SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  17
Télécharger pour lire hors ligne
เส้นทางการพัฒนาประเทศจีน
และความหมายทางสากล
ศ.จางเหวยเหวย (Zhang Weiwei)
ผู้อานวยการสถาบันจีนศึกษา มหาวิทยาลัย Fudan
กรรมการคณะกรรมการสถาบันคลังสมองชั้นสูงแห่งประเทศจีน
เส้นทางการพัฒนาประเทศจีนและความหมายทางสากล
ศ.จางเหวยเหวย (Zhang Weiwei)
ผู้อํานวยการสถาบันจีนศึกษา มหาวิทยาลัย Fudan
กรรมการคณะกรรมการสถาบันคลังสมองชั้นสูงแห่งประเทศจีน
เนื้อหาถอดความและเรียบเรียงจากปาฐกถา
เรื่อง เส้นทางการพัฒนาประเทศจีนและความหมายทางสากล
โดย ศ.จางเหวยเหวย ในเวทีเรียนรู้ประเทศจีน-เวทีแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างจีนไทย จัดโดยศูนย์วิจัย
ยุทธศาสตร์ไทย-จีน สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ
กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2561 ณ ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพมหานคร
ที่ปรึกษา: ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล
ผู้ช่วยบรรณาธิการ : ปาณัท ทองพ่วง
อานวยการผลิตโดย : สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ปีที่เผยแพร่: เมษายน 2561
www.rsu-brain.com
ที่อยู่
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขต
จตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
1
เส้นทางการพัฒนาประเทศจีนและความหมายทางสากล
ศาสตราจารย์ จางเหวยเหวย
ที่มาภาพ https://www.youtube.com/watch?v=K64xcKkUu1E
การบรรยายในวันนี้เป็นผลจากการวิจัยของผมเรื่องวิถีการพัฒนาของจีน ผมขอมาร่วมแบ่งปัน
ความเข้าใจในเรื่องนี้ของผมกับทุกท่าน
ผมเดินทางมาประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี 1983 หรือประมาณ 35 ปีที่แล้ว ในคราวที่ผมมาที่
ประเทศไทยครั้งนั้น ผมรู้สึกตื่นตะลึง ผมมาจากเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นเมืองที่เจริญที่สุดในประเทศจีน เวลานั้น
ผมรู้สึกว่ากรุงเทพน่าจะนําหน้าการพัฒนาของเซี่ยงไฮ้ไปยี่สิบปี ผมเห็นทางด่วนเป็นครั้งแรก เห็น
ซูเปอร์มาร์เก็ตเป็นครั้งแรก เป็นครั้งแรกที่เห็นสนามบินที่สร้างได้อย่างสวยงาม (สนามบินดอนเมืองใน
ขณะนั้น) เห็นร้านค้าต่างๆ เปิดจนถึงเวลากลางคืนเลยสามทุ่มไป ซึ่งสภาพเหล่านี้ไม่ปรากฏในประเทศ
จีน
หลังจากที่จีนมีการเปิดประเทศในปี 1978 เติ้งเสี่ยวผิงได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยครั้ง
ประวัติศาสตร์ มาประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และญี่ปุ่น เวลานั้น เติ้งเสี่ยวผิงกล่าวว่ารู้สึกตะลึง
เช่นกัน ด้วยไม่นึกเลยว่าในขณะที่ประเทศจีนพึ่งผ่านความวุ่นวายช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมมา ประเทศต่างๆ
รอบๆ จีนต่างพัฒนาอย่างรวดเร็ว กลายเป็นแรงบันดาลใจให้เติ้งเสี่ยวผิงต้องการพัฒนาประเทศจีนให้
เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
2
ในปีนี้เป็นวาระครบรอบ 40 ปีการปฏิรูปเศรษฐกิจและเปิดประเทศของจีน ซึ่งมีผลสําเร็จที่ “พลิก
ฟ้าดิน” ต่อไปนี้ผมขอกล่าวถึงผลการวิจัยของผมเอง ในการพูดถึงความหมายของการพัฒนาของจีนที่มี
ต่อทั่วโลก ผมอยากจะเริ่มด้วยการเล่าภูมิหลังของประเทศจีนสักเล็กน้อย
ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของประเทศจีน
เมื่อย้อนไปดูประวัติศาสตร์ เมื่อราวสองพันปีก่อนเป็นต้นมา จีนเป็นประเทศชั้นนําของโลก มี
ความเจริญก้าวหน้ามากยิ่งกว่าตะวันตก ในสมัยราชวงศ์หมิง ประมาณศตวรรษที่ 15 จีนส่งกองเรือเจิ้ง
เหอเดินทางไปสํารวจโลก เรือเจิ้งเหอใหญ่กว่าเรือของโคลัมบัสหลายเท่า นั่นหมายความว่า ความ
เจริญก้าวหน้าและระดับการพัฒนาของจีนอยู่เหนือกว่าประเทศใดในโลก และในเวลานั้นจีนก็ไม่เคยไปล่า
อาณานิคม หรือใช้กําลังทหารไปโจมตีประเทศอื่น ประเทศจีนในเวลานั้นจึงเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมี
สันติ รวมถึงมีความเจริญทางวัฒนธรรมระดับชั้นนําของโลก ในสมัยโบราณจีนมีการประดิษฐ์เทคโนโลยี
การพิมพ์ จีนมีตํารา “หย่งเล่อ” ซึ่งเป็นสารานุกรมจํานวน 20,000 เล่ม ซึ่งใช้การคัดด้วยมือทั้งหมด ใน
เวลาเดียวกันพระเจ้าเฮนรี่ของอังกฤษมีหนังสือในมือแค่ 5 เล่ม แสดงถึงความเหลื่อมลํ้าทางวิทยาการ
และวัฒนธรรมที่ห่างไกลกันมาก
ภาพ ขนาดเรือเจิ้งเหอเทียบกับเรือซานตา มาเรียของโคลัมบัส
ที่มาภาพ http://www.nicolaainsworth.com/the-straights-of-malacca-malaysia-visit-2009/020-
comparison-zheng-he-columbus-ships/
3
วอลแตร์ นักปรัชญาสําคัญแห่งฝรั่งเศสกล่าวไว้ว่าจีนเป็นประเทศที่เป็นสุดยอด ทั้งงดงาม
เก่าแก่ อลังการ และมีประชากรมากที่สุด ในยุคของวอลแตร์นั้นตรงกับช่วงต้นราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นช่วงที่
จีนเป็นประเทศที่มีความเป็นปึกแผ่น เจริญเฟื่องฟู ส่วนยุโรปในเวลานั้นยังเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วย
สงครามระหว่างรัฐ อีกทั้งในยุคนั้นจีนเป็นประเทศ secular ที่แยกรัฐกับศาสนาออกจากกัน แต่สองสิ่งนี้
ยังผสมปะปนกันอยู่ในยุโรป ซึ่งต่อมายุโรปได้นํารูปแบบการปกครองและรูปแบบของระบบการสอบ
คัดเลือกข้าราชการของจีน ซึ่งยุโรปยังไม่มีไปศึกษา ถือเป็นอะไรที่ปฏิวัติความรู้ของยุโรปมาก
อย่างไรก็ตาม ด้วยปัจจัยหลายประการ ประเทศจีนได้เข้าสู่ช่วงถดถอยลง เวลานั้นในยุโรปเกิด
สงครามรบพุ่งระหว่างรัฐมากมาย รบกันไปมาจากที่มี 300 กว่ารัฐจนเหลือราว 30 กว่ารัฐ เรื่องไม่ดี
กลายเป็นเรื่องดี หมายถึงสงครามทําให้ประเทศในยุโรปพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการที่
เข้มแข็งและการทหารที่แข็งแกร่งมาก ยุโรปได้นําเทคโนโลยีดินปืนจากจีนไปพัฒนาใช้ในการทหาร
สุดท้ายประเทศยุโรปต่างๆ เหล่านี้ก็กลับมาบุกประเทศจีน ในปี 1874 เกิดสงครามฝิ่น อังกฤษรบชนะจีน
นํามาสู่การทําสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับประทศจีนนับพันฉบับ ประเทศจีนเหมือนถูกแบ่งแยก ในปี
1900 เกิดขบวนการอี้เหอถวน (義和團運動) หรือกบฏนักมวย มีพันธมิตรยุโรปแปดประเทศ เข้า
มายึดกรุงปักกิ่ง
ต่อมาประเทศจีนเริ่มเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูประเทศและชนชาติจีนให้เข้มแข็งขึ้นมาใหม่
ปัจจุบันเรายอมรับกันว่า ดร.ซุนยัตเซน เป็นผู้สถาปนาประเทศจีนยุคใหม่ เขาได้โค่นล้มราชวงศ์ชิง แต่
ก็มีปัญหาต่อมา เพราะเขาได้นําเอารูปแบบประชาธิปไตยที่มีหลายพรรคการเมืองแข่งขันกันมาใช้ใน
ประเทศจีน นํามาสู่ความแตกแยกของดินแดนต่างๆ ในประเทศจีนภายใต้การนําของแม่ทัพนายกองและ
ขุนศึกต่างๆ ซึ่งมีประเทศยุโรปอยู่สนับสนุนเบื้องหลัง เช่น ทางตอนเหนือของประเทศจีนก็มีรัสเซียเข้า
หนุนหลัง ทางใต้ก็คืออังกฤษ เลยนํามาสู่สงครามกลางเมืองมากมายในประเทศจีน สรุปได้ว่า
ประสบการณ์ในการนําเอารูปแบบการปกครองของอเมริกามาใช้ในประเทศจีนนํามาสู่ความล้มเหลว
ผู้ที่สามารถฟื้นฟูประเทศจีนกลับขึ้นมาคือ พรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งมีผู้นําสําคัญสามคน
คือ เหมาเจ๋อตง เติ้งเสี่ยวผิง และสีจิ้นผิง ในปี 1935 ช่วงที่เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างพรรค
คอมมิวนิสต์จีนกับพรรคคณะชาติ (ก๊กมินตั๋ง) พรรคคอมมิวนิสต์จีนต้องเดินทางไกลไปที่เมืองส่านซี
สานเป่ย เพื่อสร้างเป็นฐานที่มั่นในการสู้กับกองทัพญี่ปุ่น เหมาเจ๋อตงในเวลานั้นมีกําลังพลเพียง 8,000
คน ตอนที่เดินทางไกลไปถึงจุดหมายบนเขา แต่เขามีความมั่นใจว่าเขาสามารถจะรบชนะมหาอํานาจ
อย่างญี่ปุ่นได้ เหมาเจ๋อตงกล่าวไว้คําหนึ่งที่คนจีนภูมิใจถึงปัจจุบันว่า “ชนชาติจีนพร้อมที่จะสู้เพื่อสร้าง
4
ตัวเองขึ้นมาใหม่ เราสามารถที่จะพัฒนาตัวเองขึ้นมาเป็นชาติชั้นนําของโลกได้อีกครั้งหนึ่ง” 14 ปี ถัดมา
ญี่ปุ่นแพ้ และก๊กมินตั๋งก็แพ้ หนีไปอยู่ไต้หวัน
ในปี 1948 กองทัพของพรรคคอมมิวนิสต์จีนกําลังจะปลดปล่อยพื้นที่ทางตอนเหนือของแม่นํ้า
แยงซี แม้ว่าก่อนหน้านั้นทางโซเวียตบอกกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนว่าไม่ต้องข้ามแม่นํ้าแยงซี รวมทั้งกลุ่ม
การเมืองท้องถิ่นก็บอกกับกองทัพพรรคคอมมิวนิสต์จีนว่าให้หยุด อย่าบุกต่อไป แต่เหมาเจ๋อตงบอกว่า
ต้องปลดปล่อยให้ได้ทั้งประเทศจีน จีนต้องเป็นปึกแผ่น ผ่านไปหนึ่งปี ถึงปี 1949 กองทัพพรรค
คอมมิวนิสต์จีนก็ข้ามแม่นํ้าแยงซีแล้วปลดปล่อยทางเหนือของจีน เมื่อเราย้อนมองไป จะพบว่าการสร้าง
ประเทศจีนให้มีเอกภาพเป็นปึกแผ่นเป็นสิ่งที่สําคัญอย่างมาก มิฉะนั้น ก็จะเป็นเหมือนเกาหลีเหนือและ
เกาหลีใต้ ที่ไม่สามารถที่จะฟื้นฟูขึ้นมาได้อย่างแท้จริง เพราะยังเป็นประเทศที่เสมือนแตกแยกอยู่
ผู้นําสําคัญอีกท่านคือ เติ้งเสี่ยวผิง ผมรู้สึกเป็นเกียรติที่เคยทําหน้าที่เป็นล่ามภาษาอังกฤษ
ให้กับท่าน ในวันที่ 15 สิงหาคม 1985 ท่านได้พบกับประธานาธิบดีมูกาเบของซิมบับเว ซึ่งเป็นผู้นําที่มี
ความคิดฝ่ายซ้าย มูกาเบเชื่อว่าการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศจีนในเวลานั้นอาจจะทําให้ประเทศจีน
กลายเป็นทุนนิยมไป เลยรู้สึกเป็นห่วงและมาคุยกับเติ้งเสี่ยวผิง เติ้งเสี่ยวผิงก็ยืนยันกับมูกาเบว่า จีนยัง
เป็นสังคมนิยม เป็นสังคมนิยมแบบจีน ที่สุดท้ายประเทศจีนก็ต้องประสบความสําเร็จอย่างแน่นอน และ
ประเทศจีนจะไม่เป็นทุนนิยมอย่างแน่นอน เพราะประการแรก จีนอยู่ภายใต้การนําที่เข้มแข็งของพรรค
คอมมิวนิสต์จีน พรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นพรรคการเมืองที่เข้มแข็ง จีนเป็นประเทศที่มีพรรคคอมมิวนิสต์
จีนเป็นผู้นํา พรรคคอมมิวนิสต์จีนสามารถเป็นตัวแทนผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศจีนทั้งหมด
พรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นสมบัติของส่วนรวม อย่างไรก็ตาม พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็มีข้อที่ต้องปฏิรูป
เช่นกัน รูปแบบบางประการอาจจะเปลี่ยนไป เช่น ในประเทศจีน ที่ดินเป็นของรัฐ แต่สิทธิ์ในการใช้ที่ดิน
นั้นจะเป็นไปตามกลไกตลาด นี่เป็นสิ่งที่ต้องพูดให้ชัดเจน ปัจจุบัน ร้อยละ 90 ของชาวจีนถือครอง
ทรัพย์สินด้านอสังหาริมทรัพย์ นี่เป็นการปฏิรูปด้านทรัพย์สิน
