SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  7
Télécharger pour lire hors ligne
1
 ศาสตราจารย์ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อธิการวิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
 รศ.ดร. วิวัฒน์ มุ่งการดี อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
 ท่านสมปอง สงวนบรรพ์ อดีตเอกอัครราชทูต
 ดร.สารสิน วีระผล อดีตเอกอัครราชทูตและรองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์
 ท่านสุรพงษ์ ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูต
 ท่านอนุสนธิ์ ชินวรรโณ อดีตเอกอัครราชทูต และรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
 ดร.จิตริยา ปิ่ นทอง อดีตเอกอัครราชทูต และรองอธิการบดีฝ่ายการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต
 อ.ชาคริต เทียบเธียรรัตน์ หัวหน้าภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
 อ.จิระโรจน์ มะหมัดกุล อาจารย์ประจาสถาบันการทูตและการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต
 คุณธีรดา ศุภะพงษ์ ผู้จัดการโครงการ Centre for Humanitarian Dialogue
ฉบับที่ 9 / 2558
POLICY BRIEF
เรียบเรียงจากการประชุม The Ambassadors’ Forum เรื่อง ยุทธศาสตร์ของไทยต่อดุลแห่งอานาจใหม่ในศตวรรษที่ 21 จัดโดยสถาบันคลังปัญญาด้าน
ยุทธศาสตร์ชาติ ร่วมกับสถาบันการทูตและการต่างประเทศ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2558 ณ ศาลากวนอิม มหาวิทยาลัยรังสิต
แกนกลางของยุทธศาสตร์การต่างประเทศไทย จีน และสหรัฐ
จากประวัติศาสตร์การต่างประเทศไทย ในยุคต่างๆที่ผ่านมา พอจะกล่าวได้ว่า ภูมิปัญญาทางการ
ต่างประเทศของเราคือ การพยายามถ่วงดุลระหว่างมหาอานาจฝ่ายต่างๆ และความสามารถในการเลือก
พันธมิตรที่ถูกต้อง กระนั้นหลักในการเลือกเข้าข้างใดของเราในอดีตนั้น คืออยู่ข้างฝ่ายชนะหรือน่าจะ
ชนะ หลักการอื่นๆ ที่เป็นอุดมคติ ที่เป็นทฤษฎีกว่านี้ เอาเข้าจริงแทบไม่เคยเป็นเกณฑ์ของเราในการ
กาหนดยุทธศาสตร์การต่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ตอนที่ไทยตัดสินใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกับฝ่าย
พันธมิตรในเดือนกรกฏาคม 1917 ก็เป็นเวลาที่เห็นเค้าของสงครามแล้วว่าฝ่ายมหาอานาจกลางน่าจะแพ้ และโดยที่
เราหวังว่าการเข้ากับฝ่ายพันธมิตรจะช่วยให้เราเจรจายกเลิกสนธิสัญญาที่เสียเปรียบกับตะวันตกได้ ในสงครามโลก
ครั้งที่สอง ตอนแรกจอมพล ป.ยอมให้ญี่ปุ่นยกทัพผ่านเพราะรู้ว่าไทยไม่อยู่ในฐานะที่จะรบกับญี่ปุ่นได้ แต่ต่อมาเมื่อ
เห็นญี่ปุ่นยึดครองเอเชียได้รวดเร็วก็หันมายกระดับประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรบ้าง เพื่อว่าถ้าญี่ปุ่นชนะ
ไทยก็จะได้ดินแดนบางส่วนในกัมพูชา แต่ญี่ปุ่นแพ้ผลจึงไม่เป็นไปตามคาด มาถึงสมัยสงครามเย็น ที่จอมพล ป.
ตัดสินใจเข้ากับฝ่ายอเมริกานั้นก็ไม่ได้ตัดสินด้วยใช้อุดมการณ์เป็นที่ตั้ง ดังที่ปรากฏในบันทึกของ พ.อ. เนตร เขมะ
โยธิน (ยศขณะนั้น) เสนาธิการคนสนิทของจอมพล ป. ว่า จอมพล ป. กล่าวว่า “ถ้าอเมริการบกับจีน อเมริกาก็ชนะ
ฝ่ายไหนแพ้ ฝ่ายนั้นก็เป็นศัตรูของเรา”
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ในศตวรรษที่ 21
ต่อดุลแห่งอานาจใหม่
ยุทธศาสตร์ของไทย
2
อย่างไรก็ตาม ชนชั้นนาไทยในยุคหลัง อ่านเกมการเมืองโลกไม่ค่อยออกว่ามีบริบทอะไรเปลี่ยนไปบ้าง จึง
กลายเป็นว่ายังคงยึดติดกับพันธมิตรข้างเดิม โดยไปยึดเอาอุดมการณ์ ค่านิยม ทฤษฎีต่างๆของตะวันตกที่ถูกทาให้ดู
เป็นสากลมาเป็นเหตุผลรองรับ และโดยที่ไม่รู้อดีตว่าที่มาของการเลือกข้างตะวันตก ข้างสหรัฐนี้ เขาทามาเพราะยุค
นั้นตะวันตกเป็นฝ่ายชนะ ในยามที่ดุลอานาจโลกในปัจจุบันเปลี่ยนจากสหรัฐกลับมาอยู่ที่จีนมากขึ้น จากตะวันตก
กลับมาสู่ตะวันออก อันได้แก่เอเชีย ตะวันออกกลาง อเมริกาใต้ และแอฟริกา มากขึ้น การที่เรายังยืนข้างตะวันตก
ตามอุดมการณ์ตะวันตกอย่างสุดตัว จึงไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมหรือบริบทใหม่ของการเมืองโลกมากขึ้นเรื่อยๆ
ส่วนแกนหลักที่สาคัญที่สุดของยุทธศาสตร์การต่างประเทศของสหรัฐ ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็น
ต้นมานั้นมีความสับสน เปลี่ยนแปลงอยู่พอควร แต่หากต้องเลือกขึ้นมาเรื่องหนึ่งที่คงเส้นคงวาที่สุดมาตลอด เห็นจะ
อยู่ที่การพยายามดารงสถานะความเป็นอภิมหาอานาจของโลก โดยเฉพาะในด้านการรบ การทหาร
ขณะที่แกนหลักของยุทธศาสตร์การต่างประเทศจีน ตั้งแต่ช่วงเติ้งเสี่ยวผิงเปิดประเทศถึงขณะนี้ ชัดเจนว่าอยู่
ที่การสนองการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือเรียกได้ว่า จีนเอาการทูต การเมืองมารับใช้เป้าหมายทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศจีน: Have Yuan No Trouble
เมื่อดูยุทธศาสตร์การต่างประเทศจีนให้ชัดขึ้น คาที่ช่วยให้เห็นภาพมากคือ ในขณะที่อเมริกายึดหลัก Have
Gun No Trouble มาแต่โบราณถึงปัจจุบัน ต้องการอะไรก็ใช้กาลังที่เหนือกว่าของตนบังคับคนอื่นลง แต่จีนในเวลานี้
ใช้หลัก Have Yuan No Trouble คือใช้เศรษฐกิจเป็นตัวนาในการทาการต่างประเทศ ในการผูกสัมพันธ์ทาง
การเมืองกับนานาประเทศ ในการไปสร้างอิทธิพลและความนิยมในประเทศอื่น เช่น ในแอฟริกา จีนเป็นที่ต้อนรับ
มาก เพราะไม่มีใครที่จะพร้อมให้ทุนและความรู้แก่แอฟริกาเท่าจีนแล้วในเวลานี้ สาหรับเอเชียกลางเรื่อยไปถึง
เยอรมัน และอาเซียนเรื่อยไปถึงเอเชียใต้ จีนก็มี One Belt, One Road หนึ่งเส้นทางทางบก หนึ่งเส้นทางทางทะเล
เป็นโอกาสทางเศรษฐกิจให้เช่นกัน และจีนก็ไปลงทุนมหาศาลในอังกฤษ กล่าวได้ว่าเวลานี้ถนนทุกสายมุ่งสู่จีน ใครก็
ตามที่อยากมีโอกาสทางเศรษฐกิจในโลกเวลานี้ต่างเข้าหาจีน มหาวิทยาลัยดังๆในสหรัฐ ในอังกฤษ ต่างไปเปิดสาขา
ในจีน มุ่งเอานักศึกษาจีนเป็นลูกค้าหลัก จีนขยายการค้าทั้งทางบก ทางน้า ทางอากาศ ทางอากาศก็คือ การค้าผ่าน
อินเทอร์เนต (E-commerce) ซึ่งจีนก็พัฒนาจนมีระบบที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก โดยสรุป เวลานี้จีนไปไหนในโลกก็พูด
ภาษาเงิน ภาษาเศรษฐกิจเป็นหลัก
จีนในเวลานี้ยังเป็นจีนที่ยอมรับ “ความปกติแบบใหม่ (New Normal)” ด้วย คือเป็นจีนที่ยอมรับ
ความเปลี่ยนแปลงของโลก และพร้อมจะเรียนรู้เพื่อก้าวหน้าในสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่นี้ ไม่ปฏิเสธวิธีการใดจาก
อุดมการณ์หรือความเชื่อทางการเมืองอีกต่อไป จีนเวลานี้รับหมด ทุกอย่างที่ใช้แล้วดี ทุกอย่างที่ทาแล้วพาจีนไปสู่
เป้าหมายคือความมั่งคั่งได้ โดยไม่สนใจว่านั่นเป็นของตะวันตก ของอเมริกา หรือเป็นทุนนิยมหรือไม่ เช่น E-
commerce เทคโนโลยี cyber จีนก็พัฒนาจนสู้สหรัฐได้ นวัตกรรมอะไรที่ใหม่ที่คนอื่นทาได้ดีกว่าจีน จีนก็ซื้อ จีนก็
