SlideShare a Scribd company logo
1 of 60
บทบาทของพยาบาลในการจัดการกับผู้ป่วย ที่มีความเจ็บปวดในภาวะฉุกเฉิน  Management of patients with pain  in emergency care: The nurses’ roles อรพรรณ  โตสิงห์ คณะพยาบาลศาสตร์ ม . มหิดล
การบำบัดความเจ็บปวด เป็นข้อบ่งชี้ในการประกันคุณภาพของสถานบริการสุขภาพทุกแห่ง
ปี พ . ศ . 2544   สภาการพยาบาลประกาศมาตรฐานเชิงผลลัพธ์ขององค์กรพยาบาลในสถานบริการสุขภาพ  ทุกระดับ “ การควบคุมความเจ็บปวดและการทำให้ผู้ป่วยเกิดความสุขสบาย”
ปี พ . ศ . 2551   สภาการพยาบาลพัฒนารูปแบบการรับรองคุณภาพองค์กรพยาบาล และใช้ เรื่องของการควบคุมความเจ็บปวดเป็นเกณฑ์มาตรฐานของหน่วยงาน
วรรณกรรมเกี่ยวกับการจัดการกับความเจ็บปวดพบว่าผู้ป่วยที่มารับการรักษา ณ ห้องฉุกเฉิน  เป็นผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งที่มีปัญหาสำคัญเรื่องความเจ็บปวด  แต่ได้รับการจัดการกับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นไม่สอดคล้อง  หรือต่ำกว่าความต้องการ
ทบทวนวรรณกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับวิธีการจัดการผู้ป่วยที่มีความเจ็บปวดในภาวะฉุกเฉิน เน้นที่บทบาทและสมรรถนะของพยาบาล  สืบค้นวรรณกรรมจากแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่  on-line  ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่นิพนธ์ตั้งแต่  ค . ศ .  2000 -2009
โดยคัดเลือกวรรณกรรมทั้งที่เป็นงานวิจัยทุกประเภท  บทความวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ  แนวปฏิบัติหรือมาตรฐานของหน่วยงานหรือองค์กรที่ได้รับการยอมรับในวงการสุขภาพ  ทั้งนี้เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับการจัดการกับความเจ็บปวดสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินทั้งผู้ป่วยบาดเจ็บ  และผู้ป่วยระบบอื่นๆที่มารับการรักษา  ณ ห้องฉุกเฉิน  โดยเน้นที่บทบาทของพยาบาล
1. การจัดการกับความเจ็บปวดสำหรับผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉิน  :  ความสำคัญที่ถูกละเลย จุดเน้นของการจัดการกับความเจ็บปวดในขณะนั้นยังคงครอบคลุมเฉพาะผู้ป่วยหลังผ่าตัด ผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆที่มีบาดแผล   ผู้ป่วยที่มีความปวดเรื้อรัง เช่น กลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็ง การจัดการกับความเจ็บปวดของผู้ป่วยฉุกเฉินเพิ่งเริ่มมีความตื่นตัวในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา
ประมาณร้อยละ  70  ของผู้ป่วยฉุกเฉิน  ได้รับการบำบัดความเจ็บปวดอย่างไม่เหมาะสม  และไม่เพียงพอ   Hogan S. Patient satisfaction with pain management in the emergency department.  Topics in Emergency Medicine.  2005; 27(4) : 284–294.
งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการกับความเจ็บปวด  ในผู้ป่วยฉุกเฉินมีจำนวนค่อนข้างจำกัด Fosnocht, D.C. & Swanson, E.R. (2001). Improving pain management in the emergency department.  Utah's Health: An Annual Review Volume VIII .pp.11-12.
หลักสูตรการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีสำหรับแพทย์และพยาบาลในสหรัฐอเมริกา  เพิ่งเริ่มมีการบรรจุเนื้อหาการเรียนการสอนเกี่ยวกับการจัดการความเจ็บปวดเมื่อ ปี ค . ศ .  2000  เป็นต้นมา  จึงมีผลให้พยาบาลและแพทย์ที่สำเร็จการศึกษา มาก่อนเวลานั้น  ไม่ได้รับการเตรียมความรู้และทักษะเรื่องการบำบัดความเจ็บปวดอย่างสมบูรณ์  Hogan S. Patient satisfaction with pain management in the emergency department.  Topics in Emergency Medicine.  2005; 27(4) : 284–294.
สำหรับประเทศไทย หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง  16  สัปดาห์สำหรับพยาบาล มี  98  หลักสูตร หลักสูตรสำหรับ  ER nurses  มีเพียง  2  หลักสูตร ( ศิริราช , รามา ) หลักสูตร อนุสาขา  pain management 8 wks 1  หลักสูตร  วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
2. จุดเริ่มต้นของความสนใจต่อการจัดการความเจ็บปวดสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉิน
The American College of Emergency Physicians  ได้กำหนดนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมงานวิจัย  เรื่องการบำบัดความเจ็บปวดในภาวะฉุกเฉิน  ซึ่งเป็นกลยุทธ์สำคัญที่กระตุ้นให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอาทิ  หน่วยบำบัดฉุกเฉินในสถานบริการสุขภาพเกือบทุกระดับ  โดยเฉพาะสถานบริการสุขภาพขนาดใหญ่สังกัดมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา เช่น มหาวิทยาลัยยูท่า  (The University of Utah)  ได้ริเริ่มโครงการจัดการ  กับความเจ็บปวดสำหรับผู้ป่วยในหน่วยบำบัดฉุกเฉิน  เมื่อปี ค . ศ .  1999  โดยเริ่มโครงการสำรวจเบื้องต้นว่า  การปฏิบัติของแพทย์และพยาบาลเพื่อจัดการกับ  ความเจ็บปวดสำหรับผู้ป่วยที่มารับบริการในหน่วยบำบัดฉุกเฉินเป็นอย่างไร
การสำรวจดังกล่าวจึงเน้นที่การศึกษาความคาดหวัง ของผู้ป่วยต่อการปฏิบัติของแพทย์และพยาบาลเป็นสำคัญ  การสำรวจผู้ป่วยที่มารับบริการจำนวน  458  คน  พบว่ามีเพียงร้อยละ  45  ของผู้ป่วยที่มีความเจ็บปวดเท่านั้นที่ได้รับยาเพื่อบำบัดความเจ็บปวดภายในเวลา  ที่เหมาะสมตามความคาดหวังของผู้ป่วย  กล่าวคือระยะเวลาเฉลี่ยที่ผู้ป่วยได้รับยาเพื่อบำบัดความเจ็บปวด เท่ากับ  78  นาทีนับจากเวลาที่ผู้ป่วยมาถึงหน่วยบำบัดฉุกเฉิน ในขณะที่ระยะเวลาเฉลี่ยตามความคาดหวัง  ของผู้ป่วยคือ  23  นาที
ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการบำบัดความเจ็บปวด  ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตนเอง  มีระดับคะแนนความพึงพอใจเพียง  51  คะแนน จากมาตรวัดระดับความพึงพอใจ  ที่มีคะแนนเต็ม  100  คะแนน
ค . ศ .  2000  มีการสำรวจซ้ำในผู้ป่วยจำนวน  522  คนในหน่วยฉุกเฉิน  พบว่าผู้ป่วยต้องการให้มีการบำบัดเพื่อลดระดับความเจ็บปวดลงร้อยละ  72  จากระดับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับตนเอง  และมีผู้ป่วยร้อยละ  18  ที่ต้องการการบำบัดความเจ็บปวดแบบสมบูรณ์
หลังจากการสำรวจ  2  ปี ติดต่อกัน  หน่วยบำบัดฉุกเฉินของมหาวิทยาลัยยูทาจึงได้พัฒนาโปรโตคอลเพื่อจัดการกับความเจ็บปวดสำหรับผู้ป่วยและผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการประเมินและให้การบำบัดความเจ็บปวดเบื้องต้นตามระดับ ความเจ็บปวดที่กำหนดไว้ในโปรโตคอลคือพยาบาลประจำหน่วยบำบัดฉุกเฉิน
3. ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการ  กับความเจ็บปวดในภาวะฉุกเฉิน
