให้ข้าศึกต้องอุบายพ่ายแพ้ไป การใช้กลยุทธ์นี้ กำหนดขึ้นตามสภาพรูปธรรมของข้าศึก ในตำราพิชัยสงครามชื่อ " ร้อยยุทธการพิสดาร การรบที่ได้ประโยชน์ กล่าวไว้ว่า เมื่อประมือกับข้าศึก ขุนพลฝ่ายตราข้ามโง่เง่ามิรู้พลิกแพลง จักล่อด้วยประโยชน์ เขาละโมบในประโยชน์ มิรู้ผลร้าย ก็ซุ่มทหารลอบตีได้ ข้าศึกจักพ่ายนี้คือ ล่อด้วยประโยชน์ โยนกระเบื้องล่อหยก คำนี้ เดิมมาจากเรื่องราวของกวีสมัยราชวงศ์ถัง 2 คน ชื่อ ฉางเจี้ยน และ จ้าวกู่ กล่าวคือ ฉางเจี้ยนนิยชมชอบและยกย่องบทกวีของจ้างกู่มาช้านาน ครั้นเมื่อทราบว่าจ้าวกู่เดินทางมาเมืองซูโจว ก็คาดคะเนว่าคงจะไปเที่ยว ณ วัดหลิงเอี๋ยนสื้อ ฉางเจี๋ยนจึงเขียนบทกวีไว้ 2 คำบนผนังวัด เมื่อจ้าวกู่มาเห็นเข้า ก็ต่อบทกวีนี้อีก 2 คำ จึงกลายเป็นกวีที่ครบถ้วนสมบูรณ์และสวยงาม ไพเราะจับใจยิ่งนัก แต่เนื่องจากบทกวีของฉางเจี้ยนด้อยกว่าของจ้าวกู่ คนทั้งหลายจึงเรียกบกวีของฉางเจี้ยนเป็นเสมือนหนึ่ง กระเบื้อง แต่หากแม้นมิมี กระเบื้อง ที่ฉางเจี้ยนเอาไปล่อไว้ ไฉนเลยจะมาซึ่ง หยก ของจ้าวกู่ ที่ต่อ กระเบื้อง ชของฉางเจี้ ยนจนกลายเป็นบทกวี่มีค่าล้ำที่ทุกคนยกให้ กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า วิธีหลอกลวงข้าศึกมีมากมาย ที่แยบค่ายที่สุดมิมีใดเกิน ความละม้ายแม้น ” หรือ ความเหมือน ที่เรียกว่า กระเบื้องหมายถึงสิ่งที่ไม่มีค่างวด ส่วน หยก นั้นเป็นจิดาสูงค่าอันพึงปรารถนาของผู้คนทั้งหลาย ที่ว่า โยนกระเบื้องล่อหยก ก็คือใช้สิ่งของที่มีค่าน้อยไปล่อสิ่งของที่มีค่าสูง กระเบื้องกับหยกนั้น มองผ่านๆก็มีส่วนที่คล้ายคลึงกันอยู่ นักการทหารผู้มีความชำนาญในกลศึก ก็สามารถจะใช้ความ ละม้ายแม้น ความ เหมือน ความ คล้ายคลึง ของทั้งสองสิ่งสร้างความสับสนฉงนใจให้แก่ข้าศึก ฉวยโอกาสที่ข้าศึกกำลังวุ่นวายหรือหลงกลจู่โจมเอาชัยโดยพลัน
  • 19. กลยุทธ์ที่ 18 จับโจรเอาหัวโจก กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จักต้องตีข้าศึกในจุดที่เป็นหัวโจของกองทัพ เพื่อสลายพลังของข้าศึก มังกรสู้บนปฐพี ก็อับจนหมดหนทาง เปรียบประดุจมังกรในทะเล ขึ้นมาสู้กับศัตรูบนพื้นแผ่นดิน ก็จักปราชัยแก่ข้าศึกโดยง่าย คำนี้เดิมพบใน คัมภีร์อี้จิง ดินซึ่งแฝงความนัยว่า จับโจรให้เอาตัวหัวโจก อันเป็นกลอุบายใช้วิธี ตีงูให้ตีหัว เพื่อสยบข้าศึกอย่างหนึ่ง จับโจรเอาหัวโจก มาจากบทกวีของตู้ผู่ กวีอมตะแห่งอุคราชวงศ์ถังของจีน ความว่า น้าวเกาทัณฑ์ต้องให้ตึง ลูกเกาทัณฑ์ควรจะยาว ยิงคนควรยิงม้า จับโจรเอาหัวโจก กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า ความหมายที่แท้ของกลยุทธ์นี้ คือให้โจมตีส่วนที่สำคัญที่สุดของข้าศึก เพื่อไห้ได้รับชัยชนะอย่างสิ้นเชิง ในการบัญชาการรบ จะต้องสันทัดในการขยายผลของการรบให้ใหญ่หลวงยิ่งขึ้น อย่าได้ปล่อยโอกาสที่จะได้รับชัยชนะให้หลุดลอยไปเป็นอันขาด หากคิดง่ายๆแต่เพียงว่า ขอให้โจมตีข้าศึกถอยไปได้เท่านั้นก็พอใจแล้ว แต่ไม่ทำลายกำลังหลักของข้าศึก จับตัวผู้บัญชาการหรือทลายกองบัญชาการของข้าศึกให้ย่อยยับไปแล้ว ก็จะเหมือนดั่งปล่อยเสือเข้า
