SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  20
Télécharger pour lire hors ligne
สรุปสาระที่ 3 : เศรษฐศาสตร์
โดย อ.คมกฤษณ์ ศิริวงษ์

อ.สุทัศน์ ภูมิรัตนจรินทร์

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------ความหมายและความสาคัญของเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวกับการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ เช่น
การเลือกใช้ปัจจัยการผลิต (ทรัพยากร) ที่มีอยู่อย่างจํากัด เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนั้นยังศึกษาเกี่ยวกับการ
กระจายและการแลกเปลี่ยนผลผลิตเพื่อให้สังคมมีความเป็นอยู่ดี ทั้งหมดนี้เศรษฐศาสตร์อาจจะกล่าวว่า เป็นการจัดสรร
ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัด เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ที่ดีที่สุดของมนุษย์และสังคม
ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกระดับ มักจะเกิดปัญหาพื้นฐาน 3 ประการดังนี้
1. ปัญหาว่าจะผลิตอะไร (What) จะผลิตสินค้าและบริการใด ในปริมาณเท่าใด ถึงจะพอแก่การบริโภค
2. ปัญหาว่าจะผลิตอย่างไร (How) ในที่นี้เป็นการนําปัจจัยการผลิตทีมีอยู่มาใช้ผลิต จะผลิตด้วยวิธีใด ถึงจะมี
่
ต้นทุนในการผลิตต่ํา และได้ผลผลิตสูง
1. ปัญหาว่าจะผลิตเพื่อใคร (For whom) เมื่อผลิตสินค้าและบริการขึ้นมาแล้วจะสนองความต้องการของใคร
วิชาเศรษฐศาสตร์สามารถศึกษาได้ 2 แนว ดังนี้
1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) เป็นการศึกษาหน่วยย่อมของระบบเศรษฐกิจ เช่น พฤติกรรมของ
ผู้บริโภค ผู้ผลิต ตลาดสินค้า และตลาดปัจจัยการผลิต
2. เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) เป็นการศึกษาหน่วยรวมของระบบเศรษฐศาสตร์ เช่น การผลิตของ
ระบบเศรษฐกิจ การจ้างงาน การคลัง รายได้ประชาชาติ เป็นต้น

กิจกรรมทางเศรษฐกิจ
การผลิต (Production)
การผลิต คือ การสร้างสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ และเกิดประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ
อย่างใดอย่างหนึ่ง
ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ (อรรถประโยชน์ : Utility) หมายถึง การทําให้สินค้าและบริการนั้น ๆ มีคุณค่ามากขึ้น
ในทางเศรษฐศาสตร์ แบ่งประโยชน์ในทางเศรษฐกิจได้ 5 ชนิด คือ
1. ประโยชน์เกิดจากการเปลี่ยนรูป (Form Utility) เช่น การเอาไม้ซุงมาแปรรูปแล้วทําเป็น โต๊ะ
2. ประโยชน์เกิดจากการเปลี่ยนสถานที่ (Place Utility) เช่น นํารัตนชาติ จากใต้ดินมาทําเครื่องประดับ
3. ประโยชน์เกิดจากเวลา (Time Utility) เช่น ความเก่า - ใหม่ ความเหมาะสมกับฤดูกาลและการผลิตเป็นราย
แรก ตัวอย่าง ผงซักฟอก เรียกว่า แฟ้บ / ซุปไก่ เรียกว่า แบรนด์ / บะหมี่กึ่งสําเร็จรูป เรียกว่า มาม่า
4. ประโยชน์เกิดจากเปลี่ยนโอนกรรมสิทธิ์ (Posession Utility) เช่น เสื้อผ้าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สวมใส่
มากกว่าช่างตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น
5. ประโยชน์เกิดจากการให้บริการ (Service Utility) เช่น แพทย์ให้การรักษาแก่ผู้เจ็บป่วย ครูสอนหนังสือให้
ศิษย์ ทนายว่าความให้ลูกความ เป็นต้น
การผลิต แบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ
1. การผลิตขั้นปฐมภูมิ (Primary Production) เป็นการผลิตวัตถุดิบ เช่น การเกษตรกรรม การประมง
การป่าไม้ เหมืองแร่ (ลงทุนต่ํา ลงแรงสูง ผลตอบแทนต่ํา)
2. การผลิตขั้นทุติยภูมิ (Secondary Production) เป็นการนําวัตถุดิบที่ผลิตได้มาแปรรูปเป็นสินค้าสําเร็จรูป เช่น
อุตสาหกรรมต่าง ๆ (ลงทุนสูง ลงแรงสูง ผลตอบแทนสูง)
3. การผลิตขั้นอุดม (Tertiary Production) เป็นการผลิตบริการ เช่น การขนส่ง การประกันภัย การท่องเที่ยว
การรักษาพยาบาล (ลงทุนต่ํา ลงแรงต่ํา ผลตอบแทนสูง)
ปัจจัยการผลิต (Factors of Production) ในทางเศรษฐศาสตร์มีอยู่ 4 อย่างคือ
1. ทีดิน (Land) หมายถึง แหล่งผลิต ซึ่งหมายรวมถึงทรัพยากรที่อยู่ในบริเวณนั้นทั้งหมด
่
2. ทุน (Capital) หมายถึง สิ่งซึ่งนํามาใช้เป็นเครื่องมือในการผลิต เช่น โรงงาน รถยนต์ เครื่องจักร วัว ควาย
ยกเว้น เงิน (Money)
3. แรงงาน (Labour) หมายถึง แรงกายและปัญญาของมนุษย์เท่านั้น
4. ผู้ประกอบการ (Enterperneurship) หรือผู้ผลิต หมายถึง ผู้ที่จะนําเอาที่ดิน ทุน และ แรงงาน มา
ก่อให้เกิดการผลิต
ผลตอบแทนปัจจัยการผลิต ( รายได้ )
- ที่ดิน
ผลตอบแทนเรียกว่า ค่าเช่า (Rent)
- ทุน
ผลตอบแทนเรียกว่า ดอกเบีย (Interest)
้
- แรงงาน
ผลตอบแทนเรียกว่า ค่าจ้าง (Wage) หรือค่าแรง
- ผู้ประกอบการ
ผลตอบแทนเรียกว่า กําไร (Profit)
ปัจจัยที่ควบคุมปริมาณการผลิตดังนี้
1. ปริมาณของวัตถุดิบ ที่จะนํามาใช้ในการผลิตว่ามีมากน้อยเพียงใด
2. ปริมาณความต้องการของผู้บริโภค ที่ต้องการนําผลผลิตไปบริโภค
3. ราคาของผลผลิตออกมาจําหน่ายในตลาดขณะนั้น สูงหรือต่ําทั้ง 3 ปัจจัยนี้ถ้าพิจารณาแล้วก็คือ
อุปสงค์ – อุปทาน นั่นเอง

อุปสงค์ – อุปทาน
อุปสงค์ (Demand) หมายถึง ความต้องการในสินค้าและบริการในระดับราคาหนึ่ง ๆ
กฎของอุปสงค์
(law of Demand) คือ
1. ถ้าราคาสูง → อุปสงค์ต่ํา (จะทําให้ราคาลดลงในที่สุด)
2. ถ้าราคาต่ํา → อุปสงค์สูง (จะทําให้ราคาสูงขึ้นในที่สุด)
ราคา/ กก (บาท)
10
20
30
40
50

อุปสงค์ / กก.
10
8
6
4
2

ตัวการที่ทําให้อุปสงค์เปลี่ยนแปลงมีดังนี้
- ราคาของสินค้าและบริการ

- รายได้ของผู้บริโภค
- ความจําเป็นที่จะใช้สินค้าและบริการนั้น ๆ
- สมัยนิยม
- การโฆษณาของผู้ผลิต
- การศึกษาของผู้บริโภค
- ราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้องหรือสินค้าที่ใช้แทนกันได้ - การคาดคะเนราคา หรือการเก็งกําไร
- การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจํานวนประชากร
อุปทาน (Supply) หมายถึง ปริมาณของสินค้าและบริการในระดับราคาหนึ่ง
กฎของอุปทาน ( Law of Supply)คือ
1. ถ้าราคาสูง → อุปทานสูง (จะทําให้ราคาลดลงในที่สุด)
2. ถ้าราคาต่ํา → อุปทานต่ํา (จะทําให้ราคาสูงขึ้นในที่สุด)
ราคา/ กก (บาท) อุปสงค์ / กก.
10
5
20
10
30
15
40
20
50
25
ตัวการที่ทําให้อุปทานเปลี่ยนแปลงมีดังนี้
- ราคาของสินค้าและบริการ
- ฤดูกาลของผลผลิต
- เทคนิคในการผลิต (อุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม)
- ราคาวัตถุดิบ
- ราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้องหรือสินค้าอื่นที่ใช้แทนกันได้ - การคาดคะเนราคาหรือการเก็งกําไร
- การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจํานวนผู้ผลิตในตลาด
ทฤษฎีของอุปสงค์ – อุปทาน บางครั้งเรียกว่า “กลไกแห่งราคา (Price – Machanism)” ได้เพราะอุปสงค์ – อุปทาน
นั้นขึ้นอยู่กับราคาของสินค้าและบริการ ในขณะเดียวกัน ราคาของสินค้าและบริการก็ขึ้นอยู่กับอุปสงค์ – อุทาน
ประโยชน์ของอุปสงค์ – อุปทาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกําหนดปริมาณในการผลิตและกําหนดราคา จําหน่าย
สินค้าและบริการได้อย่างถูกต้อง
ราคาดุลยภาพ (Equilibrium Price) คือ ราคาสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคพอใจที่จะซื้อและผู้ผลิตพอใจทีจะขายให้
่
ปริมาณดุลยภาพ (Equilibrium Quantity) คือ ปริมาณของสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคต้องการที่จะซื้อเท่ากับ
ปริมาณที่ผู้ผลิตต้องการที่ขายให้
ราคา/ กก
(บาท)
30
25
20
15
10

อุปสงค์ / กก.

อุปทาน / กก.

10
20
30
40
50

50
40
30
20
10
การหาค่าดุลยภาพจากตาราง ในแต่ละระดับราคาจะมีค่าของอุปสงค์ – อุปทาน แตกต่างกัน ถ้าราคาใดที่ค่าของ
อุปสงค์ และอุปทาน เท่ากัน ราคานั้นคือ ราคาดุลยภาพ (กก.ละ 20 บาท) และค่าอุปสงค์ และอุปทานที่เท่ากันนั้น คือ
ปริมาณดุลยภาพ (30 กก.)
การหาค่าดุลยภาพจากรูปกราฟ สังเกตเส้นอุปสงค์ (DD) และเส้นอุปทาน (SS) เส้นทั้งสองตัดกัน ณ จุดใด ถือว่า
เป็นค่าดุลยภาพ ค่าบนแกนตั้ง ก็คือ ราคาดุลยภาพ (กก.ละ 20 บาท) และค่าบนแกนนอน ก็คือ ปริมาณดุลยภาพ (30 กก.)
สินค้าล้นตลาด (อุปทานส่วนเกิน / อุปสงค์ส่วนขาด) คือ ปริมาณสินค้าที่มีมากกว่าความต้องการสินค้า
สินค้าขาดตลาด (อุปทานส่วนขาด / อุปสงค์ส่วนเกิน) คือ ปริมาณสินค้าที่มีน้อยกว่าความต้องการสินค้า

การบริโภค (Consumption)
การบริโภค หมายถึง การใช้ประโยชน์จากสินคาและบริการ
การบริโภคที่สิ้นเปลืองหมดไป (Destruction) หรือ การบริโภคได้เพียงครั้งเดียว ไม่สามารถบริโภคได้อีก เช่น
อาหาร น้ํามันเชื้อเพลิง เป็นต้น
การบริโภคที่ไม่สิ้นเปลือง (Diminution) คือ การบริโภคที่ได้มากกว่าหนึ่งครั้ง เช่น เครื่องนุ่มห่ม ของใช้ต่าง ๆ
เป็นต้น

การกระจาย การแบ่งสรร (Distribution)
การกระจาย คือ การจําหน่ายจ่ายแจกสินค้าและบริการซึ่งเป็นผลผลิตไปยังผู้บริโภค ตลอดจนการแบ่งสรร
ผลตอบแทนไปยังผู้มีส่วนร่วมในการผลิต ในทางเศรษฐศาสตร์นั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การกระจายสินค้า ได้แก่ การกระจายปัจจัยการผลิต (ที่ดิน ทุน แรงงาน ผู้ประกอบการ) และการกระจาย
ผลผลิต (สินค้าและบริการ)
2. การกระจายรายได้ ได้แก่ การกระจายผลตอบแทนปัจจัยการผลิต (ค่าเช่า ดอกเบี้ย ค่าจ้าง กําไร) และการ
กระจายผลตอบแทนผลผลิต (ค่าใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการ)

การแลกเปลี่ยน (Exchange)
การแลกเปลี่ยน หมายถึง การนําเอาสินค้าอย่างหนึ่งไปแลกกับอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งวิวัฒนาการของการแลกเปลี่ยนอยู่
3 ระยะดังนี้
การแลกเปลี่ยนสินค้าโดยตรง หรือการค้าต่างตอบแทน (Barter System) คือ การนําเอาสินค้ามาแลกเปลี่ยนกัน
เช่น ข้าวสารแลกกับปุ๋ย
การแลกที่ใช้เงินเป็นสื่อกลาง (Money System) คือ การแลกเปลี่ยนที่ใช้กันในปัจจุบัน
การแลกเปลี่ยนที่ใช้สินเชื่อหรือเครดิต (Credit System) ในกรณีไม่มีเงินหรือมีเงินไม่พอนั้น การแลกเปลี่ยน
จะต้องใช้ความไว้วางใจต่อกัน คือ สินเชื่อ หรือเครดิต เช่น การใช้เช็ค บัตรเครดิต แทนตัวเงิน หรือระบบเช่าซื้อ

การวัดระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
การวัดระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ หมายถึง การประเมินผลการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจมาระยะหนึ่ง
(มักจะใช้เวลา 1 ปี) ว่าการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจนั้นดีหรือไม่ ถ้าประสบความสําเร็จดี ดําเนินการต่อไป ถ้าไม่
ประสบความสําเร็จ จะได้นํามาปรับปรุง จะประเมินจาก “รายได้ประชาชาติ” (National Income : NI)
รายได้ประชาชาติ (National Income : NI) หมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ประชาชาติผลิต
ขึ้นในระยะเวลา 1 ปี โดยหักค่าเสื่อมราคาของทรัพยากรและภาษีทางอ้อม
รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลหรือรายได้ต่อบุคคล (Per Capital Income) หมายถึงค่าของรายได้ประชาชาติต่อจํานวน
ประชากร 1 คน ในการคํานวณรายได้ต่อบุคคลนั้นคํานวณจากสูตรต่อไปนี้
รายได้ต่อบุคคล =

รายได้ประช าชาติ
จํานวนประชากรในประเทศ

ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (Gross Natioanl Product : GNP) หมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้น
สุดท้ายที่ประชาชาติผลิตขึ้นในระยะเวลา 1 ปี
ผลผลิตที่เป็นของคนชาติเดียวกันไม่ว่าจะผลิตในประเทศ หรือต่างประเทศสามารถนํามารวมได้ทั้งหมดเป็นค่า
GNP และ ค่า GNP นี้เป็นข้อมูลในการคํานวณรายได้ประชาชาติ (NI)
ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น (Gross Domestic Product : GDP) หมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้น
สุดท้ายที่ผลิตขึ้นในประเทศในระยะเวลา 1 ปี
ผลผลิตที่เกิดจากการผลิตในประเทศทั้งหมดไม่ว่าผู้ผลิตจะเป็นคนชาติเดียวกันหรือคนต่างชาตินํามารวมกันเป็น
ค่า GDP และค่า GDP นี้ เป็นข้อมูลในการคํานวณอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ในการคํานวณรายได้ประชาชาติสามารถคํานวณได้จากมูลค่าของผลผลิตรวมที่ประชาชาติผลิตขึ้นในระยะเวลา 1
ปี รายได้รวมของประชาชาติในระยะเวลา 1 ปี และรายจ่ายรวมของประชาชาติในระยะเวลา 1 ปี แต่การคํานวณนั้นมักจะ
ประสบปัญหาต่าง ๆ ดังนี้
1. ข้อมูลต่าง ๆ ไม่ตรงตามความเป็นจริง
2. ไม่สามารถกําหนดค่าเสื่อมราคมของทรัพยากรได้ถูกต้อง
3. ไม่สามารถกําหนดราคาของสินค้าคงเหลือได้ ช่วงปิดบัญชีสิ้นปี
4. สินค้าและบริการที่ไม่ผ่านตลาดไม่สามารถนํามาคํานวณได้
5. การเก็บข้อมูลซ้ํา
ประโยชน์ของการศึกษารายได้ประชาชาติ
1. ข้อมูล GDP จะทําให้ทราบระดับการผลิตภายในของประเทศในภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ
2. เพื่อนํามาเปรียบเทียบฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศกับประเทศต่าง ๆ
3. เพื่อเปรียบเทียบภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะเวลาต่าง ๆ กัน
4. เพื่อเปรียบเทียบมาตรฐานการครองชีพของประชากรว่า ได้มาตรฐานหรือไม่
5. เพื่อใช้เป็นข้อมูลศึกษาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของระบบเศรษฐกิจโดยรวม
6. เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกําหนดนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศ

ระบบเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจ คือลักษณะการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของแต่ละสังคม เพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุดทาง
เศรษฐกิจ (อยู่ดี กินดี มั่งคั่ง) สิ่งแวดล้อมและปัจจัยต่าง ๆ ของแต่ละสังคมต่างกัน จึงทําให้ลักษณะการดําเนินกิจกรรม
ทางเศรษฐกิจของแต่ละสังคมแตกต่างกันไป
ระบบเศรษฐกิจในโลกนี้ที่นิยมแพร่หลายนั้น แบ่งได้ 4 ระบบ คือ ระบบทุนนิยม หรือเสรีนิยม ระบบ
คอมมิวนิสต์ ระบบสังคมนิยม และระบบเศรษฐกิจแบบผสม
แผนภูมที่แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบในการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลกับเอกชน ในแต่ละ
ิ
ระบบเศรษฐกิจ นั้นมีดังนี้
ระบบเศรษฐกิจ
ผู้รับผิดชอบการดําเนินกิจกรรมฯ
ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม หรือเสรีนิยม
→ เอกชน
ระบบเศรษฐกิจคอมมิวนิสต์
→ รัฐบาล
ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยม
→ รัฐบาล > เอกชน
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
→ เอกชน + รัฐบาล

ระบบคอมมิวนิสต์
ลักษณะเด่น
- รัฐบาลเป็นเจ้าของปัจจัย
การผลิตอย่าสิ้นเชิง
- รัฐบาลเป็นผู้ทํากิจกรรม
ทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น
- เอกชนไม่มีสิทธิทํา
กิจกรรมเศรษฐกิจใด ๆ

ลักษณะเด่นต่าง ๆ ข้อดีและข้อเสียของระบบเศรษฐกิจต่าง ๆ
ระบบสังคมนิยม
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
ลักษณะเด่น
ลักษณะเด่น
- รัฐบาลเป็นเจ้าของปัจจัย
- ระบบทุนนิยมกับสังคม
- กิจกรรมทางเศรษฐกิจ
การผลิตที่สาคัญ
ส่วนใหญ่เป็นของเอกชน
- รัฐบาลทํากิจกรรมทาง
เหมือนทุนนิยม
เศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่
- รัฐบาลเข้ามาทําธุรกิจเพื่อ
รายได้สูง เกี่ยวข้องกับ
คุ้มครองผลประโยชน์
ประชาชนมาก ๆ
ให้แก่ประชาชน
- เอกชนมีสิทธิทําธุรกิจต่าง ๆ
- ปัญหาทางเศรษฐกิจได้รับ
ที่รัฐบาลไม่ทํา
การแก้ไขจากรัฐบาลและเอกชน
(ธุรกิจขนาดเล็ก)
- รัฐบาลจัดสวัสดิการให้แก่
- รัฐบาลจัดสวัสดิการให้
ประชาชน
แก่ประชาชน

ข้อดี
- เอกชนไม่ต้อง
รับผิดชอบทางด้าน
เศรษฐกิจ
- ทรัพยากรถูกควบคุม
การใช้จากรัฐทําให้
ไม่ถูกทําลาย

ข้อดี
- การกระจายรายได้ดี เพราะ
รายได้ส่วนใหญ่เป็นของรัฐ
ประชาชนจะมีรายได้ไม่
แตกต่างกันมาก
- ประชาชนได้รับการคุ้ม
ครองผลประโยชน์จาก
รัฐในรูปของสวัสดิการ
และสินค้าบริการที่รัฐทํา

ข้อเสีย
- ประชาชนไม่มีสิทธิเสรี

ข้อเสีย
- เอกชนถูกจํากัดสิทธิเสรีภาพ

ระบบทุนนิยม / เสรีนิยม
ลักษณะเด่น
- เอกชนเป็นผู้ดําเนิน
กิจกรรมทางเศรษฐกิจ
- เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัย
การผลิต โดยมีกฎหมาย
รับรอง
- มีการแข่งขันทางด้าน
คุณภาพประสิทธิภาพ
ราคาและการบริการ
โดยมีกําไรเป็นแรงจูงใจ
- ราคาสินค้าถูกกําหนด
โดยกลไกแห่งราคา
(อุปสงค์ – อุปทาน)
ข้อดี
- เอกชนมีเสรีภาพทาง
เศรษฐกิจ
- สินค้าและบริการมีมาก
คุณภาพดี ราคาเยา
- รัฐไม่ต้องจัดสรร
งบประมาณมาทําธุรกิจ

ข้อดี
- ประชาชนมีเสรีภาพทาง
เศรษฐกิจ
- สินค้าและบริการมีมากคุณภาพ
ดี และราคาเยา
- ประชาชนได้รับการคุ้มครอง
ผลประโยชน์จากรัฐบาล
ในรูปของสวัสดิการธุรกิจที่จํา
เป็นแก่การครองชีพ
- เอกชนมีกําลังใจในการทํา
ธุรกิจเพราะมีกําไรเป็นแรงจูงใจ
ข้อเสีย
ข้อเสีย
- รัฐบาลต้องจัดสรร
- การกระจายรายได้ไม่ดี
ภาพทางเศรษฐกิจ
บางส่วน
งบประมาณมาทําธุรกิจ
เพราะรายได้ส่วนใหญ่
(รัฐบาลทําทั้งหมด)
- รัฐบาลต้องจัดสรร
มักจะขาดทุน
ตกแก่นายทุน
- สินค้าและบริการมีน้อย
งบประมาณมาทําธุรกิจและ
- ประชาชนอาจมีปัญหา
และด้อยคุณภาพ เพราะ
มักจะขาดทุน กิจกรรมต่าง ๆ
จากราคาสินค้าขาด
ไม่มีการแข่งขัน
มีคุณภาพต่ํา
แคลนเนื่องจากนายทุน
- ผลผลิตต่ํา เพราะ
รวมตัวกัน
ประชาชนไม่มีขวัญและ
- การใช้ทรัพยากรฟุ่มเฟือย
กําลังใจในการทําธุรกิจ
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม เป็นระบบที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย และประเทศไทยก็ใช้ ระบบนี้

สหกรณ์
สหกรณ์ หมายถึง องค์กรอิสระของบุคคลที่มารวมกันด้วยความสมัครใจ เพื่อดําเนินธุรกิจการค้าไม่ได้แสวงหา
กําไร โดยสมาชิกทุกคนเป็นเจ้าของกิจการ
หลักการสาคัญในการดาเนินงานของสหกรณ์
การดําเนินงานของสหกรณ์นั้นมุ่งการพึ่งตนเอง การมีสิทธิเท่าเทียมกัน ความสามัคคีและความเที่ยงธรรมโดย
เน้นความเป็นประชาธิปไตย ประกอบด้วยหลักการที่สําคัญ ดังนี้
1. ความสมัครใจและเปิดกว้าง (Voluntary and Open Membership) สมาชิกของสหกรณ์มาจากบุคคลทั่วไปที่
เต็มใจที่จะปฏิบัติข้อกําหนดของสหกรณ์ โดยไม่มีการแยกเพศวัย เชือชาติ ศาสนา
้
2. หลักประชาธิปไตย (Democratic Member Control) สมาชิกทุกคนได้รับการดูแล ควบคุมและปฏิบัติตาม
แนวทางประชาธิปไตยเหมือนกัน
3. การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ (Member Economic Participation) สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการลงทุนด้วย
การซื้อหุ้น และได้รับผลตอบแทนตามจํานวนหุ้นที่ซื้อ
4. ความเป็นอิสระ (Autonomy and Independence) สหกรณ์จะต้องพึ่งตนเอง และอยู่ภายใต้การดูแลของสมาชิก
ตามแนวทางประชาธิปไตย
5. การให้การศึกษา ฝึกอบรมและสารสนเทศ (Education Training and Information) สมาชิกทุกคนจะได้รับ
การศึกษา ฝึกอบรมจากสหกรณ์และประชาสัมพันธ์ให้บุคคลทั่วไปได้รับสารสนเทศของสหกรณ์
6. การร่วมมือระหว่างสหกรณ์ (Cooperation among Cooperative) สหกรณ์จะต้องให้ความร่วมมือกับสหกรณ์
อื่น ๆ เพื่อการพัฒนาและส่งเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสหกรณ์
7. ความเอื้ออาทรต่อชุมชน (Concern for Community) สหกรณ์ดําเนินการตามความเห็นชอบของสมาชิกเพื่อ
การพัฒนาชุมชน
สหกรณ์ในประเทศไทย
ในประเทศไทยปัจจุบันมีสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้น 6 ประเภทแยกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามจุดมุ่งหมายและวิธีดําเนินงาน
ดังนี้
กลุ่มที่ 1 : สหกรณ์ในภาคการเกษตร
1. สหกรณ์การเกษตร - เป็นการร่วมกันของผู้ประกอบอาชีพทางการเกษตรในการที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและยกระดับความเป็นอยู่ของสมาชิกให้ดียิ่งขึ้น
2. สหกรณ์ประมง - เป็นการร่วมมือกันระหว่างผู้ประกอบอาชีพประมง มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้บริการความรู้
ทางวิชาการและธุรกิจการประมง จัดหาเงินกู้ให้แก่สมาชิกเพื่อนําไปประกอบอาชีพ รับฝากเงิน
3. สหกรณ์นิคม - เป็นการจัดตั้งขึ้นเพื่อดําเนินการจัดสรรที่ทํากินให้ราษฎร สร้างปัจจัยพื้นฐานและสิ่งอํานวย
ความสะดวกให้แก่ผู้ที่อยู่อาศัย ทั้งยังจัดหาสินเชื่อปัจจัยการผลิต การแปรรูปการเกษตร และการส่งเสริม
อาชีพ
กลุ่มที่ 2 : สหกรณ์นอกภาคการเกษตร
1. สหกรณ์ร้านค้า - เป็นการรวมตัวของผู้บริโภค เพื่อจัดหาสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคมาจําหน่ายแก่สมาชิก
2. สหกรณ์ออมทรัพย์ - เป็นการระดมทุนของผู้ประกอบอาชีพเดียวกัน เพื่อตั้งสถาบันการเงิน โดยให้สมาชิก
ฝากเงินและกู้ยืมเงินโดยเสียดอกเบี้ยต่ําและมีระยะเวลาผ่อนชําระยาวนาน
3. สหกรณ์บริการ - สหกรณ์ที่ตั้งขึ้นตามพ.ร.บ.สหกรณ์ พ .ศ. 2511 โดยมีสมาชิกผู้ประกอบอาชีพเดียวกัน
ตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป มาดําเนินงานเกี่ยวกับอาชีพของตนให้มีความมั่นคงและรักษาอาชีพของตนไว้

การจัดตั้งสหกรณ์
ในการจัดตังสหกรณ์นั้นมี 5 ขั้นตอนดังนี้
้
1. ขอคําแนะนําจากสหกรณ์จังหวัดหรือสหกรณ์อําเภอ
2. ประชุมผู้ซึ่งประสงค์จะเป็นสมาชิก
3. ประชุมคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์
4. ประชุมผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิก
5. ยื่นเรื่องขอจดทะเบียนสหกรณ์
ข้อดี
ธุรกิจแบบสหกรณ์สามารถรวบรวมเงินทุนได้จานวนมาก
เพราะการรวบรวมทุ นจัดแบ่งออกเป็นหุ้น ๆ และ
เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ไม่ได้มุ่งหวังผลกาไร สหกรณ์ในประเทศต่าง ๆ จึงมักได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล และได้รับ
สิทธิพิเศษด้านภาษีอากรและอื่น ๆ
ข้อเสีย
เนื่องจากธุรกิจแบบสหกรณ์ไม่ได้มุ่งหวังผลกาไร จึงให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่สมา ชิกในอัตราต่ามาก แต่
จะมีผลตอบแทนอีกส่วนหนึ่งตามสัดส่วนแห่งกิจการงาน หรือการค้าที่สมาชิกมีต่อสหกรณ์ สมาชิกมักจะไม่ซื้อหุ้นไว้มาก
เพราะได้รับผลตอบแทนต่า
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาในการดําเนินชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่พสกนิกรให้
เป็นแนวทางในการดํารงชีวิตและปฏิบัติตนมาโดยตลอด โดยเฉพาะเมื่อครั้งที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปีพ.ศ. 2540 พระองค์
ทรงเน้นย้ําให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของเศรษฐกิจพอเพียง
ต่อมาได้พระราชทานพระราชดาริเพิ่มเติมมาโดยตลอด เพื่อให้เกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเ ทศมีความ
แข็งแรงพอ ก่อนที่จะไปผลิตเพื่อการค้าหรือเชิงพาณิชย์ โดยยึดหลักการ “ทฤษฏีใหม่” 3 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 มีความพอเพียง
เลี้ยงตนเองได้บนพื้นฐานของความประหยัดและขจัดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
ขั้นที่ 2 รวมพลังกันในรูปกลุ่ม เพื่อการผลิต การตลาด การจัดการ รวมทั้งด้านสวัสดิการ การศึกษา การ
พัฒนาสังคม
ขั้นที่ 3 สร้างเครือข่าย
กลุ่มอาชีพและขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย โดยประสานความร่วมมือกับ
ภาคธุรกิจ ภาคองค์การพัฒนาเอกชนและภาคราชการในด้านเงินทุน การตลาด การผลิต การจัดการและข่าวสาร
ข้อมูล
การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
1. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการดารงชีพอย่างจริงจังดังพระราชดารัส
ว่า
ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง …
2. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องสุจริต
แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดารงชีพก็ตาม ดังพระราช
ดารัสที่ว่า
ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดมาจาก การประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพของตนเป็นหลักสาคัญ …
3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกัน
ในทางการค้าขายประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรงดังอดีต
ซึ่งมีพระราช
ดารัสเรื่องนี้ว่า ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึงความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็น
ธรรมทั้งใน
เจตนาและการกระทา ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น …
4. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก โดยต้องขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิด
มี
รายได้เพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสาคัญ พระราชดารัสตอนหนึ่งที่ให้ความ
ชัดเจนว่า
การที่ต้องการให้ทุกคนพยายามที่จะหาความรู้ และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้เพื่อตนเอง
เพื่อที่จะให้ตัวเองมีความ
เป็นอยู่ที่ก้าวหน้า ที่มีความสุข พอมีพอกินเป็นขั้นหนึ่งและขั้นต่อไป
ก็คือให้มีเกียรติว่ายืนได้ด้วยตัวเอง
…
5. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดีลดละสิ่งยั่วกิเลสให้หม ดสิ้นไป
ทั้งนี้ด้วยสังคมไทยที่ล่มสลายลงในครั้งนี้
เพราะยังมีบุคคลจานวนมิใช่น้อยที่ดาเนินการโดยปราศจากละอายต่อแผ่นดิน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ได้พระราชทานพระราโชวาทว่า พยายามไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทาลายตัว
ทาลายผู้อื่น พยายามลดพยายาม
ละความชั่วที่ตัวเองมีอยู่ พยายามก่อความดีให้แก่ตัวอยู่เสมอ พยายามรักษาและเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่นั้น ให้งอกงาม
สมบูรณ์ขึ้น …
สรุป ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีองค์ประกอบสําคัญ 5 ประการ
1. ทางสายกลาง - ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทและพึ่งตนเองให้มากขึน
้
2. ความสมดุลและความยั่งยืน - ความพอดี ความเหมาะสม ความหลากหลายและความกลมกลืน มีความยั่งยืน
ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3. ความพอประมาณอย่างมีเหตุผล - ไม่โลภ ไม่ฟุ้งเฟ้อ มีเหตุผล
4. ภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันโลก - มีความรอบคอบ รู้ทันการเปลี่ยนแปลง
5. การเสริมสร้างคุณภาพคน - มีจิตสํานึกในคุณธรรมจริยธรรม เอื้ออาทรต่อกัน มีระเบียบวินัย อดทนอด
กลั้นและอดออม
การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง
ในการดําเนินชีวิตประจําวัน สามารถนําเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ได้ดังนี้
1. การประหยัด - การใช้จ่ายกว่าที่จําเป็น ลดละความฟุ่มเฟือย
2. การประกอบอาชีพสุจริต - การทํามาหากินต้องซื้อสัตย์ลูกต้อง
3. การไม่แก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกัน - การประกอบอาชีพด้านค้าขายต้องไม่แก่งแย่งผลประโยชน์
ด้วยการต่อสู้หรือแข่งขันกันอย่างรุนแรง
4. การหารายได้เพิ่มพูน - การขวนขวายหาความรู้ พัฒนาความสามารถ ให้มีรายได้เพิ่มพูนยิ่งขึ้นจนเกิดความ
พอเพียง
5. การไม่กระทําชั่ว - การทําความดีและลดละความชั่วทั้งปวงให้หมดไป

