SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  15
Télécharger pour lire hors ligne
-- F 1 --
หลักประกันคุณภาพการศึกษา
ศาสตราจารย์ นพ. วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และนายกสภา
มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายในการประชุมสมัยสามัญ ๒/๒๕๕๓ ของที่ประชุมประธานสภา
อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.)
ณ ห้องประชุมสัญญา ธรรมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
กรุงเทพมหานคร วันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๓
เรียนท่านประธาน ปอมท. ท่านประธานสภาคณาจารย์
และผู้มีเกียรติทุกท่าน ผมขอบคุณที่เชิญผมมาพูดคุยในวันนี้
ผมขออนุญาติปรับบรรยากาศของที่ประชุมเล็กน้อย ขอเรียนว่าผม
ไม่ได้มาบรรยาย แต่มาพูดคุย แบ่งปันประสบการณ์ แลกเปลี่ยน
ความคิดเห็น ในเชิงสุนทรียสนทนา (Dialog) ในฐานะของผู้รัก
ชาติบ้านเมืองคนหนึ่ง ไม่ได้พูดในฐานะตําแหน่งประธาน กกอ.
หรือตําแหน่งใดๆ พูดเรื่องคุณภาพอุดมศึกษาซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มากของประเทศไทย สรุปได้ในประโยคเดียว ว่าเป็น
เรื่องซับซ้อน ลึกล้ํา และบางครั้งก็ลึกลับกว่าที่จะมองแค่เรื่องการเรียนการสอน พูดตามความเข้าใจของผมเอง ซึ่งยัง
มีความรู้น้อยมาก ไม่รับรองว่าจะถูกต้อง ท่านอาจจะเห็นด้วยหรือไม่
ก็ได้ แต่เป็นโอกาสดีที่จะแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน หวังว่าผมจะได้
เรียนรู้เพิ่มมากขึ้นเมื่อจบจากการสนทนาร่วมกันในครั้งนี้
เมื่อพูดถึงคุณภาพอุดมศึกษา มันไม่ได้มีแต่คุณภาพการเรียน
การสอนเท่านั้น มันเป็นคุณภาพหลายมิติ คุณภาพหลากหลายภารกิจ
มันมีทั้งการเสริมส่ง และดึงกันลง ถ้าเราละเลยไม่ส่งเสริม ไม่เอาใจใส่
ไม่พยายามยกระดับคุณภาพของอุดมศึกษาในมิติใดก็ตาม มันก็จะดึง
มิติอื่นลงไปด้วย ถ้าเราเอาใจใส่ ถ้าทําได้ดีในมิติหนึ่งมันจะดึงมิติอื่นๆ ให้
สูงตามไปด้วย เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราต้องการช่วยกันสร้างให้เกิดขึ้นใน
สถาบันอุดมศึกษาของเราก็คือ วัฒนธรรมคุณภาพ คําว่าคุณภาพใน
ความหมายที่ลึก แล้วก็กว้าง อย่างความซื่อสัตย์ก็เป็นส่วนหนึ่งของ
วัฒนธรรมคุณภาพ ความมีคุณธรรมหลากหลายด้านก็เป็นส่วนหนึ่งของ
วัฒนธรรมคุณภาพ จริงๆ แล้ว วัฒนธรรมคุณภาพก็คือ วัฒนธรรมแห่ง
ความดีนั่นเอง
ปัจจัยกําหนดคุณภาพอุดมศึกษานั้นมีอยู่มากมาย มากกว่าที่ผม
ยกมาเป็นตัวอย่างมาก เพราะลําพังที่ยกมานี้ก็พูดได้ทั้งวัน เราได้แต่แตะเพียงนิดๆ หน่อยๆ หรือใช้เป็นจุดเริ่มต้น
สําหรับการพูดคุยกันต่อไป เพราะการพัฒนาคุณภาพนั้นเป็นภารกิจต่อเนื่อง ทําจนผมตายไปก็ยังไม่จบภารกิจ มัน
เป็นเรื่องที่จะต้องปรับเปลี่ยนตลอดเวลา หลายๆเรื่องอาจเป็นสิ่งที่เหมาะสมในวันนี้ แต่อีก ๑๐ ปีข้างหน้ามันอาจจะ
-- F 2 --
เป็นเรื่องที่ล้าหลัง อาจเป็นเรื่องถ่วงความเจริญก้าวหน้าของประเทศ เพราะฉะนั้น เรื่องที่คุยกันวันนี้ไม่ได้เป็นเรื่องที่
หยุดนิ่ง ตายตัว เป็นเรื่องที่มีพลวัตสูงมาก มีทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกประเทศ ซึ่งควรมีการแลกเปลี่ยน
และเปิดเผยในโลกยุคสารสนเทศ ๑
ดังจะเห็นได้ว่าปัจจัยที่กําหนดคุณภาพการศึกษานั้นมีมากหลากหลาย ผมเชื่อว่าไม่มีปัจจัยหนึ่งปัจจัยใดที่
เป็นตัวกําหนดคุณภาพการศึกษาเพียงปัจจัยเดียว
อย่างเรื่องการกําหนดหลักสูตรการเรียนการสอน เรื่อง
หลักสูตรปกติ กับหลักสูตรพิเศษ ซึ่งจะเกี่ยวโยงกับ TQF (กรอบ
มาตรฐานคุณภาพอุดมศึกษา) ด้วยนั้น อาจารย์กุลณสรรค์
ประธานสภาคณาจารย์มหิดล๒
ที่นั่งอยู่ในห้องนี้ด้วยก็คงจะทราบดี
ว่าเมื่อเร็วๆ นี้ มีการเสนอหลักสูตรพิเศษของปริญญาเอกสําหรับ
การเรียนการสอนเฉพาะเสาร์ อาทิตย์ เข้าสู่สภามหาวิทยาลัยของ
มหิดล ผมก็ติงว่าเราจะสอนกันอย่างนี้หรือ เพราะนี่คือหลักสูตร
เพื่อเงิน ไม่ใช่หลักสูตรเพื่อสร้างสรรค์วิชาการ แต่เขาก็มีเหตุผลของเขา ด้วยความหวังดีว่านักศึกษาที่มีประสบการณ์
สูงจะนําความรู้มาเพิ่มในแวดวงวิชาการ แต่ทางสภามหาวิทยาลัยมหิดลไม่ยอม
ผมต้องไปพูดคุยทําความเข้าใจกับกับคณาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรดังกล่าว ยอมรับว่าประเทศของ
เรามีหลักสูตรพิเศษ ที่ไม่เน้นวิชาการแต่เน้นประสบการณ์ ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าเป็นเรื่องไม่ดี แต่มันมีหลายปัจจัยที่ต้องคิดถึง
มันมีคําถามว่ามหาวิทยาลัยใดจะทํา และมหาวิทยาลัยใดไม่ทํา เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอยู่ตรงไหน หลักสูตรพิเศษ
บางอัน เน้นที่สภาพการดําเนินชีวิตในสังคม ซึ่งเป็นประโยชน์ แต่ว่ามาตรฐานอุดมศึกษาอยู่ที่ไหน เป็นประเด็นที่เรา
ถกเถียงกันได้เยอะ ไม่มีคําตอบสําเร็จรูป มันมีรายละเอียดอย่างอื่น อาจจะถูก
หรือผิดก็ได้ หลักสูตรพิเศษไม่ใช่น่าเกลียดเสมอไป คําถามว่า คุณประกัน
คุณภาพอย่างไร? แล้วคุณภาพคุณจะแปลว่าอะไร ระดับไหน คนที่จบไปมี
สมรรถนะ (competency) อะไร ประสบการณ์อะไร คนที่เรียนปริญญาเอก
มาควรผ่านการเคี่ยวกรํา ตรากตรําลําบากถึงจะเหมาะสมเป็นอาจารย์ เพื่อมา
ส่งเสริมคุณภาพการศึกษาของประเทศ ส่วนที่เขาจบไปเพื่อไปใช้คําดอกเตอร์นําหน้านามเพื่อทําธุรกิจ นั้นก็เป็น
ค่านิยมอย่างหนึ่ง ผมไม่ได้พูดถึงว่าค่านิยมไหนดี แต่ค่านิยมนั้นต้องมีความเป็นเลิศทางวิชาการ
การบริหารหลักสูตร บริหารกันจริงหรือเปล่า หรือว่าใครใคร่สอนอะไรก็สอน อันนี้แหละที่ TQF เข้ามา
เกี่ยวข้อง เพราะว่าเราต้องมีกรอบ มีวีธีคิดร่วมกัน เพื่อจะได้คุยกับประเทศอื่นได้ นักศึกษาต้องทันคน นักศึกษาไม่
จําเป็นต้องเรียนประเทศเดียว หรือเรียนมหาวิทยาลัยเดียว การบริหารหลักสูตรนี้เป็นเรื่องใหญ่ อาจารย์บางท่านก็
ว่าอย่ามายุ่งมาก เพราะต้องการมีอิสระทางวิชาการ พวกเราเป็นอิสระชน แต่ก็ต้องมีขอบเขต ต้องอธิบายได้ว่ามี
ก . . F F F F ก F F ก
http://gotoknow.org/blog/council/347230
. . ก F F
-- F 3 --
คุณภาพแค่ไหน การจัดการเรียนการสอนต้องแตกต่างไปจากในอดีต ต้องเปลี่ยนจากวิธีเน้นการบรรยาย (lecture
based) ไปสู่การเน้นการวิจัย (Research based) มากขึ้น เพราะผู้รอบรู้ ไม่มีประโยชน์เท่าผู้เรียนรู้ เราต้องฝึกฝน
ทักษะการเรียนรู้ให้กับนักศึกษา บัณฑิตที่จะจบอาจต้องทดสอบฉันทะและทักษะของการเป็นผู้เรียนรู้ ทดสอบการ
เป็นผู้เรียนรู้ มากกว่าการทดสอบความเป็นผู้รู้วิชา อย่างไรก็ตาม บัณฑิตจํานวนหนี่งอาจต้องมีคุณสมบัติทํางานได้
ทันทีที่จบออกไป เพราะเป็นความต้องการของผู้จ้างงาน
การศึกษานั้นไม่ควรจํากัดอยู่เฉพาะในห้องเรียน การเรียนนอกห้องเรียนจะไปเชื่อมกับการดําเนินชีวิต
มันทําให้การเรียนรู้มีชีวิตชีวา สัมพันธ์กับการเรียนรู้ทําความเข้าใจกับโลก สภาพแวดล้อม จักรวาล ตัวเอง เพื่อน และ
สังคม ที่กําหนดไว้ ๓๐ หน่วยกิต เรามักไปทําอย่างอื่น เพราะเราก็สอนความรู้กันเต็มที่ จับยัด จับกรอกความรู้ใส่
เด็กจนแทบไม่เป็นผู้เป็นคน เพราะอาจารย์กลัวว่าเขาจะไม่รู้ พวกนักเรียนแพทย์นับว่าโชคดีที่มีสภาวิชาชีพมาจัด
สอบร่วมกันให้เป็นมาตรฐานมากขึ้น มาช่วยกันยกมาตรฐาน แต่เรายังทดสอบเฉพาะความรู้วิชา แต่เราไม่ได้
ทดสอบความเป็นนักเรียน ความเป็นนักเรียนรู้
เรื่องคุณภาพนี้ เดี๋ยวนี้มีการหลักสูตรพิเศษที่ให้บริการแบบวีไอพีขึ้น และมีการไปพูดในกรรมาธิการของ
สภาผู้แทนราษฎรด้วยดังที่ผมได้โพสต์ไว้ในบล็อก http://gotoknow.org/blog/council/341910 ๓
ซึ่งผมเห็น
พวกเราต้องช่วยกันต่อสู้กับสิ่งที่เป็นมิจฉาทิฐิ
Prof. Vicharn Panich
Academic
The Knowledge Management Institute
F : 186 : 3
F F ก ก ก ก ก F
F F ก F F ก ก F F F F F ก F F F
ก ก ก ก ก F ก
ก ก F F F ก ก F F ก ก F ก ก F
F ก ก ก ก F ก ก ก F F ก F F F
F F F F F F F F F F F F F F F ก F F
F F ˈ F ก ก F F ˈ F F ˈ ก ก ˈ ก ก ก
F F
ก F ก ก ก F F F ก F F ก ก F F
F F F ก F F F ก ก ก ก ก F
ก F F F ก F กก F F ก ก ˂ ก ก ก ก
ก ก
F . .
-- F --
นอกจากนั้น ยังมีกรณีของโรงเรียนพยาบาล ๒ แห่ง ที่
ปรากฏอยู่ตามสื่อมวลชน การที่ผมได้มานั่งในคณะกรรมการการ
อุดมศึกษาทําให้ได้รับรู้เรื่องไม่ดีจํานวนมาก เช่น การรับจ้างทํา
วิทยานิพนธ์ในหลักสูตรบริหารธุรกิจ เป็นตัวเงินถึง ๙ แสน การที่มีผู้
รับจ้างพิมพ์วิทยานิพนธ์ แล้วทําให้มีข้อมูลวิทยานิพนธ์ในฐานข้อมูล
เป็นจํานวนมากจนสามารถไปรับจ้างทําวิทยานิพนธ์ได้ มีข้อมูลว่า
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยบางแห่งสั่งให้อาจารย์อัพเกรดของผู้เรียน ฯลฯ
ซึ่งเราในฐานะอาจารย์ไม่ควรยอม ควรจะเตือนเพื่อนๆ ที่เป็น
ผู้บริหารกันบ้าง ควรมีฐานค้ํายันความดีในสังคมด้วย
ล่าสุดยังมีข้อมูลว่ามีบริษัทเอกชนบางแห่งมาชวนมหาวิทยาลัยให้เปิดหลักสูตรปริญญาโท และ ปริญญา
เอก โดยบริษัทรับผิดชอบด้านวิชาการทั้งหมด ส่วนมหาวิทยาลัย
รับผิดชอบงานธุรการ และให้สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตร ทั้งนี้
บริษัทรับรายได้จากการทําหน้าที่วิชาการไป ๗๕ % มหาวิทยาลัยรับ
๒๕ % ฉนั้น แทนที่มหาวิทยาลัยจะทําหน้าที่หลักของตัวเอง กลับ
เอาไปให้คนอื่นทํา ตนเองเป็นเพียงผู้รับรองคุณภาพ นับเป็น
กรณีศึกษาตัวอย่างของการทําผิดกฏหมาย ซึ่งคณะกรรมการการ
อุดมศึกษาจะต้องเผยแพร่ทําความเข้าใจกับมหาวิทยาลัยและสังคม
ได้รับทราบว่าเป็นเรื่องผิดกฏหมายทําไม่ได้
คุณภาพการศึกษา และการประกันคุณภาพอุดมศึกษาจึงเป็นเรื่องที่ขึ้นกับวัฒนธรรมของสถาบัน บางทีมัน
ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มองไม่เห็น มันขึ้นอยู่กับการปฏิบัติ เช่น รับใครมาเป็นอาจารย์ ผ่านการศึกษาระดับใด นิสัยใจคอเป็น
อย่างไร รักวิชาการแค่ไหน หลายครั้งที่เรารับคนทํางานเพระความคุ้นเคย ตอนผมเด็กๆ เคยมีคนพูดว่า คนนี้หัว
อ่อนรับมาทํางานดี ดีในแง่ความราบรื่น แต่ไม่ดีในเชิงวิชาการ ก็
กลายเป็นมหาวิทยาลัยหัวอ่อน เราถึงต้องมีวัฒนธรรมทางวิชาการที่
เข้มข้น และมีหลากหลายรูปแบบ มหาวิทยาลัยวิจัยก็ทํางานแบบหนึ่ง
มหาวิทยาลัยท้องถิ่นก็ทํางานอีกแบบ แต่มีคุณภาพเหมือนกัน เรียกว่ามี
ความเป็นเลิศ (Excellency) กันไปคนละอย่าง
นอกจากนี้ ก็ยังต้องมีการส่งเสริมผู้ปฏิบัติงาน มีการยกย่อง
และให้ค่าตอบแทนอาจารย์ที่เอาใจใส่กิจการงาน มีการเอาใจใส่ลูกศิษย์
ประหนึ่งพ่อแม่ ไม่เอาความเลวดีของเด็กมาเป็นตัวตั้ง อาจารย์ประเภทนี้เด็กจบไปแล้วเป็นยี่สิบปีก็ยังจดจําได้ ยัง
กลับมาหาเสมอ เราจะหาวิธียกย่องและให้รางวัลอาจารย์ประเภทนี้ได้อย่างไร
-- F --
เรื่องวัฒนธรรมในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานทางวิชาการ ก็ไม่ใช่แค่เรื่องโครงสร้างทางสาธารณูปโภค เพราะ
ยังมีอะไรอีกมากนอกเหนือจากการมีห้องสมุดที่ดีให้ค้นคว้าหาข้อมูล และยังขึ้นอยู่กับว่าเราเลือกผู้บริหารแบบไหน
ควรเก่งวิชาการหรือธุรการ เราต้องการผู้บริหารจัดการด้านกฏระเบียบ หรือต้องการให้มาบริหารเรื่องวิชาการ
อย่างไรก็ตาม เรื่องความสามารถสองอย่างนี้ไม่ใช่เรื่องขาวกับดํา
ผู้บริหารส่วนใหญ่ก็จะมีความสามารถทั้งสองด้าน
ในระดับประเทศ วัฒนธรรมอุดมศึกษาที่มีการพูดคํา
โฆษณาว่า “จ่ายครบจบแน่” นี้แรงมาก เป็นแรงดึงดูดลูกค้าสูง
มาก แต่กลายเป็นลูกค้าแล้ว ไม่ใช่นักศึกษา แน่นอนนักศึกษา
ที่มาเรียนก็ต้องการปริญญา อาจารย์สมศักดิ์ ชูโต๔
อดีตรัฐมนตรี
ที่ท่านมีลักษณะเป็นนักคิดแบบ Radical thinker ที่น่าสนใจมาก
เคยพูด(ถึงวัฒนธรรมการเรียนเพียงเพื่อให้ได้ปริญญา)ว่า ถ้าผมมา
อยู่ตรงนี้ ใครเข้ามาก็จะให้ปริญญาหมดเลย แล้วอยากเรียนถึงค่อยมาเรียน
ทุกวันนี้ กลายเป็นว่าความถูกผิดนั้นอยู่แค่ระดับกฏหมาย ไม่คิดถึงระดับคุณธรรม จริยธรรม ไม่คิดถึง
ประโยชน์ของสังคม แต่อุดมศึกษาพอใจแค่นั้นไม่ได้ ต้องเป็นแบบอย่างให้กับสังคม ต้องกระตุ้นให้สังคมตระหนักถึง
เรื่องคุณธรรม จริยธรรม และต้องมุ่งเน้นประโยชน์ของสังคมโดยรวม
เป็นสําคัญ โดยเฉพาะในขณะนี้ สถาบันอุดมศึกษามีความเป็น
อิสระสูงมาก นับจาก ๑๑ ปี หลังการปฏิรูปการศึกษาปี ๒๕๔๒ แต่
ความเป็นอิสระที่มีการกํากับดูแลไม่แข็งแรง อาจทําให้
สถาบันอุดมศึกษาบางแห่งใช้การปกครองตนเอง และเป็นอิสระทาง
วิชาการ (Autonomy) ไปในทางที่ผิด เป็นการดึงอุดมศึกษาให้
ต่ําลง หรือโยงไปสู่ผลประโยชน์ทางการเมือง อาศัยช่องทาง
ความสัมพันธ์ (Connection) เป็นการสร้างโอกาสไปสู่อํานาจ ปัญหาคือเราจะต้องมีการควบคุมจากสังคม (Social
control) ภายในสถาบันอุดมศึกษาหรือไม่ เพราะเรื่อง Social control ก็อาจเป็นดาบสองคม
ระบบการจัดการในสถาบันอุดมศึกษานั้น หลายครั้งก็เป็นการวัดผลงานผู้บริหารเฉพาะเชิงจํานวนเช่นว่ามี
การเปิดหลักสูตรใหม่กี่หลักสูตร ดูปริมาณมากกว่าคุณภาพ มันก็
เป็นวิธีคิดอย่างหนึ่ง พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปี ๒๕๔๒
บอกชัดเจนว่า คุณภาพการศึกษานั้นยกให้สถาบันการศึกษาดูแล
กันเอง สภามหาวิทยาลัยต้องดูแล คือ การควบคุมดูแลภายใน
(Internal body control) เป็นประเด็นที่สถาบันต้องเอาใจใส่ ตั้ง
สติ ทบทวนว่าที่กําลังทําอยู่นี้ มีคุณภาพดีขึ้นหรือแย่ลง อย่างเรื่อง
. . ก ก ก ʾ . . F
-- F --
วารสารประจําสถาบันอุดมศึกษานั้นจะช่วยยกระดับคุณภาพวิชาการ หรือทําให้คุณภาพต่ําลง กลไกต่างๆ นั้นขึ้นอยู่
กับวิธีการนําไปใช้ อยู่ที่ว่าผู้บริหารใส่ใจมากเพียงใด หรือพวกเราเอง
ทําให้ผู้บริหารวุ่นวายเรื่องอะไร เป็นความวุ่นวายด้วยเรื่องที่เป็น
วิชาการ คุณภาพ หรือวุ่นวายเรื่องผลประโยชน์ เพราะเราก็เป็น
ปลาข้องเดียวกัน
ถัดมา เรื่องระบบการกํากับดูแลของสภามหาวิทยาลัย
นั้น ขึ้นอยู่กับสภามหาวิทยาลัยว่ามีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่
ของตนมากแค่ไหน มีการเอาใจใส่แค่ไหน อย่างตัวผมเองนั้น เป็น
กรรมการสภามหาวิทยาลัยมากว่า ๓๐ ปี เพราะเป็นผู้บริหารตั้งแต่
อายุน้อย ก็อยู่มหาวิทยาลัยต่างจังหวัด กว่าจะรู้ซึ้งถึงบทบาทหน้าที่ของกรรมการสภามหาวิทยาลัยจริงๆ ก็เพิ่งเมื่อ