  • 20. กลยุทธิ์ติดพัน กลยุทธ์ที่ 19 ถอนฟืนใต้กระทะ กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อเปรียบเทียบกำลังกันแล้ว มิเหนือกว่าข้าศึก พิงหาทางบันทอนความฮึกเหิมลงเสีย “ ดุจฟ้าอยู่เหนือน้ำ ” ตามคำอธิบายของ คัมภีร์ 64 ทิศ ปฏิบัติ น้ำ หมายถึงความแกร่ง ฟ้าหมายถึงความอ่อน รวมแล้วหมายความว่า เอาอ่อนชนะแข็ง ซึ่งก็คือพึงใช้วิธีอ่อนพิชิตแข็ง ฉกฉวยโอกาสทำลายกำลังส่วนหนึ่งของข้าศึกไปเสีย ให้พ่ายไปสิ้นในภายหลัง ที่ว่า ดุจฟ้าอยู่เหนือน้ำ เปรียบเทียบเป็นการแก้ปัญหาให้สิ้นไปโดยพื้นฐาน กลยุทธ์นี้เป็นอุบายในการบั่นทอนพลังของข้าศึกที่ละส่วน จนทำลายข้าศึกเป็นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดได้อย่างหนึ่ง คำนี้ เดิมมาจากหนังสือเรื่อง ไหวหนานจื่อ ความว่า เทน้ำร้อนลงในน้ำเดือด มิอาจหยุดเดือด จักต้องรู้ลักษณะของมัน ทอนไฟจึงหยุด ใน ฎีกาประท้วงราชวงศ์เหลียง สมัยเว่อเหนือก็ว่า ถอนฟืนจึงหยุดเดือด ตัดหญ้าพึงถอนราก กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า ในสถานการณ์ศึกซึ่งติดพันชุลมุนเป็นอย่างยิ่งนั้น การรบด้วยภาวะจิตจักเป็นยุทธวิธีที่ดีที่สุด และเป็นโอกาสที่จะรบให้ชนะ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อใคร่ประสงค์จะทำลายกำลังของข้าศึก ก็จักต้องทำลายกำลังหลัก ทำลายหัวใจของข้าศึกเป็นเบื้องแรก ในเวลาเช่นนี้ จิตใจของแม่ทัพนายกอง ก็คือ ฟืนเมื่อถอน ฟื้น ออกแล้ว น้ำใน กระทะก็จัก เดือด ต่อไปมิได้ฉันนั้น
  • 21. กลยุทธ์ที่ 20 กวนน้ำจับปลา กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกเกิดความปั่นป่วนในกองทัพของตน เราจักต้องฉวยโอกาสความวุ่นวาย มิรู้ที่จะทำประการใดของข้าศึกนี้ แย่งยึดเอาผลประโยชน์มา หรืออีกนัยหนึ่ง “ เอาชัยจากความปั่นป่วน ” ดุจดังพายุฝนกระหน่ำยามค่ำคืน ที่ต่ำก็จักขังน้ำ ผู้คนจักเข้าสู่นิทรารมณ์ อันเป็นปกติวิสัยของธรรมชาติมนุษย์ “ กวนน้ำจับปลา ” ก็คือกวนน้ำให้ขุ่น ให้ปลางุนงง ลงจับก็ง่าย อันนับเป็นกลยุทธ์ฉวยโอกาสเข้าตีเอาชัย เมื่อข้าศึกกำลังชุลมุนปั่นป่วนอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ ปลาไม่เห็นทิศทางเมื่อน้ำขุ่น คนแยกจริงเท็จไม่ออกยามชุลมุน จึงเกิดช่องว่างอันมากหลายที่จะเอาประโยชน์ได้ “ กวนน้ำจับปลา ” ย่อมหมายถึงในสงครามชุลมุนแห่งการแก่งแย่งอำนาจกันนั้น ควรฉวยโอกาสใช้กำลังที่อ่อนแอโลเลให้คล้อยตามความประสงค์ของตน ที่สำคัญคือเอาเท็จพรางจริง กวนน้ำให้ขุ่นโดยเจตนา แล้วรีบซ้ำเติมเอาชัยแก่ศึกเสีย ดังนี้