ทฤษฎีใหม่
ความหมายของทฤษฎีใหม่
ทฤษฎีใหม่ - แนวพระราชดําริในการจัดการบริหารที่ดินของเกษตรกรให้มีสัดส่วนในการใช้ พื้นที่ดินให้เกิด
ประโยชน์สูงสุด
ความเป็นมาของทฤษฎีใหม่
ในการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรมในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ พระบาทสมเด็จได้ทอดพระเนตรเห็น
ความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่ยังอยู่กันอย่างยากไร้ เพราะการเกษตรที่ไม่ได้ผล เนื่องจากขาดแคลนน้ําพระองค์
ท่านได้พระราชดําริ “ทฤษฎีใหม่” และทรงทดลองที่วัดมงคลชัยพัฒนา อ.เมือง จ.สระบุรี และประสบความสําเร็จเป็น
แบบอย่าง ให้เกษตรกรนําไปเป็นแบบอย่างได้
หลักการและขั้นตอนของทฤษฎีใหม่
ทฤษฎีใหม่แบ่งการดําเนินงานออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น
ก. แบ่งที่ดินที่มีอยู่ออกเป็นแปลง ๆ เพือก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยใช้อัตราส่วน
่
30 : 30 : 30 :
10 รวมเป็น 100% ดังนี้
พื้นที่แปลงที่ 1 มีพื้นที่ร้อยละ 30 ใช้เป็นแหล่งน้ํา เลี้ยงสัตว์น้ําและปลูกพืชน้ํา
พื้นที่แปลงที่ 2 มีพื้นที่ร้อยละ 30 ใช้ปลูกข้าว
พื้นที่แปลงที่ 3 มีพื้นที่ร้อยละ 30 ใช้ปลูกไม้ผล พืชไร่ พืชสวน ผัก
พื้นที่แปลงที่ 4 มีพื้นที่ร้อยละ 10 ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์และโรงเรือนอื่น ๆ
ข. ความสามัคคีร่วมใจกันระหว่างเกษตรกรในชุมชน คล้ายการลงแขกช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ค. การพึ่งตนเอง ทุกครัวเรือนจะมีผลผลิตที่เป็นอาหารเพียงพอในครัวเรือนไม่ต้องซื้อหาในราคาแพ่ง
ง. มีน้ําใช้ในการบริโภค อุปโภคเพียงพอในการประกอบอาชีพและดํารงชีวิต
2. ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า เป็นขั้นที่เกษตรกรจะพัฒนาไปสู่ขั้นพออยู่พอกิน เพื่อให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
จะต้องมีการรวมกลุ่มกันในรูปของสหกรณ์หรือกลุ่ม (ชุมนุม , ชมรม) โดยดําเนินการด้านต่าง ๆ ดังนี้
ก. ด้านการผลิต จัดเตรียมหาพันธุ์พืช ปุ๋ย
ข. ด้านการตลาด จัดหายุ้งฉางและร่วมกันขายผลผลิต
ค. ด้านคุณภาพชีวิต จัดสวัสดิการเช่น สถานีอนามัย โรงเรียน ศาสนสถาน และปัจจัยพื้นฐานอื่น ๆ ใน
การดํารงชีวิตที่ดีพอสมควร
3. ทฤษฎีใหม่ขั้นพัฒนา
พัฒนาเกษตรกรให้ก้าวหน้าด้านการติดต่อประสานงานการจัดหาทุน เพื่อการลงทุนและการพัฒนาคุณภาพ
ชีวิต
ประโยชน์ของทฤษฎีใหม่
1. การพึ่งตนเอง เกษตรกรเป็นผู้กําหนดต่อตลาด
2. ชุมชนเข้มแข็ง โดยการรวมพลังของชาวบ้าน
3. ความสามัคคีของชุมชน ชาวบ้านมีความเอื้ออาทรต่อกัน

การเงิน
เงิน (Money) หมายถึง สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่สังคมสมมติขึ้นและยอมรับว่ามีค่า ทั้งยังใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
เงิน
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ เหรียญกษาปณ์ ธนบัตร และเงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวัน
1. เหรียญกษาปณ์ (Coins) เป็นเงินเหรียญที่สร้างขึ้นจากโลหะชนิดต่าง ๆ เช่น ทองคํา เงิน ทองแดง และ
โลหะผสม (นิกเกิลกับทองแดง) เงินประเภทนี้สร้างขึ้นโดยไม่ต้องมีสิ่งค้ําประกันเพราะค่าของมันอยู่ที่โลหะ
นั้น ๆ รัฐบาลเป็นผู้ผลิตเหรียญกษาปณ์ขึ้นมาใช้หมุนเวียนให้พอเพียงแก่ธุรกิจในประเทศ
2. ธนบัตร (Note Currency หรือ Bank Note) เป็นเงินกระดาษที่ชําระหนี้ได้ตามกฎหมาย ธนาคารกลางเป็น
ผู้ผลิตธนบัตร การผลิตธนบัตรต้องมีสิ่งค้ําประกัน เช่น ทองคํา เงิน เงินทุนสํารองที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
เป็นต้น ธนบัตรใช้แลกเปลี่ยนระหว่างประเทศได้
3. เงินฝากธนาคารกระแสรายวัน (Demand Deposits) เงินประเภทนี้ผู้ฝากสามารถสั่งจ่ายในรูปของเช็คซึ่งใช้
แทนเงินได้ทันที นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงเช็คของขวัญและบัตรเครดิต
สิ่งที่ใกล้เคียงกับเงิน (Near Money) คือ สิ่งที่มีค่าต่าง ๆ ซึ่งบางครั้งจะเป็นว่าคล้ายคลึงกับเงิน แต่จะแตกต่างกับ
เงินเพียงเล็กน้อย เพราะจะนําสิ่งที่ได้ชื่อว่าใกล้เคียงกับเงินนั้นไปใช้ทันทีไม่ได้ ต้องนําไปแลกเปลี่ยนก่อน แต่การ
แลกเปลี่ยนนั้นทําได้โดยง่าย สิ่งที่ใกล้เคียงกับเงิน ได้แก่ เช็คเดินทาง เช็คล่วงหน้า ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน พันธบัตร
หน้าที่ของเงิน แบ่งออกเป็น 4 ประการคือ
1. เป็นหน่วยในการวัดมูลค่า (Measure of Value)
2. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (Medium of Exchange)
3. เป็นมาตรฐานในการชําระหนี้ในอนาคต (Standard of Deferred Payment)
4. เป็นเครื่องรักษามูลค่า (Store of Value)

ปริมาณเงินหรือ ซัพพลายเงินตรา (Money Supply) คือ เงินทุกประเภทที่หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจ
ซึ่งเงินในจํานวนนี้หมายถึงเงินฝากในธนาคารที่ผู้ฝากสามารถถอนออกได้ทุกเวลาปริมาณเงินแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
เงินเฟ้อ และเงินฝืด

เงินเฟ้อ (Inflation) เป็นสภาวการณ์ที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากเกินไป ทําให้ราคาสินค้าและ
บริการสูงขึ้น และเศรษฐกิจจะมีความคล่องตัวมาก เงินเฟ้อนั้นมีสาเหตุ 2 ประการ คือ อุปสงค์ในสินค้าและบริการสูงกว่า
อุปทาน หรือสภาวการณ์ที่ปริมาณสินค้าขาดตลาด และต้นทุนในการผลิตสินค้าและบริการสูงขึ้น
ลักษณะเงินเฟ้อ เราสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ โดยพิจารณาจากราคาสินค้าที่สูงขึ้น ดังนี้
1. เงินเฟ้ออ่อน ๆ ราคาสินค้าและบริการจะสูงไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ ต่อปี เงินเฟ้อประเภทนี้จะเป็นผลดีต่อ
เศรษฐกิจ เพราะจะทําให้ผู้ผลิตมีกําลังใจที่จะผลิตและผู้บริโภคก็ไม่เดือดร้อน
2. เงินเฟ้อปานกลาง ราคาสินค้าและบริการจะสูงระหว่าง 5 – 20 เปอร์เซ็นต์ต่อปี
3. เงินเฟ้ออย่างรุนแรง ราคาสินค้าและบริการจะสูงเกิน 20 เปอร์เซ็นต์ต่อปี
ผลกระทบของเงินเฟ้อ เมื่อเกิดปัญหาเงินเฟ้อจะมีทั้งผู้ได้รับประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ ดังนี้
1. ผู้ที่ได้รับประโยชน์ ผู้ที่ได้รับประโยชน์นั้นเป็นผู้มีรายได้ขึ้นอยู่กับความคล่องของเศรษฐกิจ เช่นนักธุรกิจ
การค้า ผู้ผลิต ผู้ถือหุ้น ผู้เป็นลูกหนี้ เป็นต้น บุคคลเหล่านี้จะมีรายได้มาก
2. ผู้ที่เสียผลประโยชน์ ผู้มีรายได้ประจํา เช่น ข้าราชการ ลูกจ้าง ผู้ใช้แรงงาน เป็นต้น บุคคลเหล่านี้จะมีรายได้
เท่าเดิมค่าครองชีพสูง จะมีชีวิตความเป็นอยู่ฝืดเคือง
เงินเฟ้อนั้นเป็นสภาวการณ์ที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากเกินไปเมื่อเกิดปัญหานี้แล้วจะต้อง
แก้ปัญหาด้วยการลดปริมาณเงินลง ดังนี้
 ธนาคารกลางเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้แก่ธนาคารพาณิชย์
 ธนาคารกลางเพิ่มปริมาณการขายพันธบัตรรัฐบาลมากขึ้น
 ธนาคารกลางลดการปล่อยสินเชื่อ
 เพิ่มภาษีทางตรงและทางอ้อม
 ตรึงราคาสินค้าที่จําเป็นแก่การครองชีพ
 รัฐบาลลดค่าใช้จ่ายให้ต่ําลง (รัฐบาลจัดงบประมาณเกินดุล)

เงินฝืด (Deflation) เป็นสภาวการณ์ที่มีปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจน้อยกว่าปกติ ทําให้ภาวะ
เศรษฐกิจซบเซา ราคาสินค้าลดลง และมีคนว่างงานเพิ่มมากขึ้น เงินฝืดนั้นมีสาเหตุ 2 ประการคือ ช่วงที่มีการออมสูงหรือมี
การขายพันธบัตรรัฐบาลเกินไปทําให้ไม่มีการนําเงินออกมาใช้จ่าย
ผลกระทบของเงินฝืด คล้ายคลึงกับเงินเฟ้อ คือ มีทั้งผู้รับผลประโยชน์และผู้เสียผลประโยชน์ แต่กลุ่มนั้นตรงกัน
ข้ามกัน ดังนี้
1. ผู้ที่ได้ผลประโยชน์ ผู้มีรายได้ประจํา เช่น ข้าราชการ เป็นต้น ผู้ที่เป็นเจ้าหนี้ ผู้ที่ได้รับดอกเบี้ยจากการนําเงิน
ไปฝากธนาคาร บุคคลเหล่านี้มีรายได้เท่าเดิมและแน่นอน แต่ค่าครองชีพต่ําลงเพราะเงินมีค่ามากขึ้น
2. ผู้เสียผลประโยชน์ นักธุรกิจการค้าผู้ผลิต ผู้ถือหุ้น ผู้เป็นลูกหนี้ บุคคลเหล่านี้จะมีความเป็นอยู่ฝืดเคือง
เพราะเศรษฐกิจซบเซา เงินหายากขึ้น เพราะมีค่ามากขึ้น
เงินฝืดนั้นเป็นสภาวการณ์ที่เกิดจากปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมีน้อยเกินไปและเศรษฐกิจซบเซา ทํา
ให้คนว่างงานมากขึ้น ในการแก้ปัญหาเงินฝืดจะต้องเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้มากขึ้น ดังนี้
 ธนาคารกลางลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้แก่ธนาคารพาณิชย์
 ธนาคารกลางลดปริมาณการขายพันธบัตรรัฐบาลลง
 ธนาคารกลางเพิ่มการปล่อยสินเชื่อ
 ลดภาษีทางตรงและทางอ้อม
 ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศและในประเทศ
 รัฐบาลเพิ่มค่าใช้จ่ายให้สูงขึ้น (รัฐบาลจัดทํางบประมาณขาดดุล)

การธนาคาร
ธนาคาร (Bank) เป็นสถาบันการเงินที่สําคัญในระบบเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดความคล่องตัวในระบบเศรษฐกิจ
ธนาคารแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ธนาคารกลาง (Central Bank) และธนาคารพาณิชย์ (Commercial Bank)
ธนาคารกลาง (Central Bank) เป็นสถาบันการเงินสูงสุดของประเทศ ประเทศเอกราช ทุกประเทศจึงมีธนาคาร
กลางเพื่อควบคุมเกี่ยวกับการเงินของประเทศ ประเทศไทยตั้งธนาคารกลางขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีชื่อว่า
“ธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand)” หรือเรียกกันว่า “แบงก์ชาติ”
หน้าที่ของธนาคารกลาง ธนาคารกลางจะเป็นหน่วยงานที่ดูแลปริมาณเงินของประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
โดยวิธี ดังนี้
1. ผลิตธนบัตรและออกธนบัตร
2. เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์และรัฐบาล
3. ควบคุมและตรวจสอบบัญชีการเงินของสถาบันการเงินต่าง ๆ ทั่วประเทศ
4. ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา และกําหนดอัตราดอกเบี้ย
5. รักษาทุนสํารองระหว่างประเทศ
6. กําหนดนโยบายด้านการเงินของประเทศ
ธนาคารพาณิชย์ (Commercial Bank) มีหน้าที่หลักสําคัญอยู่ 3 ประการ คือ รับฝากเงินประเภทต่าง ๆ สร้างเงิน
ฝากหรือให้กู้เงิน และให้บริการด้านต่าง ๆ หน้าที่ 2 ประการแรก ทุกธนาคารจะทําเหมือนกันหมด แม้แต่ดอกเบี้ยที่จะจ่าย
ให้ผู้ฝากและเก็บจากผู้กู้ยืมเป็นอัตราตามธนาคารกลางกําหนด แต่จะแตกต่างกันในประการที่ 3
ตามปกติแล้วเราจะแบ่งประเภทของธนาคารออกเป็น 2 ประเภท คือ ธนาคารกลาง กับธนาคารพาณิชย์ ดังที่ได้
กล่าวไว้ข้างต้น แต่บางครั้งอาจจะมีการจําแนกเพิ่มมาอีกประเภทหนึ่งก็ได้ คือ ธนาคารพิเศษ ซึ่งในประเทศไทยมีธนาคาร
พิเศษที่เป็นของรัฐบาลอยู่ 3 ธนาคารคือ
1. ธนาคารออมสิน มีหน้าที่พิเศษ คือ ระดมเงินฝากเพื่อนําไปให้รัฐกู้ยืม
2. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ มีหน้าที่พิเศษคือ ให้กู้ยืมเงินไปซื้อที่อยู่อาศัยหรือซ่อมสร้างที่อยู่อาศัย
3. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) มีหน้าที่พิเศษ คือ ให้เกษตรกรได้กู้ยืมเงินไปใช้
พัฒนาการเกษตรกรรม
สถาบันการเงินที่ไม่เรียกว่าธนาคาร
● บริษัทประกันภัย
● โรงรับจํานํา
●
●
●
●

สหกรณ์การเกษตร
● บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
สหกรณ์ออมทรัพย์
● ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือตลาดหุ้น
บริษัทเงินทุนและบริษัทหลักทรัพย์
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม

การคลัง
การคลัง หมายถึง เศรษฐกิจภาครัฐบาลเกี่ยวกับหารายได้เพื่อนํามาใช้จ่ายในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
ส่วนรวมของประเทศ โดยมีรัฐบาลเป็นผู้ดูแลเกี่ยวกับรายรับและรายจ่ายให้เหมาะสม
รายรับของรัฐบาล ได้จากเงินต่าง ๆ 3 ประการคือ
1. รายได้ของรัฐบาล ประกอบด้วย ภาษีอากร การขายสิ่งของและบริการ รัฐพาณิชย์ และอื่น ๆ เช่น ค่าปรับ
ค่าภาคหลวง ฤชากร การผลิตเหรียญกษาปณ์
2. เงินกู้ เงินกู้ของรัฐบาลนั้นมีทั้งกู้ภายในประเทศและกู้จากต่างประเทศ เรียกว่า “หนี้สาธารณะ”
3. เงินคงคลัง คือ เงินที่รัฐบาลมีอยู่แต่มิได้นําออกมาใช้ เงินนี้อาจจะเหลือจากงบประมาณในปีก่อนก็ได้
รายได้ส่วนใหญ่ของรัฐบาลมาจากภาษีอากร ในประเทศไทยการเก็บภาษีเงินได้ใช้ระบบก้าวหน้า หมายถึง ยิ่งมี
รายได้สูงอัตราการเก็บภาษีจะสูงขึนเรื่อย ๆ (5 – 37%) การเก็บภาษีแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
้
1. ภาษีทางตรง (Direct Tax) คือ ภาษีที่เก็บจากผู้มีรายได้โดยตรงหรือผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน เช่น ภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมรดก ภาษีดอกเบี้ย (เงินฝากประจํา) ภาษีรางวัล ภาษีทะเบียน
รถยนต์ / มอเตอร์ไซด์ /เรือ / ปืน ภาษีที่ดิน ภาษีโรงเรียน ภาษีป้าย ภาษีสนามบิน
2. ภาษีทางอ้อม (Indirect Tax) คือ ภาษีที่เก็บจากบุคคลหนึ่งแล้วบุคคลนั้นผลักภาระการเสียภาษีภาษีนั้นไปให้
อีกบุคคลหนึ่ง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ
 ภาษีศุลกากร เป็นภาษีที่เก็บจากการนําเข้าและส่งออกสินค้า
 ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่เก็บจากการผลิตหรือจําหน่ายสินค้าบางชนิด เช่น น้ํามันเชื้อเพลิง ก๊าซ บุหรี่
สุรา เบียร์ เครื่องดื่ม ยานัตถุ์ ไพ่ ไม้ขีด ปูนซีเมนต์
 ภาษีสรรพากร เช่น อากรมหรสพ ภาษีมูลค่าเพิ่ม
การกู้เงินของรัฐบาล รัฐบาลมีแหล่งเงินกู้ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
แหล่งเงินกู้ภายในประเทศ คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารพาณิชย์ องค์การสถาบัน
มูลนิธิ บริษัท และประชาชน (มักจะออกมาในรูปของการขายพันธบัตร)
แหล่งเงินกู้ภายนอก คือ องค์การระหว่างประเทศ สถาบันการเงินต่างประเทศ และรัฐบาลต่างประเทศ
เงินกู้ภายนอกประเทศจะไม่นามาใส่งบประมาณรายรับ เพราะการกู้เงินจากต่างประเทศจะต้องมีโครงการไปเสนอแหล่ง
เงินจะพิจารณาให้กู้ตามโครงการและจะต้องนําเงินมาใช้เฉพาะในโครงการนั้น ๆ เอาไปใช้อย่างอื่นนอกโครงการไม่ได้
รายจ่ายของรัฐบาล วัตถุประสงค์ของรัฐบาลในการจ่ายเงิน คือ เพื่อเพิ่มผลผลิตทําให้รายได้ประชาชนสูงขึ้น เพื่อ
สาธารณูปโภคบริการแก่ประชาชน เพื่อรักษาความสงบภายใน และเพื่อใช้ป้องกันประเทศ
รายจ่ายของรัฐบาล แบ่งออกเป็น 12 ประการ เช่น การเกษตร การศึกษา การสาธารณสุข การรักษาความมั่นคง
แห่งชาติ และการรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน และการชําระหนี้เงินกู้ เป็นต้น

