SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  10
Télécharger pour lire hors ligne
บทที่            1
                                                                 โครงข่ ายสื่ อสารข้ อมูล
                                                  (Data Communication Network)




1.1 แบบจําลองของระบบสื่ อสารข้ อมูล

        1                   2                 3                  4                5                6

   input            input data g         transmitted        received        output data g~      output
information           or signal             signal           signal            or signal     information
     m                  g (t)                s (t)            r (t)               ~
                                                                                 g (t)             ~
                                                                                                   m

                input                             transmission                           output
                                transmitter                            receiver
  agent        device                                medium                              device    agent


                        source system                                         destination system


                                รู ปที่ 1.1 แบบจําลองของระบบสื่ อสารข้อมูล

            จุดประสงค์พ้ืนฐานของการสื่ อสารข้อมูลคือ การแลกเปลี่ยนข่าวสาร (information) ระหว่าง
ผูใช้
  ้
2 การสือสารข้อมูลและโครงข่าย
       ่


          รู ปที่ 1.1 แสดงถึงแบบจําลองของระบบสื่ อสารข้อมูล ข่าวสารที่ตองการแลกเปลี่ยนกัน
                                                                           ้
  [m] จะถูกแปลงให้เป็ นข้อมูล (data) [g] ก่อนส่ ง โดยอุปกรณ์ดานเข้าหรื ออุปกรณ์รับข้อมูล (input
                                                             ้
  device)
  ตารางที่ 1.1 ข้อมูลและข่าวสาร
   ข้อมูล                                            การแทนความจริ ง (facts) ความคิดรวบยอด
                                                     (concepts) หรื อคําสอน (instructions) ด้วยแบบ
                                                     (manner) ที่เป็ นทางการและเหมาะสําหรับการ
                                                     สื่ อสาร การแปลความหมายหรื อการประมวลผล
                                                     ด้วยมนุษย์หรื อด้วยวิธีอตโนมัติ
                                                                             ั
   ข่าวสาร                                                                 ํ         ั
                                                     ความหมายที่มนุ ษย์กาหนดให้กบข้อมูลอย่างมี
                                                     ระเบียบแบบแผน

  ความหมายของข้อมูล (data) และข่าวสาร (information) แสดงในตารางที่ 1.1 กล่าวโดยสรุ ปคือ
            1) ข้อมูล เป็ นสิ่ งซึ่งสามารถแปลงให้เป็ นข่าวสารได้
            2) ข่าวสาร เป็ นสิ่ งซึ่งเกิดขึ้นจากการแปลความหมายของข้อมูล
            ข้อมูลด้านเข้า [g] ที่เปลี่ยนแปลงตามเวลา [g(t)] เป็ นสัญญาณ (signal) ที่เราต้องการส่ ง ซึ่ ง
                      ่
  โดยทัวไปยังไม่อยูในรู ปแบบที่เหมาะสมที่จะส่ งผ่านตัวกลางในการส่ งข้อมูล (transmission medium)
          ่
  จําเป็ นต้องได้รับการแปลงให้เป็ นสัญญาณส่ ง [s(t)] ที่เหมาะสม กล่าวคือ มีคุณสมบัติเข้ากันได้กบ       ั
  คุณสมบัติของตัวกลางในการส่ งข้อมูล โดยเครื่ องส่ ง (transmitter) เป็ นผูทาหน้าที่น้ ี หลังจากนั้นข้อมูล
                                                                          ้ ํ
  จะถูกส่ งผ่านไปยังเครื่ องรับ (receiver) ในรู ปของสัญญาณรับ [r(t)] ซึ่ งมีลกษณะผิดเพี้ยนไปจาก
                                                                                ั
  สัญญาณส่ ง [s(t)] เนื่ องจากสัญญาณรบกวน (noise) ในขณะส่ งผ่านตัวกลางในการส่ งข้อมูล เครื่ องรับ
                                              ่
  ทําหน้าที่แปลงสัญญาณ [r(t)] นี้ ให้อยูในรู ปของสัญญาณ [ g (t ) ] หรื อข้อมูลด้านออก [ g ] ซึ่ งมี
                                                                 ~                             ~

  ลักษณะใกล้เคียงกับข้อมูลเดิม [g] มากที่สุด สุ ดท้ายอุปกรณ์ดานออก (output device) ทําหน้าที่แปลง
                                                                 ้
  ข้อมูลด้านออก [ g ] ให้เป็ นข่าวสารด้านออก [ m ] ซึ่งใกล้เคียงกับข่าวสารด้านเข้า [m] ให้มากที่สุด
                    ~                              ~
โครงข่ายสือสารข้อมูล 3
                                                                             ่


        ยกตัวอย่างเช่นในระบบไปรษณี ยอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail system) เราเทียบส่ วน
                                      ์
ต่าง ๆ ของระบบกับแบบจําลองในรู ปที่ 1.1 ดังแสดงในตารางที่ 1.2 และ 1.3 ดังนี้

ตารางที่ 1.2 เปรี ยบเทียบฮาร์ ดแวร์ ต่าง ๆ ของระบบไปรษณี ยอิเล็กทรอนิ กส์กบแบบจําลองของ
                                                          ์               ั
             ระบบสื่ อสารข้อมูล

                แบบจําลอง                              ระบบไปรษณีย์อเิ ล็กทรอนิกส์
 อุปกรณ์ดานเข้า ้                            คียบอร์ด
                                                ์
 เครื่ องส่ ง                                โมเด็ม
 ตัวกลางในการส่ งข้อมูล                      สายโทรศัพท์
 เครื่ องรับ                                 โมเด็ม
 อุปกรณ์ดานออก้                              เครื่ องพิมพ์หรื อจอภาพ

                                                                           ั
ตารางที่ 1.3 เปรี ยบเทียบสัญญาณในส่ วนต่าง ๆ ของระบบไปรษณี ยอิเล็กทรอนิกส์กบแบบจําลอง
                                                            ์
             ของระบบสื่ อสารข้อมูล

              แบบจําลอง                             ระบบไปรษณีย์อเิ ล็กทรอนิกส์
 1. ข่าวสารด้านเข้า, m                ข้อความที่ตองการส่ ง
                                                  ้
 2. ข้อมูลด้านเข้า, g                 ตัวอักษรที่พิมพ์เข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจํา
    สัญญาณด้านเข้า, g(t)              ขบวนบิตที่ส่งออกไปยังโมเด็มผ่านสายเคเบิล
 3. สัญญาณส่ ง, s(t)                  สัญญาณไฟฟ้ าที่ส่งออกไปผ่านสายโทรศัพท์
 4. สัญญาณรับ, r(t)                   สัญญาณไฟฟ้ าที่เครื่ องรับรับจากสายโทรศัพท์
 5. สัญญาณด้านออก, g (t )
                        ~             ขบวนบิตที่ได้ออกมาจากโมเด็ม
    ข้อมูลด้านออก, g  ~               ตัวอักษรที่เก็บไว้ในหน่วยความจําก่อนแสดงผล
 6. ข่าวสารด้านออก, m   ~             ข้อความที่รับมาปรากฏบนเครื่ องพิมพ์หรื อจอภาพ
4 การสือสารข้อมูลและโครงข่าย
       ่


