SlideShare a Scribd company logo
1 of 38
Download to read offline
การประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 6
สร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืน
ด้วย “หลั่นล้า Economy” ได้อย่างไร
จัดโดย
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
25 เมษายน 2560
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.rsu-brain.com
บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล
ถอดความและเรียบเรียง : อุสมาน วาจิ ปลายฟ้า บุนนาค ปาณัท ทองพ่วง
ณัฐธิดา เย็นบารุง อรุณ สถิตพงศ์สถาพร
เผยแพร่: พฤษภาคม 2560
ที่อยู่
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร
กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
สารบัญ
หน้า
บทนา
สร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืน
ด้วย “หลั่นล้า Economy” ได้อย่างไร 1
- หลั่นล้าไทยคือปาฏิหาริย์ครั้งใหม่ของโลก (The New Miracle of the World) 2
- ภาครัฐตามไม่ทันความหลั่นล้าของเศรษฐกิจ 4
- การท่องเที่ยวที่ “หลั่นล้าโดยชาวบ้าน” 7
- โอกาสหนังไทยในการสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี 10
การอภิปรายแลกเปลี่ยน 12
ภาคผนวก รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม 35
บทนา
“หลั่นล้าอีโคโนมี” เป็นการนาความคิดคนอื่นมาสร้างกึ่งเล่นกึ่งจริง ที่ใช้คาว่า “หลั่นล้า” เพราะ
คนไทยมีนิสัยชอบเล่นชอบเที่ยว สนใจเรื่องความงาม ความสนุก เป็นมิตรกับคนต่างชาติ สมัยก่อนเรื่อง
หลั่นล้าเป็นเรื่องไม่ดี แต่ปัจจุบันสิ่งเหล่านี้สามารถทาเป็นอาชีพ ทาเป็นงานได้ ตอนแรกตีความคาว่า
“หลั่นล้า” ว่าหมายถึงการท่องเที่ยวเป็นหลัก แต่ภายหลังหมายรวมถึงดนตรี อาหาร สุขภาพ สิ่ง
ศักดิ์สิทธิ์ไปจนถึงมวยไทยด้วย
เดิมทีเรามองว่าการท่องเที่ยวเป็นของหวาน และมองว่าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเป็น
อาหารจานหลัก แต่ทุกวันนี้มูลค่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเกินร้อยละ 20 แล้ว เกษตรกรรมอยู่แค่ร้อย
ละ 8 และอุตสาหกรรมอยู่ที่ประมาณร้อยละ 30 ทั้งนี้ แม้มูลค่าอุตสาหกรรมจะสูงกว่าการท่องเที่ยว แต่
ในอีก 10 ปีข้างหน้า มูลค่าการท่องเที่ยวและการเดินทางจะเติบโตเร็วมากจนกระทั่งคิดเป็นหนึ่งในสาม
ของเศรษฐกิจประเทศ การท่องเที่ยวจึงนับเป็นอาหารจานหลักแล้วก็ว่าได้ ไม่ได้เป็นแค่อาหารเสริมพอ
แก้ขัดในยามเกษตรกรรมไม่ดีหรืออุตสาหกรรมหยุดชะงัก เราจึงควรคิดเป็นยุทธศาสตร์ให้มากขึ้น
เมื่อวันอังคารที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2560 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ
มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จัดเวทีประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 6 เรื่อง สร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง
ยั่งยืน ด้วย “หลั่นล้า Economy” ได้อย่างไร ณ โรงแรมหัวช้าง เฮอริเทจ ราชเทวี โดยมีนัก
ยุทธศาสตร์ นักนโยบาย นักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายวงการและสาขาอาชีพเข้าร่วม
ระดมสมองเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มใหม่ของโลกและสังคมไทย และร่วมกันเสนอแนวทาง
พัฒนายุทธศาสตร์ชาติระยะยาว เพื่อให้ประเทศไทยมียุทธศาสตร์ชาติเป็นกรอบในการพัฒนาประเทศ
อย่างมีทิศทาง เป็นองค์รวม และเตรียมพร้อมประเทศเพื่อตอบรับกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต
ในการนี้สถาบันคลังปัญญาฯ จึงได้จัดทารายงานสรุปเนื้อหาการประชุมครั้งนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่
เป็นความรู้สู่สังคม ผู้กาหนดและตัดสินใจทางนโยบาย บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทายุทธศาสตร์ชาติ
และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ในห้วงที่กาลังมีความพยายามปฏิรูปครั้งใหญ่เกิดขึ้นในประเทศไทยอยู่นี้
1
1.
สร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืน
ด้วย “หลั่นล้า Economy” ได้อย่างไร
2
หลั่นล้า Economy ของไทย
อาจารย์วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
หลั่นล้า Economy ของไทยคือปาฏิหาริย์ครั้งใหม่ของโลก (The New Miracle of the World)
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโลกกาลังมองไทยในฐานะที่เป็น The New Miracle เพราะไทยมี
อัตรารายได้จากการท่องเที่ยวเทียบกับ GDP สูงติด 10 อันดับแรกของโลก นอกจากปริมาณเงินและ
นักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นแล้ว ความหลากหลายที่เข้ามาในไทยก็มากขึ้นด้วย อย่างเช่นปีที่ผ่านมา สัดส่วน
นักท่องเที่ยวผมดายังคงมากที่สุด แม้นักท่องเที่ยวผมทองจะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมของเรา
เมื่อ 15 ปีที่แล้วไม่คุ้นเคยกับนักท่องเที่ยวผมดาเลย เราคุ้นเคยแต่กับนักท่องเที่ยวผมทองมาโดยตลอด
สาเหตุที่เราคุ้นเคยกับนักท่องเที่ยวผมทองต้องย้อนไปเมื่อสมัยสงครามเวียดนาม เพราะอุตสาหกรรม
การท่องเที่ยวของเราโตมาพร้อม ๆ กับการมาของโทรทัศน์ในโลกนี้ โทรทัศน์เปรียบเสมือน Living
Room War ของสงครามเวียดนาม เพราะเป็นช่วงที่ทุกคนใช้เวลาดูโทรทัศน์มากที่สุด ข่าวที่รายงาน
ในช่วงสงครามเย็นมากที่สุดก็คือสงครามเวียดนาม กอปรกับพื้นที่รายงานข่าวที่ปลอดภัยที่สุดก็คงจะ
เป็นกรุงเทพฯ คนทั่วโลกจึงรู้จักกรุงเทพฯ ไปโดยปริยาย
ปัจจุบันถ้านับเงินโฆษณา ประเทศที่ใช้งบโฆษณาด้านการท่องเที่ยวมากที่สุด คือ อินเดีย ซึ่งใช้
มากกว่าไทย 40 เท่า โดยใช้คาว่า “Incredible India” แต่ทุกวันนี้คนก็ยังไม่ค่อยรู้จัก ไม่รู้ว่าจะต้องไป
เที่ยวจุดไหนของเมืองอะไร รองลงมาก็เป็นเกาหลีใต้กับมาเลเซีย ใช้มากกว่าไทยประมาณ 4 - 5 เท่า
โดยมาเลเซียโฆษณาตัวเองในคาจาว่า “Truly Asia” ซึ่งเหมือนกับการใช้ “Amazing Thailand” ของบ้าน
เราที่ใช้มาสิบกว่าปี เพื่อให้นักท่องเที่ยวจดจาเราได้
กว่าร้อยละ 64 ของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในไทยนั้นเป็นนักท่องเที่ยวที่มาซ้า (Repeated
Visitors) แปลว่าเขาเคยมาแล้วเขาชอบ เขาเลยกลับมา ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา เราได้รับการโหวตสูงสุด
ในระดับโลกหลายครั้งติดต่อกัน อันดับหนึ่ง คือ Best Value for Money หมายความว่า คุณจ่ายเงิน
100 เหรียญ คุณได้ห้องนอนที่ดีที่สุดในประเทศไทยแน่นอน เมื่อเทียบ 100 เหรียญที่ไปจ่ายประเทศอื่น
เรามีค่าโรงแรมถูกที่สุดในอาเซียน แต่นี่ไม่ใช่เป้าหมายเราอีกต่อไป เราจะเปลี่ยนตัวเองเป็น Best Value
for Experience นอกจากนี้ ไทยยังได้รับการยอมรับจากอโกด้า‎ (Agoda) ว่ามีความหลากหลายของ
ห้องนอนมากที่สุดในโลก ตั้งแต่คืนละหกสิบไปจนถึงคืนละหลายแสนบาทเลยทีเดียว
3
อโกด้า‎เป็นแพลตฟอร์มดูแลเรื่องการจองโรงแรมมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศ
ไทยโดยชาวต่างชาติที่มาดาน้าแล้วเห็นโอกาสช่องทางทาธุรกิจ จึงนาไปสร้างแพลตฟอร์มสาหรับการ
จองโรงแรมขึ้นมา เมื่อลูกค้าต้องการจองโรงแรม อโกด้าจะแสดงรายการโรงแรมให้ลูกค้าเลือกบน
ช่องทางออนไลน์ว่าต้องการห้องแบบไหน ปรากฏว่า ไทยมีห้องมากกว่า 275,000 แบบ แสดงว่าคน
ออกแบบห้องในไทยมีความคิดสร้างสรรค์มาก อีกทั้งสื่อให้เห็นว่าไทยมีต้นทุนทางด้านวัตถุที่ไม่ใช่แค่
หาดทราย ทะเลหรือสวน แต่ยังมีห้องนอนที่หลากหลายมากอีกด้วย ทั้งนี้ยังไม่นับว่าอโกด้ามีรายได้หลัก
มาจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแหล่งรายได้ที่ใหญ่ที่สุดในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง
ใต้ก็มาจากประเทศไทย สะท้อนให้เห็นว่า “หลั่นล้าของไทย” นอกเหนือจากหลั่นล้าที่อยู่นอกโรงแรมแล้ว
หลั่นล้าในโรงแรมก็ลงทุนไปไกลมากจนหลั่นล้าได้ที่แล้ว
ในปัจจุบัน ชาวต่างชาติส่วนมากที่บินกลับมาเที่ยวที่ไทยเป็นประจาไม่ได้มาเพราะตื่นเต้นกับ
ความหลากหลายของห้องอีกต่อไป แต่เขาสนใจมาคุยกับคนไทยในท้องถิ่น แม้คนท้องถิ่นจะคุย
ภาษาอังกฤษไม่ค่อยเก่ง แต่ก็พอคุยรู้เรื่อง คุยสนุกและเขารู้สึกอยากจะติดตามวิถีชีวิตคน นี่เป็นสิ่งที่
สะท้อนถึงการท่องเที่ยวจิตอาสา (Voluntourism) ที่คนไทยยังไม่ค่อยรู้จัก และเป็นที่มาของอันดับสอง
คือ Best Local Friendly เพราะถึงแม้คนท้องถิ่นของเราจะไม่ค่อยเก่งเรื่องภาษา แต่มีความเป็นกันเอง
สูงมาก เช่น มอเตอร์ไซค์รับจ้าง คนขับสามล้อถีบ พอเห็นคนต่างชาติไม่รู้ทางมาถามทางก็มักพยายามที่
จะสื่อสาร สิ่งเหล่านี้ไม่ค่อยเกิดกับประเทศอื่น โดยเฉพาะประเทศที่เสียหายจากสงคราม (War-Torn
Country) ที่บังคับสั่งสอนนักท่องเที่ยวเพื่อบอกว่ามีตู้ประชาสัมพันธ์ (Kiosk) คอยให้ข้อมูล แต่ใน
ประเทศไทย นักท่องเที่ยวมักไม่ให้ความร่วมมือกับตู้ประชาสัมพันธ์ เพราะเรามองว่าตู้ประชาสัมพันธ์
เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่และเราไม่ค่อยอยากคุยกับเจ้าหน้าที่ เราอยากคุยกับชาวบ้านมากกว่า ชาวบ้าน
นั่นแหละคือคนที่ให้ข้อมูลที่น่ารักที่สุด ถูกผิดไม่เป็นไร ขอแค่ให้ได้ความรู้สึกเป็นกันเอง
เพราะฉะนั้น จึงอาจเรียกได้ว่าสังคมเราวัฒนธรรมของเรามีความ “ยืดหยุ่น” และ “ยิ้มแย้ม” ต่าง
กับการไปที่อื่น เช่น เวลาเราไปทานอาหาร ที่ญี่ปุ่นถึงเขาจะยิ้มแย้มแต่ไม่ยืดหยุ่น เพราะเราสั่งนอกเมนู
ไม่ได้ ถ้าไปยุโรป ยืดหยุ่นแต่ไม่ยิ้มแย้ม เพราะเราสั่งนอกเมนูได้ แต่เขาจะคิดเงินเพิ่ม ในทางตรงข้าม
ของบ้านเราสั่งตามใจได้ทุกอย่าง ด้วยพื้นฐานความ “ยิ้มแย้ม” และ “ยืดหยุ่น” ของเรานี่เองที่ทาให้
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเรามาไกลจนถึงขั้นเป็น “The New Miracle of the World” ฉะนั้น การท่องเที่ยว
ชุมชนจึงไม่ใช่แค่สร้างมูลค่าที่เป็นตัวเงิน แต่มันยังทาให้เราค้นพบคุณค่าในตัวเราเองด้วย
4
ภาครัฐตามไม่ทันความหลั่นล้าของเศรษฐกิจ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เกิดขึ้นมาโดยเป็นแผนกเล็ก ๆ ของการรถไฟแห่ง
ประเทศไทย อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไม่เคยอยู่ในสายตาของรัฐมาก่อนเลย จนกระทั่งมันมีรายได้ขึ้นมา
และส่วนหนึ่งมาจากการที่คณะรัฐมนตรีสั่งให้โอนมาสังกัดสานักนายกรัฐมนตรี ทาให้ ททท. มีโอกาส
นาเสนอเกี่ยวกับการท่องเที่ยวมากขึ้น เช่น มีนักท่องเที่ยว 1 ล้านคนใน พ.ศ. ไหน มีรายได้เกิน 1 ล้าน
ล้านบาทใน พ.ศ. ไหน เป็นต้น จนสานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สศช.) หรือสภาพัฒน์ได้บันทึกสถิติไว้ แต่ก็ยังไม่มีนโยบาย
สิ่งที่พิสูจน์ได้จนกระทั่งบัดนี้คือ เรามีกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา แต่เราก็ยังไม่มีข้าราชการ
ด้านท่องเที่ยว เพราะว่ากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬานั้นเป็นกระทรวงที่ท้องในห้องคลอด ในความ
เป็นจริง ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีตั้งใจทาคลอดเพียง 5 กระทรวง ได้แก่
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ซึ่งไม่มีกระทรวงการท่องเที่ยวฯ แต่เมื่อเรื่องไปถึงที่สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ทาง ส.ว. กลับบอกว่า 5
กระทรวงที่จะให้คลอดวันที่ 1 ตุลาคม จะไม่ได้เกิดหากไม่มีกระทรวงกีฬา
เนื่องจากในสมัยนั้น ส.ว. ห้ามหาเสียง ให้แจกได้แต่ใบแนะนาตัวเท่านั้น จึงไม่มีกิจกรรมทาง
วัฒนธรรมท้องถิ่นไหนที่ยิ่งใหญ่ได้เท่ากับกีฬา เพราะคนมาร่วมมากมาย มีการโฆษณา มีงานรื่นเริง มี
การค้าขายของ ทาให้สามารถเดินแจกใบแนะนาตัวได้ครั้งละมาก ๆ ทักษิณ ชินวัตรจึงนาไปปรึกษากับ
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) สุดท้ายก็ได้ “กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา” ออกมา แล้ว
ทีนี้จะเอาข้าราชการตรงไหนโอนมา เพราะ 5 กระทรวงที่ตั้งมีข้าราชการพร้อมอยู่แล้ว เช่น กระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็ไปดึงมาจากกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ กระทรวงเทคโนโลยีฯ ก็ไปดึงมาจากกระทรวงคมนาคม แต่สาหรับกระทรวงการท่องเที่ยวฯ มี
เพียง ททท. ที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่มีใครยอมเปลี่ยนสถานะจากพนักงานรัฐวิสาหกิจมาเป็นข้าราชการ
