SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  28
Télécharger pour lire hors ligne
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ ครั้งที่ 4 "ทิศทางการปรับตัวของไทย ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปของโลกและอเมริกาในยุคทรัมป์"
การประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 4
ทิศทางการปรับตัวของไทย
ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปของโลกและอเมริกาในยุคทรัมป์
จัดโดย
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
25 มกราคม 2560
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.rsu-brain.com
บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล
ถอดความและเรียบเรียง : อุสมาน วาจิ ปลายฟ้า บุนนาค และปาณัท ทองพ่วง
เผยแพร่: มีนาคม 2560
ที่อยู่
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร
กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
สารบัญ
หน้า
บทนา
สถานการณ์ในโลกและอเมริกา 1
สถานการณ์ในประเทศไทย 5
ประเมินอเมริกาและจีน เพื่อกาหนดทิศทางและบทบาทของไทย 8
ข้อเสนอแนะต่อการปรับตัวของประเทศไทย 14
ข้อสังเกตและก้าวต่อไป 21
ภาคผนวก รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม 23
บทนา
เมื่อวันพุธที่ 25 มกราคม 2560 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ
มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จัดเวทีประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 4 เรื่อง ทิศทางการปรับตัวของไทย ภายใต้
สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปของโลกและอเมริกาในยุคทรัมป์ ณ โรงแรมหัวช้าง เฮอริเทจ ราชเทวี โดย
มีนักยุทธศาสตร์ นักนโยบาย นักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายวงการและสาขาอาชีพเข้า
ร่วมระดมสมองเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มใหม่ของโลกและสังคมไทย และร่วมกันเสนอ
แนวทางพัฒนายุทธศาสตร์ชาติระยะยาว เพื่อให้ประเทศไทยมียุทธศาสตร์ชาติเป็นกรอบในการพัฒนา
ประเทศอย่างมีทิศทาง เป็นองค์รวม และเตรียมพร้อมประเทศเพื่อตอบรับกับความเปลี่ยนแปลงใน
อนาคต
ในการนี้สถาบันคลังปัญญาฯ จึงได้จัดทารายงานสรุปเนื้อหาการประชุมครั้งนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่
เป็นความรู้สู่สังคม ผู้กาหนดและตัดสินใจทางนโยบาย บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทายุทธศาสตร์ชาติ
และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ในห้วงที่กาลังมีความพยายามปฏิรูปครั้งใหญ่เกิดขึ้นในประเทศไทยอยู่นี้
1
1.
สถานการณ์ในโลกและอเมริกา
2
 โลกาภิวัตน์กาลังถูกท้าทาย
นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง โลกของเราได้เข้าสู่ยุคพหุภาคีนิยม (Multilateralism) ที่
ชาติต่างๆ เข้ามาร่วมมือกันด้วยปัจจัยทั้งเชิงภูมิศาสตร์และผลประโยชน์ เช่น องค์การ NATO
สหประชาชาติ(UN) สหภาพยุโรป(EU) อาเซียน (ASEAN) ซึ่งการร่วมมือกันนี้เป็นผลมาจากกระแส
โลกาภิวัตน์ที่กระตุ้นให้ชาติต่างๆ มองผลประโยชน์ที่อยู่บนฐานของการร่วมมือกันอย่างพหุภาคี
มากกว่าที่จะมองแต่เพียงมุมผลประโยชน์แห่งชาติที่มาจากข้อเรียกร้องของชาติตนอย่างเดียว
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันกระแสโลกาภิวัตน์นี้กาลังถูกท้าทาย ปรากฏการณ์ที่ชี้ชัดถึงความ
สั่นคลอนของโลกาภิวัตน์ก็คือ การก้าวขึ้นสู่อานาจของประธานาธิบดีทรัมป์ ที่มีนโยบาย Protectionism
อย่างชัดเจน และล่าสุดได้ตัดสินใจถอนตัวออกจากเขตการค้าเสรี TPP ที่ยืนยันได้ว่าอเมริกาจะเปลี่ยน
แนวนโยบายอย่างจริงจัง ในวาระต่อไปหากอเมริกาจะเจรจาทางการค้ากับชาติใดก็จะเป็นการเจรจาที่
อเมริกาต่อรองกับคู่ค้าโดยตรงในรูปแบบทวิภาคี (Bilateral) โดยไม่ผ่านพหุภาคีใดๆ อีกต่อไป
การที่อเมริกาปรับเปลี่ยนนโยบายครั้งใหญ่เช่นนี้ เป็นผลมาจากความรู้สึกของชนชั้นกลางใน
อเมริกา ที่รู้สึกว่าตนนั้นเสียประโยชน์จากกระแสโลกาภิวัตน์ ที่ได้ดึงโรงงานและตาแหน่งงานออกไป
จากประเทศที่พัฒนาแล้วไปยังประเทศที่กาลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา เนื่องจากนายทุนเจ้าของโรงงาน
สามารถลดต้นทุนในการผลิตสินค้าต่างๆ ได้มากเมื่อเทียบกับการตั้งโรงงานในประเทศพัฒนาแล้วอย่าง
อเมริกา จึงไม่น่าแปลกใจว่าชนชั้นกลางในโลกที่หนึ่ง ซึ่งเคยเป็นผู้เรียกร้องโลกาภิวัตน์และถูกคาดหวัง
ว่าจะเป็นผู้รักษาเสถียรภาพของกระแสนี้กลับเป็นผู้ต่อต้านเสียเอง ส่วนประเทศที่(เคย)เป็นโลกที่สาม
กลับเป็นผู้ได้ประโยชน์และปกป้องโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะจีนและอินเดียที่ยกระดับเศรษฐกิจของตน
อย่างรวดเร็วจนสามารถแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนในชาติได้อย่างน่าประทับใจ
อเมริกานั้นเป็นมหาอานาจและตลาดใหญ่ของโลก การเปลี่ยนแปลงของอเมริกาย่อมส่งผล
กระทบต่อโลกและประเทศไทยอย่างแน่นอน
 เศรษฐกิจอเมริกากาลังตกต่า
ปัจจุบันเศรษฐกิจอเมริกากาลังแย่ เรื่องหนึ่งที่ทรัมป์หยิบขึ้นมาพูดคือ เรื่องการผลิตในประเทศ
(manufacturing capability) ที่ตกต่า ตอนนี้ถูกจีนตีเสมอแล้ว จีนกลายเป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดของโลก
และอีกสองปีก็จะถูกจีนแซงหน้าแล้ว ที่เป็นเช่นนี้เพราะหลายสิบปีที่ผ่านมาบริษัทอเมริกันย้ายฐานไป
ลงทุนนอกประเทศที่ต้นทุนถูกกว่า ทาให้คนอเมริกันไม่มีงานทา เกิดโรงงานร้างในเขตตอนกลางประเทศ
(Rust Belt) นอกจากนี้ ชีวิตความเป็นอยู่ของคนชั้นล่าง-คนชั้นกลางระดับล่างในอเมริกาแย่กว่าคนชั้น
ล่างของไทย มีหนี้สินจานวนมาก แต่ด้วยโครงสร้างสินเชื่อของอเมริกาทาให้ยังใช้จ่ายก่อหนี้ได้เรื่อยๆ
3
สภาพแบบนี้ทาให้คนอเมริกันรับไม่ได้ และสนับสนุนทรัมป์ ในขณะที่ฐานเสียงของโอบามาคือชนชั้น
กลางระดับบน ปัญญาชน หรือใครก็ตามที่มีชีวิตสุขสบาย ซึ่งพวกนี้ไม่เอาด้วยกับทรัมป์
ทรัมป์เองไม่ใช่ว่าไม่สนใจโลกแล้ว เขายังสนใจ แต่สภาพเศรษฐกิจและโครงสร้างภายในประเทศ
แบบนี้ทาให้คิดว่าถ้าอยู่ต่อไปแบบนี้ไม่ทาอะไรก็ไปไม่รอด นี่คือบรรยากาศที่เราควรเข้าใจ ว่าทาไม
ทรัมป์ถึงขึ้นมาได้ สภาพเช่นนี้ทาให้ทรัมป์ต้องรีบแก้ปัญหาภายในเฉพาะหน้าของประเทศตัวเองก่อน
ไม่เช่นนั้นความสามารถในการผลิตของจีนก็จะแซง และไม่เฉพาะจีนอย่างเดียว อิหร่าน บังกลาเทศ
แอฟริกาใต้ แต่ละประเทศมีบทบาทในเศรษฐกิจโลกมากขึ้นๆ อเมริกาอาจจะยังนาอยู่ด้านการศึกษา
เทคโนโลยี นวัตกรรม การประดิษฐ์ แต่ในทางปฏิบัติ จีนมีกลไกและมีโครงสร้างที่จะแปลงผลผลิตทาง
ปัญญาของอเมริกันมาเป็นสินค้าที่เราใช้กันทุกวันนี้ คนอเมริกันมีสติปัญญา แต่ถ้าปล่อยสถานการณ์ไป
แบบนี้ เขาอาจจะเป็นหนี้ไปอีกไม่ใช่แค่สองชั่วคนแล้ว อาจจะสี่ชั่วคน และจะต้องขายทุกอย่างที่เขามี ทุก
วันนี้ คนอเมริกันที่มีสติปัญญา ถ้ามีคนเสนองานให้ไม่ว่าที่ใด เมืองจีน หรือประเทศไทย เขาพร้อมไป
หมด เพราะว่าโอกาสอยู่นอกประเทศอเมริกา เหล่านี้เป็นสถานการณ์ที่ทรัมป์พยายามขึ้นมาจัดการ
 การเกิดขึ้นของชาตินิยมอเมริกาในยุคทรัมป์
การเกิดขึ้นมาของชาตินิยมอเมริกาในยุคทรัมป์ เคยมีผู้ทานายไว้แล้วในทางทฤษฎี
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งกล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง The Clash of Civilization (1992) เขียนโดย
Samuel Huntington ซึ่งทานายว่าโลกต่อไปจะเป็นการต่อสู้ระหว่าง Universalism กับ Ethnic Frictions
หรือ Integration กับ Disintegration ซึ่งอเมริกานั้นพยายามส่งเสริม Universalism โดยการเผยแพร่
ประชาธิปไตยตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ผ่านยุคสงครามเย็น มาจนถึงยุค Neo-
conservative ของ Bush ผู้ลูก ซึ่งพยายามขยายประชาธิปไตยโดยทางทหาร
ต่อมาในปี 2004 Huntington ก็เขียนหนังสืออีกเรื่องคือ Who Are We? เสนอว่าแนวการต่อสู้
(fault line) จะเปลี่ยนจาก Integration vs. Disintegration มาเป็น Nationalism vs.
Internationalism (Cosmopolitanism) พอถึงการเลือกตั้งปี 2016 ก็ได้เห็นแล้วว่า Nationalism มาถึง
อเมริกา
ลักษณะเด่นของชาตินิยมอเมริกาในยุคทรัมป์ คือ
1. นโยบาย America First ของทรัมป์ คือ รัฐชาติ (Nation State) ต้องมาก่อน
2. คนเล็กคนน้อย คนชั้นล่างต้องมาก่อน
3. การค้าการลงทุน การอุตสาหกรรมถือว่าเป็นหลักสาคัญ
4. ต้องสร้างการทหารให้เข็มแข็งเป็นอานาจต่อรองในการเจรจา
5. อเมริกาจะไม่ยึดกับหลักพหุภาคีแล้ว แต่จะเน้นทวิภาคีมากกว่า
6. จะไม่สนใจว่าประเทศใดจะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่อีกแล้วในการดาเนินความสัมพันธ์
4
 คาดคะเนความเคลื่อนไหวในยุคทรัมป์
อเมริกาจะถอนออกจากนาโต้ ทรัมป์ต่อต้านการขยายนาโต้ในยุโรปไปประชิดอเมริกา เพราะสุ่ม
เสี่ยงต่อความน่าเชื่อถือของอเมริกา โดยเฉพาะหลังกรณีไครเมีย ที่อเมริกาและพันธมิตรตะวันตกไม่
สามารถช่วยเหลือไครเมียจากการบุกยึดของรัสเซียได้
ในเอเชีย คงเป็นการแข่งขันระหว่างจีนกับอเมริกา แม้อเมริกาจะมีพันธมิตรอยู่เต็มเอเชีย เช่น
ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ก็คงไม่กล้าออกจากเอเชีย เพราะรู้ว่าลาพังประเทศเหล่านี้คงต้านทานจีนไม่ได้
ถ้าไม่มีอเมริกา ดังนั้น อเมริกาต้องมีบทบาทในเอเชีย แม้จะมีพันธมิตร โดยนโยบายของทรัมป์น่าจะ
พยายามทาระเบียบความสัมพันธ์ในภูมิภาคต่างๆ ของโลกให้เป็นคล้ายๆ Concert of Asia, Concert of
Europe คือเอาพันธมิตรมาคานกัน ในเอเชียก็อาจเอาอเมริกา จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย มาคานกัน ใน
ยุโรปก็เอาอเมริกา รัสเซีย อังกฤษ เยอรมัน เป็นต้น
5
2.
สถานการณ์ในประเทศไทย
6
 ระบบราชการไทยยังก้าวไม่ทันระบบโลกที่เปลี่ยนไป
สิ่งสาคัญอันหนึ่งที่ขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของไทยก็คือ ระบบราชการของเรายังไม่มีความ
Professional, Neutral, Objective, Rational และ Independent
ในบริบทของการระหว่างประเทศนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือกระแสความเปลี่ยนแปลงรอบด้านที่รวดเร็ว
และเฉียบขาด ซึ่งองค์กร วิธีคิด วิธีทางาน ของระบบราชการไทยนั้นเหมาะจะทาในระบบไทยๆ
เท่านั้น เพราะเป็นระบบที่ซับซ้อน เชื่องช้า ไม่บูรณาการ และไม่ประสาน เช่น เมื่อมี Interagency
Consultant หรือการประชุมระหว่างหน่วยงาน เรามักไม่ได้ข้อสรุปที่เป็นทางการในทันทีที่ประชุมเสร็จ
เพราะแต่ละหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุมนั้นคานึงแต่เฉพาะประโยชน์ของชาติจากมุมขององค์กรตัวเอง
หรือสมาชิกในองค์กร ไม่ใช่ภาพรวมผลประโยชน์ของประเทศซึ่งมองอย่างบูรณาการอย่างแท้จริง ด้วย
เหตุนี้ จึงไม่เกิดทิศทางร่วมที่เหมาะสมในการบริหารประเทศ โดยเฉพาะภายใต้บริบทโลกที่ต้องแข่งขัน
และปรับตัวตลอดเวลา ฉะนั้น ในปัจจุบันความจาเป็นของการปฏิรูประบบราชการจึงมิใช่เพียง
ความจาเป็นจากภายในชาติเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความกดดันจากบริบทภายนอกด้วย
นอกจากระบบที่มีประสิทธิภาพน้อยแล้วยังมีปัญหาเรื่องระบบอุปถัมภ์ ความเจริญก้าวหน้า
ของข้าราชการนั้น นอกจากเรื่องความรู้ความสามารถก็ยังมีเรื่องของเส้นสายเป็นสาคัญ Merit System
ซึ่งควรเป็นเครื่องมือวัดการขึ้นสู่ตาแหน่งที่สูงขึ้นกลับไม่ถูกใช้เท่าที่ควร
การรวมศูนย์อานาจเข้าสู่ส่วนกลาง ประเทศไทยเกิดการปฏิรูประบบราชการในสมัยรัชกาล
ที่ 5 ที่ได้รวมศูนย์อานาจเข้าสู่เมืองหลวงซึ่งมีความเหมาะสมกับบริบทในขณะนั้น แต่ในปัจจุบันการ
กระจายอานาจอาจจะเป็นรูปแบบที่เหมาะสมมากกว่าสาหรับการบริหารราชการแผ่นดินในบริบทโลกาภิ
วัตน์ที่ไทยต้องแข่งขันกับโลกภายนอกตลอดเวลา
 คานึงถึงผลประโยชน์หน่วยงาน มากกว่าผลประโยชน์แห่งชาติ
ปัญหาของระบบราชการและการเมืองไทยอย่างหนึ่งคือ ไม่มีใครกล้ากาหนดว่าอะไรคือ
ผลประโยชน์แห่งชาติในภาพใหญ่ เพราะในการทางานระหว่างหน่วยงาน แต่ละหน่วยงานก็จะมาปกป้อง
ผลประโยชน์ของตน มาพูดในเรื่องภารกิจของตน และไม่กล้าก้าวก่ายหน้าที่หรือเรื่องของหน่วยงานอื่น
กลายเป็นเรื่องไหนของใคร หน่วยงานนั้นก็รับผิดชอบไป
 การทางานของกระทรวงการต่างประเทศเองก็เปลี่ยนไปตามนโยบายของรัฐบาล
เนื่องจาก การทางานของกระทรวงการต่างประเทศเองก็เปลี่ยนไปตามนโยบายของรัฐบาล งาน
วิเคราะห์สภาพความเป็นไปของบ้านเมืองอื่นๆ ที่จัดทาเป็นรายงานวิเคราะห์ออกมานั้น ปัจจุบันไม่ได้ทา
แล้ว เพราะกระทรวงการต่างประเทศไม่ได้ทางานแบบเจรจาความเมือง หาพันธมิตรแบบเมื่อก่อนแล้ว
งานลักษณะนี้ครั้งสุดท้ายน่าจะทาตอนปัญหากัมพูชา ปัจจุบันประเทศต่างๆ สนใจแต่เรื่องเศรษฐกิจ
7
การค้า งานของกระทรวงต่างประเทศจึงกลายเป็นงานประชาสัมพันธ์เป็นส่วนใหญ่ เช่น ออกงานแสดง
สินค้า งานแสดงวัฒนธรรม หรือหนักไปทางงานกงสุล ดูแลคนไทยในต่างประเทศ ทาวีซ่า เป็นต้น
สถานการณ์โลกทุกวันนี้มีลักษณะเด่นคือเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น ท่าทีของจีนต่ออเมริกา
ปัญหาภายในของอเมริกา ฯลฯ แต่การทางานของไทยและอาเซียนนั้นเชื่องช้า กว่าจะวิเคราะห์ ทาความ
เข้าใจสถานการณ์ กาหนดท่าทีได้ ก็อาจจะไม่ทันการณ์
 การใช้ข้อมูลและความรู้วิชาการที่ไม่รอบด้านและไม่ถูกต้อง
ในการดูสถานการณ์โลกต้องพิจารณาข้อมูลให้รอบด้าน จะได้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง เช่น ชอบพูด
กันมากเรื่องอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่น เวียดนามโต 6-7 % ไทยโตแค่ 3% ฟังอย่างนี้ก็ดู
เหมือนว่าทาไมเศรษฐกิจไทยโตช้า เวียดนามจะแซง แต่ความจริงแล้ว ขนาดเศรษฐกิจเวียดนามเป็น 1
ใน 3 ของเศรษฐกิจไทย เวียดนามโตเร็วเพราะฐานเศรษฐกิจเขาเล็ก แต่ฐานเศรษฐกิจไทยใหญ่กว่าก็โต
ช้าเป็นธรรมดา เราโต 3% เวียดนามโต 6-7% อย่างไรก็ไม่แซง และไม่ทันด้วย หรือเรื่องทรัมป์เวลาพูด
เรื่อง Rust Belt เรื่องการผลิตที่หายไป ทาให้เห็นว่าเศรษฐกิจอเมริกาแย่แล้ว ซึ่งก็ถูก แต่เขาไม่ได้พูดถึง
ภาคส่วนเศรษฐกิจใหม่ๆ ที่เติบโตและเจริญรุ่งเรืองอยู่เวลานี้ของอเมริกา เช่น อุตสาหกรรมเทคโนโลยี
หุ่นยนต์ ซอฟต์แวร์ ที่ทาให้เศรษฐกิจอเมริกายังโตอยู่ได้
 รัฐและเอกชนไม่ไปด้วยกัน
ที่กล่าวว่า บทบาทรัฐมีปัญหาตามไม่ทันเอกชนนั้น ในมุมของรัฐก็คือ เอกชนไม่เชื่อในการนา
ของรัฐ ไม่เชื่อว่ารัฐจะช่วยอะไรได้ จึงทาอะไรไปด้วยตนเอง โดยไม่บอกรัฐ เช่น ที่เวียดนาม
บริษัทเอกชนไทยหรือแม้แต่รัฐวิสาหกิจของไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐไปลงทุนมูลค่ามหาศาลใน
เวียดนาม ก็ไม่มาบอกสถานทูต โดยสรุป ปัญหาเรื่องรัฐกับเอกชนไม่ไปด้วยกัน ซึ่งเอกชนมักนาหน้า
ไปก่อน
 การจัดการความเห็นในสังคมไทย
การจัดการความรู้ในสังคมนั้นก็สาคัญ แต่การจัดการความเห็นของฝ่ายต่างๆ ในสังคมไทย ให้
สอดคล้องเดินหน้าไปด้วยกันได้นั้นสาคัญกว่า เพราะปัจจุบันสังคมไทยเต็มไปด้วยความเห็น
8
3.
ประเมินอเมริกาและจีน
เพื่อกาหนดทิศทางและบทบาทของไทย
9
 อเมริกายังมีข้อได้เปรียบจริงหรือ
อเมริกายุคทรัมป์ยังคงต้อนรับเรื่องโลกาภิวัตน์ จุดยืนของทรัมป์นั้นไม่ใช่ว่าให้เฉพาะบริษัท
อเมริกันผลิตที่อเมริกาอย่างเดียว แต่บริษัทชาติอื่นๆ ก็เข้าไปลงทุนในอเมริกาได้ เพียงแต่ให้เกิดการจ้าง
งานในอเมริกา ให้อเมริกาได้ประโยชน์ นอกจากนี้ อเมริกาไม่เคยทิ้งเรื่องการค้าโลก ขอเพียงแต่ให้
อเมริกาได้เข้าไป (gain access) ในประเทศต่างๆ มากขึ้น