  • 22. กลยุทธ์ที่ 21 จักจั่นลอกคราบ กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า รักษาไว้ซึ่งแนวรบเยี่ยงเดิม ให้ดูน่าเกรงขามเหมือนเก่า ฝ่ายมิตรก็มิสงสัย ฝ่ายข้าศึกมิกล้าผลีผลาม ครั้นแล้ว จึงถอนตัวอย่างปกปิด เคลื่อนกำลังหลักให้หลบเลี่ยงไป เลี่ยงเพื่อสลาย ลวง คำนี้มาจาก คัมภีร์อี้จิง ลวง เลี่ยงก็คือหลบหลีก ลวง ก็คือทำให้งงงวย นี้นับเป็นกลยุทธ์ถอยทัพอย่างไม่กระโตกกระตาก เพื่อเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ หรือหลีกเลี่ยงความสูญเสียอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า จักจั่นรอกคราบ เป็นวิธีสะบัดให้หลุดพ้นจากการเผชิญหน้ากันข้าศึก ด้วยการเคลื่อนย้ายหรือถอยทัพ ที่ว่า ลอก มิใช้อย่างตื่นตระหนก อย่างขวัญหนีดีฝ่อ แต่ยังคงไว้ซึ่งรูปโฉมภายนอก ทว่าได้ถอดเนื้อหาออกไปหมดสิ้นแล้ว หนีแสดงว่าไม่หนี ปกปิดข้าศึก เพื่อให้หลุดพ้นจากห้วงอันตราย วิธีการ ลอกคราบ มีหลายแบบหลายอย่าง เนื้อแท้ก็คือการใช้เล่ห์กลหลอกลวงข้าศึก เป็นพฤติการณ์ที่ใช้การพรางตา ปลอมปนความจริงเอาตัวรอดนั้นเอง
  • 23. กลยุทธ์ที่ 22 ปิดประตูจับโจร กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ต่อข้าศึกอ่อนแอจำนวนน้อย พึงโอบล้อมแล้ว ทำลายเสียให้สิ้น เพื่อมิให้เป็นภัยแก่เราในภายหลัง “ ปล่อย มิเป็นคุณซึ่งติดพัน ” มาจาก “ คัมภีร์อีกจิง ปล่อย ” “ ปล่อย ” ในที่นี้หมายถึงการแตกกระจายออกเป็นกองเล็กกองน้อยของข้าศึก กำลังก็อ่อนเปลี้ยจนไร้สมรรถนะที่จะสู้รบแล้ว “ ติดพัน ” หมายถึงการไล่ติดตามไม่ลดละทั้งใกล้และไกล “ มิเป็นคุณซึ่งติดพัน ” ก็คือ ต่อข้าศึกกองเล็กกองน้อย ปล่อยให้หนีไปได้ แม้จะเล็ก แต่ก็สามารถย้อยกลับมาสร้างความยุ่งยากแก่เรา จนเราต้องไล่ติดตามเพื่อทำลายเสีย เช่นนี้มิเป็นประโยชน์แก่เรา ความหมายเดิมของ “ ปิดประตูจับโจร ” ก็คือ เมื่อโจรเข้าตีชิงในบ้าน ปิดประตูบ้านจึงจะจับโจรไว้ได้ ส่วนความหมายทางด้านการทหารและอื่นๆ ก็อุปมาว่าเป็นกลยุทธ์โอบล้อมทำลายข้าศึกกองย่อยๆให้สิ้น เพื่อมิให้ก่อกวน ทำอันตรายแก่เราได้ในภายหลังอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ เมื่อจักจับโจร พึงตัดทางหนี โอบล้อมไว้ให้แน่นหนา หากโจรเข้าในเมือง จงปิดประตูเมืองให้สนิท มิให้ทางเล็กรอดออกไปได้ จึงจักถูกจับได้โดยละม่อม กลับกัน พบโจรก็ไล่ ไม่ปิดประตูเมือง ไล่เหนือไปใต้ โจรก็พ้นไป โจรที่หนีพ้น ย่อมจักย่ามใจ จักย้อยกลับมาอีกพร้อมด้วยพรรคพวก หากปิดทางหนีโจรจะมิกล้า อู๋จื่อกล่าวไว้ว่า " โจรที่ไม่คำนึงถึงความตาย หากซ่อนตัวตามสุมทุมพุ่งไม้ในป่ากว้าง ก็พอจักทำให้กำลังซึ่งติดตามมาเป็นพ้นคนอกสั่นขวัญแขวน ลมพันใบไม้ไหวก็แตกตื้น เพราะมิรู้ว่า โจรจะปรากฏตัวออกมาจู่โจมเอาชีวิตเมื่อใด จับโจร จึงควรระวังมิให้เป็นปลาลอดร่างแห ”
