SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  20
Télécharger pour lire hors ligne
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ฉบับที่ 1 : มิถุนายน พ.ศ. 2558
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
สารบัญ
หน้า
ประเด็นระหว่างประเทศที่น่าสนใจของ Think Tank ในภูมิภาคยุโรป 1
 CHATHUM HOUSE 2
 EUROPEAN COUNCIL ON FORIEGN RELATIONS 4
ประเด็นระหว่างประเทศที่น่าสนใจของ Think Tank ในภูมิภาคอเมริกา 7
 BROOKING INSTITUTION 8
ประเด็นระหว่างประเทศที่น่าสนใจของ Think Tank ในภูมิภาคเอเชีย 11
 ASIA SOCIETY 12
 CHINESE ACADEMY OF SOCIAL SCIENCES 13
 CHINA INSTITUTE OF INTERNATIONAL STUDIES 14
ประเด็นระหว่างประเทศที่น่าสนใจของ Think Tank ในประเทศไทย 15
 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ (KLANGPANYA INSTITUTE FOR 16
NATIONAL DEVELOPMENT STRATEGIES)
1
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ประเด็นระหว่างประเทศที่น่าสนใจ
ของ Think Tank ในภูมิภาคยุโรป
 CHATHUM HOUSE
 EUROPEAN COUNCIL ON FORIEGN RELATIONS
เรียบเรียงโดย
จุฑามาศ พูลสวัสดิ์
ผู้ช่วยนักวิจัย
2
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
CHATHUM HOUSE
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมา สถาบัน Chathum House ได้นาเสนอประเด็นความ
เคลื่อนไหวระหว่างประเทศที่น่าสนใจโดยแบ่งเป็นประเด็น ดังนี้
ประเด็นในระดับภูมิภาคเอเชีย
 การแก้วิกฤตโรฮีนจา (Solving the Rohingja Crisis)
Joshua Webb ผู้บริหารแผนงานเอเชียของ Chathum House ได้เขียนบทความถึงสถานการณ์ของ
ภูมิภาคเอเชียในช่วงที่ผ่านมา โดยตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม ปีค.ศ.2015 มีการพบผู้อพยพชาว โรฮีนจากว่า
8,000 คนอยู่บนเรือ 6 ลาเหนือทะเลอันดามัน ในเบื้องต้นมาเลเซียและอินโดนีเซียได้ช่วยผู้อพยพขึ้นฝั่งและ
ให้ที่พักพิงเป็นการชั่วคราว แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าประเทศต่างๆ ใน ASEAN ต่างก็มีความอึดอัดใจหาก
จะต้องให้ความช่วยเหลือในระยะยาวหรือรับเอาชาวโรฮีนจามาพักพิงอย่างถาวรในประเทศของตน โดยล่าสุด
ในการประชุม Kuala Lumpur summit ทุกประเทศต่างแสดงจุดยืนที่จะปฏิเสธความรับผิดชอบต่อชาวโรฮีนจา
โดยพม่าอ้างว่าชาวโรฮีนจาเหล่านี้มิใช่พลเมืองพม่า ส่วนรัฐบาลทหารของไทยก็ยืนยันที่จะช่วยเหลือให้ชาว
โรฮีนจาไปสู่ประเทศปลายทางแต่มิให้พักพิง ในขณะที่ทั้งมาเลเซียและอินโดนีเซียยังยืนยันให้พม่ารับผิดชอบ
ต่อผู้อพยพ
ทั้งนี้ วิกฤตที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นปัญหาสาคัญ 2 ประการ โดยประการแรกคือ หากพม่ายังคงดาเนิน
นโยบายที่กีดกันและพยายามผลักดันคนเหล่านี้ออกนอกประเทศต่อไป วิกฤตชาว โรฮีนจาก็จะยิ่งยืดเยื้อ และ
ประการที่สอง ปัญหาที่เกิดขึ้นยังแสดงให้ว่า ASEAN ประสบความล้มเหลวในการสร้างข้อตกลงทางการเมือง
และกาหนดขอบข่ายด้านกฎหมายที่ชัดเจนในเรื่องการช่วยเหลือเยียวยาผู้อพยพลี้ภัยในภูมิภาค และแม้
ปัจจุบันจะมีการจัดตั้งปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและองค์กรผู้แทนรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิ
มนุษยชน (ASEAN Parliamentarians for Human Rights – APHR) แล้วก็ตาม แต่กลไกดังกล่าวก็ทาได้
เพียงเสนอข้อคิดเห็น ไม่มีบังคับใช้ทางกฎหมาย เนื่องจาก ASEAN Way ได้ให้ความสาคัญกับหลักการไม่
แทรกแซงซึ่งกันและกัน(the principle of non-intervention) จึงทาให้กระบวนการให้ความช่วยเหลือด้าน
มนุษยธรรมแก่ชาวโรฮีนจาเป็นเรื่องที่ทาได้ยาก
อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่สามารถหาทางออกให้กับวิกฤตชาวโรฮีนจาได้ในทันที แต่แนวทางการที่ควรจะ
เป็นคือพม่าต้องแสดงบทบาทหลักในการแก้ปัญหา เนื่องจากเดิมทีชาวโรฮีนจาเป็นมุสลิมชนกลุ่มน้อยที่อาศัย
อยู่บริเวณรัฐยะไข่ของประเทศพม่าและบริเวณชายแดนพม่า – บังกลาเทศ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลพม่าได้ดาเนิน
นโยบายกีดกันและไม่ยอมรับคนกลุ่มนี้เป็นพลเมืองของตน ทาให้ชาวโรฮีนจากลายเป็นบุคคลไร้สัญชาติและมี
ความขัดแย้งกับพลเมืองพม่าในรัฐยะไข่อย่างรุนแรงจนทาให้ต้องอพยพเพื่อย้ายถิ่นฐานไปยังประเทศ
ปลายทางซึ่งเป็นประเทศมุสลิมดังเช่นที่ปรากฏเป็นข่าว ทว่าแนวโน้มที่จะทาให้พม่าร่วมแก้ปัญหานี้ได้อาจ
เกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจากนาย U Nyan Tun รองประธานาธิบดีพม่ายังยืนยันทื่จะปฏิเสธว่าสาเหตุที่ชาวโรฮีนจา
หนีออกจากรัฐยะไข่เป็นเพราะการถูกข่มเหงโดยรัฐบาล
อ้างอิงจาก: บทความ Solving the Rohingja Crisis โดย Joshua Webb, 27 May 2015
URL: http://www.chathamhouse.org/expert/comment/17758
3
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ประเด็นร้อน(hot issue) หรือ งานวิจัยที่น่าสนใจ
 การทบทวนกิจกรรมเพื่อสร้างสุขภาวะ การผลิต – บริโภคอาหารที่ยั่งยืน (Reviewing Interven-
tions for Healthy and Sustainable Diets)
Rob Bailey ผู้อานวยการวิจัยด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของ Chathum House
ได้เสนอรายงานการวิจัยเกี่ยวกับสุขภาพของประชากรว่าขณะนี้ทั่วโลกมีสัดส่วนของประชากรที่เป็นโรคอ้วน
เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีกว่า 1.9 พันล้านอยู่ในภาวะน้าหนักเกิน ซึ่งในจานวนนี้มีผู้ที่เสียชีวิตด้วย
สาเหตุจากความอ้วนมากถึง 3 ล้านคนต่อปี ประเด็นดังกล่าวจึงกลายเป็นปัญหาสาคัญสาหรับประชาคมโลก
ไม่เฉพาะแต่ประเทศร่ารวยเท่านั้น นอกจากนี้ ปัจจุบันกระบวนการผลิตอาหารยังได้สร้างต้นทุนต่อ
สิ่งแวดล้อมในระดับที่สูงมากเนื่องจากเป็นสาเหตุให้เกิดแก็สเรือนกระจกมากถึง 30% ดังนั้นเพื่อให้เกิดสุข
ภาวะที่ยั่งยืน สิ่งที่ดีต่อสุขภาพของคนจึงควรเป็นสิ่งที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมควบคู่กันด้วย โดยแนวคิดนี้ได้สร้าง
ความท้าทายต่อการกาหนดรูปแบบการบริโภคใหม่ที่ต้องคานึงถึงทั้งสุขภาพของผู้บริโภคและคุณภาพของ
สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ซึ่งอุปสรรคที่สาคัญในขณะนี้คือทั่วโลกยังคงไม่มีองค์ความรู้และทรัพยากรด้านการ
จัดการในเรื่องนี้อย่างเพียงพอ อีกทั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจและประชากรอันเป็นผลจากการเติบโตของ
เมือง โดยเฉพาะในประเทศที่มีรายได้ระดับต่าและปานกลาง(low- and middle-income countries: LMICS)
ยังทาให้การบริโภคอาหารที่ไม่ก่อให้เกิดสุขภาวะที่ยั่งยืนยิ่งมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การจัดการเพื่อให้ประชากรมีสุขภาพที่ดีควบคู่กับอาหารและสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพจึงควรอาศัย
การบูรณาการกลยุทธ์หลากหลายด้านเข้าด้วยกัน ซึ่งในระยะแรกเริ่มควรมีการหารือในระดับระหว่างประเทศ
ร่วมกันในหัวข้อดังกล่าวอย่างจริงจังเพื่อนาไปสู่การกาหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ที่ส่งเสริมให้เกิดการผลิต
และบริโภคอาหารที่นาไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน
Photo: Kul Bhatia/Getty Images.
อ้างอิงจาก: บทความ Reviewing Interventions for Healthy and Sustainable Diets โดย Rob Bailey, 29 May 2015
URL: http://www.chathamhouse.org/publication/reviewing-interventions-healthy-and-sustainable-diets
4
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
EUROPEAN COUNCIL ON FORIEGN RELATIONS
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมา สถาบัน European Council on Foreign Relations ได้
นาเสนอประเด็นความเคลื่อนไหวระหว่างประเทศที่น่าสนใจโดยแบ่งเป็นประเด็น ดังนี้
ประเด็นในระดับภูมิภาคเอเชีย
 อานาจทางเศรษฐกิจและอานาจทางการทหารในเอเชีย (Economic and military power in Asia)
Hans Kundnani ผู้อานวยการนักวิจัยของ European Council on Foreign Relations ได้วิเคราะห์
บทความของ Evan Feigenbaum และ Robert Manning ซึ่งเขียนไว้ในปีค.ศ.2012 เกี่ยวกับทวีปเอเชียใน 2
ประเด็น ได้แก่ อานาจทางเศรษฐกิจและอานาจทางการทหาร โดยทั้งสองคนคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเอเชียจะ
เป็นจักรกลสาคัญที่ขับเคลื่อนการเติบโตของโลก ในขณะที่อานาจทางการทหารของเอเชียอาจเป็นสาเหตุซึ่ง
นาไปสู่สงครามครั้งใหญ่ได้อนาคต ปัจจุบันผ่านมากว่า 3 ปี Kundnani พบว่าการคาดการณ์ของทั้งสองคนมี
แนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นจริง เนื่องจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียมีสัดส่วนกาลังทหารสูงขึ้น ในขณะที่
อานาจทางเศรษฐกิจถูกนามาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ด้านความมั่นคงมากขึ้นเช่นกัน จนอาจกล่าวได้ว่าทั้งอานาจ
ทางการทหารและอานาจทางเศรษฐกิจได้กลายมาเป็นเครื่องมือในการแข่งขันระหว่างประเทศอยู่ในปัจจุบัน
จากสถานการณ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น แสดงให้เห็นว่าอานาจทางเศรษฐกิจและอานาจทางการ
ทหารมีความเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด โดยอานาจทางเศรษฐกิจเป็นเสมือนรากฐานที่เสริมสร้างให้เกิดอานาจ
ทางการทหาร ประเทศที่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้มากก็ย่อมมีศักยภาพในการเพิ่มอานาจทางการทหาร
ได้มากเช่นกัน ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด ได้แก่ การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของเศรษฐกิจจีนซึ่งได้ทาให้ประเทศ
จีนร่ารวยจนกลายมาเป็นหนึ่งในมหาอานาจของโลก พร้อมกันนั้นยังนามาซึ่งการเพิ่มงบประมาณด้าน
การทหารมากกว่า 10% ต่อปีจนหลายฝ่ายกังวลว่าอานาจทางการทหารที่เข้มแข็งของจีนอาจกลายมาเป็นภัย
คุกคามต่อประเทศต่างๆ ในกรณีเกิดความขัดแย้ง ด้วยเหตุดังกล่าวสหรัฐอเมริกาจึงพยายามดาเนิน
ยุทธศาสตร์เพื่อขัดขวางการเติบโตของเศรษฐกิจจีนโดยการสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับประเทศอื่นๆ
ในเอเชีย อย่างไรก็ตาม จีนเองก็พยายามลดท่าทีที่แข็งกร้าวในประเด็นทะเลจีนใต้ลงและหันไปใช้เครื่องมือ
ทางเศรษฐกิจเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ผ่านระบบการพึ่งพาหรือการให้ความช่วยเหลือ
มากขึ้นเพื่อผลประโยชน์ด้านยุทธศาสตร์ความมั่นคงของจีนในภูมิภาคเอเชีย แต่ประเด็นดังกล่าวยังคงเป็น
โจทย์ที่ท้าทายสาหรับจีนที่จะสร้างความไว้วางใจให้กับประเทศเพื่อนบ้านและแสดงให้เห็นความร่วมมือซึ่งมี
ลักษณะที่ทุกประเทศได้ประโยชน์(win-win logic of cooperation) อย่างแท้จริง
อ้างอิงจาก: บทความ Economic and military power in Asia โดย Hans Kundnani, 20 April 2015
URL: http://www.ecfr.eu/article/commentary_economic_and_military_power_in_asia3006
5
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ประเด็นเฉพาะระดับประเทศในภูมิภาคเอเชีย
 การสร้างเส้นทางสายไหมใหม่ของจีน (China’s silk road to nowhere)
Angela Stanzel นักวิจัยแผนงานเอเชียและจีนของ European Council on Foreign Relations ได้
เขียนบทความเกี่ยวกับการรื้อฟื้นเส้นทางสายไหมของจีน โดยในปีค.ศ.2013 ที่ผ่านมา ประเทศจีนได้ริเริ่ม
โครงการเส้นทางสายไหมใหม่(New Silk Road project) โดยมีความคาดหวังในการส่งเสริมให้เกิดการ
ท่องเที่ยวในเส้นทางสายไหมเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ซึ่งแนวคิดที่รัฐบาลประธานาธิบดีสีจิ้นผิง
หยิบยกมาใช้เพื่อการพัฒนาดังกล่าว คือ “One Belt and One Road” หรือแนวคิด “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”
โดยหนึ่งแถบมีความหมายถึงความพยายามของจีนในการเชื่อมโยงเส้นทางการค้าและเศรษฐกิจ ในขณะที่
หนึ่งเส้นทางหมายถึง ความเชื่อมโยงทางทะเลที่เรียกว่า 21st
Century Maritime Silk Road ซึ่งจะเชื่อม
เส้นทางการเดินเรือหลักของโลกเข้าด้วยกัน หากความริเริ่มดังกล่าวประสบความสาเร็จ จะทาให้จีนสามารถ
ขยายความร่วมมือไปยังภูมิภาคเอเชียกลาง เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป อันจะช่วยให้
เศรษฐกิจและการคมนาคมของโลกเชื่อมโยงถึงกันได้ง่ายขึ้น
ทว่าโครงการดังกล่าวจะประสบความสาเร็จได้ต้องเริ่มจากการสร้างความร่วมมือระหว่างจีนและ
ประเทศเพื่อนบ้านก่อนเป็นสาคัญ ซึ่งอุปสรรคที่จีนต้องเผชิญคือความสัมพันธ์กับปากีสถานซึ่งเป็นประเทศที่
มีความตึงเครียดกับจีนมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งปากีสถานเองก็ประสบปัญหาความมั่นคงภายในประเทศ
ตนเองอยู่ในขณะนี้ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายสาหรับจีนที่จะพัฒนาให้เกิดความร่วมมือขึ้น ที่ผ่านมาจีนได้พยายาม
กระชับความร่วมมือกับปากีสถานผ่านการเข้าไปลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในโครงการ China – Pakistan
Economic Corridor แต่จนถึงปัจจุบันโครงการดังกล่าวรวมไปถึงการลงทุนของจีนเพื่อพัฒนาเส้นทางสาย
ไหมใหม่ในประเทศอื่นๆ ก็ยังไม่คืบหน้ามากนัก ทั้งนี้สาเหตุเป็นเพราะประเทศต่างๆ ยังคงกังวลว่าโครงการ
ดังกล่าวจะเอื้อประโยชน์ให้เพียงแต่จีนเป็นหลักเท่านั้น จึงนาไปสู่ความท้าทายที่จีนจะต้องปรับบทบาทและ
สร้างความเชื่อมั่นถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับร่วมกันให้กับประเทศเหล่านี้
Photo: http://www.chinausfocus.com
อ้างอิงจาก: บทความ China’s silk road to nowhere โดย Angela Stanzel, 13 May 2015
URL: http://www.ecfr.eu/article/commentary_chinas_silk_road_to_nowhere3025
6
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ประเด็นร้อนระดับโลก(hot issue) หรือ งานวิจัยที่น่าสนใจ
 จีนและการส่งเสริมระเบียบการค้าที่เน้นสินค้าราคาถูก (China’s promotion of a low-cost inter-
national order)
François Godement ผู้อานวยการแผนงานเอเชียและจีนของ European Council on Foreign Re-
lations ได้เขียนบทความถึงระเบียบเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันว่าเป็นเรื่องที่ยากจะปฏิเสธว่าโลกได้มาถึง
ช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนขั้วอานาจ โดยข้อสันนิษฐานที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดในขณะนี้คือ “การที่จีนจะก้าว
ขึ้นมาเป็นประเทศมหาอานาจใหม่ที่กาหนดระเบียบเศรษฐกิจโลก” ซึ่งการผงาดขึ้นของจีนในครั้งนี้ต้องเผชิญ
กับการคัดค้านจากประชาคมโลกไม่น้อย เนื่องจากหลายฝ่ายต่างเห็นพ้องว่าจีนยังไม่มีศักยภาพเพียงพอ
สาหรับความรับผิดชอบที่ต้องมีต่อประชาคมโลก อีกทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนยังถูกมองว่าเป็นการ
เผยแพร่ลัทธิมาร์กซ์ใหม่(Revisionism) ด้วยการพยายามล้มล้างระเบียบการค้าโลกแบบเดิม โดยที่ผ่านมาจุด
