SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  19
Télécharger pour lire hors ligne
เมืองแม่มอก
การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุ
โดยภาคประชาสังคม
อุดม สุวรรณพิมพ์
เมืองแม่มอก:
การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุ
โดยภาคประชาสังคม
ว่าที่ร้อยตรี ดร. อุดม สุวรรณพิมพ์
รองปลัดองค์การบริหารส่วนตาบลแม่ถอด อาเภอเถิน จังหวัดลาปาง
ผู้เขียน : ว่าที่ร้อยตรี ดร. อุดม สุวรรณพิมพ์
บรรณาธิการบริหาร : นางสาวยุวดี คาดการณ์ไกล
บรรณาธิการฝ่ายวิชาการ : นางสาวยุวดี คาดการณ์ไกล
ผู้ถอดความและเรียบเรียง : นายอรุณ สถิตพงศ์สถาพร
กองบรรณาธิการ : นางสาวณัฐธิดา เย็นบารุง นายอรุณ สถิตพงศ์สถาพร นางสาวฐิติรัตน์ รู้เสงี่ยม
ปก : นายอรุณ สถิตพงศ์สถาพร
รูปเล่ม : นายอรุณ สถิตพงศ์สถาพร
ปีที่เผยแพร่ : พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
ผู้เผยแพร่ : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับมูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ
(CPWI) ภายใต้โครงการการพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนเมืองสุขภาวะ
ผู้สนับสนุน : สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
1
เมืองแม่มอก:
การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
ความเป็นเมืองในคราบชนบท
แม่มอก เป็นตาบลหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในอาเภอเถิน จังหวัดลาปาง ห่างจากที่ว่าการอาเภอเถินไปทาง
ทิศเหนือประมาณ 22 กิโลเมตร อาณาเขตติดต่อด้านทิศเหนือ ติดกับอาเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ทิศ
ตะวันออก ติดกับอาเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ทิศตะวันตกและใต้ ติดกับตาบลแม่ปะและตาบลเวียง
มอก อาเภอเถิน จังหวัดลาปาง ปัจจุบันมีเนื้อที่เกือบ 2แสนไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 12 ของเนื้อที่อาเภอ
เถินทั้งหมด
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลาดเชิงเขา โดยมีภูเขาสูงชันอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ คั่นระหว่าง
อาเภอเถิน จังหวัดลาปางกับอาเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ภูเขาเหล่านี้ล้วนเป็นแหล่งต้นน้าลาธารที่
สาคัญของตาบล บริเวณตอนกลางของตาบลจะเป็นพื้นที่ราบมีแม่น้าแม่มอกไหลผ่าน และยังมีลาห้วย
ขนาดเล็กไหลผ่านในหมู่บ้านต่างๆ แม่มอก มาจากชื่อของลาน้าที่ไหลลงสู่บ้านผาคอก ชาวบ้านนิยม
เรียกว่าแม่น้าผาคอก จากนั้นเรียกเพี้ยนกันมาว่าแม่น้าแม่มอก และได้เรียกชื่อหมู่บ้านตามลาน้าว่าบ้าน
แม่มอกมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนลาน้าที่ไหลไปอีกฝั่งหนึ่งของภูเขาลงสู่พื้นที่ในเขตจังหวัดแพร่และสุโขทัย
กลายเป็นต้นน้าของแม่น้ายม โดยมีป่าแม่มอก ถือเป็นป่าสักงามผืนสุดท้ายของลาปาง และเป็นป่า
สมุนไพรที่มีความอุดมสมบูรณ์
ภาพล่าง: บรรยากาศของทุ่งนา
ภาพขวา: แหล่งน้าตกธรรมชาติของแม่มอก
2
ใน พ.ศ. 2560 แม่มอกมีประชากรตามทะเบียนราษฎร์ทั้งหมด 5,192 คน หรือราว 1,765 หลังคา
เรือน (ข้อมูลจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย) ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม ได้แก่
เพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ พืชที่ปลูก อาทิ ข้าว ถั่วลิสง ข้าวโพด กระเทียม พืชผักสวนครัว ลาไย มีการ
เลี้ยงสัตว์ เช่น โคเนื้อ กระบือ สุกร เป็ด ไก่ ปลาน้าจืด สาหรับการทานาจะทาปีละครั้ง อาศัยน้าฝนใน
เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม โดยใช้แรงงานในครัวเรือน ถ้ากรณีแรงงานไม่พอจะจ้างจากตาบลใกล้เคียง
เมื่อแรงงานว่างจากภาคเกษตรกรรม บางส่วนจะไปประกอบอาชีพรับจ้างในพื้นที่อื่น
แม้ทางกายภาพ แม่มอกจะมีลักษณะของความเป็นชนบท แต่ชาวบ้านตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึงวัย
กลางคนก็เริ่มมีการปรับตัวเข้าสู่วิถีชีวิตแบบเมืองแล้ว เช่น มีนายทุนในพื้นที่ มีการใช้ Social Media
อย่างไรก็ดี ชุมชนแม่มอกก็ยังมีลักษณะแบบชนบทอยู่มาก วิถีชีวิตของชาวแม่มอกจะมีความเกี่ยวข้อง
กับวัฒนธรรมพระพุทธศาสนาอยู่ตลอด ผู้สูงอายุในชุมชนจะมีความตื่นตัวในการเป็นผู้นาทากิจกรรม
ต่างๆ เช่น การชักชวนคนหนุ่มสาวและเด็กๆ เข้าวัดทาบุญ การประกอบประเพณีสลากภัตในช่วง
เข้าพรรษา การเซ่นไหว้แม่โพสพในฤดูทานา การทาบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ เป็นต้น ซึ่งกิจกรรม
บุญทั้งหมดมักจะได้รับความร่วมมือในการเข้าร่วมอย่างดีจากคนทุกเพศทุกวัยเสมอจนกลายมาเป็นจุด
แข็งด้านต้นทุนทางสังคมของชุมชน
สังคมผู้สูงอายุ ปัญหาที่รัฐเกาไม่ถูกที่คัน
ปัจจุบันโลกเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วและมีแนวโน้มจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้รัฐจะมีความ
พยายามเข้าไปแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุและสร้างความสมดุลของคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ แต่ด้วยความ
แตกต่างระหว่างความเป็นชุมชนกับความเป็นราชการที่มีมาตั้งแต่อดีต ทาให้คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุยัง
ไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร ในขณะที่ชุมชนมีวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง มีอัตลักษณ์ มีความหลากหลาย
ระบบราชการก็มีลักษณะรวมศูนย์อานาจ มีความเป็นหนึ่งเดียว เมื่อชุมชนเกิดความเหลื่อมล้าไม่เป็น
ธรรม ราชการก็เกิดความรู้สึกเหนื่อยกับภารกิจ โดยเฉพาะงานผู้สูงอายุ ที่แม้ในระดับนโยบายและ
เจตนารมณ์อาจทาให้งานผู้สูงอายุดูเหมือนมีภาระน้อย แต่ในระดับปฏิบัติ เจ้าหน้าที่ประจากลับมีภาระ
เพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงเกิดเป็นปรากฏการณ์ “ภารกิจเพิ่ม คนเท่าเดิม” การปฏิรูปที่เกิดขึ้นซ้าแล้วซ้าอีกก็
มองแต่ด้านผลตอบแทนเป็นหลัก
ภาพ: การบริบาลผู้สูงอายุในแม่มอก
3
ปรากฏการณ์ด้านประชากรศาสตร์ ศูนย์สังคมผู้สูงอายุไทย ชี้ว่า ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 จนกระทั่ง พ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 15.4 แล้ว และจะเป็น
สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2564 แต่ปัจจุบันอาเภอเถิน จังหวัดลาปางมีผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ
27 ซึ่งก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอดไปเรียบร้อยแล้ว เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงสถานการณ์
ผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น วัยเด็กวัยแรงงานที่ลดลง ในขณะเดียวกัน ดัชนีการสูงอายุและอัตราการเป็นภาระก็มี
แนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อัตราการเกิดก็ลดลง (แผนภาพที่ 1) ทาให้ปัจจุบันคนในครอบครัวประมาณ 2-3
คน ต้องแบกรับภาระผู้สูงอายุ 1 คน ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยสถานการณ์ที่คนวัยทางานมักต้องออกไปทางาน
ข้างนอกหาเงินเลี้ยงครอบครัว ทาให้ไม่มีทั้งกาลังและเวลาเลี้ยงดูพ่อแม่ที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง รัฐจึงต้อง
เข้ามาแบกรับภาระดูแลประเด็นนี้
แผนภาพที่ 1 ดัชนีการสูงอายุ และอัตราการเป็นภาระ พ.ศ. 2537 2545 2550 2557 และ 2560
คาถามคือ รัฐไทยให้ความสนใจในประเด็นผู้สูงอายุมากน้อยแค่ไหน อย่างไร จากประสบการณ์ที่
ผ่านมาก็พบว่า ผู้ดูแลผู้สูงอายุของรัฐมาจาก 2 กระทรวงด้วยกัน คือ กระทรวงสาธารณสุข ที่ร่วมมือ
กับท้องถิ่นในเรื่องการดูแลผู้สูงอายุวัยพึ่งพิงที่บ้าน (Long-Term Care) โดยได้รับประมาณมาจากกองทุน
ประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับพื้นที่ของ สปสช. เสมือนเป็นกองทุนของชุมชนให้ขับเคลื่อนประเด็นนี้ ทาง
กระทรวงสาธารณสุขก็นาพยาบาลจาก รพ.สต. ซึ่งมีงานประจาอยู่แล้ว ขึ้นมาพัฒนาศักยภาพ โดยใช้
หลักสูตรของกรมอนามัย พัฒนาให้เป็น Care Manager ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุ
วัยพึ่งพิงโดยเฉพาะ ขณะเดียวกันก็นา อสม. ที่มีอยู่แล้วในระบบ ตาบลละ 2 คน มาอบรมหลักสูตร Care
Giver ระยะสั้น ของกรมอนามัย จานวน 70 ชั่วโมง
จากนั้นก็นาคนสองกลุ่มนี้ก็มาผนวกกันดูแลผู้สูงอายุที่ผ่านการประเมินความสามารถในการ
ประกอบกิจวัตรประจาวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel Activities of Daily Living : ADL) โดยแบ่ง
ผู้สูงอายุออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มติดบ้าน กลุ่มติดเตียง กลุ่มสมองเสื่อม และกลุ่มระยะท้าย รัฐจัดสรร
4
งบประมาณสาหรับการดูแลผู้สูงอายุไว้ 5,000 บาทต่อผู้สูงอายุติดเตียงหนึ่งคนต่อปี โดยแบ่งเป็น
ค่าตอบแทน Care Giver ไม่เกินวันละ 300 บาท ค่าตอบแทน Care Manager คิดเป็นชั่วโมงละ 80 บาท
หากจ่ายค่าตอบแทนตามจริง งบประมาณก็คงไม่เพียงพอ เพราะเงินก้อนนี้รวมค่าใช้จ่ายสินค้าอุปโภคใน
การดูแลผู้สูงอายุด้วย ทาให้คนสองกลุ่มนี้เลือกที่จะไม่เบิกเงินแล้วเก็บเงินไว้ซื้อผ้าอ้อมสาเร็จรูปหรือของ
ใช้ต่างๆ อีกทั้งยังมีเงื่อนไขว่า ผู้ดูแลต้องไปเยี่ยมผู้สูงอายุอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง ทาให้เกิดต้นทุน
ในการเดินทางอีก นโยบายนี้จึงไม่ใช่แค่เพิ่มภาระงานให้กับคนในระบบ แต่ยังก่อให้เกิดความฟุ่มเฟือย
อีกด้วย
อีกกระทรวงหนึ่ง คือ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ผลิต
อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุตาบลละ 4 คน ให้ค่าตอบแทนคนละ 600 บาทต่อเดือน คนกลุ่มนี้มีภารกิจ การ
จัดทารายงานและเงื่อนไขการรับค่าตอบแทนเหมือนกับกระทรวงแรกทุกประการ ต่างกันแค่สังกัดคนละ
กระทรวงเท่านั้น สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ในขณะที่ผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ รัฐก็มี
งบประมาณและกาลังคนอันจากัด ทาให้ไม่สามารถรับมือกับปัญหาผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างเช่น ตาบลแม่ถอด ที่มีผู้สูงอายุในการดูแลอยู่ทั้งหมด 65 ราย บางรายเป็นผู้ป่วยระยะท้าย พยาบาล
ต้องลงพื้นที่เยี่ยมสัปดาห์ละ 3 วัน ทาให้ รพ.สต. ขาดแคลนพยาบาลคอยดูแลให้บริการประชาชน เมื่อลง
พื้นที่แล้วกลับมาก็ไม่มีเวลาเขียนรายงาน ทาให้ไม่สามารถเบิกเงินออกมาได้ นับเป็นปัญหาในทาง
ปฏิบัติปัญหาหนึ่งที่เรื้อรังมาจนถึงทุกวันนี้
แนวคิดการพัฒนาแม่มอกสู่เมืองผู้สูงอายุ
ด้วยปัญหาการขาดแคลนกาลังคนมาดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ซึ่งไม่ได้มีปัญหาเฉพาะด้านสุขภาพ
เพียงอย่างเดียว แต่เป็นปัญหาเชิงสังคมและเศรษฐกิจด้วย คาว่า “สุขภาพดี” จึงต้องหมายรวมถึง
ความสมบูรณ์ทั้งทางกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ จนเกิดปรากฏการณ์ “ภาระงานล้นมือ” ใน
หน่วยระดับปฏิบัติการของกระทรวงสาธารณสุข จึงเป็นที่มาของคาว่า “คนไม่พอ มีไม่ทัน” สาเหตุหนึ่ง
เป็นเพราะสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตามกระแสความเจริญของบ้านเมืองและเทคโนโลยีนั้นส่งผล
กระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ระบบราชการกลับเชื่องช้า กว่าจะนา
คนไปอบรมได้ ต้องเขียนโครงการ รอการอนุมัติ ต้องทาตามขั้นตอนราชการ ทาให้ไม่ทันการ เกิดภาระ
และใช้งบประมาณสูง แม่มอกจึงเกิดแนวคิดที่จะก้าวเข้ามาเป็นกาลังเสริมเพื่อรองรับปัญหาผู้สูงอายุ
ดังกล่าว
กระบวนทัศน์เรื่องการดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิตผู้อื่นที่แต่เดิมมองว่า เราต้องอาศัยบุคลากรที่
มีวิชาชีพเฉพาะทางเท่านั้น เช่น การจ่ายยาต้องให้เภสัช ปวดหูต้องไปหาหมอหู ปวดตาต้องไปหาหมอ
ตา มันเป็นการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ใช้แนวคิดระบบชีวการแพทย์ (Biomedical System) กระบวนทัศน์
เช่นนี้อาจจะล้าสมัยไปแล้ว ในทางกลับกัน ถ้าเราแบ่งปันองค์ความรู้วิชาชีพคนละเล็กละน้อยไปให้
ชาวบ้าน โดยที่เขาไม่จาเป็นต้องรู้เท่าเรา แต่รู้มากพอที่เรามั่นใจว่าเขาจะดูแลประชาชนหรือผู้ป่วยแทน
เราได้ในระดับหนึ่ง บุคคลนั้นก็จะมีศักยภาพขึ้นมาเป็นผู้ช่วยเราได้ นี่เป็นกระบวนทัศน์อีกมุมหนึ่งที่
คานึงถึงสาธารณะเป็นหลัก ไม่ได้มองแต่วิชาชีพหรือความเป็นมืออาชีพจนเกินไป
5
แม่มอกเปลี่ยนมุมมองจากที่เห็นว่าผู้สูงอายุเป็นปัญหาให้กลายเป็นโอกาส กล่าวคือ มองว่า
สถานการณ์ผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นนั้นเป็นโอกาสที่เราจะสร้างอาชีพเกี่ยวกับการบริการผู้สูงอายุ ที่พี่น้อง
ประชาชนสามารถยึดเป็นอาชีพหลักในอนาคตได้ จุดเริ่มต้นคือ ชาวแม่มอกในฐานะพลเมืองจิตอาสารัก
บ้านเกิด จุดประกายความคิดขึ้นมาว่า เราจะเริ่มก่อนรัฐ ไม่รอรัฐ แต่ก็ไม่ได้กีดกันรัฐ กอปรกับการ
ใช้ภูมิประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมอันดีงามและความเป็นแม่มอกที่มีทุนทางสังคมแน่นหนามาเป็นจุดเริ่มต้น
ของการรวมตัวกัน กล่าวคือ ต่างคนต่างให้ความเคารพเชื่อฟังผู้หลักผู้ใหญ่ มีความเป็นพี่เป็นน้องกันทั้ง
ตาบล เสมือนไม่มีรั้วหมู่บ้าน ในขณะเดียวกันก็มีการดาเนินวิถีชีวิตเหมือนกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ร่วมแรง
ร่วมใจกัน ทาให้แม่มอกเกิดการรวมกลุ่มกันได้ง่ายมาก จนเกิดเป็นกลุ่มพลเมืองจิตอาสารักบ้านเกิด ที่มี
การระดมสมอง ช่วยกันคิด ช่วยกันทา ทั้งระหว่างคนแม่มอกเองและกับคนภายนอกผ่านสื่อสังคม
ออนไลน์
กลุ่มพลเมืองจิตอาสารักบ้านเกิดที่เป็นผู้จุดประกายและเป็นแรงขับเคลื่อนสาคัญ ประกอบด้วย
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อธิการวิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ศาสตราจารย์ พญ. จิรพร เหล่าธรรมทัศน์ หัวหน้าศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า (ไอแมค) และรองคณบดี
ฝ่ายศูนย์ความเป็นเลิศและศูนย์สนับสนุนพันธกิจ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล ในขณะนั้น ซึ่งปัจจุบันท่านดารงตาแหน่งคณบดีคณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ นพ. สุทธิพงษ์ จงจิระศิริ ภาควิชารังสีวิทยา คณะ
แพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัย
รัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ทาให้งานทั้งหลายสาเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี จนสุดท้ายได้พัฒนากลายเป็นกลุ่มที่
มีชื่อว่า “แม่มอกหลั่นล้าอีโคโนมี”
ภาพ: พลเมืองจิตอาสาผู้จุดประกายความคิดการสร้างนักบริบาลผู้สูงอายุ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พญ. สิรินทร ฉันศิริกาญจน อาจารย์พินทิพย์ กาญจนภูมินทร์
ศาสตราจารย์ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ และคณะ ชาวแม่มอก
6
คาว่า “หลั่นล้าอีโคโนมี” เป็นแนวคิดของศาสตราจารย์ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ที่มุ่งหวังจุด
ประกายเศรษฐกิจไทยให้กลับมาเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการหันมาเน้นที่การเปลี่ยนผ่านมากกว่าเติบโต