ประเทศไทยจึงไม่มีข้าราชการที่รู้เรื่องและทาเรื่องท่องเที่ยว มีแต่ข้าราชการจากกรมพละเกือบทั้งหมด
ที่มาเป็นข้าราชการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ
อย่างไรก็ตาม ข้าราชการไม่ได้เป็นคนผิด เพราะเขาไม่ได้ขอดูแลการท่องเที่ยวและไม่ได้ขอให้มี
กระทรวงกีฬา แต่ระบบการเมืองเป็นตัวตัดสินใจคลอดเด็กคนที่หก ซึ่งไม่ได้ถูกวางแผนไว้ จึงเป็นเหตุผล
ว่า ทาไมการทาใบอนุญาตขอก่อสร้างโรงแรมในปัจจุบันไม่ต้องไปที่กระทรวงการท่องเที่ยวฯ แต่ต้องไป
ยื่นที่ท้องถิ่นกับกระทรวงมหาดไทย เพราะพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) โรงแรมอยู่ภายใต้
กระทรวงมหาดไทย
5
จนผ่านไปสิบปี ภาครัฐเริ่มตระหนักได้ว่าเศรษฐกิจไทยต้องพึ่งการท่องเที่ยว และพบปัญหาว่ามี
โรงแรมเถื่อนเกิดขึ้นเป็นจานวนมาก แต่กระทรวงการท่องเที่ยวฯ กลับไม่สามารถจัดการได้ เนื่องจากไม่
มีอานาจทางกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว เช่น ธุรกิจรถบัสรับ-ส่ง
นักท่องเที่ยว เรื่องสัมปทานการวิ่งรถ มาตรฐานรถ ลักษณะรถ วิธีการจัดการทั้งหมดอยู่ภายใต้กระทรวง
คมนาคม เรือเฟอร์รี่จะข้ามไปไหนมาไหนอยู่ภายใต้กระทรวงคมนาคม หาดทรายชายทะเลทั้งหมดอยู่ใน
มือองค์การบริหารส่วนตาบล (อบต.) จะไปเที่ยวป่าเที่ยวเขาก็อยู่ในมือกรมอุทยานไม่ก็กรมป่าไม้
สถานที่ประเภทตลาดร้อยปีทั้งหมดอยู่ที่เทศบาล เป็นต้น เพราะฉะนั้น กระทรวงการท่องเที่ยวฯ จึงไม่รู้
จะบริหารอะไร “หลั่นล้าอีโคโนมี” จึงมักอยู่บนภาพโปสเตอร์เป็นหลัก เพราะกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ไม่
สามารถจัดการด้านผู้ให้บริการ (Supply Side) ที่ต้องใช้สิทธิและกฎหมายเข้าไปได้ จึงต้องหันไปทา
กิจกรรมด้านนักท่องเที่ยว (Demand Side) แทน
ด้วยเหตุนี้ สานักงบประมาณต้องหยุดภารกิจบางอย่างของ ททท. ลง เพราะเดิมที ททท. ทา
ตั้งแต่ Supply ไปจนถึง Demand ทั้งสร้างส้วม สร้างที่จอด ทาป้ายบอกทาง ศึกษารายละเอียดสถิติการ
เข้าเมือง ตลอดจนเป็นนางกวักที่กวักมือให้คนมาเที่ยว พอมีกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ขึ้นมา แม้สานัก
งบประมาณจะไม่ได้แก้ พ.ร.บ. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย แต่กาหนดว่างบประมาณที่ ททท. ได้
จะต้องนาไปทากิจกรรมด้าน Demand Side หรือเป็นนางกวักเท่านั้น หากทามากกว่านี้ สานักงานตรวจ
เงินแผ่นดิน (สตง.) จะลงโทษ ส่วนกิจกรรมด้าน Supply Side ตกเป็นความรับผิดชอบของกระทรวงการ
ท่องเที่ยวฯ แต่ทาอะไรไม่ค่อยได้ เพราะไม่มีวิศวกร นักเศรษฐศาสตร์ นักออกแบบ ทาให้แม้
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะขึ้นมาเป็น “อาหารจานหลัก” ของหลั่นล้าอีโคโนมี แต่ข้าราชการกลับมาไม่ถึง
ตามมาไม่ทัน
ทางออกในช่วงที่ผ่านมาคือ จะต้องไปมุ่งใช้ประโยชน์จาก “พ.ร.บ. นโยบายการท่องเที่ยว
แห่งชาติ” ประเทศไทยมี พ.ร.บ. ประมาณ 1,000 ฉบับ ไม่เคยปรากฏคาว่า “นโยบาย” มาก่อน เพราะ
นโยบายไม่ควรอยู่ในกฎหมาย นโยบายเป็นเรื่องนโยบาย กฎหมายเป็นเรื่องกฎหมาย แต่ พ.ร.บ. ฉบับนี้
เป็นฉบับแรกเกิดขึ้นหลังปี 2549 คลอดปี 2551 ในชื่อว่า “พ.ร.บ. นโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ.
2551” ซึ่งระบุไว้ 3 เรื่อง ดังนี้
เรื่องที่หนึ่ง ไม่ให้ กรุงเทพฯ ไปแก้ปัญหาประเทศไทย เพราะกรุงเทพฯ คงนึกไม่ออกว่าแต่ละ
กลุ่มจังหวัดแตกต่างกันอย่างไร ใครเดินทางบ่อยก็ได้แต่สังเกตเอา แต่ไม่รู้จักอะไรมาก แก้อะไรไม่ได้ จึง
กาหนดให้มีคลัสเตอร์ ในสมัยผมได้ประกาศว่า คลัสเตอร์ควรจะต้องมีฐานมาจากลุ่มน้า เพราะ
วัฒนธรรมไทยโตมากับลุ่มน้า แบ่งเป็นกลุ่มน้าแห้ง น้าแล้ง ต้นน้า ปลายน้า เป็นต้น จึงเสนอให้จัดทา 16
ลุ่มน้าใหญ่ของประเทศ แต่ด้วยในขณะนั้นรัฐบาลไม่มีเสถียรภาพจึงไม่ทันได้ออกเป็นข้อกาหนดตาม
6
พระราชบัญญัติ ต่อมารัฐมนตรีรุ่นหลังได้ประกาศแบ่งออกเป็น 8 ลุ่มน้า ซึ่งไม่ได้สะท้อนเรื่องลุ่มน้าอีก
ต่อไป กลายเป็นการประกาศตามอาเภอใจ ทาให้บางจังหวัดถูกละเลย เช่น แม่ฮ่องสอน พิจิตร
เพชรบูรณ์ เป็นต้น
เรื่องที่สอง คลัสเตอร์ควรอยู่ในอารมณ์ชนิดเดียวกัน วัฒนธรรมใกล้เคียงกัน
เรื่องที่สาม เป็นกฎหมายแรกที่เกิดจากบทเรียนของกรุงเทพฯ ว่า เวลามีการห้ามขุดถนนแต่ก็
ขุด เพราะแต่ละกรมแต่ละหน่วยก็ต่างไล่ทาตามงบประมาณตามแผนปฏิบัติการของตัวเองและไม่ค่อยคุย
กัน กฎหมายท่องเที่ยวแห่งชาติจึงสั่งไว้ว่า ถ้ามีการประกาศคลัสเตอร์ใดแล้วให้มี
คณะกรรมการคลัสเตอร์ แล้วให้คณะกรรมการคลัสเตอร์ลงไปคุยกับประชาสังคม เหมือนกับที่
แผนกระบวนขับเคลื่อนปฏิรูปสุขภาพเคยทาไว้เป็นแนวทาง เพื่อให้เกิดการคุยกับภาคประชาสังคมแล้ว
ค่อยออกข้อกาหนดคลัสเตอร์ กฎหมายนี้เป็นกฎหมายเดียวที่ระบุว่า การพัฒนา การทางาน การจัดการ
ใดๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานใดเข้ามาในคลัสเตอร์เมื่อใดต้องสอดคล้องกับแผนคลัสเตอร์นั้น
พ.ร.บ. ฉบับนี้สะท้อนถึงการมีบูรณาการนั่นเอง เพียงแต่เราไปไม่ถึงท่อนที่สาม เนื่องจากความ
อ่อนแอของท่อนที่สองที่คลัสเตอร์ไม่รู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน ยิ่งไปกว่านั้น ความเกรงใจของระบบ
ราชการก็ระบุว่า ให้ประธานคลัสเตอร์เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่เลือกกันเองในคลัสเตอร์ ผู้ว่าฯ ที่ได้รับ
การรับเลือกส่วนใหญ่ก็มาจากจังหวัดใหญ่ ไม่รู้จักจังหวัดเล็ก รู้จักแต่จังหวัดตัวเอง และส่วนใหญ่ผู้ว่าฯ
จังหวัดใหญ่อยู่เพียง 3 ปีก็เกษียณ จึงทาอะไรเป็นเรื่องยาวเรื่องใหญ่ไม่ได้ ทั้งนี้ ผู้ว่าฯ ก็ไม่ได้ทาเอง
ทั้งหมด แต่มักใช้เจ้าหน้าที่ในสานักงานจังหวัดตัวเองไปทา ใช้ท่องเที่ยวกีฬาจังหวัดไปทา ประสิทธิผล
จึงไม่ค่อยเกิด
โลกรู้จักเราแล้ว อุตสาหกรรมภาคธุรกิจก็ไปไกลแล้ว แต่ตัวโต๊ะตัวภาชนะที่จะให้เขาไปตั้งวิ่ง
ตามไม่ทัน อุตส่าห์มีโต๊ะกฎหมายไปวางก็เป็นโต๊ะขาเก เพราะว่ากฎหมายอนุญาตให้ตั้งองค์กรแต่ไม่ได้
ให้อานาจอะไรมาเลย ปัจจุบันกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ได้งบประมาณเป็นอันดับ 3 จากที่โหล่ รองจาก
กระทรวงพลังงานและกระทรวงเทคโนโลยีฯ ทุกวันนี้เรายังหาผู้รับผิดชอบชาระค่าไฟฟ้าสองฝั่งริมแม่น้า
เจ้าพระยาไม่ได้ เพราะทุกคนเกี่ยงกันหมดและหวังให้เจ้าบ้านจ่ายเอง แต่การท่องเที่ยวไทยตอนกลางวัน
นั้นร้อนมาก ถ้าต้องการให้สุภาพสตรีมาเที่ยวไทยมากขึ้น ก็ต้องให้เขามาเที่ยวช่วงโพล้เพล้พลบค่า
ฉะนั้น ควรทาให้เมืองสว่างไสว ต้อนรับคนที่อยากจะลงเรือล่องน้า
ตัวอย่างเช่น ในวันที่เรือ “RMS Queen Mary 2” เรือท่องสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลกมาเทียบท่า
จอดที่เมืองไทยจานวน 1 คืน มีลูกเรือประมาณ 1,500 คนและลูกค้าอีกประมาณ 2,000 คน เราขึ้นไป
ขายทัวร์ 1 คืน พบว่า กิจกรรมที่พวกเขาต้องการทามากที่สุด คือ การล่องเรือในคลองบางกอกน้อย
7
เพราะเขาอยากสัมผัสบรรยากาศความเป็นเวนิซเก่าและซึมซับวิถีชีวิตริมน้าจืดของคนไทย แต่ภาครัฐคิด
ไม่ถึงและตามไม่ทัน
การท่องเที่ยวที่ “หลั่นล้าโดยชาวบ้าน”
ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 10 ปีที่แล้วผมประกาศไว้ว่า เราต้องหยุดทาเรื่องการท่องเที่ยวที่
เน้นปริมาณ (Mass Tourism) และหันมาสนใจการท่องเที่ยวแบบกลุ่มเฉพาะ (Niche Tourism)
โดยใช้พื้นฐานหลั่นล้าที่เรามีเข้ามาช่วย ในประเทศไทยมีตลาดการท่องเที่ยวแบบกลุ่มเฉพาะที่น่าสนใจ
อยู่ด้วยกัน 3 ประเภท ดังนี้
ประเภทแรก คือ “การท่องเที่ยวแนวชีวิตผจญภัย (Life Adventure)” ซึ่งกาลังเป็นกระแส
ของโลก เพราะว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง หากถามว่าทาไมชนชั้นกลางถึงต้องท่องเที่ยว
ก็เข้าใจว่าเป็นเหตุผลเดียวกับที่เขายอมจ่ายเต็มที่เพื่อให้ลูกได้เรียนโรงเรียนที่ดีที่สุด ดังที่ ศ.เกียรติคุณ
นพ.ประเวศ วะสี เคยกล่าวไว้ว่า “ชนชั้นกลางเป็นกลุ่มคนที่มีความเชื่อว่าการศึกษาและความ
ขยันหมั่นเพียรจะทาให้คนเปลี่ยนชนชั้นทางสังคม (Social Classification) จากข้างล่างไปอยู่ข้างบนได้
บ้าง” การท่องเที่ยวก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา โดยชนชั้นกลางนั่นแหละที่เป็นกลุ่มที่เห็นมัน ทั้งที่
เมื่อก่อนการท่องเที่ยวไม่ใช่กิจกรรมเชิงวัฒนธรรมแต่เป็นเชิงธุรกิจ
สถิติการท่องเที่ยวสมัยก่อนระบุว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศชายและมีอายุอยู่ระหว่าง 25-
40 ปี ส่วนหนึ่งก็มาจากการที่เขาเป็นนักธุรกิจที่ได้ออกเดินทางไปประชุม จนได้เห็นได้ประสบการณ์
กลับไปเล่าถึงเรื่องอาหารการกิน ผู้คน นิสัยใจคอให้คนในเมืองเขาฟัง และเกิดเป็นการเล่าแบบปากต่อ
ปากเป็นระยะเวลานาน ซึ่งน่าเชื่อถือกว่าคาโฆษณามาก เราก็เลยเกาะกระแสด้วยการอธิบายผ่านคาว่า
Amazing Thailand ทาให้คนเห็นภาพและเชื่อว่าประเทศไทย Amazing จริงๆ
ประเภทที่สอง คือ “การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน” ซึ่งกาลังเป็นกระแสหลักในขณะนี้ ที่แม้แต่
องค์กรสหประชาชาติ (United Nations : UN) ก็ยังประกาศเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable
Development Goals : SDGs) ซึ่งมีใจความว่า กิจกรรมทุกอย่างต้องมีความยั่งยืน ต้องมีความเกื้อกูล
กันและกัน (Inclusiveness) เช่นเดียวกันกับองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยว
อย่างยั่งยืน (อพท.) ที่ผมดารงตาแหน่งคณะกรรมการบริหารอยู่ พอมีคาว่า “อย่างยั่งยืน” เราก็คิดว่าเรา
ต้อง “หลั่นล้าโดยเจ้าของบ้าน” ไม่ใช่ “หลั่นล้าที่ผู้เที่ยว” เพราะปกติเรามักจะบริหารกิจการการท่องเที่ยว
ของเราตามใจผู้เที่ยว จนทุกวันนี้ประเทศไทยมีตลาดน้าสี่ภาคทุกจังหวัด ขุดที่ดินทาตลาดน้าปลอม
ขึ้นมา ขาดเอกลักษณ์และไม่กลมกลืนไปกับชุมชน
8
อพท. กาเนิดขึ้นมาในสมัยอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร จากความคิดที่เสนอโดยคุณพัน
ศักดิ์วิญญรัตน์ กับคุณปลอดประสพ สุรัสวดี ที่ตอนนั้นต้องการพัฒนาให้ไทยเป็น “World Class
Destination” จึงไปหยิบเกาะช้างมาทาเป็นที่จอดเรือยอร์ช สร้างสนามบินบนเกาะกูด แต่ชาวบ้านไม่เห็น
ด้วยจึงเกิดการต่อต้านจน อพท. กลายเป็นจาเลยรายใหญ่ ทาให้ อพท. ต้องเปลี่ยนมาใช้คาว่า
“ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” โดยปรับหลักว่า คนหลั่นล้าควรจะเป็นชาวบ้าน แล้วให้ไปท่องเที่ยวชุมชนโดย
ชุมชน ให้เรื่องท่องเที่ยวรับใช้ชุมชน ไม่ใช่ชุมชนไปรับใช้ท่องเที่ยว เพราะถ้าให้ชุมชนรับใช้ท่องเที่ยว
เขาอาจจะต้องย้ายหนีหรือเราต้องออกไปไล่เขา คนหลั่นล้าดันกลายเป็นนักท่องเที่ยว แต่ในความเป็น
จริงต้องหลั่นล้าที่ชาวบ้าน
จากนั้นเราไปหาความหมายของ “ความยั่งยืน” ในระบบสากล พบว่า องค์การการท่องเที่ยวโลก
(World Tourism Organization : UNWTO) ให้การยอมรับเงื่อนไขการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global
Sustainable Tourism Criteria : GSTC) ที่ประกอบด้วย 51 ตัวชี้วัดและเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ใช้ที่ใดก็
ได้ในโลก กล่าวคือ ถ้าทาได้ทั้ง 51 ตัวชี้วัดนี้แสดงว่ายั่งยืน เช่น ได้ที่ดินมาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
มีธรรมนูญพื้นที่ที่ตกลงกันเองระหว่างประชาคมหรือไม่ มีการตรวจสอบเป็นรายปีหรือไม่ มีการป้องกันที่
จะไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบหาผลประโยชน์ใส่ตัวหรือไม่ เป็นต้น
ตัวอย่างที่หนึ่ง ตาบลปลาบ่า จังหวัดเลย เป็นพื้นที่ธรรมดาที่ไม่มีอะไรให้เที่ยว แต่พอหมด
ฤดูเก็บเกี่ยว ชุมชนจะนารถเก็บเกี่ยวมาให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ทาให้รู้สึกเหมือนเที่ยวฟาร์มและได้
เห็นสิ่งที่ชาวบ้านทา เช่น การปลูกแก้วมังกร การปลูกแนวกันไฟกินได้ซึ่งก็คือการปลูกพืชผักสวนครัว
ล้อมรอบ สิ่งที่ตามมาคือช้างเดินออกจากป่ามากินผัก กานันจึงหาวิธีป้องกันโดยเอาไผ่หนามมาปลูกสลับ
ฟันปลาเพื่อไม่ให้ช้างเข้าได้ ผลลัพธ์ที่ได้คือ แนวกันไฟป่าที่ช้างกินผักไม่ได้แต่กินไผ่ได้ ไผ่ก็โตใหม่ได้
เรื่อย ๆ นักท่องเที่ยวก็มาดูช้างได้ ถ้าไปช่วงนอกฤดูเก็บเกี่ยวชาวบ้านก็ไม่ว่า ทาให้เกิดความยั่งยืน
