Publicité

วิเคราะห์ปฏิจจสมุปบาท

Educator à Home school
11 Jun 2014
Publicité

Contenu connexe

Présentations pour vous(20)

Publicité

Similaire à วิเคราะห์ปฏิจจสมุปบาท(20)

Plus de Padvee Academy(20)

Publicité

Dernier(20)

วิเคราะห์ปฏิจจสมุปบาท

  1. หัวข้อในการนาเสนอ ความสาคัญของปฏิจจสมุปบาท ความหมาย และอาการแห่งปฏิจจสมุปบาท การแบ่งปฏิจจสมุปบาทออกเป็นหลักใหญ่ อธิบายปฏิจจสมุปบาท ๓ นัย การดับปฏิจจสมุปบาท
  2. ม.มู. (ไทย) ๑๒/๓๐๖/๓๓๘ ความสาคัญของปฏิจจสมุปบาท
  3.  “ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีตไม่เป็นวิสัยแห่งตรรกะ ละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้ สาหรับ หมู่ประชาผู้รื่นรมย์ด้วยอาลัย ยินดีในอาลัย เพลิดเพลินในอาลัย ฐานะอันนี้ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือหลักอิทัปปัจจยตา หลักปฏิจจสมุปบาท ........ ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม และผู้อื่นจะไม่ เข้าใจซึ้งต่อเรา ข้อนั้นก็จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา จะพึงเป็นความลาบากเปล่าแก่เรา” ปฎิจจสมุปบาท เป็นธรรมที่รู้ตามยาก เห็นได้โดยยาก วิ.ม. (ไทย) ๔/๗/๑๑
  4. ความหมายของปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจสมุปบาท แยกศัพท์ได้เป็น ปฏิจฺจ + สํ + อุปฺปาท ปฏิจฺจ = สัมพันธ์กัน อิงอาศัยกัน ส = พร้อมกัน หรือด้วยกัน อุปฺปาท = การเกิดขึ้น ความหมายโดยสรุป : คือ สภาวธรรมที่เป็นปัจจัยอาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้น
  5. เมื่อเหตุมี ผลจึงมี เพราะเหตุเกิดขึ้น ผลจึงเกิดขึ้น เมื่อเหตุไม่มี ผลจึงไม่มี เพราะเหตุดับ ผลจึงดับ
  6. อวิชชาเกิดขึ้นได้อย่างไร ? “อาสวะเป็นเหตุปัจจัย ที่ทาให้เกิดอวิชชา” ม.มู. (ไทย) ๑๒/๑๐๓/๙๘. ๑
  7. HYDROLOGIC CYCLE
  8. คาไวพจน์ของปฏิจจสมุปบาท  “ตถาคตเกิดขึ้นก็ตาม ไม่เกิดขึ้นก็ตาม ธาตุอันนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา .... ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลาย จึงมีในกระบวนการนี้ ตถตา อวิตถตา อนัญญถตา อิทัปปัจจยตา ดังพรรณนามาฉะนี้แลนี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท” ส.นิ. (ไทย) ๑๖/๒๐/๓๔-๓๕ ๒
  9. คาไวพจน์ของปฏิจจสมุปบาท ๑. ธัมมฐิตตา แปลว่า ความดารงอยู่แห่งธรรม ๒. ธัมมนิยามตา แปลว่าความแน่นอนแห่งธรรม ๓. อิทัปปัจจยตา แปลว่า ความมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย ๔. ตถตา แปลว่า ความเป็นเช่นนั้น ๕. อวิตถตา แปลว่า ความเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่เป็นเช่นนั้น ๖. อนัญญถตา แปลว่า ความไม่เป็นอย่างอื่น ๗. ปัจจยาการ แปลว่า อาการที่เกิดขึ้นตามปัจจัย ๓