เน้นที่กาไรพอประมาณและคุณภาพมากกว่าขยายปริมาณ โดยใช้จุดแข็งที่มีและความถนัดของคนไทย
เรา นั่นคือความ “หลั่นล้า” ซึ่งหมายถึง ชอบการละเล่น บันเทิง มีมารยาท อัธยาศัยที่ดี ใจกว้าง และชอบ
บริการ สังเกตได้ว่าธุรกิจที่คนไทยทาได้ดีมักจะเชื่อมโยงและมีฐานมาจากอุปนิสัยและวัฒนธรรมของคน
ไทยที่ชอบเล่น ชอบเที่ยว รักความสนุก รักความบันเทิงและเป็นกันเอง อันได้แก่ ธุรกิจบริการการ
ท่องเที่ยวและโรงแรม ภาพยนตร์ ดนตรี อาหาร การเกษตรแบบบูติก สุขภาพ กีฬา ฯลฯ โมเดล “หลั่นล้า
อีโคโนมี” ถือเป็นโมเดลการทาเศรษฐกิจอีกทางเลือกหนึ่งของไทย นอกเหนือจากแนวการพัฒนา
เศรษฐกิจตามกระแสของโลกที่มุ่งเน้นด้านอุตสาหกรรมหรือเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพียงอย่างเดียว
แนวคิดอีกประการหนึ่งที่ทาให้กลุ่มแม่มอกขับเคลื่อนมาได้ คือ องค์ความรู้ที่ได้จากดุษฎีนิพนธ์
เรื่อง ชุมชนท้องถิ่นไทยแนวใหม่กับรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง โดยอุดม สุวรรณพิมพ์ (2559) ที่
ชี้ว่า “พลเมืองมืออาชีพหัวใจผู้ประกอบการ” เป็นหัวใจหลักของจิตอาสาสร้างบ้านแปงเมือง ซึ่งแบ่ง
ออกเป็นคุณสมบัติทั้งหมด 10 ประการ คือ 1) มีความมุ่งมั่นที่จะประสบความสาเร็จ 2) มั่นใจในตัวเอง 3)
มีแนวคิดในบทบาทของตัวเองชัดเจน 4) มีแผนงานที่เป็นระบบ 5) มีความสามารถในการบริหารการเงิน
6) มีความสามารถทางการตลาด 7) มองเห็นสภาพการแข่งขันในอนาคต 8) มีแหล่งสนับสนุนที่ดี 9) มี
ทักษะในการประสานงาน และ 10) จัดองค์การที่เหมาะสม
แผนภาพที่ 2 แบบแผนชุมชนท้องถิ่นไทยแนวใหม่ที่นาสมัย
7
เราต้องปรับกระบวนทัศน์ด้วยว่า เราจะมีความสมดุลระหว่างท้องถิ่นที่เป็นทางการกับท้องถิ่นที่
ไม่เป็นทางการ กล่าวคือ เราจะไม่รอรัฐ แต่ก็ไม่ปฏิเสธรัฐ จึงเป็นที่มาของโครงการการจัดระบบนัก
บริบาลผู้สูงอายุ โดยกลุ่มแม่มอกกลั่นล้าอีโคโนมี ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นทดลองปฏิบัติ หากประสบ
ความสาเร็จก็อาจต่อยอดไปสู่นโยบายและการปฏิบัติอย่างจริงจังต่อไป เพื่อสร้างอาชีพเสริม เพิ่ม
ทางเลือกงาน บริการแห่งอนาคต ก้าวสู่การเป็นรัฐบริบาลผู้สูงอายุ
ขั้นตอนการดาเนินงาน ตั้งแต่เริ่มทาหลักสูตรจนถึงการพัฒนาสู่อาชีพ
กว่าจะผลิตนักบริบาลผู้สูงอายุ แม่มอกหลั่นล้าอีโคโนมี ออกมาได้นั้น ต้องผ่านกระบวนการทั้ง
ด้านวิชาการ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การประสานงาน โดยสรุปได้เป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นแรก ผลิตหลักสูตร กลุ่มแม่มอกฯ ได้รับการช่วยเหลือจากศูนย์เรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะ
ผู้สูงอายุแบบครบวงจรและบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี นาโดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พญ. สิรินทร ฉันศิริกาญจน ที่ได้กรุณารับเป็นหัวหน้าทีมวิชาการ รับผิดชอบ
หลักสูตร ประสานงานคณะวิทยากรในการจัดการเรียนการสอน โดยอาจารย์พินทิพย์ กาญจนภูมินทร์
จากศูนย์เรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบครบวงจรและบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้ดาเนินการขอความร่วมมือจากนายแพทย์สราวุธ แสง
ทอง ผู้อานวยการโรงพยาบาลเถิน นายชุมพล ดวงดีวงค์ สาธารณสุขอาเภอเถิน ขอสนับสนุนพยาบาล
วิชาชีพที่ผ่านการอบรม Care Manager ทั้งจากโรงพยาบาลเถินและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล
(รพ.สต.) รวมถึงบุคลากรที่เกี่ยวข้อง รวมกันเป็นวิทยากรจิตอาสา ถ่ายทอดความรู้สู่ชาวบ้านและติดตาม
ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
ขั้นที่สอง จัดอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ ระดับพื้นฐาน (70 ชั่วโมง) เป็นการฝึกให้นัก
บริบาลสามารถดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน ที่สุขภาพไม่ได้ถึงขั้นร้ายแรงมาก แต่มีอาการขี้หลงขี้ลืมบ้าง จึง
ต้องการการดูแลเบื้องต้นอย่างใกล้ชิด เช่น บริการนวด ทากายภาพบาบัด วัดความดัน เช็คชีพจร โดยจะ
เรียนและฝึกปฏิบัติในชุมชนเป็นหลัก ทั้งนี้ กลุ่มแม่มอกฯ และทีมวิทยากรที่นาโดย อาจารย์พินทิพย์
กาญจนภูมินทร์ จากโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้จัดอบรมรุ่นที่ 1 ไปแล้วเมื่อวันที่ 5 – 23 กุมภาพันธ์ 2561
ณ ตาบลแม่มอก อาเภอเถิน จังหวัดลาปาง ซึ่งมีผู้เข้ารับการอบรมจานวน 62 คน ทั้งหมดล้วนเป็นผู้หญิง
อายุระหว่าง 20 – 59 ปี
ภาพ: การอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ ระดับพื้นฐาน รุ่นที่ 1 ณ อาเภอแม่มอก
8
ขั้นที่สาม จัดอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ ระดับสูง (420 ชั่วโมง) เป็นการฝึกให้นัก
บริบาลสามารถดูแลผู้สูงอายุติดเตียงที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สมองเสื่อม จนถึงผู้ป่วยระยะท้าย ที่มี
เครื่องมืออุปกรณ์รอบตัว จึงต้องการการดูแลครบวงจร ตั้งแต่ทาความสะอาดร่างกาย ขจัดสิ่งปฏิกูล ใส่
สายให้อาหาร ดูดเสมหะ เป็นต้น โดยคนที่จะเข้าร่วมอบรมนักบริบาลขั้นสูงได้นั้นต้องมีคะแนนสอบการ
เป็นนักบริบาลขั้นพื้นฐานมากกว่าร้อยละ 70 ทั้งนี้ กลุ่มแม่มอกและคณะวิทยากร อ.พินทิพย์ กาญจน
ภูมินทร์ อาจารย์ผู้ดูแลหลักสูตรนักบริบาลแม่มอกหลั่นล้าอีโคโนมี พยาบาลวิชาชีพศูนย์เรียนรู้และ
พัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบครบวงจรและบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล
รามาธิบดี คณะวิทยากรจากโรงพยาบาลเถิน และจาก รพ.สต. ในความรับผิดชอบของสานัก ได้จัดอบรม
นักบริบาลผู้สูงอายุขั้นสูงไปแล้วเมื่อ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 – 15 มิถุนายน พ.ศ. 2561 โดยใช้ รพ.
สต. แม่มอกกลาง กับโรงพยาบาลเถินเป็นห้องเรียน มีผู้เข้าร่วมการอบรมทั้งหมด 32 คน
ภาพ: การอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ ขั้นสูง รุ่นที่ 1 ณ โรงพยาบาลเถิน
9
หลังจากนักบริบาลผ่านภาคทฤษฎีแล้ว ต้องไปฝึกปฏิบัติงานภาคสนามเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ซึ่งมี
นักบริบาลสามารถเข้าร่วมฝึกปฏิบัติงานได้ทั้งหมด 23 คน ในสถาบัน 3 แห่ง ดังนี้
สถานที่ฝึกงานแห่งแรก โรงพยาบาลแวนแซนด์วูร์ด ผู้ป่วยโรงพยาบาลนี้มีทั้งกรณีติดเตียง
สมองเสื่อม ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยสมองเสื่อม บางคนอยู่โรงพยาบาลแห่งนี้มากว่า 10 ปี ลูกหลานยอมจ่าย
เดือนละแสน เพื่อให้พ่อแม่ญาติพี่น้องของเขายังมีชีวิตอยู่ โรงพยาบาลแห่งนี้ได้รับความนิยมถึงขนาด
ที่ว่าต้องจองข้ามปีกันเลยทีเดียว หลังจากที่นักบริบาลแม่มอกจบการฝึกงานจากที่นี่แล้ว โรงพยาบาล
แวนแซนด์วูร์ดส่งใบสมัครเข้าทางานตามมาและยินดีรับทุกคนเข้าทางานทันที สะท้อนให้เห็นว่า นัก
บริบาลแม่มอกได้รับการยอมรับแล้ว
สถานที่ฝึกงานแห่งที่สอง ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ จังหวัดลาปาง ของ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุของ
ภาครัฐ ในลักษณะสงเคราะห์ตามบทบาทหน้าที่รัฐสวัสดิการ มีผู้สูงอายุติดเตียงบ้าง ญาติฝากให้ดูแลบ้าง
และผู้สูงอายุที่ศูนย์ต้องดูแลร้อยเปอร์เซ็นต์บ้าง รวมกันแล้วมากกว่า 30 คน ด้วยข้อจากัดของจานวน
บุคคลากรภาครัฐที่ทาหน้าที่ดูแลกลุ่มผู้สูงอายุดังกล่าว ส่งผลให้นักบริบาลแม่มอกทั้ง 23 ชีวิตที่
หมุนเวียนกันไปฝึกปฏิบัติงานเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-7 คน ดูมีคุณค่าและถือเป็นกาลังหลักสาคัญในการดูแล
ผู้สูงอายุในลักษณะจิตอาสา ดูแลสังคมผู้สูงวัย
สถานที่ฝึกงานแห่งที่สาม โรงพยาบาลมะเร็งลาปาง ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยเคมีบาบัด
ระยะสุดท้าย ข้อจากัดคือ ที่แห่งนี้ไม่ได้เตรียมหลักสูตรไว้สาหรับฝึกงานนักบริบาล รับฝึกงานเฉพาะ
นักศึกษาพยาบาลที่อัดแน่นด้วยทฤษฎีมาแล้ว นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเกี่ยวข้องกับรังสี สารเคมี ความ
เป็นอยู่และความปลอดภัยของผู้ฝึกงานด้วย ทาให้โรงพยาบาลมะเร็งลาปางกลายเป็นโรงพยาบาลแห่ง
แรกที่ทาหลักสูตรไปด้วยและสอนชาวบ้านไปด้วย ในขณะที่ชาวบ้านไม่มีประสบการณ์หรือความรู้ลึกซึ้ง
ทางโรงพยาบาลเองก็ไม่มีประสบการณ์สอนชาวบ้านที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษ ไม่รู้ศัพท์เทคนิคเฉพาะทางมา
ก่อน จึงเกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
ภาพ: การฝึกงานของนักบริบาลแม่มอก ณ โรงพยาบาลต่างๆ
10
ขั้นที่สี่ จัดการนักบริบาลสู่การปฏิบัติงานจริง หลังจากการฝึกงานของนักบริบาลเสร็จสิ้นลง
กลุ่มแม่มอกฯ ได้เป็นผู้ทาหน้าที่บริหารจัดการลาดับคิวงาน กาหนดค่าจ้างและเกณฑ์การจัดสรรรายได้
เข้ากองทุน โดยทางกลุ่มแม่มอกฯ ได้ดาเนินการประชุมหารือร่วมกับนักบริบาลทั้งหมดให้มีความเห็น
พ้องต้องกันว่าจะใช้เกณฑ์ในการเรียงลาดับผู้ที่จะได้รับคัดเลือกให้ทางานก่อนหลังอย่างไร มติที่ประชุม
ได้มีความเห็นร่วมกันอย่างเป็นเอกฉันท์ว่า จะคัดเลือกคนที่มีศักยภาพที่สุดให้ได้งานก่อน โดยใช้ผลสอบ
ของนักบริบาลร่วมกับการมอบโอกาสให้นักบริบาลที่มีฐานะยากจน ด้อยโอกาสทางสังคมให้มีงานทาที่
มั่นคงจากวิชาชีพนักบริบาล แต่เจ้าตัวต้องแสดงความพร้อมเป็นลาดับแรก หากได้รับโอกาสจากกลุ่ม
แล้วไม่พร้อม ก็ถือว่าตนเองสละสิทธิ์ดังกล่าวไป
ด้วยเหตุนี้ ทางกลุ่มจะจัดลาดับคิวงานตามโอกาสทางสังคม ผลคะแนน และความพร้อมความ
สมัครใจ เรียงลาดับเหมือนวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างรอรับผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ หากถึงลาดับของตัวเองแล้วไม่
พร้อมให้บริการก็ต้องไปต่อท้ายใหม่เพื่อรอจนกว่าจะถึงลาดับตัวเองอีกครั้ง นี่คือข้อตกลงร่วมกันเพื่อ
ไม่ให้เกิดความขัดแย้ง แย่งงานกันทา ซึ่งงานนักบริบาลที่กลุ่มแม่มอกบริหารจัดการอยู่ในปัจจุบันแบ่ง
ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1) งานนักบริบาลประจา เป็นงานที่นักบริบาลจะต้องไปปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลหรือสถาบัน
ใดๆ ในวันและเวลาที่โรงพยาบาลหรือสถาบันนั้นกาหนด มีอัตราค่าจ้างแน่นอน เช่น ปัจจุบันนัก
บริบาลแม่มอกจานวน 13 คนก็ได้รับการจ้างเป็นผู้ช่วยพยาบาลในฐานะลูกจ้างประจาของ
กระทรวงสาธารณสุข ได้รับค่าจ้าง 9,600 บาทต่อเดือน
2) งานนักบริบาลชั่วคราว เป็นงานที่คล้ายกับงานประจา ต่างกันตรงที่อัตราค่าจ้างขึ้นอยู่กับว่า
ผู้ว่าจ้างต้องการใช้บริการเป็นระยะเวลานานเท่าใด เช่น โรงพยาบาลเถินที่เปิดโอกาสและ
ส่งเสริมให้นักบริบาลแม่มอกไปบริการเฝ้าผู้ป่วยที่หอผู้ป่วยในสาหรับผู้ที่ไม่มีเวลาดูแลผู้ป่วย
โดยค่าบริการอยู่ที่ 300 บาทต่อเวร (8 ชั่วโมง) ขึ้นเวรดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยในและห้องพิเศษ
ของโรงพยาบาล เป็นรายกะ เช้า-บ่าย-ดึก เหมือนพยาบาล ซึ่งนายแพทย์สราวุธ แสงทอง
ผู้อานวยการโรงพยาบาลเถิน ได้อนุเคราะห์บ้านพักเจ้าหน้าที่ให้สาหรับนักบริบาลแม่มอกที่
ให้บริการรายกะได้พักผ่อนจานวน 1 หลัง เนื่องจากระยะทางจากแม่มอกมาโรงพยาบาลที่
ทางานเป็นระยะทางที่ไกล ต้องข้ามเขา รวมระยะทางเกือบ 30 กิโลเมตร
3) งานบริการนักบริบาลถึงที่ (Delivery) เป็นงานที่นักบริบาลต้องเดินทางไปพักอาศัยอยู่ใน
บ้านผู้สูงอายุผู้รับบริการ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในตัวอาเภอเถินและละแวกอาเภอใกล้เคียง เช่น อาเภอ
แม่พริก งานประเภทนี้ กลุ่มแม่มอกฯ จะมอบให้ผู้ที่มีความรู้เรื่องสาธารณสุขเป็นผู้ตรวจสอบ
ลักษณะผู้ขอรับบริการให้ดีเสียก่อนว่า ภาระงานมากน้อยแค่ไหน อุปกรณ์ที่ใช้มีอะไรบ้าง พร้อม
ทั้งให้คนรู้จักในพื้นที่ไปตรวจสอบสภาพแวดล้อม ความปลอดภัยของที่อยู่อาศัยและตัวผู้ขอรับ
บริการก่อนด้วย จากนั้นก็ทาสัญญาร่วมกันเพื่อสร้างข้อตกลงร่วมและความเข้าใจที่ตรงกัน
ระหว่างนักบริบาลและผู้รับบริการ แล้วทางกลุ่มจึงจะจัดส่งนักบริบาลไป ทั้งนี้ ทางกลุ่มจะมีการ
ติดตามงานเป็นรายวันเพื่อสร้างความสบายใจแก่ทั้งนักบริบาลและผู้รับบริการ หากไม่พึงพอใจ
11
สามารถสับเปลี่ยนนักบริบาลได้ทันที ด้วยค่าตอบแทนรายเดือนตั้งแต่ 15,000 บาท กรณี
ผู้รับบริการเป็นผู้สูงอายุติดบ้าน ช่วยเหลือตัวเองได้แต่ขาดคนดูแล 18,000 บาท กรณี
ผู้รับบริการเป็นผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงที่ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง ไม่มีเฟอร์นิเจอร์ซึ่งหมายถึง
สายปัสสาวะ สายยางให้อาหาร และอัตรา 21,000 บาท กรณีผู้สูงอายุติดเตียง ระยะท้าย มี
เฟอร์ฯ ให้อาหารทางสายยาง ซึ่งต้องใช้นักบริบาล 2 คนต่อผู้รับบริการ 1 คน ทั้งนี้ ญาติ
ผู้รับบริการต้องจัดที่พักพร้อมอาหาร 3 มื้อให้กับนักบริบาล อีกทั้งในสัญญาจ้างงานยังระบุ
วันหยุดประจาสัปดาห์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ของนักบริบาลให้เป็นไปตามกฏหมายแรงงงานไว้
อย่างชัดเจน ซึ่งหากญาติประสงค์ให้นักบริบาลปฏิบัติหน้าที่ในวันหยุด ต้องจ่ายค่าตอบแทนใน
อัตราวันละ 800 บาท โดยการตกลงร่วมกันระหว่างญาติและนักบริบาลเอง
4) งานเพื่อสังคม นักบริบาลแต่ละคนจะมีสมุดพกบันทึกชั่วโมงบินที่เป็นสมุดบันทึกชั่วโมงบิน
ซึ่งเป็นแนวคิดของศูนย์เรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบครบวงจรและบริบาลผู้ป่วยระยะ
ท้าย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ไว้สาหรับสะสมแต้มการทาความดี อย่างเช่น
เวลาไปช่วยงาน รพ.สต. ก็ได้รับการบันทึกเป็นแต้ม พร้อมกันนั้น ทางกลุ่มจะใช้แอปพลิเค
ชันไลน์เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารคอยอัปเดตศักยภาพและวางแผนปฏิบัติการของนักบริบาล
ด้วย
การจัดสรรรายได้และงบประมาณกองทุน
ในส่วนของกิจกรรมการอบรมนักบริบาลผู้สูงอายุ ทางศูนย์ไอแมค คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนของค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ
หลักสูตร อุปกรณ์ บุคลากรทางการแพทย์ ส่วนกลุ่มแม่มอกฯ ซึ่งได้รับเงินจากการทอดผ้าป่าและเงิน
บริจาค ที่นาโดย ศาสตราจารย์ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ศาสตราจารย์ พญ. จิรพร เหล่าธรรมทัศน์
และรองศาสตราจารย์ นพ. สุทธิพงษ์ จงจิระศิริ เป็นผู้รับผิดชอบในส่วนของการอานวยความสะดวกใน
พื้นที่และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการอบรม เช่น ที่อยู่อาศัย การเดินทาง อาหาร การดูแลรับใช้ เป็นต้น
ภาพ: รอยยิ้มของผู้สูงอายุแม่มอก
12
โดยสรุปแล้ว ต้นทุนการอบรมนักบริบาลขั้นพื้นฐานที่ต้องจ่ายสนับสนุนเฉลี่ยเท่ากับ 6,005 บาทต่อคน
และต้นทุนสาหรับการอบรมนักบริบาลชั้นสูงเฉลี่ยเท่ากับ 20,000 บาทต่อคน
ในด้านการบริหารจัดการงานของนักบริบาล โดยกลุ่มแม่มอกหลั่นล้าอีโคโนมี ค่าตอบแทนที่นัก
บริบาลได้รับ ไม่ว่าจะมาจากงานประจา งานชั่วคราวที่โรงพยาบาลหรือสถาบันต่างๆ หรืองานบริการนัก
บริบาลผู้สูงอายุถึงบ้านนั้นจะบริจาคให้แก่กลุ่มแม่มอกฯ ร้อยละ 5 เพื่อเป็นกองทุนไว้บริหารจัดการ
ด้านการจ่ายค่าตอบแทน ทางกองทุนแม่มอกจะเป็นผู้จ่ายให้แก่นักบริบาลในวันสุดท้ายของการ