แม้ว่าเศรษฐกิจอเมริกาจะแย่ แต่อย่าเข้าใจผิดว่าอเมริกาไม่เหลือข้อดีเลย ข้อหนึ่งที่อเมริกายัง
ได้เปรียบโลกและจีนอยู่ คือ เรื่องเทคโนโลยีชั้นสูง ที่ก้าวหน้า ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีชั้นสูงของ
อเมริกานี้จะไม่ได้ให้ประโยชน์แก่อเมริกาเฉพาะในวงการเทคโนโลยีชั้นสูง เช่น การผลิตมือถือ เท่านั้น
แต่ยังเข้าไปอยู่ในอุตสาหกรรมและวงการอื่นๆ ด้วย เช่น บริษัทผลิตเนื้อหมูใหญ่ที่สุดของอเมริกาอย่าง
Smithfield ปัจจุบันใช้หุ่นยนต์มาผลิตมากแล้ว ใช้แรงงานน้อยมาก มีต้นทุนการผลิตที่ดีกว่า ถูกกว่าจีน
แม้แต่จีนยังต้องมาซื้อเทคโนโลยี automation ของอเมริกา เพราะฉะนั้น การที่ซีพีไปลงทุนผลิตหมู
ผลิตไก่ที่อเมริกา จึงเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะได้เทคโนโลยี automation นี้มา สิ่งเหล่านี้ยังเป็นข้อ
ได้เปรียบของอเมริกาที่เราควรรู้
นโยบาย make America great again ของทรัมป์ ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการช่วยธุรกิจ
อุตสาหกรรมใน Rust Belt เท่านั้น แต่อเมริกาจะขายทั้งเทคโนโลยีชั้นสูง และการเกษตรที่ผลิตแบบใหม่
ด้วย
เรื่องปัญหาที่จะมาครอบงาเศรษฐกิจไม่ใช่มีแต่จีนที่จะมากินเรียบ (winner takes all) อเมริกานั้น
ถ้ามีโอกาส ก็จะทาเหมือนกัน นี่คือเกมการค้าระหว่างประเทศ และไทยเองก็มีโอกาสจะทาได้ และ
ควรจะทาถ้าเราจะมีบทบาทสาคัญในเศรษฐกิจภายในภูมิภาคหรือเศรษฐกิจโลก
ในยุคที่ทรัมป์เข้ามาเป็นประธานาธิบดีนี้ คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมาก อาจจะมากกว่าที่เรา
คิดด้วย ดูจากแนวคิดของทรัมป์คือต่อต้านพหุภาคีและต่อต้านโลกาภิวัตน์ ส่วนไทยเราก็เอนเอียงไป
ในทางต้อนรับพหุภาคีและโลกาภิวัตน์
 อเมริกาจะกลับมาใหญ่อีกครั้งตามนโยบายของทรัมป์ ได้จริงหรือ
ที่ผ่านมา อเมริกามีนโยบายสนับสนุน advance technology จึงได้ศึกษากรณีของบริษัท Apple
ว่าสร้างการจ้างงานต่อคนอเมริกันจริงหรือ? ได้ข้อสรุปว่าบริษัท Apple หัวใจอยู่ที่แบตเตอรี่ เขาจึงศึกษา
ต่อว่าการทาแบตเตอรี่ จริงๆ แล้วการจ้างงานอยู่ที่ไหน พบว่ามีการแบ่ง supply chain และส่วนที่จ้าง
งานมากที่สุดไม่ได้อยู่อเมริกา กลับอยู่ที่ประเทศกาลังพัฒนาหรือประเทศด้อยพัฒนา แต่ส่วนที่มีส่วนแบ่ง
ตลาด ทาเงินได้มากสุดจะเก็บไว้ที่อเมริกา การทาแบบนี้เป็นแนวคิดแบบโลกาภิวัตน์ ซึ่งมีวิธีคิดที่คิดถึง
แต่เม็ดเงิน ไม่ได้คานึงถึงการจ้างงานว่าเกิดการจ้างงานมากที่สุดตรงไหน ดังนั้น คนของทรัมป์อาจจะ
คิดถึงจุดนี้ รวบเอางานทั้งหมดมาไว้ที่อเมริกา ยกเว้นแค่ส่วนที่เป็นทรัพยากรเริ่มต้นที่ย้ายไม่ได้ แต่หาก
10
อเมริการวบเอางานทั้ง supply chain มาทาเองจริง อาจจะช่วยได้แค่ในการลดการนาเข้า แต่จะให้
แข่งขันในตลาดจนกลายเป็นกาไรมหาศาลคงไม่ได้
การที่อเมริกาจะใหญ่ขึ้นมาได้ หัวใจสาคัญมีสองอย่าง คือ อเมริกาลดหนี้ได้ และอเมริกาต้อง
ได้เปรียบดุลการค้าทั่วโลกเหมือนสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ใหม่ๆ แต่การผงาดขึ้นของจีน อินเดีย
และประเทศฝั่งตะวันออก จะสามารถแข่งขันในตลาดเทคโนโลยีขนาดกลางได้หมด ดังนั้น สิ่งเดียวที่
อเมริกาได้เปรียบคือ advance technology ซึ่งต้องดูว่าอเมริกาจะจัดการกับ advance technology แบบ
ไหน ถ้าอเมริกายังทาเหมือนเดิม หรือที่บริษัท Apple เคยทา ก็ช่วยได้แค่ในระยะสั้น แต่ระยะยาวช่วย
อะไรไม่ได้มาก
 หากจีนขึ้นมามีบทบาทแทนอเมริกาจริง จะส่งผลกระทบอะไรกับไทย และจะช่วย
สถานการณ์ไทยกับอาเซียนให้ดีขึ้นไหม
ในกรอบของโลกาภิวัตน์ บริษัทข้ามชาติจะเคลื่อนย้ายทุนและเทคโนโลยีมาจ้างงานคนใน
ประเทศพัฒนา ในขณะเดียวกัน ก็จะเอาประเทศตัวเองมาซื้อสินค้า เช่น รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ หรือ
สินค้า hi-tech ซึ่งกรณีนี้ ถ้าเป็นจีน จีนจะไม่เอาสินค้ามาผลิตในไทย เพราะเขามีแรงงานจานวนมาก
เพราะฉะนั้น กรณีนี้ หากอเมริกาฟื้นไม่ได้ แล้วจีนเข้ามาแทนอเมริกา บทบาทที่เราหวังว่าจีนจะเป็นผู้ให้
ทุน เทคโนโลยี และเป็นตลาดด้วย จะเป็นได้แค่ครึ่งเดียว คือ ให้ทุนและเทคโนโลยี แต่ไม่มีตลาด
ดังนั้น สิ่งที่เราควรทา คือควรจะดูว่าศักยภาพจริงๆ ของเราที่จีนทาแทนหรือแย่งไป
ไม่ได้คืออะไร สิ่งแรกคือ การเกษตร ซึ่งเป็นรากฐานของเรา หากเราจะทาไทยแลนด์ 4.0 เราต้องมอง
สิ่งที่เป็นรากฐาน เป็นความชานาญของเรา เรามีความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ หากจัดการดีๆ จะ
สามารถแข่งขันได้ แต่ปัญหาคือ เราจะเพิ่มมูลค่าสินค้าเหล่านี้อย่างไร และจะทาตลาดจีนหรือตลาด
ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างไร นี่คือสิ่งที่เราละเลยมาก
นอกจากนี้ สิ่งที่เราจะแข่งได้อีกอย่างคือ ความรู้ด้านการแพทย์และ hospitality industry
(อุตสาหกรรมการให้บริการ) รวมไปถึงการดูแลผู้ป่วย การผลิตยา อนามัย และ life science (การนา
ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ดูแลสุขภาพ) เรามีทรัพยากรบุคลากรด้านการแพทย์ พยาบาล เภสัชที่
เข้มแข็งมากพอ บวกกับองค์ความรู้ด้านชีวภาพ สมุนไพร ซึ่งสามารถต่อยอดสินค้าที่เป็น brand ดั้งเดิม
ของเราจริงๆ ที่สามารถส่งออกทั่วโลกได้ ตัวอย่างเช่น กระทิงแดง ซึ่งเป็นความรู้ทางด้านอุตสาหกรรม
ยา และผลิตภัณฑ์ของบริษัท Asian Pharmaceuticals ที่สกัดสารจากเปลือกมังคุดแล้วทาเป็นยา ถ้าเป็น
ความรู้แบบนี้เราแข่งได้แน่นอน โดยมีจีนเป็นตลาดใหญ่ แต่ต้องระวัง ต้องคิดให้ลึกซึ้งว่าทาอย่างไร
value chain ต้องอยู่กับเราทั้งหมด ไม่ให้จีนมาแทรกได้
ประเด็นสุดท้าย คือ พลังงาน ความมั่นคงทางพลังงานต้องคานึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย
โดยเฉพาะเรื่องความมั่นคงทางสังคม แต่ขณะนี้ประเทศไทยละเลยเรื่องความมั่นคงทางสังคมอย่าง
รุนแรง เป็นเหตุผลว่าทาไมเราถึงไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ได้ การสร้างโรงไฟฟ้าทุกครั้งคือการ
11
พังทลายของชุมชน เพราะเราไม่ได้พูดถึงประเด็นนี้ ไม่ได้ทาความเข้าใจกับชาวบ้าน ไม่ได้คานึงถึงความ
ปลอดภัย ความมั่นคงของชาวบ้านในพื้นที่ ในขณะที่ประเทศที่เจริญแล้วอย่างญี่ปุ่นหรือเยอรมนี ที่มีการ
เคารพสิทธิมนุษยชนดีกว่า กฎหมายสิ่งแวดล้อมสูงกว่า มาตรฐานสูงกว่า การบังคับใช้กฎหมายรุนแรง
กว่า แต่เขาสร้างได้ เพราะเขาให้ความสาคัญประเด็นความมั่นคงทางสังคมสูงมาก แต่ของเราเป็นศูนย์
 มองวิกฤติอเมริกาให้เป็นโอกาสของไทย
ในวิกฤตของอเมริกา จังหวะนี้เป็นโอกาสของไทย ซึ่งภาคเอกชนเห็นและไปก่อนแล้ว
ภาคเอกชนถนัดเรื่องมองโอกาสจากวิกฤต โดยไม่ได้มานั่งวิเคราะห์ระบบโครงสร้างโลกอะไรมากนัก
เช่น บริษัทซีพี วันนี้ไปลงทุนในอเมริกาแล้ว โดยบอกกับอเมริกาว่า จะไป make America proud again
ด้วยการไปผลิตอาหารที่อเมริกาส่งออกไปทั่วโลก เมื่อหลายสิบปีก่อน อาหาร made in USA จาพวก
อาหารแช่แข็งมีบทบาทในโลกมาก แต่วันนี้ซีพีกล้าคิดถึงขั้นว่า ประเทศไทยจะไปช่วยอเมริกาผลิต
อาหารให้แก่โลก นี่เป็นความคิดที่ก้าวกระโดดที่เกิดขึ้นมาได้จากวิกฤตที่ในวันนี้การผลิตในอเมริกาซบ
เซา นี่จึงเป็นตัวอย่างของโอกาสในวิกฤตที่บริษัทเอกชนมองเห็น ซึ่งรัฐไม่ได้สนับสนุน และเอกชนทา
อะไรไปหลายอย่างโดยที่รัฐไม่รู้ ต่อไปเอกชนจะต้องพึ่งพารัฐน้อยลงๆ ในการไปทาตลาดในที่ต่างๆ ใน
โลก อย่างไรก็ตาม เอกชนก็อยากจะเห็นไทยมีบทบาทมากขึ้นในระเบียบเศรษฐกิจของโลกมากขึ้น ซึ่ง
ทุกวันนี้แม้แต่ในเออีซีไทยก็มีบทบาทน้อยลง ไทยมี commitment ต่อเออีซีลดลง ทั้งที่ตาแหน่งเราอยู่
ศูนย์กลางอาเซียน แต่พฤติกรรมการปฏิบัติตัวของเรามีแต่พูด เมื่อสองปีที่แล้ว (2558) ตอนจะเข้าเออีซี
ก็ไม่ทาอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน
ถึงเวลาแล้วที่ไทยจะร่วมมือกันระหว่างรัฐและเอกชน เพื่อที่จะมาช่วยเสริมบทบาทรัฐในการคิด
หาทางให้ไทยมีบทบาทนาในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของโลก เพราะเอกชนถนัดเรื่องมองโอกาสจาก
วิกฤตเพื่อความอยู่รอด จะช่วยให้มองเห็นหนทางที่จะเอาประโยชน์อะไรให้ประเทศได้มากขึ้น แต่รัฐต้อง
สนับสนุน การสนับสนุนจากรัฐซึ่งไม่ใช่เรื่องเงิน หรือเพียงแต่การดูแลรับรองของหน่วยงานไทยใน
ต่างประเทศ แต่หมายถึงว่ารัฐจะมียุทธศาสตร์อย่างไรในระดับนโยบายที่จะฉกฉวยโอกาสจาก
สถานการณ์โลกที่เป็นอยู่ เพราะเอกชนนั้นก็อยากเห็นประเทศไทยมีบทบาทมากขึ้นในระเบียบเศรษฐกิจ
ของเออีซีหรือของโลก แต่จะมีบทบาทนาได้ก็ต้องมีทิศทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนของประเทศจากรัฐเสียก่อน
ความชัดเจนของนโยบายที่ต้องการจากรัฐ ตัวอย่างเช่น ทรัมป์ มีนโยบายดึงเหล่าบริษัทข้าม
ชาติของอเมริกากลับมาลงทุน เพื่อสร้างงานในประเทศ กระตุ้นเศรษฐกิจอเมริกากลับมา โดยกาหนด
มาตรการจูงใจต่างๆ และกาหนดบทลงโทษบริษัทที่ไม่ทาตามไว้ชัดเจน เป้าหมายแรกของเขาคือ บริษัท
อเมริกาที่ไปลงทุนในเม็กซิโก เพราะเม็กซิโกเป็นฐานการผลิตใหญ่ แย่งงานอเมริกันไปมาก แบบนี้คือ
ทิศทางจากรัฐที่เอกชนต้องการเห็น
12
 ทิศทางของยุทธศาสตร์ชาติกับมิติใหม่ด้านความมั่นคง
ปัจจุบันไทยเรามีมุมมองด้านความมั่นคงเปลี่ยนไปแล้ว ตอนนี้เราไม่ได้มองในมุม traditional
security หรือ non-traditional security แต่เราจะมองในลักษณะที่เป็น comprehensive security (ความ
มั่นคงสมบูรณ์แบบ) ซึ่งจะรวมเรื่อง social security, political security, economic security, และ
military security เพราะฉะนั้น ยุทธศาสตร์ชาติทั้งฉบับจะเกี่ยวกับความมั่นคงทั้งหมด จะไม่มีการแยก
ยุทธศาสตร์ความมั่นคงออกมาแบบเมื่อก่อน เพียงแต่ว่าจะมียุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงเฉพาะด้านที่เรา
เห็นว่ามีภัยคุกคามชัดเจน หรือมีปัจจัยที่จะกระทบต่อความมั่นคงในมิติต่างๆ ชัดเจน เช่น มีปัญหาเรื่อง
ความแตกแยกซึ่งจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การเมือง และทางสังคม ซึ่งเราให้
ความสาคัญกับเรื่องนี้ ถือเป็นเรื่องเร่งด่วน ที่พิจารณาแล้วว่าจะเป็นความมั่นคงเฉพาะด้านในอนาคต
ต่อไป
ดังตัวอย่าง หากมองในระดับมหภาค อย่างแรกคือเรามีความมั่นใจว่าเราอยากจะพัฒนาอาเซียน
ให้เข้มแข็งมากขึ้น นี่คือผลประโยชน์ของไทย เพียงแต่ว่าเราต้องพิจารณาว่าจีนกับอเมริกามี
ผลประโยชน์ที่ตรงกันไหม หรือตรงกับเราไหม จีนกับอเมริกาต้องการให้อาเซียนเข้มแข็งหรือต้องการให้
อาเซียนอ่อนแอ หากเราตีความว่าอเมริกาต้องการให้อาเซียนอ่อนแอมันก็จะเกิด conflict of interest กัน
ดังนั้น ประเด็นสาคัญคือ เราจะต้องพยายามตีความว่าจริงๆ แล้ว อเมริกาต้องการอะไร
หากพูดในด้านการทหาร จะมีการตั้งสมมติฐาน และพิสูจน์สมมติฐานด้วยตัวชี้วัด ปรากฏการณ์ การ
แถลง และการดาเนินการของอีกฝ่าย และพิจารณาสองประเด็น คือเจตนารมณ์และศักยภาพ ถ้าเขามี
เจตนารมณ์ที่จะทาให้อาเซียนอ่อนแอ แล้วเขามีศักยภาพที่จะทาได้หรือไม่ เมื่อทราบเจตนารมณ์และ
ศักยภาพ เราต้องมี action-reaction เช่น สมมติว่าอเมริกาจะมาทาให้อาเซียนอ่อนแอ แต่เราตั้งใจทาให้
อาเซียนเข้มแข็ง เราควรจะมี action มียุทธศาสตร์อย่างไรบ้าง เรามีเครื่องมือหรือพลังแห่งชาติด้านไหน
ที่เราจะสามารถใช้ในการ leverage และทาให้เรื่องนี้เกิดขึ้น รวมทั้ง multilateralism ด้วย
ในการกาหนด action-reaction หรือยุทธศาสตร์ เราต้องกาหนดให้ชัดเจน โดยใช้การวิเคราะห์ที่
ชัดเจน ซึ่งในอนาคต ยุทธศาสตร์ชาติจะมีระบบข่าวกรองยุทธศาสตร์ชาติที่จะมาสนับสนุนการพัฒนา
แผนยุทธศาสตร์ชาติ เช่น สถาบัน think tank เป็นมันสมองในการทา strategic outlook และวิเคราะห์
ผลกระทบของสภาวะแวดล้อมในอีก 20 ปีข้างหน้า เพื่อจะตอบสนอง และใส่เข้าไปในยุทธศาสตร์ชาติที่
จะเกิดขึ้นในอนาคต จะทาให้การพูดคุยของเวทีเกิดประโยชน์เป็นรูปธรรม
อีกประเด็นคือ เรามีความตั้งใจที่จะทาให้อาเซียนเข้มแข็ง ต้องการใช้อานาจต่อรองของอาเซียน
แต่เราสามารถประเมินความเข้มแข็งของอาเซียนได้หรือไม่ อาเซียนมี 3 เสาหลักแต่พลังอานาจของ
อาเซียนนั้นอยู่ที่ไหน จุดไหนทีเราจะผลักดันได้ หรือหากมีพลังอานาจของอาเซียนด้านใดด้านหนึ่งที่
ด้อยหรือไม่พอ เราจะสามารถมีแผนที่จะพัฒนาพลังอานาจด้านนั้นๆ ของอาเซียนให้เข้มแข็งขึ้นได้
13
หรือไม่ นี่คือสิ่งที่เราต้องพยายามคิดกันและผลักดันให้ออกมาเป็นรูปธรรม และทาออกมาเป็น action
plan แบบทีเรามี influence เพราะเราต้องการพึ่งพาพลังของอาเซียน
 โลกของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกาลังเปลี่ยนผ่านจากยุคพหุภาคีนิยมไปสู่ยุค
ทวิภาคีนิยมมากขึ้น
โลกของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกาลังเปลี่ยนผ่านจากยุคพหุภาคีนิยมไปสู่ยุคทวิ
ภาคีนิยมมากขึ้น กล่าวคือชาติมหาอานาจอย่างอเมริกากาลังจัดรูปแบบในการเข้าสู่เวทีโลกครั้งใหม่ที่
อานาจต่อรองขึ้นอยู่กับผลประโยชน์และความมั่นคงของชาติ โดยให้ความสนใจกับค่านิยมต่างๆ เช่น
ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน น้อยลง แต่สนใจเพียงผลประโยชน์ที่ชาติต่างๆ จะสามารถมอบให้อเมริกา
ได้เท่านั้น และอเมริกายังมีท่าทีที่แข็งกร้าวขึ้นในการรักษาจุดยืนของตน ดังเช่นการท้าทายนโยบายจีน
เดียวโดยตรงของประธานาธิบดีทรัมป์ ในภาวะที่ผันผวนเช่นนี้ อาเซียนและภูมิภาคเอเชียตะวันออก
จึงยิ่งมีความจาเป็นที่ต้องสอดประสานกันและสร้างวิสัยทัศน์ที่เหมาะสม ต้องเร่งจัดการปัญหา
ความขัดแย้งภายในภูมิภาคให้เสร็จสิ้นสันติได้โดยไว รวมถึงไทยเองก็ต้องปรับปรุงระบบ
ราชการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อทาให้การรักษาและเพิ่มพูนผลประโยชน์ของตนนั้นยังสามารถ
ดาเนินต่อไปได้อย่างดี
14
4.
ข้อเสนอแนะ
ต่อการปรับตัวของประเทศไทย
15
4.1 การปรับตัวกับภายนอกประเทศ
 ไทยต้องกาหนดท่าทีที่ชัดเจนในเวทีโลก และใช้ทาเลที่ตั้งให้เป็นประโยชน์
ถึงเวลาที่ไทยจะต้องมีท่าที (position) ที่ชัดเจนในเวทีโลก ว่าจะทาอย่างไรที่เราจะแสดงบทบาท
นาในอาเซียน หรือในเวทีพหุภาคีอื่นๆ ที่อาเซียนจะมีบทบาทเป็นผู้นาได้ เพื่อเป็นตัวช่วยผลักดัน
ประโยชน์ของไทยในเวทีโลก ต้องรู้จักเลือกเวทีที่จะเป็นประโยชน์กับเรา และเราจะมีบทบาทเด่นได้ ซึ่ง
จะได้ผลมากกว่าเข้าไปร่วมเฉยๆ โดยไม่มีน้าหนัก และต้องระวังบางเวที เช่น RCEP ไม่ควรเข้าไป
ตอนนี้ เพราะจะกลายเป็นเข้าข้างจีน
การกาหนดท่าทีนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องของกระทรวงต่างประเทศคิดเท่านั้น แต่ต้องหลายหน่วยงาน
ช่วยกันคิด และการกาหนดท่าทีนี้ไม่ใช่การคิดว่าจะไปอยู่กับจีนหรืออเมริกาดี เพราะสถานการณ์ยุคนี้
ไม่ใช่สงครามทางเศรษฐกิจแบบยุคสงครามเย็น ที่จะต้องมีค่ายมีฝ่าย แต่รอบนี้เป็นสงครามทาง
เศรษฐกิจที่มีสมรภูมิทั่วทั้งโลก ดังนั้น หลักการคือ ที่ไหนดี มีโอกาส เราก็ไป ซึ่งย้าว่า ที่ผ่านมาภาค
ธุรกิจคิดเปลี่ยนวิกฤตมาเป็นโอกาส และทาอะไรไปมากแล้ว แต่คราวนี้ต้องมาคิดว่าทั้งประเทศ
โดยเฉพาะภาครัฐนั้นจะเปลี่ยนสถานการณ์อย่างไรให้เป็นโอกาส โดยร่วมเรียนรู้ ร่วมคิดกับ
เอกชน
เรื่องการมีท่าทีที่ชัดเจนในโลกควรดูตัวอย่างจีน ซึ่งยึดอยู่กับเวทีพหุภาคีอย่าง BRICS และ G20
เป็นหลักในการส่งเสริมประโยชน์ของประเทศจีนในโลก และยังมีเวทีของตัวเองคือ One Belt One Road
และมีธนาคาร AIIB เพื่อจะทาให้เรื่องที่เขาบอกว่าทาได้หรือจะทา กลายเป็นเรื่องจริง เวลานี้รถไฟจาก
จีนไปลอนดอนเสร็จแล้ว และโครงการอื่นๆ ก็จะสาเร็จตามมา