  1.2 การประยุกต์ ใช้ งานโครงข่ ายสื่ อสารข้ อมูล
             เราสามารถแบ่ งโครงข่า ยสื่ อสารข้อมูลตามความต้องการที่ เ กี่ ยวกับระยะเวลาในการ
  แลกเปลี่ยนข่าวสารได้เป็ น 2 ประเภท คือ
             1. การประยุกต์ใช้งานแบบเวลาจริ ง (real time)
             ต้องการการตอบสนองจากคอมพิวเตอร์ระยะไกล (remote computer) ทันทีก่อนที่กระบวนการ
  ถัดไปจะเกิดขึ้นในกระบวนการทํางานหรื อการตอบโต้ระหว่างผูใช้      ้
             2. การประยุกต์ใช้งานแบบไม่ใช่เวลาจริ ง (non real time)
             ข้อมูลจะถูกส่ งจากระบบหนึ่ งไปยังอีกระบบหนึ่ ง โดยไม่ตองการการตอบสนองทันทีทนใด
                                                                    ้                             ั
  จากคอมพิวเตอร์ระยะไกล
             โดยปกติแล้วการประยุกต์ใช้งานแบบเวลาจริ ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับมนุษย์ เช่น ตูเ้ บิกเงินธนาคาร
  (ตู ้ ATM) หรื อตัวแทนจองตัวเครื่ องบิน ต้องการการตอบสนองภายในเวลา 2-3 วินาที หรื อน้อย
                                  ๋
  กว่านั้น สิ่ งนี้ ทาให้เราต้องการระบบสื่ อสารข้อมูลและคอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคลที่สามารถตอบสนอง
                     ํ
  เช่นนี้ได้
             การประยุกต์ใช้งานแบบเวลาจริ งอื่น ๆ อาจจะเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์อตโนมัติ เช่น การ
                                                                                 ั
  ควบคุมเครื่ องยนต์ การควบคุมเส้นทางของยานอวกาศ เป็ นต้น
             การประยุกต์ใช้งานแบบไม่ใช่เวลาจริ ง อาจไม่ตองการการตอบสนองที่รวดเร็ ว แต่ยงคง
                                                              ้                                     ั
  ต้องการการตอบสนองที่แม่นและเชื่อถือได้ ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานแบบนี้ คือ ไปรษณี ย ์
  อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail) และสํานักงานอัตโนมัติ (office automation) เป็ นต้น

  1.3 การต่ อถึงกันในโครงข่ ายสื่ อสารข้ อมูล
          ทอพอโลยีโครงข่าย (network topology) อธิบายถึงความสัมพันธ์เฉพาะระหว่างส่ วนต่าง ๆ
  ของโครงข่ายคอมพิวเตอร์ ในแง่ของการต่อถึงระหว่างกัน (interconnection) หน้าที่การทํางาน
  (functionality) และตําแหน่งที่ต้ ง (geographic position)
                                   ั
โครงข่ายสือสารข้อมูล 5
                                                                                 ่


          โดยทัวไป ทอพอโลยีโครงข่ายมี 5 แบบ ดังจะได้กล่าวถึงต่อไป เราเรี ยกคอมพิวเตอร์ ซ่ ึงมี
                ่
ส่ วนร่ วมในการส่ งผ่านข้อมูลข้ามโครงข่ายว่า โนด (node) ซึ่งอาจเป็ นคอมพิวเตอร์ตวเดียวโดด ๆ
                                                                                  ั
(standalone computer) หรื อแผ่นบอร์ ดภายในคอมพิวเตอร์ ที่มีหน้าที่เฉพาะสําหรับเคลื่อนย้าย
ข้อมูลผ่านโครงข่าย โนดอาจติดต่อกับคอมพิวเตอร์ อื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าหรื อคอมพิวเตอร์ หลัก
(host) ซึ่ งสนับสนุนการทํางานของผูใช้โดยการเก็บและจัดการข้อมูลของผูใช้ ในการประยุกต์ใช้
                                       ้                                  ้
งานบางอย่าง เราอาจได้หน้าที่การทํางานของโครงข่ายอย่างหนึ่งจากโนด และได้หน้าที่การทํางาน
อื่นจากคอมพิวเตอร์ หลัก ยกตัวอย่างเช่น โนดอาจทําหน้าที่จดเส้นทางการส่ งข้อมูลข้ามโครงข่าย
                                                            ั
ในขณะที่คอมพิวเตอร์หลักอาจทําหน้าที่ตรวจวัดและแก้ความผิดพลาดในการส่ งข้อมูล
                                             ่ ั
          ทอพอโลยีเฉพาะแบบหนึ่ง ๆ ขึ้นอยูกบขอบเขตทางภูมิศาสตร์ของโครงข่ายนั้น ๆ เราเรี ยก
โครงข่ายซึ่ งมี ขอบเขตจํากัดอยู่ภายในบริ ษทหรื อภายในมหาวิทยาลัยว่าโครงข่ายพื้นที่ทองถิ่ น
                                              ั                                          ้
(Local Area Networks หรื อ LANs) ซึ่ งเป็ นทอพอโลยีแนวราบ (horizontal topologies) ทําหน้าที่
ต่อถึงกันกับคอมพิวเตอร์ซ่ ึงมีความสามารถใกล้เคียงกัน ส่ วนโครงข่ายซึ่ งครอบคลุมระยะทางไกล
เรี ยกว่าโครงข่ายพื้นที่กว้าง (Wide Area Networks หรื อ WANs) ซึ่งเป็ นทอพอโลยีแนวตั้ง (vertical
topologies) ทําหน้าที่ต่อถึงกันกับคอมพิวเตอร์ซ่ ึงอาจมีความสามารถแตกต่างกันมาก เช่น อาจต่อ
คอมพิว เตอร์ ส่ว นบุ คคลธรรมดากับคอมพิว เตอร์ ห ลัก ซึ่ งมี ความสามารถในการจัด การข้อมูล
แตกต่างกันมาก อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบติการประยุกต์ใช้งานอย่างหนึ่ ง อาจเป็ นแบบทอพอโลยี
                                           ั
เดียวโดด ๆ หรื ออาจมีทอพอโลยีหลายแบบปนกันก็ได้

        1.3.1 ทอพอโลยีแนวราบ (Horizontal Topologies)
                          ั ั
        ทอพอโลยีแนวราบที่มกใช้กนบ่อย ๆ ในโครงข่ายพื้นที่ทองถิ่นมี 3 แบบ ดังนี้
                                                         ้
         1.3.1.1 ทอพอโลยีแบบดาว (Star Topology)
         ทอพอโลยีแบบดาวเป็ นทอพอโลยีแบบที่ง่ายที่สุดใช้แทนโครงข่ายที่มีโนดหลาย ๆ โนด
เชื่อมโยงเข้ากับโนดสวิตชิงศูนย์กลาง (central switching node) ดังแสดงในรู ปที่ 1.2 (a) การ
สื่ อสารในโครงข่ายทั้งหมดจะต้องเดินทางผ่านโนดศูนย์กลางนี้ หน้าที่ที่สาคัญของโนดศูนย์กลางก็
                                                                     ํ
คือ การทําหน้าที่อานวยความสะดวกในการสื่ อสารระหว่างโนดรอบนอกของรู ปดาว กล่าวคือ
                    ํ
เหมือนกับเป็ นอุปกรณ์ควบคุมการสื่ อสาร (communications controller) ข้อดีของทอพอโลยีแบบนี้
ก็คือ โครงสร้างมีรูปแบบที่ง่าย และเราสามารถเพิ่มหรื อลดจํานวนโนดรอบนอกของรู ปดาวได้โดย
6 การสือสารข้อมูลและโครงข่าย
       ่


