SlideShare a Scribd company logo
1 of 59
Download to read offline
โครงงาน
๕ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
โดย
นางสาวอัญชญา สุวรรณ เลขที่ ๗
นางสาวรังสิญาพร แจ่มแจ้ง เลขที่ ๒๓
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ ๖/๒
๕ โครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดําริ
เกี่ยวกับโครงงาน
แหล่งอ้างอิง
วิธีการดําเนินงาน
ขอบเขตโครงงาน
ที่มาและความสําคัญ
หลักการและทฤษฎี
วัตถุประสงค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย)
๕ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ)
5 Project due to the initiative.
ประเภทโครงงาน พัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
ชื่อผู้ทําโครงงาน นางสาวอัญชญา สุวรรณ
นางสาวรังสิญาพร แจ่มแจ้ง
ชื่อที่ปรึกษา ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์
ระยะเวลาดําเนินงาน 2 เดือน
ในปัจจุบันนี้อินเทอร์เน็ตมีบทบาทและมีความสําคัญต่อชีวิตประจําวันของ
คนเรามากขึ้น เนื่องจากทําให้เราทันเหตุการณ์อยู่เสมอ ข้อมูลและสารสนเทศที่เสนอใน
อินเตอร์เน็ตมีมากมายหลายรูปแบบเพื่อสนองความสนใจและความต้องการของผู้ใช้
ทุกกลุ่ม อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งสารสนเทศสําคัญสําหรับทุกคนเพราะสามารถค้นหา
สิ่งที่ตนสนใจได้ในทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปค้นคว้าในห้องสมุด หรือแม้แต่
การรับรู้ข่าวสารทั่วโลกก็สามารถอ่านได้ในอินเตอร์เน็ตจากเว็บไซต์ต่างๆของ
หนังสือพิมพ์ ดังนั้นอินเตอร์เน็ตจึงมีความสําคัญกับวิถีชีวิตของคนเราในปัจจุบันเป็น
อย่างมากในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น ด้านความบันเทิงเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจรวมถึง
สันทนาการ ด้านธุรกิจเพื่อซื้อขายสินค้า และที่สําคัญคือด้านการศึกษาเพื่อใช้เป็นแหล่ง
ค้นคว้าหาข้อมูลที่สนใจและกําลังศึกษาอยู่
การศึกษาในปัจจุบันได้มีการนําเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับสื่อการเรียนการ
สอนในห้องเพื่อทําให้ครูผู้สอนสะดวกในการเตรียมการเรียนการสอนรวมทั้งทําให้
ผู้เรียนรู้สึกมีความสนใจและมีความเข้าใจเนื้อหามากขึ้น นอกจากนี้ยังได้มีการเผยแพร่
สื่อการเรียนการสอนในอินเตอร์เน็ตมากมายทําให้สื่อการเรียนการสอนมีกว้างขวาง
ยิ่งขึ้น อินเตอร์เน็ตจึงมีหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ให้นักเรียน
นักศึกษาได้ทําการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองรวมถึงได้มีการทบทวนเนื้อหาที่ไม่เข้าใจใน
ห้องเรียน ดังนั้นสื่อการเรียนการสอนในอินเตอร์เน็ตจึงนับว่ามีความสําคัญไม่น้อย
สําหรับการศึกษาเพราะมีประโยชน์ทั้งต่อครูผู้สอนและนักเรียนนักศึกษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน
ของราษฎรเสมือนหนึ่งเป็นวามทุกข์ของพระองค์ พระองค์ทรงมีพระราชดําริที่จะพัฒนาความเป็นอยู่
ของราษฎรให้เกิดความ ”พออยู่ พอกิน” พระองค์ทรงใช้พระอัจฉริยภาพในด้านต่างๆพระราชทาน
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ เพื่อประโยชน์สุขแก่ทุกชีวิตในประเทศไทยตลอดมา โครงการ
พระราชดําริเป็นโครงการที่ทรงวางแผนพัฒนา ทรงเสนอแนะให้รัฐบาลร่วมดําเนินการพระราชดําริ
จึงก่อให้เกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริต่างๆมากมายกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของ
ประเทศไทย
เนื่องจากข้าพเจ้าเป็นประชาชนคนไทยคนหนึ่งที่ซึ้งในพระราชหฤทัยที่มุ่งมั่นจะแก้ไขปัญหา
ความเดือดร้อนของราษฎรจึงได้ทําโครงงานนี้ขึ้นมาเพื่อให้ทราบถึงที่มาและความสําคัญของ
พระราชดําริของพระองค์ข้าพเจ้าจึงได้นําเสนอตัวอย่างโครงการในพระราชดําริที่สําคัญมา 5
โครงการ คือ โครงการเศรษฐกิจพอเพียง โครงการแก้มลิง โครงการแกล้งดิน โครงการกังหันนํ้าชัย
พัฒนา โครงการพระราชดําริฝนหลวง
1. เพื่อให้คนไทยได้ทราบที่มาและความสําคัญในพระราชดําริ
2. เพื่อให้คนไทยได้ทราบถึงวิธีการดําเนินงานของโครงการพระราชดําริ
3. เพื่อให้คนไทยทราบถึงประโยชน์ของโครงการพระราชดําริ
1.สร้างสื่อและเผยแพร่ความรู้เรื่องโครงการในพระราชดําริ โดยใช้โปรแกรม
Microsoft PowerPoint 2007 ในการนําเสนองาน และ slide share ในการ
เผยแพร่งาน
2.ระยะเวลาในการทําโครงงาน 2 เดือน (พฤศจิกายน-มกราคม)
ขอบเขตโครงงาน
โครงการพระราชดําริ คือ เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากพระดําริของพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหา
ความเดือดร้อนของราษฎรเสมือนหนึ่งเป็นวามทุกข์ของพระองค์ พระองค์ทรงมีพระราชดําริที่จะพัฒนา
ความเป็นอยู่ของราษฎรให้เกิดความ ”พออยู่ พอกิน” พระองค์ทรงใช้พระอัจฉริยภาพในด้านต่างๆ
พระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ เพื่อประโยชน์สุขแก่ทุกชีวิตในประเทศไทยตลอดมา
โครงการพระราชดําริเป็นโครงการที่ทรงวางแผนพัฒนา ทรงเสนอแนะให้รัฐบาลร่วมดําเนินการ
พระราชดําริ จึงก่อให้เกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริต่างๆมากมายกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค
ของประเทศไทย
ดังนั้นโครงการในพระราชดํารินั้นจึงมีความสําคัญกับประชาชนไทยเราทุกคน ซึ่งได้
ยกตัวอย่างของโครงการในพระราชดําริที่สําคัญมา 5 โครงการ คือ โครงการเศรษฐกิจพอเพียง
โครงการแก้มลิง โครงการแกล้งดิน โครงการกังหันนํ้าชัยพัฒนา โครงการพระราชดําริฝนหลวง ซึ่งได้
เป็นการช่วยเหลือคนไทยในด้านต่างๆ เช่นโครงการเศรษฐกิจพอเพียงทําให้คนไทยได้มีกินมีใช้ได้ตลอดปี
ไม่ลําบาก และโครงการพระราชดําริฝนหลวง ได้ช่วยให้ประชาชนมีนํ้าใช้ในพื้นที่แห้งแล้ง เป็นต้น
แนวทางการดําเนินงาน
