SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  10
Télécharger pour lire hors ligne
บทที่ ๑

ลักษณะของวรรณคดีนิทาน
นิทาน-นิยาย
	
คำ�ว่า นิทาน เป็นศัพท์ภาษาบาลีสันสกฤต มีรากศัพท์มาจาก
คำ�ว่า “ทา” แปลว่า ผูก นิทาน แปลว่า การผูกลงไว้ และหมายถึง สาเหตุ
กำ�เนิด เหตุเบื้องต้น๑ 	
	
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมาย
ของคำ� “นิทาน” ว่า
	
๑.	เรื่องที่เล่ากันมา เช่น นิทานชาดก นิทานอีสป
	
๒.	สาเหตุ เช่น โรคนิทาน
	
๓.	เรื่องเดิม เช่น วัตถุนิทาน๒
	
กุสุมา รักษมณี ได้ค้นหาที่มาของความหมายเหล่านี้ สรุปความ
ได้ว่า คำ�ว่า นิทาน ในภาษาบาลีมีการเปลี่ยนแปลงความหมายของคำ� จาก
เดิมที่แปลว่า เหตุ เค้ามูล ต่อมาความหมายขยายกว้างขึ้นเป็น เรื่องดั้งเดิม
	

๑

กุสุมา รักษมณี, นิทานอุทาหรณ์ในวรรณคดีสันสกฤต (นครปฐม : คณะอักษรศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, ๒๕๒๕), หน้า ๒. (เอกสารอัดสำ�เนา)
๒
	
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑. (กรุงเทพฯ :
บริษัทนานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำ�กัด, ๒๕๔๖), หน้า ๕๘๘.
เห็นได้จาก อรรถกถาชาดก ฉบับภาษาบาลี ใช้คำ�ว่า นิทาน หมายถึง เรื่อง
ดั้งเดิมซึ่งผู้รจนาพรรณนาไว้ในบทนำ� เป็นเรื่องราวของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยัง
เป็นพระโพธิสัตว์จนถึงพุทธกาล* ส่วนคำ�ว่า ชาดก เป็นเรื่องของพระพุทธเจ้า
ในชาติก่อน คำ� นิทาน ในที่นี้ยังคงร่องรอยของความหมายเดิมว่า เหตุ เค้ามูล
อยู่ เพราะสิ่งที่เป็นเหตุเป็นเค้ามูลนั้นถูกยกมากล่าวเป็นเรื่องราวก่อนเพื่อให้
ผู้อ่านได้ทราบความเป็นมาอย่างต่อเนื่องกัน เป็นเสมือนบทนำ�ที่จะสืบเนื่องมา
ถึงชาดกทียกมาเล่า๑ คำ�ว่า “นิทาน” จึงมาเป็น “นิทานกถา” ในภาษาบาลี กถา
่
มาจากธาตุ กฤฺ (เล่า) จึงแปลว่า การเล่า เรื่องเล่า นิทานกถาที่แปลว่า เรื่องเล่า
นี้ก็คือที่มาของความหมายของคำ�ว่านิทานในภาษาไทย
	
คำ�ว่า “นิทาน” เมือนำ�มาใช้ในภาษาไทย มีความหมายกว้างกว่าเดิม
่
หมายถึง เรื่องเล่าทุกประเภท๒ มีทั้งที่เป็นคำ�สอน เช่น นิทานสุภาษิต นิทาน
อิหร่านราชธรรม ทั้งเรื่องที่ได้รับอิทธิพลมาจากพุทธศาสนาที่เรียกว่า นิทาน
ชาดก หรือ นิทานธรรม เช่น ใน กลบทศิริวิบุลกิติ วรรณคดีสมัยอยุธยาตอน
ปลายซึ่งมีที่มาจากนิทานชาดกเรื่อง สิริวิบุลกิติชาดก ใช้ว่า
	

“อตีเตแต่นานนิทานหลัง	

		

*

มีนครังหนึ่งกว้างสำ�อางศรี”

ในอรรถกถาชาดกแบ่งนิทานออกเป็น ๓ ยุค ได้แก่ ทูเรนิทานกถา คือ เรื่องดั้งเดิมในทาง
ไกล ตั้งแต่ทรงมีก�ำเนิดเป็นพระสุเมธโพธิสัตว์จนถึงเสด็จอุบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต อวิทูเรนิทานกถา คือ
เรื่องดั้งเดิมในกาลไม่ไกล นับตั้งแต่ประสูติเป็นพระสิทธัตถะและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ส่วน สันติเกนิทานกถา คือ เรื่องดั้งเดิมระหว่างพุทธกาล ตั้งแต่ตรัสรู้จนถึงปรินิพพาน
๑
		
กุสุมา รักษมณี, นิทานอุทาหรณ์ในวรรณคดีสันสกฤต, หน้า ๓๐.
๒
เรื่องเดียวกัน, หน้า ๔.
		

2 วรรณคดีนิทานไทย
ใน กากีกลอนสุภาพ ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) สมัยรัชกาลที่ ๑
ซึ่งมีที่มาจาก กุณาลชาดก ใช้ว่า
						“จักกล่าวอดีตนิทานแต่ปางก่อน
	
เมื่อครั้งองค์สมเด็จพระชินวร	 ยังสัญจรแสวงหาพระโพธิญาณ
	
เสวยชาติเป็นสกุณาพระยานก	 จึ่งชักเรื่องชาดกมาบรรหาร...”
	
วรรณกรรมประเภทกลอนสวดก็เรียกลักษณะของเรืองว่า นิทาน เช่น
่
พระมาลัยคำ�หลวง วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลายเรียกเรื่องพระมาลัยว่า
	
	

“เสร็จกล่าวนิทานพระมาลัย	
จำ�หนับเขียนด้วยลิขิต		

จำ�นงนัยด้วยจิต จำ�นงจิตด้วยเพียร
ทำ�นองลิลิตกลกลอน...”

	
	
บางครัง “นิทาน” ยังใช้กบบทความทีมงสร้างความบันเทิง เช่น เรือง
้
ั
่ ุ่
่
โสตธรรมจริยา ใน ประมวลนิทานพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ ๖ เป็นบทความ
ล้อเลียนเชิงเสียดสี และยังใช้กับงานเขียนที่มีรูปแบบเป็นเรื่องสั้น เช่น นิทาน
วชิรญาณ นิทานทองอิน
	
นอกจากนี้นิทานยังหมายรวม เกร็ดความรู้และประสบการณ์ เป็น
เรืองจริงทีผเล่าหรือผูเขียนประสบมาด้วยตนเอง เช่น หนังสือนิทานโบราณคดี
่
่ ู้
้
พระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ หนังสือนิทานชาวไร่ ของ
น.อ. สวัสดิ์ จันทนี (ร.น.) ฯลฯ
	