  เพียงแต่แก้ไขตัวโนดศูนย์กลาง ส่ วนข้อเสี ยที่สาคัญคือโครงข่ายมีโอกาสล้มเหลว (failure) ได้ง่าย
                                                 ํ
  ถ้าโนดศูนย์กลางเกิดล้มเหลวขึ้นมา ดังนั้น โดยปกติในทางปฏิบติจะมีการสํารอง (back up) โนด
                                                               ั
  ศูนย์กลางเพื่อทําให้โครงข่ายมีความเชื่อถือได้สูงขึ้น
             1.3.1.2 ทอพอโลยีแบบบัส (Bus Topology)
             ในทอพอโลยีแบบบัส โนดทุกโนดของโครงข่ายติดต่อสื่ อสารผ่านตัวกลางในการส่ ง
  ข้อมูลตัวเดียวกัน (common transmission medium) ดังแสดงในรู ปที่ 1.2 (b) ทั้งสัญญาณที่เป็ นข้อมูล
  และสัญญาณควบคุมจะถูกแพร่ สญญาณ (broadcast) ไปยังโนดทุกโนดพร้อมกัน โนดแต่ละโนดจะมี
                                   ั
  ที่อยู่ (address) เฉพาะตัว ดังนั้น ถึงแม้ว่าโนดทุกโนดจะได้รับข่าวสารเหมือนกันทั้งหมดจากบัส
  จะมีเพียงโนดซึ่งมีที่อยูตรงกับที่กาหนดโดยผูส่งเท่านั้นที่จะรับทราบข้อมูลนั้น วิธีการที่โนดเข้าถึง
                           ่         ํ          ้
  ตัวกลางเพื่อส่ งข้อมูลนั้นมีหลายวิธี เช่น คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่ องอาจได้รับอนุญาตให้เข้าถึงตัวกลาง
  ได้จากคอมพิวเตอร์ตวอื่นภายในโครงข่าย (เรี ยกว่า วิธีการเข้าถึงตัวกลางแบบ token-passing) หรื อ
                         ั
  ได้รับอนุญาตจากโนดหลัก หรื อ master node (เรี ยกว่า วิธีการเข้าถึงตัวกลางแบบ polling)
             ข้อดีของทอพอโลยีแบบบัส คือ (1) เพิ่มหรื อลดจํานวนผูใช้ได้ง่าย (2) ส่ งข้อมูลได้ดวย
                                                                      ้                           ้
  ความเร็ วสู ง เนื่องจากไม่ตองเลือกเส้นทางในการส่ งข้อมูลผ่านโนดระหว่างทาง
                              ้
           1.3.1.3 ทอพอโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology)
           ทอพอโลยีแบบวงแหวนมีลกษณะดังแสดงในรู ปที่ 1.2 (c) กล่าวคือ มีเส้นทางระหว่าง
                                     ั
                                                                                   ่ ั
  โนดของโครงข่ายบรรจบกันเป็ นวงกลม โดยที่โนดแต่ละโนดต่อถึงกันกับโนดอื่น 2 โนดที่อยูใกล้กน
  การไหลของข้อมูลอาจเป็ นแบบไหลไปในทิศทางเดียว (unidirectional) หรื อไหลได้ท้ ง 2 ทิศทาง
                                                                              ั
  (bidirectional)
           วิธีการในการแบ่งกันใช้ตวกลางรู ปวงแหวนนี้มี 2 วิธี ดังนี้
                                  ั
           1) ให้ผส่งแต่ละคนแย่งกันเข้าถึงตัวกลาง
                    ู้
           2) ให้สิทธิในการเข้าถึงตัวกลางโดยการใช้โทเค็น
โครงข่ายสือสารข้อมูล 7
                                       ่




       (a) แบบดาว




       (b) แบบบัส




     (c) แบบวงแหวน

รู ปที่ 1.2 ทอพอโลยีแนวราบ
8 การสือสารข้อมูลและโครงข่าย
       ่


           ในสหรัฐอเมริ กา token-passing เป็ นวิธีการเข้าถึงตัวกลางที่เป็ นที่นิยมมากที่สุดสําหรับ
  ทอพอโลยีแบบวงแหวน วิธี token-passing ทําให้เกิดการประวิงเวลาที่โนดแต่ละโนดในการตรวจสอบ
  ดูว่าข้อมูลที่ส่งเข้ามายังโนดนั้น ๆ เป็ นโทเค็นหรื อข่าวสารแบบอื่น ๆ ข้อดีของ token-passing ring
  ก็คือสมรรถนะที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพ แม้ว่าจะอยูภายใต้สภาวะที่มีโหลดมาก ข้อเสี ยคือเกิดการ
                                                      ่
  ประวิงเวลาค่อนข้างมาก ตั้งแต่เริ่ มมีความต้องการเข้าถึงตัวกลางจนกระทังได้รับโทเค็น และใน
                                                                             ่
  กรณี ที่โทเค็นสู ญหายไป การประวิงเวลาจะยิงนานขึ้นไปอีก เนื่องจากต้องรอให้โครงข่ายฟื้ นตัวสู่
                                                 ่
  สภาพปกติ (recovery) เสี ยก่อนอีกด้วย

           1.3.2 ทอพอโลยีแนวตั้ง (Vertical Topologies)
              1.3.2.1 ทอพอโลยีแบบลําดับชั้น (Hierarchical Topology)
              ทอพอโลยีแบบลําดับชั้น (รู ปที่ 1.3 (a)) อธิ บายโครงข่ายซึ่งต่อถึงกันระหว่างคอมพิวเตอร์
  หลักซึ่งนับวันยิงมีความรับผิดชอบด้านการจัดการข้อมูล (data management) มากขึ้นเรื่ อย ๆ โครงข่าย
                     ่
  ในลักษณะเช่นนี้ ไม่ได้ถูกกําหนดโดยวิธีการที่โครงข่ายควบคุมการเข้าถึงตัวกลาง แต่ถูกกําหนด
  โดยวิธีการที่โครงข่ายให้การสนับสนุน (support) ผูใช้ คุณลักษณะที่สาคัญอย่างหนึ่งของทอพอโลยี
                                                         ้                   ํ
            ็
  แบบนี้กคือ การประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์หลักในลําดับชั้นที่สูงขึ้นไปจะมีขีดความสามารถ
  ที่สูงขึ้น ตัวอย่างเช่น การซื้อขายทางธุรกิจที่เกิดขึ้นในลําดับชั้นตํ่าสุ ด ณ จุดขาย (point-of-sale หรื อ
  POS) จะได้รับการจัดการโดยระบบไมโครคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตาม การซื้อขายนั้นยังไม่เสร็ จสิ้ น
  สมบูรณ์จนกว่าระบบใช้งานทัวไป (general-purpose system) ในลําดับชั้นที่สูงขึ้นไปจะได้แก้ไข
                                    ่
  ฐานข้อมูลสิ นค้าคงคลังให้เสร็ จสิ้ นเสี ยก่อน
              1.3.2.2 ทอพอโลยีแบบเมช (Mesh Topology)
              โครงข่ายพื้นที่กว้าง (Wide Area Network หรื อ WAN) จํานวนมากมีทอพอโลยีเป็ นแบบ
  เมช (รู ปที่ 1.3 (b)) ซึ่ งจะมีรูปร่ างทางเรขาคณิ ตที่ไม่แน่นอน ตัวอย่างของโครงข่ายที่มีทอพอโลยี
  แบบนี้คือ อินเทอร์เน็ตของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (DoD หรื อ Department of Defense) ซึ่งมีอีก
  ชื่อหนึ่ งว่า ARPANET ในโครงข่ายอินเทอร์ เน็ตจะมีคอมพิวเตอร์หลักจากผูผลิตต่าง ๆ ซึ่งมีขนาด
                                                                                   ้
  ต่าง ๆ กัน แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน
โครงข่ายสือสารข้อมูล 9
                                       ่




