SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  47
Télécharger pour lire hors ligne
รายงาน
โอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาและ
เติบโตไปกับยุทธศาสตร์
The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน
การประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 5
โอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาและเติบโตไปกับยุทธศาสตร์
The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน
จัดโดย
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
30 มีนาคม 2560
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.rsu-brain.com
บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล
ถอดความและเรียบเรียง : อุสมาน วาจิ ปลายฟ้า บุนนาค และปาณัท ทองพ่วง
เผยแพร่: พฤษภาคม 2560
ที่อยู่
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร
กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
สารบัญ
หน้า
บทนา
ยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative ของจีนจะใช้เป็นโอกาสในการขับเคลื่อน 1
และกระตุ้นการพัฒนาศักยภาพของประเทศไทยได้อย่างไร
ความก้าวหน้าและความมุ่งหวังของยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative ของจีน 8
และผลต่อเศรษฐกิจโลก และไทย
ยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative กับความท้าทายที่ไทยต้องเผชิญ 13
บทอภิปราย 17
ภาคผนวก รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม 43
บทนา
เมื่อวันพุธที่ 30 มีนาคม 2560 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ
มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จัดเวทีประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 5 เรื่อง โอกาสของประเทศไทยในการ
พัฒนาและเติบโตไปกับยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน ณ โรงแรมหัวช้าง
เฮอริเทจ ราชเทวี โดยมีนักยุทธศาสตร์ นักนโยบาย นักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายวงการ
และสาขาอาชีพเข้าร่วมระดมสมองเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มใหม่ของโลกและสังคมไทย และ
ร่วมกันเสนอแนวทางพัฒนายุทธศาสตร์ชาติระยะยาว เพื่อให้ประเทศไทยมียุทธศาสตร์ชาติเป็นกรอบใน
การพัฒนาประเทศอย่างมีทิศทาง เป็นองค์รวม และเตรียมพร้อมประเทศเพื่อตอบรับกับความ
เปลี่ยนแปลงในอนาคต
ในการนี้สถาบันคลังปัญญาฯ จึงได้จัดทํารายงานสรุปเนื้อหาการประชุมครั้งนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่
เป็นความรู้สู่สังคม ผู้กําหนดและตัดสินใจทางนโยบาย บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ
และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ในห้วงที่กําลังมีความพยายามปฏิรูปครั้งใหญ่เกิดขึ้นในประเทศไทยอยู่นี้
1
ยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative
ของจีนจะใช้เป็นโอกาสในการขับเคลื่อน
และกระตุ้นการพัฒนาศักยภาพ
ของประเทศไทยได้อย่างไร
คุณวิบูลย์ คูสกุล อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง
2
การจัดเวทีเรื่อง OBOR ครั้งนี้นับว่าทันสมัยมาก เพราะช่วงกลางเดือนเมษายน 2560 นี้จีนจะ
จัดประชุมสุดยอดเรื่อง OBOR เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งที่ 19 ของจีน อัน
จะเป็นการประกาศให้โลกรู้ว่า OBOR คือ Grand Strategy หนึ่งที่สําคัญมากของจีนในยุคที่สีจิ้นผิงกําลัง
กระชับอํานาจ โดยภายหลังทรัมป์ก้าวขึ้นมาในอเมริกา ทําให้โลกคาดหวังกับบทบาทของจีนในกิจการ
โลกมากขึ้น ซึ่งก็จะทําให้ One Belt One Road ยิ่งทวีความสําคัญมากขึ้นไปอีก
จีนนั้นต้องการให้เรียก One Belt One Road ว่า “ความริเริ่ม” มากกว่า “ยุทธศาสตร์” อย่างที่ใน
ภาษาอังกฤษใช้คําว่า initiative หรือในภาษาจีนใช้ว่า ชั่งอี้ เพราะทําให้รู้สึกเปิดกว้างต่อประเทศอื่นๆ ให้
เข้ามามีส่วนร่วมมากกว่า และในความจริง OBOR หรือนโยบายสําคัญอื่นของจีนก็เป็นยุทธศาสตร์ในตัว
อยู่แล้ว จึงไม่มีความจําเป็นต้องเรียกว่ายุทธศาสตร์อีก
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ OBOR
เกิดขึ้นในปี 2013 เพื่อเป็นการตอบโต้ (antithesis) ต่อนโยบาย Pivot ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อมา
เป็น Rebalance to Asia ที่โอบามาประกาศเมื่อปี 2012 เนื่องจากสหรัฐพยายามสร้างภาพว่าจีนคุกคาม
เพื่อนบ้าน โดยเฉพาะกับอาเซียนในเรื่องทะเลจีนใต้ และพยายามเข้ามาใช้กฎเกณฑ์ต่างๆ (rule-based)
เช่น ผลักดันเรื่องการร่าง code of conduct หรือ declaration of conduct ในทะเลจีนใต้ ผ่านอาเซียน
เพื่อบีบจีน จีนจึงตอบโต้ว่าตนก็สามารถมีความสัมพันธ์แบบได้ประโยชน์ร่วมกัน (win-win) กับเพื่อน
บ้านในแถบนี้ได้ โดยเสนอ One Belt One Road ให้มีชื่อที่เป็น soft sell ให้ทุกคนฟังแล้วรู้สึกนุ่มนวล
ไม่มีเชิงคุกคาม เป็นเรื่องของการค้า การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมล้วนๆ โดยที่ต้องการใช้ภาพลักษณ์
สมัยโบราณของเส้นทางสายไหม ซึ่งเป็นการเกื้อประโยชน์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในแถบน่านนํ้า
ต่างๆ ที่จีนไป เช่น กรณีเจิ้งเหอ ที่เดินเรือ 7 ครั้ง แวะสยามอย่างน้อย 3 ครั้ง หรือตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด
คือ One Belt One Road สามารถเป็นความสัมพันธ์แบบ win-win ได้ คือในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นยุคที่
การค้าสําเภาเฟื่องฟูที่สุด เราส่งข้าวหอม ไม้สัก รังนก ไปจีน จีนส่งเครื่องลายคราม กังไส ใบชา มา ก็
เป็นสิ่งที่เกื้อกูลกัน เพราะฉะนั้น ชื่อเส้นทางสายไหม (silk road) จึงเป็นภาพลักษณ์ด้านบวกที่จีน
นําเสนอ และหลังจากนั้น เราก็ได้เห็นว่าจีนมีนโยบายอื่นๆ ตามมาอีกมาก เช่น นโยบายเดินออกไป เดิน
ออกสู่อาเซียน (โจ่วชูชวี่) (Go Global) มี RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership)
ตามมาเพื่อตอบโต้ต่อข้อตกลง TPP (Trans-Pacific Partnership) ของสหรัฐในเวลานั้น โดยสรุป OBOR
จึงทําหน้าที่เป็น antithesis ต่อนโยบายหวนคืนสู่เอเชียของอเมริกา โดยจีนต้องการให้เกิด spillover
effect ทางเศรษฐกิจจาก OBOR เพื่อมากลบความเข้มข้นทางการเมืองในทะเลจีนใต้และในเอเชีย
3
อีกมุมมองหนึ่งต่อ One Belt One Road คือเกิดขึ้นเพื่อหาทางออกให้กับปัญหา over-
capacity ของเศรษฐกิจจีน โดยเฉพาะภาคธุรกิจก่อสร้าง เหล็กกล้า และทุนสํารองเงินตราต่างประเทศ
ที่มากถึงเกือบ 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ จีนจึงต้องการระบาย capacity เหล่านี้ออกนอกประเทศ การมอง
นี้ก็มีส่วนจริง
One Belt One Road เป็นยุทธศาสตร์ที่รอบด้านอย่างแท้จริง ที่มิได้เกิดขึ้นเพื่อสนอง
วัตถุประสงค์สองข้อข้างต้นเท่านั้น แต่ถูกออกแบบมาเป็นยุทธศาสตร์เพื่อรองรับเป้าหมาย China
Dream ของจีน ที่จีนตั้งเป้าจะทําในสองระยะ ระยะแรก เป็นสังคม “เสี่ยวคัง” กินดีอยู่ดีปานกลาง มี
GDP ต่อหัวถึง 10,000 เหรียญสหรัฐ และจะทําให้คนชั้นกลางเพิ่มจาก 200-250 ล้านเป็น 500 ล้านคน
ซึ่งประเมินจากเวลานี้ก็น่าจะเป็นไปได้ ภายในปี 2021 ซึ่งเป็นปีครบร้อยปีการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์
จีน (เพิ่มเท่าตัวจากปี 2010 ที่มี GDP อยู่ที่ 5,000 เหรียญต่อหัว และเวลานี้จีนมีคนจนอยู่ 70 ล้านคน)
และในระยะที่สองจะเป็นประเทศพัฒนาเต็มขั้นในปี 2049 ซึ่งครบร้อยปีการก่อตั้งสาธารณรัฐ
ประชาชนจีน ให้จีนมีคนชั้นกลางเพิ่มขึ้นจนเกินครึ่งหนึ่งของประชากร ดังนั้น One Belt One Road จึงมี
ฐานะเป็นยุทธศาสตร์รองรับการก้าวไปสู่ความฝันของจีนดังกล่าวมานี้ด้วย เพราะโครงการต่างๆ ของ
OBOR นั้นเป็นโครงการขนาดยักษ์ที่ต้องใช้เวลาดําเนินการถึง 30-50 ปี สอดคล้องกับช่วงเวลาที่กําหนด
ของความฝันจีน เพราะฉะนั้น ถ้าจีนจะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ในปี 2049 ซึ่งเป็นขั้นที่สองของ Chinese
Dream นั้น ก็มี ยุทธศาสตร์รวมของ One Belt One Road มารองรับ เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะเป็น
มหาอํานาจแล้วไม่มียุทธศาสตร์เลย หรือไม่มีการ engage กับโลกภายนอกทางด้านเศรษฐกิจอย่างเต็ม
รูปแบบ สรุปคือ OBOR เป็นส่วนหนึ่งของการสานฝันสู่ Chinese Dream ของจีน ซึ่งก็เทียบเคียงได้กับ
สมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งเป็นยุคที่จีนเฟื่องฟูที่สุด จีนวันนี้ก็ต้องการ rejuvenate ประเทศเขากลับไปสู่ยุคที่
ยิ่งใหญ่ที่สุด โดยมี One Belt One Road เป็นยุทธศาสตร์ใหญ่ และตั้ง Chinese Dream ขึ้นมาเป็น
เป้าหมายที่จะเดินไปสู่
นอกจากเส้นทางสายไหมใหม่ทางบกและทางทะเลแล้ว One Belt One Road ยังหมายถึง E-
Road หรือการเชื่อมโยงการค้าขายผ่านอินเทอร์เน็ตด้วย ซึ่งมิได้เพียงข้ามพรมแดน แต่ไร้พรมแดน
กลไกภายใต้ One Belt One Road
แม้สิ่งที่จีนพูดไปเรื่อง OBOR นั้นจะฟังดูเป็นแนวคิด แต่จีนไม่ได้พูดเท่านั้น เพราะตามมาด้วย
AIIB (Asian Infrastructure Investment Bank) Silk Road Fund และ New Development Bank
สําหรับ AIIB มีการลงนามไปแล้ว 21 ประเทศและพันธมิตรของอเมริกาก็มาร่วมหมด ถ้า One
Belt One Road เป็นแนวคิด เป็นยุทธศาสตร์ AIIB ก็คือกลไกขับเคลื่อนที่แท้จริง โดยมีทุนประมาณ
4
หนึ่งแสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ในจํานวนนี้จีนลงไป 50,000 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งความจําเป็นในการตั้ง AIIB
นี้ จีนอ้างอิงข้อมูลจาก ADB (Asian Development Bank) ที่บอกว่าภายใน 10 ปี ความต้องการใช้เงินใน
การสร้างโครงสร้างพื้นฐานในเอเชียมีถึงประมาณ 8 ล้านล้านเหรียญ อย่างไรก็ตาม แต่ละปี ADB อนุมัติ
เงินอยู่ที่ 13,000 ล้านเหรียญ ความต้องการใช้เงินด้านโครงสร้างพื้นฐานจากปี 2010-2020 เฉลี่ยต่อปีอยู่
ที่ปีละ 750,000 เหรียญ ซึ่งในแง่หนึ่ง กล่าวได้ว่า AIIB เป็น antithesis ต่อ ADB จากที่ในอดีต ADB
เป็นผู้กําหนดกฎระเบียบด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ตอนนี้จีนก็ต้องการทําบ้างผ่าน AIIB
นอกจาก AIIB แล้ว กลไกทางการเงินของ OBOR ยังมีกองทุนเส้นทางสายไหม (Silk Road
Fund) ซึ่งมีเงินทุนประมาณ 40,000 ล้านเหรียญ และ New Development Bank ของกลุ่มBRICS ซึ่งมี
เงินทุนอีกประมาณ 100,000 ล้านเหรียญ ความต่างระหว่าง AIIB กับ Silk Road Fund คือ AIIB ให้กู้
เงินทําโครงการ ส่วน Silk Road Fund ใช้สําหรับการไปลงทุนโดยตรงของจีนเองในโครงการที่กําลังจะ
ขาดเงิน เพราะฉะนั้น OBOR จึงไม่ใช่แค่เพียงแนวคิดลอย ๆ แต่ตามมาด้วยกลไกเหล่านี้
ไทยต้องทาอะไรเพื่อให้ได้ประโยชน์จาก OBOR เต็มที่
ในสามก๊กสอนว่าหนทางสู่ความสําเร็จต้องประกอบด้วย 3 สิ่งที่สําคัญ คือ 1) เทียนสือ (天时)
คือ จังหวะและโอกาส 2) ตี้ลี่ (地利) คือชัยภูมิ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ 3) เหรินเหอ (人和) คือปัจจัย
เรื่องคน
ประการแรก จังหวะในช่วงที่จีนมี OBOR ไทยโชคดีมากที่มียุทธศาสตร์ EEC (Eastern
Economic Corridor โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก) ซึ่งเป็นรูปเป็นร่างแล้ว และ
กําลังจะผ่านออกเป็นร่างพระราชบัญญัติ EEC ถือว่าเราได้จังหวะที่ถูกต้อง และโครงการ EEC ของเรา
ไม่ใช่เพิ่งนับหนึ่ง แต่พัฒนาขึ้นมาจาก ESB หรือ Eastern Seaboard ซึ่งไทยใช้ทํามาหากินมา 30 ปี
แล้ว นอกจากนี้ นโยบาย 4.0 และนโยบายอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีในอนาคตที่รัฐบาลประกาศก็เข้า
จังหวะกับ OBOR ที่จีนเดินออกมาได้พอดี
ประการที่สอง เราได้เรื่องตี้ลี่ คือเราอยู่ในชัยภูมิที่ถูกต้อง ในจังหวะที่จีนมีนโยบายโจ่วชูชวี่
(Go Global) นโยบายเดินออกสู่อาเซียน ก็เจอไทยและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อยู่ตรงนี้
พอดี ความจริงเรายังมี connectivity ของอาเซียนไว้แล้วด้วยซํ้าไป สรุปคือ เราได้ตี้ลี่ คือชัยภูมิ เรามี
โครงการ EEC เราวางตัวเราเองให้เป็นประตู (gateway) ของ AEC ที่ OBOR ของจีนจะมาบรรจบ ซึ่ง
OBOR นั้นที่จริงมี 3 เส้นใหญ่ คือ 1) จากจีน ผ่านเอเชียกลาง ผ่านรัสเซีย ไปสู่ยุโรป 2) จากจีน ผ่าน
เอเชียกลาง ไปสู่ตะวันออกกลาง เส้นนี้คนไม่ค่อยพูดถึงแล้ว เพราะมีปัญหามาก ส่วนเราอยู่ในเส้นที่ 3)
5
คือจากจีน ลงมาทางใต้ มาสู่เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะฉะนั้น เราอยู่ในชัยภูมิที่ดี และ
เราก็มีโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ที่ไม่ได้เริ่มจากศูนย์ แต่มีพื้นฐานจาก Eastern
Seaboard เตรียมพร้อมไว้แล้ว อยู่ที่ว่าเราจะวางตัวอย่างไรเพื่อจะเพิ่มมูลค่าให้กับที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
และข้อได้เปรียบอื่นที่เรามีอยู่
ประการสุดท้าย ที่คนจีนเชื่อว่าเป็นปัจจัยของความสําเร็จ คือ เหรินเหอ หรือปัจจัยเรื่องคน