ไทยเราควรใช้ทาเลที่ตั้งมากาหนดทิศทางและท่าทีของเราในการต่างประเทศด้วย อเมริกาใน
ยุคทรัมป์ไม่น่าจะทิ้งไทย เพราะเขายังมองว่าภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitics) ของเราสาคัญต่อเขา
ตัวอย่างเช่น หนึ่งในจุดที่อเมริกาสนใจคือท่าเรืออู่ตะเภา ซึ่งเวลานี้รัฐบาลไทยกาลังผลักดันจะให้เป็นจุด
ยุทธศาสตร์สาคัญใน East-West Corridor โดยพยายามจะทาเป็น 1 Airport 2 Systems คือใช้เป็นทั้ง
สนามบินด้านการทหารและพาณิชย์ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางด้านการบินและการซ่อมบารุงอากาศยาน แต่
อเมริกาอเมริกายังไม่ยอมให้ใช้เป็นสนามบินด้านการทหาร ดังนั้น ไทยควรใช้ข้อได้เปรียบด้านทาเลที่ตั้ง
มากาหนดทิศทาง ท่าทีของเราในการต่างประเทศ
 ไทยควรเล่นบทบาททั้งพหุภาคีและรัฐชาติ
ไทยควรเล่นทั้งพหุภาคีและรัฐชาติ เพราะเราเป็นประเทศเล็ก ก็คงต้องอาศัยอาเซียน หรือ East
Asia Regionalism ในรูปแบบใดก็แล้วแต่ กระนั้นไทยก็ต้องมีบทบาทของตัวเองด้วย เพราะยุคนี้เป็นยุค
ตัวใครตัวมัน ไทยต้องกระตือรือร้นที่จะเล่นบทบาทของตนเอง และที่ผ่านมาการเล่นเกมความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศโดยอัตวินิจฉัยของไทยเอง ก็พาบ้านเมืองรอดมาแล้วหลายครั้ง เช่น สงครามโลกครั้งที่
16
สอง ไทยไม่แพ้ตามญี่ปุ่น หรือการที่เรากล้าเปลี่ยนจุดยืนจากที่สู้กับฝรั่งเศสในสมัยรัชกาลที่ 5 มาอยู่ฝ่าย
เดียวกับฝรั่งเศสในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยสรุปคือ เรามีประวัติโดดเด่นในการมีจุดยืนของตนที่พาให้เราเอา
ตัวรอดมาได้ ในสมัยนี้เราก็ควรทาเช่นนั้นการเอาตัวให้รอดโดยมีอัตวินิจฉัยของตนเอง ขณะเดียวกันก็
เล่นในระดับพหุภาคีควบคู่ไปด้วย
ข้อสังเกตประการหนึ่งคือ ที่ผ่านมา ไทยเราใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์กับอเมริกาน้อยกว่า
หลายชาติ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ที่ไปเอาข้อมูล เทคโนโลยี ไปศึกษาจากอเมริกามากกว่าเรา ทั้งๆ ที่
เรามีความสัมพันธ์กับอเมริกามาถึง 180 ปี ข้อเสนอแนะคือ อะไรที่เราขอจากอเมริกาไม่ได้ ให้ลองขอ
จากแคนาดา เพราะแคนาดาเป็นประเทศที่ได้รับอะไรจากอเมริกาไปมาก
การใช้กรอบพหุภาคีให้เป็นประโยชน์นั้น สาคัญมากต่อการที่ไทยจะยืนอยู่ด้วยตนเองได้ ใน
กรอบพหุภาคีนี้ แน่นอนว่าอาเซียนเป็นส่วนที่สาคัญ แต่นอกเหนืออาเซียนไปก็ยังมีกรอบพหุภาคีอื่นที่
เราควรเข้าไปร่วมอย่างหนักแน่น เช่น East Asian Community (EAC) ซึ่งเป็นเขตการค้าที่รวมเอเชีย
ตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้ด้วยกัน มีศักยภาพมาก เพราะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากร
ในทุกๆ ด้าน
 เพิ่มอานาจต่อรองของไทยโดยร่วมมือกับอาเซียน
ในปัจจุบันโดยลาพัง ประเทศไทยแต่เพียงอย่างเดียวนั้นอานาจต่อรองและศักยภาพใน
การแข่งขันของเรานั้นไม่สูงมากนัก แม้ประเทศรอบข้างของเราจะสามารถมีอัตราการการเติบโตทาง
เศรษฐกิจอยู่ที่ 6-7 % ต่อปีก็ตาม ด้วยเหตุนี้ หากเราสามารถใช้ประโยชน์จากการที่ประเทศเราตั้งอยู่ใจ
กลางอาเซียนท่ามกลางประเทศที่เศรษฐกิจกาลังเติบโตและอยู่ไม่ห่างจากจีนและอินเดียที่มีเศรษฐกิจ
ขนาดใหญ่ได้ เราจะจะสามารถยกระดับเศรษฐกิจของเราได้อย่างรวดเร็ว แต่เดิมนั้นคติหนึ่งของอาเซียน
เมื่อมองการพัฒนาของจีนคือทาอย่างไรหากจีนเจริญเติบโตแล้วอาเซียนต้องเติบโตตามไปด้วย เมื่อมอง
จากมุมของไทยเราก็ต้องพยายามทาให้การเจริญเติบโตของอาเซียนนั้นส่งผลดีกับการเจริญเติบโตของ
เราให้ได้
ภายหลังจากที่อาเซียนได้รวมทั้ง 10 ชาติเข้าเป็นสมาชิกได้สาเร็จ ก้าวต่อไปคือการสร้างความ
เข้มแข็งของอาเซียนให้เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม อาเซียนไม่ได้มีแต่ด้านของการร่วมมือเท่านั้น ยังมีอีกด้าน
หนึ่งคือ การแข่งขันกันเองระหว่างประเทศในกลุ่มสมาชิก ประเทศใดที่มีความสามารถในการแข่งขันที่สูง
กว่าย่อมได้รับผลประโยชน์ที่มากกว่า แม้ปัจจุบันขนาดเศรษฐกิจของเราจะเป็นอันดับสองของภูมิภาค
แต่หลาย ๆ สิ่งนั้นเรากลับได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น เช่น การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign
Direct Investment) ที่เราได้น้อย แม้เราจะมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีซึ่งเป็นรองเพียงสิงคโปร์เท่านั้นและมี
รูปแบบเศรษฐกิจที่หลากหลายที่สุดก็ตาม
17
4.2 การปรับตัวภายในประเทศ
 สร้างความตระหนักว่าเราอยู่ในภาวะความจาเป็นเร่งด่วน (Sense of Urgency)
ทางรอดที่สามารถนาพาประเทศไทยให้พ้นวิกฤตินี้ไปได้คือ การมี Self-Organization ซึ่งการ
จะผลักดันสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมคือการสร้าง Sense of Urgency คือการตระหนักถึงความ
จาเป็นเร่งด่วนที่ต้องปรับตัวและหันหน้าเข้าหากันเพื่อความอยู่รอดภายใต้ The Moral Equivalent of
War ที่เป็นสภาวะประหนึ่งสงครามที่รัฐไทยต้องอยู่รอดภายใต้บริบทที่กาลังเปลี่ยนแปลงไป ถ้าคนไทย
ไม่ตระหนักว่าเรากาลังอยู่ในภาวะจาเป็นเร่งด่วนที่ต้องปรับตัวแล้วก็ยากที่เราจะรอดได้อย่างปลอดภัย
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้นั้นไม่ใช่เรื่องที่จะฝากความหวังไว้ที่ภาครัฐอย่างเดียวแต่ต้องให้ทุกฝ่ายร่วมมือกัน
ซึ่งรัฐเองแม้จะทาได้เพียงบางอย่างเนื่องจากไม่มีอานาจที่เพียงพอ แต่ก็มีอานาจพอที่จะกีดกันไม่ให้คน
นอกเข้ามายุ่งเกี่ยวได้ นี่เป็นลักษณะของรัฐมาแต่ดั้งเดิม ดังที่ Machiavelli นักคิดคนสาคัญของโลก
ผู้ประพันธ์หนังสือ The Prince ได้กล่าวไว้ว่า “The pope is so weak that he cannot unite Italy,
but he is so powerful to prevent anybody to do it” เนื่องจากในสมัยนั้นอิตาลีมีความแตกแยกมาก
ซึ่งโป๊ปเองไม่สามารถที่จะรวบรวมผู้คนให้เป็นหนึ่งเดียวได้ แต่ก็มีกาลังมากพอที่จะกีดกันมิให้ผู้อื่นเข้า
เกี่ยวพันกับการปกครอง ซึ่งการที่จากัดการปกครองให้อยู่ในมือรัฐอย่างเดียวนั้นไม่ใช่เรื่องที่เหมาะสม
กับยุคสมัยอีกต่อไป ฉะนั้นทุกวันนี้คนไทยทั้งหมดต้องตื่นตัว สร้าง Sense of Urgency และสร้าง Sense
of Purpose ที่เราตระหนักในเป้าหมายร่วมกัน รวมถึงสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ร่วมกันจากทุกภาคส่วน
 กระจายทรัพยากรอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม
เรื่อง New Security ที่รัฐบาลกาลังมอง อะไรคือที่มาของเสถียรภาพที่เราพูดถึง หากเป็นในยุค
สมัยกรีกนั่นคือความยุติธรรมที่ต้องเกิดขึ้นในทุกระดับ มี Distributive Justice มีการกระจายทรัพยากร
และโอกาสที่เท่าเทียมและเป็นธรรม เหล่านี้จะนามาซึ่งเสถียรภาพ และ National Security ที่แท้จริง
 สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของประเทศโดยประชาชนมีส่วนร่วม
ในเรื่อง Diversity นั้นต้องพิจารณาว่า ทาอย่างไรจึงจะเกิดความรู้สึกร่วมของความเป็นเจ้าของ
ประเทศโดยประชาชนส่วนรวม มีความหวังสาหรับการสร้างอนาคตร่วมกัน สิ่งที่อันตรายคือการมีกรอบ
คิดว่าคนไทยไม่พร้อมสาหรับประชาธิปไตย นักการเมืองไม่มีประสิทธิภาพ บ้านเมืองแบ่งฝักแบ่งฝ่าย
ฉะนั้น จึงต้องปิดพื้นที่ทางการเมืองแล้วรวบอานาจไว้ที่ส่วนกลางเพื่อกันไม่ให้คนนอกเข้ามามีส่วนร่วม
เพื่อสร้างความสงบ การมีกรอบคิดเช่นนี้อันตรายเพราะจะทาให้คนรู้สึกอึดอัด เมื่อลงรายละเอียดแล้วคน
ไม่มีส่วนร่วมก็จะเกิดความรู้สึกว่าปัญหานั้นแก้ไม่ได้
ด้วยเหตุนี้ การเปิ ดพื้นที่เพื่อประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมจึงจาเป็นเพื่อจะผ่อนคลายความรู้สึก
บีบคั้น โดยเฉพาะหากเราต้องการสร้าง National Competitive สร้างประชาธิปไตยที่มี Transparent
และ Accountability อย่างแท้จริง ต้องเริ่มที่ฐานรากคือการสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกันของ
18
ประชาชนเสียก่อน ด้วยการสร้างพื้นที่ใหม่ทางการเมืองที่เป็นการเมืองที่ถูกต้อง เป็นประชาธิปไตยที่
ถูกต้อง มิใช่การผูกโยงความชอบธรรมด้วยเสียงส่วนใหญ่เพียงเท่านั้น มิใช่การปิดพื้นที่เพื่อไม่ให้เกิด
ปัญหา
เราจะรอดในสิ่งที่มองได้ว่าเป็นสงครามครั้งนี้ได้หรือไม่ อยู่ที่เราจะ Self-Organized หรือไม่
ลูกหลานในอีก 50 ปีข้างหน้าจะจดจาเราอย่างไรขึ้นอยู่กับว่าเราจะใช้โอกาสในวันนี้อย่างไร
 สร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยพลังสามองค์ประกอบ
เวลานี้เป็นโอกาสสาคัญที่จะยกระดับประเทศไปสู่การเป็นผู้นาในภูมิภาค เราต้องดึงอาเซียนให้
ร่วมมือกันให้มั่นคง อาเซียนมีประชากรกว่า 600 ล้านคน มากกว่าอเมริกาสองเท่า และยังมากกว่า
ประชากรในสหภาพยุโรป ซึ่งภูมิภาคของเรามีสันติภาพพอควร สามารถเป็นภูมิภาคที่ผลักดันให้เกิด
สันติภาพในโลกได้ โดยเฉพาะไทยที่ไม่มีความบาดหมางทางประวัติศาสตร์กับชาติใดมากนักที่ยังส่งผล
ถึงปัจจุบัน นี่จึงเป็นจุดเด่นที่ไทยสามารถใช้เพื่อยกศักยภาพของไทยให้มากขึ้น แต่เรื่องนี้นั้นเราจะหวัง
ภาครัฐอย่างเดียวไม่ได้ เป็นประเด็นใหญ่ที่ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก ซึ่งเราสามารถปฏิบัติได้โดย
ต้องใช้สามเรื่องประกอบกัน
ประการแรกคือความรู้ เราต้องรู้เรื่องประเทศต่างๆ อย่างแท้จริง เช่น ในอาเซียน จีน และ
ประเทศต่าง ๆ ต้องเป็นการหาความรู้อย่างจริงจัง มีการจัดเก็บความรู้อย่างเป็นระบบต่อเนื่อง มิใช่การรู้
แบบเพียงคร่าว ๆ ที่ไม่สามารถใช้งานอะไรได้มากนัก
ประการต่อมาคือการสร้างการเคลื่อนไหวทางสังคมที่เคลื่อนไหวเพื่อแก้ปัญหาประเทศ
ต้องสร้างการสื่อสารที่ดีระหว่างกลุ่มต่างๆ ในสังคม ระหว่างภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความ
ร่วมมือระหว่างกัน
ประการที่สามคือภาครัฐ แม้ภาครัฐจะขาดประสิทธิภาพและมีจุดอ่อนอยู่หลายจุด แต่รัฐนั้นถือ
กฎหมายที่จาเป็นต่อการพัฒนาประเทศ จึงเลี่ยงการร่วมมือกับรัฐไม่ได้ สิ่งแรกที่ต้องทาคือการปฏิรูปการ
วิจัยต่างๆ ให้มีเอกภาพและบูรณาการ และสร้างนักการทูตที่มีความสามารถ มีข้อมูลความรู้ รวมถึงต้อง
ดึงอดีตทูตเข้ามาร่วมด้วย หากมองทางประวัติศาสตร์แล้วนักการทูตไทยมีความสามารถมาก สามารถ
เจรจากับประเทศมหาอานาจเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติได้สาเร็จ
การเปลี่ยนแปลงที่ดีนั้นยากที่จะสาเร็จได้ด้วยการสั่งการของผู้มีอานาจตามระบบ แต่มักจะ
สาเร็จมากกว่าหากเกิดจากการก่อตัวขึ้นอย่างไม่เป็นทางการโดยผู้มีความสามารถแต่อยู่นอกระบบรัฐ
ดังเช่นการจัดประชุมครั้งนี้ จัดอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นภาคีที่เกี่ยวข้องกับหลายองค์กร และภาคธุรกิจ
ควรเข้ามาสนับสนุนเช่นกัน เพราะภาคธุรกิจไทยเข้มแข็งมาก หลายบริษัทสามารถลงทุนในต่างประเทศ
ได้ เมื่อใดภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทแล้วย่อมเกิดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม หากเราสามารถสร้างภาค
องค์ความรู้และการเคลื่อนไหวทางสังคมให้เข้มแข็งได้ด้วยตัวเองแล้ว ภาครัฐก็ยินดีจะสนับสนุน
19
 จัดการเรื่องภายในประเทศตัวเองให้ดี ให้ทันและฉลาด
การเข้าใจเรื่องภายนอกประเทศเป็นสิ่งที่ดี แต่เรื่องภายนอกเราจัดการได้ยาก และไม่ค่อยจัดการ
ด้วย สิ่งที่ทาได้คือการจัดการเรื่องภายในประเทศตัวเองให้ดี ให้ทันและฉลาดกว่านี้
สิ่งท้าทายคือ โลกมีความผันผวนสูงมาก ยากที่จะทานาย ยากที่จะจัดการ เราจึงต้องกลับมาเริ่มที่
ตัวเราก่อน ต้องตั้งคาถามก่อนว่า จะทาอย่างไรให้ปัญญาเกิดการเคลื่อนไหวให้ทันความผันผวนของโลก
ไม่อยู่นิ่ง และนาปัญญาไปปฏิบัติให้เกิดผลได้ และใครที่จะสามารถทาให้ปัญญาเกิดและนาไปปฏิบัติได้
ซึ่งไม่ใช่ระบบราชการ เราเห็นชัดแล้วว่าเป็นไปได้ยากมาก คนที่มีปัญญา ปฏิบัติได้และมีความ
คล่องแคล่วคือภาคธุรกิจ แต่ธุรกิจก็ต้องเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง คานึงถึงความอยู่รอดของตนเองก่อนประเทศ
ส่วนชาวบ้านหรือชุมชน ช่วงหลังมานี้ ชุมชนมีการปรับตัวขึ้นเยอะ แต่ก็อยู่ในขอบเขตของเขา เขาต้อง
เอาตัวรอดเพราะมีปัญหารุมเร้า ชุมชนเก่งขึ้นจริงแต่ปัญหาของโลกก็ซับซ้อนขึ้นด้วย ทาให้เขาตามไม่
ทัน
หากมองสถานการณ์ชายแดนทั้งหลาย ตัวอย่างเช่น จ.ตากที่มีชายแดนติดพม่า เราอาจมี
ความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลพม่า แต่บริเวณชายแดน จ.ตาก ทหารกะเหรี่ยงเป็นคนคุม ถ้าเขาขวาง
หรือไม่ยอมให้ผ่าน ทหารพม่าก็ทาอะไรไม่ได้ และต่อไปคนกลุ่มน้อยจะต่อรองกับเรามากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้
คนในพื้นที่ นักการค้า นักธุรกิจชายแดน รู้เรื่องดีที่สุด ความรู้ความสามารถของข้างล่างมีอยู่ไม่น้อย
แต่ไม่ถูกเสริม ไม่ถูกเติมพลัง ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังและเป็นระบบเพื่อที่จะยกระดับ
ขึ้น
แม้กระทั่งระบบการศึกษา เราก็ขาดระบบไปสนับสนุนอย่างจริงจัง ซึ่งคนที่ทาตรงนี้ ไม่ใช่
กระทรวงศึกษาแต่เป็นคนที่ทางานกับกลุ่มธุรกิจทั้งหลาย คนกลุ่มนี้มีปัญญาแต่ปัญญาไม่ใหญ่พอที่จะคุม
ทิศทางประเทศ ในขณะที่คนที่คุมทิศทางประเทศไม่มีปัญญาพอ อาจจะรู้แต่ใช้ไม่ได้ และที่น่าสนใจคือ
กลุ่มที่ควรจะเป็นปัญญา คือกลุ่มมหาวิทยาลัย กลับมีผลผลิตทางวิชาการลดลงอย่างมากในช่วง 20 ปีที่
ผ่านมา จึงเกิดคาถามตามมาว่า ปัญญาสร้างที่ไหน สร้างโดยใคร และทาอย่างไรให้ใช้ปัญญาในการสร้าง
ความเคลื่อนไหว พลิกผ่าน นี่คือโจทย์ใหญ่ เพราะท้ายที่สุด การเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับมนุษย์ แล้วมนุษย์
ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงและเอาชนะปัญหาต่างๆ ได้ คือต้องมี Character and Competency เราจะ
สร้างคนอย่างไรให้มีอัตลักษณ์ มีความทรหดอดทนและกล้าหาญ
คนไทยนั้นมีความหลากหลาย ซึ่งเป็นจุดแข็งของเรา แต่เราไม่เคยเติมความหลากหลายให้มี
ประโยชน์ ไม่เคยทาให้ดอกไม้ที่บานแสนดอกของเรางดงามและมีพลังได้ เราขาดระบบ ขาด
กระบวนการเชื่อมโยง และขาดการถอดบทเรียนอย่างรวดเร็ว ทาให้เกิดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย
และจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ช่องว่างเหล่านี้จะไม่มีทางลดได้ถ้าข้างล่างโตไม่ทัน
อีกทั้งความรู้และปัญญาจากส่วนกลาง จากกรุงเทพก็ไม่พอรับมือกับสถานการณ์ของทุกที่ แต่
ปัญญาของข้างล่างใช้ได้พอสมควร แค่ขาดการสนับสนุน ขาดการต่อเนื่อง ขาดการเชื่อมโยง
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ ครั้งที่ 4 "ทิศทางการปรับตัวของไทย ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปของโลกและอเมริกาในยุคทรัมป์"
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ ครั้งที่ 4 "ทิศทางการปรับตัวของไทย ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปของโลกและอเมริกาในยุคทรัมป์"
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ ครั้งที่ 4 "ทิศทางการปรับตัวของไทย ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปของโลกและอเมริกาในยุคทรัมป์"
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ ครั้งที่ 4 "ทิศทางการปรับตัวของไทย ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปของโลกและอเมริกาในยุคทรัมป์"
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ ครั้งที่ 4 "ทิศทางการปรับตัวของไทย ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปของโลกและอเมริกาในยุคทรัมป์"