“นิทาน” ยังแฝงความหมายว่า เป็นเรื่องเหลือเชื่อ เรื่องไม่จริง
ดังปรากฏข้อความในตอนต้นของ บทละครเรื่องเงาะป่า พระราชนิพนธ์ใน
ลักษณะของวรรณคดีนิทาน 3
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงเท้าความที่มาของ
เรื่องว่า
	
“ยายลมุดเล่าความตามเหตุการณ์ คล้ายนิทานเก่งเหลือไม่เบือเลย”
่
	
และในทรรศนะของบางคน นิทานยังมีความหมายแฝงว่า เป็นเรื่อง
หยาบโลน ดังที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพแสดงไว้ในบทความ
เรื่อง ตำ�นานเสภา มีความว่า “ลักษณะนิทานที่เล่ากันมาแต่โบราณ หรือ
แม้แต่ตลอดมาจนในปัจจุบันทุกวันนี้ ผิดกับชาดกอันเป็นต้นเค้าของหนังสือ
สวด ในข้อสำ�คัญอย่างหนึงทีนทานมักหยาบและโลน...”๑ โดยทรงอธิบายสาเหตุ
่ ่ ิ
ของการหยาบโลนว่าเนื่องมาจากคติความเชื่อแต่โบราณ
	
	
คำ�อีกคำ�หนึงทีใช้ควบคูมากับนิทาน คือ คำ�ว่า นิยาย กุสมา รักษมณี
่ ่
่
ุ
อธิบายว่า “นิยาย” น่าจะมาจากคำ�ว่า “นยายะ” (nyãya) ในภาษาสันสกฤต
แปลว่า การอ้างเหตุผล การแสดงบทเปรียบเทียบ เพือให้ผฟงเห็นด้วยกับถ้อยคำ�
่ ู้ ั
๒
ของผู้พูด... เป็นบทเปรียบเทียบ ซึ่งมีลักษณะเป็นเรื่องเล่าสั้น ๆ อาจถูกแต่ง
เติมในเวลาต่อมาจนกลายเป็นเรืองขนาดยาวได้ แต่กมลกษณะทีแสดงว่าเกิดขึน
่
็ีั
่
้
แล้วในอดีต การยกมาเล่าเพื่อแสดงให้เห็นว่าอาจเกิดขึ้นได้อีก ดังเช่นตัวอย่าง

๑
	
เสภาเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน ฉบับหอสมุดแห่งชาติ, พิมพ์ครั้งที่ ๑๔. (พระนคร : ศิลปาบรรณาคาร, ๒๕๑๓), หน้า ๑๓.
๒
	
กุสุมา รักษมณี, นิทานอุทาหรณ์ในวรรณคดีสันสกฤต, หน้า ๔.

4 วรรณคดีนิทานไทย
ราชกล่าวว่า แม้จะขวนขวายเท่าใด ๆ ก็ดี ถ้าแลหา
“นนทุก
	
บุญญาธิการ มิได้กับมิเป็นการเลย สัญชีพซักว่า ข้อซึ่งสหาย
	
ว่านั้นอย่างโบราณ จารีตนั้นมีหรือ สหายจงกล่าวไปเถิดเราจะ
	
ขอฟัง นนทุกราชจึงกล่าว โบราณจารีตนิยายมีว่า..”๑
	
	
กุสมา รักษมณี ยังตังข้อสังเกตว่าใน นิทานนางตันไตร ซึงเป็นนิทาน
ุ
้
่
เก่าแก่ทไทยรับมาจากอินเดียผ่านทางล้านนาไทยนัน ส่วนใหญ่ใช้ค�ว่า “นิยาย”
ี่
้
ำ
เมื่อหมายถึงนิทานซ้อนนิทาน๒ (ใน นิทานนางตันไตร นางตันไตรเล่านิทาน
ถวายพระราชา ๔ เรื่อง คือ นนทุกปกรณัม ปักษีปกรณัม ปีศาจปกรณัม และ
มัณฑูกปกรณัม ในนิทานหลัก เช่น นนทุกปกรณัมมีนิทานซ้อน ๕๓ เรื่อง)
ซึ่งแสดงว่านิยายคือเรื่องเล่าที่ยกมาเพื่อเป็นข้อเปรียบเทียบ
	
คำ�ว่า นิยาย ในภาษาไทย พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.
๒๕๔๒ ให้ความหมายว่า “น. เรืองทีเล่ากันมา”๓ ซึงเป็นความหมายทีกว้างกว่า
่ ่
่
่
ในภาษาเดิมเนื่องจากไม่ได้บอกลักษณะของเรื่องเล่า คำ�ว่า นิยาย นี้ปรากฏใน
กฎมณเฑียรบาล เรืองราชานุกจ (มาตรา ๑๔๖) ซึงมีมาแต่สมัยอยุธยาว่า หกทุม
่
ิ
่
่
เบิกเสภาดนตรี เจ็ดทุ่มเบิกนิยาย อันแสดงว่าเป็นธรรมเนียมที่พระเจ้าแผ่นดิน
จะฟังนิยายตอนเจ็ดทุ่ม
๑
	
“นนทุกปกรณัม” ใน นิทานอิหร่านราชธรรม (ประชุมปกรณัม) เล่ม ๒ (กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์คุรุสภา, ๒๕๐๕), หน้า ๑๔๕.
๒
	
กุสุมา รักษมณี, นิทานอุทาหรณ์ในวรรณคดีสันสกฤต, หน้า ๔.
๓
	
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒, หน้า ๕๙๐.

ลักษณะของวรรณคดีนิทาน 5
เรีองทีจดเป็นนิยาย เช่น สมุทรโฆษคำ�ฉันท์ส�นวนอยุธยา ดังความ
่ ่ั
ำ
ว่า
		 “จะให้บรรยาย	
ยศภาพตระกาล	 ตระกลชาญชม
	
ทำ�นุทำ�นอง		
ทำ�นวยนิยม	 นิยายสายสม
	
สรรเสริญราชา”
	
บทละครเรืองรามเกียรติ์ สำ�นวนรัชกาลที่ ๑ ระบุวาเรืองรามเกียรติ์
่
่ ่
เป็น “นิยายไสย” ดังความว่า
		 “อันพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์	 ทรงเพียรตามเรื่องนิยายไสย
	
ใช่จะเป็นแก่นสารสิ่งใด		
ดั่งพระทัยสมโภชบูชา...”
	