3.1  การสั่งยาระงับปวดน้อยกว่าความต้องการของผู้ป่วย Oligoanalgesia  หรือการสั่งยาระงับปวดน้อยกว่าความต้องการของผู้ป่วย มีผลให้ไม่สามารถควบคุมความเจ็บปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเสมอสำหรับผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน   Duignan, M. & Dunn, V. (2008) Congruence of pain assessment between nurses and emergency department patients: A replication . International Emergency Nursing  16,pp. 23–28
สาเหตุสำคัญของ  Oligoanalgesia   คือการเกิดความไม่สอดคล้องกันของการประเมินระดับความเจ็บปวดระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วย โดยที่การศึกษาที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยเดี่ยว  หรืองานทบทวนวรรณกรรม  พบว่าแพทย์และพยาบาลมักประเมินระดับความเจ็บปวดของผู้ป่วยต่ำกว่าที่ผู้ป่วยประเมินเสมอ  Duignan, M. & Dunn, V. (2008)   Congruence of pain assessment between nurses and emergency department patients: A replication . International Emergency Nursing  16,pp. 23–28 Garbez, R. Puntillo, K.  Acute musculoskeletal pain in the emergency department: A review of the literature and implications for the advanced practice nurse.  AACN Clinical Issues . 2005; 16 : 310–319. Puntillo K, Neighbor M, O’Neil N, Nixon R, Accuracy of emergency nurses in assessment of patients’ pain.  Pain Management Nursing . 2003; 4 (4) :171–175.
3.2  การประเมินความเจ็บปวดที่ไม่สอดคล้องกัน  ระหว่างผู้ป่วยกับพยาบาล จากการศึกษาของ   Duignan  และ  Dunn   ถึงความสอดคล้องระหว่างการประเมินความเจ็บปวดของพยาบาลกับผู้ป่วย  โดยใช้เครื่องมือแบบ   numeric rating scale (NRS)  แบ่งระดับของความเจ็บปวดเป็น  3  กลุ่ม ได้แก่  1–4 = mild pain, 5–6 = moderate pain  และ  7–10 = severe pain  กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลหน่วยฉุกเฉินของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ  16  คน และผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่หน่วยฉุกเฉิน  64  คน ได้ผลการศึกษาดังนี้
1. ผู้ป่วยประเมินความปวด ( ขณะพัก ) ในระดับสูงกว่าการประเมินของพยาบาล  โดยที่ผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยของการประเมินเท่ากับ  6.4  ในขณะที่พยาบาลมีค่าเฉลี่ยของการประเมินเท่ากับ  5.2  2. พยาบาลร้อยละ  45  ประเมินความรุนแรงของความปวดในระดับต่ำกว่าที่ผู้ป่วยประเมิน
3. ลักษณะส่วนบุคคลของพยาบาล  ได้แก่ เพศ อายุ  ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน  ประสบการณ์การอบรมเกี่ยวกับการจัดการกับความเจ็บปวด  ไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้พยาบาลประเมินความเจ็บปวด  ไม่สอดคล้องกับที่ผู้ป่วยประเมิน  4. การประเมินความเจ็บปวดของพยาบาลไม่สอดคล้องกับที่ผู้ป่วยประเมิน  มีสาเหตุจาก  ลักษณะความเจ็บปวดของผู้ป่วย  โดยกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการประเมินจากพยาบาลว่ามีระดับความปวดต่ำกว่าที่ผู้ป่วยรับรู้หรือประเมินตนเอง  คือผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่อง  abdominal pain, musculoskeletal pain  จากภาวะ  cellulitis
การศึกษานี้สอดคล้องกับการศึกษาที่ผ่านมาซึ่งสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า  ผู้ป่วย กลุ่มนี้มีโอกาสได้รับการบำบัดความเจ็บปวดอย่างไม่มีประสิทธิภาพ  เนื่องจากได้รับ  การประเมินจากพยาบาลว่ามีระดับ  ความเจ็บปวดต่ำกว่าความเป็นจริง  Garbez, R. Puntillo, K.  Acute musculoskeletal pain in the emergency department: A review of the literature and implications for the advanced practice nurse.  AACN Clinical Issues . 2005; 16 : 310–319. Puntillo K, Neighbor M, O’Neil N, Nixon R, Accuracy of emergency nurses in assessment of patients’ pain.  Pain Management Nursing . 2003; 4 (4) :171–175.
3.3  ระบบบันทึกระดับความเจ็บปวด  ที่ไม่มีประสิทธิภาพ และพบว่าการบันทึกระดับความเจ็บปวดในหน่วยบำบัดฉุกเฉินมักถูกละเลย   เพราะไม่ใช่อาการที่คุกคามชีวิต ในความเป็นจริง ควรมีการพัฒนารูปแบบการลงบันทึกข้อมูลความเจ็บปวดของผู้ป่วยฉุกเฉินในรูปของ   electronic database pain registry  เพื่อการนำผลการบันทึกมาใช้ในกระบวนการพัฒนาและประกันคุณภาพ
3.4  การรายงานระดับความเจ็บปวดที่ต่ำกว่า  ความเป็นจริง   ปัจจัยสำคัญที่มีผลให้ผู้ป่วยรายงานความเจ็บปวด  ต่ำกว่าความเป็นจริง  เช่นการสื่อสาร  โดยพบว่า  ผู้ป่วยเพศชาย สูงอายุ  หรือมีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมไม่ดี  มักมีปัญหาด้านการสื่อสารความเจ็บปวด  และเป็นกลุ่มที่ได้รับการบำบัดความเจ็บปวดต่ำกว่าความต้องการ Garbez, R. Puntillo, K.  Acute musculoskeletal pain in the emergency department: A review of the literature and implications for the advanced practice nurse.  AACN Clinical Issues . 2005; 16 : 310–319.
ดังนั้นผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการสื่อสาร จึงควรถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวัง  มีการประเมินความเจ็บปวดอย่างใกล้ชิด  โดยประเมินซ้ำ  และส่งต่อยังผู้เกี่ยวข้องเพื่อการประเมินความเจ็บปวดอย่างต่อเนื่อง Duignan, M. & Dunn, V. (2008) Congruence of pain assessment between nurses and emergency department patients: A replication . International Emergency Nursing  16,pp. 23–28 Garbez, R. Puntillo, K.  Acute musculoskeletal pain in the emergency department: A review of the literature and implications for the advanced practice nurse.  AACN Clinical Issues . 2005; 16 : 310–319. Puntillo K, Neighbor M, O’Neil N, Nixon R, Accuracy of emergency nurses in assessment of patients’ pain.  Pain Management Nursing . 2003; 4 (4) :171–175.
4.  มาตรการณ์สำหรับพยาบาลในการจัดการกับผู้ป่วยที่มีความเจ็บปวดในภาวะฉุกเฉิน
4.1  กำหนดมาตรการณ์ระดับหน่วยงาน นโยบายจาก  policy maker 1. เน้นการประเมินและการจัดการกับความเจ็บปวดสำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับรักษาในโรงพยาบาล   ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน 2. เน้นการให้ข้อมูลและการสนับสนุนให้ผู้ป่วยพิทักษ์สิทธิของตนเองในกระบวนการจัดการกับความเจ็บปวดอย่างมีประสิทธิภาพ 3. กำหนดให้การจัดการกับความเจ็บปวดเป็นมาตรฐานหนึ่งของการประกันคุณภาพการบริการของหน่วยงาน 4. จัดระบบทบทวนประสิทธิภาพ   และผลลัพธ์ของการจัดการกับความเจ็บปวดในผู้ป่วยทุกกลุ่ม