  • 24. กลยุทธ์ที่ 23 คบไกลตีใกล้ กลยุทธ์นี้หมายความว่า เมื่อถูกจำกัดโดยสภาพแวดล้อม ควรตีเอาข้าศึกที่อยู่ใกล้ตัว จึงจะเป็นประโยชน์แก่ตน โจมตีข้าศึกที่อยู่ไกล จักเป็นผลร้ายแก่ตน เปลวไฟลอยขึ้น น้ำบึงไหลลง หมายความว่า การผูกมิตรนั้น แม้ความคิดเห็นจะไม่ตรงกัน ก็สามารถที่จะร่วมมือกันได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง คำนี้มาจาก คัมภีร์อี้จิง ต่าง ความว่า เปลงไฟลอยขึ้น น้ำบึงไหลลง บุรุษจักร่วมกันเพราะความผิดแผก ดังนั้น ต่อข้าศึกใกล้และไกล พึงมีนโยบายที่แตกต่างกัน นี้เป็นกลยุทธ์ที่ผูกมิตรกับรัฐไกล เพื่อเอาชัยต่อรัฐใกล้อย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า นี้เป็นยุทธศาสตร์ยุทธวิธีแยกสลายหรือป้องกันการร่วมมือกันของฝ่ายตรงข้าม เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายในการตีให้แตกที่ละส่วน ที่คำโบราณจีนเคยกล่าวไว้ ว่า ญาติไกลมิสู้มิตรใกล้ นั้นตรงกันข้ามกับกลยุทธ์นี้ แท้ที่จริงแล้ว ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบัน ความขัดแย้งกับประเทศไกลมักจะเกิดน้อย กับประเทศใกล้กับจะมากว่า เพราะอาจจะมีการกระทบกระทั้งกันในเรื่องผลประโยชน์และอื่นๆอีกนานาประการ กลยุทธ์นี้จึงเป็นหลักปรัชญาในการแสวงหาประโยชน์พร้อมทั้งป้องกันตัวไปด้วยในขณะเดียวกัน สุดแต่ผู้ใดจักใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตน ”
  • 25. กลยุทธ์ที่ 24 ยืมทางพรางกล กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ประเทศเล็กที่อยู่ในระหว่าง 2 ประเทศใหญ่เมื่อถูกข้าศึกบังคับให้สยบอยู่ใต้อำนาจ เราพึงให้ความช่วยเหลือโดยพลัน เพื่อให้ประเทศที่ถูกข่มเหงเชื่อถือ ต่อประเทศที่ตกอยู่ในความยากลำบาก การช่วยเหลือแต่เพียงทางวาจา มิได้มีการกระทำที่เป็นจริง ย่อมจะได้รับความไว้วางใจจากผู้ที่รอดความช่วยเหลือ ทุกข์ จักมิเชื่อเพียงวาจา มาจาก คัมภีร์อี้จิง ทุกข์ ความเต็มว่า เมื่อ อยู่ในทุกข์ จักไม่เชื่อใครโดยง่าย จึงมิเชื่อเพียงวาจา อันนับเป็นกลยุทธ์ในการหลอกยืมทางผ่าน เพื่อบรรลุการให้ยึดครองอีกฝ่ายที่เราประสงค์อย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า ปัญหาของกลยุทธ์นี้อยู่ที่คำว่า ยืมทาง ถ้ายืมทางได้ ทุกสิ่งทุกอย่างก็สำเร็จ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ใช้กลยุทธ์ยืมทาง จักอ้างเหตุผลในการยืมทางให้ดี