เพราะชาวบ้านได้ทาในสิ่งที่เขาต้องการจะทา ไม่กระทบเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพหลักของเขา อีกทั้งยัง
มีรายได้เสริมนอกฤดูเก็บเกี่ยวจากนักท่องเที่ยว
ตัวอย่างที่สอง อาเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จะเห็นว่า ห้องแถวที่เป็นอาคารบ้านเรือนเก่า
สองข้างทางตลาดไม่เปลี่ยนไปเลย ทั้งนี้ เพราะชาวบ้านตกลงกันเองและปรึกษากับ อพท. ว่าอยากจะ
รักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ เราจึงชวนชาวบ้านเขียนธรรมนูญชาวบ้าน เพื่อเป็นข้อตกลงกันว่าจะไม่เปลี่ยนห้อง
แถวเป็นสีสันที่แตกต่างแหกคอก ทาลายความเป็นเอกลักษณ์ หลังจากนั้นก็ให้เทศบาลก็ออกเทศบัญญัติ
ทับลงไปอีก เพื่อประกันว่า “ถึงคุณจะมีเงินแค่ไหนก็จะไม่ออกใบอนุญาตก่อสร้างให้ ถ้าคุณใช้วัสดุที่ผิด
แผกไปจากที่ธรรมนูญชาวบ้านตกลงไว้” ข้อกาหนดท้องถิ่นจึงมีผลสาคัญ
9
สิ่งที่ตามมาวันนี้คือ ตารวจในเชียงคานก็พากันแต่งชุดตารวจในยุครัชกาลที่ 5 ซึ่งเกิดจากการที่
หน่วยงานของรัฐไปขออนุญาตกับผู้บัญชาการภาค 5 เพื่อสร้างบรรยากาศ ทาให้มีคนมากมายมาขอ
ถ่ายรูปกับตารวจ เกิดเป็นรอยยิ้มความประทับใจ นอกจากนี้ ธรรมนูญเชียงคานยังกาหนดให้ดื่ม
แอลกอฮอล์ภายในร้านเท่านั้น ห้ามนาออกจากร้านเด็ดขาด เพื่อป้องกันปัญหาทะเลาะวิวาทและความ
สกปรกที่อาจเกิดขึ้นตามมา
สุดท้าย ประเภทที่สาม คือ “นักท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ (Business Traveler)” คนกลุ่มนี้ไม่ได้
เป็นนักท่องเที่ยวเต็มตัวแต่กลับใช้จ่ายมากกว่านักท่องเที่ยวเป็นอย่างน้อย 3 เท่าตัวเสมอ เพราะเขา
เดินทางมาด้วยกระเป๋าสตางค์สองใบ ใบหนึ่งเถ้าแก่ให้มา มางานประชุม มางานนิทรรศการ มางานจัด
แสดง มาพบปะจัดมีตติ้ง ร่วมงานสัมมนา กิจกรรมเหล่านี้เถ้าแก่เป็นคนออกค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าที่
พักให้เบ็ดเสร็จ พอตกเย็นเขาก็แปลงกลายเป็นนักท่องเที่ยวหยิบกระเป๋าตังค์อีกใบหนึ่งซึ่งก็คือของ
ตัวเองออกมาใช้ นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จึงใช้จ่ายมากกว่านักท่องเที่ยวปกติ ซึ่งโลกทั้งใบกาลังค้นหา
นักท่องเที่ยวแบบนี้
ในสมัยก่อน เมืองหลวงแห่ง MICE (Meetings, Incentives, Conference, Exhibitions) ทั้งหมด
อยู่ในยุโรป เพราะเป็นที่ตั้งของชนชั้นกลางของโลก คนที่เชื่อว่าต้องไปดูวิทยาการของกันและกัน ไป
แลกเปลี่ยนประชุมหารือกันและกันเมื่อก่อนอยู่ที่ยุโรป แต่ในปัจจุบันคนกลุ่มนี้กาลังมาที่เอเชีย ใคร ๆ ก็
อยากรู้ว่าเอเชียทากันอย่างไร อยู่กันอย่างไร ทามาค้าขายกันอย่างไร นี่เป็นส่วนหนึ่งที่ทาให้หนังรักของ
ไทยขายดีด้วย เพราะเขาอยากจะรู้ว่าคนเอเชียผมดารักกันอย่างไร สร้างครอบครัวอย่างไร จะได้เข้าใจ
และสร้างธุรกิจกับคนเอเชียได้
สาหรับประเทศไทย มีนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้เข้ามาจากต่างประเทศประมาณ 1 ล้านคนต่อปี และมี
การจับจ่ายใช้สอยโดยรวมอยู่ที่ประมาณ 1 - 1.5 แสนล้านบาทต่อปี อีกทั้งเรายังมีศูนย์การประชุม
(Convention Hall) ที่ใหญ่ติดอันดับศูนย์การประชุมที่ใหญ่ที่สุด 20 อันดับแรกของโลก นั่นคือ ไบเทค
บางนาและอิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ซึ่งต่างก็ไม่ได้ลงทุนโดยรัฐเหมือนยุโรปที่ส่วนใหญ่เป็นของรัฐ
อย่างเช่นที่โคโลญจน์และเบอร์ลิน สะท้อนว่าเอกชนไทยไปไกลแล้ว เพราะฉะนั้นเรายังรองรับได้อีกมาก
ขณะนี้เส้นทางรถไฟที่วิ่งเข้ามาจากเมืองจีนผ่านอีสานก็จะทาให้เกิดโอกาสใหม่ในอีสานและมีแนวโน้มจะ
เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ
ในขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยในประเทศไทยก็ผลิตคนป้อนเข้าสู่ภาคการผลิตที่เป็น “หลั่นล้าอี
โคโนมี” อย่างต่อเนื่อง จนประเทศไทยมีนักศึกษาสายการแสดง นิเทศศาสตร์ และวารสารศาสตร์มาก
ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาจจะมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเลยด้วยซ้าไป
10
ยิ่งไปกว่านั้น ตลาดภายในประเทศของการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เป็นตลาดที่ใหญ่มาก เรามี
นักท่องเที่ยว MICE ในประเทศเราเองมากถึง 25 ล้านคนต่อปี แสดงให้เห็นว่า เวทีประชุมสัมมนาทาให้
เงินหมุนเวียนในประเทศได้ ฉะนั้น เวลาจัดประชุม ทาไมเราต้องซื้อกาแฟสาเร็จรูปมาเสิร์ฟคนท้องถิ่น
ทาไมเราไม่เอาเครื่องดื่มของท้องถิ่นของชาวบ้านมาเสิร์ฟ ทาไมไม่ใช้ข้าวจากท้องถิ่นแทนข้าวจากพ่อค้า
คนกลาง
โอกาสหนังไทยในการสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี
ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ถ้ารัฐบาลไทยรู้จักเล่น ภาครัฐจะสามารถทาให้ตัวเองไปไกลอย่างที่
เราเห็นจาก “แดจังกึม” ได้ นโยบายเรื่องแดจังกึมเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2543 โดยมีประธานาธิบดีสนับสนุน
อย่างต่อเนื่อง จุดประสงค์หลักคือเกาหลีต้องการให้วัฒนธรรมตัวเองตอบสนองต่อโจทย์การเมือง ไม่ใช่
เพื่อจะขายละครให้เราดู โดยพื้นฐานคือต้องการสร้างความเป็นหนึ่งเดียว (Unify) ให้กับเกาหลีเหนือและ
เกาหลีใต้ เพื่อให้ทุกคนภูมิใจว่ามาจากอู่อารยธรรมเดียวกัน
จุดประสงค์ต่อมาสังเกตได้ว่า ด้วยความที่คนเกาหลีเป็นมองโกลเก่า คนเกาหลีจึงมีนิสัยค่อนข้าง
ดุ ผู้นาเกาหลีมองว่าอาการแบบนี้อาจจะไม่เป็นที่ต้อนรับหรือยอมรับจากต่างประเทศ จึงสร้างผู้ชายใน
อุดมคติให้ดูในละคร ฉะนั้น ผู้ชายในละครเกาหลีจะแต่งตัวดี พูดจาดี โรแมนติก ละครและภาพยนตร์
เกาหลีจึงไม่ได้สร้างมาเพื่อหาเงิน แต่สร้างมาเพื่อนโยบายวัฒนธรรมและการเมือง ยิ่งไปกว่านั้น ละคร
และภาพยนตร์เกาหลีเขาเน้นทาให้ดีทาให้สมบูรณ์แบบ ถ่ายหลายเทค ลองหลาย ๆ มุมเพื่อให้ดูสมจริง
พล็อตเรื่องก็ดี ต่างกับไทยที่ไม่ค่อยมีทุน งานสร้างและพล็อตก็ไม่ได้เรื่อง
ส่วนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเรา มีกองถ่ายทาภาพยนตร์มากกว่า 700 กองต่อปีเข้ามาถ่าย
ทาในไทย เพราะเรามีสถานที่ถ่ายทาดี ต้นทุนดี ชาวบ้านดี บริการดี ขาดเพียงแค่ 3 องค์ประกอบเท่านั้น
คือ องค์ประกอบแรก บทไม่ได้เรื่อง เนื้อเรื่องเดาได้ ต่างจากเกาหลีและอังกฤษที่มีทุนสนับสนุนให้คน
เขียนบทดี ๆ สามารถนาไปต่อยอดด้วยการจ้างนักเขียนการ์ตูน สร้างคาแรคเตอร์ขึ้นมาได้ ต่อให้หนัง
ไม่ได้สร้างก็ยังได้คาแรคเตอร์ องค์ประกอบที่สอง ขาดการสนับสนุนการเปลี่ยนจากตัวอักษร
(Text) เป็นภาพ (Visual) เพื่อให้เป็นลายเส้นสามารถนาไปวางที่ต่าง ๆ และทาให้คนเข้าใจเรื่องราวของ
หนังได้ตั้งแต่ยังไม่ได้สร้าง ซึ่งจะทาให้เราตั้งกองทุนต่างประเทศและระดมทุนสาธารณะ (Crowd
Funding) ได้ง่ายขึ้น และ องค์ประกอบที่สาม เรามีหนังผี หนังตลกสาวประเภทสอง หนังดราม่า ซึ่ง
ชาวต่างชาติชอบผีไทยและยกย่องให้เป็นหนังฮอลลีวูดแล้ว เช่น หนังที่นนทรีย์ นิมิบุตรทา เพียงแต่เรา
ไม่มี Distribution Network ไม่งั้นชนะไปไกลแล้ว
11
อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจคือ คนจีนกว่า 1,400 ล้านคนไม่เคยเห็นสาวประเภทสอง เพราะ
คอมมิวนิสต์มีข้อห้ามเรื่องสาวประเภทสองกับเทพ สองสิ่งนี้จึงถูกระบบคอมมิวนิสต์เชือดทิ้ง วัดก็มี
สถานะเป็นเพียงสถานที่ไม่มีจิตวิญญาณ คนจึงมาหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไทย มาหามงคลวัตถุคล้องคอกลับ
บ้าน จนเกิดตลาดพระเครื่องที่กรุงปักกิ่ง เพราะทุนนิยมที่เข้าไปในจีนทาให้คนจีนเหงาและเบื้องต้นมี
เพียงชนชั้นกลางที่ได้รับการปลดปล่อย จึงมีแต่ชนชั้นกลางที่เป็นคนท่องเที่ยวเป็นคนดูหนัง พวกเขาอยู่
ในช่วงกาลังค้นหาไลฟ์สไตล์ หนังบอกอะไรเขาก็จะทาอย่างนั้น
คนจีนชอบดูหนังในโรงภาพยนตร์มาก แต่จีนแผ่นดินใหญ่กาหนดโดยปักกิ่งว่า ห้ามมีหนัง
ต่างประเทศเข้ามาฉายเกินว่า 40 เรื่องต่อปี ต่างจากไทยที่มีหนังต่างประเทศเข้ามามากกว่า 220 เรื่อง
ต่อปี ยิ่งไปกว่านั้น ใน 40 เรื่องที่เข้าฉายที่จีน กรุงวอชิงตันดีซีได้ใช้กาลังทางการเมืองต่อรองปักกิ่งว่า
ต้องให้หนังฮอลลีวูดฉายอย่างน้อย 20 เรื่องต่อปี และฮอลลีวูดอาจแย่งชิงอีก 20 เรื่องที่เหลือได้ ทาให้จีน
กังวลว่าหนังฮอลลีวูดจะมาครอบงาความคิดของคนจีนทั้งหมด ในที่สุดจีนต้องเปิดตลาดและเป็นโอกาส
ให้ไทยเข้ามาตีตลาดนี้ ถ้าหนังไทยขายในจีนได้ อย่าว่าแต่ท่องเที่ยว สินค้าทุกชนิด แบรนด์ทุกอย่างก็จะ
ขายได้หมด เห็นได้จาก แว่นตา RayBan ที่คงขายไม่ได้หากไม่มี James Dean และเราก็คงไม่รู้จัก
คาวบอย หากฮอลลีวูดไม่ได้สร้างหนังมามากกว่า 5,000 เรื่องจนวัฒนธรรมคาวบอยกลายเป็นวัฒนธรรม
ของโลก
หากกลับมามองหนังผีไทย เราสร้างมาให้คนไทยดู แต่คนที่ชอบดูหนังผีไทยมากสุด คือ ชาว
มลายูที่เป็นชาวเกาะ เพราะวัฒนธรรมมลายูมีความเชื่อเรื่องผีและหนังผีไทยทาได้น่ากลัวมาก อีกเหตุผล
หนึ่งคือ หนังผีไทยมีทุกอย่าง เหมือนกับผีญี่ปุ่นที่ไปเมืองไหนไม่ถั่วห่อแป้งก็แป้งห่อถั่ว แต่ญี่ปุ่นเขามี
การเติมแต่งตราสัญลักษณ์ เช่น จิ้งจอกหางแดง แมวน้าสีน้าเงิน ปลาสีเขียว เป็นต้น ต่างจากหนังผีฝรั่ง
ที่สร้างแต่ผีกัดคอ ผีดูดเลือด ซอมบี้เลือดสาดเท่านั้น
ผมได้ศึกษาเรื่อง “Character Licensing” ซึ่งเมืองไทยไม่ค่อยรู้จัก เห็นได้ชัดจากกรณีของบริษัท
วอลต์ ดิสนีย์ (Walt Disney) ดิสนีย์ที่โตมาทุกวันนี้ไม่ใช่เพราะขายหนัง และก็ไม่ได้โตที่สุดจากการที่ไป
พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เป็นวอลต์ดิสนีย์เวิลด์ (Walt Disney World) หรือดิสนีย์ซี (DisneySea) เหล่านี้
เป็นเพียงแค่รายได้ส่วนหนึ่งแต่ไม่ได้ใหญ่ที่สุด รายได้ใหญ่ที่สุดคือการขาย Character Licensing เช่น
มิกกี้เมาส์ เป็นต้น หนังเรื่องไหนขายตั๋วได้เท่าไรให้คูณ 5 จะกลายเป็นราคาคาแรคเตอร์ เพราะฉะนั้น
“ลิขสิทธิ์” จึงเป็นประเด็นสาคัญมากในหลั่นล้าอีโคโนมี แค่หนังเรื่องต้มยากุ้งเรื่องแรกเรื่องเดียวฉายเข้า
ไปในยุโรปก็ทาให้เกิดโรงเรียนสอนมวยไทยในประเทศรัสเซียจานวน 150 แห่งในระยะเวลาหนึ่งปี
เท่านั้น
12
2.
การอภิปรายแลกเปลี่ยน
13
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี
หลั่นล้าอีโคโนมีคือเรื่องเศรษฐกิจวัฒนธรรม จุดแข็งที่สุดของเราที่คนอื่นไม่มีก็คือวัฒนธรรมไทย
เพราะฉะนั้นเราจะทาอะไรต้องทาจากจุดแข็งของเรา ส่วนอย่างอื่นนั้นเป็นของแถม ถ้ามองเศรษฐกิจ
วัฒนธรรมของเรา ก็คือการท่องเที่ยว สินค้าวัฒนธรรม ภาพยนตร์ การแสดง อาหารไทย ผลไม้ พวกนี้
เป็นวัฒนธรรมที่เราทามาจนชานาญ รวมทั้งการแพทย์ สมุนไพร ถ้าเราทาครบวงจรทั้งหมด จะเป็น
เศรษฐกิจขนาดมหึมา และถ้าจัดการดีจะกระจายรายได้ไปอย่างทั่วถึง อย่างเรื่องการท่องเที่ยว ดังที่ อ.วี
ระศักดิ์พูด การท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อชุมชน ชุมชนเป็นคนจัดการ ก็จะกระจายรายได้ไปทั่ว
เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ตอน คุณ ภารเดช พยัคฆ์วิเชียร เป็นผู้ว่า ททท. ได้เชิญผมไปพูดเรื่องระบบ
การท่องเที่ยว ผมก็ได้จาแนกองค์ประกอบต่างๆ ได้ทั้งหมด 20 กว่าองค์ประกอบที่จะต้องทาอย่าง
เชื่อมโยงกันให้ครบวงจร คุณ ภารเดช ก็บอกว่า ที่ผมพูดมาทาไม่ได้หรอก ทีแรกผมก็ไม่เข้าใจ พอมาฟัง
คุณวีระศักดิ์พูดวันนี้ก็เข้าใจว่าราชการนั้นทาอะไรไม่ค่อยได้ คุณวีระศักดิ์ไปเป็นรัฐมนตรี ก็ทาอะไรไม่
ค่อยได้ เพราะกลไกภาครัฐ/ราชการนั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการควบคุม ไม่ใช่เพื่อการพัฒนา เพราะฉะนั้น
เราก็จะติดขัดอยู่นั่นถ้าเราใช้ระบบราชการเป็นเครื่องมือทาในการอะไรต่างๆ เราติดมานาน
ดังนั้น จากที่ อ.วีระศักดิ์พูด เราก็ต้องคิดกลไกที่จะทาให้ทางานได้ผลในเรื่องต่างๆ ที่ผ่านมาเรา
ไปต่อสู้เรื่องการเมือง หลงไปทาอยู่ตรงนั้น แล้วพอฝ่ายใดชนะก็จัดการไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราต้องทาเรื่อง
กลไกจัดการให้บ้านเมืองเดินหน้าไปได้ ทีนี้จะก่อตัวเป็นคลังสมอง เป็นสถาบัน เป็นกลุ่มยุทธศาสตร์
อะไรก็แล้วแต่ที่จะทาเรื่องเศรษฐกิจวัฒนธรรมตรงนี้ที่จะครอบคลุมเรื่องการท่องเที่ยว สินค้าวัฒนธรรม
ภาพยนตร์ การแสดง อาหารไทย มวยไทย เรื่องมวยไทยนี้ ตอนแรกผมก็ไม่เคยคิด แต่พอไปอิหร่าน คน
อิหร่านก็มาชวนคุยเรื่องมวยไทย เป็นอะไรที่มีชื่อเสียงมาก ส่วนเรื่องภาพยนตร์นั้น ผมมองมานานว่าถ้า
