SlideShare a Scribd company logo
1 of 11
Download to read offline
บทที่ ๑
บทนา
๑.๑ ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา
การปรับพฤติกรรมมนุษย์ตามหลักของศาสตร์สมัยใหม่เป็นเรื่องใหม่สาหรับประเทศ
ไทยเป็นศัพท์ใหม่สาหรับคนไทย จากหลักฐานทางเอกสารที่ตีพิมพ์เผยแพร่ พบว่าได้มีการพัฒนา
เทคนิคการปรับพฤติกรรมขึ้นมา และนาไปใช้แก้ไขเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างจริงจังเมื่อ
ประมาณ ๓ ทศวรรษที่ผ่านมานี้เอง จากหลักฐานเอกสารที่ปรากฏพบว่าการปรับพฤติกรรมใน
ประเทศไทยเริ่มเกิดขึ้นเมื่อประมาณ ๑๐ ปีเศษที่ผ่านมานี้เอง เรื่องการปรับพฤติกรรมจึงจัดว่าเป็น
ของใหม่สาหรับประเทศไทย๑
แต่สิ่งเหล่านี้อยู่กับคนไทยมานานแล้วโดยที่คนไทยไม่รู้ว่าการปรับ
พฤติกรรมก็คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานหรือการปรับอินทรีย์ ๕๒
ในพระพุทธศาสนานั่นเอง มี
นักจิตวิทยาทางตะวันตกหลายคนที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์แต่ละคนก็มีวิธีการแตกต่างกัน
ออกไป แบนดูร่า (Bandura) เป็นนักจิตวิทยาคนหนึ่งที่สนใจศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์
โดยเขาให้ชื่อทฤษฎีของเขาว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม ทฤษฎีของเขาได้รับการยอมรับ
จากนักจิตวิทยาและนักวิชาการอย่างกว้างขวาง
แบนดูร่า มีแนวความคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ที่น่าศึกษาเปรียบเทียบกับหลัก
กรรมของพระพุทธศาสนาอยู่บ้างคือ แบนดูร่าเชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากองค์ประกอบ ๓
อย่างคือ พฤติกรรม (B) องค์ประกอบส่วนบุคคล (P) และองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อม (E) มี
อิทธิพลซึ่งกันและกัน๓
กล่าวคือ พฤติกรรมของมนุษย์สามารถกาหนดสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมก็
๑
ประเทือง ภูมิภัทราคม, การปรับพฤติกรรม : ทฤษฎีและการประยุกต์, (กรุงเทพมหานคร :
สานักพิมพ์โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๐),หน้า ๓๒.
๒
อินทรีย์๕ ได้แก่ สัทธินทรีย์วิริยินทรีย์สตินทรีย์สมาธินทรีย์ปัญญินทรีย์.
๓
A. Bandura, Social Foundations of Thought and Action : A Social cognitive theory,
(Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall, Inc., 1986), p. 24, A. Bandura, Social Learning Theory, pp. 9-
10.
๒
สามารถกาหนดพฤติกรรม พฤติกรรมสามารถกาหนดองค์ประกอบส่วนบุคคล องค์ประกอบส่วน
บุคคลก็สามารถกาหนดพฤติกรรมได้เช่นกัน ในทานองเดียวกัน องค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อมและ
องค์ประกอบส่วนบุคคลก็มีอิทธิพลซึ่งกันและกัน
ทั้งสามอย่างนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน คือ บุคคลสามารถกาหนดสิ่งแวดล้อมได้
ในขณะเดียวกันสิ่งแวดล้อมก็สามารถกาหนดบุคคลได้ บุคคลสามารถกาหนดพฤติกรรมได้
ในทางกลับกันพฤติกรรมก็สามารถกาหนด บุคคลได้เช่นกัน แบนดูร่า คิดวิธีการปรับพฤติกรรม
มนุษย์ขึ้นมาหลายวิธี เช่น การเลียนแบบจากตัวแบบ การเพิ่มแรงจูงใจ เป็นต้น ซึ่งวิธีเหล่านี้
สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์ไปในทางที่พึงประสงค์ได้ หมายความว่า ผู้เลียนแบบจะมี
พฤติกรรมเหมือนตัวแบบที่เขาเห็น ซึ่งตรงกับหลักการคบมิตรหรือคบเพื่อนในพระพุทธศาสนา
ดังพระพุทธพจน์ว่า “โย หิ ย เสวติ โส ต คติโกว คบคนเช่นไรเป็นเหมือนคนเช่นนั้น”๔
การสังเกตตนเอง เป็นวิธีหนึ่งที่แบนดูร่าใช้ในการปรับพฤติกรรมมนุษย์ การสังเกตตนเอง
จะช่วยให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้โดยความภาคภูมิใจเพราะมันเกิดจากแรงจูงใจภายใน
ของเขาเอง โดยธรรมชาติมนุษย์ไม่ต้องการให้คนอื่นสอน ถ้ามีคนมาบอกว่า ควรทาอย่างนั้น ไม่
ควรทาอย่างนี้ เขาจะไม่ชอบและจะไม่ทาตาม แต่ถ้าเขาเห็นว่า การมีพฤติกรรมนั้น ๆ จะทาให้เขา
ได้รับความเคารพนับถือหรือความยกย่อง เขาก็จะค่อย ๆ ปรับพฤติกรรมของเขาโดยไม่ต้องให้คน
อื่นมาบอก ซึ่งก็ตรงกับพระพุทธพจน์ว่า “อตฺตนา โจทยตฺตาน ปฏิมเสถ อตฺตนา. ภิกษุ เธอจงเตือน
ตนด้วยตนเอง จงพิจารณาดูตนด้วยตนเอง”๕
พระพุทธศาสนาสอนเรื่องกรรม เช่น พระพุทธพจน์ในอภิณหปัจจเวกขิตัพพฐานสูตร
ในอังคุตตรนิกายว่า “กมฺมสฺสโกมฺหิ กมฺมทายาโท กมฺมโยนิ กมฺมพนฺธุ กมฺมปฏิสรโณ...เรามีกรรม
เป็นสมบัติของตน เราเป็นทายาทของกรรม เรามีกรรมเป็นเครื่องก่อให้เกิด เรามีกรรมเป็นพวกพ้อง
เรามีกรรมเป็นพึ่ง ...”๖
เป็นต้น คาว่า “กรรม” ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึงการกระทาที่
ประกอบด้วยเจตนา ซึ่งคาว่ากรรมเป็นคากลาง ๆ ยังไม่จัดว่าดีหรือชั่ว เมื่อบุคคลทากรรมดีมีการให้
ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาเป็นต้น จึงเรียกว่า กรรมดี เมื่อบุคคลทากรรมชั่ว มีการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ของคนอื่น ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จเป็นต้น จึงเรียกว่า กรรมชั่ว กรรมดีให้ผลในทางบวก กรรม
ชั่วให้ผลในทางลบ บุคคลทากรรมอย่างไรก็จะได้รับผลอย่างนั้น ไม่ช้าก็เร็วแล้วแต่ว่ากรรมอัน
๔
มงฺคล. (บาลี) ๑/๒๐/๗.
๕
ขุ. ธ. (บาลี) ๒๕/๓๗๙/๓๗, ขุ. ธ. (ไทย) ๒๕/๓๗๙/๗๕.
๖
องฺ. ปญฺจ. (บาลี) ๒๒/๕๗/๔๓.
๓
ไหนจะมีโอกาสให้ผลก่อน ดังพระพุทธพจน์ว่า “กมฺมุนา วตฺตตี โลโก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตาม
กรรม”๗
กรรมเป็นสิ่งจาแนกสัตว์ให้ดีให้เลวละเอียด ประณีต
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมของแบนดูร่าตรงกับหลักการพัฒนากรรมใน
พระพุทธศาสนา เพราะส่วนมากแบนดูร่า จะพูดถึงการปรับพฤติกรรมมนุษย์ให้มีพฤติกรรมที่พึง
ประสงค์มากขึ้น การพัฒนากรรมในพระพุทธศาสนาก็คือการพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์ให้เป็นไป
ในทางที่พึงประสงค์เช่นเดียวกัน แต่มีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป ทางพระพุทธศาสนาใช้หลัก
ไตรสิกขา เป็นแนวทางการพัฒนา คือ หลักศีล เป็นหลักปรับพฤติกรรมทางกาย วาจา ใจ ขั้นหยาบ
หลักสมาธิ เป็นหลักการปรับพฤติกรรมทางกาย วาจา ใจ ขั้นปานกลาง หลักปัญญา เป็นหลักการ
ปรับพฤติกรรมทางกาย วาจา ใจ ขั้นสูง เพื่อปรับพฤติกรรมให้ดาเนินไปตามที่ต้องการสูงขึ้นจนเป็น
พระอริยบุคคล
เมื่อนาหลักการปรับพฤติกรรมมนุษย์ของแบนดูร่ากับหลักการพัฒนากรรมใน
พระพุทธศาสนามาเปรียบเทียบกันแล้วมีความคล้ายคลึงใกล้เคียงกัน เช่น หลักการคบมิตรใน
พระพุทธศาสนากับหลักการเลียนแบบจากตัวแบบของแบนดูร่า การติเตียนบุคคลที่ควรติเตียน
การยกย่องบุคคลที่ควรยกย่องกับหลักการการเสริมแรงจูงใจ หลักโยนิโสมนสิการกับหลักการใส่
ใจ เป็นต้น ประเด็นเหล่านี้ทาให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาเปรียบเทียบทฤษฎีการเรียนรู้ทาง
ปัญญาสังคมของแบนดูร่ากับหลักการพัฒนากรรมตามหลักของพระพุทธศาสนาในเชิงลึกเพื่อจะได้
นามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่วงการศึกษาต่อไป
๑.๒ วัตถุประสงค์ของการวิจัย
๑.๒.๑ เพื่อศึกษารูปแบบการปรับพฤติกรรมตามหลักของแบนดูร่า
๑.๒.๒ เพื่อศึกษารูปแบบการปรับพฤติกรรมตามหลักของพระพุทธศาสนา
๑.๒.๓ เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบรูปแบบการปรับพฤติกรรมของแบนดูร่ากับ
รูปแบบการปรับพฤติกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา
๑.๓ ปัญหาที่ต้องการทราบ
๑.๓.๑ รูปแบบการปรับพฤติกรรมตามหลักของแบนดูร่าเป็นอย่างไร
๑.๓.๒ รูปแบบการปรับพฤติกรรมตามหลักของพระพุทธศาสนาเป็นอย่างไร
๗
ขุ.ธ. (บาลี) ๒๕/๖๕๘/๒๓๘.
๔
๑.๓.๓ เมื่อนารูปแบบการปรับพฤติกรรมของทั้งสองฝ่ายมาเปรียบเทียบกันแล้วจะมี
ความเหมือนและความแตกต่างกันอย่างไร
๑.๔ คาจากัดความของศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย
๑.๔.๑ รูปแบบ ในงานวิจัยนี้ หมายถึงชุดหรือกระบวนการหรือหมวดหลักธรรมที่
นาไปเป็นแนวทางในการปรับพฤติกรรมตามหลักการปรับพฤติกรรมของแบนดูร่าและตามหลัก
พระพุทธศาสนา
๑.๔.๒ การพัฒนา หมายถึง การปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่แล้วให้มีคุณภาพใน
ทางบวกมากขึ้น สิ่งที่มีอยู่แล้วในงานวิจัยนี้หมายถึงการพัฒนาพฤติกรรมตามหลักของแบนดูร่า
และการพัฒนาสังขารหรือเจตสิกตามหลักของพระพุทธศาสนา
๑.๔.๓ สังขาร หมายถึง ในงานวิจัยนี้หมายถึงสังขารในขันธ์ ๕ ซึ่งในคัมภีร์ฝ่าย
อภิธรรมจาแนกเป็นเจตสิก ๕๐ อย่าง รวมถึงเจตนาซึ่งเป็นสังขารในปฏิจจสมุปบาท
๑.๔.๔ พฤติกรรม หมายถึง การกระทาทุกอย่างที่ปรากฏออกมาทางกาย และทางวาจา
เช่น การกิน การพูด การเดิน การนอน เป็นต้น
๑.๔.๕ การปรับพฤติกรรม หมายถึง กระบวนการหรือวิธีการต่าง ๆ ที่นามาใช้ในการ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คือ การกิน การพูด การเดิน การนอน เป็นต้น ที่ไม่พึงประสงค์ให้
เปลี่ยนเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์
๑.๕ ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
๑.๕.๑ พระมหาศุภวัฒน์ ชุติมนฺโต (สุขดา) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบ
แนวความคิดเรื่อง พฤติกรรมของมนุษย์ในทรรศนะของพุทธปรัชญาเถรวาทกับซิกมันด์ ฟรอยด์”๘
จากการศึกษาสรุปได้ว่า พฤติกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท หมายถึง การแสดงออกทางกาย วาจา
และสิ่งที่สืบเนื่องมาจากจิตที่อยู่ภายใน การแสดงออกมาทางกายภาพทั้งหมด เรียกว่า กายกรรม ทาง