เพื่อปกปิดจุดประสงค์ที่แท้จริงของตน ความจริงคำว่า ศัตรูบังคับให้ ( อีกฝ่ายหนึ่ง ) สยบ เราพึงแสดงท่าที นั้น ก็คือฉวยโอกาสที่ อีกฝ่ายหนึ่ง เพลี่ยงพล้ำ เรายืมมือเข้าไปช่วย แล้วเอาประโยชน์จากนี้ อันที่จริงการกระทำดังนี้ เป็นพฤติการณ์ที่ไร้คุณธรรมอย่ายิ่ง แต่ในสงครามหรือการต่อสูงใดๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเรามักจะเป็นปรากฏการณ์เช่นนี้อยู่ทั่วไปในชีวิตจริง เพราะเหตุว่า แต่ละฝ่ายย่อมจะเริ่มต้นจากผลประโยชน์ของตนเองเป็นใหญ่ หากปราศจากเสียซึ่งการร่วมมืออันถาวร ก็จักไม่มีการช่วยเหลือที่แท้จริง มิตรและศัตรู คำมั่นสัญญากับการปฏิบัติจึงพึงจำแนกให้ชัด พิจารณาให้ถ่องแท้ มิฉะนั้นแล้ว หากเห็นแก่ได้ถ่อยเดียวก็จักสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่าง แม้กระทั้งชีวิตตน ”
  • 26. กลยุทธ์ร่วมรบ กลยุทธ์ที่ 25 ลักขื่อเปลี่ยนเสา กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ต่อกำลังที่ร่วมรบด้วยข้าศึกกับเราหรือต่อข้าศึกจักต้องหาทางเปลี่ยนแปลงแนวรบฝ่ายนั้นอยู่เสมอ ถอดถอนเคลื่อย้ายกำลังสำคัญของฝ่ายนั้นไป รอให้ฝ่ายนั้นอ่อนแอต้องประสบกับความพ่ายแพ้จึงฉวยโอกาสแปรกำลังฝ่ายนั้น ให้กลายมาเป็นของเรา แล้วควบคุมกำลังของฝ่ายนั้นไว้ใต้การบัญชา หยุดซึ่งกงล้อ มาจาก คัมภีร์อี่จิง มิทัน อันหมายความว่ารถคันหนึ่งนั้นสำคัญที่ล้อ ถ้าหยุดล้อได้ก็สามารถบังคับให้เคลื่อนที่ไปตามความประสงค์ของเรา อันเป็นกลยุทธ์กลืนกำลังของพันธมิตรหรืสลายกำลังของข้าศึกอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า กลยุทธ์นี้มีความหมาย 2 นัย หนึ่งหมายถึงการหาทางสับเปลี่ยนกำลังหลักของพันธมิตรชั่วคราวที่เป็นศัตรูโดยเนื้อแท้ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการทำลายหรือกลืนกินพันธมิตรนั้นเสีย ซึ่งในสมัยศักดินาโบราณ มักจะชอบกระทำกันเป็นนิจ โดยมิได้คำนึงสัจวาจาหรือศิลธรรมแต่ประการใด อีกนัยหนึ่งหมายถึงเป็นกลยุทธ์ในการโยกย้ายกำลังหลักของฝ่ายข้าศึก โดยใช้กลลวงต่างๆนานา ทำให้ข้าศึกต้องเปลี่ยนแนวรบหรือเคลื่อนย้ายกำลังไปตามความประสงค์ของเรา ครั้งแล้วจึงเข้าตีจุดอ่อนข้าศึก เพื่อให้ได้รับชัยชนะ ดังนั้น ผู้บัญชาการทีชาญฉลาดจึงมิใช้แต่จะสันทัดในการใช้กำลังพลของฝ่ายตนเท่านั้น หากยังต้องสันทัดในการเคลื่อนย้ายหรือกระจายกำลังของฝ่ายข้าศึกด้วยกลยุทธ์ ให้เกิดประโยชน์แก่ตนอีกด้วย