แข็งของเศรษฐกิจจีนอยู่ที่การมีสมรรถนะในการผลิตสินค้าราคาถูก แต่สินค้าลักษณะนี้นามาซึ่งปัญหาในการ
ตัดสินทางเลือกระหว่างคุณภาพและราคา กล่าวคือยิ่งสินค้ามีราคาถูกลงเท่าใด คุณภาพก็จะยิ่งต่าลงเท่านั้น
ซึ่งหากจีนกลายเป็นผู้กาหนดราคาสินค้าในตลาดโลก ผลที่ตามมาย่อมเป็นการกระตุ้นให้ผู้ผลิตทั่วโลกต้อง
ลดคุณภาพสินค้าลงเพื่อลดทอนต้นทุนการผลิตให้สินค้ามีราคาถูกและสามารถแข่งขันได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น
จริง สุดท้ายโลกก็จะเปลี่ยนไปสู่การมีระบบการค้าที่เน้นสินค้าราคาถูกโดยมีจีนเป็นผู้นานั่นเอง
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจาเป็นที่จีนจะต้องปรับเปลี่ยนบทบาทไปในทางที่สร้างสรรค์มากขึ้น โดยแทนที่จะ
พยายามล้มล้างระเบียบการค้าเดิม จีนควรเพิ่มเติมหรือปรับเปลี่ยนข้อกาหนดใหม่ให้สอดคล้องกับทั้ง
ผลประโยชน์ที่ทั้งจีนและประเทศอื่นๆ เห็นพ้องต้องกัน แต่ก็มิอาจปฏิเสธได้ว่าประเทศต่างๆ เองก็มีการ
ปรับตัวเพื่อรับมือกับอานาจของจีนเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ยังมีคาถามสาคัญที่ตามมาอีกหลายประการสาหรับ
กรณีดังกล่าวอันได้แก่ จะทาอย่างไรเพื่อให้แต่ละประเทศยอมผ่อนคลายกติกาของตนเองเพื่อนาไปสู่การ
กาหนดกฎเกณฑ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่เหมาะสม และยุทธศาสตร์การเฝ้าระวังเป็นแนวทาง
เหมาะสมที่สุดที่ประเทศต่างๆ ควรใช้ในการแข่งขันระยะยาวกับจีนหรือไม่ และคาถามสาคัญที่สุดคือภายใต้
ระบบเศรษฐกิจโลกที่มีจีนเป็นผู้นามีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะเกิดความร่วมมือที่เป็นเอกภาพ
อ้างอิงจาก: บทความ China’s promotion of a low-cost international order โดย François Godement, 6 May 2015
URL: http://www.ecfr.eu/article/commentary_chinas_promotion_of_a_low_cost_international_order3017
7
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ประเด็นระหว่างประเทศที่น่าสนใจ
ของ Think Tank ในภูมิภาคอเมริกา
 BROOKING INSTITUTION
เรียบเรียงโดย
อนันญลักษณ์ อุทัยพิพัฒนากุล
ผู้ช่วยนักวิจัย
8
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
BROOKING INSTITUTION
ในรอบเดือนมิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา สถาบัน BROOKING INSTITUTION ได้นาเสนอประเด็นที่
เกี่ยวข้องกับทวีปเอเชีย ที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้
ประเด็นเกี่ยวกับภูมิภาคเอเชีย
 ความขัดแย้งระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาในน่านน้าทะเลจีนใต้ (The United States, China and
the South China Sea : Is regional order at risk)
กรณีที่สหรัฐอเมริกาส่งเครื่องบินเข้าไปสอดแนมและเผยแพร่ภาพถ่ายทางอากาศที่แสดงให้เห็นถึงการ
ก่อสร้างเกาะเทียมของจีนเหนือน่านน้าพิพาทหมู่เกาะทะเลจีนใต้ซึ่งมี 6 ประเทศอ้างกรรมสิทธ์เหนือหมู่เกาะ
ดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ทาให้จีนออกมาแสดงความไม่พอใจต่อการกระทาของสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก
ตลอดจนหลายฝ่ายก็ได้ออกมาแสดงความกังวลว่าการกระทาของสหรัฐอเมริกาจะยิ่งเป็นการทวี
ความขัดแย้งให้รุนแรงมากขึ้น และอาจจะพัฒนาไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 3 ได้
ทั้งนี้สหรัฐอเมริกาและจีนก็ต่างออกมายืนยันถึงความถูกต้องของการกระทาตนเอง โดย
สหรัฐอเมริกาอ้างว่าการกระทาของตนนั้นแสดงให้เห็นถึงการยืนยันสิทธิเพื่อรักษาไว้ซึ่งอิสรภาพทางการบิน
และการเดินเรือในพื้นที่ที่อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS) ได้ให้สิทธิไว้
ขณะเดียวกัน จีนก็ได้อ้างถึงความถูกต้องของการก่อสร้างเกาะเทียมว่าเป็นไปตามอานาจอธิปไตยและ
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเลเช่นกัน
Jonathan D.Pollack นักวิจัยอาวุโสของ John L. Thornton China Center และ the Center for East
Asia Policy Studies ที่ Brooking Institute ได้นาเสนอถึงแนวทางเหมาะสมต่อการจัดการความขัดแย้งนี้ คือ
การให้สองประเทศมหาอานาจมาเจรจากันเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในแบบทวิภาคี โดย Jonathan
D.Pollack มองว่าน่าจะเป็นวิธีการที่ดีกว่าการแสดงความไม่พอใจใส่กันผ่านสายตาประชาคมโลก และการใช้
สื่อเป็นเครื่องมือในการโจมตีเหมือนกับที่ผ่านๆมา ทั้งนี้สิ่งที่ควรจะต้องจับตาดูกันต่อไปคือ ท่าทีของผู้นาทั้ง
2 ประเทศกับแนวทางการจัดการต่อปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวโดยไม่ให้กระทบต่อมิตรภาพระหว่างกันใน
ระยะยาว
อ้างอิงจาก: บทความ The United States,China,and the South China Sea : Is regional order at risk โดย Jonathan
D.Pollack, 3 June 2015
สืบค้นจาก: http://www.brookings.edu/blogs/order-from-chaos/posts/2015/06/03-regional-order-south-china-sea-
9
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
 ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกา อินเดีย และจีน
ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการแข่งขันของจีนและอินเดียต่อการขึ้นมาเป็นผู้นา
ทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจในเอเชีย ทั้งนี้เป็นที่รู้กันว่าสหรัฐอเมริกาได้ให้การสนับสนุนอินเดียต่อการ
ขึ้นมาเป็นมหาอานาจของเอเชียในฐานะประเทศที่ใช้ระบอบการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย แต่ใน
ขณะเดียวกัน สหรัฐอเมริกาก็ยังคงกังวลถึงศักยภาพในการพัฒนาประเทศของอินเดียว่าจะสามารถแสดงให้
ประคมโลกได้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันระหว่างประชาธิปไตยและการพัฒนาหรือไม่1
ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและอินเดียได้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างจีน
และปากีสถานก็ค่อนข้างใกล้ชิดกันเช่นกัน โดยเมื่อปีที่ผ่านมาจีนได้เข้าไปลงทุนในโครงการระเบียงเศรษฐกิจ
จากจีนตะวันตกถึงอ่าวเปอร์เซียในปากีสถานด้วยเม็ดเงินลงทุนจานวนมหาศาล2
ในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างกันของทั้ง 4 ประเทศนี้ สหรัฐอเมริกาค่อนข้างกังวลถึงสถานการณ์ที่
ไม่แน่นอนของการก่อร้ายในปากีสถาน ในส่วนของจีน อินเดีย และปากีสถานก็มีประเด็นเรื่องความขัดแย้ง
ทางด้านดินแดนอยู่3
จากที่กล่าวมา จะเห็นถึงการแบ่งโครงสร้างทางพันธมิตรที่ชัดเจน แต่ล่าสุดเมื่อนายกรัฐมนตรีของ
อินเดียไปเยือนจีนและได้มีการเจรจากันในหลายประเด็น ซึ่งประเด็นที่สาคัญที่สุด คือเรื่องของการลงนาม
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีมูลค่าจานวนมหาศาล โดยนายกรัฐมนตรีของอินเดียต้องการเม็ดเงินลงทุนทาง
เศรษฐกิจจากจีน ขณะเดียวกันก็ได้มีการเจรจาถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางด้านการเมืองที่
เกิดขึ้น โดยนายกฯอินเดียได้มีข้อเสนอในการกระชับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ อาทิ การเสริมสร้าง
ความเข้าใจให้กับคนในประเทศทั้งสอง การสร้างสถานกงสุลอินเดียในจีน การสร้างเวที Forum Think Tank
ร่วมกัน เป็นต้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีของอินเดียได้กล่าวว่า “ถ้าศตวรรษที่แล้วเป็นยุคแห่งการแบ่งขั้วพันธมิตร
ศตวรรษนี้จะเป็นยุคที่แต่ละประเทศจะมีอิสระในการเลือกและสร้างพันธมิตร” 4
สุดท้ายนี้ แนวทางการกระชับความสัมพันธ์ของอินเดียและจีนจะเป็นอย่างไร เพราะหลายฝ่ายก็
ค่อนข้างกังวลว่าการไปเยือนจีนของนายกรัฐมนตรีอินเดีย อาจจะส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียและ
สหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ Tanvi Madan นักวิจัยของ the Foreign Policy program ที่ Brooking Institute ได้เสนอ
ให้อินเดียและสหรัฐอเมริกาต้องรักษาระดับความสัมพันธ์ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน ทั้งสองก็ควรที่
จะต้องเสริมสร้างความสัมพันธ์กับจีน โดยสหรัฐอเมริกาและอินเดียควรศึกษาแนวนโยบายการจัดการของ
ประเทศจีน ทั้งในภาคสาธารณะและภาคธุรกิจ อาทิ การจัดเวทีไตรภาคีร่วมกันของทั้งสามประเทศ เพื่อนาพา
ซึ่งผลประโยชน์สูงสุดร่วมกันของทั้งสามประเทศ5
นอกเหนือจากนี้ Tanvi Madan ยังได้เสนอถึงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกา อินเดีย และเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ ว่าควรจะต้องรักษาระดับความสัมพันธ์กับทั้งหมดต่อไป แต่ในขณะเดียวกันก็ควรปล่อย
ประเทศที่เป็นพันธมิตรต่างๆ ให้ได้พัฒนาไปในทิศทางของตนเองตามที่ควรจะเป็นได้ 6
1
Tanvi Madan.(2015).The U.S – India Relationship and China.สืบค้นจาก http://www.brookings.edu/research/opinions/2015/01/20-us-india-relationship-and-china-madan
2
Bruce Riedel.(2015).One year of Modi Government : Us versus them.สืบค้นจาก http://www.brookings.edu/research/opinions/2015/05/25-india-china-pakistan-ties-riedel
3
Bruce Riedel.(2015).One year of Modi Government : Us versus them.สืบค้นจาก http://www.brookings.edu/research/opinions/2015/05/25-india-china-pakistan-ties-riedel
4
Tanvi Madan.(2015). Modi’s trip to China: 6 quick takeaways.สืบค้นจาก http://www.brookings.edu/research/opinions/2015/05/15-modi-china-takeaways-madan
5
Tanvi Madan.(2015).The U.S – India Relationship and China.สืบค้นจาก http://www.brookings.edu/research/opinions/2015/01/20-us-india-relationship-and-china-madan
6
Tanvi Madan.(2015).The U.S – India Relationship and China.สืบค้นจาก http://www.brookings.edu/research/opinions/2015/01/20-us-india-relationship-and-china-madan
10
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ประเด็นเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชีย
 จีนสู่การเป็นผู้นาในการกากับดูแลระเบียบโลก (China an Global Governance)
จากอัตราการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของจีนที่มีมาอย่างต่อเนื่องนั้น ทาให้เราเห็นถึงบทบาททางด้าน
เศรษฐกิจของจีนในประเทศกาลังพัฒนาต่างๆ ทั้งเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา โดยการเข้าไปลงทุนใน
การก่อสร้างโครงการต่างๆของจีนนั้น จีนมักจะเข้าไปทาข้อตกลงและเจรจาในรูปแบบทวิภาคีเป็นรายประเทศ
ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าการกระทาดังกล่าวของจีนเป็นกระบวนการที่ไร้ความน่าเชื่อถือ และไม่เป็นการปฏิบัติตาม
แนวปฏิบัติสากลระหว่างประเทศ
แต่ในการออกนโยบายการต่างประเทศของจีนที่ผ่านมา จีนได้แสดงให้เห็นว่าจีนกาลังจะเปลี่ยน
กระบวนการในการจัดทาข้อตกลงและการเจรจาจาในรูปแบบทวิภาคีไปสู่รูปแบบที่มีความเป็นพหุภาคีมากขึ้น
ทั้งนี้ จีนได้เป็นแกนนาในการก่อตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งใหม่ของกลุ่ม BRICS (บราซิล รัสเซีย อินเดีย
จีน และแอฟริกาใต้) และธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของเอเชีย (AIIB)
โดยหนึ่งในโครงการลงทุนของธนาคาร AIIB คือกองทุนที่มีชื่อว่า Silk Road เป็นกองทุนเพื่อสร้าง
เส้นทางสายไหมใหม่เชื่อมต่อเอเชียกับยุโรป โดยใช้ชื่อว่า One Belt, One Road มีการลงทุนใน 60 ประเทศ
ทั้งทางบกและทางทะเล และยังรวมไปถึงการสร้างระบบสาธารณูปโภคเพื่อการขนส่งสินค้าทุกรูปแบบ
ในการก่อตั้งธนาคารดังกล่าว มีหลากหลายประเทศที่ให้ความสนใจและเข้าร่วมเป็นจานวนมาก โดย
Javier Solana ผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปด้านโยบายการต่างประเทศและความมั่นคง เห็นว่าโครงการ
ดังกล่าวเป็นความพยายามในการเพิ่มและขยายอิทธิพลของจีน ที่ไม่ได้เกิดแค่ในประเทศกาลังพัฒนาแต่รวม
ไปถึงประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างเช่น อังกฤษ นอกเหนือจากนี้ โครงการดังกล่าวยังเป็นโครงการที่สามารถ
สร้างความผ่อนคลายให้กับสถานการณ์ความตึงเครียดเรื่องดินแดนระหว่างจีนกับประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น โครงการดังกล่าวยังแสดงให้เห็นถึงความพ่ายแพ้ทางภูมิรัฐศาสตร์ของสหรัฐ อเมริกาที่มี
ต่อจีน รวมไปถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับสถาบันทางการเงินหลักอย่างกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
จากแนวทางการหลีกเลี่ยงของจีนด้วยการสร้างสถาบันทางการเงินใหม่ขึ้นมาเอง
จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าจีนสามารถสร้างระเบียบโลกใหม่ ที่มีความหลากหลายและไม่ได้ผูกขาดกับ
แนวทางของมหาอานาจเก่าอย่างสหรัฐอเมริกาแต่เพียงอย่างเดียว อาทิ การไม่ให้สิทธิประเทศใดประหนึ่งใน
การมีอานาจ Veto อย่างเด็ดขาดเหมือนกับ IMF แต่ทั้งนี้สิ่งที่ท้าทายสาหรับจีน คือการดาเนินการปฏิบัติงาน
ในแนวนโยบายใหม่ ท่ามกลางการจับตามองของนานาประเทศ รวมถึงสหรัฐฯและญี่ปุ่นที่ปฏิเสธการเข้าร่วม
เพราะกังวลต่อความโปร่งใสและความสามารถในการดาเนินงานของธนาคาร AIIB
อ้างอิงจาก: บทความ China and Global Governance โดย Javier Solana, 30 Mar 2015
สืบค้นจาก: http://www.project-syndicate.org/commentary/china-multilateral-institutions-threaten-us-by-javier-solana-
2015-03
11
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ประเด็นระหว่างประเทศที่น่าสนใจ
ของ Think Tank ในภูมิภาคเอเชีย
 ASIA SOCIETY
 CHINESE ACADEMY OF SOCIAL SCIENCES
 CHINA INSTITUTE OF INTERNATIONAL STUDIES
เรียบเรียงโดย
พิพัฒพงศ์ ชูประสิทธิ์
ผู้ช่วยนักวิจัย
12
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ASIA SOCIETY
ในรอบเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 สถาบัน Asia Society ได้นาเสนอประเด็นความเคลื่อนไหวระหว่าง
ประเทศที่น่าสนใจอยู่ด้วยกัน 3 ประเด็น ดังนี้
 รัฐบาลจีนระงับแผนการถมทะเลสร้างเกาะเทียมในทะเลจีนใต้
เมื่อวันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558 นาย Tom Nagorski รองประธานสถาบัน Asia Society ได้
เขียนบันทึกลงใน Asia Blog หัวข้อ China's Top Diplomat to US: Stop the “Megaphone Diplomacy”1
สรุปสาระสาคัญได้ดังนี้
 เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลสหรัฐฯ และประเทศในกลุ่มอาเซียน มีความกังวลต่อการถมทะเลสร้าง
เกาะเทียมในทะเลจีนใต้ โดยเฉพาะรัฐบาลสหรัฐฯที่ได้ลักลอบดักฟังทางโทรศัพท์กองทัพเรือจีน และ
พยายามโจรกรรมข้อมูลของรัฐบาลจีนเพื่อประณามการกระทาดังกล่าว
 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน นายหวาง ยี่ วิจารณ์ตอบโต้รัฐบาลสหรัฐฯที่แอบดักฟัง
กองทัพเรือจีนระหว่างทาการถมทะเลในทะเลจีนใต้ โดยนายหวาง ยี่ ได้แถลงจุดยืนของรัฐบาลจีนว่า