  10. จักรวาลในถ้วยชา เวลาดื่มชา เธอเห็นก้อนเมฆไหม ? “เมื่อไรก็ตามที่เธอมองเห็นว่าชา เกิดจากส่วนประกอบที่ไม่ใช่ชา เมื่อนั้นเธอจะคลายจากความยึด ติดในความเป็นกลุ่มก้อน(ขันธ์)” ติช นัท ฮันท์ ๔
  11. ความหมายขององค์ธรรม ๑๒ ๑. อวิชชา คือ ความไม่รู้ในอริยสัจ ๔ ๒. สังขาร คือ สังขาร ๓ ๓. วิญญาณ คือ หมู่แห่งวิญญาณ ๖ ๔. นามรูป นาม คือ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา มนสิการ รูป คือ มหาภูตรูป ๔ และอุปทายรูป เฉพาะความหมายที่ปรากฎในพระไตรปิ ฎกเล่มที่ ๑๖ สังยุตนิกาย นิทานวรรค ข้อ ๑-๒ หน้า ๑-๘
  12. ความหมายขององค์ธรรม ๑๒ ๕. สฬายตนะ คือ อายตนะ ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ๖. ผัสสะ คือ ผัสสะ ๖ ๗. เวทนา คือ เวทนา ๖ ๘. ตัณหา คือ ตัณหา ๖ ๙. อุปาทาน คือ อุปาทาน ๔ เฉพาะความหมายที่ปรากฎในพระไตรปิ ฎกเล่มที่ ๑๖ สังยุตนิกาย นิทานวรรค ข้อ ๑-๒ หน้า ๑-๘
  13. ความหมายขององค์ธรรม ๑๒ ๑๐. ภพ คือ ภพ ๓ (กามภพ รูปภพ อรูปภพ) ๑๑. ชาติ คือ ความเกิด ความปรากฏแห่งขันธ์ ๑๒. ชราและมรณะ ชรา คือ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก ฯลฯ มรณะ คือ ความเคลื่อน ความแตกแห่งขันธ์ ความตาย ฯลฯ เฉพาะความหมายที่ปรากฎในพระไตรปิ ฎกเล่มที่ ๑๖ สังยุตนิกาย นิทานวรรค ข้อ ๑-๒ หน้า ๑-๘
  14. ความหมายขององค์ธรรม ๑๒ อวิชชา ความหมาย : ความไม่รู้ หน้าที่ : ทาให้หลงงมงาย ผลที่ปรากฏ : ปกปิ ดไม่ให้รู้ตามเป็นจริง ฐานเกิด : อาสวะ การอธิบายนิยามและความหมายของ อ.บรรจบ บรรณรุจิ ๕
  15. ความหมายขององค์ธรรม ๑๒ สังขาร ความหมาย : ทาเสมอ ปรุงแต่ง ปรุงแต่งต่อเนื่อง หน้าที่ : ปรุงแต่งจิตหรือวิญญาณให้เกิดขึ้นเสมอ ผลที่ปรากฏ : เจตนา คือ ความตั้งใจ ความจงใจ ฐานเกิด : อวิชชา
  16. ความหมายขององค์ธรรม ๑๒ วิญญาณ ความหมาย : รับรู้ รู้ได้ต่างๆ รู้ได้มากมาย หน้าที่ : เป็นตัวนาความรู้อื่นๆ อาทิ รู้รัก รู้เกลียด ผลที่ปรากฏ : ดับแล้วเกิดอีก ฐานเกิด : สังขาร คือ เจตนา
  17. ความหมายขององค์ธรรม ๑๒ นามรูป นาม ความหมาย : น้อม น้อมไปหาอารมณ์ หน้าที่ : ต่างฝ่ายต่างทาให้นามอื่นเกิดร่วมกับตน ผลที่ปรากฏ : แยกจากกันไม่ได้ ฐานเกิด : วิญญาณ
  18. ความหมายขององค์ธรรม ๑๒ นามรูป รูป ความหมาย : เปิ ดเผย ผันแปร แตกสลาย หน้าที่ : ทาให้เกิดสิ่งแปลก ๆ ผลที่ปรากฏ : บอกไม่ได้ว่าเป็นฝ่ายดีหรือฝ่ายชั่ว (อาศัยนามจึงรู้ได้) ฐานเกิด : วิญญาณ
  19. ความหมายขององค์ธรรม ๑๒ สฬายตนะ ความหมาย : แดนติดต่อ หน้าที่ : เป็นแดนให้จิตหรือวิญญาณกับอารมณ์ ได้ติดต่อกัน แล้วสาเร็จเป็นการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ผลที่ปรากฏ : เป็นทางเดินของอารมณ์คือสิ่งเร้า ฐานเกิด : นามและรูป