วาจาเรียกว่าวจีกรรม และทางใจเรียกว่ามโนกรรมตามทฤษฎีตะวันตก ตั้งแต่ยุคกรีกซึ่งรุ่งเรืองทาง
ความคิด มีความเชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม จาเป็นต้องมีพฤติกรรมสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทั้งที่
๘
พระมหาศุภวัฒน์ ชุติมนฺโต (สุขดา), “การศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดเรื่อง พฤติกรรมของ
มนุษย์ในทรรศนะของพุทธปรัชญาเถรวาทกับ ซิกมันด์ ฟรอยด์”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๘).
๕
สังเกตได้และไม่สามารถสังเกตได้ โดยนักคิดจิตนิยม ถือว่าจิตเป็นผู้คอยกากับพฤติกรรม กลุ่มสัจ
นิยมเชื่อว่ามนุษย์ประกอบด้วยร่างกายและวิญญาณหรือจิตใจ ซึ่งเป็นกระบวนการทางกายภาพ
เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แต่มนุษย์มีวิวัฒนาการทางจิตสานึกที่สูงกว่า ขณะที่กลุ่มอัตถิภาวนิยม
เชื่อในอิสรภาพของมนุษย์ในอันที่จะเลือกแสดงพฤติกรรมได้ นักจิตวิทยามนุษย์นิยม มีความเชื่อว่า
โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เป็นผู้ใฝ่ดี พฤติกรรมที่เป็นปัญหาของบุคคล เกิดมีขึ้นเพราะสังคมและ
สิ่งแวดล้อมชักนาให้เป็นไป พฤติกรรมนิยม เชื่อว่ามนุษย์แรกเกิดมานั้นไม่ดีไม่ชั่ว ภายหลังจะ
เป็นไปตามสภาพแวดล้อมและทิศทางของการพัฒนาพฤติกรรม ที่ถูกกาหนดโดยการวางเงื่อนไข
พุทธปรัชญาเถรวาทถือว่า พฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกมาไม่ว่าจะอยู่ในที่เปิดเผยหรือในที่ลับ ล้วน
เป็นผลสืบเนื่องมาจากบทบาทแห่งการกาหนดวิถีทางของชีวิตทั้งสิ้น ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต ผล
ของพฤติกรรมจะมีการทางานแบบลูกโซ่ มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดแยกกันไม่ออก พฤติกรรมใน
อดีต ย่อมส่งผลต่อพฤติกรรมที่กาลังทาในปัจจุบันและทาในอนาคต ซึ่งจะกลับวนเวียนอยู่เช่นนี้
ตราบใดที่พฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกมานั้นเป็นพฤติกรรมที่มีกิเลส และพฤติกรรมที่ชั่วย่อม
ก่อให้เกิดชีวิตในทางที่เป็นทุกข์ ส่วนพฤติกรรมที่ดีย่อมส่งผลต่อชีวิตในทางที่เป็นความสุขใจทาง
ใจ พฤติกรรมในทรรศนะของซิกมันด์ ฟรอยด์ หมายถึง การแสดงออกทางกายภาพทั้งหมดของ
มนุษย์ไม่ว่าจะเป็นการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลทั่วไปและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงสิ่งอื่นๆ ซึ่งมีทั้งทางดี
และไม่ดี เช่น การเดิน การหัวเราะ การร้องไห้ ดีใจ เสียใจ เป็นต้น
๑.๕.๒ ยุภา เทิดอุดมธรรม ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาหลักพุทธธรรมที่มีอิทธิพลต่อ
พฤติกรรมการให้การพยาบาลตามบทบาทเชิงวิชาชีพ : ศึกษากรณีพยาบาลวิชาชีพสังกัดกระทรวง
สาธารณสุข จังหวัดสุราษฎร์ธานี”๙
จากผลของการวิจัยสรุปได้ว่า ๑. การวิจัยที่เกี่ยวกับหลักพุทธ
ธรรมที่นามาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานการพยาบาลพบว่า หลักพรหมวิหาร ๔ และฆราวาส
ธรรม ๔ ทาให้พยาบาลเป็นผู้ที่ประพฤติเกื้อกูลต่อผู้อื่น มีความอิ่มเอิบใจเมื่อผู้อื่นมีความสุข
สามารถวางใจเป็นกลางต่อปัญหาที่เกิดขึ้น มีความซื่อสัตย์ เสียสละ อดทนและอดกลั้น นับเป็น
หลักธรรมที่เกื้อกูลการปฏิบัติงานในวิชาชีพการพยาบาล ส่งผลให้พยาบาลปฏิบัติงานอย่างมี
ประสิทธิภาพและมีความสุข ๒. พฤติกรรมการให้การพยาบาลในบทบาทเชิงวิชาชีพของพยาบาล
วิชาชีพโดยรวม อยู่ในระดับบ่อยครั้ง และเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า พฤติกรรมการพยาบาลด้าน
การป้ องกัน พฤติกรรมการพยาบาลด้านการส่งเสริมสุขภาพ และพฤติกรรมการพยาบาลด้านการ
๙
ยุภา เทิดอุดมธรรม, “การศึกษาหลักพุทธธรรมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการให้การพยาบาลตาม
บทบาทเชิงวิชาชีพ : ศึกษากรณีพยาบาลวิชาชีพสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดสุราษฎร์ธานี”, วิทยานิพนธ์
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๘).
๖
ฟื้นฟูสมรรถภาพ อยู่ในระดับบ่อยครั้ง ส่วนพฤติกรรมการพยาบาลด้านการดูแลรักษาอยู่ในระดับ
ทุกครั้ง ๓. ลักษณะทางพระพุทธศาสนา พบว่า มีการปฏิบัติตนตามหลักพรหมวิหาร ๔ อยู่ในระดับ
ทุกครั้ง ส่วนการปฏิบัติตนตามหลักฆราวาสธรรม ๔ และวิถีชีวิตแบบพุทธอยู่ในระดับบ่อยครั้ง ๔.
พยาบาลวิชาชีพมีสุขภาพจิต อยู่ในระดับค่อนข้างดี ๕. การปฏิบัติตนตามหลักพรหมวิหาร ๔ การ
ปฏิบัติตนตามหลักฆราวาสธรรม ๔ วิถีชีวิตแบบพุทธ และสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม
การให้การพยาบาลตามบทบาทเชิงวิชาชีพโดยรวมและแต่ละด้านทั้ง ๔ ด้าน อย่างมีนัยสาคัญทาง
สถิติที่ระดับ .๐๑ ๖. ปัจจัยภูมิหลัง ได้แก่ อายุ สถานภาพ และประสบการณ์การทางานของพยาบาล
ที่แตกต่างกัน ส่งผลให้พยาบาลมีพฤติกรรมการพยาบาลในบทบาทเชิงวิชาชีพโดยรวมและรายด้าน
ทั้ง ๔ ด้าน แตกต่างกัน อย่างนี้นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
๑.๕.๓ พระมหากิจการ โชติปญฺโญ ( ยุติพันธ์) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาพุทธวิธีการ
ให้การปรึกษาที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก”๑๐
จากการศึกษาพบว่า พุทธวิธีการให้การปรึกษา คือ
กระบวนการที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมให้แก่มนุษย์ผู้ประสบกับปัญหา คือ ความทุกข์ ได้มี
หนทางในการนาพาตนเองให้หลุดพ้นจากความทุกข์ที่กาลังประสบอยู่ มีพระผู้มีพระภาคทรงเป็น
กัลยาณมิตร ทรงเป็นผู้แนะนาด้วยวิธีการต่าง ๆ และทรงให้ความเป็นอิสระในการตัดสินใจของพวก
เขาพุทธวิธีการให้การปรึกษาดังกล่าว มีหลักการที่สาคัญ คือ พระองค์ทรงช่วยชี้แจงถึงปัญหาให้
กระจ่างชัดเจน โน้มน้าวจิตใจให้เขาปฏิบัติตาม ให้มีความมุ่งมั่นต่อการแก้ไขปัญหา และให้เกิด
ความสุขใจ มองเห็นหนทางแก้ไขปัญหา คือ ความทุกข์นั้นได้กรณีตัวอย่างที่ได้ยกมาแสดง สามารถ
นามายืนยันให้เห็นถึงความสาเร็จของพระองค์ที่ทรงใช้พุทธวิธีการให้การปรึกษา ช่วยแก้ไขปัญหา
แต่ละวิธีที่ทรงใช้ ล้วนเหมาะสมกับผู้มาขอรับการปรึกษา แบ่งเป็น ๕ กลุ่ม คือ ภิกษุ ๑๐ เรื่อง
ภิกษุณี ๔ เรื่อง อุบาสก ๑๐ เรื่อง อุบาสิกา ๑ เรื่อง นักบวชนอกศาสนา ๘ เรื่อง รวมทั้งสิ้น ๓๓ เรื่อง
ในแต่ละกรณีตัวอย่างที่ยกมานั้นได้ทาการวิเคราะห์ ถึงวิธีการให้การปรึกษาไว้ในตอนท้ายของแต่
ละเรื่อง มีลักษณะที่แตกต่างกันไป แต่มีเป้ าหมายเดียวกัน คือ การช่วยให้มนุษย์ได้หลุดพ้นจาก
ความทุกข์ จากการศึกษาพุทธวิธีการให้การปรึกษา และกรณีตัวอย่างที่ผ่านมา เห็นได้ว่าสามารถ
นามาเป็นแบบอย่าง ประยุกต์ใช้ในการป้ องกัน และการแก้ไขปัญหา ในด้านของการศึกษา ระหว่าง
ผู้สอนกับผู้เรียน และการจัดการเรียนการสอน ในด้านของการปกครอง ระหว่างผู้ทาหน้าที่ปกครอง
๑๐
พระมหากิจการ โชติปญฺโญ, “การศึกษาพุทธวิธีการให้การปรึกษาที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก” ,
วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๗).
๗
กับผู้อยู่ภายใต้การปกครอง สุดท้ายในด้านของเศรษฐศาสตร์ ระหว่างผู้ทาหน้าที่ผลิตกับผู้บริโภค
ควรมีหลักธรรมในการปฏิบัติต่อกัน เพื่อช่วยแก้ไขและป้ องกันปัญหาอันจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
และทาให้สังคมมีความเป็นอยู่ที่ดี อยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุขตลอดไป
๑.๕.๔ นัตติมา ชูดวงแก้ว ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบเจตสิกธรรมใน
พระอภิธรรมปิฎกกับพระสุตตันตปิฎก” จากการศึกษาค้นคว้าสรุปใจความได้ว่า เจตสิก (สังขาร)
ในพระอภิธรรมมีการจาแนกเป็นประเภทใหญ่และแยกย่อยให้เห็นลักษณะของจิตและเจตสิกที่
ประกอบอย่างชัดเจน เป็นความรู้ในเชิงทฤษฎีที่กว้างขวางยิ่งขึ้นเพราะทรงแสดงสภาวธรรมอื่น ๆที่
เกี่ยวข้อง เช่น สาเหตุการเกิดของเจตสิก การนาเจตสิกแต่ละดวงมาจาแนกเป็นประเภทต่าง ๆ การ
ปฏิบัติเพื่อละอกุศลเจตสิกและการปฏิบัติเพื่อให้กุศลเจตสิกเกิดขึ้น เป็นต้น การแสดงใน พระสูตร
ทรงมุ่งเน้นการนาความรู้ไปปฏิบัติมากกว่าการแสดงทฤษฎี แต่ไม่ขัดแย้งกัน...เจตสิกมีอิทธิพลต่อ
สุขภาพกายและสุขภาพจิตของบุคคล ดังจะเห็นได้ว่าความสุขและความทุกข์ของคนเรานั้นล้วน
เกี่ยวข้องกับเจตสิกทั้งสิ้น เจตสิกที่มีอิทธิพลทาให้สุขภาพจิตไม่ดีเป็นจิตที่เศร้าหมอง คืออกุศล
เจตสิก ได้แก่ โลภะ โทสะ และโมหะ ที่ตรัสว่าเป็นรากเหง้าของอกุศลและจิตที่มีสุขภาพดี คือจิต
ที่ประกอบด้วยกุศลเจตสิก ได้แก่ ปัญญา สติ ศรัทธา เมตตา กรุณา เป็นต้น เป็นจิตที่ผ่องแผ้วเหมาะ
แก่การทาการงานทั้งทางโลกและการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้ าหมายในพระพุทธศาสนา การปฏิบัติเพื่อ
การพัฒนาจิตให้มีสุขภาพดีจึงหมายถึงการปฏิบัติเพื่อให้กุศลเจตสิกเกิดขึ้น การปฏิบัตินี้ ทรงแสดง
ไว้เป็นจานวนมาก เมื่อกล่าวโดยรวมแล้วได้แก่การปฏิบัติตามหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง๑๑
๑.๕.๕ สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต ได้กล่าวถึงการปรับพฤติกรรมไว้ในหนังสือชื่อว่า
“ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม”๑๒
พอสรุปได้ว่า การปรับพฤติกรรมเป็นแนวความคิดของ
นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaveorism) ซึ่งเป็นแนวคิดที่วางอยู่บนพื้นฐานของความเป็น
วิทยาศาสตร์ อาศัยข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้จากการทดลองมาอธิบายปรากฏการณ์ของการเกิด
พฤติกรรมของอินทรีย์ นักจิตวิทยากลุ่มนี้ไม่ยอมรับการอธิบายปรากฏการณ์ของการเกิดพฤติกรรม