การถมทะเลสร้างเกาะเทียมในทะเลจีนใต้เป็นการกระทาที่ไม่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศแต่อย่าง
ใด
 อินเดียจะเป็นประเทศมหาอานาจใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิ กได้หรือไม่
เมื่อวันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ประธานสถาบันนโยบายสังคมแห่งเอเชีย (Asia Society
Policy Institute) นาย Kevin Rudd ได้จัดเวทีประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ India Under Modi:
One Year In2
สาระสาคัญสรุปได้ดังนี้
 ด้านเศรษฐกิจ: สภาพเศรษฐกิจของอินเดียในปัจจุบันมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และมีศักยภาพ
เพียงพอที่จะเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิกในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิ ก
(APEC) ซึ่งจะช่วยเพิ่มอานาจการต่อรองทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกในภูมิภาค
 ด้านยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ: ทิศทางนโยบายการต่างประเทศของอินเดียในศตวรรษที่ 21 ยัง
ขาดกระบวนทัศน์เชิงรุกอยู่มาก แม้จะมีความพยายามในการขยายความร่วมมือในด้านการซื้อขาย
อาวุธกับสหรัฐฯ (The Defense Technology Initiative) แต่หากดูภาพรวมของยุทธศาสตร์การ
ต่างประเทศแล้วจะพบว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก
 การผงาดขึ้นมาของทวีปเอเชียกับบทบาทของสหรัฐฯในปัจจุบัน
เมื่อวันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 นาย Ian Bremmer ประธานสถาบัน Eurasia Group ได้ร่วม
สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ Rising Asia and America’s Evolving Global Role 3
1
http://asiasociety.org/blog/asia/chinas-top-diplomat-us-stop-megaphone-diplomacy
utm_campaign=socialmedia&utm_source=facebook&utm_medium=socialmedia เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558
2
http://asiasociety.org/policy-institute/india-under-modi-one-year เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558
13
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
โดยมีนาย Kevin Rudd เป็นผู้ดาเนินรายการ และสรุปการประชุมโดย นาย Joshua Rosenfield ผู้อานวยการ
สานักวิเคราะห์แผนยุทธศาสตร์ สถาบันนโยบายสังคมแห่งเอเชีย สาระสาคัญของการประชุมสรุปได้ดังนี้
 สหรัฐฯควรปรับทิศทางในการดาเนินนโยบายการต่างประเทศต่อจีนและประเทศในทวีปเอเชียใหม่ และ
ควรแสดงจุดยืนต่อการผงาดขึ้นมาของจีนให้ชัดเจน
 สหรัฐฯควรมองจีนเป็นประเทศพันธมิตรประเทศหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ร่วมกันมายาวนาน หากสหรัฐฯ
มองว่าจีนคือภัยคุกคาม อาจส่งผลให้สหรัฐฯสูญเสียความไว้วางใจจากประเทศพันธมิตรไม่ว่าจะเป็น
ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประเทศมีศักยภาพในการรักษาเสถียรภาพใน
ภาคพื้นทวีปเอเชีย
CHINESE ACADEMY OF SOCIAL SCIENCES
ในรอบเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมา สถาบัน Chinese Academy of Social Science ได้เสนอ
ประเด็นปัญหาภายในของรัฐบาลสหรัฐฯกับภารกิจในการจัดระเบียบโลกใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับ
สหรัฐฯในประเด็นธรรมาภิบาลและสันติภาพของโลกในศตวรรษที่ 21 สรุปได้ดังนี้
 จีนกับสหรัฐฯควรร่วมมือกันรับผิดชอบในธรรมาภิบาลโลก
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557 นาย Li Yang รองประธานสถาบันฯ เข้าร่วมสัมมนาใน
หัวข้อ Trends of U.S. Domestic and Foreign Policy and Sino – U.S. Relations4
จัดโดยสภาประชาชน
จีน (Chinese National People’s Congress) สรุปการประชุมโดย นาย Jiang Hong นักวิจัยสถาบันฯ
สาระสาคัญของการประชุมสรุปได้ดังนี้
 ปัจจุบันการเมืองภายในรัฐบาลสหรัฐฯ กาลังประสบกับปัญหาการแบ่งแยกภายในรัฐบาล และมีปัญหา
เศรษฐกิจที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ทาให้รัฐบาลสหรัฐฯลดบทบาทด้านการต่างประเทศลงไปมาก ทิศทาง
นโยบายระหว่างประเทศของสหรัฐฯจึงไม่ชัดเจนเหมือนแต่ก่อน การดาเนินนโยบายการต่างประเทศต่อ
จีนจึงมีความไม่ชัดเจน
 ส่วนการเมืองจีนในปัจจุบันมีความเข้มแข็งมากขึ้นทุกวัน และมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มั่นคง
และมีเสถียรภาพ เป็นที่น่าไว้วางใจต่อนักลงทุนชาวต่างชาติ จึงทาให้การกาหนดทิศทางนโยบาย
ระหว่างประเทศของจีนในศตวรรษที่ 21 มีทิศทางที่ชัดเจน
 แม้ว่าทั้งสองประเทศจะมีความแตกต่างกันด้านอุดมการณ์ทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจ จีนกับ
สหรัฐฯต้องร่วมมือกันให้ความช่วยเหลือต่อประชาคมโลก โดยต้องมีการพัฒนาการสื่อสารให้มี
ประสิทธิภาพมากกว่านี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเข้าใจผิดและความไม่ไว้วางใจระหว่างกัน
4
http://casseng.cssn.cn/focus/201408/t20140828_1308040.html เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558
14
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
CHINA INSTITUTE OF INTERNATIONAL STUDIES
ในรอบเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 สถาบัน China Institute of International Studies (CIIS) ได้
นาเสนอบทความและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวกับแนวคิดในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 2 เรื่อง ดังนี้
 สู่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในรูปแบบใหม่
เมื่อวันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ดร. Ruan Zongze นักวิจัยอาวุโส ณ สถาบันฯ ได้เขียน
บทความหัวข้อ Toward a New Type of International Relations: Transcending History to Win the
Future5
สาระสาคัญสรุปได้ดังนี้
 ประธานาธิบดี สี จินผิง ได้ริเริ่มแนวคิดความร่วมมือแบบได้ประโยชน์จากทุกฝ่าย (win-win coopera-
tion) เป็นแนวคิดที่ไม่เคยปรากฏในโลกตะวันตกและถือเป็นแนวคิดใหม่ในโลกตะวันออกที่ไม่ต้องการ
ให้มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบในเวทีการแข่งขันระหว่างประเทศ
 จีนในศตวรรษที่ 21 ต้องการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตที่เป็นมิตรกับทุกประเทศในโลก ไม่ว่าจะ
เป็นประเทศที่มีอานาจในการต่อรองมากกว่าจีนที่อยู่นอกภูมิภาคอย่างสหรัฐฯ หรือประเทศเพื่อนบ้าน
ที่มีศักยภาพในการต่อรองน้อยกว่าจีนอย่างไทย
 เปรียบเทียบแนวคิด ‘สร้างโลกสมานฉันท์’ กับ ‘ธรรมมาภิบาล’
เอกสารรายงานวิชาการหัวข้อ A Comparative Study of the Concepts of “Building a Harmoni-
ous World” and “Global Governance”6
เขียนโดย ดร. Thomas Fues และ ดร. Lin Youfa เป็นความ
ร่วมมือระหว่างสถาบัน German Development Institute กับ China Institute of International Studies โดย
ความแตกต่างของ 2 แนวคิดดังกล่าว สรุปได้ดังนี้
 แนวคิดสร้างโลกที่สมานฉันท์ เป็นแนวคิดที่มีรากฐานมาจาก win – win cooperation เพราะเชื่อว่า
การเมืองของโลกจะสมานฉันท์กันได้ ประเทศต่างๆต้องมีความร่วมมือกันอย่างลงตัว
 จีนต้องการเสนอแนวคิดที่จะเป็นทางเลือกให้กับประชาคมระหว่างประเทศ เพราะรัฐบาลจีนเชื่อว่า
ระบบธรรมาภิบาลของโลกแบบตะวันตกที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ไม่มีธรรมาภิบาลที่แท้จริง ประเทศที่มี
ต้นทุนและศักยภาพมากกว่ามักกดดันประเทศที่มีศักยภาพด้อยกว่า
5
http://www.ciis.org.cn/english/2015-06/19/content_8006094.htm เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558
15
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ประเด็นระหว่างประเทศที่น่าสนใจ
ของ Think Tank ในประเทศไทย
 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
(KLANGPANYA INSTITUTE FOR NATIONAL
DEVELOPMENT STRATEGIES)
เรียบเรียงโดย
พิพัฒพงศ์ ชูประสิทธิ์
ผู้ช่วยนักวิจัย
16
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
(KLANGPANYA INSTITUTE FOR NATIONAL
DEVELOPMENT STRATEGIES)
ในเดือนที่ผ่านมา สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติได้จัดการประชุมเวที Think Tank
ครั้งที่ 7 เรื่อง ‚การปฏิรูปนโยบายการต่างประเทศของไทยในยุคบูรพาภิวัฒน์: ข้อเสนอแนะเชิง
นโยบาย ‛ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2558 ซึ่งผลการประชุมทาให้ทราบว่า หลังสิ้นสุดสงครามเย็น
โลกได้เปลี่ยนแปลงจากระบบหลายขั้วอานาจ (Multipolar World Order) มาสู่ระบบขั้วอานาจเดียว
(Unipolar World Order) คือ มีสหรัฐอเมริกาเป็นเพียงประเทศเดียวที่ครองอานาจทั้งทางการเมืองและ
ความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมถึงอานาจการซื้อขายทางเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และ
ปัจจุบันจะพบว่าการผงาดขึ้นมาของจีนในด้านอานาจทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มจะแซงหน้าสหรัฐอเมริกา
ในอีกไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า รวมไปถึงการแข่งขันระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกาในภาคพื้นทวีปเอเชีย
แปซิฟิก ซึ่งชี้ให้เห็นว่าโลกในปัจจุบันกาลังเข้าสู่ในยุคบูรพาภิวัฒน์และกาลังเกิดขึ้นจริง โดยประเทศ
ไทยจะปรับตัวภายใต้กระแสบูรพาภิวัฒน์อย่างไร การปฏิรูปกรอบแนวคิดการต่างประเทศจะสามารถ
สอดรับต่อกระแสบูรพาภิวัฒน์ได้หรือไม่ ในเวทีการประชุมระดมสมองที่จัดโดยสถาบันคลังปัญญาด้าน
ยุทธศาสตร์ชาติได้วิเคราะห์ปัญหาการต่างประเทศของไทยที่กาลังเผชิญอยู่ดังต่อไปนี้
1.ปัญหาการต่างประเทศที่เกิดจากปัจจัยภายในประเทศ
1.1 กลุ่มธุรกิจการเมืองครอบงานโยบายการต่างประเทศของไทย นโยบายการ
ต่างประเทศถูกใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มทุน กลุ่มผลประโยชน์ รวมไปถึงความอยู่รอด
ของกลุ่มธุรกิจมากกว่าการคานึงถึงผลประโยชน์แห่งชาติและความอยู่รอดของรัฐเป็นหลัก
1.2 การประสานงานขาดความเป็นเอกภาพ กระทรวงการต่างประเทศกับหน่วยงานอื่นๆ
ยังขาดความเป็นเอกภาพและไม่มีบูรณาการระหว่างหน่วยงานจึงยังไม่สามารถดาเนินงานไปในทิศทาง
เดียวกันได้
1.3 ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศยังมีทัศนคติในการทางานแบบดั้งเดิม จากอดีต
จนถึงปัจจุบัน ทัศนคติและแบบแผนการทางานของข้าราชการมักทามาอย่างไรก็ทาไปอย่างนั้น เรียกว่า
17
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
2. ปัญหาการต่างประเทศที่เกิดจากปัจจัยภายนอกประเทศ
2.1 การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมโลก โลกในปัจจุบันกาลังเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์กล่าวคือ
ปัญหาและความท้าทายต่างๆได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ยากที่จะรับมือและหาแนวทางป้องกันในเวลาอัน
จากัด ภัยคุกคามที่มาจากภายนอกรัฐดังกล่าวทาให้ประเทศไทยยังคงขาดพลังอานาจด้านการ
ต่างประเทศอยู่มาก ซึ่งในปัจจุบันทาได้แค่เพียงคอยตามแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น
2.2 การผลิตวาทกรรมชวนเชื่อของประเทศมหาอานาจเพื่อครอบงาประเทศที่กาลัง
พัฒนา ประเทศมหาอานาจในฐานะที่เป็นแหล่งผลิตข้อมูลข่าวสารได้ผลิตวาทกรรมชวนเชื่อ โดยอาศัย
เทคโนโลยีที่ตนมีเป็นเครื่องมือในการยัดเยียดค่านิยมประเพณีให้กับบางประเทศที่อยู่ในสภาวะ
ระส่าระส่ายทางการเมือง โดยอ้างเหตุผลในนามของมวลมนุษยชาติ ไม่ว่าจะเป็นการสถาปนาการ
ปกครองในระบอบเสรีประชาธิปไตย
2.3 ความท้าทายของยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมใหม่ในศตวรรษที่ 21 จีนได้ผลักดัน
แนวคิดเรื่อง ยุทธศาสตร์ 1 แถบ 1 เส้นทาง (One Belt One Road) โดยยุทธศาสตร์ดังกล่าวมีโครงการ
ที่จะใช้ คอคอดกระ เป็นหนึ่งในเส้นทางการสัญจรทางทะเลเพื่อเชื่อมจีนตะวันออกสู่มหาสมุทรอินเดีย
แต่หลายฝ่ายของไทยยังคงมีความกังวลถึงข้อเรียกร้องของจีนว่าอาจจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของ
ไทยในระยะยาว
2.4 ปัญหาในระดับภูมิภาค ปัญหาการจัดการพรหมแดนในอาเซียนจะเกิดขึ้นหลังจากประเทศ
สมาชิกได้เข้าสู่ประชาคมอาเซียน
3. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการปฏิรูป
จากปัญหาที่กล่าวมาได้ชี้ให้เห็นว่าเราควรต้องเพิ่มอานาจการต่อรองด้านการทูตในเวทีระหว่าง
ประเทศมากขึ้นโดยการ ปฏิรูปกรอบแนวคิดการต่างประเทศของไทย แนวคิดของผู้กาหนดนโยบาย
การต่างประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัฒน์ควรมีการปรับมุมมองต่อสถานการณ์และบริบทในการ
ต่างประเทศในลักษณะเชิงรุก (Offensive) มากกว่าเชิงรับ (Defensive) พร้อมทั้ง รื้อฟื้นความเข้าใจที่
ถูกต้อง และเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกัน กระทรวงการต่างประเทศควรเสริมสร้างความเข้าใจ
เกี่ยวกับสันติภาพโลกให้กับภาคส่วนต่างๆทั้งในภาคประชาชน ตลอดจนภาคธุรกิจให้ได้รับรู้ ปรับตัว
และก้าวตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ทัน ประกอบกับ ปฏิรูปโครงสร้างการบริหาร
กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศผลักดันให้มี ‚พระราชบัญญัติการต่างประเทศ
(Foreign Service Act)‛ เพราะจะทาให้โครงสร้างการทางานมีความชัดเจนมากขึ้น และสร้างกลไก
สนับสนุนทางวิชาการด้านต่างประเทศ การขับเคลื่อนกรอบนโยบายการต่างประเทศให้สัมฤทธิ์ผลใน
ปัจจุบันจาเป็นต้องอาศัยสถาบันวิชาการ หรือสถาบันวิจัยที่ดาเนินการเป็นอิสระจากกระทรวงการ
ต่างประเทศ รวมถึงหน่วยงานราชการอื่นๆ
โดยสรุป กระทรวงการต่างประเทศในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การ
ต่างประเทศควรเริ่มดาเนินการปฏิรูปแบบองค์รวมและต้องดาเนินการแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เพื่อปรับ
โครงสร้างขององค์กรให้มีความสอดคล้องกับโลกในยุคบูรพาภิวัฒน์ต่อไป
18
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ผู้อานวยการสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ : ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
บรรณาธิการ: น.ส.ยุวดี คาดการณ์ไกล
เรียบเรียง: น.ส.จุฑามาศ พูลสวัสดิ์
น.ส.อนันญลักษณ์ อุทัยพิพัฒนากุล
นายพิพัฒพงศ์ ชูประสิทธิ์
ปีที่พิมพ์: มิถุนายน 2558
สานักพิมพ์: มูลนิธิสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ
เพิ่มเติมได้ที่ www.rsu-brain.com
ที่อยู่ติดต่อ
วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ 52/347 พหลโยธิน 87 ตาบลหลักหก อาเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 12000
โทรศัพท์ 02-997-2200 ต่อ 1283 โทรสาร 02-997-2200 ต่อ 1216
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร
กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-930-0026 โทรสาร 02-930-0064