แบ่งเป็น 3 ข้อ 1) สังคมเราต้องอยู่ด้วยกันให้ได้ก่อน อันที่จริง สําหรับปัจจัยเรื่องคน ไทยเราได้เปรียบ
มาตลอด เราเป็นสังคมพุทธ เราเป็นสังคมที่ “เปาหรง” สําหรับจีน คือไม่มีปัญหาในเรื่องความกลมเกลียว
กัน ในอดีต ตอนเปิดความสัมพันธ์ระหว่างกัน จีนก็มองว่าเราเป็น “ต้นแบบ” ของนโยบายผสมกลมกลืน
คนในสังคม (assimilation/integration) ที่ประสบความสําเร็จ และต้องการให้ชาติอาเซียนอื่นๆ ดูเป็น
ตัวอย่าง ในแง่ที่หนึ่งนี้ เราได้เปรียบเรื่องเหรินเหอ 2) จากนี้ไปคนไทยต้องอยู่กันอย่างสามัคคีให้ได้ โดย
ไม่มีปัญหาเรื่องการเมืองแตกแยกกันอีก 3) คือ ต้องดึงดูดนักลงทุนและผู้มีความสามารถระดับสูง ไม่
เฉพาะจากจีน แต่จากทั่วโลกเข้ามาทํางานในไทยในอุตสาหกรรมเป้าหมายแห่งอนาคตที่เราตั้งเป้าไว้
โดยกําหนดมาตรการดึงดูดคนเก่งเหล่านี้ไว้ใน พ.ร.บ. EEC ที่น่าจะผ่านออกมาในกลางปี 2560 นี้ ที่
สําคัญที่สุดคือการลดภาษีเงินได้ส่วนบุคคลแก่บุคลากรต่างชาติที่มีความสามารถสูง ระดับผู้บริหาร
ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิจัยที่เข้ามาทํางานในอุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษของ EEC
ลงเหลือ 17% จากที่เป็นอยู่คือ 35% ซึ่งการเก็บภาษีในอัตราเดิมทําให้คนเก่งในอุตสาหกรรมอนาคต
4.0 และคนทั้งหลาย เลือกทํางานที่สิงคโปร์ ซึ่งเก็บภาษีเงินได้คนเหล่านี้อยู่ที่ประมาณ 17% แล้วจึงค่อย
เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยในวันสุดสัปดาห์ ดังนั้น การจะดึงคนเหล่านี้เข้ามาก็ต้องมีมาตรการจูง
ใจ ซึ่งรัฐบาลทําถูกที่กําลังผลักดัน พ.ร.บ.ว่าด้วย EEC นี้ ความจริงในการดึงดูดคนเก่งและทุนจาก
ต่างชาตินี้ ยังมี พ.ร.บ. อีก 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน (ฉบับปรับปรุงใหม่)
กับพระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน แต่ที่จะมีผลมากก็คือ พ.ร.บ.ว่า
ด้วย EEC ฉบับดังกล่าว ซึ่งก็น่าจะผ่านได้ภายในกลางปีนี้
มาตรฐานการพิจารณาโครงการความร่วมมือใดๆ กับจีนนั้น ควรคํานึงว่าจะต้องสอดคล้องกับ
ยุทธศาสตร์ วาระ และประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย และต้องมีความเป็นไปได้ทางธุรกิจ เพราะ OBOR และ
กลไกขับเคลื่อนคือ AIIB และ Silk Road Fund นั้นไม่ใช่โครงการความช่วยเหลือระหว่างประเทศ แต่
ดําเนินการแบบ professional โดยคํานึงถึงผลประโยชน์แบบ win-win โจทย์ใหญ่ของเราคือ ตอนที่เรา
วาง position ตัวเราเอง เราต้องรู้ว่าเราต้องการทําอะไร หรือต้องการดึงเทคโนโลยีอะไร ที่เป็นเทคโนโลยี
ในอนาคตที่ประเทศเราต้องการ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาในภาพรวมของเรา เช่น ใน
โครงการ EEC เราก็ต้องมาดูว่าเรายังต้องการเทคโนโลยีส่วนไหนอีก เช่นอาจจะเป็นรถพลังงานไฟฟ้า
6
(Electric Vehicle: EV) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ หรือชิ้นส่วนอากาศยาน แน่นอนว่าในการขอเงินจาก AIIB
มาทําโครงการย่อมมีปัจจัยเรื่องการเมืองด้วย แต่หากเรื่องที่เสนอนั้นผลประโยชน์สองฝ่ายสอดคล้องกัน
และเป็นไปได้ทางธุรกิจ ก็มีโอกาสกู้เงินจากจีนได้ สมมติว่าเราต้องการซื้อยานพาหนะที่ใช้พลังงานไฟฟ้า
(EV) แล้วจีนมีเทคโนโลยีทางด้านนี้อยู่ ถ้าเป็นแบบนี้ก็เป็นไปได้ว่าเขาจะปล่อยให้กู้ เพราะสอดคล้องกับ
ยุทธศาสตร์สองฝ่าย และเป็นไปได้ทางธุรกิจ อยากจะฝากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องว่าไม่ใช่อยู่ๆ ใครจะไป
เสนอโครงการอะไร แล้วบอกว่าไม่มีทางที่จีนจะให้เงิน โครงการที่จะสําเร็จได้จะต้องเป็นโครงการที่
เป็นไปได้ทางธุรกิจ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของทั้งประเทศผู้ให้และประเทศผู้รับ ถึงจะยั่งยืนได้ ซึ่ง
ข้อนี้จะตอบคําถามได้ว่าเพราะเหตุใดโครงการรถไฟไทย-จีนจึงมีปัญหา เนื่องจากโครงการนั้นสนอง
ยุทธศาสตร์ฝ่ายเดียว คือของจีน จึงไม่สําเร็จ
เราต้องตระหนักว่า แม้ไทยจะอยู่ในฐานะที่ได้เปรียบในอาเซียน ทั้งเรื่องความพร้อมและชัยภูมิ
ดังกล่าวมา แต่เราก็มีคู่แข่งอยู่หลายประเทศที่ต้องการจะเอาประโยชน์จากจีนเช่นกัน การที่จีนเปิด
ประเทศ ใช้นโยบายเดินออกมาสู่เพื่อนบ้านและโลกครั้งนี้ เขาไม่ได้ให้ไทยเราผูกขาดอยู่ประเทศเดียว
และไม่ใช่ว่าที่ตั้งเราดีแล้วเราจะยอดเยี่ยมอยู่ประเทศเดียว ประเทศอื่นๆ ก็ต้องพยายามหาทางของเขา
เช่นกัน ล่าสุด มาเลเซียได้เงินกู้จากธนาคาร EXIM Bank จีนกว่าสี่แสนล้านบาท ในการสร้างเส้นทาง
รถไฟ East Coast Rail Road Link เชื่อมเป็น land bridge จากท่าเรือเคลัง (Klang) ด้านทะเลอันดามัน
ยาว 620 กิโลเมตร มายังท่าเรือกวนตัน (Kuantan) ด้านอ่าวไทย ความน่าสนใจคือ ถ้าหากโครงการนี้ทํา
ได้ภายใน 5 ปี ก็จะเกิดเป็น land bridge bypass ช่องแคบมะละกา และสิงคโปร์ได้ รถไฟสายนี้จะ
สามารถขนสินค้าจากท่าเรือเคลังข้ามฝั่งมายังด้านกวนตัน และขึ้นเรือขึ้นไปถึงเมืองเซินเจิ้นของจีนได้
ทีเดียว (ดังภาพ) ดังนั้น บทเรียนจากมาเลเซียในกรณีนี้คือ เรามีคู่แข่ง เราจะต้องทําตัวเราให้เป็นที่
น่าสนใจ น่าดึงดูด นอกจากมาเลเซีย ก็ยังมีสิงคโปร์ เวียดนาม เป็นคู่แข่งในการดึงดูดทุนจากจีนด้วย
โครงการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติของเรา อย่าง Eastern Seaboard นั้น เราหากินมา 30 ปีแล้ว
หมดมนต์ขลังแล้ว หากรัฐบาลนี้ทําโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ให้ได้ผลจริง จะเป็น
มรดกชิ้นสําคัญของรัฐบาลนี้ได้
7
ความจริง One Belt One Road ไม่ได้มีแต่เส้นทางทางบก (Belt) กับ เส้นทางทางทะเล (Road)
ยังมี E-Silk Road ด้วย เพราะตั้งแต่ประกาศแผนเมื่อปี 2013 ทุกอย่างในจีนก็พูดกันเป็น E หมดแล้ว
เช่น E-commerce เป็น digital เป็น mobile internet หมด ประเด็นคือใน OBOR มีมิติของ E-Road
ด้วย และในมิติของ E-Road นั้น ทุกอย่างข้ามพรมแดน ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ก็อาจจะไม่ทําให้เป็นต่อได้
เท่าไร เหมือนกับสมัยหนึ่งในสหรัฐ บริษัทใหญ่ต่างขายที่ในแมนฮัตตันแล้วย้ายออกไปหมด เพราะทุก
อย่างสื่อสารกันด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ทําเลที่ดีไม่จําเป็นอีกต่อไป เราก็ควรตระหนักในเรื่องนี้ไว้ด้วย เร็วๆ
นี้มีประเด็นเรื่องไทยกับมาเลเซียแย่งกันให้อาลีบาบาไปลงทุน ผมก็ถามแจ็ค หม่าไปใน WeChat เขาก็
ตอบมาว่า อาลีบาบามาไทยแน่นอน มีความคืบหน้าในส่วนของเขา แต่ก็กระตุ้นให้รัฐบาลไทยเร่งมือใน
ส่วนของเราด้วย
มีการกําหนดสถานะให้ 18 มณฑลของจีนเป็น ‚มณฑล Silk Road‛ มณฑลต่างๆ ที่ได้ถูก
กําหนดให้เป็นมณฑลเส้นทางสายไหมทั้งทางบกและทางทะเลก็จะสามารถมีนโยบายที่เปิดกว้างและเป็น
อิสระ เชื่อมต่อกับภายนอกได้มากขึ้น เช่น ไทยสมายล์กําลังพยายามจะเปิดเส้นทางบินกรุงเทพ-เจิ้งโจว
(Zhengzhou) (มณฑลเหอหนาน)
8
ความก้าวหน้าและความมุ่งหวัง
ของยุทธศาสตร์
The Belt and Road Initiative ของจีน
และผลต่อเศรษฐกิจโลก และไทย
คุณโจ ฮอร์น พัธโนทัย กรรมการอานวยการบริษัท Strategy 613 จากัด
9
นโยบายด้านเศรษฐกิจของจีนนั้นใช่ว่าจะประสบความสําเร็จทุกนโยบาย หลายนโยบายก็ไม่
สําเร็จ นโยบาย OBOR เป็นนโยบายระยะยาว คล้ายกับนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันตกของจีนที่
กว่าจะทําได้นั้นต้องใช้ระยะเวลานาน นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันตก ต้องรอให้ค่าแรงที่เมือง
กวางเจา และเซี่ยงไฮ้ สูงขึ้นจริงๆ ก่อน กลุ่มภาคเอกชนจึงยอมย้ายไปลงทุนด้านตะวันตก นโยบาย
OBOR จึงเป็นนโยบายที่ต้องใช้เวลาในการติดตาม อย่างไรก็ตาม เชื่อว่านโยบาย OBOR จะเป็น
นโยบายที่ประสบความสําเร็จ เพราะเบื้องหลังเศรษฐกิจจีน มีการแก้ไขและปรับตัวได้ดี โดยปัจจุบัน
รัฐบาลจีนกําลังแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยหลัก 3 D
- Decapacity คือ การลดกําลังการผลิตส่วนเกิน จีนมีโครงสร้างพื้นฐานในประเทศจํานวนมาก
ทั้งรถไฟ ท่าเรือ ถนน และกําลังจะส่งออกโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวไปขายให้กับทั่วโลกแทน
ไปสร้างถนน รถไฟ ฯลฯ ให้กับประเทศต่างๆ
- Deleverage คือ ควบคุมสินเชื่อเงินกู้ ขณะนี้จีนประสบปัญหาการใช้เงินกู้ในการดําเนินธุรกิจ
มากเกินควร (excessive leverage) ก่อนปี 2008 จีนมีหนี้ทั้งระบบต่อ GDP ประมาณ 100
เปอร์เซ็นต์ และตอนนี้หนี้ทั้งระบบโตขึ้นไปกว่า 300 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาขาดแคลน
สภาพคล่อง
- Destabilization คือ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่ตํ่าลง
ด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มากเกินไป ทําให้เกิดปัญหากําลังการผลิตส่วนเกิน (Excess
capacity) และใช้เงินกู้ในการดําเนินธุรกิจมากเกินควร (excessive leverage) รัฐบาลจีนจึงมีนโยบาย
แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ด้วยหลัก Decapacity และ Deleverage แต่รัฐบาลจีนไม่สามารถลดหรือ De ทั้ง
2 อย่างได้ในเวลาเดียวกัน หากลดทั้งคู่ในเวลาเดียวกัน จะทําให้เกิดสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL)
หรือหนี้เสียจํานวนมาก ที่สําคัญจะทําให้กระเทือนต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Destabilization) ที่ผ่าน
มาจีนจึงเลือกควบคุมหนี้และเงินกู้ (deleverage) ก่อน เพราะปัญหาหนี้ในธนาคารจีนมีสูงมาก แม้ว่าวิธี
นี้จะสร้างปัญหาให้เกิดคนว่างงานมากขึ้นก็ตาม เพื่อแลกกับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว
ภาพรวมเศรษฐกิจจีน
ระยะที่ 1 ในช่วงปี 2003 เศรษฐกิจจีนอยู่ในช่วงขี่จักรยานขึ้นเขา เติบโตขึ้นอยู่ตลอด รัฐบาลจีน
ทําทุกอย่างเพื่อให้มีการเติบโตขึ้นในทุกปี เพราะเชื่อว่าการเติบโตแก้ไขได้ทุกปัญหา ปี 1995 - 2003
คนจีนประมาณ 200 - 300 ล้านคน ต้องหางานใหม่อยู่ตลอด เพราะการพัฒนา และการปรับรัฐวิสาหกิจ
ของรัฐบาลจีน นอกจากนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจ (growth) ยังช่วยแก้ปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิด
รายได้ (Non-Performing Loan) หรือที่เรียกกันว่าหนี้เสีย ช่วงแรกจีนมีหนี้เสียไม่น้อยกว่า 40
เปอร์เซ็นต์ เกิดเงินเฟ้อมหาศาล แต่หลังจากที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจปีละไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์
10
ได้ช่วยแก้ไขหนี้เสีย ทําให้หนี้เสียลดลงเรื่อยๆ ปีแรกลดเหลือ 32 เปอร์เซ็นต์ ปีถัดไปลดเหลือเพียง 25
เปอร์เซ็นต์
ระยะที่ 2 ภายหลังปี 2013 จีนเริ่มมีปัญหากับความสามารถในการเติบโต เนื่องจากเติบโตเร็ว
เกินไป ทุกอย่างที่ซื้อจะแพงขึ้น ทุกอย่างที่ขายจะถูกลง หลังจากนี้จีนจึงกําหนดว่าเศรษฐกิจต้องโม่โต
เร็วเกินไป หรือตํ่าเกินไป คือพยายามทําให้เศรษฐกิจโตไม่ตํ่ากว่า 8 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่เกิน 10
เปอร์เซ็นต์ต่อปี ประกอบกับในช่วงปี 2008 เกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ส่งผลกระทบต่ออเมริกา และยุโรป
มาก ทําให้จีนได้รับผลกระทบด้วย เพราะอเมริกาและยุโรปเป็นคู่ค้าหลักของจีน ด้วยเหตุนี้ ทําให้จีน
ต้องกระตุ้นเศรษฐกิจภายในของประเทศอย่างด่วน โดยมีงบประมาณการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ภายในประเทศถึง 4 ล้านล้านหยวน ซึ่งถือว่าเป็นงบกระตุ้นเศรษฐกิจก้อนใหญ่สุดของโลก ในระหว่างที่
ใช้เงิน 4 ล้านล้านหยวน สินเชื่อธนาคารโตเพิ่มขึ้นกว่า 18 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่ากระตุ้นได้ดีมาก
เบื้องหลังการทานโยบาย OBOR
หลังจากที่จีนกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ก็เกิดปัญหาที่ทําให้จีนนั้นต้องสร้างนโยบาย OBOR เพื่อ
ออกหาตลาดในต่างประเทศมากขึ้น เหตุที่ต้องออกหาตลาดต่างประเทศนั้น ประเทศจีนเจอปัญหาดังนี้
1. เกิดปัญหา Excess capacity คือ ประเทศจีนมีโครงสร้างพื้นฐานเต็มประเทศ จีนเร่งสร้างถนน
สร้างรถไฟความเร็วสูงจํานวนมาก ในวันนี้ประเทศจีนจึงต้องไปด้วยโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้
ขณะนี้ประเทศจีนไม่มีอะไรให้สร้างแล้ว จีนเริ่มสร้างอะไรที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ เช่น สายรถไฟ
ความเร็วสูง ซึ่งไม่จําเป็นต้องสร้างก็ได้ แต่ที่จีนจําเป็นต้องสร้าง เนื่องจากต้องมีโครงการใหญ่ๆ
เพื่อให้เกิดการจ้างงาน และคาดหวังว่า หลังจากนี้จะต้องขายโครงสร้างพื้นฐานไปทั่วโลก เช่น ไป
สร้างรถไฟให้ไทย ให้อเมริกา ให้อินโดนีเซีย ให้ลาว เป็นต้น นโยบาย OBOR จึงเป็นนโยบายที่
เกิดขึ้น เพื่อส่งออกโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว แม้ว่า ณ เวลานี้ จะยังไม่มีประเทศไหนร่วมสร้าง
โครงสร้างพื้นฐานกับจีนเลย
2. ต้องการรายได้จากนอกประเทศ บริษัทในจีนส่วนใหญ่รายได้ยังมาจากในประเทศ กว่า 90
เปอร์เซ็นต์ ต่างจากญี่ปุ่น อเมริกา ที่รายได้มาจากต่างประเทศ ประเทศจีนจึงอยากจะออกไป
ลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น
3. ต้องการให้นโยบาย OBOR กระตุ้นเงินหยวน ประเทศส่วนใหญ่ในโลกยังถือเงินดอลลาร์
พันธบัตรดอลลาร์ )US Treasury) อยู่ และยังไม่ค่อยถือเงินหยวน ประเทศจีนต้องการให้นโยบาย
OBOR กระตุ้นการใช้งานของเงินหยวนมากขึ้น และต้องการรีไซเคิลเงินดอลลาร์ เพราะนโยบาย
OBOR เป็นนโยบายที่ต้องการใช้เงินกว่าแสนล้านดอลลาร์ เงินทุนของธนาคารเพื่อการลงทุน
โครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) ที่สร้างขึ้นมาเพื่อรองรับนโยบาย OBOR มีเงินทุนพื้นฐาน
เพียงแค่ 5 หมื่นล้านดอลลาร์ ธนาคาร AIIB สามารถใช้เงินทุนดังกล่าวเปลี่ยนตราสารหนี้ที่มี
11
อันดับความเสี่ยงอยู่ในระดับตํ่า (A) เป็น เงินกู้ที่มีอันดับเครดิตที่ดีมาก (AAA) เมื่อมีการลงทุน
ด้าน OBOR มาก สามารถทําให้คนเข้ามาซื้อตราสารหนี้ หรือเงินกู้เพื่อถือเงินหยวน แทนที่จะถือ
พันธบัตรสหรัฐ (US Treasury) และให้ประเทศต่างๆ เช่น ไทย ญี่ปุ่น รีไซเคิลเงินดอลลาร์ที่ถืออยู่
เปลี่ยนเป็นถนน เป็นรางรถไฟ หรือท่าเรือแทน
4. ประเด็นทางการเมือง การสร้างนโยบาย OBOR จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับคนจีน สะท้อน
บทบาทความยิ่งใหญ่ของจีน ว่าประเทศกําลังจะก้าวไปข้างหน้า
หลังจากประเทศจีนถูกบีบด้วยเหตุผลข้างต้น จึงเป็นเหตุให้สร้างนโยบายที่จะออกไปหาตลาดใน
ต่างประเทศมากยิ่งขึ้น ซึ่งนโยบาย OBOR ได้กลายเป็นนโยบายหลักของรัฐบาลจีน ขณะนี้ยังเป็น
นโยบายที่ไม่มีอะไรชัดเจนมาก แต่ถือว่าเป็นนโยบายที่ดี เนื่องจาก ดึงนักธุรกิจให้เข้ามาลงทุนได้ดี
เพราะนักธุรกิจสามารถกู้เงินของธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) เป็นธนาคาร
ที่มีไว้ให้กู้เงินเพื่อทํานโยบาย OBOR โดยไม่ต้องกังวลว่าสิ่งที่จะลงทุนนั้นจะเกี่ยวข้องกับนโยบาย
OBOR หรือไม่
ปัจจุบันจีนกําลังเจอปัญหาค่าเงินอ่อนลง เงินสํารองระหว่างประเทศ หายไป 1 ล้านล้านเหรียญ
ดอลลาร์ ทําให้นโยบาย OBOR บางโครงการต้องชะลอตัวไปก่อน เพื่อแก้ปัญหาเงินทุนสํารอง อย่างไรก็
ตาม นโยบาย OBOR เป็นยุทธศาสตร์ระยะยาว 20-30 ปี และเป็นทิศทางหลักที่จีนจะเดิน หาก
แก้ปัญหาเงินทุนสํารองได้ จีนจะต้องเร่งโครงการในนโยบาย OBOR อย่างแน่นอน
ข้อแนะนาต่อประเทศไทย
ประเทศไทยจะได้รับผลประโยชน์จากนโยบาย OBOR อย่างแน่นอน หากมีการปรับตัวของ
ประเทศไทย 3 ด้านดังนี้
1. การสร้างบุคลากรและสังคมให้กับคนจีน ประเทศไทยยังมีคนพูดภาษาจีนน้อย เข้าใจ
ประเทศจีนน้อย เราควรใช้เวลาในการสร้างคนให้สามารถเข้าใจภาษาจีนและประเทศจีนได้
ใช้เวลาประมาณ 3-4 ปีน่าจะทําได้ นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมของประเทศไทยยังไม่เอื้อให้
คนจีนมาลงทุนระยะยาว คือ ไทยยังไม่สร้างสังคมเพื่อให้คนจีนได้ใช้ชีวิตอยู่ไทยนาน
ประเทศไทยมีคนจีนประมาณสองแสนคนอาศัยอยู่ที่ไทย มีนักท่องเที่ยวจีน 5-10 ล้านต่อปี
แต่ประเทศไทยไม่ได้สร้างสังคมให้กับคนจีน ไม่มีโรงเรียนจีน ไม่มีมหาลัยจีน คนจีนที่มาอยู่
ที่ไทยต้องส่งลูกไปเรียนที่สิงคโปร์ ไทยไม่มี Magazine สําหรับคนจีน ไม่มีคอนโดที่ขายเพื่อ
คนจีน ร้านอาหารที่มีก็ยังไม่เพียงพอสําหรับคนจีน เพราะร้านอาหารจีนในประเทศไทยเป็น
แบบกวางตุ้งทั้งสิ้น ไม่มีอาหารทางภาคเหนือของจีน นโยบาย OBOR จึงเป็นนโยบายที่เป็น
โอกาสให้ไทยสร้างโรงเรียนจีน หากเราไม่มีโรงเรียน นักธุรกิจจีนที่มีครอบครัวแล้ว คงไม่
12
อยากมาลงทุนที่ไทย เนื่องจากไม่มีโรงเรียนสําหรับลูก หากเราสร้างโรงเรียน ยิ่งดึงดูดให้คน
จีนมาลงทุน และไทยจะกลายเป็นศูนย์กลาง (hub) อย่างแน่นอน
2. แก้กฎหมายกฎระเบียบบางอย่างของไทย เช่น การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
(FBA) มีการโกงกันจํานวนมาก แต่กฎหมายไทยยังทําอะไรไม่ได้ ซึ่งทําให้จีนย้ายไปที่อื่น
นอกจากนี้ควรลดความยุ่งยากของกฎระเบียบบางอย่างด้วย เพื่อเอื้อให้คนจีนมาลงทุนมาก
ขึ้น เช่น ความยุ่งยากในการขอใบอนุญาติการทํางานของคนต่างชาติ (work permit) 1 ปี
ต้องทํา 2 ครั้ง ครั้งละหลายชั่วโมง หากยังเป็นแบบนี้ นักลงทุนจีนอาจจะอยากไปลงทุนที่
ประเทศเพื่อนบ้านเรามากกว่า
3. ไทยควรเป็นตัวกลางระหว่างจีนและกลุ่มประเทศอาเซียน ประเทศไทยอยู่ในใจกลาง
โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่นํ้าโขง: Greater Mekong
Subregion (GMS) ซึ่งมีประเทศ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ประเทศไทยน่าจะเป็น
ตัวกลางบรรเทาความขัดแย้งระหว่างจีนกับอาเซียนได้ ประเทศในอาเซียนครึ่งหนึ่งขัดแย้ง
กับจีน ซึ่งแต่ละความขัดแย้งเป็นเรื่องที่เกิดมานานแล้ว และไม่มีฝั่งใดยอมกัน ไทยสามารถ
เป็นตัวกลางได้ และนอกจากนี้จากการที่เราเป็นคู่ค้าที่ดีของจีน ไทยสามารถทําให้เราเป็น
ศูนย์กลางการลงทุนได้มากขึ้น
13
ยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative
กับความท้าทายที่ไทยต้องเผชิญ
ผศ.วรศักดิ์ มหัทธโนบล ผู้อานวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
14
ตั้งแต่จีนเข้าสู่ยุคปฏิรูปประเทศของ เติ้ง เสี่ยวผิง จีนได้ร่างแผนแม่บทระยะยาวเพื่อการปฏิรูป
ประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยช่วงแรกในยุคทศวรรษที่ 1980 เป็นการเน้นปฏิรูปภายในประเทศเพื่อให้
สามารถสอดรับกับการค้าเสรีโลกได้ ส่วนในทศวรรษต่อมาจีนเริ่มสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อน
บ้านซึ่งจีนมีพรมแดนติดกับกว่า 15 ประเทศ จะมีเพียงประเทศเอเชียกลางที่มีปัญหาการเมืองภายในทํา
ให้จีนยังไม่สามารถเข้าไปสร้างความร่วมมือได้มากนัก ส่วนในทศวรรษที่ 2000 จีนเข้าเป็นสมาชิกของ
องค์การการค้าโลก (WTO) อย่างเป็นทางการ และขยายการสร้างความร่วมมือโดยเฉพาะในด้าน
เศรษฐกิจ เช่น การสร้างข้อตกลงการค้าเสรีกับหลากหลายชาติรวมถึงประเทศในภูมิภาคอาเซียนด้วย
ในขณะนั้นประชาคมอาเซียนยังไม่มีความพร้อม ทางการจีนจึงได้สร้างข้อตกลงการค้าเสรีกับบาง
ประเทศในอาเซียนก่อน ซึ่งแสดงถึงความจริงจังของจีนในการก้าวสู่การค้าโลก
ฉะนั้น เราจึงเห็นว่าจีนทุ่มเทเป็นอย่างมากในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่อํานวยความสะดวก
ในการขนส่งสินค้า โดยจะเห็นว่าสิ่งที่เป็นรูปธรรมในการพัฒนาโครงข่าย OBOR ก็คือการสร้างทางรถไฟ
ถนน และท่าเรือนั่นเอง จีนไม่ได้ทําเพียงสิ่งที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น ยังทํางานเชิงความคิดอีกด้วย หากใคร
สนใจติดตามเรื่องจีนเป็นประจําจะพบว่าจีนมักจะมี วลี คําคม หรือคําขวัญ ที่แฝงไปด้วยปรัชญาแนวคิด
และมีความกระชับทําให้จดจําได้ง่าย เช่น ใช้คําว่า OBOR แทนชื่อตัวโครงการแล้วทํางานเผยแพร่ให้คํา
นี้เป็นที่คุ้นชิ้นในหลายประเทศ และทํางานประชาสัมพันธ์โครงการและคํานี้ในหลายระดับแก่ทั้งรัฐและ
เอกชนของชาติต่าง ๆ รวมถึงไทยด้วยเช่นกัน ในทางกลับกันก็พยายามรวบรวมข้อมูลว่าต่างชาตินั้น
คิดเห็นอย่างไรต่อ OBOR เพื่อนําส่งกลับไปยังรัฐบาลจีนอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาแผนต่อไป
โครงสร้างพื้นฐานคือหัวใจของ OBOR
ดังที่กล่าวไปแล้วว่าจีนมีแผนใหญ่ในการพัฒนาประเทศระยะยาว ซึ่งโครงการ OBOR นั้นเป็น
เป็นโครงการย่อยในแผนแม่บทนี้เองที่ทางการจีนฝันจะเห็นเศรษฐกิจของตนเข้าเชื่อมต่อกับเศรษฐกิจใน
ระดับอนุภูมิภาค ภูมิภาค และเศรษฐกิจโลกอย่างสมบูรณ์ในที่สุด ทั้งนี้ หากโครงสร้างพื้นฐานไม่พร้อม
รองรับการเชื่อมต่อขนส่งสินค้าแล้วก็ยากที่ความฝันนี้จะเป็นจริงได้ หากมองใกล้ไทยมากขึ้นก็จะเห็นว่า
จีนได้เชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางบกและทางนํ้ามาถึงกลุ่มประเทศ CLMV แล้ว
แต่เพียงโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่เฉพาะในเขตพรมแดนจีนหรือที่จีนเป็นเจ้าของนั้นยังไม่เพียง
พอที่จะทําให้ OBOR สําเร็จลุล่วง ยังต้องพึ่งพาโครงสร้างพื้นฐานที่มีในประเทศอื่น ๆ ตลอดเส้นทาง
OBOR ด้วยเพื่อจะสร้างโครงข่ายการขนส่งที่ครอบคลุมทั่วภูมิภาค ซึ่งบางประเทศนั้นขาดแคลนเงินทุน
และเทคโนโลยีที่จะสร้างโครงข่ายเหล่านั้นให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งนี่จะเป็นปัญหาที่กระทบต่อแผน OBOR ใน
ที่สุด ด้วยเหตุนี้ จีนจึงจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย หรือ AIIB อันมี
15
จุดประสงค์หลักที่มุ่งให้เงินกู้เพื่อช่วยเหลือประเทศที่ขาดแคลนงบประมาณในการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน
โดยธนาคารแห่งนี้จะมีเงื่อนไขการกู้เงินที่น้อยกว่าธนาคารอื่น ๆ เพื่อเอื้อให้โครงการ OBOR เกิดขึ้น
โดยเร็วที่สุด
ความท้าทายของไทย
ความท้าทายที่ไทยต้องเผชิญจากโครงการ OBOR ในอันดับแรกนั้นคือระดับภายในประเทศที่
เรามีแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นของตัวเองที่คิดขึ้นมานานแล้วโดยยึดผลประโยชน์แห่งชาติ
เป็นหลัก บรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและได้รับการพูดถึงอย่างเป็นระบบมากขึ้น
ในสมัยรัฐบาลที่มี นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ไทยก็ยังทําไม่สําเร็จตามแผนมาก
นักเนื่องจากยังขาดงบประมาณ การบังคับใช้กฎหมายที่เด็ดขาด และความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยี และ
ในระดับต่อมาคือระดับระหว่างประเทศที่ต่างชาตินั้นต้องการเชื่อมต่อโครงข่ายการขนส่งเข้ากับ
ประเทศไทย ซึ่งในบางครั้งผลประโยชน์ของต่างชาติและผลประโยชน์ของเรานั้นไม่ตรงกัน อันจะนําไปสู่
การเจรจาต่อรองกันในอนาคต เช่น ทางการไทยต้องการสร้างเส้นทางรถไฟจาก กรุงเทพฯ ไปยังจังหวัด
เชียงใหม่ แต่ประเทศจีนต้องการเส้นทางรถไฟ กรุงเทพฯ ไปยังชายแดนด้านหนองคายมากกว่า ในเรื่อง
นี้ก็ต้องมองต่อไปในอนาคตว่าธนาคาร AIIB จะเข้ามามีบทบาทในการกําหนดทิศทางการพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานของไทยหรือไม่
หากมองตามเส้นทาง OBOR แล้วจะเห็นว่าเส้นทางหลักทั้งทางบกและทางทะเลนั้นจะไม่ผ่าน
ประเทศไทย แต่จะอ้อมลงไปยังช่องแคบมะละกา อย่างไรก็ตาม ภูมิศาสตร์ของไทยยังมีความสําคัญต่อ
ความสําเร็จของ OBOR อยู่มาก เพราะจีนต้องการให้ระเบิดเกาะแก่งในแม่นํ้าโขงและขุดคลองคอดกระ
จีนต้องการที่จะพัฒนาแม่นํ้าโขงตลอดสายให้สามารถรองรับการเดินเรือขนาดใหญ่ที่มีระวางอยู่
ราว 300 และ 500 ตัน จากเดิมที่รองรับเพียง 100 ตัน เท่านั้น ซึ่งพม่าและลาวได้ระเบิดเกาะแก่งเพื่อ
รองรับการเดินเรือนี้แล้ว เหลือเพียงแต่ไทยที่ยังไม่ยินยอมจะทําตาม เนื่องจากเคยมีงานวิจัยที่ทําโดย
หน่วยงานภาครัฐที่ชี้ชัดว่าการระเบิดเกาะแก่งจะส่งผลเสียมากมากกว่าผลดีต่อประเทศ อย่างไรก็ตาม
พล.อ.ประยุทธ์ จันโอชา ได้กล่าวว่าจะทําการศึกษาอีกครั้งหนึ่งเพื่อทบทวนนโยบายของไทย
อีกกรณีหนึ่งคือการขุดคลองคอดกระ จากประสบการณ์ส่วนตัวกว่า 20 ปี พบว่า นักวิชาการ สื่อ
และเจ้าหน้าที่ทางการจีน ได้พยายามโน้มน้าวให้นําเสนอมุมบวกของการขุดคลองคอดกระมาโดยตลอด
โดยครั้งล่าสุดที่น่าสนใจคือการออกมาให้ความเห็นของ อดีตองคมนตรี ธานินทร์ กรัยวิเชียร ที่สนับสนุน
การขุดคลองดังกล่าว อีกทั้งยังกล่าวในจดหมายที่เขียนถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันโอชา ว่าหากมีปัญหาใด ๆ
สามารถที่จะติดต่อประสานงานกับทางการจีนได้ทันที อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาในยุคสมัยรัฐบาลที่มี
16
นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการศึกษาความคุ้มค่าอีกครั้งหนึ่ง และได้ผลสรุปว่า
ไม่คุ้มค่าเนื่องจากจะลดเวลาการเดินเรือไม่ได้มากนัก เพราะเรือต้องลดความเร็วขณะแล่นผ่านคลอง
กระนี้ อีกทั้งอาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมามาก สอดคล้องกับการศึกษาครั้งอื่น ๆ ที่เคยทํามา
ไทยต้องรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ
จากทั้งสองเรื่องที่จีนพยายามอย่างไม่ลดละให้ไทยดําเนินนโยบายที่ตอบสนองต่อความต้องการ
จีน ก็เข้าใจได้ว่าทั้งสองโครงการนี้มีความสําคัญต่อแผน OBOR เป็นอย่างมาก ซึ่งหากจีนยังคงมีความ
พยายามเช่นนี้อยู่ก็ต้องศึกษาให้มากขึ้นว่าเพราะเหตุใดจีนจึงมีท่าทีเช่นนี้
สิ่งที่เราต้องทําคือการมองการเข้ามาของจีนให้ครอบคลุมในมิติความมั่นคงและการเมืองด้วย
อย่าจํากัดเพียงด้านเศรษฐกิจดังที่จีนมักจะชูเป็นประเด็นนําอยู่เสมอ เช่น หากระเบิดเกาะแก่งในแม่นํ้า
โขงจนเดินเรือขนาดใหญ่ได้ ในอนาคตหากทะเลจีนใต้เกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะหากจีนและ
สหรัฐฯ เกิดปะทะกันโดยตรง แม่นํ้าโขงที่มีบางส่วนอยู่ในบริเวณเขตแดนไทยก็จะกลายเป็นจุดเสี่ยงที่จะ
ได้รับผลกระทบไปด้วยเนื่องจากอาจเป็นทางผ่านของเรือรบจีน ส่วนในบริเวณคลองคอดกระก็
เช่นเดียวกัน เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าคลองนี้จะไม่กลายเป็นจุดยุทธศาสตร์สําคัญหากเกิดความขัดแย้ง
ขึ้นในภูมิภาค ซึ่งไทยจะพลอยได้รับผลกระทบไปด้วย
17
บทอภิปราย