ของอินทรีย์ว่าเป็นเพราะปัจจัยภายในของอินทรีย์ ทั้งนี้เนื่องจากว่าการอธิบายด้วยปัจจัยภายในนั้น
เป็นการอธิบายโดยอาศัยหลักของภาวะสันนิษฐาน ไม่สามารถจะพิสูจน์ได้อย่างเชิงประจักษ์ แต่
๑๑
นัตติมา ชูดวงแก้ว, “การศึกษาเปรียบเทียบเจตสิกธรรมในพระอภิธรรมปิ ฎกกับในพระ
สุตตันตปิฎก” วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
๒๕๔๕),หน้าข.
๑๒
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต,ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม,พิมพ์ครั้งที่ ๔,(กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๓).
๘
จะมีความเชื่อว่าพฤติกรรมของอินทรีย์นั้นเกิดขึ้นเนื่องมาจากปัจจัยภายนอก หรือสภาพแวดล้อม
เป็นหลัก
๑.๕.๖ ประเทือง ภูมิภัทราคม ได้กล่าวไว้ในหนังสือชื่อว่า “การปรับพฤติกรรม :
ทฤษฎีและการประยุกต์”๑๓
สรุปใจความได้ว่า การปรับพฤติกรรมเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลง
แก้ไขพฤติกรรมที่ค่อนข้างใหม่ได้มีการนามาใช้และเผยแพร่กันอย่างจริงจังเมื่อไม่นานมานี้ จาก
การศึกษาค้นคว้าเอกสารที่ตีพิมพ์เผยแพร่ พบว่าได้มีการพัฒนาเทคนิคการปรับพฤติกรรมขึ้นมา
และนาไปใช้แก้ไขเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างจริงจังเมื่อประมาณ ๓ ทศวรรษที่ผ่านมานี้เอง ยิ่งใน
ประเทศไทยแล้ว การปรับพฤติกรรมยิ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่มาก จากหลักฐานเอกสารที่ปรากฏ
พบว่าการปรับพฤติกรรมในประเทศไทยเริ่มเกิดขึ้นเมื่อประมาณ ๑๐ ปีเศษที่ผ่านมานี้เอง เรื่องการ
ปรับพฤติกรรมจึงจัดว่าเป็นของใหม่สาหรับประเทศไทย ยังไม่เป็นที่รู้จักกันกว้างขวางนักในหมู่
ของนักจิตวิทยาและนักการศึกษา
๑.๕.๘ โสภณ ศรีกฤษฎาพร ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง”ความคิดมนุษย์ในพุทธปรัชญา”๑๔
ได้
กล่าวถึงพฤติกรรมไว้ว่า ตัวการที่เป็นผู้ประกอบกรรมโดยตรงคือ จิต ส่วนกายนั้นไม่ใช่เป็นตัวการ
ที่เป็นผู้ประกอบกรรมโดยตรง แต่กายเป็นเพียงเครื่องมือให้จิตกระทากรรม ดังนั้น จิตนอกจาก
อาศัยกายเป็นแนวทางในการรับรู้โลกภายนอกแล้ว ยังอาศัยกายเป็นเครื่องมือในการแสดง
พฤติกรรมหรือการกระทาต่อโลกด้วย เพราะเหตุที่จิตแสดงพฤติกรรมหรือการกระทาต่อโลกโดย
อาศัยกายเป็นฐานให้เกิดกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมนี้เอง จึงทาให้เกิดข้อปฏิบัติในแง่
จริยธรรมในสังคมมนุษย์ คือการกระทาดี กระทาชั่วการกระทาถูกและการกระทาผิด เป็นต้นขึ้น
๑.๕.๙ พระมหาพิเชษฐ์ ธีรวโส (ดอกรัก)๑๕
ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาเชิงวิเคราะห์
เรื่องกรรมและสังสารวัฏในพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีอิทธิพลต่อการดาเนินชีวิตของพุทธศาสนิกชน
ไทยในปัจจุบัน” สรุปเนื้อความที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมได้ว่า สาเหตุที่ทาให้มนุษย์ที่แสดงออกซึ่ง
พฤติกรรมนั้น เกิดจากกิเลสหรือตัณหา ซึ่งอยู่ในจิตของมนุษย์อันจะผลักดันให้มนุษย์เกิดความ
๑๓
ประเทือง ภูมิภัทราคม, การปรับพฤติกรรม : ทฤษฎีและการประยุกต์, (กรุงเทพมหานคร :
สานักพิมพ์โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๐).
๑๔
โสภณ ศรีกฤษฎาพร, “ความคิดเรื่องมนุษย์ในพุทธปรัชญา”, กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัย
กรุงเทพ,๒๕๓๐.(รายงานการวิจัย).
๑๕
พระมหาพิเชษฐ์ ธีรวโส (ดอกรัก), “การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องกรรมและสังสารวัฏในพุทธ
ปรัชญาเถรวาทที่มีอิทธิพลต่อการดาเนินชีวิตของพุทธศาสนิกชนไทยในปัจจุบัน”, วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตร
มหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย), ๒๕๓๔.
๙
ต้องการ ความปรารถนาจึงกระทากรรม (แสดงพฤติกรรม) ต่าง ๆ ออกมาตามแรงผลักดันของกุศล
เจตสิกและอกุศลเจตสิก เมื่อบุคคลแสดงออกซึ่งพฤติกรรมด้านใดด้านหนึ่งย่อมมีผลแห่งพฤติกรรม
นั้น และผลนั้นย่อมมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตบุคคลในชาตินี้(ปัจจุบัน) และชาติหน้า (อนาคต) การกระทา
ของมนุษย์เป็นมรรคาที่จะนาไปสุ่สุคติและทุคติ การกระทาดีย่อมมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตที่เป็น
ความสุข การกระทาที่เป็นความชั่ว ย่อมมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตที่เป็นความทุกข์ พุทธปรัชญาเถรวาท
ให้ความสาคัญต่อการกระทาที่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์โดยดาเนินตามหลักของมัชฌิมาปฏิปทาเพื่อ
ความไม่เกิดอีกต่อไป
๑.๕.๑๐ รุ่งทิพย์ กิจทา ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบทรรศนะเรื่องกรรมใน
พุทธปรัชญากับปรัชญาเชน”๑๖
สรุปหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมมนุษย์ได้ว่า ในศาสนาทั้งสอง
นั้น ต่างยอมรับว่ามนุษย์จะเป็นอะไร อย่างไร จะประสบความทุกข์ในชีวิตอย่างไรขึ้นอยู่กับกรรม
(การกระทา ,พฤติกรรม) ที่เขากระทาไว้ในอดีตและที่กาลังกระทาอยู่ในปัจจุบัน ส่วนในอนาคต
บุคคลจะมีสภาพเป็นอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับการกระทาของเขาในอดีตและปัจจุบันรวมกัน ถึงแม้ว่าใน
ศาสนาทั้งสองจะเชื่อเรื่องกรรมเหมือนกัน แต่ก็เน้นเรื่องกรรมต่างกัน คือ ในกรรม ๓ อย่าง ที่แบ่ง
ตามช่องทางแห่งการกระทา คือ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมนั้น พุทธปรัชญาเน้นมโนกรรม
ว่ามีบทบาทมากที่สุดในเรื่องความหนักเบาของกรรม ส่วนปรัชญาเชนกลับเน้นกายกรรมว่าสาคัญ
ที่สุด และให้ผลรุนแรงกว่ากรรมที่ทาทางวาจาและใจ
๑.๕.๗ พระชัชวาลย์ ศรีสุข ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “ศาสนากับการพัฒนาบุคลิกภาพ : ศึกษา
เปรียบเทียบหลักคาสอนเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพในพระพุทธศาสนาและศาสนาคริสต์”๑๗
สรุปเนื้อความในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมไว้ว่า พฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์เป็นผลมาจากแรง
ผลักดันของตัณหาเป็นหลักใหญ่ แม้ว่าตัณหาจะมิใช่ตัวเหตุโดยตรงของพฤติกรรม แต่เป็น
แรงผลักดันให้เกิดพฤติกรรมในฐานะเป็นเงื่อนไขของการกระทา โดยใช้ปัญญา(โยนิโสมนสิการ)
เป็นตัวแก้ปัญหาพฤติกรรมของมนุษย์ พฤติกรรมที่มีปัญญาเป็นตัวนาทาให้การพัฒนาบุคลิกภาพ
เป็นไปด้วยดี ต้องอาศัยความเคยชิน(อุปนิสัย) เพราะถ้ามีพฤติกรรมเคยชินอย่างไร คนก็จะดาเนิน
๑๖
รุ่งทิพย์ กิจทา, “การศึกษาเปรียบเทียบทรรศนะเรื่องกรรมในพุทธปรัชญากับปรัชญาเชน”,
วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต , (คณะอักษรศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ,๒๕๒๑.
๑๗
พระชัชวาลย์ศรีสุข, “ศาสนากับการพัฒนาบุคลิกภาพ : ศึกษาเปรียบเทียบหลักคาสอนเกี่ยวกับ
การพัฒนาบุคลิกภาพในพุทธศาสนาและศาสนาคริสต์”,วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยมหิดล), ๒๕๔๑.
๑๐
ชีวิตไปด้วยพฤติกรรมอย่างนั้น การพัฒนาบุคลิกภาพในพระพุทธศาสนาใช้การพัฒนาจิตใจไปทีละ
ขั้นจนกว่าจะสิ้นกิเลส ด้วยการพัฒนาตนและสังคมตามหลักของศีล สมาธิ ปัญญา
๑.๖ ขอบเขตของการวิจัย
งานวิจัยนี้ ได้จากัดขอบเขตของการวิจัย คือศึกษาประเด็นว่าด้วยความหมายและ
ประเภทของพฤติกรรมในจิตวิทยา ความหมายของพฤติกรรมในแนวคิดของแบนดูร่า หลักการเรื่อง
พฤติกรรมมนุษย์ของแบนดูร่า แนวทางการปรับพฤติกรรมมนุษย์ตามหลักของแบนดูร่า และ
ความหมายและประเภทของกรรมในพระพุทธศาสนา แนวทัศนะเกี่ยวกับกรรมตามหลัก
พระพุทธศาสนา การพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์ตามหลักพระพุทธศาสนา ระดับการพัฒนาพฤติกรรม
ตามหลักพระพุทธศาสนา โดยมีขอบเขตการศึกษาเอกสารจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา และ
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
๑.๗ วิธีดาเนินการวิจัย
ขั้นตอนการวิจัย
ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้จัดขั้นตอนในการศึกษา โดยสังเขปดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ ๑ เป็นการศึกษาความหมายและประเภทของพฤติกรรมในจิตวิทยา
ความหมายของพฤติกรรมในแนวคิดของแบนดูร่า หลักการเรื่องพฤติกรรมมนุษย์ของแบนดูร่า แนว
ทางการปรับพฤติกรรมมนุษย์ตามหลักของแบนดูร่า โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และเอกสาร
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนที่ ๒ เป็นการศึกษาความหมายและประเภทของกรรมในพระพุทธศาสนา แนว
ทัศนะเกี่ยวกับกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา การพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์ตามหลัก
พระพุทธศาสนา ระดับการพัฒนาพฤติกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา
ขั้นตอนที่ ๓ เป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบระหว่างหลักการเรื่องพฤติกรรมมนุษย์ของ
แบนดูร่ากับหลักการเรื่องกรรมตามหลักของพระพุทธศาสนา
ขั้นตอนที่ ๔ เป็นการสรุปผลของการวิจัยที่ได้จากการศึกษาจากขั้นตอนที่ ๑ – ๓
๑.๘ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑.๘.๑ ทาให้ทราบเรื่องรูปแบบการปรับพฤติกรรมตามหลักของวิทยาการสมัยใหม่
๑.๘.๒ ทาให้ทราบเรื่องรูปแบบการปรับพฤติกรรมตามหลักของพระพุทธศาสนา
๑.๘.๓ ทาให้ทราบความเหมือนกันและความต่างกันของรูปแบบการปรับพฤติกรรม
ของแบนดูร่ากับหลักการปรับพฤติกรรมของพระพุทธศาสนา
๑๑