  • 27. กลยุทธ์ที่ 26 ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหว กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อผู้ที่เข้มแข็งกว่าหรือรัฐใหญ่รังแกผู้ที่อ่อนแอหรือรัฐเล็กแล้ว ก็ควรจะใช้วิธีการตักเตือนให้เกรงกลัว ถ้าแม้นเราแสดงความเข้มแข็งให้ประจักษ์ ก็จักได้รับการสนับสนุนจากผู้อ่อนแอ ถ้าเรากล้าใช้ความรุนแรง ก็จักเป็นที่ยอมรับนับถือแก่ผู้อ่อนแอ แกร่งจึงต้อนรับ เสี่ยงจึงยอมสยบ เดิมาจาก “ คัมภีร์อี้จิง แม้ทัพ ” ความเต็มว่า แกร่งจึงต้อนรับ เสี่ยงจึงยอมสยบ นี้คือหนทางปกครองแผ่นดินราษฎรจึงขึ้นต่อ ความหมายของ " ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหว " ตรงกับสุภาษิตไทยเราคำว่า ตีวัวกระทบคราด แต่เมื่อใช้ในการสัประยุทธ์ ไม่ว่าจะเป็นทางการทหารหรืออื่นๆ ก็เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายในทำนองสร้างเกียรติภูมิของตนขึ้นด้วยวิธี ฆ่าไก่สอนลิง เพื่อให้ฝ่ายอื่นที่อ่อนแอกว่าหรือผู้อยู่ใต้การบังคับบัญชายอมสยบด้วยอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า เพื่อที่จะดำเนินตามแผนการที่ได้วางไว้ จักต้องใช้มาตรการเด็ดขาด จึงจะสามารถได้รับผลตามที่ได้กำหนด แต่ความเด็ดขาดนั้น ใช้ว่าจะต้องอาศัยกำลังความรุนแรงเสมอไป อาจดำเนินด้วยวิธีการหนึ่งใด ที่ทำให้ฝ่ายตรงข้างตระหนักในเจตนา ยอมสยบแต่โดยดี เพราะจนปัญญาที่จะต่อตีด้วยเรา นั้นเอง
  • 28. กลยุทธ์ที่ 27 แสร้าทำบอแต่ไม่บ้า กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ยอมแสร้งทำเป็นโง่ มิเคลื่อนไหว อย่าทำเป็นสู่รู้ทำบู่มบ่าม คำว่า “ ดุจดั่งอสนีบาตหยุดฟาดฟัน ” เก็บความมาจาก “ คัมภีร์อี้จิง หยุด ” ความว่า “ อสนีบาตฤดูหนาวแฝงกายอยู่ใต้พื้นพสุธา จักแผดร้องก้องนภาคราฤดูใบไม้ผลิ ” ซึ่งความหมายว่า ผู้ที่มีสติปัญญามิพึงแสดงตัว แต่พึงเตรียมการทั้งปวงอย่างลับๆ ประหนึ่งคมดาบอยู่ในฝัก มิปรากฏให้เห็น ครั้งเมื่อถึงกาลอันควร ก็จักคำรนคำรามเหมือนสายฟ้า ที่จะกระหน่ำพสุธาให้แตกสลายไปฉะนั้น นี้นับเป็นกลยุทธ์หลอกลวงมึนชาข้าศึก แสดงความบ้าใบ้ทางภายนอก แต่ตื่นตัวโดยตลอดอยู่ภายใน ดำเนินการอย่างลับและพลิกแพลงเพื่อเอาชนะข้าศึกอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้มีส่วนละม้ายคล้ายกับสำนวนไทยเราที่ว่า " หน้าไหว้หลังหลอก " หรือ " ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก " ในบางแง่บางมุม กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ ยามเมื่อสถานการณ์ไม่เป็นผลดี ควรจะสะกดกลั้นตัวเองไว้ แสร้งทำเป็นโง่เง่า อวดฉลาดยิ่งจะไม่เป็นผลดีแก่ตน นี้เป็นวิธีรู้รักษาตัวรอดอย่างหนึ่งในยามปั่นป่วน คนฉลาดมักจะใช้วิธีการนี้ป้องกันตัวและวางแผนเอาชนะศัตรู คนที่ดูโง่เขลานั้น โดยภายนอกก็อาจจะเห็นเป็นเต่าตุ่น แต่ที่แท้แล้วภายในนั้นคมกริบ รู้เขารู้เรา พึงถอยก็รู้จักถอย มิดันทุรังรุกไปโดยไม่ดูตาม้าตาเรือ ดังนั้นจึงสามารถที่จะเป็นฝ่ายริเริ่มกระทำในการทั้งปวง เพราะเข้าใจในเหตุการณ์อย่างรู้แจ้งแทงตลอด และรอจังหวะที่จะบุกกระหน่ำมิยอมให้ศัตรูตั้งตัวติดตลอดเวลา กลยุทธ์นี้มักจะพบเห็นบ่อยๆ โดยทั่วไป ผู้ใดใช้เป็นด้วยความสันทัดจัดเจน ผู้นั้นย่อมจะได้รับผลสำเร็จ และเป็นผู้ทีน่ากลัวสำหรับฝ่ายตรงข้ามที่มิรู้แจ้งในกล ”
