SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  124
Télécharger pour lire hors ligne
ชมรมกัลยาณธรรม
                 หนังสือดีอันดับที่ ๑๔๒

                                จิตที่พ้นจากทุกข์
                                  หวีด บัวเผื่อน
พิมพ์ครั้งที่ ๑        :   ๖,๐๐๐ เล่ม : มกราคม ๒๕๕๔
ภาพปก                  :   สุวดี ผ่องโสภา + เคอ ซิ่ว เซียง
ภาพประกอบ              :   เคอ ซิ่ว เซียง
รูปเล่ม                :   วัชรพล วงษ์อนุสาสน์
จัดพิมพ์และเผยแพร่     :   ชมรมกัลยาณธรรม
เป็นธรรมทานโดย             ๑๐๐ ถ.ประโคนชัย ต.ปากน้ำ
                           อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ๑๐๒๗๐
                           โทรศัพท์ ๐๒-๗๐๒-๗๓๕๓, ๐๒-๗๐๒-๙๖๒๔
                           โทรสาร ๐๒-๗๐๒-๗๓๕๓
แยกสีและอนุเคราะห์
จัดพิมพ์ที่            : บริษัท อัมรินทร์พรินติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
                         ๖๕/๑๖ ถนนชัยพฤกษ์ (บรมราชชนนี)
                         เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ๑๐๑๗๐
                         โทรศัพท์ ๐-๒๔๒๒-๙๐๐๐, ๐-๒๘๘๒-๑๐๑๐
                         โทรสาร ๐-๒๔๓๓-๒๗๔๒, ๐-๒๔๓๔-๑๓๘๕

                พิมพ์แจกเป็นธรรมทานในงานแสดงธรรม-ปฏิบัติธรรม
              เป็นธรรมทานครั้งที่ ๑๙ เพื่อน้อมถวายเป็น พระราชกุศล
             แด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (๑๓ มีนาคม ๒๕๕๔)

                           สัพพทานัง ธัมมทานัง ชินาติ
                     การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง
                           www.kanlayanatam.com
                              www.visalo.org
สารบัญ

ขั้นตอนการปฏิบัติธรรมของข้าพเจ้า	           ๖	
เริ่มต้นจากการมีสติสัมปชัญญะ	              ๑๐	
ติดในความว่าง	๒	ปีเต็ม	                    ๑๔	
เข้าสู่วิปัสสนากรรมฐานพิจารณากาย	          ๑๘	
พิจารณาเวทนา	สัญญา	สังขาร	วิญญาณ	          ๒๔	
ขันธ์	๕	ไม่ใช่เรา	แล้วเราคืออะไร	?	        ๓๐	
ปล่อยธาตุรู้		                             ๓๒	
ปัจจุบันธรรม		                             ๓๘	
ถาม	-	ตอบปัญหาธรรมะ		                      ๔๗	
บทสรุป		                                   ๙๓	
หลวงตามหาบัวตอบปัญหานายหวีด	บัวเผื่อน		   ๑๑๓
จิตเป็นธรรมธาตุ
      ซึ่งบริสุทธิ์ผุดผ่องมาแต่ไหนแต่ไร

ไม่มีอะไรในสมมติที่จะเจือปนจิตดวงนี้ได้เลย
8   จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์




           ❀ ขั้นตอนการปฏิบัติธรรมของข้าพเจ้า ❀


            สติ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิบัติกรรมฐานหรือการ
    แสวงหาความสงบ	เพราะจิตทีจะสงบได้นน	จะต้องมีสงทียดเหนียว
                                    ่        ั้            ิ่ ่ ึ ่
    ไว้เป็นหลักของใจ	จึงจำเป็นที่จะต้องมีสติระลึกรู้อยู่กับคำบริกรรม
    อย่างใดอย่างหนึ่ง	 อันมีพุทโธ	 ธัมโม	 สังโฆ	 หรืออานาปานสติ	
    เป็นต้น	 การปฏิบัติสมถะกรรมฐานนั้นมีมากมายดังที่ทราบกัน
    อยู่แล้ว	 ขึ้นอยู่กับจริตนิสัยของแต่ละคนว่า	 คำบริกรรมบทใดที่จะ
    ทำให้จตใจของเรามีความสงบร่มเย็นลงได้	 ก็ใช้คำบริกรรมบทนันๆ	
            ิ                                                      ้
    เป็นการงานของจิต	 โดยมีสติสัมปชัญญะเป็น ผู้ดูแลรักษาให้จิต
    ทำงานอยู่เพียงจุดเดียวเท่านั้น	 สติที่ระลึกรู้อยู่กับคำบริกรรม	 จึง
    เป็นสิ่งที่จำเป็นในการปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง	 เมื่อมีสติสัมปชัญญะ
ห วี ด 
 บั ว เ ผื่ อ น
   9


เป็นผู้ควบคุมอยู่เช่นนี้ จิตใจก็จะไม่ไหลไปตามอารมณ์ ที่เกิดขึ้น
ทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อจิตไม่ไหลไปตามอารมณ์เหล่านี้
จิตก็จะนิ่งอยู่กับความสงบสุข เพลิดเพลินอยู่ในความว่าง สติจะ
เริ่มมีกำลังมากขึ้นเป็นลำดับ จิตใจเริ่มได้รับรู้แล้วว่า ความสุข
ทีแท้จริงนันมีอยูแล้วภายในจิตของเราเองเป็นหลักใหญ่ โดยไม่ตอง
  ่         ้     ่                                                 ้
อาศัยสิ่งอื่น นั่นหมายถึงจิตใจที่รู้จักอิ่มพอในสิ่งที่มีอยู่	 ปล่อยวาง
ในสิ่งที่ต้องการ	 ไม่ทะเยอทะยานในสิ่งที่เอื้อมไม่ถึง	 เป็นจิตที่สงบ
ร่มเย็นเป็นปกติอยู่ตลอดเวลา	 เพราะมีสติสัมปชัญญะคอยดูแล
รักษาอย่างใกล้ชิด	 จึงเป็นสัมมาสติที่ดำรงอยู่อย่างถูกต้องมั่นคง	
สามารถควบคุมจิตใจไม่ให้ยึดติดในสิ่งที่พอใจบ้าง	 ไม่พอใจบ้าง	
ดีใจบ้าง	เสียใจบ้าง	สุขทุกข์ไปตามอารมณ์ที่ผันผวนอยู่ตลอดเวลา	
โดยมีสังขารความคิดเป็นเหตุ	 มีกิเลสคือ	 ความโลภ	 โกรธ	 หลง	
เป็นผู้สั่งการ	เป็นวัฏจักรหมุนเวียนเปลี่ยนไป	เป็นภพชาติ	เกิดแล้ว
ตาย	 ตายแล้วเกิด	 อยู่อย่างนี้ไม่มีวันจบสิ้นลงได้	 ทุกข์ระทมอย่าง
แสนสาหัสในชาติที่สุดแสนกันดารนั้น
10   จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์



            จึงจำเป็นต้องมีการปฏิบัติด้วยการมีสติสัมปชัญญะ เพื่อ
     รักษาจิตใจของตนให้เป็นปกติสุข โดยมีทาน	ศีล	ภาวนา	เป็นต้น	
     ทังนีกเพือปลดปล่อยจิตใจอันเป็นสิงทีไม่ตายนี้	 ให้พนไปจากวัฏฏะ
       ้ ้ ็ ่                           ่ ่           ้
     วนให้จงได้	 ดังนั้น	 ข้าพเจ้าจึงสนใจธรรมะมาโดยตลอด	 แต่ปฏิบัติ
     จริงๆ	เมือปี	 ๒๕๒๙	โดยมีพระอาจารย์	 ๒	รูป	ท่านให้ความเมตตา
               ่
     แนะนำสั่งสอนข้าพเจ้าตลอดมา	 จึงขอกราบขอบพระคุณอาจารย์
     ทุกๆ	องค์มา	ณ	โอกาสนี้ด้วยที่ท่านเมตตาข้าพเจ้าเป็นอย่างมาก
12   จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์




                ❀ เริ่มต้นจากการมีสติสัมปชัญญะ ❀


              การปฏิบตเริมจากการมีสติสมปชัญญะหรือการรูตวทัวพร้อม
                     ั ิ ่            ั                ้ ั ่
     มาโดยตลอด	 ถึงเราจะนั่งสมาธิมาเป็นเวลาหลายชั่วโมงก็ตาม	
     เมื่อออกมาจากการภาวนาแล้ว	 จะต้องมีสติสัมปชัญญะคุ้มครอง
     จิตใจของตนเองอยู่ตลอดเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่ให้ปรุงแต่ง
     ใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อเผลอสติ (การลืมตัว) ก็พยายามทำความรู้สึก
     หรือรูตวทัวพร้อมกันใหม่ เป็นอย่างนีอยูตลอดเวลา	โดยมีความเพียร
            ้ ั ่                       ้ ่
     เป็นหลักไม่ท้อถอยอ่อนแอ	ไม่ไหลไปตามอารมณ์เหมือนแต่ก่อนนี้	
     แม้เริ่มแรกจะประคองสติไม่ได้มากเท่าที่ควรเพราะความหลงลืม	
     แต่ก็ไม่เกินความพยายามของเรา	 โดยอาศัยความมุ่งมั่นและความ
     พยายามที่จะปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้นให้จงได้	 แม้ในตอนแรกจะมี
ห วี ด 
 บั ว เ ผื่ อ น
   13


สติได้เพียงหนึงหรือสองนาทีเท่านันก็ตาม	 แต่เหมือนเป็นสิงท้าทาย
               ่                    ้                   ่
ให้ข้าพเจ้ามีมานะพยายามที่จะเอาชนะใจของตนเองให้ได้เมื่อมี
ความตังใจดังนี	 จึงสามารถครองสติไว้ได้ยาวนานขึน	จากนาที	 เป็น
       ้         ้                              ้
สองสามนาที	เป็นสิบนาที	เป็นครึงชัวโมง	เป็นชัวโมง	เป็นวัน	โดยใช้
                                   ่ ่        ่
เวลาไม่นานปีนัก	 ทั้งนี้ได้ตั้งปฏิญาณไว้กับตนเองว่า	 ถ้าเรายังมี
ชีวิตอยู่	 ก็ควรจะต้องมีสติอยู่ด้วย	 แต่ถ้าขาดจากสติสัมปชัญญะ
เสียแล้ว	ก็ขออย่าได้มีชีวิตอยู่ต่อไปอีกเลย		

        ข้าพเจ้าคาดคั้นตนเองว่า	 อย่าอยู่อย่างประมาท	 เพราะถ้า
เราเอาชนะตนเองไม่ได้แล้ว	จะเอาชนะสิงอืนๆ	ได้อย่างไร	แค่บงคับ
                                        ่ ่                    ั
ให้มีสติอยู่ยังทำไม่ได้	 ก็ให้มันตายไปเถอะ	 ในชาตินี้	 เราก็เดินอยู่
บนทางที่แสนกันดารอยู่แล้ว	 ชาติหน้าก็อย่าได้ตกต่ำไปกว่านี้เลย	
เราจะสร้างทาน	 ศีล	 ภาวนา	 ตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติไว้
ให้ได้	 คนเราถ้าอยู่อย่างขาดสติสัมปชัญญะแล้ว ก็เหมือนกับเรือ
ทีขาดหางเสือ เหมือนปลาทีตายไปแล้ว ไม่สามารถทีจะแหวกว่าย
  ่                            ่                      ่
ทวนกระแสน้ำฉันใด การขาดสติสมปชัญญะของเราก็เป็นเช่นนัน
                                    ั                            ้

      ข้าพเจ้าคอยเตือนตัวเองอยูเสมอ จึงทำให้มความพยายาม
                                 ่              ี
มากขึ้น คอยควบคุมให้มีสติคุ้มครองจิตใจไม่ให้ฟุ้งซ่าน	ให้จิตเป็น
ปกติ	 คือ	 เป็นตัวของตัวเอง	 ไม่ตกเป็นทาสแห่งอารมณ์ดีหรือชั่ว
ทั้งหลาย	พยายามไม่พูดในจิต	ไม่คิดในใจ	เมื่อตาเห็นรูปให้สักแต่
14   จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์



     ว่าเห็น	เช่น	เห็นป้ายโฆษณาก็ไม่อ่านในใจ	มีสติอยู่กับสมาธิให้จิต
     เป็นอุเบกขา	วางเฉยอยู่อย่างเบาๆ	ไม่เดือดร้อนในสิ่งที่มากระทบ
     ใดๆ	ทั้งสิ้น	

            วันหนึ่งๆ ไม่ว่าจะทำสิ่งใด ก็ให้มีสติรู้ตัวทั่วพร้อมตลอด
     เวลา หากเผลอตัวไหลไปตามอารมณ์นั้นๆ	 เมื่อรู้ตัวก็หยุดคิด	
     หยุ ด ปรุ ง แต่ ง	 หยุ ด แสวงหา	 ให้ จิ ต ใจอยู่ อ ย่ า งสบาย	 ไม่ กั ง วล	
     หยุ ด โกรธ	 หยุ ด โลภ	 หยุ ด ปรารถนา	 ในขณะที่ ยั ง มี ส ติ อ ยู่ นั้ น	
     ความสงบสุขค่อยๆซึมซับเข้ามาสู่จิตใจขณะที่ใช้ชีวิตประจำวันอยู่	
     นี่คือผลของการปฏิบัติในปี	๒๕๒๙
เราทำทุกอย่าง
ไม่ว่าจะทำทาน
รักษาศีล
บำเพ็ญภาวนา
ความดีทั้งหลายทั้งปวง
   การฟังธรรม
ก็เพื่อ
รู้
ตัวนี้ตัวเดียวเท่านั้น
16   จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์




                       ❀ ติดในความว่าง ๒ ปีเต็ม ❀


            การปฏิบัติเป็นไปอย่างต่อเนื่องหลายเดือน	 ในที่สุดจิตของ
     ข้าพเจ้าก็เป็นสมาธิขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์	 ภายในจิตใจไม่มีสังขาร	
     ความคิดหรืออารมณ์ดีชั่วใดๆ	 มาก่อกวนเลย	 ถ้ามีบ้างก็เพียงสัก
     แต่ว่าเท่านั้น	 แตกต่างจากก่อนหน้านี้	 ที่ไม่เคยมีสติมาก่อน	 จิตใจ
     จึงไม่เคยพบกับความสงบเลยแม้แต่น้อย	 ไม่เคยรู้ว่าความสงบนั้น
     เป็นอย่างไร	 จึงเป็นเรื่องที่น่าแปลกประหลาดมากกว่า	 จิตเป็น
     สมาธิได้ขนาดนี้เชียวหรือ	 บางครั้งจะคิดเรื่องการงานบ้าง	 แต่จิต
     กลับนิ่งเฉยเสีย	 ไม่ออกทำงานเลย	 ติดว่างอยู่อย่างนั้น	 ถึงกับต้อง
     บังคับให้จิตออกมาคิดเรื่องอื่นๆบ้าง	 ไม่เช่นนั้นจิตจะหยุดนิ่งเป็น
     สมาธิอยู่ตลอดเวลา	 นี่คือการติดสมาธิ	 ซึ่งขณะนั้นข้าพเจ้าเข้าใจ
ห วี ด 
 บั ว เ ผื่ อ น
   17


ว่าถูกต้องที่สุดแล้ว	จึงนอนใจ	ทำให้ติดความว่างอยู่ถึง	๒	ปีเต็มๆ	
นี่ คื อ ความจริ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น จากการปฏิ บั ติ ใ นขณะนั้ น	 อย่ า งไรก็ ดี	
การปฏิบตให้จตเป็นสมาธินนเป็นทางเดินเบืองต้นทีถกต้อง	 ท่านให้
           ั ิ ิ                     ั้               ้    ่ ู
ชื่อว่าสมถกรรมฐาน เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติ	

        การปฏิบัติต้องมีความเพียรเป็นหลัก ทุ่มเทกันด้วยชีวิต
จิตใจ	 ไม่ท้อถอย	 จิตปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นข้าศึกต่อการ
ปฏิบัติ	 โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน	 การทำการงานก็เป็นไปโดยปกติ	
ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติแต่อย่างใด	 พระพุทธเจ้ามิได้ทรงสอนให้
เราเกียจคร้าน	 ฉะนั้นเราจึงต้องมีความเพียรทั้งทางโลกและทาง
ธรรม	 เมื่อปฏิบัติดังนี้แล้ว	 วันหนึ่งจิตจะเป็นสมาธิขึ้นมาอย่าง
อัศจรรย์โดยที่คิดไม่ถึงเลย	 จิตจะเกิดความชุ่มชื้นสงบเย็น	 พร้อม
ด้วยความภาคภูมิใจ	และความปีติสุขอย่างบอกไม่ถูก	นี่คือผลแห่ง
การปฏิบัติเมื่อต้นปี	๒๕๓๑
การภาวนานั้น
 การรู้ตัวทั่วพร้อมเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ก็คือ

การมีสติสัมปชัญญะ
คำว่าสติสัมปชัญญะนี้
        ไม่ใช่สติของคนธรรมดาทั่วไป
     แต่เป็นสติของนักปฏิบัติโดยตรง
สติ
คือ
ตัวระลึก
สัมปชัญญะ
คือ
การรู้ตัว
พิจารณากายให้มันชัด
เมื่อเข้าใจชัด
มันจะปล่อยวางกายไปเอง
 โดยอัตโนมัติ
เราไม่ต้องไปปล่อยเลย
         เมื่อเข้าใจเรื่องกายชัดเจน
      มันจะไม่พิจารณากายอีกแล้ว
เหมือนเรากินข้าวอิ่มแล้ว
เราไม่กินซ้ำอีก
20   จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์




           ❀ เข้าสู่วิปัสสนากรรมฐานพิจารณากาย ❀


              จากนั้นจึงก้าวเข้าสู่วิปัสสนากรรมฐาน คือ การพิจารณา
     กายที่ยาววาหนาคืบนี้ เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริงว่า กายนี้
     เป็นเราจริงหรือไม่ พิจารณาตั้งแต่ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น
     แม้ ว่ า การบั ง คั บจิ ต ให้ อ อกมาพิ จ ารณานี้ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ไ ม่ ส ะดวกนั ก	
     เพราะจิตที่ติดอยู่ในสมาธิจะเพลินอยู่ในสมาธิ	 ยากจะออกมา
     พิจารณา	 จึงต้องบังคับจิตให้ออกมาทำงานทางด้านปัญญาบ้าง	
     โดยต้องฝืนและบังคับซึ่งก็ไม่เป็น ผลนักในตอนแรก	 แต่ก็จำเป็น
     ต้องออกมาพิจารณาดังที่กล่าวมาแล้ว	 โดยพิจารณาผม ดูว่าเป็น
     เราจริงหรือไม่	 เราลองเอากรรไกรตัดผมของเราทิ้งไปเล็กน้อยแล้ว
     ลองพิจารณาดู	 ก็ไม่แตกต่างจากขนของสัตว์ทั่วไป	 แล้วเราจะยัง
ห วี ด 
 บั ว เ ผื่ อ น
   21


ว่าเป็นผมเราได้อย่างไรกัน	เส้นขนตามร่างกายนี้ก็เช่นเดียวกัน	จะ
เห็นว่าเป็นเราได้อย่างไร เล็บทีตดอยูทปลายนิวทังสิบ	เมือเอากรรไกร
                               ่ ิ ่ ี่    ้ ้        ่
ตัดออกมาวางไว้กับพื้น	ก็พิจารณาเช่นเดียวกับผมและขนนั่นเอง	

       พิจารณาวนเวียนไปวนเวียนมา	 ก็ไม่เห็นว่ามันจะเป็นเรา
ไปได้	 ฟันเมื่ออยู่ในปากก็มองดูสวยงามดี	 แต่ถ้าถอนออกมาแล้ว
เราจะรู้สึกขยะแขยง	 สิ่งนี้จะถือว่าเป็นเรามันไม่ถนัดนัก หนัง อัน
คนเรานีไม่วาหญิงหรือชายทีวาสวยงาม	 แม้จะเป็นดารา	 นางสาวไทย	
         ้ ่                 ่่
หรือนางงามจักรวาลก็ตาม	 ถ้าหากว่าไม่มีหนังบางๆ	 มาปกปิด
เอาไว้	 เราลองพิจารณาดูวาจะมีความสวยความงามหรือไม่	 หากเรา
                           ่
ลอกหนังที่ปิดบังอยู่นี้ออกมาเพื่อเปิดเผยความจริง	 เหมือนเรา
ลอกหนังเป็ด	หนังไก่หรือหนังกบก็คงจะเห็นเนือแดงๆ	เลือดไหลซึม	
                                              ้
ไม่แตกต่างอะไรกับพวกซากศพ	ผีเปรต	