ในหนังสือกลอนสวดเรืองต่าง ๆ มีทมาตังแต่สมัยอยุธยาตอนปลายถึง
่
ี่ ้
รัตนโกสินทร์จะพบว่าถ้าเป็นเรืองทีมาจากชาดก จะเรียกเรืองนัน ๆ ว่า “นิทาน”
่ ่
่ ้
แต่ถาเป็นเรืองแต่งทัวไปจะเรียกว่า “นิยาย” ดังตัวอย่าง กลอนสวดเรืองเดโชชัย
้
่
่
่
ใช้คำ�ว่า “ผู้เฒ่าเท่าทั้งหลาย นับฟงงนียาย มากมายสะไหลย”
	

สุนทรภู่ก็เรียกเรื่องแต่งของท่านว่า “นิยาย” ดังความว่า

	
“ฉันชื่อภู่รู้เรื่องประจักษ์แจ้ง	 จึงแสดงคำ�ประดิษฐ์คิดถวาย
	
ตามสติริเริ่มเรื่องนิยาย		
ให้เพริศพรายพริ้งเพราะเสนาะ
						
กลอน”
							
(โคบุตร)

6 วรรณคดีนิทานไทย
“จะริเริ่มเรื่องร้างปางประถม
	
สุดเสียดายด้วยนิยายจะจ่อมจม	 จงนิยมแต่บทพจนา”
							
(ลักษณวงศ์)
	
	
และถ้าเป็นเรื่องจีน เรียกว่า “นิยายอิงพงศาวดาร”
	
สรุปได้ว่าคำ�ว่า นิทาน และ นิยาย เป็นคำ�ที่คนไทยใช้คู่กันมา
แต่โบราณ แม้พจนานุกรมจะให้ความหมายว่าเรื่องที่เล่ากันมาเหมือนกัน แต่
เมื่อพิจารณาจากคำ�ที่กวีใช้เรียกงานของตนเองแล้ว พบว่ามีความแตกต่าง
อยูบาง กล่าวคือ นิยมใช้ค�นิทานกับเรืองทีน�มาจากชาดกและเรืองทีเล่ากัน
่ ้
ำ
่ ่ ำ
่ ่
มาตามประเพณีมุขปาฐะ ส่วนคำ�นิยายใช้กับเรื่องเล่าหรือเรื่องที่กวีแต่งขึ้น
มีขนาดยาว มีโครงเรื่องซับซ้อน มีแก่นเรื่องเป็นเรื่องของความรักและการ
ผจญภัย ไม่ใช่เรื่องที่มาจากชาดก
ตำ�นาน
	
“ตำ�นาน” เป็นอีกคำ�หนึ่งที่คนไทยนิยมใช้ในความหมายถึงเรื่องเล่า
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้คำ�นิยามว่า เรื่องที่
แสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ปางหลัง เรื่องราวนมนานที่เล่ากันสืบ ๆ มา เช่น
ตำ�นานพุทธเจดีย์สยาม๑ คำ�ว่าตำ�นานจึงเป็นเรื่องเล่าที่แฝงความหมายว่า
เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง หรือเชื่อว่าเกิดขึ้นจริง มักใช้เกี่ยวเนื่องกับประวัติ
ความเป็นมาของสิ่งต่าง ๆ เช่น ตำ�นานสถานที่ ตำ�นานพระธาตุ ตำ�นาน
	

๑	

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒, หน้า ๔๖๒.
ลักษณะของวรรณคดีนิทาน 7
พระพุทธรูปองค์สำ�คัญ ตำ�นานประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อ เช่น ตำ�นาน
สงกรานต์
วรรณคดีนิทาน
	
แต่เดิมมากวีไทยนิยมแบ่งประเภทของวรรณคดีตามชนิดของ
คำ�ประพันธ์ที่ใช้แต่ง ดังจะเห็นได้จากการเรียกชื่อเรื่องมักจะควบคู่ไปกับชนิด
ของคำ�ประพันธ์ เช่น กำ�สรวลโคลงดั้น ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ลิลิต
พระลอ กากีกลอนสุภาพ อิเหนาคำ�ฉันท์ บทละครเรืองระเด่นลันได กลอนอ่าน
่
เรื่องพระรถนิราศ
	
การแบ่งวรรณคดีไทยตามเนื้อหาของเรื่องเป็นวรรณคดีการแสดง
วรรณคดีนิราศ วรรณคดียอพระเกียรติ วรรณคดีคำ�สอน วรรณคดีนิทาน ฯลฯ
เป็นการแบ่งของนักวรรณคดีในสมัยหลัง ดังเช่น พ.ณ ประมวญมารค รวบรวม
นิทานของสุนทรภู่ ๓ เรื่อง ได้แก่ โคบุตร ลักษณวงศ์ และ สิงหไกรภพ แล้วให้
ชื่อหนังสือว่า นิทานคำ�กลอนของสุนทรภู่
	
วรรณคดีนทาน หมายถึง วรรณคดีทมลกษณะของเรืองเป็นนิทาน
ิ
ี่ ี ั
่
กล่าวคือ เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นเพื่อจำ�ลองชีวิตและพฤติกรรมของมนุษย์ในด้าน
ต่าง ๆ อย่างมีวรรณศิลป์ มีเนือเรือง มีตวละคร มีการดำ�เนินเรืองเหมือนจริงหรือ
้ ่
ั
่
อาจโลดโผนเกินความจริง ฉากและสถานทีในเรืองอาจเป็นฉากในชีวตจริงหรือ
่ ่
ิ
ฉากสมมุติ งานประพันธ์ชนิดนี้ เน้นอารมณ์และจินตนาการเป็นสำ�คัญ ภาษา
ทีกวีใช้ถายทอดจึงต้องสละสลวยชวนให้คล้อยตาม วรรณคดีนทานจึงเป็นงาน
่
่
ิ
วรรณคดีลายลักษณ์ที่มีกวีเป็นผู้แต่ง มีการถ่ายทอดโดยการบันทึกไว้เป็น
ลายลักษณ์อักษร และมีการคัดลอกกันสืบต่อมา วรรณคดีนิทานของไทยมี
8 วรรณคดีนิทานไทย
ทังทีแต่งเป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง แต่สวนใหญ่แล้วกวีไทยโบราณนิยมแต่ง
้ ่
่
วรรณคดีที่เป็นร้อยกรองมากกว่า ด้วยถือว่าเป็นการแสดงฝีมือทางศิลปะการ
ประพันธ์ จึงมีวรรณคดีนิทานที่แต่งด้วยโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนเป็นจำ�นวน
มาก และยังมีที่แต่งเป็นลิลิตและกลบทอีกด้วย
	
วรรณคดีนิทานที่เป็นร้อยกรองเหล่านี้ อาจแบ่งตามรูปแบบการ
สื่อสารได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ วรรณคดีนิทานเพื่อการอ่านกับวรรณคดี
นิทานเพื่อการแสดง
	