เราทาให้ดี นอกจากได้เงินแล้ว จะเป็นเครื่องมือไปสู่ความคิด พฤติกรรมอะไรต่างๆ ได้ แต่ก็มองไม่เห็น
เลยว่าใครจะมา organize เรื่องภาพยนตร์นี้ให้ดี
สรุปคือควรก่อตัวเป็นองค์กรอิสระ ถ้าไปเอาอานาจนาจะไปไม่ได้ เพราะอานาจไม่มีเวลาคิด
หรือไม่สนใจเรื่องการคิด ดังนั้นตรงนี้ต้องเป็นอิสระ ไม่มีอานาจ แต่สามารถไปดึงคนที่มีอานาจมา
เชื่อมโยง สามารถทาเรื่องที่ยากๆ ได้ ตอนนั้นผมเป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย ทา
เรื่องยากที่สุดเลย คือจะเขียนรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ทั้งฉบับ แต่ว่ากลไกที่ทาที่ผมเป็นประธานนั้นเป็นกลไก
อิสระ รัฐบาลให้เงินมา 5 ล้าน แต่ไม่เข้ามาควบคุมกากับเลย เราสามารถขับเคลื่อนพรรคการเมืองทุก
พรรคที่เดิมเขาไม่อยากทา เราสามารถทาให้เขาอยากทา ถ้ากลไกเป็นอิสระก็สามารถทาได้
14
เพราะฉะนั้นในการก่อตัวต้องก่อตัวกันเองขึ้นมา (Self-organize) เพราะมีคุณภาพสูง วิธีแต่งตั้ง
สั่งการแบบข้าราชการ อย่างที่เมื่อสักครู่ฟังว่าตั้งกระทรวงขึ้นมา เอาใครต่อใครเข้ามาไม่สามารถทาเรื่อง
คุณภาพได้ อันนี้จะเรียกเป็นอะไรก็แล้วแต่ เป็นสถาบันยุทธศาสตร์ เป็นคลังสมอง ฯลฯ ที่จะทาเรื่องนี้
แล้วก็เป็นหน่วยงานที่ได้รับทุน อาจจะเจรจาขอกับรัฐบาล ต้องเป็นทุนที่อิสระ ไม่เข้ามาสั่งซ้ายหันขวา
หัน แต่การทางานขององค์กรนี้ต้องคิดเชิงยุทธศาสตร์ ดึงใครที่เกี่ยวข้องเข้ามาทางานเชื่อมโยงกันให้
ประเทศขับเคลื่อนไปได้ ผมคิดว่าต้องเอาตรงนี้ให้ได้ ถ้าพร้อมเมื่อไรก็เชิญคุณสมคิดมาคุยด้วย ก็จะให้
มันเกิดจริงๆ ในเรื่องนี้ (หลั่นล้า) เป็นเรื่องหนึ่ง และเรื่องอื่นที่เราเคยคุยกันมาแล้ว เรื่องความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศกับสันติภาพ หรือเรื่องอะไรต่างๆ ก็ทาแบบเดียวกัน
คุณสุริยนต์ ธัญกิจจานุกิจ ผู้อานวยการสานักพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
สำนักงำนคณะกรรมกำรพัฒนำกำรเศรษฐกิจและสังคมแห่งชำติ
เมื่อครู่ฟัง อ.วีระศักดิ์พูดก็เปิดหูเปิดตาในหลายๆ เรื่อง เกี่ยวกับเรื่อง paradigm ของการพัฒนา
ในสภาพัฒน์ฯเอง ในแง่ของความคิดในการพัฒนานั้นก็มีหลายกระแสอยู่ข้างใน ระดับผู้ใหญ่คิดแบบหนึ่ง
ระดับกลางแบบหนึ่ง ระดับเด็กแบบหนึ่ง แต่เวลาจะผลักดันไปสู่การปฏิบัตินั้น ผมคิดว่าไม่ใช่แค่
สภาพัฒน์เท่านั้นที่เผชิญปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาของทั้งระบบ ผมทางานในภูมิภาค 8 ปีที่ผ่านมา อยู่กับ
จังหวัด กลุ่มจังหวัด อย่างหนึ่งที่เห็นก็คือ ประเทศไทยไม่ขาดเรื่องนโยบายหรือความคิดดีๆ เรามีคน
ระดับผู้ใหญ่ มีคนระดับรัฐมนตรี มีคนระดับเจ้าหน้าที่ในกระทรวงที่ทางานเป็นข้าราชการที่ตั้งใจจะทาให้
ประเทศดี ผมว่าเรามีเยอะมาก ผมทางานอยู่ใกล้ชิด แม้แต่ในระดับจังหวัดหรือระดับใด ก็มีคนตั้งใจทาดี
กับประเทศมาก แต่ที่มันไม่ได้ผลเมื่อนโยบายต่างๆ ลงไปนั้น เพราะประการแรกสุด ข้าราชการระดับ
ล่างสุดที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนและใกล้ชิดพื้นที่นั้น ความรับผิดชอบของเขาไม่ได้ลงสู่ข้างล่าง ความ
รับผิดชอบของเขาขึ้นข้างบน เพราะการพิจารณาความดีความชอบของข้าราชการอยู่ที่ส่วนกลาง ไม่ได้
อยู่ที่พื้นที่ และสิ่งหนึ่งที่เราเห็นมากคือข้าราชการในพื้นที่ ในระดับจังหวัดซึ่งรู้และเข้าใจพื้นที่ดี อยากจะ
พัฒนาไปในทางที่ดีและทางานหนักทั้งปี หลังจากที่ทุ่มเทให้กับการปฏิบัติหน้าที่มามากมายแล้ว วันดีคืน
ดีใครไม่รู้เดินมารับตาแหน่งแทนไป เป็นอย่างนี้ทุกกระทรวง ยกเว้นกระทรวงสาธารณสุขที่ไม่เห็นชัด
แต่กระทรวงมหาดไทยนั้นเป็นค่านิยม เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ไม่มีใครบ่นเลย ข้าราชการดีที่ตั้งใจทางาน
ก็ถูกบั่นทอนอย่างนี้ แล้วถามว่าจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร งบประมาณลงไปเท่าไร สุดท้ายถ้าหากว่า
ข้าราชการทางานเป็นแค่คนรับใช้ให้นายข้างบนพอใจ มาถ่ายรูป เปิดป้าย เสร็จแล้วก็กลับ แล้วก็ถือว่า
งานเสร็จแล้ว ชาวบ้านก็เป็นเพียงเครื่องมือในการที่จะมาออกงานกับข้าราชการ เป็นอย่างนี้โดยสภาพ
บังคับ
15
ผมเคยคิดเรื่องนี้แล้วว่าเราจะทาอย่างไร เราจะรออัศวินม้าขาว รอผู้ใหญ่เก่งๆ รอผู้นาเก่งๆ รอ
รัฐมนตรีเก่งๆ มา ซึ่งเราก็ไม่เคยขาดคนอย่างนี้ มาถึงสั่งราชการต้องทาโครงการนี้ๆ แล้วเราก็เห็นว่า
เวลามีโครงการใหญ่ๆ ของรัฐบาลมา สุดท้ายก็ไปไม่ถึงฝั่ง หรือไม่ได้ประสิทธิผลที่ควรได้
ถ้ามองกันจริงๆ แล้ว ทุกวันนี้ประสิทธิผลของการพัฒนาที่เราเห็น เกิดขึ้นจาก 1) ท้องถิ่นที่
ทางานใกล้ชิดและต้องรับผิดชอบพื้นที่ เพราะฐานเสียงอยู่ตรงนั้น ชาวบ้านก็รู้หน้าค่าตา เพราะฉะนั้นก็
คอยมองการทางานอยู่ 2) มาจากภาคธุรกิจ ที่ถึงแม้รัฐบาลจะมีนโยบายอะไรเปลี่ยนไป แต่ธุรกิจก็เติบโต
ไปตามกระแสของตัวเอง ชีวิตชาวบ้านก็ดีขึ้นจากการที่มีร้านสะดวกซื้อไปตั้ง ทุกคนได้ซื้อของใน
มาตรฐานเดียวกัน 3) ดีขึ้นจากการที่ภาคประชาชนเข้มแข็งขึ้น ตื่นตัว ปฏิบัติงาน แก้ไขปัญหาท้องถิ่น
กันเอง จากการสนับสนุนของภาครัฐอะไรก็แล้วแต่ 4) ดีขึ้นจากการที่ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจผ่าน
สื่อ แล้วเรียนรู้เอง ปรับปรุงตัวเอง
สรุปคือ ประสิทธิผลของการพัฒนาไม่ได้มาจากรัฐ งานของรัฐหลายอย่างนั้นเงินลงไปร้อยได้งาน
ถึงครึ่งหนึ่งก็ดีแล้ว ด้วยเหตุผลง่ายๆ เช่นว่ากระบวนการจัดซื้อจัดจ้างทาให้เสียเวลา อย่างเช่น โครงการ
ระยะ 5 ปี เสียเวลาจัดซื้อจัดจ้างไปแล้วอาจจะปีถึงปีครึ่ง และเหตุผลอื่นๆ เช่น ขั้นตอนการทางาน ทาให้
สุดท้ายอายุโครงการสามปี ได้เนื้องานปีครึ่งก็ดีแล้ว นี่คือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
ถามว่าจะแก้เรื่องนี้อย่างไร ทีนี้เวลาแก้ คนที่คิดแก้ก็ไม่ได้เคยเจอปัญหาอย่างนี้ด้วยตัวเอง คนที่
คิดแก้ก็มาจากส่วนกลางที่ตัดสินใจว่าต้องปรับตรงนั้นตรงนี้ แล้วก็เหมือนจะเอาของใหม่ไปแทนของเก่า
อยู่เรื่อย เพราะเหตุนี้จึงทาให้เกิดวงจรที่อย่างไรก็ไปไม่ถึงฝั่ง
เราจะต้องปรับใหม่ ซึ่งตรงนี้สภาพัฒน์ฯก็กาลังพยายามคิดและปรับกันอยู่ และก็จะกระตุ้นให้
ระบบปรับ เราต้องมองใหม่ว่ากระบวนการพัฒนา หรือถ้าใช้ภาษาวิชาการคือกระบวนการนโยบาย
สาธารณะของประเทศ ไม่ว่าระดับชาติ จังหวัด หรือท้องถิ่น จะต้องเป็นกระบวนการเรียนรู้ ต้องให้คนที่
เอานโยบายลงไป ไม่ว่าจะเป็นสภาพัฒน์ฯ เป็นหน่วยนโยบายของกระทรวงใดก็แล้วแต่ เป็นจังหวัด หรือ
ท้องถิ่น ทุกคนจะต้องรู้ว่าผลลัพธ์ของนโยบายตนมันได้อะไรขึ้นมา ต้องมีการประเมินผลให้รู้ว่างานหรือ
นโยบายแต่ละอย่างที่ลงไปได้ผลลัพธ์กลับมาอย่างไร และต้องหมุนวนกระบวนการนี้ให้ต่อเนื่อง
ตลอดเวลา ให้เป็นกระบวนการเรียนรู้ปรับตัว ไม่ใช่ว่าพอนโยบายใดทาไม่ได้ ก็จะเอาอันใหม่มา สั่งการ
อย่างนี้อยู่เรื่อย เป็น moving target ข้าราชการก็ทาแผนทั้งปี ไม่ต้องได้ปฏิบัติ อย่างที่ทากันอยู่ตอนนี้
เมื่อปรับเช่นนี้ข้าราชการจะเก่งขึ้น ท้องถิ่นจะเก่งขึ้น ประชาชนจะฉลาดขึ้น ข้าราชการจะรู้ว่าถ้า
ทาไปแล้วอย่างนี้ จะได้ผลกลับมาอย่างไร จะต้องปรับอย่างไร ที่สาคัญส่วนกลางจะต้องดูผลลัพธ์ที่
เกิดขึ้นของนโยบายแต่ละชิ้นด้วย เพราะฉะนั้นถ้าถามว่าเราจะปลดล็อคเรื่องประสิทธิผลการพัฒนา
16
ประเทศ ที่แม้เราจะมีความคิด นโยบายดีๆ ไม่ขาดสาย แต่เราไม่เคยได้รับผลลัพธ์ของการพัฒนาเต็ม
ร้อยอย่างที่เราตั้งใจเสมอได้อย่างไร ก็ต้องกลับไปที่พื้นฐานว่าจะต้องทาให้ทุกขั้นตอน ตั้งแต่ระดับ
นโยบายจนกระทั่งระดับปฏิบัติ จะต้องมีความรับผิดชอบ (accountability) ต่อสิ่งที่ตัวเองทาลงไป และวิธี
เริ่มก็ง่ายมาก ในสภาพัฒน์ฯ ก็เคยคุยกันว่าเริ่มที่กลไกระดับบริหารในสภาพัฒน์ฯ เอง ให้มีการติดตาม
ประเมินผลที่ต่อเนื่องมั่นคงและถูกหลักวิชาการ
แต่ประเทศไทยมีค่านิยมหนึ่งที่เป็นอุปสรรคอันใหญ่หลวงต่อเรื่องนี้ คือ “อย่าฟื้นฝอยหาตะเข็บ”
พอไม่ฟื้นฝอยหาตะเข็บ การติดตามประเมินผลก็ถูกมองว่าคือการฟื้นฝอยหาตะเข็บ เราไม่ชอบทากัน
เราไปเจอของจริงเราก็ไม่พูดกันมาก มักจะบอกว่าที่ผ่านมาดีแล้ว อย่าไปพูดถึงมากเลย ทาต่อดีกว่า
มองอนาคตไปข้างหน้า อย่าไปย้อนหลังอะไรเลย เราก็เลยไม่เรียนรู้ นี่คือข้อสรุป
รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์ประจาคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เท่าที่ผมฟัง เหมือนกับว่าเราจะเอาเศรษฐกิจหลั่นล้า มาแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่อ่อนล้า ทีนี้คาถาม
ของเราคือ เราเจอภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนล้าจริงไหม ถ้าจริง เหตุมันมาจากไหน จะถามว่าเศรษฐกิจหลั่น
ล้าพัฒนาได้ไหม ตอบว่า ได้ มันจะมาชดเชยความอ่อนล้าได้ไหม ตอบว่าได้
ทาไมต้องสินค้าวัฒนธรรม : มุมมองทางเศรษฐศาสตร์การเมือง
ผมคิดว่าเราอยู่บนเวทีโลก ท่ามกลางการต่อสู้ การแข่งขัน สิ่งที่ท่านวีระศักดิ์พูดมันหมายความ
ว่าเราจะพยายามสร้างความเข้มแข็ง โดยให้จักรกลการท่องเที่ยวเป็นจักรกลตัวแทนของเศรษฐกิจหลั่น
ล้าว่าจะเข้มแข็งได้อย่างไร หากเราจะพัฒนาตัวเองอย่างนั้น เราจะต้องคิดต่อว่า บนเวทีโลกเขา
ขับเคลื่อนต่อสู้กับเราอย่างไร เขาขับเคลื่อนด้วยการเอาชนะเราอย่างไร เขาขับเคลื่อนครอบงาเรา
อย่างไร ถ้าเราดูความเป็นจริงขณะนี้ นโยบายเศรษฐกิจต่างๆ ของเราเกือบครึ่งหนึ่ง มันไม่ได้ถูกกาหนด
จากรัฐบาลไทย แต่มันถูกครอบหรือถูกกาหนดจากระเบียบเศรษฐกิจโลก ที่ผมเรียกว่า เศรษฐกิจจากทุน
นิยมศูนย์กลาง พวกองค์กรโลกบาลอย่าง WTO FTA IFM และ WORLD BANK ข้อตกลงระหว่าง
ประเทศต่างๆ เราหนีมันได้ไหม เราพยายามจะสู้มันหรือเปล่า เรามาดูภาวะปัจจุบัน ยุทธศาสตร์ทุนนิยม
ศูนย์กลาง มันเริ่มจากช่วงหลังจากสงครามเย็นลดความรุนแรงลง ยุทธศาสตร์ทุนนิยมศูนย์กลาง เขาได้
ตั้งโจทย์อย่างไร เขาจะครอบครองตลาดโลกให้ได้มากที่สุดได้อย่างไร การขับเคี้ยวกันระหว่างยุโรป
อเมริกา จีน มันเป็นตัวแปรหลัก ความคิดทุนนิยมศูนย์กลาง การที่ครองตลาดมากที่สุด ก็นาไปสู่คาถาม
ว่า เขาจะเอาพลังอะไรมาครอบครองตลาดได้มากที่สุด ในที่สุดเศรษฐศาสตร์การเมืองตอบว่า มันมีพลัง
6 พลัง ที่สามารถนามาใช้ครอบครองตลาดโลก ใครมีมากก็ครองได้มากที่สุด 6 พลังดังกล่าว แต่ผมขอ
สรุปเป็น 3 พลัง ดังนี้
สร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืน  ด้วย “หลั่นล้า Economy” ได้อย่างไร
สร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืน  ด้วย “หลั่นล้า Economy” ได้อย่างไร
สร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืน  ด้วย “หลั่นล้า Economy” ได้อย่างไร
สร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืน  ด้วย “หลั่นล้า Economy” ได้อย่างไร
สร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืน  ด้วย “หลั่นล้า Economy” ได้อย่างไร
สร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืน  ด้วย “หลั่นล้า Economy” ได้อย่างไร
สร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืน  ด้วย “หลั่นล้า Economy” ได้อย่างไร
สร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืน  ด้วย “หลั่นล้า Economy” ได้อย่างไร
สร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืน  ด้วย “หลั่นล้า Economy” ได้อย่างไร
สร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืน  ด้วย “หลั่นล้า Economy” ได้อย่างไร
สร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืน  ด้วย “หลั่นล้า Economy” ได้อย่างไร
สร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืน  ด้วย “หลั่นล้า Economy” ได้อย่างไร
สร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืน  ด้วย “หลั่นล้า Economy” ได้อย่างไร
สร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืน  ด้วย “หลั่นล้า Economy” ได้อย่างไร
สร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืน  ด้วย “หลั่นล้า Economy” ได้อย่างไร
สร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืน  ด้วย “หลั่นล้า Economy” ได้อย่างไร
สร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืน  ด้วย “หลั่นล้า Economy” ได้อย่างไร
สร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืน  ด้วย “หลั่นล้า Economy” ได้อย่างไร