Contenu connexe

Tendances

ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...Klangpanya
 
ระบอบประชาธิปไตยแบบจีน
ระบอบประชาธิปไตยแบบจีนระบอบประชาธิปไตยแบบจีน
ระบอบประชาธิปไตยแบบจีนKlangpanya
 
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020Klangpanya
 
World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559
World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559
World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559Klangpanya
 
World thank think monitor ครั้งที่ 4 เดือนกันยายน 2558
World thank think monitor ครั้งที่ 4 เดือนกันยายน 2558World thank think monitor ครั้งที่ 4 เดือนกันยายน 2558
World thank think monitor ครั้งที่ 4 เดือนกันยายน 2558Klangpanya
 
ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...
ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...
ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...Klangpanya
 
World Think Thank Monitors ฉบับที่ 3 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2558
World Think Thank Monitors ฉบับที่ 3 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2558 World Think Thank Monitors ฉบับที่ 3 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2558
World Think Thank Monitors ฉบับที่ 3 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2558 Klangpanya
 
World Think Tank Monitor สิงหาคม 2560
World Think Tank Monitor สิงหาคม 2560World Think Tank Monitor สิงหาคม 2560
World Think Tank Monitor สิงหาคม 2560Klangpanya
 
World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559
World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559
World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559Klangpanya
 
World Think Tank Monitors l พฤศจิกายน 2559
World Think Tank Monitors l พฤศจิกายน 2559World Think Tank Monitors l พฤศจิกายน 2559
World Think Tank Monitors l พฤศจิกายน 2559Klangpanya
 
บทบาทของกองทัพในทศวรรษหน้า
บทบาทของกองทัพในทศวรรษหน้าบทบาทของกองทัพในทศวรรษหน้า
บทบาทของกองทัพในทศวรรษหน้าTeeranan
 
World Think Tank Monitors l พฤษภาคม 2559
World Think Tank Monitors l พฤษภาคม 2559World Think Tank Monitors l พฤษภาคม 2559
World Think Tank Monitors l พฤษภาคม 2559Klangpanya
 
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v12013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1Nopporn Thepsithar
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560ประพันธ์ เวารัมย์
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 waranyuati
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560ประพันธ์ เวารัมย์
 
ประเทศไทยจะไปทางไหน
ประเทศไทยจะไปทางไหนประเทศไทยจะไปทางไหน
ประเทศไทยจะไปทางไหนNakharin Leksakul
 
World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558
World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558
World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558Klangpanya
 

Tendances (20)

ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...
 
ระบอบประชาธิปไตยแบบจีน
ระบอบประชาธิปไตยแบบจีนระบอบประชาธิปไตยแบบจีน
ระบอบประชาธิปไตยแบบจีน
 
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
 
World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559
World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559
World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559
 
World thank think monitor ครั้งที่ 4 เดือนกันยายน 2558
World thank think monitor ครั้งที่ 4 เดือนกันยายน 2558World thank think monitor ครั้งที่ 4 เดือนกันยายน 2558
World thank think monitor ครั้งที่ 4 เดือนกันยายน 2558
 
ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...
ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...
ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...
 
World Think Thank Monitors ฉบับที่ 3 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2558
World Think Thank Monitors ฉบับที่ 3 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2558 World Think Thank Monitors ฉบับที่ 3 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2558
World Think Thank Monitors ฉบับที่ 3 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2558
 
หลักประกันคุณภาพการศึกษา(Tqf)
หลักประกันคุณภาพการศึกษา(Tqf)หลักประกันคุณภาพการศึกษา(Tqf)
หลักประกันคุณภาพการศึกษา(Tqf)
 
World Think Tank Monitor สิงหาคม 2560
World Think Tank Monitor สิงหาคม 2560World Think Tank Monitor สิงหาคม 2560
World Think Tank Monitor สิงหาคม 2560
 
World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559
World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559
World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559
 
World Think Tank Monitors l พฤศจิกายน 2559
World Think Tank Monitors l พฤศจิกายน 2559World Think Tank Monitors l พฤศจิกายน 2559
World Think Tank Monitors l พฤศจิกายน 2559
 
บทบาทของกองทัพในทศวรรษหน้า
บทบาทของกองทัพในทศวรรษหน้าบทบาทของกองทัพในทศวรรษหน้า
บทบาทของกองทัพในทศวรรษหน้า
 
World Think Tank Monitors l พฤษภาคม 2559
World Think Tank Monitors l พฤษภาคม 2559World Think Tank Monitors l พฤษภาคม 2559
World Think Tank Monitors l พฤษภาคม 2559
 
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v12013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
2013 03-14 ซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ปี 2013 อนาคตประเทศไทย v1
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
 
ประเทศไทยจะไปทางไหน
ประเทศไทยจะไปทางไหนประเทศไทยจะไปทางไหน
ประเทศไทยจะไปทางไหน
 
World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558
World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558
World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558
 
รวมเล่ม (1)
รวมเล่ม (1)รวมเล่ม (1)
รวมเล่ม (1)
 

En vedette

แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่...
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่...แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่...
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่...Klangpanya
 
World Think Tank Monitor กุมภาพันธ์ 2560
World Think Tank Monitor กุมภาพันธ์ 2560World Think Tank Monitor กุมภาพันธ์ 2560
World Think Tank Monitor กุมภาพันธ์ 2560Klangpanya
 
As abelhas e as formigas
As abelhas e as formigasAs abelhas e as formigas
As abelhas e as formigasÂngela Miranda
 
Extensiones sistemas
Extensiones sistemasExtensiones sistemas
Extensiones sistemasBryan Lopez
 
Incluir una presentación en WordPress
Incluir una presentación en WordPressIncluir una presentación en WordPress
Incluir una presentación en WordPressprofeblog
 
Trust the Journey edited version
Trust the Journey edited versionTrust the Journey edited version
Trust the Journey edited versionBailey Ethridge
 
Newsletter 10/2014
Newsletter 10/2014Newsletter 10/2014
Newsletter 10/2014Peace Nguyen
 
ανάλυση οδηγιών βαθμολόγησης εξεταζόμενων μαθητών με αναπηρία
ανάλυση οδηγιών βαθμολόγησης εξεταζόμενων μαθητών με αναπηρίαανάλυση οδηγιών βαθμολόγησης εξεταζόμενων μαθητών με αναπηρία
ανάλυση οδηγιών βαθμολόγησης εξεταζόμενων μαθητών με αναπηρίαΙωάννης Χρήστου
 

En vedette (15)

แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่...
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่...แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่...
แนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต (Global Trend) ที่อาจส่งผลกระทบต่...
 
