SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  27
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 1
ลักษณะเฉพาะของภาษาไทย
ภาษาไทยมีลักษณะเฉพาะของตนเองแตกต่างจากภาษาอื่น และการที่
จะใช้ภาษาไทยให้ได้ผลกับความมุ่งหมาย จะต้องรู้จักภาษาไทยอย่างถ่องแท้
เสียก่อน ดังจะกล่าวต่อไปนี้
1. ภาษาไทยมีตัวอักษรเป็นของตนเอง ซึ่งตัวอักษรที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมี
ดังนี้
1.1 ตัวอักษรแทนเสียงแท้ คือ สระ มีรูป 21 รูป เช่น /-ะ / วิสรรชนีย์
,/ -า / ลากข้าง
1.2 ตัวอักษรแทนเสียงแปร คือ พยัญชนะ มี 44 ตัว เช่น ก , ข , ฃ ,
ค
1.3 ตัวอักษรแทนเสียงดนตรี คือ วรรณยุกต์ มี 5 เสียง 4 รูป
1.4 ตัวอักษรแทนจำานวน คือ ตัวเลข ได้แก่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๐
2 . ภาษาไทยแท้เป็นมักมีพยางค์เดียว คำาพยางค์เดียว มีความหมายที่
เข้าใจได้ทันที เช่น พ่อ , แม่ , นั่ง , นอน , เดิน , เสือ , ลิง ฯลฯ
3 . ภาษาไทยแท้มีตัวสะกดตรงตามมาตรา มาตราตัวสะกดมี 9 มาตรา
คือ คำาไทยแท้จะมีตัวสะกดตามมาตราและไม่มีการันต์ ดังนี้
แม่กก ใช้ “ ก ” เป็นตัวสะกด แม่กด ใช้ “ ด ” เป็นตัวสะกด
แม่กบ ใช้ “ บ ” เป็นตัวสะกด แม่กง ใช้ “ ง ” เป็นตัวสะกด
แม่กม ใช้ “ ม ” เป็นตัวสะกด แม่กน ใช้ “ น ” เป็นตัวสะกด
แม่เกย ใช้ “ ย ” เป็นตัวสะกด แม่เกอว ใช้ “ ว ” เป็นตัวสะกด
แม่ /อ , ? / คือ ไม่มีตัวสะกด ในพยางค์สระเสียงสั้น เช่น กะ ติ เตะ
และคำาที่ไม่มีตัวสะกด เราเรียกว่า แม่ ก.กา เช่น มา , ดี ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีคำาไทยที่ยืมมาจากภาษาอื่น จะสังเกตได้จากการเขียน
ตัวสะกดตามรูปเดิมภาษาเดิม แต่การออกเสียงจะออกเสียงตามมาตราตัว
สะกดของไทย เช่น
แม่กก : ข ค ฆ ตัวอย่าง เลข โรค เมฆ
แม่กด : จ ร ซ ฏ ฐ ท ตัวอย่าง กิจ ราช ก๊าซ ชัฏ รัฐ บาท
แม่กบ : ป พ ฟ ภ ตัวอย่าง รูป ภาพ กราฟ ลาภ
แม่กน : ณ ญ ร ล ฬ ตัวอย่าง คุณ บุญ การ กาล กาฬ
4. ภาษาไทยมีรูปสระวางไว้หลายตำาแหน่ง
- ข้างหน้าพยัญชนะ เช่น ไป , เสแสร้ง
- ข้างหลังพยัญชนะ เช่น จะ , มา
- ข้างบนพยัญชนะ เช่น ดี , กัน
- ข้างล่างพยัญชนะ เช่น ครู , สู้
- ทั้งข้างหน้าและข้างหลัง เช่น เขา , เธอ
- ทั้งข้างหน้าและข้างบน เช่น เป็น , เสียง , คิด
5. ภาษไทยเป็นภาษาคำาโดดมีความหมายหลายอย่าง จะสังเกตความ
หมายบริบท คำาทำาหน้าที่ต่างกันความหมายก็ต่างกัน เช่น
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 2
“ เขาสนุกสนาน กัน ในห้องนั้น แต่น่าแปลกใจว่าทำาไมเขา กัน ไม่ให้ กัน
เข้าไปในห้อง ”คำาว่า “ กัน ” ทั้ง 3 คำา มีความหมายต่างกันดังนี้
“ กัน ” คำาที่หนึ่ง เป็นสรรพนาม แสดงจำานวนประมาณว่ามากกว่าหนึ่ง
“ กัน ” คำาที่สอง เป็นกริยา หมายถึงการขัดขวาง
“ กัน ” คำาที่สาม เป็นสรรพนาม แสดงถึงผู้พูดแทนคำาว่า “ ฉัน ” (ชื่อคน)
6. ภาษาไทยมีความประณีต มีคำาที่มีความหมายหลักเหมือนกัน แต่มีความ
หมายเฉพาะต่างกัน ตัวอย่างเช่น
การทำาให้ขาดจากกัน มีคำาว่า ตัด หั่น แล่ เชือด เฉือน สับ ฯ
การทำาอาหารให้สุก มีคำาว่า ปิ้ง ย่าง ต้ม ตุ๋น ทอด ฯ
บุพบทบอกสถานที่ (ที่ติดกัน) มีคำาว่า ใกล้ ชิด แนบ ข้างฯ
การเลือกใช้คำาในการเขียนหรือการพูดจะต้องเลือกให้ถูก ถ้าเลือกผิด ความ
หมายก็จะเปลี่ยนไปด้วย
7. ภาษาไทยเป็นภาษาเรียงคำา การเปลี่ยนตำาแหน่งของคำา ความหมายของ
คำาก็จะเปลี่ยนไปด้วย เช่น
-พ่อแม่ เลี้ยง ลูก - ลูกเลี้ยงพ่อแม่
8. ภาษาไทยมีคำาบางคำาที่มีเสียงสัมพันธ์กับความหมาย
-คำาที่ประสมสระเอ มักจะมีความหมายไปในทางที่ไม่ตรง เช่น เข เก เป๋ โซเซ
-คำาที่ประสมสระออ มี “ ม ” หรือ “ น ” สะกด จะมีความหมายไปในทางงอ
หรือโน้มเข้าหากัน เช่น งอนง้อ อ้อมค้อม น้อม อ้อม ฯลฯ
9. ภาษาไทยเป็นภาษาดนตรี ภาษาไทยมีอัจฉริยลักษณะน่าสนใจ ก็คือ
การเปลี่ยนระดับเสียงของคำา หรือ “ วรรณยุกต์ ” ทำาให้ภาษาไทยมีลักษณะ
พิเศษดังต่อไปนี้
9.1 มีคำาใช้มากขึ้น เพราะมีการเปลี่ยนระดับเสียง และก็มีการเปลี่ยนความ
หมาย ตัวอย่างเช่น
ขาว หมายถึง สีชนิดหนึ่ง , กระจ่างแจ้ง
ข่าว หมายถึง คำาบอกเล่า
ข้าว หมายถึง พืชที่ใช้เมล็ดเป็นอาหาร
9.2 มีความไพเราะ ระดับเสียงต่าง ๆ ของคำาทำาให้เกิดเป็นเสียงดนตรี จัดอยู่
ในจำาพวกภาษาดนตรี (Musical language) ถ้าผู้ใช้เลือกคำาให้เหมาะจะ
เกิดเสียงไพเราะและเกิดมโนภาพชัดเจน ตัวอย่างเช่น
“ ตะลึงเหลียวเปลี่ยวเปล่าให้เหงาหงิม สุชลปริ่มเปี่ยมเหยาะเผาะเผาะผอย ”
การใช้เสียงสูงตำ่าสลับกันทำาให้เกิดความไพเราะ ด้วยเหตุนี้คนไทยจึง
ประพันธ์บทร้อยกรองได้จนได้ชื่อว่าเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน
9.3 มีจังหวะและคำาคล้องจอง ภาษาไทยเป็นภาษาคำาโดด แต่ละคำาตัดจาก
กันได้โดยไม่เสียความหมายจึงสามารถเขียนหรือออกเสียงให้เป็นจังหวะได้
จึงทำาให้ภาษาไทยทั้งเขียนทั้งพูดไพเราะยิ่งขึ้น ไม่ใช่แต่ในคำาประพันธ์
เท่านั้น แม้ภาษาความเรียงก็มีจังหวะและความคล้องจองได้ ตัวอย่างเช่น
• ฉันได้รับ / จดหมาย / ของเธอแล้ว
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 3
• ฉันมีธุระ / จะต้องรีบไป
• เร็ว / เข้าหน่อย
• ใครดี / ก็ว่าดี / มีอะไร / ก็ว่ามา
• ฉันก็รู้อยู่แน่ว่า / เขาจะไม่ค้าน / แต่มันก็สะท้านชอบกล
9.4 มีการเลียนเสียงธรรมชาติและเลียนสำาเนียงภาษาได้ทุกภาษา ภาษาไทย
มีพยัญชนะสามพวก คือ ไตรยางค์ และยังมีรูปวรรณยุกต์ทำาให้มีเสียงสูงตำ่า
จึงเลียนเสียงต่าง ๆ ได้ใกล้เคียงที่สุด การพูดภาษาต่างประเทศ คนไทยก็
ออกเสียงได้ใกล้เคียงเจ้าของภาษามาก เช่น เต้าเจี้ยว , ตั้งฉ่าย (จีน)
ฟุตบอล , ชิลลิง (อังกฤษ) ซังติม , กาแฟ (ฝรั่งเศส) ฉับ , สรง (เขมร) ฟูจิ ,
ปิ่นโต (ญี่ปุ่น)
การใช้คำาเลียนเสียงธรรมชาติทำาให้เกิดภาพพจน์อย่างดียิ่ง
-ฟ้าร้อง ครืน ๆ ลูกไก่ร้อง เจี๊ยบ ๆ ฝนตก จั้ก ๆ ระฆังดัง เหง่งหง่าง
10. ภาษาเขียนมีวรรคตอน ภาษาพูดมีจังหวะ ภาษาไทยมีวิธีเขียนคำาต่อกัน
ไม่มีการเว้นระยะระหว่างคำา เมื่อจบความจึงมีการเว้นวรรค วรรคตอนจึงเป็น
เรื่องสำาคัญในภาษาไทย การเขียนถ้าเว้นวรรคตอนผิด ความหมายก็จะ
เปลี่ยนไป การพูดก็ต้องเว้นจังหวะให้ถูกที่เช่นกัน ถ้าหยุดผิดจังหวะ ความ
หมายก็จะเปลี่ยนไป ตัวอย่างเช่น
- พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียพันตำาลึงทอง หมายถึง นิ่งเสียดีกว่าพูด
- พูดไปสองไพเบี้ย นิ่ง เสียพันตำาลึงทอง หมายถึง ยิ่งนิ่งยิ่งเสียหายมาก
- ยานี้ดี กินแล้วแข็ง แรงไม่มี โรคภัยเบียดเบียน
- ยานี้ดี กินแล้วแข็งแรง ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน
- ไม่เจอกันนานนม เธอโตขึ้นเป็นกอง
- ไม่เจอกันนาน นมเธอ โตขึ้นเป็นกอง
11. ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีลักษณนาม ลักษณนามคือนามที่บอกลักษณะ
ของนามข้างหน้า ตัวอย่างเช่น
11.1 ลักษณนามใช้ตามหลังจำานวนนับ เพื่อบอกให้รู้ลักษณะต่าง ๆ ของ
นามนั้น เช่น
• ผ้า ๒ ผืน
• ผ้า ๒ พับ
• ผ้า ๒ ม้วน
คำาว่า ผืน , พับ , ม้วน บอกลักษณะของผ้าว่าต่างกันอย่างไร เป็นคำาที่แสดง
ให้เห็นภาพอย่างชัดเจน
11.2 ใช้ตามหลังนามเมื่อต้องการเน้นหนักและบอกให้รู้ลักษณะ เช่น
• ฉันต้องการแหวนวงนั้น
• กระดาษ รีมหนึ่งมีกี่ แผ่น
• นำ้าอัดลมขวดใหญ่ราคากี่บาท
ลักษณนามทำาให้เราเข้าใจลักษณะการมองเห็นภาพของนามข้างหน้า ภาษา
ไทยมีลักษณะที่แปลกจากภาษาอื่น เราจึงควรรักษาไว้เป็นเอกลักษณ์ของ
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 4
ภาษา
12. ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับของคำา แบ่งเป็น
12.1 ราชาศัพท์ เป็นวัฒนธรรมมาแต่โบราณ ได้รับการยกย่องไปในนานา
ประเทศ ในเรื่องการคารวะผู้มีอาวุโส แสดงออกทั้งทางกิริยามารยาทและการ
ใช้ภาษา บุคคลในสังคมย่อมต่างกันด้วยวัย วุฒิ ลำาดับญาติ ลำาดับชั้น
ปกครอง
ภาษาไทยมีอัจฉริยลักษณะอย่างหนึ่งคือ การใช้คำาเหมาะแก่บุคคล จน
มีผู้กล่าวว่า “ คนไทยพูดกันแม้ไม่เห็นตัวก็ทราบได้ทันทีว่าผู้พูด ผู้ฟัง เป็น
หญิงหรือชาย เด็กหรือผู้ใหญ่ ” เพราะการใช้ถ้อยคำา จะบ่งบอกไว้ชัดเจน
เป็นความงดงามทั้งในทางภาษา วัฒนธรรม และสังคม ในทางภาษาจะได้
เห็นศิลปะของการใช้ภาษา ในทางสังคมจะได้เห็นวัฒนธรรมขนบประเพณี
12.2 มีคำาบอกลักษณะโดยเฉพาะ ตัวอย่าง
ล้าง = ทำาให้สะอาด ชำาระด้วยนำ้า ใช้กับคนทั่ว ๆ ไป แต่เมื่อใช้กับ “ ผม ”
ต้องใช้ สระผมเมื่อใช้กับ “ เสื้อผ้า ” ต้องใช้ ซักเสื้อผ้า
ความมีชื่อเสียง = ในทางดี “ ลือชาปรากฏ , ”โด่งดัง
ในทางไม่ดี = “อื้อฉาว , ”กระฉ่อน
12.3 ภาษาธรรมดากับภาษากวี คำาที่นำามาจากภาษาอื่นมีความหมายอย่าง
เดียวกับคำาไทย จะนำามาใช้ในคำาประพันธ์ เช่น
หญิง = สตรี กานดา กัลยา นงคราญ นงนุช นุชนาฏ นงพะงา พนิต ยุพยง
เยาวเรศ บังอร อนงค์ ฯลฯ
อาทิตย์ = ตะวัน ไถง ทินกร ทิพากร ภาณุมาศ สุรีย์ รวิ อาภากร สุริยัน ฯลฯ
13. ภาษาไทยมีคำาพ้องเสียงพ้องรูป แบ่งเป็น
13.1 คำาพ้องเสียง เช่น
1) กาน - ตัดให้เตียน การณ์ – เหตุ กาฬ - ดำา กานต์ - เป็นที่รัก
กาล – เวลา กานท์ – บทกลอน การ - กิจ งาน ธุระ
2) สัน - สิ่งที่มีลักษณะนูนสูง เป็นแนวยาว , ส่วนหนาของมีดหรือขวานที่อยู่
ตรงข้ามกับคม สรร - เลือก คัด สรรพ์ – ทั้งหมด สรรค์ – สร้าง สันต์ -
สงบ
สันทน์ – พูดจา ศัลย์ - ลูกศร ของมีปลายแปลม ( เช่น ศัลยแพทย์ - แพทย์
ผ่าตัด) สัณฑ์ - ที่รก ที่ทึบ สัณห์ - ละมุนละม่อม สุภาพ นิ่มนวล
13.2 คำาพ้องรูป เช่น
1.) เรือนรก - เรือ-นรก = เรือที่ไม่ดี หรือที่มีการฆ่ากัน
เรือน-รก = เรือนรกรุงรัง
2.) เพลา - เพ-ลา = เวลา เพลา = เบา ๆ หรือตัก
3.) ตากลม - ตาก-ลม = นั่งเล่น ตา-กลม = นัยน์ตา-กลม
4.) ขอบอกขอบใจ - ขอ-บอก-ขอบ-ใจ = บอกขอบใจ
ขอบ-อก-ขอบ-ใจ = คำาซ้อนเน้นความ
คำาพ้องรูป มีความสำาคัญในเรื่องการออกเสียง ถ้าออกเสียงผิดความหมายจะ
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 5
ผิดพลาดตามไปด้วย
14 . ภาษาไทยมักจะละคำาบางคำา ( ส่วนมากเป็นภาษาพูด) เช่น
1.) โต๊ะสองตัวนี้ของเธอ โต๊ะของเธอสองตัวนี้ ละคำาว่า “ คือ ” หรือ “
เป็น ”
สองตัวนี้โต๊ะของเธอ
2.) ฉันไปโรงเรียนเวลา 8.00 น. = ละคำาบุรพบท “ ที่ ” หรือ “ ถึง ” ฯลฯ
15. ภาษาพูดมีคำาเสริมแสดงความสุภาพ ภาษาพูดมีคำาเสริมท้ายประโยค
เช่น
แสดงความสุภาพ เช่น เถิด ซิ นะจ๊ะ คะ ครับ ฯลฯ
แสดงความไม่สุภาพ เช่น โว้ย ฯลฯ
แสดงความรู้สึก เช่น นะจ๊ะ โอ้ โอ้ย เอ๊ะ ฯลฯ
16. การลงเสียงหนักเบาทำาให้หน้าที่ของคำาเปลี่ยนไป การออกเสียงใน
ภาษาไทยที่มีเสียงหนักเบาไม่เท่ากันทุกพยางค์ ทั้งที่เป็นคำาไทยแท้และคำา
ที่มาจากภาษาอื่น การออกเสียงหนักเบายังอาจแยกให้เห็นความหมายที่แตก
ต่างกันได้ เพราะทำาหน้าที่ผิดกัน เช่น
- ถ้ามัน เสีย ก็แก้ เสีย ให้ดี
“ เสีย ” คำาแรก เป็นคำากริยา ลงเสียงหนัก หมายถึง “ เสื่อมคุณภาพ ”
“ เสีย ” คำาหลัง เสียงเบา เป็นคำาวิเศษณ์ เสริมเพื่อเน้นความหมาย “ ให้เสร็จ
ไป ”
ในการพูดจึงต้องระมัดระวังในการออกเสียงหนักเบาให้ถูกต้อง
17. การสร้างคำา ภาษาทุกภาษาย่อมมีการขยายตัวตามความเจริญของ
มนุษย์ เมื่อสังคมกว้างขึ้นภาษาก็ต้องขยายตัวไปตามความต้องการของ
มนุษย์ การสร้างคำาใหม่ตามแบบภาษาไทย มีอยู่ 3 แบบด้วยกันคือ
17.1. คำาซำ้า
17.2. คำาซ้อน
17.3. คำาประสม
การสร้างคำาในภาษาไทย
คำามูล หมายถึง คำาคำาเดียวที่ไม่ได้ประสมกับคำาอื่น มีลักษณะดังนี้คือ
1. มีความหมายสมบูรณ์ในตัว
2. มีมาแต่เดิมในทุกภาษา
3. อาจมีพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ เช่น แม่ กรรม ฉัน เหนือ
ว้าย ป้า แดง ดำา แบตเตอรี่ สับปะรด ข้อสังเกตเกี่ยวกับคำามูล
1. คำามูลในภาษาไทยมักเป็นคำาพยางค์เดียวสะกดตรงตัวไม่มีคำาควบ
กลำ้าหรือการันต์
2. คำามูลหลายพยางค์ เมื่อแยกออกแต่ละพยางค์จะไม่มีความหมาย
หรือความหมายไม่เกี่ยวข้องกับคำามูลนั้น ๆ การสร้างคำาใหม่ตามแบบ
ภาษาไทย มีอยู่ 3 แบบด้วยกันคือ
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 6
1. คำาซำ้า
2. คำาซ้อน
3. คำาประสม
คำาซำ้า
คำาซำ้า คือ คำาเดียวกันนำามากล่าว 2 ครั้ง มีความหมายเน้นหนักหรือ
บางทีต่างกันไป หรือคำาที่เพิ่มขึ้นโดยออกเสียงให้ต่อเนื่องกัน ถือว่าเป็นคำา
สร้างใหม่ มีความหมายใหม่
ลักษณะของคำาซำ้า
1. ซำ้าคำานาม แสดงพหูพจน์ บอกว่านามนั้นมีจำานวนมากกว่าหนึ่ง
ได้แก่ เด็กๆ หนุ่มๆ สาวๆ เช่น เห็นเด็กๆ เล่นอยู่ในสนาม มีแต่หนุ่มๆ สาวๆ
เดินไปเดินมา
2. ซำ้าคำาขยายนาม แสดงพหูพจน์์ เช่น ฉันให้เสื้อดีๆ เขาไป
เสื้อตัวนี้ยังดีๆ อยู่ มีแต่ปลาเป็นๆ บางทีเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ เช่น ดี๊ดี
เก๊าเก่า บ๊าบ้า ร๊ายร้าย ซ้วยสวย
3. คำาซำ้าที่แสดงความไม่เจาะจง เช่น มะม่วงเล็ก แสดงว่า เล็กแน่ไม่
เป็นอื่น
แต่ถ้าหากใช้คำาซำ้าว่า ลูกเล็กๆ แสดงว่าอาจจะไม่เล็กทั้งหมด มีเล็กบ้างใหญ่
บ้าง แต่ส่วนมากเห็นแต่ลูกเล็กๆ คำาอื่นๆ เช่น เสื้อสีแดงๆ แสดงว่าไม่แดงที
เดียว แต่มีลักษณะไปทางแดงพอจะเรียกว่า แดง ได้ หรือกลมๆ เช่น ผลไม้
ลูกกลมๆ อาจจะไม่กลมดิก แต่ค่อนไปทางกลมอย่างไข่เป็นต้น
คำาซำ้าซ้อนกัน 2 คู่ ลักษณะเช่นนี้ก็มี เช่น สวยๆ งามๆ ผิดๆ ถูกๆ
ความหมายเจาะจงน้อยกว่า สวยงาม ผิดถูก
4. ซำ้าคำานามหรือคำาบอกจำานวนนับ จะแยกความหมายออกเป็น
ส่วนๆ เช่น
ชั่งเป็นกิโลๆ (ชั่งทีละกิโล และมีมากกว่ากิโลหนึ่ง)
ตรวจเป็นบ้านๆ ไป (ตรวจทีละบ้าน แต่มีหลายบ้าน)
ซื้อเป็นร้อยๆ (ซื้อหลายร้อย แต่ชั่งหรือนับกันทีละร้อย)
แตกเป็นเสี่ยงๆ (แตกออกหลายชิ้น แต่ละชิ้นกระจัดกระจายกันไป)
น่าสังเกตว่า ทำาเป็นวันๆ กับ ทำาไปวันๆ มีความหมายต่างกันคือ ทำาเป็นวันๆ
หมายความว่า ทำาวันหนึ่งก็ได้ค่าจ้างทีหนึ่ง ทีละวันๆ ไป ส่วน ทำาไปวันๆ คือ
ทำางานให้พ้นๆ ทีละวันๆ ไป
5. ซำ้าบุรพบท หรือคำาขยาย ใช้ขยายกริยาบอกความเน้น เมื่อเป็น
คำาสั่ง
ซำ้าคำาบุรพบท ได้แก่ เขียนกลางๆ นั่งในๆ เย็บตรงริมๆ หยิบบนๆ วางใต้ๆ
ซำ้าคำาขยาย ได้แก่ เขียนดีๆ พูดดังๆ เดินเร็วๆ วิ่งช้าๆ
6. ซำ้าจากคำาซ้อน 2 คู่ ใช้เป็นคำาขยายบอกความเน้น เช่น ออดๆ
แอดๆ แสดงว่าป่วยไข้เสมอยิ่งกว่า ออดแอด ง่อกๆ แง่กๆ ดูจะไม่มั่งคงยิ่ง
กว่า ง่อกแง่ก
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 7
ข้อควรสังเกต
1.คำาที่มีเสียงซำ้ากันบางครั้งไม่ใช่คำาซำ้า ได้แก่ เขาพูดกันไปต่าง ๆ
นานา
ฉันเห็นเขาจะจะเลย ทั้ง 2 คำานี้เป็นคำามูลสองพยางค์ จะไม่ใช้ไม้ยมก
2. คำาที่มีความหมายและหน้าที่ในประโยคต่างกันไม่ใช่คำาซำ้า เช่น
เมย์กำาลังใช้แปรงแปรงผ้าที่กำาลังซัก
แปรง คำาแรกเป็นคำานาม แปรง คำาที่สอง เป็นคำากริยา
คำาซ้อน
คำาซ้อน (บางทีเรียก คำาคู่) คือ คำามูล 2 คำา ที่มีความหมายเหมือน
คล้ายกันใกล้เคียงกัน ตรงกันข้าม หรือเป็นไปในทำานองเดียวกัน ซ้อนเข้าคู่
กัน เมื่อซ้อนแล้วจะมีความหมายใหม่เกิดขึ้น หรือมีความหมายและที่ใช้ต่าง
ออกไป
คำาซ้อนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ก. คำาซ้อนเพื่อความหมาย