ทางาน ส่วนค่าอาหาร ผู้รับบริการต้องจ่ายล่วงหน้าให้นักบริบาลเป็นรายสัปดาห์ ทั้งนี้ การรับงานต้องรับ
งานผ่านกองทุนเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยและการันตีคุณภาพของการบริการ
ระบบและกลไกสนับสนุนการสร้างเมืองผู้สูงอายุ
ด้วยกระแสสังคมผู้สูงอายุและรัฐที่มีข้อจากัดมาก กลุ่มคนแม่มอกจึงใช้จิตอาสารวมตัวกัน ซึ่ง
ประกอบไปด้วยสมาชิกจากทั้งชาวแม่มอกที่ยังอยู่ในแม่มอก และชาวแม่มอกที่ไปทางานอยู่นอกถิ่น คน
กลุ่มนี้มีทั้งอาจารย์ พระสงฆ์ พนักงานเทศบาลตาบลแม่มอก นักธุรกิจท้องถิ่น ตารวจ ด็อกเตอร์หลาก
หลายสาขา เป็นหัวหอกสาคัญในการระดมความร่วมมือผ่านกิจกรรมการทาบุญ โดยใช้วัดเป็นสื่อกลางใน
การรวมตัว กลุ่มแม่มอกถือเป็นกลุ่มคนที่มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ ที่
สาคัญ คือ มีความรักในถิ่นกาเนิดของเขา คล้ายกับที่รักชาติบ้านเมือง ต้องการสร้างบ้านแปงเมือง จึงลุก
ขึ้นมาพึ่งตนเอง ร่วมกันระดมทุนจากคนภายในชุมชนเป็นหลัก โดยไม่ได้พึ่งพาเทศบาลหรือราชการส่วน
ภูมิภาคหรือส่วนกลาง
กลุ่มแม่มอกใช้กลไกการขับเคลื่อนที่เรียกว่า องค์การสมรรถนะสูง (High Performance
Organization) ซึ่งเป็นแนวคิดที่เสนอให้แบ่งคนออกเป็น 3 ทีม ได้แก่ ทีมปรับปรุงงาน ทีมประสานงาน
และทีมปฏิบัติงาน แต่กลุ่มแม่มอกได้เพิ่มทีมที่ปรึกษาขึ้นมาอีกทีมหนึ่ง ถือเป็นองค์กรสมรรถนะสูงแบบ
ไทยๆ เพื่อให้เข้ากับบริบทสังคมไทยที่นอกจากจะต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญจากคนเฒ่าคนแก่
แล้ว วัฒนธรรมไทยยังคงต้องเคารพนับถือผู้หลักผู้ใหญ่ ให้เขาเข้ามามีส่วนร่วม ไม่ข้ามหน้าข้ามตาอีก
ด้วย ฉะนั้น กลไกการทางานของกลุ่มแม่มอกหลั่นล้าอีโคโนมี (แผนภาพที่ 3) จึงประกอบด้วย 4 ทีม
ดังนี้
1. ทีมปฏิบัติงาน แบ่งย่อยเป็นอีกหลายฝ่ายตามความถนัดของแต่ละคน ได้แก่ ฝ่ายนักบริบาล
ผู้สูงอายุ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายหมอนวดแผนไทย ฝ่ายแม่ครัว ฝ่ายคมนาคมขนส่ง ฝ่ายโฮมส
เตย์ ฝ่ายการท่องเที่ยว ฝ่ายเกษตร เป็นต้น
2. ทีมประสานงาน ประกอบไปด้วยหัวหน้าแต่ละฝ่ายจากทีมปฏิบัติงาน ทาหน้าที่เป็นผู้
ประสานงานระหว่างทีมปรับปรุงงานกับทีมปฏิบัติงาน
3. ทีมปรับปรุงงาน คือ กลุ่มคนที่เป็นแกนหลัก เป็นตัวเชื่อมระหว่างข้างล่างกับข้างบน เชื่อม
ระหว่างนักวิชาการ แหล่งทุนต่างๆ กับกลุ่มประสานงานและคนในพื้นที่แม่มอก โดยมีคุณอุดม
สุวรรณพิมพ์ เป็นแกนหลัก คอยช่วยเหลือเกื้อกูลให้เรื่องของกิจกรรมนักบริบาลผู้สูงอายุไหลลื่น
และประสบความสาเร็จตามต้องการ
13
4. ทีมที่ปรึกษา ประกอบด้วยคนที่เป็นปัญญาปฏิบัติ เป็นผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้หลักผู้ใหญ่ที่มี
ประสบการณ์และประสบความสาเร็จในสาขาของตน มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ให้คาปรึกษา
ได้ดีทั้งด้านการตลาด การผลิต และอื่นๆ เช่น เรื่องพื้นที่ฝึกงานของนักบริบาล ก็เชิญ
ผู้อานวยการสถานที่ฝึกเป็นที่ปรึกษา เรื่องวิชาการ ก็ให้บุคลากรโรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นที่
ปรึกษา เป็นต้น ทั้งนี้ ทีมปฏิบัติงานสามารถทางานได้เต็มที่ไม่มีทีมที่ปรึกษาไปรบกวน หาก
ติดขัดมีปัญหาจึงค่อยแจ้งทีมประสานงาน แล้วทีมประสานงานจะคุยกับทีมปรับปรุงงานและทีมที่
ปรึกษาอีกที
แผนภาพที่ 3 กลไกการทางานของกลุ่มแม่มอกหลั่นล้าอีโคโนมี
สิ่งสาคัญประการหนึ่งที่ทาให้กลไกข้างต้นดาเนินไปได้อย่างประสานสามัคคีและทาให้กิจกรรม
บรรลุล่วงไปได้ด้วยดี คือ มิตรภาพในวัยเยาว์ ความเป็นเพื่อนนักเรียนเก่ากัน ความเป็นญาติพี่น้อง
เกี่ยวพันกัน รู้จักกันทั้งตาบล และความสานึกรักในแม่มอก ที่ต้องการพัฒนาให้บ้านเกิดเมืองนอนของตน
มีความเจริญทางด้านคุณค่าและมูลค่า ให้คนในชุมชนพึ่งพาตนเองและพึ่งพาซึ่งกันและกันได้ จึงเกิดการ
พัฒนาบนพื้นฐานอัตลักษณ์ของตนเองที่ใช้ทรัพยากรและทุนพื้นที่ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
นักบริบาลแม่มอก จากการถูกดูแคลนสู่การยอมรับ
สิ่งที่กลุ่มแม่มอกคาดหวังคือ อยากทาเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ที่นอกจากนัก
บริบาลจะออกไปปฏิบัติงานนอกชุมชนแล้ว ก็ยังทางานเป็นจิตอาสาดูแลผู้สูงอายุในชุมชนร่วมด้วย ซึ่ง
ปัจจุบัน ตาบลแม่มอกสามารถผลิต Care Giver ได้เองจานวน 65 คน จากชาวบ้านธรรมดาๆ ที่ต้องการ
พัฒนาศักยภาพตัวเอง มีทั้งเกษตรกรที่วิถีชีวิตยังคงเกี่ยวโยงกับเกษตรกรรมกว่าร้อยละ 80 มีทั้งคนรุ่น
ใหม่ที่ต้องออกจากโรงเรียนเพราะความยากจนหรือตั้งครรภ์ในวัยเรียนประมาณร้อยละ 10 และเป็น
คนทางานขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอยู่แล้วอีกประมาณร้อยละ 10 พัฒนาจนกลายเป็นนักบริบาลที่
สามารถแบ่งเบาภาระรัฐในการดูแลผู้สูงอายุและช่วยเหลือสังคมได้ดังที่คาดหวังไว้
14
นอกจากงานด้านสังคมแล้ว นักบริบาลแม่มอกยังได้รับการยอมรับจากโรงพยาบาลและสถาบัน
หลายแห่ง ยกตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลเถินที่เปิดโอกาสให้นักบริบาลแม่มอกไปบริการเฝ้าผู้ป่วยที่หอ
ผู้ป่วยในสาหรับผู้ที่ไม่มีเวลาดูแลผู้ป่วย อีกทั้งยังมีนักบริบาลแม่มอกจานวน 13 คน ที่ได้รับการบรรจุเป็น
ลูกจ้างประจาของกระทรวงสาธารณสุข ตาแหน่งผู้ช่วยพยาบาล ได้รับค่าจ้าง 9,600 บาทต่อเดือน
ผลการดาเนินโครงการจัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุทั้งระดับต้น (Basic) และขั้นสูง (Advance) หรือ
นักบริบาลผู้สูงอายุ ที่ริเริ่มก่อนรัฐแต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธรัฐ โดยภาคประชาสังคมกลุ่มพลเมืองลูกหลาน
แม่มอกรักบ้านเกิดในนาม “ชมรมแม่มอกหลั่นล้าอีโคโนมี” ที่นาโดย อาจารย์มานพ แสนทวี อาจารย์
เสน่ห์ คาสุทธิ อาจารย์สุเทพ อินทราย อดีตผู้บริหารโรงเรียนวัยเกษียณ มีการจัดโครงสร้างการทางาน
เป็นทีม 4 ทีม พัฒนาจากการจัดโครงสร้างแบบองค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization)
หรือเรียกกันย่อๆ ว่า “HPO” โดยเพิ่มทีมที่ปรึกษา (Consult Team) ที่เป็นพลเมืองจิตอาสามืออาชีพ
ทั้งในและนอกพื้นที่ สะท้อนถึงการอาศัยวัฒนธรรมและความเป็นคนไทยผู้มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกัน
และกัน อันเป็นจุดแข็งสาคัญของคนไทยภายใต้ทฤษฎี “หลั่นล้าอีโคโนมี” ของศาสตราจารย์พิเศษ
ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อธิการวิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต มาเป็น องค์กรสมรรถนะสูงแบบ
ไทยๆ (Thai High Performance Organization) และใช้แนวคิดภายใต้ทฤษฎีดังกล่าว สร้างอาชีพหลัก
ใหม่ ที่ไม่ใช่เพียงแค่อาชีพเสริมอีกต่อไป ให้กับประชาชนคนไทยได้ทุกพื้นที่และดูเหมือนจะเริ่มได้ดีที่
พื้นที่ชายขอบ (Periphery) ของประเทศ ที่เรียกว่า “ชนบท” หรือ “ท้องถิ่น” พื้นที่ (Area) ที่ยังคงความ
เป็นจุดแข็งของไทยตามทฤษฎีหลั่นล้าอีโคโนมี คือ ภูมิประเทศ ความเป็นเกษตรกรรม และวัฒนธรรมกับ
ความใส่ใจอย่างจริงใจในงานบริการของผู้คนที่นี่ ซึ่งแม้จะเริ่มก่อนรัฐ แต่ “แม่มอก” ก็ถือว่าเป็นพื้นที่ที่
โชคดี ที่มี “รัฐใจดี” มี “ผู้ใหญ่ใจดี” มองเห็นคุณค่าที่จะเกิดขึ้นกับ “บ้านเมือง” ที่เปรียบเหมือนการเตรียม
คน เตรียมพื้นที่ เตรียมการได้สอดคล้องกับ “ปรากฏการณ์ทางสังคม” ในอนาคตอันไม่สามารถหลีกเลี่ยง
ได้ เข้ามาเสริม เข้ามาร่วม เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งที่สาคัญของความสาเร็จ
การร่วมกันระหว่างพลเมืองจิตอาสา ภาคประชาสังคม รัฐ ภาควิชาการ สร้างสรรค์ปั้นแต่งด้วย
การออกแบบกลไกการทางานให้ยืดหยุ่น นาสมัยด้วยการเสริมหัวใจผู้ประกอบการผสานกับเทคโนโลยี
มีองค์กรใจดีทาหน้าที่สื่อสารสังคม โดยเฉพาะ “ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต” โดยไม่
ต้องรอนโยบาย รอหนังสือสั่งการ รอระเบียบจากความเป็นทางการ ใช้คุณค่าจากผลกระทบต่อสังคม
โดยรวม (Social Impact’s Value) อันเป็นความผาสุกโดยสมบูรณ์ที่เรียกว่า "ความสมบูรณ์พูนสุข" ของ
พลเมืองเป็นเป้าหมายสาคัญร่วมกัน ณ พื้นที่ “ตาบลแม่มอก” ในครั้งนี้ ส่งผลให้นักบริบาลผู้สูงอายุ
แม่มอกฯ มีงานทาประจาในสถานบริการของรัฐ 13 คน ในสถานบริการเอกชน 1 คน ผ่านการได้รับการ
จ้างงานปฏิบัติงานดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (Delivery) 20 คน ผ่านการได้รับการจ้างงานปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วย
ในหอผู้ป่วยในของโรงพยาบาล 23 คน สร้างรายได้เข้า “เมืองแม่มอก” มากกว่าเดือนละ 200,000 บาท
ปีละกว่า 2,500,000 บาท (สองล้านห้าแสนบาท) และ “กองทุนพัฒนาผู้ดูแลผู้สูงอายุแม่มอกหลั่นล้า
อีโคโนมี” มีรายรับจากเงินบริจาคคืนของนักบริบาล เดือนละกว่า 10,000 บาท นอกเหนือจากรายรับจาก
ยอดเงินบริจาคจากผู้ใหญ่ใจดี และการจัดกิจกรรม “แม่มอกหลั่นล้าอีโคโนมี” ประจาปี ที่เริ่มดาเนินการ
มาแล้วติดต่อกัน 2 ปี
15
นักบริบาลหลายท่านทาให้พ่อแม่ยิ้มได้ ครอบครัวยิ้มได้ ตัวเองยิ้มได้ จากรายได้ประจาที่เพิ่มขึ้น
ผู้สูงอายุในชุมชนยิ้มได้ รัฐยิ้มได้ ที่มีอาสาสมัครจิตอาสาดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเพิ่มขึ้นถึง 65 คนใน 1
ตาบลคอย “ช่วยรัฐ” “ช่วยสังคม” อย่างเคียงบ่าเคียงไหล่ คู่กับ “สมุดบันทึกชั่วโมงบิน” ของศูนย์เรียนรู้
และพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบครบวงจรและบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล
รามาธิบดี นับเป็นผลกระทบต่อสังคมโดยรวม (Social Impact’s Value) ที่เรียกว่า “ความสมบูรณ์พูนสุข”
ภายใต้ทฤษฎี “หลั่นล้าอีโคโนมี” ที่รัฐไม่ต้องรอ และชุมชนท้องถิ่นไม่ต้องรอรัฐ เป็น “ความผาสุกของ
บ้านเมือง” ที่เริ่มจากความเป็น “ท้องถิ่นนิยม” (Localism) และ “ภูมิภาคนิยม” (Regionalism) ของโลกใน
ปัจจุบัน สู่การพึ่งพาตัวเอง (Self – Reliance) ปกครองตนเอง (Self – Government) เป็นตัวของตัวเอง
ขณะเดียวกันก็เป็นพื้นที่ (Area) ของการพึ่งพาซึ่งกันและกันในชุมชน ในสังคมด้วย คงความเป็น “ชุมชน
ท้องถิ่นไทย” อันหมายถึงพื้นที่ชุมชนที่ไม่เป็นทางการ ที่ยังคงสภาพสังคมและวัฒนธรรมแบบธรรมเนียม
ประเพณี (Traditionalistic) สะท้อนความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม
(Traditional Culture and Sociological) เป็นพื้นที่ (Area) ของประชาชน ของชาวบ้าน ที่อยู่ร่วมกันเป็น
ครอบครัว เป็นเครือญาติ ครอบคลุมตามความหมายของ “ชุมชนท้องถิ่น” ภายใต้รากฐานทางทรัพยากร
ภูมิปัญญา พัฒนาการและประวัติศาสตร์การดารงอยู่ของตนเอง ที่ชุมชนท้องถิ่นสามารถนาสมัยได้ เริ่ม
ก่อนรัฐได้ นารัฐได้ และร่วมกับรัฐได้อย่างผสมกลมกลืน
อย่างไรก็ตาม กลุ่มแม่มอกก็ยังไม่ถือว่า กิจกรรมนักบริบาลผู้สูงอายุประสบความสาเร็จอย่างเป็น
ทางการแล้ว เพราะยังดาเนินการไปไม่ถึงขั้นสุดท้ายที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ฉะนั้น หากโครงการล้มเหลว
หรือไปไม่ถึงฝั่งฝัน ทางกลุ่มแม่มอกก็จะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด ไม่โทษว่าเป็นความผิดของใคร อีกทั้ง
กลุ่มแม่มอกก็ยังถือว่ากิจกรรมนี้อยู่ในขั้นทดลองทาและดาเนินไปแบบที่ภาษาเหนือเรียกว่า กิ๋นหอม
ต๋อมม่วน หมายถึง ทาอะไรก็มีความสุขไปเสียหมด มีความสุขกับทุกจังหวะของชีวิต กลุ่มแม่มอกจึง
ทางานแบบหลั่นล้า ไม่ได้มุ่งมั่นกับโครงการมากจนเกินไป เพราะเข้าใจว่าเป็นเรื่องใหม่ อาจทาให้มี
ปัจจัยภายนอกหลายอย่างเป็นอุปสรรคทาให้งานไปไม่ถึงฝันก็ได้ กลุ่มแม่มอกจึงไม่คาดหวังว่าจะต้อง
ประสบความสาเร็จร้อยเปอร์เซ็นต์
แผนการดาเนินงานในอนาคต
ปัจจุบัน กลุ่มแม่มอกหลั่นล้าอีโคโนมีได้ดาเนินการยื่นจดทะเบียนเป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์
โดยอาศัยความเป็นทางการด้วยการให้นักพัฒนาชุมชนของเทศบาลทาการประสานกับหน่วยงานรัฐภาค
ส่วนต่างๆ จนกลุ่มแม่มอกได้รับคิวการจดทะเบียนเป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ในปี 2563 และได้รับ
งบประมาณ 1.3 ล้านบาทต่อปี ซึ่งปกติจะมีการจดทะเบียนองค์กรสาธารณะเพียงจังหวัดละ 1 แห่งต่อปี
เท่านั้น โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องมีกิจกรรมและมีกองทุนให้เห็นชัดเจน ให้เห็นการเคลื่อนไหว หากรัฐเห็นว่า
มีผลงานที่ดีก็จะอนุมัติให้จดทะเบียน อีกทางหนึ่งที่สามารถทาได้คือ การจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน
แล้วกู้เงินจากธนาคารออมสิน ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาว่าควรไปในทิศทางใด ขึ้นอยู่กับความ
เข้มแข็งของกลุ่มด้วย
16
ในระยะต่อไป กลุ่มแม่มอกตั้งความหวังไว้ว่าจะเปิดศูนย์บริบาลผู้สูงอายุ (Nursing Home) ที่
สามารถรองรับผู้สูงอายุจากภายนอกมาพักมารับการดูแลรักษาที่แม่มอก เพื่อให้นักบริบาลแม่มอกที่ไม่
สามารถเดินทางไปทางานไกลๆ ได้มีงานทา โดยเริ่มจากการสารวจบ้านที่มีศักยภาพ ซึ่งพบว่ามีทั้งหมด
7 หลัง แล้วให้ทีมวิศวกรเป็นผู้ออกแบบ พร้อมกับวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์ให้เรียบร้อยว่า หนึ่งห้อง
ต้องใช้งบประมาณเท่าไร โดยอาจจะเริ่มจากการใช้เงินกองทุนก่อนสักสองสามห้อง ปรับปรุงเติมแต่งบ้าน
ด้วยเงินจากกองทุน ให้เหมาะกับผู้สูงอายุที่จะมาอยู่อาศัย ภายใต้การควบคุมมาตรฐานจากโรงพยาบาล
รามาธิบดี หรือถ้าบ้านไหนที่มีกาลังทรัพย์ก็ให้เขาเป็นผู้ลงทุนเองแล้วเราก็ไปทาสัญญาเช่าบ้านเขาเพื่อ
จัดทาเป็นสานักงาน
อย่างไรก็ตาม บริการ Nursing Home ต้องใช้เงินทุนจานวนมากและต้องประเมินด้วยว่า ตลาด
ใหญ่พอที่จะก่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนหรือไม่ ต้องทาการตลาด ประชาสัมพันธ์ให้คนเห็นและ
แจ้งความจานงเข้ามา จึงยังไม่ตัดสินใจลงทุนอะไรมากนัก
ในด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ กลุ่มแม่มอกได้ทาเว็บไซด์ www.maemoklanla.in.th เพื่อให้
ลูกค้าสามารถจองนักบริบาลผู้สูงอายุผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้เลย ซึ่งภายในเว็บไซต์มีทั้งรายละเอียด
โครงสร้างการบริหาร ภาพกิจกรรม สถานที่ท่องเที่ยว กระดานข่าว ดาวน์โหลดเอกสารสาคัญ เช่น
สัญญาจ้าง รวมไปถึงใบสมัครอบรมหลักสูตรนักบริบาลรุ่นต่อๆ โดยกลุ่มแม่มอกจะได้ขอความอนุเคราะห์
จาก ศาสตราจารย์ พญ. จิรพร เหล่าธรรมทัศน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ราชวิทยาลัย
จุฬาภรณ์ รองศาสตราจารย์ พญ. สิรินทร ฉันศิริกาญจน รักษาการแทนผู้อานวยการศูนย์เรียนรู้และ
พัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบครบวงจรและบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล
รามาธิบดี และ อ.พินทิพย์ กาญจนภูมินทร์ อาจารย์ผู้ดูแลหลักสูตรนักบริบาลแม่มอกหลั่นล้า ถึงความ
เป็นไปได้ที่จะดาเนินการเปิดศูนย์อบรมดังกล่าว โดยเบื้องต้นวางแผนไว้ว่าจะคิดค่าหลักสูตร 50,000
บาทต่อคน อบรมจานวน 420 ชั่วโมง และในอนาคต มีแผนจะทาเป็นแอปพลิเคชันแม่มอกหลั่นล้าอีโคโน
มี โดยอาศัยความร่วมมือของนักวิจัยจิตอาสาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชรและสภาวิจัยแห่งชาติ
เพื่อเปิดตลาดผู้ใช้บริการนักบริบาลให้กว้างขวางยิ่งขึ้นด้วย