More Related Content

More from Klangpanya

The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKlangpanya
 
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdfการบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdfKlangpanya
 
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdfรร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdfKlangpanya
 
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdfปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdfKlangpanya
 
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....Klangpanya
 
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิชประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิชKlangpanya
 
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดีปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดีKlangpanya
 
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุล
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุลใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุล
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุลKlangpanya
 

More from Klangpanya (20)

The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdf
 
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdfการบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
 
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdfรร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
 
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdfปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
 
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
 
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิชประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
 
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดีปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
 
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุล
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุลใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุล
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุล
 

สร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืน ด้วย “หลั่นล้า Economy” ได้อย่างไร

  • 1.
  • 2. การประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 6 สร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืน ด้วย “หลั่นล้า Economy” ได้อย่างไร จัดโดย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 25 เมษายน 2560 รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.rsu-brain.com บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล ถอดความและเรียบเรียง : อุสมาน วาจิ ปลายฟ้า บุนนาค ปาณัท ทองพ่วง ณัฐธิดา เย็นบารุง อรุณ สถิตพงศ์สถาพร เผยแพร่: พฤษภาคม 2560 ที่อยู่ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
  • 3. สารบัญ หน้า บทนา สร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืน ด้วย “หลั่นล้า Economy” ได้อย่างไร 1 - หลั่นล้าไทยคือปาฏิหาริย์ครั้งใหม่ของโลก (The New Miracle of the World) 2 - ภาครัฐตามไม่ทันความหลั่นล้าของเศรษฐกิจ 4 - การท่องเที่ยวที่ “หลั่นล้าโดยชาวบ้าน” 7 - โอกาสหนังไทยในการสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี 10 การอภิปรายแลกเปลี่ยน 12 ภาคผนวก รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม 35
  • 4. บทนา “หลั่นล้าอีโคโนมี” เป็นการนาความคิดคนอื่นมาสร้างกึ่งเล่นกึ่งจริง ที่ใช้คาว่า “หลั่นล้า” เพราะ คนไทยมีนิสัยชอบเล่นชอบเที่ยว สนใจเรื่องความงาม ความสนุก เป็นมิตรกับคนต่างชาติ สมัยก่อนเรื่อง หลั่นล้าเป็นเรื่องไม่ดี แต่ปัจจุบันสิ่งเหล่านี้สามารถทาเป็นอาชีพ ทาเป็นงานได้ ตอนแรกตีความคาว่า “หลั่นล้า” ว่าหมายถึงการท่องเที่ยวเป็นหลัก แต่ภายหลังหมายรวมถึงดนตรี อาหาร สุขภาพ สิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ไปจนถึงมวยไทยด้วย เดิมทีเรามองว่าการท่องเที่ยวเป็นของหวาน และมองว่าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเป็น อาหารจานหลัก แต่ทุกวันนี้มูลค่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเกินร้อยละ 20 แล้ว เกษตรกรรมอยู่แค่ร้อย ละ 8 และอุตสาหกรรมอยู่ที่ประมาณร้อยละ 30 ทั้งนี้ แม้มูลค่าอุตสาหกรรมจะสูงกว่าการท่องเที่ยว แต่ ในอีก 10 ปีข้างหน้า มูลค่าการท่องเที่ยวและการเดินทางจะเติบโตเร็วมากจนกระทั่งคิดเป็นหนึ่งในสาม ของเศรษฐกิจประเทศ การท่องเที่ยวจึงนับเป็นอาหารจานหลักแล้วก็ว่าได้ ไม่ได้เป็นแค่อาหารเสริมพอ แก้ขัดในยามเกษตรกรรมไม่ดีหรืออุตสาหกรรมหยุดชะงัก เราจึงควรคิดเป็นยุทธศาสตร์ให้มากขึ้น เมื่อวันอังคารที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2560 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จัดเวทีประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 6 เรื่อง สร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืน ด้วย “หลั่นล้า Economy” ได้อย่างไร ณ โรงแรมหัวช้าง เฮอริเทจ ราชเทวี โดยมีนัก ยุทธศาสตร์ นักนโยบาย นักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายวงการและสาขาอาชีพเข้าร่วม ระดมสมองเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มใหม่ของโลกและสังคมไทย และร่วมกันเสนอแนวทาง พัฒนายุทธศาสตร์ชาติระยะยาว เพื่อให้ประเทศไทยมียุทธศาสตร์ชาติเป็นกรอบในการพัฒนาประเทศ อย่างมีทิศทาง เป็นองค์รวม และเตรียมพร้อมประเทศเพื่อตอบรับกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต ในการนี้สถาบันคลังปัญญาฯ จึงได้จัดทารายงานสรุปเนื้อหาการประชุมครั้งนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่ เป็นความรู้สู่สังคม ผู้กาหนดและตัดสินใจทางนโยบาย บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทายุทธศาสตร์ชาติ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ในห้วงที่กาลังมีความพยายามปฏิรูปครั้งใหญ่เกิดขึ้นในประเทศไทยอยู่นี้
  • 6. 2 หลั่นล้า Economy ของไทย อาจารย์วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หลั่นล้า Economy ของไทยคือปาฏิหาริย์ครั้งใหม่ของโลก (The New Miracle of the World) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโลกกาลังมองไทยในฐานะที่เป็น The New Miracle เพราะไทยมี อัตรารายได้จากการท่องเที่ยวเทียบกับ GDP สูงติด 10 อันดับแรกของโลก นอกจากปริมาณเงินและ นักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นแล้ว ความหลากหลายที่เข้ามาในไทยก็มากขึ้นด้วย อย่างเช่นปีที่ผ่านมา สัดส่วน นักท่องเที่ยวผมดายังคงมากที่สุด แม้นักท่องเที่ยวผมทองจะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมของเรา เมื่อ 15 ปีที่แล้วไม่คุ้นเคยกับนักท่องเที่ยวผมดาเลย เราคุ้นเคยแต่กับนักท่องเที่ยวผมทองมาโดยตลอด สาเหตุที่เราคุ้นเคยกับนักท่องเที่ยวผมทองต้องย้อนไปเมื่อสมัยสงครามเวียดนาม เพราะอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวของเราโตมาพร้อม ๆ กับการมาของโทรทัศน์ในโลกนี้ โทรทัศน์เปรียบเสมือน Living Room War ของสงครามเวียดนาม เพราะเป็นช่วงที่ทุกคนใช้เวลาดูโทรทัศน์มากที่สุด ข่าวที่รายงาน ในช่วงสงครามเย็นมากที่สุดก็คือสงครามเวียดนาม กอปรกับพื้นที่รายงานข่าวที่ปลอดภัยที่สุดก็คงจะ เป็นกรุงเทพฯ คนทั่วโลกจึงรู้จักกรุงเทพฯ ไปโดยปริยาย ปัจจุบันถ้านับเงินโฆษณา ประเทศที่ใช้งบโฆษณาด้านการท่องเที่ยวมากที่สุด คือ อินเดีย ซึ่งใช้ มากกว่าไทย 40 เท่า โดยใช้คาว่า “Incredible India” แต่ทุกวันนี้คนก็ยังไม่ค่อยรู้จัก ไม่รู้ว่าจะต้องไป เที่ยวจุดไหนของเมืองอะไร รองลงมาก็เป็นเกาหลีใต้กับมาเลเซีย ใช้มากกว่าไทยประมาณ 4 - 5 เท่า โดยมาเลเซียโฆษณาตัวเองในคาจาว่า “Truly Asia” ซึ่งเหมือนกับการใช้ “Amazing Thailand” ของบ้าน เราที่ใช้มาสิบกว่าปี เพื่อให้นักท่องเที่ยวจดจาเราได้ กว่าร้อยละ 64 ของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในไทยนั้นเป็นนักท่องเที่ยวที่มาซ้า (Repeated Visitors) แปลว่าเขาเคยมาแล้วเขาชอบ เขาเลยกลับมา ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา เราได้รับการโหวตสูงสุด ในระดับโลกหลายครั้งติดต่อกัน อันดับหนึ่ง คือ Best Value for Money หมายความว่า คุณจ่ายเงิน 100 เหรียญ คุณได้ห้องนอนที่ดีที่สุดในประเทศไทยแน่นอน เมื่อเทียบ 100 เหรียญที่ไปจ่ายประเทศอื่น เรามีค่าโรงแรมถูกที่สุดในอาเซียน แต่นี่ไม่ใช่เป้าหมายเราอีกต่อไป เราจะเปลี่ยนตัวเองเป็น Best Value for Experience นอกจากนี้ ไทยยังได้รับการยอมรับจากอโกด้า‎ (Agoda) ว่ามีความหลากหลายของ ห้องนอนมากที่สุดในโลก ตั้งแต่คืนละหกสิบไปจนถึงคืนละหลายแสนบาทเลยทีเดียว
  • 7. 3 อโกด้า‎เป็นแพลตฟอร์มดูแลเรื่องการจองโรงแรมมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศ ไทยโดยชาวต่างชาติที่มาดาน้าแล้วเห็นโอกาสช่องทางทาธุรกิจ จึงนาไปสร้างแพลตฟอร์มสาหรับการ จองโรงแรมขึ้นมา เมื่อลูกค้าต้องการจองโรงแรม อโกด้าจะแสดงรายการโรงแรมให้ลูกค้าเลือกบน ช่องทางออนไลน์ว่าต้องการห้องแบบไหน ปรากฏว่า ไทยมีห้องมากกว่า 275,000 แบบ แสดงว่าคน ออกแบบห้องในไทยมีความคิดสร้างสรรค์มาก อีกทั้งสื่อให้เห็นว่าไทยมีต้นทุนทางด้านวัตถุที่ไม่ใช่แค่ หาดทราย ทะเลหรือสวน แต่ยังมีห้องนอนที่หลากหลายมากอีกด้วย ทั้งนี้ยังไม่นับว่าอโกด้ามีรายได้หลัก มาจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแหล่งรายได้ที่ใหญ่ที่สุดในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ก็มาจากประเทศไทย สะท้อนให้เห็นว่า “หลั่นล้าของไทย” นอกเหนือจากหลั่นล้าที่อยู่นอกโรงแรมแล้ว หลั่นล้าในโรงแรมก็ลงทุนไปไกลมากจนหลั่นล้าได้ที่แล้ว ในปัจจุบัน ชาวต่างชาติส่วนมากที่บินกลับมาเที่ยวที่ไทยเป็นประจาไม่ได้มาเพราะตื่นเต้นกับ ความหลากหลายของห้องอีกต่อไป แต่เขาสนใจมาคุยกับคนไทยในท้องถิ่น แม้คนท้องถิ่นจะคุย ภาษาอังกฤษไม่ค่อยเก่ง แต่ก็พอคุยรู้เรื่อง คุยสนุกและเขารู้สึกอยากจะติดตามวิถีชีวิตคน นี่เป็นสิ่งที่ สะท้อนถึงการท่องเที่ยวจิตอาสา (Voluntourism) ที่คนไทยยังไม่ค่อยรู้จัก และเป็นที่มาของอันดับสอง คือ Best Local Friendly เพราะถึงแม้คนท้องถิ่นของเราจะไม่ค่อยเก่งเรื่องภาษา แต่มีความเป็นกันเอง สูงมาก เช่น มอเตอร์ไซค์รับจ้าง คนขับสามล้อถีบ พอเห็นคนต่างชาติไม่รู้ทางมาถามทางก็มักพยายามที่ จะสื่อสาร สิ่งเหล่านี้ไม่ค่อยเกิดกับประเทศอื่น โดยเฉพาะประเทศที่เสียหายจากสงคราม (War-Torn Country) ที่บังคับสั่งสอนนักท่องเที่ยวเพื่อบอกว่ามีตู้ประชาสัมพันธ์ (Kiosk) คอยให้ข้อมูล แต่ใน ประเทศไทย นักท่องเที่ยวมักไม่ให้ความร่วมมือกับตู้ประชาสัมพันธ์ เพราะเรามองว่าตู้ประชาสัมพันธ์ เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่และเราไม่ค่อยอยากคุยกับเจ้าหน้าที่ เราอยากคุยกับชาวบ้านมากกว่า ชาวบ้าน นั่นแหละคือคนที่ให้ข้อมูลที่น่ารักที่สุด ถูกผิดไม่เป็นไร ขอแค่ให้ได้ความรู้สึกเป็นกันเอง เพราะฉะนั้น จึงอาจเรียกได้ว่าสังคมเราวัฒนธรรมของเรามีความ “ยืดหยุ่น” และ “ยิ้มแย้ม” ต่าง กับการไปที่อื่น เช่น เวลาเราไปทานอาหาร ที่ญี่ปุ่นถึงเขาจะยิ้มแย้มแต่ไม่ยืดหยุ่น เพราะเราสั่งนอกเมนู ไม่ได้ ถ้าไปยุโรป ยืดหยุ่นแต่ไม่ยิ้มแย้ม เพราะเราสั่งนอกเมนูได้ แต่เขาจะคิดเงินเพิ่ม ในทางตรงข้าม ของบ้านเราสั่งตามใจได้ทุกอย่าง ด้วยพื้นฐานความ “ยิ้มแย้ม” และ “ยืดหยุ่น” ของเรานี่เองที่ทาให้ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเรามาไกลจนถึงขั้นเป็น “The New Miracle of the World” ฉะนั้น การท่องเที่ยว ชุมชนจึงไม่ใช่แค่สร้างมูลค่าที่เป็นตัวเงิน แต่มันยังทาให้เราค้นพบคุณค่าในตัวเราเองด้วย