5. พัฒนาระบบบันทึกทางการพยาบาลและเน้นการบันทึกการประเมินความเจ็บปวด  กระบวนการและผลลัพธ์ของการบำบัดความเจ็บปวดที่เกิดจากพยาบาล  6. วางระบบ  software  เพื่อส่งเสริมการบันทึกระดับความเจ็บปวดของผู้ป่วยและเชื่อมต่อให้เป็นส่วนหนึ่งของ  medical record systems 7. พัฒนาระบบการประเมินและจัดการกับความเจ็บปวดอย่างต่อเนื่อง  โดยเริ่มตั้งแต่หน่วยบำบัดฉุกเฉินจนกระทั่งผู้ป่วยจำหน่ายจากโรงพยาบาล
4.2  ใช้ความรู้จากผลการวิจัยเพื่อช่วยพัฒนาให้เกิดระบบการจัดการความเจ็บปวดที่มีประสิทธิภาพ
Tracy   และ คณะได้พัฒนาโครงการใช้ผลการวิจัย  เพื่อบูรณาการความรู้และสมรรถนะของทีมสหสาขาวิชาชีพในการร่วมกันจัดการความเจ็บปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัด  (The Collaborative research Utilization Model)  โดยมุ่งเน้นวิธีการจัดการแบบไม่ใช้ยาเพื่อเน้นกระบวนการนำไปใช้สำหรับพยาบาลและเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถจัดการความเจ็บปวดหลังผ่าตัดด้วยตนเอง ประกอบด้วย  6  ขั้นตอน Tracy S, Dufault M, Kogut S, Martin V, Rossi S, Willey-Temkin C. Translating best practices in non drug postoperative pain management .  Nursing Research .  2006; 55 : S57–S67
ขั้นตอนที่  1   ร่วมกันระบุปัญหา  โดยมีนักวิจัยทางการพยาบาลเป็นผู้นำทีมพยาบาลระดับปฏิบัติการ   มีการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นเชิงลึก  เพื่อนำไปพัฒนาเป็นกรอบสำหรับการสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ ในขั้นตอนนี้กลุ่มพยาบาลได้ขอคำแนะนำและการสนับสนุนจากผู้บริหาร  องค์กร  และฝ่ายวิจัยของหน่วยงาน ใช้เวลาดำเนินการประมาณ  2-3  เดือน
ขั้นตอนที่  2   คัดเลือกงานวิจัยตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้  งานวิจัยที่ได้คัดเลือก ถูกประเมินคุณภาพและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้   ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ  และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหากปฏิบัติตามการวิจัย  งานวิจัยที่มีคุณลักษณะตามเกณฑ์  ถูกคัดเลือกและนำไปเขียนเป็นข้อเสนอแนะที่เป็น  best practice  ใช้เวลาประมาณ  5  เดือน
ขั้นตอนที่  3   ข้อเสนอแนะที่ได้กำหนด   ถูกนำไปพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติ  คู่มือ  โปรโตคอลเพื่อจัดการกับความเจ็บปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด  นอกจากนั้นได้มีการพัฒนาโครงการนำร่องเพื่อนำเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นไปทดสอบประสิทธิภาพ   โดยใช้เวลา ประมาณ  2  เดือน
โครงการนำร่องแบ่งเป็น  2  ระยะ ระยะแรกทดลองใช้เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของวิธีการที่เป็น  non-drug pain intervention  ในกลุ่มผู้ป่วย  137  คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง  ระยะที่สอง  นำไปใช้ในผู้ป่วย 46  คน วัดผลก่อนและหลังให้  intervention  ในขั้นตอนนี้มีการปรับปรุง  intervention  ให้สั้น  เข้าใจง่าย  และสอดคล้องกับการปฏิบัติเดิม  สำหรับวิธีการลดปวดแบบไม่ใช้ยาที่เป็น  best practice  ได้แก่ การนวด  ( massage),  การฟังดนตรี  ( music) ,  และ  Self-guided imagery   ซึ่งพบว่าสามารถลดปวดและทำให้ผู้ป่วยมีความพึงพอใจ  เนื่องจากผู้ป่วยสามารถควบคุมความเจ็บปวดได้ด้วยตนเอง
ขั้นตอนที่  4   นำโปรโตคอลที่พัฒนาขึ้นไปปฏิบัติ  โดยติดตามวัดผลเรื่องความเป็นไปได้  ประโยชน์ที่เกิดขึ้น  และประสิทธิผลของแนวปฏิบัติ ใช้เวลา ประมาณ  8  เดือน   ในขั้นตอนนี้มีการนำแผ่น  CD  เพลงที่มีความหลากหลาย และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง  กับการบำบัดใส่รถเข็นเพื่อให้ผู้ป่วยเลือกตามความต้องการ
ขั้นตอนที่  5   ตัดสินใจโดยพิจารณาจากผลลัพธ์ของการนำแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นไปใช้ มีการนำเสนอผลการทดสอบเพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันตัดสินใจ  และอภิปรายถึงวิธีการนำไปปฏิบัติให้เหมาะสมในสถานการณ์จริง
ขั้นตอนที่  6  พัฒนาวิธีการเผยแพร่แนวปฏิบัติไปยังหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง  เพื่อองค์กรที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันนำวิธีการบำบัดความเจ็บปวดแบบไม่ใช้ยา ไปใช้สำหรับกลุ่มผู้ป่วยหลังผ่าตัด  การเผยแพร่ผลงาน  ในการประชุมวิชาการต่างๆร่วมกับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานเป็นการสร้างแรงจูงใจ  และเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับหน่วยงานอื่นๆที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน
EBP guidelines implement วัดผลลัพธ์ งานวิจัย R to R
4.3  ควบคุมสาเหตุของความเจ็บปวดของผู้ป่วยในห้องฉุกเฉินที่เกิดจากกระบวนการดูแลหรือหัตถการต่างๆ
Collier  และ  Hollinworth  ให้ความสำคัญกับการป้องกันหรือลดความเจ็บปวดระหว่างการหัตถการหรือทำแผล  เพราะหัตถการต่างๆ มีผลให้เกิด  acute pain  และ  tissue damage  เลือกผลิตภัณฑ์ทำแผลที่ช่วยลดความปวดและการเสียหายของเนื้อเยื่อเช่น  soft silicone  พยาบาลสามารถเลือกวิธีการทำแผลและผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผู้ป่วย เพื่อลดความปวดและความเสียหายของเนื้อเยื่อ และให้ข้อมูลผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับวิธีการและการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ตกแต่งแผล Collier M,  Hollinworth H. Pain and tissue trauma during dressing change,  Nursing Standard , 2000; 40 : 71-73.
4.4  ใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการคัดกรองความเจ็บปวด ประเมินระดับความรุนแรงของ  ความเจ็บปวด และประเมินลักษณะความเจ็บปวด
ประสิทธิภาพของการจัดการความเจ็บปวดขึ้นอยู่กับคุณภาพของแบบประเมินและแบบบันทึกต่างๆที่พยาบาลใช้กับผู้ป่วย  การประเมินความเจ็บปวดต้องครอบคลุมตั้งแต่ 4.4.1  การคัดกรองความเจ็บปวด  (pain screening)  4.4.2  การใช้เครื่องมือวัดระดับความเจ็บปวด  (pain rating scale)  4.4.3  การประเมินลักษณะของความเจ็บปวด Best Practice Committee of the Health Care Association of New Jersey.  Pain Management Guideline.  2006.
 