World Think Tank Monitor กุมภาพันธ์ 2560
World Think Tank Monitor กุมภาพันธ์ 2560World Think Tank Monitor กุมภาพันธ์ 2560
World Think Tank Monitor กุมภาพันธ์ 2560
 
The smile of the child
The smile of the child The smile of the child
The smile of the child
 
A borboleta azul
A borboleta azulA borboleta azul
A borboleta azul
 
Good deed
Good deedGood deed
Good deed
 
sosftware de gestion
sosftware de gestion sosftware de gestion
sosftware de gestion
 
As abelhas e as formigas
As abelhas e as formigasAs abelhas e as formigas
As abelhas e as formigas
 
A bruxa e o caldeirão
A bruxa e o caldeirãoA bruxa e o caldeirão
A bruxa e o caldeirão
 
Las energías limpias
Las energías limpiasLas energías limpias
Las energías limpias
 
Extensiones sistemas
Extensiones sistemasExtensiones sistemas
Extensiones sistemas
 
C w gluck_de_profundis
C w gluck_de_profundisC w gluck_de_profundis
C w gluck_de_profundis
 
Incluir una presentación en WordPress
Incluir una presentación en WordPressIncluir una presentación en WordPress
Incluir una presentación en WordPress
 
Trust the Journey edited version
Trust the Journey edited versionTrust the Journey edited version
Trust the Journey edited version
 
Newsletter 10/2014
Newsletter 10/2014Newsletter 10/2014
Newsletter 10/2014
 
ανάλυση οδηγιών βαθμολόγησης εξεταζόμενων μαθητών με αναπηρία
ανάλυση οδηγιών βαθμολόγησης εξεταζόμενων μαθητών με αναπηρίαανάλυση οδηγιών βαθμολόγησης εξεταζόμενων μαθητών με αναπηρία
ανάλυση οδηγιών βαθμολόγησης εξεταζόμενων μαθητών με αναπηρία
 

Similaire à รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ ครั้งที่ 4 "ทิศทางการปรับตัวของไทย ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปของโลกและอเมริกาในยุคทรัมป์"

Still coldwar
Still coldwarStill coldwar
Still coldwarTeeranan
 
การผงาดขึ้นของชาติมุสลิม
การผงาดขึ้นของชาติมุสลิมการผงาดขึ้นของชาติมุสลิม
การผงาดขึ้นของชาติมุสลิมKlangpanya
 
สงครามเย็น
สงครามเย็นสงครามเย็น
สงครามเย็นMarz Zuthamat
 
สงครามเย็น
สงครามเย็นสงครามเย็น
สงครามเย็นMarz Zuthamat
 
Gp 05 บทที่ 5 โลกาภิวัตน์กับชาติและชาตินิยม
Gp 05 บทที่ 5 โลกาภิวัตน์กับชาติและชาตินิยมGp 05 บทที่ 5 โลกาภิวัตน์กับชาติและชาตินิยม
Gp 05 บทที่ 5 โลกาภิวัตน์กับชาติและชาตินิยมwissanujo
 
53011312317.
53011312317.53011312317.
53011312317.wissanujo
 
บทความวิชาการ --เศรษฐศาสตร์การเมืองคืออะไร
บทความวิชาการ --เศรษฐศาสตร์การเมืองคืออะไรบทความวิชาการ --เศรษฐศาสตร์การเมืองคืออะไร
บทความวิชาการ --เศรษฐศาสตร์การเมืองคืออะไรSakdaNasongsi1
 
จริยปรัชญาการสร้างอัตลักษณ์ของคนเกาหลีสู่การพัฒนาประเทศ
จริยปรัชญาการสร้างอัตลักษณ์ของคนเกาหลีสู่การพัฒนาประเทศจริยปรัชญาการสร้างอัตลักษณ์ของคนเกาหลีสู่การพัฒนาประเทศ
จริยปรัชญาการสร้างอัตลักษณ์ของคนเกาหลีสู่การพัฒนาประเทศpentanino
 
จริยปรัชญาการสร้างอัตลักษณ์ของคนเกาหลีสู่การพัฒนาประเทศ
จริยปรัชญาการสร้างอัตลักษณ์ของคนเกาหลีสู่การพัฒนาประเทศจริยปรัชญาการสร้างอัตลักษณ์ของคนเกาหลีสู่การพัฒนาประเทศ
จริยปรัชญาการสร้างอัตลักษณ์ของคนเกาหลีสู่การพัฒนาประเทศpentanino
 
Global issues 220355
Global issues 220355Global issues 220355
Global issues 220355Teeranan
 
บทบาทมหาอำนาจโลกของสหรัฐอเมริกา
บทบาทมหาอำนาจโลกของสหรัฐอเมริกาบทบาทมหาอำนาจโลกของสหรัฐอเมริกา
บทบาทมหาอำนาจโลกของสหรัฐอเมริกาThammasat University
 
World issues
World issuesWorld issues
World issuesTeeranan
 

Similaire à รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ ครั้งที่ 4 "ทิศทางการปรับตัวของไทย ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปของโลกและอเมริกาในยุคทรัมป์" (20)

Still coldwar
Still coldwarStill coldwar
Still coldwar
 
การผงาดขึ้นของชาติมุสลิม
การผงาดขึ้นของชาติมุสลิมการผงาดขึ้นของชาติมุสลิม
การผงาดขึ้นของชาติมุสลิม
 
องค์การโคมินฟอร์ม
องค์การโคมินฟอร์มองค์การโคมินฟอร์ม
องค์การโคมินฟอร์ม
 
สงครามเย็น
สงครามเย็นสงครามเย็น
สงครามเย็น
 
สงครามเย็น
สงครามเย็นสงครามเย็น
สงครามเย็น
 
บทที่ 1.pdf
บทที่ 1.pdfบทที่ 1.pdf
บทที่ 1.pdf
 
Gp 05 บทที่ 5 โลกาภิวัตน์กับชาติและชาตินิยม
Gp 05 บทที่ 5 โลกาภิวัตน์กับชาติและชาตินิยมGp 05 บทที่ 5 โลกาภิวัตน์กับชาติและชาตินิยม
Gp 05 บทที่ 5 โลกาภิวัตน์กับชาติและชาตินิยม
 
53011312317
5301131231753011312317
53011312317
 
Social onet
Social onetSocial onet
Social onet
 
Social onet
Social onetSocial onet
Social onet
 
53011312317.
53011312317.53011312317.
53011312317.
 
บทความวิชาการ --เศรษฐศาสตร์การเมืองคืออะไร
บทความวิชาการ --เศรษฐศาสตร์การเมืองคืออะไรบทความวิชาการ --เศรษฐศาสตร์การเมืองคืออะไร
บทความวิชาการ --เศรษฐศาสตร์การเมืองคืออะไร
 
จริยปรัชญาการสร้างอัตลักษณ์ของคนเกาหลีสู่การพัฒนาประเทศ
จริยปรัชญาการสร้างอัตลักษณ์ของคนเกาหลีสู่การพัฒนาประเทศจริยปรัชญาการสร้างอัตลักษณ์ของคนเกาหลีสู่การพัฒนาประเทศ
จริยปรัชญาการสร้างอัตลักษณ์ของคนเกาหลีสู่การพัฒนาประเทศ
 
จริยปรัชญาการสร้างอัตลักษณ์ของคนเกาหลีสู่การพัฒนาประเทศ
จริยปรัชญาการสร้างอัตลักษณ์ของคนเกาหลีสู่การพัฒนาประเทศจริยปรัชญาการสร้างอัตลักษณ์ของคนเกาหลีสู่การพัฒนาประเทศ
จริยปรัชญาการสร้างอัตลักษณ์ของคนเกาหลีสู่การพัฒนาประเทศ
 
Global issues 220355
Global issues 220355Global issues 220355
Global issues 220355
 
บทบาทมหาอำนาจโลกของสหรัฐอเมริกา
บทบาทมหาอำนาจโลกของสหรัฐอเมริกาบทบาทมหาอำนาจโลกของสหรัฐอเมริกา
บทบาทมหาอำนาจโลกของสหรัฐอเมริกา
 
ความขัดแย้งและการประสานประโยชน์
ความขัดแย้งและการประสานประโยชน์ความขัดแย้งและการประสานประโยชน์
ความขัดแย้งและการประสานประโยชน์
 
World issues
World issuesWorld issues
World issues
 
History of Thailand
History of ThailandHistory of Thailand
History of Thailand
 
History of Thailand
History of ThailandHistory of Thailand
History of Thailand
 

Plus de Klangpanya

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยKlangpanya
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคKlangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยKlangpanya
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนKlangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsKlangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 

Plus de Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 

รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ ครั้งที่ 4 "ทิศทางการปรับตัวของไทย ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปของโลกและอเมริกาในยุคทรัมป์"