ไม่กี่ปีมานี้เอง เมื่อมาเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์ ถูกจับให้ไปอบรม
IOD๕
เรื่องการกํากับ (Governance) ภึงได้มีความเข้าใจดีขึ้น เข้าใจถึงระบบการกํากับดูแลในระดับประเทศ แต่ก็ยัง
ไม่รับรองวาจะเป็นการเข้าใจที่ถูก เดิมคนเข้าใจว่ากลไกลการ
กํากับดูแลอุดมศึกษาระดับประเทศคือ สกอ. กกอ. แต่จริงๆ
แล้วมีบทบาทเพียงไม่ถึง ๑๐% เพราะผู้ที่มีอิทธิพลตัวจริงคือ
สํานักงบประมาณ นอกจากนี้ก็ยังมีองค์กรต่างๆ อีกมากมายเข้า
มาเกี่ยวข้อง กพร. สตง. สภาวิชาชีพ หน่วยงานที่ให้ทุนวิจัย
ระบบกํากับดูแลระดับประเทศนี้เป็นระบบที่มีส่วนประกอบมาก
หลายส่วนสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมไปถึงสภาคณาจารย์ และ ปอมท.
ด้วย
กกอ. และ สกอ. จึงต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm) เปลี่ยนวิธีคิด จากวิธีการกํากับแบบเดิมๆ ที่
ทํามาตั้งแต่สมัยอาจารย์ พจน์ สะเพียรชัย๖
เป็นประธาน กกอ. เดิมที กกอ. สกอ. เคยใช้หลักนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์
ด้วยการออกกฎหมาย ข้อบังคับ ประกาศ กฏกระทรวง ฯลฯ และการใช้อํานาจตามกฏหมาย เมื่อมีการกระทําผิดก็มี
กระบวนการไต่สวนลงโทษ แต่ปรากฏว่าไม่ได้ผล ได้ผลบางเรื่อง มีเรื่องแดงขึ้นมาบางเรื่อง แต่ส่วนใหญ่ซุกอยู่ใต้พรม
ทํานองว่า กกอ. นั้นเป็นยักษ์ที่ไม่มีกระบอง มีก็ตีได้ไม่ทั่ว
สกอ. จึงต้องเปลี่ยนวิธีคิด ว่าเราเป็นแค่ส่วนเล็กๆ ในระบบนิเวศน์อันยิ่งใหญ่ (Just small part in
Ecosystem) ต้องใช้การจัดการแบบประสานความร่วมมือ (Coordinate) แล้วก็ต้องป้องปรามผ่านกระบวนการ
สื่อสารให้สาธารณชนได้รับรู้ (Public communication)
เพราะบางครั้งการตัดสินลงโทษด้วยกระบวนการทาง
กฏหมายอาจทําได้ยาก แต่สังคมรับรู้แล้วก็ช่วยได้มาก มี
The Institute of Directors
. . F F F ก ก ก ก
-- F --
กระบวนการควบคุม/กดดันจากสังคม (Social control & Social pressure) หรือกลไกคุ้มครองผู้บริโภค
(Customer protection) เราต้องหาทางป้อมปราม แล้วก็หาทางลงโทษเรียกร้องหาค่าเสียหาย ไม่ใช่แค่ความ
เสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวเด็ก แน่นอนชีวิตเด็กมีความสําคัญมาก แต่มันยังมีความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด
ทุกวันนี้เวลาเกิดความเสียหาย สกอ. ต้องเขาไปเยียวยาให้ทั้งหมด ซึ่งก็เป็นเงินภาษีอาการของประชาชนทั้งประเทศ
จึงต้องเรียกร้องให้สภามหาวิทยาลัยเข้ามาดูแลมากขึ้น และมีความรับผิดชอบมากขึ้น ต้องร่วมรับผิดในกรณีที่เกิด
ความเสียหายเพราะไม่เอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ตระหนักว่ามีประเด็นอ่อนไหวอะไรที่ต้องได้รับการเอาใจใส่จับตา
เป็นพิเศษ ส่วนเรื่องกลไกการควบคุมและกดดันจากสังคมนั้นยังเป็นดาบสองคม เพราะหากมีแต่ข่าวคราวเรื่องราว
แย่ๆ ของมหาวิทยาลัย พวกเราที่เป็นอาจารย์ก็พลอยจะเสื่อมเสียตกต่ําไปด้วย
ส่วนอิทธิพลจากต่างประเทศนั้น ปัจจุบันมหาวิทยาลัยไทยได้รับผลกระทบจากต่างประเทศมาก อยากมี
ชื่อเสียงก็ต้องส่งผลงานไปลงตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการสําคัญๆ
ระดับโลก มีค่า impact factor สูงๆ แล้วยังมีเรื่องการจัดอันดับ
มหาวิทยาลัยที่เราพลอยตื่นเต้นไปกับเขาด้วย ซึ่งก็เป็นเรื่องดี ไม่ใช่
ไม่ดี แต่เราควรทํามากกว่านั้น โดยเฉพาะเรื่องผลกระทบที่มีต่อ
สังคมไทยของเราเอง (Social Impact) ควรมีการจัดอันดับ
มหาวิทยาลัยจากผลกระทบที่มีต่อสังคม การสร้างประโยชน์ให้แก่
สังคมด้วย เช่น แทนที่จะมองเฉพาะการจัดอันดับตามมาตรฐาน
ของ Times QS ก็อาจจะลองดูมาตรฐาน Washington Monthly ซึ่งมีความยืดหยุ่นมากกว่า มีการนําเอาเรื่อง
ประโยชน์ต่อชุมชนต่อสังคมมาพิจารณาด้วย
เรื่องการขโมยข้อมูลทางวิชาการ (Plagiarism) ก็เป็นเรื่องใหญ่
อีกเรื่องหนึ่ง เราต้องช่วยกันทําความเข้าใจ ป้องกัน และป้องปราม ยิ่ง
เดี๋ยวนี้มีเครื่องมือให้ตรวจสอบการลอกเลียนผลงานทางวิชาการอยู่
มากมาย อาจารย์จํานวนมากก็อาจจะได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะพวก
อาจารย์แพทย์
สรุปว่าที่ได้พูดมาทั้งหมดนี้ มีเป้าหมายเพื่อจรรโลงคุณภาพ
วิชาการอุดมศึกษาของไทย ซึ่งซับซ้อนเหลือคณา มีทั้งแรงดึงฝ่ายสูง ฝ่ายต่ํา แล้วในยุค ๑๐ ปีที่ผ่านมา เราอยู่ในยุค
ที่มีกระบวนทัศน์ซึ่งต้องการให้อิสระ (Autonomous) แก่
สถาบันอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษาจึงต้องมีระบบควบคุม
คุณภาพภายใน (Internal Quality Control) ที่เข้มแข็ง และมี
การกํากับดูแลที่ดีของสภามหาวิทยาลัย ส่วนกลไกควบคุม
คุณภาพนอกก็ต้องมีด้วย ซึ่งมีแนวโน้มว่า สกอ.และ กกอ. จะใช้
กลไกการกํากับทางสังคมมาลงโทษมหาวิทยาลัยที่ที่ทําผิด ที่
แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ส่วนมหาวิทยาลัยไหนทําดีก็ควร
-- F --
ได้รับการยกย่อง เชิดชู แล้วสํานักงบประมาณก็อาจมีส่วนร่วมด้วยการจัดสรรงบประมาณไปตามช่องทางที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมยิ่งขึ้น องค์กรอื่นๆ ก็ควรเข้ามาช่วยกันพัฒนาคุณภาพของอุดมศึกษาด้วย เช่น สภา
คณาจารย์ และ ปอมท.
สิ่งที่สําคัญที่สุด ในมิติของพวกเรา สภาคณาจารย์จะต้องเป็นผู้แสดงบทบาทที่สําคัญ คือถ้าเราต้องการ
อิสระ (Autonomous) เราก็ต้องทําให้การกํากับดูแล ควบคุมคุณภาพการอุดมศึกษานั้น เป็นเรื่องที่เกิดจากการ
จัดการจากภายใน เป็นการควบคุมตนเองภายในมหาวิทยาลัย ไม่ใช่ยกให้ สกอ. หรือ กกอ. อย่าพยายามเอาการ
ควบคุมไปให้คนอื่น เพราะเราจะสูญเสียอิสระของเรา แล้วอย่าโยนการกํากับดูแลให้สังคม เพราะเขาต้องทําด้วย
ตนเอง เราต้องเสนอตัวเข้าไปแบกรับไว้ให้มากที่สุด เท่าที่มีกําลังจะทําได้
สุนทรียสนทนาท้ายคําบรรยาย
(ที่ประชุมประธานสภาคณาจารย์ ร่วมแสดงความคิดเห็น)
อาจารย์พงศ์ศักดิ์ ศรีพงศ์พันธ์
ประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ประเด็นเรื่อง TQF๗
นี้ จากการรับฟังจากสมาชิก มองว่าเป็นการลงรายละเอียดมากเกินไป ที่จริงสกอ.
ควรกํากับสภามหาวิทยาลัย แต่ สกอ. เสนอ TQF ที่กํากับไปถึงระดับผู้ปฏิบัติการด้วย คณาจารย์หลายท่านจึงมอง
ว่า สกอ. เห็นว่าสภามหาวิทยาลัยดูแลมหาวิทยาลัยอย่างไม่มีประสิทธิภาพหรืออย่างไร ?
?
ผศ. ดร.บุญศรี จงเสรีจิตต์
ประธานสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากร
ก ก F (TQF: HEd)
-- F --
ประเด็นเรื่อง มาตรฐานอุดมศึกษาไทย มีปัญหาหลายอย่าง เช่นเรื่องโครงการหลักสูตรพิเศษที่เปิดกันเยอะ
มากในหลายๆ มหาวิทยาลัย มีทั้งหลักสูตรระดับปริญญาโทที่เปิดสอนเฉพาะโครงการพิเศษ ไม่เปิดภาคปกติ เพราะ
เกรงจะเป็นการแย่งลูกค้ากันเอง หลายคณะมีผลประโยชน์ เก็บเงินแพงพิเศษ ทั้งนี้ ข้อบังคับซึ่งออกโดย
มหาวิทยาลัยก็สามารถกําหนดว่าจะนํารายได้ไปใช้จ่ายอะไรก็ได้ มีการจ่ายค่าตอบแทน/เงินประจําตําแหน่งที่สูงเกิน
ปกติ มีการนําไปใช้ในการทัศนศึกษา จะควบคุมมาตรฐานโครงการพิเศษเหล่านี้ได้อย่างไร เช่นอาจต้องควบคุมการ
ใช้จ่ายเงิน ค่าตอบแทน ตามที่กฤษฎีกากําหนด ไม่ใช่ได้เป็นเปอร์เซ็นต์จากทุกโครงการ จนทําให้โครงการพิเศษ
เติบโตอย่างรวดเร็วเพราะเป็นประโยชน์ร่วมกัน
หรือประเด็น เรื่องการรับบุคคลเข้าเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ควรต้องดูเรื่องคุณธรรม จริยธรรม เจตคติ
อุดมการณ์ และความสามารถในการสอนนักศึกษาด้วย ไม่ใช่เน้นรับแต่คนเก่งทําให้การรับอาจารย์เข้ามาทํางานแล้ว
สร้างปัญหา คือต้องการสร้างแต่ผลงานทางวิชาการ สอดคล้องกับผลประโยชน์ที่ตามมา เช่น มหาวิทยาลัยจะกําหนด
ว่าเป็น รศ. มีสิทธิ์ต่ออายุราชการ ไม่สนใจเรื่องการสอน มีการทุจริตการให้เกรดนักศึกษาที่ไม่ตรงความเป็นจริง หรือ
การบอกข้อสอบ กลายเป็นการสอนให้คอรัปชั่นทางการศึกษา
แล้วที่ตําแหน่งวิชาการไปเน้นว่าต้องมีผลงานตีพิมพ์ ปัญหามีว่ามาตรฐานของผู้ทรงคุณวุฒิที่อ่านผลงาน
(Reader) นั้นแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ขึ้นอยู่กับใครเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการอ่าน ใช้มาตรฐานที่ต่างกัน ทั้งที่ สกอ.
ได้กําหนดคุณภาพของผลงาน ว่า ดีเด่น ดี หมายถึงอะไร แต่ผู้ทรงคุณวุฒิไม่ได้ตระหนักถึง ไปสนใจแต่ค่า Impact
Factor ประเทศไทยเราอาจต้องเน้นประโยชน์ของผลงานด้วย การตีพิมพ์ผลงานเป็นภาษาต่างประเทศ อาจมี
ข้อจํากัดในการได้รับประโยชน์จากผลงานวิจัย ที่ประชุม ปอมท. เคยเสนอเรื่องตําแหน่งวิชาการ ว่าควรให้คุณค่าผู้
ที่ทําประโยชน์หรือแก้ปัญหาสังคม หรือคุณค่าในแง่ของความสามารถในการสอน มีความดีเด่นการสอนหรือการ
ถ่ายทอดความรู้ หรือการบริการชุมชน เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถพัฒนาชาวบ้านหรือชุมชนได้อย่างจริงจัง
รศ.อดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์
ประธานสภาคณาจารย์และพนักงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี
เรื่อง TQF เรื่องการประกันคุณภาพ เรื่องที่มีองค์กรอิสระเข้ามา
กํากับดูการทํางานของมหาวิทยาลัยค่อนข้างมากนั้น เมื่อมีการมอบอํานาจให้
มหาวิทยาลัย สภามหาวิทยาลัยก็ควรมีหน้าที่กํากับดูแลมหาวิทยาลัยใน
เรื่องของคุณภาพ ซึ่งที่ผ่านมาก็ทําได้ดีอยู่แล้ว แต่จะสร้างระบบอย่างไรที่ทํา
ให้มีความรู้สึกที่ดีต่อกัน ทั้งนี้ ไม่ใช่ไม่เห็นด้วยกับการออกระบบ TQF แต่ไม่
เห็นด้วยในรายละเอียดที่มากเกินไป ดังมีหนังสือเวียนสอบถามความคิดเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง TQF โดยอาจารย์ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ๘
ว่าการประกันคุณภาพ
ไม่ใช่จํานวน การวัดต้องวัดที่ผล ไม่ใช่การวัดปริมาณ การประกันคุณภาพ ต้องมองที่ผลผลิต หรือผลหลัก
. . F F F F F ก TQF
-- F --
เป้าหมายที่จะให้บริการกับประชาชนเป็นหลัก อย่ามองมหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยการค้า ให้ควบคุมคุณภาพ
ทุกหลักสูตรมีระดับเพียงพอ สกอ. น่าจะไปกํากับเรื่องหลักสูตรมากกว่า ไม่ควรมากํากับในรายละเอียด เพราะ
ดัชนีชี้ความสุขในมหาวิทยาลัยจะจบไป ควรทํางานกันแบบสุนทรียภาพ
ผศ. พรรณวดี ตัณติศิรินทร์
ประธานสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประเด็นแรก การควบคุมกํากับของ สกอ. ที่จะกํากับมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง
ประเด็นสําคัญอยู่ที่ว่า ทําอย่างไร ถึงจะได้กรรมการสภามหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพในแต่
ละสถาบัน เพราะถ้ากรรมการสภามหาวิทยาลัยมีคุณภาพก็จะสามารถแก้ปัญหาได้
แต่การสรรหาสภามหาวิทยาลัยในปัจจุบันยังไม่ได้กรรมการที่มีคุณภาพเท่าที่ควร ปล่อย
ให้มีการสรรหาคนกันเอง
ประเด็นที่สอง ต้องการให้สภาคณาจารย์ของแต่ละสถาบัน มีส่วนช่วย
แก้ปัญหาในการกํากับสถาบันการศึกษา อาจเป็นคณะกรรมการหรือเครือข่าย จะได้รับฟังปัญหาต่าง ๆ ในทุกเดือน
ช่วยศึกษาผลกระทบต่อนโยบายของ สกอ. ว่าเป็นเชิงสร้างสรรค์ พัฒนา หรือบั่นทอน
ประเด็นเรื่องการใช้ข้อบังคับ ใช้อํานาจทางกฎหมาย ของสภามหาวิทยาลัย มีหลายเรื่องที่ผู้บริหาร อาจ
ถูกกฏหมาย แต่มีผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติ หรืออาจจะผิดกฎหมาย จนส่งผลให้กรรมการสภามหาวิทยาลัยถูกฟ้อง
สกอ. จะทําอย่างไรให้บรรยากาศการถูกฟ้องเป็นไปอย่างยุติธรรม และแก้ปัญหาให้กับคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยได้
อาจารย์ประจวบ วังใจ
เลขาธิการสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากร
ประเด็นเรื่อง TQF นั้น ในมหาวิทยาลัยมีหลายคณะ แต่ละคณะวัดอย่างไร
จะลงรายละเอียดอย่างไร แต่ละคณะวัด วิธีการที่จะวัดเรื่องการประกันคุณภาพ จะวัด
อะไร รูปแบบการใช้แต่ละคณะไม่เท่ากัน วิชาชีพไม่เหมือนกัน
รศ.ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน
ประธานสภาคณาจารย์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา ไม่มีใครไม่เห็นด้วย เราเห็นด้วยและมีส่วน
ร่วมในการทําเรื่องนี้มาตั้งแต่ ๖ -๗ ปีที่แล้ว อย่างที่ให้ทําเรื่องการประกันคุณภาพ
ภายใน (SAR) ก็กลายเป็นวิถีที่ได้รับการยอมรับ แต่เกิดประเด็นคําถามว่าพัฒนาการ
ของอุดมการศึกษาที่ยาวนานมานี้ บทบาทและความสัมพันธ์ของทบวงฯกับ
มหาวิทยาลัยควรจะเป็นอย่างไร ทบวงฯ ควรจะลดบทบาทลง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่
ให้ยุบรวมเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการ อย่างเรื่องการประเมินตําแหน่งทางวิชาการ เรื่องอนุมัติหลักสูตร
ก็เป็นหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยแล้ว สกอ. ทําหน้าที่แค่ Post Auditor แต่การที่ สกอ. มาดูแล TQF แล้วออก
-- F --
ประกาศเป็นข้อยุติคือการออกเป็นกฎหมายแล้ว กลายเป็นเงื่อนไขว่า หากไม่ผ่านกระบวนการ ไม่รับรอง เท่ากับ
กําหนดรายละเอียดให้มหาวิทยาลัยเดิน เท่ากับไม่เคารพวุฒิภาวะของสภามหาวิทยาลัย
รศ.สุรพล ศรีบุญทรง
เลขาธิการ ปอมท.
ขออนุญาตทบmวนเรื่อง TQF ตามที่ปรากฏในสื่อมวลชนเล็กน้อย ดังที่ปรากฏข่าวว่าอาจารย์ ๓๗๒ ท่าน
เข้าชื่อกันต่อต้าน TQF นั้น จริงๆ แล้วถ้าไปอ่านในรายละเอียด จะเห็นว่าไม่ใช่การต่อต้านการประกันคุณภาพ แต่
ต่อต้านการถูกกําหนดให้ต้องทํางานเอกสารซ้ําซ้อน แล้วก็สะท้อนถึงภาวการณ์ขาดการมีส่วนร่วมของคณาจารย์ใน
การร่วมกันกําหนดกฏเกณฑ์ของคุณภาพ นอกจากนั้น จะเห็นได้ว่าการต่อต้านจะมีมากในส่วนสังคมศาสตร์ กลุ่มที่
เรียกว่า Liberal Arts แต่มีการต่อต้านน้อยในกลุ่มวิชาชีพเพราะเกณฑ์มาตรฐานของสภาวิชาชีพ มีความเข้มข้นกว่า
เกณฑ์ของ TQF อยู่แล้ว มิฉนั้นคงไม่เกิดปัญหาเรื่องวิทยาลัยพยาบาลที่โคราชให้สังคมได้รับรู้
อย่างไรก็ตาม อยากชี้ว่าการต่อต้านนั้นเป็นเพราะขาดการมีส่วนร่วม แล้วรูปแบบของประกาศก็มีลักษณะ
เหมือนกฏหมาย ในขณะที่สังคมไทยเราด้อยในแง่ของการปฏิบัติทางกฎหมาย แล้วก็ไม่ใช่สังคมของการอ่าน เป็น