Contenu connexe

En vedette

World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559
World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559
World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559Klangpanya
 
กระบวนการสร้างสันติภาพใน Asean
กระบวนการสร้างสันติภาพใน Aseanกระบวนการสร้างสันติภาพใน Asean
กระบวนการสร้างสันติภาพใน AseanTaraya Srivilas
 
เบื้องหลังรัฐประหารตุรกีกับการต่อสู้ทางการเมือง
เบื้องหลังรัฐประหารตุรกีกับการต่อสู้ทางการเมืองเบื้องหลังรัฐประหารตุรกีกับการต่อสู้ทางการเมือง
เบื้องหลังรัฐประหารตุรกีกับการต่อสู้ทางการเมืองKlangpanya
 
World Think Tank Monitors ฉบับที่ 6 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2558
World Think Tank Monitors ฉบับที่ 6 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2558World Think Tank Monitors ฉบับที่ 6 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2558
World Think Tank Monitors ฉบับที่ 6 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2558Klangpanya
 
ขบวนการรัฐอิสลาม (Islamic State ; IS) ในฐานะตัวแสดงระหว่างประเทศ : นัยต่อโลก ...
ขบวนการรัฐอิสลาม (Islamic State ; IS) ในฐานะตัวแสดงระหว่างประเทศ : นัยต่อโลก ...ขบวนการรัฐอิสลาม (Islamic State ; IS) ในฐานะตัวแสดงระหว่างประเทศ : นัยต่อโลก ...
ขบวนการรัฐอิสลาม (Islamic State ; IS) ในฐานะตัวแสดงระหว่างประเทศ : นัยต่อโลก ...Klangpanya
 
World Think Tank Monitors l มกราคม 2559
World Think Tank Monitors l มกราคม 2559 World Think Tank Monitors l มกราคม 2559
World Think Tank Monitors l มกราคม 2559 Klangpanya
 
World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559
World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559
World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559Klangpanya
 
World Think Tank Monitors l เมษายน 2559
World Think Tank Monitors l เมษายน 2559World Think Tank Monitors l เมษายน 2559
World Think Tank Monitors l เมษายน 2559Klangpanya
 
บทบาทสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
บทบาทสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2บทบาทสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
บทบาทสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2Princess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559Klangpanya
 
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือจากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือTaraya Srivilas
 
บทวิเคราะห์ความขัดแย้งไอร์แลนด์เหนือ
บทวิเคราะห์ความขัดแย้งไอร์แลนด์เหนือบทวิเคราะห์ความขัดแย้งไอร์แลนด์เหนือ
บทวิเคราะห์ความขัดแย้งไอร์แลนด์เหนือTaraya Srivilas
 
บทบาทมหาอำนาจของโลก Cmmu
บทบาทมหาอำนาจของโลก Cmmuบทบาทมหาอำนาจของโลก Cmmu
บทบาทมหาอำนาจของโลก CmmuTaraya Srivilas
 
ทรัมป์กับบูรพาภิวัตน์
ทรัมป์กับบูรพาภิวัตน์ทรัมป์กับบูรพาภิวัตน์
ทรัมป์กับบูรพาภิวัตน์Klangpanya
 
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559World Think Tank Monitors l กันยายน 2559
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559Klangpanya
 
World Think Tank Monitors l พฤศจิกายน 2559
World Think Tank Monitors l พฤศจิกายน 2559World Think Tank Monitors l พฤศจิกายน 2559
World Think Tank Monitors l พฤศจิกายน 2559Klangpanya
 
OBOR Monitor I พฤศจิกายน 2559
OBOR Monitor I พฤศจิกายน 2559OBOR Monitor I พฤศจิกายน 2559
OBOR Monitor I พฤศจิกายน 2559Klangpanya
 
OBOR Monitor I ตุลาคม 2559
OBOR Monitor I ตุลาคม 2559OBOR Monitor I ตุลาคม 2559
OBOR Monitor I ตุลาคม 2559Klangpanya
 

En vedette (20)

World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559
World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559
World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559
 
กระบวนการสร้างสันติภาพใน Asean
กระบวนการสร้างสันติภาพใน Aseanกระบวนการสร้างสันติภาพใน Asean
กระบวนการสร้างสันติภาพใน Asean
 
เบื้องหลังรัฐประหารตุรกีกับการต่อสู้ทางการเมือง
เบื้องหลังรัฐประหารตุรกีกับการต่อสู้ทางการเมืองเบื้องหลังรัฐประหารตุรกีกับการต่อสู้ทางการเมือง
เบื้องหลังรัฐประหารตุรกีกับการต่อสู้ทางการเมือง
 
World Think Tank Monitors ฉบับที่ 6 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2558
World Think Tank Monitors ฉบับที่ 6 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2558World Think Tank Monitors ฉบับที่ 6 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2558
World Think Tank Monitors ฉบับที่ 6 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2558
 
บทบาทสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลก2
บทบาทสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลก2บทบาทสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลก2
บทบาทสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลก2
 
ขบวนการรัฐอิสลาม (Islamic State ; IS) ในฐานะตัวแสดงระหว่างประเทศ : นัยต่อโลก ...
ขบวนการรัฐอิสลาม (Islamic State ; IS) ในฐานะตัวแสดงระหว่างประเทศ : นัยต่อโลก ...ขบวนการรัฐอิสลาม (Islamic State ; IS) ในฐานะตัวแสดงระหว่างประเทศ : นัยต่อโลก ...
ขบวนการรัฐอิสลาม (Islamic State ; IS) ในฐานะตัวแสดงระหว่างประเทศ : นัยต่อโลก ...
 