      ร่างกายนี้มันไม่ได้มีการหมายตัวมัน แต่เราไปหมายว่า
เป็นแขน	เป็นขา	เป็นตา	เป็นร่างกายของเรา ร่างกายนี้แท้จริงเกิด
จากการรวมตัวกันของธาตุทั้งสี่ ดิน น้ำ ลม และไฟ เท่านั้น
มี ความเปลี่ยนแปลง แปรปรวน เสื่อมสภาพไปอยู่ตลอดเวลา
และจะแตกสลายกลับไปสู่ธาตุทั้ง ๔ ไปในวันใดวันหนึ่ง
      ธาตุดิน ก็คือส่วนของแข็งที่เป็นอวัยวะต่างๆ	 เช่น	 ขน	 ผม	
เล็บ	ฟัน	กระดูก	เป็นต้น
22   จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์



           ธาตุน้ำ ก็คือส่วนของเหลว	 เช่น	 น้ำเลือด	 น้ำเหงื่อ	 น้ำตา	
     น้ำเหลือง	น้ำหนอง	น้ำไขข้อ	น้ำย่อย	
           ธาตุลม ก็คือลมหายใจเข้าออก	ลมที่วิ่งอยู่ภายในร่างกาย	
           ธาตุไฟ ได้แก่	ความร้อนภายในกาย	ไฟเผาผลาญอาหาร	

               ทุกชิ้นส่วนทุกอวัยวะล้วนเต็มไปด้วยเชื้อโรค	 เป็นแหล่งของ
     เชื้อโรคอย่างดี	 มีความเป็นปฏิกูลสกปรก	 ต้องชำระล้าง	 ทำความ
     สะอาดอยู่เสมอ สิ่งเหล่านี้ล้วนไม่หมายตัวเอง คือไม่รู้ตัวเอง
     ไม่รวาตัวเองเป็นอะไร แต่มความยึดมันถือมันในจิตทีไปยึดร่างกาย
          ู้ ่                     ี        ่     ่         ่
     อวัยวะต่างๆ ในร่างกายว่าเป็นเรา เป็นของเรา ให้พิจารณาเห็น
     ความจริงว่า กายคือกาย จิตคือจิต ไม่ใช่อันเดียวกัน แต่เป็น
     ความไม่รู้ของจิตเองที่ไม่รู้ความจริง	แล้วก็ไปยึดถือร่างกายเป็นเรา	

             เมื่อเห็นดังนี้ก็ยากที่เราจะเหมาว่ากายนี้เป็นเรา พิจารณา
     ไปนานขึ้นๆ จิตใจจะค่อยๆ เห็นตามความเป็นจริง สิ่งเหล่านี้	
     ข้าพเจ้าพิจารณาจนนับครั้งไม่ถ้วน	 จนบางครั้งจิตเห็นคนที่เดินไป
     เดินมานี้เป็นกระดูกที่ไม่มีเนื้อหนังหุ้มอยู่	 เห็นเพียงกระดูกเปล่าๆ	
     ทีเดินไปเดินมา	 ร่างกายทีเห็นว่าเป็นเรา	 เวลามีชวตอยู	 มักมีเวทนา
       ่                         ่                      ีิ ่
     บีบคันตลอดเวลา	 เมือจิตออกจากร่างกาย	 เวลาเอาไปเผาไฟ	 กลับ
           ้                 ่
     ไม่มีเวทนาร้องโอดครวญเลย	 ฉะนั้นจึงสรุปได้ว่าจิตกับกายเป็น
     คนละส่วนกัน ไม่ปะปนกัน กายเป็นเพียงที่อาศัยชั่วคราวของ
ห วี ด 
 บั ว เ ผื่ อ น
   23


จิตเท่านั้น จิตก็เริ่มยอมรับตามความเป็นจริงมากขึ้นเรื่อยๆ	 นี่คือ	
การพิจารณากายของข้าพเจ้าโดยสรุปย่อๆ	 เพราะการพิจารณากาย
นีเป็นเรื่องละเอียดอ่อนไม่มีประมาณ	 จึงเป็นการยากที่จะเขียนให้
  ้
สมบูรณ์ในหน้ากระดาษเพียงเล็กน้อยนี	 เพราะถ้าจะเขียนกันจริงๆ	
                                       ้
แล้วก็ไม่รจะต้องเขียนกันอีกกียกกีหน้ากระดาษ	จึงต้องขอยุตเิ พียงนี้	
           ู้                ่ ่
คำว่าวางขันธ์
๕
นี้
ต้องเข้าใจว่า
ขันธ์
๕

         ทั้งหมดมันยังอยู่นะ
ทั้งรูปก็ยังอยู่

ทั้งเวทนาก็ยังอยู่
สัญญาก็ยังอยู่
สังขารก็ยังอยู่
        วิญญาณก็ยังอยู่
แต่ว่ายังอยู่นั้นน่ะ

    อยู่แบบเราปล่อยวาง
อยู่แบบปล่อย
ก็คือ

             รู้เข้าใจว่าไม่มีเราเป็นเจ้าของ
26   จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์




        ❀ พิจารณาเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ❀


            ส่วนเรื่องของเวทนานั้น	 ข้าพเจ้าติดอยู่นานมาก	 สมเด็จ
     พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ท่ า นตรั ส ไว้ ว่ า แม้ แ ต่ เ วทนาก็ ไ ม่ ใ ช่ เ รา
     ข้าพเจ้ามาพิจารณาดูอย่างไรๆ	 จิตก็ไม่ยอมรับ	 เนื่องจากเวลาทำ
     สมาธิ	 ความปวดความเมือยทีเกิดขึน	 เราเป็นผูปวดเมือยทุกครังไป	
                                ่ ่ ้                    ้       ่           ้
     ไม่สามารถแยกเราออกมาจากเวทนาได้	เพราะความรูสกในขณะนัน	    ้ ึ              ้
     เวทนาเป็นเรา	เราเป็นเวทนา	รูสกว่าเป็นเนือเดียวกันหมด	แต่ตอมา
                                    ้ ึ           ้                        ่
     วันหนึ่ง	ขณะที่จิตกำลังสงสัยอยู่	 พิจารณาใคร่ครวญวกไปเวียนมา
     อยู่หลายรอบ	เพื่อหาความจริงว่าเวทนาเป็นเราหรือไม่
ห วี ด 
 บั ว เ ผื่ อ น
   27


            ขณะนั้นเอง	 คล้ายกับเกิดนิมิตขึ้นในจิต	 เห็นเวทนาได้ลอย
ออกจากจิตของข้าพเจ้าอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง	 เวทนานี้ขาดออกจาก
จิตโดยสิ้นเชิง	 รู้สึกชัดเจนมาก	 เหมือนเราเอามีดไปฟันต้นกล้วย
ขาดกระเด็นออกจากกัน	 เวทนาเป็นสักแต่ว่าเวทนา เวทนานั้นก็
ไม่ รู้ ว่ า ตั ว เองเป็ น เวทนา เพราะเวทนา ไม่ มี ชี วิ ต ไม่ มี จิ ต ใจ
เวทนาจึงเป็นเพียงขันธ์ๆ	 หนึ่งปรากฏขึ้นมา เป็นคนละส่วนกัน
กับธาตุรู้หรือจิต หรือกล่าวได้ว่าอาการนั้นมันไม่ใช่อาการของเจ็บ	
แต่มันเป็นอาการของสิ่งหนึ่ง คำว่าเจ็บ เราไปใส่ชื่อให้เค้าเองว่า
มันเจ็บ จริงๆ	เค้าก็เป็นของเค้าอย่างนันแหละ	ความเจ็บความปวด
                                         ้
มันเป็นของมันอย่างนั้นเอง	

         หากเราไม่เอามาเป็นเราซะอย่างเดียว	เวทนาก็ไม่ใช่เรา	คือ
ไม่ใช่ความรู้สึก	 ไม่ใช่ธาตุรู้หรือจิต	 เหมือนเรานั่งดูหนัง	 เวทนา
เหมือนหนังที่เรานั่งดู ธาตุรู้หรือจิตเป็นผู้รู้เป็นผู้เห็นเฉยๆ แต่
ไม่ใช่เป็นผู้เจ็บ จิตไม่ใช่ผู้เจ็บ	 เมื่อจิตไม่ใช่ผู้เจ็บ	 มันก็เลยไม่เจ็บ	
เอาเจ็บมาจากไหน	 เราไปบอกเองว่ามันเจ็บ	 ไปให้สัญญาจำได้ว่า
เวลานีเ้ ราเจ็บ จริงๆ แล้วเราไม่ได้เจ็บเลย แต่อาการมันเป็นอย่างนัน	      ้
เหมือนว่าเราเป็นกระจก	 ธาตุรู้หรือจิตนี้เป็นกระจก	 เวลาเวทนา
เกิดขึ้น	 กระจกกับเวทนามันคนละอัน	 มันไม่เกี่ยวกับกระจกเลย	
ฉะนั้น ผู้เห็น	 คือเราหรือกระจกจะไปเจ็บได้อย่างไร	 ธาตุรู้หรือจิต
เป็นเพียงผู้เห็น แต่ไม่ใช่ผู้เจ็บ
28   จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์



              หากจะเปรียบเวทนาเหมือนเม็ดพริกขี้หนู	 เม็ดพริกขี้หนูไม่รู้
     เลยว่าตัวเองเผ็ด	 เพราะไม่มีชีวิต	 ไม่มีจิตใจ	 และไม่มีเจตนาที่จะ
     ทำให้ใครเผ็ด	 เปรียบเหมือนความเจ็บความปวด	 ที่ไม่มีชีวิตจิตใจ
     เช่นเดียวกัน	 จึงไม่สามารถทำให้ใครเจ็บปวดได้	 แล้วอะไรเป็น ผู้
     เจ็บปวด	 ในเมื่อเวทนาความเจ็บ	 เนื้อ	 หนัง	 เอ็น	 กระดูก	 ไม่มี
     ความรู้สึกว่าตนเองเจ็บปวดเลย	ทั้งยังไม่เที่ยง	เกิดขึ้น	ตั้งอยู่	 แล้ว
     ก็ดับไป	ไม่มีแก่นสารใดๆ	ทั้งสิ้น	เป็นเพียงสิ่งเกิดๆ	ดับๆ	เท่านั้น	
     ส่วนธาตุรหรือจิตก็เป็นผูรเฉยๆ	 หากไม่เข้าใจความจริงนี	 ความเจ็บ
                ู้                 ้ ู้                      ้
     ความปวดนันก็จะเป็นเรา	 คือเราเจ็บ	 โดยไม่สามารถแยกจากกันได้	
                   ้
     แต่หากเข้าใจความจริงนีแล้ว เนือ หนัง เอ็น กระดูก ก็เป็นความจริง
                                 ้      ้
     อันหนึ่ง อาการเจ็บก็เป็นเพียงอาการและความจริงอันหนึ่ง และ
     ธาตุรหรือจิตก็เป็นผูรซงเป็นความจริงอีกอันหนึงเช่นกัน ไม่มความ
           ู้            ้ ู้ ึ่                     ่            ี
     ยึดมั่นถือมั่นว่าความเจ็บความปวดเป็นเราเป็นของเราแต่อย่างใด	

             เรื่องของสัญญา การจำได้หมายรู้ก็ไม่แตกต่างจากเวทนา	
     เพราะสัญญาก็เป็นสิ่งที่ถูกรู้ ไม่มีชีวิตไม่มีจิตใจเหมือนกัน เป็น
     ของตาย	 คือ	 เกิดๆ	 ดับๆ	 ด้วยกันทั้งสิ้น	 มีความจริงของตนเป็น
     เช่นนี้	 แล้วจะไปยึดมั่นถือมั่นอะไรกัน	 วันนี้ยังจำได้ดี	 พอวันรุ่งขึ้น
     ก็ลืมเสียแล้ว	สิ่งที่ติดตาติดใจ	ก็คงจำได้นานหน่อย	ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่
     ติดใจก็ดับเร็ว	 ลืมเร็ว	 ไม่เที่ยง	 ไม่แน่นอน	 มีการผันแปรอยู่เสมอ	
     ดังนั้น	สัญญาจึงไม่ใช่เราเหมือนกับเวทนานั่นเอง
ห วี ด 
 บั ว เ ผื่ อ น
   29


        ส่วนเรื่องของสังขาร ความคิดความปรุงแต่ง ก็เป็นอาการ
และความจริงของตนอีกอันหนึ่งเช่นกัน	 คือคิดแล้วดับไป	 ปรุงแล้ว
ดับไป	 บางครั้งไม่ได้ตั้งใจคิดแต่ความคิดก็ลอยขึ้นมาเอง	 บางครั้ง
ไม่มีเจตนาที่จะว่ากล่าวใคร	แต่ความคิดก็เกิดขึ้นมาให้เราเป็นทุกข์
จนได้	 เช่น	 บางครั้งคิดไปตำหนิครูบาอาจารย์อย่างรุนแรง	 แม้จะ
บังคับไม่ให้คิด	 แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะสังขารการปรุงแต่งนี้ได้	
ทั้งๆ	 ที่กลัวบาป	 กลัวตกนรก	 เพราะไปว่ากล่าวครูบาอาจารย์
โดยที่ท่านไม่ได้ผิดอะไร	ยิ่งบังคับก็ดูเหมือนยิ่งยุให้ความคิดเหล่านี้
เกิดขึ้นเป็นทวีคูณ	 ทุกข์ทรมานแสนสาหัสสำหรับข้าพเจ้า	 ในที่สุด
ข้าพเจ้าได้นำปัญหานี้ไปถามครูบาอาจารย์	 ซึ่งท่านได้แก้ปัญหาให้
กับข้าพเจ้าได้เป็นอย่างดี	 โดยตอบว่า	 “ไม่เป็นไรหรอกโยม	 เพียง
แต่โยมอย่าไปคิดว่าสังขารความคิดเป็นโยมก็แล้วกัน”	 ความรู้สึก
ของข้าพเจ้าในขณะนั้น	 เหมือนยกภูเขาออกจากอก	 โล่งไปหมด	
เข้าใจได้ในทันทีว่าสังขารความคิดมีอาการและความจริงเช่นนี้
บังคับไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งถูกรู้ เป็นคนละอันกับจิต เป็นสิ่งที่
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นไตรลักษณ์อยู่อย่างนั้น
30   จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์



             ท้ายสุดสำหรับเรืองของวิญญาณ ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน	
                                 ่
     เช่น	เมือตาเห็นรูป	หูได้ยนเสียง	จมูกได้กลิน	ลินได้ลมรส	กายได้รบ
             ่                     ิ               ่ ้ ิ้          ั
     การสัม ผัส	 ใจสัม ผัสอารมณ์	 เมื่อมีการกระทบกันทางอายตนะ
     ทั้ง	 ๖	 ดั ง กล่ า วข้างต้น อาการของวิ ญ ญาณก็ จ ะรั บ ทราบการ
     กระทบนั้นเป็นครั้งๆ เป็นเรื่องๆ ไป กระทบครั้งหนึ่งรับทราบ
     ครั้งหนึ่ง แล้วก็ดับไป รับทราบแล้วดับ รับทราบแล้วดับ ไม่ใช่
     ธาตุรู้หรือจิต เป็นเพียงสิ่งถูกรู้เช่นเดียวกัน	

             จึงสรุปได้วา ขันธ์ ๕ ทังหมด มิใช่เรามิใช่ของเรา เป็นเพียง
                         ่             ้
     อาการของจิต มีธรรมชาติเป็นไตรลักษณ์ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นใน
     ขันธ์ทั้ง	 ๕	 ขันธ์ทั้ง	 ๕	 เป็นเพียงสิ่งถูกรู้	 และเราเป็น ผู้รู้สิ่งเหล่านี้
     เท่านั้น
32   จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์




               ❀ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา แล้วเราคืออะไร ? ❀


             ข้าพเจ้าเริมเข้าใจเรืองของขันธ์	๕	ว่าไม่ใช่ตวของเรา “แล้วเรา
                        ่         ่                          ั
     คืออะไรล่ะ” เมื่อมีคำถามดังนี้	 จิตก็เริ่มสงสัยและค้นหาความจริง	
     ข้าพเจ้ามาค้นหาและค้นคว้าอยูนานทีเดียว	 ในทีสด	 ก็ได้ถามครูบา
                                          ่                ่ ุ
     อาจารย์ในขณะนั้น	อาจารย์ได้ตอบว่า เราคือความรู้สึกหรือธาตุรู้
     ธาตุรู้นี้ไม่ใช่ความรู้ทั่วไปที่เราเรียนมาจากหนังสือ	 ไม่ใช่สิ่งที่เรา
     เห็นด้วยตา	ได้ยินด้วยหู	สัมผัสด้วยจมูก	ลิ้มรสด้วยลิ้น	และสัมผัส
     ด้วยกาย	 สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งถูกรู้ทั้งหมด	 จึงไม่ใช่ธาตุรู้	 ธาตุรู้นี้มีอยู่
     เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นในสามแดนโลกธาตุนี้ สิ่งอื่นๆ	 ทั้งหมด
     ไม่ใช่ธาตุร	 แม้แต่อารมณ์ทสมผัสได้ดวยใจของเรานี	 ก็ยงไม่ใช่ธาตุร	
                  ู้                ี่ ั        ้               ้ ั                 ู้
     แต่เป็นเพียงสิ่งถูกรู้เท่านั้น	 นี่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่เราจำเป็นจะต้อง
     พิจารณาให้เห็นธาตุรู้นี้ให้ได้	 เพราะธาตุรู้นี้แหละคือเรา	 ไม่ใช่รูป	
     เวทนา	สัญญา	สังขาร	หรือวิญญาณที่ก่อนหน้านี้เห็นว่าเป็นเรา
ห วี ด 
 บั ว เ ผื่ อ น
   33


        ธาตุรู้หรือจิตนี้	 เราเกิดมานับอสงไขยไม่ถ้วน	แต่กลับไม่เคย
เห็นธาตุรู้ที่เป็นธรรมธาตุนี้มาก่อนเลย	 ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
กล่าวไว้ว่า “นกไม่เห็นฟ้า ปลาไม่เห็นน้ำ หนอนไม่เห็นอาจม”
เหมือนเราเหยียบแผ่นดินอยู่ทั้งแผ่นดิน	แต่กลับไม่เคยเห็นแผ่นดิน
อันนี้เลย	นี่คือความหลงอันหาประมาณไม่ได้	เราจึงเกิดมาแล้วนับ
ชาติไม่ถ้วน	ตายแล้วเกิด	เกิดแล้วตาย	จนกระดูกกองทับถมกันสูง
เท่าภูเขาทั้งลูก	 นี่คือ	 สิ่งที่ข้าพเจ้าเข้าใจในขณะนั้น	 จากนั้นมา
ข้าพเจ้าจึงพยายามอยู่กับธาตุรู้	 ถึงแม้ในตอนแรกจะขาดๆ	 หายๆ	
อยู่ได้เพียงหนึ่งนาทีสองนาทีก็หายไป	 เมื่อได้สติก็พยายามดึงกลับ
มาอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา	 ยกเว้นเวลาหลับ	 ในที่สุดด้วยความเพียร
อย่างยิ่งของข้าพเจ้า	 ทำให้สามารถอยู่กับผู้รู้ได้มากขึ้นเรื่อยๆ	 จน
อยู่ได้ครบ	๑๐๐%	และสามารถอยู่กับธาตุรู้ได้อย่างอัตโนมัติ
34   จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์