More Related Content

What's hot

ศึกษาความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ของผู้ป...
ศึกษาความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ของผู้ป...ศึกษาความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ของผู้ป...
ศึกษาความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ของผู้ป...Anchalee BuddhaBucha
 
หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา
หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนาหลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา
หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนาNew Nan
 
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์pentanino
 
โครงร่างวิทยานิพนธ์ ใช้การการสอบขออนุมัติหัวข้อ
โครงร่างวิทยานิพนธ์ ใช้การการสอบขออนุมัติหัวข้อโครงร่างวิทยานิพนธ์ ใช้การการสอบขออนุมัติหัวข้อ
โครงร่างวิทยานิพนธ์ ใช้การการสอบขออนุมัติหัวข้อAnchalee BuddhaBucha
 
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education Weerachat Martluplao
 
แนวข้อสอบ วิชา พระพุทธศาสนา
แนวข้อสอบ วิชา พระพุทธศาสนาแนวข้อสอบ วิชา พระพุทธศาสนา
แนวข้อสอบ วิชา พระพุทธศาสนาOppo Optioniez
 
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖Anchalee BuddhaBucha
 
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาทศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาทpentanino
 
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนาการบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนาวัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
การศึกษาวิเคราะห์ท่าทีของพระพุทธศาสนาเรื่องการเปลี่ยน
การศึกษาวิเคราะห์ท่าทีของพระพุทธศาสนาเรื่องการเปลี่ยนการศึกษาวิเคราะห์ท่าทีของพระพุทธศาสนาเรื่องการเปลี่ยน
การศึกษาวิเคราะห์ท่าทีของพระพุทธศาสนาเรื่องการเปลี่ยนMartin Trinity
 
สุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญา
สุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญาสุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญา
สุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญาpentanino
 
งานนำเสนอท่าทีการเปลี่ยนศาสนา2
งานนำเสนอท่าทีการเปลี่ยนศาสนา2งานนำเสนอท่าทีการเปลี่ยนศาสนา2
งานนำเสนอท่าทีการเปลี่ยนศาสนา2Satheinna Khetmanedaja
 
พุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหารพุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหารAnchalee BuddhaBucha
 
วิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญาวิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญาPadvee Academy
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออกปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออกPadvee Academy
 
การนำเสนอคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้นำ3
การนำเสนอคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้นำ3การนำเสนอคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้นำ3
การนำเสนอคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้นำ3ฟองเพียร ใจติ๊บ
 
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.1-3 หน่วยที่ 6+443+dltvsocp3+T2 p1 3-u6_soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.1-3 หน่วยที่ 6+443+dltvsocp3+T2 p1 3-u6_socแผนการจัดการเรียนรู้ ป.1-3 หน่วยที่ 6+443+dltvsocp3+T2 p1 3-u6_soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.1-3 หน่วยที่ 6+443+dltvsocp3+T2 p1 3-u6_socPrachoom Rangkasikorn
 
Paper of triple gem full (final)
Paper of triple gem full (final)Paper of triple gem full (final)
Paper of triple gem full (final)Sarawut Sangnarin
 

What's hot (20)

ศึกษาความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ของผู้ป...
ศึกษาความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ของผู้ป...ศึกษาความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ของผู้ป...
ศึกษาความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ของผู้ป...
 
หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา
หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนาหลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา
หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา
 
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
 
โครงร่างวิทยานิพนธ์ ใช้การการสอบขออนุมัติหัวข้อ
โครงร่างวิทยานิพนธ์ ใช้การการสอบขออนุมัติหัวข้อโครงร่างวิทยานิพนธ์ ใช้การการสอบขออนุมัติหัวข้อ
โครงร่างวิทยานิพนธ์ ใช้การการสอบขออนุมัติหัวข้อ
 
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education
 
แนวข้อสอบ วิชา พระพุทธศาสนา
แนวข้อสอบ วิชา พระพุทธศาสนาแนวข้อสอบ วิชา พระพุทธศาสนา
แนวข้อสอบ วิชา พระพุทธศาสนา
 
บทที่ ๔ (จริง)
บทที่ ๔ (จริง)บทที่ ๔ (จริง)
บทที่ ๔ (จริง)
 
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
 
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาทศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
 
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนาการบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา
 
การศึกษาวิเคราะห์ท่าทีของพระพุทธศาสนาเรื่องการเปลี่ยน
การศึกษาวิเคราะห์ท่าทีของพระพุทธศาสนาเรื่องการเปลี่ยนการศึกษาวิเคราะห์ท่าทีของพระพุทธศาสนาเรื่องการเปลี่ยน
การศึกษาวิเคราะห์ท่าทีของพระพุทธศาสนาเรื่องการเปลี่ยน
 
สุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญา
สุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญาสุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญา
สุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญา
 
ปฏิบัตินิยม
ปฏิบัตินิยมปฏิบัตินิยม
ปฏิบัตินิยม
 
งานนำเสนอท่าทีการเปลี่ยนศาสนา2
งานนำเสนอท่าทีการเปลี่ยนศาสนา2งานนำเสนอท่าทีการเปลี่ยนศาสนา2
งานนำเสนอท่าทีการเปลี่ยนศาสนา2
 
พุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหารพุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหาร
 
วิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญาวิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญา
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออกปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออก
 
การนำเสนอคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้นำ3
การนำเสนอคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้นำ3การนำเสนอคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้นำ3
การนำเสนอคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้นำ3
 
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.1-3 หน่วยที่ 6+443+dltvsocp3+T2 p1 3-u6_soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.1-3 หน่วยที่ 6+443+dltvsocp3+T2 p1 3-u6_socแผนการจัดการเรียนรู้ ป.1-3 หน่วยที่ 6+443+dltvsocp3+T2 p1 3-u6_soc
แผนการจัดการเรียนรู้ ป.1-3 หน่วยที่ 6+443+dltvsocp3+T2 p1 3-u6_soc
 
Paper of triple gem full (final)
Paper of triple gem full (final)Paper of triple gem full (final)
Paper of triple gem full (final)
 

Viewers also liked

Dhammadu name
Dhammadu nameDhammadu name
Dhammadu nameMahatai
 
Dhammadu listname
Dhammadu listnameDhammadu listname
Dhammadu listnameMahatai
 
เอกสารประกอบการอบรมติดตั้งจานดาวเทียม (Sat2u 2556)
เอกสารประกอบการอบรมติดตั้งจานดาวเทียม (Sat2u 2556)เอกสารประกอบการอบรมติดตั้งจานดาวเทียม (Sat2u 2556)
เอกสารประกอบการอบรมติดตั้งจานดาวเทียม (Sat2u 2556)sornblog2u
 
1ปก คำนำ หลักสูตร
1ปก คำนำ หลักสูตร1ปก คำนำ หลักสูตร
1ปก คำนำ หลักสูตรsasiton sangangam
 
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่า จูเฬกสาฎก
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่า จูเฬกสาฎกแปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่า จูเฬกสาฎก
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่า จูเฬกสาฎกวัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
Gran excursión a acapulco 3 dias
Gran excursión a acapulco 3 diasGran excursión a acapulco 3 dias
Gran excursión a acapulco 3 diasCplaza21
 