อย่างไรก็ตาม มูกาเบรู้สึกว่า ยังมีความเสี่ยงที่ประเทศจีนจะกลายเป็นทุนนิยมไป เขายํ้ากับเติ้ง
เสี่ยวผิงว่าประเทศโลกที่สามที่เป็นมิตรกับจีนยังคาดหวังว่าประเทศจีนจะยังคงเป็นประเทศสังคมนิยม
ต่อไป เมื่อสนทนากันมาถึงตอนนั้น ทําให้เติ้งเสี่ยวผิงรู้สึกโมโหเล็กน้อย แล้วตอบมูกาเบว่า จีนยังมี
จักรกลของประเทศที่สําคัญอีกอย่าง คือกองทัพ ถ้าหากทิศทางของสังคมนิยมในประเทศจีนเกิด
เบี่ยงเบน หลุดออกจากเส้นทางไป เราก็สามารถปรับให้กลับคืนมาอยู่ในเส้นทางที่ถูกต้องได้
วันที่ 25 ธันวาคม 1991 โซเวียตสลายตัวลง ก่อนโซเวียตจะสลาย สังคมนิยมในยุโรปกลางก็
สลายตัวไปก่อน เวลานั้นในประเทศจีนก็มีความคิดว่าสังคมนิยมหรือ “ธงแดง” ของจีนจะยืนหยัดไปได้
5
อีกนานเท่าไร แต่วันนี้เราได้เห็นจริงตามคําพูดของเติ้งเสี่ยวผิงในวันนั้นแล้ว และเรายังเห็นว่า
ประวัติศาสตร์โลกกําลังเข้าสู่ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สําคัญ โอกาสสําคัญของประเทศจีนมาถึงแล้ว จะเป็นสิ่ง
ที่พิสูจน์ว่าวิถีทางของสังคมนิยมจีนยังเดินต่อไปได้ ในปี 1991 หลังการล่มสลายของโซเวียต เติ้งเสี่ยวผิง
เดินทางไปสํารวจภาคใต้ของประเทศจีน เขาเดินทางไปที่เมืองเซินเจิ้น และได้กล่าวคําพูดหลายคําที่เป็น
นโยบายสําคัญ เช่น ยึดมั่นในแนวทางสังคมนิยม ยึดมั่นในแนวทางที่จะปฏิรูป ยึดมั่นในแนวทางที่จะ
พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
ภาพ เติ้งเสี่ยวผิงพบกับมูกาเบ เมื่อ 15 สิงหาคม 1985 โดยมี ศ.จางเหวยเหวย เป็นล่าม
อยู่ด้านหลังเติ้งเสี่ยวผิง
ที่มาภาพ ศ.จางเหวยเหวย
ผ่านมา 20 ปี ถึงปี 2014 ถ้าวัดจากกําลังการซื้อ ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่
ที่สุดในโลก มีการค้าขายมากที่สุดในโลก ส่งออกนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลก และมีคนชั้นกลางมาก
ที่สุดในโลก จีนสามารถยกระดับคนกว่า 700 ล้านคน ให้พ้นจากความยากจน นับเป็นร้อยละ 80 ของ
การลดความยากในโลก นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงประเทศจีน และเปลี่ยนแปลงโลกด้วย เพราะประชากรจีน
มีมากกว่าประชากรทั้งยุโรปรวมกัน ดังนั้น การผงาดขึ้นของจีนจึงส่งผลต่อทั่วโลกอย่างไม่ต้องสงสัย
6
กล่าวถึง สีจิ้นผิง ในช่วงห้าปีที่ผ่านมาภายใต้การนําของสีจิ้นผิง ถือเป็นห้าปีที่สําคัญมากใน
ประวัติศาสตร์ของประเทศจีน ความสามารถทั้งด้าน hard และ soft power ของจีนเพิ่มขึ้นมากอย่างไป
เคยเกิดขึ้นมาก่อน ยกตัวอย่างเรื่อง hard power ในเดือนมิถุนายน ปี 2016 จีนมีกรณีพิพาทเรื่องทะเล
จีนใต้ ฟิลิปปินส์ซึ่งมีคนสนับสนุนอยู่เบื้องหลังไปขอให้ศาลโลกเข้ามายุ่งเกี่ยว ส่วนสหรัฐอเมริกาก็ส่งเรือ
บรรทุกเครื่องบินสองลําเข้ามาแล่นอยู่ในทะเลแถบที่มีการพิพาท พอถึงเดือนกรกฎาคม กองทัพจีน
ประกาศว่าจะจัดการซ้อมรบที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ในทะเลจีนใต้ มีอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่า
มิสไซลส์ รวมถึงเครื่องบินที่สามารถจมเรือบรรทุกเครื่องบินได้ ผู้แทนของจีนกล่าวว่า ถึงจะส่งเรือ
บรรทุกเครื่องบินมาสิบลํา จีนก็ไม่กลัว เหตุการณ์นี้อาจจะไม่ได้อยู่ในความสนใจของคนทั่วไปในขณะนั้น
อย่างไรก็ดี เหตุการณ์นี้นับเป็นการเผชิญหน้าทางทหารที่ใหญ่ที่สุดนับจากสงครามเวียดนามเป็นต้นมา
พอถึงวันที่ 12 ก.ค. 2016 เรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐก็แล่นหนีไปทางอื่น นี่เป็นการแสดงให้เห็นว่า
สหรัฐพยายามจะเข้าใช้กําลังทหารมาแทรกแซงกีดขวางการพัฒนาของประเทศจีน ซึ่งไม่สามารถที่จะ
สําเร็จได้อย่างแน่นอน พรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นพรรคที่กําเนิดมาจากการสู้รบในสงครามปฏิวัติ และ
แทบจะไม่มีประเทศใดในโลกที่สามารถจะเซย์โนกับอเมริกา นี่เป็นสิ่งที่สําคัญและจําเป็นสําหรับประเทศ
จีน
ส่วนในด้าน Soft Power สีจิ้นผิงก็กล่าวถึงเรื่องการสร้างประชาคมร่วมชะตากรรมในเวทีโลก
หมายความว่าเนื่องจากทุกอย่างในโลกนี้เชื่อมโยงถึงกัน ประเทศใดดีก็จะดีกันหมด ประเทศใดแย่ก็จะแย่
กันหมด เราจะเฟื่องฟูไปพร้อมกัน อย่างยุทธศาสตร์ Belt and Road นั้นจะไม่เหมือนกับยุทธศาสตร์ของ
ยุโรปในยุคล่าอาณานิคมที่เป็นแบบคนหนึ่งชนะ อีกคนแพ้ (Zero-sum game) แต่ยุทธศาสตร์ระหว่าง
ประเทศของจีนจะเป็นแบบ win-win คือจะร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมแบ่งปัน นี่ถือเป็นการปฏิวัติเชิง
ยุทธศาสตร์ของจีนที่เกิดขึ้นในยุคของสีจิ้นผิง
แนวคิดด้านเศรษฐกิจของสีจิ้นผิง
เมื่อดูการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 19 เมื่อปี 2017 มีการพูดถึงแนวคิดการ
พัฒนาประเทศจีน ภายใต้ความคิดของสีจิ้นผิง ผมจะกล่าวถึงแนวคิดด้านเศรษฐกิจของสีจิ้นผิง เนื่องจาก
เวลามีจํากัด ผมจึงขอเลือกพูดบางแนวคิดที่เข้าใจง่าย
แนวคิดประการแรกคือ ให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเศรษฐกิจ เป้าหมาย
สูงสุดในการพัฒนาก็เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ถ้าเรานํามาเทียบกับเป้าหมายในการพัฒนา
ของทรัมป์ในสหรัฐ เป้าหมายของนโยบายต่างๆ ในการพัฒนานั้นเป็นไปเพื่อตอบสนองประโยชน์ของ
ฐานเสียงของเขาเท่านั้น เช่น นโยบายที่ทรัมป์ประกาศจะห้ามนําเข้าเหล็กกล้าและอลูมิเนียมจากจีน เรา
7
มีการคํานวณออกมาว่านโยบายห้ามการนําเข้านี้จะสามารถช่วยปกป้องอุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้าของ
สหรัฐ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนราว 150,000 คน แต่ว่าถ้าสหรัฐไม่นําเข้าเหล็กกล้าและ
อลูมิเนียมจากประเทศจีนและประเทศอื่นๆ จะทําให้ราคาเหล็กกล้าและอลูมิเนียมในสหรัฐสูงขึ้น ซึ่งจะ
กระทบผลประโยชน์ของคนกว่า 1,500,000 คน สิบเท่าของคนที่ได้ประโยชน์ ซึ่งทรัมป์ไม่สนใจ เลือกจะ
ปกป้องเพียงแต่ประโยชน์ของคน 150,000 คน ที่เป็นกลุ่มฐานเสียงของเขา ดังนั้น ในการเลือกตั้งของ
อเมริกา คนจํานวนน้อยจึงมีพลังเสียงมากกว่าคนจํานวนมากของสังคม เพราะฉะนั้น รูปแบบการพัฒนา
เศรษฐกิจที่ชี้นําโดยผู้ลงคะแนนเสียงจะสร้างความแตกแยกในประเทศชาติมากขึ้น และนี่เป็นรูปแบบการ
พัฒนาของสหรัฐอเมริกา แต่รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจของสีจิ้นผิงนั้นให้ประโยชน์ของประเทศชาติและ
ประชาชนส่วนรวมเป็นศูนย์การของการพัฒนา
ประการที่สอง เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ ปัจจุบัน ในหลายด้านจีนมีปริมาณที่
มากที่สุด แต่สีจิ้นผิงเน้นยํ้าเรื่องคุณภาพ เขาต้องการให้การเติบโตทางจีดีพีของจีนเป็นการเติบโตที่มี
คุณภาพ อย่างเช่นในปัจจุบัน แม้ว่าประเทศจีน จะสามารถผลิตผลผลิตทางการเกษตร ไม่ว่าข้าวหรือ
ผลไม้ ได้พอต่อการเลี้ยงประชากรของตนแล้ว แต่จีนในวันนี้ต้องการผลผลิตทางการเกษตรแบบอินทรีย์
ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะชนชั้นกลางจีนมีจํานวนมากขึ้น ความต้องการในการบริโภคก็ยกระดับ
ขึ้น ซึ่งความสามารถในการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพแบบนี้ยังไม่เพียงพอในประเทศจีน เพราะเป็น
ความต้องการที่ใหญ่มาก จึงต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้มี supply chain ที่มีคุณภาพ เพราะฉะนั้น
ช่วงห้าปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจจีนจึงมุ่งไปสู่ทิศทางของการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ
ด้านที่สาม จีนจะส่งเสริมการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม การพัฒนา
อุตสาหกรรมยุคแรกหรือยุค 1.0 ได้แก่เครื่องจักรไอนํ้า ต่อมาในยุค 2.0 ก็พัฒนามาเป็นเครื่องจักร
อัตโนมัติมากขึ้น ส่วนในยุค 3.0 ก็เป็นเทคโนโลยีไอทีและเทคโนโลยีด้านสารสนเทศต่างๆ ซึ่งประเทศจีน
ก้าวข้ามยุคหนึ่งยุคสองมาถึงยุคที่ 3.0 และตอนนี้กําลังอยู่ในยุค 4.0 ไม่ว่าจะเป็นอินเตอร์เน็ตพลัส AI
Big Data ซึ่งในส่วนนี้ ประเทศจีนสามารถที่จะก้าวไปเป็นผู้นําของโลก และในอีกหลายภาคส่วน
ประเทศจีนก็ได้เป็นผู้นําของโลก นําสหรัฐอเมริกาแล้วด้วยซํ้าไป สิ่งประดิษฐ์ใหม่ 4 สิ่งของประเทศจีน
ได้แก่ รถไฟความเร็วสูง การจ่ายเงินออนไลน์ (วีแชทเพย์ อาลีเพย์) การซื้อของออนไลน์ จักรยานแชร์
เป็นต้น สี่ด้านนี้เป็นสี่ด้านที่ประเทศจีนนําโลก
ในวันที่ 11 พ.ย. 2016 บริษัทอาลีบาบา จัด shopping festival ในเว็บไซต์อาลีบาบา วันนั้น
เพียงวันเดียวในเว็บไซต์ของอาลีบาบาบริษัทเดียวมียอดจําหน่ายทางอีคอมเมิซประมาณ 20,000 ล้าน
เหรียญสหรัฐ ซึ่งมูลค่านี้มีสูงกว่ามูลค่าการช้อปปิ้งอีคอมเมิซทั้งปีของประเทศอินเดียทั้งประเทศ นี่จึงถือ
เป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่ของเศรษฐกิจยุคใหม่
8
ถามว่าเศรษฐกิจจีนดีและเฟื่องฟูเฉพาะภาคเอกชน แต่เศรษฐกิจด้านรัฐวิสาหกิจด้อยลงหรือไม่
ตอบว่าไม่ใช่ รูปแบบเศรษฐกิจจีนเป็นแบบผสมผสานทั้งเอกชนและรัฐวิสาหกิจ กลไกของรัฐและเอกชนก็
สอดประสานกัน การที่อาลีบาบาประสบความสําเร็จได้มาก ส่วนสําคัญก็มาจากความพร้อมของระบบ
สาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ ที่รัฐเตรียมรองรับไว้ เช่น โครงข่ายทางด่วน มีถนนไร้ฝุ่น ระบบไฟฟ้าที่
ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศจีน 100 % แล้ว ระบบสารสนเทศ 4G ของจีนในเวลานี้ก็ดีกว่าอเมริกามาก และ
กําลังมุ่งสู่การวิจัยเทคโนโลยี 5G
ในการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน และการประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ
(13th National People's Congress : NPC) และสภาที่ปรึกษาการเมือง (13th National Committee of
the Chinese People's Political Consultative Conference: CPPCC) ในรายงานผลงาน เรามีการพูด
ถึงเรื่องสูตร บวก ลบ คูณ ที่เป็นการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน สูตรบวกหมายถึงเทคโนโลยีระดับสูง เศรษฐกิจ
ใหม่ เป็นการบวก คือเพิ่มไปเรื่อย สูตรลบคือ การลดการผลิตที่มีศักยภาพตํ่าและสินค้าที่เป็นฟองสบู่ลง
ส่วนสูตรคูณคือ นวัตกรรมใหม่ การเข้าไปใช้การปฏิรูปและปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะปรับโครงสร้าง