                                  ระดับที่ 3


                                  ระดับที่ 2



                                  ระดับที่ 1

    (a) แบบลําดับชั้น




       (b) แบบเมช

รูปที่ 1.3 ทอพอโลยีแนวตั้ง
10 การสือสารข้อมูลและโครงข่าย
        ่


   1.4 ตัวอย่ างของโครงข่ ายสื่ อสารข้ อมูล
         ต่อไปนี้ จะได้กล่าวถึงตัวอย่างการใช้งานโครงข่ายสื่ อสารข้อมูล 3 แบบ เพื่อเป็ นการอธิ บาย
   สภาพการต่อถึงกัน (connectivities) และทอพอโลยี

            1.4.1 ธุรกิจขนาดเล็ก
            ธุรกิจขนาดเล็กซึ่งมีอุปกรณ์การผลิตขนาดย่อมอาจนําคอมพิวเตอร์ มาใช้งานในด้านต่าง ๆ
   ดังนี้
             1) บัญชี เช่น เงินเดือน ภาษี ทํานายต้นทุน และสรุ ปรายการรับคําสังซื้อ
                                                                             ่
             2) การผลิต เช่น สิ นค้าคงคลัง และตารางการผลิต
             3) สังซื้อ เช่น ข้อมูลผูขาย ข้อมูลราคาสิ นค้า
                  ่                   ้
             4) วิศวกรรม เช่น ข้อมูลด้านเทคนิ ค ข้อมูลการออกแบบ การออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์
   ช่วย (computer-aided design หรื อ CAD) และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
             5) การตลาด เช่น ตารางการนัดหมายลูกค้า ต้นทุนผลิตภัณฑ์ ฐานข้อมูลลูกค้า และการ
   จัดเตรี ยมข้อเสนอสิ นค้า
             6) บุคคล เช่น ประวัติบุคคล ข้อมูลค่าจ้างขั้นตํ่า
             แต่ละแผนกจะมีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มินิคอมพิวเตอร์ และสถานี งาน (workstation)
   เพื่อให้แผนกนั้น ๆ สามารถทํางานตามหน้าที่ที่รับผิดชอบได้ แผนกบัญชี จัดซื้อ และการตลาดอาจมี
   สเปรดชีตซอฟต์แวร์ (spread sheet software) ในขณะที่แผนกวิศวกรรมอาจมีซอฟต์แวร์ ช่วยใน
   การออกแบบ (CAD)
             คอมพิวเตอร์ ในแต่ละแผนกอาจมีการใช้งานเป็ นแบบเครื่ องเดี ยวโดด ๆ (stand alone)
   อย่างไรก็ตาม การใช้งานคอมพิวเตอร์ ร่วมกันในลักษณะเป็ นโครงข่ายจะทําให้การทํางานมี
   ประสิ ทธิ ภาพเพิ่มมากขึ้น (รู ปที่ 1.4) โครงข่ายคอมพิวเตอร์ซ่ ึ งครอบคลุมทุกแผนกในบริ ษทไว้
                                                                                            ั
   ทั้งหมด นอกจากจะทําให้แต่ละแผนกสามารถทํางานตามหน้าที่ความรับผิดชอบได้แล้ว ยังทําให้
   แต่ละแผนกสามารถแบ่งกันใช้ขอมูลและทรัพยากรอื่น ๆ ได้เมื่อต้องการอีกด้วย การส่ งหนังสื อเวียนก็
                                    ้
   สามารถทําได้ง่ายขึ้นโดยการใช้ซอฟต์แวร์ ไปรษณี ยอิเล็กทรอนิ กส์ (electronic mail software) ใน
                                                       ์

Contenu connexe

Tendances

สื่อการเรียนการสอน วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
สื่อการเรียนการสอน วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายสื่อการเรียนการสอน วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
สื่อการเรียนการสอน วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายNote Narudaj
 
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ม.5/8
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ม.5/8ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ม.5/8
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ม.5/8Nuttapat Sukcharoen
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศWarakon Phommanee
 
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์nipaporn333
 
ความหมายและพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายและพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ความหมายและพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายและพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ วีรวัฒน์ สว่างแสง
 
ใบความรู้ที่ 2 ประเภทและองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ.pdf
ใบความรู้ที่ 2 ประเภทและองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ.pdfใบความรู้ที่ 2 ประเภทและองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ.pdf
ใบความรู้ที่ 2 ประเภทและองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ.pdfNattapon
 
การสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลchukiat008
 
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ม.1
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ม.1เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ม.1
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ม.1Morn Suwanno
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต (Internet Fundamental)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต (Internet Fundamental)ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต (Internet Fundamental)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต (Internet Fundamental)Dr.Kridsanapong Lertbumroongchai
 
การสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลKanokwan Kanjana
 
Data communication and network
Data communication and networkData communication and network
Data communication and networkkamol
 

Tendances (15)

Computer network
Computer networkComputer network
Computer network
 
สื่อการเรียนการสอน วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
สื่อการเรียนการสอน วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายสื่อการเรียนการสอน วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
สื่อการเรียนการสอน วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
 
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ม.5/8
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ม.5/8ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ม.5/8
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ม.5/8
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 
ความหมายและพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายและพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ความหมายและพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายและพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
ใบความรู้ที่ 2 ประเภทและองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ.pdf
ใบความรู้ที่ 2 ประเภทและองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ.pdfใบความรู้ที่ 2 ประเภทและองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ.pdf
ใบความรู้ที่ 2 ประเภทและองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ.pdf
 
Network
NetworkNetwork
Network
 
Amonrat
AmonratAmonrat
Amonrat
 
การสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูล
 
การสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูล
 
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ม.1
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ม.1เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ม.1
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ม.1
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต (Internet Fundamental)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต (Internet Fundamental)ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต (Internet Fundamental)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต (Internet Fundamental)
 
การสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูล
 
Data communication and network
Data communication and networkData communication and network
Data communication and network
 

En vedette

9789740332978
97897403329789789740332978
9789740332978CUPress
 
9789740329794
97897403297949789740329794
9789740329794CUPress
 
9789740332978
97897403329789789740332978
9789740332978CUPress
 
9789740333036
97897403330369789740333036
9789740333036CUPress
 
9789740331841
97897403318419789740331841
9789740331841CUPress
 
9789740331322
97897403313229789740331322
9789740331322CUPress
 
9789740333005
97897403330059789740333005
9789740333005CUPress
 
9789740332633
97897403326339789740332633
9789740332633CUPress
 
9789740333081
97897403330819789740333081
9789740333081CUPress
 
9789740331315
97897403313159789740331315
9789740331315CUPress
 

En vedette (10)