 
 
 
พยาบาลควรให้ความสำคัญในการคัดกรอง  การประเมินระดับหรือความรุนแรง  การประเมินลักษณะ  การคัดกรองและการประเมินที่แม่นยำ  ทำให้ทราบทางเลือกของการบำบัดความเจ็บปวดว่า - ควรเตรียมการใช้  local anaesthesia  ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องทำหัตการเฉพาะที่  - ควรเตรียมการเพื่อเลือกใช้ยาในกลุ่ม  opioid  ได้แก่  pethidine, morphine  และ  fentanyl  ในการบำบัดความเจ็บปวดที่รุนแรง  - ควรเตรียมการเพื่อใช้ยา  non-opioid  เช่น  NSAIDs  สำหรับบำบัดความเจ็บปวดที่เกิดจาก  ureteric  หรือ  biliary colic  The National Health and Medical Research Council (NHMRC).  Acute pain management   : scientific evidences.  2 005 .
4.5   จัดโปรแกรมให้ความรู้และพัฒนาสมรรถนะพยาบาลฉุกเฉินในการบำบัดความเจ็บปวด
แม้การจัดการความเจ็บปวดสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้ป่วยบาดเจ็บจะมีการพัฒนามากขึ้น แต่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ   จึงควรพัฒนาสมรรถนะให้กับพยาบาล ห้องฉุกเฉินให้สามารถประเมิน  และคัดเลือก  evidence based protocol  เพื่อการประเมิน  บำบัดและวัดผลลัพธ์ของการบำบัดอย่างมีประสิทธิภาพ  ผู้ป่วยบาดเจ็บควรมีการจัดการทั้งในระยะ  pre-hospital phase, early hospital phase   และ   operative -postoperative rehabilitation phases  ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวดเรื้อรังต้องไม่ถูกละเลยในการจัดการความเจ็บปวด Davidson E, Ginosar Y, Avidan A. Pain management and regional anaesthesia in the trauma patient.  Current Opinion in Anaesthesiology . 2005; 18:169–174.
การจัดการกับความเจ็บปวดสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บ  จะได้ผลสูงสุดเมื่อผู้ป่วยได้รับการประเมินทันทีที่ผู้ป่วยมาถึงหน่วยบำบัดฉุกเฉิน  และเมื่อพบว่าผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดต้องได้รับการบำบัดทันทีเช่นกัน ดังนั้นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในห้องฉุกเฉินจึงควรได้รับการพัฒนาเป็น พยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉิน  (Acute Care Nurse Practitioner)  เพื่อให้มีเอกสิทธิ์ในการให้การบำบัดได้
4.6  สนับสนุนให้ผู้ป่วยและครอบครัวพิทักษ์สิทธิของตนเอง
เอกสารทางวิชาการจำนวนมากแสดงเจตนารมณ์ชัดเจนในการใช้ผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลางของการบำบัดความเจ็บปวด  โดยได้พัฒนาแนวปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยและญาติ  เกี่ยวกับการปกป้องสิทธิตนเองในเรื่องของการบำบัดความเจ็บปวด สอดคล้องกับข้อปฏิบัติของทุกวิชาชีพทางสุขภาพและหลักการของการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เน้นความต้องการ  ความคาดหวังและการยอมรับของผู้ป่วยเป็นสำคัญ National Health and Medical Research Council (NHMRC).  Acute pain management: information for consumers.   2005.
สรุป
การบำบัดความเจ็บปวดสำหรับผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินยังคงต้องการการศึกษา  ค้นคว้า  เพื่อพัฒนารูปแบบที่เป็น  best practice  อย่างต่อเนื่อง
พยาบาลมีหน้าที่สำคัญในการประเมิน  ให้การบำบัด  และติดตามประเมินผลลัพธ์
ในพื้นที่ที่ขาดแคลนแพทย์  พยาบาลควรพัฒนาให้มีสมรรถนะด้านการประเมินและให้การบำบัดโดยใช้  evidence based protocol  ร่วมกับผลักดันให้มีกฎหมายรองรับการปฏิบัติอย่างถูกต้อง
การพัฒนาการจัดการ กับความเจ็บปวด ปฏิบัติ การวิจัย การศึกษา