ปัจจุบันการจ่ายเงินผ่านทางโทรศัพท์มือถือ (mobile payment) สูงเป็น 60 เท่าของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเรา
จะเห็นผลงานการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจของจีนมีการปฏิรูปทุกวัน เห็นผลงานได้ชัดเจน เช่น ปัจจุบัน คน
จีนสามารถทํากิจกรรมทุกอย่างผ่านโทรศัพท์มือถือได้ ไม่ว่าสั่งอาหาร ซื้อตั๋วเครื่องบิน ดูคอนเทนท์
ต่างๆ ทุกอย่างทําได้หมดในเวลาอันสั้น จึงถือเป็นการปฏิวัติใหม่ทางเศรษฐกิจ
พรรคคอมมิวนิสต์จีน
มีความจําเป็นที่เราจะต้องเข้าใจให้ชัดเจนว่าอะไรคือพรรคคอมมิวนิสต์จีน สื่อตะวันตกมักจะมอง
พรรคคอมมิวนิสต์จีนในแง่ลบ ในปัจจุบัน ได้มีการแก้รัฐธรรมนูญของจีน ซึ่งระบุชัดในข้อแรกว่าประเทศ
จีนเป็นประเทศสังคมนิยม ที่มีเอกลักษณ์ที่สําคัญคือมีพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นผู้นํา
พรรคคอมมิวนิสต์จีนนั้นไม่เหมือนกับ “พรรคการเมือง” ของตะวันตก แม้จะเรียกโดยใช้คําว่า
พรรคการเมืองหรือ party เหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงไม่เหมือนกันเลย คําว่า party ในภาษาอังกฤษ
มาจากคําว่า part คือ ส่วนหนึ่งหรือเฉพาะส่วน พรรคการเมืองของตะวันตกนั้นประกาศตัวชัดเจนว่าเป็น
ตัวแทนของกลุ่มผลประโยชน์เฉพาะส่วนในสังคม และเกิดการแข่งขันกันระหว่างพรรคต่างๆ ในการ
เลือกตั้ง แต่ประเทศจีนไม่เคยมีลักษณะดังกล่าว ตั้งแต่ในประวัติศาสตร์เป็นต้นมา ประเทศจีนถือ
ผลประโยชน์ภาพรวมเป็นหลักสําคัฐ เพราะจีนเป็นประเทศที่ใหญ่มาก และเป็นประเทศอู่อารยธรรม
เหมือนเป็นร้อยกว่าประเทศที่ถูกรวมเข้ามาเป็นหนึ่งประเทศ ถ้าหากใช้ระบอบการปกครองแบบหลาย
พรรคแข่งขันกันแบบตะวันตก ผ่านไปสองวันก็อาจจะมีร้อยพรรค ผ่านไปสามวันก็อาจจะกลายเป็นพัน
9
หรือหมื่นพรรค สุดท้ายประเทศก็จะถูกแบ่งแยก ในปี 1919 จีนเคยใช้รูปแบบการปกครองแบบนี้มาแล้ว
ก็ปรากฏว่าไปไม่รอด และตั้งแต่สองพันปีก่อน ภูมิปัญญาในการบริหารจัดการปกครองของจีน คือ จีน
ต้องมีการปกครองที่เป็นเอกภาพ คือเป็นพรรคเดียวปกครอง ซึ่งถ้าจะกล่าวไป สองพันปีที่ผ่านมาจีนก็
ปกครองโดยพรรคเดียวมาตลอด โดยส่วนใหญ่ประเทศจีนก็นําหน้าและเฟื่องฟูกว่ายุโรปมานาน เพราะ
ปกครองด้วยระบบพรรคเดียวมาตลอด
ส่วนผู้นําของจีนตลอดเวลาที่ผ่านมาก็มิได้มาจากการเลือกตั้ง แต่มาจากการคัดเลือก เช่น ด้วย
วิธีผ่านระบบการสอบ ซึ่งปัจจุบันก็ยังใช้อยู่ เพราะฉะนั้น พรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นพรรคที่เป็นตัวแทน
ของผลประโยชน์รวมของชาติ จีนมีหลักคิดว่า ถ้าหากประเทศๆ หนึ่งมีสถาบันที่สามารถรวมพลัง
ทางการเมืองในชาติ สามารถเป็นตัวแทนผลประโยชน์รวมของชาติได้ก็จะประสบความสําเร็จ ถ้าหากไม่
มี ประเทศนั้นจะมีโอกาสประสบความสําเร็จน้อย เติ้งเสี่ยวผิงเคยกล่าวไว้เมื่อปี 1990 เมื่อเกิดความ
ขัดแย้งทางการเมืองในประเทศจีนว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนไม่สามารถที่จะโค่นล้มได้ เพราะพรรค
คอมมิวนิสต์จีนกําเนิดขึ้นจากการต่อสู้ 22 ปี เคยรบกับสหรัฐถึง 2 ครั้ง ทั้งในสงครามเวียดนาม และ
สงครามเกาหลี ถ้าหากไม่มีการสนับสนุนจากประชาชน พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็คงไม่สามารถอยู่มาได้
จนถึงวันนี้
ตัวแบบจีน (China Model)
เราสามารถอธิบายถึงตัวแบบของจีน (China Model) แบบกระชับเข้าใจง่าย ดังนี้
ด้านเศรษฐกิจ เศรษฐกิจของจีนเป็นระบบผสมผสานระหว่างรัฐและเอกชน ดังที่กล่าวไปแล้ว
ก่อนหน้านี้ ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าเป็นโมเดลที่ดีร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่มีปัญหาเสียเลย เราก็มีปัญหา เราจึงพูดแต่คํา
ว่า ปฏิรูป ปฏิรูป และปฏิรูป นั่นคือ จีนยังต้องพัฒนาโมเดลนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป แต่เมื่อเทียบกับ
รูปแบบการจัดการสังคมของยุโรปที่อิสระเกินไปนั้น เราถือว่าโมเดลของจีนชนะขาด รูปแบบของ
ตะวันตกไม่สามารถแข่งกับจีนได้เลย ความจริงอย่างหนึ่งที่ง่ายที่สุดคือ ในสหรัฐอเมริกาก็ดี ยุโรปก็ดี คน
ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 ของประชากรทั่วไปไม่ได้มีคุณภาพชีวิตที่พัฒนาขึ้นเลยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา
ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมานับจากเริ่มปฏิรูป คนจีนหลายคนได้อพยพไปอยู่ต่างประเทศ เช่น ในเซี่ยงไฮ้ ดู
จากเพื่อนในชั้นเรียนของผม ระหว่างคนที่ย้ายไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกากับคนที่ยังอยู่ที่เซี่ยงไฮ้ ในวันนี้คน
กลุ่มหลังรวยกว่า นี่เป็นตัวอย่างง่ายๆ ที่ทําให้เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือใน
ประเทศจีน
ด้านสังคมกับประเทศชาติ จีนเห็นว่าที่ผ่านมา ภาคสังคม กับรัฐหรือประเทศชาติของจีน มี
ปฏิสัมพันธ์กันในเชิงบวก จีนไม่เห็นด้วยกับตะวันตกว่าสังคมกับภาครัฐเป็นคู่ปรปักษ์กัน ดังที่ตะวันตก
10
ชอบมองว่ารัฐเป็นผู้ร้ายที่คนในสังคมต้องช่วยกันหยุดยั้งไว้มิฉะนั้นจะทําเรื่องชั่วร้าย อย่างไรก็ดี ใน
ประเทศจีนมิได้มีค่านิยมเช่นนี้ จีนมองว่า พรรครัฐบาลเป็นสิ่งที่ดีแต่กําเนิด ถ้าไม่มีพรรคที่เข้มแข็งอยู่ใน
สังคม จีนจะขาดเสถียรภาพ จะมีสงครามกลางเมืองเกิดขึ้นมากมาย และถ้าเป็นเช่นนั้นสังคมจีนจะอยู่
ไม่ได้ เพราะฉะนั้น สังคมและรัฐของจีนจึงมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน นอกจากนี้ รัฐของจีนมีปฏิกิริยาแก้ไข
ปัญหาให้กับประชาชนอย่างรวดเร็วมากเมื่อเทียบกับยุโรปหรืออเมริกา ลองเทียบกันดูระหว่างสภาของ
จีนกับสภาของอเมริกา อันไหนที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่ากัน ลองดูว่าการผลักดันนโยบายที่ดี
อย่างการควบคุมปืนในอเมริกานั้นสุดท้ายแล้วทําได้หรือไม่ เพราะทุกอย่างจะมีกลุ่มผลประโยชน์เข้ามา
ขัดขวางตลอด แต่ในประเทศจีน ก่อนจะมีการประชุมสภา จะต้องมีการสํารวจความคิดเห็นของ
ประชาชนมากมายว่าประชาชนมีปัญหาอะไรบ้างที่รอให้แก้ไข ไม่ว่าการคอร์รัปชั่น ความยากจน
สาธารณสุข ฯลฯ ต้องมีการนําประเด็นเหล่านี้มาถกเถียงกันทีละประเด็นเพื่อหาวิธีในการแก้ไข
เพราะฉะนั้น ประเทศจีนจึงเป็นประเทศที่พัฒนาได้รวดเร็วที่สุดในปัจจุบัน ประเทศจีนมีปัญหาจํานวน
มาก แต่จีนมีวิธีในการแก้ไขที่มีประสิทธิภาพ
ด้านการเมือง ทางตะวันตกเชื่อในวิธีการเลือกตั้ง แต่จีนใช้การคัดเลือกผสมการเลือกตั้ง
(selection plus election) ถ้าถามว่าจะรูปแบบใดดีกว่ากัน จีนเชื่อว่ารูปแบบของจีนดีกว่า ถ้าใครไม่เชื่อ
ลองเอาสีจิ้นผิง เทียบกับทรัมป์ ของสหรัฐ เมย์ส ของอังกฤษ หรือ มาครง ของฝรั่งเศส มันเทียบกันไม่ได้
อย่างผู้ที่จะมาเป็นสมาชิกคณะกรรมการประจํากรมการเมือง (standing political bureau) ซึ่งมีอยู่ 7 คน
ในปัจจุบัน มีข้อกําหนดว่าต้องเคยเป็นเบอร์หนึ่งของมณฑลมาก่อนอย่างน้อยสองสมัย หนึ่งมณฑลของ
จีนแทบจะมีขนาดประมาณสองสามประเทศในยุโรปรวมกันแล้ว ความหมายคือคุณต้องเคยปกครองคน
หนึ่งร้อยล้านคนมาก่อน มิฉะนั้น คุณไม่มีโอกาสที่จะขึ้นไปเป็นกรมการเมืองได้ แม้ว่าระบบการคัดเลือก
ผสมกับเลือกตั้งของจีนอาจจะไม่ได้สมบูรณ์แบบ แต่จีนก็มีการปรับปรุงอยู่ตลอด แต่ถ้าเทียบกับระบบ
ได้มาซึ่งผู้นําของอเมริกาแล้ว เราเชื่อมั่นว่าระบอบของอเมริกาแย่กว่าจีนมาก คนอย่างทรัมป์จะไม่มีทาง
ได้ขึ้นมาเป็นผู้นําของจีนเลย เรียกว่ามาตรฐานเป็นคนละเรื่องกัน ไม่สามารถจะมาแข่งขันกับประเทศจีน
ได้เลย นี่คือ โมเดลของจีน ซึ่งมีพลังหรือกลุ่มการเมืองที่สามารถเป็นตัวแทนผลประโยชน์ส่วนรวมของ
ประชาชนได้อย่างแท้จริง ประเทศจีนมีการสํารวจความคิดเห็นและฟังเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง
แต่อเมริกาไม่มี
สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นความเข้าใจของผมเอง ซึ่งอาจจะไม่เหมือนกับคําอธิบายของภาครัฐจีน
ซึ่งค่อนข้างจะถ่อมตัว รัฐบาลจีนบอกว่าจากการพัฒนาและปฏิรูปอย่างรวดเร็วในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา
เวลานี้จีนถือเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก แต่จีนก็ยังเป็นประเทศกําลัง
พัฒนาอยู่ และยังมีรายได้ต่อหัวตํ่าอยู่ (เฉลี่ยราว 8,500-9,000 เหรียญสหรัฐต่อคน ถือเป็นอันดับที่ 80
11
ของโลก) นี่เป็นวิธีการพูดของรัฐบาลจีน อย่างไรก็ตาม จากการไปสํารวจและวิจัยของผม การพูดเช่นนั้น
อาจจะทําให้ต่างประเทศไม่เข้าใจว่าเหตุใดจีนพูดว่าเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองแล้ว แต่ยังพูดว่ารายได้
เฉลี่ยต่อหัวเป็นอันดับที่ 80
ผมจึงคิดว่าถ้าเช่นนั้นเราเปลี่ยนวิธีการพูดดีหรือไม่ เลยทําวิจัยชิ้นหนึ่ง เอาเซี่ยงไฮ้กับนิวยอร์ก
ซึ่งเป็นเมืองที่เจริญที่สุดของทั้งสองประเทศมาเทียบกัน ถ้าดูจากสถิติจีดีพีของภาครัฐ (capital GDP) จีดี
พีนิวยอร์กสูงกว่าเซี่ยงไฮ้ 4 เท่า (เซี่ยงไฮ้อยู่ที่ 17,000 USD ส่วนนิวยอร์กอยู่ที่ราว 80,000 USD) แต่ถ้า
ดูดัชนีอื่นๆ ทางสังคมประกอบ พบว่าที่เซี่ยงไฮ้ทุกคนมีที่อยู่อาศัย และสินทรัพย์สุทธิของครอบครัวชั้น
กลางสูงกว่าคนในนิวยอร์ก คนเซี่ยงไฮ้ถือครองทรัพย์สินสูงกว่าชาวนิวยอร์ก นอกจากนั้น เวลานี้
อายุขัยเฉลี่ยของคนในเซี่ยงไฮ้อยู่ที่ 82 ปี คนนิวยอร์กอยู่ที่ 78 ปี อายุขัยเฉลี่ยของคนเซี่ยงไฮ้สูงกว่า
นิวยอร์ก 4 ปี ในด้านสภาพสังคมและอาชญากรรม เซี่ยงไฮ้และประเทศจีนถือเป็นเมืองที่ปลอดภัยมาก
เมื่อเทียบกับนิวยอร์ก นอกจากนี้ ประชากรในเซี่ยงไฮ้ยังมองอนาคตของเมืองตัวเองในแง่ดีมากกว่า
ประชากรในนิวยอร์กมองเมืองนิวยอร์ก ดังนั้น เราเลยอธิบายว่า ถึงแม้จีดีพีเฉลี่ยของเซี่ยงไฮ้คิดเป็น
เพียงหนึ่งในสี่ของนิวยอร์ก แต่ดัชนีทางสังคมอื่นๆ ที่ประชาชนให้ความสําคัญดีกว่านิวยอร์ก นั่น
หมายถึงสภาพสังคม สภาพเศรษฐกิจ และสภาพการเมืองของจีนดีกว่าอเมริกามาก นี่เป็นวิธีการอธิบาย
แบบหนึ่ง
การอธิบายอีกแง่หนึ่งนั้น เราอธิบายว่าวิธีการคํานวณจีดีพีของจีนกับอเมริกาแตกต่างกัน ใน
ความรู้สึกของผม วิธีการคํานวณจีดีพีของจีนประเมินตัวเองตํ่าไปมาก การวิเคราะห์จีดีพีของจีนนั้นเริ่ม
นับจากหน่วยที่เป็นกิจการหรือบริษัทที่มีขนาดใหญ่ระดับหนึ่ง แต่ที่อเมริกานั้นนับหมด ไม่ว่าร้านโชห่วย
หรือร้านค้ารถเข็นริมทางก็นํามาคํานวณในจีดีพีทั้งสิ้น แต่ประเทศจีนไม่นํากิจการระดับนี้ กิจกรรมทาง