Contenu connexe

Tendances

9 การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
9 การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร9 การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
9 การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรbo2536
 
คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูคู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูUtai Sukviwatsirikul
 
สุขฯ ม.2 หน่วย 6
สุขฯ ม.2 หน่วย 6สุขฯ ม.2 หน่วย 6
สุขฯ ม.2 หน่วย 6supap6259
 
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุคู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุUtai Sukviwatsirikul
 
ปฐมพยาบาล
ปฐมพยาบาลปฐมพยาบาล
ปฐมพยาบาลSumon Kananit
 
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57 งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57 Yanee Tongmanee
 
โรคมะเร็งในช่องปาก
โรคมะเร็งในช่องปากโรคมะเร็งในช่องปาก
โรคมะเร็งในช่องปากWan Ngamwongwan
 
118+heap4+dltv54+550209+a+สไลด์ การปฐมพยาบาล (1 หน้า)
118+heap4+dltv54+550209+a+สไลด์ การปฐมพยาบาล (1 หน้า)118+heap4+dltv54+550209+a+สไลด์ การปฐมพยาบาล (1 หน้า)
118+heap4+dltv54+550209+a+สไลด์ การปฐมพยาบาล (1 หน้า)Prachoom Rangkasikorn
 
แผนการเรียนรู้ที่ 7
แผนการเรียนรู้ที่ 7แผนการเรียนรู้ที่ 7
แผนการเรียนรู้ที่ 7tassanee chaicharoen
 
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติการวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติSambushi Kritsada
 
การใช้ยาในผู้สูงอายุ
การใช้ยาในผู้สูงอายุการใช้ยาในผู้สูงอายุ
การใช้ยาในผู้สูงอายุSirinoot Jantharangkul
 
กรอบแนวคิดในการวิจัย
กรอบแนวคิดในการวิจัยกรอบแนวคิดในการวิจัย
กรอบแนวคิดในการวิจัยNU
 
คู่มือยาจิตเวชชุมชน
คู่มือยาจิตเวชชุมชนคู่มือยาจิตเวชชุมชน
คู่มือยาจิตเวชชุมชนUtai Sukviwatsirikul
 
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา camping
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา campingการปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา camping
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา campingVai2eene K
 
Pain management nursing for student nurses
Pain management nursing for student nursesPain management nursing for student nurses
Pain management nursing for student nursesAphisit Aunbusdumberdor
 

Tendances (20)

9 การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
9 การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร9 การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
9 การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
 
คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูคู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
 
สุขฯ ม.2 หน่วย 6
สุขฯ ม.2 หน่วย 6สุขฯ ม.2 หน่วย 6
สุขฯ ม.2 หน่วย 6
 
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุคู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลตนเอง โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
 
ปฐมพยาบาล
ปฐมพยาบาลปฐมพยาบาล
ปฐมพยาบาล
 
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57 งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57
 
Drug
DrugDrug
Drug
 
การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
 
โรคมะเร็งในช่องปาก
โรคมะเร็งในช่องปากโรคมะเร็งในช่องปาก
โรคมะเร็งในช่องปาก
 
118+heap4+dltv54+550209+a+สไลด์ การปฐมพยาบาล (1 หน้า)
118+heap4+dltv54+550209+a+สไลด์ การปฐมพยาบาล (1 หน้า)118+heap4+dltv54+550209+a+สไลด์ การปฐมพยาบาล (1 หน้า)
118+heap4+dltv54+550209+a+สไลด์ การปฐมพยาบาล (1 หน้า)
 
แผนการเรียนรู้ที่ 7
แผนการเรียนรู้ที่ 7แผนการเรียนรู้ที่ 7
แผนการเรียนรู้ที่ 7
 
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติการวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
 
Ppt.เพศ
Ppt.เพศPpt.เพศ
Ppt.เพศ
 
การใช้ยาในผู้สูงอายุ
การใช้ยาในผู้สูงอายุการใช้ยาในผู้สูงอายุ
การใช้ยาในผู้สูงอายุ
 
กรอบแนวคิดในการวิจัย
กรอบแนวคิดในการวิจัยกรอบแนวคิดในการวิจัย
กรอบแนวคิดในการวิจัย
 
คู่มือยาจิตเวชชุมชน
คู่มือยาจิตเวชชุมชนคู่มือยาจิตเวชชุมชน
คู่มือยาจิตเวชชุมชน
 
Drugs used in lactation
Drugs used in lactationDrugs used in lactation
Drugs used in lactation
 
เฉลย กสพท. ชีววิทยา 2558
เฉลย กสพท. ชีววิทยา 2558เฉลย กสพท. ชีววิทยา 2558
เฉลย กสพท. ชีววิทยา 2558
 