1.คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนําเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน
2.ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ คือ โครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดําริ
3.จัดทําโครงร่างโครงงานเพื่อนําเสนอต่อครูที่ปรึกษาโครงงาน
4.จัดทําโครงงานคอมพิวเตอร์เรื่อง ๕ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
5.รายงานความคืบหน้าของโครงงานเป็นระยะให้ครูที่ปรึกษาได้ทราบเพื่อตรวจสอบ
ความถูกต้องและให้ข้อเสนอแนะหากมีข้อบกพร่อง
6.นําเสนอและประเมินผลโครงงานให้ครูที่ปรึกษาผ่านโปรแกรม Microsoft Power Point
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้
1.คอมพิวเตอร์ โน้ตบุค
2.หนังสือ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ โดย ชนิดา ชิตบัณฑิตย์
วิธีการดําเนินงาน
1. ได้ทราบที่มาและความสําคัญในพระราชดําริ
2. ได้ทราบถึงวิธีการดําเนินงานของโครงการพระราชดําริ
3. ได้ทราบถึงประโยชน์ของโครงการพระราชดําริ
ผลที่คาดวาจะไดรับ
สถานที่ดําเนินการ
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มสาระสังคมศึกษา และวัฒนธรรม
กลุ่มสาระการงานและเทคโนโลยี
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3
%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0
%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9
%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%88
%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0
%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B8
%A3%E0%B8%B4
http://www.rdpbproject.com/press56/index.php?option=com_content&view=art
icle&id=166&Itemid=155
แหลงอางอิง
๕ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
โครงการเศรษฐกิจพอเพียง
โครงการพระราชดําริฝนหลวง
โครงการกังหันนํ้าชัยพัฒนา
โครงการแกล้งดิน
โครงการแก้มลิง
โครงการเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดํารงอยู่และปฏิบัติตนของ
ประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการ
พัฒนาและบริหารประเทศให้ดําเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ
เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการ
เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และ
วัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
โครงการเศรษฐกิจพอเพียง
โครงการเศรษฐกิจพอเพียง
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้
๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป
โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับ
พอประมาณ
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น
จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคํานึงถึง
ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทํานั้นๆ อย่างรอบคอบ
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการ
เปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคํานึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ
ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
โครงการเศรษฐกิจพอเพียง
เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดําเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒
ประการ ดังนี้
๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่
เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนําความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน
เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน
คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการ
ดําเนินชีวิต
โครงการเศรษฐกิจพอเพียง
โครงการเศรษฐกิจพอเพียง
การดําเนินชีวิตตามแนวพระราชดําริพอเพียง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าใจถึงสภาพสังคมไทย ดังนั้น เมื่อได้
พระราชทานแนวพระราชดําริ หรือพระบรมราโชวาทในด้านต่างๆ จะทรงคํานึงถึงวิถี
ชีวิต สภาพสังคมของประชาชนด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด ที่อาจ
นําไปสู่ความขัดแย้งในทางปฏิบัติได้
แนวพระราชดําริในการดําเนินชีวิตแบบพอเพียง
๑. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการใช้ชีวิต
๒. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต
๓. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าแบบต่อสู้กันอย่าง
รุนแรง
๔. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ด้วยการขวนขวายใฝ่หา
ความรู้ให้มีรายได้เพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้ าหมายสําคัญ
๕. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่ว ประพฤติตนตามหลักศาสนา
โครงการแกมลิง
ที่มาและความสําคัญในพระราชดําริ
โครงการแก้มลิง เป็นแนวคิดในพระราชดําริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย โดยพระองค์ทรงตระหนักถึงความรุนแรงของอุทกภัยที่เกิดขึ้น
ในกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ.2538 จึงมีพระราชดําริ "โครงการแก้มลิง" ขึ้น เมื่อ
วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๘ โดยให้จัดหาสถานที่เก็บกักนํ้าตามจุดต่างๆ ใน
กรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับนํ้าฝนไว้ชั่วคราว เมื่อถึงเวลาที่คลองพอจะระบายนํ้าได้
จึงค่อยระบายนํ้าจากส่วนที่กักเก็บไว้ออกไป จึงสามารถลดปัญหานํ้าท่วมได้ ทั้งนี้
นอกจากโครงการแก้มลิงจะมีขึ้นเพื่อช่วยระบายนํ้า ลดความรุนแรงของปัญหานํ้าท่วม
ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียงแล้ว ยังเป็นการช่วยอนุรักษ์นํ้าและ
สิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยนํ้าที่ถูกกักเก็บไว้ เมื่อถูกระบายสู่คูคลอง จะไปบําบัดนํ้าเน่าเสีย
ให้เจือจางลง และในที่สุดนํ้าเหล่านี้จะผลักดันนํ้าเสียให้ระบายออกไปได้
โครงการแกมลิง
วิธีการดําเนินงานของโครงการพระราชดําริ
ลักษณะของโครงการแก้มลิงจะ
ดําเนินการระบายนํ้าออกจากพื้นที่ตอนบน
เพื่อให้นํ้าไหลลงคลองพักนํ้าที่ชายทะเล จากนั้น
เมื่อระดับนํ้าทะเลลดลงจนตํ่ากว่านํ้าในคลอง นํ้า
ในคลองจะไหลลงสู่ทะเลตามธรรมชาติ
ต่อจากนั้นจะเริ่มสูบนํ้าออกจากคลองที่ทําหน้าที่
แก้มลิง เพื่อทําให้นํ้าตอนบนค่อยๆ ไหลมาเอง จึง
ทําให้เกิดนํ้าท่วมพื้นที่ลดน้อยลง จนในที่สุดเมื่อ
ระดับนํ้าทะเลสูงกว่าระดับในคลอง จึงปิดประตู
ระบายนํ้า โดยให้นํ้าไหลลงทางเดียว
โครงการแกมลิง
การจัดหาและออกแบบโครงการแก้มลิง
การพิจารณาจัดหาพื้นที่กักเก็บนํ้านั้น ต้องทราบปริมาตรนํ้าผิวดินและอัตรา
การไหลผิวดินที่มากที่สุดที่จะยอมปล่อยให้ออกได้ในช่วงเวลาฝนตก โดยสิ่งสําคัญคือ
ต้องจัดหาพื้นที่กักเก็บให้พอเพียง เพื่อจะได้ไม่เป็นปัญหาในการระบายนํ้า ปัจจุบันมี
แก้มลิงทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วกรุงเทพมหานคร กว่า 20 จุด ซึ่ง
ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทางฝั่งธนบุรี เนื่องจากมีคลองจํานวนมาก และระบายนํ้าออกทาง
แม่นํ้าเจ้าพระยา
โครงการแกมลิง
ทั้งนี้โครงการแก้มลิงแบ่งเป็น ๒ ส่วนคือ โครงการระบายนํ้าในพื้นที่ฝั่ง
ตะวันออกของแม่นํ้าเจ้าพระยา โดยจะใช้คลองที่ตั้งอยู่ชายทะเลด้านจังหวัด
สมุทรปราการ ทําหน้าที่เป็นทางเดินของนํ้า ตั้งแต่จังหวัด สระบุรี พระนครศรีอยุธยา
ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร
ส่วนที่สอง คือคลองในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่นํ้าเจ้าพระยา ซึ่งจะใช้คลอง
มหาชัย คลองสนามชัย และแม่นํ้าท่าจีน ทําหน้าที่เป็นคลองรับนํ้าในพื้นที่ตั้งแต่จังหวัด
อ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี นครปฐม และกรุงเทพมหานคร แล้วระบายลงสู่ทะเลด้าน
จังหวัดสมุทรสาคร
โครงการแกมลิง
โครงการแกมลิง
นอกจากนี้ยังมีโครงการแก้มลิง "แม่นํ้าท่าจีนตอนล่าง" เพื่อช่วยระบายนํ้าที่
ท่วมให้เร็วขึ้น โดยใช้หลักการควบคุมนํ้าในแม่นํ้าท่าจีน คือ เปิดการระบายนํ้าจํานวน
มากลงสู่อ่าวไทย เมื่อระดับนํ้าทะเลตํ่า ซึ่งโครงการนี้จะประกอบไปด้วย ๓ โครงการใน
ระบบคือ
๑.โครงการแก้มลิง "แม่นํ้าท่าจีนตอนล่าง
๒.โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย"
๓.โครงการแก้มลิง "คลองสุนัขหอน"
ด้วยพระปรีชาญาณ และพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัว ที่ทรงห่วงใยพสกนิกรของพระองค์ "โครงการแก้มลิง" จึงเกิดขึ้น และช่วย
บรรเทาวิกฤต และความเดือดร้อนจากนํ้าท่วมรอบกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลให้
เบาบางลงไปได้ โดยอาศัยเพียงแค่วิธีการทางธรรมชาติ
โครงการแกมลิง
โครงการแก้มลิง “คลองสุนัขหอน”
โครงการแก้มลิง "แม่นํ้าท่าจีนตอนล่าง
โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย"
โครงการแกมลิง
ประโยชน์ของโครงการพระราชดําริ
1. ช่วยระบายนํ้าท่วมขังในที่ลุ่มทิ้งลงทะเล
2. ช่วยลดระยะเวลานํ้าท่วมขังให้สิ้นลง
3. ลดปัญหาความตึงเครียดทางด้านจิตใจของราษฎรในพื้นที่นํ้าท่วม
4. ลดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ที่ถูกนํ้าท่วม
5. ลดค่าใช้จ่ายในการบูรณะซ่อมแซมสาธารณูปโภคต่าง ๆ
6. การชัดนํ้าจืดจากแม่นํ้าท่าจีนเพื่อนํามาช่วยไล่นํ้าเสีย
7. ช่วยให้มีการชัดนํ้าจืดจากแม่นํ้าท่าจีนเพื่อนํามาช่วยไล่นํ้าเสีย
โครงการแกลงดิน
ที่มาและความสําคัญในพระราชดําริ
แกล้งดิน เป็นแนวพระราชดําริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย
เดช เกี่ยวกับการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว หรือดินเป็นกรด โดยมีการขังนํ้าไว้ในพื้นที่
จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาเคมีทําให้ดินเปรี้ยวจัด จนถึงที่สุด แล้วจึงระบายนํ้าออกและ
ปรับสภาพฟื้นฟูดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งดินมีสภาพดีพอที่จะใช้ในการเพาะปลูกได้
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัด
นราธิวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ทรงพบว่า ดินในพื้นที่พรุที่มีการชักนํ้าออก เพื่อจะนํา
ที่ดินมาใช้ทําการเกษตรนั้น แปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทําให้เพาะปลูกไม่ได้ผล จึงมี
พระราชดําริให้ส่วนราชการต่าง ๆ พิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่พรุที่มีนํ้า
แช่ขังตลอดปีให้เกิด ประโยชน์ในทางการเกษตรมากที่สุด และให้คํานึงถึงผลกระทบต่อ
ระบบนิเวศน์ด้วย การแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด
โครงการแกลงดิน
ดังนั้น เมื่อดินแห้ง สารไพไรท์จะทําปฏิกิริยากับอากาศ ปลดปล่อยกรด
กํามะถันออกมา ทําให้ดินแปรสภาพเป็นดินกรดจัดหรือเปรี้ยวจัด ศูนย์ศึกษาการ
พัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดําริ จึงได้ดําเนินการสนองพระราชดําริ
โครงการ " แกล้งดิน " เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดิน เริ่มจาก
วิธีการ " แกล้งดินให้เปรี้ยว " คือทําให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยา
ทางเคมีของดิน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้สารไพไรท์ทําปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ
ปลดปล่อยกรดกํามะถันออกมา ทําให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงขั้น " แกล้งดินให้เปรี้ยวสุด
ขีด " จนกระทั่งถึงจุดที่พืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้ จากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุง
ดินดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชได้ วิธีการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัดตามแนว
พระราชดําริ คือควบคุมระดับนํ้าใต้ดิน เพื่อป้ องกันการเกิดกรดกํามะถัน จึงต้อง
ควบคุมนํ้าใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารไพไรท์อยู่ เพื่อมิให้สารไพไรท์ทําปฏิกิริยา
กับออกซิเจนหรือถูกออกซิไดซ์
โครงการแกลงดิน
วิธีการดําเนินงานของโครงการพระราชดําริ
-การแกล้งดิน
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดําริ ได้ทําการศึกษาวิจัยและ
ปรับปรุงดิน โดยวิธีการ "แกล้งดิน" คือ ทําให้ดินเปรี้ยว เป็นกรดจัดรุนแรงที่สุด
กล่าวคือ การทําให้ดินแห้ง และเปียกโดยนํานํ้าเข้าแปลงทดลองระยะหนึ่ง และระบายนํ้า
ออกให้ดินแห้งระยะหนึ่งสลับกัน จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดกรดมากยิ่งขึ้น ด้วยหลักการ
นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงให้เลียนแบบสภาพธรรมชาติ ซึ่งมีฤดูแล้งและ
ฤดูฝนเป็นปกติในแต่ละปี แต่ให้ใช้วิธีการร่นระยะเวลาช่วงแล้ง และช่วงฝนในรอบปีให้
สั้นลง โดยปล่อยให้ดินแห้ง 1 เดือน และขังนํ้าให้ดินเปียกนาน 2 เดือน สลับกันไป เกิด
ภาวะดินแห้ง และดินเปียก 4 รอบ ต่อ 1 ปี เสมือนกับมีฤดูแล้งและฤดูฝน 4 ครั้ง ใน 1
ปี หลังจากนั้นจึงให้หาวิธีการปรับปรุงดิน ดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้
โครงการแกลงดิน
-การปรับปรุงดิน
วิธีการปรับปรุงดินอันเนื่องมาจากพระราชดําริ "แกล้งดิน" สามารถเลือกใช้
ได้ 3 วิธีการตามแต่สภาพของดินและความเหมาะสม คือ
การใช้นํ้าชะล้างความเป็นกรด : เป็นการใช้นํ้าชะล้างดินเพื่อล้างกรดทําให้ค่า
pH เพิ่มขึ้นโดยวิธีการปล่อยนํ้าให้ท่วมขังแปลง แล้วระบายออกประมาณ 2-3 ครั้ง
โดยทิ้งช่วงการระบายนํ้าประมาณ 1-2 สัปดาห์ต่อครั้ง ดินจะเปรี้ยวจัดในช่วงดินแห้ง
หรือฤดูแล้ง ดังนั้นการชะล้างควรเริ่มในฤดูฝนเพื่อลดปริมาณการใช้นํ้าในชลประทาน
การใช้นํ้าชะล้างความเป็นกรดต้องกระทําต่อเนื่องและต้องหวังผลในระยะยาวมิใช่
กระทําเพียง 1-2 ครั้งเท่านั้น วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดแต่จําเป็นต้องมีนํ้ามาก
พอที่จะใช้ชะล้างดินควบคู่ไปกับการควบคุมระดับนํ้าใต้ดินให้อยู่เหนือดินเลนที่มีไพไรท์
มากเมื่อล้างดินเปรี้ยวให้คลายลงแล้วดินจะมีค่า pH เพิ่มขึ้นอีกทั้งสารละลายเหล็กและ
อลูมิเนียมที่เป็นพิษเจือจางลงจนทําให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี
การแก้ไขดินเปรี้ยวด้วยการใช้ปูนผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน ซึ่งมีวิธีการดัง
ขั้นตอนต่อไปนี้คือ ใช้วัสดุปูนที่หาได้ง่ายในท้องที่ เช่น ใช้ปูน มาร์ล (marl) สําหรับ
ถาคกลางหรือปูนฝุ่น (lime dust) สําหรับภาคใต้ หว่านให้ทั่ว 1-4 ตันต่อไร่ แล้วไถแปร
หรือพลิกกลบดิน ปริมาณของปูนที่ใช้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความเป็นกรดของดิน
การใช้ปูนควบคู่ไปกับการใช้นํ้าชะล้างและควบคุมระดับนํ้าใต้ดิน เป็นวิธีการที่
สมบรูณ์ที่สุดและใช้ได้ผลมากในพื้นที่ซึ่งเป็นดินกรดจัดรุนแรงและถูกปล่อยทิ้งให้รก
ร้างว่างเปล่าเป็นเวลานาน
ประโยชน์ของโครงการพระราชดําริ
เมื่อผลของการศึกษาทดลอง สําเร็จผลชั้นหนึ่ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุล
ทองฯ ได้นําผลการศึกษาทดลองขยายผลสู่พื้น ที่ทําการเกษตรของราษฎร ที่ประสบ
ปัญหาดินเปรี้ยวจัด ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีพระราชดําริว่า
"...พื้นที่บริเวณบ้านโคกอิฐ และโคกในเป็นดินเปรี้ยว เกษตรกรมีความ
ต้องการจะปลูกข้าว ทางชลประทานได้จัดส่งนํ้าชลประทานให้ ก็ให้พัฒนาดินเปรี้ยว
เหล่านี้ให้ใช้ประโยชน์ได้ โดยให้ประสานงานกับชลประทาน..."
จากการพัฒนาบ้านโคกอิฐ และบ้านโคกใน ปรากฏว่าราษฎรในพื้นที่ดังกล่าว
สามารถปลูกข้าวให้ได้ผล ผลิตเพิ่มมากขึ้นจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย ถึงกับมีรับสั่งว่า
"...เราเคยมาโคกอิฐ โคกใน มาดูเขาชี้ตรงนั้นๆ เขาทํา แต่ว่าเขาได้เพียง 5 ถึง 10 ถัง
แต่ตอนนี้ได้ขึ้นไปถึง 40-50 ถัง ก็ใช้ได้แล้ว เพราะว่าทําให้เปรี้ยวเต็มที่แล้ว โดยที่ขุด
อะไรๆ ทําให้เปรี้ยวแล้วก็ระบาย รู้สึกว่านับวันเขาจะดีขึ้น... อันนี้สิเป็นชัยชนะที่ดีใจมาก
ที่ใช้งานได้แล้ว ชาวบ้านเขาก็ดีขึ้น ...แต่ก่อนชาวบ้านเขาต้องซื้อ ข้าว เดี๋ยวนี้เขามีข้าว
อาจจะขายได้"
อย่างไรก็ตาม " โครงการแกล้งดิน " มิได้หยุดลงเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง แต่จะต้อง
ดําเนินการต่อไป "...งานปรับปรุงดินเปรี้ยวควรดําเนินการต่อไป ทั้งในแง่การศึกษา
ทดลองและการขยายผล..." ซึ่งปัจจุบันได้นําผลการศึกษาทดลอง ไปขยายผลแก่
ราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาส และจังหวัดอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขณะนี้จะมีการนํา
ผลของการ "แกล้งดิน" นําไปใช้ในพื้นที่จังหวัดนครนายก
และจังหวัดนครศรีธรรมราชอีกด้วย
ดังนั้น " โครงการแกล้งดิน " จึงเป็นโครงการที่ก่อให้เกิด
ประโยชน์กับราษฎรทั่ว ทั้งประเทศ สร้างความปลื้มปิติ
แก่เหล่าพสกนิกรเป็นล้นพ้นที่พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรง ยอมตรากตรําพระ
วรกายลงมา "แกล้งดิน" เพื่อให้พสกนิกรของพระองค์ พ้นจากความยากจนกลับ มา
เบิกบานแจ่มใสกันทั่วหน้า
ที่มาและความสําคัญ
โครงการกังหันนํ้าชัยพัฒนา เริ่มต้นขึ้นเนื่องมาจาก
อัตราการเกิดมลภาวะทางนํ้าที่เพิ่มสูงขึ้นจนยากแก่การแก้ไข
ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดรอบนอก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงตระหนักถึงเรื่องนี้และทรงมีความเป็นห่วงในคุณภาพ