                                    ❀ ปล่อยธาตุรู้ ❀


            ข้ า พเจ้ า ติ ด อยู่ กั บ ผู้ รู้ เ ป็ น เวลาสองปี เ ต็ ม ๆ	 ในที่ สุ ด พระ
     อาจารย์ท่านได้เทศน์โปรดให้ข้าพเจ้าปล่อยธาตุรู้นี้	 “โยมจะจับไว้
     ทำไมกัน	ปล่อยไปเสียนะโยม	ไม่มีสิ่งใดที่จะหนักเท่ารู้อีกแล้ว	โยม
     จะจับไว้ทำไมกัน”	 ข้าพเจ้าก็ตอบอาจารย์ไปว่า	 “ผมปล่อยไม่เป็น
     หรอกครับอาจารย์	 ปล่อยไม่ได้	 ไม่รจะปล่อยอย่างไร”	อาจารย์หยิบ
                                                        ู้
     หนังสือขึน	แล้วก็ปล่อยลงมา	“ปล่อยอย่างนีแหละโยม	ปล่อยได้ไหม”	
               ้                                               ้
     ข้าพเจ้าไม่มปญญามากพอทีจะปล่อยธาตุรนได้	 มันจนปัญญาจริงๆ	
                  ี ั                       ่                ู้ ี้
     ทังๆ	ทีครูบาอาจารย์ได้ชวยโปรดข้าพเจ้าอยูหลายครังหลายหนด้วยกัน	
       ้ ่                         ่                       ่         ้
ห วี ด 
 บั ว เ ผื่ อ น
   35


        ข้าพเจ้าปรารภกับตัวเองว่า	 “ธาตุรู้นี้เป็นชีวิตจิตใจแล้ว	 เรา
จะปล่อยวางได้อย่างไร”	 พิจารณาวนเวียนอยู่อย่างนี้	 หาทางออก
ไม่ได้เลย	 จิตกังวลอยู่กับจิต	 จะปล่อยก็ปล่อยไม่เป็น	 จะเอาไว้ก็รู้
ว่ามันไม่ถูกต้อง	รู้สึกว่าเป็นภาระรุงรัง	น่ารำคาญมาก	ทำไมเรายิ่ง
ปฏิบัติยิ่งเกิดความทุกข์	 จะนอนก็นอนไม่ค่อยหลับ	 เพราะกังวล
อยู่กับการปล่อยธาตุรู้	 พิจารณาวนเวียนเหมือนพายเรืออยู่ในอ่าง	
ข้าพเจ้าไปสำนักทีอาจารย์พกอยูหลายครัง	 ทังทีกอนนีทานมาโปรด
                      ่        ั ่         ้ ้ ่่ ้ ่
ถึงบ้าน	(วัดเขากระแจะ)	ไม่ต่ำกว่า	๗	ครั้งด้วยกัน	แต่ข้าพเจ้าก็ไม่
สามารถเข้าใจได้	 จึงตามไปทีสำนักของท่านถึง	๓	–	๔	ครังด้วยกัน	
                                ่                            ้
ในแต่ ล ะครั้ ง ที่ ไ ปกราบท่ า น	 ท่ า นเทศน์ โ ปรดวั น ละ	 ๓	 เวลา	
ล้วนแล้วแต่เทศน์เรื่องการปล่อยธาตุรู้นี้ทั้งสิ้น	 แต่ข้าพเจ้าเองไม่มี
ปัญญาพอ	 ก็เลยไม่สามารถปล่อยรู้ได้	 ครั้งสุดท้ายไปกราบท่าน
เมื่อวันที่	 ๓	 พฤศจิกายน	 ๒๕๓๖	 ท่านได้เทศน์โปรดอยู่	 ๓	 วัน	
วันละ	 ๓	 เวลา	 ข้าพเจ้าก็ยังไม่สามารถปล่อยรู้นี้ได้เหมือนครั้งที่
ผ่านมา	 จนวันที่	 ๕	 พฤศจิกายน	 ๒๕๓๖	 เวลา	 ๔	 โมงเย็น	 ซึ่ง
ข้าพเจ้ากำลังเตรียมตัวกลับบ้าน	 โดยคิดอย่างน้อยเนื้อต่ำใจว่า	
ชาตินี้คงไม่มีวาสนาที่จะสามารถปล่อยรู้ได้	 ทันใดนั้นอาจารย์ได้
กล่าวขึ้นว่า	 “โยม เวลามีสิ่งกระทบโยมก็ปล่อยรู้แล้วมาจับสิ่งที่มา
กระทบ แต่ในขณะที่ไม่มีสิ่งกระทบ โยมก็มาอยู่กับธาตุรู้อีก เอา
อย่างนี้ได้มั้ยโยม เมื่อมีสิ่งกระทบ โยมก็ปล่อยทั้งสองอย่างไปเลย
36   จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์



     เวลานี้โยมเปรียบเหมือนหนอนคืบ เมื่อมาจับที่หัวก็ปล่อยหาง
     เมื่อจับหางก็ปล่อยหัว ให้โยมปล่อยทั้งสองอย่างไปเลยได้มั้ย”

            เท่านั้นเอง	 ข้าพเจ้าถึงกับตะลึง	 สะดุ้งขึ้นในใจและขณะ
     เดียวกันนั้น	 ทั้งธาตุรู้และสิ่งถูกรู้	 เหมือนมีพลังหนึ่งมาสะบัดอย่าง
     รุนแรง	ธาตุรู้และสิ่งถูกรู้นั้นกระเด็นออกไปทันที	และเกิดธาตุรู้อีก
     ตัวหนึ่งซึ่งเป็นรู้ภายใน คือตัวที่มองธาตุรู้ตัวแรกและสิ่งถูกรู้ที่
     กระเด็นออกไป ปรากฏเป็นรู้ปัจจุบันขึ้นมาทันที เป็นธาตุรู้ที่ไม่
     ต้องประคอง ไม่ต้องจับ ไม่ต้องกำหนด ธาตุรู้นี้ไม่มีหาย ไม่มี
     เกิด ไม่มีดับ ธาตุรู้ตัวใหม่นี้เป็นอิสรเสรี	 โดยที่ไม่มีเราเป็นเจ้าของ
     เหมือนแต่ก่อน เป็นธาตุรู้ที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เป็นปัจจุบันธรรม
     เป็นกลางๆ ไม่มีที่อยู่ ไม่มีที่อาศัย ไม่กินเนื้อที่ ปราศจากการยึด
     มั่นถือมั่นในสิ่งใดทั้งสิ้น ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนมาก	 สมมติที่ฝัง
     จมอยู่ในจิต	 คือธาตุรู้ตัวแรกนั้นดับไป	 ภพชาติทั้งหลายที่ติดแน่น
     อยู่ในจิตนานแสนนานนั้น	 ได้ดับลงพร้อมกันในขณะนั้น	 อวิชชา
     ดับไปโดยสิ้นเชิง	 พร้อมทั้งประกาศชัยชนะเหนือกิเลสทั้งหลาย
     อย่างขาวสะอาด	 ในสามแดนโลกธาตุนี้ไม่มีกิเลสที่จะก่อกวนอีก
     ต่ อ ไป ทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า งนั้ น กลั บ ตั ว เป็ น ธรรมพร้ อ มกั น หมดทั้ ง
     ภายในและภายนอก
ห วี ด 
 บั ว เ ผื่ อ น
   37


          ความเป็นกลาง	 ความสะอาด	 ความบริสุทธิ์นั้น	 ก็หมายถึง
จิตดวงนี้เอง	 พระพุทธ	 พระธรรม	 พระสงฆ์	 ก็คือ	 จิตดวงนี้	 ดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า	 ผู้ใดเห็นธรรม	 ผู้นั้นเห็นตถาคต	
ซึ่งก็คือ	 การเห็นจิตที่บริสุทธิ์	 ณ	 ปัจจุบันนั่นเอง จิตที่บริสุทธิ์
จึ ง เป็ น จิ ต ที่ อยู่นอกเหตุเหนือผล เหนือ สมมติ เหนื อ บั ญ ญั ติ
เหนือเกิด เหนือดับ เรียกว่า เป็นวิมติ หมดภาระ หมดสินการงาน
                                        ุ                 ้
หมดคำพูดจึงหยุด แล้วปล่อยคำว่าหยุดลงเสียด้วย สมกับที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “ไม่มีธรรมใดที่ไม่เป็นโมฆะ”
นันหมายความว่า	 สมมติทงหลายทีเคยติดแน่นในจิต	 เมือไม่ยดมัน
   ่                            ั้    ่                  ่ ึ ่
ถือมั่นกับสมมตินั้นแล้ว	สมมติก็เป็นโมฆะหรือหมดความหมายไป
ความรู้กับผู้รู้
คนละตัวกันนะ
รู้หมายถึงจิต
       แต่ความรู้หมายถึงสิ่งที่เราเรียนมา
    ถ้าแยกแยะอย่างนี้ได้
ก็เป็นอันว่าเข้าใจ
                  คือผู้รู้มีอันเดียว
                             
แต่ความรู้นี้มีไม่มีประมาณเลยนะ
เรียนกันไม่จบ
 ตากระทบรูป
หูกระทบเสียง
จมูกกระทบกลิ่น
        ลิ้นกระทบรส
กายกระทบสัมผัส
                 ใจรับธรรมารมณ์
อย่าทิ้งใจเรา
คอยดูแลว่าสิ่งใด
 จะมากระทบบ้าง
เมื่อกระทบแล้วมีอาการใด
เกิดขึ้นบ้าง
ทั้งดีทั้งชั่ว
ให้เรารู้เราเห็นอยู่ตลอด
40   จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์




                                    ❀ ปัจจุบันธรรม ❀


               คำว่าปัจจุบันธรรม ถ้าเผื่อเราทำความเข้าใจตรงนั้นได้	 เรา
     ก็จะเห็นความจริงที่เกิดขึ้นกับตา	 หู	 จมูก	 ลิ้น	 กายที่มันเกิดขึ้นใน
     ปัจจุบัน	เช่น	ตาเห็นรูป	รูปนั้นก็เป็นธรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน	จมูก
     ได้ ก ลิ่ น	 ลิ้ น ได้ ลิ้ ม รสในขณะนั้ น เดี๋ ย วนั้ น	 ก็ ถื อ ว่ า เป็ น ธรรมใน
     ปัจจุบันธรรม เลยจากนั้นแม้แต่วินาทีเดียวก็เป็นสัญญาไป ไม่ใช่
     ความจริง ความจริงจะเกิดขึ้นเฉพาะขณะที่รู้ขณะที่ได้สัมผัส
     เช่น	กายรับสัมผัส	เย็น	ร้อน	อ่อน	แข็ง	อะไรก็ตามอันนันถือว่าเป็น         ้
     ปัจจุบัน	สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นเป็นความจริง	

           แต่ถ้าเผื่อเลยไปแม้แต่วินาทีเดียว	สิ่งนั้นก็เป็นสัญญาไป	คือ
     เป็นความจำไป	 เป็นอดีตไป	 เพราะฉะนั้นอดีตเราไม่เอา	 ผ่านไป
ห วี ด 
 บั ว เ ผื่ อ น
   41


แล้วผ่านไปเลย	 เราดูของใหม่	 เราเอาของใหม่	 ไม่ว่าจะเป็นกาย
สั ม ผั ส	 ตาเห็ น รู ป	 หู ไ ด้ ยิ น เสี ย ง	 จมู ก ได้ ก ลิ่ น	 ลิ้ น ลิ้ มรส	 ใจรั บ
ธรรมารมณ์	 คื อ อารมณ์ ต่ า งๆ	 ที่ เ กิ ด ขึ้ น	 อั น นี้ เ ราเอาเฉพาะที่
สัมผัสกับจิต ถ้าหากว่าเราพอสังเกตได้อย่างนี้ เราก็สามารถฟัง
ธรรมได้ตลอด ฟังธรรมของตัวเอง ธรรมแห่งธรรมชาติ ธรรมอัน
เป็นธรรมชาติ

         จริงๆ	แล้ว	พระพุทธเจ้า	ไม่ได้เอาสิ่งสร้างขึ้นหรือคิดขึ้นมา
สอนพวกเรา	 ไม่ได้คิดขึ้นมาสอนเราเลย	 แต่เอาความจริงที่เกิดขึ้น	
เอาสัจธรรมทีเ่ กิดขึน	ณ	ปัจจุบนนันแหละมาเล่าให้เราฟัง	หลวงปูมน
                         ้               ั ้                                        ่ ั่
ถึงบอกว่า	 ท่านฟังธรรมตลอด	 ๒๔	 ชม.	 เพราะฉะนั้นหลวงปู่ท่าน
จึงไม่มีปัญหาอะไร	 ไม่ได้สงสัยอะไร	 เพราะธรรมชาตินั้นเฉลยมา
หมดแล้วในทุกๆ	เรืองในทุกๆ	อย่าง	ไม่วาจะเป็นรูปหรือรส	เป็นกลิน	
                           ่                       ่                                     ่
เป็นเสียงก็มาสัมผัส	 ณ	 ปัจจุบันนั้นทั้งนั้น	 เพราะฉะนั้นความจำ
หรือสัญญาจึงไม่เกิดประโยชน์อะไรกับเรา	 ไม่เกิดประโยชน์อะไร
กั บ จิ ต	 สิ่ ง ที่ จ ะทำให้ เ กิ ด ปั ญ ญาได้ ก็ คื อ	 ปั จ จุ บั น ที่ เ ราเห็ น อยู่	
เป็นความจริง	ณ	ปัจจุบันนี้	

      เช่นเวทนาที่เกิดขึ้น	 เมื่อกี้ที่เรานั่งฟังหลวงปู่ท่านเทศน์ว่า	
เวทนาที่เกิดขึ้นนั้น	 ในขณะที่เราได้รับ ให้พิจารณาอย่างถ่องแท้
กับเวทนาตัวนั้น ว่ามันคนละอันกันจริงหรือไม่ ให้วิเคราะห์ใช้
42   จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์



     วิจารณญาณในการพิจารณาตามความเป็นจริง	 ทุกครั้งที่เวทนาได้
     เกิดขึ้น	 จริงๆ	 แล้วเวทนาไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับจิตเลย	 คือไม่ได้
     เกี่ยวข้องกับผู้รู้	 จิตนั้นไม่เจ็บ	จิตนั้นรู้เฉยๆ	แม้แต่ตัวเจ็บเองก็ไม่รู้
     ว่าตัวเองเจ็บ	 แต่เค้าเป็นของเค้าอย่างนั้น	 ความเจ็บมันเป็นของ
     ตายต่างหาก	 และอวัยวะส่วนที่เจ็บนั้นก็ไม่รู้ว่าตัวเองเจ็บ เช่น	
     หนังไม่เจ็บ	 เนื้อไม่เจ็บ	 เอ็นไม่เจ็บ	 กระดูกไม่เจ็บ	 แต่มีอุปาทาน
     ตัวเดียวเท่านั้นที่ไปสำคัญมั่นหมายว่าเราเจ็บ ทั้งๆ	 ที่เราก็ไม่มี	
     มีแต่จิตเป็นผู้รู้เดี่ยวๆ	เท่านั้น	

                 เมื่อจิตเรายอมรับอย่างนั้น	 เห็นตามความเป็นจริงอย่างนั้น	
     เราไม่สามารถปฏิเสธคำสอนของพระพุทธเจ้าได้เลย	 ยอมรับด้วย
     ความเต็มใจ	เชื่ออย่างสนิทใจ	เชื่ออย่างไม่มีความสงสัยแม้แต่น้อย
     ภายในจิต	เมื่อเราสามารถเข้าใจเรื่องขันธ์	 ๕	ได้แล้วว่า	ตาเห็นรูป	
     รู ป นั้ น ก็ เ ป็ น ธรรม	 จมู ก ได้ ก ลิ่ น	 ลิ้ น ลิ้ ม รสอย่ า งที่ ว่ า	 มั น ก็ เ ป็ น
     ธรรมชาติทั้งหมด ไม่มีอะไรเป็นอะไร ไม่มีอะไรเป็นอุปสรรคกับ
     อะไร ไม่มีอะไรขัดแย้งกับสิ่งใด ไม่ได้ปีนเกลียวกันเลยระหว่าง
     ขั น ธ์ ทั้ ง หลายกั บจิ ต แต่ จิ ต ที่ มี กิ เ ลสหรื อ จิ ต ที่ มี ปั ญ หา มั น จะ
     ปีนเกลียวกับทุกสิงทุกอย่างทีมากระทบ มันขัดแย้งไปหมด	เสียงดี
                              ่             ่
     ก็พอใจ	 เสียงไม่ดีก็ไม่พอใจ	 จริงๆ	 แล้วความพอใจและไม่พอใจ
     มันก็เป็นอีกขันธ์หนึงต่างหาก	ทีตางออกไปเป็นตัวที	๓	จิตไม่ได้เป็น
                                ่             ่ ่                        ่
     ตัวพอใจหรือไม่พอใจ	 ยินดีหรือไม่ยินดี	 จิตได้แต่รู้เฉยๆ รู้แล้วจบ
ห วี ด 
 บั ว เ ผื่ อ น
   43


รู้แล้วไม่คิดไม่ปรุงไม่อะไรทั้งนั้น	 หรือแม้คิดปรุงขึ้นมา	 มันก็เป็น
คนละอันกับจิตอีก	คือสังขารความคิดก็เป็นคนละส่วนกัน	มันเป็น
คนละส่วนทั้งหมดเลย	 ทุกสิ่งที่เข้ามากระทบขันธ์	 ๕	 ของเราหรือ
กระทบใจของเรานี้	 เปรียบเหมือนไม้ตีระฆัง	 ไม้	 ระฆัง	 และเสียง
เป็นคนละอันกัน	 ส่วนเสียงที่ได้ยิน	 ในขณะที่หูของเราได้รับสัมผัส
เสียงอันนั้นกังวานแล้วเงียบไป	ก็เรียกว่า เกิด ดับ ซึ่งขันธ์ก็มีการ
เกิดดับทั้งนั้น	

        แต่จิตอันนี้	 ซึ่งเป็นจิตที่เที่ยง พระพุทธเจ้าสอนว่าจิตอันนี้
เป็นของเที่ยง เสียงระฆังเกิดขึ้นก็รู้อยู่	 เสียงระฆังดับไปก็รู้อยู่	
เพราะฉะนั้นจิตจึงไม่ตาย	 เป็นของเที่ยงแท้แน่นอน	 รู้อย่างเดียว
เท่านั้น	 เกิดก็รู้ ตายก็รู้ ไม่มีคำว่าดับ ดังคำที่หลวงปู่ท่านบอกว่า	
แม้ จ ะตกนรกไปถึ ง แสนมหากั ป	 จิ ต ก็ ไ ม่ มี ค ำว่ า ตาย	 แม้ จ ะขึ้ น
สวรรค์ไปกี่ชั้น	 เป็นพรหมกี่ชั้น	 เมื่อหมดจากบุญ	 หมดจากวาสนา	
จิตดวงนี้ก็ลงมาเสวยสิ่งที่เคยทำเคยสร้างไว้ ซึ่งส่วนมากเป็นบาป
ที่เราสร้างไว้ไม่มีประมาณมันปฏิเสธไม่ได้เลย	 จิตต้องรับตลอด	
ไม่ว่าดีหรือชั่ว	 แต่ชั่วมากกว่า	 สิ่งที่ไม่ดีมากกว่า	 เราเกิดมาไม่มี
ประมาณ	เกิดมานับไม่ได้	ไม่รู้ต้นรู้ปลายมาจากเมื่อไหร่	

     เพราะการที่ เ ราเข้ า มาได้ ยิ น ได้ ฟั ง พระธรรมคำสอนของ
พระพุทธเจ้านี้	 เรามาเข้าใจตรงนี้	 เราก็รู้อีกว่า	สิ่งเหล่านี้เราไม่เคย
44   จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์



     เข้าใจไม่เคยรู้เรื่องมาก่อนเลย	 นับตั้งแต่ที่เราเกิดมา	 ก็เพิ่งวันนี้
     เดี๋ยวนี้แหละ	ที่เราสามารถมาเข้าใจและพิจารณาให้เห็นตามความ
     เป็นจริงอย่างลึกซึ้ง	 เช่น	 เห็นว่าเวทนามันไม่ใช่เราจริงๆ	 อย่างนี้
     สรุปออกจากใจนีแหละ	 ว่ามันคนละชินคนละอัน	 จริงอยูเวทนานัน
                        ่                  ้                 ่         ้
     ไม่ได้หายไปไหน	 แล้วก็ไม่มีใครอยากพบไม่มีใครอยากเห็น	 แต่จะ
     ทำอย่างไรได้	 ในเมือเราสร้างกรรมมาแล้วเราก็ปฏิเสธไม่ได้	 เวทนา
                          ่
     เหล่านี้ก็ต้องล่องลอยมาให้เราเห็น	 ก็เพียงแต่เห็น พระอริยะเจ้า
     ท่านก็เพียงเห็นแล้วก็จบ ไม่มีเจ้าของในเวทนาเหล่านั้น