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา camping
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา campingการปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา camping
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา camping
 
Pain management nursing for student nurses
Pain management nursing for student nursesPain management nursing for student nurses
Pain management nursing for student nurses
 

Similaire à เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม

คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ
คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ
คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ โปรตอน บรรณารักษ์
 
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud251298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2Pisan Chueachatchai
 
หนังสือผนึก บูรณาการ สานพลัง ลดความเสี่ยงโรคเรื้อรัง
หนังสือผนึก บูรณาการ สานพลัง ลดความเสี่ยงโรคเรื้อรังหนังสือผนึก บูรณาการ สานพลัง ลดความเสี่ยงโรคเรื้อรัง
หนังสือผนึก บูรณาการ สานพลัง ลดความเสี่ยงโรคเรื้อรังโรงพยาบาลสารภี
 
พัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัย
พัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัยพัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัย
พัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัยguestd1493f
 
พัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัย
พัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัยพัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัย
พัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัยDMS Library
 
ระบบประกันการดูแลระยะยาว
ระบบประกันการดูแลระยะยาว ระบบประกันการดูแลระยะยาว
ระบบประกันการดูแลระยะยาว Chuchai Sornchumni
 
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)Chuchai Sornchumni
 
ทีมหมอครอบครัว(Fct)พิมพ์ครั้งที่3
ทีมหมอครอบครัว(Fct)พิมพ์ครั้งที่3ทีมหมอครอบครัว(Fct)พิมพ์ครั้งที่3
ทีมหมอครอบครัว(Fct)พิมพ์ครั้งที่3Auamporn Junthong
 
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1Thanom Sak
 
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1Thanom Sak
 
นำเสนอการดำเนินงาน Dhs ประเด็นสุขภาพ odop สุขภาพจิต
นำเสนอการดำเนินงาน Dhs ประเด็นสุขภาพ odop สุขภาพจิตนำเสนอการดำเนินงาน Dhs ประเด็นสุขภาพ odop สุขภาพจิต
นำเสนอการดำเนินงาน Dhs ประเด็นสุขภาพ odop สุขภาพจิตGob Chantaramanee
 
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยKlangpanya
 
การสร้าง Family care team หมอครอบครัว
การสร้าง Family care team หมอครอบครัวการสร้าง Family care team หมอครอบครัว
การสร้าง Family care team หมอครอบครัวDr.Suradet Chawadet
 

Similaire à เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม (20)

คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ
คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ
คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ
 
การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน
การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน
การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน
 
Pady1
Pady1Pady1
Pady1
 
Pady1
Pady1Pady1
Pady1
 
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud251298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
 
หนังสือผนึก บูรณาการ สานพลัง ลดความเสี่ยงโรคเรื้อรัง
หนังสือผนึก บูรณาการ สานพลัง ลดความเสี่ยงโรคเรื้อรังหนังสือผนึก บูรณาการ สานพลัง ลดความเสี่ยงโรคเรื้อรัง
หนังสือผนึก บูรณาการ สานพลัง ลดความเสี่ยงโรคเรื้อรัง
 
พัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัย
พัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัยพัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัย
พัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัย
 
พัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัย
พัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัยพัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัย
พัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัย
 
ระบบประกันการดูแลระยะยาว
ระบบประกันการดูแลระยะยาว ระบบประกันการดูแลระยะยาว
ระบบประกันการดูแลระยะยาว
 
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)
 
ทีมหมอครอบครัว(Fct)พิมพ์ครั้งที่3
ทีมหมอครอบครัว(Fct)พิมพ์ครั้งที่3ทีมหมอครอบครัว(Fct)พิมพ์ครั้งที่3
ทีมหมอครอบครัว(Fct)พิมพ์ครั้งที่3
 
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1
 
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1
 
นำเสนอการดำเนินงาน Dhs ประเด็นสุขภาพ odop สุขภาพจิต
นำเสนอการดำเนินงาน Dhs ประเด็นสุขภาพ odop สุขภาพจิตนำเสนอการดำเนินงาน Dhs ประเด็นสุขภาพ odop สุขภาพจิต
นำเสนอการดำเนินงาน Dhs ประเด็นสุขภาพ odop สุขภาพจิต
 
Osdop swat
Osdop  swatOsdop  swat
Osdop swat
 
Persontalk 20121018191110
Persontalk 20121018191110Persontalk 20121018191110
Persontalk 20121018191110
 
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
 
การสร้าง Family care team หมอครอบครัว
การสร้าง Family care team หมอครอบครัวการสร้าง Family care team หมอครอบครัว
การสร้าง Family care team หมอครอบครัว
 
District health system
District health systemDistrict health system
District health system
 
บทที่1
บทที่1บทที่1
บทที่1
 

Plus de FURD_RSU

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กFURD_RSU
 
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD_RSU
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลFURD_RSU
 
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมเมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมFURD_RSU
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมFURD_RSU
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...FURD_RSU
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD_RSU
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD_RSU
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมFURD_RSU
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกFURD_RSU
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขFURD_RSU
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองFURD_RSU
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองFURD_RSU
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยFURD_RSU
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังFURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD_RSU
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีFURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD_RSU
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...FURD_RSU
 
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)FURD_RSU
 

Plus de FURD_RSU (20)

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
 
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
 
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมเมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมือง
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
 