งบประมาณแผ่นดิน หมายถึง เอกสารประมาณการเกี่ยวกับรายรับและรายจ่ายของรัฐบาลงบประมาณแผ่นดิน
นั้นเป็นการวางแผนเกี่ยวกับการใช้จ่ายของรัฐบาลนั่นเอง ประเทศไทยเริ่มมีงบประมาณแผ่นดินครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5
การจัดทํางบประมาณแผ่นดินนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ส่วนผู้ที่อนุมัติการใช้งบประมาณ คือ รัฐสภา โดยประกาศออกมา
เป็นกฎหมาย เรียกว่า “พระราชบัญญัติงบประมาณประจําปี พ.ศ....”
ปีงบประมาณของประเทศไทยจะอยู่ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 30 กันยายน ของปีถัดไป เช่น ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2553 จะอยู่ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2553 เป็นต้น
ลักษณะของงบประมาณแผ่นดิน แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ
1. งบประมาณขาดดุล หมายถึง ยอดรายได้ของรัฐบาลต่ํากว่ายอดรายจ่าย จําต้องนําเอาเงินกู้และเงินคงคลัง
มาเสริม
2. งบประมาณเกินดุล หมายถึง ยอดรายได้ของรัฐบาลสูงกว่ายอดรายจ่าย
3. งบประมาณได้ดุล (สมดุล) หมายถึง ยอดรายได้ของรัฐบาลเท่ากับยอดรายจ่าย

เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
เศรษฐกิจระหว่างประเทศ หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอยู่ 3
เรื่อง คือ การค้าระหว่างประเทศ การเงินระหว่างประเทศ และการร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การนําสินค้าและบริการจากประเทศหนึ่งไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง ซึ่ง
ลักษณะการแลกเปลี่ยนมีทั้งที่เป็นการแลกเปลี่ยนสินค้ากับสินค้า การแลกเปลี่ยนโดยใช้เงิน เป็นสื่อกลาง และการ
แลกเปลี่ยนโดยใช้สินเชื่อหรือเครดิต การค้าระหว่างประเทศนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากการที่ประเทศต่าง ๆ มีลักษณะทาง
กายภาพและทรัพยากรที่มีความสามารถในการผลิตแตกต่างกันนั่นเอง ในการค้าระหว่างประเทศนั้นจะมีสินค้าอยู่ 2 ชนิด
คือ สินค้าเข้า (Import) คือ สินค้าที่นํามาจากต่างประเทศเพื่อเข้ามาจําหน่าย และสินค้าออก (Export) คือ สินค้าที่ส่งออกไป
จําหน่ายต่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจดังนี้
1. ประเทศต่าง ๆ มีสินค้าครบตามความต้องการ
2. ประเทศต่าง ๆ จะมีการผลิตสินค้าแบบการค้าหรือมีเศรษฐกิจแบบการค้า
3. การผลิตสินค้าในประเทศต่าง ๆ จะมีการแข่งขันกันทางด้านคุณภาพและประสิทธิภาพ
4. ก่อให้เกิดความรู้ความชํานาญเฉพาะอย่าง แบ่งงานทําตามความถนัด
นโยบายการค้าระหว่างประเทศ (Trade Policy) หมายถึง แนวทางปฏิบัติทางการค้า กับประเทศต่าง ๆ มักจะ
กําหนดขึ้นใช้เพื่อรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ นโยบายการค้า ระหว่างประเทศแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
คือ นโยบายการค้าเสรี และนโยบายการค้าคุ้มกัน
1. นโยบายการค้าเสรี (Free Trade Policy) เป็นนโยบาย การค้าที่เปิดโอกาสให้มีการส่งสินค้าจากประเทศหนึ่ง
ไปอีกประเทศหนึ่ง ไม่มีการกีดกันใด ๆ ทางการค้า ประเทศที่ใช้นโยบายนี้มักจะใช้วิธีการดังนี้
 ไม่มีการเก็บภาษีคุ้มกัน เช่น ไม่มีการตั้งกําแพงภาษีสินค้าขาเข้า หรือไม่มีการเก็บค่าพรีเมียม เป็นต้น
 ไม่ให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ประเทศหนึ่งประเทศใด
 ไม่มีข้อจํากัดทางการค้าใด ๆ เช่น ไม่มีการกําหนดโควตาสินค้า เป็นต้น
 เลือกผลิตเฉพาะสินค้าที่ถนัด ซึ่งทําให้ทุนการผลิตต่ํา สินค้ามีคุณภาพ
2. นโยบายการค้าคุ้มกัน (Protective Trade Policy) เป็นนโยบายการค้าที่จํากัดการนําสินค้าเข้ามาแข่งขันกับ
การผลิตในประเทศ นโยบายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองการผลิตภายในประเทศให้สามารถดําเนินการได้
ประเทศใดที่ใช้นโยบายนี้มักจะมีเครื่องมือในการคุ้มกัน คือ การตั้งกําแพงภาษี การกําหนดโควตาสินค้า
การห้ามเข้าหรือส่งออกของสินค้าบางอย่าง การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา และการให้เงินอุดหนุน

ปริมาณการค้าระหว่างประเทศ คือมูลค่ารวมของสินค้าเข้าและสินค้าออกในระยะเวลา 1 ปี เพื่อศึกษาว่า
การค้ากับต่างประเทศเพิ่มขึ้นหรือลดลง

ดุลการค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การเปรียบเทียบระหว่างมูลค่าของสินค้าเข้ากับมูลค่าของสินค้าออก เพื่อ
ศึกษาว่าการค้ากับต่างประเทศนั้นได้เปรียบหรือเสียเปรียบ
ดุลการค้า มีอยู่ 3 ลักษณะ ดังนี้

1. ดุลการค้าเกินดุล คือ มูลค่าของสินค้าออกสูงกว่ามูลค่าของสินค้าเข้า (ได้เปรียบดุลการค้า)
2. ดุลการค้าขาดดุล คือ มูลค่าของสินค้าออกต่ํากว่ามูลค่าของสินค้าเข้า (เสียเปรียบดุลการค้า)
3. ดุลการค้าได้ดุล (สมดุล) คือ มูลค่าของสินค้าออกเท่ากับมูลค่าของสินค้าเข้า
ในการศึกษาปริมาณการค้าระหว่างประเทศและดุลการค้าระหว่างประเทศจะต้องศึกษาจากมูลค่าของสินค้าเข้า
และมูลค่าของสินค้าออก
ลักษณะการค้าต่างประเทศของไทย
1. ใช้นโยบายการค้าคุ้มกัน เพื่อคุ้มครองการผลิตในประเทศโดยมีมาตรการที่สําคัญ เช่น การตั้งกําแพงภาษี
สินค้าเข้า การกําหนดโควตาสินค้านําเข้า และการให้เงินอุดหนุนการผลิตหรือส่งออก เป็นต้น
2. ให้เอกชนมีบทบาทในทางการค้ามากที่สุด โดยรัฐจะเป็นผู้อํานวยความสะดวกให้ แต่บางครั้งรัฐบาลก็อาจ
ทําการค้ากับต่างประเทศโดยตรงบ้าง
3. ใช้ระบบภาษีศุลกากรพิกัดอัตราเดียว คือสินค้าเข้าเป็นชนิดเดียวกันไม่ว่าจะส่งมาจากประเทศใดก็ตามจะเก็บ
ภาษีศุลกากรในอัตราเดียวกัน

การเงินระหว่างประเทศ
การเงินระหว่างประเทศ เป็นการแสดงความสัมพันธ์ทางด้านการเงินระหว่างประเทศหนึ่งกับอีกประเทศหนึ่ง ซึ่ง
ความสัมพันธ์นี้สืบเนื่องมาจากการค้าขายระหว่างประเทศ การกู้ยืมเงินและการชําระหนี้ การลงทุนระหว่างประเทศ และ
การช่วยเหลือกันระหว่างประเทศ
การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ คือ การนําเงินตราสกุลหนึ่งไปแลกเปลี่ยนกับอีกสกุลหนึ่ง การแลกเปลี่ยน
เงินตราเป็นสิ่งที่สําคัญในการดําเนินธุรกิจระหว่างประเทศ การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ถูกต้องนั้นต้องแลกที่
ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีการกําหนดอัตราแลกเปลี่ยนไว้ 2 อย่าง คือ อัตราซื้อ (Buying) คือ อัตราที่ธนาคารรับซื้อ (ราคาต่ํา)
และอัตราขาย (Selling) คือ อัตราที่ธนาคารขายไป (ราคาสูง) ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนทั้ง 2 ประเภท ธนาคารกลางเป็นผู้
กําหนด โดยเทียบค่าเงินของตนกับทองคํา หรือเงินตราสกุลอื่น ๆ ภายใต้เงื่อนไขที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศกําหนด
ปัจจุบันประเทศไทยกําหนดการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศเป็นแบบ “ลอยตัว” ชนิดมีการจัดการ จะใช้
อุปสงค์ และอุปทานของเงินตราเป็นตัวกําหนดอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินที่ทําการแลกเปลี่ยนเงินตรา แต่
อยู่ในความดูแลของธนาคารกลาง
ค่าเงินแข็ง คือ เงินสกุลใดแข็งแสดงว่าเงินสกุลนั้นมีค่าสูงขึน เช่น เงินบาทแข็งค่าเดิม 1 ดอลลาร์ US. เท่ากับ 40
้
บาท จะเป็น 1 ดอลลาร์ US เท่ากับ 38 บาท
ค่าเงินอ่อน คือ เงินสกุลใดอ่อนแสดงว่าเงินสกุลนั้นมีค่าลดลง
สรุปสาระที่  3. เศรษฐศาสตร์
สรุปสาระที่  3. เศรษฐศาสตร์
สรุปสาระที่  3. เศรษฐศาสตร์
สรุปสาระที่  3. เศรษฐศาสตร์

Contenu connexe

Tendances

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม4
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม4ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม4
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม4Tatthep Deesukon
 
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัน พัน
 
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4Thanawut Rattanadon
 
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์สมศรี หอมเนียม
 
อภิปรัชญา ความจริงของโลก และ มนุษย์
อภิปรัชญา ความจริงของโลก และ มนุษย์อภิปรัชญา ความจริงของโลก และ มนุษย์
อภิปรัชญา ความจริงของโลก และ มนุษย์Padvee Academy
 
อาหารและโภชนาการ
อาหารและโภชนาการอาหารและโภชนาการ
อาหารและโภชนาการพัน พัน
 
ข้อสอบโครงงาน ม 2
ข้อสอบโครงงาน ม 2ข้อสอบโครงงาน ม 2
ข้อสอบโครงงาน ม 2Weerachat Martluplao
 
เรียงความ Is1
เรียงความ Is1เรียงความ Is1
เรียงความ Is1panisra
 
คำศัพท์ทางทัศนศิลป์สำหรับใช้บรรยายผลงานทางทัศนศิลป์
คำศัพท์ทางทัศนศิลป์สำหรับใช้บรรยายผลงานทางทัศนศิลป์คำศัพท์ทางทัศนศิลป์สำหรับใช้บรรยายผลงานทางทัศนศิลป์
คำศัพท์ทางทัศนศิลป์สำหรับใช้บรรยายผลงานทางทัศนศิลป์พัน พัน
 
ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ตลาดในระบบเศรษฐกิจตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ตลาดในระบบเศรษฐกิจPariwanButsat
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาเช็ดกระจกจากแป้งข้าวโพด
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาเช็ดกระจกจากแป้งข้าวโพดโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาเช็ดกระจกจากแป้งข้าวโพด
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาเช็ดกระจกจากแป้งข้าวโพดพัน พัน
 
โครงงาน เรื่อง การย้อมผ้าจากเปลือกมังคุด
โครงงาน เรื่อง การย้อมผ้าจากเปลือกมังคุดโครงงาน เรื่อง การย้อมผ้าจากเปลือกมังคุด
โครงงาน เรื่อง การย้อมผ้าจากเปลือกมังคุดพัน พัน
 
สื่อการสอน เรื่อง เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
สื่อการสอน เรื่อง เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพสื่อการสอน เรื่อง เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
สื่อการสอน เรื่อง เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพBeerza Kub
 
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรีถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรีWarodom Techasrisutee
 
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาThongsawan Seeha
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...ssuser858855
 
รูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงานรูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงานAjBenny Pong
 

Tendances (20)

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม4
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม4ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม4
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม4
 
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
 
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
 
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
 
นำเสนอทวีปเอเชีย
นำเสนอทวีปเอเชียนำเสนอทวีปเอเชีย
นำเสนอทวีปเอเชีย
 
อภิปรัชญา ความจริงของโลก และ มนุษย์
อภิปรัชญา ความจริงของโลก และ มนุษย์อภิปรัชญา ความจริงของโลก และ มนุษย์
อภิปรัชญา ความจริงของโลก และ มนุษย์
 
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยาพัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
 
อาหารและโภชนาการ
อาหารและโภชนาการอาหารและโภชนาการ
อาหารและโภชนาการ
 
ข้อสอบโครงงาน ม 2
ข้อสอบโครงงาน ม 2ข้อสอบโครงงาน ม 2
ข้อสอบโครงงาน ม 2
 
เรียงความ Is1
เรียงความ Is1เรียงความ Is1
เรียงความ Is1
 
คำศัพท์ทางทัศนศิลป์สำหรับใช้บรรยายผลงานทางทัศนศิลป์
คำศัพท์ทางทัศนศิลป์สำหรับใช้บรรยายผลงานทางทัศนศิลป์คำศัพท์ทางทัศนศิลป์สำหรับใช้บรรยายผลงานทางทัศนศิลป์
คำศัพท์ทางทัศนศิลป์สำหรับใช้บรรยายผลงานทางทัศนศิลป์
 
ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ตลาดในระบบเศรษฐกิจตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาเช็ดกระจกจากแป้งข้าวโพด
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาเช็ดกระจกจากแป้งข้าวโพดโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาเช็ดกระจกจากแป้งข้าวโพด
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาเช็ดกระจกจากแป้งข้าวโพด
 
โครงงาน เรื่อง การย้อมผ้าจากเปลือกมังคุด
โครงงาน เรื่อง การย้อมผ้าจากเปลือกมังคุดโครงงาน เรื่อง การย้อมผ้าจากเปลือกมังคุด
โครงงาน เรื่อง การย้อมผ้าจากเปลือกมังคุด
 
สื่อการสอน เรื่อง เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
สื่อการสอน เรื่อง เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพสื่อการสอน เรื่อง เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
สื่อการสอน เรื่อง เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
 
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรีถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
 
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
 
หน่วยที่ 10 โคลงนิราศนรินทร์
หน่วยที่ 10 โคลงนิราศนรินทร์หน่วยที่ 10 โคลงนิราศนรินทร์
หน่วยที่ 10 โคลงนิราศนรินทร์
 
รูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงานรูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงาน
 

Similaire à สรุปสาระที่ 3. เศรษฐศาสตร์

ใบความรู้สาระเศรษฐศาสตร์
ใบความรู้สาระเศรษฐศาสตร์ใบความรู้สาระเศรษฐศาสตร์
ใบความรู้สาระเศรษฐศาสตร์krunimsocial
 
บทที่ 5 ทฤษฎีว่าด้วยพฤติกรรมผู้บริโภค
บทที่ 5 ทฤษฎีว่าด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคบทที่ 5 ทฤษฎีว่าด้วยพฤติกรรมผู้บริโภค
บทที่ 5 ทฤษฎีว่าด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคOrnkapat Bualom
 
Mk212powerpoint
Mk212powerpointMk212powerpoint
Mk212powerpointthanaporn
 
ใบความรู้เศรษฐศาสตร์
ใบความรู้เศรษฐศาสตร์ใบความรู้เศรษฐศาสตร์
ใบความรู้เศรษฐศาสตร์Tatsanee Sornprom
 
เศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์เศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์sunisasa
 
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันหน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันPaew Tongpanya
 
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันหน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันPaew Tongpanya
 
เศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์เศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์Krumai Kjna
 
ความร้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
ความร้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ความร้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
ความร้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์thnaporn999
 
บทที่5
บทที่5บทที่5
บทที่5praphol
 
ระบบเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจระบบเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจPonpirun Homsuwan
 
การจัดการตลาด
การจัดการตลาดการจัดการตลาด
การจัดการตลาดpronprom11
 
Sustainable tourism planning part vi vii viii ix mar 2015
Sustainable tourism planning part vi vii viii ix  mar 2015Sustainable tourism planning part vi vii viii ix  mar 2015
Sustainable tourism planning part vi vii viii ix mar 2015Silpakorn University
 
เรื่องที่ 4 การตลาดสำหรับกิจการค้าปลีกสมัยใหม่
เรื่องที่ 4 การตลาดสำหรับกิจการค้าปลีกสมัยใหม่เรื่องที่ 4 การตลาดสำหรับกิจการค้าปลีกสมัยใหม่
เรื่องที่ 4 การตลาดสำหรับกิจการค้าปลีกสมัยใหม่arm_smiley
 
เรื่องที่4 การตลาดสำหรับกิจการค้าปลีกสมัยใหม่
เรื่องที่4 การตลาดสำหรับกิจการค้าปลีกสมัยใหม่เรื่องที่4 การตลาดสำหรับกิจการค้าปลีกสมัยใหม่
เรื่องที่4 การตลาดสำหรับกิจการค้าปลีกสมัยใหม่supatra39
 