เศรษฐกิจหลายด้านในชนบท หรือกิจกรรมใน informal sector มาคํานวณในจีดีพี ดังนั้น ถ้าหากลอง
คํานวณจีดีพีของเมืองหรือพื้นที่สักแห่งในประเทศจีนใหม่ด้วยวิธีการคํานวณของอเมริกา ผมคิดว่า
ผลลัพธ์ที่ได้จะแตกต่างจากปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม นี่เป็นความเห็นส่วนตัวของผม ซึ่งไม่เกี่ยวกับรัฐบาล
จีน อย่างไรก็ดี คณะวิจัยของผมกําลังทําวิจัยเกี่ยวกับการคิดจีดีพีใหม่ที่รวมเอาดัชนีทางสังคมอื่นๆ เข้า
มาคิดด้วย
ในการวิเคราะห์ของ Ipsos ในปี 2016 ว่าคนในแต่ละประเทศคิดว่าประเทศของตนเดินไปใน
ทิศทางที่ถูกต้องหรือไม่ ร้อยละ 90 ของประชาชนจีนเชื่อว่าประเทศของตนเดินในทิศทางที่ถูกแล้ว ดัชนี
12
ดังกล่าวอยู่ที่ร้อยละ 37 ในสหรัฐอเมริกา และอยู่ที่เพียงร้อยละ 11 ในฝรั่งเศสเท่านั้น1
ผมเคยทํางานอยู่
ที่ประเทศฝรั่งเศสมา 11 ปี ผมทราบดีว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาฝรั่งเศสไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนา
เลย
ปัญหาสามประการในระดับ DNA ของตัวแบบตะวันตก
โมเดลการพัฒนาของตะวันตกมีปัญหาอะไร การลงประชามติ Brexit ของอังกฤษเป็นการ
ตัดสินใจที่โง่มาก เพราะสหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าที่สําคัญของอังกฤษ แต่อังกฤษดันไปลงมติที่จะออกจาก
สหภาพยุโรป ผมจึงคิดว่าระบอบของตะวันตกน่าจะมีข้อบกพร่องถึงในระดับ DNA อย่างน้อยสาม
ประการ ดังนี้
ประการแรกคือ สมมติฐานที่ว่าคนทุกคนลงคะแนนเสียงอย่างชาญฉลาดอย่างแท้จริง
คือ คนเรานั้นอาจจะอยู่ทั้งในสภาวะที่ใช้เหตุผล หรืออาจจะไม่ใช่เหตุผล หรืออาจจะมีช่วงที่เราไม่ยอมใช้
เหตุผลเลยก็มี แล้วยังมีปัจจัยเรื่องเงินและอิทธิพลของสื่อแนวใหม่เข้ามาอีก ไม่ว่าทวิตเตอร์ หรือ เฟซบุ๊ก
ซึ่งสามารถควบคุมความคิดเห็นของประชาชน เช่น เฟซบุ๊ก สแกนเนอร์ เป็นโปรแกรมที่สามารถรู้ว่าผู้ใช้
มีนิสัยอย่างไร ชอบอะไร และสามารถยิงโฆษณาให้ตรงเป้าหมายอย่างชัดเจน ดังนั้นการหวังให้คน
ตัดสินใจด้วยเหตุผลอย่างชาญฉลาดนั้นเป็นสิ่งที่ยากมาก อย่างวันที่คนอังกฤษตื่นมาพบว่าอังกฤษออก
จากสหภาพยุโรปแล้ว วันนั้นเว็บไซต์ Google ไปทําการสํารวจว่าคําที่คนอังกฤษไปค้นมากที่สุดในวัน
นั้นคืออะไร ปรากฏว่าคือ สหภาพยุโรปคืออะไร
ข้อบกพร่องสาคัญประการที่สองคือ การเชื่อมั่นใน absolute right หรือการยกย่องสิทธิ์
ไว้เหนือสิ่งอื่นใด แม้ยุโรปกลัวมากว่าจะเกิดปัญหาต่างๆ ถ้าหากอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป เช่น
ประเทศอื่นอาจจะทําตาม แต่อังกฤษยืนยันว่านี่เป็นสิทธิ์ของเขา ถ้าคนอังกฤษต้องการจะออก ก็ไม่มีใคร
ขัดขวางได้ สุดท้ายเรื่องใหญ่ขนาดนี้ กลับใช้วิธีลงคะแนนเสียง นอกจากนี้ ตะวันตกยังถือว่ากระบวนการ
(process) เป็นสิ่งที่ทรงอานุภาพที่สุด คือเชื่อว่า ถ้ากระบวนการถูก ผลก็ต้องถูก ผมเคยพูดคุยกับ
นักวิชาการชาวอังกฤษว่า อีกสิบปีข้างหน้า ผมสามารถวิเคราะห์ได้เลยว่าประเทศจีนจะเดินไปถึงไหน
แต่ว่าถามว่านักวิชาการอังกฤษกล้าหรือไม่ที่จะประเมินสถานการณ์ของประเทศตนเองในอีกสิบปี
ข้างหน้า คือ ถ้าใช้วิธีลงประชามติแบบนี้ต่อไป ในอนาคตลอนดอนก็อาจจะอยากแยกเป็นอีกประเทศ
ไอร์แลนด์ สกอตแลนด์ก็อาจจะอยากแยกตัวตามมา คือปัจจุบันเป็นศตวรรษที่ 21 แล้ว การลงประชามติ
1
What worries the world: Country comparison Right Direction/ Wrong Track. Ipsos Public Affairs. ออนไลน์
https://www.ipsos.com/sites/default/files/migrations/en-
uk/files/Assets/Docs/Polls/SRI_PA_What_Worries_the_World_Oct_2016.pdf
13
(referendum) อาจจะดูเหมือนว่าเป็นกระบวนการที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด แต่ความจริงเป็น
กระบวนการที่ล้าสมัยที่สุด ในสมัยกรีกโบราณ แต่ละนครรัฐมีประชากรเป็นหลักหมื่นคน แต่ในยุค
ปัจจุบันที่เศรษฐกิจ สังคม วิชาการที่ซับซ้อนขนาดนี้ ผู้นําที่ผลักภาระการตัดสินใจเรื่องของโลกหรือของ
ประเทศชาติไว้กับประชาชนผ่านการลงประชามติแบบเดิมนั้นถือเป็นผู้นําที่ไม่รับผิดชอบต่อชะตากรรม
ของประเทศ รูปแบบดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่ผมคิดว่าน่าจะเดินต่อไปไม่ได้
ข้อบกพร่องประการที่สามคือ กรอบการจัดประเภทระบอบการปกครองของประเทศ
ต่างๆ ไว้ระหว่างประชาธิปไตยกับเผด็จการ ซึ่งเป็นการจัดประเภทที่ล้าสมัย ถ้าจะแบ่งเป็นสอง
รูปแบบ ควรเปลี่ยนมาใช้กรอบการจําแนกระบบการปกครองของประเทศต่างๆ ว่าเป็น การบริหาร
จัดการปกครองที่ดีหรือไม่ดี (Good vs. Bad governance) จะดีกว่า Good Governance นั้น บาง
ประเทศของยุโรปอาจจะจัดการได้ดี โดยที่อาจจะไม่ได้ใช้รูปแบบของประเทศจีน ก็จัดเป็นประเทศที่
บริหารจัดการดีได้ ส่วนประเทศที่บริหารจัดการไม่ดีนั้น ผมเคยเดินทางไป 106 ประเทศ ผมสามารถ
ยกตัวอย่างได้เลยว่าประเทศใดที่บริหารจัดการได้ไม่ดี เช่น อัฟกานิสถาน เฮติ ลิเบีย กรีซ หรือ
ไอซ์แลนด์ ประเทศเหล่านี้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยทั้งสิ้น แต่ล้วนเป็นประเทศที่บริหารจัดการ
ได้ไม่ดี
ความหมายของการพัฒนาของประเทศจีนทางสากล
จีนมีมาตรฐานสี่ข้อที่ใช้มองประเทศทั่วโลก
หนึ่ง ดูว่าประเทศหนึ่งๆ มีพลังด้านการเมืองที่สามารถเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประชาชน
ทั้งหมดหรือไม่ ถ้าประเทศนั้นมี ก็มีโอกาสที่จะประสบความสําเร็จมาก แต่ถ้าไม่มีประเทศนั้นก็จะ
กลายเป็นประเทศที่แตกแยก
สอง ประเทศหนึ่งควรใช้บทบาททั้งภาครัฐและตลาดผสานกัน ในศตวรรษที่ 21 จะใช้แค่กลไก
ของรัฐอย่างเดียวหรือกลไกตลาดอย่างเดียวไม่ได้ ต้องผสมผสานกันอย่างดี
สาม พิจารณาขีดความสามารถในการปฏิรูปของประเทศนั้นๆ ว่าประเทศนั้นมีขีดความสามารถ
ในการแก้ไขความผิดพลาดของตนได้หรือไม่ อย่างประเทศจีน ตลอดสี่สิบปีที่ผ่านมา จีนปฏิรูปตนเองทุก
วัน เพราะฉะนั้น ประเทศจีนจึงพัฒนามาอย่างมาก แต่สหรัฐอเมริกานั้นก็พูดว่าจะปฏิรูป แต่ทําได้จริง
ยากมาก อย่างโอบามาตอนหาเสียงเลือกตั้งขึ้นมาชูนโยบาย “เปลี่ยนแปลง (Change)” แต่เปลี่ยนแปลง
ได้จริงเพียงอย่างเดียวคือ ด้านสวัสดิการหรือ Obama Care ซึ่งก็ถูกยกเลิกหลังทรัมป์ขึ้นมาเป็น
ประธานาธิบดี จึงแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจริงเลย
14
สี่ ทําอย่างไรให้ประเทศมีเสถียรภาพภายในยืนยาวและมีเอกราชต่อภายนอก โดยเฉพาะเอก
ราชนั้นเป็นสิ่งที่สําคัญมาก มิฉะนั้น สหรัฐอเมริกาอยากจะทําอะไร อยากจะบีบให้ประเทศของคุณ อยาก
สั่งให้ประเทศของคุณทําอะไรก็ทําได้ นั่นเป็นสิ่งที่ยอมไม่ได้ ประเทศจีนมีความสามารถในการบอกว่า
“ไม่” ต่อสหรัฐอเมริกา ถ้าเราไม่มีสิทธิ์ตรงนี้ เราก็ไม่สามารถก้าวมาเป็นประเทศจีนที่ผงาดขึ้นได้
แข็งแกร่งขนาดนี้
นักวิชาการชื่อดังของสหรัฐอเมริกา Francis Fukuyama เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ The End of
History and the Last Man ซึ่งมีใจความสําคัญว่า ในประวัติศาสตร์นั้น เมื่อพัฒนาการของระบอบการ
ปกครองเดินมาจนถึงระบอบประชาธิปไตยนั้น ประชาธิปไตยจะเป็นระบอบการปกครองสุดท้ายของ
ประวัติศาสตร์มนุษย์ เพราะไม่มีระบอบการปกครองที่ดีกว่านี้อีกแล้ว ในปี 2011 เกิดปรากฏการณ์ Arab
Spring ในอียิปต์และประเทศอื่นๆ ในโลกอาหรับ ก่อนหน้านั้นก็มีคนออกมาพูดว่าสักพักประเทศจีนก็จะ
เผชิญสภาวะแบบเดียวกับ Arab Spring แต่ความจริงไม่มีโอกาสเป็นเช่นนั้น เพราะประเทศอียิปต์นั้น
ผมเคยไปสี่ครั้ง ทราบว่าปัญหาที่สําคัญของประเทศอียิปต์ไม่ใช่เรื่องการเมือง แต่คือการที่คนรุ่นใหม่ของ
อียิปต์หางานทําไม่ได้ ผมเรียนทางรัฐศาสตร์มาก็กล้าที่จะวิเคราะห์ในเวลานั้นว่า เดี๋ยวปรากฏการณ์
Arab Spring ก็จะกลายเป็น Arab Winter ซึ่งเมื่อตรวจสอบแล้วก็พบว่าผมเป็นคนแรกที่กล่าวคํานี้
ออกมาในโลก ในวันนี้ยุโรปเผชิญวิกฤตผู้อพยพจากตะวันออกกลาง เมื่อปี 2017 ผมได้ไปพูดคุยกับคลัง
สมอง (Think Tank) ของยุโรปที่บรัสเซลล์ ว่าสี่ปีก่อนถ้ายุโรปเชื่อในความคิดเห็นของนักวิชาการจีน คุณ
อาจจะสามารถเลี่ยงวิกฤตทางการเมืองของยุโรปได้ ซึ่งความจริงก็พิสูจน์แล้วว่าการคาดการณ์ของเรา
ถูกต้อง
ในปี 2011 ตะวันตกบอกว่าจีนมีปัญหาเรื่อง ฮ่องเต้ที่ไม่ดี ถ้าหากเจอฮ่องเต้ที่ดี ก็จะเป็นยุคเฟื่อง
ฟู แต่ถ้าเจอฮ่องเต้ที่ไม่ดี ก็จะเป็นยุคที่แย่ เราบอกว่าปัญหาเรื่องฮ่องเต้ไม่ดีนั้น จีนได้แก้ไขไปแล้ว โดย
การกําหนดเกณฑ์ต่างๆ เช่นให้ผู้ที่จะมีสิทธิ์ขึ้นมาเป็นผู้บริหารสูงสุดต้องเคยปกครองคนอย่างน้อยหนึ่ง
ร้อยล้านคนมาก่อน แล้วก็มีการกําหนดเกณฑ์เรื่องอายุ และเรายังมีการนําโดยกลุ่มบุคคล ไม่ใช่แค่คนๆ
เดียว
ในเวลานั้น จีนมีการวิเคราะห์ในอีกประเด็นหนึ่งที่เมื่อเวลาผ่านไปก็พิสูจน์แล้วว่าถูกต้อง คือ
ปัญหาเรื่องระบบการเมืองของอเมริกัน โดยเราวิเคราะห์ไว้ว่า ระบอบการเมืองของอเมริกาในปัจจุบันนั้น
เป็นระบอบเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ก่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อสองร้อยปีที่ผ่านมา เวลานั้นสหรัฐมี
ประชากรเพียงสามล้านคน ถ้าหากอเมริกาไม่ปฏิรูปการปกครองอย่างแท้จริง อเมริกาจะได้ผู้นําใน
อนาคตที่แย่กว่าจอร์จ ดับเบิลยู บุช เสียอีก ซึ่งเวลานี้คนอเมริกันส่วนใหญ่ก็คงเห็นด้วยกับเรา
15
คนต่างชาติ โดยเฉพาะทางตะวันตก และโดยเฉพาะสื่อ ซึ่งสื่อในส่วนอื่นๆ ของโลกก็มักรับ
ข่าวสารจากตะวันตกมา จึงมักเข้าใจจีนผิดๆ โดยเฉพาะเรื่องสิทธิมนุษยชน ปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนใน
ประเทศจีนนั้นต้องไปถามคนจีน ไม่ใช่ไปถามคนยุโรปหรืออเมริกา เวลานี้คนจีนไปเที่ยวต่างประเทศกัน
มาก ปีละกว่า 130 ล้านคน ในจํานวนนี้ ร้อยละ 99.99 ไปเที่ยวต่างประเทศแล้วกลับมาประเทศจีน เหตุ
ใดคนเหล่านี้จึงอยากกลับมายังประเทศที่ไม่มีสิทธิมนุษยชน นักเรียนชาวจีนไปเรียนต่างประเทศ ร้อยละ
85 ก็กลับมาหมด เขากลับมาเพราะเห็นประเทศที่มีโอกาส ประเทศที่ดี มีความรุ่งเรือง

Contenu connexe

Plus de Klangpanya

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยKlangpanya
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคKlangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยKlangpanya
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนKlangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsKlangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 

Plus de Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 

เส้นทางการพัฒนาประเทศจีน และความหมายทางสากล

  • 1. เส้นทางการพัฒนาประเทศจีน และความหมายทางสากล ศ.จางเหวยเหวย (Zhang Weiwei) ผู้อานวยการสถาบันจีนศึกษา มหาวิทยาลัย Fudan กรรมการคณะกรรมการสถาบันคลังสมองชั้นสูงแห่งประเทศจีน
  • 2. เส้นทางการพัฒนาประเทศจีนและความหมายทางสากล ศ.จางเหวยเหวย (Zhang Weiwei) ผู้อํานวยการสถาบันจีนศึกษา มหาวิทยาลัย Fudan กรรมการคณะกรรมการสถาบันคลังสมองชั้นสูงแห่งประเทศจีน เนื้อหาถอดความและเรียบเรียงจากปาฐกถา เรื่อง เส้นทางการพัฒนาประเทศจีนและความหมายทางสากล โดย ศ.จางเหวยเหวย ในเวทีเรียนรู้ประเทศจีน-เวทีแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างจีนไทย จัดโดยศูนย์วิจัย ยุทธศาสตร์ไทย-จีน สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2561 ณ ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพมหานคร ที่ปรึกษา: ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล ผู้ช่วยบรรณาธิการ : ปาณัท ทองพ่วง อานวยการผลิตโดย : สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ปีที่เผยแพร่: เมษายน 2561 www.rsu-brain.com ที่อยู่ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขต จตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
  • 3. 1 เส้นทางการพัฒนาประเทศจีนและความหมายทางสากล ศาสตราจารย์ จางเหวยเหวย ที่มาภาพ https://www.youtube.com/watch?v=K64xcKkUu1E การบรรยายในวันนี้เป็นผลจากการวิจัยของผมเรื่องวิถีการพัฒนาของจีน ผมขอมาร่วมแบ่งปัน ความเข้าใจในเรื่องนี้ของผมกับทุกท่าน ผมเดินทางมาประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี 1983 หรือประมาณ 35 ปีที่แล้ว ในคราวที่ผมมาที่ ประเทศไทยครั้งนั้น ผมรู้สึกตื่นตะลึง ผมมาจากเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นเมืองที่เจริญที่สุดในประเทศจีน เวลานั้น ผมรู้สึกว่ากรุงเทพน่าจะนําหน้าการพัฒนาของเซี่ยงไฮ้ไปยี่สิบปี ผมเห็นทางด่วนเป็นครั้งแรก เห็น ซูเปอร์มาร์เก็ตเป็นครั้งแรก เป็นครั้งแรกที่เห็นสนามบินที่สร้างได้อย่างสวยงาม (สนามบินดอนเมืองใน ขณะนั้น) เห็นร้านค้าต่างๆ เปิดจนถึงเวลากลางคืนเลยสามทุ่มไป ซึ่งสภาพเหล่านี้ไม่ปรากฏในประเทศ จีน หลังจากที่จีนมีการเปิดประเทศในปี 1978 เติ้งเสี่ยวผิงได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยครั้ง ประวัติศาสตร์ มาประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และญี่ปุ่น เวลานั้น เติ้งเสี่ยวผิงกล่าวว่ารู้สึกตะลึง เช่นกัน ด้วยไม่นึกเลยว่าในขณะที่ประเทศจีนพึ่งผ่านความวุ่นวายช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมมา ประเทศต่างๆ รอบๆ จีนต่างพัฒนาอย่างรวดเร็ว กลายเป็นแรงบันดาลใจให้เติ้งเสี่ยวผิงต้องการพัฒนาประเทศจีนให้ เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
  • 4. 2 ในปีนี้เป็นวาระครบรอบ 40 ปีการปฏิรูปเศรษฐกิจและเปิดประเทศของจีน ซึ่งมีผลสําเร็จที่ “พลิก ฟ้าดิน” ต่อไปนี้ผมขอกล่าวถึงผลการวิจัยของผมเอง ในการพูดถึงความหมายของการพัฒนาของจีนที่มี ต่อทั่วโลก ผมอยากจะเริ่มด้วยการเล่าภูมิหลังของประเทศจีนสักเล็กน้อย ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของประเทศจีน เมื่อย้อนไปดูประวัติศาสตร์ เมื่อราวสองพันปีก่อนเป็นต้นมา จีนเป็นประเทศชั้นนําของโลก มี ความเจริญก้าวหน้ามากยิ่งกว่าตะวันตก ในสมัยราชวงศ์หมิง ประมาณศตวรรษที่ 15 จีนส่งกองเรือเจิ้ง เหอเดินทางไปสํารวจโลก เรือเจิ้งเหอใหญ่กว่าเรือของโคลัมบัสหลายเท่า นั่นหมายความว่า ความ เจริญก้าวหน้าและระดับการพัฒนาของจีนอยู่เหนือกว่าประเทศใดในโลก และในเวลานั้นจีนก็ไม่เคยไปล่า อาณานิคม หรือใช้กําลังทหารไปโจมตีประเทศอื่น ประเทศจีนในเวลานั้นจึงเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมี สันติ รวมถึงมีความเจริญทางวัฒนธรรมระดับชั้นนําของโลก ในสมัยโบราณจีนมีการประดิษฐ์เทคโนโลยี การพิมพ์ จีนมีตํารา “หย่งเล่อ” ซึ่งเป็นสารานุกรมจํานวน 20,000 เล่ม ซึ่งใช้การคัดด้วยมือทั้งหมด ใน เวลาเดียวกันพระเจ้าเฮนรี่ของอังกฤษมีหนังสือในมือแค่ 5 เล่ม แสดงถึงความเหลื่อมลํ้าทางวิทยาการ และวัฒนธรรมที่ห่างไกลกันมาก ภาพ ขนาดเรือเจิ้งเหอเทียบกับเรือซานตา มาเรียของโคลัมบัส ที่มาภาพ http://www.nicolaainsworth.com/the-straights-of-malacca-malaysia-visit-2009/020- comparison-zheng-he-columbus-ships/
  • 5. 3 วอลแตร์ นักปรัชญาสําคัญแห่งฝรั่งเศสกล่าวไว้ว่าจีนเป็นประเทศที่เป็นสุดยอด ทั้งงดงาม เก่าแก่ อลังการ และมีประชากรมากที่สุด ในยุคของวอลแตร์นั้นตรงกับช่วงต้นราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นช่วงที่ จีนเป็นประเทศที่มีความเป็นปึกแผ่น เจริญเฟื่องฟู ส่วนยุโรปในเวลานั้นยังเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วย สงครามระหว่างรัฐ อีกทั้งในยุคนั้นจีนเป็นประเทศ secular ที่แยกรัฐกับศาสนาออกจากกัน แต่สองสิ่งนี้ ยังผสมปะปนกันอยู่ในยุโรป ซึ่งต่อมายุโรปได้นํารูปแบบการปกครองและรูปแบบของระบบการสอบ คัดเลือกข้าราชการของจีน ซึ่งยุโรปยังไม่มีไปศึกษา ถือเป็นอะไรที่ปฏิวัติความรู้ของยุโรปมาก อย่างไรก็ตาม ด้วยปัจจัยหลายประการ ประเทศจีนได้เข้าสู่ช่วงถดถอยลง เวลานั้นในยุโรปเกิด สงครามรบพุ่งระหว่างรัฐมากมาย รบกันไปมาจากที่มี 300 กว่ารัฐจนเหลือราว 30 กว่ารัฐ เรื่องไม่ดี กลายเป็นเรื่องดี หมายถึงสงครามทําให้ประเทศในยุโรปพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการที่ เข้มแข็งและการทหารที่แข็งแกร่งมาก ยุโรปได้นําเทคโนโลยีดินปืนจากจีนไปพัฒนาใช้ในการทหาร สุดท้ายประเทศยุโรปต่างๆ เหล่านี้ก็กลับมาบุกประเทศจีน ในปี 1874 เกิดสงครามฝิ่น อังกฤษรบชนะจีน นํามาสู่การทําสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับประทศจีนนับพันฉบับ ประเทศจีนเหมือนถูกแบ่งแยก ในปี 1900 เกิดขบวนการอี้เหอถวน (義和團運動) หรือกบฏนักมวย มีพันธมิตรยุโรปแปดประเทศ เข้า มายึดกรุงปักกิ่ง ต่อมาประเทศจีนเริ่มเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูประเทศและชนชาติจีนให้เข้มแข็งขึ้นมาใหม่ ปัจจุบันเรายอมรับกันว่า ดร.ซุนยัตเซน เป็นผู้สถาปนาประเทศจีนยุคใหม่ เขาได้โค่นล้มราชวงศ์ชิง แต่ ก็มีปัญหาต่อมา เพราะเขาได้นําเอารูปแบบประชาธิปไตยที่มีหลายพรรคการเมืองแข่งขันกันมาใช้ใน ประเทศจีน นํามาสู่ความแตกแยกของดินแดนต่างๆ ในประเทศจีนภายใต้การนําของแม่ทัพนายกองและ ขุนศึกต่างๆ ซึ่งมีประเทศยุโรปอยู่สนับสนุนเบื้องหลัง เช่น ทางตอนเหนือของประเทศจีนก็มีรัสเซียเข้า หนุนหลัง ทางใต้ก็คืออังกฤษ เลยนํามาสู่สงครามกลางเมืองมากมายในประเทศจีน สรุปได้ว่า ประสบการณ์ในการนําเอารูปแบบการปกครองของอเมริกามาใช้ในประเทศจีนนํามาสู่ความล้มเหลว ผู้ที่สามารถฟื้นฟูประเทศจีนกลับขึ้นมาคือ พรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งมีผู้นําสําคัญสามคน คือ เหมาเจ๋อตง เติ้งเสี่ยวผิง และสีจิ้นผิง ในปี 1935 ช่วงที่เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างพรรค คอมมิวนิสต์จีนกับพรรคคณะชาติ (ก๊กมินตั๋ง) พรรคคอมมิวนิสต์จีนต้องเดินทางไกลไปที่เมืองส่านซี สานเป่ย เพื่อสร้างเป็นฐานที่มั่นในการสู้กับกองทัพญี่ปุ่น เหมาเจ๋อตงในเวลานั้นมีกําลังพลเพียง 8,000 คน ตอนที่เดินทางไกลไปถึงจุดหมายบนเขา แต่เขามีความมั่นใจว่าเขาสามารถจะรบชนะมหาอํานาจ อย่างญี่ปุ่นได้ เหมาเจ๋อตงกล่าวไว้คําหนึ่งที่คนจีนภูมิใจถึงปัจจุบันว่า “ชนชาติจีนพร้อมที่จะสู้เพื่อสร้าง
  • 6. 4 ตัวเองขึ้นมาใหม่ เราสามารถที่จะพัฒนาตัวเองขึ้นมาเป็นชาติชั้นนําของโลกได้อีกครั้งหนึ่ง” 14 ปี ถัดมา ญี่ปุ่นแพ้ และก๊กมินตั๋งก็แพ้ หนีไปอยู่ไต้หวัน ในปี 1948 กองทัพของพรรคคอมมิวนิสต์จีนกําลังจะปลดปล่อยพื้นที่ทางตอนเหนือของแม่นํ้า แยงซี แม้ว่าก่อนหน้านั้นทางโซเวียตบอกกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนว่าไม่ต้องข้ามแม่นํ้าแยงซี รวมทั้งกลุ่ม การเมืองท้องถิ่นก็บอกกับกองทัพพรรคคอมมิวนิสต์จีนว่าให้หยุด อย่าบุกต่อไป แต่เหมาเจ๋อตงบอกว่า ต้องปลดปล่อยให้ได้ทั้งประเทศจีน จีนต้องเป็นปึกแผ่น ผ่านไปหนึ่งปี ถึงปี 1949 กองทัพพรรค คอมมิวนิสต์จีนก็ข้ามแม่นํ้าแยงซีแล้วปลดปล่อยทางเหนือของจีน เมื่อเราย้อนมองไป จะพบว่าการสร้าง ประเทศจีนให้มีเอกภาพเป็นปึกแผ่นเป็นสิ่งที่สําคัญอย่างมาก มิฉะนั้น ก็จะเป็นเหมือนเกาหลีเหนือและ เกาหลีใต้ ที่ไม่สามารถที่จะฟื้นฟูขึ้นมาได้อย่างแท้จริง เพราะยังเป็นประเทศที่เสมือนแตกแยกอยู่ ผู้นําสําคัญอีกท่านคือ เติ้งเสี่ยวผิง ผมรู้สึกเป็นเกียรติที่เคยทําหน้าที่เป็นล่ามภาษาอังกฤษ ให้กับท่าน ในวันที่ 15 สิงหาคม 1985 ท่านได้พบกับประธานาธิบดีมูกาเบของซิมบับเว ซึ่งเป็นผู้นําที่มี ความคิดฝ่ายซ้าย มูกาเบเชื่อว่าการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศจีนในเวลานั้นอาจจะทําให้ประเทศจีน กลายเป็นทุนนิยมไป เลยรู้สึกเป็นห่วงและมาคุยกับเติ้งเสี่ยวผิง เติ้งเสี่ยวผิงก็ยืนยันกับมูกาเบว่า จีนยัง เป็นสังคมนิยม เป็นสังคมนิยมแบบจีน ที่สุดท้ายประเทศจีนก็ต้องประสบความสําเร็จอย่างแน่นอน และ ประเทศจีนจะไม่เป็นทุนนิยมอย่างแน่นอน เพราะประการแรก จีนอยู่ภายใต้การนําที่เข้มแข็งของพรรค คอมมิวนิสต์จีน พรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นพรรคการเมืองที่เข้มแข็ง จีนเป็นประเทศที่มีพรรคคอมมิวนิสต์ จีนเป็นผู้นํา พรรคคอมมิวนิสต์จีนสามารถเป็นตัวแทนผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศจีนทั้งหมด พรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นสมบัติของส่วนรวม อย่างไรก็ตาม พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็มีข้อที่ต้องปฏิรูป เช่นกัน รูปแบบบางประการอาจจะเปลี่ยนไป เช่น ในประเทศจีน ที่ดินเป็นของรัฐ แต่สิทธิ์ในการใช้ที่ดิน นั้นจะเป็นไปตามกลไกตลาด นี่เป็นสิ่งที่ต้องพูดให้ชัดเจน ปัจจุบัน ร้อยละ 90 ของชาวจีนถือครอง ทรัพย์สินด้านอสังหาริมทรัพย์ นี่เป็นการปฏิรูปด้านทรัพย์สิน อย่างไรก็ตาม มูกาเบรู้สึกว่า ยังมีความเสี่ยงที่ประเทศจีนจะกลายเป็นทุนนิยมไป เขายํ้ากับเติ้ง เสี่ยวผิงว่าประเทศโลกที่สามที่เป็นมิตรกับจีนยังคาดหวังว่าประเทศจีนจะยังคงเป็นประเทศสังคมนิยม ต่อไป เมื่อสนทนากันมาถึงตอนนั้น ทําให้เติ้งเสี่ยวผิงรู้สึกโมโหเล็กน้อย แล้วตอบมูกาเบว่า จีนยังมี จักรกลของประเทศที่สําคัญอีกอย่าง คือกองทัพ ถ้าหากทิศทางของสังคมนิยมในประเทศจีนเกิด เบี่ยงเบน หลุดออกจากเส้นทางไป เราก็สามารถปรับให้กลับคืนมาอยู่ในเส้นทางที่ถูกต้องได้ วันที่ 25 ธันวาคม 1991 โซเวียตสลายตัวลง ก่อนโซเวียตจะสลาย สังคมนิยมในยุโรปกลางก็ สลายตัวไปก่อน เวลานั้นในประเทศจีนก็มีความคิดว่าสังคมนิยมหรือ “ธงแดง” ของจีนจะยืนหยัดไปได้