18
พลโท สุรสิทธิ์ ถนัดทาง รองผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
หากมองตามมุมของยุทธศาสตร์ศึกษาแล้ว ภูมิยุทธศาสตร์ของไทยถือเป็นจุดที่สําคัญมากที่สุด
จุดหนึ่งของโลก แน่นอนว่าพลังอํานาจทางภูมิศาสตร์แขนงหนึ่งคืออํานาจทางทหาร แม้ OBOR จะมีนัย
ยะการสร้างระบบโลจิสติกส์เชื่อมโลกไว้เพื่อเป้าหมายทางเศรษฐกิจ แต่โลจิสติกส์นี้หมายรวมถึง supply,
transport, service และ port ซึ่งอยู่ในเรื่องของทหารด้วยเช่นกัน OBOR จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง
ยุทธศาสตร์ทางทหารทั่วโลกแน่นอน โดยเฉพาะกระทบมากต่อไทย เพราะประเทศไทยมี 2 port สอง
ทะเล หากเราไปศึกษาการฝึกร่วมสามเหล่าทัพ จะเห็นว่าเราสามารถถูกปิดอ่าวด้วยเรือดํานํ้าหนึ่งหรือ
สองลําตรงบริเวณอ่าวแหลมยวนก็ยากที่จะรับมือได้หากไม่มีเรือดํานํ้าไว้ต่อกรด้วย
ในปัจจุบันน่ายินดีว่ารัฐบาลเห็นความสําคัญของการผลิตอาวุธเอง ที่ผ่านมาเราถูกชาติตะวันตก
ครอบงําทางความคิดมาตลอดว่าเราไม่มีศักยภาพที่จะผลิตอาวุธเองได้ ในอดีตเราสามารถผลิตอากาศ
ยานได้เองด้วยซํ้าไป โดยเฉพาะภายใต้โครงการ MAPS ในปี ค.ศ. 1950 ที่สหรัฐมอบอาวุธให้ไทยจนเรา
ไม่คิดที่จะสร้างศักยภาพทางอาวุธเอง แต่หลังจากนี้นั้นคาดว่าน่าจะมีการร่วมมือกับทางการจีนภายใต้
โครงการ OBOR และธนาคาร AIIB เพื่อร่วมลงทุนในการสร้างศูนย์กลางการซ่อมบํารุงทางยานพาหนะ
และยุทโธปกรณ์ในประเทศไทย ซึ่งยังครอบคลุมไปถึงด้านที่เกี่ยวกับภาคพลเรือน เช่น Search &
Rescue และการจัดส่งกําลังคน เป็นต้น ข้อดีอย่างหนึ่งของทหารคือการมี Multi Skills เช่น ทหาร
สามารถขับบรถบรรทุกชานตํ่าได้ชํานาญมาก ซึ่งเป็นทักษะที่จะเป็นประโยชน์ต่อการขนส่งสินค้าภายใน
พลเรือนได้ ฉะนั้นต้องคิดว่าทําอย่างไรการอบรมนี้จึงจะมีไปถึงภาคประชาชนด้วย โดยที่ใช้ทหารเป็นผู้
ฝึกสอนเนื่องจากมีความชํานาญเป็นพิเศษ
ในส่วนงบประมาณทางทหารนั้น เป็นเรื่องน่ายินดีเช่นกันที่มีความเข้าใจถึงความจําเป็นที่ต้อง
เพิ่มงบประมาณ ที่ผ่านมาทหารมักถูกโจมตีโดยตลอดว่าซื้ออาวุธบ่อยเกินไป ความเป็นจริงแล้วแทบไม่
มีปีใดเลยที่งบประมาณทางทหารนั้นสูงเกิน 2% ของ GDP ที่จําเป็นต้องเพิ่มงบประมาณนั้นก็เพื่อการ
ลงทุนอันจะเป็นประโยชน์ต่ออนาคต หากเราสร้างความพร้อมได้เร็วและมีความทันสมัย เราสามารถที่จะ
ประกาศเป็นตัวกลางร่วมกับมาเลเซียเพื่อเป็น Defense Industrial Hub ซึ่งเรามีศักยภาพในบางด้าน
เช่น การผลิตและปรับแต่งอาวุธปืนที่ไทยได้รับการยอมรับในฝีมือ
ส่วนเรื่องที่มาเลเซียจะสร้าง Land Bridge นั้นมีข่าวมานานแล้ว เราเคยมีความร่วมมือกับ
สถาบัน CSIS ของมาเลเซียโดยมีนักวิจัยจากจีนมาร่วมด้วยในประเด็นเกี่ยวกับ Maritime Research ซึ่ง
เรามีภูมิศาสตร์และทรัพยากรทางนํ้าที่ดี สามารถต่อยอดได้ เช่น สามารถสร้างศูนย์กลางอาหารทะเล
ของภูมิภาคได้ ในเรื่องนี้สามารถใช้หน่วยงานของมหาวิทยาลัยและกองทัพเรือในการร่วมกันวิจัยได้ โดย
19
สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นหากต้องการให้เกิดขึ้นจริงแล้ว สิ่งสําคัญที่สุดคือการพัฒนาศักยภาพของคนไทย
เพราะเรามีภูมิศาสตร์ที่ดีช่วยในเรื่องโลจิสติกส์อยู่แล้วทําให้ได้เปรียบเพื่อนบ้าน
ในส่วนการขุดคลองไทยหรือคลองคอดกระนั้น แม้จะมีช่องแคบมะละกาที่เป็นทางเดินเรือปกติ
อยู่แล้วแต่นั่นเป็นทางเดินเรือนานาชาติ หากขุดคลองไทยแล้วจะกลายเป็นคลองที่อยู่ในความควบคุม
ของไทย และที่สําคัญต้องมีมหาอํานาจที่คอยเป็นพันธมิตรที่ประกันความปลอดภัยให้เรา ซึ่งการขุด
คลองทําให้ทะเลทั้งสองฝั่งเชื่อมต่อกันได้และเป็นประโยชน์ต่อกองทัพเรือไทย ส่วนเหตุที่ทางการจีน
ต้องการให้ไทยขุดคลองเป็นอย่างมากนั้น เพราะจีนต้องการสร้างทางเลือกฉุกเฉินไว้เมื่อวันหนึ่งอาจจะ
ไม่สามารถเดินเรือผ่านช่องแคบมะละกา ที่สําคัญคือต้องทําให้ประเทศไทยเข้มแข็ง การทูตเข้มแข็ง ซึ่ง
การทูตไทยถือว่าดีมากมาโดยตลอด จะทําให้เราไม่ต้องเกรงกลัวชาติอื่น ๆ อีกทั้งต้องใช้กําลังทหารที่มี
ในการฝึกอบรมทักษะที่จําเป็นแก่พลเรือนอีกด้วย
นาย บรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการ บริษัท ทุนภัทร จํากัด (มหาชน)
ความสําเร็จของประเทศจีนก็ต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะการปฏิรูประบบเศรษฐกิจในปี
1979 โดย เติ้ง เสี่ยวผิง จากระบบปิดภายใต้คอมมิวนิสต์มาสู่ระบบเปิดที่อิงกับตลาดเสรีโลกมากขึ้น ใน
ตอนนั้น GDP ต่อหัวประชากรของจีนอยู่ที่ราว 184 เหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าไทยราวสามเท่า
แต่ในปัจจุบันจีนสามารถยกระดับ GDP มากกว่าไทยได้สําเร็จ จนไทยต้องหันกลับไปมองดูว่าจีนมี
รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างไร สิ่งที่ต้องระวังคือการกําหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจแม่บทจาก
ส่วนกลาง (centrally planned economy) ในบริบทของจีนนั้นอาจไม่สําเร็จหากนํามาใช้ในประเทศไทย
อีกทั้งแผนของจีนเองก็ไม่สําเร็จอยู่ในหลายส่วน ซึ่งน่ากังวลว่าแผนที่รัฐบาลวางไว้ในลักษณะเป็น
กฎหมายที่มีผลบังคับนั้นจะเหมาะสมหรือไม่ เพราะแม้แต่แผนของประเทศจีนเองก็ไม่ได้มีลักษณะเป็น
กฎหมาย แต่มีการทบทวนและปรับปรุงแผนอยู่ตลอดเวลา รวมถึงเปิดให้เอกชนเข้ามามีบทบาทในการ
กําหนดทิศทางมากขึ้นเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ซึ่งสวนทางกับทิศทางของไทยที่นับวันยิ่งเพิ่มอํานาจ
รัฐ ในช่วงแรกของการเพิ่ม GDP อาจจะเน้นการวางแผนจากส่วนกลางได้ แต่เมื่อใดที่ตลาดโตมากขึ้น
แล้วก็ต้องพึ่งบทบาทของตลาดให้มากขึ้น
หนึ่งในแผนของรัฐบาลที่มีบทบาทมากคือ Eastern Seaboard 2 ที่เป็นการพัฒนาต่อเนื่องจาก
โครงการเดิมซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประชาชนมีรายได้สูงอยู่แล้ว จะเห็นได้ว่าเราเน้นไปที่การพัฒนาเชิงโครงสร้าง
และเชิงพื้นที่มาก แต่กลับมีการพัฒนาเชิงระบบและสถาบันน้อย เช่น การปรับปรุงกฎหมายที่มีความล้า
หลังและไม่เกิดประโยชน์ ในขณะที่ทั่วโลกกําลังลดกฎหมายลง เช่น นโยบายของ โดนัล ทรัมป์ ที่ชื่อ
‚one in, two out‛ ซึ่งให้หน่วยงานที่จะเพิ่มระเบียบใด ๆ ก็ตาม 1 ระเบียบต้องลดระเบียบเดิมลง 2
20
ระเบียบ แต่ไทยกลับมีการเพิ่มกฎหมายขึ้นเป็นอย่างมาก ตัวอย่างกฎหมายที่ไม่เหมาะสมก็เช่น การ
ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (FBA) ที่ในแง่หนึ่งมองได้ว่าเป็นการกีดกันคนที่มีความสามารถเข้ามา
ทํางานในประเทศ
ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ประธานสถาบันคลังปัญญา และอธิการวิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
สิ่งที่สําคัญคือเราต้องมีการวางยุทธศาสตร์ที่ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ของชาติไทยอย่างแท้จริงมิใช่
ขึ้นอยู่กับสิ่งที่จีนเรียกร้อง นโยบายใดที่เห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ต่อไทยแม้จะเป็นที่ต้องการของจีนเราก็
ต้องปฏิเสธไป หรือเราอาจจะคิดนโยบายที่เป็นของเราเอง เช่น การเป็นศูนย์อาหารทะเลของโลกซึ่งจีน
ไม่มีความพร้อมเท่าเรา หรือเราจะเน้นไปที่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศซึ่งมิใช่อุตสาหกรรมแบบเดียวกับจีนก็
ได้ ส่วนเรื่องคลองคอดกระเราอาจจะคิดแบบ active คือสร้างกองทัพเรือให้เข้มแข็งเพื่อรักษาความ
มั่นคงในบริเวณคลองก็ได้ เพราะเราเป็นชาติทางทะเลที่มีจังหวัดทะเลอยู่ถึง 1 ใน 4 จังหวัด ซึ่งการที่ติด
ทะเลมากนี้เป็นยุทธศาสตร์ที่สําคัญมากขนาดว่าบางชาติต้องทําสงครามเพื่อสร้างทางออกไปยังทะเล
หรือถ้าคิดว่าไม่เหมาะสมที่จะทําคลองก็ไม่ต้องทําแม้จีนจะต้องการก็ได้
นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
‚รัฐต้องนําการพัฒนา‛ เป็นวาทะกรรมที่พูดกันมามากช่วงสองปีนี้ซึ่งถูกความสําเร็จของจีนนําให้
คิดไปเช่นนั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วบริบทของไทยกับจีนต่างกันมาก ทั้งในระบอบการปกครอง การนํา
จากรัฐ ระบบสังคม วิธีคิดแบบจีนนั้นแม้จะเป็นการวางแผนระยะยาวที่มีลักษณะกําหนดจากส่วนกลางก็
จริงแต่พร้อมจะปรับเปลี่ยนตลอดเวลาเช่นกัน ถ้าไทยจะทําแผนเช่นจีนบ้างต้องตระหนักว่าเนื้อหาของ
แผนสําคัญน้อยกว่ากลไกที่จะทําให้แผนเกิดผล ต่อให้แผนดีขนาดไหนก็ตามสิ่งที่ยากกว่าคือการสร้าง
กลไกที่ทําให้แผนเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม สิ่งหนึ่งที่รัฐต้องตอบโจทย์ให้ได้คือการวางแผนที่ทําให้เกิด
การลงทุนจากเอกชนอย่างต่อเนื่องโดยต้องโปร่งใสและถูกต้องด้วย ซึ่งต้องหาความสมดุลให้ได้ว่าสิ่งใด
รัฐควรกําหนดแนวทางและสิ่งใดควรเปิดเสรีให้เอกชนตัดสินใจเอง
ประเด็นที่สอง ที่น่าสนใจอีกด้านคือคลองคอดกระ ด้านหนึ่งคือมีชาติที่เป็นมหาอํานาจโลกเข้ามา
เจรจาต่อรองเนื่องจากต้องการผลประโยชน์จากที่ตั้งของประเทศ สิ่งที่ยากที่สุดคือกลไกของรัฐที่สามารถ
ตัดสินใจและทําประโยชน์ให้ส่วนรวมของประเทศจริง ๆ ไม่ใช่แค่กลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่มี
อิทธิพลต่อรัฐมากกว่าคนทั่วไป และจากการไปดูงานคลองปานามาพบว่าต้องมีประตูนํ้าเป็นระยะเพราะ
ระดับนํ้าจากสองฝั่งมหาสมุทรปรับเปลี่ยนตลอดเวลาและมีระดับไม่เท่ากัน บางระยะเรือไม่สามารถแล่น
ได้ต้องถ่ายของขึ้นรถบรรทุกแทน แสดงว่าการขุดคลองอาจจะไม่คุ้มในเชิงเศรษฐศาสตร์เพราะมีต้นทุน
สูง แต่เป็นไปได้ว่ามีผลประโยชน์ทางทหารแฝงอยู่หรือไม่
โอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาและเติบโตไปกับยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน
โอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาและเติบโตไปกับยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน
โอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาและเติบโตไปกับยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน
โอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาและเติบโตไปกับยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน
โอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาและเติบโตไปกับยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน
โอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาและเติบโตไปกับยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน
โอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาและเติบโตไปกับยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน
โอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาและเติบโตไปกับยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน
โอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาและเติบโตไปกับยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน
โอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาและเติบโตไปกับยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน
โอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาและเติบโตไปกับยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน
โอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาและเติบโตไปกับยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน
โอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาและเติบโตไปกับยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน
โอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาและเติบโตไปกับยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน
โอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาและเติบโตไปกับยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน
โอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาและเติบโตไปกับยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน
โอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาและเติบโตไปกับยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน
โอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาและเติบโตไปกับยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน
โอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาและเติบโตไปกับยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน
โอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาและเติบโตไปกับยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน
โอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาและเติบโตไปกับยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน
โอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาและเติบโตไปกับยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน
โอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาและเติบโตไปกับยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน

Contenu connexe

Plus de Klangpanya

Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKlangpanya
 
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdfการบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdfKlangpanya
 
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdfรร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdfKlangpanya
 
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdfปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdfKlangpanya
 
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....Klangpanya
 
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิชประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิชKlangpanya
 
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดีปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดีKlangpanya
 

Plus de Klangpanya (20)

Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdf
 
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdfการบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
 
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdfรร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
 
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdfปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
 
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
 
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิชประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
 
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดีปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
 

โอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาและเติบโตไปกับยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน

  • 2. การประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 5 โอกาสของประเทศไทยในการพัฒนาและเติบโตไปกับยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน จัดโดย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 30 มีนาคม 2560 รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.rsu-brain.com บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล ถอดความและเรียบเรียง : อุสมาน วาจิ ปลายฟ้า บุนนาค และปาณัท ทองพ่วง เผยแพร่: พฤษภาคม 2560 ที่อยู่ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
  • 3. สารบัญ หน้า บทนา ยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative ของจีนจะใช้เป็นโอกาสในการขับเคลื่อน 1 และกระตุ้นการพัฒนาศักยภาพของประเทศไทยได้อย่างไร ความก้าวหน้าและความมุ่งหวังของยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative ของจีน 8 และผลต่อเศรษฐกิจโลก และไทย ยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative กับความท้าทายที่ไทยต้องเผชิญ 13 บทอภิปราย 17 ภาคผนวก รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม 43
  • 4. บทนา เมื่อวันพุธที่ 30 มีนาคม 2560 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จัดเวทีประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 5 เรื่อง โอกาสของประเทศไทยในการ พัฒนาและเติบโตไปกับยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน ณ โรงแรมหัวช้าง เฮอริเทจ ราชเทวี โดยมีนักยุทธศาสตร์ นักนโยบาย นักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายวงการ และสาขาอาชีพเข้าร่วมระดมสมองเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มใหม่ของโลกและสังคมไทย และ ร่วมกันเสนอแนวทางพัฒนายุทธศาสตร์ชาติระยะยาว เพื่อให้ประเทศไทยมียุทธศาสตร์ชาติเป็นกรอบใน การพัฒนาประเทศอย่างมีทิศทาง เป็นองค์รวม และเตรียมพร้อมประเทศเพื่อตอบรับกับความ เปลี่ยนแปลงในอนาคต ในการนี้สถาบันคลังปัญญาฯ จึงได้จัดทํารายงานสรุปเนื้อหาการประชุมครั้งนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่ เป็นความรู้สู่สังคม ผู้กําหนดและตัดสินใจทางนโยบาย บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ในห้วงที่กําลังมีความพยายามปฏิรูปครั้งใหญ่เกิดขึ้นในประเทศไทยอยู่นี้
  • 5. 1 ยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative ของจีนจะใช้เป็นโอกาสในการขับเคลื่อน และกระตุ้นการพัฒนาศักยภาพ ของประเทศไทยได้อย่างไร คุณวิบูลย์ คูสกุล อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง
  • 6. 2 การจัดเวทีเรื่อง OBOR ครั้งนี้นับว่าทันสมัยมาก เพราะช่วงกลางเดือนเมษายน 2560 นี้จีนจะ จัดประชุมสุดยอดเรื่อง OBOR เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งที่ 19 ของจีน อัน จะเป็นการประกาศให้โลกรู้ว่า OBOR คือ Grand Strategy หนึ่งที่สําคัญมากของจีนในยุคที่สีจิ้นผิงกําลัง กระชับอํานาจ โดยภายหลังทรัมป์ก้าวขึ้นมาในอเมริกา ทําให้โลกคาดหวังกับบทบาทของจีนในกิจการ โลกมากขึ้น ซึ่งก็จะทําให้ One Belt One Road ยิ่งทวีความสําคัญมากขึ้นไปอีก จีนนั้นต้องการให้เรียก One Belt One Road ว่า “ความริเริ่ม” มากกว่า “ยุทธศาสตร์” อย่างที่ใน ภาษาอังกฤษใช้คําว่า initiative หรือในภาษาจีนใช้ว่า ชั่งอี้ เพราะทําให้รู้สึกเปิดกว้างต่อประเทศอื่นๆ ให้ เข้ามามีส่วนร่วมมากกว่า และในความจริง OBOR หรือนโยบายสําคัญอื่นของจีนก็เป็นยุทธศาสตร์ในตัว อยู่แล้ว จึงไม่มีความจําเป็นต้องเรียกว่ายุทธศาสตร์อีก ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ OBOR เกิดขึ้นในปี 2013 เพื่อเป็นการตอบโต้ (antithesis) ต่อนโยบาย Pivot ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อมา เป็น Rebalance to Asia ที่โอบามาประกาศเมื่อปี 2012 เนื่องจากสหรัฐพยายามสร้างภาพว่าจีนคุกคาม เพื่อนบ้าน โดยเฉพาะกับอาเซียนในเรื่องทะเลจีนใต้ และพยายามเข้ามาใช้กฎเกณฑ์ต่างๆ (rule-based) เช่น ผลักดันเรื่องการร่าง code of conduct หรือ declaration of conduct ในทะเลจีนใต้ ผ่านอาเซียน เพื่อบีบจีน จีนจึงตอบโต้ว่าตนก็สามารถมีความสัมพันธ์แบบได้ประโยชน์ร่วมกัน (win-win) กับเพื่อน บ้านในแถบนี้ได้ โดยเสนอ One Belt One Road ให้มีชื่อที่เป็น soft sell ให้ทุกคนฟังแล้วรู้สึกนุ่มนวล ไม่มีเชิงคุกคาม เป็นเรื่องของการค้า การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมล้วนๆ โดยที่ต้องการใช้ภาพลักษณ์ สมัยโบราณของเส้นทางสายไหม ซึ่งเป็นการเกื้อประโยชน์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในแถบน่านนํ้า ต่างๆ ที่จีนไป เช่น กรณีเจิ้งเหอ ที่เดินเรือ 7 ครั้ง แวะสยามอย่างน้อย 3 ครั้ง หรือตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด คือ One Belt One Road สามารถเป็นความสัมพันธ์แบบ win-win ได้ คือในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นยุคที่ การค้าสําเภาเฟื่องฟูที่สุด เราส่งข้าวหอม ไม้สัก รังนก ไปจีน จีนส่งเครื่องลายคราม กังไส ใบชา มา ก็ เป็นสิ่งที่เกื้อกูลกัน เพราะฉะนั้น ชื่อเส้นทางสายไหม (silk road) จึงเป็นภาพลักษณ์ด้านบวกที่จีน นําเสนอ และหลังจากนั้น เราก็ได้เห็นว่าจีนมีนโยบายอื่นๆ ตามมาอีกมาก เช่น นโยบายเดินออกไป เดิน ออกสู่อาเซียน (โจ่วชูชวี่) (Go Global) มี RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership) ตามมาเพื่อตอบโต้ต่อข้อตกลง TPP (Trans-Pacific Partnership) ของสหรัฐในเวลานั้น โดยสรุป OBOR จึงทําหน้าที่เป็น antithesis ต่อนโยบายหวนคืนสู่เอเชียของอเมริกา โดยจีนต้องการให้เกิด spillover effect ทางเศรษฐกิจจาก OBOR เพื่อมากลบความเข้มข้นทางการเมืองในทะเลจีนใต้และในเอเชีย
  • 7. 3 อีกมุมมองหนึ่งต่อ One Belt One Road คือเกิดขึ้นเพื่อหาทางออกให้กับปัญหา over- capacity ของเศรษฐกิจจีน โดยเฉพาะภาคธุรกิจก่อสร้าง เหล็กกล้า และทุนสํารองเงินตราต่างประเทศ ที่มากถึงเกือบ 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ จีนจึงต้องการระบาย capacity เหล่านี้ออกนอกประเทศ การมอง นี้ก็มีส่วนจริง One Belt One Road เป็นยุทธศาสตร์ที่รอบด้านอย่างแท้จริง ที่มิได้เกิดขึ้นเพื่อสนอง วัตถุประสงค์สองข้อข้างต้นเท่านั้น แต่ถูกออกแบบมาเป็นยุทธศาสตร์เพื่อรองรับเป้าหมาย China Dream ของจีน ที่จีนตั้งเป้าจะทําในสองระยะ ระยะแรก เป็นสังคม “เสี่ยวคัง” กินดีอยู่ดีปานกลาง มี GDP ต่อหัวถึง 10,000 เหรียญสหรัฐ และจะทําให้คนชั้นกลางเพิ่มจาก 200-250 ล้านเป็น 500 ล้านคน ซึ่งประเมินจากเวลานี้ก็น่าจะเป็นไปได้ ภายในปี 2021 ซึ่งเป็นปีครบร้อยปีการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ จีน (เพิ่มเท่าตัวจากปี 2010 ที่มี GDP อยู่ที่ 5,000 เหรียญต่อหัว และเวลานี้จีนมีคนจนอยู่ 70 ล้านคน) และในระยะที่สองจะเป็นประเทศพัฒนาเต็มขั้นในปี 2049 ซึ่งครบร้อยปีการก่อตั้งสาธารณรัฐ ประชาชนจีน ให้จีนมีคนชั้นกลางเพิ่มขึ้นจนเกินครึ่งหนึ่งของประชากร ดังนั้น One Belt One Road จึงมี ฐานะเป็นยุทธศาสตร์รองรับการก้าวไปสู่ความฝันของจีนดังกล่าวมานี้ด้วย เพราะโครงการต่างๆ ของ OBOR นั้นเป็นโครงการขนาดยักษ์ที่ต้องใช้เวลาดําเนินการถึง 30-50 ปี สอดคล้องกับช่วงเวลาที่กําหนด ของความฝันจีน เพราะฉะนั้น ถ้าจีนจะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ในปี 2049 ซึ่งเป็นขั้นที่สองของ Chinese Dream นั้น ก็มี ยุทธศาสตร์รวมของ One Belt One Road มารองรับ เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะเป็น มหาอํานาจแล้วไม่มียุทธศาสตร์เลย หรือไม่มีการ engage กับโลกภายนอกทางด้านเศรษฐกิจอย่างเต็ม รูปแบบ สรุปคือ OBOR เป็นส่วนหนึ่งของการสานฝันสู่ Chinese Dream ของจีน ซึ่งก็เทียบเคียงได้กับ สมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งเป็นยุคที่จีนเฟื่องฟูที่สุด จีนวันนี้ก็ต้องการ rejuvenate ประเทศเขากลับไปสู่ยุคที่ ยิ่งใหญ่ที่สุด โดยมี One Belt One Road เป็นยุทธศาสตร์ใหญ่ และตั้ง Chinese Dream ขึ้นมาเป็น เป้าหมายที่จะเดินไปสู่ นอกจากเส้นทางสายไหมใหม่ทางบกและทางทะเลแล้ว One Belt One Road ยังหมายถึง E- Road หรือการเชื่อมโยงการค้าขายผ่านอินเทอร์เน็ตด้วย ซึ่งมิได้เพียงข้ามพรมแดน แต่ไร้พรมแดน กลไกภายใต้ One Belt One Road แม้สิ่งที่จีนพูดไปเรื่อง OBOR นั้นจะฟังดูเป็นแนวคิด แต่จีนไม่ได้พูดเท่านั้น เพราะตามมาด้วย AIIB (Asian Infrastructure Investment Bank) Silk Road Fund และ New Development Bank สําหรับ AIIB มีการลงนามไปแล้ว 21 ประเทศและพันธมิตรของอเมริกาก็มาร่วมหมด ถ้า One Belt One Road เป็นแนวคิด เป็นยุทธศาสตร์ AIIB ก็คือกลไกขับเคลื่อนที่แท้จริง โดยมีทุนประมาณ
  • 8. 4 หนึ่งแสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ในจํานวนนี้จีนลงไป 50,000 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งความจําเป็นในการตั้ง AIIB นี้ จีนอ้างอิงข้อมูลจาก ADB (Asian Development Bank) ที่บอกว่าภายใน 10 ปี ความต้องการใช้เงินใน การสร้างโครงสร้างพื้นฐานในเอเชียมีถึงประมาณ 8 ล้านล้านเหรียญ อย่างไรก็ตาม แต่ละปี ADB อนุมัติ เงินอยู่ที่ 13,000 ล้านเหรียญ ความต้องการใช้เงินด้านโครงสร้างพื้นฐานจากปี 2010-2020 เฉลี่ยต่อปีอยู่ ที่ปีละ 750,000 เหรียญ ซึ่งในแง่หนึ่ง กล่าวได้ว่า AIIB เป็น antithesis ต่อ ADB จากที่ในอดีต ADB เป็นผู้กําหนดกฎระเบียบด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ตอนนี้จีนก็ต้องการทําบ้างผ่าน AIIB นอกจาก AIIB แล้ว กลไกทางการเงินของ OBOR ยังมีกองทุนเส้นทางสายไหม (Silk Road Fund) ซึ่งมีเงินทุนประมาณ 40,000 ล้านเหรียญ และ New Development Bank ของกลุ่มBRICS ซึ่งมี เงินทุนอีกประมาณ 100,000 ล้านเหรียญ ความต่างระหว่าง AIIB กับ Silk Road Fund คือ AIIB ให้กู้ เงินทําโครงการ ส่วน Silk Road Fund ใช้สําหรับการไปลงทุนโดยตรงของจีนเองในโครงการที่กําลังจะ ขาดเงิน เพราะฉะนั้น OBOR จึงไม่ใช่แค่เพียงแนวคิดลอย ๆ แต่ตามมาด้วยกลไกเหล่านี้ ไทยต้องทาอะไรเพื่อให้ได้ประโยชน์จาก OBOR เต็มที่ ในสามก๊กสอนว่าหนทางสู่ความสําเร็จต้องประกอบด้วย 3 สิ่งที่สําคัญ คือ 1) เทียนสือ (天时) คือ จังหวะและโอกาส 2) ตี้ลี่ (地利) คือชัยภูมิ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ 3) เหรินเหอ (人和) คือปัจจัย เรื่องคน ประการแรก จังหวะในช่วงที่จีนมี OBOR ไทยโชคดีมากที่มียุทธศาสตร์ EEC (Eastern Economic Corridor โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก) ซึ่งเป็นรูปเป็นร่างแล้ว และ กําลังจะผ่านออกเป็นร่างพระราชบัญญัติ EEC ถือว่าเราได้จังหวะที่ถูกต้อง และโครงการ EEC ของเรา ไม่ใช่เพิ่งนับหนึ่ง แต่พัฒนาขึ้นมาจาก ESB หรือ Eastern Seaboard ซึ่งไทยใช้ทํามาหากินมา 30 ปี แล้ว นอกจากนี้ นโยบาย 4.0 และนโยบายอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีในอนาคตที่รัฐบาลประกาศก็เข้า จังหวะกับ OBOR ที่จีนเดินออกมาได้พอดี ประการที่สอง เราได้เรื่องตี้ลี่ คือเราอยู่ในชัยภูมิที่ถูกต้อง ในจังหวะที่จีนมีนโยบายโจ่วชูชวี่ (Go Global) นโยบายเดินออกสู่อาเซียน ก็เจอไทยและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อยู่ตรงนี้ พอดี ความจริงเรายังมี connectivity ของอาเซียนไว้แล้วด้วยซํ้าไป สรุปคือ เราได้ตี้ลี่ คือชัยภูมิ เรามี โครงการ EEC เราวางตัวเราเองให้เป็นประตู (gateway) ของ AEC ที่ OBOR ของจีนจะมาบรรจบ ซึ่ง OBOR นั้นที่จริงมี 3 เส้นใหญ่ คือ 1) จากจีน ผ่านเอเชียกลาง ผ่านรัสเซีย ไปสู่ยุโรป 2) จากจีน ผ่าน เอเชียกลาง ไปสู่ตะวันออกกลาง เส้นนี้คนไม่ค่อยพูดถึงแล้ว เพราะมีปัญหามาก ส่วนเราอยู่ในเส้นที่ 3)