ข. คำาซ้อนเพื่อเสียง
เจตนาในการซ้อนคำาก็เพื่อให้ได้คำาใหม่ มีความหมายใหม่ ถ้าซ้อนเพื่อ
ความหมายก็มุ่งที่ความหมายเป็นสำาคัญ ถ้าซ้อนเพื่อเสียง ก็มุ่งที่เสียงเป็น
สำาคัญ
ก. คำาซ้อนเพื่อความหมาย
วิธีสร้างคำาซ้อนเพื่อความหมาย
1. นำาคำามูลที่มีความหมายสมบูรณ์ มีที่ใช้ในภาษามาซ้อน
เข้าคู่กัน
คำาหนึ่งเป็นคำาต้น อีกคำาหนึ่งเป็นคำาท้าย คำาต้นกับคำาท้ายมีความหมายคล้าย
กัน
ใกล้เคียงกัน หรือไปในทำานองเดียวกัน อาจเป็น คำาไทยด้วยกันหรือคำาต่าง
ประเทศด้วยกันหรือเป็นคำาไทยกับคำาต่างประเทศซ้อนกันเข้ากันก็ได้
2. ซ้อนกันแล้วเกิดความหมายใหม์่ อาจไม่เปลี่ยนไปจาก
ความหมายเดิมมากนัก หรืออาจเปลี่ยนไปมาก ความหมายใหม่เกี่ยวเนื่อง
กับความหมายเดิม พอเห็นเค้าความหมายได้
ประโยชน์ของคำาซ้อนเพื่อความหมาย
1. ทำาให้ได้คำาใหม่หรือคำาที่มีความหมายใหม่ขึ้นในภาษา เช่น
คำา แน่น กับ หนา 2 คำา อาจสร้างให้เป็น หนาแน่น แน่นหนา
2. ช่วยแปลความหมายของคำาที่นำามาซ้อนกัน คำาที่นำามาซ้อน
กัน
ต้องมีความหมายคล้ายกัน แบบแปลน เสื่อสาด
3. ช่วยทำาให้รู้หน้าที่ของคำาและความหมายของคำาได้สะดวก
ขึ้น
เช่น “ ”เขา อาจเป็นได้ทั้งนามและสรรพนาม ความหมายก็ต่างกันไปด้วย
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 8
ถ้าซ้อนกันเป็น เขาหนัง (จับได้คาหนังคาเขา หรือในโคลงที่ว่าโคความวาย
ชีพด้วยเขาหนัง) ย่อมรู้ได้ว่า เขา เป็นคำานาม แต่ถ้าซ้อนกันเป็น เขาเรา
(เช่นที่พูดว่าถือเขาถือเรา) เช่นนี้ เขาต้องเป็นสรรพนาม หมายถึงผู้ที่เราพูด
ถึง
4. ช่วยกำาหนดเสียงสูงตำ่า และทำาให้รู้ความหมายไปพร้อม
กัน เช่น น้าอา หน้าตา หนาแน่น
ลักษณะของคำาซ้อนเพื่อความหมายที่เป็นคำาไทยซ้อนด้วยกัน
1. ซ้อนแล้วความหมายจะปรากฏอยู่ที่คำาต้นหรือคำาท้าย เช่น
ความหมายปรากฏอยู่ที่คำาต้น ได้แก่
คอเหนียง (ในความ คอเหนียงแทบหัก)ใจคอ (ในความ ใจคอไม่อยู่กับเนื้อ
กับตัว)
แก้มคาง (ในความ แก้มคางเปื้อนหมด) หัวหู (ในความ หัวหูยุ่ง)
ความหมายปรากฏอยู่ที่คำาท้าย ได้แก่ หูตา (ในความ หูตาแวววาว) เนื้อตัว
(ในความ เนื้อตัวมอมแมม)
2. ความหมายของคำาซ้อนปรากฏที่คำาใดคำาหนึ่ง เช่น ในข้อ 1
ต่างกันก็แต่คำาที่มาซ้อนเข้าคู่กันเป็นคำาตรงกันข้ามแทนที่จะมีความหมายต่อ
เนื่องกับคำาตรงกันข้ามนั้นๆ กลับมีความหมายที่คำาใด คำาหนึ่งอาจเป็นคำาต้น
ก็ได้คำาท้ายก็ได้
ปรากฏที่คำาต้น ได้แก่ ผิดชอบ (ในคำา ความรับผิดชอบ)
ปรากฏที่คำาท้าย ได้แก่ ได้เสีย (เช่น เล่นไพ่ได้เสียกันคนละมากๆ)
3. ความหมายของคำาซ้อนที่ปรากฏอยู่ที่คำาทั้งสอง ทั้งคำาต้น
และคำาท้าย แต่ความหมายต่างกับความหมายของคำาเดี่ยวอยู่บ้าง เช่น
พี่น้อง หมายถึงผู้ที่อยู่ในวงศ์วานเดียวกันเป็นเชื้อสายเดียวกันใครอายุมาก
นับเป็นพี่ ใครอายุน้อยนับเป็นน้อง ถ้าใช้คำาว่าพี่น้องท้องเดียวกัน จึงถือเป็น
ผู้ร่วมบิดามารดาเดียวกัน
ลูกหลาน มิได้หมายเจาะจงว่า ลูกและหลาน หรือลูกหรือหลาน
4. ความหมายของคำาซ้อนปรากฏเด่นอยู่ที่คำาเดียว ส่วนอีกคำา
หนึ่งถึงจะไม่มีความหมายปรากฏ แต่ก็ช่วยเน้นความหมายยิ่งขึ้นเช่น
เงียบเชียบ เชียบไม่มีความหมาย แต่ช่วยทำาให้คำา เงียบเชียบ มีความหมาย
ว่า เงียบ มากยิ่งกว่า เงียบ คำาเดียว
ดื้อดึง มีลักษณะ ดื้อ มากกว่า ดื้อดึง ขนาดใครว่าอย่างไรก็ไม่ฟังจะทำา
ตามใจตนให้ได้
คล้ายคลึง มีลักษณะ เหมือน มากกว่า คล้าย
5. ความหมายของคำาซ้อนกับคำาเดี่ยวต่างกันไป บางคำาอาจ
ถึงกับเปลี่ยนไปเป็นคนละความ ที่ใดควรใช้คำาเดียว กลับไปใช้คำาซ้อนหรือ
กลับกัน ที่ใดควรใช้คำาซ้อนกลับไปใช้คำาเดี่ยว เช่นนี้ ความหมายย่อมผิดไป
คำาซ้อนลักษณะนี้ได้แก่
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 9
พร้อม กับ พร้อมเพรียง เช่น เด็กมีความพร้อมที่จะเรียน หมายความว่า
ประสาทต่างๆ ถึงเวลาจะทำางานได้ครบถ้วน เพราะพร้อม แปลว่า เวลา
เดียวกัน ครบครัน ฯลฯ
หากใช้ว่าเด็กมีความพร้อมเพรียงที่จะเรียน ต้องหมายว่ามีความร่วมใจกัน
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการเรียน
แข็ง กับ แข็งแรง แข็งอาจใช้ได้ทั้งกายและใจ เช่น เป็นคนแข็งไม่ยอมอ่อน
ข้อให้ใคร หรือใจแข็ง ไม่สงสาร ไม่ยอมตกลงด้วยง่ายๆ ส่วนแข็งแรง ใช้
แต่ทางกายไม่เกี่ยวกับใจ คนแข็งแรงคือคนร่างกายสมบูรณ์มีเรี่ยวแรงมาก
6. คำาซ้อนที่คำาต้นเป็นคำาเดียวกันแต่คำาท้ายต่างกัน ความ
หมายย่อมต่างกันไป เช่น
จัดจ้าน (ปากกล้า ปากจัด) กับ จัดเจน (สันทัด ชำานาญ)
เคลือบแคลง (ระแวง สงสัย) กับ เคลือบแฝง (ชวนสงสัยเพราะความจริงไม่
กระจ่าง)
ขัดข้อง (ติดชะงักอยู่ ไม่สะดวก) กับ ขัดขวาง (ทำาให้ไม่สะดวกไปได้ไม่
ตลอด)
7. ความหมายของคำาซ้อนขยายกว้างออก ไม่ได้จำากัดจำาเพาะ
ความหมายของคำาเดี่ยวสองคำามาซ้อนกัน ได้แก่
เจ็บไข้ ไม่ได้จำากัดอยู่แต่เพียงเจ็บเพราะบาดแผลหรือฟกชำ้าและมีอาการ
ความร้อนสูงเพราะพิษไข้ แต่หมายถึงอาการไม่สบายเพราะสุขภาพไม่ดีเรื่อง
ใดๆ ก็ได้
ทุบตี หมายถึง ทำาร้ายด้วยวิธีการต่างๆ อันอาจเป็น เตะต่อย ทุบ ถอง ฯลฯ ไม่
ได้หมายเฉพาะทำาร้ายด้วยวิธีทุบและตีเท่านั้น
ฆ่าฟัน ไม่จำาเป็นต้องทำาให้ตายด้วยคมดาบ อาจใช้ปืนหรืออาวุธอย่างอื่น
ทำาให้ล้มตายก็ได้
ลักษณะคำาซ้อนเพื่อความหมายที่เป็นคำาไทยซ้อนกับคำา
ภาษาอื่น
คำาไทยกับคำาบาลีสันสกฤต ได้แก่ ซากศพ (ศพ จาก ศว สันสกฤต)
รูปร่าง โศกเศร้า
ยวดยาน ทรัพย์สิน (ทรัพย์ จาก ทฺรวฺย สันสกฤต) ถิ่นฐาน จิตใจ ทุกข์ยาก
คำาไทยกับคำาเขมร ได้แก่ แสวงหา เงียบสงัด เงียบสงบ ถนนหนทาง
สะอาดหมดจด ยกเลิก เด็ดขาด
คำาภาษาอื่นซ้อนกันเอง
คำาบาลีกับสันสกฤตซ้อนกันเอง ได้แก่
อิทธิฤทธิ์ (อิทฺธิ บ. + ฤทฺธิ ส.)
รูปพรรณ (รูป บ.ส. + พรรณ จาก วรฺณ ส.)
รูปภาพ (รูป + ภาพ บ.ส.)
ยานพาหนะ (ยาน + วาหน บ.ส.)
ทรัพย์สมบัติ (ทฺรวฺย ส. + สมฺปตฺติ บ.ส.)
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 10
คำาเขมรกับบาลีสันสกฤต ได้แก่ สุขสงบ สรงสนาน เสบียงอาหาร
คำาเขมรกับเขมร ได้แก่ สะอาดสอาง สนุกสบาย เลิศเลอ สงบเสงี่ยม
ข. คำาซ้อนเพื่อเสียง
คำาซ้อนเพื่อเสียง มุ่งที่เสียงยิ่งกว่าความหมาย คำาที่เข้ามาซ้อนกันจึง
อาจจะไม่มีความหมายเลย เช่น โล กับ เล หรือมีความหมายเพียงคำาเดียว
เช่น มอมกับแมม มอม มีความหมายแต่ แมม ไม่มีความหมาย บางทีแต่ละคำา
มีความหมาย แต่ความหมายไม่เกี่ยวเนื่องกับความหมายใหม่เลย เช่น งอแง
งอ หมายว่า คด โค้ง แต่ แง หมายถึง เสียงร้องของเด็ก ส่วนงอแง หมายว่า
ไม่สู้ เอาใจยาก
วิธีสร้างคำาซ้อนเพื่อเสียง
1. นำาคำาที่เสียงสระระดับเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันซ้อนกัน จะเกิด
ความหมายใหม่ ซึ่งโดยมากไม่เกี่ยวเนื่องกับความหมายของคำามูลแต่ละคำา
แต่ที่มีความหมายเกี่ยวเนื่องกันก็มี เช่น
อิ + อะ เช่น จริงจัง ชิงชัง
เอะ เอ + อะ อา เช่น เกะกะ เปะปะ เบะบะ เละละ เก้งก้าง เหง่งหง่าง
แอะ แอ + อะ อา เช่น แกรกกราก
อึ + อะ เช่น ขึงขัง ตึงตัง กึงกัง ตึกตัก ทึกทัก หงึกหงัก
เออะ เออ + อะ อา เช่น เงอะงะ เทอะทะ เร่อร่า เซ่อซ่า เลิ่กลั่ก เยิบยาบ
อุ + อะ อา เช่น ตุ๊ต๊ะ ปุปะ กุกกัก รุงรัง ปุบปับ งุ่นง่าน ซุ่มซ่าม รุ่มร่าม
โอะ โอ + อะ อา เช่น โด่งดัง กระโตกกระตากโคร่งคร่าง โผงผาง
เอาะ ออ + อะ อา เช่น หมองหมาง
อุ อู + อิ อี เช่น ดุกดิก ยุ่งยิ่ง กรุ้มกริ่ม อุบอิบ อู้อี้ บู้บี้ จู้จี้ สูสี
โอะ โอ + เอะ เอ เช่น โงกเงก โอนเอน โย่งเย่ง บ๊งเบ๊ง โอ้เอ้ โย้เย้ โผเผ
เอาะ ออ + แอะ แอ เช่น ง่อกเง่ก จ๋องแจ๋ง กรอบแกรบ กล้อมแกล้ม อ้อแอ้
งอแง ร่อแร่
เอีย + ไอ อาย เช่น เรี่ยไร เรี่ยราย เบี่ยงบ่าย เอียงอาย
ไอ + เอีย เช่น ไกล่เกลี่ย ไล่เลี่ย
อัว + เอา เช่น ยั่วเย้า มัวเมา
เอา อาว + ไอ อาย เช่น เมามาย ก้าวก่าย
อัว + เอีย เช่น อั้วเอี้ย ยั้งเยี้ย กลั้วเกลี้ย ต้วมเตี้ยม ป้วนเปี้ยน
2. คำาที่นำามาซ้อนกันมีสระเดียวกันแต่ตัวสะกดต่างกัน มี 2 ลักษณะ
ด้วยกัน คือ
ก. ตัวสะกดต่างกันในระหว่างแม่ตัวสะกดวรรค
เดียวกัน
คือระหว่าง แม่กก กับ กง แม่กด กับ กน และแม่กบ กับ กม ดังนี้
แม่กก กับ แม่กง เช่น แจกแจง กักขัง
แม่กด กับ แม่กน เช่น อัดอั้น ออดอ้อน เพลิดเพลิน จัดจ้าน คัดค้าน
แม่กบ กับ แม่กม เช่น รวบรวม ปราบปราม
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 11
ข. ตัวสะกดต่างกันไม่จำากัดวรรค ได้แก่
แม่กก กับ แม่กม เช่น ชุกชุม
แม่กก กับ แม่กน เช่น แตกแตน ลักลั่น ยอกย้อน
แม่กก กับ แม่เกย เช่น ทักทาย ยักย้าย หยอกหย็อย
แม่กด กับ แม่กง เช่น สอดส่อง
3. คำาที่นำามาซ้อนกัน ต่างกันทั้งเสียงสระ และตัวสะกด
แม่กก กับ แม่กง เช่น ยุ่งยาก ยักเยื้อง กระดากกระเดื่อง
แม่กก กับ แม่กน เช่น รุกราน บุกบั่น ลุกลน
แม่กก กับ แม่กม เช่น ขะมุกขะมอม
แม่กก กับ แม่เกย เช่น แยกย้าย โยกย้าย ตะเกียกตะกาย
แม่กง กับ แม่เกย เช่น เบี่ยงบาย เอียงอาย มุ่งหมาย
แม่กง กับ แม่กน เช่น คั่งแค้น กะบึงกระบอน
แม่กด กับ แม่กง เช่น ปลดเปลื้อง ตุปัดตุป่อง เลิกร้าง ตะขิดตะขวง
แม่กด กับ แม่กน เช่น อิดเอื้อน ลดหลั่น
แม่กน กับ แม่กง เช่น เหินห่าง พรั่นพรึง หม่นหมอง แค้นเคือง
แม่กน กับ แม่กม เช่น รอนแรม ลวนลาม
แม่กบ กับ แม่กม เช่น ควบคุม
แม่กม กับ แม่กง เช่น คลุ้มคลั่ง
แม่กม กับ แม่เกย เช่น ฟุ่มเฟือย
บางทีคำาท้าย ไม่มีเสียงตัวสะกด เช่น ลบหลู่ ปนเป เชือนแช พื้นเพ หมิ่นเหม่
ลาดเลา หดหู่ เขม็ดแขม่ เตร็ดเตร่ โรยรา ตะครั่นตะครอ ทุลักทุเล คลุกคลี
4. คำาที่ซ้อนกัน มีสระเดียวกันแต่ตัวสะกดคำาท้ายกร่อนเสียง
คำาเหล่านี้เชื่อว่าคงจะเป็นคำาซำ้า เมื่อเสียงไปลงหนักที่คำาต้น เสียงคำาท้ายที่ไม่
ได้เน้นจึงกร่อนหายไป น่าสังเกตว่าเมื่อตัวสะกดกร่อนหายไป เสียงสูงตำ่าจะ
เปลี่ยนแปลงไปด้วยเพื่อชดเชยกับเสียงกร่อนนั้นๆ ได้แก่ จอนจ่อ (จากจอนๆ)
งอนหง่อ ร่อยหรอ เลินเล่อ เตินเต่อ เทินเถ่อโยกโย้ ทนโท่ ดนโด่ (ในคำา
กระดกกระดนโด่)
คำาซ้อนเพื่อความหมายที่สลับที่กัน แล้วมีความหมายทั้งสอง
คำา ได้แก่
แน่นหนา กับ หนาแน่น แน่นหนา ความหมายเน้นที่ แน่น อย่างไม่หลุดไม่
ถอน แน่นหนา คือ แน่นมาก เช่น ใส่กุญแจแน่นหนา คือใส่กุญแจเรียบร้อย
ทุกดอก ไขอย่างไรก็ไม่ออก ส่วน หนาแน่นความหมายเน้นที่ หนา ซึ่งตรง
ข้ามกับบาง มักใช้กับผู้คนจำานวนมาก เช่น ผู้คนหนาแน่น บ้านช่องหนาแน่น
(คือบ้านมีมากหลัง ผู้คนย่อมจะมีมากไปด้วย)
อยู่กิน กับ กินอยู่ กินอยู่ หมายถึง พักอาศัย อาจรวมถึงกินอาหารด้วย เช่น
ให้เงินค่ากินอยู่ คือให้ค่าที่พักและค่าอาหาร ส่วน อยู่กิน นั้นหมายเลยไปถึง
การดำาเนินชีวิตฉันสามีภรรยา
คำาซ้อน 4 คำาหรือ 6 คำา
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 12
คำาซ้อนลักษณะนี้ไม่ว่าจะเป็น 4 คำาหรือ 6 คำา จะมีสัมผัสกลางคำา
- ความหมายปรากฏที่คำาต้นและคำาท้าย เช่น ยากดีมีจน
(ยากจน) ผลหมากรากไม้ (ผลไม้) ข้าวยากหมากแพง (ข้าวแพง) เอาใจดูหู
ใส่ (เอาใจใส่) หัวหายสะพายขาด (หัวขาด)
-ความหมายปรากฏที่คำาข้างหน้า 2 คำา เช่น เจ็บไข้ได้ป่วย (เจ็บ
ไข้)
อดอยากปากแห้ง (อดอยาก) เกี่ยวดองหนองยุ่ง (เกี่ยวดอง)
ดูหมิ่นถิ่นแคลน (ดูหมิ่น) รูปโฉมโนมพรรณ (รูปโฉม)
-ไม่ปรากฏความหมายที่คำาใดๆ เป็นคำาซ้อนเพื่อเสียงแท้ๆ เช่น
อีลุ่ยฉุยแฉก อีหลุกขลุกขลัก อีหรำ่าตำ่าฉึก
อีหลกเฉาะแฉะ
-ซ้อน 6 คำา ความหมายอยู่ที่คำาต้นกับคำาท้าย ได้แก่ อดตาหลับขับตา
นอน (อดนอน)
แต่ส่วน ขิงก็ราข่าก็แรง มีความหมายทั้ง 6 คำา
คำาซ้อน 2 คู่
คำาซ้อนลักษณะนี้จะมีคำาที่มีคำา 2 คำา ซึ่งอาจเป็นคำาซ้อนหรือไม่
ใช่คำาซ้อนก็ได้ ซ้อนกันอยู่ 2 คู่ด้วยกัน มีลักษณะต่างๆ กัน
1. คำาซ้อนสลับ คือ คำาซ้อน 2 คู่สลับที่กัน คู่แรกแยกเป็นคำาที่ 1
กับ 3 คู่ที่ 2 แยกเป็นคำาที่ 2 กับ 4 คำาที่นำามาซ้อนกันมักเป็นคำาตรงกันข้าม
ความหมายทั้งคำาจึงต่างกับความหมายของคำาที่แยกออกทีละคำาไปบ้าง ดังนี้
หน้าชื่นอกตรม ปากหวานก้นเปรี้ยว ผิดชอบชั่วดี หนักนิดเบาหน่อย
2. คำาที่ซ้อนกันเป็น 2 คู่เป็นคำาประสมไม่ใช่คำาซ้อน ซึ่งมีคำาที่
1 กับ 3 เป็นคำาเดียวกันและคำาที่ 2 กับ 4 เป็นคำาที่มีความหมายใกล้เคียงกัน
ใช้ซ้อนกันอยู่ ความหมายจะเด่นอยู่ที่คำาข้างหน้าหรือคำาข้างท้าย 2 คำา คำาที่
2 กับ 4 มักเป็นคำานาม หรือ คำากริยา
ความหมายเด่นอยู่ที่คำาท้าย 2 คำา หรือ 2 คำาหน้า เช่น
อดหลับอดนอน (อดนอน ความหมายเด่นอยู่ที่คำาท้าย)
ผิดหูผิดตา (ผิดตา ความหมายเด่นอยู่ที่คำาท้าย)
ถูกอกถูกใจ (ถูกใจ ความหมายเด่นอยู่ที่คำาท้าย)
หน้าอกหน้าใจ (ถ้าเป็นเรื่องร่างกาย ความหมายเด่นอยู่ที่คำา อก แต่ถ้าเป็น
เรื่องความรู้สึกความหมายอยู่ที่ใจ)
หายใจหายคอ (หายใจ ความหมายเด่นอยู่ที่คำาหน้า)
เป็นทุกข์เป็นร้อน (เป็นทุกข์ ความหมายเด่นอยู่ที่คำาหน้า)
3. คำาที่ซ้อนกันเป็นคำาประสม 2 คู่ คำาที่ 2 กับ 4 เป็นคำาตรง
กันข้าม ส่วนคำาที่ 1 กับ 3 เป็นคำาเดียวกัน ความหมายของคำาซ้อน
ลักษณะนี้จึงต่างกับความหมายของคำาเดี่ยวที่แยกออกไปทีละคำา ดังนี้
มิดีมิร้าย หมายความว่า ร้าย (ไม่ใช่ว่าไม่ดีไม่ร้ายเป็นกลางๆ อย่างไม่ได้ไม่
เสีย ไม่แพ้ไม่ชนะ)
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 13
พอดีพอร้าย หมายความว่า ปานกลาง ไม่ดีมากแต่ก็ไม่เลวมาก
ไม่มากไม่น้อย หมายความว่า วางตัวพอดี เฉยๆ
ประโยชน์ของคำาซ้อนเพื่อเสียง
1. ทำาให้ได้คำาใหม่ที่สร้างได้ง่ายกว่าคำาซ้อนเพื่อความหมาย
2. ได้คำาที่มีเสียงกระทบกระทั่งกัน เหมาะที่จะใช้ในการพรรณนา
ลักษณะให้ได้ใกล้เคียงความจริง ทำาให้เห็นจริงเห็นจังยิ่งขึ้น
3. ได้คำาที่มีทั้งเสียงและความหมายใหม่ โดยอาศัยคำาเดิมที่มีอยู่แล้ว
ข้อควรสังเกต
1. คำาซ้อนในภาษาไทยส่วนใหญ่มีเสียงสัมผัสกัน เช่น ซาบซึ้ง ปีน
ป่าย เฮฮา
2. คำาที่มี 2 พยางค์ อาจซ้อนกันกลายเป็นคำาซ้อน 4 พยางค์ เช่น เฉ
ลี่ยวฉลาด ตะเกียกตะกาย
คำาประสม
คำาประสม คือ คำามูล 2 คำาหรือมากกว่านั้นมาประสมกันเป็นคำาใหม่
อีกคำาหนึ่ง
ลักษณะคำาประสม
1. คำาตัวตั้งเป็นนามและคำาขยายเป็นวิเศษณ์ ได้แก่
มด+แดง คือ มดชนิดหนึ่งตัวสีแดง ไม่ใช่มดตัวสีแดงทั่วๆ ไป อาจ เติมต่อ
เป็น
มด+แดง+ไฟ ก็ได้ เป็นการบอกประเภทย่อยของ มดแดง ลงไปอีกทีหนึ่ง
รถ+เร็ว คือ รถไฟที่เร็วกว่าธรรมดาเพราะไม่ได้หยุดแวะทุกสถานี
นำ้า+แข็ง คือ นำ้าชนิดหนึ่งที่แข็งเป็นก้อนด้วยความเย็นจัดตามธรรมชาติ หรือ
ทำาขึ้น
ที่เราใช้อยู่ทุกวันหมายถึงนำ้าที่แข็งเป็นก้อนด้วยกรรมวิธีอย่างหนึ่ง
คำาประสมลักษณะนี้มุ่งบอกลักษณะของสิ่งนั้นๆ ยิ่งกว่าอื่น จึงใช้คำา
ขยายเป็นคำาวิเศษณ์
2. คำาตัวตั้งเป็นคำานาม คำาขยายเป็นกริยา บางทีมีกรรมมา
รับด้วย ได้แก่
ผ้า+ไหว้ คือ ผ้าสำาหรับไหว้ที่ฝ่ายชายนำาไปให้แก่ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง เพื่อ
แสดงความเคารพในเวลาแต่งงาน
ไม้+เท้า คือ ไม้สำาหรับเท้าเพื่อยันตัว
โต๊ะ+กิน+ข้าว คือ โต๊ะสำาหรับกินข้าว
3. คำำตัวตั้งเป็นคำานาม คำาขยายเป็นคำานามด้วยกันได้แก่
เรือน+ต้น+ไม้ คือ เรือนที่ไว้ต้นไม้ไม่ให้โดนแดดมาก