World Think Tank Monitors l มกราคม 2559
World Think Tank Monitors l มกราคม 2559 World Think Tank Monitors l มกราคม 2559
World Think Tank Monitors l มกราคม 2559
 
World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559
World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559
World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559
 
World Think Tank Monitors l เมษายน 2559
World Think Tank Monitors l เมษายน 2559World Think Tank Monitors l เมษายน 2559
World Think Tank Monitors l เมษายน 2559
 
บทบาทสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
บทบาทสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2บทบาทสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
บทบาทสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
 
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559
 
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือจากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
 
บทวิเคราะห์ความขัดแย้งไอร์แลนด์เหนือ
บทวิเคราะห์ความขัดแย้งไอร์แลนด์เหนือบทวิเคราะห์ความขัดแย้งไอร์แลนด์เหนือ
บทวิเคราะห์ความขัดแย้งไอร์แลนด์เหนือ
 
SOM KROB KID Portfoilio
SOM KROB KID PortfoilioSOM KROB KID Portfoilio
SOM KROB KID Portfoilio
 
บทบาทมหาอำนาจของโลก Cmmu
บทบาทมหาอำนาจของโลก Cmmuบทบาทมหาอำนาจของโลก Cmmu
บทบาทมหาอำนาจของโลก Cmmu
 
ทรัมป์กับบูรพาภิวัตน์
ทรัมป์กับบูรพาภิวัตน์ทรัมป์กับบูรพาภิวัตน์
ทรัมป์กับบูรพาภิวัตน์
 
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559World Think Tank Monitors l กันยายน 2559
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559
 
World Think Tank Monitors l พฤศจิกายน 2559
World Think Tank Monitors l พฤศจิกายน 2559World Think Tank Monitors l พฤศจิกายน 2559
World Think Tank Monitors l พฤศจิกายน 2559
 
OBOR Monitor I พฤศจิกายน 2559
OBOR Monitor I พฤศจิกายน 2559OBOR Monitor I พฤศจิกายน 2559
OBOR Monitor I พฤศจิกายน 2559
 
OBOR Monitor I ตุลาคม 2559
OBOR Monitor I ตุลาคม 2559OBOR Monitor I ตุลาคม 2559
OBOR Monitor I ตุลาคม 2559
 

Plus de Klangpanya

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยKlangpanya
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคKlangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยKlangpanya
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนKlangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsKlangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 