            ในโลกนี้ ทุกสิ่งไม่มีใครเป็นเจ้าของเลย ไม่ว่าจะเป็นรูป	
     เวทนา	 สั ญ ญา	 สั ง ขาร	 วิ ญ ญาณเหล่ า นี้	 ไม่ มี ใ ครเป็ น เจ้ า ของ	
     เพราะอะไร	 ก็เพราะมันไม่มีเรา	 พิจารณาหาเราแล้วหาไม่เจอเลย
     ว่าเรามันอยู่ตรงไหน	 เราลองวาดภาพไปดู	 ตรงนี้ก็เส้น ผม	 ตรงนี้
     ก็ขน	อันนั้นก็เล็บ	อันนี้ก็หนัง	อันนี้ก็ฟัน	กระดูกเอ็นสิ่งเหล่านี้ไม่มี
     เจ้าของ	 แต่ความสำคัญมั่นหมายของอวิชชาที่มันครอบงำจิตใจ
     ของเรามานาน ทำให้เราเข้าใจผิดคิดว่าสิงเหล่านีเ้ ป็นเรา นับตังแต่
                                                 ่                        ้
     รูปอันเป็นสิงหยาบๆ	ละเอียดลงไปเป็นนามธรรม	อันได้แก่	 เวทนา	
                 ่
     สัญญา	สังขาร	วิญญาณ	อารมณ์ต่างๆ	

             เราสามารถมองตามเห็นตามความเป็นจริงว่า	 ขันธ์เหล่านี้
     ไม่เกี่ยวกับผู้ใดทั้งนั้น	 ไม่เกี่ยวแม้แต่เรา	 เพราะเราก็ไม่มี	 หาเรา
ห วี ด 
 บั ว เ ผื่ อ น
   45


ไม่เจอ	 อย่างที่ว่าเมื่อสักครู่ว่า ร่างกายมันก็เป็นดิน น้ำ ลม ไฟ
ผสมกันอยู่ ส่วนจิตก็เป็นแต่ผู้รู้ไม่มีเจ้าของอีกเหมือนกัน จิตเป็น
เพียงธรรมธาตุอันหนึ่ง	 เปรียบเหมือนธาตุน้ำ	 ที่ไม่มีเจ้าของ	 ไม่มี
เราไปเป็นเจ้าของ	ธาตุนำ	ธาตุดน	ธาตุลม	ธาตุไฟ	ไม่เคยมีเจ้าของ
                          ้        ิ
เลยตั้งแต่ไหนแต่ไรมา แต่ธรรมธาตุหรือจิตอันนี้ ทำไมมันถึงมี
เจ้าของ

       มันเป็นเรื่องแปลก พอจิตเป็นของเรา รูปก็เป็นของเรา
เวทนาก็เป็นของเรา สังขารความคิดก็เป็นของเรา วิญญาณก็
เป็นของเรา อารมณ์ต่างๆ เป็นเราหมด ดีใจเสียใจ เป็นเราทั้งนั้น
แม้เราจะหิว เราจะอิ่ม เรายาก เราจน เรารูปร่างหน้าตาไม่ดี
สิ่งเหล่านี้ก็เป็นเราขึ้นมาหมดเลย แต่ถ้าหากว่าเราค้นหาต้นตอ
จริงๆ	ว่าเราอยู่ที่ไหน	เราพิจารณาหาตามความเป็นจริงดู	 มันไม่มี
เรา	เพราะจริงๆ	แล้วสิ่งเหล่านี้	 มันไม่เป็นไปตามเราคิดนึก	ถึงแม้
เราจะเคยคิดนึกตามครูบาอาจารย์ได้	 แต่ว่าจิตไม่ยอมรับ	 เมื่อจิต
ไม่ยอมรับ	 ถามว่าทำยังไงถึงจะให้จิตมันยอมรับ อันนี้เราก็ต้อง
ปฏิบัติไป พิจารณาไป ละตั้งแต่ขันธ์ ๕ เป็นต้นไป หลังจากละ
ขันธ์ ๕ ไปแล้ว มันก็เหลือจิตกับเราเท่านั้นแหละ ๒ ตัวเท่านั้น

     เมื่อมาพิจารณาถึงเรา	 พิจารณาถึงจิตจริงๆ	 อย่างที่ครูบา
อาจารย์ท่านบอก ที่พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า เราไม่มี มีแต่ธาตุ
46   จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์



     ธรรมธาตุทรอยูเ่ ท่านัน เมือพิจารณาเห็นตามเป็นจริงตรงนี	 แล้วจิต
                   ี่ ู้        ้ ่                                ้
     ก็จะยอมรับเมือจิตยอมรับความจริงนี้ ทุกสิงทุกอย่างเบาหมดเลย
                         ่                            ่
     มันเปิดโลกทั้งหมดเลย สมมติที่เราคิดว่าเรารู้แล้วเราเข้าใจแล้ว	
     ตามสัญญาที่เราเคยได้ยินได้ฟังมา	 มันไม่เป็นอย่างนั้นแม้แต่น้อย
     เลย	ทีเ่ ราว่าเรารูนน	เราไม่ได้ร	 ไม่ได้เข้าใจเลย	แต่เมือเรามาพิจารณา	
                           ้ ั้      ู้                      ่
     เรากับจิตจริงๆ	 แล้วเนีย เห็นตามความเป็นจริงว่า จิตนีเ้ ป็นอิสระ
                                 ่
     จิตนี้เป็นธาตุหนึ่ง เรานี้กระเด็นออกจากจิตเลยนะ คำว่าเราหาย
     ไปเลย กระเด็นออกไปเลย	 ในความรู้สึกของนักปฏิบัติจะเห็นว่า
     ไม่มีเราจริงๆ	 เราลอยออกไปจากผู้รู้เลย	 ทีนี้ผู้รู้ก็เป็นอิสระ	 เป็น
     กลางๆ	 ที่ไม่มีเจ้าของ	 ความรู้สึกเช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นในใจของผู้
     ปฏิบัติมาก่อนเลย	 ตามที่พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้	 เราสามารถ
     พิ จ ารณาตามความเป็นจริง	 เราก็จะเห็น	 ไม่ ขั ด	 ไม่ แ ย้ ง	 ไม่ โ ต้	
     ไม่เถียง	 กราบท่านได้อย่างสนิทใจ	 สิ่งเหล่านี้สามารถปฏิบัติได้
     ทุกคน	ไม่ว่าหญิง	ไม่ว่าชาย	อย่างที่หลวงปู่ท่านว่าไว้เมื่อกี้	

             แม้แต่ฆราวาสที่ถือกันนักถือกันหนาว่า	 ฆราวาสไม่สามารถ
     ปฏิบตให้ถงมรรคผลนิพพานได้อนนีกได้แต่นกคิดกันไป	 คาดหมาย
          ั ิ ึ                      ั ้ ็      ึ
     กันไป	คิดว่าคงจะถึงไม่ได้หรอก	เพราะเราไม่ใช่พระ	เรายังมีกิเลส
     เต็มตัว	 เรายังมีครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบอยู่	 มันก็ปรุงไป	 จริงๆ	
     แล้วสิงเหล่านีมนเป็นความคิดเท่านัน	 เป็นความคิดทีกเลสหลอกมา
           ่        ้ ั                 ้               ่ิ
     เป็นกิเลสตัวหนึงทีมนปันขึนมาเป่าหูเจ้าของว่า อย่าไปปฏิบตเลย
                        ่ ่ ั ้ ้                                ั ิ
ห วี ด 
 บั ว เ ผื่ อ น
   47


เกินบุญ มันเลยบุญเลยวาสนาของฆราวาสที่จะทำอย่างนั้นได้
แล้วเราก็ไปเชื่อมันอีก แทนที่จะฉลาดขึ้นก็โง่ลงไปอีก หลอกเรา
ให้ ต กนรกหมกไหม้ ห มุ น เวี ย นเปลี่ ย นไปใน ๓ แดนนี้ จะทำ
ความดี จ ะปฏิ บั ติ พิ จ ารณาให้ เ ห็ น ตามความเป็ น จริ ง มั น ก็ ม า
ขวางกันซะ เหมือนกับตัดหนามมาขวางทางตัวเองอย่างนัน ขุดบ่อ
       ้                                                   ้
ขุดเหวมาขวางเราไว้ด้วยความคิดนิดเดียวเท่านี้ มันก็สามารถ
ปิดกั้นทางเดินของเราได้ นี่ก็เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า	 ที่ท่าน
พยายามจะแนะนำสั่งสอนเรา	

        อย่างความคิดที่ฆราวาสเป็นอรหันต์อยู่ได้ไม่เกิน	 ๗	 วัน	
ก็วาไปอย่างนัน	อ้างพระไตรปิฎก	ครูบาอาจารย์ทานบอกว่า	พระไตร
    ่          ้                                   ่
ปิฎกใดก็ตาม	ถ้าเผื่อเป็นก้างเป็นขวากเป็นหนามในการที่จะให้เรา
เดินต่อไปข้างหน้าไม่ได้นั้น	 ถือว่าเป็นก้างปลาที่เราไม่ควรจะเสพ
เข้าไป	 ไม่ควรกินเข้าไป	 เราผู้มีสติปัญญา	 ก็ควรจะกินแต่เนื้อปลา
เท่านั้น	 เราไม่ควรจะกินก้างปลาเข้าไป	 สิ่งเหล่านี้เล่าลือกันนักว่า	
ฆราวาสอยู่ได้ไม่เกิน	๗	วันก็จะต้องตายจากกันไป	เพราะว่าจิตไม่
บริสทธิ	 รูได้อย่างไรว่าจิตเค้าไม่บริสทธิ	 จิตเป็นธรรมธาตุซงบริสทธิ์
      ุ ์ ้                           ุ ์                  ึ่   ุ
ผุดผ่องมาแต่ไหนแต่ไร ไม่มีอะไรในสมมุติที่จะไปเจือปนจิตดวง
นั้นได้เลย ดังนั้นความคิดนี้	 จึงไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด	เพราะ
สมมุติก็คือสมมุติ	 วิมุติก็คือวิมุติ	 ไม่สามารถที่จะเอาเหตุผลของ
สมมุติมาลบทำลายธรรมอันบริสุทธิ์นี้ได้	เพราะเป็นคนละมิติกัน
48   จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์



             นี่ ก็ พู ด ตามที่ พ ระพุ ท ธเจ้ า ท่ า นสอนเรามา	 เป็ น อย่ า งนั้ น	
     ทุกคนสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง	 ไม่มีใครต้องเชื่อใครทั้งนั้น	
     พูดกันไปตามทาง	 เราก็สามารถเดินตามนี้	 แล้วเห็นตามความ
     เป็ นจริ ง นี้ ไ ด้ ด้ ว ยกัน	 คนร่ำ	 คนรวย	 คนยาก	 คนจน	 คนพิ ก าร	
     แม้แต่ยาจก	 ขอทานอะไรก็ตาม	 ก็สามารถเข้าถึงสิ่งนี้ได้ด้วยกัน
     ทั้งนั้น	 เพราะทุกคนล้วนมีทั้งกิเลสและจิตด้วยกัน	 มันไม่มีอะไร
     สกปรกหรอก	 ไม่มีอะไรสกปรกแล้วก็ไม่มีอะไรสะอาด ทุกอย่าง
     เป็นกลางหมด แม้แต่อุจจาระเองมันก็เป็นกลางของมัน	ใครล่ะไป
     บอกว่ามันสกปรก	 เราเป็น ผู้ไปบอกว่าสกปรก	 ถ้าเขาไม่สกปรก
     ไม่เป็นอย่างนั้น	 เค้าก็ไม่ใช่อุจจาระ	 ก็เป็นไปตามธรรมของเค้า	
     ทองคำก็ไม่มีใครไปบอกว่าเป็นทองคำ	 ว่าเค้าบริสุทธิ์	 ทุกอย่างมัน
     เป็ น ไปตามธรรมชาติ ข องเค้ า อย่ า งนั้ น	 ถ้ า เราไปถามต้ น ไม้ ว่ า
     ต้องการอะไรระหว่างทองคำกับอุจจาระ	 ต้นไม้ก็ต้องบอกว่าฉัน
     เอาอุจจาระดีกว่า	 ซึ่งความต้องการของ	 ของแต่ละสิ่งแต่ละอย่าง
     ก็ไม่เหมือนกัน	คุณหมอมีอะไรข้องใจทีจะถามแลกเปลียนกันบ้างไหม	
                                                     ่          ่
     ขัดแย้งได้นะครับ	ขัดแย้งได้	เพราะการพูดธรรมะ	ก็สงสัยได้	ไม่สอบ
     ไม่ถามก็ไม่รู้
ถาม
–
ตอบปัญหาธรรม
50   จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์



               คุณหมอ : คุณลุงก็พูดสิ่งที่มันเป็นธรรมน่าฟังอยู่แล้ว	 ฟัง
     แล้วก็รู้สึกดี	
               คุ ณ ลุ ง : บางครั้ ง ผมก็ ไ ม่ ต้ อ งการที่ จ ะพู ด ตรงนี้ ม ากนั ก	
     เพราะว่าบางทีคนก็หลากหลาย	บางคนก็อาจจะหาว่าอวดรูอวดเห็น	                ้
     พูดเกินตัว	แต่บางคนถ้าฟังด้วยใจทีเป็นกลางๆ	แล้ว	ก็จะเห็นได้วา
                                                ่                                      ่
     สิ่งเหล่านี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดเลย	 คือธรรมะ
     ไม่มของใคร	ธรรมะทีเป็นธรรมชาติ	 เปิดเผยอยูกลางแจ้ง	โดยทีไม่มี
          ี                   ่                                 ่                 ่
     สิ่งใดปกปิดไว้	
               คุณหมอ : ขออนุญาตครับ	คือตรงทีคณลุงพูดว่า	แม้กระทัง
                                                            ่ ุ                          ่
     ธรรมชาตินี้	คือ	ดิน	น้ำ	ลม	ไฟ	มันไม่เคยบอกว่ามันเป็นของเรา	
               คุณลุง : อื้ม	มันไม่มีเจ้าของ	
               คุ ณ หมอ : แล้ ว คุ ณ ลุ ง ก็ พู ด ต่ อ อี ก คำหนึ่ ง ว่ า	 แม้ ก ระทั่ ง
     ธรรมธาตุนี้	 มันก็น่าแปลกนะ	 มันมาว่ามันเป็นเราตั้งแต่เมื่อไหร่	
     พอพูดปุบ	ในใจผมมันหลุดไปเลยนะ	แล้วคุณลุงก็พดต่อว่า	มันหลุด
                 ๊                                                 ู
     จากความเป็นเราไปแล้ว	 มันสบาย	 คือคุณลุงพูดเรื่องของผมใน
     ขณะนั้นเลย	 เป็นอย่างนั้นจริงๆ	 แล้วก็	 รู้สึกว่าที่คุณลุงพูดมันถูก
     ต้อง	 หาฟังได้ยาก	 ถ้าไม่ใช่ผู้ปฏิบัติแท้ๆ	 แล้วพูดไม่ได้หรอกครับ	
     แล้วก็	 ผมมาครั้งนี้	 ครั้งที่แล้วพอกลับจากคุณลุงไป	 ใจของผมมัน
     สบายไปตลอดนานเป็นอาทิตย์ๆ	 เลย	 เสร็จแล้วเนี่ย	 พอผมมานั่ง
     อ่านหนังสือเตรียมสอบ	 ประกอบกับช่วงนีเลียงลูกและมีภาระเยอะ	
                                                          ้ ้
     ผมก็รสกหงุดหงิดลำบากใจ	แต่ในขณะเดียวกันก็พยายามภาวนาอยู	
            ู้ ึ                                                                           ่
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook
Jitpontook

Contenu connexe

Tendances

ความเครียดและการจัดการความเครียด
ความเครียดและการจัดการความเครียดความเครียดและการจัดการความเครียด
ความเครียดและการจัดการความเครียดDr.Krisada [Hua] RMUTT
 
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพTongsamut vorasan
 
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพTongsamut vorasan
 
Luangta mahabua
Luangta mahabuaLuangta mahabua
Luangta mahabuaMI
 
Luangta Mahabua2
Luangta Mahabua2Luangta Mahabua2
Luangta Mahabua2MI
 
พรธรรมปีใหม่ 54
พรธรรมปีใหม่ 54พรธรรมปีใหม่ 54
พรธรรมปีใหม่ 54santidhamma
 
อุบายและวิธีการภาวนา
อุบายและวิธีการภาวนาอุบายและวิธีการภาวนา
อุบายและวิธีการภาวนาSongsarid Ruecha
 
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔Padvee Academy
 
Luangpoo lee
Luangpoo leeLuangpoo lee
Luangpoo leeMI
 
Healed body healed_mind
Healed body healed_mindHealed body healed_mind
Healed body healed_mindAimmary
 
Luangpoo suwat
Luangpoo suwatLuangpoo suwat
Luangpoo suwatMI
 
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒dentyomaraj
 
สรุปกิจกรรม Maditation (j)
สรุปกิจกรรม Maditation (j)สรุปกิจกรรม Maditation (j)
สรุปกิจกรรม Maditation (j)monthsut
 
กำลังใจแห่งชีวิต
กำลังใจแห่งชีวิตกำลังใจแห่งชีวิต
กำลังใจแห่งชีวิตwatthaiparis
 
กลุ่ม Mix --มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน 1
กลุ่ม  Mix --มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน 1กลุ่ม  Mix --มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน 1
กลุ่ม Mix --มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน 1freelance
 
Pra a jarn sumaeto
Pra a jarn sumaetoPra a jarn sumaeto
Pra a jarn sumaetoMI
 
Why not the best? draft 2.0-29-9-59
Why not the best? draft 2.0-29-9-59Why not the best? draft 2.0-29-9-59
Why not the best? draft 2.0-29-9-59Pramook Boothsamarn
 

Tendances (20)

ความเครียดและการจัดการความเครียด
ความเครียดและการจัดการความเครียดความเครียดและการจัดการความเครียด
ความเครียดและการจัดการความเครียด
 
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
 
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
 
อนุสสติ 10 สมถกัมมัฏฐาน ppt
อนุสสติ 10 สมถกัมมัฏฐาน pptอนุสสติ 10 สมถกัมมัฏฐาน ppt
อนุสสติ 10 สมถกัมมัฏฐาน ppt
 
Luangta mahabua
Luangta mahabuaLuangta mahabua
Luangta mahabua
 
Luangta Mahabua2
Luangta Mahabua2Luangta Mahabua2
Luangta Mahabua2
 
Brain
BrainBrain
Brain
 
พรธรรมปีใหม่ 54
พรธรรมปีใหม่ 54พรธรรมปีใหม่ 54
พรธรรมปีใหม่ 54
 
อุบายและวิธีการภาวนา
อุบายและวิธีการภาวนาอุบายและวิธีการภาวนา
อุบายและวิธีการภาวนา
 
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
ธรรมภาคปฏิบัติ บทที่ ๓ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Pptธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt
 
Luangpoo lee
Luangpoo leeLuangpoo lee
Luangpoo lee
 
Healed body healed_mind
Healed body healed_mindHealed body healed_mind
Healed body healed_mind
 
Luangpoo suwat
Luangpoo suwatLuangpoo suwat
Luangpoo suwat
 
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
 
สรุปกิจกรรม Maditation (j)
สรุปกิจกรรม Maditation (j)สรุปกิจกรรม Maditation (j)
สรุปกิจกรรม Maditation (j)
 
กำลังใจแห่งชีวิต
กำลังใจแห่งชีวิตกำลังใจแห่งชีวิต
กำลังใจแห่งชีวิต
 
กลุ่ม Mix --มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน 1
กลุ่ม  Mix --มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน 1กลุ่ม  Mix --มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน 1
กลุ่ม Mix --มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง...ด่วน 1
 
Pra a jarn sumaeto
Pra a jarn sumaetoPra a jarn sumaeto
Pra a jarn sumaeto
 
Why not the best? draft 2.0-29-9-59
Why not the best? draft 2.0-29-9-59Why not the best? draft 2.0-29-9-59
Why not the best? draft 2.0-29-9-59
 