  • 7. 5 อีกนานเท่าไร แต่วันนี้เราได้เห็นจริงตามคําพูดของเติ้งเสี่ยวผิงในวันนั้นแล้ว และเรายังเห็นว่า ประวัติศาสตร์โลกกําลังเข้าสู่ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สําคัญ โอกาสสําคัญของประเทศจีนมาถึงแล้ว จะเป็นสิ่ง ที่พิสูจน์ว่าวิถีทางของสังคมนิยมจีนยังเดินต่อไปได้ ในปี 1991 หลังการล่มสลายของโซเวียต เติ้งเสี่ยวผิง เดินทางไปสํารวจภาคใต้ของประเทศจีน เขาเดินทางไปที่เมืองเซินเจิ้น และได้กล่าวคําพูดหลายคําที่เป็น นโยบายสําคัญ เช่น ยึดมั่นในแนวทางสังคมนิยม ยึดมั่นในแนวทางที่จะปฏิรูป ยึดมั่นในแนวทางที่จะ พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ภาพ เติ้งเสี่ยวผิงพบกับมูกาเบ เมื่อ 15 สิงหาคม 1985 โดยมี ศ.จางเหวยเหวย เป็นล่าม อยู่ด้านหลังเติ้งเสี่ยวผิง ที่มาภาพ ศ.จางเหวยเหวย ผ่านมา 20 ปี ถึงปี 2014 ถ้าวัดจากกําลังการซื้อ ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ ที่สุดในโลก มีการค้าขายมากที่สุดในโลก ส่งออกนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลก และมีคนชั้นกลางมาก ที่สุดในโลก จีนสามารถยกระดับคนกว่า 700 ล้านคน ให้พ้นจากความยากจน นับเป็นร้อยละ 80 ของ การลดความยากในโลก นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงประเทศจีน และเปลี่ยนแปลงโลกด้วย เพราะประชากรจีน มีมากกว่าประชากรทั้งยุโรปรวมกัน ดังนั้น การผงาดขึ้นของจีนจึงส่งผลต่อทั่วโลกอย่างไม่ต้องสงสัย
  • 8. 6 กล่าวถึง สีจิ้นผิง ในช่วงห้าปีที่ผ่านมาภายใต้การนําของสีจิ้นผิง ถือเป็นห้าปีที่สําคัญมากใน ประวัติศาสตร์ของประเทศจีน ความสามารถทั้งด้าน hard และ soft power ของจีนเพิ่มขึ้นมากอย่างไป เคยเกิดขึ้นมาก่อน ยกตัวอย่างเรื่อง hard power ในเดือนมิถุนายน ปี 2016 จีนมีกรณีพิพาทเรื่องทะเล จีนใต้ ฟิลิปปินส์ซึ่งมีคนสนับสนุนอยู่เบื้องหลังไปขอให้ศาลโลกเข้ามายุ่งเกี่ยว ส่วนสหรัฐอเมริกาก็ส่งเรือ บรรทุกเครื่องบินสองลําเข้ามาแล่นอยู่ในทะเลแถบที่มีการพิพาท พอถึงเดือนกรกฎาคม กองทัพจีน ประกาศว่าจะจัดการซ้อมรบที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ในทะเลจีนใต้ มีอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่า มิสไซลส์ รวมถึงเครื่องบินที่สามารถจมเรือบรรทุกเครื่องบินได้ ผู้แทนของจีนกล่าวว่า ถึงจะส่งเรือ บรรทุกเครื่องบินมาสิบลํา จีนก็ไม่กลัว เหตุการณ์นี้อาจจะไม่ได้อยู่ในความสนใจของคนทั่วไปในขณะนั้น อย่างไรก็ดี เหตุการณ์นี้นับเป็นการเผชิญหน้าทางทหารที่ใหญ่ที่สุดนับจากสงครามเวียดนามเป็นต้นมา พอถึงวันที่ 12 ก.ค. 2016 เรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐก็แล่นหนีไปทางอื่น นี่เป็นการแสดงให้เห็นว่า สหรัฐพยายามจะเข้าใช้กําลังทหารมาแทรกแซงกีดขวางการพัฒนาของประเทศจีน ซึ่งไม่สามารถที่จะ สําเร็จได้อย่างแน่นอน พรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นพรรคที่กําเนิดมาจากการสู้รบในสงครามปฏิวัติ และ แทบจะไม่มีประเทศใดในโลกที่สามารถจะเซย์โนกับอเมริกา นี่เป็นสิ่งที่สําคัญและจําเป็นสําหรับประเทศ จีน ส่วนในด้าน Soft Power สีจิ้นผิงก็กล่าวถึงเรื่องการสร้างประชาคมร่วมชะตากรรมในเวทีโลก หมายความว่าเนื่องจากทุกอย่างในโลกนี้เชื่อมโยงถึงกัน ประเทศใดดีก็จะดีกันหมด ประเทศใดแย่ก็จะแย่ กันหมด เราจะเฟื่องฟูไปพร้อมกัน อย่างยุทธศาสตร์ Belt and Road นั้นจะไม่เหมือนกับยุทธศาสตร์ของ ยุโรปในยุคล่าอาณานิคมที่เป็นแบบคนหนึ่งชนะ อีกคนแพ้ (Zero-sum game) แต่ยุทธศาสตร์ระหว่าง ประเทศของจีนจะเป็นแบบ win-win คือจะร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมแบ่งปัน นี่ถือเป็นการปฏิวัติเชิง ยุทธศาสตร์ของจีนที่เกิดขึ้นในยุคของสีจิ้นผิง แนวคิดด้านเศรษฐกิจของสีจิ้นผิง เมื่อดูการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 19 เมื่อปี 2017 มีการพูดถึงแนวคิดการ พัฒนาประเทศจีน ภายใต้ความคิดของสีจิ้นผิง ผมจะกล่าวถึงแนวคิดด้านเศรษฐกิจของสีจิ้นผิง เนื่องจาก เวลามีจํากัด ผมจึงขอเลือกพูดบางแนวคิดที่เข้าใจง่าย แนวคิดประการแรกคือ ให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเศรษฐกิจ เป้าหมาย สูงสุดในการพัฒนาก็เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ถ้าเรานํามาเทียบกับเป้าหมายในการพัฒนา ของทรัมป์ในสหรัฐ เป้าหมายของนโยบายต่างๆ ในการพัฒนานั้นเป็นไปเพื่อตอบสนองประโยชน์ของ ฐานเสียงของเขาเท่านั้น เช่น นโยบายที่ทรัมป์ประกาศจะห้ามนําเข้าเหล็กกล้าและอลูมิเนียมจากจีน เรา
  • 9. 7 มีการคํานวณออกมาว่านโยบายห้ามการนําเข้านี้จะสามารถช่วยปกป้องอุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้าของ สหรัฐ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนราว 150,000 คน แต่ว่าถ้าสหรัฐไม่นําเข้าเหล็กกล้าและ อลูมิเนียมจากประเทศจีนและประเทศอื่นๆ จะทําให้ราคาเหล็กกล้าและอลูมิเนียมในสหรัฐสูงขึ้น ซึ่งจะ กระทบผลประโยชน์ของคนกว่า 1,500,000 คน สิบเท่าของคนที่ได้ประโยชน์ ซึ่งทรัมป์ไม่สนใจ เลือกจะ ปกป้องเพียงแต่ประโยชน์ของคน 150,000 คน ที่เป็นกลุ่มฐานเสียงของเขา ดังนั้น ในการเลือกตั้งของ อเมริกา คนจํานวนน้อยจึงมีพลังเสียงมากกว่าคนจํานวนมากของสังคม เพราะฉะนั้น รูปแบบการพัฒนา เศรษฐกิจที่ชี้นําโดยผู้ลงคะแนนเสียงจะสร้างความแตกแยกในประเทศชาติมากขึ้น และนี่เป็นรูปแบบการ พัฒนาของสหรัฐอเมริกา แต่รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจของสีจิ้นผิงนั้นให้ประโยชน์ของประเทศชาติและ ประชาชนส่วนรวมเป็นศูนย์การของการพัฒนา ประการที่สอง เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ ปัจจุบัน ในหลายด้านจีนมีปริมาณที่ มากที่สุด แต่สีจิ้นผิงเน้นยํ้าเรื่องคุณภาพ เขาต้องการให้การเติบโตทางจีดีพีของจีนเป็นการเติบโตที่มี คุณภาพ อย่างเช่นในปัจจุบัน แม้ว่าประเทศจีน จะสามารถผลิตผลผลิตทางการเกษตร ไม่ว่าข้าวหรือ ผลไม้ ได้พอต่อการเลี้ยงประชากรของตนแล้ว แต่จีนในวันนี้ต้องการผลผลิตทางการเกษตรแบบอินทรีย์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะชนชั้นกลางจีนมีจํานวนมากขึ้น ความต้องการในการบริโภคก็ยกระดับ ขึ้น ซึ่งความสามารถในการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพแบบนี้ยังไม่เพียงพอในประเทศจีน เพราะเป็น ความต้องการที่ใหญ่มาก จึงต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้มี supply chain ที่มีคุณภาพ เพราะฉะนั้น ช่วงห้าปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจจีนจึงมุ่งไปสู่ทิศทางของการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ ด้านที่สาม จีนจะส่งเสริมการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม การพัฒนา อุตสาหกรรมยุคแรกหรือยุค 1.0 ได้แก่เครื่องจักรไอนํ้า ต่อมาในยุค 2.0 ก็พัฒนามาเป็นเครื่องจักร อัตโนมัติมากขึ้น ส่วนในยุค 3.0 ก็เป็นเทคโนโลยีไอทีและเทคโนโลยีด้านสารสนเทศต่างๆ ซึ่งประเทศจีน ก้าวข้ามยุคหนึ่งยุคสองมาถึงยุคที่ 3.0 และตอนนี้กําลังอยู่ในยุค 4.0 ไม่ว่าจะเป็นอินเตอร์เน็ตพลัส AI Big Data ซึ่งในส่วนนี้ ประเทศจีนสามารถที่จะก้าวไปเป็นผู้นําของโลก และในอีกหลายภาคส่วน ประเทศจีนก็ได้เป็นผู้นําของโลก นําสหรัฐอเมริกาแล้วด้วยซํ้าไป สิ่งประดิษฐ์ใหม่ 4 สิ่งของประเทศจีน ได้แก่ รถไฟความเร็วสูง การจ่ายเงินออนไลน์ (วีแชทเพย์ อาลีเพย์) การซื้อของออนไลน์ จักรยานแชร์ เป็นต้น สี่ด้านนี้เป็นสี่ด้านที่ประเทศจีนนําโลก ในวันที่ 11 พ.ย. 2016 บริษัทอาลีบาบา จัด shopping festival ในเว็บไซต์อาลีบาบา วันนั้น เพียงวันเดียวในเว็บไซต์ของอาลีบาบาบริษัทเดียวมียอดจําหน่ายทางอีคอมเมิซประมาณ 20,000 ล้าน เหรียญสหรัฐ ซึ่งมูลค่านี้มีสูงกว่ามูลค่าการช้อปปิ้งอีคอมเมิซทั้งปีของประเทศอินเดียทั้งประเทศ นี่จึงถือ เป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่ของเศรษฐกิจยุคใหม่