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
 

เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม

  • 1. เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุ โดยภาคประชาสังคม อุดม สุวรรณพิมพ์
  • 2. เมืองแม่มอก: การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุ โดยภาคประชาสังคม ว่าที่ร้อยตรี ดร. อุดม สุวรรณพิมพ์ รองปลัดองค์การบริหารส่วนตาบลแม่ถอด อาเภอเถิน จังหวัดลาปาง
  • 3. ผู้เขียน : ว่าที่ร้อยตรี ดร. อุดม สุวรรณพิมพ์ บรรณาธิการบริหาร : นางสาวยุวดี คาดการณ์ไกล บรรณาธิการฝ่ายวิชาการ : นางสาวยุวดี คาดการณ์ไกล ผู้ถอดความและเรียบเรียง : นายอรุณ สถิตพงศ์สถาพร กองบรรณาธิการ : นางสาวณัฐธิดา เย็นบารุง นายอรุณ สถิตพงศ์สถาพร นางสาวฐิติรัตน์ รู้เสงี่ยม ปก : นายอรุณ สถิตพงศ์สถาพร รูปเล่ม : นายอรุณ สถิตพงศ์สถาพร ปีที่เผยแพร่ : พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ผู้เผยแพร่ : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับมูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ (CPWI) ภายใต้โครงการการพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนเมืองสุขภาวะ ผู้สนับสนุน : สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  • 4. 1 เมืองแม่มอก: การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม ความเป็นเมืองในคราบชนบท แม่มอก เป็นตาบลหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในอาเภอเถิน จังหวัดลาปาง ห่างจากที่ว่าการอาเภอเถินไปทาง ทิศเหนือประมาณ 22 กิโลเมตร อาณาเขตติดต่อด้านทิศเหนือ ติดกับอาเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ทิศ ตะวันออก ติดกับอาเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ทิศตะวันตกและใต้ ติดกับตาบลแม่ปะและตาบลเวียง มอก อาเภอเถิน จังหวัดลาปาง ปัจจุบันมีเนื้อที่เกือบ 2แสนไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 12 ของเนื้อที่อาเภอ เถินทั้งหมด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลาดเชิงเขา โดยมีภูเขาสูงชันอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ คั่นระหว่าง อาเภอเถิน จังหวัดลาปางกับอาเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ภูเขาเหล่านี้ล้วนเป็นแหล่งต้นน้าลาธารที่ สาคัญของตาบล บริเวณตอนกลางของตาบลจะเป็นพื้นที่ราบมีแม่น้าแม่มอกไหลผ่าน และยังมีลาห้วย ขนาดเล็กไหลผ่านในหมู่บ้านต่างๆ แม่มอก มาจากชื่อของลาน้าที่ไหลลงสู่บ้านผาคอก ชาวบ้านนิยม เรียกว่าแม่น้าผาคอก จากนั้นเรียกเพี้ยนกันมาว่าแม่น้าแม่มอก และได้เรียกชื่อหมู่บ้านตามลาน้าว่าบ้าน แม่มอกมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนลาน้าที่ไหลไปอีกฝั่งหนึ่งของภูเขาลงสู่พื้นที่ในเขตจังหวัดแพร่และสุโขทัย กลายเป็นต้นน้าของแม่น้ายม โดยมีป่าแม่มอก ถือเป็นป่าสักงามผืนสุดท้ายของลาปาง และเป็นป่า สมุนไพรที่มีความอุดมสมบูรณ์ ภาพล่าง: บรรยากาศของทุ่งนา ภาพขวา: แหล่งน้าตกธรรมชาติของแม่มอก
  • 5. 2 ใน พ.ศ. 2560 แม่มอกมีประชากรตามทะเบียนราษฎร์ทั้งหมด 5,192 คน หรือราว 1,765 หลังคา เรือน (ข้อมูลจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย) ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม ได้แก่ เพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ พืชที่ปลูก อาทิ ข้าว ถั่วลิสง ข้าวโพด กระเทียม พืชผักสวนครัว ลาไย มีการ เลี้ยงสัตว์ เช่น โคเนื้อ กระบือ สุกร เป็ด ไก่ ปลาน้าจืด สาหรับการทานาจะทาปีละครั้ง อาศัยน้าฝนใน เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม โดยใช้แรงงานในครัวเรือน ถ้ากรณีแรงงานไม่พอจะจ้างจากตาบลใกล้เคียง เมื่อแรงงานว่างจากภาคเกษตรกรรม บางส่วนจะไปประกอบอาชีพรับจ้างในพื้นที่อื่น แม้ทางกายภาพ แม่มอกจะมีลักษณะของความเป็นชนบท แต่ชาวบ้านตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึงวัย กลางคนก็เริ่มมีการปรับตัวเข้าสู่วิถีชีวิตแบบเมืองแล้ว เช่น มีนายทุนในพื้นที่ มีการใช้ Social Media อย่างไรก็ดี ชุมชนแม่มอกก็ยังมีลักษณะแบบชนบทอยู่มาก วิถีชีวิตของชาวแม่มอกจะมีความเกี่ยวข้อง กับวัฒนธรรมพระพุทธศาสนาอยู่ตลอด ผู้สูงอายุในชุมชนจะมีความตื่นตัวในการเป็นผู้นาทากิจกรรม ต่างๆ เช่น การชักชวนคนหนุ่มสาวและเด็กๆ เข้าวัดทาบุญ การประกอบประเพณีสลากภัตในช่วง เข้าพรรษา การเซ่นไหว้แม่โพสพในฤดูทานา การทาบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ เป็นต้น ซึ่งกิจกรรม บุญทั้งหมดมักจะได้รับความร่วมมือในการเข้าร่วมอย่างดีจากคนทุกเพศทุกวัยเสมอจนกลายมาเป็นจุด แข็งด้านต้นทุนทางสังคมของชุมชน สังคมผู้สูงอายุ ปัญหาที่รัฐเกาไม่ถูกที่คัน ปัจจุบันโลกเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วและมีแนวโน้มจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้รัฐจะมีความ พยายามเข้าไปแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุและสร้างความสมดุลของคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ แต่ด้วยความ แตกต่างระหว่างความเป็นชุมชนกับความเป็นราชการที่มีมาตั้งแต่อดีต ทาให้คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุยัง ไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร ในขณะที่ชุมชนมีวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง มีอัตลักษณ์ มีความหลากหลาย ระบบราชการก็มีลักษณะรวมศูนย์อานาจ มีความเป็นหนึ่งเดียว เมื่อชุมชนเกิดความเหลื่อมล้าไม่เป็น ธรรม ราชการก็เกิดความรู้สึกเหนื่อยกับภารกิจ โดยเฉพาะงานผู้สูงอายุ ที่แม้ในระดับนโยบายและ เจตนารมณ์อาจทาให้งานผู้สูงอายุดูเหมือนมีภาระน้อย แต่ในระดับปฏิบัติ เจ้าหน้าที่ประจากลับมีภาระ เพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงเกิดเป็นปรากฏการณ์ “ภารกิจเพิ่ม คนเท่าเดิม” การปฏิรูปที่เกิดขึ้นซ้าแล้วซ้าอีกก็ มองแต่ด้านผลตอบแทนเป็นหลัก ภาพ: การบริบาลผู้สูงอายุในแม่มอก
  • 6. 3 ปรากฏการณ์ด้านประชากรศาสตร์ ศูนย์สังคมผู้สูงอายุไทย ชี้ว่า ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 จนกระทั่ง พ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 15.4 แล้ว และจะเป็น สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2564 แต่ปัจจุบันอาเภอเถิน จังหวัดลาปางมีผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 27 ซึ่งก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอดไปเรียบร้อยแล้ว เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงสถานการณ์ ผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น วัยเด็กวัยแรงงานที่ลดลง ในขณะเดียวกัน ดัชนีการสูงอายุและอัตราการเป็นภาระก็มี แนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อัตราการเกิดก็ลดลง (แผนภาพที่ 1) ทาให้ปัจจุบันคนในครอบครัวประมาณ 2-3 คน ต้องแบกรับภาระผู้สูงอายุ 1 คน ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยสถานการณ์ที่คนวัยทางานมักต้องออกไปทางาน ข้างนอกหาเงินเลี้ยงครอบครัว ทาให้ไม่มีทั้งกาลังและเวลาเลี้ยงดูพ่อแม่ที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง รัฐจึงต้อง เข้ามาแบกรับภาระดูแลประเด็นนี้ แผนภาพที่ 1 ดัชนีการสูงอายุ และอัตราการเป็นภาระ พ.ศ. 2537 2545 2550 2557 และ 2560 คาถามคือ รัฐไทยให้ความสนใจในประเด็นผู้สูงอายุมากน้อยแค่ไหน อย่างไร จากประสบการณ์ที่ ผ่านมาก็พบว่า ผู้ดูแลผู้สูงอายุของรัฐมาจาก 2 กระทรวงด้วยกัน คือ กระทรวงสาธารณสุข ที่ร่วมมือ กับท้องถิ่นในเรื่องการดูแลผู้สูงอายุวัยพึ่งพิงที่บ้าน (Long-Term Care) โดยได้รับประมาณมาจากกองทุน ประกันสุขภาพถ้วนหน้าระดับพื้นที่ของ สปสช. เสมือนเป็นกองทุนของชุมชนให้ขับเคลื่อนประเด็นนี้ ทาง กระทรวงสาธารณสุขก็นาพยาบาลจาก รพ.สต. ซึ่งมีงานประจาอยู่แล้ว ขึ้นมาพัฒนาศักยภาพ โดยใช้ หลักสูตรของกรมอนามัย พัฒนาให้เป็น Care Manager ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุ วัยพึ่งพิงโดยเฉพาะ ขณะเดียวกันก็นา อสม. ที่มีอยู่แล้วในระบบ ตาบลละ 2 คน มาอบรมหลักสูตร Care Giver ระยะสั้น ของกรมอนามัย จานวน 70 ชั่วโมง จากนั้นก็นาคนสองกลุ่มนี้ก็มาผนวกกันดูแลผู้สูงอายุที่ผ่านการประเมินความสามารถในการ ประกอบกิจวัตรประจาวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel Activities of Daily Living : ADL) โดยแบ่ง ผู้สูงอายุออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มติดบ้าน กลุ่มติดเตียง กลุ่มสมองเสื่อม และกลุ่มระยะท้าย รัฐจัดสรร
  • 7. 4 งบประมาณสาหรับการดูแลผู้สูงอายุไว้ 5,000 บาทต่อผู้สูงอายุติดเตียงหนึ่งคนต่อปี โดยแบ่งเป็น ค่าตอบแทน Care Giver ไม่เกินวันละ 300 บาท ค่าตอบแทน Care Manager คิดเป็นชั่วโมงละ 80 บาท หากจ่ายค่าตอบแทนตามจริง งบประมาณก็คงไม่เพียงพอ เพราะเงินก้อนนี้รวมค่าใช้จ่ายสินค้าอุปโภคใน การดูแลผู้สูงอายุด้วย ทาให้คนสองกลุ่มนี้เลือกที่จะไม่เบิกเงินแล้วเก็บเงินไว้ซื้อผ้าอ้อมสาเร็จรูปหรือของ ใช้ต่างๆ อีกทั้งยังมีเงื่อนไขว่า ผู้ดูแลต้องไปเยี่ยมผู้สูงอายุอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง ทาให้เกิดต้นทุน ในการเดินทางอีก นโยบายนี้จึงไม่ใช่แค่เพิ่มภาระงานให้กับคนในระบบ แต่ยังก่อให้เกิดความฟุ่มเฟือย อีกด้วย อีกกระทรวงหนึ่ง คือ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ผลิต อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุตาบลละ 4 คน ให้ค่าตอบแทนคนละ 600 บาทต่อเดือน คนกลุ่มนี้มีภารกิจ การ จัดทารายงานและเงื่อนไขการรับค่าตอบแทนเหมือนกับกระทรวงแรกทุกประการ ต่างกันแค่สังกัดคนละ กระทรวงเท่านั้น สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ในขณะที่ผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ รัฐก็มี งบประมาณและกาลังคนอันจากัด ทาให้ไม่สามารถรับมือกับปัญหาผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างเช่น ตาบลแม่ถอด ที่มีผู้สูงอายุในการดูแลอยู่ทั้งหมด 65 ราย บางรายเป็นผู้ป่วยระยะท้าย พยาบาล ต้องลงพื้นที่เยี่ยมสัปดาห์ละ 3 วัน ทาให้ รพ.สต. ขาดแคลนพยาบาลคอยดูแลให้บริการประชาชน เมื่อลง พื้นที่แล้วกลับมาก็ไม่มีเวลาเขียนรายงาน ทาให้ไม่สามารถเบิกเงินออกมาได้ นับเป็นปัญหาในทาง ปฏิบัติปัญหาหนึ่งที่เรื้อรังมาจนถึงทุกวันนี้ แนวคิดการพัฒนาแม่มอกสู่เมืองผู้สูงอายุ ด้วยปัญหาการขาดแคลนกาลังคนมาดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ซึ่งไม่ได้มีปัญหาเฉพาะด้านสุขภาพ เพียงอย่างเดียว แต่เป็นปัญหาเชิงสังคมและเศรษฐกิจด้วย คาว่า “สุขภาพดี” จึงต้องหมายรวมถึง ความสมบูรณ์ทั้งทางกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ จนเกิดปรากฏการณ์ “ภาระงานล้นมือ” ใน หน่วยระดับปฏิบัติการของกระทรวงสาธารณสุข จึงเป็นที่มาของคาว่า “คนไม่พอ มีไม่ทัน” สาเหตุหนึ่ง เป็นเพราะสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตามกระแสความเจริญของบ้านเมืองและเทคโนโลยีนั้นส่งผล กระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ระบบราชการกลับเชื่องช้า กว่าจะนา คนไปอบรมได้ ต้องเขียนโครงการ รอการอนุมัติ ต้องทาตามขั้นตอนราชการ ทาให้ไม่ทันการ เกิดภาระ และใช้งบประมาณสูง แม่มอกจึงเกิดแนวคิดที่จะก้าวเข้ามาเป็นกาลังเสริมเพื่อรองรับปัญหาผู้สูงอายุ ดังกล่าว กระบวนทัศน์เรื่องการดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิตผู้อื่นที่แต่เดิมมองว่า เราต้องอาศัยบุคลากรที่ มีวิชาชีพเฉพาะทางเท่านั้น เช่น การจ่ายยาต้องให้เภสัช ปวดหูต้องไปหาหมอหู ปวดตาต้องไปหาหมอ ตา มันเป็นการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ใช้แนวคิดระบบชีวการแพทย์ (Biomedical System) กระบวนทัศน์ เช่นนี้อาจจะล้าสมัยไปแล้ว ในทางกลับกัน ถ้าเราแบ่งปันองค์ความรู้วิชาชีพคนละเล็กละน้อยไปให้ ชาวบ้าน โดยที่เขาไม่จาเป็นต้องรู้เท่าเรา แต่รู้มากพอที่เรามั่นใจว่าเขาจะดูแลประชาชนหรือผู้ป่วยแทน เราได้ในระดับหนึ่ง บุคคลนั้นก็จะมีศักยภาพขึ้นมาเป็นผู้ช่วยเราได้ นี่เป็นกระบวนทัศน์อีกมุมหนึ่งที่ คานึงถึงสาธารณะเป็นหลัก ไม่ได้มองแต่วิชาชีพหรือความเป็นมืออาชีพจนเกินไป
  • 8. 5 แม่มอกเปลี่ยนมุมมองจากที่เห็นว่าผู้สูงอายุเป็นปัญหาให้กลายเป็นโอกาส กล่าวคือ มองว่า สถานการณ์ผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นนั้นเป็นโอกาสที่เราจะสร้างอาชีพเกี่ยวกับการบริการผู้สูงอายุ ที่พี่น้อง ประชาชนสามารถยึดเป็นอาชีพหลักในอนาคตได้ จุดเริ่มต้นคือ ชาวแม่มอกในฐานะพลเมืองจิตอาสารัก บ้านเกิด จุดประกายความคิดขึ้นมาว่า เราจะเริ่มก่อนรัฐ ไม่รอรัฐ แต่ก็ไม่ได้กีดกันรัฐ กอปรกับการ ใช้ภูมิประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมอันดีงามและความเป็นแม่มอกที่มีทุนทางสังคมแน่นหนามาเป็นจุดเริ่มต้น ของการรวมตัวกัน กล่าวคือ ต่างคนต่างให้ความเคารพเชื่อฟังผู้หลักผู้ใหญ่ มีความเป็นพี่เป็นน้องกันทั้ง ตาบล เสมือนไม่มีรั้วหมู่บ้าน ในขณะเดียวกันก็มีการดาเนินวิถีชีวิตเหมือนกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ร่วมแรง ร่วมใจกัน ทาให้แม่มอกเกิดการรวมกลุ่มกันได้ง่ายมาก จนเกิดเป็นกลุ่มพลเมืองจิตอาสารักบ้านเกิด ที่มี การระดมสมอง ช่วยกันคิด ช่วยกันทา ทั้งระหว่างคนแม่มอกเองและกับคนภายนอกผ่านสื่อสังคม ออนไลน์ กลุ่มพลเมืองจิตอาสารักบ้านเกิดที่เป็นผู้จุดประกายและเป็นแรงขับเคลื่อนสาคัญ ประกอบด้วย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อธิการวิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ศาสตราจารย์ พญ. จิรพร เหล่าธรรมทัศน์ หัวหน้าศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า (ไอแมค) และรองคณบดี ฝ่ายศูนย์ความเป็นเลิศและศูนย์สนับสนุนพันธกิจ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในขณะนั้น ซึ่งปัจจุบันท่านดารงตาแหน่งคณบดีคณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ นพ. สุทธิพงษ์ จงจิระศิริ ภาควิชารังสีวิทยา คณะ แพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัย รัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ทาให้งานทั้งหลายสาเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี จนสุดท้ายได้พัฒนากลายเป็นกลุ่มที่ มีชื่อว่า “แม่มอกหลั่นล้าอีโคโนมี” ภาพ: พลเมืองจิตอาสาผู้จุดประกายความคิดการสร้างนักบริบาลผู้สูงอายุ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พญ. สิรินทร ฉันศิริกาญจน อาจารย์พินทิพย์ กาญจนภูมินทร์ ศาสตราจารย์ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ และคณะ ชาวแม่มอก