More Related Content

What's hot

การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based Practice: EBP) 2551
การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based Practice: EBP) 2551การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based Practice: EBP) 2551
การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based Practice: EBP) 2551Utai Sukviwatsirikul
 
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...Dr.Suradet Chawadet
 
การพยาบาลผู้ป่วย CAD IHD & VHD edition 131059
การพยาบาลผู้ป่วย CAD IHD & VHD edition 131059การพยาบาลผู้ป่วย CAD IHD & VHD edition 131059
การพยาบาลผู้ป่วย CAD IHD & VHD edition 131059Aphisit Aunbusdumberdor
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)Aphisit Aunbusdumberdor
 
การจัดการทางเดินหายใจ
การจัดการทางเดินหายใจการจัดการทางเดินหายใจ
การจัดการทางเดินหายใจKrongdai Unhasuta
 
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัย
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัยSฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัย
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัยSuradet Sriangkoon
 
Multiple trauma in special situations
Multiple trauma in special situationsMultiple trauma in special situations
Multiple trauma in special situationstaem
 
Central venous pressure (cvp)
Central venous pressure (cvp)Central venous pressure (cvp)
Central venous pressure (cvp)piyarat wongnai
 
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุคู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุUtai Sukviwatsirikul
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
คู่มือ ICD (Chest drain)
คู่มือ ICD (Chest drain)คู่มือ ICD (Chest drain)
คู่มือ ICD (Chest drain)Weerawan Ueng-aram
 
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษาPICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษาsongsri
 
แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557 ประเทศไทย
แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557 ประเทศไทยแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557 ประเทศไทย
แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557 ประเทศไทยUtai Sukviwatsirikul
 
Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058
Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058
Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058Aphisit Aunbusdumberdor
 

What's hot (20)

การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based Practice: EBP) 2551
การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based Practice: EBP) 2551การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based Practice: EBP) 2551
การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based Practice: EBP) 2551
 
การให้ยาฉีด
การให้ยาฉีดการให้ยาฉีด
การให้ยาฉีด
 
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
 
การพยาบาลผู้ป่วย CAD IHD & VHD edition 131059
การพยาบาลผู้ป่วย CAD IHD & VHD edition 131059การพยาบาลผู้ป่วย CAD IHD & VHD edition 131059
การพยาบาลผู้ป่วย CAD IHD & VHD edition 131059
 
ภาวะซีด
ภาวะซีดภาวะซีด
ภาวะซีด
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
 
การจัดการทางเดินหายใจ
การจัดการทางเดินหายใจการจัดการทางเดินหายใจ
การจัดการทางเดินหายใจ
 
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัย
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัยSฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัย
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัย
 
Multiple trauma in special situations
Multiple trauma in special situationsMultiple trauma in special situations
Multiple trauma in special situations
 
11 พยาบาลกับความปลอดภัย-ปรับ
11 พยาบาลกับความปลอดภัย-ปรับ11 พยาบาลกับความปลอดภัย-ปรับ
11 พยาบาลกับความปลอดภัย-ปรับ
 
2016 Respiratory Assessment
2016 Respiratory Assessment2016 Respiratory Assessment
2016 Respiratory Assessment
 
Central venous pressure (cvp)
Central venous pressure (cvp)Central venous pressure (cvp)
Central venous pressure (cvp)
 
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุคู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
คู่มือ ICD (Chest drain)
คู่มือ ICD (Chest drain)คู่มือ ICD (Chest drain)
คู่มือ ICD (Chest drain)
 
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษาPICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
 
การให้ยาฉีด
การให้ยาฉีดการให้ยาฉีด
การให้ยาฉีด
 
แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557 ประเทศไทย
แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557 ประเทศไทยแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557 ประเทศไทย
แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557 ประเทศไทย
 
จำแนกประเภท
จำแนกประเภทจำแนกประเภท
จำแนกประเภท
 
Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058
Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058
Nursing Care for Coronary Artery disease edition 111058
 

Viewers also liked

Pain management nursing for student nurses
Pain management nursing for student nursesPain management nursing for student nurses
Pain management nursing for student nursesAphisit Aunbusdumberdor
 
การบรรเทาความปวดด้วยวิธีไม่ใช้ยา
การบรรเทาความปวดด้วยวิธีไม่ใช้ยาการบรรเทาความปวดด้วยวิธีไม่ใช้ยา
การบรรเทาความปวดด้วยวิธีไม่ใช้ยาPain clinic pnk
 
บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ปวด (คุณอำไพ)
บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ปวด (คุณอำไพ)บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ปวด (คุณอำไพ)
บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ปวด (คุณอำไพ)techno UCH
 
ยาระงับปวด
ยาระงับปวดยาระงับปวด
ยาระงับปวดJumpon Utta
 
TAEM10:Pain management
TAEM10:Pain managementTAEM10:Pain management
TAEM10:Pain managementtaem
 
Palliative Care คู่มือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
Palliative Care คู่มือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง Palliative Care คู่มือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
Palliative Care คู่มือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการดูแลและจัดการความเจ็บปวดในเด็ก
แนวทางการดูแลและจัดการความเจ็บปวดในเด็กแนวทางการดูแลและจัดการความเจ็บปวดในเด็ก
แนวทางการดูแลและจัดการความเจ็บปวดในเด็กPain clinic pnk
 
การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้าน, End of life care
การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้าน, End of life careการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้าน, End of life care
การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้าน, End of life careKhanawut Nitikul
 
Pain management for nurses
Pain management for nursesPain management for nurses
Pain management for nursessadloni
 
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)Aiman Sadeeyamu
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management
Clinical Guidance for Acute Pain ManagementClinical Guidance for Acute Pain Management
Clinical Guidance for Acute Pain ManagementUtai Sukviwatsirikul
 
การพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์และนรีเวชวิทยา
การพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์และนรีเวชวิทยาการพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์และนรีเวชวิทยา
การพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์และนรีเวชวิทยาChutchavarn Wongsaree
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557
แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557 แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557
แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557 Utai Sukviwatsirikul
 
TAEM10:Roles of endoscopic nurse
TAEM10:Roles of endoscopic nurseTAEM10:Roles of endoscopic nurse
TAEM10:Roles of endoscopic nursetaem
 
ศัพท์การแพทย์ฉุกเฉิน
ศัพท์การแพทย์ฉุกเฉินศัพท์การแพทย์ฉุกเฉิน
ศัพท์การแพทย์ฉุกเฉินtaem
 
Emergency prevention
Emergency preventionEmergency prevention
Emergency preventiontaem
 
คนฉุกเฉินตามทันมั้ย อ.ศรีทัย สีทิพย์
คนฉุกเฉินตามทันมั้ย อ.ศรีทัย สีทิพย์คนฉุกเฉินตามทันมั้ย อ.ศรีทัย สีทิพย์
คนฉุกเฉินตามทันมั้ย อ.ศรีทัย สีทิพย์taem
 
1ฉุกเฉินไทยก้าวไกล อ.ศิริอร สินธุ
1ฉุกเฉินไทยก้าวไกล อ.ศิริอร สินธุ1ฉุกเฉินไทยก้าวไกล อ.ศิริอร สินธุ
1ฉุกเฉินไทยก้าวไกล อ.ศิริอร สินธุtaem
 
Thailand guideline for management of chb and chc 2015
Thailand guideline for management of chb  and chc 2015Thailand guideline for management of chb  and chc 2015
Thailand guideline for management of chb and chc 2015Utai Sukviwatsirikul
 

Viewers also liked (20)

Pain management nursing for student nurses
Pain management nursing for student nursesPain management nursing for student nurses
Pain management nursing for student nurses
 
การบรรเทาความปวดด้วยวิธีไม่ใช้ยา
การบรรเทาความปวดด้วยวิธีไม่ใช้ยาการบรรเทาความปวดด้วยวิธีไม่ใช้ยา
การบรรเทาความปวดด้วยวิธีไม่ใช้ยา
 
บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ปวด (คุณอำไพ)
บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ปวด (คุณอำไพ)บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ปวด (คุณอำไพ)
บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ปวด (คุณอำไพ)
 
ยาระงับปวด
ยาระงับปวดยาระงับปวด
ยาระงับปวด
 
TAEM10:Pain management
TAEM10:Pain managementTAEM10:Pain management
TAEM10:Pain management
 
Palliative Care คู่มือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
Palliative Care คู่มือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง Palliative Care คู่มือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
Palliative Care คู่มือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
 
แนวทางการดูแลและจัดการความเจ็บปวดในเด็ก
แนวทางการดูแลและจัดการความเจ็บปวดในเด็กแนวทางการดูแลและจัดการความเจ็บปวดในเด็ก
แนวทางการดูแลและจัดการความเจ็บปวดในเด็ก
 
การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้าน, End of life care
การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้าน, End of life careการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้าน, End of life care
การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้าน, End of life care
 
Pain management for nurses
Pain management for nursesPain management for nurses
Pain management for nurses
 
Ppt. pain
Ppt. painPpt. pain
Ppt. pain
 
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drugs)
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management
Clinical Guidance for Acute Pain ManagementClinical Guidance for Acute Pain Management
Clinical Guidance for Acute Pain Management
 
การพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์และนรีเวชวิทยา
การพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์และนรีเวชวิทยาการพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์และนรีเวชวิทยา
การพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์และนรีเวชวิทยา
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557
แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557 แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557
แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557
 
TAEM10:Roles of endoscopic nurse
TAEM10:Roles of endoscopic nurseTAEM10:Roles of endoscopic nurse
TAEM10:Roles of endoscopic nurse
 
ศัพท์การแพทย์ฉุกเฉิน
ศัพท์การแพทย์ฉุกเฉินศัพท์การแพทย์ฉุกเฉิน
ศัพท์การแพทย์ฉุกเฉิน
 
Emergency prevention
Emergency preventionEmergency prevention
Emergency prevention
 
คนฉุกเฉินตามทันมั้ย อ.ศรีทัย สีทิพย์
คนฉุกเฉินตามทันมั้ย อ.ศรีทัย สีทิพย์คนฉุกเฉินตามทันมั้ย อ.ศรีทัย สีทิพย์
คนฉุกเฉินตามทันมั้ย อ.ศรีทัย สีทิพย์
 
1ฉุกเฉินไทยก้าวไกล อ.ศิริอร สินธุ
1ฉุกเฉินไทยก้าวไกล อ.ศิริอร สินธุ1ฉุกเฉินไทยก้าวไกล อ.ศิริอร สินธุ
1ฉุกเฉินไทยก้าวไกล อ.ศิริอร สินธุ
 
Thailand guideline for management of chb and chc 2015
Thailand guideline for management of chb  and chc 2015Thailand guideline for management of chb  and chc 2015
Thailand guideline for management of chb and chc 2015
 

Similar to TAEM10:Pain management for nurse

tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf
tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdftapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf
tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf60941
 
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557Utai Sukviwatsirikul
 
Road map to preparedness management in er
Road map to preparedness management in erRoad map to preparedness management in er
Road map to preparedness management in erKrongdai Unhasuta
 
คู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉาง
คู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉางคู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉาง
คู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉางSuradet Sriangkoon
 
หลักสูตรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สำหรับ พยาบาลผู้จัดการรายกรณี
หลักสูตรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สำหรับ พยาบาลผู้จัดการรายกรณีหลักสูตรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สำหรับ พยาบาลผู้จัดการรายกรณี
หลักสูตรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สำหรับ พยาบาลผู้จัดการรายกรณีTuang Thidarat Apinya
 