  • 29. กลยุทธ์ที่ 28 ขึ้นบ้านชักบันได กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จงใจเปิดจุดอ่อนให้ข้าศึกเห็น สร้างเงื่อนไขและล่อหลอกให้ข้าศึกเข้าตี ครั้นแล้วตัดขาดส่วนหน้าที่คอยสมทบ และส่วนหลังที่เป็นกำลังหนุน บีบให้ข้าศึกเข้าไปในปากถุงที่เปิดอ้าไว้รับหรือในวงล้อมหลุมพรางที่วางดักไว้ เจอพิษ มิควรที่ มีใน คัมภีร์อี้จิง ขบ เปรียบประดุจเคี้ยวกระดูกหรือเนื้อเหนี่ยว รังแต่จะทำให้ฟันชำรุดเสียหาย หรือเหมือนดั่งมักได้ในสิ่งที่มิควรได้ ย่อมจักนำมาซึ่งความวิบัติฉะนั้น ขึ้นบ้านชักบันได มีความหมายอย่างเดียวกันกับ ข้ามคลองรื้อสะพาน นี้คือกลยุทธ์ที่ใช้ผลประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ ล่อลอกให้ข้าศึกพินาศไปทั้งกองทัพอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า ขึ้นบ้านชัดบันได มีความหมายค่อยข้างกว้าง หนึ่งในนั้นก็คือใช้ผลประโยชน์เล็กน้อย ล่อให้ข้าศึกเข้าปิ้ง แล้วทำลายเสียให้สิ้น ซึ่งก็หมายความว่าเมื่อข้าศึกบุกเข้าในอาณาเขตของเรา เราจงใจจะเปิดทางตันให้กับเขา เมื่อข้าศึกหลงกลตกอยู่ในวงล้อม ก็จะตื่นตระหนกเดินไปตามหนทางที่เราเปิดไว้ให้ เมื่อเราตัดทางรุกและทางถอย ข้าศึกก็จนด้วยเกล้า ถ้าไม่ยอมจำนน ก็เหลืออยู่แต่ทางตายถ่ายเดียว ในกลยุทธ์นี้ ที่สำคัญคือ บันได้ จงใจให้ข้าศึกเห็นจุดอ่อนและมุ่งมั่นจะใช้จุดอ่อนให้เป็นประโยชน์แต่ตน นี้ก็คือ บันได ถ้าไม่มี บันได้ ดังกล่าว กลยุทธ์นี้ก็ยากที่จะได้รับผล
  • 30. กลยุทธ์ที่ 29 ต้นไม้ผลิดอก กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ใช้แนวรบของมิตรมาสร้างแนวรบที่เป็นประโยชน์แต่เราขึ้น แม้กำลังจะน้อย แต่ก็สามารถทำให้ดูเหมือนใหญ่โต ดุจเดียวกับนกอินทรีที่ผกผินอยู่ในอากาศ ปีกขนกางเหยียดมีท่วงท่าน่าเกรงขาม คำว่า นกใหญ่โผบิน ปีกนกช่วยพาสง่างาม มากจา คัมภีร์อีจิง รุก หมายความว่า นกใหญ่เหินฟ้า อาศัยสองปีกอันแข็งแรง บินร่อนซอกซอนไปตามปุยเมฆ มิมีสิ่งกีดขวาง อันคล้ายกับสำนวนไทยที่ว่า ปีกหนักกวักละประโยชน์ กลยุทธ์นี้ มองอีกแง่หนึ่ง ก็จะเหมือนกับคำว่า สร้างสถานการณ์ให้เป็นประโยชน์ หรือ ยืมมือที่สาม เมื่อใช้ในการทหาร ก็เป็นกลยุทธ์ในการยืมกำลังผู้อื่น มาเสริมกำลังตนให้ดูแข็งแกร่งขึ้น เพื่อสยบข้าศึกอย่างหนึ่ง กลบยุทธ์นี้จึงสรุปได้ว่า ทีว่า ต้นไม้ผลิดอก ก็คือทำให้ต้นไม้ซึ่งที่แท้ไม่มีดอก