ชีวิตพสกนิกรของท่าน จึงได้มีพระราชดําริเพื่อช่วยแก้ไขปัญหานํ้าเสียขึ้นมาเมื่อวันที่ 24
ธันวาคม 2531 โดยดําริให้สร้างเครื่องกลเพื่อช่วยเติมอากาศ โดยใช้รูปแบบที่เรียบง่าย
แต่มีประสิทธิภาพในการบําบัดนํ้าเสียสูงในนาม “กังหันนํ้าชัยพัฒนา”
กังหันนํ้าชัยพัฒนา เริ่มต้นใช้งานครั้งแรกในกิจกรรมบําบัดนํ้าเสียที่โรงพยาบาลพระ
มงกุฎฯ และที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปีพ.ศ. 2532 เพื่อทดสอบ ศึกษา วิจัยและพัฒนา
ระบบบําบัดนํ้าเสียเป็นระยะเวลา 4 – 5 ปี
กังหันนํ้าชัยพัฒนาเป็นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวนํ้าหมุนช้าแบบทุ่นลอย
(Chaipattana Low Speed Surface Aerator) ซึ่งเป็น Model RX-2 หมายถึง Royal
Experiment แบบที่ 2 มีคุณสมบัติในการถ่ายเทออกซิเจนได้สูงถึง 1.2 กิโลกรัมของ
ออกซิเจน/แรงม้า/ชั่วโมง สามารถนําไปใช้ในกิจกรรมปรับปรุงคุณภาพนํ้าได้อย่าง
อเนกประสงค์ ติดตั้งง่าย เหมาะสําหรับใช้ในแหล่งนํ้าธรรมชาติ ได้แก่ สระนํ้า หนองนํ้า
คลอง บึง ลําห้วย ฯลฯ ที่มีความลึกมากกว่า 1.00 เมตร และมีความกว้างมากกว่า
3.00 เมตร
วิธีการดําเนินงานของโครงการพระราชดําริ
โครงกังหันนํ้า 12 เหลี่ยมๆ ละ 6 ซอง โดยแต่ละซองที่พื้นจะมีรูพรุน
เพื่อที่จะได้วิดนํ้าขึ้นไปสัมผัสกับอากาศและตกลงมากระทบกับผิวนํ้า ก็จะเกิด
ฟองอากาศขึ้นมา ทําให้มีออกซิเจนในนํ้าเพิ่มขึ้น ซึ่งแต่ละซองสามารถวิดนํ้าได้ลึก
0.50 เมตรและวิดนํ้าขึ้นไปแตกกระจายในอากาศได้ถึง 1 เมตรและในขณะที่ซองนํ้า
กําลังเคลื่อนที่ลงสู่ผิวนํ้าแล้วกดลงไปใต้ผิวนํ้านั้น จะเกิดการอัดอากาศภายในซองนํ้า
จนกระทั่งซองนํ้าจมนํ้าเต็มที่ทําให้เพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทออกซิเจนได้สูงขึ้น
กังหันนํ้าชัยพัฒนาได้นํามาติดตั้งใช้งานกับระบบบําบัดนํ้าเสียตามสถานที่
ต่างๆ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2532 และได้มีการปรับปรุงและพัฒนาอยู่
ตลอดเวลาเพื่อให้บรรลุเป้ าหมายที่จะให้มีการบําบัดนํ้าเสียอย่างมีประสิทธิภาพ
สะดวกในการใช้งานประหยัดค่าใช้จ่าย และบํารุงรักษาได้ง่ายตลอดจนมีอายุการใช้งาน
ที่ยาวนาน
การบําบัดมลพิษในนํ้าด้วยการใช้เครื่องกลเติมอากาศ '''กังหันนํ้าชัยพัฒนา'''
ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจทําให้นํ้าใสสะอาดขึ้น ลดกลิ่นเหม็นลงได้มากและมีปริมาณ
ออกซิเจนในนํ้าเพิ่มขึ้น สัตว์นํ้าสามารถอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัย และสามารถบําบัด
ความสกปรกในรูปของมวลสารต่างๆ ให้ลดตํ่าลง ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กําหนด
เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เครื่องกลเติมอากาศ '''กังหันนํ้าชัย
พัฒนา''' ได้รับการพิจารณาและทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย นับเป็น
สิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตร และเป็นครั้งแรก
ที่ได้มีการรับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่พระบรมราชวงศ์ด้วย จึงนับได้ว่าเป็น
'''สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติ
ไทยและเป็นครั้งแรกของโลก'''
นอกจากนี้ สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้
ประกาศให้กังหันนํ้าชัยพัฒนาได้รับรางวัลที่ 1 ประเภท
รางวัลผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์แก่
ประเทศชาติ ประจําปี 2536 และทูลเกล้า ฯ ถวายรางวัล
นี้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกวาระหนึ่ง
ประโยชน์ของโครงการพระราชดําริ
เติมอากาศให้นํ้าเสียกลายเป็นนํ้าดี สามารถประยุกต์ใช้บําบัดนํ้าเสีย จากการ
อุปโภคของประชาชน นํ้าเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มออกซิเจน ให้กับบ่อ
เพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าทางการเกษตร
ที่มาและความสําคัญในพระราชดําริ
โครงการพระราชดําริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกําเนิดจากพระมหา
กรุณาธิคุณ ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้อง
ประสบปัญหาขาดแคลนนํ้า เพื่ออุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะ
แห้งแล้งซึ่งมีสาเหตุมาจาก ความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ
กล่าวคือ ฤดูฝนเริ่มต้นล่าเกินไป หรือหมดเร็วกว่าปกติหรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดู
ฝน จากพระราชกรณียกิจ ในการเสด็จพระราชดําเนินเยี่ยมพสกนิกร ในทุกภูมิภาค
อย่างต่อเนื่อง สมํ่าเสมอนับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ จนตราบเท่าทุกวันนี้
ทรงพบเห็นว่าภาวะแห้งแล้ง ได้ทวีความถี่ และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลําดับ
เพราะนอกจากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติแล้ว การตัด
ไม้ทําลายป่า
ยังเป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่ง
สร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร ในทุกภาคของประเทศ ทําความเสียหายแก่
เศรษฐกิจโดยรวมของชาติเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี ตามเส้นทางที่เคยเสด็จพระ
ราชดําเนิน ทั้งภาคพื้นดิน ทางอากาศยานดังกล่าว ทรงสังเกตเห็นว่ามีเมฆปริมาณ
มากปกคลุมท้องฟ้ า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกัน จนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะ
ฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคํานึงว่า น่าจะมีมาตรการทาง
วิทยาศาสตร์ ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า
ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ใน
ภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุม
ตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจําปีของประเทศไทย จะ
สามารถดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดเป็นฝนตกได้ อย่างแน่นอน
การทดลองในท้องฟ้ าเป็นครั้งแรก จนถึงปี พ.ศ.2512กระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบิน ปราบศัตรูพืชกรมการข้าว และพร้อมที่จะให้การสนับสนุน
ในการสนองพระราชประสงค์ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงได้นําความขึ้นกราบบังคมทูล
พระกรุณาทรงทราบว่า พร้อมที่จะดําเนินการ ตามพระราชประสงค์แล้ว ดังนั้นในปี
เดียวกันนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทําการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้ า
เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อํานวยการโครงการ และหัวหน้าคณะ
ปฏิบัติการทดลอง เป็นคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็น
แห่งแรก โดยทดลองหยอดก้อนนํ้าแข็งแห้ง (dry ice หรือ solid carbondioxide) ขนาดไม่
เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่
เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น ทําให้กลุ่มเมฆ ทดลองเหล่านั้น มีการเปลี่ยนแปลงทาง
ฟิสิกส์ของเมฆ
เกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ ใน
เวลาอันรวดเร็วแล้วเคลื่อนตัวตามทิศทางลม พ้นไปจากสายตา ไม่สามารถสังเกตได้
เนื่องจากยอดเขาบัง แต่จากการติดตามผลโดยการสํารวจทางภาคพื้นดิน และได้รับ
รายงานยืนยันด้วยวาจาจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลองวนอุทยานเขาใหญ่
ในที่สุด นับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้
วิธีการดําเนินงานของโครงการพระราชดําริ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงกําหนดขั้นตอนของกรรมวิธีการทําฝน
หลวงขึ้นเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ ตามลําดับ ดังนี้
ขั้นตอนที่หนึ่ง : "ก่อกวน"
เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติ เริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง การปฏิบัติการฝนหลวง ใน
ขั้นตอนนี้ จะมุ่งใช้สารเคมีไปกระตุ้น ให้มวลอากาศเกิดการลอยตัวขึ้นสู่ เบื้องบน เพื่อให้
เกิดกระบวนการชักนําไอนํ้า หรือ ความชื้นเข้าสู่ระบบการเกิด เมฆ ระยะเวลาที่จะ
ปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ ไม่ควรเกิน 10.00 น. ของแต่ละวัน โดยการใช้ สารเคมีที่สามารถ
ดูดซับไอนํ้าจากมวล อากาศได้ แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ ตํ่า (มี ค่า Critical
relative humidity ตํ่า)เพื่อกระตุ้น กลไกของกระบวนการกลั่นตัวไอนํ้าในมวล อากาศ ใน
บริเวณ ปฏิบัติการสําหรับใช้เป็นศูนย์กลาง ที่ จะสร้างกลุ่มเมฆฝนในขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอน ที่ สอง :
"เลี้ยง ให้ อ้วน" เป็นขั้นตอนที่เมฆกําลัง ก่อตัวเจริญเติบโตซึ่งเป็นระยะสําคัญ
มาก ในการปฏิบัติการฝนหลวง เพราะจะต้องไป เพิ่มพลังงานให้แก่ updraft ให้ยาวนาน
ออกไป ต้อง ใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์หรือศิลปะแห่ง การทําฝนควบคู่ไปพร้อมๆ
กัน เพื่อตัดสินใจ โปรยสารเคมีฝนหลวงชนิดใด ณ ที่ใดของกลุ่ม ก้อนเมฆ และในอัตรา
ใดจึงเหมาะสม เพราะ ต้องให้กระบวนการเกิดละอองเมฆสมดุล กับความแรงของ
updraft มิฉะนั้นจะทําให้เมฆ สลาย
ขั้นตอน ที่ สาม :
"โจมตี" เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกรรมวิธี ปฏิบัติการฝนหลวง เมฆ หรือ กลุ่ม
เมฆฝนมี ความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็น ฝนได้ ภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดนํ้า
ขนาดใหญ่มากมาย หากเครื่องบินบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้ จะมีเม็ดนํ้าเกาะตามปีก
และกระจังหน้า ของเครื่องบิน เป็นขั้นตอนที่สําคัญ และอาศัย ประสบการณ์มาก
เพราะจะต้องปฏิบัติการเพื่อ ลดความรุนแรงของ updraft หรือทําให้อายุของ updraft
หมดไป สําหรับการปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ จะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของการทําฝน
หลวง ซึ่งมีอยู่ 2 ประเด็นคือเพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก (Rain enhancement) และเพื่อให้
เกิดการกระจายการตกของฝน (Rain redistribution)
ประโยชน์ของโครงการพระราชดําริ
1. เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนนํ้าในการเกษตรในช่วงที่เกิดภาวะฝนแล้งหรือฝนทิ้ง
ช่วงยาวนานเพื่อเพิ่มปริมาณนํ้า ให้กับพื้นที่ลุ่มรับนํ้าของแม่นํ้าสายต่างๆ ที่มีปริมาณ
นํ้าต้นทุนลดน้อยลง
2. เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนนํ้าเพื่อการอุปโภคบริโภค เสริมสร้างเส้นทาง
คมนาคมทางนํ้า เป็นการเพิ่มปริมาณนํ้าโดยเฉพาะในบริเวณแม่นํ้าที่ตื้นเขินให้สามารถ
ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมได้
3. เพื่อป้ องกันและบําบัดภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม " ฝนหลวง" ได้บรรเทา
ภาวะแวดล้อมเป็นพิษอันเกิดจากการระบาย นํ้าเสีย และขยะมูลฝอยลงสู่แม่นํ้า
เจ้าพระยา ปริมาณนํ้าจากฝนหลวงจะทําให้ภาวะมลพิษจากนํ้าเสียเจือจางลง
4. เพื่อเพิ่มปริมาณนํ้าในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ าฝน
หลวงในอนาคตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวความคิดให้
ทําการศึกษาวิจัยพัฒนาฝนหลวงหลายประการ คือ สร้างจรวดฝนเทียมบรรจุ
สารเคมีจากพื้นดินเข้าสู่เมฆหรือยิงจากเครื่องบิน การใช้เครื่องพ่นสารเคมีอัดแรง
กําลังสูงจากยอดเขาสู่ฐานของก้อนเมฆโดยตรง เพื่อช่วยให้เมฆที่ลอยปกคลุมอยู่เหนือ
ยอดเขาสามารถรวมตัวหนาแน่น จนเกิดฝนตกลงสู่บริเวณภูเขาหรือพื้นที่ใต้ลมของ
ภูเขา