นามาศึกษาหมด เช่น จีนเพิ่งสั่งซื้อต้นแบบเครื่องบินรบรุ่นใหม่ล่าสุดของรัสเซียที่ยังไม่วางตลาด นอกจากนี้ ภายใน
จีนเองก็เปลี่ยน ปัจจุบันนายทุนชั้นนาของจีนไม่เพียงแต่ได้รับเชิญเข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ แต่เข้าไปอยู่ใน
คณะกรรมการกลางพรรคได้แล้ว คาว่า ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด (market economy) ในจีนที่ก่อนหน้านี้ต้องพ่วง
คาว่า with Chinese characteristics เวลาก็นี้ไม่ต้องแล้ว สรุปคือ จีนพร้อมจะเรียนรู้ทุกแบบ จากทุกฝ่าย เป็น
pragmatism ที่สุด ควานหาความรู้ทั่วโลก เอาความรู้ของโลกมาเสริมจีน แต่จีนก็ยังคงรักษาความเป็นจีน
3
จีนเวลานี้ต้องการสงครามหรือไม่ จีนจะรบกับอเมริกาหรือไม่? คาตอบคือ ไม่ เพราะเวลานี้จีน
ต้องการรวยก่อน สงครามกับสหรัฐเป็นสิ่งสุดท้ายที่จีนต้องการในขณะนี้ เพราะจีนต้องการซื้อเวลา รักษา
ช่วงเวลาแห่งสันติภาพสาหรับจีนไว้ให้นานที่สุดเพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ จีนในวันนี้ใช้วิธีค่อยๆคืบ
คลานทางยุทธศาสตร์ เช่น จีนกาลังต่อเรือบรรทุกเครื่องบินลาที่ 2 จีนยึดเกาะแก่งในทะเลจีนใต้ไปก่อน แต่จะไม่
ทาสงครามกับอเมริกาในอนาคตอันใกล้แน่นอน
อนึ่ง ประวัติศาสตร์ช่วยสนับสนุนเรื่องจีนต้องการรวยก่อนรบได้ สหรัฐอเมริกาในยุคก่อนสงครามโลกครั้ง
ที่สองก็ใช้แนวการต่างประเทศแบบโดดเดี่ยวตัวเอง (isolationism) มาตลอด มุ่งพัฒนาภายในประเทศตนเอง
สหรัฐในช่วงนั้นจึงเป็นสหรัฐที่ไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวกับสงคราม แต่เมื่อต่อมาสหรัฐพัฒนาจนเป็นมหาอานาจทาง
เศรษฐกิจจึงได้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สองและเป็นผู้ชนะ แนวการต่างประเทศของอเมริกาจึงเปลี่ยนจากอยู่โดด
เดี่ยว มาสู่บทบาทตารวจโลก แทรกแซงเข้าไปในที่ต่างๆทั่วโลกอย่างทุกวันนี้ จีนในเวลานี้จึงอยู่ในช่วงพัฒนา
ตัวเอง วาทกรรมแข็งกร้าวและการกระทาแนว “ยั่วยุ” ของจีนอย่างที่เห็นในกรณีทะเลจีนใต้ก็เป็นเพียงสัญลักษณ์ที่
จีนต้องทา แต่ถึงที่สุดแล้วจีนไม่ต้องการสงคราม เพราะรู้ดีว่าถ้ารบกับอเมริกาตอนนี้ จีนก็ไม่เหลืออะไร จีนจะเสีย
โอกาสตักตวงความร่ารวยจากการพัฒนาเศรษฐกิจของตนที่ผ่านมาไปเปล่าๆ
ความภูมิใจที่เป็นอารยธรรมเก่าแก่ เป็น middle kingdom ของตน นั่นจึงทาให้จีนน่ากลัว อาจยังพูดไม่ได้ว่าโลก
ใบนี้เป็นของจีน แต่ที่แน่ๆคือโอกาสในโลกนี้เป็นของจีน เพราะตรงไหนมีช่องให้ไปได้ จีนไปหมด
ยุทธศาสตร์ไทยในยุคที่ดุลอานาจโลกเปลี่ยน
ในศตวรรษนี้ สหรัฐและจีนมีทั้งความร่วมมือและความขัดแย้ง แต่คาตอบคือไม่ใช่ว่าเราจะเข้าข้างใคร แต่
คาตอบคือในเวลานี้ ยุทธศาสตร์การต่างประเทศไทยคือ ไทยจะต้องทาให้ได้ประโยชน์จากทุกสถานการณ์ ไทย
ต้องแสวงหาประโยชน์จากทั้งความร่วมมือและความขัดแย้งของจีน – สหรัฐ
ในยุคนี้ที่ระบบโลกหรือ World Order เป็นแบบหลายขั้วอานาจหรือ multipolar มิใช่แบบสองขั้วอานาจ
หรือ bipolar อย่างยุคสงครามเย็น เราไม่ควรเอาระบอบการเมืองหรืออุดมการณ์ทางการเมืองของประเทศเรามา
กาหนดยุทธศาสตร์การต่างประเทศหรือการดาเนินความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆในโลกอีกแล้ว ในยุคสงครามเย็น
นั้นเราอาจต้องเลือกข้าง เพราะระบบโลกตอนนั้นเป็นสองขั้ว การอยู่ตรงกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดนั้นทาได้ไม่ง่ายนัก
แต่ยุคนี้ถ้าเรายังยึดติดกับอุดมการณ์ เช่น เราอยู่ฝั่งเสรีนิยมประชาธิปไตย ดังนั้นเราจึงไม่คบค้าสมาคมกับประเทศ
เผด็จการ ต้องทาตัวเป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลที่ไม่เป็นประชาธิปไตยของประเทศเหล่านั้น นั่นก็ไม่ใช่ เพราะเป็น
มุมมองที่ล้าสมัย ตัดโอกาสตัวเอง และไม่รู้จักแยกแยะ ที่สาคัญคือไม่เข้าใจความเป็นจริงของการเมืองโลกและ
ธรรมชาติของอุดมการณ์ อุดมการณ์มีไว้ให้คนอื่นเชื่อ มิใช่ให้คนที่เผยแพร่อุดมการณ์เชื่อ ดังนั้นสหรัฐอเมริกาซึ่ง
พูดเกี่ยวกับเสรีนิยม ประชาธิปไตย หลักสิทธิมนุษยชน ฯลฯ มากนั้นจึงเป็นการพูดต่อสาธารณะ แต่เมื่ออยู่หลัง
ม่านเวลากาหนดยุทธศาสตร์นั้น สหรัฐใช้หลักสัจนิยม (realism) มาโดยตลอด คือเอาผลประโยชน์ของประเทศ
ของกลุ่มผลประโยชน์ในประเทศตัวเองเป็นที่ตั้งทั้งสิ้น ไทยในยุคนี้จึงต้องไม่ตกเป็นเหยื่อของวาทกรรมของ
มหาอานาจอีก ให้เอาผลประโยชน์ของเราเองเป็นที่ตั้ง เป็นตัวของตัวเองในการทายุทธศาสตร์การต่างประเทศ
4โครงการคลังปัญญาเพื่อการอภิวัตน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ฯ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ยกตัวอย่างบริบทระหว่างประเทศก็คือ โลกยุคนี้เป็นระบบโลกแบบหลายขั้วอานาจ มีสหรัฐเป็นมหาอานาจ
ใหญ่ที่สุด แต่คุมไม่ได้ทั้งโลก ที่มุมอื่นๆของโลกก็มีคนที่เป็นใหญ่อื่นๆอีกหลายประเทศ เช่น จีน อินเดีย บราซิล
รัสเซีย อิหร่าน ตุรกี อาเซียน เป็นต้น เมื่อจีนพุ่งขึ้นมาแข่งกับสหรัฐ สหรัฐจึงต้องพยายามคานอานาจ (balance)
จีน อย่างไรก็ตามในการถ่วงดุลนี้ สหรัฐไปคานกับจีนโดยตรงคนเดียวไม่ได้ เพราะในยุคนี้ค่าใช้จ่ายของการเป็น
balancer โลกนั้นสูงเกินไป ในยุคที่อังกฤษเป็นเจ้าโลก อังกฤษสามารถเป็น balancer โลกทั้งโลกแต่ผู้เดียวได้ ด้วย
วิธีเข้ายึดดินแดนทั่วโลกเป็นเมืองขึ้น ทั้งในทวีปอเมริกา แอฟริกา เอเชีย มีกองทหารประจา ปกครองเอง มี
กองทัพเรือของอังกฤษเองคอยดูแล แต่ในยุคของสหรัฐ สหรัฐต้อง outsource หรือศัพท์ทางทฤษฎีความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศคือ buck-passing ราคาของการถ่วงดุลอานาจกับจีนให้ประเทศอื่นๆบ้าง ด้วยการสร้างระบบ
พันธมิตร ให้อินเดีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน อาเซียน ช่วยคานจีน ในการนี้สหรัฐจึงสร้างวาทกรรมที่ขยาย
บิดเบือน ศักยภาพ (potential power) ของจีนให้กลายเป็น อานาจจริง (actual power) ในหลายๆเรื่อง เป็นที่มา
ของการกล่าวหาว่าการก้าวขึ้นมาของจีนเป็นภัยคุกคามต่อระบบโลก
ดังนั้นไทยต้องอย่าไปหลงเชื่อสหรัฐที่สร้างภาพจีนให้ยิ่งใหญ่ น่ากลัวเกินจริง แล้วกลัวจีนไปด้วย แต่จีนก็
สามารถก้าวขึ้นมาเป็นมหาอานาจในภูมิภาคได้เช่นกัน จีนเป็นแน่ถ้ามีโอกาส ศักยภาพของจีนจะกลายเป็นอานาจ
จริงมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น โดยสรุป หลักยุทธศาสตร์การต่างประเทศไทยและการกาหนดความสัมพันธ์กับประเทศ
ต่างๆในยุคนี้ จึงควรดูที่ actual power ของประเทศต่างๆ ดูที่ความสามารถที่แท้จริง ที่เป็นรูปธรรม ที่เขา
จะให้คุณให้โทษกับเราได้ มิใช่ตั้งอยู่บนหลักการที่ (เสมือน) เป็นสากลใดซึ่งไม่ใช่ให้เราทาตัวปลิ้นปล้อน
แต่ให้เราทาตัวให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของการเมืองโลก และไม่ตกเป็นเหยื่อของอุดมการณ์ของใคร
ไทยต้องสร้างผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับจีนและประเทศอานาจใหม่
เพื่อที่เราจะรู้ actual power ประเมินประเทศต่างๆ ตามความเป็นจริงที่เขาเป็น มิใช่ตามภาพที่เขาหรือใคร
สร้างขึ้นได้ หน่วยงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับด้านการต่างประเทศ เช่น กระทรวงการต่างประเทศของไทย
จาเป็นต้องสร้างผู้เชี่ยวชาญที่รู้จริงเกี่ยวกับแต่ละประเทศ กระทรวงการต่างประเทศขณะนี้มีผู้รู้เรื่องตะวันตก เรื่อง
สหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส ยุโรป มากแล้ว แต่แทบไม่มีผู้เชี่ยวชาญเรื่องจีน ซึ่งไม่สอดคล้องกับขนาด
ความสัมพันธ์ที่เรามีกับจีน และดุลอานาจที่เปลี่ยนไปของโลกในปัจจุบัน ในการเจรจาเรื่องรถไฟไทย-จีนขณะนี้ ฝ่าย
ไทยต้องใช้ล่ามคนจีนแปลภาษาไทย เพราะแม้แต่กระทรวงการต่างประเทศก็ไม่สามารถหาล่ามภาษาจีนที่เป็นคน
ไทยได้ เราจึงต้องเร่งสร้างผู้รู้ด้านจีน รวมทั้งประเทศอื่นๆที่ก้าวขึ้นมาในยุคนี้ เช่น อาเซียน อินเดีย ตุรกี บราซิล
ตะวันออกกลาง เป็นต้น โดยผู้รู้นี้ต้องมิใช่เพียงรู้ด้านภาษา วัฒนธรรม แต่ต้องรู้ถึงระบบการทางานภายใน
ติดตามความเคลื่อนไหว เข้าใจยุทธศาสตร์ และอ่านยุทธศาสตร์ของประเทศเหล่านี้ออกด้วย
5
ยุทธศาสตร์ไทยกับอาเซียน
ถ้าพูดถึงจีนกับอาเซียน ต้องยอมรับว่าประเด็นเรื่องทะเลจีนใต้ ทาให้เกิดความแตกแยกในอาเซียน
พอสมควร ทั้งที่ไม่น่าจะเป็นประเด็นที่อาเซียนต้องมาแตกแยกกัน อาเซียนเปรียบเสมือนคนขับรถ ที่ยังไม่รู้ทิศทาง
ว่าจะขับไปทางไหน ฉะนั้นจึงถูกสั่งโดยตะวันตกหรือจีน สั่งให้ขับไปทางนั้นบ้าง ทางนี้บ้าง
ขณะนี้ ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีจุดยืนค่อนข้างแตกต่างกับชาติอาเซียนอื่นในเรื่องทะเลจีนใต้ เพราะมี
แนวทางแข็งกร้าว โน้มไปในทางใช้กาลังกับจีนมากกว่าชาติอื่น เพราะฟิลิปปินส์เป็นพันธมิตรที่แนบแน่นที่สุดของ
สหรัฐในอาเซียน ขณะที่ชาติอาเซียนอื่นๆที่พิพาทกับจีน แม้แต่เวียดนามก็เริ่มมีทิศทางประนีประนอมกับจีนมาก
ขึ้น จุดยืนที่แตกต่างของฟิลิปปินส์ภายใต้รัฐบาลอาควิโนทาให้ทิศทางของอาเซียนในเรื่องนี้ไม่เป็นไปในทาง
เดียวกัน แต่ในปี 2016 จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีเกิดขึ้นในฟิลิปปินส์ ซึ่งต้องติดตามต่อไปว่าจะได้
ประธานาธิบดีคนใหม่ที่มีแนวทางสันติกับจีนมากกว่านี้หรือไม่
ขณะที่เวียดนามเป็นประเทศที่จัดการกับเรื่องพิพาทนี้ได้ฉลาด แม้ว่าดูจะเป็นชาติที่น่าจะได้รับผลกระทบ
จากข้อพิพาททะเลจีนใต้กับจีนมากที่สุด เพราะอยู่ติดกับจีน เราจึงควรเรียนรู้วิธีจัดการ ถ่วงดุล เล่นกับมหาอานาจ
อย่างไรให้ได้ประโยชน์จากเวียดนาม ในเรื่องทะเลจีนใต้เวียดนามเชื่อมได้ทั้งจีนและสหรัฐ ทางเศรษฐกิจเวียดนาม
ค้าขายกับจีนมากอยู่แล้วเพราะชายแดนติดกัน แต่ไม่กี่ปีมานี้เวียดนามก็ฟื้นฟูความสัมพันธ์กับสหรัฐขึ้นอย่างมาก
ด้วย เวียดนามเข้าร่วม TPP ของสหรัฐ และทาตัวเป็นสะพานเชื่อมให้สหรัฐ ซึ่งต้องการกลับมาสู่เอเชีย ให้สามารถ
เข้ามาในอาเซียนด้วย
อย่างไรก็ดี ข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ ในยุคนี้ไม่มีสมาชิกอาเซียนประเทศใด ที่สามารถเป็นผู้นาได้
เหมือนกับที่ประเทศไทยเคยทาในสมัยที่เวียดนามบุกกัมพูชา ส่วนอินโดนีเซียมองเลยอาเซียนไปแล้ว พยายามเล่น
บทบาทระดับโลก
สาหรับประเทศไทย ปัญหาภายในทาให้เราไม่มีเวลาคิด กระทรวงต่างประเทศเองก็สับสน เพราะปัญหา
การเมืองภายในประเทศ
อย่างไรก็ตามอาเซียนก็ยังเป็น platform ที่ดี เพราะหลายฝ่ายเกรงใจ ทั้งจีน ญี่ปุ่น สหรัฐ ดังนั้นการเดินใน
ทางการต่างประเทศ ไทยจึงควรอย่างยิ่งที่จะใช้อาเซียนเป็นส่วนขยาย อาศัยกาลังของอาเซียนเป็นแรงผลักไปสู่การ
เล่นบทบาทที่ก้าวหน้ามากขึ้น แม้อาเซียนจะเป็น world balancer ไม่ได้ แต่โครงสร้างระบบโลกแบบ multipolar นี้
ก็เอื้อให้ประเทศหรือกลุ่มประเทศระดับอานาจกลาง (middle power) และแม้กระทั่งประเทศเล็กดึงดูดผลประโยชน์
ได้ หากรู้จักเล่นบทบาทของตนให้เป็น รู้จักข้อดีของตนและใช้ให้เป็นประโยชน์
6
บทสรุป
ระยะหลังประเทศไทยขาดยุทธศาสตร์การต่างประเทศ เพราะเราดูบริบทการเมืองโลกไม่ออก ซึ่งอาจเป็น
เพราะบริบททั้งภายในและภายนอกประเทศเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เมื่อมองไม่ออก เราจึงไม่รู้จะกาหนด
ยุทธศาสตร์อย่างไร ประเทศไทยขณะนี้เหมือนได้รับที่ดินกลางเมืองเป็นมรดก แต่ยังทาการเกษตรต่อไป ไม่ใช้ให้
คุ้มค่า เพราะไม่รู้ว่ารอบข้างเปลี่ยนแปลงไปถึงไหนแล้ว
บริบทจึงสาคัญมาก เราต้องรู้บริบทในขณะนั้น และต้องจัดการบ้านเมืองตนเองให้เรียบร้อยด้วย จึงจะรู้ได้
ว่าต้องเอาอย่างไรต่อไป ที่ต้องจัดการเรื่องภายในให้เรียบก่อนนั้นเพราะการเมืองภายนอกที่จริงก็คือส่วนขยายของ
การเมืองภายใน สิบปีที่ผ่านมาที่ประเทศไทยยังวุ่นกับการเมืองภายใน จะออกไปเล่นบทบาทอะไรในเวทีระหว่าง
ประเทศ คนอื่นก็จะบอกให้กลับไปจัดการเรื่องของตัวเองให้เสร็จก่อน
แม้ภูมิปัญญาการต่างประเทศของบรรพบุรุษเราจะอยู่ที่ความสามารถในการรู้ว่าจะเลือกใครเป็นพันธมิตร
แต่มาถึงยุคของเราที่ประเทศก้าวหน้าพัฒนาไปมากแล้วนั้น ควรตั้งเป้าหมายที่ไม่หยุดเพียงเท่านั้น เลิกคิดแต่จะ
เป็นพันธมิตร ซึ่งจากพื้นฐานของประเทศเราทุกวันนี้ New Normal ทางการต่างประเทศของเราก็ควรมุ่งที่การก้าว
ไปเป็นประเทศอานาจขนาดกลางแบบที่ตุรกี บราซิล อินโดนีเซีย หรือแม้แต่เวียดนามกาลังทา จุดเน้นของการทา
ตัวให้เป็นประเทศขนาดกลางก็คือ ในการดาเนินความสัมพันธ์กับประเทศอื่นโดยเฉพาะมหาอานาจ เราต้องตั้งวาระ
(agenda) ของตน ถ้าเราสัมพันธ์กับมหาอานาจโดยตั้งอยู่บนวาระของเขาอย่างเดียว เราก็จะเสียเปรียบ เสียเวลาไป
รับมือกับเขา มัวแต่วิตกกังวลว่าจะ “รับมือ” เขาอย่างไร ไทยเราต้องตั้งวาระของตัวเองให้คนอื่นเขารับมือเราบ้าง
แต่จะทาได้อย่างนั้น ต้องเริ่มจากเข้าใจจุดแข็งจุดอ่อน เข้าใจประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ของตนให้ดีก่อน และรู้จัก
นาไปใช้เพื่อยกระดับประเทศให้ดียิ่งขึ้น
7
เพิ่มเติมได้ที่ www.rsu-brain.com
ผู้อานวยการสถาบันคลังปัญญาฯ : ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
บรรณาธิการ: น.ส.ยุวดี คาดการณ์ไกล
ถอดความและเรียบเรียง: น.ส.ปลายฟ้ า บุนนาค
บันทึกเทปการประชุม: นายปาณัท ทองพ่วง
ผู้ประสานงาน: อ.อารณีย์ วิวัฒนาภรณ์ นางพัชร์พิชา เคียงธนสมบัติ
ปีที่พิมพ์: ธันวาคม 2558
สานักพิมพ์: มูลนิธิสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ
ที่อยู่ติดต่อ
วิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ 52/347 พหลโยธิน 87 ตาบลหลักหก อาเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 12000
โทรศัพท์ 02-997-2200 ต่อ 1283 โทรสาร 02-997-2200 ต่อ 1216
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ฯ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4/2 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900
โทรศัพท์ 02-930-0026 โทรสาร 02-930-0064