En vedette

สมดุลเคมี
สมดุลเคมีสมดุลเคมี
สมดุลเคมีJariya Jaiyot
 
02 คู่มือการสมัครสมาชิก
02 คู่มือการสมัครสมาชิก02 คู่มือการสมัครสมาชิก
02 คู่มือการสมัครสมาชิกKrupol Phato
 
สไลด์ การบริหารจิตเจริญปัญญา+501+dltvsocp6+55t2soc p06 f02-1page
สไลด์  การบริหารจิตเจริญปัญญา+501+dltvsocp6+55t2soc p06 f02-1pageสไลด์  การบริหารจิตเจริญปัญญา+501+dltvsocp6+55t2soc p06 f02-1page
สไลด์ การบริหารจิตเจริญปัญญา+501+dltvsocp6+55t2soc p06 f02-1pagePrachoom Rangkasikorn
 
108 วิธี.. เรียนเก่ง โครต...โครต
108 วิธี.. เรียนเก่ง โครต...โครต108 วิธี.. เรียนเก่ง โครต...โครต
108 วิธี.. เรียนเก่ง โครต...โครตAreeya Onnom
 
การบริหารจิตและเจริญปัญญา
การบริหารจิตและเจริญปัญญาการบริหารจิตและเจริญปัญญา
การบริหารจิตและเจริญปัญญาพัน พัน
 
Unit 48 คนญี่ปุ่นกับกีฬา
Unit 48 คนญี่ปุ่นกับกีฬาUnit 48 คนญี่ปุ่นกับกีฬา
Unit 48 คนญี่ปุ่นกับกีฬาพัน พัน
 
Social Media Data
Social Media DataSocial Media Data
Social Media Datakorakate
 
แบบรายงานการพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามจุด
แบบรายงานการพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามจุดแบบรายงานการพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามจุด
แบบรายงานการพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามจุดKrupol Phato
 
04 คู่มือแบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน
04 คู่มือแบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน04 คู่มือแบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน
04 คู่มือแบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียนKrupol Phato
 
สมดุลเคมี1
สมดุลเคมี1สมดุลเคมี1
สมดุลเคมี1Khwan Jomkhwan
 
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางkorakate
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้องChamp Wachwittayakhang
 
05 บทที่ 5-สรุปผล ข้อเสนอแนะ
05 บทที่ 5-สรุปผล ข้อเสนอแนะ05 บทที่ 5-สรุปผล ข้อเสนอแนะ
05 บทที่ 5-สรุปผล ข้อเสนอแนะChamp Wachwittayakhang
 
แผนผังวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้ ว21101 วิทยาศาสตร์1 ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
แผนผังวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้ ว21101 วิทยาศาสตร์1 ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์แผนผังวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้ ว21101 วิทยาศาสตร์1 ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
แผนผังวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้ ว21101 วิทยาศาสตร์1 ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์Kobwit Piriyawat
 
03 บทที่ 3-วิธีดำเนินงานโครงงาน
03 บทที่ 3-วิธีดำเนินงานโครงงาน03 บทที่ 3-วิธีดำเนินงานโครงงาน
03 บทที่ 3-วิธีดำเนินงานโครงงานChamp Wachwittayakhang
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ ครูสมร
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ ครูสมรแบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ ครูสมร
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ ครูสมรChamp Wachwittayakhang
 
แนวคิดการบริหารเวลา
แนวคิดการบริหารเวลาแนวคิดการบริหารเวลา
แนวคิดการบริหารเวลาDr.Krisada [Hua] RMUTT
 
นวัตกรรมสุขศึกษา
นวัตกรรมสุขศึกษานวัตกรรมสุขศึกษา
นวัตกรรมสุขศึกษาkrusupkij
 

En vedette (20)

คำนำทำ 4
คำนำทำ 4คำนำทำ 4
คำนำทำ 4
 
สมดุลเคมี
สมดุลเคมีสมดุลเคมี
สมดุลเคมี
 
02 คู่มือการสมัครสมาชิก
02 คู่มือการสมัครสมาชิก02 คู่มือการสมัครสมาชิก
02 คู่มือการสมัครสมาชิก
 
สไลด์ การบริหารจิตเจริญปัญญา+501+dltvsocp6+55t2soc p06 f02-1page
สไลด์  การบริหารจิตเจริญปัญญา+501+dltvsocp6+55t2soc p06 f02-1pageสไลด์  การบริหารจิตเจริญปัญญา+501+dltvsocp6+55t2soc p06 f02-1page
สไลด์ การบริหารจิตเจริญปัญญา+501+dltvsocp6+55t2soc p06 f02-1page
 
108 วิธี.. เรียนเก่ง โครต...โครต
108 วิธี.. เรียนเก่ง โครต...โครต108 วิธี.. เรียนเก่ง โครต...โครต
108 วิธี.. เรียนเก่ง โครต...โครต
 
01 บทที่ 1-บทนำ
01 บทที่ 1-บทนำ01 บทที่ 1-บทนำ
01 บทที่ 1-บทนำ
 
การบริหารจิตและเจริญปัญญา
การบริหารจิตและเจริญปัญญาการบริหารจิตและเจริญปัญญา
การบริหารจิตและเจริญปัญญา
 
Unit 48 คนญี่ปุ่นกับกีฬา
Unit 48 คนญี่ปุ่นกับกีฬาUnit 48 คนญี่ปุ่นกับกีฬา
Unit 48 คนญี่ปุ่นกับกีฬา
 
Social Media Data
Social Media DataSocial Media Data
Social Media Data
 
แบบรายงานการพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามจุด
แบบรายงานการพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามจุดแบบรายงานการพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามจุด
แบบรายงานการพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามจุด
 
04 คู่มือแบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน
04 คู่มือแบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน04 คู่มือแบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน
04 คู่มือแบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน
 
สมดุลเคมี1
สมดุลเคมี1สมดุลเคมี1
สมดุลเคมี1
 
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง
 
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
02 บทที่ 2-เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
05 บทที่ 5-สรุปผล ข้อเสนอแนะ
05 บทที่ 5-สรุปผล ข้อเสนอแนะ05 บทที่ 5-สรุปผล ข้อเสนอแนะ
05 บทที่ 5-สรุปผล ข้อเสนอแนะ
 
แผนผังวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้ ว21101 วิทยาศาสตร์1 ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
แผนผังวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้ ว21101 วิทยาศาสตร์1 ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์แผนผังวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้ ว21101 วิทยาศาสตร์1 ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
แผนผังวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้ ว21101 วิทยาศาสตร์1 ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
 
03 บทที่ 3-วิธีดำเนินงานโครงงาน
03 บทที่ 3-วิธีดำเนินงานโครงงาน03 บทที่ 3-วิธีดำเนินงานโครงงาน
03 บทที่ 3-วิธีดำเนินงานโครงงาน
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ ครูสมร
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ ครูสมรแบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ ครูสมร
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ ครูสมร
 
แนวคิดการบริหารเวลา
แนวคิดการบริหารเวลาแนวคิดการบริหารเวลา
แนวคิดการบริหารเวลา
 
นวัตกรรมสุขศึกษา
นวัตกรรมสุขศึกษานวัตกรรมสุขศึกษา
นวัตกรรมสุขศึกษา
 

Similaire à Jitpontook

สุภีร์ ทุมทอง สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน
สุภีร์ ทุมทอง   สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน สุภีร์ ทุมทอง   สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน
สุภีร์ ทุมทอง สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน Tongsamut vorasan
 
เรียนรู้วิธีออกจากทุกข์
เรียนรู้วิธีออกจากทุกข์เรียนรู้วิธีออกจากทุกข์
เรียนรู้วิธีออกจากทุกข์Panda Jing
 
ความสุขนั้น เกิดจากใจของเรา
ความสุขนั้น เกิดจากใจของเราความสุขนั้น เกิดจากใจของเรา
ความสุขนั้น เกิดจากใจของเราSuradet Sriangkoon
 
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔ Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔ Watpadhammaratana Pittsburgh
 
คำสอนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
คำสอนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนคำสอนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
คำสอนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนMI
 
Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์Watpadhammaratana Pittsburgh
 
คำสอนหลวงพ่อชุด1
คำสอนหลวงพ่อชุด1คำสอนหลวงพ่อชุด1
คำสอนหลวงพ่อชุด1MI
 
Luangpor intawai112
Luangpor intawai112Luangpor intawai112
Luangpor intawai112MI
 
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับ
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับLunch talk - ธรรมะข้างสำรับ
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับWatpadhammaratana Pittsburgh
 
พุทธวิธีคลายเครียด
พุทธวิธีคลายเครียดพุทธวิธีคลายเครียด
พุทธวิธีคลายเครียดPadvee Academy
 
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหมคุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหมhuloo
 
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหมคุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหมhuloo
 

Similaire à Jitpontook (20)

สุภีร์ ทุมทอง สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน
สุภีร์ ทุมทอง   สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน สุภีร์ ทุมทอง   สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน
สุภีร์ ทุมทอง สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน
 
เรียนรู้วิธีออกจากทุกข์
เรียนรู้วิธีออกจากทุกข์เรียนรู้วิธีออกจากทุกข์
เรียนรู้วิธีออกจากทุกข์
 
Kamnamtham 5
Kamnamtham 5Kamnamtham 5
Kamnamtham 5
 
Sp1 sp5
Sp1 sp5Sp1 sp5
Sp1 sp5
 
ความสุขนั้น เกิดจากใจของเรา
ความสุขนั้น เกิดจากใจของเราความสุขนั้น เกิดจากใจของเรา
ความสุขนั้น เกิดจากใจของเรา
 
คู่มือดับทุกข์
คู่มือดับทุกข์คู่มือดับทุกข์
คู่มือดับทุกข์
 
ธรรมดาของตาเห็นธรรม
ธรรมดาของตาเห็นธรรมธรรมดาของตาเห็นธรรม
ธรรมดาของตาเห็นธรรม
 
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔ Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔
 
คำสอนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
คำสอนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนคำสอนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
คำสอนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
 
แนวคิดดีๆ 15 ข้อ
แนวคิดดีๆ 15 ข้อแนวคิดดีๆ 15 ข้อ
แนวคิดดีๆ 15 ข้อ
 
Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal 9 - วารสารธรรมรัตน์
 
คำสอนหลวงพ่อชุด1
คำสอนหลวงพ่อชุด1คำสอนหลวงพ่อชุด1
คำสอนหลวงพ่อชุด1
 
Luangpor intawai112
Luangpor intawai112Luangpor intawai112
Luangpor intawai112
 
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับ
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับLunch talk - ธรรมะข้างสำรับ
Lunch talk - ธรรมะข้างสำรับ
 
พุทธวิธีคลายเครียด
พุทธวิธีคลายเครียดพุทธวิธีคลายเครียด
พุทธวิธีคลายเครียด
 
คำนำทำ1
คำนำทำ1คำนำทำ1
คำนำทำ1
 
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหมคุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
 
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหมคุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
คุณเคยสวดมนต์ก่อนนอนไหม
 
01 power point คิดดี ทำดี
01 power point คิดดี ทำดี01 power point คิดดี ทำดี
01 power point คิดดี ทำดี
 