  • 10. 8 ถามว่าเศรษฐกิจจีนดีและเฟื่องฟูเฉพาะภาคเอกชน แต่เศรษฐกิจด้านรัฐวิสาหกิจด้อยลงหรือไม่ ตอบว่าไม่ใช่ รูปแบบเศรษฐกิจจีนเป็นแบบผสมผสานทั้งเอกชนและรัฐวิสาหกิจ กลไกของรัฐและเอกชนก็ สอดประสานกัน การที่อาลีบาบาประสบความสําเร็จได้มาก ส่วนสําคัญก็มาจากความพร้อมของระบบ สาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ ที่รัฐเตรียมรองรับไว้ เช่น โครงข่ายทางด่วน มีถนนไร้ฝุ่น ระบบไฟฟ้าที่ ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศจีน 100 % แล้ว ระบบสารสนเทศ 4G ของจีนในเวลานี้ก็ดีกว่าอเมริกามาก และ กําลังมุ่งสู่การวิจัยเทคโนโลยี 5G ในการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน และการประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ (13th National People's Congress : NPC) และสภาที่ปรึกษาการเมือง (13th National Committee of the Chinese People's Political Consultative Conference: CPPCC) ในรายงานผลงาน เรามีการพูด ถึงเรื่องสูตร บวก ลบ คูณ ที่เป็นการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน สูตรบวกหมายถึงเทคโนโลยีระดับสูง เศรษฐกิจ ใหม่ เป็นการบวก คือเพิ่มไปเรื่อย สูตรลบคือ การลดการผลิตที่มีศักยภาพตํ่าและสินค้าที่เป็นฟองสบู่ลง ส่วนสูตรคูณคือ นวัตกรรมใหม่ การเข้าไปใช้การปฏิรูปและปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะปรับโครงสร้าง ปัจจุบันการจ่ายเงินผ่านทางโทรศัพท์มือถือ (mobile payment) สูงเป็น 60 เท่าของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเรา จะเห็นผลงานการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจของจีนมีการปฏิรูปทุกวัน เห็นผลงานได้ชัดเจน เช่น ปัจจุบัน คน จีนสามารถทํากิจกรรมทุกอย่างผ่านโทรศัพท์มือถือได้ ไม่ว่าสั่งอาหาร ซื้อตั๋วเครื่องบิน ดูคอนเทนท์ ต่างๆ ทุกอย่างทําได้หมดในเวลาอันสั้น จึงถือเป็นการปฏิวัติใหม่ทางเศรษฐกิจ พรรคคอมมิวนิสต์จีน มีความจําเป็นที่เราจะต้องเข้าใจให้ชัดเจนว่าอะไรคือพรรคคอมมิวนิสต์จีน สื่อตะวันตกมักจะมอง พรรคคอมมิวนิสต์จีนในแง่ลบ ในปัจจุบัน ได้มีการแก้รัฐธรรมนูญของจีน ซึ่งระบุชัดในข้อแรกว่าประเทศ จีนเป็นประเทศสังคมนิยม ที่มีเอกลักษณ์ที่สําคัญคือมีพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นผู้นํา พรรคคอมมิวนิสต์จีนนั้นไม่เหมือนกับ “พรรคการเมือง” ของตะวันตก แม้จะเรียกโดยใช้คําว่า พรรคการเมืองหรือ party เหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงไม่เหมือนกันเลย คําว่า party ในภาษาอังกฤษ มาจากคําว่า part คือ ส่วนหนึ่งหรือเฉพาะส่วน พรรคการเมืองของตะวันตกนั้นประกาศตัวชัดเจนว่าเป็น ตัวแทนของกลุ่มผลประโยชน์เฉพาะส่วนในสังคม และเกิดการแข่งขันกันระหว่างพรรคต่างๆ ในการ เลือกตั้ง แต่ประเทศจีนไม่เคยมีลักษณะดังกล่าว ตั้งแต่ในประวัติศาสตร์เป็นต้นมา ประเทศจีนถือ ผลประโยชน์ภาพรวมเป็นหลักสําคัฐ เพราะจีนเป็นประเทศที่ใหญ่มาก และเป็นประเทศอู่อารยธรรม เหมือนเป็นร้อยกว่าประเทศที่ถูกรวมเข้ามาเป็นหนึ่งประเทศ ถ้าหากใช้ระบอบการปกครองแบบหลาย พรรคแข่งขันกันแบบตะวันตก ผ่านไปสองวันก็อาจจะมีร้อยพรรค ผ่านไปสามวันก็อาจจะกลายเป็นพัน
  • 11. 9 หรือหมื่นพรรค สุดท้ายประเทศก็จะถูกแบ่งแยก ในปี 1919 จีนเคยใช้รูปแบบการปกครองแบบนี้มาแล้ว ก็ปรากฏว่าไปไม่รอด และตั้งแต่สองพันปีก่อน ภูมิปัญญาในการบริหารจัดการปกครองของจีน คือ จีน ต้องมีการปกครองที่เป็นเอกภาพ คือเป็นพรรคเดียวปกครอง ซึ่งถ้าจะกล่าวไป สองพันปีที่ผ่านมาจีนก็ ปกครองโดยพรรคเดียวมาตลอด โดยส่วนใหญ่ประเทศจีนก็นําหน้าและเฟื่องฟูกว่ายุโรปมานาน เพราะ ปกครองด้วยระบบพรรคเดียวมาตลอด ส่วนผู้นําของจีนตลอดเวลาที่ผ่านมาก็มิได้มาจากการเลือกตั้ง แต่มาจากการคัดเลือก เช่น ด้วย วิธีผ่านระบบการสอบ ซึ่งปัจจุบันก็ยังใช้อยู่ เพราะฉะนั้น พรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นพรรคที่เป็นตัวแทน ของผลประโยชน์รวมของชาติ จีนมีหลักคิดว่า ถ้าหากประเทศๆ หนึ่งมีสถาบันที่สามารถรวมพลัง ทางการเมืองในชาติ สามารถเป็นตัวแทนผลประโยชน์รวมของชาติได้ก็จะประสบความสําเร็จ ถ้าหากไม่ มี ประเทศนั้นจะมีโอกาสประสบความสําเร็จน้อย เติ้งเสี่ยวผิงเคยกล่าวไว้เมื่อปี 1990 เมื่อเกิดความ ขัดแย้งทางการเมืองในประเทศจีนว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนไม่สามารถที่จะโค่นล้มได้ เพราะพรรค คอมมิวนิสต์จีนกําเนิดขึ้นจากการต่อสู้ 22 ปี เคยรบกับสหรัฐถึง 2 ครั้ง ทั้งในสงครามเวียดนาม และ สงครามเกาหลี ถ้าหากไม่มีการสนับสนุนจากประชาชน พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็คงไม่สามารถอยู่มาได้ จนถึงวันนี้ ตัวแบบจีน (China Model) เราสามารถอธิบายถึงตัวแบบของจีน (China Model) แบบกระชับเข้าใจง่าย ดังนี้ ด้านเศรษฐกิจ เศรษฐกิจของจีนเป็นระบบผสมผสานระหว่างรัฐและเอกชน ดังที่กล่าวไปแล้ว ก่อนหน้านี้ ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าเป็นโมเดลที่ดีร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่มีปัญหาเสียเลย เราก็มีปัญหา เราจึงพูดแต่คํา ว่า ปฏิรูป ปฏิรูป และปฏิรูป นั่นคือ จีนยังต้องพัฒนาโมเดลนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป แต่เมื่อเทียบกับ รูปแบบการจัดการสังคมของยุโรปที่อิสระเกินไปนั้น เราถือว่าโมเดลของจีนชนะขาด รูปแบบของ ตะวันตกไม่สามารถแข่งกับจีนได้เลย ความจริงอย่างหนึ่งที่ง่ายที่สุดคือ ในสหรัฐอเมริกาก็ดี ยุโรปก็ดี คน ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 ของประชากรทั่วไปไม่ได้มีคุณภาพชีวิตที่พัฒนาขึ้นเลยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมานับจากเริ่มปฏิรูป คนจีนหลายคนได้อพยพไปอยู่ต่างประเทศ เช่น ในเซี่ยงไฮ้ ดู จากเพื่อนในชั้นเรียนของผม ระหว่างคนที่ย้ายไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกากับคนที่ยังอยู่ที่เซี่ยงไฮ้ ในวันนี้คน กลุ่มหลังรวยกว่า นี่เป็นตัวอย่างง่ายๆ ที่ทําให้เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือใน ประเทศจีน ด้านสังคมกับประเทศชาติ จีนเห็นว่าที่ผ่านมา ภาคสังคม กับรัฐหรือประเทศชาติของจีน มี ปฏิสัมพันธ์กันในเชิงบวก จีนไม่เห็นด้วยกับตะวันตกว่าสังคมกับภาครัฐเป็นคู่ปรปักษ์กัน ดังที่ตะวันตก
  • 12. 10 ชอบมองว่ารัฐเป็นผู้ร้ายที่คนในสังคมต้องช่วยกันหยุดยั้งไว้มิฉะนั้นจะทําเรื่องชั่วร้าย อย่างไรก็ดี ใน ประเทศจีนมิได้มีค่านิยมเช่นนี้ จีนมองว่า พรรครัฐบาลเป็นสิ่งที่ดีแต่กําเนิด ถ้าไม่มีพรรคที่เข้มแข็งอยู่ใน สังคม จีนจะขาดเสถียรภาพ จะมีสงครามกลางเมืองเกิดขึ้นมากมาย และถ้าเป็นเช่นนั้นสังคมจีนจะอยู่ ไม่ได้ เพราะฉะนั้น สังคมและรัฐของจีนจึงมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน นอกจากนี้ รัฐของจีนมีปฏิกิริยาแก้ไข ปัญหาให้กับประชาชนอย่างรวดเร็วมากเมื่อเทียบกับยุโรปหรืออเมริกา ลองเทียบกันดูระหว่างสภาของ จีนกับสภาของอเมริกา อันไหนที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่ากัน ลองดูว่าการผลักดันนโยบายที่ดี อย่างการควบคุมปืนในอเมริกานั้นสุดท้ายแล้วทําได้หรือไม่ เพราะทุกอย่างจะมีกลุ่มผลประโยชน์เข้ามา ขัดขวางตลอด แต่ในประเทศจีน ก่อนจะมีการประชุมสภา จะต้องมีการสํารวจความคิดเห็นของ ประชาชนมากมายว่าประชาชนมีปัญหาอะไรบ้างที่รอให้แก้ไข ไม่ว่าการคอร์รัปชั่น ความยากจน สาธารณสุข ฯลฯ ต้องมีการนําประเด็นเหล่านี้มาถกเถียงกันทีละประเด็นเพื่อหาวิธีในการแก้ไข เพราะฉะนั้น ประเทศจีนจึงเป็นประเทศที่พัฒนาได้รวดเร็วที่สุดในปัจจุบัน ประเทศจีนมีปัญหาจํานวน มาก แต่จีนมีวิธีในการแก้ไขที่มีประสิทธิภาพ ด้านการเมือง ทางตะวันตกเชื่อในวิธีการเลือกตั้ง แต่จีนใช้การคัดเลือกผสมการเลือกตั้ง (selection plus election) ถ้าถามว่าจะรูปแบบใดดีกว่ากัน จีนเชื่อว่ารูปแบบของจีนดีกว่า ถ้าใครไม่เชื่อ ลองเอาสีจิ้นผิง เทียบกับทรัมป์ ของสหรัฐ เมย์ส ของอังกฤษ หรือ มาครง ของฝรั่งเศส มันเทียบกันไม่ได้ อย่างผู้ที่จะมาเป็นสมาชิกคณะกรรมการประจํากรมการเมือง (standing political bureau) ซึ่งมีอยู่ 7 คน ในปัจจุบัน มีข้อกําหนดว่าต้องเคยเป็นเบอร์หนึ่งของมณฑลมาก่อนอย่างน้อยสองสมัย หนึ่งมณฑลของ จีนแทบจะมีขนาดประมาณสองสามประเทศในยุโรปรวมกันแล้ว ความหมายคือคุณต้องเคยปกครองคน หนึ่งร้อยล้านคนมาก่อน มิฉะนั้น คุณไม่มีโอกาสที่จะขึ้นไปเป็นกรมการเมืองได้ แม้ว่าระบบการคัดเลือก ผสมกับเลือกตั้งของจีนอาจจะไม่ได้สมบูรณ์แบบ แต่จีนก็มีการปรับปรุงอยู่ตลอด แต่ถ้าเทียบกับระบบ ได้มาซึ่งผู้นําของอเมริกาแล้ว เราเชื่อมั่นว่าระบอบของอเมริกาแย่กว่าจีนมาก คนอย่างทรัมป์จะไม่มีทาง ได้ขึ้นมาเป็นผู้นําของจีนเลย เรียกว่ามาตรฐานเป็นคนละเรื่องกัน ไม่สามารถจะมาแข่งขันกับประเทศจีน ได้เลย นี่คือ โมเดลของจีน ซึ่งมีพลังหรือกลุ่มการเมืองที่สามารถเป็นตัวแทนผลประโยชน์ส่วนรวมของ ประชาชนได้อย่างแท้จริง ประเทศจีนมีการสํารวจความคิดเห็นและฟังเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง แต่อเมริกาไม่มี สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นความเข้าใจของผมเอง ซึ่งอาจจะไม่เหมือนกับคําอธิบายของภาครัฐจีน ซึ่งค่อนข้างจะถ่อมตัว รัฐบาลจีนบอกว่าจากการพัฒนาและปฏิรูปอย่างรวดเร็วในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา เวลานี้จีนถือเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก แต่จีนก็ยังเป็นประเทศกําลัง พัฒนาอยู่ และยังมีรายได้ต่อหัวตํ่าอยู่ (เฉลี่ยราว 8,500-9,000 เหรียญสหรัฐต่อคน ถือเป็นอันดับที่ 80
  • 13. 11 ของโลก) นี่เป็นวิธีการพูดของรัฐบาลจีน อย่างไรก็ตาม จากการไปสํารวจและวิจัยของผม การพูดเช่นนั้น อาจจะทําให้ต่างประเทศไม่เข้าใจว่าเหตุใดจีนพูดว่าเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองแล้ว แต่ยังพูดว่ารายได้ เฉลี่ยต่อหัวเป็นอันดับที่ 80 ผมจึงคิดว่าถ้าเช่นนั้นเราเปลี่ยนวิธีการพูดดีหรือไม่ เลยทําวิจัยชิ้นหนึ่ง เอาเซี่ยงไฮ้กับนิวยอร์ก ซึ่งเป็นเมืองที่เจริญที่สุดของทั้งสองประเทศมาเทียบกัน ถ้าดูจากสถิติจีดีพีของภาครัฐ (capital GDP) จีดี พีนิวยอร์กสูงกว่าเซี่ยงไฮ้ 4 เท่า (เซี่ยงไฮ้อยู่ที่ 17,000 USD ส่วนนิวยอร์กอยู่ที่ราว 80,000 USD) แต่ถ้า ดูดัชนีอื่นๆ ทางสังคมประกอบ พบว่าที่เซี่ยงไฮ้ทุกคนมีที่อยู่อาศัย และสินทรัพย์สุทธิของครอบครัวชั้น กลางสูงกว่าคนในนิวยอร์ก คนเซี่ยงไฮ้ถือครองทรัพย์สินสูงกว่าชาวนิวยอร์ก นอกจากนั้น เวลานี้ อายุขัยเฉลี่ยของคนในเซี่ยงไฮ้อยู่ที่ 82 ปี คนนิวยอร์กอยู่ที่ 78 ปี อายุขัยเฉลี่ยของคนเซี่ยงไฮ้สูงกว่า นิวยอร์ก 4 ปี ในด้านสภาพสังคมและอาชญากรรม เซี่ยงไฮ้และประเทศจีนถือเป็นเมืองที่ปลอดภัยมาก เมื่อเทียบกับนิวยอร์ก นอกจากนี้ ประชากรในเซี่ยงไฮ้ยังมองอนาคตของเมืองตัวเองในแง่ดีมากกว่า ประชากรในนิวยอร์กมองเมืองนิวยอร์ก ดังนั้น เราเลยอธิบายว่า ถึงแม้จีดีพีเฉลี่ยของเซี่ยงไฮ้คิดเป็น เพียงหนึ่งในสี่ของนิวยอร์ก แต่ดัชนีทางสังคมอื่นๆ ที่ประชาชนให้ความสําคัญดีกว่านิวยอร์ก นั่น หมายถึงสภาพสังคม สภาพเศรษฐกิจ และสภาพการเมืองของจีนดีกว่าอเมริกามาก นี่เป็นวิธีการอธิบาย แบบหนึ่ง การอธิบายอีกแง่หนึ่งนั้น เราอธิบายว่าวิธีการคํานวณจีดีพีของจีนกับอเมริกาแตกต่างกัน ใน ความรู้สึกของผม วิธีการคํานวณจีดีพีของจีนประเมินตัวเองตํ่าไปมาก การวิเคราะห์จีดีพีของจีนนั้นเริ่ม นับจากหน่วยที่เป็นกิจการหรือบริษัทที่มีขนาดใหญ่ระดับหนึ่ง แต่ที่อเมริกานั้นนับหมด ไม่ว่าร้านโชห่วย หรือร้านค้ารถเข็นริมทางก็นํามาคํานวณในจีดีพีทั้งสิ้น แต่ประเทศจีนไม่นํากิจการระดับนี้ กิจกรรมทาง เศรษฐกิจหลายด้านในชนบท หรือกิจกรรมใน informal sector มาคํานวณในจีดีพี ดังนั้น ถ้าหากลอง คํานวณจีดีพีของเมืองหรือพื้นที่สักแห่งในประเทศจีนใหม่ด้วยวิธีการคํานวณของอเมริกา ผมคิดว่า ผลลัพธ์ที่ได้จะแตกต่างจากปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม นี่เป็นความเห็นส่วนตัวของผม ซึ่งไม่เกี่ยวกับรัฐบาล จีน อย่างไรก็ดี คณะวิจัยของผมกําลังทําวิจัยเกี่ยวกับการคิดจีดีพีใหม่ที่รวมเอาดัชนีทางสังคมอื่นๆ เข้า มาคิดด้วย ในการวิเคราะห์ของ Ipsos ในปี 2016 ว่าคนในแต่ละประเทศคิดว่าประเทศของตนเดินไปใน ทิศทางที่ถูกต้องหรือไม่ ร้อยละ 90 ของประชาชนจีนเชื่อว่าประเทศของตนเดินในทิศทางที่ถูกแล้ว ดัชนี