เรื่องที่4 การตลาดสำหรับกิจการค้าปลีกสมัยใหม่
เรื่องที่4 การตลาดสำหรับกิจการค้าปลีกสมัยใหม่เรื่องที่4 การตลาดสำหรับกิจการค้าปลีกสมัยใหม่
เรื่องที่4 การตลาดสำหรับกิจการค้าปลีกสมัยใหม่supatra39
 

Similaire à สรุปสาระที่ 3. เศรษฐศาสตร์ (18)

ใบความรู้สาระเศรษฐศาสตร์
ใบความรู้สาระเศรษฐศาสตร์ใบความรู้สาระเศรษฐศาสตร์
ใบความรู้สาระเศรษฐศาสตร์
 
บทที่ 5 ทฤษฎีว่าด้วยพฤติกรรมผู้บริโภค
บทที่ 5 ทฤษฎีว่าด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคบทที่ 5 ทฤษฎีว่าด้วยพฤติกรรมผู้บริโภค
บทที่ 5 ทฤษฎีว่าด้วยพฤติกรรมผู้บริโภค
 
Mk212powerpoint
Mk212powerpointMk212powerpoint
Mk212powerpoint
 
ใบความรู้เศรษฐศาสตร์
ใบความรู้เศรษฐศาสตร์ใบความรู้เศรษฐศาสตร์
ใบความรู้เศรษฐศาสตร์
 
เศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์เศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์
 
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันหน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
 
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันหน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
 
Introgecon
IntrogeconIntrogecon
Introgecon
 
เศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์เศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์
 
เศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์เศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์
 
ความร้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
ความร้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ความร้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
ความร้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
 
บทที่5
บทที่5บทที่5
บทที่5
 
ระบบเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจระบบเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจ
 
การจัดการตลาด
การจัดการตลาดการจัดการตลาด
การจัดการตลาด
 
Sustainable tourism planning part vi vii viii ix mar 2015
Sustainable tourism planning part vi vii viii ix  mar 2015Sustainable tourism planning part vi vii viii ix  mar 2015
Sustainable tourism planning part vi vii viii ix mar 2015
 
เรื่องที่ 4 การตลาดสำหรับกิจการค้าปลีกสมัยใหม่
เรื่องที่ 4 การตลาดสำหรับกิจการค้าปลีกสมัยใหม่เรื่องที่ 4 การตลาดสำหรับกิจการค้าปลีกสมัยใหม่
เรื่องที่ 4 การตลาดสำหรับกิจการค้าปลีกสมัยใหม่
 
เรื่องที่4 การตลาดสำหรับกิจการค้าปลีกสมัยใหม่
เรื่องที่4 การตลาดสำหรับกิจการค้าปลีกสมัยใหม่เรื่องที่4 การตลาดสำหรับกิจการค้าปลีกสมัยใหม่
เรื่องที่4 การตลาดสำหรับกิจการค้าปลีกสมัยใหม่
 
เรื่องที่4 การตลาดสำหรับกิจการค้าปลีกสมัยใหม่
เรื่องที่4 การตลาดสำหรับกิจการค้าปลีกสมัยใหม่เรื่องที่4 การตลาดสำหรับกิจการค้าปลีกสมัยใหม่
เรื่องที่4 การตลาดสำหรับกิจการค้าปลีกสมัยใหม่
 

Plus de ไพบููลย์ หัดรัดชัย

โครงสร้างรายวิชาสังคมศึกษา ๖ รหัสวิชา ส๒๓๑๐๓
โครงสร้างรายวิชาสังคมศึกษา ๖ รหัสวิชา  ส๒๓๑๐๓โครงสร้างรายวิชาสังคมศึกษา ๖ รหัสวิชา  ส๒๓๑๐๓
โครงสร้างรายวิชาสังคมศึกษา ๖ รหัสวิชา ส๒๓๑๐๓ไพบููลย์ หัดรัดชัย
 
ใบงานที่ 1 เรื่อง ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ใบงานที่ 1  เรื่อง  ตลาดในระบบเศรษฐกิจใบงานที่ 1  เรื่อง  ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ใบงานที่ 1 เรื่อง ตลาดในระบบเศรษฐกิจไพบููลย์ หัดรัดชัย
 
ใบงานที่ 1 เรื่อง ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ใบงานที่ 1  เรื่อง  ตลาดในระบบเศรษฐกิจใบงานที่ 1  เรื่อง  ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ใบงานที่ 1 เรื่อง ตลาดในระบบเศรษฐกิจไพบููลย์ หัดรัดชัย
 
ใบงาน เรื่อง ลักษณะภูมิอากาศและพืชพรรณของทวีปอเมริกาเหนือ
ใบงาน เรื่อง  ลักษณะภูมิอากาศและพืชพรรณของทวีปอเมริกาเหนือใบงาน เรื่อง  ลักษณะภูมิอากาศและพืชพรรณของทวีปอเมริกาเหนือ
ใบงาน เรื่อง ลักษณะภูมิอากาศและพืชพรรณของทวีปอเมริกาเหนือไพบููลย์ หัดรัดชัย
 

Plus de ไพบููลย์ หัดรัดชัย (20)

โครงสร้างรายวิชาสังคมศึกษา ๖ รหัสวิชา ส๒๓๑๐๓
โครงสร้างรายวิชาสังคมศึกษา ๖ รหัสวิชา  ส๒๓๑๐๓โครงสร้างรายวิชาสังคมศึกษา ๖ รหัสวิชา  ส๒๓๑๐๓
โครงสร้างรายวิชาสังคมศึกษา ๖ รหัสวิชา ส๒๓๑๐๓
 
ใบงานอเมริกาใต้
ใบงานอเมริกาใต้ใบงานอเมริกาใต้
ใบงานอเมริกาใต้
 
ใบงานอเมริกาใต้
ใบงานอเมริกาใต้ใบงานอเมริกาใต้
ใบงานอเมริกาใต้
 
ใบงานอเมริกาใต้
ใบงานอเมริกาใต้ใบงานอเมริกาใต้
ใบงานอเมริกาใต้
 
ใบงานอเมริกาใต้
ใบงานอเมริกาใต้ใบงานอเมริกาใต้
ใบงานอเมริกาใต้
 
ใบงาน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
ใบงาน     หน่วยการเรียนรู้ที่ 2ใบงาน     หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
ใบงาน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
 
ใบงาน พุทธประวัติ2
ใบงาน พุทธประวัติ2ใบงาน พุทธประวัติ2
ใบงาน พุทธประวัติ2
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรายงาน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรายงานความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรายงาน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรายงาน
 
ใบงาน1
ใบงาน1ใบงาน1
ใบงาน1
 
สรุปสาระที่ 3. เศรษฐศาสตร์
สรุปสาระที่  3. เศรษฐศาสตร์สรุปสาระที่  3. เศรษฐศาสตร์
สรุปสาระที่ 3. เศรษฐศาสตร์
 
ใบงานที่ 1 เรื่อง ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ใบงานที่ 1  เรื่อง  ตลาดในระบบเศรษฐกิจใบงานที่ 1  เรื่อง  ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ใบงานที่ 1 เรื่อง ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
 
ใบงานที่ 1 เรื่อง ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ใบงานที่ 1  เรื่อง  ตลาดในระบบเศรษฐกิจใบงานที่ 1  เรื่อง  ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ใบงานที่ 1 เรื่อง ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
 
ใบงาน
ใบงานใบงาน
ใบงาน
 
ใบงาน Economic
ใบงาน Economicใบงาน Economic
ใบงาน Economic
 
ใบงาน Economic
ใบงาน Economicใบงาน Economic
ใบงาน Economic
 
ใบงาน เรื่อง ลักษณะภูมิอากาศและพืชพรรณของทวีปอเมริกาเหนือ
ใบงาน เรื่อง  ลักษณะภูมิอากาศและพืชพรรณของทวีปอเมริกาเหนือใบงาน เรื่อง  ลักษณะภูมิอากาศและพืชพรรณของทวีปอเมริกาเหนือ
ใบงาน เรื่อง ลักษณะภูมิอากาศและพืชพรรณของทวีปอเมริกาเหนือ
 
ใบงาน เครื่องมือภูมิศาสตร์
ใบงาน เครื่องมือภูมิศาสตร์ใบงาน เครื่องมือภูมิศาสตร์
ใบงาน เครื่องมือภูมิศาสตร์
 