  20. ความหมายขององค์ธรรม ๑๒ ผัสสะ ความหมาย : ถูกต้อง กระทบ หน้าที่ : ทาจิตหรือวิญญาณให้ถูกต้องหรือ กระทบกับอารมณ์คือสิ่งเร้า ผลที่ปรากฏ : ทาให้เกิดความรู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์หรือ เฉยๆ ฐานเกิด : สฬายตนะ
  21. ความหมายขององค์ธรรม ๑๒ เวทนา ความหมาย : รู้ (เสวยอารมณ์, กินสิงเร้า) หน้าที่ : รู้รสของอารมณ์คือสิ่งเร้า หลังจากได้ ถูกต้องหรือกระทบแล้ว ผลที่ปรากฏ : ความรู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์หรือ เฉยๆ ฐานเกิด : ผัสสะ
  22. ความหมายขององค์ธรรม ๑๒ ตัณหา ความหมาย : หิว กระหาย อยากไม่หยุด หน้าที่ : ปลุกเร้าจิตหรือวิญญาณให้ยินดี อยากได้อารมณ์คือสิ่งเร้าต่างๆ เรื่อยไป ผลที่ปรากฏ : ไม่อิ่มในสิ่งเร้า ฐานเกิด : เวทนา
  23. ความหมายขององค์ธรรม ๑๒ อุปาทาน ความหมาย : ความยึดมั่น หน้าที่ : ปลุกเร้าจิตให้ยินดีอารมณ์ที่อยากได้ซึ่ง ได้มาแล้วอย่างเหนียวแน่นจนไม่ยอมปล่อยวาง ผลที่ปรากฏ : ทาให้ยินดีอย่างเหนียวแน่นพร้อมกับ มีความเห็นผิด ฐานเกิด : ตัณหา
  24. ความหมายขององค์ธรรม ๑๒ ภพ ความหมาย : เกิดมี เกิดเป็น หน้าที่ : ทาให้เกิดมี เกิดเป็นกรรมและขันธ์ ที่เกิดจากกรรม ผลที่ปรากฏ : เกิดมีเกิดเป็น กรรมดี กรรมชั่ว และ วิบากของกรรมดี วิบากของกรรมชั่วนั้น ฐานเกิด :อุปาทาน
  25. ความหมายขององค์ธรรม ๑๒ ชาติ ความหมาย : การเกิดของขันธ์ ๕ ในแต่ละขณะจิต และในแต่ละภพแต่ละชาติ หน้าที่ : ทาให้ขันธ์ ๕ ปรากฏ ผลที่ปรากฏ : เกิดความยึดมั่นขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวตนใน แต่ละขณะจิต ขันธ์ ๕ เกิดปรากฏเป็นตัว เป็นตนมีรูปร่างในแต่ละภพชาติ ฐานเกิด : ภพ
  26. ความหมายขององค์ธรรม ๑๒ ชราและมรณะ ชรา ความหมาย : ความเสื่อมโทรมของขันธ์ ๕ หน้าที่ : นาขันธ์ ๕ ให้เข้าใกล้ความแตกดับ หรือความตาย ผลที่ปรากฏ : ความเป็นหนุ่มเป็นสาวร่วงโรย ฐานเกิด : ชาติ
  27. ความหมายขององค์ธรรม ๑๒ ชราและมรณะ มรณะ ความหมาย : ความแตกดับของขันธ์ ๕ หน้าที่ : ทาให้เกิดการพลัดพราก ผลที่ปรากฏ : ขันธ์ ๕ ในแต่ละขณะจิตแตกดับ สิ้นชีวิตในชาติหนึ่ง ฐานเกิด : ชาติ-ชรา ๕๕
  28. ปฏิจจสมุปบาท ๒ สาย ๑. สายเกิด เรียกว่า สมุทยวาร หรือมิจฉาปฏิปทา ๒. สายดับ เรียกว่า นิโรธวาร หรือสัมมาปฏิปทา ส.นิ. (ไทย) ๑๖/๓/๙
  29. การแบ่งปฏิจจสมุปบาทออกเป็นหลักใหญ่ ๑. หลักสากลหรือหลักทั่วไป ก. สมุทยวาร เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ข. นิโรธวาร เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับ (ด้วย) ส.นิ. (ไทย) ๑๖/๓๗/๗๙. ๖
  30.  “เพราะเมล็ดข้าวเปลือกเป็นเหตุ ต้นข้าวจึงเกิดขึ้น ” ๗