๑.	วรรณคดีนิทานเพื่อการอ่าน คือ วรรณคดีนิทานที่แต่งขึ้นเพื่อ
อ่านหรือเล่าสูกนฟัง สังคมไทยในอดีตคนทีรหนังสือมีจ�นวนจำ�กัด จึงมีประเพณี
่ั
่ ู้
ำ
การอ่านหนังสือให้ฟงในทีชมชนในงานบุญประเพณี งานนักขัตฤกษ์ตาง ๆ โดย
ั ุ่
่
พระสงฆ์หรือฆราวาสทีรหนังสือ พระสงฆ์นยมนำ�นิทานชาดกมาอ่านให้ญาติโยม
่ ู้
ิ
ฟังเพือสอนคติธรรม ความนิยมนีจงทำ�ให้เกิดการแต่งวรรณคดีนทานในรูปแบบ
่
้ึ
ิ
ชาดกขึ้น บางเรื่องนำ�มาจากนิทานชาดกแท้ ๆ แต่บางเรื่องเป็นเรื่องที่กวีแต่ง
ขึ้นเองและอ้างว่าเป็นนิทานชาดก วรรณคดีนิทานประเภทนี้ในภาคกลางและ
ภาคใต้ คือ วรรณคดีประเภท กลอนสวด ในภาคเหนือ คือ ค่าวธรรม และใน
ภาคอีสาน คือ นิทานธรรม วรรณคดีนิทานเหล่านี้พระสงฆ์นิยมนำ�ไปใช้เทศน์
สั่งสอนคติธรรม ส่วนฆราวาสนิยมอ่านหรือนำ�ไปขับลำ�ในงานมหรสพต่าง ๆ
วรรณคดีนิทานที่แต่งขึ้นเพื่อการอ่านโดยเฉพาะมีอยู่เป็นจำ�นวนมากและมี
พัฒนาการไปตามสภาพสังคมดังจะได้กล่าวถึงต่อไป
	
๒.	วรรณคดีนิทานเพื่อการแสดง คือ วรรณคดีที่มีเนื้อหาเป็นนิทาน
แต่แต่งขึ้นในรูปของวรรณคดีการแสดง เช่น แต่งเป็นบทละคร วรรณคดีนิทาน
ของภาคกลางส่วนใหญ่สัมพันธ์กับการแสดง จึงนิยมแต่งเป็นบทสำ�หรับแสดง
ลักษณะของวรรณคดีนิทาน 9
เมื่อจะแสดงก็จะนำ�วรรณคดีเรื่องนั้น ๆ คัดเฉพาะตอนที่จะแสดง นำ�ไปปรุง
บทใหม่ให้เหมาะแก่การแสดงครั้งนั้น ๆ อีกทอดหนึ่ง ส่วนเรื่องเดิมแม้จะแต่ง
ในรูปบทละครแต่คนไทยก็ใช้อานกันอย่างแพร่หลาย เช่น บทละครเรืองอิเหนา
่
่
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
	
วรรณคดีนิทานที่จะศึกษาต่อไปนี้จำ�กัดขอบเขตเฉพาะวรรณคดี
นิทานที่เป็นร้อยกรอง และเป็นวรรณคดีนิทานเพื่อการอ่านเท่านั้น

10 วรรณคดีนิทานไทย

Contenu connexe

Tendances

สุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทอง
สุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทองสุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทอง
สุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทองChinnakorn Pawannay
 
พินิจวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกกุมภกรรณ(part 1)
พินิจวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกกุมภกรรณ(part 1)พินิจวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกกุมภกรรณ(part 1)
พินิจวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกกุมภกรรณ(part 1)Kornfern Chayaboon
 
การวิจารณ์วรรณคดีตามแนวตะวันออก
การวิจารณ์วรรณคดีตามแนวตะวันออกการวิจารณ์วรรณคดีตามแนวตะวันออก
การวิจารณ์วรรณคดีตามแนวตะวันออกWatcharapol Wiboolyasarin
 
งานนำเสนอตัวละคร
งานนำเสนอตัวละครงานนำเสนอตัวละคร
งานนำเสนอตัวละครbambookruble
 
งานนำเสนอมัทนะพาธา
งานนำเสนอมัทนะพาธางานนำเสนอมัทนะพาธา
งานนำเสนอมัทนะพาธาSantichon Islamic School
 
Power point การอ่านแปลความตีความขยายความ
Power point การอ่านแปลความตีความขยายความPower point การอ่านแปลความตีความขยายความ
Power point การอ่านแปลความตีความขยายความThanit Lawyer
 
หน่วยที่ 2 โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษา
หน่วยที่ 2  โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษาหน่วยที่ 2  โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษา
หน่วยที่ 2 โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษาขนิษฐา ทวีศรี
 
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมารงานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมารSantichon Islamic School
 
การวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดี
การวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีการวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดี
การวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีSantichon Islamic School
 
Power point การอ่านแปลความตีความขยายความ
Power point การอ่านแปลความตีความขยายความPower point การอ่านแปลความตีความขยายความ
Power point การอ่านแปลความตีความขยายความAnan Pakhing
 
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทานโครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทานRawinnipha Joy
 
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัด
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัดรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัด
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัดMethaporn Meeyai
 

Tendances (19)

สุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทอง
สุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทองสุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทอง
สุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทอง
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
พินิจวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกกุมภกรรณ(part 1)
พินิจวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกกุมภกรรณ(part 1)พินิจวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกกุมภกรรณ(part 1)
พินิจวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกกุมภกรรณ(part 1)
 
การวิจารณ์วรรณคดีตามแนวตะวันออก
การวิจารณ์วรรณคดีตามแนวตะวันออกการวิจารณ์วรรณคดีตามแนวตะวันออก
การวิจารณ์วรรณคดีตามแนวตะวันออก
 
งานนำเสนอตัวละคร
งานนำเสนอตัวละครงานนำเสนอตัวละคร
งานนำเสนอตัวละคร
 
งานนำเสนอมัทนะพาธา
งานนำเสนอมัทนะพาธางานนำเสนอมัทนะพาธา
งานนำเสนอมัทนะพาธา
 
การอ่านวรรณคดี ม.๕[1]
การอ่านวรรณคดี ม.๕[1]การอ่านวรรณคดี ม.๕[1]
การอ่านวรรณคดี ม.๕[1]
 
Power point การอ่านแปลความตีความขยายความ
Power point การอ่านแปลความตีความขยายความPower point การอ่านแปลความตีความขยายความ
Power point การอ่านแปลความตีความขยายความ
 
รสวรรณคดี ม.1
รสวรรณคดี ม.1รสวรรณคดี ม.1
รสวรรณคดี ม.1
 
หน่วยที่ 2 โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษา
หน่วยที่ 2  โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษาหน่วยที่ 2  โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษา
หน่วยที่ 2 โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษา
 
วรรณคดี
วรรณคดีวรรณคดี
วรรณคดี
 
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมารงานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร
 
การวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดี
การวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีการวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดี
การวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดี
 
Power point การอ่านแปลความตีความขยายความ
Power point การอ่านแปลความตีความขยายความPower point การอ่านแปลความตีความขยายความ
Power point การอ่านแปลความตีความขยายความ
 
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทานโครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
 
ใบความรู้ หนังตะลุง ม52
ใบความรู้  หนังตะลุง ม52ใบความรู้  หนังตะลุง ม52
ใบความรู้ หนังตะลุง ม52
 
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัด
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัดรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัด
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัด
 
ละคร
ละครละคร
ละคร
 
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วงใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
 