  • 2. การประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 4 ทิศทางการปรับตัวของไทย ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปของโลกและอเมริกาในยุคทรัมป์ จัดโดย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 25 มกราคม 2560 รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.rsu-brain.com บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล ถอดความและเรียบเรียง : อุสมาน วาจิ ปลายฟ้า บุนนาค และปาณัท ทองพ่วง เผยแพร่: มีนาคม 2560 ที่อยู่ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
  • 3. สารบัญ หน้า บทนา สถานการณ์ในโลกและอเมริกา 1 สถานการณ์ในประเทศไทย 5 ประเมินอเมริกาและจีน เพื่อกาหนดทิศทางและบทบาทของไทย 8 ข้อเสนอแนะต่อการปรับตัวของประเทศไทย 14 ข้อสังเกตและก้าวต่อไป 21 ภาคผนวก รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม 23
  • 4. บทนา เมื่อวันพุธที่ 25 มกราคม 2560 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จัดเวทีประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 4 เรื่อง ทิศทางการปรับตัวของไทย ภายใต้ สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปของโลกและอเมริกาในยุคทรัมป์ ณ โรงแรมหัวช้าง เฮอริเทจ ราชเทวี โดย มีนักยุทธศาสตร์ นักนโยบาย นักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายวงการและสาขาอาชีพเข้า ร่วมระดมสมองเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มใหม่ของโลกและสังคมไทย และร่วมกันเสนอ แนวทางพัฒนายุทธศาสตร์ชาติระยะยาว เพื่อให้ประเทศไทยมียุทธศาสตร์ชาติเป็นกรอบในการพัฒนา ประเทศอย่างมีทิศทาง เป็นองค์รวม และเตรียมพร้อมประเทศเพื่อตอบรับกับความเปลี่ยนแปลงใน อนาคต ในการนี้สถาบันคลังปัญญาฯ จึงได้จัดทารายงานสรุปเนื้อหาการประชุมครั้งนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่ เป็นความรู้สู่สังคม ผู้กาหนดและตัดสินใจทางนโยบาย บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทายุทธศาสตร์ชาติ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ในห้วงที่กาลังมีความพยายามปฏิรูปครั้งใหญ่เกิดขึ้นในประเทศไทยอยู่นี้
  • 6. 2  โลกาภิวัตน์กาลังถูกท้าทาย นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง โลกของเราได้เข้าสู่ยุคพหุภาคีนิยม (Multilateralism) ที่ ชาติต่างๆ เข้ามาร่วมมือกันด้วยปัจจัยทั้งเชิงภูมิศาสตร์และผลประโยชน์ เช่น องค์การ NATO สหประชาชาติ(UN) สหภาพยุโรป(EU) อาเซียน (ASEAN) ซึ่งการร่วมมือกันนี้เป็นผลมาจากกระแส โลกาภิวัตน์ที่กระตุ้นให้ชาติต่างๆ มองผลประโยชน์ที่อยู่บนฐานของการร่วมมือกันอย่างพหุภาคี มากกว่าที่จะมองแต่เพียงมุมผลประโยชน์แห่งชาติที่มาจากข้อเรียกร้องของชาติตนอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันกระแสโลกาภิวัตน์นี้กาลังถูกท้าทาย ปรากฏการณ์ที่ชี้ชัดถึงความ สั่นคลอนของโลกาภิวัตน์ก็คือ การก้าวขึ้นสู่อานาจของประธานาธิบดีทรัมป์ ที่มีนโยบาย Protectionism อย่างชัดเจน และล่าสุดได้ตัดสินใจถอนตัวออกจากเขตการค้าเสรี TPP ที่ยืนยันได้ว่าอเมริกาจะเปลี่ยน แนวนโยบายอย่างจริงจัง ในวาระต่อไปหากอเมริกาจะเจรจาทางการค้ากับชาติใดก็จะเป็นการเจรจาที่ อเมริกาต่อรองกับคู่ค้าโดยตรงในรูปแบบทวิภาคี (Bilateral) โดยไม่ผ่านพหุภาคีใดๆ อีกต่อไป การที่อเมริกาปรับเปลี่ยนนโยบายครั้งใหญ่เช่นนี้ เป็นผลมาจากความรู้สึกของชนชั้นกลางใน อเมริกา ที่รู้สึกว่าตนนั้นเสียประโยชน์จากกระแสโลกาภิวัตน์ ที่ได้ดึงโรงงานและตาแหน่งงานออกไป จากประเทศที่พัฒนาแล้วไปยังประเทศที่กาลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา เนื่องจากนายทุนเจ้าของโรงงาน สามารถลดต้นทุนในการผลิตสินค้าต่างๆ ได้มากเมื่อเทียบกับการตั้งโรงงานในประเทศพัฒนาแล้วอย่าง อเมริกา จึงไม่น่าแปลกใจว่าชนชั้นกลางในโลกที่หนึ่ง ซึ่งเคยเป็นผู้เรียกร้องโลกาภิวัตน์และถูกคาดหวัง ว่าจะเป็นผู้รักษาเสถียรภาพของกระแสนี้กลับเป็นผู้ต่อต้านเสียเอง ส่วนประเทศที่(เคย)เป็นโลกที่สาม กลับเป็นผู้ได้ประโยชน์และปกป้องโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะจีนและอินเดียที่ยกระดับเศรษฐกิจของตน อย่างรวดเร็วจนสามารถแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนในชาติได้อย่างน่าประทับใจ อเมริกานั้นเป็นมหาอานาจและตลาดใหญ่ของโลก การเปลี่ยนแปลงของอเมริกาย่อมส่งผล กระทบต่อโลกและประเทศไทยอย่างแน่นอน  เศรษฐกิจอเมริกากาลังตกต่า ปัจจุบันเศรษฐกิจอเมริกากาลังแย่ เรื่องหนึ่งที่ทรัมป์หยิบขึ้นมาพูดคือ เรื่องการผลิตในประเทศ (manufacturing capability) ที่ตกต่า ตอนนี้ถูกจีนตีเสมอแล้ว จีนกลายเป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดของโลก และอีกสองปีก็จะถูกจีนแซงหน้าแล้ว ที่เป็นเช่นนี้เพราะหลายสิบปีที่ผ่านมาบริษัทอเมริกันย้ายฐานไป ลงทุนนอกประเทศที่ต้นทุนถูกกว่า ทาให้คนอเมริกันไม่มีงานทา เกิดโรงงานร้างในเขตตอนกลางประเทศ (Rust Belt) นอกจากนี้ ชีวิตความเป็นอยู่ของคนชั้นล่าง-คนชั้นกลางระดับล่างในอเมริกาแย่กว่าคนชั้น ล่างของไทย มีหนี้สินจานวนมาก แต่ด้วยโครงสร้างสินเชื่อของอเมริกาทาให้ยังใช้จ่ายก่อหนี้ได้เรื่อยๆ
  • 7. 3 สภาพแบบนี้ทาให้คนอเมริกันรับไม่ได้ และสนับสนุนทรัมป์ ในขณะที่ฐานเสียงของโอบามาคือชนชั้น กลางระดับบน ปัญญาชน หรือใครก็ตามที่มีชีวิตสุขสบาย ซึ่งพวกนี้ไม่เอาด้วยกับทรัมป์ ทรัมป์เองไม่ใช่ว่าไม่สนใจโลกแล้ว เขายังสนใจ แต่สภาพเศรษฐกิจและโครงสร้างภายในประเทศ แบบนี้ทาให้คิดว่าถ้าอยู่ต่อไปแบบนี้ไม่ทาอะไรก็ไปไม่รอด นี่คือบรรยากาศที่เราควรเข้าใจ ว่าทาไม ทรัมป์ถึงขึ้นมาได้ สภาพเช่นนี้ทาให้ทรัมป์ต้องรีบแก้ปัญหาภายในเฉพาะหน้าของประเทศตัวเองก่อน ไม่เช่นนั้นความสามารถในการผลิตของจีนก็จะแซง และไม่เฉพาะจีนอย่างเดียว อิหร่าน บังกลาเทศ แอฟริกาใต้ แต่ละประเทศมีบทบาทในเศรษฐกิจโลกมากขึ้นๆ อเมริกาอาจจะยังนาอยู่ด้านการศึกษา เทคโนโลยี นวัตกรรม การประดิษฐ์ แต่ในทางปฏิบัติ จีนมีกลไกและมีโครงสร้างที่จะแปลงผลผลิตทาง ปัญญาของอเมริกันมาเป็นสินค้าที่เราใช้กันทุกวันนี้ คนอเมริกันมีสติปัญญา แต่ถ้าปล่อยสถานการณ์ไป แบบนี้ เขาอาจจะเป็นหนี้ไปอีกไม่ใช่แค่สองชั่วคนแล้ว อาจจะสี่ชั่วคน และจะต้องขายทุกอย่างที่เขามี ทุก วันนี้ คนอเมริกันที่มีสติปัญญา ถ้ามีคนเสนองานให้ไม่ว่าที่ใด เมืองจีน หรือประเทศไทย เขาพร้อมไป หมด เพราะว่าโอกาสอยู่นอกประเทศอเมริกา เหล่านี้เป็นสถานการณ์ที่ทรัมป์พยายามขึ้นมาจัดการ  การเกิดขึ้นของชาตินิยมอเมริกาในยุคทรัมป์ การเกิดขึ้นมาของชาตินิยมอเมริกาในยุคทรัมป์ เคยมีผู้ทานายไว้แล้วในทางทฤษฎี ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งกล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง The Clash of Civilization (1992) เขียนโดย Samuel Huntington ซึ่งทานายว่าโลกต่อไปจะเป็นการต่อสู้ระหว่าง Universalism กับ Ethnic Frictions หรือ Integration กับ Disintegration ซึ่งอเมริกานั้นพยายามส่งเสริม Universalism โดยการเผยแพร่ ประชาธิปไตยตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ผ่านยุคสงครามเย็น มาจนถึงยุค Neo- conservative ของ Bush ผู้ลูก ซึ่งพยายามขยายประชาธิปไตยโดยทางทหาร ต่อมาในปี 2004 Huntington ก็เขียนหนังสืออีกเรื่องคือ Who Are We? เสนอว่าแนวการต่อสู้ (fault line) จะเปลี่ยนจาก Integration vs. Disintegration มาเป็น Nationalism vs. Internationalism (Cosmopolitanism) พอถึงการเลือกตั้งปี 2016 ก็ได้เห็นแล้วว่า Nationalism มาถึง อเมริกา ลักษณะเด่นของชาตินิยมอเมริกาในยุคทรัมป์ คือ 1. นโยบาย America First ของทรัมป์ คือ รัฐชาติ (Nation State) ต้องมาก่อน 2. คนเล็กคนน้อย คนชั้นล่างต้องมาก่อน 3. การค้าการลงทุน การอุตสาหกรรมถือว่าเป็นหลักสาคัญ 4. ต้องสร้างการทหารให้เข็มแข็งเป็นอานาจต่อรองในการเจรจา 5. อเมริกาจะไม่ยึดกับหลักพหุภาคีแล้ว แต่จะเน้นทวิภาคีมากกว่า 6. จะไม่สนใจว่าประเทศใดจะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่อีกแล้วในการดาเนินความสัมพันธ์
  • 8. 4  คาดคะเนความเคลื่อนไหวในยุคทรัมป์ อเมริกาจะถอนออกจากนาโต้ ทรัมป์ต่อต้านการขยายนาโต้ในยุโรปไปประชิดอเมริกา เพราะสุ่ม เสี่ยงต่อความน่าเชื่อถือของอเมริกา โดยเฉพาะหลังกรณีไครเมีย ที่อเมริกาและพันธมิตรตะวันตกไม่ สามารถช่วยเหลือไครเมียจากการบุกยึดของรัสเซียได้ ในเอเชีย คงเป็นการแข่งขันระหว่างจีนกับอเมริกา แม้อเมริกาจะมีพันธมิตรอยู่เต็มเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ก็คงไม่กล้าออกจากเอเชีย เพราะรู้ว่าลาพังประเทศเหล่านี้คงต้านทานจีนไม่ได้ ถ้าไม่มีอเมริกา ดังนั้น อเมริกาต้องมีบทบาทในเอเชีย แม้จะมีพันธมิตร โดยนโยบายของทรัมป์น่าจะ พยายามทาระเบียบความสัมพันธ์ในภูมิภาคต่างๆ ของโลกให้เป็นคล้ายๆ Concert of Asia, Concert of Europe คือเอาพันธมิตรมาคานกัน ในเอเชียก็อาจเอาอเมริกา จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย มาคานกัน ใน ยุโรปก็เอาอเมริกา รัสเซีย อังกฤษ เยอรมัน เป็นต้น
  • 10. 6  ระบบราชการไทยยังก้าวไม่ทันระบบโลกที่เปลี่ยนไป สิ่งสาคัญอันหนึ่งที่ขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของไทยก็คือ ระบบราชการของเรายังไม่มีความ Professional, Neutral, Objective, Rational และ Independent ในบริบทของการระหว่างประเทศนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือกระแสความเปลี่ยนแปลงรอบด้านที่รวดเร็ว และเฉียบขาด ซึ่งองค์กร วิธีคิด วิธีทางาน ของระบบราชการไทยนั้นเหมาะจะทาในระบบไทยๆ เท่านั้น เพราะเป็นระบบที่ซับซ้อน เชื่องช้า ไม่บูรณาการ และไม่ประสาน เช่น เมื่อมี Interagency Consultant หรือการประชุมระหว่างหน่วยงาน เรามักไม่ได้ข้อสรุปที่เป็นทางการในทันทีที่ประชุมเสร็จ เพราะแต่ละหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุมนั้นคานึงแต่เฉพาะประโยชน์ของชาติจากมุมขององค์กรตัวเอง หรือสมาชิกในองค์กร ไม่ใช่ภาพรวมผลประโยชน์ของประเทศซึ่งมองอย่างบูรณาการอย่างแท้จริง ด้วย เหตุนี้ จึงไม่เกิดทิศทางร่วมที่เหมาะสมในการบริหารประเทศ โดยเฉพาะภายใต้บริบทโลกที่ต้องแข่งขัน และปรับตัวตลอดเวลา ฉะนั้น ในปัจจุบันความจาเป็นของการปฏิรูประบบราชการจึงมิใช่เพียง ความจาเป็นจากภายในชาติเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความกดดันจากบริบทภายนอกด้วย นอกจากระบบที่มีประสิทธิภาพน้อยแล้วยังมีปัญหาเรื่องระบบอุปถัมภ์ ความเจริญก้าวหน้า ของข้าราชการนั้น นอกจากเรื่องความรู้ความสามารถก็ยังมีเรื่องของเส้นสายเป็นสาคัญ Merit System ซึ่งควรเป็นเครื่องมือวัดการขึ้นสู่ตาแหน่งที่สูงขึ้นกลับไม่ถูกใช้เท่าที่ควร การรวมศูนย์อานาจเข้าสู่ส่วนกลาง ประเทศไทยเกิดการปฏิรูประบบราชการในสมัยรัชกาล ที่ 5 ที่ได้รวมศูนย์อานาจเข้าสู่เมืองหลวงซึ่งมีความเหมาะสมกับบริบทในขณะนั้น แต่ในปัจจุบันการ กระจายอานาจอาจจะเป็นรูปแบบที่เหมาะสมมากกว่าสาหรับการบริหารราชการแผ่นดินในบริบทโลกาภิ วัตน์ที่ไทยต้องแข่งขันกับโลกภายนอกตลอดเวลา  คานึงถึงผลประโยชน์หน่วยงาน มากกว่าผลประโยชน์แห่งชาติ ปัญหาของระบบราชการและการเมืองไทยอย่างหนึ่งคือ ไม่มีใครกล้ากาหนดว่าอะไรคือ ผลประโยชน์แห่งชาติในภาพใหญ่ เพราะในการทางานระหว่างหน่วยงาน แต่ละหน่วยงานก็จะมาปกป้อง ผลประโยชน์ของตน มาพูดในเรื่องภารกิจของตน และไม่กล้าก้าวก่ายหน้าที่หรือเรื่องของหน่วยงานอื่น กลายเป็นเรื่องไหนของใคร หน่วยงานนั้นก็รับผิดชอบไป  การทางานของกระทรวงการต่างประเทศเองก็เปลี่ยนไปตามนโยบายของรัฐบาล เนื่องจาก การทางานของกระทรวงการต่างประเทศเองก็เปลี่ยนไปตามนโยบายของรัฐบาล งาน วิเคราะห์สภาพความเป็นไปของบ้านเมืองอื่นๆ ที่จัดทาเป็นรายงานวิเคราะห์ออกมานั้น ปัจจุบันไม่ได้ทา แล้ว เพราะกระทรวงการต่างประเทศไม่ได้ทางานแบบเจรจาความเมือง หาพันธมิตรแบบเมื่อก่อนแล้ว งานลักษณะนี้ครั้งสุดท้ายน่าจะทาตอนปัญหากัมพูชา ปัจจุบันประเทศต่างๆ สนใจแต่เรื่องเศรษฐกิจ
  • 11. 7 การค้า งานของกระทรวงต่างประเทศจึงกลายเป็นงานประชาสัมพันธ์เป็นส่วนใหญ่ เช่น ออกงานแสดง สินค้า งานแสดงวัฒนธรรม หรือหนักไปทางงานกงสุล ดูแลคนไทยในต่างประเทศ ทาวีซ่า เป็นต้น สถานการณ์โลกทุกวันนี้มีลักษณะเด่นคือเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น ท่าทีของจีนต่ออเมริกา ปัญหาภายในของอเมริกา ฯลฯ แต่การทางานของไทยและอาเซียนนั้นเชื่องช้า กว่าจะวิเคราะห์ ทาความ เข้าใจสถานการณ์ กาหนดท่าทีได้ ก็อาจจะไม่ทันการณ์  การใช้ข้อมูลและความรู้วิชาการที่ไม่รอบด้านและไม่ถูกต้อง ในการดูสถานการณ์โลกต้องพิจารณาข้อมูลให้รอบด้าน จะได้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง เช่น ชอบพูด กันมากเรื่องอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่น เวียดนามโต 6-7 % ไทยโตแค่ 3% ฟังอย่างนี้ก็ดู เหมือนว่าทาไมเศรษฐกิจไทยโตช้า เวียดนามจะแซง แต่ความจริงแล้ว ขนาดเศรษฐกิจเวียดนามเป็น 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจไทย เวียดนามโตเร็วเพราะฐานเศรษฐกิจเขาเล็ก แต่ฐานเศรษฐกิจไทยใหญ่กว่าก็โต ช้าเป็นธรรมดา เราโต 3% เวียดนามโต 6-7% อย่างไรก็ไม่แซง และไม่ทันด้วย หรือเรื่องทรัมป์เวลาพูด เรื่อง Rust Belt เรื่องการผลิตที่หายไป ทาให้เห็นว่าเศรษฐกิจอเมริกาแย่แล้ว ซึ่งก็ถูก แต่เขาไม่ได้พูดถึง ภาคส่วนเศรษฐกิจใหม่ๆ ที่เติบโตและเจริญรุ่งเรืองอยู่เวลานี้ของอเมริกา เช่น อุตสาหกรรมเทคโนโลยี หุ่นยนต์ ซอฟต์แวร์ ที่ทาให้เศรษฐกิจอเมริกายังโตอยู่ได้  รัฐและเอกชนไม่ไปด้วยกัน ที่กล่าวว่า บทบาทรัฐมีปัญหาตามไม่ทันเอกชนนั้น ในมุมของรัฐก็คือ เอกชนไม่เชื่อในการนา ของรัฐ ไม่เชื่อว่ารัฐจะช่วยอะไรได้ จึงทาอะไรไปด้วยตนเอง โดยไม่บอกรัฐ เช่น ที่เวียดนาม บริษัทเอกชนไทยหรือแม้แต่รัฐวิสาหกิจของไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐไปลงทุนมูลค่ามหาศาลใน เวียดนาม ก็ไม่มาบอกสถานทูต โดยสรุป ปัญหาเรื่องรัฐกับเอกชนไม่ไปด้วยกัน ซึ่งเอกชนมักนาหน้า ไปก่อน  การจัดการความเห็นในสังคมไทย การจัดการความรู้ในสังคมนั้นก็สาคัญ แต่การจัดการความเห็นของฝ่ายต่างๆ ในสังคมไทย ให้ สอดคล้องเดินหน้าไปด้วยกันได้นั้นสาคัญกว่า เพราะปัจจุบันสังคมไทยเต็มไปด้วยความเห็น