  31. การแบ่งปฏิจจสมุปบาทออกเป็นหลักใหญ่ ๒. หลักประยุกต์ เพราะอวิชชาเป นป จจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป นป จจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป นป จจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป นป จจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป นป จจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป นป จจัย เวทนาจึงมี.....ฯ เพราะชาติเป นป จจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข โทมนัส และอุปายาส จึงมีความ เกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีด้วยประการฉะนี้. สมุทยวาร เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ.....ฯ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข โทมนัส และอุปายาส จึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีด้วยประการ ฉะนี้. นิโรธวาร ส.นิ (ไทย) ๑๖/๑/๒-๓. ๘
  32. “เพราะมีเมล็ดข้าวเปลือกเป็นเหตุ มีแร่ธาตุในดินเป็นปัจจัย มีน้าเป็นปัจจัย มีอากาศเป็นปัจจัย มีแสงแดดเป็นปัจจัย มีอุณหภูมิเป็นปัจจัย ไม่มีศัตรูพืช เป็นปัจจัย ต้นข้าวจึงเกิดขึ้น”
  33. ๑. ปฏิจจสมุปบาทแบบข้ามภพข้ามชาติ ๒. ปฏิจจสมุปบาทในชีวิตประจาวัน ๓. ปฏิจจสมุปบาทที่เกิดขึ้นในจิตเดียว ๙
  34. มูลเหตุของการอธิบายปฏิจจสมุปบาทที่แตกต่างกัน  มาจากความเข้าใจในองค์ธรรม ๒ องค์ ในปฏิจจสมุปบาทที่แตกต่างกัน คือ วิญญาณ ชาติ ฝ่ายอธิบายแบบภพชาติคือ ปฏิสนธิวิญญาณ ฝ่ายอธิบายแบบในปัจจุบันคือ หมู่แห่งวิญญาณ ๖ คือ การเกิดใหม่ของขันธ์ ฝ่ายอธิบายแบบภพชาติ คือ การปรากฏขึ้นของ อุปาทานขันธ์ ๕ ฝ่ายอธิบายแบบในปัจจุบัน ๑๐
  35. ๑. ปฏิจจสมุปบาทแบบข้ามภพข้ามชาติ (๑) ชาติอดีตก่อนที่เราเกิดมาในชาตินี้ (๒) ชาติปัจจุบันที่เรากาลังมีชีวิตอยู่ (๓) ชาติอนาคตที่เราจะไปเกิดต่อไปภายหลัง
  36. (๑) ชาติอดีตก่อนที่เราเกิดมาในชาตินี้ ชาติอดีต : อวิชชา สังขาร ชาติอดีต บุคคลมีอวิชชากระทากรรม กรรมนั้นคือสังขาร ๓ ได้แก่ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร ๑๑
  37. (๒) ชาติปัจจุบันที่เรากาลังมีชีวิตอยู่  ชาติปัจจุบัน : วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติปัจจุบัน เริ่มต้นด้วยปฏิสนธิวิญญาณ อันเกิดจากผล กรรม แต่อดีตชาติ วิญญาณนั้นเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป จากนั้น อายตนะทั้ง ๖ ก็เกิดตามมา และผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทานก็ เกิดขึ้นเป็นกระบวนการ
  38. (๓) ชาติอนาคตที่เราจะไปเกิดต่อไปภายหลัง ชาติอนาคต : ชาติ ชรา มรณะ ชาติอนาคต คือ การก่อกาเนิดแห่งปฏิสนธิวิญญาณใน ชาติใหม่จัดเป็นชาติ เมื่อชีวิตเริ่มขึ้นย่อมหลีกเหลี่ยง ชรา โสกะ ปริเทวะ ฯลฯ ไม่พ้น
  39. ไตรวัฏฏ์
  40. ๒. ปฏิจจสมุปบาทในชีวิตประจาวัน ตา+รูป ใจ+ คิดนึก กาย+ สัมผัส ลิ้น+รส จมูก+ กลิ่น หู+เสียง วิญญาณ ผัสสะ เวทนา ตัณหา ทุกข์ ๑๒