สังคมของการฟัง จึงอาจต้องมีผู้นําทางความคิดช่วยชี้นํา เช่นกรณีของการรับร่างรัฐธรรมนูญ หรือการใช้
บุคลาธิษฐานในการชี้นําแนวปฏิบัติ หรืออย่างท่านพุทธทาสภิกษุนั้น เราเชื่อในสิ่งที่ท่านนําเสนอในทางธรรม ถ้าสูง
ในระดับทางโลกเราก็เชื่อในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงควรใช้ความดีต่าง ๆ ด้วยการใช้บุคลาธิษฐาน ใช้
บุคคลมาอ้างอิง มันจะเผยแพร่ได้ง่ายกว่า
อย่างปีหน้า ปีกระต่าย ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ นั้น จะครบ ๗ รอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว น่าจะเป็นการ
ฉลองที่ยิ่งใหญ่ ๒ งานไปพร้อมกัน คือ ครบ ๗ รอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ และต่อ
ด้วยการฉลองในอีก ๑๖ วันต่อมา คือวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เนื่องในโอกาสครบ ๑๐ รอบของสมเด็จพระ
มหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ซึ่ง ปอมท. เราเชื่อว่าท่านเป็นบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย การศึกษา
ที่มีคุณภาพ เราจึงควรใช้โอกาสนี้ มาปลุกให้สังคมได้ตื่นตัวในเรื่องการกระทําความดี
-- F --
ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช
ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ขออนุญาตนําเสนอในภาพใหญ่ จากข้อเสนอจากอาจารย์ ๗ ท่านนั้น มีทั้ง
ส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับกลไกการกํากับสถาบัน ได้แก่ สภามหาวิทยาลัย กลไกการทํางาน
ของฝ่ายบริหาร การทําหน้าที่ของอาจารย์ และเป็นความเห็นที่ต่างกัน ๒ ขั้ว ขั้ว
แรก อยากให้ สกอ. เข้าไปกํากับดูแลถึงมหาวิทยาลัยว่าทําอย่างไรถึงจะสรรหา
กรรมการสภามหาวิทยาลัยที่คุณภาพ แต่อีกขั้ว บอกว่า สกอ. ไม่ควรเข้ามายุ่งใน
มหาวิทยาลัยมาก ให้รู้จักเคารพคนอื่นบ้าง อย่างไรก็ดี ความเห็นที่แตกต่างในสังคมนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ ซึ่งเรา
ต้องช่วยกันดูว่าตรงไหนพอดี คําว่าดีของแต่ละมหาวิทยาลัยไม่จําเป็นต้องเหมือนกัน
เรื่อง TQF นี้ อยากจะย้อนให้ฟังว่าเริ่มตั้งแต่ต้นปี ๒๕๕๒ ประมาณเดือนมีนาคม ขณะที่ผมมาดํารง
ตําแหน่ง ประธาน ปอมท. ใหม่ๆ รองเลขาธิการ สกอ. จิรณี ตันติรัตนวงศ์ ได้มาพูดกับผมเกี่ยวกับเรื่องกรอบ
คุณภาพ (Frame work) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทําให้การศึกษาไทย กับการศึกษาส่วนอื่นของโลกสามารถถ่ายโอน
(Transfer) ระหว่างกันได้ ย้ําว่าเป็นกรอบ (Frame work) ไม่ใช่รายละเอียด (Detail)
จากการประชุมที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๒ ได้มีการพูดเรื่อง TQF ว่านักศึกษาของ
ไทยในอนาคตข้างหน้านั้น หลักสูตร ๔ ปีไม่จําเป็นต้องเรียนแค่ประเทศไทย ๒ ปีหลัง อาจไปเรียนที่มาเลเชีย สิงค์
โปร์ หรือที่ยุโรป เป็นการถ่ายโอน (Transfer) ระหว่างกันได้ ซึ่งในยุโรปได้มีการจัดทํากันแล้วในหลักสูตร
ปริญญาตรีกลายเป็นว่าทั้งยุโรปนั้นเป็นกึ่งๆ ประเทศเดียวกัน ส่วนของเราคืออาเซียนนั้นต่อไปบัณฑิตของไทยไม่ใช่
เรียนแค่ในประเทศไทย และไม่ใช่ทํางานแค่ประเทศไทย มันจะถึงกันหมด แต่ต้องการกรอบมาตรฐาน (Frame
work) บางอย่าง เพื่อมีการเทียบโอนกันได้ มาเลเซียนั้นทําไปนานแล้ว ไทยยังล้าหลัง นี่คือเครื่องมือให้ความ
เป็นอิสระ (autonomy) แก่มหาวิทยาลัย เพราะถ้าไม่มีกรอบมาตรฐาน (Frame work) ก็ให้ความเป็นอิสระ
(autonomy) ไม่ได้
หลักคือ กรอบมาตรฐาน (Frame work) นั้นมีคณะทํางานซึ่งทํามาหลายปีตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ มีตัวอย่างของ
สาขา โลจิสติกส์ พยาบาล คอมพิวเตอร์ ผ่านกระบวนการและประกาศใช้ไปแล้วในแต่ละกรอบมาตรฐาน ซึ่งต้องมี
คณะทํางานจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มาร่วมกันทํา นั่นคือหลักการ ไม่ใช่อยู่ๆ สกอ. ก็ประกาศ แต่ที่ประกาศนั้น
เป็นภาพใหญ่เพื่อให้เป็นเครื่องมือในการทํางาน
รศ.ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน
ประธานสภาคณาจารย์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อยากเรียนถามว่า ถ้าจะระงับการประกาศใช้ TQF ไปก่อน เพราะโดยหลักการแล้วการกําหนดตัวคุณภาพ
ควรเป็นการทํางานร่วมกัน แม้ Frame work หลักเป็นเรื่องดี เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง แต่ด้วยรายละเอียดที่
ปรากฏก็ได้รับการต่อต้านมาก เพราะขาดการมีส่วนร่วม
-- F --
ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช
ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
โดยส่วนตัวผมเห็นว่า ถ้ายกเลิกประกาศตัวหลักคงยาก เพราะเป็นเรื่องของความถูกต้องที่ควรต้องมี แต่ด้วย
ความเหมาะสม อาจต้องปรับในรายละเอียด ในเรื่องวิธีปฏิบัติ ในรายละเอียดย่อย ๆ เช่น การ รับรองหลักสูตร
การประชุมหาความมีส่วนร่วม การรับฟังความเห็นโดยรวมในเชิงข้อเท็จจริง ที่ว่าใช้มาตรฐานรูปแบบเดียวกันอาจไม่
เหมาะสม อันไหนไม่เป็นประโยชน์ หรือรายละเอียดบางอย่างควรต้องนํามาปรับ แต่กรอบใหญ่ควรเก็บเอาไว้
จากที่ได้รับฟัง เห็นเป็นแนวทางเดียวกันที่จะแก้ไขในส่วนที่เป็นรายละเอียด โดยรับฟังความเห็นเพิ่มเติม
ตัวอย่างเรื่องการปรับแก้หากมีข้อทักท้วงต้องนํามาปรับใหม่ นั้น กกอ. ก็เคยทํามาแล้ว เรื่องหลักสูตร
ต่อเนื่อง ที่ กกอ. ในชุดที่แล้ว ออกประกาศว่าต่อไปผู้เรียนระดับ ปวช. ปวส. ไม่ให้มีหลักสูตรต่อเนื่อง มีแต่เทียบ
โอน ให้ใช้วิชามาเทียบโอนไป แต่ต้องไปสมัครเรียนตามหลักสูตรปริญญาตรีปรกติ ซึ่งก็มีข้อโต้แย้งเข้ามามากมายจาก
มหาวิทยาลัยเอกชน และที่สําคัญคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งสําคัญและเราก็รับฟัง
ว่ามีบัณฑิตที่ไม่ใช่ต้องการเฉพาะบัณฑิตที่คิดเก่ง ยังมีความต้องการบัณฑิตอีกกลุ่มที่จะต้องมีทักษะในการทํางาน
สุดท้ายตกลงก็ต้องยกเลิกประกาศ และประกาศใหม่ สายอาชีพไม่ต้องเทียบโอน ต้องเป็นสายเทคโนโลยี สาขาวิชา
ช่าง (ไม่รวมบัญชี) สรุปว่า สกอ. ใช้ TQF เป็นเครื่องมือในภาพใหญ่ เพื่อเราอยู่ในสังคมโลก เปิดช่องทางให้
ลูกศิษย์ของเราเคลื่อนย้ายและถ่ายโอน (mobility) ได้ แล้วตัวอาจารย์ก็ต้องเคลื่อนย้ายและถ่ายโอนได้ด้วย
ผศ.นพพร ลีปรีชานนท์
ประธาน ปอมท.
สภาคณาจารย์ในฐานะที่เป็นตัวแทนจาก
คณาจารย์สามารถช่วย กกอ. ได้หลายเรื่อง เช่นเรื่องของ
self Control ที่ต้องผ่านสภาคณาจารย์ หรือในอดีต
ปอมท. ก็เคยได้มีบทบาท ได้มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมใน
กพอ. แต่ตอนหลังถูกดึงออกไป ซึ่งทาง ปอมท. ยินดี
ที่จะมีส่วนร่วมช่วยเหลือคณะกรรมการ กพอ. ในการขอ
เป็นที่ปรึกษาของท่านในอีกมุมหนึ่ง อย่างเรื่อง
ตําแหน่งทางวิชาการนั้น ที่ปรึกษาของ ปอมท.
ศาสตราจารย์กนก วงศ์ตระหง่าน๙
เคยพูดถึงเรื่องการเข้า
สู่ตําแหน่งทางวิชาการว่าเราเน้นกันแต่เรื่องของการ
ประเมินในงานวิจัย เน้นเรื่องวิจัย ในขณะที่การปฎิบัติงานของอาจารย์ตามความเป็นจริง ควรมีตําแหน่งทาง
วิชาการอีก ๒ ด้าน คือเน้นเรื่องการสอน เน้นการบริการทางวิชาชุมชน
. . ก ก F F ก . ก ก F F F ก ก ก ก
ก . / F ก
-- F --
เพราะเมื่อเราเน้นเรื่องวิจัย ให้ผลตอบแทนคนเก่งด้านวิจัย คนที่เก่งด้านการสอน หรือด้านการบริการ
ชุมชนก็จะถูกบั่นทอน จึงควรมีช่องทางของอาจารย์มหาวิทยาลัยในการเข้าสู่ตําแหน่งทางวิชาการ ในด้านที่ตนเอง
ถนัด ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ไม่น้อย คนเก่งเรื่องบริการชุมชน มีหลักวิชา มีหลักเกณฑ์ มีผลงานเป็นองค์ความรู้
แบบนี้ ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติไม่ได้ บุคคลเหล่านี้สมควรได้รับตําแหน่งทางวิชาการด้านบริการวิชาการชุมชน
ในอีกด้านหนึ่ง อาจารย์ที่คิดวิธีการสอน สื่อการสอน วิธีการ animation เน้นเรื่องการสอนให้เด็กมีคุณธรรม
จริยธรรม ทําให้นักศึกษาเป็นคนดีได้ โดยไม่เก่งทางด้านวิจัย แต่เลือกที่จะทําเรื่องการสอน ท่านก็มีโอกาสเข้าสู่
ตําแหน่งทางวิชาการ เป็น Teaching Professor แต่จะดําเนินการ ผลักดันเรื่องนี้แนวทางอย่างไร โดยไม่กระทบ
มาตรฐานหลักประกันการศึกษาของชาติ
ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช
ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เรื่องที่ว่าจะให้ประธาน ปอมท. เข้าไปมีส่วนร่วมของการประชุมของ กพอ. นั้นโดยส่วนตัวเห็นด้วย แต่ก็ยัง
มีความเห็นที่หลากหลาย มีเรื่องความลับทางเอกสาร หน่วยงานที่ประชุมพิจารณาเรื่องใหญ่ ต้องมีความลับมาก ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม ประธานสภาคณาจารย์นั้นสามารถแสดงบทบาทของตนผ่านกลไกต่างๆ ได้มากทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น
ประธานสภาคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดลก็ได้เข้าไปในนั่งในทุกชุดทํางาน มีบทบาทในทุกการสรรหา ถือเป็น
ตัวแทนที่เข้าไปนั่งในที่สําคัญต่าง ๆ เรียกว่าทุกชุดที่อธิการบดีอยู่ ประธานสภาคณาจารย์ก็ต้องอยู่ด้วย
ส่วนเรื่องตําแหน่งทางวิชาการหลายแบบนี้ ขอให้ท่านลองใช้คํา ”วารสารวิชาการไทย รับใช้สังคมไทย”
ในระบบการสืบค้นของ Google ก็จะได้บทความที่ผมเขียนไว้เมื่อกว่า ๑๐ ปีมาแล้ว ซึ่งระบุว่าเราต้องมี Social
impact Factor ไม่ใช่แค่ Impac Factor ของ ISI ขณะนี้เรามี Thai jouranal มีเว็บไซต์ มีวารสารที่ทําใน
ลักษณะของ การเน้นวิชาการเชิงประยุกต์ (application) ในสังคมไทย ไม่เน้นวารสารที่คําถึงแต่ความเป็นเลิศทาง
วิชาการ (excellent) แต่มุ่งไปที่งานในลักษณะที่เป็น knowledge translate research อาจต้องลงแรงและทุ่ม
เวลา ประเด็นคือ ต้องหาทางทําให้ สามารถจะตีพิมพ์ผลงานในเชิงประยุกต์ (application) ให้ออกมาเป็น
ผลงานวิชาการให้ได้ อาจมีกลุ่มมหาวิทยาลัยที่เรียกว่า “มหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น” กลุ่มใหญ่คือราชภัฏ
ราชมงคล วิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่นซึ่งไม่ใช้ impact Factor แบบ ISI หมายความว่า คําว่า ศาสตราจารย์
ของเขาไม่เหมือนศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล วิชาการเป็นแบบ knowledge application
อย่างไรก็ดี ศาสตราจารย์คลินิกของมหิดล ไม่มีเงินเดือน เป็นการยกย่องให้เกียรติกันเท่านั้น ทั้งที่มหิดล
ออกนอกระบบราชการแล้ว เราจึงต้องมีเกณฑ์สร้างการยอมรับให้การยกย่อง (recognize) ซึ่งกันและกัน
ศาสตราจารย์เน้นการวิจัย ศาสตราจารย์ที่เน้นเรื่องการเรียนการสอน เน้นเรื่องวิชาชีพ (Professional) เราควร
จะสร้างเกณฑ์คุณภาพที่ยอมรับซึ่งกันและกันได้ภายในมหาวิทยาลัยของตนโดยไม่ยกอํานาจให้ สกอ. ให้ใช้อํานาจ
ของความรู้ของเราเอง สร้างและกําหนดเอง เพราะผู้ปฏิบัติย่อมรู้ดีกว่า เสนอให้ ผลงานที่เป็นงานวิจัยรับใช้สังคม
เป็นศาสตราจารย์ เป็นรองศาสตราจารย์ก็ได้ กําหนดให้วารสารต่อไปนี้เป็นที่ยอมรับก็ได้ เรายืนยันในคุณภาพ
ว่าไม่ได้ด้อยกว่ากัน แต่เป็นคนละประเภท
-- F --
ขณะนี้ หน่วยงานที่เป็นผู้ออกประกาศหลักเกณฑ์ หรือวิธีการและหลักเกณฑ์การกําหนดตําแหน่งทางวิชาการ
คือ กพอ. แต่มีข้อสังเกตว่าในอนาคตมหาวิทยาลัยในกํากับไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมกํากับดูแลของ กพอ. คือ
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา อนาคตผู้ที่จะมีส่วนผลักดันในเชิงนโยบายในการเขียนข้อบังคับอาจ
กลายเป็น กกอ. ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบกลางในระดับอุดมศึกษาอย่างแท้จริง เราควรสร้างสาขาอาชีพที่จะ
ได้รับการยอมรับในตําแหน่งทางวิชาการในระดับต่าง ๆ นอกเหนือจากลักษณะของทางวิจัย
รศ.อดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์
ประธานสภาคณาจารย์และพนักงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี
พูดถึงการใช้ผลงานวิจัยภายในประเทศ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ทุกครั้งที่ สกอ. ออก
กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการวิจัย มักจะใช้กับทุกมหาวิทยาลัย หากเป็นมหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐบาล สกอ. จะมา
ดูแลไม่ได้ มันเป็นอํานาจหน้าที่เขียนไว้เป็นกฎหมาย ทุกคนต้องใช้ เราจะยอมรับกันได้หรือไม่ เรื่องที่ให้ทํา
วารสาร เราทําได้ กฎเกณฑ์ยอมรับกันเองได้ ปัญหาคือการออกระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ เป็นหน้าที่ของ สกอ.
ทั้งสิ้น ไม่เคยให้ประชากรของชาวมหาวิทยาลัยร่วมกันคิด ธรรมาภิบาลบนระเบียบ แต่ไม่มีธรรมาภิบาลในทาง
สังคม มีแต่ระเบียบ แต่ไม่ให้สังคมมีส่วนร่วม และรับรู้ สุดท้ายคือการใช้ อํานาจ
อย่างเรื่องเงินวิจัยที่ให้ ที่เป็นทุนเครือข่าย อาจารย์วันชัย ตั้งไว้ว่า ถ้าไม่มีค่า Impact Factor ที่กําหนด
จะไม่ให้ทุน อย่างกรณีขอทุนวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกจะตีพิมพ์ไม่ได้ สุดท้ายคนที่เป็นศาสตราจารย์ก็จะเป็นคนที่
ได้ทุนทั้งหมด แล้วจะพัฒนาประเทศได้อย่างไร หากไม่พัฒนาคนระดับล่าง ไม่มองประชาชน ทําไมโครงการ
มหาวิทยาลัยวิจัย ๙ แห่ง ที่ได้ชื่อแต่ไม่ได้เงิน พอมีการพิจารณางบประมาณ สส. ถามว่างานวิจัยพวกนี้ไปเกิด
ประโยชน์ต่อประชาชนแค่ไหน ไม่มีใครตอบได้ ต้องตอบสังคมให้ได้ว่าสังคมได้อะไร สุดท้ายงบถูกตัดไป ทําไมไม่
เกิดความร่วมมือกันระหว่างสังคมครูบาอาจารย์ด้วยกัน ทางสกอ. ควรทํางานให้เป็นองค์รวมของประเทศ ทุกวันนี้
เกิดความแตกแยกทางสังคมระหว่างมหาวิทยาลัย ๙ แห่งที่เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย และมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้เป็น
มหาวิทยาลัยวิจัย แต่สรุปแล้วก็ไม่มีใครได้เงิน
ถอดเทป โดย น.ส ศิริวรรณ ทองงาม และนางเพ็ญนภา กันทะตา
งานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
สรุปและจัดทํารายงาน โดย รศ. สุรพล ศรีบุญทรง เลขาธิการ ปอมท.