Architecting your app in ext js 4, part 1 learn sencha
Architecting your app in ext js 4, part 1   learn   senchaArchitecting your app in ext js 4, part 1   learn   sencha
Architecting your app in ext js 4, part 1 learn senchaRahul Kumar
 
Architecting your app in ext js 4, part 2 learn sencha
Architecting your app in ext js 4, part 2   learn   senchaArchitecting your app in ext js 4, part 2   learn   sencha
Architecting your app in ext js 4, part 2 learn senchaRahul Kumar
 
United Arab Emirates
United Arab EmiratesUnited Arab Emirates
United Arab EmiratesOksana Lomaga
 
การเลือกซื้อกล้องวงจรปิด
การเลือกซื้อกล้องวงจรปิดการเลือกซื้อกล้องวงจรปิด
การเลือกซื้อกล้องวงจรปิดAvtech Thai
 
трики разработчика мобильных игр
трики разработчика мобильных игртрики разработчика мобильных игр
трики разработчика мобильных игрAlexander Degtyarev
 
Three dangerous sins
Three dangerous sinsThree dangerous sins
Three dangerous sinsAdrian Buban
 
Let your light shine
Let your light shineLet your light shine
Let your light shineAdrian Buban
 
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก๔
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก๔แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก๔
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก๔วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 

Viewers also liked (20)

Dhammadu name
Dhammadu nameDhammadu name
Dhammadu name
 
Dhammadu listname
Dhammadu listnameDhammadu listname
Dhammadu listname
 
เอกสารประกอบการอบรมติดตั้งจานดาวเทียม (Sat2u 2556)
เอกสารประกอบการอบรมติดตั้งจานดาวเทียม (Sat2u 2556)เอกสารประกอบการอบรมติดตั้งจานดาวเทียม (Sat2u 2556)
เอกสารประกอบการอบรมติดตั้งจานดาวเทียม (Sat2u 2556)
 
1ปก คำนำ หลักสูตร
1ปก คำนำ หลักสูตร1ปก คำนำ หลักสูตร
1ปก คำนำ หลักสูตร
 
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่า จูเฬกสาฎก
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่า จูเฬกสาฎกแปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่า จูเฬกสาฎก
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่า จูเฬกสาฎก
 
Gran excursión a acapulco 3 dias
Gran excursión a acapulco 3 diasGran excursión a acapulco 3 dias
Gran excursión a acapulco 3 dias
 
Flowchar
FlowcharFlowchar
Flowchar
 
Architecting your app in ext js 4, part 1 learn sencha
Architecting your app in ext js 4, part 1   learn   senchaArchitecting your app in ext js 4, part 1   learn   sencha
Architecting your app in ext js 4, part 1 learn sencha
 
He was abandon
He was abandonHe was abandon
He was abandon
 
Eresloquecomes
EresloquecomesEresloquecomes
Eresloquecomes
 
Architecting your app in ext js 4, part 2 learn sencha
Architecting your app in ext js 4, part 2   learn   senchaArchitecting your app in ext js 4, part 2   learn   sencha
Architecting your app in ext js 4, part 2 learn sencha
 
หลักการสัมพันธ์บทตติยาวิภัตติ
หลักการสัมพันธ์บทตติยาวิภัตติหลักการสัมพันธ์บทตติยาวิภัตติ
หลักการสัมพันธ์บทตติยาวิภัตติ
 
Chapt 5
Chapt 5Chapt 5
Chapt 5
 
United Arab Emirates
United Arab EmiratesUnited Arab Emirates
United Arab Emirates
 
บาลีเสริม ๑๑
บาลีเสริม ๑๑ บาลีเสริม ๑๑
บาลีเสริม ๑๑
 
การเลือกซื้อกล้องวงจรปิด
การเลือกซื้อกล้องวงจรปิดการเลือกซื้อกล้องวงจรปิด
การเลือกซื้อกล้องวงจรปิด
 
трики разработчика мобильных игр
трики разработчика мобильных игртрики разработчика мобильных игр
трики разработчика мобильных игр
 
Three dangerous sins
Three dangerous sinsThree dangerous sins
Three dangerous sins
 
Let your light shine
Let your light shineLet your light shine
Let your light shine
 
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก๔
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก๔แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก๔
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก๔
 

Similar to บทที่ ๑ (จริง)

9789740330592
97897403305929789740330592
9789740330592CUPress
 
จริยศาสตร์ประเมินบทที่333 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่333 3-ปีจริยศาสตร์ประเมินบทที่333 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่333 3-ปีPa'rig Prig
 
จริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปีจริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปีPa'rig Prig
 
วิจัยในชั้นเรียน
วิจัยในชั้นเรียนวิจัยในชั้นเรียน
วิจัยในชั้นเรียนKritsadin Khemtong
 
กิจกรรม สาระสังคม
กิจกรรม สาระสังคมกิจกรรม สาระสังคม
กิจกรรม สาระสังคมkruarada
 
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) niralai
 
9789740330349
97897403303499789740330349
9789740330349CUPress
 
33 พระมหามาติณ ถีนิติ
33 พระมหามาติณ ถีนิติ33 พระมหามาติณ ถีนิติ
33 พระมหามาติณ ถีนิติMartin Trinity
 
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาpentanino
 

Similar to บทที่ ๑ (จริง) (20)

บทที่ ๑ (จริง)
บทที่ ๑ (จริง)บทที่ ๑ (จริง)
บทที่ ๑ (จริง)
 
บทที่ ๑ (จริง)
บทที่ ๑ (จริง)บทที่ ๑ (จริง)
บทที่ ๑ (จริง)
 
บทที่ ๑ (จริง)
บทที่ ๑ (จริง)บทที่ ๑ (จริง)
บทที่ ๑ (จริง)
 
บทที่ ๔ (จริง)
บทที่ ๔ (จริง)บทที่ ๔ (จริง)
บทที่ ๔ (จริง)
 
9789740330592
97897403305929789740330592
9789740330592
 
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
 
จริยศาสตร์ประเมินบทที่333 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่333 3-ปีจริยศาสตร์ประเมินบทที่333 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่333 3-ปี
 
บทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ๒๓๐๐
บทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ๒๓๐๐บทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ๒๓๐๐
บทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ๒๓๐๐
 
จริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปีจริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปี
 
วิจัยในชั้นเรียน
วิจัยในชั้นเรียนวิจัยในชั้นเรียน
วิจัยในชั้นเรียน
 
05 ethics
05 ethics05 ethics
05 ethics
 
กิจกรรม สาระสังคม
กิจกรรม สาระสังคมกิจกรรม สาระสังคม
กิจกรรม สาระสังคม
 
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
 
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
 
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
 
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
 
บทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ๒๓๐๐
บทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ๒๓๐๐บทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ๒๓๐๐
บทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ๒๓๐๐
 
9789740330349
97897403303499789740330349
9789740330349
 
33 พระมหามาติณ ถีนิติ
33 พระมหามาติณ ถีนิติ33 พระมหามาติณ ถีนิติ
33 พระมหามาติณ ถีนิติ
 
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
 

More from วัดดอนทอง กาฬสินธุ์

กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 

More from วัดดอนทอง กาฬสินธุ์ (20)

กถาวัตถุ
กถาวัตถุกถาวัตถุ
กถาวัตถุ
 
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐
 
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
 
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
 
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
 
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
 
องค์ประกอบของการสัมมนา๒
องค์ประกอบของการสัมมนา๒องค์ประกอบของการสัมมนา๒
องค์ประกอบของการสัมมนา๒
 
รูปแบบการสัมมนา
รูปแบบการสัมมนารูปแบบการสัมมนา
รูปแบบการสัมมนา
 
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑
ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑
ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Pptธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
 
๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔
๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔
๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔
 
รายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำ
รายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำรายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำ
รายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำ
 
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓
 
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕
 
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1
 
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)
 
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
 

บทที่ ๑ (จริง)