  • 9. 5 คือจากจีน ลงมาทางใต้ มาสู่เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะฉะนั้น เราอยู่ในชัยภูมิที่ดี และ เราก็มีโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ที่ไม่ได้เริ่มจากศูนย์ แต่มีพื้นฐานจาก Eastern Seaboard เตรียมพร้อมไว้แล้ว อยู่ที่ว่าเราจะวางตัวอย่างไรเพื่อจะเพิ่มมูลค่าให้กับที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และข้อได้เปรียบอื่นที่เรามีอยู่ ประการสุดท้าย ที่คนจีนเชื่อว่าเป็นปัจจัยของความสําเร็จ คือ เหรินเหอ หรือปัจจัยเรื่องคน แบ่งเป็น 3 ข้อ 1) สังคมเราต้องอยู่ด้วยกันให้ได้ก่อน อันที่จริง สําหรับปัจจัยเรื่องคน ไทยเราได้เปรียบ มาตลอด เราเป็นสังคมพุทธ เราเป็นสังคมที่ “เปาหรง” สําหรับจีน คือไม่มีปัญหาในเรื่องความกลมเกลียว กัน ในอดีต ตอนเปิดความสัมพันธ์ระหว่างกัน จีนก็มองว่าเราเป็น “ต้นแบบ” ของนโยบายผสมกลมกลืน คนในสังคม (assimilation/integration) ที่ประสบความสําเร็จ และต้องการให้ชาติอาเซียนอื่นๆ ดูเป็น ตัวอย่าง ในแง่ที่หนึ่งนี้ เราได้เปรียบเรื่องเหรินเหอ 2) จากนี้ไปคนไทยต้องอยู่กันอย่างสามัคคีให้ได้ โดย ไม่มีปัญหาเรื่องการเมืองแตกแยกกันอีก 3) คือ ต้องดึงดูดนักลงทุนและผู้มีความสามารถระดับสูง ไม่ เฉพาะจากจีน แต่จากทั่วโลกเข้ามาทํางานในไทยในอุตสาหกรรมเป้าหมายแห่งอนาคตที่เราตั้งเป้าไว้ โดยกําหนดมาตรการดึงดูดคนเก่งเหล่านี้ไว้ใน พ.ร.บ. EEC ที่น่าจะผ่านออกมาในกลางปี 2560 นี้ ที่ สําคัญที่สุดคือการลดภาษีเงินได้ส่วนบุคคลแก่บุคลากรต่างชาติที่มีความสามารถสูง ระดับผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิจัยที่เข้ามาทํางานในอุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษของ EEC ลงเหลือ 17% จากที่เป็นอยู่คือ 35% ซึ่งการเก็บภาษีในอัตราเดิมทําให้คนเก่งในอุตสาหกรรมอนาคต 4.0 และคนทั้งหลาย เลือกทํางานที่สิงคโปร์ ซึ่งเก็บภาษีเงินได้คนเหล่านี้อยู่ที่ประมาณ 17% แล้วจึงค่อย เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยในวันสุดสัปดาห์ ดังนั้น การจะดึงคนเหล่านี้เข้ามาก็ต้องมีมาตรการจูง ใจ ซึ่งรัฐบาลทําถูกที่กําลังผลักดัน พ.ร.บ.ว่าด้วย EEC นี้ ความจริงในการดึงดูดคนเก่งและทุนจาก ต่างชาตินี้ ยังมี พ.ร.บ. อีก 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน (ฉบับปรับปรุงใหม่) กับพระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน แต่ที่จะมีผลมากก็คือ พ.ร.บ.ว่า ด้วย EEC ฉบับดังกล่าว ซึ่งก็น่าจะผ่านได้ภายในกลางปีนี้ มาตรฐานการพิจารณาโครงการความร่วมมือใดๆ กับจีนนั้น ควรคํานึงว่าจะต้องสอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ วาระ และประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย และต้องมีความเป็นไปได้ทางธุรกิจ เพราะ OBOR และ กลไกขับเคลื่อนคือ AIIB และ Silk Road Fund นั้นไม่ใช่โครงการความช่วยเหลือระหว่างประเทศ แต่ ดําเนินการแบบ professional โดยคํานึงถึงผลประโยชน์แบบ win-win โจทย์ใหญ่ของเราคือ ตอนที่เรา วาง position ตัวเราเอง เราต้องรู้ว่าเราต้องการทําอะไร หรือต้องการดึงเทคโนโลยีอะไร ที่เป็นเทคโนโลยี ในอนาคตที่ประเทศเราต้องการ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาในภาพรวมของเรา เช่น ใน โครงการ EEC เราก็ต้องมาดูว่าเรายังต้องการเทคโนโลยีส่วนไหนอีก เช่นอาจจะเป็นรถพลังงานไฟฟ้า
  • 10. 6 (Electric Vehicle: EV) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ หรือชิ้นส่วนอากาศยาน แน่นอนว่าในการขอเงินจาก AIIB มาทําโครงการย่อมมีปัจจัยเรื่องการเมืองด้วย แต่หากเรื่องที่เสนอนั้นผลประโยชน์สองฝ่ายสอดคล้องกัน และเป็นไปได้ทางธุรกิจ ก็มีโอกาสกู้เงินจากจีนได้ สมมติว่าเราต้องการซื้อยานพาหนะที่ใช้พลังงานไฟฟ้า (EV) แล้วจีนมีเทคโนโลยีทางด้านนี้อยู่ ถ้าเป็นแบบนี้ก็เป็นไปได้ว่าเขาจะปล่อยให้กู้ เพราะสอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์สองฝ่าย และเป็นไปได้ทางธุรกิจ อยากจะฝากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องว่าไม่ใช่อยู่ๆ ใครจะไป เสนอโครงการอะไร แล้วบอกว่าไม่มีทางที่จีนจะให้เงิน โครงการที่จะสําเร็จได้จะต้องเป็นโครงการที่ เป็นไปได้ทางธุรกิจ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของทั้งประเทศผู้ให้และประเทศผู้รับ ถึงจะยั่งยืนได้ ซึ่ง ข้อนี้จะตอบคําถามได้ว่าเพราะเหตุใดโครงการรถไฟไทย-จีนจึงมีปัญหา เนื่องจากโครงการนั้นสนอง ยุทธศาสตร์ฝ่ายเดียว คือของจีน จึงไม่สําเร็จ เราต้องตระหนักว่า แม้ไทยจะอยู่ในฐานะที่ได้เปรียบในอาเซียน ทั้งเรื่องความพร้อมและชัยภูมิ ดังกล่าวมา แต่เราก็มีคู่แข่งอยู่หลายประเทศที่ต้องการจะเอาประโยชน์จากจีนเช่นกัน การที่จีนเปิด ประเทศ ใช้นโยบายเดินออกมาสู่เพื่อนบ้านและโลกครั้งนี้ เขาไม่ได้ให้ไทยเราผูกขาดอยู่ประเทศเดียว และไม่ใช่ว่าที่ตั้งเราดีแล้วเราจะยอดเยี่ยมอยู่ประเทศเดียว ประเทศอื่นๆ ก็ต้องพยายามหาทางของเขา เช่นกัน ล่าสุด มาเลเซียได้เงินกู้จากธนาคาร EXIM Bank จีนกว่าสี่แสนล้านบาท ในการสร้างเส้นทาง รถไฟ East Coast Rail Road Link เชื่อมเป็น land bridge จากท่าเรือเคลัง (Klang) ด้านทะเลอันดามัน ยาว 620 กิโลเมตร มายังท่าเรือกวนตัน (Kuantan) ด้านอ่าวไทย ความน่าสนใจคือ ถ้าหากโครงการนี้ทํา ได้ภายใน 5 ปี ก็จะเกิดเป็น land bridge bypass ช่องแคบมะละกา และสิงคโปร์ได้ รถไฟสายนี้จะ สามารถขนสินค้าจากท่าเรือเคลังข้ามฝั่งมายังด้านกวนตัน และขึ้นเรือขึ้นไปถึงเมืองเซินเจิ้นของจีนได้ ทีเดียว (ดังภาพ) ดังนั้น บทเรียนจากมาเลเซียในกรณีนี้คือ เรามีคู่แข่ง เราจะต้องทําตัวเราให้เป็นที่ น่าสนใจ น่าดึงดูด นอกจากมาเลเซีย ก็ยังมีสิงคโปร์ เวียดนาม เป็นคู่แข่งในการดึงดูดทุนจากจีนด้วย โครงการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติของเรา อย่าง Eastern Seaboard นั้น เราหากินมา 30 ปีแล้ว หมดมนต์ขลังแล้ว หากรัฐบาลนี้ทําโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ให้ได้ผลจริง จะเป็น มรดกชิ้นสําคัญของรัฐบาลนี้ได้
  • 11. 7 ความจริง One Belt One Road ไม่ได้มีแต่เส้นทางทางบก (Belt) กับ เส้นทางทางทะเล (Road) ยังมี E-Silk Road ด้วย เพราะตั้งแต่ประกาศแผนเมื่อปี 2013 ทุกอย่างในจีนก็พูดกันเป็น E หมดแล้ว เช่น E-commerce เป็น digital เป็น mobile internet หมด ประเด็นคือใน OBOR มีมิติของ E-Road ด้วย และในมิติของ E-Road นั้น ทุกอย่างข้ามพรมแดน ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ก็อาจจะไม่ทําให้เป็นต่อได้ เท่าไร เหมือนกับสมัยหนึ่งในสหรัฐ บริษัทใหญ่ต่างขายที่ในแมนฮัตตันแล้วย้ายออกไปหมด เพราะทุก อย่างสื่อสารกันด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ทําเลที่ดีไม่จําเป็นอีกต่อไป เราก็ควรตระหนักในเรื่องนี้ไว้ด้วย เร็วๆ นี้มีประเด็นเรื่องไทยกับมาเลเซียแย่งกันให้อาลีบาบาไปลงทุน ผมก็ถามแจ็ค หม่าไปใน WeChat เขาก็ ตอบมาว่า อาลีบาบามาไทยแน่นอน มีความคืบหน้าในส่วนของเขา แต่ก็กระตุ้นให้รัฐบาลไทยเร่งมือใน ส่วนของเราด้วย มีการกําหนดสถานะให้ 18 มณฑลของจีนเป็น ‚มณฑล Silk Road‛ มณฑลต่างๆ ที่ได้ถูก กําหนดให้เป็นมณฑลเส้นทางสายไหมทั้งทางบกและทางทะเลก็จะสามารถมีนโยบายที่เปิดกว้างและเป็น อิสระ เชื่อมต่อกับภายนอกได้มากขึ้น เช่น ไทยสมายล์กําลังพยายามจะเปิดเส้นทางบินกรุงเทพ-เจิ้งโจว (Zhengzhou) (มณฑลเหอหนาน)
  • 12. 8 ความก้าวหน้าและความมุ่งหวัง ของยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative ของจีน และผลต่อเศรษฐกิจโลก และไทย คุณโจ ฮอร์น พัธโนทัย กรรมการอานวยการบริษัท Strategy 613 จากัด
  • 13. 9 นโยบายด้านเศรษฐกิจของจีนนั้นใช่ว่าจะประสบความสําเร็จทุกนโยบาย หลายนโยบายก็ไม่ สําเร็จ นโยบาย OBOR เป็นนโยบายระยะยาว คล้ายกับนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันตกของจีนที่ กว่าจะทําได้นั้นต้องใช้ระยะเวลานาน นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันตก ต้องรอให้ค่าแรงที่เมือง กวางเจา และเซี่ยงไฮ้ สูงขึ้นจริงๆ ก่อน กลุ่มภาคเอกชนจึงยอมย้ายไปลงทุนด้านตะวันตก นโยบาย OBOR จึงเป็นนโยบายที่ต้องใช้เวลาในการติดตาม อย่างไรก็ตาม เชื่อว่านโยบาย OBOR จะเป็น นโยบายที่ประสบความสําเร็จ เพราะเบื้องหลังเศรษฐกิจจีน มีการแก้ไขและปรับตัวได้ดี โดยปัจจุบัน รัฐบาลจีนกําลังแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยหลัก 3 D - Decapacity คือ การลดกําลังการผลิตส่วนเกิน จีนมีโครงสร้างพื้นฐานในประเทศจํานวนมาก ทั้งรถไฟ ท่าเรือ ถนน และกําลังจะส่งออกโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวไปขายให้กับทั่วโลกแทน ไปสร้างถนน รถไฟ ฯลฯ ให้กับประเทศต่างๆ - Deleverage คือ ควบคุมสินเชื่อเงินกู้ ขณะนี้จีนประสบปัญหาการใช้เงินกู้ในการดําเนินธุรกิจ มากเกินควร (excessive leverage) ก่อนปี 2008 จีนมีหนี้ทั้งระบบต่อ GDP ประมาณ 100 เปอร์เซ็นต์ และตอนนี้หนี้ทั้งระบบโตขึ้นไปกว่า 300 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาขาดแคลน สภาพคล่อง - Destabilization คือ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่ตํ่าลง ด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มากเกินไป ทําให้เกิดปัญหากําลังการผลิตส่วนเกิน (Excess capacity) และใช้เงินกู้ในการดําเนินธุรกิจมากเกินควร (excessive leverage) รัฐบาลจีนจึงมีนโยบาย แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ด้วยหลัก Decapacity และ Deleverage แต่รัฐบาลจีนไม่สามารถลดหรือ De ทั้ง 2 อย่างได้ในเวลาเดียวกัน หากลดทั้งคู่ในเวลาเดียวกัน จะทําให้เกิดสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) หรือหนี้เสียจํานวนมาก ที่สําคัญจะทําให้กระเทือนต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Destabilization) ที่ผ่าน มาจีนจึงเลือกควบคุมหนี้และเงินกู้ (deleverage) ก่อน เพราะปัญหาหนี้ในธนาคารจีนมีสูงมาก แม้ว่าวิธี นี้จะสร้างปัญหาให้เกิดคนว่างงานมากขึ้นก็ตาม เพื่อแลกกับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว ภาพรวมเศรษฐกิจจีน ระยะที่ 1 ในช่วงปี 2003 เศรษฐกิจจีนอยู่ในช่วงขี่จักรยานขึ้นเขา เติบโตขึ้นอยู่ตลอด รัฐบาลจีน ทําทุกอย่างเพื่อให้มีการเติบโตขึ้นในทุกปี เพราะเชื่อว่าการเติบโตแก้ไขได้ทุกปัญหา ปี 1995 - 2003 คนจีนประมาณ 200 - 300 ล้านคน ต้องหางานใหม่อยู่ตลอด เพราะการพัฒนา และการปรับรัฐวิสาหกิจ ของรัฐบาลจีน นอกจากนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจ (growth) ยังช่วยแก้ปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิด รายได้ (Non-Performing Loan) หรือที่เรียกกันว่าหนี้เสีย ช่วงแรกจีนมีหนี้เสียไม่น้อยกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ เกิดเงินเฟ้อมหาศาล แต่หลังจากที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจปีละไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์