9789740332978
97897403329789789740332978
9789740332978
 
9789740329794
97897403297949789740329794
9789740329794
 
9789740332978
97897403329789789740332978
9789740332978
 
9789740333036
97897403330369789740333036
9789740333036
 
9789740331841
97897403318419789740331841
9789740331841
 
9789740331322
97897403313229789740331322
9789740331322
 
9789740333005
97897403330059789740333005
9789740333005
 
9789740332633
97897403326339789740332633
9789740332633
 
9789740333081
97897403330819789740333081
9789740333081
 
9789740331315
97897403313159789740331315
9789740331315
 

Similaire à 9789740329770

หน่วยที่ 1 การสื่อสารข้อมูล.pptx
หน่วยที่ 1 การสื่อสารข้อมูล.pptxหน่วยที่ 1 การสื่อสารข้อมูล.pptx
หน่วยที่ 1 การสื่อสารข้อมูล.pptxssuser5d9f4f
 
การสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลchukiat008
 
การสื่อสารบทที่ 3 เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารบทที่ 3 เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลการสื่อสารบทที่ 3 เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารบทที่ 3 เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลBebearjang1
 
บทที่ 6. การสื่อสารโทรคมนาคมและเครือข่าย
บทที่ 6. การสื่อสารโทรคมนาคมและเครือข่ายบทที่ 6. การสื่อสารโทรคมนาคมและเครือข่าย
บทที่ 6. การสื่อสารโทรคมนาคมและเครือข่ายPokypoky Leonardo
 
ความหมายและองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายและองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศความหมายและองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายและองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศsea111111
 
บทที่ 1 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 1 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศบทที่ 1 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 1 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศpeter dontoom
 
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์nipaporn333
 
แม็พคอม
แม็พคอมแม็พคอม
แม็พคอมNattanaree
 
บทบาทการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
บทบาทการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์บทบาทการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
บทบาทการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ธีรภัฎ คำปู่
 
บทบาทการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
บทบาทการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์บทบาทการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
บทบาทการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ธีรภัฎ คำปู่
 
ใบความรู้ การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ใบความรู้ การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์อยู่ไหน เหงา
 
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์Warayut Pakdee
 
ความหมายและความสำคัญของการสื่อสารข้อมูล
ความหมายและความสำคัญของการสื่อสารข้อมูลความหมายและความสำคัญของการสื่อสารข้อมูล
ความหมายและความสำคัญของการสื่อสารข้อมูลPinku Inthira
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ Work3-39
เทคโนโลยีสารสนเทศ Work3-39เทคโนโลยีสารสนเทศ Work3-39
เทคโนโลยีสารสนเทศ Work3-39Thamonwan Phasopbuchatham
 

Similaire à 9789740329770 (20)

หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ
หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศหน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ
หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
หน่วยที่ 1 การสื่อสารข้อมูล.pptx
หน่วยที่ 1 การสื่อสารข้อมูล.pptxหน่วยที่ 1 การสื่อสารข้อมูล.pptx
หน่วยที่ 1 การสื่อสารข้อมูล.pptx
 
การสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูล
 
การสื่อสารบทที่ 3 เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารบทที่ 3 เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลการสื่อสารบทที่ 3 เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารบทที่ 3 เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล
 
บทที่ 6. การสื่อสารโทรคมนาคมและเครือข่าย
บทที่ 6. การสื่อสารโทรคมนาคมและเครือข่ายบทที่ 6. การสื่อสารโทรคมนาคมและเครือข่าย
บทที่ 6. การสื่อสารโทรคมนาคมและเครือข่าย
 
ความหมายและองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายและองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศความหมายและองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายและองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ
หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศหน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ
หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
บทที่ 1 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 1 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศบทที่ 1 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 1 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
Unit1
Unit1Unit1
Unit1
 
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 
แม็พคอม
แม็พคอมแม็พคอม
แม็พคอม
 
บทบาทการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
บทบาทการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์บทบาทการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
บทบาทการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 
บทบาทการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
บทบาทการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์บทบาทการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
บทบาทการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 
Data communication and network
Data communication and networkData communication and network
Data communication and network
 
Data communication and network
Data communication and networkData communication and network
Data communication and network
 
ใบความรู้ การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ใบความรู้ การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 
Network
NetworkNetwork
Network
 
ความหมายและความสำคัญของการสื่อสารข้อมูล
ความหมายและความสำคัญของการสื่อสารข้อมูลความหมายและความสำคัญของการสื่อสารข้อมูล
ความหมายและความสำคัญของการสื่อสารข้อมูล
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ Work3-39
เทคโนโลยีสารสนเทศ Work3-39เทคโนโลยีสารสนเทศ Work3-39
เทคโนโลยีสารสนเทศ Work3-39
 