  • 8. 4 ภาครัฐตามไม่ทันความหลั่นล้าของเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เกิดขึ้นมาโดยเป็นแผนกเล็ก ๆ ของการรถไฟแห่ง ประเทศไทย อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไม่เคยอยู่ในสายตาของรัฐมาก่อนเลย จนกระทั่งมันมีรายได้ขึ้นมา และส่วนหนึ่งมาจากการที่คณะรัฐมนตรีสั่งให้โอนมาสังกัดสานักนายกรัฐมนตรี ทาให้ ททท. มีโอกาส นาเสนอเกี่ยวกับการท่องเที่ยวมากขึ้น เช่น มีนักท่องเที่ยว 1 ล้านคนใน พ.ศ. ไหน มีรายได้เกิน 1 ล้าน ล้านบาทใน พ.ศ. ไหน เป็นต้น จนสานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ได้บันทึกสถิติไว้ แต่ก็ยังไม่มีนโยบาย สิ่งที่พิสูจน์ได้จนกระทั่งบัดนี้คือ เรามีกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา แต่เราก็ยังไม่มีข้าราชการ ด้านท่องเที่ยว เพราะว่ากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬานั้นเป็นกระทรวงที่ท้องในห้องคลอด ในความ เป็นจริง ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีตั้งใจทาคลอดเพียง 5 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งไม่มีกระทรวงการท่องเที่ยวฯ แต่เมื่อเรื่องไปถึงที่สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ทาง ส.ว. กลับบอกว่า 5 กระทรวงที่จะให้คลอดวันที่ 1 ตุลาคม จะไม่ได้เกิดหากไม่มีกระทรวงกีฬา เนื่องจากในสมัยนั้น ส.ว. ห้ามหาเสียง ให้แจกได้แต่ใบแนะนาตัวเท่านั้น จึงไม่มีกิจกรรมทาง วัฒนธรรมท้องถิ่นไหนที่ยิ่งใหญ่ได้เท่ากับกีฬา เพราะคนมาร่วมมากมาย มีการโฆษณา มีงานรื่นเริง มี การค้าขายของ ทาให้สามารถเดินแจกใบแนะนาตัวได้ครั้งละมาก ๆ ทักษิณ ชินวัตรจึงนาไปปรึกษากับ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) สุดท้ายก็ได้ “กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา” ออกมา แล้ว ทีนี้จะเอาข้าราชการตรงไหนโอนมา เพราะ 5 กระทรวงที่ตั้งมีข้าราชการพร้อมอยู่แล้ว เช่น กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็ไปดึงมาจากกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ กระทรวงเทคโนโลยีฯ ก็ไปดึงมาจากกระทรวงคมนาคม แต่สาหรับกระทรวงการท่องเที่ยวฯ มี เพียง ททท. ที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่มีใครยอมเปลี่ยนสถานะจากพนักงานรัฐวิสาหกิจมาเป็นข้าราชการ ประเทศไทยจึงไม่มีข้าราชการที่รู้เรื่องและทาเรื่องท่องเที่ยว มีแต่ข้าราชการจากกรมพละเกือบทั้งหมด ที่มาเป็นข้าราชการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ อย่างไรก็ตาม ข้าราชการไม่ได้เป็นคนผิด เพราะเขาไม่ได้ขอดูแลการท่องเที่ยวและไม่ได้ขอให้มี กระทรวงกีฬา แต่ระบบการเมืองเป็นตัวตัดสินใจคลอดเด็กคนที่หก ซึ่งไม่ได้ถูกวางแผนไว้ จึงเป็นเหตุผล ว่า ทาไมการทาใบอนุญาตขอก่อสร้างโรงแรมในปัจจุบันไม่ต้องไปที่กระทรวงการท่องเที่ยวฯ แต่ต้องไป ยื่นที่ท้องถิ่นกับกระทรวงมหาดไทย เพราะพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) โรงแรมอยู่ภายใต้ กระทรวงมหาดไทย
  • 9. 5 จนผ่านไปสิบปี ภาครัฐเริ่มตระหนักได้ว่าเศรษฐกิจไทยต้องพึ่งการท่องเที่ยว และพบปัญหาว่ามี โรงแรมเถื่อนเกิดขึ้นเป็นจานวนมาก แต่กระทรวงการท่องเที่ยวฯ กลับไม่สามารถจัดการได้ เนื่องจากไม่ มีอานาจทางกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว เช่น ธุรกิจรถบัสรับ-ส่ง นักท่องเที่ยว เรื่องสัมปทานการวิ่งรถ มาตรฐานรถ ลักษณะรถ วิธีการจัดการทั้งหมดอยู่ภายใต้กระทรวง คมนาคม เรือเฟอร์รี่จะข้ามไปไหนมาไหนอยู่ภายใต้กระทรวงคมนาคม หาดทรายชายทะเลทั้งหมดอยู่ใน มือองค์การบริหารส่วนตาบล (อบต.) จะไปเที่ยวป่าเที่ยวเขาก็อยู่ในมือกรมอุทยานไม่ก็กรมป่าไม้ สถานที่ประเภทตลาดร้อยปีทั้งหมดอยู่ที่เทศบาล เป็นต้น เพราะฉะนั้น กระทรวงการท่องเที่ยวฯ จึงไม่รู้ จะบริหารอะไร “หลั่นล้าอีโคโนมี” จึงมักอยู่บนภาพโปสเตอร์เป็นหลัก เพราะกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ไม่ สามารถจัดการด้านผู้ให้บริการ (Supply Side) ที่ต้องใช้สิทธิและกฎหมายเข้าไปได้ จึงต้องหันไปทา กิจกรรมด้านนักท่องเที่ยว (Demand Side) แทน ด้วยเหตุนี้ สานักงบประมาณต้องหยุดภารกิจบางอย่างของ ททท. ลง เพราะเดิมที ททท. ทา ตั้งแต่ Supply ไปจนถึง Demand ทั้งสร้างส้วม สร้างที่จอด ทาป้ายบอกทาง ศึกษารายละเอียดสถิติการ เข้าเมือง ตลอดจนเป็นนางกวักที่กวักมือให้คนมาเที่ยว พอมีกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ขึ้นมา แม้สานัก งบประมาณจะไม่ได้แก้ พ.ร.บ. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย แต่กาหนดว่างบประมาณที่ ททท. ได้ จะต้องนาไปทากิจกรรมด้าน Demand Side หรือเป็นนางกวักเท่านั้น หากทามากกว่านี้ สานักงานตรวจ เงินแผ่นดิน (สตง.) จะลงโทษ ส่วนกิจกรรมด้าน Supply Side ตกเป็นความรับผิดชอบของกระทรวงการ ท่องเที่ยวฯ แต่ทาอะไรไม่ค่อยได้ เพราะไม่มีวิศวกร นักเศรษฐศาสตร์ นักออกแบบ ทาให้แม้ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะขึ้นมาเป็น “อาหารจานหลัก” ของหลั่นล้าอีโคโนมี แต่ข้าราชการกลับมาไม่ถึง ตามมาไม่ทัน ทางออกในช่วงที่ผ่านมาคือ จะต้องไปมุ่งใช้ประโยชน์จาก “พ.ร.บ. นโยบายการท่องเที่ยว แห่งชาติ” ประเทศไทยมี พ.ร.บ. ประมาณ 1,000 ฉบับ ไม่เคยปรากฏคาว่า “นโยบาย” มาก่อน เพราะ นโยบายไม่ควรอยู่ในกฎหมาย นโยบายเป็นเรื่องนโยบาย กฎหมายเป็นเรื่องกฎหมาย แต่ พ.ร.บ. ฉบับนี้ เป็นฉบับแรกเกิดขึ้นหลังปี 2549 คลอดปี 2551 ในชื่อว่า “พ.ร.บ. นโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2551” ซึ่งระบุไว้ 3 เรื่อง ดังนี้ เรื่องที่หนึ่ง ไม่ให้ กรุงเทพฯ ไปแก้ปัญหาประเทศไทย เพราะกรุงเทพฯ คงนึกไม่ออกว่าแต่ละ กลุ่มจังหวัดแตกต่างกันอย่างไร ใครเดินทางบ่อยก็ได้แต่สังเกตเอา แต่ไม่รู้จักอะไรมาก แก้อะไรไม่ได้ จึง กาหนดให้มีคลัสเตอร์ ในสมัยผมได้ประกาศว่า คลัสเตอร์ควรจะต้องมีฐานมาจากลุ่มน้า เพราะ วัฒนธรรมไทยโตมากับลุ่มน้า แบ่งเป็นกลุ่มน้าแห้ง น้าแล้ง ต้นน้า ปลายน้า เป็นต้น จึงเสนอให้จัดทา 16 ลุ่มน้าใหญ่ของประเทศ แต่ด้วยในขณะนั้นรัฐบาลไม่มีเสถียรภาพจึงไม่ทันได้ออกเป็นข้อกาหนดตาม
  • 10. 6 พระราชบัญญัติ ต่อมารัฐมนตรีรุ่นหลังได้ประกาศแบ่งออกเป็น 8 ลุ่มน้า ซึ่งไม่ได้สะท้อนเรื่องลุ่มน้าอีก ต่อไป กลายเป็นการประกาศตามอาเภอใจ ทาให้บางจังหวัดถูกละเลย เช่น แม่ฮ่องสอน พิจิตร เพชรบูรณ์ เป็นต้น เรื่องที่สอง คลัสเตอร์ควรอยู่ในอารมณ์ชนิดเดียวกัน วัฒนธรรมใกล้เคียงกัน เรื่องที่สาม เป็นกฎหมายแรกที่เกิดจากบทเรียนของกรุงเทพฯ ว่า เวลามีการห้ามขุดถนนแต่ก็ ขุด เพราะแต่ละกรมแต่ละหน่วยก็ต่างไล่ทาตามงบประมาณตามแผนปฏิบัติการของตัวเองและไม่ค่อยคุย กัน กฎหมายท่องเที่ยวแห่งชาติจึงสั่งไว้ว่า ถ้ามีการประกาศคลัสเตอร์ใดแล้วให้มี คณะกรรมการคลัสเตอร์ แล้วให้คณะกรรมการคลัสเตอร์ลงไปคุยกับประชาสังคม เหมือนกับที่ แผนกระบวนขับเคลื่อนปฏิรูปสุขภาพเคยทาไว้เป็นแนวทาง เพื่อให้เกิดการคุยกับภาคประชาสังคมแล้ว ค่อยออกข้อกาหนดคลัสเตอร์ กฎหมายนี้เป็นกฎหมายเดียวที่ระบุว่า การพัฒนา การทางาน การจัดการ ใดๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานใดเข้ามาในคลัสเตอร์เมื่อใดต้องสอดคล้องกับแผนคลัสเตอร์นั้น พ.ร.บ. ฉบับนี้สะท้อนถึงการมีบูรณาการนั่นเอง เพียงแต่เราไปไม่ถึงท่อนที่สาม เนื่องจากความ อ่อนแอของท่อนที่สองที่คลัสเตอร์ไม่รู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน ยิ่งไปกว่านั้น ความเกรงใจของระบบ ราชการก็ระบุว่า ให้ประธานคลัสเตอร์เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่เลือกกันเองในคลัสเตอร์ ผู้ว่าฯ ที่ได้รับ การรับเลือกส่วนใหญ่ก็มาจากจังหวัดใหญ่ ไม่รู้จักจังหวัดเล็ก รู้จักแต่จังหวัดตัวเอง และส่วนใหญ่ผู้ว่าฯ จังหวัดใหญ่อยู่เพียง 3 ปีก็เกษียณ จึงทาอะไรเป็นเรื่องยาวเรื่องใหญ่ไม่ได้ ทั้งนี้ ผู้ว่าฯ ก็ไม่ได้ทาเอง ทั้งหมด แต่มักใช้เจ้าหน้าที่ในสานักงานจังหวัดตัวเองไปทา ใช้ท่องเที่ยวกีฬาจังหวัดไปทา ประสิทธิผล จึงไม่ค่อยเกิด โลกรู้จักเราแล้ว อุตสาหกรรมภาคธุรกิจก็ไปไกลแล้ว แต่ตัวโต๊ะตัวภาชนะที่จะให้เขาไปตั้งวิ่ง ตามไม่ทัน อุตส่าห์มีโต๊ะกฎหมายไปวางก็เป็นโต๊ะขาเก เพราะว่ากฎหมายอนุญาตให้ตั้งองค์กรแต่ไม่ได้ ให้อานาจอะไรมาเลย ปัจจุบันกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ได้งบประมาณเป็นอันดับ 3 จากที่โหล่ รองจาก กระทรวงพลังงานและกระทรวงเทคโนโลยีฯ ทุกวันนี้เรายังหาผู้รับผิดชอบชาระค่าไฟฟ้าสองฝั่งริมแม่น้า เจ้าพระยาไม่ได้ เพราะทุกคนเกี่ยงกันหมดและหวังให้เจ้าบ้านจ่ายเอง แต่การท่องเที่ยวไทยตอนกลางวัน นั้นร้อนมาก ถ้าต้องการให้สุภาพสตรีมาเที่ยวไทยมากขึ้น ก็ต้องให้เขามาเที่ยวช่วงโพล้เพล้พลบค่า ฉะนั้น ควรทาให้เมืองสว่างไสว ต้อนรับคนที่อยากจะลงเรือล่องน้า ตัวอย่างเช่น ในวันที่เรือ “RMS Queen Mary 2” เรือท่องสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลกมาเทียบท่า จอดที่เมืองไทยจานวน 1 คืน มีลูกเรือประมาณ 1,500 คนและลูกค้าอีกประมาณ 2,000 คน เราขึ้นไป ขายทัวร์ 1 คืน พบว่า กิจกรรมที่พวกเขาต้องการทามากที่สุด คือ การล่องเรือในคลองบางกอกน้อย
  • 11. 7 เพราะเขาอยากสัมผัสบรรยากาศความเป็นเวนิซเก่าและซึมซับวิถีชีวิตริมน้าจืดของคนไทย แต่ภาครัฐคิด ไม่ถึงและตามไม่ทัน การท่องเที่ยวที่ “หลั่นล้าโดยชาวบ้าน” ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 10 ปีที่แล้วผมประกาศไว้ว่า เราต้องหยุดทาเรื่องการท่องเที่ยวที่ เน้นปริมาณ (Mass Tourism) และหันมาสนใจการท่องเที่ยวแบบกลุ่มเฉพาะ (Niche Tourism) โดยใช้พื้นฐานหลั่นล้าที่เรามีเข้ามาช่วย ในประเทศไทยมีตลาดการท่องเที่ยวแบบกลุ่มเฉพาะที่น่าสนใจ อยู่ด้วยกัน 3 ประเภท ดังนี้ ประเภทแรก คือ “การท่องเที่ยวแนวชีวิตผจญภัย (Life Adventure)” ซึ่งกาลังเป็นกระแส ของโลก เพราะว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง หากถามว่าทาไมชนชั้นกลางถึงต้องท่องเที่ยว ก็เข้าใจว่าเป็นเหตุผลเดียวกับที่เขายอมจ่ายเต็มที่เพื่อให้ลูกได้เรียนโรงเรียนที่ดีที่สุด ดังที่ ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี เคยกล่าวไว้ว่า “ชนชั้นกลางเป็นกลุ่มคนที่มีความเชื่อว่าการศึกษาและความ ขยันหมั่นเพียรจะทาให้คนเปลี่ยนชนชั้นทางสังคม (Social Classification) จากข้างล่างไปอยู่ข้างบนได้ บ้าง” การท่องเที่ยวก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา โดยชนชั้นกลางนั่นแหละที่เป็นกลุ่มที่เห็นมัน ทั้งที่ เมื่อก่อนการท่องเที่ยวไม่ใช่กิจกรรมเชิงวัฒนธรรมแต่เป็นเชิงธุรกิจ สถิติการท่องเที่ยวสมัยก่อนระบุว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศชายและมีอายุอยู่ระหว่าง 25- 40 ปี ส่วนหนึ่งก็มาจากการที่เขาเป็นนักธุรกิจที่ได้ออกเดินทางไปประชุม จนได้เห็นได้ประสบการณ์ กลับไปเล่าถึงเรื่องอาหารการกิน ผู้คน นิสัยใจคอให้คนในเมืองเขาฟัง และเกิดเป็นการเล่าแบบปากต่อ ปากเป็นระยะเวลานาน ซึ่งน่าเชื่อถือกว่าคาโฆษณามาก เราก็เลยเกาะกระแสด้วยการอธิบายผ่านคาว่า Amazing Thailand ทาให้คนเห็นภาพและเชื่อว่าประเทศไทย Amazing จริงๆ ประเภทที่สอง คือ “การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน” ซึ่งกาลังเป็นกระแสหลักในขณะนี้ ที่แม้แต่ องค์กรสหประชาชาติ (United Nations : UN) ก็ยังประกาศเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ซึ่งมีใจความว่า กิจกรรมทุกอย่างต้องมีความยั่งยืน ต้องมีความเกื้อกูล กันและกัน (Inclusiveness) เช่นเดียวกันกับองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืน (อพท.) ที่ผมดารงตาแหน่งคณะกรรมการบริหารอยู่ พอมีคาว่า “อย่างยั่งยืน” เราก็คิดว่าเรา ต้อง “หลั่นล้าโดยเจ้าของบ้าน” ไม่ใช่ “หลั่นล้าที่ผู้เที่ยว” เพราะปกติเรามักจะบริหารกิจการการท่องเที่ยว ของเราตามใจผู้เที่ยว จนทุกวันนี้ประเทศไทยมีตลาดน้าสี่ภาคทุกจังหวัด ขุดที่ดินทาตลาดน้าปลอม ขึ้นมา ขาดเอกลักษณ์และไม่กลมกลืนไปกับชุมชน