สามารถผลิดดอกออกสะพรั่งให้เห็นโดยใช้วิธีเอาดอกไม้ปลอมไปติดไว้ที่ต้นนั้น ซึ่งหากไม่พินิจพิจารณาให้ดี ก็จะไม่รู้ว่าเป็นของปลอม และอาศัยสิ่งนี้ หมุนเปลี่ยนสภาพการณ์ให้กลายมาเป็นผลดีแก่เรา หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ยืมสิ่งอื่นมาบังหน้า ให้ข้าศึกเกิดความเข้าใจผิด แล้วฉวยโอกาสเคลื่อนไหวให้เป็นไปตามความประสงค์ นั้นเอง
  • 31. กลยุทธ์ที่ 30 สลับแขกเป็นเจ้าบ้าน กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งเปิดช่องให้สอดแทรก ควรแทรก กุมจุดสำคัญหรือหัวใจของอีกฝ่ายไว้ ค่อยผันสู่ชัยชนะ พบได้ในคัมภีร์อี้จิง รุก ซึ่งมีความเต็มว่า “ สรรพสิงในใต้หล้า เคลื่อนอย่างใจร้อนจักเสีย สงบแต่คล้อยตามจักได้ ค่อยๆผันไปช้าๆ จักเป็นคุณ เคลื่อนดังนี้จึงจะมีผล ” อันหมายความว่า การตอกลิ้มเข้าไปในฝ่ายตรงข้าม เพื่อยึดอำนาจการบัญชาการนั้น จัดต้องค่อยเป็นค่อยไป ดังนี้จึงจะบรรลุซึ่งชัยชนะได้ สลับแขกเป็นเจ้าบ้าน ความหมายเดิมก็คือ เจ้าบ้านต้อนรับแขกไม่เป็น แขกจึงชิงกลับมาเป็นฝ่ายต้อนรับเจ้าบ้านเสียเอง อันเป็นกลยุทธ์เปลี่ยนจากฝ่ายถูกกระทำเป็นฝ่ายการะทำอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า " สลับแขกเป็นเจ้าบ้าน " ก็คือแขกแย่งเป็นเจ้าบ้านเสียเอง เปลี่ยนฐานะจากฝ่ายถูกกระทำ เป็นฝ่ายกุมอำนาจการกระทำ และบงการให้สถานการณ์เป็นไปตามความประสงค์ ในขณะที่ตกอยู่ในภาวะเสียเปรียบ จะต้องยอมเป็น " แขก " ชั่วคราว เพื่อช่วงชิงเวลาสะสมกำลัง อาศัยชัยชนะเล็กๆน้อยๆ ครั้งแล้วครั้งเล่าโดย เจ้าบ้าน จำยอมต้องกลับกลายเป็น แขก เพราะมิมีปัญญาที่จะต้านทานได้เลย ฉะนี้
  • 32. กลยุทธ์ยามพ่าย กลยุทธ์ที่ 31 กลสาวงาม กลยุทธ์นี้หมายความว่า สำรับข้าศึกที่มีกำลังเข้มแข็ง พึงสยบแม่ทัพเสียก่อน ต่อแม่ทัพที่เฉลียวฉลาด ก็โจมตีจุดอ่อนทางใจ ให้มีอุปสรรค ส่วนแม่ทัพที่ย่อนย่อท้อแท้ ไพร่พลที่กำลังถดถอย ก็จักเสื่อมโทรมแพ้พ่ายไปเอง บัญชาศัตรูได้ จักรักษาตัวรอด มาจาก คัมภีร์อี้จิง รุก หมายความว่า ต่อข้าศึกที่เข้มแข็ง มิพึงใช้กำลังเข้าปะทะ ควรอาศัยจุดอ่อนของฝ่ายนั้น แทรกซึมและสลายเสีย ต่อตัวเอง พึงสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน รักษาและเสริมสร้างกำลังของตนเอง แปรเปลี่ยนสภาพการณ์ เพื่อเอาชนะข้าศึก กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า เมื่อข้าศึกมีความเข้มแข็งดุจกำแพงเหล็ก มิมีจุดอ่อนที่จะทะลวงเข้าไปได้ วิธีเอาชนะแต่เพียงหนึ่งเดียว ก็คือจะต้องแทรกซึมเข้าไปภายในของข้าศึก ดุจดั่งหนอนกินลูกแอปเปิ้ลเจาะไซจากภายในออกมายังภายนอก จนเน่าไปทั้งลูกฉะนั้น และขุนทัพย่อมเป็นหัวใจของกองทัพ เป็นประมุขของไพร่พล ถ้าขุนทัพถ