เก้าอี้+ดนตรี คือ การเล่นชิงเก้าอี้มีดนตรีประกอบเป็นสัญญาณ
คน+ไข้ คือ คนที่เจ็บไข้ได้ป่วย อยู่ในความดูแลของแพทย์พยาบาล
แกง+ไก่ คือ แกงที่ใส่ไก่
4. คำาตัวตั้งเป็นคำานาม คำาขยายเป็นบุรพบท ได้แก่
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 14
คน+กลาง คือ คนที่ไม่เข้าข้างฝ่ายใด คนที่ติดต่อระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย
คน+ใน คือ คนในครอบครัว ในวงการ คนสนิท
เครื่อง+ใน คือ อวัยวะภายในของสัตว์ ซึ่งมักใช้เป็นอาหาร ได้แก่ ตับ ไต ไส้
ของหมู วัว ควาย เป็นต้น
ฝ่าย+ใน คือ หญิงที่สังกัดอยู่ในพระราชฐานชั้นใน เป็นเจ้านายและ
ข้าราชการ
ความ+ใน คือ เรื่องส่วนตัวซึ่งรู้กันในระหว่างคนสนิทกัน 2-3 คน
คน+นอก คือ คนนอกครอบครัว นอกวงการ
เมือง+นอก คือ ต่างประเทศ มักหมายถึงยุโรป อเมริกา
นักเรียน+นอก หมายถึงนักเรียนที่เรียนในต่างประเทศ
ฝ่าย+หน้า คือ เจ้านายและข้าราชการที่ไม่ใช่ฝ่ายใน
ความ+หลัง คือ เรื่องที่ผ่านมาแล้วของแต่ละคน
เบี้ย + ล่าง คือ อยู่ใต้อำานาจ
5. คำาตัวตั้งที่ไม่ใช่คำานาม และคำาขยายก็ไม่จำากัด อาจเป็นเพราะพูด
ไม่เต็มความ คำานามที่เป็นคำาตัวตั้งจึงหายไป กลาย เป็นคำากริยาบ้าง คำา
วิเศษณ์บ้าง เป็นตัวตั้ง ได้แก่
ต้ม+ยำา ต้ม+ส้ม ต้ม+ข่า เป็นชื่อแกงแต่ละอย่าง มีลักษณะต่างๆ กัน เดิม น่า
จะ
มีคำา แกง อยู่ด้วย เพราะขณะนี้ยังมีอีกมาก ที่พูด แกงต้มยำา แกงต้มส้ม
แกง(ไก่)ต้มข่า
เรียง+เบอร์ คือ ใบตรวจเลขสลากกินแบ่งของรัฐบาลที่มีเบอร์เรียงๆ กันไป
เดิมคงจะมีคำา ใบ อยู่ด้วย
พิมพ+ำ์ดีด คือ เครื่องพิมพ์ดีด คำา เครื่อง หายไป แต่ที่ยังใช้เครื่อง ด้วยก็มี
สาม+ล้อ คือ รถสามล้อ คำา รถจะหายไปในภายหลังเช่นเดียวกัน
สาม+เกลอ (เครื่องยกตอกกระทุ้งลง มีที่ถือสำาหรับยกสามที่)
สาม+ง่าม (ไม้หรือเหล็กที่แยกเป็นสามง่าม อาวุธที่มีปลายแหลมเป็นสาม
แฉก) ฯลฯ
คำาประสมที่ใช้เป็นคำาคุณศัพท์ คำาตัวตั้งอาจเป็นคำานาม คำากริยา
หรือ คำาวิเศษณ์ ก็ได้ เมื่อประสมแล้วใช้ในความหมายธรรมดาก็ได้ใช้ใน
ความหมายเชิงอุปมาก็ได้ ส่วนมากใช้เป็นวิเศษณ์ขยายนาม ที่ใช้ขยายกริยา
ก็มีบ้าง
1. คำาตัวตั้งเป็นนามและคำาขยายเป็นคำาคุณศัพท์หรืออื่นๆ เช่น
ชั้นตำ่า ขยายนาม เช่น คน เป็น คนชั้นตำ่า
ลิ้นวัว ขยายนาม เช่น สตู เป็น สตูลิ้นวัว
ส้นสูง ขยายนาม เช่น รองเท้า เป็น รองเท้าส้นสูง
2. คำาตัวตั้งเป็นกริยาและคำาขยายเป็นคำานามหรืออื่นๆ เช่น
กันเปื้อน ขยายนาม เช่น ผ้า เป็น ผ้ากันเปื้อน
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 15
วาดเขียน ขยายนาม เช่น ดินสอ กระดาษ เป็น ดินสอวาดเขียนกระดาษวาด
เขียน
คิดเลข ขยายนาม เช่น เครื่อง เป็น เครื่องคิดเลข (คำานี้ละเครื่องไม่ได้อย่าง
เครื่องพิมพ์ดีด)
เผาขน ขยายนาม เช่น ระยะ เป็น ระยะเผาขน คือระยะประชิดตัว
กำาลังกิน ขยายนาม เช่น มะม่วง เป็นมะม่วงกำาลังกิน หรือใช้กำาลังกินกำาลัง
นอน เช่น เด็กวัยกำาลังกินกำาลังนอน
3. คำาตัวตั้งเป็นคำาวิเศษณ์และคำาขยายเป็นคำานามและอื่นๆ
เช่น
เขียวนำ้าทะเล ใช้ขยาย สี เป็น สีเขียวนำ้าทะเล
หลายใจ ใช้ขยาย คน เป็น คนหลายใจ มีความมุ่งหมายเชิงอุปมาว่า เปลี่ยน
ใจ เปลี่ยนคนรักบ่อยๆ
สองหัว ใช้ขยาย นก เป็น นกสองหัว มีความหมายเชิงอุปมาว่า คนที่เข้าทั้ง
สองข้าง
4. คำาตัวตั้งเป็นบุรพบทและคำาขยายเป็นคำานามหรืออื่นๆเช่น
กลางบ้าน ใช้ขยาย ยา เป็น ยากลางบ้าน คือ ยาที่ชาวบ้านเชื่อถือกันเอง
กลางแปลง ใช้ขยาย โขน หรือ ละคร เป็น โขนกลางแปลง ละครกลางแปลง
คือ โขนหรือละครที่เล่นกลางแปลง
ในใจ ใช้ขยาย เลข เป็น เลขในใจ
ข้างถนน ใช้ขยาย เด็ก เป็น เด็กข้างถนน คือ เด็กที่ไม่มีพ่อแม่เอาใจใส่
นอกครู ใช้ขยาย หัวล้าน เป็น หัวล้านนอกครู ไม่ประพฤติตามแบบ
คำาประสมใช้เป็นคำาคุณศัพท์หรือคำานาม มีความหมายในเชิง
อุปมา ดังนี้
1. คำาตังตั้งเป็นคำานามชื่ออวัยวะของร่างกาย คำาขยายเป็นคำา
นาม กริยา หรือคุณศัพท์ ความหมายของคำาที่ประสม แล้วมีอุปมาเปรียบ
เทียบดุจดังสิ่งนั้นๆ มีลักษณะหรืออาการอย่างนั้น เช่น
หัว ได้แก่ หัวนอก หัวไม้ หัวเรือใหญ่ หัวแข็ง หัวอ่อน
หน้า ได้แก่ หน้าม้า หน้าเป็น หน้าตาย หน้าหนา หน้าบาง
ตา ได้แก่ ตากบ ตากุ้ง ตาไก่ ตาขาว ตาเขียว
ปาก ได้แก่ ปากกา ปากไก่ ปากฉลาม ปากเป็ด ปากแข็ง ปากตลาด
ลิ้น ได้แก่ ลิ้นไก่ ลิ้นปี่ ลิ้นทะเล ลิ้นหมา ลิ้นงูเห่า ลิ้นมังกร
คอ ได้แก่ คอแร้ง คอหอย คอแข็ง คอสูง คอสอง
ใจ ได้แก่ ใจกว้าง ใจแคบ ใจจืด ใจดำา ใจน้อย ใจใหญ่ ใจเบา ใจเย็น
ใจร้อน ใจลอย
2. คำาตัวตั้งเป็นคำานามอื่นๆ ที่มีลักษณะอันจะนำามาใช้เป็นอุปมา
เปรียบเทียบได้ คำาขยายเป็นคำากริยาหรือคำานาม ได้แก่
ลูก มักหมายถึง สิ่งที่มีลักษณะกลมหรือที่มีลักษณะเป็นรองประกอบกับ
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 16
สิ่งที่ใหญ่กว่าสำาคัญกว่า มีคำาว่า ลูกกวาด ลูกช่วง ลูกชิ้น ลูกดิ่ง ลูกตุ้ม
ลูกบวบ ลูกฟูก ลูกโยน ลูกคิด ลูกจ้าง ลูกน้อง ลูกความ ลูกขุน ลูกค้า ลูกช้าง
ลูกเลี้ยง ลูกไล่ ลูกวัด
แม่ มักหมายถึง ผู้มีความสำาคัญ อาจขนาดหัวหน้างาน ปกครองคนหรือ
หมายถึง สิ่งสำาคัญกว่าใหญ่กว่า มีคำาว่า แม่งาน แม่ทัพ แม่บ้าน แม่สื่อ แม่
เลี้ยง แม่ครัว แม่มด แม่บท แม่ย่านาง แม่แรง แม่เหล็ก แม่พิมพ์ แม่นำ้า แม่
เบี้ย
คำาประสมที่ใช้เป็นกริยา ส่วนมากใช้คำากริยาเป็นคำาตัวตั้งและคำา
ขยาย แต่ที่ใช้คำาอื่นเป็นคำาตัวตั้งและคำาขยายก็มี ความหมายมักเป็นไปใน
เชิงอุปมา ดังนี้
1. คำาตังตั้งเป็นคำากริยา คำาขยายเป็นกรรม มีความหมาย
กำาหนดใช้เป็นพิเศษ
เป็นที่รับรู้กัน คือ
ยิงปืน (หรือ ยิงธนู ยิงหน้าไม้ ยิงปืนกล) หมายความว่า ยิงด้วยปืน ด้วยธนู
ทำาให้ลูกปืนหรือลูกธนูแล่นออกไปโดยแรงด้วยแรงส่ง ไม่ใช่ยิงไปที่ปืน อย่าง
ยิงคน ยิงสัตว์
ตัดเสื้อ (ตัดกางเกง ตัดกระโปรง) หมายว่า ตัดผ้าทำาเป็นเสื้อกางเกง หรือ
กระโปรง ไม่ใช่ตัดผ้าที่เย็บเป็นเสื้อแล้ว
ตัดถนน (ตัดทาง) ทำาให้เกิดเป็นทางขึ้น ไม่ใช่ตัดทางหรือตัดถนนที่มีอยู่แล้ว
ขุดหลุม (ขุดบ่อ ขุดคลอง) ทำาให้เกิดเป็นหลุม บ่อ หรือคลองขึ้น ไม่ใช่ขุด
หลุม หรือบ่อ หรือคลอง ที่มีอยู่แล้ว
เดินจักร เย็บผ้าด้วยจักร คือทำาให้จักรเดิน ไม่ใช่เดินไปที่จักร
2. คำาตัวตั้งเป็นคำากริยา คำาขยายเป็นคำานามที่เป็นชื่อวัยวะของ
ร่างกาย มีความหมายไปในเชิงอุปมา ดังนี้
กริยา + ใจ
กินใจ หมายความว่า แคลงใจ สงสัย ไม่วางใจสนิท
ตั้งใจ " ทำาโดยเจตนา จงใจ
ตายใจ " วางใจ เชื่ออย่างไม่สงสัย
นอนใจ " วางใจไม่รีบร้อน
เป็นใจ " สมรู้ร่วมคิด รู้กัน
กริยา + หน้า
หักหน้า " ทำาให้อีกฝ่ายหนึ่งได้อาย
ไว้หน้า " รักษาเกียรติไว้ให้ ไม่พูดจาให้เป็นที่เสื่อมเสีย
ได้หน้า " ได้รับคำายกย่องชมเชย
เสียหน้า " ได้รับความอับอาย
กริยา + ตัว
ไว้ตัว " ถือตัว ไม่สนิทสนมกับใครง่ายๆ
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 17
ออกตัว " พูดถ่อมตัวไว้ก่อน กันถูกตำาหนิ
ถือตัว " ไว้ตัว เพราะถือว่าตนเหนือกว่าด้วย
3. คำาตัวตั้งเป็นคำากริยา คำาขยายเป็นบุรพบท ได้แก่
กินใน หมายความว่า แหนงใจ ระแวงสงสัย ไม่สนิทได้ดังเดิม
เสมอนอก " เอาใจช่วยอยู่ห่างๆ ภายนอก
เป็นกลาง " ไม่เข้าข้างใคร
4. คำาตัวตั้งเป็นบุรพบท คำาขยายเป็นคำานาม ได้แก่
นอกใจ หมายความว่า ประพฤติไม่ชื่อตรง เอาใจไปเผื่อแผ่ผู้อื่นนอกจาก
คู่ของตน
นอกคอก " ประพฤติไม่ตรงตามแบบแผนธรรมเนียม
5. คำาตัวตั้งเป็นคำาวิเศษณ์ คำาขยายเป็นคำานามที่เป็นอวัยวะ
ของร่างกาย
วิเศษณ์ + ใจ
แข็งใจ หมายความว่า ทำาใจให้แข็งแรง ไม่ท้อถอยเหนื่อยหน่าย
อ่อนใจ " ระอา ท้อถอย
น้อยใจ " รู้สึกเสียใจ แค้นใจที่ได้รับผลไม่สมกับที่ลงแรงหรือที่
หวัง
ดีใจ " ยินดี
วิเศษณ์ + หน้า
น้อยหน้า " ไม่เทียมหน้าคนอื่น
หนักหน้า " ภาระหรือความรับผิดชอบตกอยู่ที่ตน
วิเศษณ์ + มือ
หนักมือ " รุนแรง กำาเริบ
แข็งมือ " สู้ไม่ลดละ
น่าสังเกตว่าคำาประสมลักษณะนี้โดยมากสับหน้าสับหลังกันได้เช่น
แข็งใจ-ใจแข็ง อ่อนใจ-ใจอ่อน น้อยใจ-ใจน้อย ดีใจ-ใจดี หนักมือ-มือหนัก
แข็งมือ-มือแข็ง (น้อยหน้า กับ หนักหน้า สับไม่ได้ ไม่มีความหมาย)
คำาที่สับหน้าสับหลัง สับที่กันเช่นนี้ หน้าที่ของคำาต่างกันไปด้วยคือคำา
ที่มีชื่อ
อวัยวะร่างกายอยู่ข้างท้าย เช่น วิศษณ์ + ใจ คำานั้นใช้เป็นคำากริยา
แต่ถ้าชื่ออวัยวะร่างกายอยู่ต้นคำา เช่น ใจ + วิเศษณ์ คำานั้นใช้เป็นคำา
ขยายนาม
6. คำาตัวตั้งเป็นกริยา คำาขยายก็เป็นกริยา มีความสำาคัญเท่ากันเหมือน
เชื่อมด้วย
และ อาจสับหน้าสับหลังกันได้ คำาใดอยู่ต้นถือเป็นตัวตั้ง
ความสำาคัญอยู่ที่นั่น คำาท้ายเป็นคำาขยายไป เช่น เที่ยวเดิน-เดินเที่ยว ให้หา-
หาให้
7. คำาตัวตั้งเป็นคำากริยา คำาขยายเป็นกริยาวิเศษณ์ได้แก่
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 18
อวดดี หมายความว่า ทะนงใจว่าตัวดี
ถือดี " ถือว่าตัวดี ทะนงตัว
คุยโต " พูดเป็นเชิงอวด
วางโต " ทำาท่าใหญ่โต
8. คำาตัวตั้งเป็นคำากริยา มีคำาอื่นๆ ตาม มีความหมายไปในเชิงอุปมา
และมีที่ใช้เฉพาะ ได้แก่
ตัดสิน หมายความว่า ลงความเห็นเด็ดขาด
ชี้ขาด " วินิจฉัยเด็ดขาด
นั่งนก " นั่งหลับ
อยู่โยง " เฝ้าสถานที่แต่ผู้เดียว
ตกลง " ยินยอม
คำาประสมที่ใช้เป็นคำากริยาวิเศษณ์ ที่จริงถ้าจะเทียบกับคำา
ประสมที่ใช้เป็น
คำานาม คุณศัพท์และกริยาแล้ว คำาประสมที่ใช้เป็นกริยาวิเศษณ์มีน้อยกว่า
มาก ดังนี้
1. คำาตัวตั้งเป็นคุณศัพท์ คำาขยายเป็นคำานาม ได้แก่
สามขุม ใช้กับ ย่าง เป็น ย่างสามขุม
สามหาว " พูด เป็น พูดสามหาว
2. คำาตัวตั้งเป็นกริยา คำาขยายเป็นคำานาม ได้แก่
นับก้าว ใช้กับ เดิน เป็น เดินนับก้าว
3. คำาตัวตั้งเป็นคำานาม คำาขยายเป็นคำาอื่นๆ ได้แก่
คอแข็ง ใช้กับ นั่ง เป็น นั่งคอแข็ง (เถียงไม่ออก)
คอตก " นั่ง เป็น นั่งคอตก (เศร้าเสียใจ)
4. คำาตัวตั้งเป็นบุรพบท คำาขยายเป็นคำานาม ได้แก่
ในตัว เช่น เป็นนายเป็นบ่าวอยู่ในตัว
ในที " ยิ้มอยู่ในที
ในหน้า " ยิ้มในหน้า
นอกหน้า " แสดงออกจนออกนอกหน้า
ซึ่งหน้า " ว่าซึ่งหน้า
5. คำาตัวตั้งเป็นคำาบุรพบท คำาขยายเป็นคำากริยาวิเศษณ์ ได้แก่
ตามมีตามเกิด เช่น ทำาไปตามมีตามเกิด (สุดแต่จะทำาได้)โดยแท้ " เขา
ชำานาญเรื่องนี้โดยแท้
ยังมีคำาอีกประเภทหนึ่งซึ่งมีบุรพบทนำาหน้า มีคำาวิเศษณ์ตามมา
เช่น โดยดี โดยเร็ว โดยด่วน ตามสะดวก ตามถนัด แต่ไม่
กำาหนดไปตายตัว อาจเปลี่ยนคำาที่ตามมาเป็นอย่างอื่นได้ จึงไม่น่าถือเป็นคำา
ประสม
สรุปได้ว่า คำาประสมอาจใช้เป็นได้ทั้งนาม คุณศัพท์ กริยา และกริยาวิเศษณ์
ข้อควรสังเกตเกี่ยวกับคำาประสม
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 19
คำาที่ไม่เกิดความหมายใหม่ จัดเป็น วลี หรือกลุ่มคำา เช่น
ลูกหมาตัวนี้ถูกแม่ทิ้ง เป็นวลี เพราะไม่เกิดความหมายใหม่
เจ้าหน้าที่กำาลังฉีดยากำาจัดลูกนำ้า เป็นคำาประสม เพราะไม่ได้หมายถึงลูกของ
นำ้า
คำาประสมกับคำาซ้อน
ลักษณะที่เหมือนกัน
1. เป็นคำาที่นำาคำามูล ที่มีใช้อยู่เดิมมารวมกันเข้าสร้างเป็นคำาใหม่ขึ้น
2. เมื่อเกิดเป็นคำาใหม่แล้ว ความจะต่างจากเดิมไป ที่เหมือนเดิมก็ต้องมีความ
หนักเบาของความหมายต่างกัน บางทีก็มีความหมายไปในเชิงอุปมา
3. คำาที่ประสมกันก็ดี ซ้อนกันก็ดี ถ้าแยกออกเป็นคำาๆ แล้วแต่ละคำามีความ
หมายสมบูรณ์ ต่างกับคำาที่ลงอุปสรรค
ลักษณะที่ต่างกัน
1. คำาประสม มี 2 คำาหรือมากกว่านั้น คำาซ้อน มีคำาเพียง 2 คำา ถ้าจะมี
มากกว่านั้นก็ต้องเป็น 4 คำาหรือ 6 คำา
2. คำาประสม มีความหมายสำาคัญที่คำาตัวตั้ง ส่วนคำาขยายมีความสำาคัญ
รองลงไป
คำาซ้อน ถือคำาแต่ละคำาที่มาซ้อนกัน มีความสำาคัญเสมอกันเพราะต่างก็มีความ
หมายคล้ายกัน
3. คำาประสม มีความหมายต่างจากเดิมไปบ้าง ถ้าคงเดิมก็มักเป็นคำาที่
ใช้เรียกชื่อสิ่งต่างๆ คำาซ้อน มีความหมายต่างจากเดิมไปบ้าง ถ้าคงเดิม
ความเน้นหนักและที่ใช้ก็ต้องต่างไป แต่ถึงอย่างไร ความความใหม่ต้องเกี่ยว
เนื่องกับความหมายเดิม
4. คำาประสม บางคำาอาจสับหน้าสับหลังกันได้ แต่ถ้าเรียงสับที่กันความ
หมายก็จะต่างไป เช่น เสือปลา กับ ปลาเสือและหน้าที่ของคำาก็จะต่างไปด้วย
เช่น ใจดี กับ ดีใจ
คำาซ้อน อาจสับหน้าสับหลังได้เฉพาะบางคำาที่เสียงไปได้ไม่ขัดหูออก
เสียงได้สะดวก และบางคำาสับที่แล้วความหมายต่างไป แต่ที่ไม่ต่างกันก็มี
เช่น อัดแอ กับ แออัด
ข้อสังเกตคำาประสมกับคำามูล
คำาประสมบางคำามีลักษณะเหมือนคำามูลมาเรียงกัน ทำาให้พิจารณายากว่า
คำาใดเป็นคำาประสมคำาใดไม่ใช่ มีหลักพิจารณาได้ดังนี้
1. เสียงหนักเบา สังเกตได้โดยเสียงหนักเบาบอกให้รู้ ในเรื่องเสียง
วรรณยุกต์ คือ ถ้าเป็นคำาประสมนำ้าหนักเสียงจะลงที่คำาท้ายเป็นส่วนมาก ส่วน
ที่ไม่ได้ลงเสียงหนัก เสียงจะสั้นเบา บางทีอาจจะฟังไม่ชัด เหมือนหายไปเลย
ทั้งพยางค์ แต่ถ้าไม่ใช่คำาประสม นำ้าหนักเสียงจะเสมอกันและมีจังหวะเว้น
ระหว่างคำา (บางทีจะมีเสียงเหมือน น่ะ ม่ะ หรือ อ้ะ ท้ายคำาที่มาข้างหน้า แต่
เวลาเขียนกำาหนดไม่ได้) ทั้งนี้เพราะคำาที่เรียงกันมาแต่ละคำามีความสำาคัญถ้า
เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 20
พูดไม่ชัดเจนทุกคำาไปแล้ว ความหมายย่อมไม่แจ่มแจ้ง แต่คำาประสมกับไม่
เข้าใจความหมายเสียทีเดียว
2. ความหมาย คำาประสมจะมีความหมายจำากัด จำาเพาะว่าหมายถึง
อะไร และหมายพิเศษอย่างไร เช่น รถเร็ว ไม่ใช่รถที่วิ่งเร็วทั่วๆ ไป เมื่อพูด
ย่อมเป็นที่เข้าใจกัน แต่คำาบางคำาไปมีความหมายอย่างอื่น ไม่ตรงตามคำา
เดี่ยวที่นำามาประสมกัน เช่น สามเกลอ
สามขา หมายถึง เครื่องใช้เพื่อตอกเสาเข็มด้วยแรงคน
คำาสมาส
เกิดจากคำาที่มีรูป เสียง และความหมายต่างกัน เมื่อนำามาสมาสจะตัด
พยางค์หรือย่นพยางค์ให้สั้นเข้า เช่น คำาว่า ชันษา มาจากคำาว่า ชนม
+พรรษา
ชนม หมาย
ถึง
การเกิด
พรรษา หมาย
ถึง
ปี
ชนม + พรรษา ได้คำา
ใหม่ คือ ชันษา
หมาย
ถึง
อายุ คำาประสมประเภท
นี้ ได้แก่
เดียงสา มาจาก เดียง+ภาษา
สถาผล มาจาก สถาพร+ผล
เปรมปรีดิ์ มาจาก เปรม+ปรีดา
คำาสมาส
คำาสมาสเป็นวิธีสร้างคำาในภาษาบาลีและสันสกฤต โดยนำาคำาตั้งแต่ ๒ คำา
ขึ้นไปมาประกอบกันคล้ายคำาประสม แต่คำาที่นำามาประกอบแบบคำาสมาสนั้น
นำามาประกอบหน้าศัพท์ การแปลคำาสมาสจึงแปลจากข้างหลังมาข้างหน้า
เช่น
บรม (ยิ่งใหญ่) +
ครู
= บรมครู (ครูผู้ยิ่งใหญ่)
สุนทร (ไพเราะ) +
พจน์ (คำาพูด)
= สุนทรพจน์ (คำาพูดที่
ไพเราะ)
การนำาคำามาสมาสกัน อาจเป็นคำาบาลีสมาสกับบาลี สันสกฤตสมาสกับ
สันสกฤต หรือบาลี สมาสกับสันสกฤตก็ได้
การเรียงคำาตามแบบสร้างของคำาสมาส
๑. ถ้าเป็นคำาที่มาจากบาลีและสันสกฤต ให้เรียงบทขยายไว้ข้างหน้า
เช่น
อุทกภัย หมายถึง ภัยจากนำ้า
อายุขัย หมายถึง สิ้นอายุ
๒. ถ้าพยางค์ท้ายของคำาหน้าประวิสรรชนีย์ ให้ตัดวิสรรชนีย์ออก เช่น
ใบความรู้ลักษณะเฉพาะของภาษาไทยการสร้างคำ
ใบความรู้ลักษณะเฉพาะของภาษาไทยการสร้างคำ
ใบความรู้ลักษณะเฉพาะของภาษาไทยการสร้างคำ
ใบความรู้ลักษณะเฉพาะของภาษาไทยการสร้างคำ
ใบความรู้ลักษณะเฉพาะของภาษาไทยการสร้างคำ
ใบความรู้ลักษณะเฉพาะของภาษาไทยการสร้างคำ
ใบความรู้ลักษณะเฉพาะของภาษาไทยการสร้างคำ