Contenu connexe

Similaire à หลักประกันคุณภาพการศึกษา(Tqf)

วิจัย 29 ม.ค. 2
วิจัย 29 ม.ค. 2วิจัย 29 ม.ค. 2
วิจัย 29 ม.ค. 2nakaenoi
 
โปรไฟล์ ดร.ดนัย เทียนพุฒ 2559
โปรไฟล์ ดร.ดนัย เทียนพุฒ  2559โปรไฟล์ ดร.ดนัย เทียนพุฒ  2559
โปรไฟล์ ดร.ดนัย เทียนพุฒ 2559DrDanai Thienphut
 
9789740329411
97897403294119789740329411
9789740329411CUPress
 
โครงงานภาษาไทย
โครงงานภาษาไทย โครงงานภาษาไทย
โครงงานภาษาไทย ssuserd40879
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404gam030
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5nattawad147
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5benty2443
 

Similaire à หลักประกันคุณภาพการศึกษา(Tqf) (20)

V 260
V 260V 260
V 260
 
W 2
W 2W 2
W 2
 
Focus 5-55
Focus 5-55Focus 5-55
Focus 5-55
 
จดหมายข่าวสำนักหอสมุด ม.รังสิต ปีที่ 9 ฉบับที่ 4 เม.ย.55
จดหมายข่าวสำนักหอสมุด ม.รังสิต ปีที่ 9 ฉบับที่ 4 เม.ย.55จดหมายข่าวสำนักหอสมุด ม.รังสิต ปีที่ 9 ฉบับที่ 4 เม.ย.55
จดหมายข่าวสำนักหอสมุด ม.รังสิต ปีที่ 9 ฉบับที่ 4 เม.ย.55
 
จดหมายข่าวตุลาคม 2555
จดหมายข่าวตุลาคม 2555จดหมายข่าวตุลาคม 2555
จดหมายข่าวตุลาคม 2555
 
