Publicité

บทที่ 7 การวางแผนกลยุทธ์และกลยุทธ์การเจรจาต่อรองข้ามชาติ

Instructor à Graduate school of commerce
16 Sep 2015
Publicité

Contenu connexe

Présentations pour vous(20)

Publicité

บทที่ 7 การวางแผนกลยุทธ์และกลยุทธ์การเจรจาต่อรองข้ามชาติ

  1. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ
  2. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  การวางแผนกลยุทธ์เพื่อการเจรจาต่อรองข้ามชาติ เกี่ยวข้อง กันหลายขั้นตอนได้แก่การเตรียมตัวเพื่อการเจรจาต่อรอง แบบซึ่งหน้า การพิจารณาถึง ขอบข่ายที่ตกลงกันการ คัดเลือกรูปการเจรจาต่อรอง หรือไปแบบเดี่ยวๆและการรู้ถึง แนวคิดของอีกฝ่ายเกี่ยวกับการทาความตกลงและสัญญา
  3. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  การเตรียมการเจรจาแบบซึ่งหน้า โดยทั่วไปเป็นชั้นของการเตรียมการ ซึ่งจะมีการ ระบุถึงประเด็นและผลประโยชน์ร่วม ผลลัพธ์ที่พึงปรารถนา ข้อขัดแย้งที่เป็นไปได้ ความสามารถของผู้มีส่วนร่วมและข้อจากัด ตลาด สถานะทางการเงิน ความมี ชื่อเสียงของผู้มีส่วนร่วมและความเหมือนของผลิตภัณฑ์และบริการ
  4. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  กลยุทธ์ที่ใช้ได้ผลในระดับประเทศของตนเองเมื่อนาไปใช้เจรจากับประเทศอื่นก็คง จะต้องมีการปรับให้มีความเหมาะสมกับปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม ธรรมเนียมปฏิบัติ ทางธุรกิจและมาตรฐานทางจริยธรรมตัวอย่างกรณีเจรจาระหว่างสหรัฐอเมริกากับ จีนที่มีความแตกต่างกันในแนวทางการเจรจาที่สหรัฐอเมริกาต้องหาความชัดเจนตก ลงในเฉพาะจุดก่อน ส่วนจีนต้องการพูดคุยในประเด็นทั่วๆไปก่อน หรืออีกประเด็น หนึ่งคือสหรัฐอเมริกามุ่งเน้นผลที่ได้ในระยะสั้น ในขณะที่จีนมองผลในระยะยาวที่จะ ได้ (เช่น เทคโนโลยีและเทคนิคทางธุรกิจจากสหรัฐอเมริกา)
  5. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  การพิจารณาถึงขอบข่ายที่จะตกลงกัน เป็นการหาขอบข่ายที่ทั้ง 2 ฝ่ายประสงค์จะ ตกลงกัน การระบุขอบเขตที่เป็นไปได้อาจกาหนดเป็น “ผลลัพธ์ขั้นต่าที่สุดที่ยอมรับ ได้” (Least Acceptable Result – LAR) และ “จุดที่สนับสนุนได้ มากที่สุด” (Maximum Supportable Position – MSP) เช่น อาจมีการเรียกราคาไปก่อนแล้วค่อยลดลงเมื่อลูกค้าอีกฝ่ายต่อรองลง การมีช่วงราคา ให้ต่อก็จะสามารถที่จะมีการผ่อนปรนและมีความยืดหยุ่นในการเจรจาต่อรองมากขึ้น แต่บางวัฒนธรรม เช่น รัสเซีย มองว่าการผ่อนปรนเป็นสัญญาณแห่งความอ่อนแอ ไม่ใช่เป็นการมีเจตนาดี หรือมีความยืดหยุ่นแต่ประการใดสิ่งสาคัญก็คือการที่จะได้มี การวิเคราะห์ว่าคู่เจรจาอีกฝ่ายมีแนวทางหรือแนวคิดในการกาหนดรอบเจรจา อย่างไร เพื่อที่จะดักทาวได้ถูก กาหนดจุดยืนการต่อรองให้เหมาะสม
  6. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  รูปแบบเชิงเทคนิคของการต่อรอง การเจรจาต่อรองอาจเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ อาจ ทากันทางโทรศัพท์ อีเมลล์ แฟ็กซ์ การพบกันซึ่งหน้า แบบพบกันจริง หรือทางการ ถ่ายทอดแบบเห็นหน้าแต่อยู่กันคนล่ะที่หรือไม่ก็ใช้วิธีการบอกผ่านคนที่สาม การใช้ เครื่องมือสมัยใหม่ต่างๆ ดังกล่าว ถึงแม้ว่าจะมีต้นทุนที่ถูกกว่า แต่ก็ขาดบรรยากาศ ของการพบปะกันจริงแบบเห็นหน้ากันและการเจรจาต่อรองที่สาคัญ ต้องเป็นการ พบปะกัน