2555blessing
2555blessing2555blessing
2555blessing
 

Jitpontook

  • 1.
  • 2.
  • 3.
  • 4. ชมรมกัลยาณธรรม หนังสือดีอันดับที่ ๑๔๒ จิตที่พ้นจากทุกข์ หวีด บัวเผื่อน พิมพ์ครั้งที่ ๑ : ๖,๐๐๐ เล่ม : มกราคม ๒๕๕๔ ภาพปก : สุวดี ผ่องโสภา + เคอ ซิ่ว เซียง ภาพประกอบ : เคอ ซิ่ว เซียง รูปเล่ม : วัชรพล วงษ์อนุสาสน์ จัดพิมพ์และเผยแพร่ : ชมรมกัลยาณธรรม เป็นธรรมทานโดย ๑๐๐ ถ.ประโคนชัย ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ๑๐๒๗๐ โทรศัพท์ ๐๒-๗๐๒-๗๓๕๓, ๐๒-๗๐๒-๙๖๒๔ โทรสาร ๐๒-๗๐๒-๗๓๕๓ แยกสีและอนุเคราะห์ จัดพิมพ์ที่ : บริษัท อัมรินทร์พรินติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ๖๕/๑๖ ถนนชัยพฤกษ์ (บรมราชชนนี) เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ๑๐๑๗๐ โทรศัพท์ ๐-๒๔๒๒-๙๐๐๐, ๐-๒๘๘๒-๑๐๑๐ โทรสาร ๐-๒๔๓๓-๒๗๔๒, ๐-๒๔๓๔-๑๓๘๕ พิมพ์แจกเป็นธรรมทานในงานแสดงธรรม-ปฏิบัติธรรม เป็นธรรมทานครั้งที่ ๑๙ เพื่อน้อมถวายเป็น พระราชกุศล แด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (๑๓ มีนาคม ๒๕๕๔) สัพพทานัง ธัมมทานัง ชินาติ การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง www.kanlayanatam.com www.visalo.org
  • 5.
  • 6. สารบัญ ขั้นตอนการปฏิบัติธรรมของข้าพเจ้า ๖ เริ่มต้นจากการมีสติสัมปชัญญะ ๑๐ ติดในความว่าง ๒ ปีเต็ม ๑๔ เข้าสู่วิปัสสนากรรมฐานพิจารณากาย ๑๘ พิจารณาเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๒๔ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา แล้วเราคืออะไร ? ๓๐ ปล่อยธาตุรู้ ๓๒ ปัจจุบันธรรม ๓๘ ถาม - ตอบปัญหาธรรมะ ๔๗ บทสรุป ๙๓ หลวงตามหาบัวตอบปัญหานายหวีด บัวเผื่อน ๑๑๓
  • 7. จิตเป็นธรรมธาตุ ซึ่งบริสุทธิ์ผุดผ่องมาแต่ไหนแต่ไร ไม่มีอะไรในสมมติที่จะเจือปนจิตดวงนี้ได้เลย
  • 8. 8 จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์ ❀ ขั้นตอนการปฏิบัติธรรมของข้าพเจ้า ❀ สติ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิบัติกรรมฐานหรือการ แสวงหาความสงบ เพราะจิตทีจะสงบได้นน จะต้องมีสงทียดเหนียว ่ ั้ ิ่ ่ ึ ่ ไว้เป็นหลักของใจ จึงจำเป็นที่จะต้องมีสติระลึกรู้อยู่กับคำบริกรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง อันมีพุทโธ ธัมโม สังโฆ หรืออานาปานสติ เป็นต้น การปฏิบัติสมถะกรรมฐานนั้นมีมากมายดังที่ทราบกัน อยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับจริตนิสัยของแต่ละคนว่า คำบริกรรมบทใดที่จะ ทำให้จตใจของเรามีความสงบร่มเย็นลงได้ ก็ใช้คำบริกรรมบทนันๆ ิ ้ เป็นการงานของจิต โดยมีสติสัมปชัญญะเป็น ผู้ดูแลรักษาให้จิต ทำงานอยู่เพียงจุดเดียวเท่านั้น สติที่ระลึกรู้อยู่กับคำบริกรรม จึง เป็นสิ่งที่จำเป็นในการปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง เมื่อมีสติสัมปชัญญะ
  • 9. ห วี ด บั ว เ ผื่ อ น 9 เป็นผู้ควบคุมอยู่เช่นนี้ จิตใจก็จะไม่ไหลไปตามอารมณ์ ที่เกิดขึ้น ทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อจิตไม่ไหลไปตามอารมณ์เหล่านี้ จิตก็จะนิ่งอยู่กับความสงบสุข เพลิดเพลินอยู่ในความว่าง สติจะ เริ่มมีกำลังมากขึ้นเป็นลำดับ จิตใจเริ่มได้รับรู้แล้วว่า ความสุข ทีแท้จริงนันมีอยูแล้วภายในจิตของเราเองเป็นหลักใหญ่ โดยไม่ตอง ่ ้ ่ ้ อาศัยสิ่งอื่น นั่นหมายถึงจิตใจที่รู้จักอิ่มพอในสิ่งที่มีอยู่ ปล่อยวาง ในสิ่งที่ต้องการ ไม่ทะเยอทะยานในสิ่งที่เอื้อมไม่ถึง เป็นจิตที่สงบ ร่มเย็นเป็นปกติอยู่ตลอดเวลา เพราะมีสติสัมปชัญญะคอยดูแล รักษาอย่างใกล้ชิด จึงเป็นสัมมาสติที่ดำรงอยู่อย่างถูกต้องมั่นคง สามารถควบคุมจิตใจไม่ให้ยึดติดในสิ่งที่พอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง ดีใจบ้าง เสียใจบ้าง สุขทุกข์ไปตามอารมณ์ที่ผันผวนอยู่ตลอดเวลา โดยมีสังขารความคิดเป็นเหตุ มีกิเลสคือ ความโลภ โกรธ หลง เป็นผู้สั่งการ เป็นวัฏจักรหมุนเวียนเปลี่ยนไป เป็นภพชาติ เกิดแล้ว ตาย ตายแล้วเกิด อยู่อย่างนี้ไม่มีวันจบสิ้นลงได้ ทุกข์ระทมอย่าง แสนสาหัสในชาติที่สุดแสนกันดารนั้น
  • 10. 10 จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์ จึงจำเป็นต้องมีการปฏิบัติด้วยการมีสติสัมปชัญญะ เพื่อ รักษาจิตใจของตนให้เป็นปกติสุข โดยมีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ทังนีกเพือปลดปล่อยจิตใจอันเป็นสิงทีไม่ตายนี้ ให้พนไปจากวัฏฏะ ้ ้ ็ ่ ่ ่ ้ วนให้จงได้ ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงสนใจธรรมะมาโดยตลอด แต่ปฏิบัติ จริงๆ เมือปี ๒๕๒๙ โดยมีพระอาจารย์ ๒ รูป ท่านให้ความเมตตา ่ แนะนำสั่งสอนข้าพเจ้าตลอดมา จึงขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ ทุกๆ องค์มา ณ โอกาสนี้ด้วยที่ท่านเมตตาข้าพเจ้าเป็นอย่างมาก
  • 11.
  • 12. 12 จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์ ❀ เริ่มต้นจากการมีสติสัมปชัญญะ ❀ การปฏิบตเริมจากการมีสติสมปชัญญะหรือการรูตวทัวพร้อม ั ิ ่ ั ้ ั ่ มาโดยตลอด ถึงเราจะนั่งสมาธิมาเป็นเวลาหลายชั่วโมงก็ตาม เมื่อออกมาจากการภาวนาแล้ว จะต้องมีสติสัมปชัญญะคุ้มครอง จิตใจของตนเองอยู่ตลอดเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่ให้ปรุงแต่ง ใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อเผลอสติ (การลืมตัว) ก็พยายามทำความรู้สึก หรือรูตวทัวพร้อมกันใหม่ เป็นอย่างนีอยูตลอดเวลา โดยมีความเพียร ้ ั ่ ้ ่ เป็นหลักไม่ท้อถอยอ่อนแอ ไม่ไหลไปตามอารมณ์เหมือนแต่ก่อนนี้ แม้เริ่มแรกจะประคองสติไม่ได้มากเท่าที่ควรเพราะความหลงลืม แต่ก็ไม่เกินความพยายามของเรา โดยอาศัยความมุ่งมั่นและความ พยายามที่จะปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้นให้จงได้ แม้ในตอนแรกจะมี
  • 13. ห วี ด บั ว เ ผื่ อ น 13 สติได้เพียงหนึงหรือสองนาทีเท่านันก็ตาม แต่เหมือนเป็นสิงท้าทาย ่ ้ ่ ให้ข้าพเจ้ามีมานะพยายามที่จะเอาชนะใจของตนเองให้ได้เมื่อมี ความตังใจดังนี จึงสามารถครองสติไว้ได้ยาวนานขึน จากนาที เป็น ้ ้ ้ สองสามนาที เป็นสิบนาที เป็นครึงชัวโมง เป็นชัวโมง เป็นวัน โดยใช้ ่ ่ ่ เวลาไม่นานปีนัก ทั้งนี้ได้ตั้งปฏิญาณไว้กับตนเองว่า ถ้าเรายังมี ชีวิตอยู่ ก็ควรจะต้องมีสติอยู่ด้วย แต่ถ้าขาดจากสติสัมปชัญญะ เสียแล้ว ก็ขออย่าได้มีชีวิตอยู่ต่อไปอีกเลย ข้าพเจ้าคาดคั้นตนเองว่า อย่าอยู่อย่างประมาท เพราะถ้า เราเอาชนะตนเองไม่ได้แล้ว จะเอาชนะสิงอืนๆ ได้อย่างไร แค่บงคับ ่ ่ ั ให้มีสติอยู่ยังทำไม่ได้ ก็ให้มันตายไปเถอะ ในชาตินี้ เราก็เดินอยู่ บนทางที่แสนกันดารอยู่แล้ว ชาติหน้าก็อย่าได้ตกต่ำไปกว่านี้เลย เราจะสร้างทาน ศีล ภาวนา ตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติไว้ ให้ได้ คนเราถ้าอยู่อย่างขาดสติสัมปชัญญะแล้ว ก็เหมือนกับเรือ ทีขาดหางเสือ เหมือนปลาทีตายไปแล้ว ไม่สามารถทีจะแหวกว่าย ่ ่ ่ ทวนกระแสน้ำฉันใด การขาดสติสมปชัญญะของเราก็เป็นเช่นนัน ั ้ ข้าพเจ้าคอยเตือนตัวเองอยูเสมอ จึงทำให้มความพยายาม ่ ี มากขึ้น คอยควบคุมให้มีสติคุ้มครองจิตใจไม่ให้ฟุ้งซ่าน ให้จิตเป็น ปกติ คือ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ตกเป็นทาสแห่งอารมณ์ดีหรือชั่ว ทั้งหลาย พยายามไม่พูดในจิต ไม่คิดในใจ เมื่อตาเห็นรูปให้สักแต่
  • 14. 14 จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์ ว่าเห็น เช่น เห็นป้ายโฆษณาก็ไม่อ่านในใจ มีสติอยู่กับสมาธิให้จิต เป็นอุเบกขา วางเฉยอยู่อย่างเบาๆ ไม่เดือดร้อนในสิ่งที่มากระทบ ใดๆ ทั้งสิ้น วันหนึ่งๆ ไม่ว่าจะทำสิ่งใด ก็ให้มีสติรู้ตัวทั่วพร้อมตลอด เวลา หากเผลอตัวไหลไปตามอารมณ์นั้นๆ เมื่อรู้ตัวก็หยุดคิด หยุ ด ปรุ ง แต่ ง หยุ ด แสวงหา ให้ จิ ต ใจอยู่ อ ย่ า งสบาย ไม่ กั ง วล หยุ ด โกรธ หยุ ด โลภ หยุ ด ปรารถนา ในขณะที่ ยั ง มี ส ติ อ ยู่ นั้ น ความสงบสุขค่อยๆซึมซับเข้ามาสู่จิตใจขณะที่ใช้ชีวิตประจำวันอยู่ นี่คือผลของการปฏิบัติในปี ๒๕๒๙
  • 16. 16 จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์ ❀ ติดในความว่าง ๒ ปีเต็ม ❀ การปฏิบัติเป็นไปอย่างต่อเนื่องหลายเดือน ในที่สุดจิตของ ข้าพเจ้าก็เป็นสมาธิขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ ภายในจิตใจไม่มีสังขาร ความคิดหรืออารมณ์ดีชั่วใดๆ มาก่อกวนเลย ถ้ามีบ้างก็เพียงสัก แต่ว่าเท่านั้น แตกต่างจากก่อนหน้านี้ ที่ไม่เคยมีสติมาก่อน จิตใจ จึงไม่เคยพบกับความสงบเลยแม้แต่น้อย ไม่เคยรู้ว่าความสงบนั้น เป็นอย่างไร จึงเป็นเรื่องที่น่าแปลกประหลาดมากกว่า จิตเป็น สมาธิได้ขนาดนี้เชียวหรือ บางครั้งจะคิดเรื่องการงานบ้าง แต่จิต กลับนิ่งเฉยเสีย ไม่ออกทำงานเลย ติดว่างอยู่อย่างนั้น ถึงกับต้อง บังคับให้จิตออกมาคิดเรื่องอื่นๆบ้าง ไม่เช่นนั้นจิตจะหยุดนิ่งเป็น สมาธิอยู่ตลอดเวลา นี่คือการติดสมาธิ ซึ่งขณะนั้นข้าพเจ้าเข้าใจ
  • 17. ห วี ด บั ว เ ผื่ อ น 17 ว่าถูกต้องที่สุดแล้ว จึงนอนใจ ทำให้ติดความว่างอยู่ถึง ๒ ปีเต็มๆ นี่ คื อ ความจริ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น จากการปฏิ บั ติ ใ นขณะนั้ น อย่ า งไรก็ ดี การปฏิบตให้จตเป็นสมาธินนเป็นทางเดินเบืองต้นทีถกต้อง ท่านให้ ั ิ ิ ั้ ้ ่ ู ชื่อว่าสมถกรรมฐาน เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติ การปฏิบัติต้องมีความเพียรเป็นหลัก ทุ่มเทกันด้วยชีวิต จิตใจ ไม่ท้อถอย จิตปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นข้าศึกต่อการ ปฏิบัติ โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน การทำการงานก็เป็นไปโดยปกติ ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติแต่อย่างใด พระพุทธเจ้ามิได้ทรงสอนให้ เราเกียจคร้าน ฉะนั้นเราจึงต้องมีความเพียรทั้งทางโลกและทาง ธรรม เมื่อปฏิบัติดังนี้แล้ว วันหนึ่งจิตจะเป็นสมาธิขึ้นมาอย่าง อัศจรรย์โดยที่คิดไม่ถึงเลย จิตจะเกิดความชุ่มชื้นสงบเย็น พร้อม ด้วยความภาคภูมิใจ และความปีติสุขอย่างบอกไม่ถูก นี่คือผลแห่ง การปฏิบัติเมื่อต้นปี ๒๕๓๑
  • 18. การภาวนานั้น การรู้ตัวทั่วพร้อมเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ก็คือ การมีสติสัมปชัญญะ คำว่าสติสัมปชัญญะนี้ ไม่ใช่สติของคนธรรมดาทั่วไป แต่เป็นสติของนักปฏิบัติโดยตรง สติ คือ ตัวระลึก สัมปชัญญะ คือ การรู้ตัว
  • 19. พิจารณากายให้มันชัด เมื่อเข้าใจชัด มันจะปล่อยวางกายไปเอง โดยอัตโนมัติ เราไม่ต้องไปปล่อยเลย เมื่อเข้าใจเรื่องกายชัดเจน มันจะไม่พิจารณากายอีกแล้ว เหมือนเรากินข้าวอิ่มแล้ว เราไม่กินซ้ำอีก
  • 20. 20 จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์ ❀ เข้าสู่วิปัสสนากรรมฐานพิจารณากาย ❀ จากนั้นจึงก้าวเข้าสู่วิปัสสนากรรมฐาน คือ การพิจารณา กายที่ยาววาหนาคืบนี้ เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริงว่า กายนี้ เป็นเราจริงหรือไม่ พิจารณาตั้งแต่ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น แม้ ว่ า การบั ง คั บจิ ต ให้ อ อกมาพิ จ ารณานี้ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ไ ม่ ส ะดวกนั ก เพราะจิตที่ติดอยู่ในสมาธิจะเพลินอยู่ในสมาธิ ยากจะออกมา พิจารณา จึงต้องบังคับจิตให้ออกมาทำงานทางด้านปัญญาบ้าง โดยต้องฝืนและบังคับซึ่งก็ไม่เป็น ผลนักในตอนแรก แต่ก็จำเป็น ต้องออกมาพิจารณาดังที่กล่าวมาแล้ว โดยพิจารณาผม ดูว่าเป็น เราจริงหรือไม่ เราลองเอากรรไกรตัดผมของเราทิ้งไปเล็กน้อยแล้ว ลองพิจารณาดู ก็ไม่แตกต่างจากขนของสัตว์ทั่วไป แล้วเราจะยัง
  • 21. ห วี ด บั ว เ ผื่ อ น 21 ว่าเป็นผมเราได้อย่างไรกัน เส้นขนตามร่างกายนี้ก็เช่นเดียวกัน จะ เห็นว่าเป็นเราได้อย่างไร เล็บทีตดอยูทปลายนิวทังสิบ เมือเอากรรไกร ่ ิ ่ ี่ ้ ้ ่ ตัดออกมาวางไว้กับพื้น ก็พิจารณาเช่นเดียวกับผมและขนนั่นเอง พิจารณาวนเวียนไปวนเวียนมา ก็ไม่เห็นว่ามันจะเป็นเรา ไปได้ ฟันเมื่ออยู่ในปากก็มองดูสวยงามดี แต่ถ้าถอนออกมาแล้ว เราจะรู้สึกขยะแขยง สิ่งนี้จะถือว่าเป็นเรามันไม่ถนัดนัก หนัง อัน คนเรานีไม่วาหญิงหรือชายทีวาสวยงาม แม้จะเป็นดารา นางสาวไทย ้ ่ ่่ หรือนางงามจักรวาลก็ตาม ถ้าหากว่าไม่มีหนังบางๆ มาปกปิด เอาไว้ เราลองพิจารณาดูวาจะมีความสวยความงามหรือไม่ หากเรา ่ ลอกหนังที่ปิดบังอยู่นี้ออกมาเพื่อเปิดเผยความจริง เหมือนเรา ลอกหนังเป็ด หนังไก่หรือหนังกบก็คงจะเห็นเนือแดงๆ เลือดไหลซึม ้ ไม่แตกต่างอะไรกับพวกซากศพ ผีเปรต ร่างกายนี้มันไม่ได้มีการหมายตัวมัน แต่เราไปหมายว่า เป็นแขน เป็นขา เป็นตา เป็นร่างกายของเรา ร่างกายนี้แท้จริงเกิด จากการรวมตัวกันของธาตุทั้งสี่ ดิน น้ำ ลม และไฟ เท่านั้น มี ความเปลี่ยนแปลง แปรปรวน เสื่อมสภาพไปอยู่ตลอดเวลา และจะแตกสลายกลับไปสู่ธาตุทั้ง ๔ ไปในวันใดวันหนึ่ง ธาตุดิน ก็คือส่วนของแข็งที่เป็นอวัยวะต่างๆ เช่น ขน ผม เล็บ ฟัน กระดูก เป็นต้น
  • 22. 22 จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์ ธาตุน้ำ ก็คือส่วนของเหลว เช่น น้ำเลือด น้ำเหงื่อ น้ำตา น้ำเหลือง น้ำหนอง น้ำไขข้อ น้ำย่อย ธาตุลม ก็คือลมหายใจเข้าออก ลมที่วิ่งอยู่ภายในร่างกาย ธาตุไฟ ได้แก่ ความร้อนภายในกาย ไฟเผาผลาญอาหาร ทุกชิ้นส่วนทุกอวัยวะล้วนเต็มไปด้วยเชื้อโรค เป็นแหล่งของ เชื้อโรคอย่างดี มีความเป็นปฏิกูลสกปรก ต้องชำระล้าง ทำความ สะอาดอยู่เสมอ สิ่งเหล่านี้ล้วนไม่หมายตัวเอง คือไม่รู้ตัวเอง ไม่รวาตัวเองเป็นอะไร แต่มความยึดมันถือมันในจิตทีไปยึดร่างกาย ู้ ่ ี ่ ่ ่ อวัยวะต่างๆ ในร่างกายว่าเป็นเรา เป็นของเรา ให้พิจารณาเห็น ความจริงว่า กายคือกาย จิตคือจิต ไม่ใช่อันเดียวกัน แต่เป็น ความไม่รู้ของจิตเองที่ไม่รู้ความจริง แล้วก็ไปยึดถือร่างกายเป็นเรา เมื่อเห็นดังนี้ก็ยากที่เราจะเหมาว่ากายนี้เป็นเรา พิจารณา ไปนานขึ้นๆ จิตใจจะค่อยๆ เห็นตามความเป็นจริง สิ่งเหล่านี้ ข้าพเจ้าพิจารณาจนนับครั้งไม่ถ้วน จนบางครั้งจิตเห็นคนที่เดินไป เดินมานี้เป็นกระดูกที่ไม่มีเนื้อหนังหุ้มอยู่ เห็นเพียงกระดูกเปล่าๆ ทีเดินไปเดินมา ร่างกายทีเห็นว่าเป็นเรา เวลามีชวตอยู มักมีเวทนา ่ ่ ีิ ่ บีบคันตลอดเวลา เมือจิตออกจากร่างกาย เวลาเอาไปเผาไฟ กลับ ้ ่ ไม่มีเวทนาร้องโอดครวญเลย ฉะนั้นจึงสรุปได้ว่าจิตกับกายเป็น คนละส่วนกัน ไม่ปะปนกัน กายเป็นเพียงที่อาศัยชั่วคราวของ