Contenu connexe

Tendances

สื่อ Powerpoint รสวรรณคดีใหม่.ppt1
สื่อ Powerpoint รสวรรณคดีใหม่.ppt1สื่อ Powerpoint รสวรรณคดีใหม่.ppt1
สื่อ Powerpoint รสวรรณคดีใหม่.ppt1
krubuatoom
 
ภาษาพูด ภาษาเขียน
ภาษาพูด ภาษาเขียนภาษาพูด ภาษาเขียน
ภาษาพูด ภาษาเขียน
monnawan
 
ข้อสอบอ่านจับใจความสำคัญ ป.6
ข้อสอบอ่านจับใจความสำคัญ ป.6ข้อสอบอ่านจับใจความสำคัญ ป.6
ข้อสอบอ่านจับใจความสำคัญ ป.6
sapatchanook
 
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]
Nongkran_Jarurnphong
 
ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษา
wattanaka
 
วิเคราะห์หลักสูตรวิทยาศาสตร์ ป 3
วิเคราะห์หลักสูตรวิทยาศาสตร์ ป 3วิเคราะห์หลักสูตรวิทยาศาสตร์ ป 3
วิเคราะห์หลักสูตรวิทยาศาสตร์ ป 3
Mam Chongruk
 
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 (ม.4).1
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 (ม.4).1ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 (ม.4).1
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 (ม.4).1
Sivagon Soontong
 

Tendances (20)

จังหวัดกับตัวสะกด
จังหวัดกับตัวสะกดจังหวัดกับตัวสะกด
จังหวัดกับตัวสะกด
 
สื่อ Powerpoint รสวรรณคดีใหม่.ppt1
สื่อ Powerpoint รสวรรณคดีใหม่.ppt1สื่อ Powerpoint รสวรรณคดีใหม่.ppt1
สื่อ Powerpoint รสวรรณคดีใหม่.ppt1
 
ภาษาพูด ภาษาเขียน
ภาษาพูด ภาษาเขียนภาษาพูด ภาษาเขียน
ภาษาพูด ภาษาเขียน
 
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิ
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิแบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิ
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิ
 
ข้อสอบอ่านจับใจความสำคัญ ป.6
ข้อสอบอ่านจับใจความสำคัญ ป.6ข้อสอบอ่านจับใจความสำคัญ ป.6
ข้อสอบอ่านจับใจความสำคัญ ป.6
 
เล่มที่ 1 2 slideshare
เล่มที่ 1 2 slideshareเล่มที่ 1 2 slideshare
เล่มที่ 1 2 slideshare
 
4 160303102036-161109130549
4 160303102036-1611091305494 160303102036-161109130549
4 160303102036-161109130549
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อาชีพ
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อาชีพแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อาชีพ
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อาชีพ
 
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]
 
ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษา
 
Ordinal number (จำนวนนับ)
Ordinal number (จำนวนนับ)Ordinal number (จำนวนนับ)
Ordinal number (จำนวนนับ)
 
การสร้างคำ
การสร้างคำการสร้างคำ
การสร้างคำ
 
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
 
1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)
1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)
1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)
 
ใบความรู้การใช้ประโยคเพื่อสื่อสาร
ใบความรู้การใช้ประโยคเพื่อสื่อสารใบความรู้การใช้ประโยคเพื่อสื่อสาร
ใบความรู้การใช้ประโยคเพื่อสื่อสาร
 
วิเคราะห์หลักสูตรวิทยาศาสตร์ ป 3
วิเคราะห์หลักสูตรวิทยาศาสตร์ ป 3วิเคราะห์หลักสูตรวิทยาศาสตร์ ป 3
วิเคราะห์หลักสูตรวิทยาศาสตร์ ป 3
 
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 (ม.4).1
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 (ม.4).1ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 (ม.4).1
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 (ม.4).1
 
แบบฝึกทักษะเรื่อง การแต่งโคลงสี่สุภาพ ชุดที่ ๑๐ เรื่อง กลวิธีในการแต่งโคลง...
แบบฝึกทักษะเรื่อง  การแต่งโคลงสี่สุภาพ  ชุดที่ ๑๐  เรื่อง กลวิธีในการแต่งโคลง...แบบฝึกทักษะเรื่อง  การแต่งโคลงสี่สุภาพ  ชุดที่ ๑๐  เรื่อง กลวิธีในการแต่งโคลง...
แบบฝึกทักษะเรื่อง การแต่งโคลงสี่สุภาพ ชุดที่ ๑๐ เรื่อง กลวิธีในการแต่งโคลง...
 