  • 12. 8 อพท. กาเนิดขึ้นมาในสมัยอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร จากความคิดที่เสนอโดยคุณพัน ศักดิ์วิญญรัตน์ กับคุณปลอดประสพ สุรัสวดี ที่ตอนนั้นต้องการพัฒนาให้ไทยเป็น “World Class Destination” จึงไปหยิบเกาะช้างมาทาเป็นที่จอดเรือยอร์ช สร้างสนามบินบนเกาะกูด แต่ชาวบ้านไม่เห็น ด้วยจึงเกิดการต่อต้านจน อพท. กลายเป็นจาเลยรายใหญ่ ทาให้ อพท. ต้องเปลี่ยนมาใช้คาว่า “ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” โดยปรับหลักว่า คนหลั่นล้าควรจะเป็นชาวบ้าน แล้วให้ไปท่องเที่ยวชุมชนโดย ชุมชน ให้เรื่องท่องเที่ยวรับใช้ชุมชน ไม่ใช่ชุมชนไปรับใช้ท่องเที่ยว เพราะถ้าให้ชุมชนรับใช้ท่องเที่ยว เขาอาจจะต้องย้ายหนีหรือเราต้องออกไปไล่เขา คนหลั่นล้าดันกลายเป็นนักท่องเที่ยว แต่ในความเป็น จริงต้องหลั่นล้าที่ชาวบ้าน จากนั้นเราไปหาความหมายของ “ความยั่งยืน” ในระบบสากล พบว่า องค์การการท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organization : UNWTO) ให้การยอมรับเงื่อนไขการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Criteria : GSTC) ที่ประกอบด้วย 51 ตัวชี้วัดและเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ใช้ที่ใดก็ ได้ในโลก กล่าวคือ ถ้าทาได้ทั้ง 51 ตัวชี้วัดนี้แสดงว่ายั่งยืน เช่น ได้ที่ดินมาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ มีธรรมนูญพื้นที่ที่ตกลงกันเองระหว่างประชาคมหรือไม่ มีการตรวจสอบเป็นรายปีหรือไม่ มีการป้องกันที่ จะไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบหาผลประโยชน์ใส่ตัวหรือไม่ เป็นต้น ตัวอย่างที่หนึ่ง ตาบลปลาบ่า จังหวัดเลย เป็นพื้นที่ธรรมดาที่ไม่มีอะไรให้เที่ยว แต่พอหมด ฤดูเก็บเกี่ยว ชุมชนจะนารถเก็บเกี่ยวมาให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ทาให้รู้สึกเหมือนเที่ยวฟาร์มและได้ เห็นสิ่งที่ชาวบ้านทา เช่น การปลูกแก้วมังกร การปลูกแนวกันไฟกินได้ซึ่งก็คือการปลูกพืชผักสวนครัว ล้อมรอบ สิ่งที่ตามมาคือช้างเดินออกจากป่ามากินผัก กานันจึงหาวิธีป้องกันโดยเอาไผ่หนามมาปลูกสลับ ฟันปลาเพื่อไม่ให้ช้างเข้าได้ ผลลัพธ์ที่ได้คือ แนวกันไฟป่าที่ช้างกินผักไม่ได้แต่กินไผ่ได้ ไผ่ก็โตใหม่ได้ เรื่อย ๆ นักท่องเที่ยวก็มาดูช้างได้ ถ้าไปช่วงนอกฤดูเก็บเกี่ยวชาวบ้านก็ไม่ว่า ทาให้เกิดความยั่งยืน เพราะชาวบ้านได้ทาในสิ่งที่เขาต้องการจะทา ไม่กระทบเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพหลักของเขา อีกทั้งยัง มีรายได้เสริมนอกฤดูเก็บเกี่ยวจากนักท่องเที่ยว ตัวอย่างที่สอง อาเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จะเห็นว่า ห้องแถวที่เป็นอาคารบ้านเรือนเก่า สองข้างทางตลาดไม่เปลี่ยนไปเลย ทั้งนี้ เพราะชาวบ้านตกลงกันเองและปรึกษากับ อพท. ว่าอยากจะ รักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ เราจึงชวนชาวบ้านเขียนธรรมนูญชาวบ้าน เพื่อเป็นข้อตกลงกันว่าจะไม่เปลี่ยนห้อง แถวเป็นสีสันที่แตกต่างแหกคอก ทาลายความเป็นเอกลักษณ์ หลังจากนั้นก็ให้เทศบาลก็ออกเทศบัญญัติ ทับลงไปอีก เพื่อประกันว่า “ถึงคุณจะมีเงินแค่ไหนก็จะไม่ออกใบอนุญาตก่อสร้างให้ ถ้าคุณใช้วัสดุที่ผิด แผกไปจากที่ธรรมนูญชาวบ้านตกลงไว้” ข้อกาหนดท้องถิ่นจึงมีผลสาคัญ
  • 13. 9 สิ่งที่ตามมาวันนี้คือ ตารวจในเชียงคานก็พากันแต่งชุดตารวจในยุครัชกาลที่ 5 ซึ่งเกิดจากการที่ หน่วยงานของรัฐไปขออนุญาตกับผู้บัญชาการภาค 5 เพื่อสร้างบรรยากาศ ทาให้มีคนมากมายมาขอ ถ่ายรูปกับตารวจ เกิดเป็นรอยยิ้มความประทับใจ นอกจากนี้ ธรรมนูญเชียงคานยังกาหนดให้ดื่ม แอลกอฮอล์ภายในร้านเท่านั้น ห้ามนาออกจากร้านเด็ดขาด เพื่อป้องกันปัญหาทะเลาะวิวาทและความ สกปรกที่อาจเกิดขึ้นตามมา สุดท้าย ประเภทที่สาม คือ “นักท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ (Business Traveler)” คนกลุ่มนี้ไม่ได้ เป็นนักท่องเที่ยวเต็มตัวแต่กลับใช้จ่ายมากกว่านักท่องเที่ยวเป็นอย่างน้อย 3 เท่าตัวเสมอ เพราะเขา เดินทางมาด้วยกระเป๋าสตางค์สองใบ ใบหนึ่งเถ้าแก่ให้มา มางานประชุม มางานนิทรรศการ มางานจัด แสดง มาพบปะจัดมีตติ้ง ร่วมงานสัมมนา กิจกรรมเหล่านี้เถ้าแก่เป็นคนออกค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าที่ พักให้เบ็ดเสร็จ พอตกเย็นเขาก็แปลงกลายเป็นนักท่องเที่ยวหยิบกระเป๋าตังค์อีกใบหนึ่งซึ่งก็คือของ ตัวเองออกมาใช้ นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จึงใช้จ่ายมากกว่านักท่องเที่ยวปกติ ซึ่งโลกทั้งใบกาลังค้นหา นักท่องเที่ยวแบบนี้ ในสมัยก่อน เมืองหลวงแห่ง MICE (Meetings, Incentives, Conference, Exhibitions) ทั้งหมด อยู่ในยุโรป เพราะเป็นที่ตั้งของชนชั้นกลางของโลก คนที่เชื่อว่าต้องไปดูวิทยาการของกันและกัน ไป แลกเปลี่ยนประชุมหารือกันและกันเมื่อก่อนอยู่ที่ยุโรป แต่ในปัจจุบันคนกลุ่มนี้กาลังมาที่เอเชีย ใคร ๆ ก็ อยากรู้ว่าเอเชียทากันอย่างไร อยู่กันอย่างไร ทามาค้าขายกันอย่างไร นี่เป็นส่วนหนึ่งที่ทาให้หนังรักของ ไทยขายดีด้วย เพราะเขาอยากจะรู้ว่าคนเอเชียผมดารักกันอย่างไร สร้างครอบครัวอย่างไร จะได้เข้าใจ และสร้างธุรกิจกับคนเอเชียได้ สาหรับประเทศไทย มีนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้เข้ามาจากต่างประเทศประมาณ 1 ล้านคนต่อปี และมี การจับจ่ายใช้สอยโดยรวมอยู่ที่ประมาณ 1 - 1.5 แสนล้านบาทต่อปี อีกทั้งเรายังมีศูนย์การประชุม (Convention Hall) ที่ใหญ่ติดอันดับศูนย์การประชุมที่ใหญ่ที่สุด 20 อันดับแรกของโลก นั่นคือ ไบเทค บางนาและอิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ซึ่งต่างก็ไม่ได้ลงทุนโดยรัฐเหมือนยุโรปที่ส่วนใหญ่เป็นของรัฐ อย่างเช่นที่โคโลญจน์และเบอร์ลิน สะท้อนว่าเอกชนไทยไปไกลแล้ว เพราะฉะนั้นเรายังรองรับได้อีกมาก ขณะนี้เส้นทางรถไฟที่วิ่งเข้ามาจากเมืองจีนผ่านอีสานก็จะทาให้เกิดโอกาสใหม่ในอีสานและมีแนวโน้มจะ เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยในประเทศไทยก็ผลิตคนป้อนเข้าสู่ภาคการผลิตที่เป็น “หลั่นล้าอี โคโนมี” อย่างต่อเนื่อง จนประเทศไทยมีนักศึกษาสายการแสดง นิเทศศาสตร์ และวารสารศาสตร์มาก ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาจจะมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเลยด้วยซ้าไป
  • 14. 10 ยิ่งไปกว่านั้น ตลาดภายในประเทศของการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เป็นตลาดที่ใหญ่มาก เรามี นักท่องเที่ยว MICE ในประเทศเราเองมากถึง 25 ล้านคนต่อปี แสดงให้เห็นว่า เวทีประชุมสัมมนาทาให้ เงินหมุนเวียนในประเทศได้ ฉะนั้น เวลาจัดประชุม ทาไมเราต้องซื้อกาแฟสาเร็จรูปมาเสิร์ฟคนท้องถิ่น ทาไมเราไม่เอาเครื่องดื่มของท้องถิ่นของชาวบ้านมาเสิร์ฟ ทาไมไม่ใช้ข้าวจากท้องถิ่นแทนข้าวจากพ่อค้า คนกลาง โอกาสหนังไทยในการสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ถ้ารัฐบาลไทยรู้จักเล่น ภาครัฐจะสามารถทาให้ตัวเองไปไกลอย่างที่ เราเห็นจาก “แดจังกึม” ได้ นโยบายเรื่องแดจังกึมเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2543 โดยมีประธานาธิบดีสนับสนุน อย่างต่อเนื่อง จุดประสงค์หลักคือเกาหลีต้องการให้วัฒนธรรมตัวเองตอบสนองต่อโจทย์การเมือง ไม่ใช่ เพื่อจะขายละครให้เราดู โดยพื้นฐานคือต้องการสร้างความเป็นหนึ่งเดียว (Unify) ให้กับเกาหลีเหนือและ เกาหลีใต้ เพื่อให้ทุกคนภูมิใจว่ามาจากอู่อารยธรรมเดียวกัน จุดประสงค์ต่อมาสังเกตได้ว่า ด้วยความที่คนเกาหลีเป็นมองโกลเก่า คนเกาหลีจึงมีนิสัยค่อนข้าง ดุ ผู้นาเกาหลีมองว่าอาการแบบนี้อาจจะไม่เป็นที่ต้อนรับหรือยอมรับจากต่างประเทศ จึงสร้างผู้ชายใน อุดมคติให้ดูในละคร ฉะนั้น ผู้ชายในละครเกาหลีจะแต่งตัวดี พูดจาดี โรแมนติก ละครและภาพยนตร์ เกาหลีจึงไม่ได้สร้างมาเพื่อหาเงิน แต่สร้างมาเพื่อนโยบายวัฒนธรรมและการเมือง ยิ่งไปกว่านั้น ละคร และภาพยนตร์เกาหลีเขาเน้นทาให้ดีทาให้สมบูรณ์แบบ ถ่ายหลายเทค ลองหลาย ๆ มุมเพื่อให้ดูสมจริง พล็อตเรื่องก็ดี ต่างกับไทยที่ไม่ค่อยมีทุน งานสร้างและพล็อตก็ไม่ได้เรื่อง ส่วนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเรา มีกองถ่ายทาภาพยนตร์มากกว่า 700 กองต่อปีเข้ามาถ่าย ทาในไทย เพราะเรามีสถานที่ถ่ายทาดี ต้นทุนดี ชาวบ้านดี บริการดี ขาดเพียงแค่ 3 องค์ประกอบเท่านั้น คือ องค์ประกอบแรก บทไม่ได้เรื่อง เนื้อเรื่องเดาได้ ต่างจากเกาหลีและอังกฤษที่มีทุนสนับสนุนให้คน เขียนบทดี ๆ สามารถนาไปต่อยอดด้วยการจ้างนักเขียนการ์ตูน สร้างคาแรคเตอร์ขึ้นมาได้ ต่อให้หนัง ไม่ได้สร้างก็ยังได้คาแรคเตอร์ องค์ประกอบที่สอง ขาดการสนับสนุนการเปลี่ยนจากตัวอักษร (Text) เป็นภาพ (Visual) เพื่อให้เป็นลายเส้นสามารถนาไปวางที่ต่าง ๆ และทาให้คนเข้าใจเรื่องราวของ หนังได้ตั้งแต่ยังไม่ได้สร้าง ซึ่งจะทาให้เราตั้งกองทุนต่างประเทศและระดมทุนสาธารณะ (Crowd Funding) ได้ง่ายขึ้น และ องค์ประกอบที่สาม เรามีหนังผี หนังตลกสาวประเภทสอง หนังดราม่า ซึ่ง ชาวต่างชาติชอบผีไทยและยกย่องให้เป็นหนังฮอลลีวูดแล้ว เช่น หนังที่นนทรีย์ นิมิบุตรทา เพียงแต่เรา ไม่มี Distribution Network ไม่งั้นชนะไปไกลแล้ว
  • 15. 11 อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจคือ คนจีนกว่า 1,400 ล้านคนไม่เคยเห็นสาวประเภทสอง เพราะ คอมมิวนิสต์มีข้อห้ามเรื่องสาวประเภทสองกับเทพ สองสิ่งนี้จึงถูกระบบคอมมิวนิสต์เชือดทิ้ง วัดก็มี สถานะเป็นเพียงสถานที่ไม่มีจิตวิญญาณ คนจึงมาหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไทย มาหามงคลวัตถุคล้องคอกลับ บ้าน จนเกิดตลาดพระเครื่องที่กรุงปักกิ่ง เพราะทุนนิยมที่เข้าไปในจีนทาให้คนจีนเหงาและเบื้องต้นมี เพียงชนชั้นกลางที่ได้รับการปลดปล่อย จึงมีแต่ชนชั้นกลางที่เป็นคนท่องเที่ยวเป็นคนดูหนัง พวกเขาอยู่ ในช่วงกาลังค้นหาไลฟ์สไตล์ หนังบอกอะไรเขาก็จะทาอย่างนั้น คนจีนชอบดูหนังในโรงภาพยนตร์มาก แต่จีนแผ่นดินใหญ่กาหนดโดยปักกิ่งว่า ห้ามมีหนัง ต่างประเทศเข้ามาฉายเกินว่า 40 เรื่องต่อปี ต่างจากไทยที่มีหนังต่างประเทศเข้ามามากกว่า 220 เรื่อง ต่อปี ยิ่งไปกว่านั้น ใน 40 เรื่องที่เข้าฉายที่จีน กรุงวอชิงตันดีซีได้ใช้กาลังทางการเมืองต่อรองปักกิ่งว่า ต้องให้หนังฮอลลีวูดฉายอย่างน้อย 20 เรื่องต่อปี และฮอลลีวูดอาจแย่งชิงอีก 20 เรื่องที่เหลือได้ ทาให้จีน กังวลว่าหนังฮอลลีวูดจะมาครอบงาความคิดของคนจีนทั้งหมด ในที่สุดจีนต้องเปิดตลาดและเป็นโอกาส ให้ไทยเข้ามาตีตลาดนี้ ถ้าหนังไทยขายในจีนได้ อย่าว่าแต่ท่องเที่ยว สินค้าทุกชนิด แบรนด์ทุกอย่างก็จะ ขายได้หมด เห็นได้จาก แว่นตา RayBan ที่คงขายไม่ได้หากไม่มี James Dean และเราก็คงไม่รู้จัก คาวบอย หากฮอลลีวูดไม่ได้สร้างหนังมามากกว่า 5,000 เรื่องจนวัฒนธรรมคาวบอยกลายเป็นวัฒนธรรม ของโลก หากกลับมามองหนังผีไทย เราสร้างมาให้คนไทยดู แต่คนที่ชอบดูหนังผีไทยมากสุด คือ ชาว มลายูที่เป็นชาวเกาะ เพราะวัฒนธรรมมลายูมีความเชื่อเรื่องผีและหนังผีไทยทาได้น่ากลัวมาก อีกเหตุผล หนึ่งคือ หนังผีไทยมีทุกอย่าง เหมือนกับผีญี่ปุ่นที่ไปเมืองไหนไม่ถั่วห่อแป้งก็แป้งห่อถั่ว แต่ญี่ปุ่นเขามี การเติมแต่งตราสัญลักษณ์ เช่น จิ้งจอกหางแดง แมวน้าสีน้าเงิน ปลาสีเขียว เป็นต้น ต่างจากหนังผีฝรั่ง ที่สร้างแต่ผีกัดคอ ผีดูดเลือด ซอมบี้เลือดสาดเท่านั้น ผมได้ศึกษาเรื่อง “Character Licensing” ซึ่งเมืองไทยไม่ค่อยรู้จัก เห็นได้ชัดจากกรณีของบริษัท วอลต์ ดิสนีย์ (Walt Disney) ดิสนีย์ที่โตมาทุกวันนี้ไม่ใช่เพราะขายหนัง และก็ไม่ได้โตที่สุดจากการที่ไป พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เป็นวอลต์ดิสนีย์เวิลด์ (Walt Disney World) หรือดิสนีย์ซี (DisneySea) เหล่านี้ เป็นเพียงแค่รายได้ส่วนหนึ่งแต่ไม่ได้ใหญ่ที่สุด รายได้ใหญ่ที่สุดคือการขาย Character Licensing เช่น มิกกี้เมาส์ เป็นต้น หนังเรื่องไหนขายตั๋วได้เท่าไรให้คูณ 5 จะกลายเป็นราคาคาแรคเตอร์ เพราะฉะนั้น “ลิขสิทธิ์” จึงเป็นประเด็นสาคัญมากในหลั่นล้าอีโคโนมี แค่หนังเรื่องต้มยากุ้งเรื่องแรกเรื่องเดียวฉายเข้า ไปในยุโรปก็ทาให้เกิดโรงเรียนสอนมวยไทยในประเทศรัสเซียจานวน 150 แห่งในระยะเวลาหนึ่งปี เท่านั้น