Plus de Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 

World Think Thank Monitors ฉบับที่ 1

  • 2. สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต สารบัญ หน้า ประเด็นระหว่างประเทศที่น่าสนใจของ Think Tank ในภูมิภาคยุโรป 1  CHATHUM HOUSE 2  EUROPEAN COUNCIL ON FORIEGN RELATIONS 4 ประเด็นระหว่างประเทศที่น่าสนใจของ Think Tank ในภูมิภาคอเมริกา 7  BROOKING INSTITUTION 8 ประเด็นระหว่างประเทศที่น่าสนใจของ Think Tank ในภูมิภาคเอเชีย 11  ASIA SOCIETY 12  CHINESE ACADEMY OF SOCIAL SCIENCES 13  CHINA INSTITUTE OF INTERNATIONAL STUDIES 14 ประเด็นระหว่างประเทศที่น่าสนใจของ Think Tank ในประเทศไทย 15  สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ (KLANGPANYA INSTITUTE FOR 16 NATIONAL DEVELOPMENT STRATEGIES)
  • 3. 1 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ประเด็นระหว่างประเทศที่น่าสนใจ ของ Think Tank ในภูมิภาคยุโรป  CHATHUM HOUSE  EUROPEAN COUNCIL ON FORIEGN RELATIONS เรียบเรียงโดย จุฑามาศ พูลสวัสดิ์ ผู้ช่วยนักวิจัย
  • 4. 2 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต CHATHUM HOUSE ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมา สถาบัน Chathum House ได้นาเสนอประเด็นความ เคลื่อนไหวระหว่างประเทศที่น่าสนใจโดยแบ่งเป็นประเด็น ดังนี้ ประเด็นในระดับภูมิภาคเอเชีย  การแก้วิกฤตโรฮีนจา (Solving the Rohingja Crisis) Joshua Webb ผู้บริหารแผนงานเอเชียของ Chathum House ได้เขียนบทความถึงสถานการณ์ของ ภูมิภาคเอเชียในช่วงที่ผ่านมา โดยตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม ปีค.ศ.2015 มีการพบผู้อพยพชาว โรฮีนจากว่า 8,000 คนอยู่บนเรือ 6 ลาเหนือทะเลอันดามัน ในเบื้องต้นมาเลเซียและอินโดนีเซียได้ช่วยผู้อพยพขึ้นฝั่งและ ให้ที่พักพิงเป็นการชั่วคราว แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าประเทศต่างๆ ใน ASEAN ต่างก็มีความอึดอัดใจหาก จะต้องให้ความช่วยเหลือในระยะยาวหรือรับเอาชาวโรฮีนจามาพักพิงอย่างถาวรในประเทศของตน โดยล่าสุด ในการประชุม Kuala Lumpur summit ทุกประเทศต่างแสดงจุดยืนที่จะปฏิเสธความรับผิดชอบต่อชาวโรฮีนจา โดยพม่าอ้างว่าชาวโรฮีนจาเหล่านี้มิใช่พลเมืองพม่า ส่วนรัฐบาลทหารของไทยก็ยืนยันที่จะช่วยเหลือให้ชาว โรฮีนจาไปสู่ประเทศปลายทางแต่มิให้พักพิง ในขณะที่ทั้งมาเลเซียและอินโดนีเซียยังยืนยันให้พม่ารับผิดชอบ ต่อผู้อพยพ ทั้งนี้ วิกฤตที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นปัญหาสาคัญ 2 ประการ โดยประการแรกคือ หากพม่ายังคงดาเนิน นโยบายที่กีดกันและพยายามผลักดันคนเหล่านี้ออกนอกประเทศต่อไป วิกฤตชาว โรฮีนจาก็จะยิ่งยืดเยื้อ และ ประการที่สอง ปัญหาที่เกิดขึ้นยังแสดงให้ว่า ASEAN ประสบความล้มเหลวในการสร้างข้อตกลงทางการเมือง และกาหนดขอบข่ายด้านกฎหมายที่ชัดเจนในเรื่องการช่วยเหลือเยียวยาผู้อพยพลี้ภัยในภูมิภาค และแม้ ปัจจุบันจะมีการจัดตั้งปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและองค์กรผู้แทนรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิ มนุษยชน (ASEAN Parliamentarians for Human Rights – APHR) แล้วก็ตาม แต่กลไกดังกล่าวก็ทาได้ เพียงเสนอข้อคิดเห็น ไม่มีบังคับใช้ทางกฎหมาย เนื่องจาก ASEAN Way ได้ให้ความสาคัญกับหลักการไม่ แทรกแซงซึ่งกันและกัน(the principle of non-intervention) จึงทาให้กระบวนการให้ความช่วยเหลือด้าน มนุษยธรรมแก่ชาวโรฮีนจาเป็นเรื่องที่ทาได้ยาก อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่สามารถหาทางออกให้กับวิกฤตชาวโรฮีนจาได้ในทันที แต่แนวทางการที่ควรจะ เป็นคือพม่าต้องแสดงบทบาทหลักในการแก้ปัญหา เนื่องจากเดิมทีชาวโรฮีนจาเป็นมุสลิมชนกลุ่มน้อยที่อาศัย อยู่บริเวณรัฐยะไข่ของประเทศพม่าและบริเวณชายแดนพม่า – บังกลาเทศ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลพม่าได้ดาเนิน นโยบายกีดกันและไม่ยอมรับคนกลุ่มนี้เป็นพลเมืองของตน ทาให้ชาวโรฮีนจากลายเป็นบุคคลไร้สัญชาติและมี ความขัดแย้งกับพลเมืองพม่าในรัฐยะไข่อย่างรุนแรงจนทาให้ต้องอพยพเพื่อย้ายถิ่นฐานไปยังประเทศ ปลายทางซึ่งเป็นประเทศมุสลิมดังเช่นที่ปรากฏเป็นข่าว ทว่าแนวโน้มที่จะทาให้พม่าร่วมแก้ปัญหานี้ได้อาจ เกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจากนาย U Nyan Tun รองประธานาธิบดีพม่ายังยืนยันทื่จะปฏิเสธว่าสาเหตุที่ชาวโรฮีนจา หนีออกจากรัฐยะไข่เป็นเพราะการถูกข่มเหงโดยรัฐบาล อ้างอิงจาก: บทความ Solving the Rohingja Crisis โดย Joshua Webb, 27 May 2015 URL: http://www.chathamhouse.org/expert/comment/17758
  • 5. 3 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ประเด็นร้อน(hot issue) หรือ งานวิจัยที่น่าสนใจ  การทบทวนกิจกรรมเพื่อสร้างสุขภาวะ การผลิต – บริโภคอาหารที่ยั่งยืน (Reviewing Interven- tions for Healthy and Sustainable Diets) Rob Bailey ผู้อานวยการวิจัยด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของ Chathum House ได้เสนอรายงานการวิจัยเกี่ยวกับสุขภาพของประชากรว่าขณะนี้ทั่วโลกมีสัดส่วนของประชากรที่เป็นโรคอ้วน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีกว่า 1.9 พันล้านอยู่ในภาวะน้าหนักเกิน ซึ่งในจานวนนี้มีผู้ที่เสียชีวิตด้วย สาเหตุจากความอ้วนมากถึง 3 ล้านคนต่อปี ประเด็นดังกล่าวจึงกลายเป็นปัญหาสาคัญสาหรับประชาคมโลก ไม่เฉพาะแต่ประเทศร่ารวยเท่านั้น นอกจากนี้ ปัจจุบันกระบวนการผลิตอาหารยังได้สร้างต้นทุนต่อ สิ่งแวดล้อมในระดับที่สูงมากเนื่องจากเป็นสาเหตุให้เกิดแก็สเรือนกระจกมากถึง 30% ดังนั้นเพื่อให้เกิดสุข ภาวะที่ยั่งยืน สิ่งที่ดีต่อสุขภาพของคนจึงควรเป็นสิ่งที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมควบคู่กันด้วย โดยแนวคิดนี้ได้สร้าง ความท้าทายต่อการกาหนดรูปแบบการบริโภคใหม่ที่ต้องคานึงถึงทั้งสุขภาพของผู้บริโภคและคุณภาพของ สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ซึ่งอุปสรรคที่สาคัญในขณะนี้คือทั่วโลกยังคงไม่มีองค์ความรู้และทรัพยากรด้านการ จัดการในเรื่องนี้อย่างเพียงพอ อีกทั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจและประชากรอันเป็นผลจากการเติบโตของ เมือง โดยเฉพาะในประเทศที่มีรายได้ระดับต่าและปานกลาง(low- and middle-income countries: LMICS) ยังทาให้การบริโภคอาหารที่ไม่ก่อให้เกิดสุขภาวะที่ยั่งยืนยิ่งมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การจัดการเพื่อให้ประชากรมีสุขภาพที่ดีควบคู่กับอาหารและสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพจึงควรอาศัย การบูรณาการกลยุทธ์หลากหลายด้านเข้าด้วยกัน ซึ่งในระยะแรกเริ่มควรมีการหารือในระดับระหว่างประเทศ ร่วมกันในหัวข้อดังกล่าวอย่างจริงจังเพื่อนาไปสู่การกาหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ที่ส่งเสริมให้เกิดการผลิต และบริโภคอาหารที่นาไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน Photo: Kul Bhatia/Getty Images. อ้างอิงจาก: บทความ Reviewing Interventions for Healthy and Sustainable Diets โดย Rob Bailey, 29 May 2015 URL: http://www.chathamhouse.org/publication/reviewing-interventions-healthy-and-sustainable-diets
  • 6. 4 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต EUROPEAN COUNCIL ON FORIEGN RELATIONS ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมา สถาบัน European Council on Foreign Relations ได้ นาเสนอประเด็นความเคลื่อนไหวระหว่างประเทศที่น่าสนใจโดยแบ่งเป็นประเด็น ดังนี้ ประเด็นในระดับภูมิภาคเอเชีย  อานาจทางเศรษฐกิจและอานาจทางการทหารในเอเชีย (Economic and military power in Asia) Hans Kundnani ผู้อานวยการนักวิจัยของ European Council on Foreign Relations ได้วิเคราะห์ บทความของ Evan Feigenbaum และ Robert Manning ซึ่งเขียนไว้ในปีค.ศ.2012 เกี่ยวกับทวีปเอเชียใน 2 ประเด็น ได้แก่ อานาจทางเศรษฐกิจและอานาจทางการทหาร โดยทั้งสองคนคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเอเชียจะ เป็นจักรกลสาคัญที่ขับเคลื่อนการเติบโตของโลก ในขณะที่อานาจทางการทหารของเอเชียอาจเป็นสาเหตุซึ่ง นาไปสู่สงครามครั้งใหญ่ได้อนาคต ปัจจุบันผ่านมากว่า 3 ปี Kundnani พบว่าการคาดการณ์ของทั้งสองคนมี แนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นจริง เนื่องจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียมีสัดส่วนกาลังทหารสูงขึ้น ในขณะที่ อานาจทางเศรษฐกิจถูกนามาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ด้านความมั่นคงมากขึ้นเช่นกัน จนอาจกล่าวได้ว่าทั้งอานาจ ทางการทหารและอานาจทางเศรษฐกิจได้กลายมาเป็นเครื่องมือในการแข่งขันระหว่างประเทศอยู่ในปัจจุบัน จากสถานการณ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น แสดงให้เห็นว่าอานาจทางเศรษฐกิจและอานาจทางการ ทหารมีความเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด โดยอานาจทางเศรษฐกิจเป็นเสมือนรากฐานที่เสริมสร้างให้เกิดอานาจ ทางการทหาร ประเทศที่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้มากก็ย่อมมีศักยภาพในการเพิ่มอานาจทางการทหาร ได้มากเช่นกัน ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด ได้แก่ การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของเศรษฐกิจจีนซึ่งได้ทาให้ประเทศ จีนร่ารวยจนกลายมาเป็นหนึ่งในมหาอานาจของโลก พร้อมกันนั้นยังนามาซึ่งการเพิ่มงบประมาณด้าน การทหารมากกว่า 10% ต่อปีจนหลายฝ่ายกังวลว่าอานาจทางการทหารที่เข้มแข็งของจีนอาจกลายมาเป็นภัย คุกคามต่อประเทศต่างๆ ในกรณีเกิดความขัดแย้ง ด้วยเหตุดังกล่าวสหรัฐอเมริกาจึงพยายามดาเนิน ยุทธศาสตร์เพื่อขัดขวางการเติบโตของเศรษฐกิจจีนโดยการสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย อย่างไรก็ตาม จีนเองก็พยายามลดท่าทีที่แข็งกร้าวในประเด็นทะเลจีนใต้ลงและหันไปใช้เครื่องมือ ทางเศรษฐกิจเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ผ่านระบบการพึ่งพาหรือการให้ความช่วยเหลือ มากขึ้นเพื่อผลประโยชน์ด้านยุทธศาสตร์ความมั่นคงของจีนในภูมิภาคเอเชีย แต่ประเด็นดังกล่าวยังคงเป็น โจทย์ที่ท้าทายสาหรับจีนที่จะสร้างความไว้วางใจให้กับประเทศเพื่อนบ้านและแสดงให้เห็นความร่วมมือซึ่งมี ลักษณะที่ทุกประเทศได้ประโยชน์(win-win logic of cooperation) อย่างแท้จริง อ้างอิงจาก: บทความ Economic and military power in Asia โดย Hans Kundnani, 20 April 2015 URL: http://www.ecfr.eu/article/commentary_economic_and_military_power_in_asia3006
  • 7. 5 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ประเด็นเฉพาะระดับประเทศในภูมิภาคเอเชีย  การสร้างเส้นทางสายไหมใหม่ของจีน (China’s silk road to nowhere) Angela Stanzel นักวิจัยแผนงานเอเชียและจีนของ European Council on Foreign Relations ได้ เขียนบทความเกี่ยวกับการรื้อฟื้นเส้นทางสายไหมของจีน โดยในปีค.ศ.2013 ที่ผ่านมา ประเทศจีนได้ริเริ่ม โครงการเส้นทางสายไหมใหม่(New Silk Road project) โดยมีความคาดหวังในการส่งเสริมให้เกิดการ ท่องเที่ยวในเส้นทางสายไหมเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ซึ่งแนวคิดที่รัฐบาลประธานาธิบดีสีจิ้นผิง หยิบยกมาใช้เพื่อการพัฒนาดังกล่าว คือ “One Belt and One Road” หรือแนวคิด “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” โดยหนึ่งแถบมีความหมายถึงความพยายามของจีนในการเชื่อมโยงเส้นทางการค้าและเศรษฐกิจ ในขณะที่ หนึ่งเส้นทางหมายถึง ความเชื่อมโยงทางทะเลที่เรียกว่า 21st Century Maritime Silk Road ซึ่งจะเชื่อม เส้นทางการเดินเรือหลักของโลกเข้าด้วยกัน หากความริเริ่มดังกล่าวประสบความสาเร็จ จะทาให้จีนสามารถ ขยายความร่วมมือไปยังภูมิภาคเอเชียกลาง เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป อันจะช่วยให้ เศรษฐกิจและการคมนาคมของโลกเชื่อมโยงถึงกันได้ง่ายขึ้น ทว่าโครงการดังกล่าวจะประสบความสาเร็จได้ต้องเริ่มจากการสร้างความร่วมมือระหว่างจีนและ ประเทศเพื่อนบ้านก่อนเป็นสาคัญ ซึ่งอุปสรรคที่จีนต้องเผชิญคือความสัมพันธ์กับปากีสถานซึ่งเป็นประเทศที่ มีความตึงเครียดกับจีนมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งปากีสถานเองก็ประสบปัญหาความมั่นคงภายในประเทศ ตนเองอยู่ในขณะนี้ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายสาหรับจีนที่จะพัฒนาให้เกิดความร่วมมือขึ้น ที่ผ่านมาจีนได้พยายาม กระชับความร่วมมือกับปากีสถานผ่านการเข้าไปลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในโครงการ China – Pakistan Economic Corridor แต่จนถึงปัจจุบันโครงการดังกล่าวรวมไปถึงการลงทุนของจีนเพื่อพัฒนาเส้นทางสาย ไหมใหม่ในประเทศอื่นๆ ก็ยังไม่คืบหน้ามากนัก ทั้งนี้สาเหตุเป็นเพราะประเทศต่างๆ ยังคงกังวลว่าโครงการ ดังกล่าวจะเอื้อประโยชน์ให้เพียงแต่จีนเป็นหลักเท่านั้น จึงนาไปสู่ความท้าทายที่จีนจะต้องปรับบทบาทและ สร้างความเชื่อมั่นถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับร่วมกันให้กับประเทศเหล่านี้ Photo: http://www.chinausfocus.com อ้างอิงจาก: บทความ China’s silk road to nowhere โดย Angela Stanzel, 13 May 2015 URL: http://www.ecfr.eu/article/commentary_chinas_silk_road_to_nowhere3025