Similaire à 9789740331797

สื่อฯช่วยสอน เรื่องรามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทก(ปรับ) [โหมดความเข้ากันได้]
สื่อฯช่วยสอน เรื่องรามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทก(ปรับ) [โหมดความเข้ากันได้]สื่อฯช่วยสอน เรื่องรามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทก(ปรับ) [โหมดความเข้ากันได้]
สื่อฯช่วยสอน เรื่องรามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทก(ปรับ) [โหมดความเข้ากันได้]Nongkran Jarurnphong
 
สหบทกับวรรณกรรม
สหบทกับวรรณกรรมสหบทกับวรรณกรรม
สหบทกับวรรณกรรมAttaporn Saranoppakun
 
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมวรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมmayavee16
 
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลางวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลางNattha Namm
 
Random 120125041414-phpapp01 2
Random 120125041414-phpapp01 2Random 120125041414-phpapp01 2
Random 120125041414-phpapp01 2Siriluk Butprom
 
ลักษณะของนิทานพื้นบ้าน
ลักษณะของนิทานพื้นบ้านลักษณะของนิทานพื้นบ้าน
ลักษณะของนิทานพื้นบ้านapiradee037
 
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ฟาง
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ฟางคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ฟาง
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ฟางKat Suksrikong
 
การแต่งคำประพันธ์กลอนสุภาพ
การแต่งคำประพันธ์กลอนสุภาพการแต่งคำประพันธ์กลอนสุภาพ
การแต่งคำประพันธ์กลอนสุภาพพัน พัน
 
หนังสืออ้างอิง...
หนังสืออ้างอิง...หนังสืออ้างอิง...
หนังสืออ้างอิง...krujee
 
9789740330295
97897403302959789740330295
9789740330295CUPress
 
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เลขที่ 7 ม.5 1
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เลขที่ 7 ม.5 1คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เลขที่ 7 ม.5 1
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เลขที่ 7 ม.5 1Natthaphong Messi
 
โครงงานประเภททฤษฏี
โครงงานประเภททฤษฏีโครงงานประเภททฤษฏี
โครงงานประเภททฤษฏีNuchy Geez
 
นิทานชาดก
นิทานชาดกนิทานชาดก
นิทานชาดกRung Kru
 
ศิลาจารึกหลักที่ ๑
ศิลาจารึกหลักที่ ๑ศิลาจารึกหลักที่ ๑
ศิลาจารึกหลักที่ ๑krunoree.wordpress.com
 
ฉันทลักษณ์
ฉันทลักษณ์ฉันทลักษณ์
ฉันทลักษณ์krudow14
 

Similaire à 9789740331797 (20)

สื่อฯช่วยสอน เรื่องรามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทก(ปรับ) [โหมดความเข้ากันได้]
สื่อฯช่วยสอน เรื่องรามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทก(ปรับ) [โหมดความเข้ากันได้]สื่อฯช่วยสอน เรื่องรามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทก(ปรับ) [โหมดความเข้ากันได้]
สื่อฯช่วยสอน เรื่องรามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทก(ปรับ) [โหมดความเข้ากันได้]
 
สหบทกับวรรณกรรม
สหบทกับวรรณกรรมสหบทกับวรรณกรรม
สหบทกับวรรณกรรม
 
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วงใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
 
Ppt1
Ppt1Ppt1
Ppt1
 
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมวรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
 
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลางวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
 
Random 120125041414-phpapp01 2
Random 120125041414-phpapp01 2Random 120125041414-phpapp01 2
Random 120125041414-phpapp01 2
 
Chitrapathachan
ChitrapathachanChitrapathachan
Chitrapathachan
 
ลักษณะของนิทานพื้นบ้าน
ลักษณะของนิทานพื้นบ้านลักษณะของนิทานพื้นบ้าน
ลักษณะของนิทานพื้นบ้าน
 
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ฟาง
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ฟางคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ฟาง
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ฟาง
 
การแต่งคำประพันธ์กลอนสุภาพ
การแต่งคำประพันธ์กลอนสุภาพการแต่งคำประพันธ์กลอนสุภาพ
การแต่งคำประพันธ์กลอนสุภาพ
 
หนังสืออ้างอิง...
หนังสืออ้างอิง...หนังสืออ้างอิง...
หนังสืออ้างอิง...
 
9789740330295
97897403302959789740330295
9789740330295
 
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เลขที่ 7 ม.5 1
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เลขที่ 7 ม.5 1คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เลขที่ 7 ม.5 1
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เลขที่ 7 ม.5 1
 