  • 23. ห วี ด บั ว เ ผื่ อ น 23 จิตเท่านั้น จิตก็เริ่มยอมรับตามความเป็นจริงมากขึ้นเรื่อยๆ นี่คือ การพิจารณากายของข้าพเจ้าโดยสรุปย่อๆ เพราะการพิจารณากาย นีเป็นเรื่องละเอียดอ่อนไม่มีประมาณ จึงเป็นการยากที่จะเขียนให้ ้ สมบูรณ์ในหน้ากระดาษเพียงเล็กน้อยนี เพราะถ้าจะเขียนกันจริงๆ ้ แล้วก็ไม่รจะต้องเขียนกันอีกกียกกีหน้ากระดาษ จึงต้องขอยุตเิ พียงนี้ ู้ ่ ่
  • 24.
  • 25. คำว่าวางขันธ์ ๕ นี้ ต้องเข้าใจว่า ขันธ์ ๕ ทั้งหมดมันยังอยู่นะ ทั้งรูปก็ยังอยู่ ทั้งเวทนาก็ยังอยู่ สัญญาก็ยังอยู่ สังขารก็ยังอยู่ วิญญาณก็ยังอยู่ แต่ว่ายังอยู่นั้นน่ะ อยู่แบบเราปล่อยวาง อยู่แบบปล่อย ก็คือ รู้เข้าใจว่าไม่มีเราเป็นเจ้าของ
  • 26. 26 จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์ ❀ พิจารณาเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ❀ ส่วนเรื่องของเวทนานั้น ข้าพเจ้าติดอยู่นานมาก สมเด็จ พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ท่ า นตรั ส ไว้ ว่ า แม้ แ ต่ เ วทนาก็ ไ ม่ ใ ช่ เ รา ข้าพเจ้ามาพิจารณาดูอย่างไรๆ จิตก็ไม่ยอมรับ เนื่องจากเวลาทำ สมาธิ ความปวดความเมือยทีเกิดขึน เราเป็นผูปวดเมือยทุกครังไป ่ ่ ้ ้ ่ ้ ไม่สามารถแยกเราออกมาจากเวทนาได้ เพราะความรูสกในขณะนัน ้ ึ ้ เวทนาเป็นเรา เราเป็นเวทนา รูสกว่าเป็นเนือเดียวกันหมด แต่ตอมา ้ ึ ้ ่ วันหนึ่ง ขณะที่จิตกำลังสงสัยอยู่ พิจารณาใคร่ครวญวกไปเวียนมา อยู่หลายรอบ เพื่อหาความจริงว่าเวทนาเป็นเราหรือไม่
  • 27. ห วี ด บั ว เ ผื่ อ น 27 ขณะนั้นเอง คล้ายกับเกิดนิมิตขึ้นในจิต เห็นเวทนาได้ลอย ออกจากจิตของข้าพเจ้าอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง เวทนานี้ขาดออกจาก จิตโดยสิ้นเชิง รู้สึกชัดเจนมาก เหมือนเราเอามีดไปฟันต้นกล้วย ขาดกระเด็นออกจากกัน เวทนาเป็นสักแต่ว่าเวทนา เวทนานั้นก็ ไม่ รู้ ว่ า ตั ว เองเป็ น เวทนา เพราะเวทนา ไม่ มี ชี วิ ต ไม่ มี จิ ต ใจ เวทนาจึงเป็นเพียงขันธ์ๆ หนึ่งปรากฏขึ้นมา เป็นคนละส่วนกัน กับธาตุรู้หรือจิต หรือกล่าวได้ว่าอาการนั้นมันไม่ใช่อาการของเจ็บ แต่มันเป็นอาการของสิ่งหนึ่ง คำว่าเจ็บ เราไปใส่ชื่อให้เค้าเองว่า มันเจ็บ จริงๆ เค้าก็เป็นของเค้าอย่างนันแหละ ความเจ็บความปวด ้ มันเป็นของมันอย่างนั้นเอง หากเราไม่เอามาเป็นเราซะอย่างเดียว เวทนาก็ไม่ใช่เรา คือ ไม่ใช่ความรู้สึก ไม่ใช่ธาตุรู้หรือจิต เหมือนเรานั่งดูหนัง เวทนา เหมือนหนังที่เรานั่งดู ธาตุรู้หรือจิตเป็นผู้รู้เป็นผู้เห็นเฉยๆ แต่ ไม่ใช่เป็นผู้เจ็บ จิตไม่ใช่ผู้เจ็บ เมื่อจิตไม่ใช่ผู้เจ็บ มันก็เลยไม่เจ็บ เอาเจ็บมาจากไหน เราไปบอกเองว่ามันเจ็บ ไปให้สัญญาจำได้ว่า เวลานีเ้ ราเจ็บ จริงๆ แล้วเราไม่ได้เจ็บเลย แต่อาการมันเป็นอย่างนัน ้ เหมือนว่าเราเป็นกระจก ธาตุรู้หรือจิตนี้เป็นกระจก เวลาเวทนา เกิดขึ้น กระจกกับเวทนามันคนละอัน มันไม่เกี่ยวกับกระจกเลย ฉะนั้น ผู้เห็น คือเราหรือกระจกจะไปเจ็บได้อย่างไร ธาตุรู้หรือจิต เป็นเพียงผู้เห็น แต่ไม่ใช่ผู้เจ็บ
  • 28. 28 จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์ หากจะเปรียบเวทนาเหมือนเม็ดพริกขี้หนู เม็ดพริกขี้หนูไม่รู้ เลยว่าตัวเองเผ็ด เพราะไม่มีชีวิต ไม่มีจิตใจ และไม่มีเจตนาที่จะ ทำให้ใครเผ็ด เปรียบเหมือนความเจ็บความปวด ที่ไม่มีชีวิตจิตใจ เช่นเดียวกัน จึงไม่สามารถทำให้ใครเจ็บปวดได้ แล้วอะไรเป็น ผู้ เจ็บปวด ในเมื่อเวทนาความเจ็บ เนื้อ หนัง เอ็น กระดูก ไม่มี ความรู้สึกว่าตนเองเจ็บปวดเลย ทั้งยังไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้ว ก็ดับไป ไม่มีแก่นสารใดๆ ทั้งสิ้น เป็นเพียงสิ่งเกิดๆ ดับๆ เท่านั้น ส่วนธาตุรหรือจิตก็เป็นผูรเฉยๆ หากไม่เข้าใจความจริงนี ความเจ็บ ู้ ้ ู้ ้ ความปวดนันก็จะเป็นเรา คือเราเจ็บ โดยไม่สามารถแยกจากกันได้ ้ แต่หากเข้าใจความจริงนีแล้ว เนือ หนัง เอ็น กระดูก ก็เป็นความจริง ้ ้ อันหนึ่ง อาการเจ็บก็เป็นเพียงอาการและความจริงอันหนึ่ง และ ธาตุรหรือจิตก็เป็นผูรซงเป็นความจริงอีกอันหนึงเช่นกัน ไม่มความ ู้ ้ ู้ ึ่ ่ ี ยึดมั่นถือมั่นว่าความเจ็บความปวดเป็นเราเป็นของเราแต่อย่างใด เรื่องของสัญญา การจำได้หมายรู้ก็ไม่แตกต่างจากเวทนา เพราะสัญญาก็เป็นสิ่งที่ถูกรู้ ไม่มีชีวิตไม่มีจิตใจเหมือนกัน เป็น ของตาย คือ เกิดๆ ดับๆ ด้วยกันทั้งสิ้น มีความจริงของตนเป็น เช่นนี้ แล้วจะไปยึดมั่นถือมั่นอะไรกัน วันนี้ยังจำได้ดี พอวันรุ่งขึ้น ก็ลืมเสียแล้ว สิ่งที่ติดตาติดใจ ก็คงจำได้นานหน่อย ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่ ติดใจก็ดับเร็ว ลืมเร็ว ไม่เที่ยง ไม่แน่นอน มีการผันแปรอยู่เสมอ ดังนั้น สัญญาจึงไม่ใช่เราเหมือนกับเวทนานั่นเอง
  • 29. ห วี ด บั ว เ ผื่ อ น 29 ส่วนเรื่องของสังขาร ความคิดความปรุงแต่ง ก็เป็นอาการ และความจริงของตนอีกอันหนึ่งเช่นกัน คือคิดแล้วดับไป ปรุงแล้ว ดับไป บางครั้งไม่ได้ตั้งใจคิดแต่ความคิดก็ลอยขึ้นมาเอง บางครั้ง ไม่มีเจตนาที่จะว่ากล่าวใคร แต่ความคิดก็เกิดขึ้นมาให้เราเป็นทุกข์ จนได้ เช่น บางครั้งคิดไปตำหนิครูบาอาจารย์อย่างรุนแรง แม้จะ บังคับไม่ให้คิด แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะสังขารการปรุงแต่งนี้ได้ ทั้งๆ ที่กลัวบาป กลัวตกนรก เพราะไปว่ากล่าวครูบาอาจารย์ โดยที่ท่านไม่ได้ผิดอะไร ยิ่งบังคับก็ดูเหมือนยิ่งยุให้ความคิดเหล่านี้ เกิดขึ้นเป็นทวีคูณ ทุกข์ทรมานแสนสาหัสสำหรับข้าพเจ้า ในที่สุด ข้าพเจ้าได้นำปัญหานี้ไปถามครูบาอาจารย์ ซึ่งท่านได้แก้ปัญหาให้ กับข้าพเจ้าได้เป็นอย่างดี โดยตอบว่า “ไม่เป็นไรหรอกโยม เพียง แต่โยมอย่าไปคิดว่าสังขารความคิดเป็นโยมก็แล้วกัน” ความรู้สึก ของข้าพเจ้าในขณะนั้น เหมือนยกภูเขาออกจากอก โล่งไปหมด เข้าใจได้ในทันทีว่าสังขารความคิดมีอาการและความจริงเช่นนี้ บังคับไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งถูกรู้ เป็นคนละอันกับจิต เป็นสิ่งที่ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นไตรลักษณ์อยู่อย่างนั้น
  • 30. 30 จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์ ท้ายสุดสำหรับเรืองของวิญญาณ ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน ่ เช่น เมือตาเห็นรูป หูได้ยนเสียง จมูกได้กลิน ลินได้ลมรส กายได้รบ ่ ิ ่ ้ ิ้ ั การสัม ผัส ใจสัม ผัสอารมณ์ เมื่อมีการกระทบกันทางอายตนะ ทั้ง ๖ ดั ง กล่ า วข้างต้น อาการของวิ ญ ญาณก็ จ ะรั บ ทราบการ กระทบนั้นเป็นครั้งๆ เป็นเรื่องๆ ไป กระทบครั้งหนึ่งรับทราบ ครั้งหนึ่ง แล้วก็ดับไป รับทราบแล้วดับ รับทราบแล้วดับ ไม่ใช่ ธาตุรู้หรือจิต เป็นเพียงสิ่งถูกรู้เช่นเดียวกัน จึงสรุปได้วา ขันธ์ ๕ ทังหมด มิใช่เรามิใช่ของเรา เป็นเพียง ่ ้ อาการของจิต มีธรรมชาติเป็นไตรลักษณ์ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นใน ขันธ์ทั้ง ๕ ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นเพียงสิ่งถูกรู้ และเราเป็น ผู้รู้สิ่งเหล่านี้ เท่านั้น
  • 31.
  • 32. 32 จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์ ❀ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา แล้วเราคืออะไร ? ❀ ข้าพเจ้าเริมเข้าใจเรืองของขันธ์ ๕ ว่าไม่ใช่ตวของเรา “แล้วเรา ่ ่ ั คืออะไรล่ะ” เมื่อมีคำถามดังนี้ จิตก็เริ่มสงสัยและค้นหาความจริง ข้าพเจ้ามาค้นหาและค้นคว้าอยูนานทีเดียว ในทีสด ก็ได้ถามครูบา ่ ่ ุ อาจารย์ในขณะนั้น อาจารย์ได้ตอบว่า เราคือความรู้สึกหรือธาตุรู้ ธาตุรู้นี้ไม่ใช่ความรู้ทั่วไปที่เราเรียนมาจากหนังสือ ไม่ใช่สิ่งที่เรา เห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู สัมผัสด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น และสัมผัส ด้วยกาย สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งถูกรู้ทั้งหมด จึงไม่ใช่ธาตุรู้ ธาตุรู้นี้มีอยู่ เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นในสามแดนโลกธาตุนี้ สิ่งอื่นๆ ทั้งหมด ไม่ใช่ธาตุร แม้แต่อารมณ์ทสมผัสได้ดวยใจของเรานี ก็ยงไม่ใช่ธาตุร ู้ ี่ ั ้ ้ ั ู้ แต่เป็นเพียงสิ่งถูกรู้เท่านั้น นี่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่เราจำเป็นจะต้อง พิจารณาให้เห็นธาตุรู้นี้ให้ได้ เพราะธาตุรู้นี้แหละคือเรา ไม่ใช่รูป เวทนา สัญญา สังขาร หรือวิญญาณที่ก่อนหน้านี้เห็นว่าเป็นเรา
  • 33. ห วี ด บั ว เ ผื่ อ น 33 ธาตุรู้หรือจิตนี้ เราเกิดมานับอสงไขยไม่ถ้วน แต่กลับไม่เคย เห็นธาตุรู้ที่เป็นธรรมธาตุนี้มาก่อนเลย ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า กล่าวไว้ว่า “นกไม่เห็นฟ้า ปลาไม่เห็นน้ำ หนอนไม่เห็นอาจม” เหมือนเราเหยียบแผ่นดินอยู่ทั้งแผ่นดิน แต่กลับไม่เคยเห็นแผ่นดิน อันนี้เลย นี่คือความหลงอันหาประมาณไม่ได้ เราจึงเกิดมาแล้วนับ ชาติไม่ถ้วน ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย จนกระดูกกองทับถมกันสูง เท่าภูเขาทั้งลูก นี่คือ สิ่งที่ข้าพเจ้าเข้าใจในขณะนั้น จากนั้นมา ข้าพเจ้าจึงพยายามอยู่กับธาตุรู้ ถึงแม้ในตอนแรกจะขาดๆ หายๆ อยู่ได้เพียงหนึ่งนาทีสองนาทีก็หายไป เมื่อได้สติก็พยายามดึงกลับ มาอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา ยกเว้นเวลาหลับ ในที่สุดด้วยความเพียร อย่างยิ่งของข้าพเจ้า ทำให้สามารถอยู่กับผู้รู้ได้มากขึ้นเรื่อยๆ จน อยู่ได้ครบ ๑๐๐% และสามารถอยู่กับธาตุรู้ได้อย่างอัตโนมัติ
  • 34. 34 จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์ ❀ ปล่อยธาตุรู้ ❀ ข้ า พเจ้ า ติ ด อยู่ กั บ ผู้ รู้ เ ป็ น เวลาสองปี เ ต็ ม ๆ ในที่ สุ ด พระ อาจารย์ท่านได้เทศน์โปรดให้ข้าพเจ้าปล่อยธาตุรู้นี้ “โยมจะจับไว้ ทำไมกัน ปล่อยไปเสียนะโยม ไม่มีสิ่งใดที่จะหนักเท่ารู้อีกแล้ว โยม จะจับไว้ทำไมกัน” ข้าพเจ้าก็ตอบอาจารย์ไปว่า “ผมปล่อยไม่เป็น หรอกครับอาจารย์ ปล่อยไม่ได้ ไม่รจะปล่อยอย่างไร” อาจารย์หยิบ ู้ หนังสือขึน แล้วก็ปล่อยลงมา “ปล่อยอย่างนีแหละโยม ปล่อยได้ไหม” ้ ้ ข้าพเจ้าไม่มปญญามากพอทีจะปล่อยธาตุรนได้ มันจนปัญญาจริงๆ ี ั ่ ู้ ี้ ทังๆ ทีครูบาอาจารย์ได้ชวยโปรดข้าพเจ้าอยูหลายครังหลายหนด้วยกัน ้ ่ ่ ่ ้
  • 35. ห วี ด บั ว เ ผื่ อ น 35 ข้าพเจ้าปรารภกับตัวเองว่า “ธาตุรู้นี้เป็นชีวิตจิตใจแล้ว เรา จะปล่อยวางได้อย่างไร” พิจารณาวนเวียนอยู่อย่างนี้ หาทางออก ไม่ได้เลย จิตกังวลอยู่กับจิต จะปล่อยก็ปล่อยไม่เป็น จะเอาไว้ก็รู้ ว่ามันไม่ถูกต้อง รู้สึกว่าเป็นภาระรุงรัง น่ารำคาญมาก ทำไมเรายิ่ง ปฏิบัติยิ่งเกิดความทุกข์ จะนอนก็นอนไม่ค่อยหลับ เพราะกังวล อยู่กับการปล่อยธาตุรู้ พิจารณาวนเวียนเหมือนพายเรืออยู่ในอ่าง ข้าพเจ้าไปสำนักทีอาจารย์พกอยูหลายครัง ทังทีกอนนีทานมาโปรด ่ ั ่ ้ ้ ่่ ้ ่ ถึงบ้าน (วัดเขากระแจะ) ไม่ต่ำกว่า ๗ ครั้งด้วยกัน แต่ข้าพเจ้าก็ไม่ สามารถเข้าใจได้ จึงตามไปทีสำนักของท่านถึง ๓ – ๔ ครังด้วยกัน ่ ้ ในแต่ ล ะครั้ ง ที่ ไ ปกราบท่ า น ท่ า นเทศน์ โ ปรดวั น ละ ๓ เวลา ล้วนแล้วแต่เทศน์เรื่องการปล่อยธาตุรู้นี้ทั้งสิ้น แต่ข้าพเจ้าเองไม่มี ปัญญาพอ ก็เลยไม่สามารถปล่อยรู้ได้ ครั้งสุดท้ายไปกราบท่าน เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๓๖ ท่านได้เทศน์โปรดอยู่ ๓ วัน วันละ ๓ เวลา ข้าพเจ้าก็ยังไม่สามารถปล่อยรู้นี้ได้เหมือนครั้งที่ ผ่านมา จนวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๖ เวลา ๔ โมงเย็น ซึ่ง ข้าพเจ้ากำลังเตรียมตัวกลับบ้าน โดยคิดอย่างน้อยเนื้อต่ำใจว่า ชาตินี้คงไม่มีวาสนาที่จะสามารถปล่อยรู้ได้ ทันใดนั้นอาจารย์ได้ กล่าวขึ้นว่า “โยม เวลามีสิ่งกระทบโยมก็ปล่อยรู้แล้วมาจับสิ่งที่มา กระทบ แต่ในขณะที่ไม่มีสิ่งกระทบ โยมก็มาอยู่กับธาตุรู้อีก เอา อย่างนี้ได้มั้ยโยม เมื่อมีสิ่งกระทบ โยมก็ปล่อยทั้งสองอย่างไปเลย
  • 36. 36 จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์ เวลานี้โยมเปรียบเหมือนหนอนคืบ เมื่อมาจับที่หัวก็ปล่อยหาง เมื่อจับหางก็ปล่อยหัว ให้โยมปล่อยทั้งสองอย่างไปเลยได้มั้ย” เท่านั้นเอง ข้าพเจ้าถึงกับตะลึง สะดุ้งขึ้นในใจและขณะ เดียวกันนั้น ทั้งธาตุรู้และสิ่งถูกรู้ เหมือนมีพลังหนึ่งมาสะบัดอย่าง รุนแรง ธาตุรู้และสิ่งถูกรู้นั้นกระเด็นออกไปทันที และเกิดธาตุรู้อีก ตัวหนึ่งซึ่งเป็นรู้ภายใน คือตัวที่มองธาตุรู้ตัวแรกและสิ่งถูกรู้ที่ กระเด็นออกไป ปรากฏเป็นรู้ปัจจุบันขึ้นมาทันที เป็นธาตุรู้ที่ไม่ ต้องประคอง ไม่ต้องจับ ไม่ต้องกำหนด ธาตุรู้นี้ไม่มีหาย ไม่มี เกิด ไม่มีดับ ธาตุรู้ตัวใหม่นี้เป็นอิสรเสรี โดยที่ไม่มีเราเป็นเจ้าของ เหมือนแต่ก่อน เป็นธาตุรู้ที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เป็นปัจจุบันธรรม เป็นกลางๆ ไม่มีที่อยู่ ไม่มีที่อาศัย ไม่กินเนื้อที่ ปราศจากการยึด มั่นถือมั่นในสิ่งใดทั้งสิ้น ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนมาก สมมติที่ฝัง จมอยู่ในจิต คือธาตุรู้ตัวแรกนั้นดับไป ภพชาติทั้งหลายที่ติดแน่น อยู่ในจิตนานแสนนานนั้น ได้ดับลงพร้อมกันในขณะนั้น อวิชชา ดับไปโดยสิ้นเชิง พร้อมทั้งประกาศชัยชนะเหนือกิเลสทั้งหลาย อย่างขาวสะอาด ในสามแดนโลกธาตุนี้ไม่มีกิเลสที่จะก่อกวนอีก ต่ อ ไป ทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า งนั้ น กลั บ ตั ว เป็ น ธรรมพร้ อ มกั น หมดทั้ ง ภายในและภายนอก
  • 37. ห วี ด บั ว เ ผื่ อ น 37 ความเป็นกลาง ความสะอาด ความบริสุทธิ์นั้น ก็หมายถึง จิตดวงนี้เอง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็คือ จิตดวงนี้ ดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต ซึ่งก็คือ การเห็นจิตที่บริสุทธิ์ ณ ปัจจุบันนั่นเอง จิตที่บริสุทธิ์ จึ ง เป็ น จิ ต ที่ อยู่นอกเหตุเหนือผล เหนือ สมมติ เหนื อ บั ญ ญั ติ เหนือเกิด เหนือดับ เรียกว่า เป็นวิมติ หมดภาระ หมดสินการงาน ุ ้ หมดคำพูดจึงหยุด แล้วปล่อยคำว่าหยุดลงเสียด้วย สมกับที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “ไม่มีธรรมใดที่ไม่เป็นโมฆะ” นันหมายความว่า สมมติทงหลายทีเคยติดแน่นในจิต เมือไม่ยดมัน ่ ั้ ่ ่ ึ ่ ถือมั่นกับสมมตินั้นแล้ว สมมติก็เป็นโมฆะหรือหมดความหมายไป
  • 38. ความรู้กับผู้รู้ คนละตัวกันนะ รู้หมายถึงจิต แต่ความรู้หมายถึงสิ่งที่เราเรียนมา ถ้าแยกแยะอย่างนี้ได้ ก็เป็นอันว่าเข้าใจ คือผู้รู้มีอันเดียว แต่ความรู้นี้มีไม่มีประมาณเลยนะ เรียนกันไม่จบ ตากระทบรูป หูกระทบเสียง จมูกกระทบกลิ่น ลิ้นกระทบรส กายกระทบสัมผัส ใจรับธรรมารมณ์