Plus de CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

Plus de CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740329770

  • 1. บทที่ 1 โครงข่ ายสื่ อสารข้ อมูล (Data Communication Network) 1.1 แบบจําลองของระบบสื่ อสารข้ อมูล 1 2 3 4 5 6 input input data g transmitted received output data g~ output information or signal signal signal or signal information m g (t) s (t) r (t) ~ g (t) ~ m input transmission output transmitter receiver agent device medium device agent source system destination system รู ปที่ 1.1 แบบจําลองของระบบสื่ อสารข้อมูล จุดประสงค์พ้ืนฐานของการสื่ อสารข้อมูลคือ การแลกเปลี่ยนข่าวสาร (information) ระหว่าง ผูใช้ ้
  • 2. 2 การสือสารข้อมูลและโครงข่าย ่ รู ปที่ 1.1 แสดงถึงแบบจําลองของระบบสื่ อสารข้อมูล ข่าวสารที่ตองการแลกเปลี่ยนกัน ้ [m] จะถูกแปลงให้เป็ นข้อมูล (data) [g] ก่อนส่ ง โดยอุปกรณ์ดานเข้าหรื ออุปกรณ์รับข้อมูล (input ้ device) ตารางที่ 1.1 ข้อมูลและข่าวสาร ข้อมูล การแทนความจริ ง (facts) ความคิดรวบยอด (concepts) หรื อคําสอน (instructions) ด้วยแบบ (manner) ที่เป็ นทางการและเหมาะสําหรับการ สื่ อสาร การแปลความหมายหรื อการประมวลผล ด้วยมนุษย์หรื อด้วยวิธีอตโนมัติ ั ข่าวสาร ํ ั ความหมายที่มนุ ษย์กาหนดให้กบข้อมูลอย่างมี ระเบียบแบบแผน ความหมายของข้อมูล (data) และข่าวสาร (information) แสดงในตารางที่ 1.1 กล่าวโดยสรุ ปคือ 1) ข้อมูล เป็ นสิ่ งซึ่งสามารถแปลงให้เป็ นข่าวสารได้ 2) ข่าวสาร เป็ นสิ่ งซึ่งเกิดขึ้นจากการแปลความหมายของข้อมูล ข้อมูลด้านเข้า [g] ที่เปลี่ยนแปลงตามเวลา [g(t)] เป็ นสัญญาณ (signal) ที่เราต้องการส่ ง ซึ่ ง ่ โดยทัวไปยังไม่อยูในรู ปแบบที่เหมาะสมที่จะส่ งผ่านตัวกลางในการส่ งข้อมูล (transmission medium) ่ จําเป็ นต้องได้รับการแปลงให้เป็ นสัญญาณส่ ง [s(t)] ที่เหมาะสม กล่าวคือ มีคุณสมบัติเข้ากันได้กบ ั คุณสมบัติของตัวกลางในการส่ งข้อมูล โดยเครื่ องส่ ง (transmitter) เป็ นผูทาหน้าที่น้ ี หลังจากนั้นข้อมูล ้ ํ จะถูกส่ งผ่านไปยังเครื่ องรับ (receiver) ในรู ปของสัญญาณรับ [r(t)] ซึ่ งมีลกษณะผิดเพี้ยนไปจาก ั สัญญาณส่ ง [s(t)] เนื่ องจากสัญญาณรบกวน (noise) ในขณะส่ งผ่านตัวกลางในการส่ งข้อมูล เครื่ องรับ ่ ทําหน้าที่แปลงสัญญาณ [r(t)] นี้ ให้อยูในรู ปของสัญญาณ [ g (t ) ] หรื อข้อมูลด้านออก [ g ] ซึ่ งมี ~ ~ ลักษณะใกล้เคียงกับข้อมูลเดิม [g] มากที่สุด สุ ดท้ายอุปกรณ์ดานออก (output device) ทําหน้าที่แปลง ้ ข้อมูลด้านออก [ g ] ให้เป็ นข่าวสารด้านออก [ m ] ซึ่งใกล้เคียงกับข่าวสารด้านเข้า [m] ให้มากที่สุด ~ ~
  • 3. โครงข่ายสือสารข้อมูล 3 ่ ยกตัวอย่างเช่นในระบบไปรษณี ยอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail system) เราเทียบส่ วน ์ ต่าง ๆ ของระบบกับแบบจําลองในรู ปที่ 1.1 ดังแสดงในตารางที่ 1.2 และ 1.3 ดังนี้ ตารางที่ 1.2 เปรี ยบเทียบฮาร์ ดแวร์ ต่าง ๆ ของระบบไปรษณี ยอิเล็กทรอนิ กส์กบแบบจําลองของ ์ ั ระบบสื่ อสารข้อมูล แบบจําลอง ระบบไปรษณีย์อเิ ล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ดานเข้า ้ คียบอร์ด ์ เครื่ องส่ ง โมเด็ม ตัวกลางในการส่ งข้อมูล สายโทรศัพท์ เครื่ องรับ โมเด็ม อุปกรณ์ดานออก้ เครื่ องพิมพ์หรื อจอภาพ ั ตารางที่ 1.3 เปรี ยบเทียบสัญญาณในส่ วนต่าง ๆ ของระบบไปรษณี ยอิเล็กทรอนิกส์กบแบบจําลอง ์ ของระบบสื่ อสารข้อมูล แบบจําลอง ระบบไปรษณีย์อเิ ล็กทรอนิกส์ 1. ข่าวสารด้านเข้า, m ข้อความที่ตองการส่ ง ้ 2. ข้อมูลด้านเข้า, g ตัวอักษรที่พิมพ์เข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจํา สัญญาณด้านเข้า, g(t) ขบวนบิตที่ส่งออกไปยังโมเด็มผ่านสายเคเบิล 3. สัญญาณส่ ง, s(t) สัญญาณไฟฟ้ าที่ส่งออกไปผ่านสายโทรศัพท์ 4. สัญญาณรับ, r(t) สัญญาณไฟฟ้ าที่เครื่ องรับรับจากสายโทรศัพท์ 5. สัญญาณด้านออก, g (t ) ~ ขบวนบิตที่ได้ออกมาจากโมเด็ม ข้อมูลด้านออก, g ~ ตัวอักษรที่เก็บไว้ในหน่วยความจําก่อนแสดงผล 6. ข่าวสารด้านออก, m ~ ข้อความที่รับมาปรากฏบนเครื่ องพิมพ์หรื อจอภาพ
  • 4. 4 การสือสารข้อมูลและโครงข่าย ่ 1.2 การประยุกต์ ใช้ งานโครงข่ ายสื่ อสารข้ อมูล เราสามารถแบ่ งโครงข่า ยสื่ อสารข้อมูลตามความต้องการที่ เ กี่ ยวกับระยะเวลาในการ แลกเปลี่ยนข่าวสารได้เป็ น 2 ประเภท คือ 1. การประยุกต์ใช้งานแบบเวลาจริ ง (real time) ต้องการการตอบสนองจากคอมพิวเตอร์ระยะไกล (remote computer) ทันทีก่อนที่กระบวนการ ถัดไปจะเกิดขึ้นในกระบวนการทํางานหรื อการตอบโต้ระหว่างผูใช้ ้ 2. การประยุกต์ใช้งานแบบไม่ใช่เวลาจริ ง (non real time) ข้อมูลจะถูกส่ งจากระบบหนึ่ งไปยังอีกระบบหนึ่ ง โดยไม่ตองการการตอบสนองทันทีทนใด ้ ั จากคอมพิวเตอร์ระยะไกล โดยปกติแล้วการประยุกต์ใช้งานแบบเวลาจริ ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับมนุษย์ เช่น ตูเ้ บิกเงินธนาคาร (ตู ้ ATM) หรื อตัวแทนจองตัวเครื่ องบิน ต้องการการตอบสนองภายในเวลา 2-3 วินาที หรื อน้อย ๋ กว่านั้น สิ่ งนี้ ทาให้เราต้องการระบบสื่ อสารข้อมูลและคอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคลที่สามารถตอบสนอง ํ เช่นนี้ได้ การประยุกต์ใช้งานแบบเวลาจริ งอื่น ๆ อาจจะเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์อตโนมัติ เช่น การ ั ควบคุมเครื่ องยนต์ การควบคุมเส้นทางของยานอวกาศ เป็ นต้น การประยุกต์ใช้งานแบบไม่ใช่เวลาจริ ง อาจไม่ตองการการตอบสนองที่รวดเร็ ว แต่ยงคง ้ ั ต้องการการตอบสนองที่แม่นและเชื่อถือได้ ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานแบบนี้ คือ ไปรษณี ย ์ อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail) และสํานักงานอัตโนมัติ (office automation) เป็ นต้น 1.3 การต่ อถึงกันในโครงข่ ายสื่ อสารข้ อมูล ทอพอโลยีโครงข่าย (network topology) อธิบายถึงความสัมพันธ์เฉพาะระหว่างส่ วนต่าง ๆ ของโครงข่ายคอมพิวเตอร์ ในแง่ของการต่อถึงระหว่างกัน (interconnection) หน้าที่การทํางาน (functionality) และตําแหน่งที่ต้ ง (geographic position) ั
  • 5. โครงข่ายสือสารข้อมูล 5 ่ โดยทัวไป ทอพอโลยีโครงข่ายมี 5 แบบ ดังจะได้กล่าวถึงต่อไป เราเรี ยกคอมพิวเตอร์ ซ่ ึงมี ่ ส่ วนร่ วมในการส่ งผ่านข้อมูลข้ามโครงข่ายว่า โนด (node) ซึ่งอาจเป็ นคอมพิวเตอร์ตวเดียวโดด ๆ ั (standalone computer) หรื อแผ่นบอร์ ดภายในคอมพิวเตอร์ ที่มีหน้าที่เฉพาะสําหรับเคลื่อนย้าย ข้อมูลผ่านโครงข่าย โนดอาจติดต่อกับคอมพิวเตอร์ อื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าหรื อคอมพิวเตอร์ หลัก (host) ซึ่ งสนับสนุนการทํางานของผูใช้โดยการเก็บและจัดการข้อมูลของผูใช้ ในการประยุกต์ใช้ ้ ้ งานบางอย่าง เราอาจได้หน้าที่การทํางานของโครงข่ายอย่างหนึ่งจากโนด และได้หน้าที่การทํางาน อื่นจากคอมพิวเตอร์ หลัก ยกตัวอย่างเช่น โนดอาจทําหน้าที่จดเส้นทางการส่ งข้อมูลข้ามโครงข่าย ั ในขณะที่คอมพิวเตอร์หลักอาจทําหน้าที่ตรวจวัดและแก้ความผิดพลาดในการส่ งข้อมูล ่ ั ทอพอโลยีเฉพาะแบบหนึ่ง ๆ ขึ้นอยูกบขอบเขตทางภูมิศาสตร์ของโครงข่ายนั้น ๆ เราเรี ยก โครงข่ายซึ่ งมี ขอบเขตจํากัดอยู่ภายในบริ ษทหรื อภายในมหาวิทยาลัยว่าโครงข่ายพื้นที่ทองถิ่ น ั ้ (Local Area Networks หรื อ LANs) ซึ่ งเป็ นทอพอโลยีแนวราบ (horizontal topologies) ทําหน้าที่ ต่อถึงกันกับคอมพิวเตอร์ซ่ ึงมีความสามารถใกล้เคียงกัน ส่ วนโครงข่ายซึ่ งครอบคลุมระยะทางไกล เรี ยกว่าโครงข่ายพื้นที่กว้าง (Wide Area Networks หรื อ WANs) ซึ่งเป็ นทอพอโลยีแนวตั้ง (vertical topologies) ทําหน้าที่ต่อถึงกันกับคอมพิวเตอร์ซ่ ึงอาจมีความสามารถแตกต่างกันมาก เช่น อาจต่อ คอมพิว เตอร์ ส่ว นบุ คคลธรรมดากับคอมพิว เตอร์ ห ลัก ซึ่ งมี ความสามารถในการจัด การข้อมูล แตกต่างกันมาก อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบติการประยุกต์ใช้งานอย่างหนึ่ ง อาจเป็ นแบบทอพอโลยี ั เดียวโดด ๆ หรื ออาจมีทอพอโลยีหลายแบบปนกันก็ได้ 1.3.1 ทอพอโลยีแนวราบ (Horizontal Topologies) ั ั ทอพอโลยีแนวราบที่มกใช้กนบ่อย ๆ ในโครงข่ายพื้นที่ทองถิ่นมี 3 แบบ ดังนี้ ้ 1.3.1.1 ทอพอโลยีแบบดาว (Star Topology) ทอพอโลยีแบบดาวเป็ นทอพอโลยีแบบที่ง่ายที่สุดใช้แทนโครงข่ายที่มีโนดหลาย ๆ โนด เชื่อมโยงเข้ากับโนดสวิตชิงศูนย์กลาง (central switching node) ดังแสดงในรู ปที่ 1.2 (a) การ สื่ อสารในโครงข่ายทั้งหมดจะต้องเดินทางผ่านโนดศูนย์กลางนี้ หน้าที่ที่สาคัญของโนดศูนย์กลางก็ ํ คือ การทําหน้าที่อานวยความสะดวกในการสื่ อสารระหว่างโนดรอบนอกของรู ปดาว กล่าวคือ ํ เหมือนกับเป็ นอุปกรณ์ควบคุมการสื่ อสาร (communications controller) ข้อดีของทอพอโลยีแบบนี้ ก็คือ โครงสร้างมีรูปแบบที่ง่าย และเราสามารถเพิ่มหรื อลดจํานวนโนดรอบนอกของรู ปดาวได้โดย
  • 6. 6 การสือสารข้อมูลและโครงข่าย ่ เพียงแต่แก้ไขตัวโนดศูนย์กลาง ส่ วนข้อเสี ยที่สาคัญคือโครงข่ายมีโอกาสล้มเหลว (failure) ได้ง่าย ํ ถ้าโนดศูนย์กลางเกิดล้มเหลวขึ้นมา ดังนั้น โดยปกติในทางปฏิบติจะมีการสํารอง (back up) โนด ั ศูนย์กลางเพื่อทําให้โครงข่ายมีความเชื่อถือได้สูงขึ้น 1.3.1.2 ทอพอโลยีแบบบัส (Bus Topology) ในทอพอโลยีแบบบัส โนดทุกโนดของโครงข่ายติดต่อสื่ อสารผ่านตัวกลางในการส่ ง ข้อมูลตัวเดียวกัน (common transmission medium) ดังแสดงในรู ปที่ 1.2 (b) ทั้งสัญญาณที่เป็ นข้อมูล และสัญญาณควบคุมจะถูกแพร่ สญญาณ (broadcast) ไปยังโนดทุกโนดพร้อมกัน โนดแต่ละโนดจะมี ั ที่อยู่ (address) เฉพาะตัว ดังนั้น ถึงแม้ว่าโนดทุกโนดจะได้รับข่าวสารเหมือนกันทั้งหมดจากบัส จะมีเพียงโนดซึ่งมีที่อยูตรงกับที่กาหนดโดยผูส่งเท่านั้นที่จะรับทราบข้อมูลนั้น วิธีการที่โนดเข้าถึง ่ ํ ้ ตัวกลางเพื่อส่ งข้อมูลนั้นมีหลายวิธี เช่น คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่ องอาจได้รับอนุญาตให้เข้าถึงตัวกลาง ได้จากคอมพิวเตอร์ตวอื่นภายในโครงข่าย (เรี ยกว่า วิธีการเข้าถึงตัวกลางแบบ token-passing) หรื อ ั ได้รับอนุญาตจากโนดหลัก หรื อ master node (เรี ยกว่า วิธีการเข้าถึงตัวกลางแบบ polling) ข้อดีของทอพอโลยีแบบบัส คือ (1) เพิ่มหรื อลดจํานวนผูใช้ได้ง่าย (2) ส่ งข้อมูลได้ดวย ้ ้ ความเร็ วสู ง เนื่องจากไม่ตองเลือกเส้นทางในการส่ งข้อมูลผ่านโนดระหว่างทาง ้ 1.3.1.3 ทอพอโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology) ทอพอโลยีแบบวงแหวนมีลกษณะดังแสดงในรู ปที่ 1.2 (c) กล่าวคือ มีเส้นทางระหว่าง ั ่ ั โนดของโครงข่ายบรรจบกันเป็ นวงกลม โดยที่โนดแต่ละโนดต่อถึงกันกับโนดอื่น 2 โนดที่อยูใกล้กน การไหลของข้อมูลอาจเป็ นแบบไหลไปในทิศทางเดียว (unidirectional) หรื อไหลได้ท้ ง 2 ทิศทาง ั (bidirectional) วิธีการในการแบ่งกันใช้ตวกลางรู ปวงแหวนนี้มี 2 วิธี ดังนี้ ั 1) ให้ผส่งแต่ละคนแย่งกันเข้าถึงตัวกลาง ู้ 2) ให้สิทธิในการเข้าถึงตัวกลางโดยการใช้โทเค็น