  7. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  ว่าไปแล้วในหลายวัฒนธรรมไม่ได้สนใจเฉพาะเนื้อหา แต่ให้ความสาคัญกับเรื่องของ พิธีการ พิธีรีตองต่างๆ ที่มีความสาคัญไม่แพ้กัน หรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้า โดยเฉพาะในเอเชีย เช่น จีน ที่ต้องการพบหน้ากันพูดคุย มากกว่าการพบปะพูดคุย ผ่านสื่อเทคโนโลยี การใช้บุคคลที่สามบางทีก็มีประโยชน์โดยเฉพาะกับกรณีแต่ละ ฝ่ายไม่ค่อยจะรู้เรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมข้ามชาติ และยิ่งหากทั้ง 2 ประเทศ ยังมี ปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องของการเมืองที่อาจเป็นประเด็นปัญหาอยู่ก็จะช่วยผ่อนคลายได้
  8. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  ควรจัดการเจรจาต่อรองที่ไหนดี การเจรจาต่อรองข้ามชาติอาจเกิดขึ้นในประเทศของ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรืออาจไปหารือยังอีกประเทศอื่นก็ได้ แต่หากเลือกได้แล้วใครๆก็ อยากจะให้มีการเจรจากันในประเทศของตนมากกว่าเพราะจะได้เปรียบทั้ง ความคุ้นเคยและต้นทุนต่ากว่า รวมทั้งการที่สามรถเรียกหา เข้าถึงข้อมูลต่างๆ ที่ ต้องการได้ง่าย จึงแน่นอนในด้านร่างกายก็จะไม่เหนื่อยล้าหรือว่าเครียดมากเกินไป
  9. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  แต่ในทางตรงกันข้ามการไปเจรจานอกประเทศก็อาจได้ประโยชน์ตรงที่อาจได้รับ ความเห็นใจในการรับการผ่อนปรนเพราะเหตุที่ต้องเดินทางมาและเสียค่าใช้จ่ายใน การเดินทางไปบางส่วนแล้ว และก็นับว่าเป็นการดีที่จะมีการตัดสินใจแบบว่าได้เห็น อะไรกับตา เช่น อาจเห็นโรงงานที่จะทาการผลิตสินค้าที่คุณต้องการ
  10. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  กรณีการใช้ที่ประเทศที่สามในการเจรจาก็มีผลดีเหมือนกันจะเห็นได้ว่าบ่อยครั้งที่ เจรจาข้อขัดแย้งทางการเมืองระหว่าง 2 ประเทศ มักจะไปจัดการหารือกันใน ประเทศที่สามที่วางตัวเป็นกลาง การเจรจาต่อรองระหว่าง 2 บริษัทก็เช่นกันหากมา จากประเทศที่ก้าวหน้ามากกับประเทศที่กาลังพัฒนาก็อาจมีความเหมาะสมกกว่า หากจะหาสถานที่ที่อยู่ประมาณกลางๆ ที่จะไม่ให้เกิดอะไรที่ต่างกันมากเกินไป โดยเฉพาะในด้านของการอานวยความสะดวกที่เหมาะสม (ไม่แพงหรือแย่ จนเกินไป)
  11. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  ควรหารือเป็นทีมหรือไปเดี่ยวดีกว่ากัน มีทั้งข้อได้เปรียบและเสียเปรียบ การ มอบหมายคนเดียวไปเจรจาจะดีตรงที่ประหยัดกว่าและทาการตัดสินใจด้วยความ รวดเร็ว แต่ข้อด้อยคือคนๆเดียวอาจไม่มีขีดความสามารถพอหรือรู้รอบด้านในการ เจรจาหรือไม่ก็อาจรับมือกับอีกฝ่ายไม่ไหว ในกรณีไปเป็นทีมมีข้อดีที่ได้คนที่มีความรู้ ประสบการณ์ครบถ้วนมากกว่า มีหลายคนหลายความสามรถประกอบกัน บาง วัฒนธรรมอาจมองคุณว่าจะให้ความสาคัญมากน้อยเพียงใดในการเจรจา เช่น ญี่ปุ่น ที่จะหารือกันเป็นทีม ดังนั้น หากคุณส่งคนเจรจาไปหารือกับเขาคนเดียว อาจถูกมอง ว่าคุณจริงจังกับการเจรจาเพียงใดด้วย การเจรจาเป็นทีมอาจดีกว่าแบบเดี่ยวตรงที่ สมาชิกในทีมมีเวลาที่จะหยุดคิดได้มากกว่า ทานองซื้อเวลา แต่ถ้าหากไปคนเดียวก็ อาจต้องโต้ตอบและถูกรุกไล่ไม่หยุด