  • 9. 6 คาว่า “หลั่นล้าอีโคโนมี” เป็นแนวคิดของศาสตราจารย์ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ที่มุ่งหวังจุด ประกายเศรษฐกิจไทยให้กลับมาเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการหันมาเน้นที่การเปลี่ยนผ่านมากกว่าเติบโต เน้นที่กาไรพอประมาณและคุณภาพมากกว่าขยายปริมาณ โดยใช้จุดแข็งที่มีและความถนัดของคนไทย เรา นั่นคือความ “หลั่นล้า” ซึ่งหมายถึง ชอบการละเล่น บันเทิง มีมารยาท อัธยาศัยที่ดี ใจกว้าง และชอบ บริการ สังเกตได้ว่าธุรกิจที่คนไทยทาได้ดีมักจะเชื่อมโยงและมีฐานมาจากอุปนิสัยและวัฒนธรรมของคน ไทยที่ชอบเล่น ชอบเที่ยว รักความสนุก รักความบันเทิงและเป็นกันเอง อันได้แก่ ธุรกิจบริการการ ท่องเที่ยวและโรงแรม ภาพยนตร์ ดนตรี อาหาร การเกษตรแบบบูติก สุขภาพ กีฬา ฯลฯ โมเดล “หลั่นล้า อีโคโนมี” ถือเป็นโมเดลการทาเศรษฐกิจอีกทางเลือกหนึ่งของไทย นอกเหนือจากแนวการพัฒนา เศรษฐกิจตามกระแสของโลกที่มุ่งเน้นด้านอุตสาหกรรมหรือเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพียงอย่างเดียว แนวคิดอีกประการหนึ่งที่ทาให้กลุ่มแม่มอกขับเคลื่อนมาได้ คือ องค์ความรู้ที่ได้จากดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง ชุมชนท้องถิ่นไทยแนวใหม่กับรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง โดยอุดม สุวรรณพิมพ์ (2559) ที่ ชี้ว่า “พลเมืองมืออาชีพหัวใจผู้ประกอบการ” เป็นหัวใจหลักของจิตอาสาสร้างบ้านแปงเมือง ซึ่งแบ่ง ออกเป็นคุณสมบัติทั้งหมด 10 ประการ คือ 1) มีความมุ่งมั่นที่จะประสบความสาเร็จ 2) มั่นใจในตัวเอง 3) มีแนวคิดในบทบาทของตัวเองชัดเจน 4) มีแผนงานที่เป็นระบบ 5) มีความสามารถในการบริหารการเงิน 6) มีความสามารถทางการตลาด 7) มองเห็นสภาพการแข่งขันในอนาคต 8) มีแหล่งสนับสนุนที่ดี 9) มี ทักษะในการประสานงาน และ 10) จัดองค์การที่เหมาะสม แผนภาพที่ 2 แบบแผนชุมชนท้องถิ่นไทยแนวใหม่ที่นาสมัย
  • 10. 7 เราต้องปรับกระบวนทัศน์ด้วยว่า เราจะมีความสมดุลระหว่างท้องถิ่นที่เป็นทางการกับท้องถิ่นที่ ไม่เป็นทางการ กล่าวคือ เราจะไม่รอรัฐ แต่ก็ไม่ปฏิเสธรัฐ จึงเป็นที่มาของโครงการการจัดระบบนัก บริบาลผู้สูงอายุ โดยกลุ่มแม่มอกกลั่นล้าอีโคโนมี ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นทดลองปฏิบัติ หากประสบ ความสาเร็จก็อาจต่อยอดไปสู่นโยบายและการปฏิบัติอย่างจริงจังต่อไป เพื่อสร้างอาชีพเสริม เพิ่ม ทางเลือกงาน บริการแห่งอนาคต ก้าวสู่การเป็นรัฐบริบาลผู้สูงอายุ ขั้นตอนการดาเนินงาน ตั้งแต่เริ่มทาหลักสูตรจนถึงการพัฒนาสู่อาชีพ กว่าจะผลิตนักบริบาลผู้สูงอายุ แม่มอกหลั่นล้าอีโคโนมี ออกมาได้นั้น ต้องผ่านกระบวนการทั้ง ด้านวิชาการ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การประสานงาน โดยสรุปได้เป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นแรก ผลิตหลักสูตร กลุ่มแม่มอกฯ ได้รับการช่วยเหลือจากศูนย์เรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะ ผู้สูงอายุแบบครบวงจรและบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี นาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พญ. สิรินทร ฉันศิริกาญจน ที่ได้กรุณารับเป็นหัวหน้าทีมวิชาการ รับผิดชอบ หลักสูตร ประสานงานคณะวิทยากรในการจัดการเรียนการสอน โดยอาจารย์พินทิพย์ กาญจนภูมินทร์ จากศูนย์เรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบครบวงจรและบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้ดาเนินการขอความร่วมมือจากนายแพทย์สราวุธ แสง ทอง ผู้อานวยการโรงพยาบาลเถิน นายชุมพล ดวงดีวงค์ สาธารณสุขอาเภอเถิน ขอสนับสนุนพยาบาล วิชาชีพที่ผ่านการอบรม Care Manager ทั้งจากโรงพยาบาลเถินและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล (รพ.สต.) รวมถึงบุคลากรที่เกี่ยวข้อง รวมกันเป็นวิทยากรจิตอาสา ถ่ายทอดความรู้สู่ชาวบ้านและติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ขั้นที่สอง จัดอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ ระดับพื้นฐาน (70 ชั่วโมง) เป็นการฝึกให้นัก บริบาลสามารถดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน ที่สุขภาพไม่ได้ถึงขั้นร้ายแรงมาก แต่มีอาการขี้หลงขี้ลืมบ้าง จึง ต้องการการดูแลเบื้องต้นอย่างใกล้ชิด เช่น บริการนวด ทากายภาพบาบัด วัดความดัน เช็คชีพจร โดยจะ เรียนและฝึกปฏิบัติในชุมชนเป็นหลัก ทั้งนี้ กลุ่มแม่มอกฯ และทีมวิทยากรที่นาโดย อาจารย์พินทิพย์ กาญจนภูมินทร์ จากโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้จัดอบรมรุ่นที่ 1 ไปแล้วเมื่อวันที่ 5 – 23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ตาบลแม่มอก อาเภอเถิน จังหวัดลาปาง ซึ่งมีผู้เข้ารับการอบรมจานวน 62 คน ทั้งหมดล้วนเป็นผู้หญิง อายุระหว่าง 20 – 59 ปี ภาพ: การอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ ระดับพื้นฐาน รุ่นที่ 1 ณ อาเภอแม่มอก
  • 11. 8 ขั้นที่สาม จัดอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ ระดับสูง (420 ชั่วโมง) เป็นการฝึกให้นัก บริบาลสามารถดูแลผู้สูงอายุติดเตียงที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สมองเสื่อม จนถึงผู้ป่วยระยะท้าย ที่มี เครื่องมืออุปกรณ์รอบตัว จึงต้องการการดูแลครบวงจร ตั้งแต่ทาความสะอาดร่างกาย ขจัดสิ่งปฏิกูล ใส่ สายให้อาหาร ดูดเสมหะ เป็นต้น โดยคนที่จะเข้าร่วมอบรมนักบริบาลขั้นสูงได้นั้นต้องมีคะแนนสอบการ เป็นนักบริบาลขั้นพื้นฐานมากกว่าร้อยละ 70 ทั้งนี้ กลุ่มแม่มอกและคณะวิทยากร อ.พินทิพย์ กาญจน ภูมินทร์ อาจารย์ผู้ดูแลหลักสูตรนักบริบาลแม่มอกหลั่นล้าอีโคโนมี พยาบาลวิชาชีพศูนย์เรียนรู้และ พัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบครบวงจรและบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี คณะวิทยากรจากโรงพยาบาลเถิน และจาก รพ.สต. ในความรับผิดชอบของสานัก ได้จัดอบรม นักบริบาลผู้สูงอายุขั้นสูงไปแล้วเมื่อ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 – 15 มิถุนายน พ.ศ. 2561 โดยใช้ รพ. สต. แม่มอกกลาง กับโรงพยาบาลเถินเป็นห้องเรียน มีผู้เข้าร่วมการอบรมทั้งหมด 32 คน ภาพ: การอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ ขั้นสูง รุ่นที่ 1 ณ โรงพยาบาลเถิน
  • 12. 9 หลังจากนักบริบาลผ่านภาคทฤษฎีแล้ว ต้องไปฝึกปฏิบัติงานภาคสนามเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ซึ่งมี นักบริบาลสามารถเข้าร่วมฝึกปฏิบัติงานได้ทั้งหมด 23 คน ในสถาบัน 3 แห่ง ดังนี้ สถานที่ฝึกงานแห่งแรก โรงพยาบาลแวนแซนด์วูร์ด ผู้ป่วยโรงพยาบาลนี้มีทั้งกรณีติดเตียง สมองเสื่อม ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยสมองเสื่อม บางคนอยู่โรงพยาบาลแห่งนี้มากว่า 10 ปี ลูกหลานยอมจ่าย เดือนละแสน เพื่อให้พ่อแม่ญาติพี่น้องของเขายังมีชีวิตอยู่ โรงพยาบาลแห่งนี้ได้รับความนิยมถึงขนาด ที่ว่าต้องจองข้ามปีกันเลยทีเดียว หลังจากที่นักบริบาลแม่มอกจบการฝึกงานจากที่นี่แล้ว โรงพยาบาล แวนแซนด์วูร์ดส่งใบสมัครเข้าทางานตามมาและยินดีรับทุกคนเข้าทางานทันที สะท้อนให้เห็นว่า นัก บริบาลแม่มอกได้รับการยอมรับแล้ว สถานที่ฝึกงานแห่งที่สอง ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ จังหวัดลาปาง ของ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุของ ภาครัฐ ในลักษณะสงเคราะห์ตามบทบาทหน้าที่รัฐสวัสดิการ มีผู้สูงอายุติดเตียงบ้าง ญาติฝากให้ดูแลบ้าง และผู้สูงอายุที่ศูนย์ต้องดูแลร้อยเปอร์เซ็นต์บ้าง รวมกันแล้วมากกว่า 30 คน ด้วยข้อจากัดของจานวน บุคคลากรภาครัฐที่ทาหน้าที่ดูแลกลุ่มผู้สูงอายุดังกล่าว ส่งผลให้นักบริบาลแม่มอกทั้ง 23 ชีวิตที่ หมุนเวียนกันไปฝึกปฏิบัติงานเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-7 คน ดูมีคุณค่าและถือเป็นกาลังหลักสาคัญในการดูแล ผู้สูงอายุในลักษณะจิตอาสา ดูแลสังคมผู้สูงวัย สถานที่ฝึกงานแห่งที่สาม โรงพยาบาลมะเร็งลาปาง ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยเคมีบาบัด ระยะสุดท้าย ข้อจากัดคือ ที่แห่งนี้ไม่ได้เตรียมหลักสูตรไว้สาหรับฝึกงานนักบริบาล รับฝึกงานเฉพาะ นักศึกษาพยาบาลที่อัดแน่นด้วยทฤษฎีมาแล้ว นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเกี่ยวข้องกับรังสี สารเคมี ความ เป็นอยู่และความปลอดภัยของผู้ฝึกงานด้วย ทาให้โรงพยาบาลมะเร็งลาปางกลายเป็นโรงพยาบาลแห่ง แรกที่ทาหลักสูตรไปด้วยและสอนชาวบ้านไปด้วย ในขณะที่ชาวบ้านไม่มีประสบการณ์หรือความรู้ลึกซึ้ง ทางโรงพยาบาลเองก็ไม่มีประสบการณ์สอนชาวบ้านที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษ ไม่รู้ศัพท์เทคนิคเฉพาะทางมา ก่อน จึงเกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ภาพ: การฝึกงานของนักบริบาลแม่มอก ณ โรงพยาบาลต่างๆ
  • 13. 10 ขั้นที่สี่ จัดการนักบริบาลสู่การปฏิบัติงานจริง หลังจากการฝึกงานของนักบริบาลเสร็จสิ้นลง กลุ่มแม่มอกฯ ได้เป็นผู้ทาหน้าที่บริหารจัดการลาดับคิวงาน กาหนดค่าจ้างและเกณฑ์การจัดสรรรายได้ เข้ากองทุน โดยทางกลุ่มแม่มอกฯ ได้ดาเนินการประชุมหารือร่วมกับนักบริบาลทั้งหมดให้มีความเห็น พ้องต้องกันว่าจะใช้เกณฑ์ในการเรียงลาดับผู้ที่จะได้รับคัดเลือกให้ทางานก่อนหลังอย่างไร มติที่ประชุม ได้มีความเห็นร่วมกันอย่างเป็นเอกฉันท์ว่า จะคัดเลือกคนที่มีศักยภาพที่สุดให้ได้งานก่อน โดยใช้ผลสอบ ของนักบริบาลร่วมกับการมอบโอกาสให้นักบริบาลที่มีฐานะยากจน ด้อยโอกาสทางสังคมให้มีงานทาที่ มั่นคงจากวิชาชีพนักบริบาล แต่เจ้าตัวต้องแสดงความพร้อมเป็นลาดับแรก หากได้รับโอกาสจากกลุ่ม แล้วไม่พร้อม ก็ถือว่าตนเองสละสิทธิ์ดังกล่าวไป ด้วยเหตุนี้ ทางกลุ่มจะจัดลาดับคิวงานตามโอกาสทางสังคม ผลคะแนน และความพร้อมความ สมัครใจ เรียงลาดับเหมือนวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างรอรับผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ หากถึงลาดับของตัวเองแล้วไม่ พร้อมให้บริการก็ต้องไปต่อท้ายใหม่เพื่อรอจนกว่าจะถึงลาดับตัวเองอีกครั้ง นี่คือข้อตกลงร่วมกันเพื่อ ไม่ให้เกิดความขัดแย้ง แย่งงานกันทา ซึ่งงานนักบริบาลที่กลุ่มแม่มอกบริหารจัดการอยู่ในปัจจุบันแบ่ง ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1) งานนักบริบาลประจา เป็นงานที่นักบริบาลจะต้องไปปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลหรือสถาบัน ใดๆ ในวันและเวลาที่โรงพยาบาลหรือสถาบันนั้นกาหนด มีอัตราค่าจ้างแน่นอน เช่น ปัจจุบันนัก บริบาลแม่มอกจานวน 13 คนก็ได้รับการจ้างเป็นผู้ช่วยพยาบาลในฐานะลูกจ้างประจาของ กระทรวงสาธารณสุข ได้รับค่าจ้าง 9,600 บาทต่อเดือน 2) งานนักบริบาลชั่วคราว เป็นงานที่คล้ายกับงานประจา ต่างกันตรงที่อัตราค่าจ้างขึ้นอยู่กับว่า ผู้ว่าจ้างต้องการใช้บริการเป็นระยะเวลานานเท่าใด เช่น โรงพยาบาลเถินที่เปิดโอกาสและ ส่งเสริมให้นักบริบาลแม่มอกไปบริการเฝ้าผู้ป่วยที่หอผู้ป่วยในสาหรับผู้ที่ไม่มีเวลาดูแลผู้ป่วย โดยค่าบริการอยู่ที่ 300 บาทต่อเวร (8 ชั่วโมง) ขึ้นเวรดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยในและห้องพิเศษ ของโรงพยาบาล เป็นรายกะ เช้า-บ่าย-ดึก เหมือนพยาบาล ซึ่งนายแพทย์สราวุธ แสงทอง ผู้อานวยการโรงพยาบาลเถิน ได้อนุเคราะห์บ้านพักเจ้าหน้าที่ให้สาหรับนักบริบาลแม่มอกที่ ให้บริการรายกะได้พักผ่อนจานวน 1 หลัง เนื่องจากระยะทางจากแม่มอกมาโรงพยาบาลที่ ทางานเป็นระยะทางที่ไกล ต้องข้ามเขา รวมระยะทางเกือบ 30 กิโลเมตร 3) งานบริการนักบริบาลถึงที่ (Delivery) เป็นงานที่นักบริบาลต้องเดินทางไปพักอาศัยอยู่ใน บ้านผู้สูงอายุผู้รับบริการ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในตัวอาเภอเถินและละแวกอาเภอใกล้เคียง เช่น อาเภอ แม่พริก งานประเภทนี้ กลุ่มแม่มอกฯ จะมอบให้ผู้ที่มีความรู้เรื่องสาธารณสุขเป็นผู้ตรวจสอบ ลักษณะผู้ขอรับบริการให้ดีเสียก่อนว่า ภาระงานมากน้อยแค่ไหน อุปกรณ์ที่ใช้มีอะไรบ้าง พร้อม ทั้งให้คนรู้จักในพื้นที่ไปตรวจสอบสภาพแวดล้อม ความปลอดภัยของที่อยู่อาศัยและตัวผู้ขอรับ บริการก่อนด้วย จากนั้นก็ทาสัญญาร่วมกันเพื่อสร้างข้อตกลงร่วมและความเข้าใจที่ตรงกัน ระหว่างนักบริบาลและผู้รับบริการ แล้วทางกลุ่มจึงจะจัดส่งนักบริบาลไป ทั้งนี้ ทางกลุ่มจะมีการ ติดตามงานเป็นรายวันเพื่อสร้างความสบายใจแก่ทั้งนักบริบาลและผู้รับบริการ หากไม่พึงพอใจ
  • 14. 11 สามารถสับเปลี่ยนนักบริบาลได้ทันที ด้วยค่าตอบแทนรายเดือนตั้งแต่ 15,000 บาท กรณี ผู้รับบริการเป็นผู้สูงอายุติดบ้าน ช่วยเหลือตัวเองได้แต่ขาดคนดูแล 18,000 บาท กรณี ผู้รับบริการเป็นผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงที่ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง ไม่มีเฟอร์นิเจอร์ซึ่งหมายถึง สายปัสสาวะ สายยางให้อาหาร และอัตรา 21,000 บาท กรณีผู้สูงอายุติดเตียง ระยะท้าย มี เฟอร์ฯ ให้อาหารทางสายยาง ซึ่งต้องใช้นักบริบาล 2 คนต่อผู้รับบริการ 1 คน ทั้งนี้ ญาติ ผู้รับบริการต้องจัดที่พักพร้อมอาหาร 3 มื้อให้กับนักบริบาล อีกทั้งในสัญญาจ้างงานยังระบุ วันหยุดประจาสัปดาห์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ของนักบริบาลให้เป็นไปตามกฏหมายแรงงงานไว้ อย่างชัดเจน ซึ่งหากญาติประสงค์ให้นักบริบาลปฏิบัติหน้าที่ในวันหยุด ต้องจ่ายค่าตอบแทนใน อัตราวันละ 800 บาท โดยการตกลงร่วมกันระหว่างญาติและนักบริบาลเอง 4) งานเพื่อสังคม นักบริบาลแต่ละคนจะมีสมุดพกบันทึกชั่วโมงบินที่เป็นสมุดบันทึกชั่วโมงบิน ซึ่งเป็นแนวคิดของศูนย์เรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบครบวงจรและบริบาลผู้ป่วยระยะ ท้าย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ไว้สาหรับสะสมแต้มการทาความดี อย่างเช่น เวลาไปช่วยงาน รพ.สต. ก็ได้รับการบันทึกเป็นแต้ม พร้อมกันนั้น ทางกลุ่มจะใช้แอปพลิเค ชันไลน์เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารคอยอัปเดตศักยภาพและวางแผนปฏิบัติการของนักบริบาล ด้วย การจัดสรรรายได้และงบประมาณกองทุน ในส่วนของกิจกรรมการอบรมนักบริบาลผู้สูงอายุ ทางศูนย์ไอแมค คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนของค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ หลักสูตร อุปกรณ์ บุคลากรทางการแพทย์ ส่วนกลุ่มแม่มอกฯ ซึ่งได้รับเงินจากการทอดผ้าป่าและเงิน บริจาค ที่นาโดย ศาสตราจารย์ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ศาสตราจารย์ พญ. จิรพร เหล่าธรรมทัศน์ และรองศาสตราจารย์ นพ. สุทธิพงษ์ จงจิระศิริ เป็นผู้รับผิดชอบในส่วนของการอานวยความสะดวกใน พื้นที่และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการอบรม เช่น ที่อยู่อาศัย การเดินทาง อาหาร การดูแลรับใช้ เป็นต้น ภาพ: รอยยิ้มของผู้สูงอายุแม่มอก