  41.  ตัวอย่างเช่น  ๑. เพราะเหตุที่โชเฟอร์รถ ๑๐ ล้อตรากตรางานมากไป จึงเกิด อาการอ่อนเพลีย  ๒. เพราะเหตุที่โชเฟอร์รถ ๑๐ ล้ออ่อนเพลีย จึงเกิดอาการหลับใน  ๓. เพราะเหตุที่เกิดการหลับใน จึงขับรถกินขวามากไป  ๔. เพราะเหตุที่ขับรถกินขวามากไป รถบรรทุก ๑๐ ล้อจึงไปชนเอา รถยนต์นั่ง ปฏิจจสมุปบาทในชีวิตประจาวัน
  42.  ๕.เพราะเหตุที่ชนรถยนต์นั่ง โชเฟอร์รถ ๑๐ ล้อจึงตกใจตื่นขึ้น  ๖. เพราะเหตุที่โชเฟอร์ตกใจตื่นขึ้น จึงเห็นว่าคนในรถยนต์นั่งตาย ไป ๓ ศพ  ๗. เพราะเหตุที่เห็นคนตายไป ๓ ศพ โชเฟอร์รถ ๑๐ ล้อจึงกลัวติด คุกติดตาราง  ๘. เพราะเหตุที่กลัวติดคุกติดตาราง โชเฟอร์ ๑๐ ล้อจึงกลายเป็น โชเฟอร์ตีนผี วิ่งหนีหายไป ปฏิจจสมุปบาทในชีวิตประจาวัน
  43.  การแก้ปัญหา  เพื่อที่จะแก้ปัญหาเรื่องโชเฟอร์รถ ๑๐ ล้อตีนผี ก็ต้องแก้โดยวิธี ป้ องกันไม่ให้โชเฟอร์รถ ต้องตรากตราทางานมากเกินไป จนเกิด อาการอ่อนเพลียก่อนหน้าที่ทาการขับรถ ทั้งนี้นับเป็นการแก้ปัญหา ที่ต้นเหตุ ซึ่งชอบด้วยเหตุผลด้วยประการทั้งปวง ปฏิจจสมุปบาทในชีวิตประจาวัน
  44. พุทธพจน์ที่แสดงว่าปฏิจจสมุปบาทเป็นกระบวนการ ของการเกิดทุกข์ในจิตในชีวิตประจาวัน  ในพระไตรปิ ฏกเล่มที่ ๑๓ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ใน จูฬสกุลุทายิสูตร ข้อ ๒๗๑ มีพุทธพจน์ที่ตรัสแก่อุทายีปริพาชก ซึ่งมี ใจความสรุปว่า บุคคลใดที่สามารถระลึกถึงขันธ์ในอดีต (อดีตชาติ) หรือ ขันธ์ในอนาคต (อนาคตชาติ) จึงสมควรจะมาถามกับท่านในเรื่อง ของขันธ์ในอดีตหรืออนาคต และตรัสให้งดถามเรื่องของขันธ์ใน อดีตและอนาคตไว้ก่อน จากนั้นก็ตรัสแสดงธรรมตามนัย ของปฏิจจสมุปบาท ม.ม. ๑๓/๒๗๑/๓๒๐
  45.  หมายความว่า ปฏิจจสมุปบาท ๑๑ อาการ ๑๒ องค์ธรรมนั้น สามารถอธิบายได้ว่า กระบวนธรรมทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในจิตเพียง ขณะเดียว การอธิบายแบบนี้ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ทางฝ่ายอภิธรรม ซึ่งจะต้องมีการศึกษามาเป็นการเฉพาะ จึงจะพอเข้าใจการอธิบาย ในแบบนี้ได้ ๓. ปฏิจจสมุปบาทที่เกิดขึ้นในขณะจิตเดียว
  46. การดับปฏิจจสมุปบาท
  47. บทสรุป  การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า กล่าวได้ว่า คือการค้นพบและรู้แจ้ง แทงตลอดใน ปฏิจจสมุปบาท นี้เอง และจาก ปฏิจจสมุปบาท ที่ตรัส รู้ จึงได้นามาตรัสบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิ ดเผย จาแนก ทาให้ ตื้น จนกลายมาเป็นพระธรรมที่ตรัสสอนทั้งหมด  ดังนั้น การที่จะรู้เข้าธรรมที่ตรัสสอน ตลอดจนภาวะแห่ง พุทธะ ซึ่งอันที่จริงคือภาวะที่ ปฏิจจสมุปบาท ถูกดับลงจนหมดสิ้น ตรงกับพุทธประสงค์อย่างแท้จริง ก็ด้วยความรู้ความเข้าใจ และ การรู้แจ้งใน ปฏิจจสมุปบาท เป็นพื้นฐานสาคัญ
  48. โลกนี้คือละคร สวัสดีครับ...
  49. ดาวน์โหลดไฟล์นี้ได้ที่ www.philosophychicchic.com สนุกกับการเรียนรู้ปรัชญาและศาสนาแบบชิคๆ เคียงคู่รอยยิ้ม