  • 13. 9  อเมริกายังมีข้อได้เปรียบจริงหรือ อเมริกายุคทรัมป์ยังคงต้อนรับเรื่องโลกาภิวัตน์ จุดยืนของทรัมป์นั้นไม่ใช่ว่าให้เฉพาะบริษัท อเมริกันผลิตที่อเมริกาอย่างเดียว แต่บริษัทชาติอื่นๆ ก็เข้าไปลงทุนในอเมริกาได้ เพียงแต่ให้เกิดการจ้าง งานในอเมริกา ให้อเมริกาได้ประโยชน์ นอกจากนี้ อเมริกาไม่เคยทิ้งเรื่องการค้าโลก ขอเพียงแต่ให้ อเมริกาได้เข้าไป (gain access) ในประเทศต่างๆ มากขึ้น แม้ว่าเศรษฐกิจอเมริกาจะแย่ แต่อย่าเข้าใจผิดว่าอเมริกาไม่เหลือข้อดีเลย ข้อหนึ่งที่อเมริกายัง ได้เปรียบโลกและจีนอยู่ คือ เรื่องเทคโนโลยีชั้นสูง ที่ก้าวหน้า ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีชั้นสูงของ อเมริกานี้จะไม่ได้ให้ประโยชน์แก่อเมริกาเฉพาะในวงการเทคโนโลยีชั้นสูง เช่น การผลิตมือถือ เท่านั้น แต่ยังเข้าไปอยู่ในอุตสาหกรรมและวงการอื่นๆ ด้วย เช่น บริษัทผลิตเนื้อหมูใหญ่ที่สุดของอเมริกาอย่าง Smithfield ปัจจุบันใช้หุ่นยนต์มาผลิตมากแล้ว ใช้แรงงานน้อยมาก มีต้นทุนการผลิตที่ดีกว่า ถูกกว่าจีน แม้แต่จีนยังต้องมาซื้อเทคโนโลยี automation ของอเมริกา เพราะฉะนั้น การที่ซีพีไปลงทุนผลิตหมู ผลิตไก่ที่อเมริกา จึงเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะได้เทคโนโลยี automation นี้มา สิ่งเหล่านี้ยังเป็นข้อ ได้เปรียบของอเมริกาที่เราควรรู้ นโยบาย make America great again ของทรัมป์ ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการช่วยธุรกิจ อุตสาหกรรมใน Rust Belt เท่านั้น แต่อเมริกาจะขายทั้งเทคโนโลยีชั้นสูง และการเกษตรที่ผลิตแบบใหม่ ด้วย เรื่องปัญหาที่จะมาครอบงาเศรษฐกิจไม่ใช่มีแต่จีนที่จะมากินเรียบ (winner takes all) อเมริกานั้น ถ้ามีโอกาส ก็จะทาเหมือนกัน นี่คือเกมการค้าระหว่างประเทศ และไทยเองก็มีโอกาสจะทาได้ และ ควรจะทาถ้าเราจะมีบทบาทสาคัญในเศรษฐกิจภายในภูมิภาคหรือเศรษฐกิจโลก ในยุคที่ทรัมป์เข้ามาเป็นประธานาธิบดีนี้ คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมาก อาจจะมากกว่าที่เรา คิดด้วย ดูจากแนวคิดของทรัมป์คือต่อต้านพหุภาคีและต่อต้านโลกาภิวัตน์ ส่วนไทยเราก็เอนเอียงไป ในทางต้อนรับพหุภาคีและโลกาภิวัตน์  อเมริกาจะกลับมาใหญ่อีกครั้งตามนโยบายของทรัมป์ ได้จริงหรือ ที่ผ่านมา อเมริกามีนโยบายสนับสนุน advance technology จึงได้ศึกษากรณีของบริษัท Apple ว่าสร้างการจ้างงานต่อคนอเมริกันจริงหรือ? ได้ข้อสรุปว่าบริษัท Apple หัวใจอยู่ที่แบตเตอรี่ เขาจึงศึกษา ต่อว่าการทาแบตเตอรี่ จริงๆ แล้วการจ้างงานอยู่ที่ไหน พบว่ามีการแบ่ง supply chain และส่วนที่จ้าง งานมากที่สุดไม่ได้อยู่อเมริกา กลับอยู่ที่ประเทศกาลังพัฒนาหรือประเทศด้อยพัฒนา แต่ส่วนที่มีส่วนแบ่ง ตลาด ทาเงินได้มากสุดจะเก็บไว้ที่อเมริกา การทาแบบนี้เป็นแนวคิดแบบโลกาภิวัตน์ ซึ่งมีวิธีคิดที่คิดถึง แต่เม็ดเงิน ไม่ได้คานึงถึงการจ้างงานว่าเกิดการจ้างงานมากที่สุดตรงไหน ดังนั้น คนของทรัมป์อาจจะ คิดถึงจุดนี้ รวบเอางานทั้งหมดมาไว้ที่อเมริกา ยกเว้นแค่ส่วนที่เป็นทรัพยากรเริ่มต้นที่ย้ายไม่ได้ แต่หาก
  • 14. 10 อเมริการวบเอางานทั้ง supply chain มาทาเองจริง อาจจะช่วยได้แค่ในการลดการนาเข้า แต่จะให้ แข่งขันในตลาดจนกลายเป็นกาไรมหาศาลคงไม่ได้ การที่อเมริกาจะใหญ่ขึ้นมาได้ หัวใจสาคัญมีสองอย่าง คือ อเมริกาลดหนี้ได้ และอเมริกาต้อง ได้เปรียบดุลการค้าทั่วโลกเหมือนสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ใหม่ๆ แต่การผงาดขึ้นของจีน อินเดีย และประเทศฝั่งตะวันออก จะสามารถแข่งขันในตลาดเทคโนโลยีขนาดกลางได้หมด ดังนั้น สิ่งเดียวที่ อเมริกาได้เปรียบคือ advance technology ซึ่งต้องดูว่าอเมริกาจะจัดการกับ advance technology แบบ ไหน ถ้าอเมริกายังทาเหมือนเดิม หรือที่บริษัท Apple เคยทา ก็ช่วยได้แค่ในระยะสั้น แต่ระยะยาวช่วย อะไรไม่ได้มาก  หากจีนขึ้นมามีบทบาทแทนอเมริกาจริง จะส่งผลกระทบอะไรกับไทย และจะช่วย สถานการณ์ไทยกับอาเซียนให้ดีขึ้นไหม ในกรอบของโลกาภิวัตน์ บริษัทข้ามชาติจะเคลื่อนย้ายทุนและเทคโนโลยีมาจ้างงานคนใน ประเทศพัฒนา ในขณะเดียวกัน ก็จะเอาประเทศตัวเองมาซื้อสินค้า เช่น รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ หรือ สินค้า hi-tech ซึ่งกรณีนี้ ถ้าเป็นจีน จีนจะไม่เอาสินค้ามาผลิตในไทย เพราะเขามีแรงงานจานวนมาก เพราะฉะนั้น กรณีนี้ หากอเมริกาฟื้นไม่ได้ แล้วจีนเข้ามาแทนอเมริกา บทบาทที่เราหวังว่าจีนจะเป็นผู้ให้ ทุน เทคโนโลยี และเป็นตลาดด้วย จะเป็นได้แค่ครึ่งเดียว คือ ให้ทุนและเทคโนโลยี แต่ไม่มีตลาด ดังนั้น สิ่งที่เราควรทา คือควรจะดูว่าศักยภาพจริงๆ ของเราที่จีนทาแทนหรือแย่งไป ไม่ได้คืออะไร สิ่งแรกคือ การเกษตร ซึ่งเป็นรากฐานของเรา หากเราจะทาไทยแลนด์ 4.0 เราต้องมอง สิ่งที่เป็นรากฐาน เป็นความชานาญของเรา เรามีความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ หากจัดการดีๆ จะ สามารถแข่งขันได้ แต่ปัญหาคือ เราจะเพิ่มมูลค่าสินค้าเหล่านี้อย่างไร และจะทาตลาดจีนหรือตลาด ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างไร นี่คือสิ่งที่เราละเลยมาก นอกจากนี้ สิ่งที่เราจะแข่งได้อีกอย่างคือ ความรู้ด้านการแพทย์และ hospitality industry (อุตสาหกรรมการให้บริการ) รวมไปถึงการดูแลผู้ป่วย การผลิตยา อนามัย และ life science (การนา ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ดูแลสุขภาพ) เรามีทรัพยากรบุคลากรด้านการแพทย์ พยาบาล เภสัชที่ เข้มแข็งมากพอ บวกกับองค์ความรู้ด้านชีวภาพ สมุนไพร ซึ่งสามารถต่อยอดสินค้าที่เป็น brand ดั้งเดิม ของเราจริงๆ ที่สามารถส่งออกทั่วโลกได้ ตัวอย่างเช่น กระทิงแดง ซึ่งเป็นความรู้ทางด้านอุตสาหกรรม ยา และผลิตภัณฑ์ของบริษัท Asian Pharmaceuticals ที่สกัดสารจากเปลือกมังคุดแล้วทาเป็นยา ถ้าเป็น ความรู้แบบนี้เราแข่งได้แน่นอน โดยมีจีนเป็นตลาดใหญ่ แต่ต้องระวัง ต้องคิดให้ลึกซึ้งว่าทาอย่างไร value chain ต้องอยู่กับเราทั้งหมด ไม่ให้จีนมาแทรกได้ ประเด็นสุดท้าย คือ พลังงาน ความมั่นคงทางพลังงานต้องคานึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย โดยเฉพาะเรื่องความมั่นคงทางสังคม แต่ขณะนี้ประเทศไทยละเลยเรื่องความมั่นคงทางสังคมอย่าง รุนแรง เป็นเหตุผลว่าทาไมเราถึงไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ได้ การสร้างโรงไฟฟ้าทุกครั้งคือการ
  • 15. 11 พังทลายของชุมชน เพราะเราไม่ได้พูดถึงประเด็นนี้ ไม่ได้ทาความเข้าใจกับชาวบ้าน ไม่ได้คานึงถึงความ ปลอดภัย ความมั่นคงของชาวบ้านในพื้นที่ ในขณะที่ประเทศที่เจริญแล้วอย่างญี่ปุ่นหรือเยอรมนี ที่มีการ เคารพสิทธิมนุษยชนดีกว่า กฎหมายสิ่งแวดล้อมสูงกว่า มาตรฐานสูงกว่า การบังคับใช้กฎหมายรุนแรง กว่า แต่เขาสร้างได้ เพราะเขาให้ความสาคัญประเด็นความมั่นคงทางสังคมสูงมาก แต่ของเราเป็นศูนย์  มองวิกฤติอเมริกาให้เป็นโอกาสของไทย ในวิกฤตของอเมริกา จังหวะนี้เป็นโอกาสของไทย ซึ่งภาคเอกชนเห็นและไปก่อนแล้ว ภาคเอกชนถนัดเรื่องมองโอกาสจากวิกฤต โดยไม่ได้มานั่งวิเคราะห์ระบบโครงสร้างโลกอะไรมากนัก เช่น บริษัทซีพี วันนี้ไปลงทุนในอเมริกาแล้ว โดยบอกกับอเมริกาว่า จะไป make America proud again ด้วยการไปผลิตอาหารที่อเมริกาส่งออกไปทั่วโลก เมื่อหลายสิบปีก่อน อาหาร made in USA จาพวก อาหารแช่แข็งมีบทบาทในโลกมาก แต่วันนี้ซีพีกล้าคิดถึงขั้นว่า ประเทศไทยจะไปช่วยอเมริกาผลิต อาหารให้แก่โลก นี่เป็นความคิดที่ก้าวกระโดดที่เกิดขึ้นมาได้จากวิกฤตที่ในวันนี้การผลิตในอเมริกาซบ เซา นี่จึงเป็นตัวอย่างของโอกาสในวิกฤตที่บริษัทเอกชนมองเห็น ซึ่งรัฐไม่ได้สนับสนุน และเอกชนทา อะไรไปหลายอย่างโดยที่รัฐไม่รู้ ต่อไปเอกชนจะต้องพึ่งพารัฐน้อยลงๆ ในการไปทาตลาดในที่ต่างๆ ใน โลก อย่างไรก็ตาม เอกชนก็อยากจะเห็นไทยมีบทบาทมากขึ้นในระเบียบเศรษฐกิจของโลกมากขึ้น ซึ่ง ทุกวันนี้แม้แต่ในเออีซีไทยก็มีบทบาทน้อยลง ไทยมี commitment ต่อเออีซีลดลง ทั้งที่ตาแหน่งเราอยู่ ศูนย์กลางอาเซียน แต่พฤติกรรมการปฏิบัติตัวของเรามีแต่พูด เมื่อสองปีที่แล้ว (2558) ตอนจะเข้าเออีซี ก็ไม่ทาอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ถึงเวลาแล้วที่ไทยจะร่วมมือกันระหว่างรัฐและเอกชน เพื่อที่จะมาช่วยเสริมบทบาทรัฐในการคิด หาทางให้ไทยมีบทบาทนาในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของโลก เพราะเอกชนถนัดเรื่องมองโอกาสจาก วิกฤตเพื่อความอยู่รอด จะช่วยให้มองเห็นหนทางที่จะเอาประโยชน์อะไรให้ประเทศได้มากขึ้น แต่รัฐต้อง สนับสนุน การสนับสนุนจากรัฐซึ่งไม่ใช่เรื่องเงิน หรือเพียงแต่การดูแลรับรองของหน่วยงานไทยใน ต่างประเทศ แต่หมายถึงว่ารัฐจะมียุทธศาสตร์อย่างไรในระดับนโยบายที่จะฉกฉวยโอกาสจาก สถานการณ์โลกที่เป็นอยู่ เพราะเอกชนนั้นก็อยากเห็นประเทศไทยมีบทบาทมากขึ้นในระเบียบเศรษฐกิจ ของเออีซีหรือของโลก แต่จะมีบทบาทนาได้ก็ต้องมีทิศทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนของประเทศจากรัฐเสียก่อน ความชัดเจนของนโยบายที่ต้องการจากรัฐ ตัวอย่างเช่น ทรัมป์ มีนโยบายดึงเหล่าบริษัทข้าม ชาติของอเมริกากลับมาลงทุน เพื่อสร้างงานในประเทศ กระตุ้นเศรษฐกิจอเมริกากลับมา โดยกาหนด มาตรการจูงใจต่างๆ และกาหนดบทลงโทษบริษัทที่ไม่ทาตามไว้ชัดเจน เป้าหมายแรกของเขาคือ บริษัท อเมริกาที่ไปลงทุนในเม็กซิโก เพราะเม็กซิโกเป็นฐานการผลิตใหญ่ แย่งงานอเมริกันไปมาก แบบนี้คือ ทิศทางจากรัฐที่เอกชนต้องการเห็น
  • 16. 12  ทิศทางของยุทธศาสตร์ชาติกับมิติใหม่ด้านความมั่นคง ปัจจุบันไทยเรามีมุมมองด้านความมั่นคงเปลี่ยนไปแล้ว ตอนนี้เราไม่ได้มองในมุม traditional security หรือ non-traditional security แต่เราจะมองในลักษณะที่เป็น comprehensive security (ความ มั่นคงสมบูรณ์แบบ) ซึ่งจะรวมเรื่อง social security, political security, economic security, และ military security เพราะฉะนั้น ยุทธศาสตร์ชาติทั้งฉบับจะเกี่ยวกับความมั่นคงทั้งหมด จะไม่มีการแยก ยุทธศาสตร์ความมั่นคงออกมาแบบเมื่อก่อน เพียงแต่ว่าจะมียุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงเฉพาะด้านที่เรา เห็นว่ามีภัยคุกคามชัดเจน หรือมีปัจจัยที่จะกระทบต่อความมั่นคงในมิติต่างๆ ชัดเจน เช่น มีปัญหาเรื่อง ความแตกแยกซึ่งจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การเมือง และทางสังคม ซึ่งเราให้ ความสาคัญกับเรื่องนี้ ถือเป็นเรื่องเร่งด่วน ที่พิจารณาแล้วว่าจะเป็นความมั่นคงเฉพาะด้านในอนาคต ต่อไป ดังตัวอย่าง หากมองในระดับมหภาค อย่างแรกคือเรามีความมั่นใจว่าเราอยากจะพัฒนาอาเซียน ให้เข้มแข็งมากขึ้น นี่คือผลประโยชน์ของไทย เพียงแต่ว่าเราต้องพิจารณาว่าจีนกับอเมริกามี ผลประโยชน์ที่ตรงกันไหม หรือตรงกับเราไหม จีนกับอเมริกาต้องการให้อาเซียนเข้มแข็งหรือต้องการให้ อาเซียนอ่อนแอ หากเราตีความว่าอเมริกาต้องการให้อาเซียนอ่อนแอมันก็จะเกิด conflict of interest กัน ดังนั้น ประเด็นสาคัญคือ เราจะต้องพยายามตีความว่าจริงๆ แล้ว อเมริกาต้องการอะไร หากพูดในด้านการทหาร จะมีการตั้งสมมติฐาน และพิสูจน์สมมติฐานด้วยตัวชี้วัด ปรากฏการณ์ การ แถลง และการดาเนินการของอีกฝ่าย และพิจารณาสองประเด็น คือเจตนารมณ์และศักยภาพ ถ้าเขามี เจตนารมณ์ที่จะทาให้อาเซียนอ่อนแอ แล้วเขามีศักยภาพที่จะทาได้หรือไม่ เมื่อทราบเจตนารมณ์และ ศักยภาพ เราต้องมี action-reaction เช่น สมมติว่าอเมริกาจะมาทาให้อาเซียนอ่อนแอ แต่เราตั้งใจทาให้ อาเซียนเข้มแข็ง เราควรจะมี action มียุทธศาสตร์อย่างไรบ้าง เรามีเครื่องมือหรือพลังแห่งชาติด้านไหน ที่เราจะสามารถใช้ในการ leverage และทาให้เรื่องนี้เกิดขึ้น รวมทั้ง multilateralism ด้วย ในการกาหนด action-reaction หรือยุทธศาสตร์ เราต้องกาหนดให้ชัดเจน โดยใช้การวิเคราะห์ที่ ชัดเจน ซึ่งในอนาคต ยุทธศาสตร์ชาติจะมีระบบข่าวกรองยุทธศาสตร์ชาติที่จะมาสนับสนุนการพัฒนา แผนยุทธศาสตร์ชาติ เช่น สถาบัน think tank เป็นมันสมองในการทา strategic outlook และวิเคราะห์ ผลกระทบของสภาวะแวดล้อมในอีก 20 ปีข้างหน้า เพื่อจะตอบสนอง และใส่เข้าไปในยุทธศาสตร์ชาติที่ จะเกิดขึ้นในอนาคต จะทาให้การพูดคุยของเวทีเกิดประโยชน์เป็นรูปธรรม อีกประเด็นคือ เรามีความตั้งใจที่จะทาให้อาเซียนเข้มแข็ง ต้องการใช้อานาจต่อรองของอาเซียน แต่เราสามารถประเมินความเข้มแข็งของอาเซียนได้หรือไม่ อาเซียนมี 3 เสาหลักแต่พลังอานาจของ อาเซียนนั้นอยู่ที่ไหน จุดไหนทีเราจะผลักดันได้ หรือหากมีพลังอานาจของอาเซียนด้านใดด้านหนึ่งที่ ด้อยหรือไม่พอ เราจะสามารถมีแผนที่จะพัฒนาพลังอานาจด้านนั้นๆ ของอาเซียนให้เข้มแข็งขึ้นได้
  • 17. 13 หรือไม่ นี่คือสิ่งที่เราต้องพยายามคิดกันและผลักดันให้ออกมาเป็นรูปธรรม และทาออกมาเป็น action plan แบบทีเรามี influence เพราะเราต้องการพึ่งพาพลังของอาเซียน  โลกของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกาลังเปลี่ยนผ่านจากยุคพหุภาคีนิยมไปสู่ยุค ทวิภาคีนิยมมากขึ้น โลกของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกาลังเปลี่ยนผ่านจากยุคพหุภาคีนิยมไปสู่ยุคทวิ ภาคีนิยมมากขึ้น กล่าวคือชาติมหาอานาจอย่างอเมริกากาลังจัดรูปแบบในการเข้าสู่เวทีโลกครั้งใหม่ที่ อานาจต่อรองขึ้นอยู่กับผลประโยชน์และความมั่นคงของชาติ โดยให้ความสนใจกับค่านิยมต่างๆ เช่น ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน น้อยลง แต่สนใจเพียงผลประโยชน์ที่ชาติต่างๆ จะสามารถมอบให้อเมริกา ได้เท่านั้น และอเมริกายังมีท่าทีที่แข็งกร้าวขึ้นในการรักษาจุดยืนของตน ดังเช่นการท้าทายนโยบายจีน เดียวโดยตรงของประธานาธิบดีทรัมป์ ในภาวะที่ผันผวนเช่นนี้ อาเซียนและภูมิภาคเอเชียตะวันออก จึงยิ่งมีความจาเป็นที่ต้องสอดประสานกันและสร้างวิสัยทัศน์ที่เหมาะสม ต้องเร่งจัดการปัญหา ความขัดแย้งภายในภูมิภาคให้เสร็จสิ้นสันติได้โดยไว รวมถึงไทยเองก็ต้องปรับปรุงระบบ ราชการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อทาให้การรักษาและเพิ่มพูนผลประโยชน์ของตนนั้นยังสามารถ ดาเนินต่อไปได้อย่างดี