Ugp ohec 4 620522
Ugp ohec 4 620522Ugp ohec 4 620522
Ugp ohec 4 620522
 
Library Branding with ICT
Library Branding with ICTLibrary Branding with ICT
Library Branding with ICT
 
วิจัย 29 ม.ค. 2
วิจัย 29 ม.ค. 2วิจัย 29 ม.ค. 2
วิจัย 29 ม.ค. 2
 
โปรไฟล์ ดร.ดนัย เทียนพุฒ 2559
โปรไฟล์ ดร.ดนัย เทียนพุฒ  2559โปรไฟล์ ดร.ดนัย เทียนพุฒ  2559
โปรไฟล์ ดร.ดนัย เทียนพุฒ 2559
 
9789740329411
97897403294119789740329411
9789740329411
 
โครงงานภาษาไทย
โครงงานภาษาไทย โครงงานภาษาไทย
โครงงานภาษาไทย
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404
 

Plus de สุรพล ศรีบุญทรง

เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWhoเรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWhoสุรพล ศรีบุญทรง
 
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยแบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยสุรพล ศรีบุญทรง
 
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 Hสร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 Hสุรพล ศรีบุญทรง
 
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์สุรพล ศรีบุญทรง
 
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยกระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยสุรพล ศรีบุญทรง
 
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลังภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลังสุรพล ศรีบุญทรง
 
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)สุรพล ศรีบุญทรง
 
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)สุรพล ศรีบุญทรง
 
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)สุรพล ศรีบุญทรง
 
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2สุรพล ศรีบุญทรง
 
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)สุรพล ศรีบุญทรง
 
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)สุรพล ศรีบุญทรง
 
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550สุรพล ศรีบุญทรง
 
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...สุรพล ศรีบุญทรง
 
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)สุรพล ศรีบุญทรง
 
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)สุรพล ศรีบุญทรง
 
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)สุรพล ศรีบุญทรง
 
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลียการศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลียสุรพล ศรีบุญทรง
 

Plus de สุรพล ศรีบุญทรง (20)

เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWhoเรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
 
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยแบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
 
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 Hสร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
 
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
 
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยกระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
 
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลังภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
 
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
 
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
 
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
 
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
 
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
 
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
 
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
 
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
 
บทความวิชาการ ปอมท. 2550
บทความวิชาการ  ปอมท.  2550บทความวิชาการ  ปอมท.  2550
บทความวิชาการ ปอมท. 2550
 
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
 
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
 
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
 
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
 
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลียการศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
 

หลักประกันคุณภาพการศึกษา(Tqf)