Predictive Validity of 4-Level Triage In Emergency Department of Chaophayaa...
Predictive Validity of 4-Level Triage  In Emergency Department of  Chaophayaa...Predictive Validity of 4-Level Triage  In Emergency Department of  Chaophayaa...
Predictive Validity of 4-Level Triage In Emergency Department of Chaophayaa...Narenthorn EMS Center
 
Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus : MERS-CoV Handbook
Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus : MERS-CoV HandbookMiddle East Respiratory Syndrome Coronavirus : MERS-CoV Handbook
Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus : MERS-CoV HandbookUtai Sukviwatsirikul
 
เภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทก
เภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทกเภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทก
เภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทกpitsanu duangkartok
 
ภาพที่ 9-5 ตัวอย่างบทความวิจัย (Research Article)
ภาพที่ 9-5 ตัวอย่างบทความวิจัย (Research Article)ภาพที่ 9-5 ตัวอย่างบทความวิจัย (Research Article)
ภาพที่ 9-5 ตัวอย่างบทความวิจัย (Research Article)Chamada Rinzine
 
Clinical Practice Guideline for myofascial pain syndrome fibromyagia
Clinical Practice Guideline for myofascial pain syndrome fibromyagiaClinical Practice Guideline for myofascial pain syndrome fibromyagia
Clinical Practice Guideline for myofascial pain syndrome fibromyagiaUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว Utai Sukviwatsirikul
 

Similar to TAEM10:Pain management for nurse (20)

The Incidence of Critical Risks of Anesthesia Related Complication in Srinaga...
The Incidence of Critical Risks of Anesthesia Related Complication in Srinaga...The Incidence of Critical Risks of Anesthesia Related Complication in Srinaga...
The Incidence of Critical Risks of Anesthesia Related Complication in Srinaga...
 
Myofascialpain fibromyalgia
Myofascialpain fibromyalgiaMyofascialpain fibromyalgia
Myofascialpain fibromyalgia
 
tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf
tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdftapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf
tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf
 
(16 มิ.ย. 56) service profile update
(16 มิ.ย. 56) service profile update(16 มิ.ย. 56) service profile update
(16 มิ.ย. 56) service profile update
 
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2557
 
(20 พ.ค 56) service profile (ส่งเจี๊ยบ)
(20 พ.ค 56) service profile (ส่งเจี๊ยบ)(20 พ.ค 56) service profile (ส่งเจี๊ยบ)
(20 พ.ค 56) service profile (ส่งเจี๊ยบ)
 
Tyr kk camp concept
Tyr kk camp conceptTyr kk camp concept
Tyr kk camp concept
 
Road map to preparedness management in er
Road map to preparedness management in erRoad map to preparedness management in er
Road map to preparedness management in er
 
Epilepsy
EpilepsyEpilepsy
Epilepsy
 
คู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉาง
คู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉางคู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉาง
คู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉาง
 
หลักสูตรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สำหรับ พยาบาลผู้จัดการรายกรณี
หลักสูตรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สำหรับ พยาบาลผู้จัดการรายกรณีหลักสูตรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สำหรับ พยาบาลผู้จัดการรายกรณี
หลักสูตรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สำหรับ พยาบาลผู้จัดการรายกรณี
 
Predictive Validity of 4-Level Triage In Emergency Department of Chaophayaa...
Predictive Validity of 4-Level Triage  In Emergency Department of  Chaophayaa...Predictive Validity of 4-Level Triage  In Emergency Department of  Chaophayaa...
Predictive Validity of 4-Level Triage In Emergency Department of Chaophayaa...
 
Fte kan57
Fte kan57Fte kan57
Fte kan57
 
Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus : MERS-CoV Handbook
Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus : MERS-CoV HandbookMiddle East Respiratory Syndrome Coronavirus : MERS-CoV Handbook
Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus : MERS-CoV Handbook
 
เภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทก
เภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทกเภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทก
เภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทก
 
Handbook chapter33 34
Handbook chapter33 34Handbook chapter33 34
Handbook chapter33 34
 
ภาพที่ 9-5 ตัวอย่างบทความวิจัย (Research Article)
ภาพที่ 9-5 ตัวอย่างบทความวิจัย (Research Article)ภาพที่ 9-5 ตัวอย่างบทความวิจัย (Research Article)
ภาพที่ 9-5 ตัวอย่างบทความวิจัย (Research Article)
 
Chronic muskeletal-2552 p1
Chronic muskeletal-2552 p1Chronic muskeletal-2552 p1
Chronic muskeletal-2552 p1
 
Clinical Practice Guideline for myofascial pain syndrome fibromyagia
Clinical Practice Guideline for myofascial pain syndrome fibromyagiaClinical Practice Guideline for myofascial pain syndrome fibromyagia
Clinical Practice Guideline for myofascial pain syndrome fibromyagia
 
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว
 

More from taem

ประชุมใหญ่สามัญประจำปี วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2562-2563
ประชุมใหญ่สามัญประจำปี วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2562-2563ประชุมใหญ่สามัญประจำปี วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2562-2563
ประชุมใหญ่สามัญประจำปี วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2562-2563taem
 
Thai EMS legislation
Thai EMS legislationThai EMS legislation
Thai EMS legislationtaem
 
ACTEP2014 Agenda
ACTEP2014 AgendaACTEP2014 Agenda
ACTEP2014 Agendataem
 
ACTEP2014: What's new in endocrine emergency
ACTEP2014: What's new in endocrine emergencyACTEP2014: What's new in endocrine emergency
ACTEP2014: What's new in endocrine emergencytaem
 
ACTEP2014: What is simulation
ACTEP2014: What is simulationACTEP2014: What is simulation
ACTEP2014: What is simulationtaem
 
ACTEP2014: Upcoming trend of lung ultrasound
ACTEP2014: Upcoming trend of lung ultrasoundACTEP2014: Upcoming trend of lung ultrasound
ACTEP2014: Upcoming trend of lung ultrasoundtaem
 
ACTEP2014: The routine to research R2R concept your way out of a research dea...
ACTEP2014: The routine to research R2R concept your way out of a research dea...ACTEP2014: The routine to research R2R concept your way out of a research dea...
ACTEP2014: The routine to research R2R concept your way out of a research dea...taem
 
ACTEP2014: Therapeutic hypothermia for ACTEP 2014
ACTEP2014: Therapeutic hypothermia for ACTEP 2014ACTEP2014: Therapeutic hypothermia for ACTEP 2014
ACTEP2014: Therapeutic hypothermia for ACTEP 2014taem
 
ACTEP2014: Sepsis marker in clinical use
ACTEP2014: Sepsis marker in clinical useACTEP2014: Sepsis marker in clinical use
ACTEP2014: Sepsis marker in clinical usetaem
 