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
 
โครงงานประเภททฤษฏี
โครงงานประเภททฤษฏีโครงงานประเภททฤษฏี
โครงงานประเภททฤษฏี
 
แบง
แบงแบง
แบง
 
นิทานชาดก
นิทานชาดกนิทานชาดก
นิทานชาดก
 
ศิลาจารึกหลักที่ ๑
ศิลาจารึกหลักที่ ๑ศิลาจารึกหลักที่ ๑
ศิลาจารึกหลักที่ ๑
 
ฉันทลักษณ์
ฉันทลักษณ์ฉันทลักษณ์
ฉันทลักษณ์
 

Plus de CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

Plus de CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740331797

  • 1. บทที่ ๑ ลักษณะของวรรณคดีนิทาน นิทาน-นิยาย คำ�ว่า นิทาน เป็นศัพท์ภาษาบาลีสันสกฤต มีรากศัพท์มาจาก คำ�ว่า “ทา” แปลว่า ผูก นิทาน แปลว่า การผูกลงไว้ และหมายถึง สาเหตุ กำ�เนิด เหตุเบื้องต้น๑ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมาย ของคำ� “นิทาน” ว่า ๑. เรื่องที่เล่ากันมา เช่น นิทานชาดก นิทานอีสป ๒. สาเหตุ เช่น โรคนิทาน ๓. เรื่องเดิม เช่น วัตถุนิทาน๒ กุสุมา รักษมณี ได้ค้นหาที่มาของความหมายเหล่านี้ สรุปความ ได้ว่า คำ�ว่า นิทาน ในภาษาบาลีมีการเปลี่ยนแปลงความหมายของคำ� จาก เดิมที่แปลว่า เหตุ เค้ามูล ต่อมาความหมายขยายกว้างขึ้นเป็น เรื่องดั้งเดิม ๑ กุสุมา รักษมณี, นิทานอุทาหรณ์ในวรรณคดีสันสกฤต (นครปฐม : คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, ๒๕๒๕), หน้า ๒. (เอกสารอัดสำ�เนา) ๒ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒, พิมพ์ครั้งที่ ๑. (กรุงเทพฯ : บริษัทนานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำ�กัด, ๒๕๔๖), หน้า ๕๘๘.
  • 2. เห็นได้จาก อรรถกถาชาดก ฉบับภาษาบาลี ใช้คำ�ว่า นิทาน หมายถึง เรื่อง ดั้งเดิมซึ่งผู้รจนาพรรณนาไว้ในบทนำ� เป็นเรื่องราวของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยัง เป็นพระโพธิสัตว์จนถึงพุทธกาล* ส่วนคำ�ว่า ชาดก เป็นเรื่องของพระพุทธเจ้า ในชาติก่อน คำ� นิทาน ในที่นี้ยังคงร่องรอยของความหมายเดิมว่า เหตุ เค้ามูล อยู่ เพราะสิ่งที่เป็นเหตุเป็นเค้ามูลนั้นถูกยกมากล่าวเป็นเรื่องราวก่อนเพื่อให้ ผู้อ่านได้ทราบความเป็นมาอย่างต่อเนื่องกัน เป็นเสมือนบทนำ�ที่จะสืบเนื่องมา ถึงชาดกทียกมาเล่า๑ คำ�ว่า “นิทาน” จึงมาเป็น “นิทานกถา” ในภาษาบาลี กถา ่ มาจากธาตุ กฤฺ (เล่า) จึงแปลว่า การเล่า เรื่องเล่า นิทานกถาที่แปลว่า เรื่องเล่า นี้ก็คือที่มาของความหมายของคำ�ว่านิทานในภาษาไทย คำ�ว่า “นิทาน” เมือนำ�มาใช้ในภาษาไทย มีความหมายกว้างกว่าเดิม ่ หมายถึง เรื่องเล่าทุกประเภท๒ มีทั้งที่เป็นคำ�สอน เช่น นิทานสุภาษิต นิทาน อิหร่านราชธรรม ทั้งเรื่องที่ได้รับอิทธิพลมาจากพุทธศาสนาที่เรียกว่า นิทาน ชาดก หรือ นิทานธรรม เช่น ใน กลบทศิริวิบุลกิติ วรรณคดีสมัยอยุธยาตอน ปลายซึ่งมีที่มาจากนิทานชาดกเรื่อง สิริวิบุลกิติชาดก ใช้ว่า “อตีเตแต่นานนิทานหลัง * มีนครังหนึ่งกว้างสำ�อางศรี” ในอรรถกถาชาดกแบ่งนิทานออกเป็น ๓ ยุค ได้แก่ ทูเรนิทานกถา คือ เรื่องดั้งเดิมในทาง ไกล ตั้งแต่ทรงมีก�ำเนิดเป็นพระสุเมธโพธิสัตว์จนถึงเสด็จอุบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต อวิทูเรนิทานกถา คือ เรื่องดั้งเดิมในกาลไม่ไกล นับตั้งแต่ประสูติเป็นพระสิทธัตถะและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ส่วน สันติเกนิทานกถา คือ เรื่องดั้งเดิมระหว่างพุทธกาล ตั้งแต่ตรัสรู้จนถึงปรินิพพาน ๑ กุสุมา รักษมณี, นิทานอุทาหรณ์ในวรรณคดีสันสกฤต, หน้า ๓๐. ๒ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๔. 2 วรรณคดีนิทานไทย
  • 3. ใน กากีกลอนสุภาพ ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) สมัยรัชกาลที่ ๑ ซึ่งมีที่มาจาก กุณาลชาดก ใช้ว่า “จักกล่าวอดีตนิทานแต่ปางก่อน เมื่อครั้งองค์สมเด็จพระชินวร ยังสัญจรแสวงหาพระโพธิญาณ เสวยชาติเป็นสกุณาพระยานก จึ่งชักเรื่องชาดกมาบรรหาร...” วรรณกรรมประเภทกลอนสวดก็เรียกลักษณะของเรืองว่า นิทาน เช่น ่ พระมาลัยคำ�หลวง วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลายเรียกเรื่องพระมาลัยว่า “เสร็จกล่าวนิทานพระมาลัย จำ�หนับเขียนด้วยลิขิต จำ�นงนัยด้วยจิต จำ�นงจิตด้วยเพียร ทำ�นองลิลิตกลกลอน...” บางครัง “นิทาน” ยังใช้กบบทความทีมงสร้างความบันเทิง เช่น เรือง ้ ั ่ ุ่ ่ โสตธรรมจริยา ใน ประมวลนิทานพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ ๖ เป็นบทความ ล้อเลียนเชิงเสียดสี และยังใช้กับงานเขียนที่มีรูปแบบเป็นเรื่องสั้น เช่น นิทาน วชิรญาณ นิทานทองอิน นอกจากนี้นิทานยังหมายรวม เกร็ดความรู้และประสบการณ์ เป็น เรืองจริงทีผเล่าหรือผูเขียนประสบมาด้วยตนเอง เช่น หนังสือนิทานโบราณคดี ่ ่ ู้ ้ พระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ หนังสือนิทานชาวไร่ ของ น.อ. สวัสดิ์ จันทนี (ร.น.) ฯลฯ “นิทาน” ยังแฝงความหมายว่า เป็นเรื่องเหลือเชื่อ เรื่องไม่จริง ดังปรากฏข้อความในตอนต้นของ บทละครเรื่องเงาะป่า พระราชนิพนธ์ใน ลักษณะของวรรณคดีนิทาน 3