  • 1. -- F 1 -- หลักประกันคุณภาพการศึกษา ศาสตราจารย์ นพ. วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และนายกสภา มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายในการประชุมสมัยสามัญ ๒/๒๕๕๓ ของที่ประชุมประธานสภา อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) ณ ห้องประชุมสัญญา ธรรมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร วันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๓ เรียนท่านประธาน ปอมท. ท่านประธานสภาคณาจารย์ และผู้มีเกียรติทุกท่าน ผมขอบคุณที่เชิญผมมาพูดคุยในวันนี้ ผมขออนุญาติปรับบรรยากาศของที่ประชุมเล็กน้อย ขอเรียนว่าผม ไม่ได้มาบรรยาย แต่มาพูดคุย แบ่งปันประสบการณ์ แลกเปลี่ยน ความคิดเห็น ในเชิงสุนทรียสนทนา (Dialog) ในฐานะของผู้รัก ชาติบ้านเมืองคนหนึ่ง ไม่ได้พูดในฐานะตําแหน่งประธาน กกอ. หรือตําแหน่งใดๆ พูดเรื่องคุณภาพอุดมศึกษาซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มากของประเทศไทย สรุปได้ในประโยคเดียว ว่าเป็น เรื่องซับซ้อน ลึกล้ํา และบางครั้งก็ลึกลับกว่าที่จะมองแค่เรื่องการเรียนการสอน พูดตามความเข้าใจของผมเอง ซึ่งยัง มีความรู้น้อยมาก ไม่รับรองว่าจะถูกต้อง ท่านอาจจะเห็นด้วยหรือไม่ ก็ได้ แต่เป็นโอกาสดีที่จะแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน หวังว่าผมจะได้ เรียนรู้เพิ่มมากขึ้นเมื่อจบจากการสนทนาร่วมกันในครั้งนี้ เมื่อพูดถึงคุณภาพอุดมศึกษา มันไม่ได้มีแต่คุณภาพการเรียน การสอนเท่านั้น มันเป็นคุณภาพหลายมิติ คุณภาพหลากหลายภารกิจ มันมีทั้งการเสริมส่ง และดึงกันลง ถ้าเราละเลยไม่ส่งเสริม ไม่เอาใจใส่ ไม่พยายามยกระดับคุณภาพของอุดมศึกษาในมิติใดก็ตาม มันก็จะดึง มิติอื่นลงไปด้วย ถ้าเราเอาใจใส่ ถ้าทําได้ดีในมิติหนึ่งมันจะดึงมิติอื่นๆ ให้ สูงตามไปด้วย เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราต้องการช่วยกันสร้างให้เกิดขึ้นใน สถาบันอุดมศึกษาของเราก็คือ วัฒนธรรมคุณภาพ คําว่าคุณภาพใน ความหมายที่ลึก แล้วก็กว้าง อย่างความซื่อสัตย์ก็เป็นส่วนหนึ่งของ วัฒนธรรมคุณภาพ ความมีคุณธรรมหลากหลายด้านก็เป็นส่วนหนึ่งของ วัฒนธรรมคุณภาพ จริงๆ แล้ว วัฒนธรรมคุณภาพก็คือ วัฒนธรรมแห่ง ความดีนั่นเอง ปัจจัยกําหนดคุณภาพอุดมศึกษานั้นมีอยู่มากมาย มากกว่าที่ผม ยกมาเป็นตัวอย่างมาก เพราะลําพังที่ยกมานี้ก็พูดได้ทั้งวัน เราได้แต่แตะเพียงนิดๆ หน่อยๆ หรือใช้เป็นจุดเริ่มต้น สําหรับการพูดคุยกันต่อไป เพราะการพัฒนาคุณภาพนั้นเป็นภารกิจต่อเนื่อง ทําจนผมตายไปก็ยังไม่จบภารกิจ มัน เป็นเรื่องที่จะต้องปรับเปลี่ยนตลอดเวลา หลายๆเรื่องอาจเป็นสิ่งที่เหมาะสมในวันนี้ แต่อีก ๑๐ ปีข้างหน้ามันอาจจะ
  • 2. -- F 2 -- เป็นเรื่องที่ล้าหลัง อาจเป็นเรื่องถ่วงความเจริญก้าวหน้าของประเทศ เพราะฉะนั้น เรื่องที่คุยกันวันนี้ไม่ได้เป็นเรื่องที่ หยุดนิ่ง ตายตัว เป็นเรื่องที่มีพลวัตสูงมาก มีทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกประเทศ ซึ่งควรมีการแลกเปลี่ยน และเปิดเผยในโลกยุคสารสนเทศ ๑ ดังจะเห็นได้ว่าปัจจัยที่กําหนดคุณภาพการศึกษานั้นมีมากหลากหลาย ผมเชื่อว่าไม่มีปัจจัยหนึ่งปัจจัยใดที่ เป็นตัวกําหนดคุณภาพการศึกษาเพียงปัจจัยเดียว อย่างเรื่องการกําหนดหลักสูตรการเรียนการสอน เรื่อง หลักสูตรปกติ กับหลักสูตรพิเศษ ซึ่งจะเกี่ยวโยงกับ TQF (กรอบ มาตรฐานคุณภาพอุดมศึกษา) ด้วยนั้น อาจารย์กุลณสรรค์ ประธานสภาคณาจารย์มหิดล๒ ที่นั่งอยู่ในห้องนี้ด้วยก็คงจะทราบดี ว่าเมื่อเร็วๆ นี้ มีการเสนอหลักสูตรพิเศษของปริญญาเอกสําหรับ การเรียนการสอนเฉพาะเสาร์ อาทิตย์ เข้าสู่สภามหาวิทยาลัยของ มหิดล ผมก็ติงว่าเราจะสอนกันอย่างนี้หรือ เพราะนี่คือหลักสูตร เพื่อเงิน ไม่ใช่หลักสูตรเพื่อสร้างสรรค์วิชาการ แต่เขาก็มีเหตุผลของเขา ด้วยความหวังดีว่านักศึกษาที่มีประสบการณ์ สูงจะนําความรู้มาเพิ่มในแวดวงวิชาการ แต่ทางสภามหาวิทยาลัยมหิดลไม่ยอม ผมต้องไปพูดคุยทําความเข้าใจกับกับคณาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรดังกล่าว ยอมรับว่าประเทศของ เรามีหลักสูตรพิเศษ ที่ไม่เน้นวิชาการแต่เน้นประสบการณ์ ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าเป็นเรื่องไม่ดี แต่มันมีหลายปัจจัยที่ต้องคิดถึง มันมีคําถามว่ามหาวิทยาลัยใดจะทํา และมหาวิทยาลัยใดไม่ทํา เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอยู่ตรงไหน หลักสูตรพิเศษ บางอัน เน้นที่สภาพการดําเนินชีวิตในสังคม ซึ่งเป็นประโยชน์ แต่ว่ามาตรฐานอุดมศึกษาอยู่ที่ไหน เป็นประเด็นที่เรา ถกเถียงกันได้เยอะ ไม่มีคําตอบสําเร็จรูป มันมีรายละเอียดอย่างอื่น อาจจะถูก หรือผิดก็ได้ หลักสูตรพิเศษไม่ใช่น่าเกลียดเสมอไป คําถามว่า คุณประกัน คุณภาพอย่างไร? แล้วคุณภาพคุณจะแปลว่าอะไร ระดับไหน คนที่จบไปมี สมรรถนะ (competency) อะไร ประสบการณ์อะไร คนที่เรียนปริญญาเอก มาควรผ่านการเคี่ยวกรํา ตรากตรําลําบากถึงจะเหมาะสมเป็นอาจารย์ เพื่อมา ส่งเสริมคุณภาพการศึกษาของประเทศ ส่วนที่เขาจบไปเพื่อไปใช้คําดอกเตอร์นําหน้านามเพื่อทําธุรกิจ นั้นก็เป็น ค่านิยมอย่างหนึ่ง ผมไม่ได้พูดถึงว่าค่านิยมไหนดี แต่ค่านิยมนั้นต้องมีความเป็นเลิศทางวิชาการ การบริหารหลักสูตร บริหารกันจริงหรือเปล่า หรือว่าใครใคร่สอนอะไรก็สอน อันนี้แหละที่ TQF เข้ามา เกี่ยวข้อง เพราะว่าเราต้องมีกรอบ มีวีธีคิดร่วมกัน เพื่อจะได้คุยกับประเทศอื่นได้ นักศึกษาต้องทันคน นักศึกษาไม่ จําเป็นต้องเรียนประเทศเดียว หรือเรียนมหาวิทยาลัยเดียว การบริหารหลักสูตรนี้เป็นเรื่องใหญ่ อาจารย์บางท่านก็ ว่าอย่ามายุ่งมาก เพราะต้องการมีอิสระทางวิชาการ พวกเราเป็นอิสระชน แต่ก็ต้องมีขอบเขต ต้องอธิบายได้ว่ามี ก . . F F F F ก F F ก http://gotoknow.org/blog/council/347230 . . ก F F
  • 3. -- F 3 -- คุณภาพแค่ไหน การจัดการเรียนการสอนต้องแตกต่างไปจากในอดีต ต้องเปลี่ยนจากวิธีเน้นการบรรยาย (lecture based) ไปสู่การเน้นการวิจัย (Research based) มากขึ้น เพราะผู้รอบรู้ ไม่มีประโยชน์เท่าผู้เรียนรู้ เราต้องฝึกฝน ทักษะการเรียนรู้ให้กับนักศึกษา บัณฑิตที่จะจบอาจต้องทดสอบฉันทะและทักษะของการเป็นผู้เรียนรู้ ทดสอบการ เป็นผู้เรียนรู้ มากกว่าการทดสอบความเป็นผู้รู้วิชา อย่างไรก็ตาม บัณฑิตจํานวนหนี่งอาจต้องมีคุณสมบัติทํางานได้ ทันทีที่จบออกไป เพราะเป็นความต้องการของผู้จ้างงาน การศึกษานั้นไม่ควรจํากัดอยู่เฉพาะในห้องเรียน การเรียนนอกห้องเรียนจะไปเชื่อมกับการดําเนินชีวิต มันทําให้การเรียนรู้มีชีวิตชีวา สัมพันธ์กับการเรียนรู้ทําความเข้าใจกับโลก สภาพแวดล้อม จักรวาล ตัวเอง เพื่อน และ สังคม ที่กําหนดไว้ ๓๐ หน่วยกิต เรามักไปทําอย่างอื่น เพราะเราก็สอนความรู้กันเต็มที่ จับยัด จับกรอกความรู้ใส่ เด็กจนแทบไม่เป็นผู้เป็นคน เพราะอาจารย์กลัวว่าเขาจะไม่รู้ พวกนักเรียนแพทย์นับว่าโชคดีที่มีสภาวิชาชีพมาจัด สอบร่วมกันให้เป็นมาตรฐานมากขึ้น มาช่วยกันยกมาตรฐาน แต่เรายังทดสอบเฉพาะความรู้วิชา แต่เราไม่ได้ ทดสอบความเป็นนักเรียน ความเป็นนักเรียนรู้ เรื่องคุณภาพนี้ เดี๋ยวนี้มีการหลักสูตรพิเศษที่ให้บริการแบบวีไอพีขึ้น และมีการไปพูดในกรรมาธิการของ สภาผู้แทนราษฎรด้วยดังที่ผมได้โพสต์ไว้ในบล็อก http://gotoknow.org/blog/council/341910 ๓ ซึ่งผมเห็น พวกเราต้องช่วยกันต่อสู้กับสิ่งที่เป็นมิจฉาทิฐิ Prof. Vicharn Panich Academic The Knowledge Management Institute F : 186 : 3 F F ก ก ก ก ก F F F ก F F ก ก F F F F F ก F F F ก ก ก ก ก F ก ก ก F F F ก ก F F ก ก F ก ก F F ก ก ก ก F ก ก ก F F ก F F F F F F F F F F F F F F F F F F ก F F F F ˈ F ก ก F F ˈ F F ˈ ก ก ˈ ก ก ก F F ก F ก ก ก F F F ก F F ก ก F F F F F ก F F F ก ก ก ก ก F ก F F F ก F กก F F ก ก ˂ ก ก ก ก ก ก F . .
  • 4. -- F -- นอกจากนั้น ยังมีกรณีของโรงเรียนพยาบาล ๒ แห่ง ที่ ปรากฏอยู่ตามสื่อมวลชน การที่ผมได้มานั่งในคณะกรรมการการ อุดมศึกษาทําให้ได้รับรู้เรื่องไม่ดีจํานวนมาก เช่น การรับจ้างทํา วิทยานิพนธ์ในหลักสูตรบริหารธุรกิจ เป็นตัวเงินถึง ๙ แสน การที่มีผู้ รับจ้างพิมพ์วิทยานิพนธ์ แล้วทําให้มีข้อมูลวิทยานิพนธ์ในฐานข้อมูล เป็นจํานวนมากจนสามารถไปรับจ้างทําวิทยานิพนธ์ได้ มีข้อมูลว่า ผู้บริหารมหาวิทยาลัยบางแห่งสั่งให้อาจารย์อัพเกรดของผู้เรียน ฯลฯ ซึ่งเราในฐานะอาจารย์ไม่ควรยอม ควรจะเตือนเพื่อนๆ ที่เป็น ผู้บริหารกันบ้าง ควรมีฐานค้ํายันความดีในสังคมด้วย ล่าสุดยังมีข้อมูลว่ามีบริษัทเอกชนบางแห่งมาชวนมหาวิทยาลัยให้เปิดหลักสูตรปริญญาโท และ ปริญญา เอก โดยบริษัทรับผิดชอบด้านวิชาการทั้งหมด ส่วนมหาวิทยาลัย รับผิดชอบงานธุรการ และให้สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตร ทั้งนี้ บริษัทรับรายได้จากการทําหน้าที่วิชาการไป ๗๕ % มหาวิทยาลัยรับ ๒๕ % ฉนั้น แทนที่มหาวิทยาลัยจะทําหน้าที่หลักของตัวเอง กลับ เอาไปให้คนอื่นทํา ตนเองเป็นเพียงผู้รับรองคุณภาพ นับเป็น กรณีศึกษาตัวอย่างของการทําผิดกฏหมาย ซึ่งคณะกรรมการการ อุดมศึกษาจะต้องเผยแพร่ทําความเข้าใจกับมหาวิทยาลัยและสังคม ได้รับทราบว่าเป็นเรื่องผิดกฏหมายทําไม่ได้ คุณภาพการศึกษา และการประกันคุณภาพอุดมศึกษาจึงเป็นเรื่องที่ขึ้นกับวัฒนธรรมของสถาบัน บางทีมัน ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มองไม่เห็น มันขึ้นอยู่กับการปฏิบัติ เช่น รับใครมาเป็นอาจารย์ ผ่านการศึกษาระดับใด นิสัยใจคอเป็น อย่างไร รักวิชาการแค่ไหน หลายครั้งที่เรารับคนทํางานเพระความคุ้นเคย ตอนผมเด็กๆ เคยมีคนพูดว่า คนนี้หัว อ่อนรับมาทํางานดี ดีในแง่ความราบรื่น แต่ไม่ดีในเชิงวิชาการ ก็ กลายเป็นมหาวิทยาลัยหัวอ่อน เราถึงต้องมีวัฒนธรรมทางวิชาการที่ เข้มข้น และมีหลากหลายรูปแบบ มหาวิทยาลัยวิจัยก็ทํางานแบบหนึ่ง มหาวิทยาลัยท้องถิ่นก็ทํางานอีกแบบ แต่มีคุณภาพเหมือนกัน เรียกว่ามี ความเป็นเลิศ (Excellency) กันไปคนละอย่าง นอกจากนี้ ก็ยังต้องมีการส่งเสริมผู้ปฏิบัติงาน มีการยกย่อง และให้ค่าตอบแทนอาจารย์ที่เอาใจใส่กิจการงาน มีการเอาใจใส่ลูกศิษย์ ประหนึ่งพ่อแม่ ไม่เอาความเลวดีของเด็กมาเป็นตัวตั้ง อาจารย์ประเภทนี้เด็กจบไปแล้วเป็นยี่สิบปีก็ยังจดจําได้ ยัง กลับมาหาเสมอ เราจะหาวิธียกย่องและให้รางวัลอาจารย์ประเภทนี้ได้อย่างไร
  • 5. -- F -- เรื่องวัฒนธรรมในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานทางวิชาการ ก็ไม่ใช่แค่เรื่องโครงสร้างทางสาธารณูปโภค เพราะ ยังมีอะไรอีกมากนอกเหนือจากการมีห้องสมุดที่ดีให้ค้นคว้าหาข้อมูล และยังขึ้นอยู่กับว่าเราเลือกผู้บริหารแบบไหน ควรเก่งวิชาการหรือธุรการ เราต้องการผู้บริหารจัดการด้านกฏระเบียบ หรือต้องการให้มาบริหารเรื่องวิชาการ อย่างไรก็ตาม เรื่องความสามารถสองอย่างนี้ไม่ใช่เรื่องขาวกับดํา ผู้บริหารส่วนใหญ่ก็จะมีความสามารถทั้งสองด้าน ในระดับประเทศ วัฒนธรรมอุดมศึกษาที่มีการพูดคํา โฆษณาว่า “จ่ายครบจบแน่” นี้แรงมาก เป็นแรงดึงดูดลูกค้าสูง มาก แต่กลายเป็นลูกค้าแล้ว ไม่ใช่นักศึกษา แน่นอนนักศึกษา ที่มาเรียนก็ต้องการปริญญา อาจารย์สมศักดิ์ ชูโต๔ อดีตรัฐมนตรี ที่ท่านมีลักษณะเป็นนักคิดแบบ Radical thinker ที่น่าสนใจมาก เคยพูด(ถึงวัฒนธรรมการเรียนเพียงเพื่อให้ได้ปริญญา)ว่า ถ้าผมมา อยู่ตรงนี้ ใครเข้ามาก็จะให้ปริญญาหมดเลย แล้วอยากเรียนถึงค่อยมาเรียน ทุกวันนี้ กลายเป็นว่าความถูกผิดนั้นอยู่แค่ระดับกฏหมาย ไม่คิดถึงระดับคุณธรรม จริยธรรม ไม่คิดถึง ประโยชน์ของสังคม แต่อุดมศึกษาพอใจแค่นั้นไม่ได้ ต้องเป็นแบบอย่างให้กับสังคม ต้องกระตุ้นให้สังคมตระหนักถึง เรื่องคุณธรรม จริยธรรม และต้องมุ่งเน้นประโยชน์ของสังคมโดยรวม เป็นสําคัญ โดยเฉพาะในขณะนี้ สถาบันอุดมศึกษามีความเป็น อิสระสูงมาก นับจาก ๑๑ ปี หลังการปฏิรูปการศึกษาปี ๒๕๔๒ แต่ ความเป็นอิสระที่มีการกํากับดูแลไม่แข็งแรง อาจทําให้ สถาบันอุดมศึกษาบางแห่งใช้การปกครองตนเอง และเป็นอิสระทาง วิชาการ (Autonomy) ไปในทางที่ผิด เป็นการดึงอุดมศึกษาให้ ต่ําลง หรือโยงไปสู่ผลประโยชน์ทางการเมือง อาศัยช่องทาง ความสัมพันธ์ (Connection) เป็นการสร้างโอกาสไปสู่อํานาจ ปัญหาคือเราจะต้องมีการควบคุมจากสังคม (Social control) ภายในสถาบันอุดมศึกษาหรือไม่ เพราะเรื่อง Social control ก็อาจเป็นดาบสองคม ระบบการจัดการในสถาบันอุดมศึกษานั้น หลายครั้งก็เป็นการวัดผลงานผู้บริหารเฉพาะเชิงจํานวนเช่นว่ามี การเปิดหลักสูตรใหม่กี่หลักสูตร ดูปริมาณมากกว่าคุณภาพ มันก็ เป็นวิธีคิดอย่างหนึ่ง พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปี ๒๕๔๒ บอกชัดเจนว่า คุณภาพการศึกษานั้นยกให้สถาบันการศึกษาดูแล กันเอง สภามหาวิทยาลัยต้องดูแล คือ การควบคุมดูแลภายใน (Internal body control) เป็นประเด็นที่สถาบันต้องเอาใจใส่ ตั้ง สติ ทบทวนว่าที่กําลังทําอยู่นี้ มีคุณภาพดีขึ้นหรือแย่ลง อย่างเรื่อง . . ก ก ก ʾ . . F