  • 19. 15 4.1 การปรับตัวกับภายนอกประเทศ  ไทยต้องกาหนดท่าทีที่ชัดเจนในเวทีโลก และใช้ทาเลที่ตั้งให้เป็นประโยชน์ ถึงเวลาที่ไทยจะต้องมีท่าที (position) ที่ชัดเจนในเวทีโลก ว่าจะทาอย่างไรที่เราจะแสดงบทบาท นาในอาเซียน หรือในเวทีพหุภาคีอื่นๆ ที่อาเซียนจะมีบทบาทเป็นผู้นาได้ เพื่อเป็นตัวช่วยผลักดัน ประโยชน์ของไทยในเวทีโลก ต้องรู้จักเลือกเวทีที่จะเป็นประโยชน์กับเรา และเราจะมีบทบาทเด่นได้ ซึ่ง จะได้ผลมากกว่าเข้าไปร่วมเฉยๆ โดยไม่มีน้าหนัก และต้องระวังบางเวที เช่น RCEP ไม่ควรเข้าไป ตอนนี้ เพราะจะกลายเป็นเข้าข้างจีน การกาหนดท่าทีนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องของกระทรวงต่างประเทศคิดเท่านั้น แต่ต้องหลายหน่วยงาน ช่วยกันคิด และการกาหนดท่าทีนี้ไม่ใช่การคิดว่าจะไปอยู่กับจีนหรืออเมริกาดี เพราะสถานการณ์ยุคนี้ ไม่ใช่สงครามทางเศรษฐกิจแบบยุคสงครามเย็น ที่จะต้องมีค่ายมีฝ่าย แต่รอบนี้เป็นสงครามทาง เศรษฐกิจที่มีสมรภูมิทั่วทั้งโลก ดังนั้น หลักการคือ ที่ไหนดี มีโอกาส เราก็ไป ซึ่งย้าว่า ที่ผ่านมาภาค ธุรกิจคิดเปลี่ยนวิกฤตมาเป็นโอกาส และทาอะไรไปมากแล้ว แต่คราวนี้ต้องมาคิดว่าทั้งประเทศ โดยเฉพาะภาครัฐนั้นจะเปลี่ยนสถานการณ์อย่างไรให้เป็นโอกาส โดยร่วมเรียนรู้ ร่วมคิดกับ เอกชน เรื่องการมีท่าทีที่ชัดเจนในโลกควรดูตัวอย่างจีน ซึ่งยึดอยู่กับเวทีพหุภาคีอย่าง BRICS และ G20 เป็นหลักในการส่งเสริมประโยชน์ของประเทศจีนในโลก และยังมีเวทีของตัวเองคือ One Belt One Road และมีธนาคาร AIIB เพื่อจะทาให้เรื่องที่เขาบอกว่าทาได้หรือจะทา กลายเป็นเรื่องจริง เวลานี้รถไฟจาก จีนไปลอนดอนเสร็จแล้ว และโครงการอื่นๆ ก็จะสาเร็จตามมา ไทยเราควรใช้ทาเลที่ตั้งมากาหนดทิศทางและท่าทีของเราในการต่างประเทศด้วย อเมริกาใน ยุคทรัมป์ไม่น่าจะทิ้งไทย เพราะเขายังมองว่าภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitics) ของเราสาคัญต่อเขา ตัวอย่างเช่น หนึ่งในจุดที่อเมริกาสนใจคือท่าเรืออู่ตะเภา ซึ่งเวลานี้รัฐบาลไทยกาลังผลักดันจะให้เป็นจุด ยุทธศาสตร์สาคัญใน East-West Corridor โดยพยายามจะทาเป็น 1 Airport 2 Systems คือใช้เป็นทั้ง สนามบินด้านการทหารและพาณิชย์ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางด้านการบินและการซ่อมบารุงอากาศยาน แต่ อเมริกาอเมริกายังไม่ยอมให้ใช้เป็นสนามบินด้านการทหาร ดังนั้น ไทยควรใช้ข้อได้เปรียบด้านทาเลที่ตั้ง มากาหนดทิศทาง ท่าทีของเราในการต่างประเทศ  ไทยควรเล่นบทบาททั้งพหุภาคีและรัฐชาติ ไทยควรเล่นทั้งพหุภาคีและรัฐชาติ เพราะเราเป็นประเทศเล็ก ก็คงต้องอาศัยอาเซียน หรือ East Asia Regionalism ในรูปแบบใดก็แล้วแต่ กระนั้นไทยก็ต้องมีบทบาทของตัวเองด้วย เพราะยุคนี้เป็นยุค ตัวใครตัวมัน ไทยต้องกระตือรือร้นที่จะเล่นบทบาทของตนเอง และที่ผ่านมาการเล่นเกมความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศโดยอัตวินิจฉัยของไทยเอง ก็พาบ้านเมืองรอดมาแล้วหลายครั้ง เช่น สงครามโลกครั้งที่
  • 20. 16 สอง ไทยไม่แพ้ตามญี่ปุ่น หรือการที่เรากล้าเปลี่ยนจุดยืนจากที่สู้กับฝรั่งเศสในสมัยรัชกาลที่ 5 มาอยู่ฝ่าย เดียวกับฝรั่งเศสในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยสรุปคือ เรามีประวัติโดดเด่นในการมีจุดยืนของตนที่พาให้เราเอา ตัวรอดมาได้ ในสมัยนี้เราก็ควรทาเช่นนั้นการเอาตัวให้รอดโดยมีอัตวินิจฉัยของตนเอง ขณะเดียวกันก็ เล่นในระดับพหุภาคีควบคู่ไปด้วย ข้อสังเกตประการหนึ่งคือ ที่ผ่านมา ไทยเราใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์กับอเมริกาน้อยกว่า หลายชาติ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ที่ไปเอาข้อมูล เทคโนโลยี ไปศึกษาจากอเมริกามากกว่าเรา ทั้งๆ ที่ เรามีความสัมพันธ์กับอเมริกามาถึง 180 ปี ข้อเสนอแนะคือ อะไรที่เราขอจากอเมริกาไม่ได้ ให้ลองขอ จากแคนาดา เพราะแคนาดาเป็นประเทศที่ได้รับอะไรจากอเมริกาไปมาก การใช้กรอบพหุภาคีให้เป็นประโยชน์นั้น สาคัญมากต่อการที่ไทยจะยืนอยู่ด้วยตนเองได้ ใน กรอบพหุภาคีนี้ แน่นอนว่าอาเซียนเป็นส่วนที่สาคัญ แต่นอกเหนืออาเซียนไปก็ยังมีกรอบพหุภาคีอื่นที่ เราควรเข้าไปร่วมอย่างหนักแน่น เช่น East Asian Community (EAC) ซึ่งเป็นเขตการค้าที่รวมเอเชีย ตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้ด้วยกัน มีศักยภาพมาก เพราะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากร ในทุกๆ ด้าน  เพิ่มอานาจต่อรองของไทยโดยร่วมมือกับอาเซียน ในปัจจุบันโดยลาพัง ประเทศไทยแต่เพียงอย่างเดียวนั้นอานาจต่อรองและศักยภาพใน การแข่งขันของเรานั้นไม่สูงมากนัก แม้ประเทศรอบข้างของเราจะสามารถมีอัตราการการเติบโตทาง เศรษฐกิจอยู่ที่ 6-7 % ต่อปีก็ตาม ด้วยเหตุนี้ หากเราสามารถใช้ประโยชน์จากการที่ประเทศเราตั้งอยู่ใจ กลางอาเซียนท่ามกลางประเทศที่เศรษฐกิจกาลังเติบโตและอยู่ไม่ห่างจากจีนและอินเดียที่มีเศรษฐกิจ ขนาดใหญ่ได้ เราจะจะสามารถยกระดับเศรษฐกิจของเราได้อย่างรวดเร็ว แต่เดิมนั้นคติหนึ่งของอาเซียน เมื่อมองการพัฒนาของจีนคือทาอย่างไรหากจีนเจริญเติบโตแล้วอาเซียนต้องเติบโตตามไปด้วย เมื่อมอง จากมุมของไทยเราก็ต้องพยายามทาให้การเจริญเติบโตของอาเซียนนั้นส่งผลดีกับการเจริญเติบโตของ เราให้ได้ ภายหลังจากที่อาเซียนได้รวมทั้ง 10 ชาติเข้าเป็นสมาชิกได้สาเร็จ ก้าวต่อไปคือการสร้างความ เข้มแข็งของอาเซียนให้เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม อาเซียนไม่ได้มีแต่ด้านของการร่วมมือเท่านั้น ยังมีอีกด้าน หนึ่งคือ การแข่งขันกันเองระหว่างประเทศในกลุ่มสมาชิก ประเทศใดที่มีความสามารถในการแข่งขันที่สูง กว่าย่อมได้รับผลประโยชน์ที่มากกว่า แม้ปัจจุบันขนาดเศรษฐกิจของเราจะเป็นอันดับสองของภูมิภาค แต่หลาย ๆ สิ่งนั้นเรากลับได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น เช่น การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment) ที่เราได้น้อย แม้เราจะมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีซึ่งเป็นรองเพียงสิงคโปร์เท่านั้นและมี รูปแบบเศรษฐกิจที่หลากหลายที่สุดก็ตาม
  • 21. 17 4.2 การปรับตัวภายในประเทศ  สร้างความตระหนักว่าเราอยู่ในภาวะความจาเป็นเร่งด่วน (Sense of Urgency) ทางรอดที่สามารถนาพาประเทศไทยให้พ้นวิกฤตินี้ไปได้คือ การมี Self-Organization ซึ่งการ จะผลักดันสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมคือการสร้าง Sense of Urgency คือการตระหนักถึงความ จาเป็นเร่งด่วนที่ต้องปรับตัวและหันหน้าเข้าหากันเพื่อความอยู่รอดภายใต้ The Moral Equivalent of War ที่เป็นสภาวะประหนึ่งสงครามที่รัฐไทยต้องอยู่รอดภายใต้บริบทที่กาลังเปลี่ยนแปลงไป ถ้าคนไทย ไม่ตระหนักว่าเรากาลังอยู่ในภาวะจาเป็นเร่งด่วนที่ต้องปรับตัวแล้วก็ยากที่เราจะรอดได้อย่างปลอดภัย อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้นั้นไม่ใช่เรื่องที่จะฝากความหวังไว้ที่ภาครัฐอย่างเดียวแต่ต้องให้ทุกฝ่ายร่วมมือกัน ซึ่งรัฐเองแม้จะทาได้เพียงบางอย่างเนื่องจากไม่มีอานาจที่เพียงพอ แต่ก็มีอานาจพอที่จะกีดกันไม่ให้คน นอกเข้ามายุ่งเกี่ยวได้ นี่เป็นลักษณะของรัฐมาแต่ดั้งเดิม ดังที่ Machiavelli นักคิดคนสาคัญของโลก ผู้ประพันธ์หนังสือ The Prince ได้กล่าวไว้ว่า “The pope is so weak that he cannot unite Italy, but he is so powerful to prevent anybody to do it” เนื่องจากในสมัยนั้นอิตาลีมีความแตกแยกมาก ซึ่งโป๊ปเองไม่สามารถที่จะรวบรวมผู้คนให้เป็นหนึ่งเดียวได้ แต่ก็มีกาลังมากพอที่จะกีดกันมิให้ผู้อื่นเข้า เกี่ยวพันกับการปกครอง ซึ่งการที่จากัดการปกครองให้อยู่ในมือรัฐอย่างเดียวนั้นไม่ใช่เรื่องที่เหมาะสม กับยุคสมัยอีกต่อไป ฉะนั้นทุกวันนี้คนไทยทั้งหมดต้องตื่นตัว สร้าง Sense of Urgency และสร้าง Sense of Purpose ที่เราตระหนักในเป้าหมายร่วมกัน รวมถึงสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ร่วมกันจากทุกภาคส่วน  กระจายทรัพยากรอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม เรื่อง New Security ที่รัฐบาลกาลังมอง อะไรคือที่มาของเสถียรภาพที่เราพูดถึง หากเป็นในยุค สมัยกรีกนั่นคือความยุติธรรมที่ต้องเกิดขึ้นในทุกระดับ มี Distributive Justice มีการกระจายทรัพยากร และโอกาสที่เท่าเทียมและเป็นธรรม เหล่านี้จะนามาซึ่งเสถียรภาพ และ National Security ที่แท้จริง  สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของประเทศโดยประชาชนมีส่วนร่วม ในเรื่อง Diversity นั้นต้องพิจารณาว่า ทาอย่างไรจึงจะเกิดความรู้สึกร่วมของความเป็นเจ้าของ ประเทศโดยประชาชนส่วนรวม มีความหวังสาหรับการสร้างอนาคตร่วมกัน สิ่งที่อันตรายคือการมีกรอบ คิดว่าคนไทยไม่พร้อมสาหรับประชาธิปไตย นักการเมืองไม่มีประสิทธิภาพ บ้านเมืองแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ฉะนั้น จึงต้องปิดพื้นที่ทางการเมืองแล้วรวบอานาจไว้ที่ส่วนกลางเพื่อกันไม่ให้คนนอกเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อสร้างความสงบ การมีกรอบคิดเช่นนี้อันตรายเพราะจะทาให้คนรู้สึกอึดอัด เมื่อลงรายละเอียดแล้วคน ไม่มีส่วนร่วมก็จะเกิดความรู้สึกว่าปัญหานั้นแก้ไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ การเปิ ดพื้นที่เพื่อประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมจึงจาเป็นเพื่อจะผ่อนคลายความรู้สึก บีบคั้น โดยเฉพาะหากเราต้องการสร้าง National Competitive สร้างประชาธิปไตยที่มี Transparent และ Accountability อย่างแท้จริง ต้องเริ่มที่ฐานรากคือการสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกันของ
  • 22. 18 ประชาชนเสียก่อน ด้วยการสร้างพื้นที่ใหม่ทางการเมืองที่เป็นการเมืองที่ถูกต้อง เป็นประชาธิปไตยที่ ถูกต้อง มิใช่การผูกโยงความชอบธรรมด้วยเสียงส่วนใหญ่เพียงเท่านั้น มิใช่การปิดพื้นที่เพื่อไม่ให้เกิด ปัญหา เราจะรอดในสิ่งที่มองได้ว่าเป็นสงครามครั้งนี้ได้หรือไม่ อยู่ที่เราจะ Self-Organized หรือไม่ ลูกหลานในอีก 50 ปีข้างหน้าจะจดจาเราอย่างไรขึ้นอยู่กับว่าเราจะใช้โอกาสในวันนี้อย่างไร  สร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยพลังสามองค์ประกอบ เวลานี้เป็นโอกาสสาคัญที่จะยกระดับประเทศไปสู่การเป็นผู้นาในภูมิภาค เราต้องดึงอาเซียนให้ ร่วมมือกันให้มั่นคง อาเซียนมีประชากรกว่า 600 ล้านคน มากกว่าอเมริกาสองเท่า และยังมากกว่า ประชากรในสหภาพยุโรป ซึ่งภูมิภาคของเรามีสันติภาพพอควร สามารถเป็นภูมิภาคที่ผลักดันให้เกิด สันติภาพในโลกได้ โดยเฉพาะไทยที่ไม่มีความบาดหมางทางประวัติศาสตร์กับชาติใดมากนักที่ยังส่งผล ถึงปัจจุบัน นี่จึงเป็นจุดเด่นที่ไทยสามารถใช้เพื่อยกศักยภาพของไทยให้มากขึ้น แต่เรื่องนี้นั้นเราจะหวัง ภาครัฐอย่างเดียวไม่ได้ เป็นประเด็นใหญ่ที่ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก ซึ่งเราสามารถปฏิบัติได้โดย ต้องใช้สามเรื่องประกอบกัน ประการแรกคือความรู้ เราต้องรู้เรื่องประเทศต่างๆ อย่างแท้จริง เช่น ในอาเซียน จีน และ ประเทศต่าง ๆ ต้องเป็นการหาความรู้อย่างจริงจัง มีการจัดเก็บความรู้อย่างเป็นระบบต่อเนื่อง มิใช่การรู้ แบบเพียงคร่าว ๆ ที่ไม่สามารถใช้งานอะไรได้มากนัก ประการต่อมาคือการสร้างการเคลื่อนไหวทางสังคมที่เคลื่อนไหวเพื่อแก้ปัญหาประเทศ ต้องสร้างการสื่อสารที่ดีระหว่างกลุ่มต่างๆ ในสังคม ระหว่างภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความ ร่วมมือระหว่างกัน ประการที่สามคือภาครัฐ แม้ภาครัฐจะขาดประสิทธิภาพและมีจุดอ่อนอยู่หลายจุด แต่รัฐนั้นถือ กฎหมายที่จาเป็นต่อการพัฒนาประเทศ จึงเลี่ยงการร่วมมือกับรัฐไม่ได้ สิ่งแรกที่ต้องทาคือการปฏิรูปการ วิจัยต่างๆ ให้มีเอกภาพและบูรณาการ และสร้างนักการทูตที่มีความสามารถ มีข้อมูลความรู้ รวมถึงต้อง ดึงอดีตทูตเข้ามาร่วมด้วย หากมองทางประวัติศาสตร์แล้วนักการทูตไทยมีความสามารถมาก สามารถ เจรจากับประเทศมหาอานาจเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติได้สาเร็จ การเปลี่ยนแปลงที่ดีนั้นยากที่จะสาเร็จได้ด้วยการสั่งการของผู้มีอานาจตามระบบ แต่มักจะ สาเร็จมากกว่าหากเกิดจากการก่อตัวขึ้นอย่างไม่เป็นทางการโดยผู้มีความสามารถแต่อยู่นอกระบบรัฐ ดังเช่นการจัดประชุมครั้งนี้ จัดอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นภาคีที่เกี่ยวข้องกับหลายองค์กร และภาคธุรกิจ ควรเข้ามาสนับสนุนเช่นกัน เพราะภาคธุรกิจไทยเข้มแข็งมาก หลายบริษัทสามารถลงทุนในต่างประเทศ ได้ เมื่อใดภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทแล้วย่อมเกิดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม หากเราสามารถสร้างภาค องค์ความรู้และการเคลื่อนไหวทางสังคมให้เข้มแข็งได้ด้วยตัวเองแล้ว ภาครัฐก็ยินดีจะสนับสนุน
  • 23. 19  จัดการเรื่องภายในประเทศตัวเองให้ดี ให้ทันและฉลาด การเข้าใจเรื่องภายนอกประเทศเป็นสิ่งที่ดี แต่เรื่องภายนอกเราจัดการได้ยาก และไม่ค่อยจัดการ ด้วย สิ่งที่ทาได้คือการจัดการเรื่องภายในประเทศตัวเองให้ดี ให้ทันและฉลาดกว่านี้ สิ่งท้าทายคือ โลกมีความผันผวนสูงมาก ยากที่จะทานาย ยากที่จะจัดการ เราจึงต้องกลับมาเริ่มที่ ตัวเราก่อน ต้องตั้งคาถามก่อนว่า จะทาอย่างไรให้ปัญญาเกิดการเคลื่อนไหวให้ทันความผันผวนของโลก ไม่อยู่นิ่ง และนาปัญญาไปปฏิบัติให้เกิดผลได้ และใครที่จะสามารถทาให้ปัญญาเกิดและนาไปปฏิบัติได้ ซึ่งไม่ใช่ระบบราชการ เราเห็นชัดแล้วว่าเป็นไปได้ยากมาก คนที่มีปัญญา ปฏิบัติได้และมีความ คล่องแคล่วคือภาคธุรกิจ แต่ธุรกิจก็ต้องเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง คานึงถึงความอยู่รอดของตนเองก่อนประเทศ ส่วนชาวบ้านหรือชุมชน ช่วงหลังมานี้ ชุมชนมีการปรับตัวขึ้นเยอะ แต่ก็อยู่ในขอบเขตของเขา เขาต้อง เอาตัวรอดเพราะมีปัญหารุมเร้า ชุมชนเก่งขึ้นจริงแต่ปัญหาของโลกก็ซับซ้อนขึ้นด้วย ทาให้เขาตามไม่ ทัน หากมองสถานการณ์ชายแดนทั้งหลาย ตัวอย่างเช่น จ.ตากที่มีชายแดนติดพม่า เราอาจมี ความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลพม่า แต่บริเวณชายแดน จ.ตาก ทหารกะเหรี่ยงเป็นคนคุม ถ้าเขาขวาง หรือไม่ยอมให้ผ่าน ทหารพม่าก็ทาอะไรไม่ได้ และต่อไปคนกลุ่มน้อยจะต่อรองกับเรามากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ คนในพื้นที่ นักการค้า นักธุรกิจชายแดน รู้เรื่องดีที่สุด ความรู้ความสามารถของข้างล่างมีอยู่ไม่น้อย แต่ไม่ถูกเสริม ไม่ถูกเติมพลัง ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังและเป็นระบบเพื่อที่จะยกระดับ ขึ้น แม้กระทั่งระบบการศึกษา เราก็ขาดระบบไปสนับสนุนอย่างจริงจัง ซึ่งคนที่ทาตรงนี้ ไม่ใช่ กระทรวงศึกษาแต่เป็นคนที่ทางานกับกลุ่มธุรกิจทั้งหลาย คนกลุ่มนี้มีปัญญาแต่ปัญญาไม่ใหญ่พอที่จะคุม ทิศทางประเทศ ในขณะที่คนที่คุมทิศทางประเทศไม่มีปัญญาพอ อาจจะรู้แต่ใช้ไม่ได้ และที่น่าสนใจคือ กลุ่มที่ควรจะเป็นปัญญา คือกลุ่มมหาวิทยาลัย กลับมีผลผลิตทางวิชาการลดลงอย่างมากในช่วง 20 ปีที่ ผ่านมา จึงเกิดคาถามตามมาว่า ปัญญาสร้างที่ไหน สร้างโดยใคร และทาอย่างไรให้ใช้ปัญญาในการสร้าง ความเคลื่อนไหว พลิกผ่าน นี่คือโจทย์ใหญ่ เพราะท้ายที่สุด การเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับมนุษย์ แล้วมนุษย์ ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงและเอาชนะปัญหาต่างๆ ได้ คือต้องมี Character and Competency เราจะ สร้างคนอย่างไรให้มีอัตลักษณ์ มีความทรหดอดทนและกล้าหาญ คนไทยนั้นมีความหลากหลาย ซึ่งเป็นจุดแข็งของเรา แต่เราไม่เคยเติมความหลากหลายให้มี ประโยชน์ ไม่เคยทาให้ดอกไม้ที่บานแสนดอกของเรางดงามและมีพลังได้ เราขาดระบบ ขาด กระบวนการเชื่อมโยง และขาดการถอดบทเรียนอย่างรวดเร็ว ทาให้เกิดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย และจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ช่องว่างเหล่านี้จะไม่มีทางลดได้ถ้าข้างล่างโตไม่ทัน อีกทั้งความรู้และปัญญาจากส่วนกลาง จากกรุงเทพก็ไม่พอรับมือกับสถานการณ์ของทุกที่ แต่ ปัญญาของข้างล่างใช้ได้พอสมควร แค่ขาดการสนับสนุน ขาดการต่อเนื่อง ขาดการเชื่อมโยง