  • 40. 40 จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์ ❀ ปัจจุบันธรรม ❀ คำว่าปัจจุบันธรรม ถ้าเผื่อเราทำความเข้าใจตรงนั้นได้ เรา ก็จะเห็นความจริงที่เกิดขึ้นกับตา หู จมูก ลิ้น กายที่มันเกิดขึ้นใน ปัจจุบัน เช่น ตาเห็นรูป รูปนั้นก็เป็นธรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จมูก ได้ ก ลิ่ น ลิ้ น ได้ ลิ้ ม รสในขณะนั้ น เดี๋ ย วนั้ น ก็ ถื อ ว่ า เป็ น ธรรมใน ปัจจุบันธรรม เลยจากนั้นแม้แต่วินาทีเดียวก็เป็นสัญญาไป ไม่ใช่ ความจริง ความจริงจะเกิดขึ้นเฉพาะขณะที่รู้ขณะที่ได้สัมผัส เช่น กายรับสัมผัส เย็น ร้อน อ่อน แข็ง อะไรก็ตามอันนันถือว่าเป็น ้ ปัจจุบัน สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นเป็นความจริง แต่ถ้าเผื่อเลยไปแม้แต่วินาทีเดียว สิ่งนั้นก็เป็นสัญญาไป คือ เป็นความจำไป เป็นอดีตไป เพราะฉะนั้นอดีตเราไม่เอา ผ่านไป
  • 41. ห วี ด บั ว เ ผื่ อ น 41 แล้วผ่านไปเลย เราดูของใหม่ เราเอาของใหม่ ไม่ว่าจะเป็นกาย สั ม ผั ส ตาเห็ น รู ป หู ไ ด้ ยิ น เสี ย ง จมู ก ได้ ก ลิ่ น ลิ้ น ลิ้ มรส ใจรั บ ธรรมารมณ์ คื อ อารมณ์ ต่ า งๆ ที่ เ กิ ด ขึ้ น อั น นี้ เ ราเอาเฉพาะที่ สัมผัสกับจิต ถ้าหากว่าเราพอสังเกตได้อย่างนี้ เราก็สามารถฟัง ธรรมได้ตลอด ฟังธรรมของตัวเอง ธรรมแห่งธรรมชาติ ธรรมอัน เป็นธรรมชาติ จริงๆ แล้ว พระพุทธเจ้า ไม่ได้เอาสิ่งสร้างขึ้นหรือคิดขึ้นมา สอนพวกเรา ไม่ได้คิดขึ้นมาสอนเราเลย แต่เอาความจริงที่เกิดขึ้น เอาสัจธรรมทีเ่ กิดขึน ณ ปัจจุบนนันแหละมาเล่าให้เราฟัง หลวงปูมน ้ ั ้ ่ ั่ ถึงบอกว่า ท่านฟังธรรมตลอด ๒๔ ชม. เพราะฉะนั้นหลวงปู่ท่าน จึงไม่มีปัญหาอะไร ไม่ได้สงสัยอะไร เพราะธรรมชาตินั้นเฉลยมา หมดแล้วในทุกๆ เรืองในทุกๆ อย่าง ไม่วาจะเป็นรูปหรือรส เป็นกลิน ่ ่ ่ เป็นเสียงก็มาสัมผัส ณ ปัจจุบันนั้นทั้งนั้น เพราะฉะนั้นความจำ หรือสัญญาจึงไม่เกิดประโยชน์อะไรกับเรา ไม่เกิดประโยชน์อะไร กั บ จิ ต สิ่ ง ที่ จ ะทำให้ เ กิ ด ปั ญ ญาได้ ก็ คื อ ปั จ จุ บั น ที่ เ ราเห็ น อยู่ เป็นความจริง ณ ปัจจุบันนี้ เช่นเวทนาที่เกิดขึ้น เมื่อกี้ที่เรานั่งฟังหลวงปู่ท่านเทศน์ว่า เวทนาที่เกิดขึ้นนั้น ในขณะที่เราได้รับ ให้พิจารณาอย่างถ่องแท้ กับเวทนาตัวนั้น ว่ามันคนละอันกันจริงหรือไม่ ให้วิเคราะห์ใช้
  • 42. 42 จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์ วิจารณญาณในการพิจารณาตามความเป็นจริง ทุกครั้งที่เวทนาได้ เกิดขึ้น จริงๆ แล้วเวทนาไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับจิตเลย คือไม่ได้ เกี่ยวข้องกับผู้รู้ จิตนั้นไม่เจ็บ จิตนั้นรู้เฉยๆ แม้แต่ตัวเจ็บเองก็ไม่รู้ ว่าตัวเองเจ็บ แต่เค้าเป็นของเค้าอย่างนั้น ความเจ็บมันเป็นของ ตายต่างหาก และอวัยวะส่วนที่เจ็บนั้นก็ไม่รู้ว่าตัวเองเจ็บ เช่น หนังไม่เจ็บ เนื้อไม่เจ็บ เอ็นไม่เจ็บ กระดูกไม่เจ็บ แต่มีอุปาทาน ตัวเดียวเท่านั้นที่ไปสำคัญมั่นหมายว่าเราเจ็บ ทั้งๆ ที่เราก็ไม่มี มีแต่จิตเป็นผู้รู้เดี่ยวๆ เท่านั้น เมื่อจิตเรายอมรับอย่างนั้น เห็นตามความเป็นจริงอย่างนั้น เราไม่สามารถปฏิเสธคำสอนของพระพุทธเจ้าได้เลย ยอมรับด้วย ความเต็มใจ เชื่ออย่างสนิทใจ เชื่ออย่างไม่มีความสงสัยแม้แต่น้อย ภายในจิต เมื่อเราสามารถเข้าใจเรื่องขันธ์ ๕ ได้แล้วว่า ตาเห็นรูป รู ป นั้ น ก็ เ ป็ น ธรรม จมู ก ได้ ก ลิ่ น ลิ้ น ลิ้ ม รสอย่ า งที่ ว่ า มั น ก็ เ ป็ น ธรรมชาติทั้งหมด ไม่มีอะไรเป็นอะไร ไม่มีอะไรเป็นอุปสรรคกับ อะไร ไม่มีอะไรขัดแย้งกับสิ่งใด ไม่ได้ปีนเกลียวกันเลยระหว่าง ขั น ธ์ ทั้ ง หลายกั บจิ ต แต่ จิ ต ที่ มี กิ เ ลสหรื อ จิ ต ที่ มี ปั ญ หา มั น จะ ปีนเกลียวกับทุกสิงทุกอย่างทีมากระทบ มันขัดแย้งไปหมด เสียงดี ่ ่ ก็พอใจ เสียงไม่ดีก็ไม่พอใจ จริงๆ แล้วความพอใจและไม่พอใจ มันก็เป็นอีกขันธ์หนึงต่างหาก ทีตางออกไปเป็นตัวที ๓ จิตไม่ได้เป็น ่ ่ ่ ่ ตัวพอใจหรือไม่พอใจ ยินดีหรือไม่ยินดี จิตได้แต่รู้เฉยๆ รู้แล้วจบ
  • 43. ห วี ด บั ว เ ผื่ อ น 43 รู้แล้วไม่คิดไม่ปรุงไม่อะไรทั้งนั้น หรือแม้คิดปรุงขึ้นมา มันก็เป็น คนละอันกับจิตอีก คือสังขารความคิดก็เป็นคนละส่วนกัน มันเป็น คนละส่วนทั้งหมดเลย ทุกสิ่งที่เข้ามากระทบขันธ์ ๕ ของเราหรือ กระทบใจของเรานี้ เปรียบเหมือนไม้ตีระฆัง ไม้ ระฆัง และเสียง เป็นคนละอันกัน ส่วนเสียงที่ได้ยิน ในขณะที่หูของเราได้รับสัมผัส เสียงอันนั้นกังวานแล้วเงียบไป ก็เรียกว่า เกิด ดับ ซึ่งขันธ์ก็มีการ เกิดดับทั้งนั้น แต่จิตอันนี้ ซึ่งเป็นจิตที่เที่ยง พระพุทธเจ้าสอนว่าจิตอันนี้ เป็นของเที่ยง เสียงระฆังเกิดขึ้นก็รู้อยู่ เสียงระฆังดับไปก็รู้อยู่ เพราะฉะนั้นจิตจึงไม่ตาย เป็นของเที่ยงแท้แน่นอน รู้อย่างเดียว เท่านั้น เกิดก็รู้ ตายก็รู้ ไม่มีคำว่าดับ ดังคำที่หลวงปู่ท่านบอกว่า แม้ จ ะตกนรกไปถึ ง แสนมหากั ป จิ ต ก็ ไ ม่ มี ค ำว่ า ตาย แม้ จ ะขึ้ น สวรรค์ไปกี่ชั้น เป็นพรหมกี่ชั้น เมื่อหมดจากบุญ หมดจากวาสนา จิตดวงนี้ก็ลงมาเสวยสิ่งที่เคยทำเคยสร้างไว้ ซึ่งส่วนมากเป็นบาป ที่เราสร้างไว้ไม่มีประมาณมันปฏิเสธไม่ได้เลย จิตต้องรับตลอด ไม่ว่าดีหรือชั่ว แต่ชั่วมากกว่า สิ่งที่ไม่ดีมากกว่า เราเกิดมาไม่มี ประมาณ เกิดมานับไม่ได้ ไม่รู้ต้นรู้ปลายมาจากเมื่อไหร่ เพราะการที่ เ ราเข้ า มาได้ ยิ น ได้ ฟั ง พระธรรมคำสอนของ พระพุทธเจ้านี้ เรามาเข้าใจตรงนี้ เราก็รู้อีกว่า สิ่งเหล่านี้เราไม่เคย
  • 44. 44 จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์ เข้าใจไม่เคยรู้เรื่องมาก่อนเลย นับตั้งแต่ที่เราเกิดมา ก็เพิ่งวันนี้ เดี๋ยวนี้แหละ ที่เราสามารถมาเข้าใจและพิจารณาให้เห็นตามความ เป็นจริงอย่างลึกซึ้ง เช่น เห็นว่าเวทนามันไม่ใช่เราจริงๆ อย่างนี้ สรุปออกจากใจนีแหละ ว่ามันคนละชินคนละอัน จริงอยูเวทนานัน ่ ้ ่ ้ ไม่ได้หายไปไหน แล้วก็ไม่มีใครอยากพบไม่มีใครอยากเห็น แต่จะ ทำอย่างไรได้ ในเมือเราสร้างกรรมมาแล้วเราก็ปฏิเสธไม่ได้ เวทนา ่ เหล่านี้ก็ต้องล่องลอยมาให้เราเห็น ก็เพียงแต่เห็น พระอริยะเจ้า ท่านก็เพียงเห็นแล้วก็จบ ไม่มีเจ้าของในเวทนาเหล่านั้น ในโลกนี้ ทุกสิ่งไม่มีใครเป็นเจ้าของเลย ไม่ว่าจะเป็นรูป เวทนา สั ญ ญา สั ง ขาร วิ ญ ญาณเหล่ า นี้ ไม่ มี ใ ครเป็ น เจ้ า ของ เพราะอะไร ก็เพราะมันไม่มีเรา พิจารณาหาเราแล้วหาไม่เจอเลย ว่าเรามันอยู่ตรงไหน เราลองวาดภาพไปดู ตรงนี้ก็เส้น ผม ตรงนี้ ก็ขน อันนั้นก็เล็บ อันนี้ก็หนัง อันนี้ก็ฟัน กระดูกเอ็นสิ่งเหล่านี้ไม่มี เจ้าของ แต่ความสำคัญมั่นหมายของอวิชชาที่มันครอบงำจิตใจ ของเรามานาน ทำให้เราเข้าใจผิดคิดว่าสิงเหล่านีเ้ ป็นเรา นับตังแต่ ่ ้ รูปอันเป็นสิงหยาบๆ ละเอียดลงไปเป็นนามธรรม อันได้แก่ เวทนา ่ สัญญา สังขาร วิญญาณ อารมณ์ต่างๆ เราสามารถมองตามเห็นตามความเป็นจริงว่า ขันธ์เหล่านี้ ไม่เกี่ยวกับผู้ใดทั้งนั้น ไม่เกี่ยวแม้แต่เรา เพราะเราก็ไม่มี หาเรา
  • 45. ห วี ด บั ว เ ผื่ อ น 45 ไม่เจอ อย่างที่ว่าเมื่อสักครู่ว่า ร่างกายมันก็เป็นดิน น้ำ ลม ไฟ ผสมกันอยู่ ส่วนจิตก็เป็นแต่ผู้รู้ไม่มีเจ้าของอีกเหมือนกัน จิตเป็น เพียงธรรมธาตุอันหนึ่ง เปรียบเหมือนธาตุน้ำ ที่ไม่มีเจ้าของ ไม่มี เราไปเป็นเจ้าของ ธาตุนำ ธาตุดน ธาตุลม ธาตุไฟ ไม่เคยมีเจ้าของ ้ ิ เลยตั้งแต่ไหนแต่ไรมา แต่ธรรมธาตุหรือจิตอันนี้ ทำไมมันถึงมี เจ้าของ มันเป็นเรื่องแปลก พอจิตเป็นของเรา รูปก็เป็นของเรา เวทนาก็เป็นของเรา สังขารความคิดก็เป็นของเรา วิญญาณก็ เป็นของเรา อารมณ์ต่างๆ เป็นเราหมด ดีใจเสียใจ เป็นเราทั้งนั้น แม้เราจะหิว เราจะอิ่ม เรายาก เราจน เรารูปร่างหน้าตาไม่ดี สิ่งเหล่านี้ก็เป็นเราขึ้นมาหมดเลย แต่ถ้าหากว่าเราค้นหาต้นตอ จริงๆ ว่าเราอยู่ที่ไหน เราพิจารณาหาตามความเป็นจริงดู มันไม่มี เรา เพราะจริงๆ แล้วสิ่งเหล่านี้ มันไม่เป็นไปตามเราคิดนึก ถึงแม้ เราจะเคยคิดนึกตามครูบาอาจารย์ได้ แต่ว่าจิตไม่ยอมรับ เมื่อจิต ไม่ยอมรับ ถามว่าทำยังไงถึงจะให้จิตมันยอมรับ อันนี้เราก็ต้อง ปฏิบัติไป พิจารณาไป ละตั้งแต่ขันธ์ ๕ เป็นต้นไป หลังจากละ ขันธ์ ๕ ไปแล้ว มันก็เหลือจิตกับเราเท่านั้นแหละ ๒ ตัวเท่านั้น เมื่อมาพิจารณาถึงเรา พิจารณาถึงจิตจริงๆ อย่างที่ครูบา อาจารย์ท่านบอก ที่พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า เราไม่มี มีแต่ธาตุ
  • 46. 46 จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์ ธรรมธาตุทรอยูเ่ ท่านัน เมือพิจารณาเห็นตามเป็นจริงตรงนี แล้วจิต ี่ ู้ ้ ่ ้ ก็จะยอมรับเมือจิตยอมรับความจริงนี้ ทุกสิงทุกอย่างเบาหมดเลย ่ ่ มันเปิดโลกทั้งหมดเลย สมมติที่เราคิดว่าเรารู้แล้วเราเข้าใจแล้ว ตามสัญญาที่เราเคยได้ยินได้ฟังมา มันไม่เป็นอย่างนั้นแม้แต่น้อย เลย ทีเ่ ราว่าเรารูนน เราไม่ได้ร ไม่ได้เข้าใจเลย แต่เมือเรามาพิจารณา ้ ั้ ู้ ่ เรากับจิตจริงๆ แล้วเนีย เห็นตามความเป็นจริงว่า จิตนีเ้ ป็นอิสระ ่ จิตนี้เป็นธาตุหนึ่ง เรานี้กระเด็นออกจากจิตเลยนะ คำว่าเราหาย ไปเลย กระเด็นออกไปเลย ในความรู้สึกของนักปฏิบัติจะเห็นว่า ไม่มีเราจริงๆ เราลอยออกไปจากผู้รู้เลย ทีนี้ผู้รู้ก็เป็นอิสระ เป็น กลางๆ ที่ไม่มีเจ้าของ ความรู้สึกเช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นในใจของผู้ ปฏิบัติมาก่อนเลย ตามที่พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ เราสามารถ พิ จ ารณาตามความเป็นจริง เราก็จะเห็น ไม่ ขั ด ไม่ แ ย้ ง ไม่ โ ต้ ไม่เถียง กราบท่านได้อย่างสนิทใจ สิ่งเหล่านี้สามารถปฏิบัติได้ ทุกคน ไม่ว่าหญิง ไม่ว่าชาย อย่างที่หลวงปู่ท่านว่าไว้เมื่อกี้ แม้แต่ฆราวาสที่ถือกันนักถือกันหนาว่า ฆราวาสไม่สามารถ ปฏิบตให้ถงมรรคผลนิพพานได้อนนีกได้แต่นกคิดกันไป คาดหมาย ั ิ ึ ั ้ ็ ึ กันไป คิดว่าคงจะถึงไม่ได้หรอก เพราะเราไม่ใช่พระ เรายังมีกิเลส เต็มตัว เรายังมีครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบอยู่ มันก็ปรุงไป จริงๆ แล้วสิงเหล่านีมนเป็นความคิดเท่านัน เป็นความคิดทีกเลสหลอกมา ่ ้ ั ้ ่ิ เป็นกิเลสตัวหนึงทีมนปันขึนมาเป่าหูเจ้าของว่า อย่าไปปฏิบตเลย ่ ่ ั ้ ้ ั ิ
  • 47. ห วี ด บั ว เ ผื่ อ น 47 เกินบุญ มันเลยบุญเลยวาสนาของฆราวาสที่จะทำอย่างนั้นได้ แล้วเราก็ไปเชื่อมันอีก แทนที่จะฉลาดขึ้นก็โง่ลงไปอีก หลอกเรา ให้ ต กนรกหมกไหม้ ห มุ น เวี ย นเปลี่ ย นไปใน ๓ แดนนี้ จะทำ ความดี จ ะปฏิ บั ติ พิ จ ารณาให้ เ ห็ น ตามความเป็ น จริ ง มั น ก็ ม า ขวางกันซะ เหมือนกับตัดหนามมาขวางทางตัวเองอย่างนัน ขุดบ่อ ้ ้ ขุดเหวมาขวางเราไว้ด้วยความคิดนิดเดียวเท่านี้ มันก็สามารถ ปิดกั้นทางเดินของเราได้ นี่ก็เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ท่าน พยายามจะแนะนำสั่งสอนเรา อย่างความคิดที่ฆราวาสเป็นอรหันต์อยู่ได้ไม่เกิน ๗ วัน ก็วาไปอย่างนัน อ้างพระไตรปิฎก ครูบาอาจารย์ทานบอกว่า พระไตร ่ ้ ่ ปิฎกใดก็ตาม ถ้าเผื่อเป็นก้างเป็นขวากเป็นหนามในการที่จะให้เรา เดินต่อไปข้างหน้าไม่ได้นั้น ถือว่าเป็นก้างปลาที่เราไม่ควรจะเสพ เข้าไป ไม่ควรกินเข้าไป เราผู้มีสติปัญญา ก็ควรจะกินแต่เนื้อปลา เท่านั้น เราไม่ควรจะกินก้างปลาเข้าไป สิ่งเหล่านี้เล่าลือกันนักว่า ฆราวาสอยู่ได้ไม่เกิน ๗ วันก็จะต้องตายจากกันไป เพราะว่าจิตไม่ บริสทธิ รูได้อย่างไรว่าจิตเค้าไม่บริสทธิ จิตเป็นธรรมธาตุซงบริสทธิ์ ุ ์ ้ ุ ์ ึ่ ุ ผุดผ่องมาแต่ไหนแต่ไร ไม่มีอะไรในสมมุติที่จะไปเจือปนจิตดวง นั้นได้เลย ดังนั้นความคิดนี้ จึงไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เพราะ สมมุติก็คือสมมุติ วิมุติก็คือวิมุติ ไม่สามารถที่จะเอาเหตุผลของ สมมุติมาลบทำลายธรรมอันบริสุทธิ์นี้ได้ เพราะเป็นคนละมิติกัน
  • 48. 48 จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์ นี่ ก็ พู ด ตามที่ พ ระพุ ท ธเจ้ า ท่ า นสอนเรามา เป็ น อย่ า งนั้ น ทุกคนสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง ไม่มีใครต้องเชื่อใครทั้งนั้น พูดกันไปตามทาง เราก็สามารถเดินตามนี้ แล้วเห็นตามความ เป็ นจริ ง นี้ ไ ด้ ด้ ว ยกัน คนร่ำ คนรวย คนยาก คนจน คนพิ ก าร แม้แต่ยาจก ขอทานอะไรก็ตาม ก็สามารถเข้าถึงสิ่งนี้ได้ด้วยกัน ทั้งนั้น เพราะทุกคนล้วนมีทั้งกิเลสและจิตด้วยกัน มันไม่มีอะไร สกปรกหรอก ไม่มีอะไรสกปรกแล้วก็ไม่มีอะไรสะอาด ทุกอย่าง เป็นกลางหมด แม้แต่อุจจาระเองมันก็เป็นกลางของมัน ใครล่ะไป บอกว่ามันสกปรก เราเป็น ผู้ไปบอกว่าสกปรก ถ้าเขาไม่สกปรก ไม่เป็นอย่างนั้น เค้าก็ไม่ใช่อุจจาระ ก็เป็นไปตามธรรมของเค้า ทองคำก็ไม่มีใครไปบอกว่าเป็นทองคำ ว่าเค้าบริสุทธิ์ ทุกอย่างมัน เป็ น ไปตามธรรมชาติ ข องเค้ า อย่ า งนั้ น ถ้ า เราไปถามต้ น ไม้ ว่ า ต้องการอะไรระหว่างทองคำกับอุจจาระ ต้นไม้ก็ต้องบอกว่าฉัน เอาอุจจาระดีกว่า ซึ่งความต้องการของ ของแต่ละสิ่งแต่ละอย่าง ก็ไม่เหมือนกัน คุณหมอมีอะไรข้องใจทีจะถามแลกเปลียนกันบ้างไหม ่ ่ ขัดแย้งได้นะครับ ขัดแย้งได้ เพราะการพูดธรรมะ ก็สงสัยได้ ไม่สอบ ไม่ถามก็ไม่รู้
  • 50. 50 จิ ต ที่ พ้ น จ า ก ทุ ก ข์ คุณหมอ : คุณลุงก็พูดสิ่งที่มันเป็นธรรมน่าฟังอยู่แล้ว ฟัง แล้วก็รู้สึกดี คุ ณ ลุ ง : บางครั้ ง ผมก็ ไ ม่ ต้ อ งการที่ จ ะพู ด ตรงนี้ ม ากนั ก เพราะว่าบางทีคนก็หลากหลาย บางคนก็อาจจะหาว่าอวดรูอวดเห็น ้ พูดเกินตัว แต่บางคนถ้าฟังด้วยใจทีเป็นกลางๆ แล้ว ก็จะเห็นได้วา ่ ่ สิ่งเหล่านี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดเลย คือธรรมะ ไม่มของใคร ธรรมะทีเป็นธรรมชาติ เปิดเผยอยูกลางแจ้ง โดยทีไม่มี ี ่ ่ ่ สิ่งใดปกปิดไว้ คุณหมอ : ขออนุญาตครับ คือตรงทีคณลุงพูดว่า แม้กระทัง ่ ุ ่ ธรรมชาตินี้ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ มันไม่เคยบอกว่ามันเป็นของเรา คุณลุง : อื้ม มันไม่มีเจ้าของ คุ ณ หมอ : แล้ ว คุ ณ ลุ ง ก็ พู ด ต่ อ อี ก คำหนึ่ ง ว่ า แม้ ก ระทั่ ง ธรรมธาตุนี้ มันก็น่าแปลกนะ มันมาว่ามันเป็นเราตั้งแต่เมื่อไหร่ พอพูดปุบ ในใจผมมันหลุดไปเลยนะ แล้วคุณลุงก็พดต่อว่า มันหลุด ๊ ู จากความเป็นเราไปแล้ว มันสบาย คือคุณลุงพูดเรื่องของผมใน ขณะนั้นเลย เป็นอย่างนั้นจริงๆ แล้วก็ รู้สึกว่าที่คุณลุงพูดมันถูก ต้อง หาฟังได้ยาก ถ้าไม่ใช่ผู้ปฏิบัติแท้ๆ แล้วพูดไม่ได้หรอกครับ แล้วก็ ผมมาครั้งนี้ ครั้งที่แล้วพอกลับจากคุณลุงไป ใจของผมมัน สบายไปตลอดนานเป็นอาทิตย์ๆ เลย เสร็จแล้วเนี่ย พอผมมานั่ง อ่านหนังสือเตรียมสอบ ประกอบกับช่วงนีเลียงลูกและมีภาระเยอะ ้ ้ ผมก็รสกหงุดหงิดลำบากใจ แต่ในขณะเดียวกันก็พยายามภาวนาอยู ู้ ึ ่