  • 1. บทที่ ๑ บทนา ๑.๑ ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา การปรับพฤติกรรมมนุษย์ตามหลักของศาสตร์สมัยใหม่เป็นเรื่องใหม่สาหรับประเทศ ไทยเป็นศัพท์ใหม่สาหรับคนไทย จากหลักฐานทางเอกสารที่ตีพิมพ์เผยแพร่ พบว่าได้มีการพัฒนา เทคนิคการปรับพฤติกรรมขึ้นมา และนาไปใช้แก้ไขเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างจริงจังเมื่อ ประมาณ ๓ ทศวรรษที่ผ่านมานี้เอง จากหลักฐานเอกสารที่ปรากฏพบว่าการปรับพฤติกรรมใน ประเทศไทยเริ่มเกิดขึ้นเมื่อประมาณ ๑๐ ปีเศษที่ผ่านมานี้เอง เรื่องการปรับพฤติกรรมจึงจัดว่าเป็น ของใหม่สาหรับประเทศไทย๑ แต่สิ่งเหล่านี้อยู่กับคนไทยมานานแล้วโดยที่คนไทยไม่รู้ว่าการปรับ พฤติกรรมก็คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานหรือการปรับอินทรีย์ ๕๒ ในพระพุทธศาสนานั่นเอง มี นักจิตวิทยาทางตะวันตกหลายคนที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์แต่ละคนก็มีวิธีการแตกต่างกัน ออกไป แบนดูร่า (Bandura) เป็นนักจิตวิทยาคนหนึ่งที่สนใจศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ โดยเขาให้ชื่อทฤษฎีของเขาว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม ทฤษฎีของเขาได้รับการยอมรับ จากนักจิตวิทยาและนักวิชาการอย่างกว้างขวาง แบนดูร่า มีแนวความคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ที่น่าศึกษาเปรียบเทียบกับหลัก กรรมของพระพุทธศาสนาอยู่บ้างคือ แบนดูร่าเชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากองค์ประกอบ ๓ อย่างคือ พฤติกรรม (B) องค์ประกอบส่วนบุคคล (P) และองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อม (E) มี อิทธิพลซึ่งกันและกัน๓ กล่าวคือ พฤติกรรมของมนุษย์สามารถกาหนดสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมก็ ๑ ประเทือง ภูมิภัทราคม, การปรับพฤติกรรม : ทฤษฎีและการประยุกต์, (กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๐),หน้า ๓๒. ๒ อินทรีย์๕ ได้แก่ สัทธินทรีย์วิริยินทรีย์สตินทรีย์สมาธินทรีย์ปัญญินทรีย์. ๓ A. Bandura, Social Foundations of Thought and Action : A Social cognitive theory, (Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall, Inc., 1986), p. 24, A. Bandura, Social Learning Theory, pp. 9- 10.
  • 2. ๒ สามารถกาหนดพฤติกรรม พฤติกรรมสามารถกาหนดองค์ประกอบส่วนบุคคล องค์ประกอบส่วน บุคคลก็สามารถกาหนดพฤติกรรมได้เช่นกัน ในทานองเดียวกัน องค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อมและ องค์ประกอบส่วนบุคคลก็มีอิทธิพลซึ่งกันและกัน ทั้งสามอย่างนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน คือ บุคคลสามารถกาหนดสิ่งแวดล้อมได้ ในขณะเดียวกันสิ่งแวดล้อมก็สามารถกาหนดบุคคลได้ บุคคลสามารถกาหนดพฤติกรรมได้ ในทางกลับกันพฤติกรรมก็สามารถกาหนด บุคคลได้เช่นกัน แบนดูร่า คิดวิธีการปรับพฤติกรรม มนุษย์ขึ้นมาหลายวิธี เช่น การเลียนแบบจากตัวแบบ การเพิ่มแรงจูงใจ เป็นต้น ซึ่งวิธีเหล่านี้ สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์ไปในทางที่พึงประสงค์ได้ หมายความว่า ผู้เลียนแบบจะมี พฤติกรรมเหมือนตัวแบบที่เขาเห็น ซึ่งตรงกับหลักการคบมิตรหรือคบเพื่อนในพระพุทธศาสนา ดังพระพุทธพจน์ว่า “โย หิ ย เสวติ โส ต คติโกว คบคนเช่นไรเป็นเหมือนคนเช่นนั้น”๔ การสังเกตตนเอง เป็นวิธีหนึ่งที่แบนดูร่าใช้ในการปรับพฤติกรรมมนุษย์ การสังเกตตนเอง จะช่วยให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้โดยความภาคภูมิใจเพราะมันเกิดจากแรงจูงใจภายใน ของเขาเอง โดยธรรมชาติมนุษย์ไม่ต้องการให้คนอื่นสอน ถ้ามีคนมาบอกว่า ควรทาอย่างนั้น ไม่ ควรทาอย่างนี้ เขาจะไม่ชอบและจะไม่ทาตาม แต่ถ้าเขาเห็นว่า การมีพฤติกรรมนั้น ๆ จะทาให้เขา ได้รับความเคารพนับถือหรือความยกย่อง เขาก็จะค่อย ๆ ปรับพฤติกรรมของเขาโดยไม่ต้องให้คน อื่นมาบอก ซึ่งก็ตรงกับพระพุทธพจน์ว่า “อตฺตนา โจทยตฺตาน ปฏิมเสถ อตฺตนา. ภิกษุ เธอจงเตือน ตนด้วยตนเอง จงพิจารณาดูตนด้วยตนเอง”๕ พระพุทธศาสนาสอนเรื่องกรรม เช่น พระพุทธพจน์ในอภิณหปัจจเวกขิตัพพฐานสูตร ในอังคุตตรนิกายว่า “กมฺมสฺสโกมฺหิ กมฺมทายาโท กมฺมโยนิ กมฺมพนฺธุ กมฺมปฏิสรโณ...เรามีกรรม เป็นสมบัติของตน เราเป็นทายาทของกรรม เรามีกรรมเป็นเครื่องก่อให้เกิด เรามีกรรมเป็นพวกพ้อง เรามีกรรมเป็นพึ่ง ...”๖ เป็นต้น คาว่า “กรรม” ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึงการกระทาที่ ประกอบด้วยเจตนา ซึ่งคาว่ากรรมเป็นคากลาง ๆ ยังไม่จัดว่าดีหรือชั่ว เมื่อบุคคลทากรรมดีมีการให้ ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาเป็นต้น จึงเรียกว่า กรรมดี เมื่อบุคคลทากรรมชั่ว มีการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ของคนอื่น ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จเป็นต้น จึงเรียกว่า กรรมชั่ว กรรมดีให้ผลในทางบวก กรรม ชั่วให้ผลในทางลบ บุคคลทากรรมอย่างไรก็จะได้รับผลอย่างนั้น ไม่ช้าก็เร็วแล้วแต่ว่ากรรมอัน ๔ มงฺคล. (บาลี) ๑/๒๐/๗. ๕ ขุ. ธ. (บาลี) ๒๕/๓๗๙/๓๗, ขุ. ธ. (ไทย) ๒๕/๓๗๙/๗๕. ๖ องฺ. ปญฺจ. (บาลี) ๒๒/๕๗/๔๓.
  • 3. ๓ ไหนจะมีโอกาสให้ผลก่อน ดังพระพุทธพจน์ว่า “กมฺมุนา วตฺตตี โลโก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตาม กรรม”๗ กรรมเป็นสิ่งจาแนกสัตว์ให้ดีให้เลวละเอียด ประณีต ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมของแบนดูร่าตรงกับหลักการพัฒนากรรมใน พระพุทธศาสนา เพราะส่วนมากแบนดูร่า จะพูดถึงการปรับพฤติกรรมมนุษย์ให้มีพฤติกรรมที่พึง ประสงค์มากขึ้น การพัฒนากรรมในพระพุทธศาสนาก็คือการพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์ให้เป็นไป ในทางที่พึงประสงค์เช่นเดียวกัน แต่มีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป ทางพระพุทธศาสนาใช้หลัก ไตรสิกขา เป็นแนวทางการพัฒนา คือ หลักศีล เป็นหลักปรับพฤติกรรมทางกาย วาจา ใจ ขั้นหยาบ หลักสมาธิ เป็นหลักการปรับพฤติกรรมทางกาย วาจา ใจ ขั้นปานกลาง หลักปัญญา เป็นหลักการ ปรับพฤติกรรมทางกาย วาจา ใจ ขั้นสูง เพื่อปรับพฤติกรรมให้ดาเนินไปตามที่ต้องการสูงขึ้นจนเป็น พระอริยบุคคล เมื่อนาหลักการปรับพฤติกรรมมนุษย์ของแบนดูร่ากับหลักการพัฒนากรรมใน พระพุทธศาสนามาเปรียบเทียบกันแล้วมีความคล้ายคลึงใกล้เคียงกัน เช่น หลักการคบมิตรใน พระพุทธศาสนากับหลักการเลียนแบบจากตัวแบบของแบนดูร่า การติเตียนบุคคลที่ควรติเตียน การยกย่องบุคคลที่ควรยกย่องกับหลักการการเสริมแรงจูงใจ หลักโยนิโสมนสิการกับหลักการใส่ ใจ เป็นต้น ประเด็นเหล่านี้ทาให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาเปรียบเทียบทฤษฎีการเรียนรู้ทาง ปัญญาสังคมของแบนดูร่ากับหลักการพัฒนากรรมตามหลักของพระพุทธศาสนาในเชิงลึกเพื่อจะได้ นามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่วงการศึกษาต่อไป ๑.๒ วัตถุประสงค์ของการวิจัย ๑.๒.๑ เพื่อศึกษารูปแบบการปรับพฤติกรรมตามหลักของแบนดูร่า ๑.๒.๒ เพื่อศึกษารูปแบบการปรับพฤติกรรมตามหลักของพระพุทธศาสนา ๑.๒.๓ เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบรูปแบบการปรับพฤติกรรมของแบนดูร่ากับ รูปแบบการปรับพฤติกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา ๑.๓ ปัญหาที่ต้องการทราบ ๑.๓.๑ รูปแบบการปรับพฤติกรรมตามหลักของแบนดูร่าเป็นอย่างไร ๑.๓.๒ รูปแบบการปรับพฤติกรรมตามหลักของพระพุทธศาสนาเป็นอย่างไร ๗ ขุ.ธ. (บาลี) ๒๕/๖๕๘/๒๓๘.
  • 4. ๔ ๑.๓.๓ เมื่อนารูปแบบการปรับพฤติกรรมของทั้งสองฝ่ายมาเปรียบเทียบกันแล้วจะมี ความเหมือนและความแตกต่างกันอย่างไร ๑.๔ คาจากัดความของศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย ๑.๔.๑ รูปแบบ ในงานวิจัยนี้ หมายถึงชุดหรือกระบวนการหรือหมวดหลักธรรมที่ นาไปเป็นแนวทางในการปรับพฤติกรรมตามหลักการปรับพฤติกรรมของแบนดูร่าและตามหลัก พระพุทธศาสนา ๑.๔.๒ การพัฒนา หมายถึง การปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่แล้วให้มีคุณภาพใน ทางบวกมากขึ้น สิ่งที่มีอยู่แล้วในงานวิจัยนี้หมายถึงการพัฒนาพฤติกรรมตามหลักของแบนดูร่า และการพัฒนาสังขารหรือเจตสิกตามหลักของพระพุทธศาสนา ๑.๔.๓ สังขาร หมายถึง ในงานวิจัยนี้หมายถึงสังขารในขันธ์ ๕ ซึ่งในคัมภีร์ฝ่าย อภิธรรมจาแนกเป็นเจตสิก ๕๐ อย่าง รวมถึงเจตนาซึ่งเป็นสังขารในปฏิจจสมุปบาท ๑.๔.๔ พฤติกรรม หมายถึง การกระทาทุกอย่างที่ปรากฏออกมาทางกาย และทางวาจา เช่น การกิน การพูด การเดิน การนอน เป็นต้น ๑.๔.๕ การปรับพฤติกรรม หมายถึง กระบวนการหรือวิธีการต่าง ๆ ที่นามาใช้ในการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คือ การกิน การพูด การเดิน การนอน เป็นต้น ที่ไม่พึงประสงค์ให้ เปลี่ยนเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ๑.๕ ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ๑.๕.๑ พระมหาศุภวัฒน์ ชุติมนฺโต (สุขดา) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบ แนวความคิดเรื่อง พฤติกรรมของมนุษย์ในทรรศนะของพุทธปรัชญาเถรวาทกับซิกมันด์ ฟรอยด์”๘ จากการศึกษาสรุปได้ว่า พฤติกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท หมายถึง การแสดงออกทางกาย วาจา และสิ่งที่สืบเนื่องมาจากจิตที่อยู่ภายใน การแสดงออกมาทางกายภาพทั้งหมด เรียกว่า กายกรรม ทาง วาจาเรียกว่าวจีกรรม และทางใจเรียกว่ามโนกรรมตามทฤษฎีตะวันตก ตั้งแต่ยุคกรีกซึ่งรุ่งเรืองทาง ความคิด มีความเชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม จาเป็นต้องมีพฤติกรรมสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทั้งที่ ๘ พระมหาศุภวัฒน์ ชุติมนฺโต (สุขดา), “การศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดเรื่อง พฤติกรรมของ มนุษย์ในทรรศนะของพุทธปรัชญาเถรวาทกับ ซิกมันด์ ฟรอยด์”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๘).