Contenu connexe

En vedette

รายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัยบทบาทตุรกีใน 3 จังหวัดชายแดนใต้
รายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัยบทบาทตุรกีใน 3 จังหวัดชายแดนใต้รายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัยบทบาทตุรกีใน 3 จังหวัดชายแดนใต้
รายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัยบทบาทตุรกีใน 3 จังหวัดชายแดนใต้Klangpanya
 
The Turkish Genocide of the Armenians 1915
The Turkish Genocide of the Armenians 1915The Turkish Genocide of the Armenians 1915
The Turkish Genocide of the Armenians 1915Peter Hammond
 
EU Enlargement and Turkey’s Application for Membership v3
EU Enlargement and Turkey’s Application for Membership v3EU Enlargement and Turkey’s Application for Membership v3
EU Enlargement and Turkey’s Application for Membership v3David Bucur
 
The Armenian Genocide
The Armenian GenocideThe Armenian Genocide
The Armenian Genocideguest0db4d65
 
Muslim Pioneers in Management
Muslim Pioneers in ManagementMuslim Pioneers in Management
Muslim Pioneers in ManagementYaser AlHindi
 
Gender issues in educational administration
Gender issues in educational administration Gender issues in educational administration
Gender issues in educational administration Muhammad Rehman
 
The Armenian Genocide
The  Armenian GenocideThe  Armenian Genocide
The Armenian GenocideSmartyGuy
 
The armenian genocide
The armenian genocideThe armenian genocide
The armenian genocideIsrael Fans
 
Turkey & European Union
Turkey & European UnionTurkey & European Union
Turkey & European Unionymb
 
From Turkey - The European Union
From Turkey -  The European UnionFrom Turkey -  The European Union
From Turkey - The European UnionFilipe
 
System of Government under the Holy Prophet Muhammad (PBUH) by Syed Abul A'al...
System of Government under the Holy Prophet Muhammad (PBUH) by Syed Abul A'al...System of Government under the Holy Prophet Muhammad (PBUH) by Syed Abul A'al...
System of Government under the Holy Prophet Muhammad (PBUH) by Syed Abul A'al...Muhammad Nabeel Musharraf
 
Islamic perspectives in administration and human relation (
Islamic perspectives in administration and human relation (Islamic perspectives in administration and human relation (
Islamic perspectives in administration and human relation (Zuza Zakaria
 
THE ROLE OF CYPRUS CONFLICT IN TURKEY’S EUROPEAN UNION MEMBERSHİP NEGOTIATION...
THE ROLE OF CYPRUS CONFLICT IN TURKEY’S EUROPEAN UNION MEMBERSHİP NEGOTIATION...THE ROLE OF CYPRUS CONFLICT IN TURKEY’S EUROPEAN UNION MEMBERSHİP NEGOTIATION...
THE ROLE OF CYPRUS CONFLICT IN TURKEY’S EUROPEAN UNION MEMBERSHİP NEGOTIATION...İzmir University of Economics
 
State Policy Of Prophet Muhammad (Sm.)
State Policy Of Prophet Muhammad (Sm.)State Policy Of Prophet Muhammad (Sm.)
State Policy Of Prophet Muhammad (Sm.)sanjida2222
 
Research in_public_administration_-an_islamic_perspective
 Research in_public_administration_-an_islamic_perspective Research in_public_administration_-an_islamic_perspective
Research in_public_administration_-an_islamic_perspectiveNurshap Syafiqa
 