  • 8. 6 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ประเด็นร้อนระดับโลก(hot issue) หรือ งานวิจัยที่น่าสนใจ  จีนและการส่งเสริมระเบียบการค้าที่เน้นสินค้าราคาถูก (China’s promotion of a low-cost inter- national order) François Godement ผู้อานวยการแผนงานเอเชียและจีนของ European Council on Foreign Re- lations ได้เขียนบทความถึงระเบียบเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันว่าเป็นเรื่องที่ยากจะปฏิเสธว่าโลกได้มาถึง ช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนขั้วอานาจ โดยข้อสันนิษฐานที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดในขณะนี้คือ “การที่จีนจะก้าว ขึ้นมาเป็นประเทศมหาอานาจใหม่ที่กาหนดระเบียบเศรษฐกิจโลก” ซึ่งการผงาดขึ้นของจีนในครั้งนี้ต้องเผชิญ กับการคัดค้านจากประชาคมโลกไม่น้อย เนื่องจากหลายฝ่ายต่างเห็นพ้องว่าจีนยังไม่มีศักยภาพเพียงพอ สาหรับความรับผิดชอบที่ต้องมีต่อประชาคมโลก อีกทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนยังถูกมองว่าเป็นการ เผยแพร่ลัทธิมาร์กซ์ใหม่(Revisionism) ด้วยการพยายามล้มล้างระเบียบการค้าโลกแบบเดิม โดยที่ผ่านมาจุด แข็งของเศรษฐกิจจีนอยู่ที่การมีสมรรถนะในการผลิตสินค้าราคาถูก แต่สินค้าลักษณะนี้นามาซึ่งปัญหาในการ ตัดสินทางเลือกระหว่างคุณภาพและราคา กล่าวคือยิ่งสินค้ามีราคาถูกลงเท่าใด คุณภาพก็จะยิ่งต่าลงเท่านั้น ซึ่งหากจีนกลายเป็นผู้กาหนดราคาสินค้าในตลาดโลก ผลที่ตามมาย่อมเป็นการกระตุ้นให้ผู้ผลิตทั่วโลกต้อง ลดคุณภาพสินค้าลงเพื่อลดทอนต้นทุนการผลิตให้สินค้ามีราคาถูกและสามารถแข่งขันได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น จริง สุดท้ายโลกก็จะเปลี่ยนไปสู่การมีระบบการค้าที่เน้นสินค้าราคาถูกโดยมีจีนเป็นผู้นานั่นเอง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจาเป็นที่จีนจะต้องปรับเปลี่ยนบทบาทไปในทางที่สร้างสรรค์มากขึ้น โดยแทนที่จะ พยายามล้มล้างระเบียบการค้าเดิม จีนควรเพิ่มเติมหรือปรับเปลี่ยนข้อกาหนดใหม่ให้สอดคล้องกับทั้ง ผลประโยชน์ที่ทั้งจีนและประเทศอื่นๆ เห็นพ้องต้องกัน แต่ก็มิอาจปฏิเสธได้ว่าประเทศต่างๆ เองก็มีการ ปรับตัวเพื่อรับมือกับอานาจของจีนเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ยังมีคาถามสาคัญที่ตามมาอีกหลายประการสาหรับ กรณีดังกล่าวอันได้แก่ จะทาอย่างไรเพื่อให้แต่ละประเทศยอมผ่อนคลายกติกาของตนเองเพื่อนาไปสู่การ กาหนดกฎเกณฑ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่เหมาะสม และยุทธศาสตร์การเฝ้าระวังเป็นแนวทาง เหมาะสมที่สุดที่ประเทศต่างๆ ควรใช้ในการแข่งขันระยะยาวกับจีนหรือไม่ และคาถามสาคัญที่สุดคือภายใต้ ระบบเศรษฐกิจโลกที่มีจีนเป็นผู้นามีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะเกิดความร่วมมือที่เป็นเอกภาพ อ้างอิงจาก: บทความ China’s promotion of a low-cost international order โดย François Godement, 6 May 2015 URL: http://www.ecfr.eu/article/commentary_chinas_promotion_of_a_low_cost_international_order3017
  • 9. 7 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ประเด็นระหว่างประเทศที่น่าสนใจ ของ Think Tank ในภูมิภาคอเมริกา  BROOKING INSTITUTION เรียบเรียงโดย อนันญลักษณ์ อุทัยพิพัฒนากุล ผู้ช่วยนักวิจัย
  • 10. 8 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต BROOKING INSTITUTION ในรอบเดือนมิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา สถาบัน BROOKING INSTITUTION ได้นาเสนอประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับทวีปเอเชีย ที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้ ประเด็นเกี่ยวกับภูมิภาคเอเชีย  ความขัดแย้งระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาในน่านน้าทะเลจีนใต้ (The United States, China and the South China Sea : Is regional order at risk) กรณีที่สหรัฐอเมริกาส่งเครื่องบินเข้าไปสอดแนมและเผยแพร่ภาพถ่ายทางอากาศที่แสดงให้เห็นถึงการ ก่อสร้างเกาะเทียมของจีนเหนือน่านน้าพิพาทหมู่เกาะทะเลจีนใต้ซึ่งมี 6 ประเทศอ้างกรรมสิทธ์เหนือหมู่เกาะ ดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ทาให้จีนออกมาแสดงความไม่พอใจต่อการกระทาของสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก ตลอดจนหลายฝ่ายก็ได้ออกมาแสดงความกังวลว่าการกระทาของสหรัฐอเมริกาจะยิ่งเป็นการทวี ความขัดแย้งให้รุนแรงมากขึ้น และอาจจะพัฒนาไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 3 ได้ ทั้งนี้สหรัฐอเมริกาและจีนก็ต่างออกมายืนยันถึงความถูกต้องของการกระทาตนเอง โดย สหรัฐอเมริกาอ้างว่าการกระทาของตนนั้นแสดงให้เห็นถึงการยืนยันสิทธิเพื่อรักษาไว้ซึ่งอิสรภาพทางการบิน และการเดินเรือในพื้นที่ที่อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS) ได้ให้สิทธิไว้ ขณะเดียวกัน จีนก็ได้อ้างถึงความถูกต้องของการก่อสร้างเกาะเทียมว่าเป็นไปตามอานาจอธิปไตยและ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเลเช่นกัน Jonathan D.Pollack นักวิจัยอาวุโสของ John L. Thornton China Center และ the Center for East Asia Policy Studies ที่ Brooking Institute ได้นาเสนอถึงแนวทางเหมาะสมต่อการจัดการความขัดแย้งนี้ คือ การให้สองประเทศมหาอานาจมาเจรจากันเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในแบบทวิภาคี โดย Jonathan D.Pollack มองว่าน่าจะเป็นวิธีการที่ดีกว่าการแสดงความไม่พอใจใส่กันผ่านสายตาประชาคมโลก และการใช้ สื่อเป็นเครื่องมือในการโจมตีเหมือนกับที่ผ่านๆมา ทั้งนี้สิ่งที่ควรจะต้องจับตาดูกันต่อไปคือ ท่าทีของผู้นาทั้ง 2 ประเทศกับแนวทางการจัดการต่อปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวโดยไม่ให้กระทบต่อมิตรภาพระหว่างกันใน ระยะยาว อ้างอิงจาก: บทความ The United States,China,and the South China Sea : Is regional order at risk โดย Jonathan D.Pollack, 3 June 2015 สืบค้นจาก: http://www.brookings.edu/blogs/order-from-chaos/posts/2015/06/03-regional-order-south-china-sea-
  • 11. 9 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต  ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกา อินเดีย และจีน ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการแข่งขันของจีนและอินเดียต่อการขึ้นมาเป็นผู้นา ทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจในเอเชีย ทั้งนี้เป็นที่รู้กันว่าสหรัฐอเมริกาได้ให้การสนับสนุนอินเดียต่อการ ขึ้นมาเป็นมหาอานาจของเอเชียในฐานะประเทศที่ใช้ระบอบการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย แต่ใน ขณะเดียวกัน สหรัฐอเมริกาก็ยังคงกังวลถึงศักยภาพในการพัฒนาประเทศของอินเดียว่าจะสามารถแสดงให้ ประคมโลกได้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันระหว่างประชาธิปไตยและการพัฒนาหรือไม่1 ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและอินเดียได้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างจีน และปากีสถานก็ค่อนข้างใกล้ชิดกันเช่นกัน โดยเมื่อปีที่ผ่านมาจีนได้เข้าไปลงทุนในโครงการระเบียงเศรษฐกิจ จากจีนตะวันตกถึงอ่าวเปอร์เซียในปากีสถานด้วยเม็ดเงินลงทุนจานวนมหาศาล2 ในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างกันของทั้ง 4 ประเทศนี้ สหรัฐอเมริกาค่อนข้างกังวลถึงสถานการณ์ที่ ไม่แน่นอนของการก่อร้ายในปากีสถาน ในส่วนของจีน อินเดีย และปากีสถานก็มีประเด็นเรื่องความขัดแย้ง ทางด้านดินแดนอยู่3 จากที่กล่าวมา จะเห็นถึงการแบ่งโครงสร้างทางพันธมิตรที่ชัดเจน แต่ล่าสุดเมื่อนายกรัฐมนตรีของ อินเดียไปเยือนจีนและได้มีการเจรจากันในหลายประเด็น ซึ่งประเด็นที่สาคัญที่สุด คือเรื่องของการลงนาม ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีมูลค่าจานวนมหาศาล โดยนายกรัฐมนตรีของอินเดียต้องการเม็ดเงินลงทุนทาง เศรษฐกิจจากจีน ขณะเดียวกันก็ได้มีการเจรจาถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางด้านการเมืองที่ เกิดขึ้น โดยนายกฯอินเดียได้มีข้อเสนอในการกระชับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ อาทิ การเสริมสร้าง ความเข้าใจให้กับคนในประเทศทั้งสอง การสร้างสถานกงสุลอินเดียในจีน การสร้างเวที Forum Think Tank ร่วมกัน เป็นต้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีของอินเดียได้กล่าวว่า “ถ้าศตวรรษที่แล้วเป็นยุคแห่งการแบ่งขั้วพันธมิตร ศตวรรษนี้จะเป็นยุคที่แต่ละประเทศจะมีอิสระในการเลือกและสร้างพันธมิตร” 4 สุดท้ายนี้ แนวทางการกระชับความสัมพันธ์ของอินเดียและจีนจะเป็นอย่างไร เพราะหลายฝ่ายก็ ค่อนข้างกังวลว่าการไปเยือนจีนของนายกรัฐมนตรีอินเดีย อาจจะส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียและ สหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ Tanvi Madan นักวิจัยของ the Foreign Policy program ที่ Brooking Institute ได้เสนอ ให้อินเดียและสหรัฐอเมริกาต้องรักษาระดับความสัมพันธ์ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน ทั้งสองก็ควรที่ จะต้องเสริมสร้างความสัมพันธ์กับจีน โดยสหรัฐอเมริกาและอินเดียควรศึกษาแนวนโยบายการจัดการของ ประเทศจีน ทั้งในภาคสาธารณะและภาคธุรกิจ อาทิ การจัดเวทีไตรภาคีร่วมกันของทั้งสามประเทศ เพื่อนาพา ซึ่งผลประโยชน์สูงสุดร่วมกันของทั้งสามประเทศ5 นอกเหนือจากนี้ Tanvi Madan ยังได้เสนอถึงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกา อินเดีย และเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ว่าควรจะต้องรักษาระดับความสัมพันธ์กับทั้งหมดต่อไป แต่ในขณะเดียวกันก็ควรปล่อย ประเทศที่เป็นพันธมิตรต่างๆ ให้ได้พัฒนาไปในทิศทางของตนเองตามที่ควรจะเป็นได้ 6 1 Tanvi Madan.(2015).The U.S – India Relationship and China.สืบค้นจาก http://www.brookings.edu/research/opinions/2015/01/20-us-india-relationship-and-china-madan 2 Bruce Riedel.(2015).One year of Modi Government : Us versus them.สืบค้นจาก http://www.brookings.edu/research/opinions/2015/05/25-india-china-pakistan-ties-riedel 3 Bruce Riedel.(2015).One year of Modi Government : Us versus them.สืบค้นจาก http://www.brookings.edu/research/opinions/2015/05/25-india-china-pakistan-ties-riedel 4 Tanvi Madan.(2015). Modi’s trip to China: 6 quick takeaways.สืบค้นจาก http://www.brookings.edu/research/opinions/2015/05/15-modi-china-takeaways-madan 5 Tanvi Madan.(2015).The U.S – India Relationship and China.สืบค้นจาก http://www.brookings.edu/research/opinions/2015/01/20-us-india-relationship-and-china-madan 6 Tanvi Madan.(2015).The U.S – India Relationship and China.สืบค้นจาก http://www.brookings.edu/research/opinions/2015/01/20-us-india-relationship-and-china-madan
  • 12. 10 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ประเด็นเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชีย  จีนสู่การเป็นผู้นาในการกากับดูแลระเบียบโลก (China an Global Governance) จากอัตราการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของจีนที่มีมาอย่างต่อเนื่องนั้น ทาให้เราเห็นถึงบทบาททางด้าน เศรษฐกิจของจีนในประเทศกาลังพัฒนาต่างๆ ทั้งเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา โดยการเข้าไปลงทุนใน การก่อสร้างโครงการต่างๆของจีนนั้น จีนมักจะเข้าไปทาข้อตกลงและเจรจาในรูปแบบทวิภาคีเป็นรายประเทศ ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าการกระทาดังกล่าวของจีนเป็นกระบวนการที่ไร้ความน่าเชื่อถือ และไม่เป็นการปฏิบัติตาม แนวปฏิบัติสากลระหว่างประเทศ แต่ในการออกนโยบายการต่างประเทศของจีนที่ผ่านมา จีนได้แสดงให้เห็นว่าจีนกาลังจะเปลี่ยน กระบวนการในการจัดทาข้อตกลงและการเจรจาจาในรูปแบบทวิภาคีไปสู่รูปแบบที่มีความเป็นพหุภาคีมากขึ้น ทั้งนี้ จีนได้เป็นแกนนาในการก่อตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งใหม่ของกลุ่ม BRICS (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้) และธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของเอเชีย (AIIB) โดยหนึ่งในโครงการลงทุนของธนาคาร AIIB คือกองทุนที่มีชื่อว่า Silk Road เป็นกองทุนเพื่อสร้าง เส้นทางสายไหมใหม่เชื่อมต่อเอเชียกับยุโรป โดยใช้ชื่อว่า One Belt, One Road มีการลงทุนใน 60 ประเทศ ทั้งทางบกและทางทะเล และยังรวมไปถึงการสร้างระบบสาธารณูปโภคเพื่อการขนส่งสินค้าทุกรูปแบบ ในการก่อตั้งธนาคารดังกล่าว มีหลากหลายประเทศที่ให้ความสนใจและเข้าร่วมเป็นจานวนมาก โดย Javier Solana ผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปด้านโยบายการต่างประเทศและความมั่นคง เห็นว่าโครงการ ดังกล่าวเป็นความพยายามในการเพิ่มและขยายอิทธิพลของจีน ที่ไม่ได้เกิดแค่ในประเทศกาลังพัฒนาแต่รวม ไปถึงประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างเช่น อังกฤษ นอกเหนือจากนี้ โครงการดังกล่าวยังเป็นโครงการที่สามารถ สร้างความผ่อนคลายให้กับสถานการณ์ความตึงเครียดเรื่องดินแดนระหว่างจีนกับประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น โครงการดังกล่าวยังแสดงให้เห็นถึงความพ่ายแพ้ทางภูมิรัฐศาสตร์ของสหรัฐ อเมริกาที่มี ต่อจีน รวมไปถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับสถาบันทางการเงินหลักอย่างกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) จากแนวทางการหลีกเลี่ยงของจีนด้วยการสร้างสถาบันทางการเงินใหม่ขึ้นมาเอง จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าจีนสามารถสร้างระเบียบโลกใหม่ ที่มีความหลากหลายและไม่ได้ผูกขาดกับ แนวทางของมหาอานาจเก่าอย่างสหรัฐอเมริกาแต่เพียงอย่างเดียว อาทิ การไม่ให้สิทธิประเทศใดประหนึ่งใน การมีอานาจ Veto อย่างเด็ดขาดเหมือนกับ IMF แต่ทั้งนี้สิ่งที่ท้าทายสาหรับจีน คือการดาเนินการปฏิบัติงาน ในแนวนโยบายใหม่ ท่ามกลางการจับตามองของนานาประเทศ รวมถึงสหรัฐฯและญี่ปุ่นที่ปฏิเสธการเข้าร่วม เพราะกังวลต่อความโปร่งใสและความสามารถในการดาเนินงานของธนาคาร AIIB อ้างอิงจาก: บทความ China and Global Governance โดย Javier Solana, 30 Mar 2015 สืบค้นจาก: http://www.project-syndicate.org/commentary/china-multilateral-institutions-threaten-us-by-javier-solana- 2015-03
  • 13. 11 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ประเด็นระหว่างประเทศที่น่าสนใจ ของ Think Tank ในภูมิภาคเอเชีย  ASIA SOCIETY  CHINESE ACADEMY OF SOCIAL SCIENCES  CHINA INSTITUTE OF INTERNATIONAL STUDIES เรียบเรียงโดย พิพัฒพงศ์ ชูประสิทธิ์ ผู้ช่วยนักวิจัย