ระดับของภาษา
ระดับของภาษาระดับของภาษา
ระดับของภาษา
 
ใบงานที่ 1 เรื่องคำนาม
ใบงานที่ 1  เรื่องคำนามใบงานที่ 1  เรื่องคำนาม
ใบงานที่ 1 เรื่องคำนาม
 

Similaire à ใบความรู้ลักษณะเฉพาะของภาษาไทยการสร้างคำ

ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษา
wattanaka
 
ครั้ง๗
ครั้ง๗ครั้ง๗
ครั้ง๗
vp12052499
 
ภาษาไทย
ภาษาไทยภาษาไทย
ภาษาไทย
vp12052499
 
หลักภาษา
หลักภาษาหลักภาษา
หลักภาษา
sukuman139
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทย
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทยโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทย
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทย
Nook Kanokwan
 
การใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ (1)
การใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ (1)การใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ (1)
การใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ (1)
Thanit Lawyer
 
การใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ
การใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพการใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ
การใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ
Anan Pakhing
 
การใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ
การใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพการใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ
การใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ
Thanit Lawyer
 
อุปกรณ์การประพันธ์
อุปกรณ์การประพันธ์อุปกรณ์การประพันธ์
อุปกรณ์การประพันธ์
Kalasom Mad-adam
 
อุปกรณ์การประพันธ์
อุปกรณ์การประพันธ์อุปกรณ์การประพันธ์
อุปกรณ์การประพันธ์
Kalasom Mad-adam
 
ภาษาไทย
ภาษาไทยภาษาไทย
ภาษาไทย
guestd57bc7
 

Similaire à ใบความรู้ลักษณะเฉพาะของภาษาไทยการสร้างคำ (20)

การสร้างคำ
การสร้างคำการสร้างคำ
การสร้างคำ
 
ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษา
 
สรุปย่อ หลักภาษาไทย
สรุปย่อ หลักภาษาไทย สรุปย่อ หลักภาษาไทย
สรุปย่อ หลักภาษาไทย
 
ภาษาไทย
ภาษาไทยภาษาไทย
ภาษาไทย
 
Intro computer
Intro  computerIntro  computer
Intro computer
 
ครั้ง๗
ครั้ง๗ครั้ง๗
ครั้ง๗
 
ภาษาไทย
ภาษาไทยภาษาไทย
ภาษาไทย
 
หลักภาษา
หลักภาษาหลักภาษา
หลักภาษา
 
คำสมาส
คำสมาสคำสมาส
คำสมาส
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทย
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทยโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทย
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทย
 
การใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ (1)
การใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ (1)การใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ (1)
การใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ (1)
 
การใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ
การใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพการใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ
การใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ
 
การใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ
การใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพการใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ
การใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ
 
อุปกรณ์การประพันธ์
อุปกรณ์การประพันธ์อุปกรณ์การประพันธ์
อุปกรณ์การประพันธ์
 
อุปกรณ์การประพันธ์
อุปกรณ์การประพันธ์อุปกรณ์การประพันธ์
อุปกรณ์การประพันธ์
 
Korat
KoratKorat
Korat
 
ภาษาไทย
ภาษาไทยภาษาไทย
ภาษาไทย
 
thai Research
thai  Researchthai  Research
thai Research
 
Thai
ThaiThai
Thai
 
Thai
ThaiThai
Thai
 

Plus de ห้องเรียน ภาษาไทยออนไลน์

Plus de ห้องเรียน ภาษาไทยออนไลน์ (20)

ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วงใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
 
ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์
ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์
ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์
 
ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์
ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์
ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์
 
ใบความรู้เรื่องระบบคำยืม
ใบความรู้เรื่องระบบคำยืมใบความรู้เรื่องระบบคำยืม
ใบความรู้เรื่องระบบคำยืม
 
รายงาน
รายงานรายงาน
รายงาน
 
งานนำเสนอ
งานนำเสนองานนำเสนอ
งานนำเสนอ
 
ใบความรู้คติชาวบ้านและเพลงกล่อมเด็ก
ใบความรู้คติชาวบ้านและเพลงกล่อมเด็กใบความรู้คติชาวบ้านและเพลงกล่อมเด็ก
ใบความรู้คติชาวบ้านและเพลงกล่อมเด็ก
 
ใบความรู้ เรื่อง ภาษิตใต้
ใบความรู้ เรื่อง  ภาษิตใต้ใบความรู้ เรื่อง  ภาษิตใต้
ใบความรู้ เรื่อง ภาษิตใต้
 
ใบความรู้ การแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์
ใบความรู้ การแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์ใบความรู้ การแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์
ใบความรู้ การแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์
 
พฤติกรรมมาโรงเรียนสาย
พฤติกรรมมาโรงเรียนสายพฤติกรรมมาโรงเรียนสาย
พฤติกรรมมาโรงเรียนสาย
 
คู่มือวิธีใช้Wordpress
คู่มือวิธีใช้Wordpressคู่มือวิธีใช้Wordpress
คู่มือวิธีใช้Wordpress
 
ใบความรู้วรรณกรรมท้องถิ่น
ใบความรู้วรรณกรรมท้องถิ่นใบความรู้วรรณกรรมท้องถิ่น
ใบความรู้วรรณกรรมท้องถิ่น
 
การโน้มน้าวใจ
การโน้มน้าวใจการโน้มน้าวใจ
การโน้มน้าวใจ
 
การสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทยการสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทย
 
ใบความรู้การสร้างคำในภาษาไทย
ใบความรู้การสร้างคำในภาษาไทยใบความรู้การสร้างคำในภาษาไทย
ใบความรู้การสร้างคำในภาษาไทย
 
ธรรมชาติของภาษาออนไลน์
ธรรมชาติของภาษาออนไลน์ธรรมชาติของภาษาออนไลน์
ธรรมชาติของภาษาออนไลน์
 
กระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค
กระบวนเรือพยุหยาตราชลมารคกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค
กระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค
 
แบบเขียนรายงานทางวิชาการ
แบบเขียนรายงานทางวิชาการแบบเขียนรายงานทางวิชาการ
แบบเขียนรายงานทางวิชาการ
 
ใบความรู้ ลักษณะภาษาไทย
ใบความรู้ ลักษณะภาษาไทยใบความรู้ ลักษณะภาษาไทย
ใบความรู้ ลักษณะภาษาไทย
 
ใบความรู้ หนังตะลุง ม52
ใบความรู้  หนังตะลุง ม52ใบความรู้  หนังตะลุง ม52
ใบความรู้ หนังตะลุง ม52
 