ACTEP2014: Symp Experience in STEMI & NSTEMI & UA ACS cases in ED Ramathibodi...
ACTEP2014: Symp Experience in STEMI & NSTEMI & UA ACS cases in ED Ramathibodi...ACTEP2014: Symp Experience in STEMI & NSTEMI & UA ACS cases in ED Ramathibodi...
ACTEP2014: Symp Experience in STEMI & NSTEMI & UA ACS cases in ED Ramathibodi...taem
 
ACTEP2014: Sepsis management has anything change
ACTEP2014: Sepsis management has anything change ACTEP2014: Sepsis management has anything change
ACTEP2014: Sepsis management has anything change taem
 
ACTEP2014: Patient safety & risk management
ACTEP2014: Patient safety & risk managementACTEP2014: Patient safety & risk management
ACTEP2014: Patient safety & risk managementtaem
 
ACTEP2014: How to set up guideline for MCI
ACTEP2014: How to set up guideline for MCIACTEP2014: How to set up guideline for MCI
ACTEP2014: How to set up guideline for MCItaem
 
ACTEP2014: How to maximise resuscitation in trauma 2014
ACTEP2014: How to maximise resuscitation in trauma 2014ACTEP2014: How to maximise resuscitation in trauma 2014
ACTEP2014: How to maximise resuscitation in trauma 2014taem
 
ACTEP2014: Hot zone
ACTEP2014: Hot zoneACTEP2014: Hot zone
ACTEP2014: Hot zonetaem
 
ACTEP2014: Hemodynamic US in critical care
ACTEP2014: Hemodynamic US in critical careACTEP2014: Hemodynamic US in critical care
ACTEP2014: Hemodynamic US in critical caretaem
 
ACTEP2014: Fast track
ACTEP2014: Fast trackACTEP2014: Fast track
ACTEP2014: Fast tracktaem
 
ACTEP2014 ED director
ACTEP2014 ED directorACTEP2014 ED director
ACTEP2014 ED directortaem
 
ACTEP2014: ED design
ACTEP2014: ED designACTEP2014: ED design
ACTEP2014: ED designtaem
 
ACTEP2014: ED accreditation HA JCI TQA
ACTEP2014: ED accreditation HA JCI TQAACTEP2014: ED accreditation HA JCI TQA
ACTEP2014: ED accreditation HA JCI TQAtaem
 

More from taem (20)

ประชุมใหญ่สามัญประจำปี วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2562-2563
ประชุมใหญ่สามัญประจำปี วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2562-2563ประชุมใหญ่สามัญประจำปี วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2562-2563
ประชุมใหญ่สามัญประจำปี วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2562-2563
 
Thai EMS legislation
Thai EMS legislationThai EMS legislation
Thai EMS legislation
 
ACTEP2014 Agenda
ACTEP2014 AgendaACTEP2014 Agenda
ACTEP2014 Agenda
 
ACTEP2014: What's new in endocrine emergency
ACTEP2014: What's new in endocrine emergencyACTEP2014: What's new in endocrine emergency
ACTEP2014: What's new in endocrine emergency
 
ACTEP2014: What is simulation
ACTEP2014: What is simulationACTEP2014: What is simulation
ACTEP2014: What is simulation
 
ACTEP2014: Upcoming trend of lung ultrasound
ACTEP2014: Upcoming trend of lung ultrasoundACTEP2014: Upcoming trend of lung ultrasound
ACTEP2014: Upcoming trend of lung ultrasound
 
ACTEP2014: The routine to research R2R concept your way out of a research dea...
ACTEP2014: The routine to research R2R concept your way out of a research dea...ACTEP2014: The routine to research R2R concept your way out of a research dea...
ACTEP2014: The routine to research R2R concept your way out of a research dea...
 
ACTEP2014: Therapeutic hypothermia for ACTEP 2014
ACTEP2014: Therapeutic hypothermia for ACTEP 2014ACTEP2014: Therapeutic hypothermia for ACTEP 2014
ACTEP2014: Therapeutic hypothermia for ACTEP 2014
 
ACTEP2014: Sepsis marker in clinical use
ACTEP2014: Sepsis marker in clinical useACTEP2014: Sepsis marker in clinical use
ACTEP2014: Sepsis marker in clinical use
 
ACTEP2014: Symp Experience in STEMI & NSTEMI & UA ACS cases in ED Ramathibodi...
ACTEP2014: Symp Experience in STEMI & NSTEMI & UA ACS cases in ED Ramathibodi...ACTEP2014: Symp Experience in STEMI & NSTEMI & UA ACS cases in ED Ramathibodi...
ACTEP2014: Symp Experience in STEMI & NSTEMI & UA ACS cases in ED Ramathibodi...
 
ACTEP2014: Sepsis management has anything change
ACTEP2014: Sepsis management has anything change ACTEP2014: Sepsis management has anything change
ACTEP2014: Sepsis management has anything change
 
ACTEP2014: Patient safety & risk management
ACTEP2014: Patient safety & risk managementACTEP2014: Patient safety & risk management
ACTEP2014: Patient safety & risk management
 
ACTEP2014: How to set up guideline for MCI
ACTEP2014: How to set up guideline for MCIACTEP2014: How to set up guideline for MCI
ACTEP2014: How to set up guideline for MCI
 
ACTEP2014: How to maximise resuscitation in trauma 2014
ACTEP2014: How to maximise resuscitation in trauma 2014ACTEP2014: How to maximise resuscitation in trauma 2014
ACTEP2014: How to maximise resuscitation in trauma 2014
 
ACTEP2014: Hot zone
ACTEP2014: Hot zoneACTEP2014: Hot zone
ACTEP2014: Hot zone
 
ACTEP2014: Hemodynamic US in critical care
ACTEP2014: Hemodynamic US in critical careACTEP2014: Hemodynamic US in critical care
ACTEP2014: Hemodynamic US in critical care
 
ACTEP2014: Fast track
ACTEP2014: Fast trackACTEP2014: Fast track
ACTEP2014: Fast track
 
ACTEP2014 ED director
ACTEP2014 ED directorACTEP2014 ED director
ACTEP2014 ED director
 
ACTEP2014: ED design
ACTEP2014: ED designACTEP2014: ED design
ACTEP2014: ED design
 
ACTEP2014: ED accreditation HA JCI TQA
ACTEP2014: ED accreditation HA JCI TQAACTEP2014: ED accreditation HA JCI TQA
ACTEP2014: ED accreditation HA JCI TQA
 

TAEM10:Pain management for nurse