More Related Content

What's hot

โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
Sarocha Makranit
 
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
KuNg Pw
 
แบบเสนอเค้าโครงร่างโครงงาน
แบบเสนอเค้าโครงร่างโครงงานแบบเสนอเค้าโครงร่างโครงงาน
แบบเสนอเค้าโครงร่างโครงงาน
noeypornnutcha
 
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บทรูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
Aekapoj Poosathan
 
10บรรณานุกรม
10บรรณานุกรม10บรรณานุกรม
10บรรณานุกรม
krupornpana55
 
หน้าปกโครงงาน
หน้าปกโครงงานหน้าปกโครงงาน
หน้าปกโครงงาน
Kanistha Chudchum
 
การทำโครงงาน 5 ขั้น
การทำโครงงาน 5 ขั้นการทำโครงงาน 5 ขั้น
การทำโครงงาน 5 ขั้น
Pongtong Kannacham
 
รายงานการศึกษาค้นคว้า
รายงานการศึกษาค้นคว้ารายงานการศึกษาค้นคว้า
รายงานการศึกษาค้นคว้า
tanakit pintong
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
โครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพโครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
โครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
ศิริวรรณ นามสวัสดิ์
 
ตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎี
ตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎีตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎี
ตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎี
KawinTheSinestron
 
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทานโครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
Rawinnipha Joy
 

What's hot (20)

โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
 
ปกโครงงานคณิตศาสตร์
ปกโครงงานคณิตศาสตร์ปกโครงงานคณิตศาสตร์
ปกโครงงานคณิตศาสตร์
 
การศึกษาการจัดการเรียนการสอนแบบ CBL
การศึกษาการจัดการเรียนการสอนแบบ CBLการศึกษาการจัดการเรียนการสอนแบบ CBL
การศึกษาการจัดการเรียนการสอนแบบ CBL
 
แบบเสนอเค้าโครงร่างโครงงาน
แบบเสนอเค้าโครงร่างโครงงานแบบเสนอเค้าโครงร่างโครงงาน
แบบเสนอเค้าโครงร่างโครงงาน
 
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
 
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บทรูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
 
10บรรณานุกรม
10บรรณานุกรม10บรรณานุกรม
10บรรณานุกรม
 
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
หน้าปกโครงงาน
หน้าปกโครงงานหน้าปกโครงงาน
หน้าปกโครงงาน
 
การทำโครงงาน 5 ขั้น
การทำโครงงาน 5 ขั้นการทำโครงงาน 5 ขั้น
การทำโครงงาน 5 ขั้น
 
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคมโครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
 
คำนำไอเอสใหม่
คำนำไอเอสใหม่คำนำไอเอสใหม่
คำนำไอเอสใหม่
 
ตัวอย่างรูปเล่มวิชาโครงงาน ม.3
ตัวอย่างรูปเล่มวิชาโครงงาน ม.3ตัวอย่างรูปเล่มวิชาโครงงาน ม.3
ตัวอย่างรูปเล่มวิชาโครงงาน ม.3
 
รายงานการศึกษาค้นคว้า
รายงานการศึกษาค้นคว้ารายงานการศึกษาค้นคว้า
รายงานการศึกษาค้นคว้า
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
โครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพโครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
โครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
 
ตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎี
ตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎีตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎี
ตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎี
 
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทานโครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
 
โครงงานเเยมกล้วย(Complete)
โครงงานเเยมกล้วย(Complete)โครงงานเเยมกล้วย(Complete)
โครงงานเเยมกล้วย(Complete)
 
รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
 

Similar to โครงการในพระราชดำริงานคอม

แบบฟอร์มเขียนโครงร่างโครงงาน
แบบฟอร์มเขียนโครงร่างโครงงานแบบฟอร์มเขียนโครงร่างโครงงาน
แบบฟอร์มเขียนโครงร่างโครงงาน
Saranpattara Jace
 
ใบงานท 2-8
ใบงานท   2-8ใบงานท   2-8
ใบงานท 2-8
noeiinoii
 
Projectm6
Projectm6Projectm6
Projectm6
Nat Ty
 
งานคอมบทที่ 2 ถึง 8
งานคอมบทที่ 2 ถึง 8งานคอมบทที่ 2 ถึง 8
งานคอมบทที่ 2 ถึง 8
ฝฝ' ฝน
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
Ssk Jeenn
 
แบบโครงร่าง Com
แบบโครงร่าง Comแบบโครงร่าง Com
แบบโครงร่าง Com
Pattaraporn Khantha
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอม
Autcharapun Kanya
 
แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
Moomy Momay
 
โครงการเปื้อนรัก ปันยิ้ม
โครงการเปื้อนรัก ปันยิ้มโครงการเปื้อนรัก ปันยิ้ม
โครงการเปื้อนรัก ปันยิ้ม
พัน พัน
 
แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
Natsima Chaisuttipat
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
Thanyaret Kongraj
 
Napatchara
NapatcharaNapatchara
Napatchara
U'sei TP
 
แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ตั้ม
แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ตั้มแบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ตั้ม
แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ตั้ม
Moomy Momay
 

Similar to โครงการในพระราชดำริงานคอม (20)

แบบฟอร์มเขียนโครงร่างโครงงาน
แบบฟอร์มเขียนโครงร่างโครงงานแบบฟอร์มเขียนโครงร่างโครงงาน
แบบฟอร์มเขียนโครงร่างโครงงาน
 
ใบงานที่2-8
ใบงานที่2-8ใบงานที่2-8
ใบงานที่2-8
 
ใบงานท 2-8
ใบงานท   2-8ใบงานท   2-8
ใบงานท 2-8
 
Project m607
Project m607Project m607
Project m607
 
Projectm6
Projectm6Projectm6
Projectm6
 
บทความ บทความ การเปลี่ยนแปลงทักษะของนักเรียนในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา โรงเรีย...
บทความ บทความ การเปลี่ยนแปลงทักษะของนักเรียนในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา  โรงเรีย...บทความ บทความ การเปลี่ยนแปลงทักษะของนักเรียนในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา  โรงเรีย...
บทความ บทความ การเปลี่ยนแปลงทักษะของนักเรียนในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา โรงเรีย...
 
งานคอมบทที่ 2 ถึง 8
งานคอมบทที่ 2 ถึง 8งานคอมบทที่ 2 ถึง 8
งานคอมบทที่ 2 ถึง 8
 
Presentation3 605 no.15&16
Presentation3 605 no.15&16Presentation3 605 no.15&16
Presentation3 605 no.15&16
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
แบบโครงร่าง Com
แบบโครงร่าง Comแบบโครงร่าง Com
แบบโครงร่าง Com
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอม
 
แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
โครงการเปื้อนรัก ปันยิ้ม
โครงการเปื้อนรัก ปันยิ้มโครงการเปื้อนรัก ปันยิ้ม
โครงการเปื้อนรัก ปันยิ้ม
 
แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
K2
K2K2
K2
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอม
 
โครงงานคอมใบงาน
โครงงานคอมใบงานโครงงานคอมใบงาน
โครงงานคอมใบงาน
 
Napatchara
NapatcharaNapatchara
Napatchara
 
แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ตั้ม
แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ตั้มแบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ตั้ม
แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ตั้ม
 

More from Unchaya Suwan

More from Unchaya Suwan (20)

ศิลปะ50.full
ศิลปะ50.fullศิลปะ50.full
ศิลปะ50.full
 
05science50 120930073307-phpapp01
05science50 120930073307-phpapp0105science50 120930073307-phpapp01
05science50 120930073307-phpapp01
 
04mathematics50 120930072241-phpapp01
04mathematics50 120930072241-phpapp0104mathematics50 120930072241-phpapp01
04mathematics50 120930072241-phpapp01
 
03english50 120930071825-phpapp01
03english50 120930071825-phpapp0103english50 120930071825-phpapp01
03english50 120930071825-phpapp01
 
02social50 120930071557-phpapp02
02social50 120930071557-phpapp0202social50 120930071557-phpapp02
02social50 120930071557-phpapp02
 
01thai50 120930071327-phpapp02
01thai50 120930071327-phpapp0201thai50 120930071327-phpapp02
01thai50 120930071327-phpapp02
 
ใบงานที่ 2-8
ใบงานที่ 2-8ใบงานที่ 2-8
ใบงานที่ 2-8
 
ใบงานที่ 2-8
ใบงานที่ 2-8ใบงานที่ 2-8
ใบงานที่ 2-8
 
ใบงานที่ 2-8
ใบงานที่ 2-8ใบงานที่ 2-8
ใบงานที่ 2-8
 
ใบงาน 2
ใบงาน 2ใบงาน 2
ใบงาน 2
 
เสี่ยว
เสี่ยวเสี่ยว
เสี่ยว
 
M6 pe-art-voca-2551
M6 pe-art-voca-2551M6 pe-art-voca-2551
M6 pe-art-voca-2551
 
M6 thai-2551
M6 thai-2551M6 thai-2551
M6 thai-2551
 
M6 science-2551
M6 science-2551M6 science-2551
M6 science-2551
 
M6 math-2551
M6 math-2551M6 math-2551
M6 math-2551
 
M6health+art+tech2553
M6health+art+tech2553M6health+art+tech2553
M6health+art+tech2553
 
M6 eng-2551
M6 eng-2551M6 eng-2551
M6 eng-2551
 
M6 social-2551
M6 social-2551M6 social-2551
M6 social-2551
 
Blogger
BloggerBlogger
Blogger
 
ใบงานท 1แบบสำรวจต_วเอง
ใบงานท  1แบบสำรวจต_วเองใบงานท  1แบบสำรวจต_วเอง
ใบงานท 1แบบสำรวจต_วเอง
 

โครงการในพระราชดำริงานคอม