  • 14. 10 ได้ช่วยแก้ไขหนี้เสีย ทําให้หนี้เสียลดลงเรื่อยๆ ปีแรกลดเหลือ 32 เปอร์เซ็นต์ ปีถัดไปลดเหลือเพียง 25 เปอร์เซ็นต์ ระยะที่ 2 ภายหลังปี 2013 จีนเริ่มมีปัญหากับความสามารถในการเติบโต เนื่องจากเติบโตเร็ว เกินไป ทุกอย่างที่ซื้อจะแพงขึ้น ทุกอย่างที่ขายจะถูกลง หลังจากนี้จีนจึงกําหนดว่าเศรษฐกิจต้องโม่โต เร็วเกินไป หรือตํ่าเกินไป คือพยายามทําให้เศรษฐกิจโตไม่ตํ่ากว่า 8 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ประกอบกับในช่วงปี 2008 เกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ส่งผลกระทบต่ออเมริกา และยุโรป มาก ทําให้จีนได้รับผลกระทบด้วย เพราะอเมริกาและยุโรปเป็นคู่ค้าหลักของจีน ด้วยเหตุนี้ ทําให้จีน ต้องกระตุ้นเศรษฐกิจภายในของประเทศอย่างด่วน โดยมีงบประมาณการกระตุ้นเศรษฐกิจ ภายในประเทศถึง 4 ล้านล้านหยวน ซึ่งถือว่าเป็นงบกระตุ้นเศรษฐกิจก้อนใหญ่สุดของโลก ในระหว่างที่ ใช้เงิน 4 ล้านล้านหยวน สินเชื่อธนาคารโตเพิ่มขึ้นกว่า 18 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่ากระตุ้นได้ดีมาก เบื้องหลังการทานโยบาย OBOR หลังจากที่จีนกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ก็เกิดปัญหาที่ทําให้จีนนั้นต้องสร้างนโยบาย OBOR เพื่อ ออกหาตลาดในต่างประเทศมากขึ้น เหตุที่ต้องออกหาตลาดต่างประเทศนั้น ประเทศจีนเจอปัญหาดังนี้ 1. เกิดปัญหา Excess capacity คือ ประเทศจีนมีโครงสร้างพื้นฐานเต็มประเทศ จีนเร่งสร้างถนน สร้างรถไฟความเร็วสูงจํานวนมาก ในวันนี้ประเทศจีนจึงต้องไปด้วยโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ ขณะนี้ประเทศจีนไม่มีอะไรให้สร้างแล้ว จีนเริ่มสร้างอะไรที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ เช่น สายรถไฟ ความเร็วสูง ซึ่งไม่จําเป็นต้องสร้างก็ได้ แต่ที่จีนจําเป็นต้องสร้าง เนื่องจากต้องมีโครงการใหญ่ๆ เพื่อให้เกิดการจ้างงาน และคาดหวังว่า หลังจากนี้จะต้องขายโครงสร้างพื้นฐานไปทั่วโลก เช่น ไป สร้างรถไฟให้ไทย ให้อเมริกา ให้อินโดนีเซีย ให้ลาว เป็นต้น นโยบาย OBOR จึงเป็นนโยบายที่ เกิดขึ้น เพื่อส่งออกโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว แม้ว่า ณ เวลานี้ จะยังไม่มีประเทศไหนร่วมสร้าง โครงสร้างพื้นฐานกับจีนเลย 2. ต้องการรายได้จากนอกประเทศ บริษัทในจีนส่วนใหญ่รายได้ยังมาจากในประเทศ กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ต่างจากญี่ปุ่น อเมริกา ที่รายได้มาจากต่างประเทศ ประเทศจีนจึงอยากจะออกไป ลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น 3. ต้องการให้นโยบาย OBOR กระตุ้นเงินหยวน ประเทศส่วนใหญ่ในโลกยังถือเงินดอลลาร์ พันธบัตรดอลลาร์ )US Treasury) อยู่ และยังไม่ค่อยถือเงินหยวน ประเทศจีนต้องการให้นโยบาย OBOR กระตุ้นการใช้งานของเงินหยวนมากขึ้น และต้องการรีไซเคิลเงินดอลลาร์ เพราะนโยบาย OBOR เป็นนโยบายที่ต้องการใช้เงินกว่าแสนล้านดอลลาร์ เงินทุนของธนาคารเพื่อการลงทุน โครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) ที่สร้างขึ้นมาเพื่อรองรับนโยบาย OBOR มีเงินทุนพื้นฐาน เพียงแค่ 5 หมื่นล้านดอลลาร์ ธนาคาร AIIB สามารถใช้เงินทุนดังกล่าวเปลี่ยนตราสารหนี้ที่มี
  • 15. 11 อันดับความเสี่ยงอยู่ในระดับตํ่า (A) เป็น เงินกู้ที่มีอันดับเครดิตที่ดีมาก (AAA) เมื่อมีการลงทุน ด้าน OBOR มาก สามารถทําให้คนเข้ามาซื้อตราสารหนี้ หรือเงินกู้เพื่อถือเงินหยวน แทนที่จะถือ พันธบัตรสหรัฐ (US Treasury) และให้ประเทศต่างๆ เช่น ไทย ญี่ปุ่น รีไซเคิลเงินดอลลาร์ที่ถืออยู่ เปลี่ยนเป็นถนน เป็นรางรถไฟ หรือท่าเรือแทน 4. ประเด็นทางการเมือง การสร้างนโยบาย OBOR จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับคนจีน สะท้อน บทบาทความยิ่งใหญ่ของจีน ว่าประเทศกําลังจะก้าวไปข้างหน้า หลังจากประเทศจีนถูกบีบด้วยเหตุผลข้างต้น จึงเป็นเหตุให้สร้างนโยบายที่จะออกไปหาตลาดใน ต่างประเทศมากยิ่งขึ้น ซึ่งนโยบาย OBOR ได้กลายเป็นนโยบายหลักของรัฐบาลจีน ขณะนี้ยังเป็น นโยบายที่ไม่มีอะไรชัดเจนมาก แต่ถือว่าเป็นนโยบายที่ดี เนื่องจาก ดึงนักธุรกิจให้เข้ามาลงทุนได้ดี เพราะนักธุรกิจสามารถกู้เงินของธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) เป็นธนาคาร ที่มีไว้ให้กู้เงินเพื่อทํานโยบาย OBOR โดยไม่ต้องกังวลว่าสิ่งที่จะลงทุนนั้นจะเกี่ยวข้องกับนโยบาย OBOR หรือไม่ ปัจจุบันจีนกําลังเจอปัญหาค่าเงินอ่อนลง เงินสํารองระหว่างประเทศ หายไป 1 ล้านล้านเหรียญ ดอลลาร์ ทําให้นโยบาย OBOR บางโครงการต้องชะลอตัวไปก่อน เพื่อแก้ปัญหาเงินทุนสํารอง อย่างไรก็ ตาม นโยบาย OBOR เป็นยุทธศาสตร์ระยะยาว 20-30 ปี และเป็นทิศทางหลักที่จีนจะเดิน หาก แก้ปัญหาเงินทุนสํารองได้ จีนจะต้องเร่งโครงการในนโยบาย OBOR อย่างแน่นอน ข้อแนะนาต่อประเทศไทย ประเทศไทยจะได้รับผลประโยชน์จากนโยบาย OBOR อย่างแน่นอน หากมีการปรับตัวของ ประเทศไทย 3 ด้านดังนี้ 1. การสร้างบุคลากรและสังคมให้กับคนจีน ประเทศไทยยังมีคนพูดภาษาจีนน้อย เข้าใจ ประเทศจีนน้อย เราควรใช้เวลาในการสร้างคนให้สามารถเข้าใจภาษาจีนและประเทศจีนได้ ใช้เวลาประมาณ 3-4 ปีน่าจะทําได้ นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมของประเทศไทยยังไม่เอื้อให้ คนจีนมาลงทุนระยะยาว คือ ไทยยังไม่สร้างสังคมเพื่อให้คนจีนได้ใช้ชีวิตอยู่ไทยนาน ประเทศไทยมีคนจีนประมาณสองแสนคนอาศัยอยู่ที่ไทย มีนักท่องเที่ยวจีน 5-10 ล้านต่อปี แต่ประเทศไทยไม่ได้สร้างสังคมให้กับคนจีน ไม่มีโรงเรียนจีน ไม่มีมหาลัยจีน คนจีนที่มาอยู่ ที่ไทยต้องส่งลูกไปเรียนที่สิงคโปร์ ไทยไม่มี Magazine สําหรับคนจีน ไม่มีคอนโดที่ขายเพื่อ คนจีน ร้านอาหารที่มีก็ยังไม่เพียงพอสําหรับคนจีน เพราะร้านอาหารจีนในประเทศไทยเป็น แบบกวางตุ้งทั้งสิ้น ไม่มีอาหารทางภาคเหนือของจีน นโยบาย OBOR จึงเป็นนโยบายที่เป็น โอกาสให้ไทยสร้างโรงเรียนจีน หากเราไม่มีโรงเรียน นักธุรกิจจีนที่มีครอบครัวแล้ว คงไม่
  • 16. 12 อยากมาลงทุนที่ไทย เนื่องจากไม่มีโรงเรียนสําหรับลูก หากเราสร้างโรงเรียน ยิ่งดึงดูดให้คน จีนมาลงทุน และไทยจะกลายเป็นศูนย์กลาง (hub) อย่างแน่นอน 2. แก้กฎหมายกฎระเบียบบางอย่างของไทย เช่น การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (FBA) มีการโกงกันจํานวนมาก แต่กฎหมายไทยยังทําอะไรไม่ได้ ซึ่งทําให้จีนย้ายไปที่อื่น นอกจากนี้ควรลดความยุ่งยากของกฎระเบียบบางอย่างด้วย เพื่อเอื้อให้คนจีนมาลงทุนมาก ขึ้น เช่น ความยุ่งยากในการขอใบอนุญาติการทํางานของคนต่างชาติ (work permit) 1 ปี ต้องทํา 2 ครั้ง ครั้งละหลายชั่วโมง หากยังเป็นแบบนี้ นักลงทุนจีนอาจจะอยากไปลงทุนที่ ประเทศเพื่อนบ้านเรามากกว่า 3. ไทยควรเป็นตัวกลางระหว่างจีนและกลุ่มประเทศอาเซียน ประเทศไทยอยู่ในใจกลาง โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่นํ้าโขง: Greater Mekong Subregion (GMS) ซึ่งมีประเทศ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ประเทศไทยน่าจะเป็น ตัวกลางบรรเทาความขัดแย้งระหว่างจีนกับอาเซียนได้ ประเทศในอาเซียนครึ่งหนึ่งขัดแย้ง กับจีน ซึ่งแต่ละความขัดแย้งเป็นเรื่องที่เกิดมานานแล้ว และไม่มีฝั่งใดยอมกัน ไทยสามารถ เป็นตัวกลางได้ และนอกจากนี้จากการที่เราเป็นคู่ค้าที่ดีของจีน ไทยสามารถทําให้เราเป็น ศูนย์กลางการลงทุนได้มากขึ้น
  • 17. 13 ยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative กับความท้าทายที่ไทยต้องเผชิญ ผศ.วรศักดิ์ มหัทธโนบล ผู้อานวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 18. 14 ตั้งแต่จีนเข้าสู่ยุคปฏิรูปประเทศของ เติ้ง เสี่ยวผิง จีนได้ร่างแผนแม่บทระยะยาวเพื่อการปฏิรูป ประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยช่วงแรกในยุคทศวรรษที่ 1980 เป็นการเน้นปฏิรูปภายในประเทศเพื่อให้ สามารถสอดรับกับการค้าเสรีโลกได้ ส่วนในทศวรรษต่อมาจีนเริ่มสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อน บ้านซึ่งจีนมีพรมแดนติดกับกว่า 15 ประเทศ จะมีเพียงประเทศเอเชียกลางที่มีปัญหาการเมืองภายในทํา ให้จีนยังไม่สามารถเข้าไปสร้างความร่วมมือได้มากนัก ส่วนในทศวรรษที่ 2000 จีนเข้าเป็นสมาชิกของ องค์การการค้าโลก (WTO) อย่างเป็นทางการ และขยายการสร้างความร่วมมือโดยเฉพาะในด้าน เศรษฐกิจ เช่น การสร้างข้อตกลงการค้าเสรีกับหลากหลายชาติรวมถึงประเทศในภูมิภาคอาเซียนด้วย ในขณะนั้นประชาคมอาเซียนยังไม่มีความพร้อม ทางการจีนจึงได้สร้างข้อตกลงการค้าเสรีกับบาง ประเทศในอาเซียนก่อน ซึ่งแสดงถึงความจริงจังของจีนในการก้าวสู่การค้าโลก ฉะนั้น เราจึงเห็นว่าจีนทุ่มเทเป็นอย่างมากในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่อํานวยความสะดวก ในการขนส่งสินค้า โดยจะเห็นว่าสิ่งที่เป็นรูปธรรมในการพัฒนาโครงข่าย OBOR ก็คือการสร้างทางรถไฟ ถนน และท่าเรือนั่นเอง จีนไม่ได้ทําเพียงสิ่งที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น ยังทํางานเชิงความคิดอีกด้วย หากใคร สนใจติดตามเรื่องจีนเป็นประจําจะพบว่าจีนมักจะมี วลี คําคม หรือคําขวัญ ที่แฝงไปด้วยปรัชญาแนวคิด และมีความกระชับทําให้จดจําได้ง่าย เช่น ใช้คําว่า OBOR แทนชื่อตัวโครงการแล้วทํางานเผยแพร่ให้คํา นี้เป็นที่คุ้นชิ้นในหลายประเทศ และทํางานประชาสัมพันธ์โครงการและคํานี้ในหลายระดับแก่ทั้งรัฐและ เอกชนของชาติต่าง ๆ รวมถึงไทยด้วยเช่นกัน ในทางกลับกันก็พยายามรวบรวมข้อมูลว่าต่างชาตินั้น คิดเห็นอย่างไรต่อ OBOR เพื่อนําส่งกลับไปยังรัฐบาลจีนอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาแผนต่อไป โครงสร้างพื้นฐานคือหัวใจของ OBOR ดังที่กล่าวไปแล้วว่าจีนมีแผนใหญ่ในการพัฒนาประเทศระยะยาว ซึ่งโครงการ OBOR นั้นเป็น เป็นโครงการย่อยในแผนแม่บทนี้เองที่ทางการจีนฝันจะเห็นเศรษฐกิจของตนเข้าเชื่อมต่อกับเศรษฐกิจใน ระดับอนุภูมิภาค ภูมิภาค และเศรษฐกิจโลกอย่างสมบูรณ์ในที่สุด ทั้งนี้ หากโครงสร้างพื้นฐานไม่พร้อม รองรับการเชื่อมต่อขนส่งสินค้าแล้วก็ยากที่ความฝันนี้จะเป็นจริงได้ หากมองใกล้ไทยมากขึ้นก็จะเห็นว่า จีนได้เชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางบกและทางนํ้ามาถึงกลุ่มประเทศ CLMV แล้ว แต่เพียงโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่เฉพาะในเขตพรมแดนจีนหรือที่จีนเป็นเจ้าของนั้นยังไม่เพียง พอที่จะทําให้ OBOR สําเร็จลุล่วง ยังต้องพึ่งพาโครงสร้างพื้นฐานที่มีในประเทศอื่น ๆ ตลอดเส้นทาง OBOR ด้วยเพื่อจะสร้างโครงข่ายการขนส่งที่ครอบคลุมทั่วภูมิภาค ซึ่งบางประเทศนั้นขาดแคลนเงินทุน และเทคโนโลยีที่จะสร้างโครงข่ายเหล่านั้นให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งนี่จะเป็นปัญหาที่กระทบต่อแผน OBOR ใน ที่สุด ด้วยเหตุนี้ จีนจึงจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย หรือ AIIB อันมี
  • 19. 15 จุดประสงค์หลักที่มุ่งให้เงินกู้เพื่อช่วยเหลือประเทศที่ขาดแคลนงบประมาณในการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน โดยธนาคารแห่งนี้จะมีเงื่อนไขการกู้เงินที่น้อยกว่าธนาคารอื่น ๆ เพื่อเอื้อให้โครงการ OBOR เกิดขึ้น โดยเร็วที่สุด ความท้าทายของไทย ความท้าทายที่ไทยต้องเผชิญจากโครงการ OBOR ในอันดับแรกนั้นคือระดับภายในประเทศที่ เรามีแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นของตัวเองที่คิดขึ้นมานานแล้วโดยยึดผลประโยชน์แห่งชาติ เป็นหลัก บรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและได้รับการพูดถึงอย่างเป็นระบบมากขึ้น ในสมัยรัฐบาลที่มี นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ไทยก็ยังทําไม่สําเร็จตามแผนมาก นักเนื่องจากยังขาดงบประมาณ การบังคับใช้กฎหมายที่เด็ดขาด และความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยี และ ในระดับต่อมาคือระดับระหว่างประเทศที่ต่างชาตินั้นต้องการเชื่อมต่อโครงข่ายการขนส่งเข้ากับ ประเทศไทย ซึ่งในบางครั้งผลประโยชน์ของต่างชาติและผลประโยชน์ของเรานั้นไม่ตรงกัน อันจะนําไปสู่ การเจรจาต่อรองกันในอนาคต เช่น ทางการไทยต้องการสร้างเส้นทางรถไฟจาก กรุงเทพฯ ไปยังจังหวัด เชียงใหม่ แต่ประเทศจีนต้องการเส้นทางรถไฟ กรุงเทพฯ ไปยังชายแดนด้านหนองคายมากกว่า ในเรื่อง นี้ก็ต้องมองต่อไปในอนาคตว่าธนาคาร AIIB จะเข้ามามีบทบาทในการกําหนดทิศทางการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานของไทยหรือไม่ หากมองตามเส้นทาง OBOR แล้วจะเห็นว่าเส้นทางหลักทั้งทางบกและทางทะเลนั้นจะไม่ผ่าน ประเทศไทย แต่จะอ้อมลงไปยังช่องแคบมะละกา อย่างไรก็ตาม ภูมิศาสตร์ของไทยยังมีความสําคัญต่อ ความสําเร็จของ OBOR อยู่มาก เพราะจีนต้องการให้ระเบิดเกาะแก่งในแม่นํ้าโขงและขุดคลองคอดกระ จีนต้องการที่จะพัฒนาแม่นํ้าโขงตลอดสายให้สามารถรองรับการเดินเรือขนาดใหญ่ที่มีระวางอยู่ ราว 300 และ 500 ตัน จากเดิมที่รองรับเพียง 100 ตัน เท่านั้น ซึ่งพม่าและลาวได้ระเบิดเกาะแก่งเพื่อ รองรับการเดินเรือนี้แล้ว เหลือเพียงแต่ไทยที่ยังไม่ยินยอมจะทําตาม เนื่องจากเคยมีงานวิจัยที่ทําโดย หน่วยงานภาครัฐที่ชี้ชัดว่าการระเบิดเกาะแก่งจะส่งผลเสียมากมากกว่าผลดีต่อประเทศ อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ จันโอชา ได้กล่าวว่าจะทําการศึกษาอีกครั้งหนึ่งเพื่อทบทวนนโยบายของไทย อีกกรณีหนึ่งคือการขุดคลองคอดกระ จากประสบการณ์ส่วนตัวกว่า 20 ปี พบว่า นักวิชาการ สื่อ และเจ้าหน้าที่ทางการจีน ได้พยายามโน้มน้าวให้นําเสนอมุมบวกของการขุดคลองคอดกระมาโดยตลอด โดยครั้งล่าสุดที่น่าสนใจคือการออกมาให้ความเห็นของ อดีตองคมนตรี ธานินทร์ กรัยวิเชียร ที่สนับสนุน การขุดคลองดังกล่าว อีกทั้งยังกล่าวในจดหมายที่เขียนถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันโอชา ว่าหากมีปัญหาใด ๆ สามารถที่จะติดต่อประสานงานกับทางการจีนได้ทันที อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาในยุคสมัยรัฐบาลที่มี
  • 20. 16 นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการศึกษาความคุ้มค่าอีกครั้งหนึ่ง และได้ผลสรุปว่า ไม่คุ้มค่าเนื่องจากจะลดเวลาการเดินเรือไม่ได้มากนัก เพราะเรือต้องลดความเร็วขณะแล่นผ่านคลอง กระนี้ อีกทั้งอาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมามาก สอดคล้องกับการศึกษาครั้งอื่น ๆ ที่เคยทํามา ไทยต้องรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ จากทั้งสองเรื่องที่จีนพยายามอย่างไม่ลดละให้ไทยดําเนินนโยบายที่ตอบสนองต่อความต้องการ จีน ก็เข้าใจได้ว่าทั้งสองโครงการนี้มีความสําคัญต่อแผน OBOR เป็นอย่างมาก ซึ่งหากจีนยังคงมีความ พยายามเช่นนี้อยู่ก็ต้องศึกษาให้มากขึ้นว่าเพราะเหตุใดจีนจึงมีท่าทีเช่นนี้ สิ่งที่เราต้องทําคือการมองการเข้ามาของจีนให้ครอบคลุมในมิติความมั่นคงและการเมืองด้วย อย่าจํากัดเพียงด้านเศรษฐกิจดังที่จีนมักจะชูเป็นประเด็นนําอยู่เสมอ เช่น หากระเบิดเกาะแก่งในแม่นํ้า โขงจนเดินเรือขนาดใหญ่ได้ ในอนาคตหากทะเลจีนใต้เกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะหากจีนและ สหรัฐฯ เกิดปะทะกันโดยตรง แม่นํ้าโขงที่มีบางส่วนอยู่ในบริเวณเขตแดนไทยก็จะกลายเป็นจุดเสี่ยงที่จะ ได้รับผลกระทบไปด้วยเนื่องจากอาจเป็นทางผ่านของเรือรบจีน ส่วนในบริเวณคลองคอดกระก็ เช่นเดียวกัน เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าคลองนี้จะไม่กลายเป็นจุดยุทธศาสตร์สําคัญหากเกิดความขัดแย้ง ขึ้นในภูมิภาค ซึ่งไทยจะพลอยได้รับผลกระทบไปด้วย
  • 22. 18 พลโท สุรสิทธิ์ ถนัดทาง รองผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ หากมองตามมุมของยุทธศาสตร์ศึกษาแล้ว ภูมิยุทธศาสตร์ของไทยถือเป็นจุดที่สําคัญมากที่สุด จุดหนึ่งของโลก แน่นอนว่าพลังอํานาจทางภูมิศาสตร์แขนงหนึ่งคืออํานาจทางทหาร แม้ OBOR จะมีนัย ยะการสร้างระบบโลจิสติกส์เชื่อมโลกไว้เพื่อเป้าหมายทางเศรษฐกิจ แต่โลจิสติกส์นี้หมายรวมถึง supply, transport, service และ port ซึ่งอยู่ในเรื่องของทหารด้วยเช่นกัน OBOR จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ยุทธศาสตร์ทางทหารทั่วโลกแน่นอน โดยเฉพาะกระทบมากต่อไทย เพราะประเทศไทยมี 2 port สอง ทะเล หากเราไปศึกษาการฝึกร่วมสามเหล่าทัพ จะเห็นว่าเราสามารถถูกปิดอ่าวด้วยเรือดํานํ้าหนึ่งหรือ สองลําตรงบริเวณอ่าวแหลมยวนก็ยากที่จะรับมือได้หากไม่มีเรือดํานํ้าไว้ต่อกรด้วย ในปัจจุบันน่ายินดีว่ารัฐบาลเห็นความสําคัญของการผลิตอาวุธเอง ที่ผ่านมาเราถูกชาติตะวันตก ครอบงําทางความคิดมาตลอดว่าเราไม่มีศักยภาพที่จะผลิตอาวุธเองได้ ในอดีตเราสามารถผลิตอากาศ ยานได้เองด้วยซํ้าไป โดยเฉพาะภายใต้โครงการ MAPS ในปี ค.ศ. 1950 ที่สหรัฐมอบอาวุธให้ไทยจนเรา ไม่คิดที่จะสร้างศักยภาพทางอาวุธเอง แต่หลังจากนี้นั้นคาดว่าน่าจะมีการร่วมมือกับทางการจีนภายใต้ โครงการ OBOR และธนาคาร AIIB เพื่อร่วมลงทุนในการสร้างศูนย์กลางการซ่อมบํารุงทางยานพาหนะ และยุทโธปกรณ์ในประเทศไทย ซึ่งยังครอบคลุมไปถึงด้านที่เกี่ยวกับภาคพลเรือน เช่น Search & Rescue และการจัดส่งกําลังคน เป็นต้น ข้อดีอย่างหนึ่งของทหารคือการมี Multi Skills เช่น ทหาร สามารถขับบรถบรรทุกชานตํ่าได้ชํานาญมาก ซึ่งเป็นทักษะที่จะเป็นประโยชน์ต่อการขนส่งสินค้าภายใน พลเรือนได้ ฉะนั้นต้องคิดว่าทําอย่างไรการอบรมนี้จึงจะมีไปถึงภาคประชาชนด้วย โดยที่ใช้ทหารเป็นผู้ ฝึกสอนเนื่องจากมีความชํานาญเป็นพิเศษ ในส่วนงบประมาณทางทหารนั้น เป็นเรื่องน่ายินดีเช่นกันที่มีความเข้าใจถึงความจําเป็นที่ต้อง เพิ่มงบประมาณ ที่ผ่านมาทหารมักถูกโจมตีโดยตลอดว่าซื้ออาวุธบ่อยเกินไป ความเป็นจริงแล้วแทบไม่ มีปีใดเลยที่งบประมาณทางทหารนั้นสูงเกิน 2% ของ GDP ที่จําเป็นต้องเพิ่มงบประมาณนั้นก็เพื่อการ ลงทุนอันจะเป็นประโยชน์ต่ออนาคต หากเราสร้างความพร้อมได้เร็วและมีความทันสมัย เราสามารถที่จะ ประกาศเป็นตัวกลางร่วมกับมาเลเซียเพื่อเป็น Defense Industrial Hub ซึ่งเรามีศักยภาพในบางด้าน เช่น การผลิตและปรับแต่งอาวุธปืนที่ไทยได้รับการยอมรับในฝีมือ ส่วนเรื่องที่มาเลเซียจะสร้าง Land Bridge นั้นมีข่าวมานานแล้ว เราเคยมีความร่วมมือกับ สถาบัน CSIS ของมาเลเซียโดยมีนักวิจัยจากจีนมาร่วมด้วยในประเด็นเกี่ยวกับ Maritime Research ซึ่ง เรามีภูมิศาสตร์และทรัพยากรทางนํ้าที่ดี สามารถต่อยอดได้ เช่น สามารถสร้างศูนย์กลางอาหารทะเล ของภูมิภาคได้ ในเรื่องนี้สามารถใช้หน่วยงานของมหาวิทยาลัยและกองทัพเรือในการร่วมกันวิจัยได้ โดย
  • 23. 19 สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นหากต้องการให้เกิดขึ้นจริงแล้ว สิ่งสําคัญที่สุดคือการพัฒนาศักยภาพของคนไทย เพราะเรามีภูมิศาสตร์ที่ดีช่วยในเรื่องโลจิสติกส์อยู่แล้วทําให้ได้เปรียบเพื่อนบ้าน ในส่วนการขุดคลองไทยหรือคลองคอดกระนั้น แม้จะมีช่องแคบมะละกาที่เป็นทางเดินเรือปกติ อยู่แล้วแต่นั่นเป็นทางเดินเรือนานาชาติ หากขุดคลองไทยแล้วจะกลายเป็นคลองที่อยู่ในความควบคุม ของไทย และที่สําคัญต้องมีมหาอํานาจที่คอยเป็นพันธมิตรที่ประกันความปลอดภัยให้เรา ซึ่งการขุด คลองทําให้ทะเลทั้งสองฝั่งเชื่อมต่อกันได้และเป็นประโยชน์ต่อกองทัพเรือไทย ส่วนเหตุที่ทางการจีน ต้องการให้ไทยขุดคลองเป็นอย่างมากนั้น เพราะจีนต้องการสร้างทางเลือกฉุกเฉินไว้เมื่อวันหนึ่งอาจจะ ไม่สามารถเดินเรือผ่านช่องแคบมะละกา ที่สําคัญคือต้องทําให้ประเทศไทยเข้มแข็ง การทูตเข้มแข็ง ซึ่ง การทูตไทยถือว่าดีมากมาโดยตลอด จะทําให้เราไม่ต้องเกรงกลัวชาติอื่น ๆ อีกทั้งต้องใช้กําลังทหารที่มี ในการฝึกอบรมทักษะที่จําเป็นแก่พลเรือนอีกด้วย นาย บรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการ บริษัท ทุนภัทร จํากัด (มหาชน) ความสําเร็จของประเทศจีนก็ต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะการปฏิรูประบบเศรษฐกิจในปี 1979 โดย เติ้ง เสี่ยวผิง จากระบบปิดภายใต้คอมมิวนิสต์มาสู่ระบบเปิดที่อิงกับตลาดเสรีโลกมากขึ้น ใน ตอนนั้น GDP ต่อหัวประชากรของจีนอยู่ที่ราว 184 เหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าไทยราวสามเท่า แต่ในปัจจุบันจีนสามารถยกระดับ GDP มากกว่าไทยได้สําเร็จ จนไทยต้องหันกลับไปมองดูว่าจีนมี รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างไร สิ่งที่ต้องระวังคือการกําหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจแม่บทจาก ส่วนกลาง (centrally planned economy) ในบริบทของจีนนั้นอาจไม่สําเร็จหากนํามาใช้ในประเทศไทย อีกทั้งแผนของจีนเองก็ไม่สําเร็จอยู่ในหลายส่วน ซึ่งน่ากังวลว่าแผนที่รัฐบาลวางไว้ในลักษณะเป็น กฎหมายที่มีผลบังคับนั้นจะเหมาะสมหรือไม่ เพราะแม้แต่แผนของประเทศจีนเองก็ไม่ได้มีลักษณะเป็น กฎหมาย แต่มีการทบทวนและปรับปรุงแผนอยู่ตลอดเวลา รวมถึงเปิดให้เอกชนเข้ามามีบทบาทในการ กําหนดทิศทางมากขึ้นเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ซึ่งสวนทางกับทิศทางของไทยที่นับวันยิ่งเพิ่มอํานาจ รัฐ ในช่วงแรกของการเพิ่ม GDP อาจจะเน้นการวางแผนจากส่วนกลางได้ แต่เมื่อใดที่ตลาดโตมากขึ้น แล้วก็ต้องพึ่งบทบาทของตลาดให้มากขึ้น หนึ่งในแผนของรัฐบาลที่มีบทบาทมากคือ Eastern Seaboard 2 ที่เป็นการพัฒนาต่อเนื่องจาก โครงการเดิมซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประชาชนมีรายได้สูงอยู่แล้ว จะเห็นได้ว่าเราเน้นไปที่การพัฒนาเชิงโครงสร้าง และเชิงพื้นที่มาก แต่กลับมีการพัฒนาเชิงระบบและสถาบันน้อย เช่น การปรับปรุงกฎหมายที่มีความล้า หลังและไม่เกิดประโยชน์ ในขณะที่ทั่วโลกกําลังลดกฎหมายลง เช่น นโยบายของ โดนัล ทรัมป์ ที่ชื่อ ‚one in, two out‛ ซึ่งให้หน่วยงานที่จะเพิ่มระเบียบใด ๆ ก็ตาม 1 ระเบียบต้องลดระเบียบเดิมลง 2
  • 24. 20 ระเบียบ แต่ไทยกลับมีการเพิ่มกฎหมายขึ้นเป็นอย่างมาก ตัวอย่างกฎหมายที่ไม่เหมาะสมก็เช่น การ ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (FBA) ที่ในแง่หนึ่งมองได้ว่าเป็นการกีดกันคนที่มีความสามารถเข้ามา ทํางานในประเทศ ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ประธานสถาบันคลังปัญญา และอธิการวิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต สิ่งที่สําคัญคือเราต้องมีการวางยุทธศาสตร์ที่ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ของชาติไทยอย่างแท้จริงมิใช่ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่จีนเรียกร้อง นโยบายใดที่เห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ต่อไทยแม้จะเป็นที่ต้องการของจีนเราก็ ต้องปฏิเสธไป หรือเราอาจจะคิดนโยบายที่เป็นของเราเอง เช่น การเป็นศูนย์อาหารทะเลของโลกซึ่งจีน ไม่มีความพร้อมเท่าเรา หรือเราจะเน้นไปที่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศซึ่งมิใช่อุตสาหกรรมแบบเดียวกับจีนก็ ได้ ส่วนเรื่องคลองคอดกระเราอาจจะคิดแบบ active คือสร้างกองทัพเรือให้เข้มแข็งเพื่อรักษาความ มั่นคงในบริเวณคลองก็ได้ เพราะเราเป็นชาติทางทะเลที่มีจังหวัดทะเลอยู่ถึง 1 ใน 4 จังหวัด ซึ่งการที่ติด ทะเลมากนี้เป็นยุทธศาสตร์ที่สําคัญมากขนาดว่าบางชาติต้องทําสงครามเพื่อสร้างทางออกไปยังทะเล หรือถ้าคิดว่าไม่เหมาะสมที่จะทําคลองก็ไม่ต้องทําแม้จีนจะต้องการก็ได้ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ‚รัฐต้องนําการพัฒนา‛ เป็นวาทะกรรมที่พูดกันมามากช่วงสองปีนี้ซึ่งถูกความสําเร็จของจีนนําให้ คิดไปเช่นนั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วบริบทของไทยกับจีนต่างกันมาก ทั้งในระบอบการปกครอง การนํา จากรัฐ ระบบสังคม วิธีคิดแบบจีนนั้นแม้จะเป็นการวางแผนระยะยาวที่มีลักษณะกําหนดจากส่วนกลางก็ จริงแต่พร้อมจะปรับเปลี่ยนตลอดเวลาเช่นกัน ถ้าไทยจะทําแผนเช่นจีนบ้างต้องตระหนักว่าเนื้อหาของ แผนสําคัญน้อยกว่ากลไกที่จะทําให้แผนเกิดผล ต่อให้แผนดีขนาดไหนก็ตามสิ่งที่ยากกว่าคือการสร้าง กลไกที่ทําให้แผนเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม สิ่งหนึ่งที่รัฐต้องตอบโจทย์ให้ได้คือการวางแผนที่ทําให้เกิด การลงทุนจากเอกชนอย่างต่อเนื่องโดยต้องโปร่งใสและถูกต้องด้วย ซึ่งต้องหาความสมดุลให้ได้ว่าสิ่งใด รัฐควรกําหนดแนวทางและสิ่งใดควรเปิดเสรีให้เอกชนตัดสินใจเอง ประเด็นที่สอง ที่น่าสนใจอีกด้านคือคลองคอดกระ ด้านหนึ่งคือมีชาติที่เป็นมหาอํานาจโลกเข้ามา เจรจาต่อรองเนื่องจากต้องการผลประโยชน์จากที่ตั้งของประเทศ สิ่งที่ยากที่สุดคือกลไกของรัฐที่สามารถ ตัดสินใจและทําประโยชน์ให้ส่วนรวมของประเทศจริง ๆ ไม่ใช่แค่กลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่มี อิทธิพลต่อรัฐมากกว่าคนทั่วไป และจากการไปดูงานคลองปานามาพบว่าต้องมีประตูนํ้าเป็นระยะเพราะ ระดับนํ้าจากสองฝั่งมหาสมุทรปรับเปลี่ยนตลอดเวลาและมีระดับไม่เท่ากัน บางระยะเรือไม่สามารถแล่น ได้ต้องถ่ายของขึ้นรถบรรทุกแทน แสดงว่าการขุดคลองอาจจะไม่คุ้มในเชิงเศรษฐศาสตร์เพราะมีต้นทุน สูง แต่เป็นไปได้ว่ามีผลประโยชน์ทางทหารแฝงอยู่หรือไม่