  • 6. -- F -- วารสารประจําสถาบันอุดมศึกษานั้นจะช่วยยกระดับคุณภาพวิชาการ หรือทําให้คุณภาพต่ําลง กลไกต่างๆ นั้นขึ้นอยู่ กับวิธีการนําไปใช้ อยู่ที่ว่าผู้บริหารใส่ใจมากเพียงใด หรือพวกเราเอง ทําให้ผู้บริหารวุ่นวายเรื่องอะไร เป็นความวุ่นวายด้วยเรื่องที่เป็น วิชาการ คุณภาพ หรือวุ่นวายเรื่องผลประโยชน์ เพราะเราก็เป็น ปลาข้องเดียวกัน ถัดมา เรื่องระบบการกํากับดูแลของสภามหาวิทยาลัย นั้น ขึ้นอยู่กับสภามหาวิทยาลัยว่ามีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ ของตนมากแค่ไหน มีการเอาใจใส่แค่ไหน อย่างตัวผมเองนั้น เป็น กรรมการสภามหาวิทยาลัยมากว่า ๓๐ ปี เพราะเป็นผู้บริหารตั้งแต่ อายุน้อย ก็อยู่มหาวิทยาลัยต่างจังหวัด กว่าจะรู้ซึ้งถึงบทบาทหน้าที่ของกรรมการสภามหาวิทยาลัยจริงๆ ก็เพิ่งเมื่อ ไม่กี่ปีมานี้เอง เมื่อมาเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์ ถูกจับให้ไปอบรม IOD๕ เรื่องการกํากับ (Governance) ภึงได้มีความเข้าใจดีขึ้น เข้าใจถึงระบบการกํากับดูแลในระดับประเทศ แต่ก็ยัง ไม่รับรองวาจะเป็นการเข้าใจที่ถูก เดิมคนเข้าใจว่ากลไกลการ กํากับดูแลอุดมศึกษาระดับประเทศคือ สกอ. กกอ. แต่จริงๆ แล้วมีบทบาทเพียงไม่ถึง ๑๐% เพราะผู้ที่มีอิทธิพลตัวจริงคือ สํานักงบประมาณ นอกจากนี้ก็ยังมีองค์กรต่างๆ อีกมากมายเข้า มาเกี่ยวข้อง กพร. สตง. สภาวิชาชีพ หน่วยงานที่ให้ทุนวิจัย ระบบกํากับดูแลระดับประเทศนี้เป็นระบบที่มีส่วนประกอบมาก หลายส่วนสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมไปถึงสภาคณาจารย์ และ ปอมท. ด้วย กกอ. และ สกอ. จึงต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm) เปลี่ยนวิธีคิด จากวิธีการกํากับแบบเดิมๆ ที่ ทํามาตั้งแต่สมัยอาจารย์ พจน์ สะเพียรชัย๖ เป็นประธาน กกอ. เดิมที กกอ. สกอ. เคยใช้หลักนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ด้วยการออกกฎหมาย ข้อบังคับ ประกาศ กฏกระทรวง ฯลฯ และการใช้อํานาจตามกฏหมาย เมื่อมีการกระทําผิดก็มี กระบวนการไต่สวนลงโทษ แต่ปรากฏว่าไม่ได้ผล ได้ผลบางเรื่อง มีเรื่องแดงขึ้นมาบางเรื่อง แต่ส่วนใหญ่ซุกอยู่ใต้พรม ทํานองว่า กกอ. นั้นเป็นยักษ์ที่ไม่มีกระบอง มีก็ตีได้ไม่ทั่ว สกอ. จึงต้องเปลี่ยนวิธีคิด ว่าเราเป็นแค่ส่วนเล็กๆ ในระบบนิเวศน์อันยิ่งใหญ่ (Just small part in Ecosystem) ต้องใช้การจัดการแบบประสานความร่วมมือ (Coordinate) แล้วก็ต้องป้องปรามผ่านกระบวนการ สื่อสารให้สาธารณชนได้รับรู้ (Public communication) เพราะบางครั้งการตัดสินลงโทษด้วยกระบวนการทาง กฏหมายอาจทําได้ยาก แต่สังคมรับรู้แล้วก็ช่วยได้มาก มี The Institute of Directors . . F F F ก ก ก ก
  • 7. -- F -- กระบวนการควบคุม/กดดันจากสังคม (Social control & Social pressure) หรือกลไกคุ้มครองผู้บริโภค (Customer protection) เราต้องหาทางป้อมปราม แล้วก็หาทางลงโทษเรียกร้องหาค่าเสียหาย ไม่ใช่แค่ความ เสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวเด็ก แน่นอนชีวิตเด็กมีความสําคัญมาก แต่มันยังมีความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ทุกวันนี้เวลาเกิดความเสียหาย สกอ. ต้องเขาไปเยียวยาให้ทั้งหมด ซึ่งก็เป็นเงินภาษีอาการของประชาชนทั้งประเทศ จึงต้องเรียกร้องให้สภามหาวิทยาลัยเข้ามาดูแลมากขึ้น และมีความรับผิดชอบมากขึ้น ต้องร่วมรับผิดในกรณีที่เกิด ความเสียหายเพราะไม่เอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ตระหนักว่ามีประเด็นอ่อนไหวอะไรที่ต้องได้รับการเอาใจใส่จับตา เป็นพิเศษ ส่วนเรื่องกลไกการควบคุมและกดดันจากสังคมนั้นยังเป็นดาบสองคม เพราะหากมีแต่ข่าวคราวเรื่องราว แย่ๆ ของมหาวิทยาลัย พวกเราที่เป็นอาจารย์ก็พลอยจะเสื่อมเสียตกต่ําไปด้วย ส่วนอิทธิพลจากต่างประเทศนั้น ปัจจุบันมหาวิทยาลัยไทยได้รับผลกระทบจากต่างประเทศมาก อยากมี ชื่อเสียงก็ต้องส่งผลงานไปลงตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการสําคัญๆ ระดับโลก มีค่า impact factor สูงๆ แล้วยังมีเรื่องการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยที่เราพลอยตื่นเต้นไปกับเขาด้วย ซึ่งก็เป็นเรื่องดี ไม่ใช่ ไม่ดี แต่เราควรทํามากกว่านั้น โดยเฉพาะเรื่องผลกระทบที่มีต่อ สังคมไทยของเราเอง (Social Impact) ควรมีการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยจากผลกระทบที่มีต่อสังคม การสร้างประโยชน์ให้แก่ สังคมด้วย เช่น แทนที่จะมองเฉพาะการจัดอันดับตามมาตรฐาน ของ Times QS ก็อาจจะลองดูมาตรฐาน Washington Monthly ซึ่งมีความยืดหยุ่นมากกว่า มีการนําเอาเรื่อง ประโยชน์ต่อชุมชนต่อสังคมมาพิจารณาด้วย เรื่องการขโมยข้อมูลทางวิชาการ (Plagiarism) ก็เป็นเรื่องใหญ่ อีกเรื่องหนึ่ง เราต้องช่วยกันทําความเข้าใจ ป้องกัน และป้องปราม ยิ่ง เดี๋ยวนี้มีเครื่องมือให้ตรวจสอบการลอกเลียนผลงานทางวิชาการอยู่ มากมาย อาจารย์จํานวนมากก็อาจจะได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะพวก อาจารย์แพทย์ สรุปว่าที่ได้พูดมาทั้งหมดนี้ มีเป้าหมายเพื่อจรรโลงคุณภาพ วิชาการอุดมศึกษาของไทย ซึ่งซับซ้อนเหลือคณา มีทั้งแรงดึงฝ่ายสูง ฝ่ายต่ํา แล้วในยุค ๑๐ ปีที่ผ่านมา เราอยู่ในยุค ที่มีกระบวนทัศน์ซึ่งต้องการให้อิสระ (Autonomous) แก่ สถาบันอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษาจึงต้องมีระบบควบคุม คุณภาพภายใน (Internal Quality Control) ที่เข้มแข็ง และมี การกํากับดูแลที่ดีของสภามหาวิทยาลัย ส่วนกลไกควบคุม คุณภาพนอกก็ต้องมีด้วย ซึ่งมีแนวโน้มว่า สกอ.และ กกอ. จะใช้ กลไกการกํากับทางสังคมมาลงโทษมหาวิทยาลัยที่ที่ทําผิด ที่ แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ส่วนมหาวิทยาลัยไหนทําดีก็ควร
  • 8. -- F -- ได้รับการยกย่อง เชิดชู แล้วสํานักงบประมาณก็อาจมีส่วนร่วมด้วยการจัดสรรงบประมาณไปตามช่องทางที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมยิ่งขึ้น องค์กรอื่นๆ ก็ควรเข้ามาช่วยกันพัฒนาคุณภาพของอุดมศึกษาด้วย เช่น สภา คณาจารย์ และ ปอมท. สิ่งที่สําคัญที่สุด ในมิติของพวกเรา สภาคณาจารย์จะต้องเป็นผู้แสดงบทบาทที่สําคัญ คือถ้าเราต้องการ อิสระ (Autonomous) เราก็ต้องทําให้การกํากับดูแล ควบคุมคุณภาพการอุดมศึกษานั้น เป็นเรื่องที่เกิดจากการ จัดการจากภายใน เป็นการควบคุมตนเองภายในมหาวิทยาลัย ไม่ใช่ยกให้ สกอ. หรือ กกอ. อย่าพยายามเอาการ ควบคุมไปให้คนอื่น เพราะเราจะสูญเสียอิสระของเรา แล้วอย่าโยนการกํากับดูแลให้สังคม เพราะเขาต้องทําด้วย ตนเอง เราต้องเสนอตัวเข้าไปแบกรับไว้ให้มากที่สุด เท่าที่มีกําลังจะทําได้ สุนทรียสนทนาท้ายคําบรรยาย (ที่ประชุมประธานสภาคณาจารย์ ร่วมแสดงความคิดเห็น) อาจารย์พงศ์ศักดิ์ ศรีพงศ์พันธ์ ประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประเด็นเรื่อง TQF๗ นี้ จากการรับฟังจากสมาชิก มองว่าเป็นการลงรายละเอียดมากเกินไป ที่จริงสกอ. ควรกํากับสภามหาวิทยาลัย แต่ สกอ. เสนอ TQF ที่กํากับไปถึงระดับผู้ปฏิบัติการด้วย คณาจารย์หลายท่านจึงมอง ว่า สกอ. เห็นว่าสภามหาวิทยาลัยดูแลมหาวิทยาลัยอย่างไม่มีประสิทธิภาพหรืออย่างไร ? ? ผศ. ดร.บุญศรี จงเสรีจิตต์ ประธานสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากร ก ก F (TQF: HEd)
  • 9. -- F -- ประเด็นเรื่อง มาตรฐานอุดมศึกษาไทย มีปัญหาหลายอย่าง เช่นเรื่องโครงการหลักสูตรพิเศษที่เปิดกันเยอะ มากในหลายๆ มหาวิทยาลัย มีทั้งหลักสูตรระดับปริญญาโทที่เปิดสอนเฉพาะโครงการพิเศษ ไม่เปิดภาคปกติ เพราะ เกรงจะเป็นการแย่งลูกค้ากันเอง หลายคณะมีผลประโยชน์ เก็บเงินแพงพิเศษ ทั้งนี้ ข้อบังคับซึ่งออกโดย มหาวิทยาลัยก็สามารถกําหนดว่าจะนํารายได้ไปใช้จ่ายอะไรก็ได้ มีการจ่ายค่าตอบแทน/เงินประจําตําแหน่งที่สูงเกิน ปกติ มีการนําไปใช้ในการทัศนศึกษา จะควบคุมมาตรฐานโครงการพิเศษเหล่านี้ได้อย่างไร เช่นอาจต้องควบคุมการ ใช้จ่ายเงิน ค่าตอบแทน ตามที่กฤษฎีกากําหนด ไม่ใช่ได้เป็นเปอร์เซ็นต์จากทุกโครงการ จนทําให้โครงการพิเศษ เติบโตอย่างรวดเร็วเพราะเป็นประโยชน์ร่วมกัน หรือประเด็น เรื่องการรับบุคคลเข้าเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ควรต้องดูเรื่องคุณธรรม จริยธรรม เจตคติ อุดมการณ์ และความสามารถในการสอนนักศึกษาด้วย ไม่ใช่เน้นรับแต่คนเก่งทําให้การรับอาจารย์เข้ามาทํางานแล้ว สร้างปัญหา คือต้องการสร้างแต่ผลงานทางวิชาการ สอดคล้องกับผลประโยชน์ที่ตามมา เช่น มหาวิทยาลัยจะกําหนด ว่าเป็น รศ. มีสิทธิ์ต่ออายุราชการ ไม่สนใจเรื่องการสอน มีการทุจริตการให้เกรดนักศึกษาที่ไม่ตรงความเป็นจริง หรือ การบอกข้อสอบ กลายเป็นการสอนให้คอรัปชั่นทางการศึกษา แล้วที่ตําแหน่งวิชาการไปเน้นว่าต้องมีผลงานตีพิมพ์ ปัญหามีว่ามาตรฐานของผู้ทรงคุณวุฒิที่อ่านผลงาน (Reader) นั้นแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ขึ้นอยู่กับใครเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการอ่าน ใช้มาตรฐานที่ต่างกัน ทั้งที่ สกอ. ได้กําหนดคุณภาพของผลงาน ว่า ดีเด่น ดี หมายถึงอะไร แต่ผู้ทรงคุณวุฒิไม่ได้ตระหนักถึง ไปสนใจแต่ค่า Impact Factor ประเทศไทยเราอาจต้องเน้นประโยชน์ของผลงานด้วย การตีพิมพ์ผลงานเป็นภาษาต่างประเทศ อาจมี ข้อจํากัดในการได้รับประโยชน์จากผลงานวิจัย ที่ประชุม ปอมท. เคยเสนอเรื่องตําแหน่งวิชาการ ว่าควรให้คุณค่าผู้ ที่ทําประโยชน์หรือแก้ปัญหาสังคม หรือคุณค่าในแง่ของความสามารถในการสอน มีความดีเด่นการสอนหรือการ ถ่ายทอดความรู้ หรือการบริการชุมชน เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถพัฒนาชาวบ้านหรือชุมชนได้อย่างจริงจัง รศ.อดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์ ประธานสภาคณาจารย์และพนักงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เรื่อง TQF เรื่องการประกันคุณภาพ เรื่องที่มีองค์กรอิสระเข้ามา กํากับดูการทํางานของมหาวิทยาลัยค่อนข้างมากนั้น เมื่อมีการมอบอํานาจให้ มหาวิทยาลัย สภามหาวิทยาลัยก็ควรมีหน้าที่กํากับดูแลมหาวิทยาลัยใน เรื่องของคุณภาพ ซึ่งที่ผ่านมาก็ทําได้ดีอยู่แล้ว แต่จะสร้างระบบอย่างไรที่ทํา ให้มีความรู้สึกที่ดีต่อกัน ทั้งนี้ ไม่ใช่ไม่เห็นด้วยกับการออกระบบ TQF แต่ไม่ เห็นด้วยในรายละเอียดที่มากเกินไป ดังมีหนังสือเวียนสอบถามความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง TQF โดยอาจารย์ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ๘ ว่าการประกันคุณภาพ ไม่ใช่จํานวน การวัดต้องวัดที่ผล ไม่ใช่การวัดปริมาณ การประกันคุณภาพ ต้องมองที่ผลผลิต หรือผลหลัก . . F F F F F ก TQF
  • 10. -- F -- เป้าหมายที่จะให้บริการกับประชาชนเป็นหลัก อย่ามองมหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยการค้า ให้ควบคุมคุณภาพ ทุกหลักสูตรมีระดับเพียงพอ สกอ. น่าจะไปกํากับเรื่องหลักสูตรมากกว่า ไม่ควรมากํากับในรายละเอียด เพราะ ดัชนีชี้ความสุขในมหาวิทยาลัยจะจบไป ควรทํางานกันแบบสุนทรียภาพ ผศ. พรรณวดี ตัณติศิรินทร์ ประธานสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเด็นแรก การควบคุมกํากับของ สกอ. ที่จะกํากับมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง ประเด็นสําคัญอยู่ที่ว่า ทําอย่างไร ถึงจะได้กรรมการสภามหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพในแต่ ละสถาบัน เพราะถ้ากรรมการสภามหาวิทยาลัยมีคุณภาพก็จะสามารถแก้ปัญหาได้ แต่การสรรหาสภามหาวิทยาลัยในปัจจุบันยังไม่ได้กรรมการที่มีคุณภาพเท่าที่ควร ปล่อย ให้มีการสรรหาคนกันเอง ประเด็นที่สอง ต้องการให้สภาคณาจารย์ของแต่ละสถาบัน มีส่วนช่วย แก้ปัญหาในการกํากับสถาบันการศึกษา อาจเป็นคณะกรรมการหรือเครือข่าย จะได้รับฟังปัญหาต่าง ๆ ในทุกเดือน ช่วยศึกษาผลกระทบต่อนโยบายของ สกอ. ว่าเป็นเชิงสร้างสรรค์ พัฒนา หรือบั่นทอน ประเด็นเรื่องการใช้ข้อบังคับ ใช้อํานาจทางกฎหมาย ของสภามหาวิทยาลัย มีหลายเรื่องที่ผู้บริหาร อาจ ถูกกฏหมาย แต่มีผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติ หรืออาจจะผิดกฎหมาย จนส่งผลให้กรรมการสภามหาวิทยาลัยถูกฟ้อง สกอ. จะทําอย่างไรให้บรรยากาศการถูกฟ้องเป็นไปอย่างยุติธรรม และแก้ปัญหาให้กับคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยได้ อาจารย์ประจวบ วังใจ เลขาธิการสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากร ประเด็นเรื่อง TQF นั้น ในมหาวิทยาลัยมีหลายคณะ แต่ละคณะวัดอย่างไร จะลงรายละเอียดอย่างไร แต่ละคณะวัด วิธีการที่จะวัดเรื่องการประกันคุณภาพ จะวัด อะไร รูปแบบการใช้แต่ละคณะไม่เท่ากัน วิชาชีพไม่เหมือนกัน รศ.ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน ประธานสภาคณาจารย์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา ไม่มีใครไม่เห็นด้วย เราเห็นด้วยและมีส่วน ร่วมในการทําเรื่องนี้มาตั้งแต่ ๖ -๗ ปีที่แล้ว อย่างที่ให้ทําเรื่องการประกันคุณภาพ ภายใน (SAR) ก็กลายเป็นวิถีที่ได้รับการยอมรับ แต่เกิดประเด็นคําถามว่าพัฒนาการ ของอุดมการศึกษาที่ยาวนานมานี้ บทบาทและความสัมพันธ์ของทบวงฯกับ มหาวิทยาลัยควรจะเป็นอย่างไร ทบวงฯ ควรจะลดบทบาทลง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่ ให้ยุบรวมเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการ อย่างเรื่องการประเมินตําแหน่งทางวิชาการ เรื่องอนุมัติหลักสูตร ก็เป็นหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยแล้ว สกอ. ทําหน้าที่แค่ Post Auditor แต่การที่ สกอ. มาดูแล TQF แล้วออก