ประวัติอาเซียน
ประวัติอาเซียนประวัติอาเซียน
ประวัติอาเซียน
 
ประวัติอาเซียน
ประวัติอาเซียนประวัติอาเซียน
ประวัติอาเซียน
 
วิชาเศรษฐกิจอาเซียน
วิชาเศรษฐกิจอาเซียนวิชาเศรษฐกิจอาเซียน
วิชาเศรษฐกิจอาเซียน
 

สรุปสาระที่ 3. เศรษฐศาสตร์

  • 1. สรุปสาระที่ 3 : เศรษฐศาสตร์ โดย อ.คมกฤษณ์ ศิริวงษ์ อ.สุทัศน์ ภูมิรัตนจรินทร์ -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------ความหมายและความสาคัญของเศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวกับการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ เช่น การเลือกใช้ปัจจัยการผลิต (ทรัพยากร) ที่มีอยู่อย่างจํากัด เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนั้นยังศึกษาเกี่ยวกับการ กระจายและการแลกเปลี่ยนผลผลิตเพื่อให้สังคมมีความเป็นอยู่ดี ทั้งหมดนี้เศรษฐศาสตร์อาจจะกล่าวว่า เป็นการจัดสรร ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัด เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ที่ดีที่สุดของมนุษย์และสังคม ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกระดับ มักจะเกิดปัญหาพื้นฐาน 3 ประการดังนี้ 1. ปัญหาว่าจะผลิตอะไร (What) จะผลิตสินค้าและบริการใด ในปริมาณเท่าใด ถึงจะพอแก่การบริโภค 2. ปัญหาว่าจะผลิตอย่างไร (How) ในที่นี้เป็นการนําปัจจัยการผลิตทีมีอยู่มาใช้ผลิต จะผลิตด้วยวิธีใด ถึงจะมี ่ ต้นทุนในการผลิตต่ํา และได้ผลผลิตสูง 1. ปัญหาว่าจะผลิตเพื่อใคร (For whom) เมื่อผลิตสินค้าและบริการขึ้นมาแล้วจะสนองความต้องการของใคร วิชาเศรษฐศาสตร์สามารถศึกษาได้ 2 แนว ดังนี้ 1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) เป็นการศึกษาหน่วยย่อมของระบบเศรษฐกิจ เช่น พฤติกรรมของ ผู้บริโภค ผู้ผลิต ตลาดสินค้า และตลาดปัจจัยการผลิต 2. เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) เป็นการศึกษาหน่วยรวมของระบบเศรษฐศาสตร์ เช่น การผลิตของ ระบบเศรษฐกิจ การจ้างงาน การคลัง รายได้ประชาชาติ เป็นต้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจ การผลิต (Production) การผลิต คือ การสร้างสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ และเกิดประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ อย่างใดอย่างหนึ่ง ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ (อรรถประโยชน์ : Utility) หมายถึง การทําให้สินค้าและบริการนั้น ๆ มีคุณค่ามากขึ้น ในทางเศรษฐศาสตร์ แบ่งประโยชน์ในทางเศรษฐกิจได้ 5 ชนิด คือ 1. ประโยชน์เกิดจากการเปลี่ยนรูป (Form Utility) เช่น การเอาไม้ซุงมาแปรรูปแล้วทําเป็น โต๊ะ 2. ประโยชน์เกิดจากการเปลี่ยนสถานที่ (Place Utility) เช่น นํารัตนชาติ จากใต้ดินมาทําเครื่องประดับ 3. ประโยชน์เกิดจากเวลา (Time Utility) เช่น ความเก่า - ใหม่ ความเหมาะสมกับฤดูกาลและการผลิตเป็นราย แรก ตัวอย่าง ผงซักฟอก เรียกว่า แฟ้บ / ซุปไก่ เรียกว่า แบรนด์ / บะหมี่กึ่งสําเร็จรูป เรียกว่า มาม่า 4. ประโยชน์เกิดจากเปลี่ยนโอนกรรมสิทธิ์ (Posession Utility) เช่น เสื้อผ้าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สวมใส่ มากกว่าช่างตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น 5. ประโยชน์เกิดจากการให้บริการ (Service Utility) เช่น แพทย์ให้การรักษาแก่ผู้เจ็บป่วย ครูสอนหนังสือให้ ศิษย์ ทนายว่าความให้ลูกความ เป็นต้น การผลิต แบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ 1. การผลิตขั้นปฐมภูมิ (Primary Production) เป็นการผลิตวัตถุดิบ เช่น การเกษตรกรรม การประมง การป่าไม้ เหมืองแร่ (ลงทุนต่ํา ลงแรงสูง ผลตอบแทนต่ํา)
  • 2. 2. การผลิตขั้นทุติยภูมิ (Secondary Production) เป็นการนําวัตถุดิบที่ผลิตได้มาแปรรูปเป็นสินค้าสําเร็จรูป เช่น อุตสาหกรรมต่าง ๆ (ลงทุนสูง ลงแรงสูง ผลตอบแทนสูง) 3. การผลิตขั้นอุดม (Tertiary Production) เป็นการผลิตบริการ เช่น การขนส่ง การประกันภัย การท่องเที่ยว การรักษาพยาบาล (ลงทุนต่ํา ลงแรงต่ํา ผลตอบแทนสูง) ปัจจัยการผลิต (Factors of Production) ในทางเศรษฐศาสตร์มีอยู่ 4 อย่างคือ 1. ทีดิน (Land) หมายถึง แหล่งผลิต ซึ่งหมายรวมถึงทรัพยากรที่อยู่ในบริเวณนั้นทั้งหมด ่ 2. ทุน (Capital) หมายถึง สิ่งซึ่งนํามาใช้เป็นเครื่องมือในการผลิต เช่น โรงงาน รถยนต์ เครื่องจักร วัว ควาย ยกเว้น เงิน (Money) 3. แรงงาน (Labour) หมายถึง แรงกายและปัญญาของมนุษย์เท่านั้น 4. ผู้ประกอบการ (Enterperneurship) หรือผู้ผลิต หมายถึง ผู้ที่จะนําเอาที่ดิน ทุน และ แรงงาน มา ก่อให้เกิดการผลิต ผลตอบแทนปัจจัยการผลิต ( รายได้ ) - ที่ดิน ผลตอบแทนเรียกว่า ค่าเช่า (Rent) - ทุน ผลตอบแทนเรียกว่า ดอกเบีย (Interest) ้ - แรงงาน ผลตอบแทนเรียกว่า ค่าจ้าง (Wage) หรือค่าแรง - ผู้ประกอบการ ผลตอบแทนเรียกว่า กําไร (Profit) ปัจจัยที่ควบคุมปริมาณการผลิตดังนี้ 1. ปริมาณของวัตถุดิบ ที่จะนํามาใช้ในการผลิตว่ามีมากน้อยเพียงใด 2. ปริมาณความต้องการของผู้บริโภค ที่ต้องการนําผลผลิตไปบริโภค 3. ราคาของผลผลิตออกมาจําหน่ายในตลาดขณะนั้น สูงหรือต่ําทั้ง 3 ปัจจัยนี้ถ้าพิจารณาแล้วก็คือ อุปสงค์ – อุปทาน นั่นเอง อุปสงค์ – อุปทาน อุปสงค์ (Demand) หมายถึง ความต้องการในสินค้าและบริการในระดับราคาหนึ่ง ๆ กฎของอุปสงค์ (law of Demand) คือ 1. ถ้าราคาสูง → อุปสงค์ต่ํา (จะทําให้ราคาลดลงในที่สุด) 2. ถ้าราคาต่ํา → อุปสงค์สูง (จะทําให้ราคาสูงขึ้นในที่สุด) ราคา/ กก (บาท) 10 20 30 40 50 อุปสงค์ / กก. 10 8 6 4 2 ตัวการที่ทําให้อุปสงค์เปลี่ยนแปลงมีดังนี้ - ราคาของสินค้าและบริการ - รายได้ของผู้บริโภค
  • 3. - ความจําเป็นที่จะใช้สินค้าและบริการนั้น ๆ - สมัยนิยม - การโฆษณาของผู้ผลิต - การศึกษาของผู้บริโภค - ราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้องหรือสินค้าที่ใช้แทนกันได้ - การคาดคะเนราคา หรือการเก็งกําไร - การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจํานวนประชากร อุปทาน (Supply) หมายถึง ปริมาณของสินค้าและบริการในระดับราคาหนึ่ง กฎของอุปทาน ( Law of Supply)คือ 1. ถ้าราคาสูง → อุปทานสูง (จะทําให้ราคาลดลงในที่สุด) 2. ถ้าราคาต่ํา → อุปทานต่ํา (จะทําให้ราคาสูงขึ้นในที่สุด) ราคา/ กก (บาท) อุปสงค์ / กก. 10 5 20 10 30 15 40 20 50 25 ตัวการที่ทําให้อุปทานเปลี่ยนแปลงมีดังนี้ - ราคาของสินค้าและบริการ - ฤดูกาลของผลผลิต - เทคนิคในการผลิต (อุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม) - ราคาวัตถุดิบ - ราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้องหรือสินค้าอื่นที่ใช้แทนกันได้ - การคาดคะเนราคาหรือการเก็งกําไร - การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจํานวนผู้ผลิตในตลาด ทฤษฎีของอุปสงค์ – อุปทาน บางครั้งเรียกว่า “กลไกแห่งราคา (Price – Machanism)” ได้เพราะอุปสงค์ – อุปทาน นั้นขึ้นอยู่กับราคาของสินค้าและบริการ ในขณะเดียวกัน ราคาของสินค้าและบริการก็ขึ้นอยู่กับอุปสงค์ – อุทาน ประโยชน์ของอุปสงค์ – อุปทาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกําหนดปริมาณในการผลิตและกําหนดราคา จําหน่าย สินค้าและบริการได้อย่างถูกต้อง ราคาดุลยภาพ (Equilibrium Price) คือ ราคาสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคพอใจที่จะซื้อและผู้ผลิตพอใจทีจะขายให้ ่ ปริมาณดุลยภาพ (Equilibrium Quantity) คือ ปริมาณของสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคต้องการที่จะซื้อเท่ากับ ปริมาณที่ผู้ผลิตต้องการที่ขายให้ ราคา/ กก (บาท) 30 25 20 15 10 อุปสงค์ / กก. อุปทาน / กก. 10 20 30 40 50 50 40 30 20 10
  • 4. การหาค่าดุลยภาพจากตาราง ในแต่ละระดับราคาจะมีค่าของอุปสงค์ – อุปทาน แตกต่างกัน ถ้าราคาใดที่ค่าของ อุปสงค์ และอุปทาน เท่ากัน ราคานั้นคือ ราคาดุลยภาพ (กก.ละ 20 บาท) และค่าอุปสงค์ และอุปทานที่เท่ากันนั้น คือ ปริมาณดุลยภาพ (30 กก.) การหาค่าดุลยภาพจากรูปกราฟ สังเกตเส้นอุปสงค์ (DD) และเส้นอุปทาน (SS) เส้นทั้งสองตัดกัน ณ จุดใด ถือว่า เป็นค่าดุลยภาพ ค่าบนแกนตั้ง ก็คือ ราคาดุลยภาพ (กก.ละ 20 บาท) และค่าบนแกนนอน ก็คือ ปริมาณดุลยภาพ (30 กก.) สินค้าล้นตลาด (อุปทานส่วนเกิน / อุปสงค์ส่วนขาด) คือ ปริมาณสินค้าที่มีมากกว่าความต้องการสินค้า สินค้าขาดตลาด (อุปทานส่วนขาด / อุปสงค์ส่วนเกิน) คือ ปริมาณสินค้าที่มีน้อยกว่าความต้องการสินค้า การบริโภค (Consumption) การบริโภค หมายถึง การใช้ประโยชน์จากสินคาและบริการ การบริโภคที่สิ้นเปลืองหมดไป (Destruction) หรือ การบริโภคได้เพียงครั้งเดียว ไม่สามารถบริโภคได้อีก เช่น อาหาร น้ํามันเชื้อเพลิง เป็นต้น การบริโภคที่ไม่สิ้นเปลือง (Diminution) คือ การบริโภคที่ได้มากกว่าหนึ่งครั้ง เช่น เครื่องนุ่มห่ม ของใช้ต่าง ๆ เป็นต้น การกระจาย การแบ่งสรร (Distribution) การกระจาย คือ การจําหน่ายจ่ายแจกสินค้าและบริการซึ่งเป็นผลผลิตไปยังผู้บริโภค ตลอดจนการแบ่งสรร ผลตอบแทนไปยังผู้มีส่วนร่วมในการผลิต ในทางเศรษฐศาสตร์นั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. การกระจายสินค้า ได้แก่ การกระจายปัจจัยการผลิต (ที่ดิน ทุน แรงงาน ผู้ประกอบการ) และการกระจาย ผลผลิต (สินค้าและบริการ) 2. การกระจายรายได้ ได้แก่ การกระจายผลตอบแทนปัจจัยการผลิต (ค่าเช่า ดอกเบี้ย ค่าจ้าง กําไร) และการ กระจายผลตอบแทนผลผลิต (ค่าใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการ) การแลกเปลี่ยน (Exchange) การแลกเปลี่ยน หมายถึง การนําเอาสินค้าอย่างหนึ่งไปแลกกับอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งวิวัฒนาการของการแลกเปลี่ยนอยู่ 3 ระยะดังนี้ การแลกเปลี่ยนสินค้าโดยตรง หรือการค้าต่างตอบแทน (Barter System) คือ การนําเอาสินค้ามาแลกเปลี่ยนกัน เช่น ข้าวสารแลกกับปุ๋ย การแลกที่ใช้เงินเป็นสื่อกลาง (Money System) คือ การแลกเปลี่ยนที่ใช้กันในปัจจุบัน การแลกเปลี่ยนที่ใช้สินเชื่อหรือเครดิต (Credit System) ในกรณีไม่มีเงินหรือมีเงินไม่พอนั้น การแลกเปลี่ยน จะต้องใช้ความไว้วางใจต่อกัน คือ สินเชื่อ หรือเครดิต เช่น การใช้เช็ค บัตรเครดิต แทนตัวเงิน หรือระบบเช่าซื้อ การวัดระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การวัดระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ หมายถึง การประเมินผลการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจมาระยะหนึ่ง (มักจะใช้เวลา 1 ปี) ว่าการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจนั้นดีหรือไม่ ถ้าประสบความสําเร็จดี ดําเนินการต่อไป ถ้าไม่ ประสบความสําเร็จ จะได้นํามาปรับปรุง จะประเมินจาก “รายได้ประชาชาติ” (National Income : NI) รายได้ประชาชาติ (National Income : NI) หมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ประชาชาติผลิต ขึ้นในระยะเวลา 1 ปี โดยหักค่าเสื่อมราคาของทรัพยากรและภาษีทางอ้อม
  • 5. รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลหรือรายได้ต่อบุคคล (Per Capital Income) หมายถึงค่าของรายได้ประชาชาติต่อจํานวน ประชากร 1 คน ในการคํานวณรายได้ต่อบุคคลนั้นคํานวณจากสูตรต่อไปนี้ รายได้ต่อบุคคล = รายได้ประช าชาติ จํานวนประชากรในประเทศ ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (Gross Natioanl Product : GNP) หมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้น สุดท้ายที่ประชาชาติผลิตขึ้นในระยะเวลา 1 ปี ผลผลิตที่เป็นของคนชาติเดียวกันไม่ว่าจะผลิตในประเทศ หรือต่างประเทศสามารถนํามารวมได้ทั้งหมดเป็นค่า GNP และ ค่า GNP นี้เป็นข้อมูลในการคํานวณรายได้ประชาชาติ (NI) ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น (Gross Domestic Product : GDP) หมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้น สุดท้ายที่ผลิตขึ้นในประเทศในระยะเวลา 1 ปี ผลผลิตที่เกิดจากการผลิตในประเทศทั้งหมดไม่ว่าผู้ผลิตจะเป็นคนชาติเดียวกันหรือคนต่างชาตินํามารวมกันเป็น ค่า GDP และค่า GDP นี้ เป็นข้อมูลในการคํานวณอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในการคํานวณรายได้ประชาชาติสามารถคํานวณได้จากมูลค่าของผลผลิตรวมที่ประชาชาติผลิตขึ้นในระยะเวลา 1 ปี รายได้รวมของประชาชาติในระยะเวลา 1 ปี และรายจ่ายรวมของประชาชาติในระยะเวลา 1 ปี แต่การคํานวณนั้นมักจะ ประสบปัญหาต่าง ๆ ดังนี้ 1. ข้อมูลต่าง ๆ ไม่ตรงตามความเป็นจริง 2. ไม่สามารถกําหนดค่าเสื่อมราคมของทรัพยากรได้ถูกต้อง 3. ไม่สามารถกําหนดราคาของสินค้าคงเหลือได้ ช่วงปิดบัญชีสิ้นปี 4. สินค้าและบริการที่ไม่ผ่านตลาดไม่สามารถนํามาคํานวณได้ 5. การเก็บข้อมูลซ้ํา ประโยชน์ของการศึกษารายได้ประชาชาติ 1. ข้อมูล GDP จะทําให้ทราบระดับการผลิตภายในของประเทศในภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ 2. เพื่อนํามาเปรียบเทียบฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศกับประเทศต่าง ๆ 3. เพื่อเปรียบเทียบภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะเวลาต่าง ๆ กัน 4. เพื่อเปรียบเทียบมาตรฐานการครองชีพของประชากรว่า ได้มาตรฐานหรือไม่ 5. เพื่อใช้เป็นข้อมูลศึกษาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของระบบเศรษฐกิจโดยรวม 6. เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกําหนดนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศ ระบบเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจ คือลักษณะการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของแต่ละสังคม เพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุดทาง เศรษฐกิจ (อยู่ดี กินดี มั่งคั่ง) สิ่งแวดล้อมและปัจจัยต่าง ๆ ของแต่ละสังคมต่างกัน จึงทําให้ลักษณะการดําเนินกิจกรรม ทางเศรษฐกิจของแต่ละสังคมแตกต่างกันไป ระบบเศรษฐกิจในโลกนี้ที่นิยมแพร่หลายนั้น แบ่งได้ 4 ระบบ คือ ระบบทุนนิยม หรือเสรีนิยม ระบบ คอมมิวนิสต์ ระบบสังคมนิยม และระบบเศรษฐกิจแบบผสม
  • 6. แผนภูมที่แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบในการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลกับเอกชน ในแต่ละ ิ ระบบเศรษฐกิจ นั้นมีดังนี้ ระบบเศรษฐกิจ ผู้รับผิดชอบการดําเนินกิจกรรมฯ ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม หรือเสรีนิยม → เอกชน ระบบเศรษฐกิจคอมมิวนิสต์ → รัฐบาล ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยม → รัฐบาล > เอกชน ระบบเศรษฐกิจแบบผสม → เอกชน + รัฐบาล ระบบคอมมิวนิสต์ ลักษณะเด่น - รัฐบาลเป็นเจ้าของปัจจัย การผลิตอย่าสิ้นเชิง - รัฐบาลเป็นผู้ทํากิจกรรม ทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น - เอกชนไม่มีสิทธิทํา กิจกรรมเศรษฐกิจใด ๆ ลักษณะเด่นต่าง ๆ ข้อดีและข้อเสียของระบบเศรษฐกิจต่าง ๆ ระบบสังคมนิยม ระบบเศรษฐกิจแบบผสม ลักษณะเด่น ลักษณะเด่น - รัฐบาลเป็นเจ้าของปัจจัย - ระบบทุนนิยมกับสังคม - กิจกรรมทางเศรษฐกิจ การผลิตที่สาคัญ ส่วนใหญ่เป็นของเอกชน - รัฐบาลทํากิจกรรมทาง เหมือนทุนนิยม เศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ - รัฐบาลเข้ามาทําธุรกิจเพื่อ รายได้สูง เกี่ยวข้องกับ คุ้มครองผลประโยชน์ ประชาชนมาก ๆ ให้แก่ประชาชน - เอกชนมีสิทธิทําธุรกิจต่าง ๆ - ปัญหาทางเศรษฐกิจได้รับ ที่รัฐบาลไม่ทํา การแก้ไขจากรัฐบาลและเอกชน (ธุรกิจขนาดเล็ก) - รัฐบาลจัดสวัสดิการให้แก่ - รัฐบาลจัดสวัสดิการให้ ประชาชน แก่ประชาชน ข้อดี - เอกชนไม่ต้อง รับผิดชอบทางด้าน เศรษฐกิจ - ทรัพยากรถูกควบคุม การใช้จากรัฐทําให้ ไม่ถูกทําลาย ข้อดี - การกระจายรายได้ดี เพราะ รายได้ส่วนใหญ่เป็นของรัฐ ประชาชนจะมีรายได้ไม่ แตกต่างกันมาก - ประชาชนได้รับการคุ้ม ครองผลประโยชน์จาก รัฐในรูปของสวัสดิการ และสินค้าบริการที่รัฐทํา ข้อเสีย - ประชาชนไม่มีสิทธิเสรี ข้อเสีย - เอกชนถูกจํากัดสิทธิเสรีภาพ ระบบทุนนิยม / เสรีนิยม ลักษณะเด่น - เอกชนเป็นผู้ดําเนิน กิจกรรมทางเศรษฐกิจ - เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัย การผลิต โดยมีกฎหมาย รับรอง - มีการแข่งขันทางด้าน คุณภาพประสิทธิภาพ ราคาและการบริการ โดยมีกําไรเป็นแรงจูงใจ - ราคาสินค้าถูกกําหนด โดยกลไกแห่งราคา (อุปสงค์ – อุปทาน) ข้อดี - เอกชนมีเสรีภาพทาง เศรษฐกิจ - สินค้าและบริการมีมาก คุณภาพดี ราคาเยา - รัฐไม่ต้องจัดสรร งบประมาณมาทําธุรกิจ ข้อดี - ประชาชนมีเสรีภาพทาง เศรษฐกิจ - สินค้าและบริการมีมากคุณภาพ ดี และราคาเยา - ประชาชนได้รับการคุ้มครอง ผลประโยชน์จากรัฐบาล ในรูปของสวัสดิการธุรกิจที่จํา เป็นแก่การครองชีพ - เอกชนมีกําลังใจในการทํา ธุรกิจเพราะมีกําไรเป็นแรงจูงใจ ข้อเสีย ข้อเสีย - รัฐบาลต้องจัดสรร - การกระจายรายได้ไม่ดี