ใบความรู้ลักษณะเฉพาะของภาษาไทยการสร้างคำ

  • 1. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 1 ลักษณะเฉพาะของภาษาไทย ภาษาไทยมีลักษณะเฉพาะของตนเองแตกต่างจากภาษาอื่น และการที่ จะใช้ภาษาไทยให้ได้ผลกับความมุ่งหมาย จะต้องรู้จักภาษาไทยอย่างถ่องแท้ เสียก่อน ดังจะกล่าวต่อไปนี้ 1. ภาษาไทยมีตัวอักษรเป็นของตนเอง ซึ่งตัวอักษรที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมี ดังนี้ 1.1 ตัวอักษรแทนเสียงแท้ คือ สระ มีรูป 21 รูป เช่น /-ะ / วิสรรชนีย์ ,/ -า / ลากข้าง 1.2 ตัวอักษรแทนเสียงแปร คือ พยัญชนะ มี 44 ตัว เช่น ก , ข , ฃ , ค 1.3 ตัวอักษรแทนเสียงดนตรี คือ วรรณยุกต์ มี 5 เสียง 4 รูป 1.4 ตัวอักษรแทนจำานวน คือ ตัวเลข ได้แก่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๐ 2 . ภาษาไทยแท้เป็นมักมีพยางค์เดียว คำาพยางค์เดียว มีความหมายที่ เข้าใจได้ทันที เช่น พ่อ , แม่ , นั่ง , นอน , เดิน , เสือ , ลิง ฯลฯ 3 . ภาษาไทยแท้มีตัวสะกดตรงตามมาตรา มาตราตัวสะกดมี 9 มาตรา คือ คำาไทยแท้จะมีตัวสะกดตามมาตราและไม่มีการันต์ ดังนี้ แม่กก ใช้ “ ก ” เป็นตัวสะกด แม่กด ใช้ “ ด ” เป็นตัวสะกด แม่กบ ใช้ “ บ ” เป็นตัวสะกด แม่กง ใช้ “ ง ” เป็นตัวสะกด แม่กม ใช้ “ ม ” เป็นตัวสะกด แม่กน ใช้ “ น ” เป็นตัวสะกด แม่เกย ใช้ “ ย ” เป็นตัวสะกด แม่เกอว ใช้ “ ว ” เป็นตัวสะกด แม่ /อ , ? / คือ ไม่มีตัวสะกด ในพยางค์สระเสียงสั้น เช่น กะ ติ เตะ และคำาที่ไม่มีตัวสะกด เราเรียกว่า แม่ ก.กา เช่น มา , ดี ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีคำาไทยที่ยืมมาจากภาษาอื่น จะสังเกตได้จากการเขียน ตัวสะกดตามรูปเดิมภาษาเดิม แต่การออกเสียงจะออกเสียงตามมาตราตัว สะกดของไทย เช่น แม่กก : ข ค ฆ ตัวอย่าง เลข โรค เมฆ แม่กด : จ ร ซ ฏ ฐ ท ตัวอย่าง กิจ ราช ก๊าซ ชัฏ รัฐ บาท แม่กบ : ป พ ฟ ภ ตัวอย่าง รูป ภาพ กราฟ ลาภ แม่กน : ณ ญ ร ล ฬ ตัวอย่าง คุณ บุญ การ กาล กาฬ 4. ภาษาไทยมีรูปสระวางไว้หลายตำาแหน่ง - ข้างหน้าพยัญชนะ เช่น ไป , เสแสร้ง - ข้างหลังพยัญชนะ เช่น จะ , มา - ข้างบนพยัญชนะ เช่น ดี , กัน - ข้างล่างพยัญชนะ เช่น ครู , สู้ - ทั้งข้างหน้าและข้างหลัง เช่น เขา , เธอ - ทั้งข้างหน้าและข้างบน เช่น เป็น , เสียง , คิด 5. ภาษไทยเป็นภาษาคำาโดดมีความหมายหลายอย่าง จะสังเกตความ หมายบริบท คำาทำาหน้าที่ต่างกันความหมายก็ต่างกัน เช่น
  • 2. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 2 “ เขาสนุกสนาน กัน ในห้องนั้น แต่น่าแปลกใจว่าทำาไมเขา กัน ไม่ให้ กัน เข้าไปในห้อง ”คำาว่า “ กัน ” ทั้ง 3 คำา มีความหมายต่างกันดังนี้ “ กัน ” คำาที่หนึ่ง เป็นสรรพนาม แสดงจำานวนประมาณว่ามากกว่าหนึ่ง “ กัน ” คำาที่สอง เป็นกริยา หมายถึงการขัดขวาง “ กัน ” คำาที่สาม เป็นสรรพนาม แสดงถึงผู้พูดแทนคำาว่า “ ฉัน ” (ชื่อคน) 6. ภาษาไทยมีความประณีต มีคำาที่มีความหมายหลักเหมือนกัน แต่มีความ หมายเฉพาะต่างกัน ตัวอย่างเช่น การทำาให้ขาดจากกัน มีคำาว่า ตัด หั่น แล่ เชือด เฉือน สับ ฯ การทำาอาหารให้สุก มีคำาว่า ปิ้ง ย่าง ต้ม ตุ๋น ทอด ฯ บุพบทบอกสถานที่ (ที่ติดกัน) มีคำาว่า ใกล้ ชิด แนบ ข้างฯ การเลือกใช้คำาในการเขียนหรือการพูดจะต้องเลือกให้ถูก ถ้าเลือกผิด ความ หมายก็จะเปลี่ยนไปด้วย 7. ภาษาไทยเป็นภาษาเรียงคำา การเปลี่ยนตำาแหน่งของคำา ความหมายของ คำาก็จะเปลี่ยนไปด้วย เช่น -พ่อแม่ เลี้ยง ลูก - ลูกเลี้ยงพ่อแม่ 8. ภาษาไทยมีคำาบางคำาที่มีเสียงสัมพันธ์กับความหมาย -คำาที่ประสมสระเอ มักจะมีความหมายไปในทางที่ไม่ตรง เช่น เข เก เป๋ โซเซ -คำาที่ประสมสระออ มี “ ม ” หรือ “ น ” สะกด จะมีความหมายไปในทางงอ หรือโน้มเข้าหากัน เช่น งอนง้อ อ้อมค้อม น้อม อ้อม ฯลฯ 9. ภาษาไทยเป็นภาษาดนตรี ภาษาไทยมีอัจฉริยลักษณะน่าสนใจ ก็คือ การเปลี่ยนระดับเสียงของคำา หรือ “ วรรณยุกต์ ” ทำาให้ภาษาไทยมีลักษณะ พิเศษดังต่อไปนี้ 9.1 มีคำาใช้มากขึ้น เพราะมีการเปลี่ยนระดับเสียง และก็มีการเปลี่ยนความ หมาย ตัวอย่างเช่น ขาว หมายถึง สีชนิดหนึ่ง , กระจ่างแจ้ง ข่าว หมายถึง คำาบอกเล่า ข้าว หมายถึง พืชที่ใช้เมล็ดเป็นอาหาร 9.2 มีความไพเราะ ระดับเสียงต่าง ๆ ของคำาทำาให้เกิดเป็นเสียงดนตรี จัดอยู่ ในจำาพวกภาษาดนตรี (Musical language) ถ้าผู้ใช้เลือกคำาให้เหมาะจะ เกิดเสียงไพเราะและเกิดมโนภาพชัดเจน ตัวอย่างเช่น “ ตะลึงเหลียวเปลี่ยวเปล่าให้เหงาหงิม สุชลปริ่มเปี่ยมเหยาะเผาะเผาะผอย ” การใช้เสียงสูงตำ่าสลับกันทำาให้เกิดความไพเราะ ด้วยเหตุนี้คนไทยจึง ประพันธ์บทร้อยกรองได้จนได้ชื่อว่าเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน 9.3 มีจังหวะและคำาคล้องจอง ภาษาไทยเป็นภาษาคำาโดด แต่ละคำาตัดจาก กันได้โดยไม่เสียความหมายจึงสามารถเขียนหรือออกเสียงให้เป็นจังหวะได้ จึงทำาให้ภาษาไทยทั้งเขียนทั้งพูดไพเราะยิ่งขึ้น ไม่ใช่แต่ในคำาประพันธ์ เท่านั้น แม้ภาษาความเรียงก็มีจังหวะและความคล้องจองได้ ตัวอย่างเช่น • ฉันได้รับ / จดหมาย / ของเธอแล้ว
  • 3. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 3 • ฉันมีธุระ / จะต้องรีบไป • เร็ว / เข้าหน่อย • ใครดี / ก็ว่าดี / มีอะไร / ก็ว่ามา • ฉันก็รู้อยู่แน่ว่า / เขาจะไม่ค้าน / แต่มันก็สะท้านชอบกล 9.4 มีการเลียนเสียงธรรมชาติและเลียนสำาเนียงภาษาได้ทุกภาษา ภาษาไทย มีพยัญชนะสามพวก คือ ไตรยางค์ และยังมีรูปวรรณยุกต์ทำาให้มีเสียงสูงตำ่า จึงเลียนเสียงต่าง ๆ ได้ใกล้เคียงที่สุด การพูดภาษาต่างประเทศ คนไทยก็ ออกเสียงได้ใกล้เคียงเจ้าของภาษามาก เช่น เต้าเจี้ยว , ตั้งฉ่าย (จีน) ฟุตบอล , ชิลลิง (อังกฤษ) ซังติม , กาแฟ (ฝรั่งเศส) ฉับ , สรง (เขมร) ฟูจิ , ปิ่นโต (ญี่ปุ่น) การใช้คำาเลียนเสียงธรรมชาติทำาให้เกิดภาพพจน์อย่างดียิ่ง -ฟ้าร้อง ครืน ๆ ลูกไก่ร้อง เจี๊ยบ ๆ ฝนตก จั้ก ๆ ระฆังดัง เหง่งหง่าง 10. ภาษาเขียนมีวรรคตอน ภาษาพูดมีจังหวะ ภาษาไทยมีวิธีเขียนคำาต่อกัน ไม่มีการเว้นระยะระหว่างคำา เมื่อจบความจึงมีการเว้นวรรค วรรคตอนจึงเป็น เรื่องสำาคัญในภาษาไทย การเขียนถ้าเว้นวรรคตอนผิด ความหมายก็จะ เปลี่ยนไป การพูดก็ต้องเว้นจังหวะให้ถูกที่เช่นกัน ถ้าหยุดผิดจังหวะ ความ หมายก็จะเปลี่ยนไป ตัวอย่างเช่น - พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียพันตำาลึงทอง หมายถึง นิ่งเสียดีกว่าพูด - พูดไปสองไพเบี้ย นิ่ง เสียพันตำาลึงทอง หมายถึง ยิ่งนิ่งยิ่งเสียหายมาก - ยานี้ดี กินแล้วแข็ง แรงไม่มี โรคภัยเบียดเบียน - ยานี้ดี กินแล้วแข็งแรง ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน - ไม่เจอกันนานนม เธอโตขึ้นเป็นกอง - ไม่เจอกันนาน นมเธอ โตขึ้นเป็นกอง 11. ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีลักษณนาม ลักษณนามคือนามที่บอกลักษณะ ของนามข้างหน้า ตัวอย่างเช่น 11.1 ลักษณนามใช้ตามหลังจำานวนนับ เพื่อบอกให้รู้ลักษณะต่าง ๆ ของ นามนั้น เช่น • ผ้า ๒ ผืน • ผ้า ๒ พับ • ผ้า ๒ ม้วน คำาว่า ผืน , พับ , ม้วน บอกลักษณะของผ้าว่าต่างกันอย่างไร เป็นคำาที่แสดง ให้เห็นภาพอย่างชัดเจน 11.2 ใช้ตามหลังนามเมื่อต้องการเน้นหนักและบอกให้รู้ลักษณะ เช่น • ฉันต้องการแหวนวงนั้น • กระดาษ รีมหนึ่งมีกี่ แผ่น • นำ้าอัดลมขวดใหญ่ราคากี่บาท ลักษณนามทำาให้เราเข้าใจลักษณะการมองเห็นภาพของนามข้างหน้า ภาษา ไทยมีลักษณะที่แปลกจากภาษาอื่น เราจึงควรรักษาไว้เป็นเอกลักษณ์ของ
  • 4. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 4 ภาษา 12. ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับของคำา แบ่งเป็น 12.1 ราชาศัพท์ เป็นวัฒนธรรมมาแต่โบราณ ได้รับการยกย่องไปในนานา ประเทศ ในเรื่องการคารวะผู้มีอาวุโส แสดงออกทั้งทางกิริยามารยาทและการ ใช้ภาษา บุคคลในสังคมย่อมต่างกันด้วยวัย วุฒิ ลำาดับญาติ ลำาดับชั้น ปกครอง ภาษาไทยมีอัจฉริยลักษณะอย่างหนึ่งคือ การใช้คำาเหมาะแก่บุคคล จน มีผู้กล่าวว่า “ คนไทยพูดกันแม้ไม่เห็นตัวก็ทราบได้ทันทีว่าผู้พูด ผู้ฟัง เป็น หญิงหรือชาย เด็กหรือผู้ใหญ่ ” เพราะการใช้ถ้อยคำา จะบ่งบอกไว้ชัดเจน เป็นความงดงามทั้งในทางภาษา วัฒนธรรม และสังคม ในทางภาษาจะได้ เห็นศิลปะของการใช้ภาษา ในทางสังคมจะได้เห็นวัฒนธรรมขนบประเพณี 12.2 มีคำาบอกลักษณะโดยเฉพาะ ตัวอย่าง ล้าง = ทำาให้สะอาด ชำาระด้วยนำ้า ใช้กับคนทั่ว ๆ ไป แต่เมื่อใช้กับ “ ผม ” ต้องใช้ สระผมเมื่อใช้กับ “ เสื้อผ้า ” ต้องใช้ ซักเสื้อผ้า ความมีชื่อเสียง = ในทางดี “ ลือชาปรากฏ , ”โด่งดัง ในทางไม่ดี = “อื้อฉาว , ”กระฉ่อน 12.3 ภาษาธรรมดากับภาษากวี คำาที่นำามาจากภาษาอื่นมีความหมายอย่าง เดียวกับคำาไทย จะนำามาใช้ในคำาประพันธ์ เช่น หญิง = สตรี กานดา กัลยา นงคราญ นงนุช นุชนาฏ นงพะงา พนิต ยุพยง เยาวเรศ บังอร อนงค์ ฯลฯ อาทิตย์ = ตะวัน ไถง ทินกร ทิพากร ภาณุมาศ สุรีย์ รวิ อาภากร สุริยัน ฯลฯ 13. ภาษาไทยมีคำาพ้องเสียงพ้องรูป แบ่งเป็น 13.1 คำาพ้องเสียง เช่น 1) กาน - ตัดให้เตียน การณ์ – เหตุ กาฬ - ดำา กานต์ - เป็นที่รัก กาล – เวลา กานท์ – บทกลอน การ - กิจ งาน ธุระ 2) สัน - สิ่งที่มีลักษณะนูนสูง เป็นแนวยาว , ส่วนหนาของมีดหรือขวานที่อยู่ ตรงข้ามกับคม สรร - เลือก คัด สรรพ์ – ทั้งหมด สรรค์ – สร้าง สันต์ - สงบ สันทน์ – พูดจา ศัลย์ - ลูกศร ของมีปลายแปลม ( เช่น ศัลยแพทย์ - แพทย์ ผ่าตัด) สัณฑ์ - ที่รก ที่ทึบ สัณห์ - ละมุนละม่อม สุภาพ นิ่มนวล 13.2 คำาพ้องรูป เช่น 1.) เรือนรก - เรือ-นรก = เรือที่ไม่ดี หรือที่มีการฆ่ากัน เรือน-รก = เรือนรกรุงรัง 2.) เพลา - เพ-ลา = เวลา เพลา = เบา ๆ หรือตัก 3.) ตากลม - ตาก-ลม = นั่งเล่น ตา-กลม = นัยน์ตา-กลม 4.) ขอบอกขอบใจ - ขอ-บอก-ขอบ-ใจ = บอกขอบใจ ขอบ-อก-ขอบ-ใจ = คำาซ้อนเน้นความ คำาพ้องรูป มีความสำาคัญในเรื่องการออกเสียง ถ้าออกเสียงผิดความหมายจะ
  • 5. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 5 ผิดพลาดตามไปด้วย 14 . ภาษาไทยมักจะละคำาบางคำา ( ส่วนมากเป็นภาษาพูด) เช่น 1.) โต๊ะสองตัวนี้ของเธอ โต๊ะของเธอสองตัวนี้ ละคำาว่า “ คือ ” หรือ “ เป็น ” สองตัวนี้โต๊ะของเธอ 2.) ฉันไปโรงเรียนเวลา 8.00 น. = ละคำาบุรพบท “ ที่ ” หรือ “ ถึง ” ฯลฯ 15. ภาษาพูดมีคำาเสริมแสดงความสุภาพ ภาษาพูดมีคำาเสริมท้ายประโยค เช่น แสดงความสุภาพ เช่น เถิด ซิ นะจ๊ะ คะ ครับ ฯลฯ แสดงความไม่สุภาพ เช่น โว้ย ฯลฯ แสดงความรู้สึก เช่น นะจ๊ะ โอ้ โอ้ย เอ๊ะ ฯลฯ 16. การลงเสียงหนักเบาทำาให้หน้าที่ของคำาเปลี่ยนไป การออกเสียงใน ภาษาไทยที่มีเสียงหนักเบาไม่เท่ากันทุกพยางค์ ทั้งที่เป็นคำาไทยแท้และคำา ที่มาจากภาษาอื่น การออกเสียงหนักเบายังอาจแยกให้เห็นความหมายที่แตก ต่างกันได้ เพราะทำาหน้าที่ผิดกัน เช่น - ถ้ามัน เสีย ก็แก้ เสีย ให้ดี “ เสีย ” คำาแรก เป็นคำากริยา ลงเสียงหนัก หมายถึง “ เสื่อมคุณภาพ ” “ เสีย ” คำาหลัง เสียงเบา เป็นคำาวิเศษณ์ เสริมเพื่อเน้นความหมาย “ ให้เสร็จ ไป ” ในการพูดจึงต้องระมัดระวังในการออกเสียงหนักเบาให้ถูกต้อง 17. การสร้างคำา ภาษาทุกภาษาย่อมมีการขยายตัวตามความเจริญของ มนุษย์ เมื่อสังคมกว้างขึ้นภาษาก็ต้องขยายตัวไปตามความต้องการของ มนุษย์ การสร้างคำาใหม่ตามแบบภาษาไทย มีอยู่ 3 แบบด้วยกันคือ 17.1. คำาซำ้า 17.2. คำาซ้อน 17.3. คำาประสม การสร้างคำาในภาษาไทย คำามูล หมายถึง คำาคำาเดียวที่ไม่ได้ประสมกับคำาอื่น มีลักษณะดังนี้คือ 1. มีความหมายสมบูรณ์ในตัว 2. มีมาแต่เดิมในทุกภาษา 3. อาจมีพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ เช่น แม่ กรรม ฉัน เหนือ ว้าย ป้า แดง ดำา แบตเตอรี่ สับปะรด ข้อสังเกตเกี่ยวกับคำามูล 1. คำามูลในภาษาไทยมักเป็นคำาพยางค์เดียวสะกดตรงตัวไม่มีคำาควบ กลำ้าหรือการันต์ 2. คำามูลหลายพยางค์ เมื่อแยกออกแต่ละพยางค์จะไม่มีความหมาย หรือความหมายไม่เกี่ยวข้องกับคำามูลนั้น ๆ การสร้างคำาใหม่ตามแบบ ภาษาไทย มีอยู่ 3 แบบด้วยกันคือ
  • 6. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 6 1. คำาซำ้า 2. คำาซ้อน 3. คำาประสม คำาซำ้า คำาซำ้า คือ คำาเดียวกันนำามากล่าว 2 ครั้ง มีความหมายเน้นหนักหรือ บางทีต่างกันไป หรือคำาที่เพิ่มขึ้นโดยออกเสียงให้ต่อเนื่องกัน ถือว่าเป็นคำา สร้างใหม่ มีความหมายใหม่ ลักษณะของคำาซำ้า 1. ซำ้าคำานาม แสดงพหูพจน์ บอกว่านามนั้นมีจำานวนมากกว่าหนึ่ง ได้แก่ เด็กๆ หนุ่มๆ สาวๆ เช่น เห็นเด็กๆ เล่นอยู่ในสนาม มีแต่หนุ่มๆ สาวๆ เดินไปเดินมา 2. ซำ้าคำาขยายนาม แสดงพหูพจน์์ เช่น ฉันให้เสื้อดีๆ เขาไป เสื้อตัวนี้ยังดีๆ อยู่ มีแต่ปลาเป็นๆ บางทีเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ เช่น ดี๊ดี เก๊าเก่า บ๊าบ้า ร๊ายร้าย ซ้วยสวย 3. คำาซำ้าที่แสดงความไม่เจาะจง เช่น มะม่วงเล็ก แสดงว่า เล็กแน่ไม่ เป็นอื่น แต่ถ้าหากใช้คำาซำ้าว่า ลูกเล็กๆ แสดงว่าอาจจะไม่เล็กทั้งหมด มีเล็กบ้างใหญ่ บ้าง แต่ส่วนมากเห็นแต่ลูกเล็กๆ คำาอื่นๆ เช่น เสื้อสีแดงๆ แสดงว่าไม่แดงที เดียว แต่มีลักษณะไปทางแดงพอจะเรียกว่า แดง ได้ หรือกลมๆ เช่น ผลไม้ ลูกกลมๆ อาจจะไม่กลมดิก แต่ค่อนไปทางกลมอย่างไข่เป็นต้น คำาซำ้าซ้อนกัน 2 คู่ ลักษณะเช่นนี้ก็มี เช่น สวยๆ งามๆ ผิดๆ ถูกๆ ความหมายเจาะจงน้อยกว่า สวยงาม ผิดถูก 4. ซำ้าคำานามหรือคำาบอกจำานวนนับ จะแยกความหมายออกเป็น ส่วนๆ เช่น ชั่งเป็นกิโลๆ (ชั่งทีละกิโล และมีมากกว่ากิโลหนึ่ง) ตรวจเป็นบ้านๆ ไป (ตรวจทีละบ้าน แต่มีหลายบ้าน) ซื้อเป็นร้อยๆ (ซื้อหลายร้อย แต่ชั่งหรือนับกันทีละร้อย) แตกเป็นเสี่ยงๆ (แตกออกหลายชิ้น แต่ละชิ้นกระจัดกระจายกันไป) น่าสังเกตว่า ทำาเป็นวันๆ กับ ทำาไปวันๆ มีความหมายต่างกันคือ ทำาเป็นวันๆ หมายความว่า ทำาวันหนึ่งก็ได้ค่าจ้างทีหนึ่ง ทีละวันๆ ไป ส่วน ทำาไปวันๆ คือ ทำางานให้พ้นๆ ทีละวันๆ ไป 5. ซำ้าบุรพบท หรือคำาขยาย ใช้ขยายกริยาบอกความเน้น เมื่อเป็น คำาสั่ง ซำ้าคำาบุรพบท ได้แก่ เขียนกลางๆ นั่งในๆ เย็บตรงริมๆ หยิบบนๆ วางใต้ๆ ซำ้าคำาขยาย ได้แก่ เขียนดีๆ พูดดังๆ เดินเร็วๆ วิ่งช้าๆ 6. ซำ้าจากคำาซ้อน 2 คู่ ใช้เป็นคำาขยายบอกความเน้น เช่น ออดๆ แอดๆ แสดงว่าป่วยไข้เสมอยิ่งกว่า ออดแอด ง่อกๆ แง่กๆ ดูจะไม่มั่งคงยิ่ง กว่า ง่อกแง่ก