En vedette (18)

รายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัยบทบาทตุรกีใน 3 จังหวัดชายแดนใต้
รายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัยบทบาทตุรกีใน 3 จังหวัดชายแดนใต้รายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัยบทบาทตุรกีใน 3 จังหวัดชายแดนใต้
รายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัยบทบาทตุรกีใน 3 จังหวัดชายแดนใต้
 
The Turkish Genocide of the Armenians 1915
The Turkish Genocide of the Armenians 1915The Turkish Genocide of the Armenians 1915
The Turkish Genocide of the Armenians 1915
 
Armenian genocide
Armenian genocide Armenian genocide
Armenian genocide
 
The armenian-genocide
The armenian-genocideThe armenian-genocide
The armenian-genocide
 
EU Enlargement and Turkey’s Application for Membership v3
EU Enlargement and Turkey’s Application for Membership v3EU Enlargement and Turkey’s Application for Membership v3
EU Enlargement and Turkey’s Application for Membership v3
 
The Armenian Genocide
The Armenian GenocideThe Armenian Genocide
The Armenian Genocide
 
Muslim Pioneers in Management
Muslim Pioneers in ManagementMuslim Pioneers in Management
Muslim Pioneers in Management
 
Gender issues in educational administration
Gender issues in educational administration Gender issues in educational administration
Gender issues in educational administration
 
The Armenian Genocide
The  Armenian GenocideThe  Armenian Genocide
The Armenian Genocide
 
The armenian genocide
The armenian genocideThe armenian genocide
The armenian genocide
 
Turkey & European Union
Turkey & European UnionTurkey & European Union
Turkey & European Union
 
From Turkey - The European Union
From Turkey -  The European UnionFrom Turkey -  The European Union
From Turkey - The European Union
 
Visa policy
Visa policyVisa policy
Visa policy
 
System of Government under the Holy Prophet Muhammad (PBUH) by Syed Abul A'al...
System of Government under the Holy Prophet Muhammad (PBUH) by Syed Abul A'al...System of Government under the Holy Prophet Muhammad (PBUH) by Syed Abul A'al...
System of Government under the Holy Prophet Muhammad (PBUH) by Syed Abul A'al...
 
Islamic perspectives in administration and human relation (
Islamic perspectives in administration and human relation (Islamic perspectives in administration and human relation (
Islamic perspectives in administration and human relation (
 
THE ROLE OF CYPRUS CONFLICT IN TURKEY’S EUROPEAN UNION MEMBERSHİP NEGOTIATION...
THE ROLE OF CYPRUS CONFLICT IN TURKEY’S EUROPEAN UNION MEMBERSHİP NEGOTIATION...THE ROLE OF CYPRUS CONFLICT IN TURKEY’S EUROPEAN UNION MEMBERSHİP NEGOTIATION...
THE ROLE OF CYPRUS CONFLICT IN TURKEY’S EUROPEAN UNION MEMBERSHİP NEGOTIATION...
 
State Policy Of Prophet Muhammad (Sm.)
State Policy Of Prophet Muhammad (Sm.)State Policy Of Prophet Muhammad (Sm.)
State Policy Of Prophet Muhammad (Sm.)
 
Research in_public_administration_-an_islamic_perspective
 Research in_public_administration_-an_islamic_perspective Research in_public_administration_-an_islamic_perspective
Research in_public_administration_-an_islamic_perspective
 

Plus de Klangpanya

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยKlangpanya
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคKlangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยKlangpanya
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนKlangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsKlangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 