  • 14. 12 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ASIA SOCIETY ในรอบเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 สถาบัน Asia Society ได้นาเสนอประเด็นความเคลื่อนไหวระหว่าง ประเทศที่น่าสนใจอยู่ด้วยกัน 3 ประเด็น ดังนี้  รัฐบาลจีนระงับแผนการถมทะเลสร้างเกาะเทียมในทะเลจีนใต้ เมื่อวันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558 นาย Tom Nagorski รองประธานสถาบัน Asia Society ได้ เขียนบันทึกลงใน Asia Blog หัวข้อ China's Top Diplomat to US: Stop the “Megaphone Diplomacy”1 สรุปสาระสาคัญได้ดังนี้  เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลสหรัฐฯ และประเทศในกลุ่มอาเซียน มีความกังวลต่อการถมทะเลสร้าง เกาะเทียมในทะเลจีนใต้ โดยเฉพาะรัฐบาลสหรัฐฯที่ได้ลักลอบดักฟังทางโทรศัพท์กองทัพเรือจีน และ พยายามโจรกรรมข้อมูลของรัฐบาลจีนเพื่อประณามการกระทาดังกล่าว  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน นายหวาง ยี่ วิจารณ์ตอบโต้รัฐบาลสหรัฐฯที่แอบดักฟัง กองทัพเรือจีนระหว่างทาการถมทะเลในทะเลจีนใต้ โดยนายหวาง ยี่ ได้แถลงจุดยืนของรัฐบาลจีนว่า การถมทะเลสร้างเกาะเทียมในทะเลจีนใต้เป็นการกระทาที่ไม่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศแต่อย่าง ใด  อินเดียจะเป็นประเทศมหาอานาจใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิ กได้หรือไม่ เมื่อวันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ประธานสถาบันนโยบายสังคมแห่งเอเชีย (Asia Society Policy Institute) นาย Kevin Rudd ได้จัดเวทีประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ India Under Modi: One Year In2 สาระสาคัญสรุปได้ดังนี้  ด้านเศรษฐกิจ: สภาพเศรษฐกิจของอินเดียในปัจจุบันมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และมีศักยภาพ เพียงพอที่จะเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิกในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิ ก (APEC) ซึ่งจะช่วยเพิ่มอานาจการต่อรองทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกในภูมิภาค  ด้านยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ: ทิศทางนโยบายการต่างประเทศของอินเดียในศตวรรษที่ 21 ยัง ขาดกระบวนทัศน์เชิงรุกอยู่มาก แม้จะมีความพยายามในการขยายความร่วมมือในด้านการซื้อขาย อาวุธกับสหรัฐฯ (The Defense Technology Initiative) แต่หากดูภาพรวมของยุทธศาสตร์การ ต่างประเทศแล้วจะพบว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก  การผงาดขึ้นมาของทวีปเอเชียกับบทบาทของสหรัฐฯในปัจจุบัน เมื่อวันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 นาย Ian Bremmer ประธานสถาบัน Eurasia Group ได้ร่วม สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ Rising Asia and America’s Evolving Global Role 3 1 http://asiasociety.org/blog/asia/chinas-top-diplomat-us-stop-megaphone-diplomacy utm_campaign=socialmedia&utm_source=facebook&utm_medium=socialmedia เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558 2 http://asiasociety.org/policy-institute/india-under-modi-one-year เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558
  • 15. 13 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยมีนาย Kevin Rudd เป็นผู้ดาเนินรายการ และสรุปการประชุมโดย นาย Joshua Rosenfield ผู้อานวยการ สานักวิเคราะห์แผนยุทธศาสตร์ สถาบันนโยบายสังคมแห่งเอเชีย สาระสาคัญของการประชุมสรุปได้ดังนี้  สหรัฐฯควรปรับทิศทางในการดาเนินนโยบายการต่างประเทศต่อจีนและประเทศในทวีปเอเชียใหม่ และ ควรแสดงจุดยืนต่อการผงาดขึ้นมาของจีนให้ชัดเจน  สหรัฐฯควรมองจีนเป็นประเทศพันธมิตรประเทศหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ร่วมกันมายาวนาน หากสหรัฐฯ มองว่าจีนคือภัยคุกคาม อาจส่งผลให้สหรัฐฯสูญเสียความไว้วางใจจากประเทศพันธมิตรไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประเทศมีศักยภาพในการรักษาเสถียรภาพใน ภาคพื้นทวีปเอเชีย CHINESE ACADEMY OF SOCIAL SCIENCES ในรอบเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมา สถาบัน Chinese Academy of Social Science ได้เสนอ ประเด็นปัญหาภายในของรัฐบาลสหรัฐฯกับภารกิจในการจัดระเบียบโลกใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับ สหรัฐฯในประเด็นธรรมาภิบาลและสันติภาพของโลกในศตวรรษที่ 21 สรุปได้ดังนี้  จีนกับสหรัฐฯควรร่วมมือกันรับผิดชอบในธรรมาภิบาลโลก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557 นาย Li Yang รองประธานสถาบันฯ เข้าร่วมสัมมนาใน หัวข้อ Trends of U.S. Domestic and Foreign Policy and Sino – U.S. Relations4 จัดโดยสภาประชาชน จีน (Chinese National People’s Congress) สรุปการประชุมโดย นาย Jiang Hong นักวิจัยสถาบันฯ สาระสาคัญของการประชุมสรุปได้ดังนี้  ปัจจุบันการเมืองภายในรัฐบาลสหรัฐฯ กาลังประสบกับปัญหาการแบ่งแยกภายในรัฐบาล และมีปัญหา เศรษฐกิจที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ทาให้รัฐบาลสหรัฐฯลดบทบาทด้านการต่างประเทศลงไปมาก ทิศทาง นโยบายระหว่างประเทศของสหรัฐฯจึงไม่ชัดเจนเหมือนแต่ก่อน การดาเนินนโยบายการต่างประเทศต่อ จีนจึงมีความไม่ชัดเจน  ส่วนการเมืองจีนในปัจจุบันมีความเข้มแข็งมากขึ้นทุกวัน และมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มั่นคง และมีเสถียรภาพ เป็นที่น่าไว้วางใจต่อนักลงทุนชาวต่างชาติ จึงทาให้การกาหนดทิศทางนโยบาย ระหว่างประเทศของจีนในศตวรรษที่ 21 มีทิศทางที่ชัดเจน  แม้ว่าทั้งสองประเทศจะมีความแตกต่างกันด้านอุดมการณ์ทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจ จีนกับ สหรัฐฯต้องร่วมมือกันให้ความช่วยเหลือต่อประชาคมโลก โดยต้องมีการพัฒนาการสื่อสารให้มี ประสิทธิภาพมากกว่านี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเข้าใจผิดและความไม่ไว้วางใจระหว่างกัน 4 http://casseng.cssn.cn/focus/201408/t20140828_1308040.html เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558
  • 16. 14 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต CHINA INSTITUTE OF INTERNATIONAL STUDIES ในรอบเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 สถาบัน China Institute of International Studies (CIIS) ได้ นาเสนอบทความและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวกับแนวคิดในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 2 เรื่อง ดังนี้  สู่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในรูปแบบใหม่ เมื่อวันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ดร. Ruan Zongze นักวิจัยอาวุโส ณ สถาบันฯ ได้เขียน บทความหัวข้อ Toward a New Type of International Relations: Transcending History to Win the Future5 สาระสาคัญสรุปได้ดังนี้  ประธานาธิบดี สี จินผิง ได้ริเริ่มแนวคิดความร่วมมือแบบได้ประโยชน์จากทุกฝ่าย (win-win coopera- tion) เป็นแนวคิดที่ไม่เคยปรากฏในโลกตะวันตกและถือเป็นแนวคิดใหม่ในโลกตะวันออกที่ไม่ต้องการ ให้มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบในเวทีการแข่งขันระหว่างประเทศ  จีนในศตวรรษที่ 21 ต้องการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตที่เป็นมิตรกับทุกประเทศในโลก ไม่ว่าจะ เป็นประเทศที่มีอานาจในการต่อรองมากกว่าจีนที่อยู่นอกภูมิภาคอย่างสหรัฐฯ หรือประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีศักยภาพในการต่อรองน้อยกว่าจีนอย่างไทย  เปรียบเทียบแนวคิด ‘สร้างโลกสมานฉันท์’ กับ ‘ธรรมมาภิบาล’ เอกสารรายงานวิชาการหัวข้อ A Comparative Study of the Concepts of “Building a Harmoni- ous World” and “Global Governance”6 เขียนโดย ดร. Thomas Fues และ ดร. Lin Youfa เป็นความ ร่วมมือระหว่างสถาบัน German Development Institute กับ China Institute of International Studies โดย ความแตกต่างของ 2 แนวคิดดังกล่าว สรุปได้ดังนี้  แนวคิดสร้างโลกที่สมานฉันท์ เป็นแนวคิดที่มีรากฐานมาจาก win – win cooperation เพราะเชื่อว่า การเมืองของโลกจะสมานฉันท์กันได้ ประเทศต่างๆต้องมีความร่วมมือกันอย่างลงตัว  จีนต้องการเสนอแนวคิดที่จะเป็นทางเลือกให้กับประชาคมระหว่างประเทศ เพราะรัฐบาลจีนเชื่อว่า ระบบธรรมาภิบาลของโลกแบบตะวันตกที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ไม่มีธรรมาภิบาลที่แท้จริง ประเทศที่มี ต้นทุนและศักยภาพมากกว่ามักกดดันประเทศที่มีศักยภาพด้อยกว่า 5 http://www.ciis.org.cn/english/2015-06/19/content_8006094.htm เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558
  • 17. 15 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ประเด็นระหว่างประเทศที่น่าสนใจ ของ Think Tank ในประเทศไทย  สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ (KLANGPANYA INSTITUTE FOR NATIONAL DEVELOPMENT STRATEGIES) เรียบเรียงโดย พิพัฒพงศ์ ชูประสิทธิ์ ผู้ช่วยนักวิจัย
  • 18. 16 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ (KLANGPANYA INSTITUTE FOR NATIONAL DEVELOPMENT STRATEGIES) ในเดือนที่ผ่านมา สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติได้จัดการประชุมเวที Think Tank ครั้งที่ 7 เรื่อง ‚การปฏิรูปนโยบายการต่างประเทศของไทยในยุคบูรพาภิวัฒน์: ข้อเสนอแนะเชิง นโยบาย ‛ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2558 ซึ่งผลการประชุมทาให้ทราบว่า หลังสิ้นสุดสงครามเย็น โลกได้เปลี่ยนแปลงจากระบบหลายขั้วอานาจ (Multipolar World Order) มาสู่ระบบขั้วอานาจเดียว (Unipolar World Order) คือ มีสหรัฐอเมริกาเป็นเพียงประเทศเดียวที่ครองอานาจทั้งทางการเมืองและ ความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมถึงอานาจการซื้อขายทางเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และ ปัจจุบันจะพบว่าการผงาดขึ้นมาของจีนในด้านอานาจทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มจะแซงหน้าสหรัฐอเมริกา ในอีกไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า รวมไปถึงการแข่งขันระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกาในภาคพื้นทวีปเอเชีย แปซิฟิก ซึ่งชี้ให้เห็นว่าโลกในปัจจุบันกาลังเข้าสู่ในยุคบูรพาภิวัฒน์และกาลังเกิดขึ้นจริง โดยประเทศ ไทยจะปรับตัวภายใต้กระแสบูรพาภิวัฒน์อย่างไร การปฏิรูปกรอบแนวคิดการต่างประเทศจะสามารถ สอดรับต่อกระแสบูรพาภิวัฒน์ได้หรือไม่ ในเวทีการประชุมระดมสมองที่จัดโดยสถาบันคลังปัญญาด้าน ยุทธศาสตร์ชาติได้วิเคราะห์ปัญหาการต่างประเทศของไทยที่กาลังเผชิญอยู่ดังต่อไปนี้ 1.ปัญหาการต่างประเทศที่เกิดจากปัจจัยภายในประเทศ 1.1 กลุ่มธุรกิจการเมืองครอบงานโยบายการต่างประเทศของไทย นโยบายการ ต่างประเทศถูกใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มทุน กลุ่มผลประโยชน์ รวมไปถึงความอยู่รอด ของกลุ่มธุรกิจมากกว่าการคานึงถึงผลประโยชน์แห่งชาติและความอยู่รอดของรัฐเป็นหลัก 1.2 การประสานงานขาดความเป็นเอกภาพ กระทรวงการต่างประเทศกับหน่วยงานอื่นๆ ยังขาดความเป็นเอกภาพและไม่มีบูรณาการระหว่างหน่วยงานจึงยังไม่สามารถดาเนินงานไปในทิศทาง เดียวกันได้ 1.3 ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศยังมีทัศนคติในการทางานแบบดั้งเดิม จากอดีต จนถึงปัจจุบัน ทัศนคติและแบบแผนการทางานของข้าราชการมักทามาอย่างไรก็ทาไปอย่างนั้น เรียกว่า
  • 19. 17 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 2. ปัญหาการต่างประเทศที่เกิดจากปัจจัยภายนอกประเทศ 2.1 การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมโลก โลกในปัจจุบันกาลังเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์กล่าวคือ ปัญหาและความท้าทายต่างๆได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ยากที่จะรับมือและหาแนวทางป้องกันในเวลาอัน จากัด ภัยคุกคามที่มาจากภายนอกรัฐดังกล่าวทาให้ประเทศไทยยังคงขาดพลังอานาจด้านการ ต่างประเทศอยู่มาก ซึ่งในปัจจุบันทาได้แค่เพียงคอยตามแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น 2.2 การผลิตวาทกรรมชวนเชื่อของประเทศมหาอานาจเพื่อครอบงาประเทศที่กาลัง พัฒนา ประเทศมหาอานาจในฐานะที่เป็นแหล่งผลิตข้อมูลข่าวสารได้ผลิตวาทกรรมชวนเชื่อ โดยอาศัย เทคโนโลยีที่ตนมีเป็นเครื่องมือในการยัดเยียดค่านิยมประเพณีให้กับบางประเทศที่อยู่ในสภาวะ ระส่าระส่ายทางการเมือง โดยอ้างเหตุผลในนามของมวลมนุษยชาติ ไม่ว่าจะเป็นการสถาปนาการ ปกครองในระบอบเสรีประชาธิปไตย 2.3 ความท้าทายของยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมใหม่ในศตวรรษที่ 21 จีนได้ผลักดัน แนวคิดเรื่อง ยุทธศาสตร์ 1 แถบ 1 เส้นทาง (One Belt One Road) โดยยุทธศาสตร์ดังกล่าวมีโครงการ ที่จะใช้ คอคอดกระ เป็นหนึ่งในเส้นทางการสัญจรทางทะเลเพื่อเชื่อมจีนตะวันออกสู่มหาสมุทรอินเดีย แต่หลายฝ่ายของไทยยังคงมีความกังวลถึงข้อเรียกร้องของจีนว่าอาจจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของ ไทยในระยะยาว 2.4 ปัญหาในระดับภูมิภาค ปัญหาการจัดการพรหมแดนในอาเซียนจะเกิดขึ้นหลังจากประเทศ สมาชิกได้เข้าสู่ประชาคมอาเซียน 3. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการปฏิรูป จากปัญหาที่กล่าวมาได้ชี้ให้เห็นว่าเราควรต้องเพิ่มอานาจการต่อรองด้านการทูตในเวทีระหว่าง ประเทศมากขึ้นโดยการ ปฏิรูปกรอบแนวคิดการต่างประเทศของไทย แนวคิดของผู้กาหนดนโยบาย การต่างประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัฒน์ควรมีการปรับมุมมองต่อสถานการณ์และบริบทในการ ต่างประเทศในลักษณะเชิงรุก (Offensive) มากกว่าเชิงรับ (Defensive) พร้อมทั้ง รื้อฟื้นความเข้าใจที่ ถูกต้อง และเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกัน กระทรวงการต่างประเทศควรเสริมสร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับสันติภาพโลกให้กับภาคส่วนต่างๆทั้งในภาคประชาชน ตลอดจนภาคธุรกิจให้ได้รับรู้ ปรับตัว และก้าวตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ทัน ประกอบกับ ปฏิรูปโครงสร้างการบริหาร กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศผลักดันให้มี ‚พระราชบัญญัติการต่างประเทศ (Foreign Service Act)‛ เพราะจะทาให้โครงสร้างการทางานมีความชัดเจนมากขึ้น และสร้างกลไก สนับสนุนทางวิชาการด้านต่างประเทศ การขับเคลื่อนกรอบนโยบายการต่างประเทศให้สัมฤทธิ์ผลใน ปัจจุบันจาเป็นต้องอาศัยสถาบันวิชาการ หรือสถาบันวิจัยที่ดาเนินการเป็นอิสระจากกระทรวงการ ต่างประเทศ รวมถึงหน่วยงานราชการอื่นๆ โดยสรุป กระทรวงการต่างประเทศในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การ ต่างประเทศควรเริ่มดาเนินการปฏิรูปแบบองค์รวมและต้องดาเนินการแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เพื่อปรับ โครงสร้างขององค์กรให้มีความสอดคล้องกับโลกในยุคบูรพาภิวัฒน์ต่อไป
  • 20. 18 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้อานวยการสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ : ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ บรรณาธิการ: น.ส.ยุวดี คาดการณ์ไกล เรียบเรียง: น.ส.จุฑามาศ พูลสวัสดิ์ น.ส.อนันญลักษณ์ อุทัยพิพัฒนากุล นายพิพัฒพงศ์ ชูประสิทธิ์ ปีที่พิมพ์: มิถุนายน 2558 สานักพิมพ์: มูลนิธิสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ เพิ่มเติมได้ที่ www.rsu-brain.com ที่อยู่ติดต่อ วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ 52/347 พหลโยธิน 87 ตาบลหลักหก อาเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 12000 โทรศัพท์ 02-997-2200 ต่อ 1283 โทรสาร 02-997-2200 ต่อ 1216 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-930-0026 โทรสาร 02-930-0064