  • 14. 12 ดังกล่าวอยู่ที่ร้อยละ 37 ในสหรัฐอเมริกา และอยู่ที่เพียงร้อยละ 11 ในฝรั่งเศสเท่านั้น1 ผมเคยทํางานอยู่ ที่ประเทศฝรั่งเศสมา 11 ปี ผมทราบดีว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาฝรั่งเศสไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนา เลย ปัญหาสามประการในระดับ DNA ของตัวแบบตะวันตก โมเดลการพัฒนาของตะวันตกมีปัญหาอะไร การลงประชามติ Brexit ของอังกฤษเป็นการ ตัดสินใจที่โง่มาก เพราะสหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าที่สําคัญของอังกฤษ แต่อังกฤษดันไปลงมติที่จะออกจาก สหภาพยุโรป ผมจึงคิดว่าระบอบของตะวันตกน่าจะมีข้อบกพร่องถึงในระดับ DNA อย่างน้อยสาม ประการ ดังนี้ ประการแรกคือ สมมติฐานที่ว่าคนทุกคนลงคะแนนเสียงอย่างชาญฉลาดอย่างแท้จริง คือ คนเรานั้นอาจจะอยู่ทั้งในสภาวะที่ใช้เหตุผล หรืออาจจะไม่ใช่เหตุผล หรืออาจจะมีช่วงที่เราไม่ยอมใช้ เหตุผลเลยก็มี แล้วยังมีปัจจัยเรื่องเงินและอิทธิพลของสื่อแนวใหม่เข้ามาอีก ไม่ว่าทวิตเตอร์ หรือ เฟซบุ๊ก ซึ่งสามารถควบคุมความคิดเห็นของประชาชน เช่น เฟซบุ๊ก สแกนเนอร์ เป็นโปรแกรมที่สามารถรู้ว่าผู้ใช้ มีนิสัยอย่างไร ชอบอะไร และสามารถยิงโฆษณาให้ตรงเป้าหมายอย่างชัดเจน ดังนั้นการหวังให้คน ตัดสินใจด้วยเหตุผลอย่างชาญฉลาดนั้นเป็นสิ่งที่ยากมาก อย่างวันที่คนอังกฤษตื่นมาพบว่าอังกฤษออก จากสหภาพยุโรปแล้ว วันนั้นเว็บไซต์ Google ไปทําการสํารวจว่าคําที่คนอังกฤษไปค้นมากที่สุดในวัน นั้นคืออะไร ปรากฏว่าคือ สหภาพยุโรปคืออะไร ข้อบกพร่องสาคัญประการที่สองคือ การเชื่อมั่นใน absolute right หรือการยกย่องสิทธิ์ ไว้เหนือสิ่งอื่นใด แม้ยุโรปกลัวมากว่าจะเกิดปัญหาต่างๆ ถ้าหากอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป เช่น ประเทศอื่นอาจจะทําตาม แต่อังกฤษยืนยันว่านี่เป็นสิทธิ์ของเขา ถ้าคนอังกฤษต้องการจะออก ก็ไม่มีใคร ขัดขวางได้ สุดท้ายเรื่องใหญ่ขนาดนี้ กลับใช้วิธีลงคะแนนเสียง นอกจากนี้ ตะวันตกยังถือว่ากระบวนการ (process) เป็นสิ่งที่ทรงอานุภาพที่สุด คือเชื่อว่า ถ้ากระบวนการถูก ผลก็ต้องถูก ผมเคยพูดคุยกับ นักวิชาการชาวอังกฤษว่า อีกสิบปีข้างหน้า ผมสามารถวิเคราะห์ได้เลยว่าประเทศจีนจะเดินไปถึงไหน แต่ว่าถามว่านักวิชาการอังกฤษกล้าหรือไม่ที่จะประเมินสถานการณ์ของประเทศตนเองในอีกสิบปี ข้างหน้า คือ ถ้าใช้วิธีลงประชามติแบบนี้ต่อไป ในอนาคตลอนดอนก็อาจจะอยากแยกเป็นอีกประเทศ ไอร์แลนด์ สกอตแลนด์ก็อาจจะอยากแยกตัวตามมา คือปัจจุบันเป็นศตวรรษที่ 21 แล้ว การลงประชามติ 1 What worries the world: Country comparison Right Direction/ Wrong Track. Ipsos Public Affairs. ออนไลน์ https://www.ipsos.com/sites/default/files/migrations/en- uk/files/Assets/Docs/Polls/SRI_PA_What_Worries_the_World_Oct_2016.pdf
  • 15. 13 (referendum) อาจจะดูเหมือนว่าเป็นกระบวนการที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด แต่ความจริงเป็น กระบวนการที่ล้าสมัยที่สุด ในสมัยกรีกโบราณ แต่ละนครรัฐมีประชากรเป็นหลักหมื่นคน แต่ในยุค ปัจจุบันที่เศรษฐกิจ สังคม วิชาการที่ซับซ้อนขนาดนี้ ผู้นําที่ผลักภาระการตัดสินใจเรื่องของโลกหรือของ ประเทศชาติไว้กับประชาชนผ่านการลงประชามติแบบเดิมนั้นถือเป็นผู้นําที่ไม่รับผิดชอบต่อชะตากรรม ของประเทศ รูปแบบดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่ผมคิดว่าน่าจะเดินต่อไปไม่ได้ ข้อบกพร่องประการที่สามคือ กรอบการจัดประเภทระบอบการปกครองของประเทศ ต่างๆ ไว้ระหว่างประชาธิปไตยกับเผด็จการ ซึ่งเป็นการจัดประเภทที่ล้าสมัย ถ้าจะแบ่งเป็นสอง รูปแบบ ควรเปลี่ยนมาใช้กรอบการจําแนกระบบการปกครองของประเทศต่างๆ ว่าเป็น การบริหาร จัดการปกครองที่ดีหรือไม่ดี (Good vs. Bad governance) จะดีกว่า Good Governance นั้น บาง ประเทศของยุโรปอาจจะจัดการได้ดี โดยที่อาจจะไม่ได้ใช้รูปแบบของประเทศจีน ก็จัดเป็นประเทศที่ บริหารจัดการดีได้ ส่วนประเทศที่บริหารจัดการไม่ดีนั้น ผมเคยเดินทางไป 106 ประเทศ ผมสามารถ ยกตัวอย่างได้เลยว่าประเทศใดที่บริหารจัดการได้ไม่ดี เช่น อัฟกานิสถาน เฮติ ลิเบีย กรีซ หรือ ไอซ์แลนด์ ประเทศเหล่านี้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยทั้งสิ้น แต่ล้วนเป็นประเทศที่บริหารจัดการ ได้ไม่ดี ความหมายของการพัฒนาของประเทศจีนทางสากล จีนมีมาตรฐานสี่ข้อที่ใช้มองประเทศทั่วโลก หนึ่ง ดูว่าประเทศหนึ่งๆ มีพลังด้านการเมืองที่สามารถเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประชาชน ทั้งหมดหรือไม่ ถ้าประเทศนั้นมี ก็มีโอกาสที่จะประสบความสําเร็จมาก แต่ถ้าไม่มีประเทศนั้นก็จะ กลายเป็นประเทศที่แตกแยก สอง ประเทศหนึ่งควรใช้บทบาททั้งภาครัฐและตลาดผสานกัน ในศตวรรษที่ 21 จะใช้แค่กลไก ของรัฐอย่างเดียวหรือกลไกตลาดอย่างเดียวไม่ได้ ต้องผสมผสานกันอย่างดี สาม พิจารณาขีดความสามารถในการปฏิรูปของประเทศนั้นๆ ว่าประเทศนั้นมีขีดความสามารถ ในการแก้ไขความผิดพลาดของตนได้หรือไม่ อย่างประเทศจีน ตลอดสี่สิบปีที่ผ่านมา จีนปฏิรูปตนเองทุก วัน เพราะฉะนั้น ประเทศจีนจึงพัฒนามาอย่างมาก แต่สหรัฐอเมริกานั้นก็พูดว่าจะปฏิรูป แต่ทําได้จริง ยากมาก อย่างโอบามาตอนหาเสียงเลือกตั้งขึ้นมาชูนโยบาย “เปลี่ยนแปลง (Change)” แต่เปลี่ยนแปลง ได้จริงเพียงอย่างเดียวคือ ด้านสวัสดิการหรือ Obama Care ซึ่งก็ถูกยกเลิกหลังทรัมป์ขึ้นมาเป็น ประธานาธิบดี จึงแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจริงเลย
  • 16. 14 สี่ ทําอย่างไรให้ประเทศมีเสถียรภาพภายในยืนยาวและมีเอกราชต่อภายนอก โดยเฉพาะเอก ราชนั้นเป็นสิ่งที่สําคัญมาก มิฉะนั้น สหรัฐอเมริกาอยากจะทําอะไร อยากจะบีบให้ประเทศของคุณ อยาก สั่งให้ประเทศของคุณทําอะไรก็ทําได้ นั่นเป็นสิ่งที่ยอมไม่ได้ ประเทศจีนมีความสามารถในการบอกว่า “ไม่” ต่อสหรัฐอเมริกา ถ้าเราไม่มีสิทธิ์ตรงนี้ เราก็ไม่สามารถก้าวมาเป็นประเทศจีนที่ผงาดขึ้นได้ แข็งแกร่งขนาดนี้ นักวิชาการชื่อดังของสหรัฐอเมริกา Francis Fukuyama เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ The End of History and the Last Man ซึ่งมีใจความสําคัญว่า ในประวัติศาสตร์นั้น เมื่อพัฒนาการของระบอบการ ปกครองเดินมาจนถึงระบอบประชาธิปไตยนั้น ประชาธิปไตยจะเป็นระบอบการปกครองสุดท้ายของ ประวัติศาสตร์มนุษย์ เพราะไม่มีระบอบการปกครองที่ดีกว่านี้อีกแล้ว ในปี 2011 เกิดปรากฏการณ์ Arab Spring ในอียิปต์และประเทศอื่นๆ ในโลกอาหรับ ก่อนหน้านั้นก็มีคนออกมาพูดว่าสักพักประเทศจีนก็จะ เผชิญสภาวะแบบเดียวกับ Arab Spring แต่ความจริงไม่มีโอกาสเป็นเช่นนั้น เพราะประเทศอียิปต์นั้น ผมเคยไปสี่ครั้ง ทราบว่าปัญหาที่สําคัญของประเทศอียิปต์ไม่ใช่เรื่องการเมือง แต่คือการที่คนรุ่นใหม่ของ อียิปต์หางานทําไม่ได้ ผมเรียนทางรัฐศาสตร์มาก็กล้าที่จะวิเคราะห์ในเวลานั้นว่า เดี๋ยวปรากฏการณ์ Arab Spring ก็จะกลายเป็น Arab Winter ซึ่งเมื่อตรวจสอบแล้วก็พบว่าผมเป็นคนแรกที่กล่าวคํานี้ ออกมาในโลก ในวันนี้ยุโรปเผชิญวิกฤตผู้อพยพจากตะวันออกกลาง เมื่อปี 2017 ผมได้ไปพูดคุยกับคลัง สมอง (Think Tank) ของยุโรปที่บรัสเซลล์ ว่าสี่ปีก่อนถ้ายุโรปเชื่อในความคิดเห็นของนักวิชาการจีน คุณ อาจจะสามารถเลี่ยงวิกฤตทางการเมืองของยุโรปได้ ซึ่งความจริงก็พิสูจน์แล้วว่าการคาดการณ์ของเรา ถูกต้อง ในปี 2011 ตะวันตกบอกว่าจีนมีปัญหาเรื่อง ฮ่องเต้ที่ไม่ดี ถ้าหากเจอฮ่องเต้ที่ดี ก็จะเป็นยุคเฟื่อง ฟู แต่ถ้าเจอฮ่องเต้ที่ไม่ดี ก็จะเป็นยุคที่แย่ เราบอกว่าปัญหาเรื่องฮ่องเต้ไม่ดีนั้น จีนได้แก้ไขไปแล้ว โดย การกําหนดเกณฑ์ต่างๆ เช่นให้ผู้ที่จะมีสิทธิ์ขึ้นมาเป็นผู้บริหารสูงสุดต้องเคยปกครองคนอย่างน้อยหนึ่ง ร้อยล้านคนมาก่อน แล้วก็มีการกําหนดเกณฑ์เรื่องอายุ และเรายังมีการนําโดยกลุ่มบุคคล ไม่ใช่แค่คนๆ เดียว ในเวลานั้น จีนมีการวิเคราะห์ในอีกประเด็นหนึ่งที่เมื่อเวลาผ่านไปก็พิสูจน์แล้วว่าถูกต้อง คือ ปัญหาเรื่องระบบการเมืองของอเมริกัน โดยเราวิเคราะห์ไว้ว่า ระบอบการเมืองของอเมริกาในปัจจุบันนั้น เป็นระบอบเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ก่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อสองร้อยปีที่ผ่านมา เวลานั้นสหรัฐมี ประชากรเพียงสามล้านคน ถ้าหากอเมริกาไม่ปฏิรูปการปกครองอย่างแท้จริง อเมริกาจะได้ผู้นําใน อนาคตที่แย่กว่าจอร์จ ดับเบิลยู บุช เสียอีก ซึ่งเวลานี้คนอเมริกันส่วนใหญ่ก็คงเห็นด้วยกับเรา
  • 17. 15 คนต่างชาติ โดยเฉพาะทางตะวันตก และโดยเฉพาะสื่อ ซึ่งสื่อในส่วนอื่นๆ ของโลกก็มักรับ ข่าวสารจากตะวันตกมา จึงมักเข้าใจจีนผิดๆ โดยเฉพาะเรื่องสิทธิมนุษยชน ปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนใน ประเทศจีนนั้นต้องไปถามคนจีน ไม่ใช่ไปถามคนยุโรปหรืออเมริกา เวลานี้คนจีนไปเที่ยวต่างประเทศกัน มาก ปีละกว่า 130 ล้านคน ในจํานวนนี้ ร้อยละ 99.99 ไปเที่ยวต่างประเทศแล้วกลับมาประเทศจีน เหตุ ใดคนเหล่านี้จึงอยากกลับมายังประเทศที่ไม่มีสิทธิมนุษยชน นักเรียนชาวจีนไปเรียนต่างประเทศ ร้อยละ 85 ก็กลับมาหมด เขากลับมาเพราะเห็นประเทศที่มีโอกาส ประเทศที่ดี มีความรุ่งเรือง