  • 7. ภาพทางเศรษฐกิจ บางส่วน งบประมาณมาทําธุรกิจ เพราะรายได้ส่วนใหญ่ (รัฐบาลทําทั้งหมด) - รัฐบาลต้องจัดสรร มักจะขาดทุน ตกแก่นายทุน - สินค้าและบริการมีน้อย งบประมาณมาทําธุรกิจและ - ประชาชนอาจมีปัญหา และด้อยคุณภาพ เพราะ มักจะขาดทุน กิจกรรมต่าง ๆ จากราคาสินค้าขาด ไม่มีการแข่งขัน มีคุณภาพต่ํา แคลนเนื่องจากนายทุน - ผลผลิตต่ํา เพราะ รวมตัวกัน ประชาชนไม่มีขวัญและ - การใช้ทรัพยากรฟุ่มเฟือย กําลังใจในการทําธุรกิจ ระบบเศรษฐกิจแบบผสม เป็นระบบที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย และประเทศไทยก็ใช้ ระบบนี้ สหกรณ์ สหกรณ์ หมายถึง องค์กรอิสระของบุคคลที่มารวมกันด้วยความสมัครใจ เพื่อดําเนินธุรกิจการค้าไม่ได้แสวงหา กําไร โดยสมาชิกทุกคนเป็นเจ้าของกิจการ หลักการสาคัญในการดาเนินงานของสหกรณ์ การดําเนินงานของสหกรณ์นั้นมุ่งการพึ่งตนเอง การมีสิทธิเท่าเทียมกัน ความสามัคคีและความเที่ยงธรรมโดย เน้นความเป็นประชาธิปไตย ประกอบด้วยหลักการที่สําคัญ ดังนี้ 1. ความสมัครใจและเปิดกว้าง (Voluntary and Open Membership) สมาชิกของสหกรณ์มาจากบุคคลทั่วไปที่ เต็มใจที่จะปฏิบัติข้อกําหนดของสหกรณ์ โดยไม่มีการแยกเพศวัย เชือชาติ ศาสนา ้ 2. หลักประชาธิปไตย (Democratic Member Control) สมาชิกทุกคนได้รับการดูแล ควบคุมและปฏิบัติตาม แนวทางประชาธิปไตยเหมือนกัน 3. การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ (Member Economic Participation) สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการลงทุนด้วย การซื้อหุ้น และได้รับผลตอบแทนตามจํานวนหุ้นที่ซื้อ 4. ความเป็นอิสระ (Autonomy and Independence) สหกรณ์จะต้องพึ่งตนเอง และอยู่ภายใต้การดูแลของสมาชิก ตามแนวทางประชาธิปไตย 5. การให้การศึกษา ฝึกอบรมและสารสนเทศ (Education Training and Information) สมาชิกทุกคนจะได้รับ การศึกษา ฝึกอบรมจากสหกรณ์และประชาสัมพันธ์ให้บุคคลทั่วไปได้รับสารสนเทศของสหกรณ์ 6. การร่วมมือระหว่างสหกรณ์ (Cooperation among Cooperative) สหกรณ์จะต้องให้ความร่วมมือกับสหกรณ์ อื่น ๆ เพื่อการพัฒนาและส่งเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสหกรณ์ 7. ความเอื้ออาทรต่อชุมชน (Concern for Community) สหกรณ์ดําเนินการตามความเห็นชอบของสมาชิกเพื่อ การพัฒนาชุมชน สหกรณ์ในประเทศไทย ในประเทศไทยปัจจุบันมีสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้น 6 ประเภทแยกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามจุดมุ่งหมายและวิธีดําเนินงาน ดังนี้ กลุ่มที่ 1 : สหกรณ์ในภาคการเกษตร
  • 8. 1. สหกรณ์การเกษตร - เป็นการร่วมกันของผู้ประกอบอาชีพทางการเกษตรในการที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและยกระดับความเป็นอยู่ของสมาชิกให้ดียิ่งขึ้น 2. สหกรณ์ประมง - เป็นการร่วมมือกันระหว่างผู้ประกอบอาชีพประมง มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้บริการความรู้ ทางวิชาการและธุรกิจการประมง จัดหาเงินกู้ให้แก่สมาชิกเพื่อนําไปประกอบอาชีพ รับฝากเงิน 3. สหกรณ์นิคม - เป็นการจัดตั้งขึ้นเพื่อดําเนินการจัดสรรที่ทํากินให้ราษฎร สร้างปัจจัยพื้นฐานและสิ่งอํานวย ความสะดวกให้แก่ผู้ที่อยู่อาศัย ทั้งยังจัดหาสินเชื่อปัจจัยการผลิต การแปรรูปการเกษตร และการส่งเสริม อาชีพ กลุ่มที่ 2 : สหกรณ์นอกภาคการเกษตร 1. สหกรณ์ร้านค้า - เป็นการรวมตัวของผู้บริโภค เพื่อจัดหาสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคมาจําหน่ายแก่สมาชิก 2. สหกรณ์ออมทรัพย์ - เป็นการระดมทุนของผู้ประกอบอาชีพเดียวกัน เพื่อตั้งสถาบันการเงิน โดยให้สมาชิก ฝากเงินและกู้ยืมเงินโดยเสียดอกเบี้ยต่ําและมีระยะเวลาผ่อนชําระยาวนาน 3. สหกรณ์บริการ - สหกรณ์ที่ตั้งขึ้นตามพ.ร.บ.สหกรณ์ พ .ศ. 2511 โดยมีสมาชิกผู้ประกอบอาชีพเดียวกัน ตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป มาดําเนินงานเกี่ยวกับอาชีพของตนให้มีความมั่นคงและรักษาอาชีพของตนไว้ การจัดตั้งสหกรณ์ ในการจัดตังสหกรณ์นั้นมี 5 ขั้นตอนดังนี้ ้ 1. ขอคําแนะนําจากสหกรณ์จังหวัดหรือสหกรณ์อําเภอ 2. ประชุมผู้ซึ่งประสงค์จะเป็นสมาชิก 3. ประชุมคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ 4. ประชุมผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิก 5. ยื่นเรื่องขอจดทะเบียนสหกรณ์ ข้อดี ธุรกิจแบบสหกรณ์สามารถรวบรวมเงินทุนได้จานวนมาก เพราะการรวบรวมทุ นจัดแบ่งออกเป็นหุ้น ๆ และ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ไม่ได้มุ่งหวังผลกาไร สหกรณ์ในประเทศต่าง ๆ จึงมักได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล และได้รับ สิทธิพิเศษด้านภาษีอากรและอื่น ๆ ข้อเสีย เนื่องจากธุรกิจแบบสหกรณ์ไม่ได้มุ่งหวังผลกาไร จึงให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่สมา ชิกในอัตราต่ามาก แต่ จะมีผลตอบแทนอีกส่วนหนึ่งตามสัดส่วนแห่งกิจการงาน หรือการค้าที่สมาชิกมีต่อสหกรณ์ สมาชิกมักจะไม่ซื้อหุ้นไว้มาก เพราะได้รับผลตอบแทนต่า
  • 9. เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาในการดําเนินชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่พสกนิกรให้ เป็นแนวทางในการดํารงชีวิตและปฏิบัติตนมาโดยตลอด โดยเฉพาะเมื่อครั้งที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปีพ.ศ. 2540 พระองค์ ทรงเน้นย้ําให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของเศรษฐกิจพอเพียง ต่อมาได้พระราชทานพระราชดาริเพิ่มเติมมาโดยตลอด เพื่อให้เกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเ ทศมีความ แข็งแรงพอ ก่อนที่จะไปผลิตเพื่อการค้าหรือเชิงพาณิชย์ โดยยึดหลักการ “ทฤษฏีใหม่” 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 มีความพอเพียง เลี้ยงตนเองได้บนพื้นฐานของความประหยัดและขจัดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ขั้นที่ 2 รวมพลังกันในรูปกลุ่ม เพื่อการผลิต การตลาด การจัดการ รวมทั้งด้านสวัสดิการ การศึกษา การ พัฒนาสังคม ขั้นที่ 3 สร้างเครือข่าย กลุ่มอาชีพและขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย โดยประสานความร่วมมือกับ ภาคธุรกิจ ภาคองค์การพัฒนาเอกชนและภาคราชการในด้านเงินทุน การตลาด การผลิต การจัดการและข่าวสาร ข้อมูล การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 1. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการดารงชีพอย่างจริงจังดังพระราชดารัส ว่า ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง … 2. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องสุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดารงชีพก็ตาม ดังพระราช ดารัสที่ว่า ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดมาจาก การประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพของตนเป็นหลักสาคัญ … 3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกัน ในทางการค้าขายประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรงดังอดีต ซึ่งมีพระราช ดารัสเรื่องนี้ว่า ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึงความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็น ธรรมทั้งใน เจตนาและการกระทา ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น … 4. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก โดยต้องขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิด มี รายได้เพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสาคัญ พระราชดารัสตอนหนึ่งที่ให้ความ ชัดเจนว่า การที่ต้องการให้ทุกคนพยายามที่จะหาความรู้ และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้เพื่อตนเอง เพื่อที่จะให้ตัวเองมีความ เป็นอยู่ที่ก้าวหน้า ที่มีความสุข พอมีพอกินเป็นขั้นหนึ่งและขั้นต่อไป ก็คือให้มีเกียรติว่ายืนได้ด้วยตัวเอง … 5. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดีลดละสิ่งยั่วกิเลสให้หม ดสิ้นไป ทั้งนี้ด้วยสังคมไทยที่ล่มสลายลงในครั้งนี้ เพราะยังมีบุคคลจานวนมิใช่น้อยที่ดาเนินการโดยปราศจากละอายต่อแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราโชวาทว่า พยายามไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทาลายตัว ทาลายผู้อื่น พยายามลดพยายาม
  • 10. ละความชั่วที่ตัวเองมีอยู่ พยายามก่อความดีให้แก่ตัวอยู่เสมอ พยายามรักษาและเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่นั้น ให้งอกงาม สมบูรณ์ขึ้น … สรุป ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีองค์ประกอบสําคัญ 5 ประการ 1. ทางสายกลาง - ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทและพึ่งตนเองให้มากขึน ้ 2. ความสมดุลและความยั่งยืน - ความพอดี ความเหมาะสม ความหลากหลายและความกลมกลืน มีความยั่งยืน ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3. ความพอประมาณอย่างมีเหตุผล - ไม่โลภ ไม่ฟุ้งเฟ้อ มีเหตุผล 4. ภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันโลก - มีความรอบคอบ รู้ทันการเปลี่ยนแปลง 5. การเสริมสร้างคุณภาพคน - มีจิตสํานึกในคุณธรรมจริยธรรม เอื้ออาทรต่อกัน มีระเบียบวินัย อดทนอด กลั้นและอดออม การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง ในการดําเนินชีวิตประจําวัน สามารถนําเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ได้ดังนี้ 1. การประหยัด - การใช้จ่ายกว่าที่จําเป็น ลดละความฟุ่มเฟือย 2. การประกอบอาชีพสุจริต - การทํามาหากินต้องซื้อสัตย์ลูกต้อง 3. การไม่แก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกัน - การประกอบอาชีพด้านค้าขายต้องไม่แก่งแย่งผลประโยชน์ ด้วยการต่อสู้หรือแข่งขันกันอย่างรุนแรง 4. การหารายได้เพิ่มพูน - การขวนขวายหาความรู้ พัฒนาความสามารถ ให้มีรายได้เพิ่มพูนยิ่งขึ้นจนเกิดความ พอเพียง 5. การไม่กระทําชั่ว - การทําความดีและลดละความชั่วทั้งปวงให้หมดไป ทฤษฎีใหม่ ความหมายของทฤษฎีใหม่ ทฤษฎีใหม่ - แนวพระราชดําริในการจัดการบริหารที่ดินของเกษตรกรให้มีสัดส่วนในการใช้ พื้นที่ดินให้เกิด ประโยชน์สูงสุด ความเป็นมาของทฤษฎีใหม่ ในการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรมในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ พระบาทสมเด็จได้ทอดพระเนตรเห็น ความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่ยังอยู่กันอย่างยากไร้ เพราะการเกษตรที่ไม่ได้ผล เนื่องจากขาดแคลนน้ําพระองค์ ท่านได้พระราชดําริ “ทฤษฎีใหม่” และทรงทดลองที่วัดมงคลชัยพัฒนา อ.เมือง จ.สระบุรี และประสบความสําเร็จเป็น แบบอย่าง ให้เกษตรกรนําไปเป็นแบบอย่างได้ หลักการและขั้นตอนของทฤษฎีใหม่ ทฤษฎีใหม่แบ่งการดําเนินงานออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น ก. แบ่งที่ดินที่มีอยู่ออกเป็นแปลง ๆ เพือก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยใช้อัตราส่วน ่ 30 : 30 : 30 : 10 รวมเป็น 100% ดังนี้
  • 11. พื้นที่แปลงที่ 1 มีพื้นที่ร้อยละ 30 ใช้เป็นแหล่งน้ํา เลี้ยงสัตว์น้ําและปลูกพืชน้ํา พื้นที่แปลงที่ 2 มีพื้นที่ร้อยละ 30 ใช้ปลูกข้าว พื้นที่แปลงที่ 3 มีพื้นที่ร้อยละ 30 ใช้ปลูกไม้ผล พืชไร่ พืชสวน ผัก พื้นที่แปลงที่ 4 มีพื้นที่ร้อยละ 10 ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์และโรงเรือนอื่น ๆ ข. ความสามัคคีร่วมใจกันระหว่างเกษตรกรในชุมชน คล้ายการลงแขกช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ค. การพึ่งตนเอง ทุกครัวเรือนจะมีผลผลิตที่เป็นอาหารเพียงพอในครัวเรือนไม่ต้องซื้อหาในราคาแพ่ง ง. มีน้ําใช้ในการบริโภค อุปโภคเพียงพอในการประกอบอาชีพและดํารงชีวิต 2. ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า เป็นขั้นที่เกษตรกรจะพัฒนาไปสู่ขั้นพออยู่พอกิน เพื่อให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จะต้องมีการรวมกลุ่มกันในรูปของสหกรณ์หรือกลุ่ม (ชุมนุม , ชมรม) โดยดําเนินการด้านต่าง ๆ ดังนี้ ก. ด้านการผลิต จัดเตรียมหาพันธุ์พืช ปุ๋ย ข. ด้านการตลาด จัดหายุ้งฉางและร่วมกันขายผลผลิต ค. ด้านคุณภาพชีวิต จัดสวัสดิการเช่น สถานีอนามัย โรงเรียน ศาสนสถาน และปัจจัยพื้นฐานอื่น ๆ ใน การดํารงชีวิตที่ดีพอสมควร 3. ทฤษฎีใหม่ขั้นพัฒนา พัฒนาเกษตรกรให้ก้าวหน้าด้านการติดต่อประสานงานการจัดหาทุน เพื่อการลงทุนและการพัฒนาคุณภาพ ชีวิต ประโยชน์ของทฤษฎีใหม่ 1. การพึ่งตนเอง เกษตรกรเป็นผู้กําหนดต่อตลาด 2. ชุมชนเข้มแข็ง โดยการรวมพลังของชาวบ้าน 3. ความสามัคคีของชุมชน ชาวบ้านมีความเอื้ออาทรต่อกัน การเงิน เงิน (Money) หมายถึง สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่สังคมสมมติขึ้นและยอมรับว่ามีค่า ทั้งยังใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เงิน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ เหรียญกษาปณ์ ธนบัตร และเงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวัน 1. เหรียญกษาปณ์ (Coins) เป็นเงินเหรียญที่สร้างขึ้นจากโลหะชนิดต่าง ๆ เช่น ทองคํา เงิน ทองแดง และ โลหะผสม (นิกเกิลกับทองแดง) เงินประเภทนี้สร้างขึ้นโดยไม่ต้องมีสิ่งค้ําประกันเพราะค่าของมันอยู่ที่โลหะ นั้น ๆ รัฐบาลเป็นผู้ผลิตเหรียญกษาปณ์ขึ้นมาใช้หมุนเวียนให้พอเพียงแก่ธุรกิจในประเทศ 2. ธนบัตร (Note Currency หรือ Bank Note) เป็นเงินกระดาษที่ชําระหนี้ได้ตามกฎหมาย ธนาคารกลางเป็น ผู้ผลิตธนบัตร การผลิตธนบัตรต้องมีสิ่งค้ําประกัน เช่น ทองคํา เงิน เงินทุนสํารองที่เป็นเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น ธนบัตรใช้แลกเปลี่ยนระหว่างประเทศได้ 3. เงินฝากธนาคารกระแสรายวัน (Demand Deposits) เงินประเภทนี้ผู้ฝากสามารถสั่งจ่ายในรูปของเช็คซึ่งใช้ แทนเงินได้ทันที นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงเช็คของขวัญและบัตรเครดิต สิ่งที่ใกล้เคียงกับเงิน (Near Money) คือ สิ่งที่มีค่าต่าง ๆ ซึ่งบางครั้งจะเป็นว่าคล้ายคลึงกับเงิน แต่จะแตกต่างกับ เงินเพียงเล็กน้อย เพราะจะนําสิ่งที่ได้ชื่อว่าใกล้เคียงกับเงินนั้นไปใช้ทันทีไม่ได้ ต้องนําไปแลกเปลี่ยนก่อน แต่การ แลกเปลี่ยนนั้นทําได้โดยง่าย สิ่งที่ใกล้เคียงกับเงิน ได้แก่ เช็คเดินทาง เช็คล่วงหน้า ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน พันธบัตร