  • 7. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 7 ข้อควรสังเกต 1.คำาที่มีเสียงซำ้ากันบางครั้งไม่ใช่คำาซำ้า ได้แก่ เขาพูดกันไปต่าง ๆ นานา ฉันเห็นเขาจะจะเลย ทั้ง 2 คำานี้เป็นคำามูลสองพยางค์ จะไม่ใช้ไม้ยมก 2. คำาที่มีความหมายและหน้าที่ในประโยคต่างกันไม่ใช่คำาซำ้า เช่น เมย์กำาลังใช้แปรงแปรงผ้าที่กำาลังซัก แปรง คำาแรกเป็นคำานาม แปรง คำาที่สอง เป็นคำากริยา คำาซ้อน คำาซ้อน (บางทีเรียก คำาคู่) คือ คำามูล 2 คำา ที่มีความหมายเหมือน คล้ายกันใกล้เคียงกัน ตรงกันข้าม หรือเป็นไปในทำานองเดียวกัน ซ้อนเข้าคู่ กัน เมื่อซ้อนแล้วจะมีความหมายใหม่เกิดขึ้น หรือมีความหมายและที่ใช้ต่าง ออกไป คำาซ้อนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ก. คำาซ้อนเพื่อความหมาย ข. คำาซ้อนเพื่อเสียง เจตนาในการซ้อนคำาก็เพื่อให้ได้คำาใหม่ มีความหมายใหม่ ถ้าซ้อนเพื่อ ความหมายก็มุ่งที่ความหมายเป็นสำาคัญ ถ้าซ้อนเพื่อเสียง ก็มุ่งที่เสียงเป็น สำาคัญ ก. คำาซ้อนเพื่อความหมาย วิธีสร้างคำาซ้อนเพื่อความหมาย 1. นำาคำามูลที่มีความหมายสมบูรณ์ มีที่ใช้ในภาษามาซ้อน เข้าคู่กัน คำาหนึ่งเป็นคำาต้น อีกคำาหนึ่งเป็นคำาท้าย คำาต้นกับคำาท้ายมีความหมายคล้าย กัน ใกล้เคียงกัน หรือไปในทำานองเดียวกัน อาจเป็น คำาไทยด้วยกันหรือคำาต่าง ประเทศด้วยกันหรือเป็นคำาไทยกับคำาต่างประเทศซ้อนกันเข้ากันก็ได้ 2. ซ้อนกันแล้วเกิดความหมายใหม์่ อาจไม่เปลี่ยนไปจาก ความหมายเดิมมากนัก หรืออาจเปลี่ยนไปมาก ความหมายใหม่เกี่ยวเนื่อง กับความหมายเดิม พอเห็นเค้าความหมายได้ ประโยชน์ของคำาซ้อนเพื่อความหมาย 1. ทำาให้ได้คำาใหม่หรือคำาที่มีความหมายใหม่ขึ้นในภาษา เช่น คำา แน่น กับ หนา 2 คำา อาจสร้างให้เป็น หนาแน่น แน่นหนา 2. ช่วยแปลความหมายของคำาที่นำามาซ้อนกัน คำาที่นำามาซ้อน กัน ต้องมีความหมายคล้ายกัน แบบแปลน เสื่อสาด 3. ช่วยทำาให้รู้หน้าที่ของคำาและความหมายของคำาได้สะดวก ขึ้น เช่น “ ”เขา อาจเป็นได้ทั้งนามและสรรพนาม ความหมายก็ต่างกันไปด้วย
  • 8. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 8 ถ้าซ้อนกันเป็น เขาหนัง (จับได้คาหนังคาเขา หรือในโคลงที่ว่าโคความวาย ชีพด้วยเขาหนัง) ย่อมรู้ได้ว่า เขา เป็นคำานาม แต่ถ้าซ้อนกันเป็น เขาเรา (เช่นที่พูดว่าถือเขาถือเรา) เช่นนี้ เขาต้องเป็นสรรพนาม หมายถึงผู้ที่เราพูด ถึง 4. ช่วยกำาหนดเสียงสูงตำ่า และทำาให้รู้ความหมายไปพร้อม กัน เช่น น้าอา หน้าตา หนาแน่น ลักษณะของคำาซ้อนเพื่อความหมายที่เป็นคำาไทยซ้อนด้วยกัน 1. ซ้อนแล้วความหมายจะปรากฏอยู่ที่คำาต้นหรือคำาท้าย เช่น ความหมายปรากฏอยู่ที่คำาต้น ได้แก่ คอเหนียง (ในความ คอเหนียงแทบหัก)ใจคอ (ในความ ใจคอไม่อยู่กับเนื้อ กับตัว) แก้มคาง (ในความ แก้มคางเปื้อนหมด) หัวหู (ในความ หัวหูยุ่ง) ความหมายปรากฏอยู่ที่คำาท้าย ได้แก่ หูตา (ในความ หูตาแวววาว) เนื้อตัว (ในความ เนื้อตัวมอมแมม) 2. ความหมายของคำาซ้อนปรากฏที่คำาใดคำาหนึ่ง เช่น ในข้อ 1 ต่างกันก็แต่คำาที่มาซ้อนเข้าคู่กันเป็นคำาตรงกันข้ามแทนที่จะมีความหมายต่อ เนื่องกับคำาตรงกันข้ามนั้นๆ กลับมีความหมายที่คำาใด คำาหนึ่งอาจเป็นคำาต้น ก็ได้คำาท้ายก็ได้ ปรากฏที่คำาต้น ได้แก่ ผิดชอบ (ในคำา ความรับผิดชอบ) ปรากฏที่คำาท้าย ได้แก่ ได้เสีย (เช่น เล่นไพ่ได้เสียกันคนละมากๆ) 3. ความหมายของคำาซ้อนที่ปรากฏอยู่ที่คำาทั้งสอง ทั้งคำาต้น และคำาท้าย แต่ความหมายต่างกับความหมายของคำาเดี่ยวอยู่บ้าง เช่น พี่น้อง หมายถึงผู้ที่อยู่ในวงศ์วานเดียวกันเป็นเชื้อสายเดียวกันใครอายุมาก นับเป็นพี่ ใครอายุน้อยนับเป็นน้อง ถ้าใช้คำาว่าพี่น้องท้องเดียวกัน จึงถือเป็น ผู้ร่วมบิดามารดาเดียวกัน ลูกหลาน มิได้หมายเจาะจงว่า ลูกและหลาน หรือลูกหรือหลาน 4. ความหมายของคำาซ้อนปรากฏเด่นอยู่ที่คำาเดียว ส่วนอีกคำา หนึ่งถึงจะไม่มีความหมายปรากฏ แต่ก็ช่วยเน้นความหมายยิ่งขึ้นเช่น เงียบเชียบ เชียบไม่มีความหมาย แต่ช่วยทำาให้คำา เงียบเชียบ มีความหมาย ว่า เงียบ มากยิ่งกว่า เงียบ คำาเดียว ดื้อดึง มีลักษณะ ดื้อ มากกว่า ดื้อดึง ขนาดใครว่าอย่างไรก็ไม่ฟังจะทำา ตามใจตนให้ได้ คล้ายคลึง มีลักษณะ เหมือน มากกว่า คล้าย 5. ความหมายของคำาซ้อนกับคำาเดี่ยวต่างกันไป บางคำาอาจ ถึงกับเปลี่ยนไปเป็นคนละความ ที่ใดควรใช้คำาเดียว กลับไปใช้คำาซ้อนหรือ กลับกัน ที่ใดควรใช้คำาซ้อนกลับไปใช้คำาเดี่ยว เช่นนี้ ความหมายย่อมผิดไป คำาซ้อนลักษณะนี้ได้แก่
  • 9. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 9 พร้อม กับ พร้อมเพรียง เช่น เด็กมีความพร้อมที่จะเรียน หมายความว่า ประสาทต่างๆ ถึงเวลาจะทำางานได้ครบถ้วน เพราะพร้อม แปลว่า เวลา เดียวกัน ครบครัน ฯลฯ หากใช้ว่าเด็กมีความพร้อมเพรียงที่จะเรียน ต้องหมายว่ามีความร่วมใจกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการเรียน แข็ง กับ แข็งแรง แข็งอาจใช้ได้ทั้งกายและใจ เช่น เป็นคนแข็งไม่ยอมอ่อน ข้อให้ใคร หรือใจแข็ง ไม่สงสาร ไม่ยอมตกลงด้วยง่ายๆ ส่วนแข็งแรง ใช้ แต่ทางกายไม่เกี่ยวกับใจ คนแข็งแรงคือคนร่างกายสมบูรณ์มีเรี่ยวแรงมาก 6. คำาซ้อนที่คำาต้นเป็นคำาเดียวกันแต่คำาท้ายต่างกัน ความ หมายย่อมต่างกันไป เช่น จัดจ้าน (ปากกล้า ปากจัด) กับ จัดเจน (สันทัด ชำานาญ) เคลือบแคลง (ระแวง สงสัย) กับ เคลือบแฝง (ชวนสงสัยเพราะความจริงไม่ กระจ่าง) ขัดข้อง (ติดชะงักอยู่ ไม่สะดวก) กับ ขัดขวาง (ทำาให้ไม่สะดวกไปได้ไม่ ตลอด) 7. ความหมายของคำาซ้อนขยายกว้างออก ไม่ได้จำากัดจำาเพาะ ความหมายของคำาเดี่ยวสองคำามาซ้อนกัน ได้แก่ เจ็บไข้ ไม่ได้จำากัดอยู่แต่เพียงเจ็บเพราะบาดแผลหรือฟกชำ้าและมีอาการ ความร้อนสูงเพราะพิษไข้ แต่หมายถึงอาการไม่สบายเพราะสุขภาพไม่ดีเรื่อง ใดๆ ก็ได้ ทุบตี หมายถึง ทำาร้ายด้วยวิธีการต่างๆ อันอาจเป็น เตะต่อย ทุบ ถอง ฯลฯ ไม่ ได้หมายเฉพาะทำาร้ายด้วยวิธีทุบและตีเท่านั้น ฆ่าฟัน ไม่จำาเป็นต้องทำาให้ตายด้วยคมดาบ อาจใช้ปืนหรืออาวุธอย่างอื่น ทำาให้ล้มตายก็ได้ ลักษณะคำาซ้อนเพื่อความหมายที่เป็นคำาไทยซ้อนกับคำา ภาษาอื่น คำาไทยกับคำาบาลีสันสกฤต ได้แก่ ซากศพ (ศพ จาก ศว สันสกฤต) รูปร่าง โศกเศร้า ยวดยาน ทรัพย์สิน (ทรัพย์ จาก ทฺรวฺย สันสกฤต) ถิ่นฐาน จิตใจ ทุกข์ยาก คำาไทยกับคำาเขมร ได้แก่ แสวงหา เงียบสงัด เงียบสงบ ถนนหนทาง สะอาดหมดจด ยกเลิก เด็ดขาด คำาภาษาอื่นซ้อนกันเอง คำาบาลีกับสันสกฤตซ้อนกันเอง ได้แก่ อิทธิฤทธิ์ (อิทฺธิ บ. + ฤทฺธิ ส.) รูปพรรณ (รูป บ.ส. + พรรณ จาก วรฺณ ส.) รูปภาพ (รูป + ภาพ บ.ส.) ยานพาหนะ (ยาน + วาหน บ.ส.) ทรัพย์สมบัติ (ทฺรวฺย ส. + สมฺปตฺติ บ.ส.)
  • 10. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 10 คำาเขมรกับบาลีสันสกฤต ได้แก่ สุขสงบ สรงสนาน เสบียงอาหาร คำาเขมรกับเขมร ได้แก่ สะอาดสอาง สนุกสบาย เลิศเลอ สงบเสงี่ยม ข. คำาซ้อนเพื่อเสียง คำาซ้อนเพื่อเสียง มุ่งที่เสียงยิ่งกว่าความหมาย คำาที่เข้ามาซ้อนกันจึง อาจจะไม่มีความหมายเลย เช่น โล กับ เล หรือมีความหมายเพียงคำาเดียว เช่น มอมกับแมม มอม มีความหมายแต่ แมม ไม่มีความหมาย บางทีแต่ละคำา มีความหมาย แต่ความหมายไม่เกี่ยวเนื่องกับความหมายใหม่เลย เช่น งอแง งอ หมายว่า คด โค้ง แต่ แง หมายถึง เสียงร้องของเด็ก ส่วนงอแง หมายว่า ไม่สู้ เอาใจยาก วิธีสร้างคำาซ้อนเพื่อเสียง 1. นำาคำาที่เสียงสระระดับเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันซ้อนกัน จะเกิด ความหมายใหม่ ซึ่งโดยมากไม่เกี่ยวเนื่องกับความหมายของคำามูลแต่ละคำา แต่ที่มีความหมายเกี่ยวเนื่องกันก็มี เช่น อิ + อะ เช่น จริงจัง ชิงชัง เอะ เอ + อะ อา เช่น เกะกะ เปะปะ เบะบะ เละละ เก้งก้าง เหง่งหง่าง แอะ แอ + อะ อา เช่น แกรกกราก อึ + อะ เช่น ขึงขัง ตึงตัง กึงกัง ตึกตัก ทึกทัก หงึกหงัก เออะ เออ + อะ อา เช่น เงอะงะ เทอะทะ เร่อร่า เซ่อซ่า เลิ่กลั่ก เยิบยาบ อุ + อะ อา เช่น ตุ๊ต๊ะ ปุปะ กุกกัก รุงรัง ปุบปับ งุ่นง่าน ซุ่มซ่าม รุ่มร่าม โอะ โอ + อะ อา เช่น โด่งดัง กระโตกกระตากโคร่งคร่าง โผงผาง เอาะ ออ + อะ อา เช่น หมองหมาง อุ อู + อิ อี เช่น ดุกดิก ยุ่งยิ่ง กรุ้มกริ่ม อุบอิบ อู้อี้ บู้บี้ จู้จี้ สูสี โอะ โอ + เอะ เอ เช่น โงกเงก โอนเอน โย่งเย่ง บ๊งเบ๊ง โอ้เอ้ โย้เย้ โผเผ เอาะ ออ + แอะ แอ เช่น ง่อกเง่ก จ๋องแจ๋ง กรอบแกรบ กล้อมแกล้ม อ้อแอ้ งอแง ร่อแร่ เอีย + ไอ อาย เช่น เรี่ยไร เรี่ยราย เบี่ยงบ่าย เอียงอาย ไอ + เอีย เช่น ไกล่เกลี่ย ไล่เลี่ย อัว + เอา เช่น ยั่วเย้า มัวเมา เอา อาว + ไอ อาย เช่น เมามาย ก้าวก่าย อัว + เอีย เช่น อั้วเอี้ย ยั้งเยี้ย กลั้วเกลี้ย ต้วมเตี้ยม ป้วนเปี้ยน 2. คำาที่นำามาซ้อนกันมีสระเดียวกันแต่ตัวสะกดต่างกัน มี 2 ลักษณะ ด้วยกัน คือ ก. ตัวสะกดต่างกันในระหว่างแม่ตัวสะกดวรรค เดียวกัน คือระหว่าง แม่กก กับ กง แม่กด กับ กน และแม่กบ กับ กม ดังนี้ แม่กก กับ แม่กง เช่น แจกแจง กักขัง แม่กด กับ แม่กน เช่น อัดอั้น ออดอ้อน เพลิดเพลิน จัดจ้าน คัดค้าน แม่กบ กับ แม่กม เช่น รวบรวม ปราบปราม
  • 11. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 11 ข. ตัวสะกดต่างกันไม่จำากัดวรรค ได้แก่ แม่กก กับ แม่กม เช่น ชุกชุม แม่กก กับ แม่กน เช่น แตกแตน ลักลั่น ยอกย้อน แม่กก กับ แม่เกย เช่น ทักทาย ยักย้าย หยอกหย็อย แม่กด กับ แม่กง เช่น สอดส่อง 3. คำาที่นำามาซ้อนกัน ต่างกันทั้งเสียงสระ และตัวสะกด แม่กก กับ แม่กง เช่น ยุ่งยาก ยักเยื้อง กระดากกระเดื่อง แม่กก กับ แม่กน เช่น รุกราน บุกบั่น ลุกลน แม่กก กับ แม่กม เช่น ขะมุกขะมอม แม่กก กับ แม่เกย เช่น แยกย้าย โยกย้าย ตะเกียกตะกาย แม่กง กับ แม่เกย เช่น เบี่ยงบาย เอียงอาย มุ่งหมาย แม่กง กับ แม่กน เช่น คั่งแค้น กะบึงกระบอน แม่กด กับ แม่กง เช่น ปลดเปลื้อง ตุปัดตุป่อง เลิกร้าง ตะขิดตะขวง แม่กด กับ แม่กน เช่น อิดเอื้อน ลดหลั่น แม่กน กับ แม่กง เช่น เหินห่าง พรั่นพรึง หม่นหมอง แค้นเคือง แม่กน กับ แม่กม เช่น รอนแรม ลวนลาม แม่กบ กับ แม่กม เช่น ควบคุม แม่กม กับ แม่กง เช่น คลุ้มคลั่ง แม่กม กับ แม่เกย เช่น ฟุ่มเฟือย บางทีคำาท้าย ไม่มีเสียงตัวสะกด เช่น ลบหลู่ ปนเป เชือนแช พื้นเพ หมิ่นเหม่ ลาดเลา หดหู่ เขม็ดแขม่ เตร็ดเตร่ โรยรา ตะครั่นตะครอ ทุลักทุเล คลุกคลี 4. คำาที่ซ้อนกัน มีสระเดียวกันแต่ตัวสะกดคำาท้ายกร่อนเสียง คำาเหล่านี้เชื่อว่าคงจะเป็นคำาซำ้า เมื่อเสียงไปลงหนักที่คำาต้น เสียงคำาท้ายที่ไม่ ได้เน้นจึงกร่อนหายไป น่าสังเกตว่าเมื่อตัวสะกดกร่อนหายไป เสียงสูงตำ่าจะ เปลี่ยนแปลงไปด้วยเพื่อชดเชยกับเสียงกร่อนนั้นๆ ได้แก่ จอนจ่อ (จากจอนๆ) งอนหง่อ ร่อยหรอ เลินเล่อ เตินเต่อ เทินเถ่อโยกโย้ ทนโท่ ดนโด่ (ในคำา กระดกกระดนโด่) คำาซ้อนเพื่อความหมายที่สลับที่กัน แล้วมีความหมายทั้งสอง คำา ได้แก่ แน่นหนา กับ หนาแน่น แน่นหนา ความหมายเน้นที่ แน่น อย่างไม่หลุดไม่ ถอน แน่นหนา คือ แน่นมาก เช่น ใส่กุญแจแน่นหนา คือใส่กุญแจเรียบร้อย ทุกดอก ไขอย่างไรก็ไม่ออก ส่วน หนาแน่นความหมายเน้นที่ หนา ซึ่งตรง ข้ามกับบาง มักใช้กับผู้คนจำานวนมาก เช่น ผู้คนหนาแน่น บ้านช่องหนาแน่น (คือบ้านมีมากหลัง ผู้คนย่อมจะมีมากไปด้วย) อยู่กิน กับ กินอยู่ กินอยู่ หมายถึง พักอาศัย อาจรวมถึงกินอาหารด้วย เช่น ให้เงินค่ากินอยู่ คือให้ค่าที่พักและค่าอาหาร ส่วน อยู่กิน นั้นหมายเลยไปถึง การดำาเนินชีวิตฉันสามีภรรยา คำาซ้อน 4 คำาหรือ 6 คำา
  • 12. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 12 คำาซ้อนลักษณะนี้ไม่ว่าจะเป็น 4 คำาหรือ 6 คำา จะมีสัมผัสกลางคำา - ความหมายปรากฏที่คำาต้นและคำาท้าย เช่น ยากดีมีจน (ยากจน) ผลหมากรากไม้ (ผลไม้) ข้าวยากหมากแพง (ข้าวแพง) เอาใจดูหู ใส่ (เอาใจใส่) หัวหายสะพายขาด (หัวขาด) -ความหมายปรากฏที่คำาข้างหน้า 2 คำา เช่น เจ็บไข้ได้ป่วย (เจ็บ ไข้) อดอยากปากแห้ง (อดอยาก) เกี่ยวดองหนองยุ่ง (เกี่ยวดอง) ดูหมิ่นถิ่นแคลน (ดูหมิ่น) รูปโฉมโนมพรรณ (รูปโฉม) -ไม่ปรากฏความหมายที่คำาใดๆ เป็นคำาซ้อนเพื่อเสียงแท้ๆ เช่น อีลุ่ยฉุยแฉก อีหลุกขลุกขลัก อีหรำ่าตำ่าฉึก อีหลกเฉาะแฉะ -ซ้อน 6 คำา ความหมายอยู่ที่คำาต้นกับคำาท้าย ได้แก่ อดตาหลับขับตา นอน (อดนอน) แต่ส่วน ขิงก็ราข่าก็แรง มีความหมายทั้ง 6 คำา คำาซ้อน 2 คู่ คำาซ้อนลักษณะนี้จะมีคำาที่มีคำา 2 คำา ซึ่งอาจเป็นคำาซ้อนหรือไม่ ใช่คำาซ้อนก็ได้ ซ้อนกันอยู่ 2 คู่ด้วยกัน มีลักษณะต่างๆ กัน 1. คำาซ้อนสลับ คือ คำาซ้อน 2 คู่สลับที่กัน คู่แรกแยกเป็นคำาที่ 1 กับ 3 คู่ที่ 2 แยกเป็นคำาที่ 2 กับ 4 คำาที่นำามาซ้อนกันมักเป็นคำาตรงกันข้าม ความหมายทั้งคำาจึงต่างกับความหมายของคำาที่แยกออกทีละคำาไปบ้าง ดังนี้ หน้าชื่นอกตรม ปากหวานก้นเปรี้ยว ผิดชอบชั่วดี หนักนิดเบาหน่อย 2. คำาที่ซ้อนกันเป็น 2 คู่เป็นคำาประสมไม่ใช่คำาซ้อน ซึ่งมีคำาที่ 1 กับ 3 เป็นคำาเดียวกันและคำาที่ 2 กับ 4 เป็นคำาที่มีความหมายใกล้เคียงกัน ใช้ซ้อนกันอยู่ ความหมายจะเด่นอยู่ที่คำาข้างหน้าหรือคำาข้างท้าย 2 คำา คำาที่ 2 กับ 4 มักเป็นคำานาม หรือ คำากริยา ความหมายเด่นอยู่ที่คำาท้าย 2 คำา หรือ 2 คำาหน้า เช่น อดหลับอดนอน (อดนอน ความหมายเด่นอยู่ที่คำาท้าย) ผิดหูผิดตา (ผิดตา ความหมายเด่นอยู่ที่คำาท้าย) ถูกอกถูกใจ (ถูกใจ ความหมายเด่นอยู่ที่คำาท้าย) หน้าอกหน้าใจ (ถ้าเป็นเรื่องร่างกาย ความหมายเด่นอยู่ที่คำา อก แต่ถ้าเป็น เรื่องความรู้สึกความหมายอยู่ที่ใจ) หายใจหายคอ (หายใจ ความหมายเด่นอยู่ที่คำาหน้า) เป็นทุกข์เป็นร้อน (เป็นทุกข์ ความหมายเด่นอยู่ที่คำาหน้า) 3. คำาที่ซ้อนกันเป็นคำาประสม 2 คู่ คำาที่ 2 กับ 4 เป็นคำาตรง กันข้าม ส่วนคำาที่ 1 กับ 3 เป็นคำาเดียวกัน ความหมายของคำาซ้อน ลักษณะนี้จึงต่างกับความหมายของคำาเดี่ยวที่แยกออกไปทีละคำา ดังนี้ มิดีมิร้าย หมายความว่า ร้าย (ไม่ใช่ว่าไม่ดีไม่ร้ายเป็นกลางๆ อย่างไม่ได้ไม่ เสีย ไม่แพ้ไม่ชนะ)
  • 13. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 13 พอดีพอร้าย หมายความว่า ปานกลาง ไม่ดีมากแต่ก็ไม่เลวมาก ไม่มากไม่น้อย หมายความว่า วางตัวพอดี เฉยๆ ประโยชน์ของคำาซ้อนเพื่อเสียง 1. ทำาให้ได้คำาใหม่ที่สร้างได้ง่ายกว่าคำาซ้อนเพื่อความหมาย 2. ได้คำาที่มีเสียงกระทบกระทั่งกัน เหมาะที่จะใช้ในการพรรณนา ลักษณะให้ได้ใกล้เคียงความจริง ทำาให้เห็นจริงเห็นจังยิ่งขึ้น 3. ได้คำาที่มีทั้งเสียงและความหมายใหม่ โดยอาศัยคำาเดิมที่มีอยู่แล้ว ข้อควรสังเกต 1. คำาซ้อนในภาษาไทยส่วนใหญ่มีเสียงสัมผัสกัน เช่น ซาบซึ้ง ปีน ป่าย เฮฮา 2. คำาที่มี 2 พยางค์ อาจซ้อนกันกลายเป็นคำาซ้อน 4 พยางค์ เช่น เฉ ลี่ยวฉลาด ตะเกียกตะกาย คำาประสม คำาประสม คือ คำามูล 2 คำาหรือมากกว่านั้นมาประสมกันเป็นคำาใหม่ อีกคำาหนึ่ง ลักษณะคำาประสม 1. คำาตัวตั้งเป็นนามและคำาขยายเป็นวิเศษณ์ ได้แก่ มด+แดง คือ มดชนิดหนึ่งตัวสีแดง ไม่ใช่มดตัวสีแดงทั่วๆ ไป อาจ เติมต่อ เป็น มด+แดง+ไฟ ก็ได้ เป็นการบอกประเภทย่อยของ มดแดง ลงไปอีกทีหนึ่ง รถ+เร็ว คือ รถไฟที่เร็วกว่าธรรมดาเพราะไม่ได้หยุดแวะทุกสถานี นำ้า+แข็ง คือ นำ้าชนิดหนึ่งที่แข็งเป็นก้อนด้วยความเย็นจัดตามธรรมชาติ หรือ ทำาขึ้น ที่เราใช้อยู่ทุกวันหมายถึงนำ้าที่แข็งเป็นก้อนด้วยกรรมวิธีอย่างหนึ่ง คำาประสมลักษณะนี้มุ่งบอกลักษณะของสิ่งนั้นๆ ยิ่งกว่าอื่น จึงใช้คำา ขยายเป็นคำาวิเศษณ์ 2. คำาตัวตั้งเป็นคำานาม คำาขยายเป็นกริยา บางทีมีกรรมมา รับด้วย ได้แก่ ผ้า+ไหว้ คือ ผ้าสำาหรับไหว้ที่ฝ่ายชายนำาไปให้แก่ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง เพื่อ แสดงความเคารพในเวลาแต่งงาน ไม้+เท้า คือ ไม้สำาหรับเท้าเพื่อยันตัว โต๊ะ+กิน+ข้าว คือ โต๊ะสำาหรับกินข้าว 3. คำำตัวตั้งเป็นคำานาม คำาขยายเป็นคำานามด้วยกันได้แก่ เรือน+ต้น+ไม้ คือ เรือนที่ไว้ต้นไม้ไม่ให้โดนแดดมาก เก้าอี้+ดนตรี คือ การเล่นชิงเก้าอี้มีดนตรีประกอบเป็นสัญญาณ คน+ไข้ คือ คนที่เจ็บไข้ได้ป่วย อยู่ในความดูแลของแพทย์พยาบาล แกง+ไก่ คือ แกงที่ใส่ไก่ 4. คำาตัวตั้งเป็นคำานาม คำาขยายเป็นบุรพบท ได้แก่