  • 4. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงเท้าความที่มาของ เรื่องว่า “ยายลมุดเล่าความตามเหตุการณ์ คล้ายนิทานเก่งเหลือไม่เบือเลย” ่ และในทรรศนะของบางคน นิทานยังมีความหมายแฝงว่า เป็นเรื่อง หยาบโลน ดังที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพแสดงไว้ในบทความ เรื่อง ตำ�นานเสภา มีความว่า “ลักษณะนิทานที่เล่ากันมาแต่โบราณ หรือ แม้แต่ตลอดมาจนในปัจจุบันทุกวันนี้ ผิดกับชาดกอันเป็นต้นเค้าของหนังสือ สวด ในข้อสำ�คัญอย่างหนึงทีนทานมักหยาบและโลน...”๑ โดยทรงอธิบายสาเหตุ ่ ่ ิ ของการหยาบโลนว่าเนื่องมาจากคติความเชื่อแต่โบราณ คำ�อีกคำ�หนึงทีใช้ควบคูมากับนิทาน คือ คำ�ว่า นิยาย กุสมา รักษมณี ่ ่ ่ ุ อธิบายว่า “นิยาย” น่าจะมาจากคำ�ว่า “นยายะ” (nyãya) ในภาษาสันสกฤต แปลว่า การอ้างเหตุผล การแสดงบทเปรียบเทียบ เพือให้ผฟงเห็นด้วยกับถ้อยคำ� ่ ู้ ั ๒ ของผู้พูด... เป็นบทเปรียบเทียบ ซึ่งมีลักษณะเป็นเรื่องเล่าสั้น ๆ อาจถูกแต่ง เติมในเวลาต่อมาจนกลายเป็นเรืองขนาดยาวได้ แต่กมลกษณะทีแสดงว่าเกิดขึน ่ ็ีั ่ ้ แล้วในอดีต การยกมาเล่าเพื่อแสดงให้เห็นว่าอาจเกิดขึ้นได้อีก ดังเช่นตัวอย่าง ๑ เสภาเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน ฉบับหอสมุดแห่งชาติ, พิมพ์ครั้งที่ ๑๔. (พระนคร : ศิลปาบรรณาคาร, ๒๕๑๓), หน้า ๑๓. ๒ กุสุมา รักษมณี, นิทานอุทาหรณ์ในวรรณคดีสันสกฤต, หน้า ๔. 4 วรรณคดีนิทานไทย
  • 5. ราชกล่าวว่า แม้จะขวนขวายเท่าใด ๆ ก็ดี ถ้าแลหา “นนทุก บุญญาธิการ มิได้กับมิเป็นการเลย สัญชีพซักว่า ข้อซึ่งสหาย ว่านั้นอย่างโบราณ จารีตนั้นมีหรือ สหายจงกล่าวไปเถิดเราจะ ขอฟัง นนทุกราชจึงกล่าว โบราณจารีตนิยายมีว่า..”๑ กุสมา รักษมณี ยังตังข้อสังเกตว่าใน นิทานนางตันไตร ซึงเป็นนิทาน ุ ้ ่ เก่าแก่ทไทยรับมาจากอินเดียผ่านทางล้านนาไทยนัน ส่วนใหญ่ใช้ค�ว่า “นิยาย” ี่ ้ ำ เมื่อหมายถึงนิทานซ้อนนิทาน๒ (ใน นิทานนางตันไตร นางตันไตรเล่านิทาน ถวายพระราชา ๔ เรื่อง คือ นนทุกปกรณัม ปักษีปกรณัม ปีศาจปกรณัม และ มัณฑูกปกรณัม ในนิทานหลัก เช่น นนทุกปกรณัมมีนิทานซ้อน ๕๓ เรื่อง) ซึ่งแสดงว่านิยายคือเรื่องเล่าที่ยกมาเพื่อเป็นข้อเปรียบเทียบ คำ�ว่า นิยาย ในภาษาไทย พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายว่า “น. เรืองทีเล่ากันมา”๓ ซึงเป็นความหมายทีกว้างกว่า ่ ่ ่ ่ ในภาษาเดิมเนื่องจากไม่ได้บอกลักษณะของเรื่องเล่า คำ�ว่า นิยาย นี้ปรากฏใน กฎมณเฑียรบาล เรืองราชานุกจ (มาตรา ๑๔๖) ซึงมีมาแต่สมัยอยุธยาว่า หกทุม ่ ิ ่ ่ เบิกเสภาดนตรี เจ็ดทุ่มเบิกนิยาย อันแสดงว่าเป็นธรรมเนียมที่พระเจ้าแผ่นดิน จะฟังนิยายตอนเจ็ดทุ่ม ๑ “นนทุกปกรณัม” ใน นิทานอิหร่านราชธรรม (ประชุมปกรณัม) เล่ม ๒ (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, ๒๕๐๕), หน้า ๑๔๕. ๒ กุสุมา รักษมณี, นิทานอุทาหรณ์ในวรรณคดีสันสกฤต, หน้า ๔. ๓ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒, หน้า ๕๙๐. ลักษณะของวรรณคดีนิทาน 5
  • 6. เรีองทีจดเป็นนิยาย เช่น สมุทรโฆษคำ�ฉันท์ส�นวนอยุธยา ดังความ ่ ่ั ำ ว่า “จะให้บรรยาย ยศภาพตระกาล ตระกลชาญชม ทำ�นุทำ�นอง ทำ�นวยนิยม นิยายสายสม สรรเสริญราชา” บทละครเรืองรามเกียรติ์ สำ�นวนรัชกาลที่ ๑ ระบุวาเรืองรามเกียรติ์ ่ ่ ่ เป็น “นิยายไสย” ดังความว่า “อันพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ ทรงเพียรตามเรื่องนิยายไสย ใช่จะเป็นแก่นสารสิ่งใด ดั่งพระทัยสมโภชบูชา...” ในหนังสือกลอนสวดเรืองต่าง ๆ มีทมาตังแต่สมัยอยุธยาตอนปลายถึง ่ ี่ ้ รัตนโกสินทร์จะพบว่าถ้าเป็นเรืองทีมาจากชาดก จะเรียกเรืองนัน ๆ ว่า “นิทาน” ่ ่ ่ ้ แต่ถาเป็นเรืองแต่งทัวไปจะเรียกว่า “นิยาย” ดังตัวอย่าง กลอนสวดเรืองเดโชชัย ้ ่ ่ ่ ใช้คำ�ว่า “ผู้เฒ่าเท่าทั้งหลาย นับฟงงนียาย มากมายสะไหลย” สุนทรภู่ก็เรียกเรื่องแต่งของท่านว่า “นิยาย” ดังความว่า “ฉันชื่อภู่รู้เรื่องประจักษ์แจ้ง จึงแสดงคำ�ประดิษฐ์คิดถวาย ตามสติริเริ่มเรื่องนิยาย ให้เพริศพรายพริ้งเพราะเสนาะ กลอน” (โคบุตร) 6 วรรณคดีนิทานไทย