Plus de Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 

ยุทธศาสตร์ของไทยต่อดุลแห่งอำนาจใหม่ในศตวรรษที่ 21

  • 1. 1  ศาสตราจารย์ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อธิการวิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต  รศ.ดร. วิวัฒน์ มุ่งการดี อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี  ท่านสมปอง สงวนบรรพ์ อดีตเอกอัครราชทูต  ดร.สารสิน วีระผล อดีตเอกอัครราชทูตและรองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์  ท่านสุรพงษ์ ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูต  ท่านอนุสนธิ์ ชินวรรโณ อดีตเอกอัครราชทูต และรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี  ดร.จิตริยา ปิ่ นทอง อดีตเอกอัครราชทูต และรองอธิการบดีฝ่ายการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต  อ.ชาคริต เทียบเธียรรัตน์ หัวหน้าภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต  อ.จิระโรจน์ มะหมัดกุล อาจารย์ประจาสถาบันการทูตและการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต  คุณธีรดา ศุภะพงษ์ ผู้จัดการโครงการ Centre for Humanitarian Dialogue ฉบับที่ 9 / 2558 POLICY BRIEF เรียบเรียงจากการประชุม The Ambassadors’ Forum เรื่อง ยุทธศาสตร์ของไทยต่อดุลแห่งอานาจใหม่ในศตวรรษที่ 21 จัดโดยสถาบันคลังปัญญาด้าน ยุทธศาสตร์ชาติ ร่วมกับสถาบันการทูตและการต่างประเทศ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2558 ณ ศาลากวนอิม มหาวิทยาลัยรังสิต แกนกลางของยุทธศาสตร์การต่างประเทศไทย จีน และสหรัฐ จากประวัติศาสตร์การต่างประเทศไทย ในยุคต่างๆที่ผ่านมา พอจะกล่าวได้ว่า ภูมิปัญญาทางการ ต่างประเทศของเราคือ การพยายามถ่วงดุลระหว่างมหาอานาจฝ่ายต่างๆ และความสามารถในการเลือก พันธมิตรที่ถูกต้อง กระนั้นหลักในการเลือกเข้าข้างใดของเราในอดีตนั้น คืออยู่ข้างฝ่ายชนะหรือน่าจะ ชนะ หลักการอื่นๆ ที่เป็นอุดมคติ ที่เป็นทฤษฎีกว่านี้ เอาเข้าจริงแทบไม่เคยเป็นเกณฑ์ของเราในการ กาหนดยุทธศาสตร์การต่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ตอนที่ไทยตัดสินใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกับฝ่าย พันธมิตรในเดือนกรกฏาคม 1917 ก็เป็นเวลาที่เห็นเค้าของสงครามแล้วว่าฝ่ายมหาอานาจกลางน่าจะแพ้ และโดยที่ เราหวังว่าการเข้ากับฝ่ายพันธมิตรจะช่วยให้เราเจรจายกเลิกสนธิสัญญาที่เสียเปรียบกับตะวันตกได้ ในสงครามโลก ครั้งที่สอง ตอนแรกจอมพล ป.ยอมให้ญี่ปุ่นยกทัพผ่านเพราะรู้ว่าไทยไม่อยู่ในฐานะที่จะรบกับญี่ปุ่นได้ แต่ต่อมาเมื่อ เห็นญี่ปุ่นยึดครองเอเชียได้รวดเร็วก็หันมายกระดับประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรบ้าง เพื่อว่าถ้าญี่ปุ่นชนะ ไทยก็จะได้ดินแดนบางส่วนในกัมพูชา แต่ญี่ปุ่นแพ้ผลจึงไม่เป็นไปตามคาด มาถึงสมัยสงครามเย็น ที่จอมพล ป. ตัดสินใจเข้ากับฝ่ายอเมริกานั้นก็ไม่ได้ตัดสินด้วยใช้อุดมการณ์เป็นที่ตั้ง ดังที่ปรากฏในบันทึกของ พ.อ. เนตร เขมะ โยธิน (ยศขณะนั้น) เสนาธิการคนสนิทของจอมพล ป. ว่า จอมพล ป. กล่าวว่า “ถ้าอเมริการบกับจีน อเมริกาก็ชนะ ฝ่ายไหนแพ้ ฝ่ายนั้นก็เป็นศัตรูของเรา” สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ในศตวรรษที่ 21 ต่อดุลแห่งอานาจใหม่ ยุทธศาสตร์ของไทย
  • 2. 2 อย่างไรก็ตาม ชนชั้นนาไทยในยุคหลัง อ่านเกมการเมืองโลกไม่ค่อยออกว่ามีบริบทอะไรเปลี่ยนไปบ้าง จึง กลายเป็นว่ายังคงยึดติดกับพันธมิตรข้างเดิม โดยไปยึดเอาอุดมการณ์ ค่านิยม ทฤษฎีต่างๆของตะวันตกที่ถูกทาให้ดู เป็นสากลมาเป็นเหตุผลรองรับ และโดยที่ไม่รู้อดีตว่าที่มาของการเลือกข้างตะวันตก ข้างสหรัฐนี้ เขาทามาเพราะยุค นั้นตะวันตกเป็นฝ่ายชนะ ในยามที่ดุลอานาจโลกในปัจจุบันเปลี่ยนจากสหรัฐกลับมาอยู่ที่จีนมากขึ้น จากตะวันตก กลับมาสู่ตะวันออก อันได้แก่เอเชีย ตะวันออกกลาง อเมริกาใต้ และแอฟริกา มากขึ้น การที่เรายังยืนข้างตะวันตก ตามอุดมการณ์ตะวันตกอย่างสุดตัว จึงไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมหรือบริบทใหม่ของการเมืองโลกมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนแกนหลักที่สาคัญที่สุดของยุทธศาสตร์การต่างประเทศของสหรัฐ ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็น ต้นมานั้นมีความสับสน เปลี่ยนแปลงอยู่พอควร แต่หากต้องเลือกขึ้นมาเรื่องหนึ่งที่คงเส้นคงวาที่สุดมาตลอด เห็นจะ อยู่ที่การพยายามดารงสถานะความเป็นอภิมหาอานาจของโลก โดยเฉพาะในด้านการรบ การทหาร ขณะที่แกนหลักของยุทธศาสตร์การต่างประเทศจีน ตั้งแต่ช่วงเติ้งเสี่ยวผิงเปิดประเทศถึงขณะนี้ ชัดเจนว่าอยู่ ที่การสนองการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือเรียกได้ว่า จีนเอาการทูต การเมืองมารับใช้เป้าหมายทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น ยุทธศาสตร์การต่างประเทศจีน: Have Yuan No Trouble เมื่อดูยุทธศาสตร์การต่างประเทศจีนให้ชัดขึ้น คาที่ช่วยให้เห็นภาพมากคือ ในขณะที่อเมริกายึดหลัก Have Gun No Trouble มาแต่โบราณถึงปัจจุบัน ต้องการอะไรก็ใช้กาลังที่เหนือกว่าของตนบังคับคนอื่นลง แต่จีนในเวลานี้ ใช้หลัก Have Yuan No Trouble คือใช้เศรษฐกิจเป็นตัวนาในการทาการต่างประเทศ ในการผูกสัมพันธ์ทาง การเมืองกับนานาประเทศ ในการไปสร้างอิทธิพลและความนิยมในประเทศอื่น เช่น ในแอฟริกา จีนเป็นที่ต้อนรับ มาก เพราะไม่มีใครที่จะพร้อมให้ทุนและความรู้แก่แอฟริกาเท่าจีนแล้วในเวลานี้ สาหรับเอเชียกลางเรื่อยไปถึง เยอรมัน และอาเซียนเรื่อยไปถึงเอเชียใต้ จีนก็มี One Belt, One Road หนึ่งเส้นทางทางบก หนึ่งเส้นทางทางทะเล เป็นโอกาสทางเศรษฐกิจให้เช่นกัน และจีนก็ไปลงทุนมหาศาลในอังกฤษ กล่าวได้ว่าเวลานี้ถนนทุกสายมุ่งสู่จีน ใครก็ ตามที่อยากมีโอกาสทางเศรษฐกิจในโลกเวลานี้ต่างเข้าหาจีน มหาวิทยาลัยดังๆในสหรัฐ ในอังกฤษ ต่างไปเปิดสาขา ในจีน มุ่งเอานักศึกษาจีนเป็นลูกค้าหลัก จีนขยายการค้าทั้งทางบก ทางน้า ทางอากาศ ทางอากาศก็คือ การค้าผ่าน อินเทอร์เนต (E-commerce) ซึ่งจีนก็พัฒนาจนมีระบบที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก โดยสรุป เวลานี้จีนไปไหนในโลกก็พูด ภาษาเงิน ภาษาเศรษฐกิจเป็นหลัก จีนในเวลานี้ยังเป็นจีนที่ยอมรับ “ความปกติแบบใหม่ (New Normal)” ด้วย คือเป็นจีนที่ยอมรับ ความเปลี่ยนแปลงของโลก และพร้อมจะเรียนรู้เพื่อก้าวหน้าในสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่นี้ ไม่ปฏิเสธวิธีการใดจาก อุดมการณ์หรือความเชื่อทางการเมืองอีกต่อไป จีนเวลานี้รับหมด ทุกอย่างที่ใช้แล้วดี ทุกอย่างที่ทาแล้วพาจีนไปสู่ เป้าหมายคือความมั่งคั่งได้ โดยไม่สนใจว่านั่นเป็นของตะวันตก ของอเมริกา หรือเป็นทุนนิยมหรือไม่ เช่น E- commerce เทคโนโลยี cyber จีนก็พัฒนาจนสู้สหรัฐได้ นวัตกรรมอะไรที่ใหม่ที่คนอื่นทาได้ดีกว่าจีน จีนก็ซื้อ จีนก็ นามาศึกษาหมด เช่น จีนเพิ่งสั่งซื้อต้นแบบเครื่องบินรบรุ่นใหม่ล่าสุดของรัสเซียที่ยังไม่วางตลาด นอกจากนี้ ภายใน จีนเองก็เปลี่ยน ปัจจุบันนายทุนชั้นนาของจีนไม่เพียงแต่ได้รับเชิญเข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ แต่เข้าไปอยู่ใน คณะกรรมการกลางพรรคได้แล้ว คาว่า ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด (market economy) ในจีนที่ก่อนหน้านี้ต้องพ่วง คาว่า with Chinese characteristics เวลาก็นี้ไม่ต้องแล้ว สรุปคือ จีนพร้อมจะเรียนรู้ทุกแบบ จากทุกฝ่าย เป็น pragmatism ที่สุด ควานหาความรู้ทั่วโลก เอาความรู้ของโลกมาเสริมจีน แต่จีนก็ยังคงรักษาความเป็นจีน