  • 14. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 14 คน+กลาง คือ คนที่ไม่เข้าข้างฝ่ายใด คนที่ติดต่อระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย คน+ใน คือ คนในครอบครัว ในวงการ คนสนิท เครื่อง+ใน คือ อวัยวะภายในของสัตว์ ซึ่งมักใช้เป็นอาหาร ได้แก่ ตับ ไต ไส้ ของหมู วัว ควาย เป็นต้น ฝ่าย+ใน คือ หญิงที่สังกัดอยู่ในพระราชฐานชั้นใน เป็นเจ้านายและ ข้าราชการ ความ+ใน คือ เรื่องส่วนตัวซึ่งรู้กันในระหว่างคนสนิทกัน 2-3 คน คน+นอก คือ คนนอกครอบครัว นอกวงการ เมือง+นอก คือ ต่างประเทศ มักหมายถึงยุโรป อเมริกา นักเรียน+นอก หมายถึงนักเรียนที่เรียนในต่างประเทศ ฝ่าย+หน้า คือ เจ้านายและข้าราชการที่ไม่ใช่ฝ่ายใน ความ+หลัง คือ เรื่องที่ผ่านมาแล้วของแต่ละคน เบี้ย + ล่าง คือ อยู่ใต้อำานาจ 5. คำาตัวตั้งที่ไม่ใช่คำานาม และคำาขยายก็ไม่จำากัด อาจเป็นเพราะพูด ไม่เต็มความ คำานามที่เป็นคำาตัวตั้งจึงหายไป กลาย เป็นคำากริยาบ้าง คำา วิเศษณ์บ้าง เป็นตัวตั้ง ได้แก่ ต้ม+ยำา ต้ม+ส้ม ต้ม+ข่า เป็นชื่อแกงแต่ละอย่าง มีลักษณะต่างๆ กัน เดิม น่า จะ มีคำา แกง อยู่ด้วย เพราะขณะนี้ยังมีอีกมาก ที่พูด แกงต้มยำา แกงต้มส้ม แกง(ไก่)ต้มข่า เรียง+เบอร์ คือ ใบตรวจเลขสลากกินแบ่งของรัฐบาลที่มีเบอร์เรียงๆ กันไป เดิมคงจะมีคำา ใบ อยู่ด้วย พิมพ+ำ์ดีด คือ เครื่องพิมพ์ดีด คำา เครื่อง หายไป แต่ที่ยังใช้เครื่อง ด้วยก็มี สาม+ล้อ คือ รถสามล้อ คำา รถจะหายไปในภายหลังเช่นเดียวกัน สาม+เกลอ (เครื่องยกตอกกระทุ้งลง มีที่ถือสำาหรับยกสามที่) สาม+ง่าม (ไม้หรือเหล็กที่แยกเป็นสามง่าม อาวุธที่มีปลายแหลมเป็นสาม แฉก) ฯลฯ คำาประสมที่ใช้เป็นคำาคุณศัพท์ คำาตัวตั้งอาจเป็นคำานาม คำากริยา หรือ คำาวิเศษณ์ ก็ได้ เมื่อประสมแล้วใช้ในความหมายธรรมดาก็ได้ใช้ใน ความหมายเชิงอุปมาก็ได้ ส่วนมากใช้เป็นวิเศษณ์ขยายนาม ที่ใช้ขยายกริยา ก็มีบ้าง 1. คำาตัวตั้งเป็นนามและคำาขยายเป็นคำาคุณศัพท์หรืออื่นๆ เช่น ชั้นตำ่า ขยายนาม เช่น คน เป็น คนชั้นตำ่า ลิ้นวัว ขยายนาม เช่น สตู เป็น สตูลิ้นวัว ส้นสูง ขยายนาม เช่น รองเท้า เป็น รองเท้าส้นสูง 2. คำาตัวตั้งเป็นกริยาและคำาขยายเป็นคำานามหรืออื่นๆ เช่น กันเปื้อน ขยายนาม เช่น ผ้า เป็น ผ้ากันเปื้อน
  • 15. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 15 วาดเขียน ขยายนาม เช่น ดินสอ กระดาษ เป็น ดินสอวาดเขียนกระดาษวาด เขียน คิดเลข ขยายนาม เช่น เครื่อง เป็น เครื่องคิดเลข (คำานี้ละเครื่องไม่ได้อย่าง เครื่องพิมพ์ดีด) เผาขน ขยายนาม เช่น ระยะ เป็น ระยะเผาขน คือระยะประชิดตัว กำาลังกิน ขยายนาม เช่น มะม่วง เป็นมะม่วงกำาลังกิน หรือใช้กำาลังกินกำาลัง นอน เช่น เด็กวัยกำาลังกินกำาลังนอน 3. คำาตัวตั้งเป็นคำาวิเศษณ์และคำาขยายเป็นคำานามและอื่นๆ เช่น เขียวนำ้าทะเล ใช้ขยาย สี เป็น สีเขียวนำ้าทะเล หลายใจ ใช้ขยาย คน เป็น คนหลายใจ มีความมุ่งหมายเชิงอุปมาว่า เปลี่ยน ใจ เปลี่ยนคนรักบ่อยๆ สองหัว ใช้ขยาย นก เป็น นกสองหัว มีความหมายเชิงอุปมาว่า คนที่เข้าทั้ง สองข้าง 4. คำาตัวตั้งเป็นบุรพบทและคำาขยายเป็นคำานามหรืออื่นๆเช่น กลางบ้าน ใช้ขยาย ยา เป็น ยากลางบ้าน คือ ยาที่ชาวบ้านเชื่อถือกันเอง กลางแปลง ใช้ขยาย โขน หรือ ละคร เป็น โขนกลางแปลง ละครกลางแปลง คือ โขนหรือละครที่เล่นกลางแปลง ในใจ ใช้ขยาย เลข เป็น เลขในใจ ข้างถนน ใช้ขยาย เด็ก เป็น เด็กข้างถนน คือ เด็กที่ไม่มีพ่อแม่เอาใจใส่ นอกครู ใช้ขยาย หัวล้าน เป็น หัวล้านนอกครู ไม่ประพฤติตามแบบ คำาประสมใช้เป็นคำาคุณศัพท์หรือคำานาม มีความหมายในเชิง อุปมา ดังนี้ 1. คำาตังตั้งเป็นคำานามชื่ออวัยวะของร่างกาย คำาขยายเป็นคำา นาม กริยา หรือคุณศัพท์ ความหมายของคำาที่ประสม แล้วมีอุปมาเปรียบ เทียบดุจดังสิ่งนั้นๆ มีลักษณะหรืออาการอย่างนั้น เช่น หัว ได้แก่ หัวนอก หัวไม้ หัวเรือใหญ่ หัวแข็ง หัวอ่อน หน้า ได้แก่ หน้าม้า หน้าเป็น หน้าตาย หน้าหนา หน้าบาง ตา ได้แก่ ตากบ ตากุ้ง ตาไก่ ตาขาว ตาเขียว ปาก ได้แก่ ปากกา ปากไก่ ปากฉลาม ปากเป็ด ปากแข็ง ปากตลาด ลิ้น ได้แก่ ลิ้นไก่ ลิ้นปี่ ลิ้นทะเล ลิ้นหมา ลิ้นงูเห่า ลิ้นมังกร คอ ได้แก่ คอแร้ง คอหอย คอแข็ง คอสูง คอสอง ใจ ได้แก่ ใจกว้าง ใจแคบ ใจจืด ใจดำา ใจน้อย ใจใหญ่ ใจเบา ใจเย็น ใจร้อน ใจลอย 2. คำาตัวตั้งเป็นคำานามอื่นๆ ที่มีลักษณะอันจะนำามาใช้เป็นอุปมา เปรียบเทียบได้ คำาขยายเป็นคำากริยาหรือคำานาม ได้แก่ ลูก มักหมายถึง สิ่งที่มีลักษณะกลมหรือที่มีลักษณะเป็นรองประกอบกับ
  • 16. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 16 สิ่งที่ใหญ่กว่าสำาคัญกว่า มีคำาว่า ลูกกวาด ลูกช่วง ลูกชิ้น ลูกดิ่ง ลูกตุ้ม ลูกบวบ ลูกฟูก ลูกโยน ลูกคิด ลูกจ้าง ลูกน้อง ลูกความ ลูกขุน ลูกค้า ลูกช้าง ลูกเลี้ยง ลูกไล่ ลูกวัด แม่ มักหมายถึง ผู้มีความสำาคัญ อาจขนาดหัวหน้างาน ปกครองคนหรือ หมายถึง สิ่งสำาคัญกว่าใหญ่กว่า มีคำาว่า แม่งาน แม่ทัพ แม่บ้าน แม่สื่อ แม่ เลี้ยง แม่ครัว แม่มด แม่บท แม่ย่านาง แม่แรง แม่เหล็ก แม่พิมพ์ แม่นำ้า แม่ เบี้ย คำาประสมที่ใช้เป็นกริยา ส่วนมากใช้คำากริยาเป็นคำาตัวตั้งและคำา ขยาย แต่ที่ใช้คำาอื่นเป็นคำาตัวตั้งและคำาขยายก็มี ความหมายมักเป็นไปใน เชิงอุปมา ดังนี้ 1. คำาตังตั้งเป็นคำากริยา คำาขยายเป็นกรรม มีความหมาย กำาหนดใช้เป็นพิเศษ เป็นที่รับรู้กัน คือ ยิงปืน (หรือ ยิงธนู ยิงหน้าไม้ ยิงปืนกล) หมายความว่า ยิงด้วยปืน ด้วยธนู ทำาให้ลูกปืนหรือลูกธนูแล่นออกไปโดยแรงด้วยแรงส่ง ไม่ใช่ยิงไปที่ปืน อย่าง ยิงคน ยิงสัตว์ ตัดเสื้อ (ตัดกางเกง ตัดกระโปรง) หมายว่า ตัดผ้าทำาเป็นเสื้อกางเกง หรือ กระโปรง ไม่ใช่ตัดผ้าที่เย็บเป็นเสื้อแล้ว ตัดถนน (ตัดทาง) ทำาให้เกิดเป็นทางขึ้น ไม่ใช่ตัดทางหรือตัดถนนที่มีอยู่แล้ว ขุดหลุม (ขุดบ่อ ขุดคลอง) ทำาให้เกิดเป็นหลุม บ่อ หรือคลองขึ้น ไม่ใช่ขุด หลุม หรือบ่อ หรือคลอง ที่มีอยู่แล้ว เดินจักร เย็บผ้าด้วยจักร คือทำาให้จักรเดิน ไม่ใช่เดินไปที่จักร 2. คำาตัวตั้งเป็นคำากริยา คำาขยายเป็นคำานามที่เป็นชื่อวัยวะของ ร่างกาย มีความหมายไปในเชิงอุปมา ดังนี้ กริยา + ใจ กินใจ หมายความว่า แคลงใจ สงสัย ไม่วางใจสนิท ตั้งใจ " ทำาโดยเจตนา จงใจ ตายใจ " วางใจ เชื่ออย่างไม่สงสัย นอนใจ " วางใจไม่รีบร้อน เป็นใจ " สมรู้ร่วมคิด รู้กัน กริยา + หน้า หักหน้า " ทำาให้อีกฝ่ายหนึ่งได้อาย ไว้หน้า " รักษาเกียรติไว้ให้ ไม่พูดจาให้เป็นที่เสื่อมเสีย ได้หน้า " ได้รับคำายกย่องชมเชย เสียหน้า " ได้รับความอับอาย กริยา + ตัว ไว้ตัว " ถือตัว ไม่สนิทสนมกับใครง่ายๆ
  • 17. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 17 ออกตัว " พูดถ่อมตัวไว้ก่อน กันถูกตำาหนิ ถือตัว " ไว้ตัว เพราะถือว่าตนเหนือกว่าด้วย 3. คำาตัวตั้งเป็นคำากริยา คำาขยายเป็นบุรพบท ได้แก่ กินใน หมายความว่า แหนงใจ ระแวงสงสัย ไม่สนิทได้ดังเดิม เสมอนอก " เอาใจช่วยอยู่ห่างๆ ภายนอก เป็นกลาง " ไม่เข้าข้างใคร 4. คำาตัวตั้งเป็นบุรพบท คำาขยายเป็นคำานาม ได้แก่ นอกใจ หมายความว่า ประพฤติไม่ชื่อตรง เอาใจไปเผื่อแผ่ผู้อื่นนอกจาก คู่ของตน นอกคอก " ประพฤติไม่ตรงตามแบบแผนธรรมเนียม 5. คำาตัวตั้งเป็นคำาวิเศษณ์ คำาขยายเป็นคำานามที่เป็นอวัยวะ ของร่างกาย วิเศษณ์ + ใจ แข็งใจ หมายความว่า ทำาใจให้แข็งแรง ไม่ท้อถอยเหนื่อยหน่าย อ่อนใจ " ระอา ท้อถอย น้อยใจ " รู้สึกเสียใจ แค้นใจที่ได้รับผลไม่สมกับที่ลงแรงหรือที่ หวัง ดีใจ " ยินดี วิเศษณ์ + หน้า น้อยหน้า " ไม่เทียมหน้าคนอื่น หนักหน้า " ภาระหรือความรับผิดชอบตกอยู่ที่ตน วิเศษณ์ + มือ หนักมือ " รุนแรง กำาเริบ แข็งมือ " สู้ไม่ลดละ น่าสังเกตว่าคำาประสมลักษณะนี้โดยมากสับหน้าสับหลังกันได้เช่น แข็งใจ-ใจแข็ง อ่อนใจ-ใจอ่อน น้อยใจ-ใจน้อย ดีใจ-ใจดี หนักมือ-มือหนัก แข็งมือ-มือแข็ง (น้อยหน้า กับ หนักหน้า สับไม่ได้ ไม่มีความหมาย) คำาที่สับหน้าสับหลัง สับที่กันเช่นนี้ หน้าที่ของคำาต่างกันไปด้วยคือคำา ที่มีชื่อ อวัยวะร่างกายอยู่ข้างท้าย เช่น วิศษณ์ + ใจ คำานั้นใช้เป็นคำากริยา แต่ถ้าชื่ออวัยวะร่างกายอยู่ต้นคำา เช่น ใจ + วิเศษณ์ คำานั้นใช้เป็นคำา ขยายนาม 6. คำาตัวตั้งเป็นกริยา คำาขยายก็เป็นกริยา มีความสำาคัญเท่ากันเหมือน เชื่อมด้วย และ อาจสับหน้าสับหลังกันได้ คำาใดอยู่ต้นถือเป็นตัวตั้ง ความสำาคัญอยู่ที่นั่น คำาท้ายเป็นคำาขยายไป เช่น เที่ยวเดิน-เดินเที่ยว ให้หา- หาให้ 7. คำาตัวตั้งเป็นคำากริยา คำาขยายเป็นกริยาวิเศษณ์ได้แก่
  • 18. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 18 อวดดี หมายความว่า ทะนงใจว่าตัวดี ถือดี " ถือว่าตัวดี ทะนงตัว คุยโต " พูดเป็นเชิงอวด วางโต " ทำาท่าใหญ่โต 8. คำาตัวตั้งเป็นคำากริยา มีคำาอื่นๆ ตาม มีความหมายไปในเชิงอุปมา และมีที่ใช้เฉพาะ ได้แก่ ตัดสิน หมายความว่า ลงความเห็นเด็ดขาด ชี้ขาด " วินิจฉัยเด็ดขาด นั่งนก " นั่งหลับ อยู่โยง " เฝ้าสถานที่แต่ผู้เดียว ตกลง " ยินยอม คำาประสมที่ใช้เป็นคำากริยาวิเศษณ์ ที่จริงถ้าจะเทียบกับคำา ประสมที่ใช้เป็น คำานาม คุณศัพท์และกริยาแล้ว คำาประสมที่ใช้เป็นกริยาวิเศษณ์มีน้อยกว่า มาก ดังนี้ 1. คำาตัวตั้งเป็นคุณศัพท์ คำาขยายเป็นคำานาม ได้แก่ สามขุม ใช้กับ ย่าง เป็น ย่างสามขุม สามหาว " พูด เป็น พูดสามหาว 2. คำาตัวตั้งเป็นกริยา คำาขยายเป็นคำานาม ได้แก่ นับก้าว ใช้กับ เดิน เป็น เดินนับก้าว 3. คำาตัวตั้งเป็นคำานาม คำาขยายเป็นคำาอื่นๆ ได้แก่ คอแข็ง ใช้กับ นั่ง เป็น นั่งคอแข็ง (เถียงไม่ออก) คอตก " นั่ง เป็น นั่งคอตก (เศร้าเสียใจ) 4. คำาตัวตั้งเป็นบุรพบท คำาขยายเป็นคำานาม ได้แก่ ในตัว เช่น เป็นนายเป็นบ่าวอยู่ในตัว ในที " ยิ้มอยู่ในที ในหน้า " ยิ้มในหน้า นอกหน้า " แสดงออกจนออกนอกหน้า ซึ่งหน้า " ว่าซึ่งหน้า 5. คำาตัวตั้งเป็นคำาบุรพบท คำาขยายเป็นคำากริยาวิเศษณ์ ได้แก่ ตามมีตามเกิด เช่น ทำาไปตามมีตามเกิด (สุดแต่จะทำาได้)โดยแท้ " เขา ชำานาญเรื่องนี้โดยแท้ ยังมีคำาอีกประเภทหนึ่งซึ่งมีบุรพบทนำาหน้า มีคำาวิเศษณ์ตามมา เช่น โดยดี โดยเร็ว โดยด่วน ตามสะดวก ตามถนัด แต่ไม่ กำาหนดไปตายตัว อาจเปลี่ยนคำาที่ตามมาเป็นอย่างอื่นได้ จึงไม่น่าถือเป็นคำา ประสม สรุปได้ว่า คำาประสมอาจใช้เป็นได้ทั้งนาม คุณศัพท์ กริยา และกริยาวิเศษณ์ ข้อควรสังเกตเกี่ยวกับคำาประสม
  • 19. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 19 คำาที่ไม่เกิดความหมายใหม่ จัดเป็น วลี หรือกลุ่มคำา เช่น ลูกหมาตัวนี้ถูกแม่ทิ้ง เป็นวลี เพราะไม่เกิดความหมายใหม่ เจ้าหน้าที่กำาลังฉีดยากำาจัดลูกนำ้า เป็นคำาประสม เพราะไม่ได้หมายถึงลูกของ นำ้า คำาประสมกับคำาซ้อน ลักษณะที่เหมือนกัน 1. เป็นคำาที่นำาคำามูล ที่มีใช้อยู่เดิมมารวมกันเข้าสร้างเป็นคำาใหม่ขึ้น 2. เมื่อเกิดเป็นคำาใหม่แล้ว ความจะต่างจากเดิมไป ที่เหมือนเดิมก็ต้องมีความ หนักเบาของความหมายต่างกัน บางทีก็มีความหมายไปในเชิงอุปมา 3. คำาที่ประสมกันก็ดี ซ้อนกันก็ดี ถ้าแยกออกเป็นคำาๆ แล้วแต่ละคำามีความ หมายสมบูรณ์ ต่างกับคำาที่ลงอุปสรรค ลักษณะที่ต่างกัน 1. คำาประสม มี 2 คำาหรือมากกว่านั้น คำาซ้อน มีคำาเพียง 2 คำา ถ้าจะมี มากกว่านั้นก็ต้องเป็น 4 คำาหรือ 6 คำา 2. คำาประสม มีความหมายสำาคัญที่คำาตัวตั้ง ส่วนคำาขยายมีความสำาคัญ รองลงไป คำาซ้อน ถือคำาแต่ละคำาที่มาซ้อนกัน มีความสำาคัญเสมอกันเพราะต่างก็มีความ หมายคล้ายกัน 3. คำาประสม มีความหมายต่างจากเดิมไปบ้าง ถ้าคงเดิมก็มักเป็นคำาที่ ใช้เรียกชื่อสิ่งต่างๆ คำาซ้อน มีความหมายต่างจากเดิมไปบ้าง ถ้าคงเดิม ความเน้นหนักและที่ใช้ก็ต้องต่างไป แต่ถึงอย่างไร ความความใหม่ต้องเกี่ยว เนื่องกับความหมายเดิม 4. คำาประสม บางคำาอาจสับหน้าสับหลังกันได้ แต่ถ้าเรียงสับที่กันความ หมายก็จะต่างไป เช่น เสือปลา กับ ปลาเสือและหน้าที่ของคำาก็จะต่างไปด้วย เช่น ใจดี กับ ดีใจ คำาซ้อน อาจสับหน้าสับหลังได้เฉพาะบางคำาที่เสียงไปได้ไม่ขัดหูออก เสียงได้สะดวก และบางคำาสับที่แล้วความหมายต่างไป แต่ที่ไม่ต่างกันก็มี เช่น อัดแอ กับ แออัด ข้อสังเกตคำาประสมกับคำามูล คำาประสมบางคำามีลักษณะเหมือนคำามูลมาเรียงกัน ทำาให้พิจารณายากว่า คำาใดเป็นคำาประสมคำาใดไม่ใช่ มีหลักพิจารณาได้ดังนี้ 1. เสียงหนักเบา สังเกตได้โดยเสียงหนักเบาบอกให้รู้ ในเรื่องเสียง วรรณยุกต์ คือ ถ้าเป็นคำาประสมนำ้าหนักเสียงจะลงที่คำาท้ายเป็นส่วนมาก ส่วน ที่ไม่ได้ลงเสียงหนัก เสียงจะสั้นเบา บางทีอาจจะฟังไม่ชัด เหมือนหายไปเลย ทั้งพยางค์ แต่ถ้าไม่ใช่คำาประสม นำ้าหนักเสียงจะเสมอกันและมีจังหวะเว้น ระหว่างคำา (บางทีจะมีเสียงเหมือน น่ะ ม่ะ หรือ อ้ะ ท้ายคำาที่มาข้างหน้า แต่ เวลาเขียนกำาหนดไม่ได้) ทั้งนี้เพราะคำาที่เรียงกันมาแต่ละคำามีความสำาคัญถ้า
  • 20. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ลักษณะภาษไทย วิชาภาษาไทย หน้าที่ 20 พูดไม่ชัดเจนทุกคำาไปแล้ว ความหมายย่อมไม่แจ่มแจ้ง แต่คำาประสมกับไม่ เข้าใจความหมายเสียทีเดียว 2. ความหมาย คำาประสมจะมีความหมายจำากัด จำาเพาะว่าหมายถึง อะไร และหมายพิเศษอย่างไร เช่น รถเร็ว ไม่ใช่รถที่วิ่งเร็วทั่วๆ ไป เมื่อพูด ย่อมเป็นที่เข้าใจกัน แต่คำาบางคำาไปมีความหมายอย่างอื่น ไม่ตรงตามคำา เดี่ยวที่นำามาประสมกัน เช่น สามเกลอ สามขา หมายถึง เครื่องใช้เพื่อตอกเสาเข็มด้วยแรงคน คำาสมาส เกิดจากคำาที่มีรูป เสียง และความหมายต่างกัน เมื่อนำามาสมาสจะตัด พยางค์หรือย่นพยางค์ให้สั้นเข้า เช่น คำาว่า ชันษา มาจากคำาว่า ชนม +พรรษา ชนม หมาย ถึง การเกิด พรรษา หมาย ถึง ปี ชนม + พรรษา ได้คำา ใหม่ คือ ชันษา หมาย ถึง อายุ คำาประสมประเภท นี้ ได้แก่ เดียงสา มาจาก เดียง+ภาษา สถาผล มาจาก สถาพร+ผล เปรมปรีดิ์ มาจาก เปรม+ปรีดา คำาสมาส คำาสมาสเป็นวิธีสร้างคำาในภาษาบาลีและสันสกฤต โดยนำาคำาตั้งแต่ ๒ คำา ขึ้นไปมาประกอบกันคล้ายคำาประสม แต่คำาที่นำามาประกอบแบบคำาสมาสนั้น นำามาประกอบหน้าศัพท์ การแปลคำาสมาสจึงแปลจากข้างหลังมาข้างหน้า เช่น บรม (ยิ่งใหญ่) + ครู = บรมครู (ครูผู้ยิ่งใหญ่) สุนทร (ไพเราะ) + พจน์ (คำาพูด) = สุนทรพจน์ (คำาพูดที่ ไพเราะ) การนำาคำามาสมาสกัน อาจเป็นคำาบาลีสมาสกับบาลี สันสกฤตสมาสกับ สันสกฤต หรือบาลี สมาสกับสันสกฤตก็ได้ การเรียงคำาตามแบบสร้างของคำาสมาส ๑. ถ้าเป็นคำาที่มาจากบาลีและสันสกฤต ให้เรียงบทขยายไว้ข้างหน้า เช่น อุทกภัย หมายถึง ภัยจากนำ้า อายุขัย หมายถึง สิ้นอายุ ๒. ถ้าพยางค์ท้ายของคำาหน้าประวิสรรชนีย์ ให้ตัดวิสรรชนีย์ออก เช่น