  • 12. หน้าที่ของเงิน แบ่งออกเป็น 4 ประการคือ 1. เป็นหน่วยในการวัดมูลค่า (Measure of Value) 2. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (Medium of Exchange) 3. เป็นมาตรฐานในการชําระหนี้ในอนาคต (Standard of Deferred Payment) 4. เป็นเครื่องรักษามูลค่า (Store of Value) ปริมาณเงินหรือ ซัพพลายเงินตรา (Money Supply) คือ เงินทุกประเภทที่หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งเงินในจํานวนนี้หมายถึงเงินฝากในธนาคารที่ผู้ฝากสามารถถอนออกได้ทุกเวลาปริมาณเงินแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เงินเฟ้อ และเงินฝืด เงินเฟ้อ (Inflation) เป็นสภาวการณ์ที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากเกินไป ทําให้ราคาสินค้าและ บริการสูงขึ้น และเศรษฐกิจจะมีความคล่องตัวมาก เงินเฟ้อนั้นมีสาเหตุ 2 ประการ คือ อุปสงค์ในสินค้าและบริการสูงกว่า อุปทาน หรือสภาวการณ์ที่ปริมาณสินค้าขาดตลาด และต้นทุนในการผลิตสินค้าและบริการสูงขึ้น ลักษณะเงินเฟ้อ เราสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ โดยพิจารณาจากราคาสินค้าที่สูงขึ้น ดังนี้ 1. เงินเฟ้ออ่อน ๆ ราคาสินค้าและบริการจะสูงไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ ต่อปี เงินเฟ้อประเภทนี้จะเป็นผลดีต่อ เศรษฐกิจ เพราะจะทําให้ผู้ผลิตมีกําลังใจที่จะผลิตและผู้บริโภคก็ไม่เดือดร้อน 2. เงินเฟ้อปานกลาง ราคาสินค้าและบริการจะสูงระหว่าง 5 – 20 เปอร์เซ็นต์ต่อปี 3. เงินเฟ้ออย่างรุนแรง ราคาสินค้าและบริการจะสูงเกิน 20 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ผลกระทบของเงินเฟ้อ เมื่อเกิดปัญหาเงินเฟ้อจะมีทั้งผู้ได้รับประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ ดังนี้ 1. ผู้ที่ได้รับประโยชน์ ผู้ที่ได้รับประโยชน์นั้นเป็นผู้มีรายได้ขึ้นอยู่กับความคล่องของเศรษฐกิจ เช่นนักธุรกิจ การค้า ผู้ผลิต ผู้ถือหุ้น ผู้เป็นลูกหนี้ เป็นต้น บุคคลเหล่านี้จะมีรายได้มาก 2. ผู้ที่เสียผลประโยชน์ ผู้มีรายได้ประจํา เช่น ข้าราชการ ลูกจ้าง ผู้ใช้แรงงาน เป็นต้น บุคคลเหล่านี้จะมีรายได้ เท่าเดิมค่าครองชีพสูง จะมีชีวิตความเป็นอยู่ฝืดเคือง เงินเฟ้อนั้นเป็นสภาวการณ์ที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากเกินไปเมื่อเกิดปัญหานี้แล้วจะต้อง แก้ปัญหาด้วยการลดปริมาณเงินลง ดังนี้  ธนาคารกลางเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้แก่ธนาคารพาณิชย์  ธนาคารกลางเพิ่มปริมาณการขายพันธบัตรรัฐบาลมากขึ้น  ธนาคารกลางลดการปล่อยสินเชื่อ  เพิ่มภาษีทางตรงและทางอ้อม  ตรึงราคาสินค้าที่จําเป็นแก่การครองชีพ  รัฐบาลลดค่าใช้จ่ายให้ต่ําลง (รัฐบาลจัดงบประมาณเกินดุล) เงินฝืด (Deflation) เป็นสภาวการณ์ที่มีปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจน้อยกว่าปกติ ทําให้ภาวะ เศรษฐกิจซบเซา ราคาสินค้าลดลง และมีคนว่างงานเพิ่มมากขึ้น เงินฝืดนั้นมีสาเหตุ 2 ประการคือ ช่วงที่มีการออมสูงหรือมี การขายพันธบัตรรัฐบาลเกินไปทําให้ไม่มีการนําเงินออกมาใช้จ่าย ผลกระทบของเงินฝืด คล้ายคลึงกับเงินเฟ้อ คือ มีทั้งผู้รับผลประโยชน์และผู้เสียผลประโยชน์ แต่กลุ่มนั้นตรงกัน ข้ามกัน ดังนี้ 1. ผู้ที่ได้ผลประโยชน์ ผู้มีรายได้ประจํา เช่น ข้าราชการ เป็นต้น ผู้ที่เป็นเจ้าหนี้ ผู้ที่ได้รับดอกเบี้ยจากการนําเงิน ไปฝากธนาคาร บุคคลเหล่านี้มีรายได้เท่าเดิมและแน่นอน แต่ค่าครองชีพต่ําลงเพราะเงินมีค่ามากขึ้น
  • 13. 2. ผู้เสียผลประโยชน์ นักธุรกิจการค้าผู้ผลิต ผู้ถือหุ้น ผู้เป็นลูกหนี้ บุคคลเหล่านี้จะมีความเป็นอยู่ฝืดเคือง เพราะเศรษฐกิจซบเซา เงินหายากขึ้น เพราะมีค่ามากขึ้น เงินฝืดนั้นเป็นสภาวการณ์ที่เกิดจากปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมีน้อยเกินไปและเศรษฐกิจซบเซา ทํา ให้คนว่างงานมากขึ้น ในการแก้ปัญหาเงินฝืดจะต้องเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้มากขึ้น ดังนี้  ธนาคารกลางลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้แก่ธนาคารพาณิชย์  ธนาคารกลางลดปริมาณการขายพันธบัตรรัฐบาลลง  ธนาคารกลางเพิ่มการปล่อยสินเชื่อ  ลดภาษีทางตรงและทางอ้อม  ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศและในประเทศ  รัฐบาลเพิ่มค่าใช้จ่ายให้สูงขึ้น (รัฐบาลจัดทํางบประมาณขาดดุล) การธนาคาร ธนาคาร (Bank) เป็นสถาบันการเงินที่สําคัญในระบบเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดความคล่องตัวในระบบเศรษฐกิจ ธนาคารแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ธนาคารกลาง (Central Bank) และธนาคารพาณิชย์ (Commercial Bank) ธนาคารกลาง (Central Bank) เป็นสถาบันการเงินสูงสุดของประเทศ ประเทศเอกราช ทุกประเทศจึงมีธนาคาร กลางเพื่อควบคุมเกี่ยวกับการเงินของประเทศ ประเทศไทยตั้งธนาคารกลางขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีชื่อว่า “ธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand)” หรือเรียกกันว่า “แบงก์ชาติ” หน้าที่ของธนาคารกลาง ธนาคารกลางจะเป็นหน่วยงานที่ดูแลปริมาณเงินของประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยวิธี ดังนี้ 1. ผลิตธนบัตรและออกธนบัตร 2. เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์และรัฐบาล 3. ควบคุมและตรวจสอบบัญชีการเงินของสถาบันการเงินต่าง ๆ ทั่วประเทศ 4. ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา และกําหนดอัตราดอกเบี้ย 5. รักษาทุนสํารองระหว่างประเทศ 6. กําหนดนโยบายด้านการเงินของประเทศ ธนาคารพาณิชย์ (Commercial Bank) มีหน้าที่หลักสําคัญอยู่ 3 ประการ คือ รับฝากเงินประเภทต่าง ๆ สร้างเงิน ฝากหรือให้กู้เงิน และให้บริการด้านต่าง ๆ หน้าที่ 2 ประการแรก ทุกธนาคารจะทําเหมือนกันหมด แม้แต่ดอกเบี้ยที่จะจ่าย ให้ผู้ฝากและเก็บจากผู้กู้ยืมเป็นอัตราตามธนาคารกลางกําหนด แต่จะแตกต่างกันในประการที่ 3 ตามปกติแล้วเราจะแบ่งประเภทของธนาคารออกเป็น 2 ประเภท คือ ธนาคารกลาง กับธนาคารพาณิชย์ ดังที่ได้ กล่าวไว้ข้างต้น แต่บางครั้งอาจจะมีการจําแนกเพิ่มมาอีกประเภทหนึ่งก็ได้ คือ ธนาคารพิเศษ ซึ่งในประเทศไทยมีธนาคาร พิเศษที่เป็นของรัฐบาลอยู่ 3 ธนาคารคือ 1. ธนาคารออมสิน มีหน้าที่พิเศษ คือ ระดมเงินฝากเพื่อนําไปให้รัฐกู้ยืม 2. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ มีหน้าที่พิเศษคือ ให้กู้ยืมเงินไปซื้อที่อยู่อาศัยหรือซ่อมสร้างที่อยู่อาศัย 3. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) มีหน้าที่พิเศษ คือ ให้เกษตรกรได้กู้ยืมเงินไปใช้ พัฒนาการเกษตรกรรม สถาบันการเงินที่ไม่เรียกว่าธนาคาร ● บริษัทประกันภัย ● โรงรับจํานํา
  • 14. ● ● ● ● สหกรณ์การเกษตร ● บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สหกรณ์ออมทรัพย์ ● ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือตลาดหุ้น บริษัทเงินทุนและบริษัทหลักทรัพย์ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม การคลัง การคลัง หมายถึง เศรษฐกิจภาครัฐบาลเกี่ยวกับหารายได้เพื่อนํามาใช้จ่ายในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ ส่วนรวมของประเทศ โดยมีรัฐบาลเป็นผู้ดูแลเกี่ยวกับรายรับและรายจ่ายให้เหมาะสม รายรับของรัฐบาล ได้จากเงินต่าง ๆ 3 ประการคือ 1. รายได้ของรัฐบาล ประกอบด้วย ภาษีอากร การขายสิ่งของและบริการ รัฐพาณิชย์ และอื่น ๆ เช่น ค่าปรับ ค่าภาคหลวง ฤชากร การผลิตเหรียญกษาปณ์ 2. เงินกู้ เงินกู้ของรัฐบาลนั้นมีทั้งกู้ภายในประเทศและกู้จากต่างประเทศ เรียกว่า “หนี้สาธารณะ” 3. เงินคงคลัง คือ เงินที่รัฐบาลมีอยู่แต่มิได้นําออกมาใช้ เงินนี้อาจจะเหลือจากงบประมาณในปีก่อนก็ได้ รายได้ส่วนใหญ่ของรัฐบาลมาจากภาษีอากร ในประเทศไทยการเก็บภาษีเงินได้ใช้ระบบก้าวหน้า หมายถึง ยิ่งมี รายได้สูงอัตราการเก็บภาษีจะสูงขึนเรื่อย ๆ (5 – 37%) การเก็บภาษีแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ้ 1. ภาษีทางตรง (Direct Tax) คือ ภาษีที่เก็บจากผู้มีรายได้โดยตรงหรือผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน เช่น ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมรดก ภาษีดอกเบี้ย (เงินฝากประจํา) ภาษีรางวัล ภาษีทะเบียน รถยนต์ / มอเตอร์ไซด์ /เรือ / ปืน ภาษีที่ดิน ภาษีโรงเรียน ภาษีป้าย ภาษีสนามบิน 2. ภาษีทางอ้อม (Indirect Tax) คือ ภาษีที่เก็บจากบุคคลหนึ่งแล้วบุคคลนั้นผลักภาระการเสียภาษีภาษีนั้นไปให้ อีกบุคคลหนึ่ง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ  ภาษีศุลกากร เป็นภาษีที่เก็บจากการนําเข้าและส่งออกสินค้า  ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่เก็บจากการผลิตหรือจําหน่ายสินค้าบางชนิด เช่น น้ํามันเชื้อเพลิง ก๊าซ บุหรี่ สุรา เบียร์ เครื่องดื่ม ยานัตถุ์ ไพ่ ไม้ขีด ปูนซีเมนต์  ภาษีสรรพากร เช่น อากรมหรสพ ภาษีมูลค่าเพิ่ม การกู้เงินของรัฐบาล รัฐบาลมีแหล่งเงินกู้ทั้งภายในและภายนอกประเทศ แหล่งเงินกู้ภายในประเทศ คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารพาณิชย์ องค์การสถาบัน มูลนิธิ บริษัท และประชาชน (มักจะออกมาในรูปของการขายพันธบัตร) แหล่งเงินกู้ภายนอก คือ องค์การระหว่างประเทศ สถาบันการเงินต่างประเทศ และรัฐบาลต่างประเทศ เงินกู้ภายนอกประเทศจะไม่นามาใส่งบประมาณรายรับ เพราะการกู้เงินจากต่างประเทศจะต้องมีโครงการไปเสนอแหล่ง เงินจะพิจารณาให้กู้ตามโครงการและจะต้องนําเงินมาใช้เฉพาะในโครงการนั้น ๆ เอาไปใช้อย่างอื่นนอกโครงการไม่ได้ รายจ่ายของรัฐบาล วัตถุประสงค์ของรัฐบาลในการจ่ายเงิน คือ เพื่อเพิ่มผลผลิตทําให้รายได้ประชาชนสูงขึ้น เพื่อ สาธารณูปโภคบริการแก่ประชาชน เพื่อรักษาความสงบภายใน และเพื่อใช้ป้องกันประเทศ รายจ่ายของรัฐบาล แบ่งออกเป็น 12 ประการ เช่น การเกษตร การศึกษา การสาธารณสุข การรักษาความมั่นคง แห่งชาติ และการรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน และการชําระหนี้เงินกู้ เป็นต้น งบประมาณแผ่นดิน หมายถึง เอกสารประมาณการเกี่ยวกับรายรับและรายจ่ายของรัฐบาลงบประมาณแผ่นดิน นั้นเป็นการวางแผนเกี่ยวกับการใช้จ่ายของรัฐบาลนั่นเอง ประเทศไทยเริ่มมีงบประมาณแผ่นดินครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5
  • 15. การจัดทํางบประมาณแผ่นดินนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ส่วนผู้ที่อนุมัติการใช้งบประมาณ คือ รัฐสภา โดยประกาศออกมา เป็นกฎหมาย เรียกว่า “พระราชบัญญัติงบประมาณประจําปี พ.ศ....” ปีงบประมาณของประเทศไทยจะอยู่ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 30 กันยายน ของปีถัดไป เช่น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 จะอยู่ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2553 เป็นต้น ลักษณะของงบประมาณแผ่นดิน แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ 1. งบประมาณขาดดุล หมายถึง ยอดรายได้ของรัฐบาลต่ํากว่ายอดรายจ่าย จําต้องนําเอาเงินกู้และเงินคงคลัง มาเสริม 2. งบประมาณเกินดุล หมายถึง ยอดรายได้ของรัฐบาลสูงกว่ายอดรายจ่าย 3. งบประมาณได้ดุล (สมดุล) หมายถึง ยอดรายได้ของรัฐบาลเท่ากับยอดรายจ่าย เศรษฐกิจระหว่างประเทศ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอยู่ 3 เรื่อง คือ การค้าระหว่างประเทศ การเงินระหว่างประเทศ และการร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ การค้าระหว่างประเทศ การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การนําสินค้าและบริการจากประเทศหนึ่งไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง ซึ่ง ลักษณะการแลกเปลี่ยนมีทั้งที่เป็นการแลกเปลี่ยนสินค้ากับสินค้า การแลกเปลี่ยนโดยใช้เงิน เป็นสื่อกลาง และการ แลกเปลี่ยนโดยใช้สินเชื่อหรือเครดิต การค้าระหว่างประเทศนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากการที่ประเทศต่าง ๆ มีลักษณะทาง กายภาพและทรัพยากรที่มีความสามารถในการผลิตแตกต่างกันนั่นเอง ในการค้าระหว่างประเทศนั้นจะมีสินค้าอยู่ 2 ชนิด คือ สินค้าเข้า (Import) คือ สินค้าที่นํามาจากต่างประเทศเพื่อเข้ามาจําหน่าย และสินค้าออก (Export) คือ สินค้าที่ส่งออกไป จําหน่ายต่างประเทศ การค้าระหว่างประเทศก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจดังนี้ 1. ประเทศต่าง ๆ มีสินค้าครบตามความต้องการ 2. ประเทศต่าง ๆ จะมีการผลิตสินค้าแบบการค้าหรือมีเศรษฐกิจแบบการค้า 3. การผลิตสินค้าในประเทศต่าง ๆ จะมีการแข่งขันกันทางด้านคุณภาพและประสิทธิภาพ 4. ก่อให้เกิดความรู้ความชํานาญเฉพาะอย่าง แบ่งงานทําตามความถนัด นโยบายการค้าระหว่างประเทศ (Trade Policy) หมายถึง แนวทางปฏิบัติทางการค้า กับประเทศต่าง ๆ มักจะ กําหนดขึ้นใช้เพื่อรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ นโยบายการค้า ระหว่างประเทศแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ นโยบายการค้าเสรี และนโยบายการค้าคุ้มกัน 1. นโยบายการค้าเสรี (Free Trade Policy) เป็นนโยบาย การค้าที่เปิดโอกาสให้มีการส่งสินค้าจากประเทศหนึ่ง ไปอีกประเทศหนึ่ง ไม่มีการกีดกันใด ๆ ทางการค้า ประเทศที่ใช้นโยบายนี้มักจะใช้วิธีการดังนี้  ไม่มีการเก็บภาษีคุ้มกัน เช่น ไม่มีการตั้งกําแพงภาษีสินค้าขาเข้า หรือไม่มีการเก็บค่าพรีเมียม เป็นต้น  ไม่ให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ประเทศหนึ่งประเทศใด  ไม่มีข้อจํากัดทางการค้าใด ๆ เช่น ไม่มีการกําหนดโควตาสินค้า เป็นต้น  เลือกผลิตเฉพาะสินค้าที่ถนัด ซึ่งทําให้ทุนการผลิตต่ํา สินค้ามีคุณภาพ 2. นโยบายการค้าคุ้มกัน (Protective Trade Policy) เป็นนโยบายการค้าที่จํากัดการนําสินค้าเข้ามาแข่งขันกับ การผลิตในประเทศ นโยบายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองการผลิตภายในประเทศให้สามารถดําเนินการได้
  • 16. ประเทศใดที่ใช้นโยบายนี้มักจะมีเครื่องมือในการคุ้มกัน คือ การตั้งกําแพงภาษี การกําหนดโควตาสินค้า การห้ามเข้าหรือส่งออกของสินค้าบางอย่าง การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา และการให้เงินอุดหนุน ปริมาณการค้าระหว่างประเทศ คือมูลค่ารวมของสินค้าเข้าและสินค้าออกในระยะเวลา 1 ปี เพื่อศึกษาว่า การค้ากับต่างประเทศเพิ่มขึ้นหรือลดลง ดุลการค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การเปรียบเทียบระหว่างมูลค่าของสินค้าเข้ากับมูลค่าของสินค้าออก เพื่อ ศึกษาว่าการค้ากับต่างประเทศนั้นได้เปรียบหรือเสียเปรียบ ดุลการค้า มีอยู่ 3 ลักษณะ ดังนี้ 1. ดุลการค้าเกินดุล คือ มูลค่าของสินค้าออกสูงกว่ามูลค่าของสินค้าเข้า (ได้เปรียบดุลการค้า) 2. ดุลการค้าขาดดุล คือ มูลค่าของสินค้าออกต่ํากว่ามูลค่าของสินค้าเข้า (เสียเปรียบดุลการค้า) 3. ดุลการค้าได้ดุล (สมดุล) คือ มูลค่าของสินค้าออกเท่ากับมูลค่าของสินค้าเข้า ในการศึกษาปริมาณการค้าระหว่างประเทศและดุลการค้าระหว่างประเทศจะต้องศึกษาจากมูลค่าของสินค้าเข้า และมูลค่าของสินค้าออก ลักษณะการค้าต่างประเทศของไทย 1. ใช้นโยบายการค้าคุ้มกัน เพื่อคุ้มครองการผลิตในประเทศโดยมีมาตรการที่สําคัญ เช่น การตั้งกําแพงภาษี สินค้าเข้า การกําหนดโควตาสินค้านําเข้า และการให้เงินอุดหนุนการผลิตหรือส่งออก เป็นต้น 2. ให้เอกชนมีบทบาทในทางการค้ามากที่สุด โดยรัฐจะเป็นผู้อํานวยความสะดวกให้ แต่บางครั้งรัฐบาลก็อาจ ทําการค้ากับต่างประเทศโดยตรงบ้าง 3. ใช้ระบบภาษีศุลกากรพิกัดอัตราเดียว คือสินค้าเข้าเป็นชนิดเดียวกันไม่ว่าจะส่งมาจากประเทศใดก็ตามจะเก็บ ภาษีศุลกากรในอัตราเดียวกัน การเงินระหว่างประเทศ การเงินระหว่างประเทศ เป็นการแสดงความสัมพันธ์ทางด้านการเงินระหว่างประเทศหนึ่งกับอีกประเทศหนึ่ง ซึ่ง ความสัมพันธ์นี้สืบเนื่องมาจากการค้าขายระหว่างประเทศ การกู้ยืมเงินและการชําระหนี้ การลงทุนระหว่างประเทศ และ การช่วยเหลือกันระหว่างประเทศ การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ คือ การนําเงินตราสกุลหนึ่งไปแลกเปลี่ยนกับอีกสกุลหนึ่ง การแลกเปลี่ยน เงินตราเป็นสิ่งที่สําคัญในการดําเนินธุรกิจระหว่างประเทศ การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ถูกต้องนั้นต้องแลกที่ ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีการกําหนดอัตราแลกเปลี่ยนไว้ 2 อย่าง คือ อัตราซื้อ (Buying) คือ อัตราที่ธนาคารรับซื้อ (ราคาต่ํา) และอัตราขาย (Selling) คือ อัตราที่ธนาคารขายไป (ราคาสูง) ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนทั้ง 2 ประเภท ธนาคารกลางเป็นผู้ กําหนด โดยเทียบค่าเงินของตนกับทองคํา หรือเงินตราสกุลอื่น ๆ ภายใต้เงื่อนไขที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศกําหนด ปัจจุบันประเทศไทยกําหนดการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศเป็นแบบ “ลอยตัว” ชนิดมีการจัดการ จะใช้ อุปสงค์ และอุปทานของเงินตราเป็นตัวกําหนดอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินที่ทําการแลกเปลี่ยนเงินตรา แต่ อยู่ในความดูแลของธนาคารกลาง ค่าเงินแข็ง คือ เงินสกุลใดแข็งแสดงว่าเงินสกุลนั้นมีค่าสูงขึน เช่น เงินบาทแข็งค่าเดิม 1 ดอลลาร์ US. เท่ากับ 40 ้ บาท จะเป็น 1 ดอลลาร์ US เท่ากับ 38 บาท ค่าเงินอ่อน คือ เงินสกุลใดอ่อนแสดงว่าเงินสกุลนั้นมีค่าลดลง