Notes de l'éditeur

  1. อาลัย คือกามคุณ ๕ ที่สัตว์พัวพัน ยินดี เพลิดเพลิน
  2. การอิงอาศัยกันเกิดขึ้นของกองทุกข์ กลไกการเกิดขึ้นของทุกข์ (ภาษาสมัยใหม่)
  3. วัฏจักรของน้ำ เริ่มต้นจากน้ำในแม่น้ำได้รับแสงแดดเพื่อระเหยกลายเป็นไอ รวมเป็นเมฆเพื่อกลั่นตัวออกมาเป็นฝนแล้วตกลงสู้พื้นป่าจากนั้นน้ำก็กลับเข้าสู่แม่น้ำเหมือนเดิม เปรียบได้การดำเนินชีวิตของพวกเราที่ถูกสั่งสอนมาตั้งแต่เกิดจนโต 
  4. ปัจจยาการ เป็นชื่อเรียกปฏิจจ แม้จะไม่ปรากฎในสูตรที่ยกมาแล้วข้างต้น แต่ก็ปรากฏอยู่ในพระอภิธรรมและคัมภีร์อรรถกถา
  5. ” ชาเกิดจากส่วนผสมที่ไม่ใช่ชา… หากชาเกิดจากชา… ในโลกนี้คงไม่มีชา แต่เพราะชาเกิดจากส่วนผสมที่ไม่ใช่ชา เราจึงมีชาอุ่นๆไว้จิบเพื่อดับกระหาย เธอลองพิจารณาลงไปในถ้วยชา… เธอจะพบว่า ในถ้วยชานี้มีหมู่เมฆ… มีสายฝน… มีดิน… มีปุ๋ย… มีหยาดเหงื่อของชาวไร่… มีพ่อค้า… มีนายทุน… มีนักการเมือง… มีการขนส่ง… มีอากาศ… มีถ้วยชา… มีคนชงชา และ มีชาอยู่ในถ้วยนี้ เมื่อไรก็ตามที่เธอมองเห็นว่าชาเกิดจากส่วนประกอบที่ไม่ใช่ชา เมื่อนั้นเธอจะคลายจากความยึดติดในความเป็นกลุ่มก้อน(ขันธ์/สังขาร) เธอจะเป็นอิสระจากการยึดติดในความจริงเพียงชุดเดียว ทัศนะของเธอจะเปิดกว้าง และเธอจะมองเห็นความจริงว่า โลกทั้งโลก จักรวาลทั้งหมด ล้วนเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน “ ในชาหนึ่งถ้วย หากพิจารณาอย่างลึกซึ้ง เราจะหยั่งถึงอะตอมและจักรวาลว่าถ้วยแยกจากกันไม่ออก ความรู้ที่ว่าชาเกิดจากส่วนผสมที่ไม่ใช่ชาทำให้เรารู้จักมองโลกและชีวิตเป็นองค์รวม ทัศนะแบบแยกส่วน ตัดตอน มองอะไรเป็นส่วนๆเสี้ยวๆจะลดน้อยลงไป จิตใจจะเปิดกว้าง… เมื่อใจเปิดกว้าง ความสำคัญมั่นหมายว่า ตัวตนของตนดีเลิศที่สุด ก็จะพลันเบาบางลงไป เมื่อตัวตนของเราเบาบาง ความสดชื่นรื่นเย็น ก็จะสรงโสรจรดจิตใจให้ร่มเย็นอย่างง่ายดาย   ผมเห็นเลยว่า หากคนไทยทุกคนมีธรรมในการแยกแยะและฝึกการไม่ยึดติดความเป็นตัวตน ไม่ใช้ทัศนะแบบแยกส่วน… แต่มองชีวิตแบบองค์รวมของประเทศชาติ คนไทยก็จะรักกัน ให้เกียรติกัน ยอมรับความคิดเห็นที่อาจแตกต่างกันได้ เราจะเป็นดินแดนที่น่าอยู่ที่สุดในโลก
  6. วิญญาณในปัจจุบัน ที่ปรากฏอยู่แล้วก่อให้เกิด ชาติ ซึ่งก็คือ อุปาทานขันธ์ ๕
Publicité