  • 15. 12 โดยสรุปแล้ว ต้นทุนการอบรมนักบริบาลขั้นพื้นฐานที่ต้องจ่ายสนับสนุนเฉลี่ยเท่ากับ 6,005 บาทต่อคน และต้นทุนสาหรับการอบรมนักบริบาลชั้นสูงเฉลี่ยเท่ากับ 20,000 บาทต่อคน ในด้านการบริหารจัดการงานของนักบริบาล โดยกลุ่มแม่มอกหลั่นล้าอีโคโนมี ค่าตอบแทนที่นัก บริบาลได้รับ ไม่ว่าจะมาจากงานประจา งานชั่วคราวที่โรงพยาบาลหรือสถาบันต่างๆ หรืองานบริการนัก บริบาลผู้สูงอายุถึงบ้านนั้นจะบริจาคให้แก่กลุ่มแม่มอกฯ ร้อยละ 5 เพื่อเป็นกองทุนไว้บริหารจัดการ ด้านการจ่ายค่าตอบแทน ทางกองทุนแม่มอกจะเป็นผู้จ่ายให้แก่นักบริบาลในวันสุดท้ายของการ ทางาน ส่วนค่าอาหาร ผู้รับบริการต้องจ่ายล่วงหน้าให้นักบริบาลเป็นรายสัปดาห์ ทั้งนี้ การรับงานต้องรับ งานผ่านกองทุนเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยและการันตีคุณภาพของการบริการ ระบบและกลไกสนับสนุนการสร้างเมืองผู้สูงอายุ ด้วยกระแสสังคมผู้สูงอายุและรัฐที่มีข้อจากัดมาก กลุ่มคนแม่มอกจึงใช้จิตอาสารวมตัวกัน ซึ่ง ประกอบไปด้วยสมาชิกจากทั้งชาวแม่มอกที่ยังอยู่ในแม่มอก และชาวแม่มอกที่ไปทางานอยู่นอกถิ่น คน กลุ่มนี้มีทั้งอาจารย์ พระสงฆ์ พนักงานเทศบาลตาบลแม่มอก นักธุรกิจท้องถิ่น ตารวจ ด็อกเตอร์หลาก หลายสาขา เป็นหัวหอกสาคัญในการระดมความร่วมมือผ่านกิจกรรมการทาบุญ โดยใช้วัดเป็นสื่อกลางใน การรวมตัว กลุ่มแม่มอกถือเป็นกลุ่มคนที่มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ ที่ สาคัญ คือ มีความรักในถิ่นกาเนิดของเขา คล้ายกับที่รักชาติบ้านเมือง ต้องการสร้างบ้านแปงเมือง จึงลุก ขึ้นมาพึ่งตนเอง ร่วมกันระดมทุนจากคนภายในชุมชนเป็นหลัก โดยไม่ได้พึ่งพาเทศบาลหรือราชการส่วน ภูมิภาคหรือส่วนกลาง กลุ่มแม่มอกใช้กลไกการขับเคลื่อนที่เรียกว่า องค์การสมรรถนะสูง (High Performance Organization) ซึ่งเป็นแนวคิดที่เสนอให้แบ่งคนออกเป็น 3 ทีม ได้แก่ ทีมปรับปรุงงาน ทีมประสานงาน และทีมปฏิบัติงาน แต่กลุ่มแม่มอกได้เพิ่มทีมที่ปรึกษาขึ้นมาอีกทีมหนึ่ง ถือเป็นองค์กรสมรรถนะสูงแบบ ไทยๆ เพื่อให้เข้ากับบริบทสังคมไทยที่นอกจากจะต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญจากคนเฒ่าคนแก่ แล้ว วัฒนธรรมไทยยังคงต้องเคารพนับถือผู้หลักผู้ใหญ่ ให้เขาเข้ามามีส่วนร่วม ไม่ข้ามหน้าข้ามตาอีก ด้วย ฉะนั้น กลไกการทางานของกลุ่มแม่มอกหลั่นล้าอีโคโนมี (แผนภาพที่ 3) จึงประกอบด้วย 4 ทีม ดังนี้ 1. ทีมปฏิบัติงาน แบ่งย่อยเป็นอีกหลายฝ่ายตามความถนัดของแต่ละคน ได้แก่ ฝ่ายนักบริบาล ผู้สูงอายุ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายหมอนวดแผนไทย ฝ่ายแม่ครัว ฝ่ายคมนาคมขนส่ง ฝ่ายโฮมส เตย์ ฝ่ายการท่องเที่ยว ฝ่ายเกษตร เป็นต้น 2. ทีมประสานงาน ประกอบไปด้วยหัวหน้าแต่ละฝ่ายจากทีมปฏิบัติงาน ทาหน้าที่เป็นผู้ ประสานงานระหว่างทีมปรับปรุงงานกับทีมปฏิบัติงาน 3. ทีมปรับปรุงงาน คือ กลุ่มคนที่เป็นแกนหลัก เป็นตัวเชื่อมระหว่างข้างล่างกับข้างบน เชื่อม ระหว่างนักวิชาการ แหล่งทุนต่างๆ กับกลุ่มประสานงานและคนในพื้นที่แม่มอก โดยมีคุณอุดม สุวรรณพิมพ์ เป็นแกนหลัก คอยช่วยเหลือเกื้อกูลให้เรื่องของกิจกรรมนักบริบาลผู้สูงอายุไหลลื่น และประสบความสาเร็จตามต้องการ
  • 16. 13 4. ทีมที่ปรึกษา ประกอบด้วยคนที่เป็นปัญญาปฏิบัติ เป็นผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้หลักผู้ใหญ่ที่มี ประสบการณ์และประสบความสาเร็จในสาขาของตน มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ให้คาปรึกษา ได้ดีทั้งด้านการตลาด การผลิต และอื่นๆ เช่น เรื่องพื้นที่ฝึกงานของนักบริบาล ก็เชิญ ผู้อานวยการสถานที่ฝึกเป็นที่ปรึกษา เรื่องวิชาการ ก็ให้บุคลากรโรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นที่ ปรึกษา เป็นต้น ทั้งนี้ ทีมปฏิบัติงานสามารถทางานได้เต็มที่ไม่มีทีมที่ปรึกษาไปรบกวน หาก ติดขัดมีปัญหาจึงค่อยแจ้งทีมประสานงาน แล้วทีมประสานงานจะคุยกับทีมปรับปรุงงานและทีมที่ ปรึกษาอีกที แผนภาพที่ 3 กลไกการทางานของกลุ่มแม่มอกหลั่นล้าอีโคโนมี สิ่งสาคัญประการหนึ่งที่ทาให้กลไกข้างต้นดาเนินไปได้อย่างประสานสามัคคีและทาให้กิจกรรม บรรลุล่วงไปได้ด้วยดี คือ มิตรภาพในวัยเยาว์ ความเป็นเพื่อนนักเรียนเก่ากัน ความเป็นญาติพี่น้อง เกี่ยวพันกัน รู้จักกันทั้งตาบล และความสานึกรักในแม่มอก ที่ต้องการพัฒนาให้บ้านเกิดเมืองนอนของตน มีความเจริญทางด้านคุณค่าและมูลค่า ให้คนในชุมชนพึ่งพาตนเองและพึ่งพาซึ่งกันและกันได้ จึงเกิดการ พัฒนาบนพื้นฐานอัตลักษณ์ของตนเองที่ใช้ทรัพยากรและทุนพื้นที่ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด นักบริบาลแม่มอก จากการถูกดูแคลนสู่การยอมรับ สิ่งที่กลุ่มแม่มอกคาดหวังคือ อยากทาเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ที่นอกจากนัก บริบาลจะออกไปปฏิบัติงานนอกชุมชนแล้ว ก็ยังทางานเป็นจิตอาสาดูแลผู้สูงอายุในชุมชนร่วมด้วย ซึ่ง ปัจจุบัน ตาบลแม่มอกสามารถผลิต Care Giver ได้เองจานวน 65 คน จากชาวบ้านธรรมดาๆ ที่ต้องการ พัฒนาศักยภาพตัวเอง มีทั้งเกษตรกรที่วิถีชีวิตยังคงเกี่ยวโยงกับเกษตรกรรมกว่าร้อยละ 80 มีทั้งคนรุ่น ใหม่ที่ต้องออกจากโรงเรียนเพราะความยากจนหรือตั้งครรภ์ในวัยเรียนประมาณร้อยละ 10 และเป็น คนทางานขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอยู่แล้วอีกประมาณร้อยละ 10 พัฒนาจนกลายเป็นนักบริบาลที่ สามารถแบ่งเบาภาระรัฐในการดูแลผู้สูงอายุและช่วยเหลือสังคมได้ดังที่คาดหวังไว้
  • 17. 14 นอกจากงานด้านสังคมแล้ว นักบริบาลแม่มอกยังได้รับการยอมรับจากโรงพยาบาลและสถาบัน หลายแห่ง ยกตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลเถินที่เปิดโอกาสให้นักบริบาลแม่มอกไปบริการเฝ้าผู้ป่วยที่หอ ผู้ป่วยในสาหรับผู้ที่ไม่มีเวลาดูแลผู้ป่วย อีกทั้งยังมีนักบริบาลแม่มอกจานวน 13 คน ที่ได้รับการบรรจุเป็น ลูกจ้างประจาของกระทรวงสาธารณสุข ตาแหน่งผู้ช่วยพยาบาล ได้รับค่าจ้าง 9,600 บาทต่อเดือน ผลการดาเนินโครงการจัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุทั้งระดับต้น (Basic) และขั้นสูง (Advance) หรือ นักบริบาลผู้สูงอายุ ที่ริเริ่มก่อนรัฐแต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธรัฐ โดยภาคประชาสังคมกลุ่มพลเมืองลูกหลาน แม่มอกรักบ้านเกิดในนาม “ชมรมแม่มอกหลั่นล้าอีโคโนมี” ที่นาโดย อาจารย์มานพ แสนทวี อาจารย์ เสน่ห์ คาสุทธิ อาจารย์สุเทพ อินทราย อดีตผู้บริหารโรงเรียนวัยเกษียณ มีการจัดโครงสร้างการทางาน เป็นทีม 4 ทีม พัฒนาจากการจัดโครงสร้างแบบองค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า “HPO” โดยเพิ่มทีมที่ปรึกษา (Consult Team) ที่เป็นพลเมืองจิตอาสามืออาชีพ ทั้งในและนอกพื้นที่ สะท้อนถึงการอาศัยวัฒนธรรมและความเป็นคนไทยผู้มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกัน และกัน อันเป็นจุดแข็งสาคัญของคนไทยภายใต้ทฤษฎี “หลั่นล้าอีโคโนมี” ของศาสตราจารย์พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อธิการวิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต มาเป็น องค์กรสมรรถนะสูงแบบ ไทยๆ (Thai High Performance Organization) และใช้แนวคิดภายใต้ทฤษฎีดังกล่าว สร้างอาชีพหลัก ใหม่ ที่ไม่ใช่เพียงแค่อาชีพเสริมอีกต่อไป ให้กับประชาชนคนไทยได้ทุกพื้นที่และดูเหมือนจะเริ่มได้ดีที่ พื้นที่ชายขอบ (Periphery) ของประเทศ ที่เรียกว่า “ชนบท” หรือ “ท้องถิ่น” พื้นที่ (Area) ที่ยังคงความ เป็นจุดแข็งของไทยตามทฤษฎีหลั่นล้าอีโคโนมี คือ ภูมิประเทศ ความเป็นเกษตรกรรม และวัฒนธรรมกับ ความใส่ใจอย่างจริงใจในงานบริการของผู้คนที่นี่ ซึ่งแม้จะเริ่มก่อนรัฐ แต่ “แม่มอก” ก็ถือว่าเป็นพื้นที่ที่ โชคดี ที่มี “รัฐใจดี” มี “ผู้ใหญ่ใจดี” มองเห็นคุณค่าที่จะเกิดขึ้นกับ “บ้านเมือง” ที่เปรียบเหมือนการเตรียม คน เตรียมพื้นที่ เตรียมการได้สอดคล้องกับ “ปรากฏการณ์ทางสังคม” ในอนาคตอันไม่สามารถหลีกเลี่ยง ได้ เข้ามาเสริม เข้ามาร่วม เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งที่สาคัญของความสาเร็จ การร่วมกันระหว่างพลเมืองจิตอาสา ภาคประชาสังคม รัฐ ภาควิชาการ สร้างสรรค์ปั้นแต่งด้วย การออกแบบกลไกการทางานให้ยืดหยุ่น นาสมัยด้วยการเสริมหัวใจผู้ประกอบการผสานกับเทคโนโลยี มีองค์กรใจดีทาหน้าที่สื่อสารสังคม โดยเฉพาะ “ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต” โดยไม่ ต้องรอนโยบาย รอหนังสือสั่งการ รอระเบียบจากความเป็นทางการ ใช้คุณค่าจากผลกระทบต่อสังคม โดยรวม (Social Impact’s Value) อันเป็นความผาสุกโดยสมบูรณ์ที่เรียกว่า "ความสมบูรณ์พูนสุข" ของ พลเมืองเป็นเป้าหมายสาคัญร่วมกัน ณ พื้นที่ “ตาบลแม่มอก” ในครั้งนี้ ส่งผลให้นักบริบาลผู้สูงอายุ แม่มอกฯ มีงานทาประจาในสถานบริการของรัฐ 13 คน ในสถานบริการเอกชน 1 คน ผ่านการได้รับการ จ้างงานปฏิบัติงานดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (Delivery) 20 คน ผ่านการได้รับการจ้างงานปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วย ในหอผู้ป่วยในของโรงพยาบาล 23 คน สร้างรายได้เข้า “เมืองแม่มอก” มากกว่าเดือนละ 200,000 บาท ปีละกว่า 2,500,000 บาท (สองล้านห้าแสนบาท) และ “กองทุนพัฒนาผู้ดูแลผู้สูงอายุแม่มอกหลั่นล้า อีโคโนมี” มีรายรับจากเงินบริจาคคืนของนักบริบาล เดือนละกว่า 10,000 บาท นอกเหนือจากรายรับจาก ยอดเงินบริจาคจากผู้ใหญ่ใจดี และการจัดกิจกรรม “แม่มอกหลั่นล้าอีโคโนมี” ประจาปี ที่เริ่มดาเนินการ มาแล้วติดต่อกัน 2 ปี
  • 18. 15 นักบริบาลหลายท่านทาให้พ่อแม่ยิ้มได้ ครอบครัวยิ้มได้ ตัวเองยิ้มได้ จากรายได้ประจาที่เพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุในชุมชนยิ้มได้ รัฐยิ้มได้ ที่มีอาสาสมัครจิตอาสาดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเพิ่มขึ้นถึง 65 คนใน 1 ตาบลคอย “ช่วยรัฐ” “ช่วยสังคม” อย่างเคียงบ่าเคียงไหล่ คู่กับ “สมุดบันทึกชั่วโมงบิน” ของศูนย์เรียนรู้ และพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบครบวงจรและบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี นับเป็นผลกระทบต่อสังคมโดยรวม (Social Impact’s Value) ที่เรียกว่า “ความสมบูรณ์พูนสุข” ภายใต้ทฤษฎี “หลั่นล้าอีโคโนมี” ที่รัฐไม่ต้องรอ และชุมชนท้องถิ่นไม่ต้องรอรัฐ เป็น “ความผาสุกของ บ้านเมือง” ที่เริ่มจากความเป็น “ท้องถิ่นนิยม” (Localism) และ “ภูมิภาคนิยม” (Regionalism) ของโลกใน ปัจจุบัน สู่การพึ่งพาตัวเอง (Self – Reliance) ปกครองตนเอง (Self – Government) เป็นตัวของตัวเอง ขณะเดียวกันก็เป็นพื้นที่ (Area) ของการพึ่งพาซึ่งกันและกันในชุมชน ในสังคมด้วย คงความเป็น “ชุมชน ท้องถิ่นไทย” อันหมายถึงพื้นที่ชุมชนที่ไม่เป็นทางการ ที่ยังคงสภาพสังคมและวัฒนธรรมแบบธรรมเนียม ประเพณี (Traditionalistic) สะท้อนความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม (Traditional Culture and Sociological) เป็นพื้นที่ (Area) ของประชาชน ของชาวบ้าน ที่อยู่ร่วมกันเป็น ครอบครัว เป็นเครือญาติ ครอบคลุมตามความหมายของ “ชุมชนท้องถิ่น” ภายใต้รากฐานทางทรัพยากร ภูมิปัญญา พัฒนาการและประวัติศาสตร์การดารงอยู่ของตนเอง ที่ชุมชนท้องถิ่นสามารถนาสมัยได้ เริ่ม ก่อนรัฐได้ นารัฐได้ และร่วมกับรัฐได้อย่างผสมกลมกลืน อย่างไรก็ตาม กลุ่มแม่มอกก็ยังไม่ถือว่า กิจกรรมนักบริบาลผู้สูงอายุประสบความสาเร็จอย่างเป็น ทางการแล้ว เพราะยังดาเนินการไปไม่ถึงขั้นสุดท้ายที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ฉะนั้น หากโครงการล้มเหลว หรือไปไม่ถึงฝั่งฝัน ทางกลุ่มแม่มอกก็จะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด ไม่โทษว่าเป็นความผิดของใคร อีกทั้ง กลุ่มแม่มอกก็ยังถือว่ากิจกรรมนี้อยู่ในขั้นทดลองทาและดาเนินไปแบบที่ภาษาเหนือเรียกว่า กิ๋นหอม ต๋อมม่วน หมายถึง ทาอะไรก็มีความสุขไปเสียหมด มีความสุขกับทุกจังหวะของชีวิต กลุ่มแม่มอกจึง ทางานแบบหลั่นล้า ไม่ได้มุ่งมั่นกับโครงการมากจนเกินไป เพราะเข้าใจว่าเป็นเรื่องใหม่ อาจทาให้มี ปัจจัยภายนอกหลายอย่างเป็นอุปสรรคทาให้งานไปไม่ถึงฝันก็ได้ กลุ่มแม่มอกจึงไม่คาดหวังว่าจะต้อง ประสบความสาเร็จร้อยเปอร์เซ็นต์ แผนการดาเนินงานในอนาคต ปัจจุบัน กลุ่มแม่มอกหลั่นล้าอีโคโนมีได้ดาเนินการยื่นจดทะเบียนเป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ โดยอาศัยความเป็นทางการด้วยการให้นักพัฒนาชุมชนของเทศบาลทาการประสานกับหน่วยงานรัฐภาค ส่วนต่างๆ จนกลุ่มแม่มอกได้รับคิวการจดทะเบียนเป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ในปี 2563 และได้รับ งบประมาณ 1.3 ล้านบาทต่อปี ซึ่งปกติจะมีการจดทะเบียนองค์กรสาธารณะเพียงจังหวัดละ 1 แห่งต่อปี เท่านั้น โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องมีกิจกรรมและมีกองทุนให้เห็นชัดเจน ให้เห็นการเคลื่อนไหว หากรัฐเห็นว่า มีผลงานที่ดีก็จะอนุมัติให้จดทะเบียน อีกทางหนึ่งที่สามารถทาได้คือ การจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน แล้วกู้เงินจากธนาคารออมสิน ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาว่าควรไปในทิศทางใด ขึ้นอยู่กับความ เข้มแข็งของกลุ่มด้วย
  • 19. 16 ในระยะต่อไป กลุ่มแม่มอกตั้งความหวังไว้ว่าจะเปิดศูนย์บริบาลผู้สูงอายุ (Nursing Home) ที่ สามารถรองรับผู้สูงอายุจากภายนอกมาพักมารับการดูแลรักษาที่แม่มอก เพื่อให้นักบริบาลแม่มอกที่ไม่ สามารถเดินทางไปทางานไกลๆ ได้มีงานทา โดยเริ่มจากการสารวจบ้านที่มีศักยภาพ ซึ่งพบว่ามีทั้งหมด 7 หลัง แล้วให้ทีมวิศวกรเป็นผู้ออกแบบ พร้อมกับวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์ให้เรียบร้อยว่า หนึ่งห้อง ต้องใช้งบประมาณเท่าไร โดยอาจจะเริ่มจากการใช้เงินกองทุนก่อนสักสองสามห้อง ปรับปรุงเติมแต่งบ้าน ด้วยเงินจากกองทุน ให้เหมาะกับผู้สูงอายุที่จะมาอยู่อาศัย ภายใต้การควบคุมมาตรฐานจากโรงพยาบาล รามาธิบดี หรือถ้าบ้านไหนที่มีกาลังทรัพย์ก็ให้เขาเป็นผู้ลงทุนเองแล้วเราก็ไปทาสัญญาเช่าบ้านเขาเพื่อ จัดทาเป็นสานักงาน อย่างไรก็ตาม บริการ Nursing Home ต้องใช้เงินทุนจานวนมากและต้องประเมินด้วยว่า ตลาด ใหญ่พอที่จะก่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนหรือไม่ ต้องทาการตลาด ประชาสัมพันธ์ให้คนเห็นและ แจ้งความจานงเข้ามา จึงยังไม่ตัดสินใจลงทุนอะไรมากนัก ในด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ กลุ่มแม่มอกได้ทาเว็บไซด์ www.maemoklanla.in.th เพื่อให้ ลูกค้าสามารถจองนักบริบาลผู้สูงอายุผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้เลย ซึ่งภายในเว็บไซต์มีทั้งรายละเอียด โครงสร้างการบริหาร ภาพกิจกรรม สถานที่ท่องเที่ยว กระดานข่าว ดาวน์โหลดเอกสารสาคัญ เช่น สัญญาจ้าง รวมไปถึงใบสมัครอบรมหลักสูตรนักบริบาลรุ่นต่อๆ โดยกลุ่มแม่มอกจะได้ขอความอนุเคราะห์ จาก ศาสตราจารย์ พญ. จิรพร เหล่าธรรมทัศน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ราชวิทยาลัย จุฬาภรณ์ รองศาสตราจารย์ พญ. สิรินทร ฉันศิริกาญจน รักษาการแทนผู้อานวยการศูนย์เรียนรู้และ พัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบครบวงจรและบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี และ อ.พินทิพย์ กาญจนภูมินทร์ อาจารย์ผู้ดูแลหลักสูตรนักบริบาลแม่มอกหลั่นล้า ถึงความ เป็นไปได้ที่จะดาเนินการเปิดศูนย์อบรมดังกล่าว โดยเบื้องต้นวางแผนไว้ว่าจะคิดค่าหลักสูตร 50,000 บาทต่อคน อบรมจานวน 420 ชั่วโมง และในอนาคต มีแผนจะทาเป็นแอปพลิเคชันแม่มอกหลั่นล้าอีโคโน มี โดยอาศัยความร่วมมือของนักวิจัยจิตอาสาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชรและสภาวิจัยแห่งชาติ เพื่อเปิดตลาดผู้ใช้บริการนักบริบาลให้กว้างขวางยิ่งขึ้นด้วย