  • 17. 13 ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี หลั่นล้าอีโคโนมีคือเรื่องเศรษฐกิจวัฒนธรรม จุดแข็งที่สุดของเราที่คนอื่นไม่มีก็คือวัฒนธรรมไทย เพราะฉะนั้นเราจะทาอะไรต้องทาจากจุดแข็งของเรา ส่วนอย่างอื่นนั้นเป็นของแถม ถ้ามองเศรษฐกิจ วัฒนธรรมของเรา ก็คือการท่องเที่ยว สินค้าวัฒนธรรม ภาพยนตร์ การแสดง อาหารไทย ผลไม้ พวกนี้ เป็นวัฒนธรรมที่เราทามาจนชานาญ รวมทั้งการแพทย์ สมุนไพร ถ้าเราทาครบวงจรทั้งหมด จะเป็น เศรษฐกิจขนาดมหึมา และถ้าจัดการดีจะกระจายรายได้ไปอย่างทั่วถึง อย่างเรื่องการท่องเที่ยว ดังที่ อ.วี ระศักดิ์พูด การท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อชุมชน ชุมชนเป็นคนจัดการ ก็จะกระจายรายได้ไปทั่ว เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ตอน คุณ ภารเดช พยัคฆ์วิเชียร เป็นผู้ว่า ททท. ได้เชิญผมไปพูดเรื่องระบบ การท่องเที่ยว ผมก็ได้จาแนกองค์ประกอบต่างๆ ได้ทั้งหมด 20 กว่าองค์ประกอบที่จะต้องทาอย่าง เชื่อมโยงกันให้ครบวงจร คุณ ภารเดช ก็บอกว่า ที่ผมพูดมาทาไม่ได้หรอก ทีแรกผมก็ไม่เข้าใจ พอมาฟัง คุณวีระศักดิ์พูดวันนี้ก็เข้าใจว่าราชการนั้นทาอะไรไม่ค่อยได้ คุณวีระศักดิ์ไปเป็นรัฐมนตรี ก็ทาอะไรไม่ ค่อยได้ เพราะกลไกภาครัฐ/ราชการนั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการควบคุม ไม่ใช่เพื่อการพัฒนา เพราะฉะนั้น เราก็จะติดขัดอยู่นั่นถ้าเราใช้ระบบราชการเป็นเครื่องมือทาในการอะไรต่างๆ เราติดมานาน ดังนั้น จากที่ อ.วีระศักดิ์พูด เราก็ต้องคิดกลไกที่จะทาให้ทางานได้ผลในเรื่องต่างๆ ที่ผ่านมาเรา ไปต่อสู้เรื่องการเมือง หลงไปทาอยู่ตรงนั้น แล้วพอฝ่ายใดชนะก็จัดการไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราต้องทาเรื่อง กลไกจัดการให้บ้านเมืองเดินหน้าไปได้ ทีนี้จะก่อตัวเป็นคลังสมอง เป็นสถาบัน เป็นกลุ่มยุทธศาสตร์ อะไรก็แล้วแต่ที่จะทาเรื่องเศรษฐกิจวัฒนธรรมตรงนี้ที่จะครอบคลุมเรื่องการท่องเที่ยว สินค้าวัฒนธรรม ภาพยนตร์ การแสดง อาหารไทย มวยไทย เรื่องมวยไทยนี้ ตอนแรกผมก็ไม่เคยคิด แต่พอไปอิหร่าน คน อิหร่านก็มาชวนคุยเรื่องมวยไทย เป็นอะไรที่มีชื่อเสียงมาก ส่วนเรื่องภาพยนตร์นั้น ผมมองมานานว่าถ้า เราทาให้ดี นอกจากได้เงินแล้ว จะเป็นเครื่องมือไปสู่ความคิด พฤติกรรมอะไรต่างๆ ได้ แต่ก็มองไม่เห็น เลยว่าใครจะมา organize เรื่องภาพยนตร์นี้ให้ดี สรุปคือควรก่อตัวเป็นองค์กรอิสระ ถ้าไปเอาอานาจนาจะไปไม่ได้ เพราะอานาจไม่มีเวลาคิด หรือไม่สนใจเรื่องการคิด ดังนั้นตรงนี้ต้องเป็นอิสระ ไม่มีอานาจ แต่สามารถไปดึงคนที่มีอานาจมา เชื่อมโยง สามารถทาเรื่องที่ยากๆ ได้ ตอนนั้นผมเป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย ทา เรื่องยากที่สุดเลย คือจะเขียนรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ทั้งฉบับ แต่ว่ากลไกที่ทาที่ผมเป็นประธานนั้นเป็นกลไก อิสระ รัฐบาลให้เงินมา 5 ล้าน แต่ไม่เข้ามาควบคุมกากับเลย เราสามารถขับเคลื่อนพรรคการเมืองทุก พรรคที่เดิมเขาไม่อยากทา เราสามารถทาให้เขาอยากทา ถ้ากลไกเป็นอิสระก็สามารถทาได้
  • 18. 14 เพราะฉะนั้นในการก่อตัวต้องก่อตัวกันเองขึ้นมา (Self-organize) เพราะมีคุณภาพสูง วิธีแต่งตั้ง สั่งการแบบข้าราชการ อย่างที่เมื่อสักครู่ฟังว่าตั้งกระทรวงขึ้นมา เอาใครต่อใครเข้ามาไม่สามารถทาเรื่อง คุณภาพได้ อันนี้จะเรียกเป็นอะไรก็แล้วแต่ เป็นสถาบันยุทธศาสตร์ เป็นคลังสมอง ฯลฯ ที่จะทาเรื่องนี้ แล้วก็เป็นหน่วยงานที่ได้รับทุน อาจจะเจรจาขอกับรัฐบาล ต้องเป็นทุนที่อิสระ ไม่เข้ามาสั่งซ้ายหันขวา หัน แต่การทางานขององค์กรนี้ต้องคิดเชิงยุทธศาสตร์ ดึงใครที่เกี่ยวข้องเข้ามาทางานเชื่อมโยงกันให้ ประเทศขับเคลื่อนไปได้ ผมคิดว่าต้องเอาตรงนี้ให้ได้ ถ้าพร้อมเมื่อไรก็เชิญคุณสมคิดมาคุยด้วย ก็จะให้ มันเกิดจริงๆ ในเรื่องนี้ (หลั่นล้า) เป็นเรื่องหนึ่ง และเรื่องอื่นที่เราเคยคุยกันมาแล้ว เรื่องความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศกับสันติภาพ หรือเรื่องอะไรต่างๆ ก็ทาแบบเดียวกัน คุณสุริยนต์ ธัญกิจจานุกิจ ผู้อานวยการสานักพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ สำนักงำนคณะกรรมกำรพัฒนำกำรเศรษฐกิจและสังคมแห่งชำติ เมื่อครู่ฟัง อ.วีระศักดิ์พูดก็เปิดหูเปิดตาในหลายๆ เรื่อง เกี่ยวกับเรื่อง paradigm ของการพัฒนา ในสภาพัฒน์ฯเอง ในแง่ของความคิดในการพัฒนานั้นก็มีหลายกระแสอยู่ข้างใน ระดับผู้ใหญ่คิดแบบหนึ่ง ระดับกลางแบบหนึ่ง ระดับเด็กแบบหนึ่ง แต่เวลาจะผลักดันไปสู่การปฏิบัตินั้น ผมคิดว่าไม่ใช่แค่ สภาพัฒน์เท่านั้นที่เผชิญปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาของทั้งระบบ ผมทางานในภูมิภาค 8 ปีที่ผ่านมา อยู่กับ จังหวัด กลุ่มจังหวัด อย่างหนึ่งที่เห็นก็คือ ประเทศไทยไม่ขาดเรื่องนโยบายหรือความคิดดีๆ เรามีคน ระดับผู้ใหญ่ มีคนระดับรัฐมนตรี มีคนระดับเจ้าหน้าที่ในกระทรวงที่ทางานเป็นข้าราชการที่ตั้งใจจะทาให้ ประเทศดี ผมว่าเรามีเยอะมาก ผมทางานอยู่ใกล้ชิด แม้แต่ในระดับจังหวัดหรือระดับใด ก็มีคนตั้งใจทาดี กับประเทศมาก แต่ที่มันไม่ได้ผลเมื่อนโยบายต่างๆ ลงไปนั้น เพราะประการแรกสุด ข้าราชการระดับ ล่างสุดที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนและใกล้ชิดพื้นที่นั้น ความรับผิดชอบของเขาไม่ได้ลงสู่ข้างล่าง ความ รับผิดชอบของเขาขึ้นข้างบน เพราะการพิจารณาความดีความชอบของข้าราชการอยู่ที่ส่วนกลาง ไม่ได้ อยู่ที่พื้นที่ และสิ่งหนึ่งที่เราเห็นมากคือข้าราชการในพื้นที่ ในระดับจังหวัดซึ่งรู้และเข้าใจพื้นที่ดี อยากจะ พัฒนาไปในทางที่ดีและทางานหนักทั้งปี หลังจากที่ทุ่มเทให้กับการปฏิบัติหน้าที่มามากมายแล้ว วันดีคืน ดีใครไม่รู้เดินมารับตาแหน่งแทนไป เป็นอย่างนี้ทุกกระทรวง ยกเว้นกระทรวงสาธารณสุขที่ไม่เห็นชัด แต่กระทรวงมหาดไทยนั้นเป็นค่านิยม เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ไม่มีใครบ่นเลย ข้าราชการดีที่ตั้งใจทางาน ก็ถูกบั่นทอนอย่างนี้ แล้วถามว่าจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร งบประมาณลงไปเท่าไร สุดท้ายถ้าหากว่า ข้าราชการทางานเป็นแค่คนรับใช้ให้นายข้างบนพอใจ มาถ่ายรูป เปิดป้าย เสร็จแล้วก็กลับ แล้วก็ถือว่า งานเสร็จแล้ว ชาวบ้านก็เป็นเพียงเครื่องมือในการที่จะมาออกงานกับข้าราชการ เป็นอย่างนี้โดยสภาพ บังคับ
  • 19. 15 ผมเคยคิดเรื่องนี้แล้วว่าเราจะทาอย่างไร เราจะรออัศวินม้าขาว รอผู้ใหญ่เก่งๆ รอผู้นาเก่งๆ รอ รัฐมนตรีเก่งๆ มา ซึ่งเราก็ไม่เคยขาดคนอย่างนี้ มาถึงสั่งราชการต้องทาโครงการนี้ๆ แล้วเราก็เห็นว่า เวลามีโครงการใหญ่ๆ ของรัฐบาลมา สุดท้ายก็ไปไม่ถึงฝั่ง หรือไม่ได้ประสิทธิผลที่ควรได้ ถ้ามองกันจริงๆ แล้ว ทุกวันนี้ประสิทธิผลของการพัฒนาที่เราเห็น เกิดขึ้นจาก 1) ท้องถิ่นที่ ทางานใกล้ชิดและต้องรับผิดชอบพื้นที่ เพราะฐานเสียงอยู่ตรงนั้น ชาวบ้านก็รู้หน้าค่าตา เพราะฉะนั้นก็ คอยมองการทางานอยู่ 2) มาจากภาคธุรกิจ ที่ถึงแม้รัฐบาลจะมีนโยบายอะไรเปลี่ยนไป แต่ธุรกิจก็เติบโต ไปตามกระแสของตัวเอง ชีวิตชาวบ้านก็ดีขึ้นจากการที่มีร้านสะดวกซื้อไปตั้ง ทุกคนได้ซื้อของใน มาตรฐานเดียวกัน 3) ดีขึ้นจากการที่ภาคประชาชนเข้มแข็งขึ้น ตื่นตัว ปฏิบัติงาน แก้ไขปัญหาท้องถิ่น กันเอง จากการสนับสนุนของภาครัฐอะไรก็แล้วแต่ 4) ดีขึ้นจากการที่ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจผ่าน สื่อ แล้วเรียนรู้เอง ปรับปรุงตัวเอง สรุปคือ ประสิทธิผลของการพัฒนาไม่ได้มาจากรัฐ งานของรัฐหลายอย่างนั้นเงินลงไปร้อยได้งาน ถึงครึ่งหนึ่งก็ดีแล้ว ด้วยเหตุผลง่ายๆ เช่นว่ากระบวนการจัดซื้อจัดจ้างทาให้เสียเวลา อย่างเช่น โครงการ ระยะ 5 ปี เสียเวลาจัดซื้อจัดจ้างไปแล้วอาจจะปีถึงปีครึ่ง และเหตุผลอื่นๆ เช่น ขั้นตอนการทางาน ทาให้ สุดท้ายอายุโครงการสามปี ได้เนื้องานปีครึ่งก็ดีแล้ว นี่คือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ถามว่าจะแก้เรื่องนี้อย่างไร ทีนี้เวลาแก้ คนที่คิดแก้ก็ไม่ได้เคยเจอปัญหาอย่างนี้ด้วยตัวเอง คนที่ คิดแก้ก็มาจากส่วนกลางที่ตัดสินใจว่าต้องปรับตรงนั้นตรงนี้ แล้วก็เหมือนจะเอาของใหม่ไปแทนของเก่า อยู่เรื่อย เพราะเหตุนี้จึงทาให้เกิดวงจรที่อย่างไรก็ไปไม่ถึงฝั่ง เราจะต้องปรับใหม่ ซึ่งตรงนี้สภาพัฒน์ฯก็กาลังพยายามคิดและปรับกันอยู่ และก็จะกระตุ้นให้ ระบบปรับ เราต้องมองใหม่ว่ากระบวนการพัฒนา หรือถ้าใช้ภาษาวิชาการคือกระบวนการนโยบาย สาธารณะของประเทศ ไม่ว่าระดับชาติ จังหวัด หรือท้องถิ่น จะต้องเป็นกระบวนการเรียนรู้ ต้องให้คนที่ เอานโยบายลงไป ไม่ว่าจะเป็นสภาพัฒน์ฯ เป็นหน่วยนโยบายของกระทรวงใดก็แล้วแต่ เป็นจังหวัด หรือ ท้องถิ่น ทุกคนจะต้องรู้ว่าผลลัพธ์ของนโยบายตนมันได้อะไรขึ้นมา ต้องมีการประเมินผลให้รู้ว่างานหรือ นโยบายแต่ละอย่างที่ลงไปได้ผลลัพธ์กลับมาอย่างไร และต้องหมุนวนกระบวนการนี้ให้ต่อเนื่อง ตลอดเวลา ให้เป็นกระบวนการเรียนรู้ปรับตัว ไม่ใช่ว่าพอนโยบายใดทาไม่ได้ ก็จะเอาอันใหม่มา สั่งการ อย่างนี้อยู่เรื่อย เป็น moving target ข้าราชการก็ทาแผนทั้งปี ไม่ต้องได้ปฏิบัติ อย่างที่ทากันอยู่ตอนนี้ เมื่อปรับเช่นนี้ข้าราชการจะเก่งขึ้น ท้องถิ่นจะเก่งขึ้น ประชาชนจะฉลาดขึ้น ข้าราชการจะรู้ว่าถ้า ทาไปแล้วอย่างนี้ จะได้ผลกลับมาอย่างไร จะต้องปรับอย่างไร ที่สาคัญส่วนกลางจะต้องดูผลลัพธ์ที่ เกิดขึ้นของนโยบายแต่ละชิ้นด้วย เพราะฉะนั้นถ้าถามว่าเราจะปลดล็อคเรื่องประสิทธิผลการพัฒนา
  • 20. 16 ประเทศ ที่แม้เราจะมีความคิด นโยบายดีๆ ไม่ขาดสาย แต่เราไม่เคยได้รับผลลัพธ์ของการพัฒนาเต็ม ร้อยอย่างที่เราตั้งใจเสมอได้อย่างไร ก็ต้องกลับไปที่พื้นฐานว่าจะต้องทาให้ทุกขั้นตอน ตั้งแต่ระดับ นโยบายจนกระทั่งระดับปฏิบัติ จะต้องมีความรับผิดชอบ (accountability) ต่อสิ่งที่ตัวเองทาลงไป และวิธี เริ่มก็ง่ายมาก ในสภาพัฒน์ฯ ก็เคยคุยกันว่าเริ่มที่กลไกระดับบริหารในสภาพัฒน์ฯ เอง ให้มีการติดตาม ประเมินผลที่ต่อเนื่องมั่นคงและถูกหลักวิชาการ แต่ประเทศไทยมีค่านิยมหนึ่งที่เป็นอุปสรรคอันใหญ่หลวงต่อเรื่องนี้ คือ “อย่าฟื้นฝอยหาตะเข็บ” พอไม่ฟื้นฝอยหาตะเข็บ การติดตามประเมินผลก็ถูกมองว่าคือการฟื้นฝอยหาตะเข็บ เราไม่ชอบทากัน เราไปเจอของจริงเราก็ไม่พูดกันมาก มักจะบอกว่าที่ผ่านมาดีแล้ว อย่าไปพูดถึงมากเลย ทาต่อดีกว่า มองอนาคตไปข้างหน้า อย่าไปย้อนหลังอะไรเลย เราก็เลยไม่เรียนรู้ นี่คือข้อสรุป รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์ประจาคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เท่าที่ผมฟัง เหมือนกับว่าเราจะเอาเศรษฐกิจหลั่นล้า มาแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่อ่อนล้า ทีนี้คาถาม ของเราคือ เราเจอภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนล้าจริงไหม ถ้าจริง เหตุมันมาจากไหน จะถามว่าเศรษฐกิจหลั่น ล้าพัฒนาได้ไหม ตอบว่า ได้ มันจะมาชดเชยความอ่อนล้าได้ไหม ตอบว่าได้ ทาไมต้องสินค้าวัฒนธรรม : มุมมองทางเศรษฐศาสตร์การเมือง ผมคิดว่าเราอยู่บนเวทีโลก ท่ามกลางการต่อสู้ การแข่งขัน สิ่งที่ท่านวีระศักดิ์พูดมันหมายความ ว่าเราจะพยายามสร้างความเข้มแข็ง โดยให้จักรกลการท่องเที่ยวเป็นจักรกลตัวแทนของเศรษฐกิจหลั่น ล้าว่าจะเข้มแข็งได้อย่างไร หากเราจะพัฒนาตัวเองอย่างนั้น เราจะต้องคิดต่อว่า บนเวทีโลกเขา ขับเคลื่อนต่อสู้กับเราอย่างไร เขาขับเคลื่อนด้วยการเอาชนะเราอย่างไร เขาขับเคลื่อนครอบงาเรา อย่างไร ถ้าเราดูความเป็นจริงขณะนี้ นโยบายเศรษฐกิจต่างๆ ของเราเกือบครึ่งหนึ่ง มันไม่ได้ถูกกาหนด จากรัฐบาลไทย แต่มันถูกครอบหรือถูกกาหนดจากระเบียบเศรษฐกิจโลก ที่ผมเรียกว่า เศรษฐกิจจากทุน นิยมศูนย์กลาง พวกองค์กรโลกบาลอย่าง WTO FTA IFM และ WORLD BANK ข้อตกลงระหว่าง ประเทศต่างๆ เราหนีมันได้ไหม เราพยายามจะสู้มันหรือเปล่า เรามาดูภาวะปัจจุบัน ยุทธศาสตร์ทุนนิยม ศูนย์กลาง มันเริ่มจากช่วงหลังจากสงครามเย็นลดความรุนแรงลง ยุทธศาสตร์ทุนนิยมศูนย์กลาง เขาได้ ตั้งโจทย์อย่างไร เขาจะครอบครองตลาดโลกให้ได้มากที่สุดได้อย่างไร การขับเคี้ยวกันระหว่างยุโรป อเมริกา จีน มันเป็นตัวแปรหลัก ความคิดทุนนิยมศูนย์กลาง การที่ครองตลาดมากที่สุด ก็นาไปสู่คาถาม ว่า เขาจะเอาพลังอะไรมาครอบครองตลาดได้มากที่สุด ในที่สุดเศรษฐศาสตร์การเมืองตอบว่า มันมีพลัง 6 พลัง ที่สามารถนามาใช้ครอบครองตลาดโลก ใครมีมากก็ครองได้มากที่สุด 6 พลังดังกล่าว แต่ผมขอ สรุปเป็น 3 พลัง ดังนี้