  • 11. -- F -- ประกาศเป็นข้อยุติคือการออกเป็นกฎหมายแล้ว กลายเป็นเงื่อนไขว่า หากไม่ผ่านกระบวนการ ไม่รับรอง เท่ากับ กําหนดรายละเอียดให้มหาวิทยาลัยเดิน เท่ากับไม่เคารพวุฒิภาวะของสภามหาวิทยาลัย รศ.สุรพล ศรีบุญทรง เลขาธิการ ปอมท. ขออนุญาตทบmวนเรื่อง TQF ตามที่ปรากฏในสื่อมวลชนเล็กน้อย ดังที่ปรากฏข่าวว่าอาจารย์ ๓๗๒ ท่าน เข้าชื่อกันต่อต้าน TQF นั้น จริงๆ แล้วถ้าไปอ่านในรายละเอียด จะเห็นว่าไม่ใช่การต่อต้านการประกันคุณภาพ แต่ ต่อต้านการถูกกําหนดให้ต้องทํางานเอกสารซ้ําซ้อน แล้วก็สะท้อนถึงภาวการณ์ขาดการมีส่วนร่วมของคณาจารย์ใน การร่วมกันกําหนดกฏเกณฑ์ของคุณภาพ นอกจากนั้น จะเห็นได้ว่าการต่อต้านจะมีมากในส่วนสังคมศาสตร์ กลุ่มที่ เรียกว่า Liberal Arts แต่มีการต่อต้านน้อยในกลุ่มวิชาชีพเพราะเกณฑ์มาตรฐานของสภาวิชาชีพ มีความเข้มข้นกว่า เกณฑ์ของ TQF อยู่แล้ว มิฉนั้นคงไม่เกิดปัญหาเรื่องวิทยาลัยพยาบาลที่โคราชให้สังคมได้รับรู้ อย่างไรก็ตาม อยากชี้ว่าการต่อต้านนั้นเป็นเพราะขาดการมีส่วนร่วม แล้วรูปแบบของประกาศก็มีลักษณะ เหมือนกฏหมาย ในขณะที่สังคมไทยเราด้อยในแง่ของการปฏิบัติทางกฎหมาย แล้วก็ไม่ใช่สังคมของการอ่าน เป็น สังคมของการฟัง จึงอาจต้องมีผู้นําทางความคิดช่วยชี้นํา เช่นกรณีของการรับร่างรัฐธรรมนูญ หรือการใช้ บุคลาธิษฐานในการชี้นําแนวปฏิบัติ หรืออย่างท่านพุทธทาสภิกษุนั้น เราเชื่อในสิ่งที่ท่านนําเสนอในทางธรรม ถ้าสูง ในระดับทางโลกเราก็เชื่อในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงควรใช้ความดีต่าง ๆ ด้วยการใช้บุคลาธิษฐาน ใช้ บุคคลมาอ้างอิง มันจะเผยแพร่ได้ง่ายกว่า อย่างปีหน้า ปีกระต่าย ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ นั้น จะครบ ๗ รอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว น่าจะเป็นการ ฉลองที่ยิ่งใหญ่ ๒ งานไปพร้อมกัน คือ ครบ ๗ รอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ และต่อ ด้วยการฉลองในอีก ๑๖ วันต่อมา คือวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เนื่องในโอกาสครบ ๑๐ รอบของสมเด็จพระ มหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ซึ่ง ปอมท. เราเชื่อว่าท่านเป็นบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย การศึกษา ที่มีคุณภาพ เราจึงควรใช้โอกาสนี้ มาปลุกให้สังคมได้ตื่นตัวในเรื่องการกระทําความดี
  • 12. -- F -- ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ขออนุญาตนําเสนอในภาพใหญ่ จากข้อเสนอจากอาจารย์ ๗ ท่านนั้น มีทั้ง ส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับกลไกการกํากับสถาบัน ได้แก่ สภามหาวิทยาลัย กลไกการทํางาน ของฝ่ายบริหาร การทําหน้าที่ของอาจารย์ และเป็นความเห็นที่ต่างกัน ๒ ขั้ว ขั้ว แรก อยากให้ สกอ. เข้าไปกํากับดูแลถึงมหาวิทยาลัยว่าทําอย่างไรถึงจะสรรหา กรรมการสภามหาวิทยาลัยที่คุณภาพ แต่อีกขั้ว บอกว่า สกอ. ไม่ควรเข้ามายุ่งใน มหาวิทยาลัยมาก ให้รู้จักเคารพคนอื่นบ้าง อย่างไรก็ดี ความเห็นที่แตกต่างในสังคมนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ ซึ่งเรา ต้องช่วยกันดูว่าตรงไหนพอดี คําว่าดีของแต่ละมหาวิทยาลัยไม่จําเป็นต้องเหมือนกัน เรื่อง TQF นี้ อยากจะย้อนให้ฟังว่าเริ่มตั้งแต่ต้นปี ๒๕๕๒ ประมาณเดือนมีนาคม ขณะที่ผมมาดํารง ตําแหน่ง ประธาน ปอมท. ใหม่ๆ รองเลขาธิการ สกอ. จิรณี ตันติรัตนวงศ์ ได้มาพูดกับผมเกี่ยวกับเรื่องกรอบ คุณภาพ (Frame work) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทําให้การศึกษาไทย กับการศึกษาส่วนอื่นของโลกสามารถถ่ายโอน (Transfer) ระหว่างกันได้ ย้ําว่าเป็นกรอบ (Frame work) ไม่ใช่รายละเอียด (Detail) จากการประชุมที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๒ ได้มีการพูดเรื่อง TQF ว่านักศึกษาของ ไทยในอนาคตข้างหน้านั้น หลักสูตร ๔ ปีไม่จําเป็นต้องเรียนแค่ประเทศไทย ๒ ปีหลัง อาจไปเรียนที่มาเลเชีย สิงค์ โปร์ หรือที่ยุโรป เป็นการถ่ายโอน (Transfer) ระหว่างกันได้ ซึ่งในยุโรปได้มีการจัดทํากันแล้วในหลักสูตร ปริญญาตรีกลายเป็นว่าทั้งยุโรปนั้นเป็นกึ่งๆ ประเทศเดียวกัน ส่วนของเราคืออาเซียนนั้นต่อไปบัณฑิตของไทยไม่ใช่ เรียนแค่ในประเทศไทย และไม่ใช่ทํางานแค่ประเทศไทย มันจะถึงกันหมด แต่ต้องการกรอบมาตรฐาน (Frame work) บางอย่าง เพื่อมีการเทียบโอนกันได้ มาเลเซียนั้นทําไปนานแล้ว ไทยยังล้าหลัง นี่คือเครื่องมือให้ความ เป็นอิสระ (autonomy) แก่มหาวิทยาลัย เพราะถ้าไม่มีกรอบมาตรฐาน (Frame work) ก็ให้ความเป็นอิสระ (autonomy) ไม่ได้ หลักคือ กรอบมาตรฐาน (Frame work) นั้นมีคณะทํางานซึ่งทํามาหลายปีตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ มีตัวอย่างของ สาขา โลจิสติกส์ พยาบาล คอมพิวเตอร์ ผ่านกระบวนการและประกาศใช้ไปแล้วในแต่ละกรอบมาตรฐาน ซึ่งต้องมี คณะทํางานจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มาร่วมกันทํา นั่นคือหลักการ ไม่ใช่อยู่ๆ สกอ. ก็ประกาศ แต่ที่ประกาศนั้น เป็นภาพใหญ่เพื่อให้เป็นเครื่องมือในการทํางาน รศ.ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน ประธานสภาคณาจารย์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ อยากเรียนถามว่า ถ้าจะระงับการประกาศใช้ TQF ไปก่อน เพราะโดยหลักการแล้วการกําหนดตัวคุณภาพ ควรเป็นการทํางานร่วมกัน แม้ Frame work หลักเป็นเรื่องดี เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง แต่ด้วยรายละเอียดที่ ปรากฏก็ได้รับการต่อต้านมาก เพราะขาดการมีส่วนร่วม
  • 13. -- F -- ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยส่วนตัวผมเห็นว่า ถ้ายกเลิกประกาศตัวหลักคงยาก เพราะเป็นเรื่องของความถูกต้องที่ควรต้องมี แต่ด้วย ความเหมาะสม อาจต้องปรับในรายละเอียด ในเรื่องวิธีปฏิบัติ ในรายละเอียดย่อย ๆ เช่น การ รับรองหลักสูตร การประชุมหาความมีส่วนร่วม การรับฟังความเห็นโดยรวมในเชิงข้อเท็จจริง ที่ว่าใช้มาตรฐานรูปแบบเดียวกันอาจไม่ เหมาะสม อันไหนไม่เป็นประโยชน์ หรือรายละเอียดบางอย่างควรต้องนํามาปรับ แต่กรอบใหญ่ควรเก็บเอาไว้ จากที่ได้รับฟัง เห็นเป็นแนวทางเดียวกันที่จะแก้ไขในส่วนที่เป็นรายละเอียด โดยรับฟังความเห็นเพิ่มเติม ตัวอย่างเรื่องการปรับแก้หากมีข้อทักท้วงต้องนํามาปรับใหม่ นั้น กกอ. ก็เคยทํามาแล้ว เรื่องหลักสูตร ต่อเนื่อง ที่ กกอ. ในชุดที่แล้ว ออกประกาศว่าต่อไปผู้เรียนระดับ ปวช. ปวส. ไม่ให้มีหลักสูตรต่อเนื่อง มีแต่เทียบ โอน ให้ใช้วิชามาเทียบโอนไป แต่ต้องไปสมัครเรียนตามหลักสูตรปริญญาตรีปรกติ ซึ่งก็มีข้อโต้แย้งเข้ามามากมายจาก มหาวิทยาลัยเอกชน และที่สําคัญคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งสําคัญและเราก็รับฟัง ว่ามีบัณฑิตที่ไม่ใช่ต้องการเฉพาะบัณฑิตที่คิดเก่ง ยังมีความต้องการบัณฑิตอีกกลุ่มที่จะต้องมีทักษะในการทํางาน สุดท้ายตกลงก็ต้องยกเลิกประกาศ และประกาศใหม่ สายอาชีพไม่ต้องเทียบโอน ต้องเป็นสายเทคโนโลยี สาขาวิชา ช่าง (ไม่รวมบัญชี) สรุปว่า สกอ. ใช้ TQF เป็นเครื่องมือในภาพใหญ่ เพื่อเราอยู่ในสังคมโลก เปิดช่องทางให้ ลูกศิษย์ของเราเคลื่อนย้ายและถ่ายโอน (mobility) ได้ แล้วตัวอาจารย์ก็ต้องเคลื่อนย้ายและถ่ายโอนได้ด้วย ผศ.นพพร ลีปรีชานนท์ ประธาน ปอมท. สภาคณาจารย์ในฐานะที่เป็นตัวแทนจาก คณาจารย์สามารถช่วย กกอ. ได้หลายเรื่อง เช่นเรื่องของ self Control ที่ต้องผ่านสภาคณาจารย์ หรือในอดีต ปอมท. ก็เคยได้มีบทบาท ได้มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมใน กพอ. แต่ตอนหลังถูกดึงออกไป ซึ่งทาง ปอมท. ยินดี ที่จะมีส่วนร่วมช่วยเหลือคณะกรรมการ กพอ. ในการขอ เป็นที่ปรึกษาของท่านในอีกมุมหนึ่ง อย่างเรื่อง ตําแหน่งทางวิชาการนั้น ที่ปรึกษาของ ปอมท. ศาสตราจารย์กนก วงศ์ตระหง่าน๙ เคยพูดถึงเรื่องการเข้า สู่ตําแหน่งทางวิชาการว่าเราเน้นกันแต่เรื่องของการ ประเมินในงานวิจัย เน้นเรื่องวิจัย ในขณะที่การปฎิบัติงานของอาจารย์ตามความเป็นจริง ควรมีตําแหน่งทาง วิชาการอีก ๒ ด้าน คือเน้นเรื่องการสอน เน้นการบริการทางวิชาชุมชน . . ก ก F F ก . ก ก F F F ก ก ก ก ก . / F ก
  • 14. -- F -- เพราะเมื่อเราเน้นเรื่องวิจัย ให้ผลตอบแทนคนเก่งด้านวิจัย คนที่เก่งด้านการสอน หรือด้านการบริการ ชุมชนก็จะถูกบั่นทอน จึงควรมีช่องทางของอาจารย์มหาวิทยาลัยในการเข้าสู่ตําแหน่งทางวิชาการ ในด้านที่ตนเอง ถนัด ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ไม่น้อย คนเก่งเรื่องบริการชุมชน มีหลักวิชา มีหลักเกณฑ์ มีผลงานเป็นองค์ความรู้ แบบนี้ ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติไม่ได้ บุคคลเหล่านี้สมควรได้รับตําแหน่งทางวิชาการด้านบริการวิชาการชุมชน ในอีกด้านหนึ่ง อาจารย์ที่คิดวิธีการสอน สื่อการสอน วิธีการ animation เน้นเรื่องการสอนให้เด็กมีคุณธรรม จริยธรรม ทําให้นักศึกษาเป็นคนดีได้ โดยไม่เก่งทางด้านวิจัย แต่เลือกที่จะทําเรื่องการสอน ท่านก็มีโอกาสเข้าสู่ ตําแหน่งทางวิชาการ เป็น Teaching Professor แต่จะดําเนินการ ผลักดันเรื่องนี้แนวทางอย่างไร โดยไม่กระทบ มาตรฐานหลักประกันการศึกษาของชาติ ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่องที่ว่าจะให้ประธาน ปอมท. เข้าไปมีส่วนร่วมของการประชุมของ กพอ. นั้นโดยส่วนตัวเห็นด้วย แต่ก็ยัง มีความเห็นที่หลากหลาย มีเรื่องความลับทางเอกสาร หน่วยงานที่ประชุมพิจารณาเรื่องใหญ่ ต้องมีความลับมาก ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ประธานสภาคณาจารย์นั้นสามารถแสดงบทบาทของตนผ่านกลไกต่างๆ ได้มากทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น ประธานสภาคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดลก็ได้เข้าไปในนั่งในทุกชุดทํางาน มีบทบาทในทุกการสรรหา ถือเป็น ตัวแทนที่เข้าไปนั่งในที่สําคัญต่าง ๆ เรียกว่าทุกชุดที่อธิการบดีอยู่ ประธานสภาคณาจารย์ก็ต้องอยู่ด้วย ส่วนเรื่องตําแหน่งทางวิชาการหลายแบบนี้ ขอให้ท่านลองใช้คํา ”วารสารวิชาการไทย รับใช้สังคมไทย” ในระบบการสืบค้นของ Google ก็จะได้บทความที่ผมเขียนไว้เมื่อกว่า ๑๐ ปีมาแล้ว ซึ่งระบุว่าเราต้องมี Social impact Factor ไม่ใช่แค่ Impac Factor ของ ISI ขณะนี้เรามี Thai jouranal มีเว็บไซต์ มีวารสารที่ทําใน ลักษณะของ การเน้นวิชาการเชิงประยุกต์ (application) ในสังคมไทย ไม่เน้นวารสารที่คําถึงแต่ความเป็นเลิศทาง วิชาการ (excellent) แต่มุ่งไปที่งานในลักษณะที่เป็น knowledge translate research อาจต้องลงแรงและทุ่ม เวลา ประเด็นคือ ต้องหาทางทําให้ สามารถจะตีพิมพ์ผลงานในเชิงประยุกต์ (application) ให้ออกมาเป็น ผลงานวิชาการให้ได้ อาจมีกลุ่มมหาวิทยาลัยที่เรียกว่า “มหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น” กลุ่มใหญ่คือราชภัฏ ราชมงคล วิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่นซึ่งไม่ใช้ impact Factor แบบ ISI หมายความว่า คําว่า ศาสตราจารย์ ของเขาไม่เหมือนศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล วิชาการเป็นแบบ knowledge application อย่างไรก็ดี ศาสตราจารย์คลินิกของมหิดล ไม่มีเงินเดือน เป็นการยกย่องให้เกียรติกันเท่านั้น ทั้งที่มหิดล ออกนอกระบบราชการแล้ว เราจึงต้องมีเกณฑ์สร้างการยอมรับให้การยกย่อง (recognize) ซึ่งกันและกัน ศาสตราจารย์เน้นการวิจัย ศาสตราจารย์ที่เน้นเรื่องการเรียนการสอน เน้นเรื่องวิชาชีพ (Professional) เราควร จะสร้างเกณฑ์คุณภาพที่ยอมรับซึ่งกันและกันได้ภายในมหาวิทยาลัยของตนโดยไม่ยกอํานาจให้ สกอ. ให้ใช้อํานาจ ของความรู้ของเราเอง สร้างและกําหนดเอง เพราะผู้ปฏิบัติย่อมรู้ดีกว่า เสนอให้ ผลงานที่เป็นงานวิจัยรับใช้สังคม เป็นศาสตราจารย์ เป็นรองศาสตราจารย์ก็ได้ กําหนดให้วารสารต่อไปนี้เป็นที่ยอมรับก็ได้ เรายืนยันในคุณภาพ ว่าไม่ได้ด้อยกว่ากัน แต่เป็นคนละประเภท
  • 15. -- F -- ขณะนี้ หน่วยงานที่เป็นผู้ออกประกาศหลักเกณฑ์ หรือวิธีการและหลักเกณฑ์การกําหนดตําแหน่งทางวิชาการ คือ กพอ. แต่มีข้อสังเกตว่าในอนาคตมหาวิทยาลัยในกํากับไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมกํากับดูแลของ กพอ. คือ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา อนาคตผู้ที่จะมีส่วนผลักดันในเชิงนโยบายในการเขียนข้อบังคับอาจ กลายเป็น กกอ. ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบกลางในระดับอุดมศึกษาอย่างแท้จริง เราควรสร้างสาขาอาชีพที่จะ ได้รับการยอมรับในตําแหน่งทางวิชาการในระดับต่าง ๆ นอกเหนือจากลักษณะของทางวิจัย รศ.อดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์ ประธานสภาคณาจารย์และพนักงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี พูดถึงการใช้ผลงานวิจัยภายในประเทศ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ทุกครั้งที่ สกอ. ออก กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการวิจัย มักจะใช้กับทุกมหาวิทยาลัย หากเป็นมหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐบาล สกอ. จะมา ดูแลไม่ได้ มันเป็นอํานาจหน้าที่เขียนไว้เป็นกฎหมาย ทุกคนต้องใช้ เราจะยอมรับกันได้หรือไม่ เรื่องที่ให้ทํา วารสาร เราทําได้ กฎเกณฑ์ยอมรับกันเองได้ ปัญหาคือการออกระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ เป็นหน้าที่ของ สกอ. ทั้งสิ้น ไม่เคยให้ประชากรของชาวมหาวิทยาลัยร่วมกันคิด ธรรมาภิบาลบนระเบียบ แต่ไม่มีธรรมาภิบาลในทาง สังคม มีแต่ระเบียบ แต่ไม่ให้สังคมมีส่วนร่วม และรับรู้ สุดท้ายคือการใช้ อํานาจ อย่างเรื่องเงินวิจัยที่ให้ ที่เป็นทุนเครือข่าย อาจารย์วันชัย ตั้งไว้ว่า ถ้าไม่มีค่า Impact Factor ที่กําหนด จะไม่ให้ทุน อย่างกรณีขอทุนวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกจะตีพิมพ์ไม่ได้ สุดท้ายคนที่เป็นศาสตราจารย์ก็จะเป็นคนที่ ได้ทุนทั้งหมด แล้วจะพัฒนาประเทศได้อย่างไร หากไม่พัฒนาคนระดับล่าง ไม่มองประชาชน ทําไมโครงการ มหาวิทยาลัยวิจัย ๙ แห่ง ที่ได้ชื่อแต่ไม่ได้เงิน พอมีการพิจารณางบประมาณ สส. ถามว่างานวิจัยพวกนี้ไปเกิด ประโยชน์ต่อประชาชนแค่ไหน ไม่มีใครตอบได้ ต้องตอบสังคมให้ได้ว่าสังคมได้อะไร สุดท้ายงบถูกตัดไป ทําไมไม่ เกิดความร่วมมือกันระหว่างสังคมครูบาอาจารย์ด้วยกัน ทางสกอ. ควรทํางานให้เป็นองค์รวมของประเทศ ทุกวันนี้ เกิดความแตกแยกทางสังคมระหว่างมหาวิทยาลัย ๙ แห่งที่เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย และมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้เป็น มหาวิทยาลัยวิจัย แต่สรุปแล้วก็ไม่มีใครได้เงิน ถอดเทป โดย น.ส ศิริวรรณ ทองงาม และนางเพ็ญนภา กันทะตา งานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สรุปและจัดทํารายงาน โดย รศ. สุรพล ศรีบุญทรง เลขาธิการ ปอมท.