  • 7. โครงข่ายสือสารข้อมูล 7 ่ (a) แบบดาว (b) แบบบัส (c) แบบวงแหวน รู ปที่ 1.2 ทอพอโลยีแนวราบ
  • 8. 8 การสือสารข้อมูลและโครงข่าย ่ ในสหรัฐอเมริ กา token-passing เป็ นวิธีการเข้าถึงตัวกลางที่เป็ นที่นิยมมากที่สุดสําหรับ ทอพอโลยีแบบวงแหวน วิธี token-passing ทําให้เกิดการประวิงเวลาที่โนดแต่ละโนดในการตรวจสอบ ดูว่าข้อมูลที่ส่งเข้ามายังโนดนั้น ๆ เป็ นโทเค็นหรื อข่าวสารแบบอื่น ๆ ข้อดีของ token-passing ring ก็คือสมรรถนะที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพ แม้ว่าจะอยูภายใต้สภาวะที่มีโหลดมาก ข้อเสี ยคือเกิดการ ่ ประวิงเวลาค่อนข้างมาก ตั้งแต่เริ่ มมีความต้องการเข้าถึงตัวกลางจนกระทังได้รับโทเค็น และใน ่ กรณี ที่โทเค็นสู ญหายไป การประวิงเวลาจะยิงนานขึ้นไปอีก เนื่องจากต้องรอให้โครงข่ายฟื้ นตัวสู่ ่ สภาพปกติ (recovery) เสี ยก่อนอีกด้วย 1.3.2 ทอพอโลยีแนวตั้ง (Vertical Topologies) 1.3.2.1 ทอพอโลยีแบบลําดับชั้น (Hierarchical Topology) ทอพอโลยีแบบลําดับชั้น (รู ปที่ 1.3 (a)) อธิ บายโครงข่ายซึ่งต่อถึงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ หลักซึ่งนับวันยิงมีความรับผิดชอบด้านการจัดการข้อมูล (data management) มากขึ้นเรื่ อย ๆ โครงข่าย ่ ในลักษณะเช่นนี้ ไม่ได้ถูกกําหนดโดยวิธีการที่โครงข่ายควบคุมการเข้าถึงตัวกลาง แต่ถูกกําหนด โดยวิธีการที่โครงข่ายให้การสนับสนุน (support) ผูใช้ คุณลักษณะที่สาคัญอย่างหนึ่งของทอพอโลยี ้ ํ ็ แบบนี้กคือ การประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์หลักในลําดับชั้นที่สูงขึ้นไปจะมีขีดความสามารถ ที่สูงขึ้น ตัวอย่างเช่น การซื้อขายทางธุรกิจที่เกิดขึ้นในลําดับชั้นตํ่าสุ ด ณ จุดขาย (point-of-sale หรื อ POS) จะได้รับการจัดการโดยระบบไมโครคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตาม การซื้อขายนั้นยังไม่เสร็ จสิ้ น สมบูรณ์จนกว่าระบบใช้งานทัวไป (general-purpose system) ในลําดับชั้นที่สูงขึ้นไปจะได้แก้ไข ่ ฐานข้อมูลสิ นค้าคงคลังให้เสร็ จสิ้ นเสี ยก่อน 1.3.2.2 ทอพอโลยีแบบเมช (Mesh Topology) โครงข่ายพื้นที่กว้าง (Wide Area Network หรื อ WAN) จํานวนมากมีทอพอโลยีเป็ นแบบ เมช (รู ปที่ 1.3 (b)) ซึ่ งจะมีรูปร่ างทางเรขาคณิ ตที่ไม่แน่นอน ตัวอย่างของโครงข่ายที่มีทอพอโลยี แบบนี้คือ อินเทอร์เน็ตของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (DoD หรื อ Department of Defense) ซึ่งมีอีก ชื่อหนึ่ งว่า ARPANET ในโครงข่ายอินเทอร์ เน็ตจะมีคอมพิวเตอร์หลักจากผูผลิตต่าง ๆ ซึ่งมีขนาด ้ ต่าง ๆ กัน แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน
  • 9. โครงข่ายสือสารข้อมูล 9 ่ ระดับที่ 3 ระดับที่ 2 ระดับที่ 1 (a) แบบลําดับชั้น (b) แบบเมช รูปที่ 1.3 ทอพอโลยีแนวตั้ง
  • 10. 10 การสือสารข้อมูลและโครงข่าย ่ 1.4 ตัวอย่ างของโครงข่ ายสื่ อสารข้ อมูล ต่อไปนี้ จะได้กล่าวถึงตัวอย่างการใช้งานโครงข่ายสื่ อสารข้อมูล 3 แบบ เพื่อเป็ นการอธิ บาย สภาพการต่อถึงกัน (connectivities) และทอพอโลยี 1.4.1 ธุรกิจขนาดเล็ก ธุรกิจขนาดเล็กซึ่งมีอุปกรณ์การผลิตขนาดย่อมอาจนําคอมพิวเตอร์ มาใช้งานในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) บัญชี เช่น เงินเดือน ภาษี ทํานายต้นทุน และสรุ ปรายการรับคําสังซื้อ ่ 2) การผลิต เช่น สิ นค้าคงคลัง และตารางการผลิต 3) สังซื้อ เช่น ข้อมูลผูขาย ข้อมูลราคาสิ นค้า ่ ้ 4) วิศวกรรม เช่น ข้อมูลด้านเทคนิ ค ข้อมูลการออกแบบ การออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ ช่วย (computer-aided design หรื อ CAD) และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ 5) การตลาด เช่น ตารางการนัดหมายลูกค้า ต้นทุนผลิตภัณฑ์ ฐานข้อมูลลูกค้า และการ จัดเตรี ยมข้อเสนอสิ นค้า 6) บุคคล เช่น ประวัติบุคคล ข้อมูลค่าจ้างขั้นตํ่า แต่ละแผนกจะมีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มินิคอมพิวเตอร์ และสถานี งาน (workstation) เพื่อให้แผนกนั้น ๆ สามารถทํางานตามหน้าที่ที่รับผิดชอบได้ แผนกบัญชี จัดซื้อ และการตลาดอาจมี สเปรดชีตซอฟต์แวร์ (spread sheet software) ในขณะที่แผนกวิศวกรรมอาจมีซอฟต์แวร์ ช่วยใน การออกแบบ (CAD) คอมพิวเตอร์ ในแต่ละแผนกอาจมีการใช้งานเป็ นแบบเครื่ องเดี ยวโดด ๆ (stand alone) อย่างไรก็ตาม การใช้งานคอมพิวเตอร์ ร่วมกันในลักษณะเป็ นโครงข่ายจะทําให้การทํางานมี ประสิ ทธิ ภาพเพิ่มมากขึ้น (รู ปที่ 1.4) โครงข่ายคอมพิวเตอร์ซ่ ึ งครอบคลุมทุกแผนกในบริ ษทไว้ ั ทั้งหมด นอกจากจะทําให้แต่ละแผนกสามารถทํางานตามหน้าที่ความรับผิดชอบได้แล้ว ยังทําให้ แต่ละแผนกสามารถแบ่งกันใช้ขอมูลและทรัพยากรอื่น ๆ ได้เมื่อต้องการอีกด้วย การส่ งหนังสื อเวียนก็ ้ สามารถทําได้ง่ายขึ้นโดยการใช้ซอฟต์แวร์ ไปรษณี ยอิเล็กทรอนิ กส์ (electronic mail software) ใน ์