  • 7. “จะริเริ่มเรื่องร้างปางประถม สุดเสียดายด้วยนิยายจะจ่อมจม จงนิยมแต่บทพจนา” (ลักษณวงศ์) และถ้าเป็นเรื่องจีน เรียกว่า “นิยายอิงพงศาวดาร” สรุปได้ว่าคำ�ว่า นิทาน และ นิยาย เป็นคำ�ที่คนไทยใช้คู่กันมา แต่โบราณ แม้พจนานุกรมจะให้ความหมายว่าเรื่องที่เล่ากันมาเหมือนกัน แต่ เมื่อพิจารณาจากคำ�ที่กวีใช้เรียกงานของตนเองแล้ว พบว่ามีความแตกต่าง อยูบาง กล่าวคือ นิยมใช้ค�นิทานกับเรืองทีน�มาจากชาดกและเรืองทีเล่ากัน ่ ้ ำ ่ ่ ำ ่ ่ มาตามประเพณีมุขปาฐะ ส่วนคำ�นิยายใช้กับเรื่องเล่าหรือเรื่องที่กวีแต่งขึ้น มีขนาดยาว มีโครงเรื่องซับซ้อน มีแก่นเรื่องเป็นเรื่องของความรักและการ ผจญภัย ไม่ใช่เรื่องที่มาจากชาดก ตำ�นาน “ตำ�นาน” เป็นอีกคำ�หนึ่งที่คนไทยนิยมใช้ในความหมายถึงเรื่องเล่า พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้คำ�นิยามว่า เรื่องที่ แสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ปางหลัง เรื่องราวนมนานที่เล่ากันสืบ ๆ มา เช่น ตำ�นานพุทธเจดีย์สยาม๑ คำ�ว่าตำ�นานจึงเป็นเรื่องเล่าที่แฝงความหมายว่า เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง หรือเชื่อว่าเกิดขึ้นจริง มักใช้เกี่ยวเนื่องกับประวัติ ความเป็นมาของสิ่งต่าง ๆ เช่น ตำ�นานสถานที่ ตำ�นานพระธาตุ ตำ�นาน ๑ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒, หน้า ๔๖๒. ลักษณะของวรรณคดีนิทาน 7
  • 8. พระพุทธรูปองค์สำ�คัญ ตำ�นานประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อ เช่น ตำ�นาน สงกรานต์ วรรณคดีนิทาน แต่เดิมมากวีไทยนิยมแบ่งประเภทของวรรณคดีตามชนิดของ คำ�ประพันธ์ที่ใช้แต่ง ดังจะเห็นได้จากการเรียกชื่อเรื่องมักจะควบคู่ไปกับชนิด ของคำ�ประพันธ์ เช่น กำ�สรวลโคลงดั้น ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ลิลิต พระลอ กากีกลอนสุภาพ อิเหนาคำ�ฉันท์ บทละครเรืองระเด่นลันได กลอนอ่าน ่ เรื่องพระรถนิราศ การแบ่งวรรณคดีไทยตามเนื้อหาของเรื่องเป็นวรรณคดีการแสดง วรรณคดีนิราศ วรรณคดียอพระเกียรติ วรรณคดีคำ�สอน วรรณคดีนิทาน ฯลฯ เป็นการแบ่งของนักวรรณคดีในสมัยหลัง ดังเช่น พ.ณ ประมวญมารค รวบรวม นิทานของสุนทรภู่ ๓ เรื่อง ได้แก่ โคบุตร ลักษณวงศ์ และ สิงหไกรภพ แล้วให้ ชื่อหนังสือว่า นิทานคำ�กลอนของสุนทรภู่ วรรณคดีนทาน หมายถึง วรรณคดีทมลกษณะของเรืองเป็นนิทาน ิ ี่ ี ั ่ กล่าวคือ เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นเพื่อจำ�ลองชีวิตและพฤติกรรมของมนุษย์ในด้าน ต่าง ๆ อย่างมีวรรณศิลป์ มีเนือเรือง มีตวละคร มีการดำ�เนินเรืองเหมือนจริงหรือ ้ ่ ั ่ อาจโลดโผนเกินความจริง ฉากและสถานทีในเรืองอาจเป็นฉากในชีวตจริงหรือ ่ ่ ิ ฉากสมมุติ งานประพันธ์ชนิดนี้ เน้นอารมณ์และจินตนาการเป็นสำ�คัญ ภาษา ทีกวีใช้ถายทอดจึงต้องสละสลวยชวนให้คล้อยตาม วรรณคดีนทานจึงเป็นงาน ่ ่ ิ วรรณคดีลายลักษณ์ที่มีกวีเป็นผู้แต่ง มีการถ่ายทอดโดยการบันทึกไว้เป็น ลายลักษณ์อักษร และมีการคัดลอกกันสืบต่อมา วรรณคดีนิทานของไทยมี 8 วรรณคดีนิทานไทย
  • 9. ทังทีแต่งเป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง แต่สวนใหญ่แล้วกวีไทยโบราณนิยมแต่ง ้ ่ ่ วรรณคดีที่เป็นร้อยกรองมากกว่า ด้วยถือว่าเป็นการแสดงฝีมือทางศิลปะการ ประพันธ์ จึงมีวรรณคดีนิทานที่แต่งด้วยโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนเป็นจำ�นวน มาก และยังมีที่แต่งเป็นลิลิตและกลบทอีกด้วย วรรณคดีนิทานที่เป็นร้อยกรองเหล่านี้ อาจแบ่งตามรูปแบบการ สื่อสารได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ วรรณคดีนิทานเพื่อการอ่านกับวรรณคดี นิทานเพื่อการแสดง ๑. วรรณคดีนิทานเพื่อการอ่าน คือ วรรณคดีนิทานที่แต่งขึ้นเพื่อ อ่านหรือเล่าสูกนฟัง สังคมไทยในอดีตคนทีรหนังสือมีจ�นวนจำ�กัด จึงมีประเพณี ่ั ่ ู้ ำ การอ่านหนังสือให้ฟงในทีชมชนในงานบุญประเพณี งานนักขัตฤกษ์ตาง ๆ โดย ั ุ่ ่ พระสงฆ์หรือฆราวาสทีรหนังสือ พระสงฆ์นยมนำ�นิทานชาดกมาอ่านให้ญาติโยม ่ ู้ ิ ฟังเพือสอนคติธรรม ความนิยมนีจงทำ�ให้เกิดการแต่งวรรณคดีนทานในรูปแบบ ่ ้ึ ิ ชาดกขึ้น บางเรื่องนำ�มาจากนิทานชาดกแท้ ๆ แต่บางเรื่องเป็นเรื่องที่กวีแต่ง ขึ้นเองและอ้างว่าเป็นนิทานชาดก วรรณคดีนิทานประเภทนี้ในภาคกลางและ ภาคใต้ คือ วรรณคดีประเภท กลอนสวด ในภาคเหนือ คือ ค่าวธรรม และใน ภาคอีสาน คือ นิทานธรรม วรรณคดีนิทานเหล่านี้พระสงฆ์นิยมนำ�ไปใช้เทศน์ สั่งสอนคติธรรม ส่วนฆราวาสนิยมอ่านหรือนำ�ไปขับลำ�ในงานมหรสพต่าง ๆ วรรณคดีนิทานที่แต่งขึ้นเพื่อการอ่านโดยเฉพาะมีอยู่เป็นจำ�นวนมากและมี พัฒนาการไปตามสภาพสังคมดังจะได้กล่าวถึงต่อไป ๒. วรรณคดีนิทานเพื่อการแสดง คือ วรรณคดีที่มีเนื้อหาเป็นนิทาน แต่แต่งขึ้นในรูปของวรรณคดีการแสดง เช่น แต่งเป็นบทละคร วรรณคดีนิทาน ของภาคกลางส่วนใหญ่สัมพันธ์กับการแสดง จึงนิยมแต่งเป็นบทสำ�หรับแสดง ลักษณะของวรรณคดีนิทาน 9
  • 10. เมื่อจะแสดงก็จะนำ�วรรณคดีเรื่องนั้น ๆ คัดเฉพาะตอนที่จะแสดง นำ�ไปปรุง บทใหม่ให้เหมาะแก่การแสดงครั้งนั้น ๆ อีกทอดหนึ่ง ส่วนเรื่องเดิมแม้จะแต่ง ในรูปบทละครแต่คนไทยก็ใช้อานกันอย่างแพร่หลาย เช่น บทละครเรืองอิเหนา ่ ่ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย วรรณคดีนิทานที่จะศึกษาต่อไปนี้จำ�กัดขอบเขตเฉพาะวรรณคดี นิทานที่เป็นร้อยกรอง และเป็นวรรณคดีนิทานเพื่อการอ่านเท่านั้น 10 วรรณคดีนิทานไทย