  • 3. 3 จีนเวลานี้ต้องการสงครามหรือไม่ จีนจะรบกับอเมริกาหรือไม่? คาตอบคือ ไม่ เพราะเวลานี้จีน ต้องการรวยก่อน สงครามกับสหรัฐเป็นสิ่งสุดท้ายที่จีนต้องการในขณะนี้ เพราะจีนต้องการซื้อเวลา รักษา ช่วงเวลาแห่งสันติภาพสาหรับจีนไว้ให้นานที่สุดเพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ จีนในวันนี้ใช้วิธีค่อยๆคืบ คลานทางยุทธศาสตร์ เช่น จีนกาลังต่อเรือบรรทุกเครื่องบินลาที่ 2 จีนยึดเกาะแก่งในทะเลจีนใต้ไปก่อน แต่จะไม่ ทาสงครามกับอเมริกาในอนาคตอันใกล้แน่นอน อนึ่ง ประวัติศาสตร์ช่วยสนับสนุนเรื่องจีนต้องการรวยก่อนรบได้ สหรัฐอเมริกาในยุคก่อนสงครามโลกครั้ง ที่สองก็ใช้แนวการต่างประเทศแบบโดดเดี่ยวตัวเอง (isolationism) มาตลอด มุ่งพัฒนาภายในประเทศตนเอง สหรัฐในช่วงนั้นจึงเป็นสหรัฐที่ไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวกับสงคราม แต่เมื่อต่อมาสหรัฐพัฒนาจนเป็นมหาอานาจทาง เศรษฐกิจจึงได้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สองและเป็นผู้ชนะ แนวการต่างประเทศของอเมริกาจึงเปลี่ยนจากอยู่โดด เดี่ยว มาสู่บทบาทตารวจโลก แทรกแซงเข้าไปในที่ต่างๆทั่วโลกอย่างทุกวันนี้ จีนในเวลานี้จึงอยู่ในช่วงพัฒนา ตัวเอง วาทกรรมแข็งกร้าวและการกระทาแนว “ยั่วยุ” ของจีนอย่างที่เห็นในกรณีทะเลจีนใต้ก็เป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ จีนต้องทา แต่ถึงที่สุดแล้วจีนไม่ต้องการสงคราม เพราะรู้ดีว่าถ้ารบกับอเมริกาตอนนี้ จีนก็ไม่เหลืออะไร จีนจะเสีย โอกาสตักตวงความร่ารวยจากการพัฒนาเศรษฐกิจของตนที่ผ่านมาไปเปล่าๆ ความภูมิใจที่เป็นอารยธรรมเก่าแก่ เป็น middle kingdom ของตน นั่นจึงทาให้จีนน่ากลัว อาจยังพูดไม่ได้ว่าโลก ใบนี้เป็นของจีน แต่ที่แน่ๆคือโอกาสในโลกนี้เป็นของจีน เพราะตรงไหนมีช่องให้ไปได้ จีนไปหมด ยุทธศาสตร์ไทยในยุคที่ดุลอานาจโลกเปลี่ยน ในศตวรรษนี้ สหรัฐและจีนมีทั้งความร่วมมือและความขัดแย้ง แต่คาตอบคือไม่ใช่ว่าเราจะเข้าข้างใคร แต่ คาตอบคือในเวลานี้ ยุทธศาสตร์การต่างประเทศไทยคือ ไทยจะต้องทาให้ได้ประโยชน์จากทุกสถานการณ์ ไทย ต้องแสวงหาประโยชน์จากทั้งความร่วมมือและความขัดแย้งของจีน – สหรัฐ ในยุคนี้ที่ระบบโลกหรือ World Order เป็นแบบหลายขั้วอานาจหรือ multipolar มิใช่แบบสองขั้วอานาจ หรือ bipolar อย่างยุคสงครามเย็น เราไม่ควรเอาระบอบการเมืองหรืออุดมการณ์ทางการเมืองของประเทศเรามา กาหนดยุทธศาสตร์การต่างประเทศหรือการดาเนินความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆในโลกอีกแล้ว ในยุคสงครามเย็น นั้นเราอาจต้องเลือกข้าง เพราะระบบโลกตอนนั้นเป็นสองขั้ว การอยู่ตรงกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดนั้นทาได้ไม่ง่ายนัก แต่ยุคนี้ถ้าเรายังยึดติดกับอุดมการณ์ เช่น เราอยู่ฝั่งเสรีนิยมประชาธิปไตย ดังนั้นเราจึงไม่คบค้าสมาคมกับประเทศ เผด็จการ ต้องทาตัวเป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลที่ไม่เป็นประชาธิปไตยของประเทศเหล่านั้น นั่นก็ไม่ใช่ เพราะเป็น มุมมองที่ล้าสมัย ตัดโอกาสตัวเอง และไม่รู้จักแยกแยะ ที่สาคัญคือไม่เข้าใจความเป็นจริงของการเมืองโลกและ ธรรมชาติของอุดมการณ์ อุดมการณ์มีไว้ให้คนอื่นเชื่อ มิใช่ให้คนที่เผยแพร่อุดมการณ์เชื่อ ดังนั้นสหรัฐอเมริกาซึ่ง พูดเกี่ยวกับเสรีนิยม ประชาธิปไตย หลักสิทธิมนุษยชน ฯลฯ มากนั้นจึงเป็นการพูดต่อสาธารณะ แต่เมื่ออยู่หลัง ม่านเวลากาหนดยุทธศาสตร์นั้น สหรัฐใช้หลักสัจนิยม (realism) มาโดยตลอด คือเอาผลประโยชน์ของประเทศ ของกลุ่มผลประโยชน์ในประเทศตัวเองเป็นที่ตั้งทั้งสิ้น ไทยในยุคนี้จึงต้องไม่ตกเป็นเหยื่อของวาทกรรมของ มหาอานาจอีก ให้เอาผลประโยชน์ของเราเองเป็นที่ตั้ง เป็นตัวของตัวเองในการทายุทธศาสตร์การต่างประเทศ
  • 4. 4โครงการคลังปัญญาเพื่อการอภิวัตน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ฯ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ยกตัวอย่างบริบทระหว่างประเทศก็คือ โลกยุคนี้เป็นระบบโลกแบบหลายขั้วอานาจ มีสหรัฐเป็นมหาอานาจ ใหญ่ที่สุด แต่คุมไม่ได้ทั้งโลก ที่มุมอื่นๆของโลกก็มีคนที่เป็นใหญ่อื่นๆอีกหลายประเทศ เช่น จีน อินเดีย บราซิล รัสเซีย อิหร่าน ตุรกี อาเซียน เป็นต้น เมื่อจีนพุ่งขึ้นมาแข่งกับสหรัฐ สหรัฐจึงต้องพยายามคานอานาจ (balance) จีน อย่างไรก็ตามในการถ่วงดุลนี้ สหรัฐไปคานกับจีนโดยตรงคนเดียวไม่ได้ เพราะในยุคนี้ค่าใช้จ่ายของการเป็น balancer โลกนั้นสูงเกินไป ในยุคที่อังกฤษเป็นเจ้าโลก อังกฤษสามารถเป็น balancer โลกทั้งโลกแต่ผู้เดียวได้ ด้วย วิธีเข้ายึดดินแดนทั่วโลกเป็นเมืองขึ้น ทั้งในทวีปอเมริกา แอฟริกา เอเชีย มีกองทหารประจา ปกครองเอง มี กองทัพเรือของอังกฤษเองคอยดูแล แต่ในยุคของสหรัฐ สหรัฐต้อง outsource หรือศัพท์ทางทฤษฎีความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศคือ buck-passing ราคาของการถ่วงดุลอานาจกับจีนให้ประเทศอื่นๆบ้าง ด้วยการสร้างระบบ พันธมิตร ให้อินเดีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน อาเซียน ช่วยคานจีน ในการนี้สหรัฐจึงสร้างวาทกรรมที่ขยาย บิดเบือน ศักยภาพ (potential power) ของจีนให้กลายเป็น อานาจจริง (actual power) ในหลายๆเรื่อง เป็นที่มา ของการกล่าวหาว่าการก้าวขึ้นมาของจีนเป็นภัยคุกคามต่อระบบโลก ดังนั้นไทยต้องอย่าไปหลงเชื่อสหรัฐที่สร้างภาพจีนให้ยิ่งใหญ่ น่ากลัวเกินจริง แล้วกลัวจีนไปด้วย แต่จีนก็ สามารถก้าวขึ้นมาเป็นมหาอานาจในภูมิภาคได้เช่นกัน จีนเป็นแน่ถ้ามีโอกาส ศักยภาพของจีนจะกลายเป็นอานาจ จริงมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น โดยสรุป หลักยุทธศาสตร์การต่างประเทศไทยและการกาหนดความสัมพันธ์กับประเทศ ต่างๆในยุคนี้ จึงควรดูที่ actual power ของประเทศต่างๆ ดูที่ความสามารถที่แท้จริง ที่เป็นรูปธรรม ที่เขา จะให้คุณให้โทษกับเราได้ มิใช่ตั้งอยู่บนหลักการที่ (เสมือน) เป็นสากลใดซึ่งไม่ใช่ให้เราทาตัวปลิ้นปล้อน แต่ให้เราทาตัวให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของการเมืองโลก และไม่ตกเป็นเหยื่อของอุดมการณ์ของใคร ไทยต้องสร้างผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับจีนและประเทศอานาจใหม่ เพื่อที่เราจะรู้ actual power ประเมินประเทศต่างๆ ตามความเป็นจริงที่เขาเป็น มิใช่ตามภาพที่เขาหรือใคร สร้างขึ้นได้ หน่วยงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับด้านการต่างประเทศ เช่น กระทรวงการต่างประเทศของไทย จาเป็นต้องสร้างผู้เชี่ยวชาญที่รู้จริงเกี่ยวกับแต่ละประเทศ กระทรวงการต่างประเทศขณะนี้มีผู้รู้เรื่องตะวันตก เรื่อง สหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส ยุโรป มากแล้ว แต่แทบไม่มีผู้เชี่ยวชาญเรื่องจีน ซึ่งไม่สอดคล้องกับขนาด ความสัมพันธ์ที่เรามีกับจีน และดุลอานาจที่เปลี่ยนไปของโลกในปัจจุบัน ในการเจรจาเรื่องรถไฟไทย-จีนขณะนี้ ฝ่าย ไทยต้องใช้ล่ามคนจีนแปลภาษาไทย เพราะแม้แต่กระทรวงการต่างประเทศก็ไม่สามารถหาล่ามภาษาจีนที่เป็นคน ไทยได้ เราจึงต้องเร่งสร้างผู้รู้ด้านจีน รวมทั้งประเทศอื่นๆที่ก้าวขึ้นมาในยุคนี้ เช่น อาเซียน อินเดีย ตุรกี บราซิล ตะวันออกกลาง เป็นต้น โดยผู้รู้นี้ต้องมิใช่เพียงรู้ด้านภาษา วัฒนธรรม แต่ต้องรู้ถึงระบบการทางานภายใน ติดตามความเคลื่อนไหว เข้าใจยุทธศาสตร์ และอ่านยุทธศาสตร์ของประเทศเหล่านี้ออกด้วย
  • 5. 5 ยุทธศาสตร์ไทยกับอาเซียน ถ้าพูดถึงจีนกับอาเซียน ต้องยอมรับว่าประเด็นเรื่องทะเลจีนใต้ ทาให้เกิดความแตกแยกในอาเซียน พอสมควร ทั้งที่ไม่น่าจะเป็นประเด็นที่อาเซียนต้องมาแตกแยกกัน อาเซียนเปรียบเสมือนคนขับรถ ที่ยังไม่รู้ทิศทาง ว่าจะขับไปทางไหน ฉะนั้นจึงถูกสั่งโดยตะวันตกหรือจีน สั่งให้ขับไปทางนั้นบ้าง ทางนี้บ้าง ขณะนี้ ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีจุดยืนค่อนข้างแตกต่างกับชาติอาเซียนอื่นในเรื่องทะเลจีนใต้ เพราะมี แนวทางแข็งกร้าว โน้มไปในทางใช้กาลังกับจีนมากกว่าชาติอื่น เพราะฟิลิปปินส์เป็นพันธมิตรที่แนบแน่นที่สุดของ สหรัฐในอาเซียน ขณะที่ชาติอาเซียนอื่นๆที่พิพาทกับจีน แม้แต่เวียดนามก็เริ่มมีทิศทางประนีประนอมกับจีนมาก ขึ้น จุดยืนที่แตกต่างของฟิลิปปินส์ภายใต้รัฐบาลอาควิโนทาให้ทิศทางของอาเซียนในเรื่องนี้ไม่เป็นไปในทาง เดียวกัน แต่ในปี 2016 จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีเกิดขึ้นในฟิลิปปินส์ ซึ่งต้องติดตามต่อไปว่าจะได้ ประธานาธิบดีคนใหม่ที่มีแนวทางสันติกับจีนมากกว่านี้หรือไม่ ขณะที่เวียดนามเป็นประเทศที่จัดการกับเรื่องพิพาทนี้ได้ฉลาด แม้ว่าดูจะเป็นชาติที่น่าจะได้รับผลกระทบ จากข้อพิพาททะเลจีนใต้กับจีนมากที่สุด เพราะอยู่ติดกับจีน เราจึงควรเรียนรู้วิธีจัดการ ถ่วงดุล เล่นกับมหาอานาจ อย่างไรให้ได้ประโยชน์จากเวียดนาม ในเรื่องทะเลจีนใต้เวียดนามเชื่อมได้ทั้งจีนและสหรัฐ ทางเศรษฐกิจเวียดนาม ค้าขายกับจีนมากอยู่แล้วเพราะชายแดนติดกัน แต่ไม่กี่ปีมานี้เวียดนามก็ฟื้นฟูความสัมพันธ์กับสหรัฐขึ้นอย่างมาก ด้วย เวียดนามเข้าร่วม TPP ของสหรัฐ และทาตัวเป็นสะพานเชื่อมให้สหรัฐ ซึ่งต้องการกลับมาสู่เอเชีย ให้สามารถ เข้ามาในอาเซียนด้วย อย่างไรก็ดี ข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ ในยุคนี้ไม่มีสมาชิกอาเซียนประเทศใด ที่สามารถเป็นผู้นาได้ เหมือนกับที่ประเทศไทยเคยทาในสมัยที่เวียดนามบุกกัมพูชา ส่วนอินโดนีเซียมองเลยอาเซียนไปแล้ว พยายามเล่น บทบาทระดับโลก สาหรับประเทศไทย ปัญหาภายในทาให้เราไม่มีเวลาคิด กระทรวงต่างประเทศเองก็สับสน เพราะปัญหา การเมืองภายในประเทศ อย่างไรก็ตามอาเซียนก็ยังเป็น platform ที่ดี เพราะหลายฝ่ายเกรงใจ ทั้งจีน ญี่ปุ่น สหรัฐ ดังนั้นการเดินใน ทางการต่างประเทศ ไทยจึงควรอย่างยิ่งที่จะใช้อาเซียนเป็นส่วนขยาย อาศัยกาลังของอาเซียนเป็นแรงผลักไปสู่การ เล่นบทบาทที่ก้าวหน้ามากขึ้น แม้อาเซียนจะเป็น world balancer ไม่ได้ แต่โครงสร้างระบบโลกแบบ multipolar นี้ ก็เอื้อให้ประเทศหรือกลุ่มประเทศระดับอานาจกลาง (middle power) และแม้กระทั่งประเทศเล็กดึงดูดผลประโยชน์ ได้ หากรู้จักเล่นบทบาทของตนให้เป็น รู้จักข้อดีของตนและใช้ให้เป็นประโยชน์
  • 6. 6 บทสรุป ระยะหลังประเทศไทยขาดยุทธศาสตร์การต่างประเทศ เพราะเราดูบริบทการเมืองโลกไม่ออก ซึ่งอาจเป็น เพราะบริบททั้งภายในและภายนอกประเทศเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เมื่อมองไม่ออก เราจึงไม่รู้จะกาหนด ยุทธศาสตร์อย่างไร ประเทศไทยขณะนี้เหมือนได้รับที่ดินกลางเมืองเป็นมรดก แต่ยังทาการเกษตรต่อไป ไม่ใช้ให้ คุ้มค่า เพราะไม่รู้ว่ารอบข้างเปลี่ยนแปลงไปถึงไหนแล้ว บริบทจึงสาคัญมาก เราต้องรู้บริบทในขณะนั้น และต้องจัดการบ้านเมืองตนเองให้เรียบร้อยด้วย จึงจะรู้ได้ ว่าต้องเอาอย่างไรต่อไป ที่ต้องจัดการเรื่องภายในให้เรียบก่อนนั้นเพราะการเมืองภายนอกที่จริงก็คือส่วนขยายของ การเมืองภายใน สิบปีที่ผ่านมาที่ประเทศไทยยังวุ่นกับการเมืองภายใน จะออกไปเล่นบทบาทอะไรในเวทีระหว่าง ประเทศ คนอื่นก็จะบอกให้กลับไปจัดการเรื่องของตัวเองให้เสร็จก่อน แม้ภูมิปัญญาการต่างประเทศของบรรพบุรุษเราจะอยู่ที่ความสามารถในการรู้ว่าจะเลือกใครเป็นพันธมิตร แต่มาถึงยุคของเราที่ประเทศก้าวหน้าพัฒนาไปมากแล้วนั้น ควรตั้งเป้าหมายที่ไม่หยุดเพียงเท่านั้น เลิกคิดแต่จะ เป็นพันธมิตร ซึ่งจากพื้นฐานของประเทศเราทุกวันนี้ New Normal ทางการต่างประเทศของเราก็ควรมุ่งที่การก้าว ไปเป็นประเทศอานาจขนาดกลางแบบที่ตุรกี บราซิล อินโดนีเซีย หรือแม้แต่เวียดนามกาลังทา จุดเน้นของการทา ตัวให้เป็นประเทศขนาดกลางก็คือ ในการดาเนินความสัมพันธ์กับประเทศอื่นโดยเฉพาะมหาอานาจ เราต้องตั้งวาระ (agenda) ของตน ถ้าเราสัมพันธ์กับมหาอานาจโดยตั้งอยู่บนวาระของเขาอย่างเดียว เราก็จะเสียเปรียบ เสียเวลาไป รับมือกับเขา มัวแต่วิตกกังวลว่าจะ “รับมือ” เขาอย่างไร ไทยเราต้องตั้งวาระของตัวเองให้คนอื่นเขารับมือเราบ้าง แต่จะทาได้อย่างนั้น ต้องเริ่มจากเข้าใจจุดแข็งจุดอ่อน เข้าใจประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ของตนให้ดีก่อน และรู้จัก นาไปใช้เพื่อยกระดับประเทศให้ดียิ่งขึ้น
  • 7. 7 เพิ่มเติมได้ที่ www.rsu-brain.com ผู้อานวยการสถาบันคลังปัญญาฯ : ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ บรรณาธิการ: น.ส.ยุวดี คาดการณ์ไกล ถอดความและเรียบเรียง: น.ส.ปลายฟ้ า บุนนาค บันทึกเทปการประชุม: นายปาณัท ทองพ่วง ผู้ประสานงาน: อ.อารณีย์ วิวัฒนาภรณ์ นางพัชร์พิชา เคียงธนสมบัติ ปีที่พิมพ์: ธันวาคม 2558 สานักพิมพ์: มูลนิธิสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ ที่อยู่ติดต่อ วิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ 52/347 พหลโยธิน 87 ตาบลหลักหก อาเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 12000 โทรศัพท์ 02-997-2200 ต่อ 1283 โทรสาร 02-997-2200 ต่อ 1216 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ฯ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4/2 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-930-0026 โทรสาร 02-930-0064