  • 5. ๕ สังเกตได้และไม่สามารถสังเกตได้ โดยนักคิดจิตนิยม ถือว่าจิตเป็นผู้คอยกากับพฤติกรรม กลุ่มสัจ นิยมเชื่อว่ามนุษย์ประกอบด้วยร่างกายและวิญญาณหรือจิตใจ ซึ่งเป็นกระบวนการทางกายภาพ เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แต่มนุษย์มีวิวัฒนาการทางจิตสานึกที่สูงกว่า ขณะที่กลุ่มอัตถิภาวนิยม เชื่อในอิสรภาพของมนุษย์ในอันที่จะเลือกแสดงพฤติกรรมได้ นักจิตวิทยามนุษย์นิยม มีความเชื่อว่า โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เป็นผู้ใฝ่ดี พฤติกรรมที่เป็นปัญหาของบุคคล เกิดมีขึ้นเพราะสังคมและ สิ่งแวดล้อมชักนาให้เป็นไป พฤติกรรมนิยม เชื่อว่ามนุษย์แรกเกิดมานั้นไม่ดีไม่ชั่ว ภายหลังจะ เป็นไปตามสภาพแวดล้อมและทิศทางของการพัฒนาพฤติกรรม ที่ถูกกาหนดโดยการวางเงื่อนไข พุทธปรัชญาเถรวาทถือว่า พฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกมาไม่ว่าจะอยู่ในที่เปิดเผยหรือในที่ลับ ล้วน เป็นผลสืบเนื่องมาจากบทบาทแห่งการกาหนดวิถีทางของชีวิตทั้งสิ้น ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต ผล ของพฤติกรรมจะมีการทางานแบบลูกโซ่ มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดแยกกันไม่ออก พฤติกรรมใน อดีต ย่อมส่งผลต่อพฤติกรรมที่กาลังทาในปัจจุบันและทาในอนาคต ซึ่งจะกลับวนเวียนอยู่เช่นนี้ ตราบใดที่พฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกมานั้นเป็นพฤติกรรมที่มีกิเลส และพฤติกรรมที่ชั่วย่อม ก่อให้เกิดชีวิตในทางที่เป็นทุกข์ ส่วนพฤติกรรมที่ดีย่อมส่งผลต่อชีวิตในทางที่เป็นความสุขใจทาง ใจ พฤติกรรมในทรรศนะของซิกมันด์ ฟรอยด์ หมายถึง การแสดงออกทางกายภาพทั้งหมดของ มนุษย์ไม่ว่าจะเป็นการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลทั่วไปและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงสิ่งอื่นๆ ซึ่งมีทั้งทางดี และไม่ดี เช่น การเดิน การหัวเราะ การร้องไห้ ดีใจ เสียใจ เป็นต้น ๑.๕.๒ ยุภา เทิดอุดมธรรม ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาหลักพุทธธรรมที่มีอิทธิพลต่อ พฤติกรรมการให้การพยาบาลตามบทบาทเชิงวิชาชีพ : ศึกษากรณีพยาบาลวิชาชีพสังกัดกระทรวง สาธารณสุข จังหวัดสุราษฎร์ธานี”๙ จากผลของการวิจัยสรุปได้ว่า ๑. การวิจัยที่เกี่ยวกับหลักพุทธ ธรรมที่นามาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานการพยาบาลพบว่า หลักพรหมวิหาร ๔ และฆราวาส ธรรม ๔ ทาให้พยาบาลเป็นผู้ที่ประพฤติเกื้อกูลต่อผู้อื่น มีความอิ่มเอิบใจเมื่อผู้อื่นมีความสุข สามารถวางใจเป็นกลางต่อปัญหาที่เกิดขึ้น มีความซื่อสัตย์ เสียสละ อดทนและอดกลั้น นับเป็น หลักธรรมที่เกื้อกูลการปฏิบัติงานในวิชาชีพการพยาบาล ส่งผลให้พยาบาลปฏิบัติงานอย่างมี ประสิทธิภาพและมีความสุข ๒. พฤติกรรมการให้การพยาบาลในบทบาทเชิงวิชาชีพของพยาบาล วิชาชีพโดยรวม อยู่ในระดับบ่อยครั้ง และเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า พฤติกรรมการพยาบาลด้าน การป้ องกัน พฤติกรรมการพยาบาลด้านการส่งเสริมสุขภาพ และพฤติกรรมการพยาบาลด้านการ ๙ ยุภา เทิดอุดมธรรม, “การศึกษาหลักพุทธธรรมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการให้การพยาบาลตาม บทบาทเชิงวิชาชีพ : ศึกษากรณีพยาบาลวิชาชีพสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดสุราษฎร์ธานี”, วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๘).
  • 6. ๖ ฟื้นฟูสมรรถภาพ อยู่ในระดับบ่อยครั้ง ส่วนพฤติกรรมการพยาบาลด้านการดูแลรักษาอยู่ในระดับ ทุกครั้ง ๓. ลักษณะทางพระพุทธศาสนา พบว่า มีการปฏิบัติตนตามหลักพรหมวิหาร ๔ อยู่ในระดับ ทุกครั้ง ส่วนการปฏิบัติตนตามหลักฆราวาสธรรม ๔ และวิถีชีวิตแบบพุทธอยู่ในระดับบ่อยครั้ง ๔. พยาบาลวิชาชีพมีสุขภาพจิต อยู่ในระดับค่อนข้างดี ๕. การปฏิบัติตนตามหลักพรหมวิหาร ๔ การ ปฏิบัติตนตามหลักฆราวาสธรรม ๔ วิถีชีวิตแบบพุทธ และสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การให้การพยาบาลตามบทบาทเชิงวิชาชีพโดยรวมและแต่ละด้านทั้ง ๔ ด้าน อย่างมีนัยสาคัญทาง สถิติที่ระดับ .๐๑ ๖. ปัจจัยภูมิหลัง ได้แก่ อายุ สถานภาพ และประสบการณ์การทางานของพยาบาล ที่แตกต่างกัน ส่งผลให้พยาบาลมีพฤติกรรมการพยาบาลในบทบาทเชิงวิชาชีพโดยรวมและรายด้าน ทั้ง ๔ ด้าน แตกต่างกัน อย่างนี้นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๑.๕.๓ พระมหากิจการ โชติปญฺโญ ( ยุติพันธ์) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาพุทธวิธีการ ให้การปรึกษาที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก”๑๐ จากการศึกษาพบว่า พุทธวิธีการให้การปรึกษา คือ กระบวนการที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมให้แก่มนุษย์ผู้ประสบกับปัญหา คือ ความทุกข์ ได้มี หนทางในการนาพาตนเองให้หลุดพ้นจากความทุกข์ที่กาลังประสบอยู่ มีพระผู้มีพระภาคทรงเป็น กัลยาณมิตร ทรงเป็นผู้แนะนาด้วยวิธีการต่าง ๆ และทรงให้ความเป็นอิสระในการตัดสินใจของพวก เขาพุทธวิธีการให้การปรึกษาดังกล่าว มีหลักการที่สาคัญ คือ พระองค์ทรงช่วยชี้แจงถึงปัญหาให้ กระจ่างชัดเจน โน้มน้าวจิตใจให้เขาปฏิบัติตาม ให้มีความมุ่งมั่นต่อการแก้ไขปัญหา และให้เกิด ความสุขใจ มองเห็นหนทางแก้ไขปัญหา คือ ความทุกข์นั้นได้กรณีตัวอย่างที่ได้ยกมาแสดง สามารถ นามายืนยันให้เห็นถึงความสาเร็จของพระองค์ที่ทรงใช้พุทธวิธีการให้การปรึกษา ช่วยแก้ไขปัญหา แต่ละวิธีที่ทรงใช้ ล้วนเหมาะสมกับผู้มาขอรับการปรึกษา แบ่งเป็น ๕ กลุ่ม คือ ภิกษุ ๑๐ เรื่อง ภิกษุณี ๔ เรื่อง อุบาสก ๑๐ เรื่อง อุบาสิกา ๑ เรื่อง นักบวชนอกศาสนา ๘ เรื่อง รวมทั้งสิ้น ๓๓ เรื่อง ในแต่ละกรณีตัวอย่างที่ยกมานั้นได้ทาการวิเคราะห์ ถึงวิธีการให้การปรึกษาไว้ในตอนท้ายของแต่ ละเรื่อง มีลักษณะที่แตกต่างกันไป แต่มีเป้ าหมายเดียวกัน คือ การช่วยให้มนุษย์ได้หลุดพ้นจาก ความทุกข์ จากการศึกษาพุทธวิธีการให้การปรึกษา และกรณีตัวอย่างที่ผ่านมา เห็นได้ว่าสามารถ นามาเป็นแบบอย่าง ประยุกต์ใช้ในการป้ องกัน และการแก้ไขปัญหา ในด้านของการศึกษา ระหว่าง ผู้สอนกับผู้เรียน และการจัดการเรียนการสอน ในด้านของการปกครอง ระหว่างผู้ทาหน้าที่ปกครอง ๑๐ พระมหากิจการ โชติปญฺโญ, “การศึกษาพุทธวิธีการให้การปรึกษาที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก” , วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๗).
  • 7. ๗ กับผู้อยู่ภายใต้การปกครอง สุดท้ายในด้านของเศรษฐศาสตร์ ระหว่างผู้ทาหน้าที่ผลิตกับผู้บริโภค ควรมีหลักธรรมในการปฏิบัติต่อกัน เพื่อช่วยแก้ไขและป้ องกันปัญหาอันจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต และทาให้สังคมมีความเป็นอยู่ที่ดี อยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุขตลอดไป ๑.๕.๔ นัตติมา ชูดวงแก้ว ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบเจตสิกธรรมใน พระอภิธรรมปิฎกกับพระสุตตันตปิฎก” จากการศึกษาค้นคว้าสรุปใจความได้ว่า เจตสิก (สังขาร) ในพระอภิธรรมมีการจาแนกเป็นประเภทใหญ่และแยกย่อยให้เห็นลักษณะของจิตและเจตสิกที่ ประกอบอย่างชัดเจน เป็นความรู้ในเชิงทฤษฎีที่กว้างขวางยิ่งขึ้นเพราะทรงแสดงสภาวธรรมอื่น ๆที่ เกี่ยวข้อง เช่น สาเหตุการเกิดของเจตสิก การนาเจตสิกแต่ละดวงมาจาแนกเป็นประเภทต่าง ๆ การ ปฏิบัติเพื่อละอกุศลเจตสิกและการปฏิบัติเพื่อให้กุศลเจตสิกเกิดขึ้น เป็นต้น การแสดงใน พระสูตร ทรงมุ่งเน้นการนาความรู้ไปปฏิบัติมากกว่าการแสดงทฤษฎี แต่ไม่ขัดแย้งกัน...เจตสิกมีอิทธิพลต่อ สุขภาพกายและสุขภาพจิตของบุคคล ดังจะเห็นได้ว่าความสุขและความทุกข์ของคนเรานั้นล้วน เกี่ยวข้องกับเจตสิกทั้งสิ้น เจตสิกที่มีอิทธิพลทาให้สุขภาพจิตไม่ดีเป็นจิตที่เศร้าหมอง คืออกุศล เจตสิก ได้แก่ โลภะ โทสะ และโมหะ ที่ตรัสว่าเป็นรากเหง้าของอกุศลและจิตที่มีสุขภาพดี คือจิต ที่ประกอบด้วยกุศลเจตสิก ได้แก่ ปัญญา สติ ศรัทธา เมตตา กรุณา เป็นต้น เป็นจิตที่ผ่องแผ้วเหมาะ แก่การทาการงานทั้งทางโลกและการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้ าหมายในพระพุทธศาสนา การปฏิบัติเพื่อ การพัฒนาจิตให้มีสุขภาพดีจึงหมายถึงการปฏิบัติเพื่อให้กุศลเจตสิกเกิดขึ้น การปฏิบัตินี้ ทรงแสดง ไว้เป็นจานวนมาก เมื่อกล่าวโดยรวมแล้วได้แก่การปฏิบัติตามหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง๑๑ ๑.๕.๕ สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต ได้กล่าวถึงการปรับพฤติกรรมไว้ในหนังสือชื่อว่า “ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม”๑๒ พอสรุปได้ว่า การปรับพฤติกรรมเป็นแนวความคิดของ นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaveorism) ซึ่งเป็นแนวคิดที่วางอยู่บนพื้นฐานของความเป็น วิทยาศาสตร์ อาศัยข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้จากการทดลองมาอธิบายปรากฏการณ์ของการเกิด พฤติกรรมของอินทรีย์ นักจิตวิทยากลุ่มนี้ไม่ยอมรับการอธิบายปรากฏการณ์ของการเกิดพฤติกรรม ของอินทรีย์ว่าเป็นเพราะปัจจัยภายในของอินทรีย์ ทั้งนี้เนื่องจากว่าการอธิบายด้วยปัจจัยภายในนั้น เป็นการอธิบายโดยอาศัยหลักของภาวะสันนิษฐาน ไม่สามารถจะพิสูจน์ได้อย่างเชิงประจักษ์ แต่ ๑๑ นัตติมา ชูดวงแก้ว, “การศึกษาเปรียบเทียบเจตสิกธรรมในพระอภิธรรมปิ ฎกกับในพระ สุตตันตปิฎก” วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๕),หน้าข. ๑๒ สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต,ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม,พิมพ์ครั้งที่ ๔,(กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๓).
  • 8. ๘ จะมีความเชื่อว่าพฤติกรรมของอินทรีย์นั้นเกิดขึ้นเนื่องมาจากปัจจัยภายนอก หรือสภาพแวดล้อม เป็นหลัก ๑.๕.๖ ประเทือง ภูมิภัทราคม ได้กล่าวไว้ในหนังสือชื่อว่า “การปรับพฤติกรรม : ทฤษฎีและการประยุกต์”๑๓ สรุปใจความได้ว่า การปรับพฤติกรรมเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลง แก้ไขพฤติกรรมที่ค่อนข้างใหม่ได้มีการนามาใช้และเผยแพร่กันอย่างจริงจังเมื่อไม่นานมานี้ จาก การศึกษาค้นคว้าเอกสารที่ตีพิมพ์เผยแพร่ พบว่าได้มีการพัฒนาเทคนิคการปรับพฤติกรรมขึ้นมา และนาไปใช้แก้ไขเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างจริงจังเมื่อประมาณ ๓ ทศวรรษที่ผ่านมานี้เอง ยิ่งใน ประเทศไทยแล้ว การปรับพฤติกรรมยิ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่มาก จากหลักฐานเอกสารที่ปรากฏ พบว่าการปรับพฤติกรรมในประเทศไทยเริ่มเกิดขึ้นเมื่อประมาณ ๑๐ ปีเศษที่ผ่านมานี้เอง เรื่องการ ปรับพฤติกรรมจึงจัดว่าเป็นของใหม่สาหรับประเทศไทย ยังไม่เป็นที่รู้จักกันกว้างขวางนักในหมู่ ของนักจิตวิทยาและนักการศึกษา ๑.๕.๘ โสภณ ศรีกฤษฎาพร ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง”ความคิดมนุษย์ในพุทธปรัชญา”๑๔ ได้ กล่าวถึงพฤติกรรมไว้ว่า ตัวการที่เป็นผู้ประกอบกรรมโดยตรงคือ จิต ส่วนกายนั้นไม่ใช่เป็นตัวการ ที่เป็นผู้ประกอบกรรมโดยตรง แต่กายเป็นเพียงเครื่องมือให้จิตกระทากรรม ดังนั้น จิตนอกจาก อาศัยกายเป็นแนวทางในการรับรู้โลกภายนอกแล้ว ยังอาศัยกายเป็นเครื่องมือในการแสดง พฤติกรรมหรือการกระทาต่อโลกด้วย เพราะเหตุที่จิตแสดงพฤติกรรมหรือการกระทาต่อโลกโดย อาศัยกายเป็นฐานให้เกิดกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมนี้เอง จึงทาให้เกิดข้อปฏิบัติในแง่ จริยธรรมในสังคมมนุษย์ คือการกระทาดี กระทาชั่วการกระทาถูกและการกระทาผิด เป็นต้นขึ้น ๑.๕.๙ พระมหาพิเชษฐ์ ธีรวโส (ดอกรัก)๑๕ ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาเชิงวิเคราะห์ เรื่องกรรมและสังสารวัฏในพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีอิทธิพลต่อการดาเนินชีวิตของพุทธศาสนิกชน ไทยในปัจจุบัน” สรุปเนื้อความที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมได้ว่า สาเหตุที่ทาให้มนุษย์ที่แสดงออกซึ่ง พฤติกรรมนั้น เกิดจากกิเลสหรือตัณหา ซึ่งอยู่ในจิตของมนุษย์อันจะผลักดันให้มนุษย์เกิดความ ๑๓ ประเทือง ภูมิภัทราคม, การปรับพฤติกรรม : ทฤษฎีและการประยุกต์, (กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๐). ๑๔ โสภณ ศรีกฤษฎาพร, “ความคิดเรื่องมนุษย์ในพุทธปรัชญา”, กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัย กรุงเทพ,๒๕๓๐.(รายงานการวิจัย). ๑๕ พระมหาพิเชษฐ์ ธีรวโส (ดอกรัก), “การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องกรรมและสังสารวัฏในพุทธ ปรัชญาเถรวาทที่มีอิทธิพลต่อการดาเนินชีวิตของพุทธศาสนิกชนไทยในปัจจุบัน”, วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตร มหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย), ๒๕๓๔.
  • 9. ๙ ต้องการ ความปรารถนาจึงกระทากรรม (แสดงพฤติกรรม) ต่าง ๆ ออกมาตามแรงผลักดันของกุศล เจตสิกและอกุศลเจตสิก เมื่อบุคคลแสดงออกซึ่งพฤติกรรมด้านใดด้านหนึ่งย่อมมีผลแห่งพฤติกรรม นั้น และผลนั้นย่อมมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตบุคคลในชาตินี้(ปัจจุบัน) และชาติหน้า (อนาคต) การกระทา ของมนุษย์เป็นมรรคาที่จะนาไปสุ่สุคติและทุคติ การกระทาดีย่อมมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตที่เป็น ความสุข การกระทาที่เป็นความชั่ว ย่อมมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตที่เป็นความทุกข์ พุทธปรัชญาเถรวาท ให้ความสาคัญต่อการกระทาที่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์โดยดาเนินตามหลักของมัชฌิมาปฏิปทาเพื่อ ความไม่เกิดอีกต่อไป ๑.๕.๑๐ รุ่งทิพย์ กิจทา ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบทรรศนะเรื่องกรรมใน พุทธปรัชญากับปรัชญาเชน”๑๖ สรุปหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมมนุษย์ได้ว่า ในศาสนาทั้งสอง นั้น ต่างยอมรับว่ามนุษย์จะเป็นอะไร อย่างไร จะประสบความทุกข์ในชีวิตอย่างไรขึ้นอยู่กับกรรม (การกระทา ,พฤติกรรม) ที่เขากระทาไว้ในอดีตและที่กาลังกระทาอยู่ในปัจจุบัน ส่วนในอนาคต บุคคลจะมีสภาพเป็นอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับการกระทาของเขาในอดีตและปัจจุบันรวมกัน ถึงแม้ว่าใน ศาสนาทั้งสองจะเชื่อเรื่องกรรมเหมือนกัน แต่ก็เน้นเรื่องกรรมต่างกัน คือ ในกรรม ๓ อย่าง ที่แบ่ง ตามช่องทางแห่งการกระทา คือ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมนั้น พุทธปรัชญาเน้นมโนกรรม ว่ามีบทบาทมากที่สุดในเรื่องความหนักเบาของกรรม ส่วนปรัชญาเชนกลับเน้นกายกรรมว่าสาคัญ ที่สุด และให้ผลรุนแรงกว่ากรรมที่ทาทางวาจาและใจ ๑.๕.๗ พระชัชวาลย์ ศรีสุข ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “ศาสนากับการพัฒนาบุคลิกภาพ : ศึกษา เปรียบเทียบหลักคาสอนเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพในพระพุทธศาสนาและศาสนาคริสต์”๑๗ สรุปเนื้อความในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมไว้ว่า พฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์เป็นผลมาจากแรง ผลักดันของตัณหาเป็นหลักใหญ่ แม้ว่าตัณหาจะมิใช่ตัวเหตุโดยตรงของพฤติกรรม แต่เป็น แรงผลักดันให้เกิดพฤติกรรมในฐานะเป็นเงื่อนไขของการกระทา โดยใช้ปัญญา(โยนิโสมนสิการ) เป็นตัวแก้ปัญหาพฤติกรรมของมนุษย์ พฤติกรรมที่มีปัญญาเป็นตัวนาทาให้การพัฒนาบุคลิกภาพ เป็นไปด้วยดี ต้องอาศัยความเคยชิน(อุปนิสัย) เพราะถ้ามีพฤติกรรมเคยชินอย่างไร คนก็จะดาเนิน ๑๖ รุ่งทิพย์ กิจทา, “การศึกษาเปรียบเทียบทรรศนะเรื่องกรรมในพุทธปรัชญากับปรัชญาเชน”, วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต , (คณะอักษรศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ,๒๕๒๑. ๑๗ พระชัชวาลย์ศรีสุข, “ศาสนากับการพัฒนาบุคลิกภาพ : ศึกษาเปรียบเทียบหลักคาสอนเกี่ยวกับ การพัฒนาบุคลิกภาพในพุทธศาสนาและศาสนาคริสต์”,วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล), ๒๕๔๑.
  • 10. ๑๐ ชีวิตไปด้วยพฤติกรรมอย่างนั้น การพัฒนาบุคลิกภาพในพระพุทธศาสนาใช้การพัฒนาจิตใจไปทีละ ขั้นจนกว่าจะสิ้นกิเลส ด้วยการพัฒนาตนและสังคมตามหลักของศีล สมาธิ ปัญญา ๑.๖ ขอบเขตของการวิจัย งานวิจัยนี้ ได้จากัดขอบเขตของการวิจัย คือศึกษาประเด็นว่าด้วยความหมายและ ประเภทของพฤติกรรมในจิตวิทยา ความหมายของพฤติกรรมในแนวคิดของแบนดูร่า หลักการเรื่อง พฤติกรรมมนุษย์ของแบนดูร่า แนวทางการปรับพฤติกรรมมนุษย์ตามหลักของแบนดูร่า และ ความหมายและประเภทของกรรมในพระพุทธศาสนา แนวทัศนะเกี่ยวกับกรรมตามหลัก พระพุทธศาสนา การพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์ตามหลักพระพุทธศาสนา ระดับการพัฒนาพฤติกรรม ตามหลักพระพุทธศาสนา โดยมีขอบเขตการศึกษาเอกสารจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา และ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ๑.๗ วิธีดาเนินการวิจัย ขั้นตอนการวิจัย ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้จัดขั้นตอนในการศึกษา โดยสังเขปดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ ๑ เป็นการศึกษาความหมายและประเภทของพฤติกรรมในจิตวิทยา ความหมายของพฤติกรรมในแนวคิดของแบนดูร่า หลักการเรื่องพฤติกรรมมนุษย์ของแบนดูร่า แนว ทางการปรับพฤติกรรมมนุษย์ตามหลักของแบนดูร่า โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ ๒ เป็นการศึกษาความหมายและประเภทของกรรมในพระพุทธศาสนา แนว ทัศนะเกี่ยวกับกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา การพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์ตามหลัก พระพุทธศาสนา ระดับการพัฒนาพฤติกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา ขั้นตอนที่ ๓ เป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบระหว่างหลักการเรื่องพฤติกรรมมนุษย์ของ แบนดูร่ากับหลักการเรื่องกรรมตามหลักของพระพุทธศาสนา ขั้นตอนที่ ๔ เป็นการสรุปผลของการวิจัยที่ได้จากการศึกษาจากขั้นตอนที่ ๑ – ๓ ๑.๘ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ๑.๘.๑ ทาให้ทราบเรื่องรูปแบบการปรับพฤติกรรมตามหลักของวิทยาการสมัยใหม่ ๑.๘.๒ ทาให้ทราบเรื่องรูปแบบการปรับพฤติกรรมตามหลักของพระพุทธศาสนา ๑.๘.๓ ทาให้ทราบความเหมือนกันและความต่างกันของรูปแบบการปรับพฤติกรรม ของแบนดูร่ากับหลักการปรับพฤติกรรมของพระพุทธศาสนา