  12. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  ดังนั้นในกรณีการเจรจาที่ต้องการความรวดเร็วและลดต้นทุนการส่งผู้เจรจาไปคน เดียวก็อาจเป็นประโยชน์ได้หากได้รับอานาจการตัดสินใจไปกับตัวในกรณีของทีมก็ จะมีข้อดีในความรอบคอบและสามารถเลือกใช้กลวิธีต่างๆ ได้มากขึ้น และสมาชิกใน ทีมอาจเป็นการเรียนรู้หาประสบการณ์ไปด้วย เช่น กรณีญี่ปุ่นที่มักให้เจ้าหน้าที่ได้ เรียนรู้เรื่องเจรจาจากประสบการณ์ในการเข้าร่วมทีม
  13. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  มุมมองด้านข้อตกลงและสัญญา แต่ละหน่วยงานอาจมีข้อกาหนดในเรื่องของการทา ความตกลงแตกต่างกันไป และในแต่ละประเทศก็มีวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันทั้งนี้กาจมี การกาหนดเป็นกฎเกณฑ์หลักปฏิบัติตายตัวเลยก็มีบางประเทศชอบที่จะปฏิบัติเป็น แนวทางตามๆ กันมาโดยไม่มีการเขียนหรือกาหนดไว้ และบางแห่งอาจทาแบบไม่ เป็นทางการไม่ได้มีการกาหนดกฎเกณฑ์ไว้
  14. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  ประเทศที่ยึดถือสัญญาแบบลายลักษณ์เป็นอย่างมากก็ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ที่เห็นว่า ปลายทางการต่อรองก็คือการเซ็นสัญญากัน แต่หลายประเทศก็ไม่ได้ยึดโยงกับ สัญญาลายลักษณ์ แต่ให้น้าหนักกับเรื่องของความสัมพันธ์ในเชิงสังคม บางประเทศ เช่น กรีซ มองว่าการเซ็นสัญญา เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเจรจาต่อรองเท่านั้นเอง ประเด็นกว้างๆ ในสัญญายังต่อรองกันได้อีก ดังนั้นนักเจรจาต่อรองข้ามชาติจะต้อง เข้าใจธรรมชาติในวิธีปฏิบัติของแต่ละชาติไป
  15. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  การวางแผนกลวิธีเพื่อการเจรจาต่อรองเกี่ยวพันกับเรื่องของการใช้อานาจการต่อรอง การใช้วิธีการถ่วงเวลาและการที่จะต้องควบคุมอารมณ์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้คือ
  16. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  ในการเจรจาต่อรองที่เราทีทางเลือกที่มากกว่าย่อมที่จะมีอานาจของการต่อรองที่ มากกว่าและการที่คุณมีทางในการผ่อนปรนได้มากย่อมทาให้คู่เจรจาของคุณ ต้องการที่จะต่อรองในจุดนั้น ตัวอย่างเช่น หากบริษัทหนึ่งต้องการลงทุนก่อสร้าง โรงงานในประเทศไทย และไทยรู้ว่าบริษัทดังกล่าวมีทางเลือกไม่มากนักและมีความ จาเป็นอย่างมากที่จะต้องตั้งโรงงานในประเทศไทย อาจด้วยความสะดวกหรือต้นทุน ที่ถูกกว่าโดยเฉพาะด้านการขนส่ง กรณีอย่างนี้หากไทยรู้ถึงความได้เปรียบเชิง ภูมิศาสตร์ดังกล่าว ย่อมที่จะไม่มีการผ่อนปรนหรือต้องจูงใจอะไรมากมายกับบริษัท ดังกล่าว แต่ถ้าหากบริษัทนี้มีทางเลือกมากมายในการที่จะไปตั้งโรงงานในประเทศ อื่นได้อีกหลายประเทศ แน่นอนว่าในกรณีนี้ประเทศไทยไม่มีอานาจในการต่อรอง มากนัก การที่จะเพิ่มอานาจในการต่อรองจึงต้องให้การผ่อนปรนตามที่บริษัท ต้องการและร้องขอให้ได้มากที่สุดที่จะยอมได้
  17. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  เป็นไปได้ว่าประเทศกาลังพัฒนาบางครั้งมีจึงอานาจในการต่อรองไม่น้อยกับบริษัท ข้ามชาติ เพราะอาจมีปัจจัยหลายอย่างที่เป็นที่ต้องการ เช่น ตลาดที่จูงใจ แรงงาน จานวนมากและค่าแรงถูก มีแหล่งวัตถุดิบ โอกาสในการลงทุน รวมทั้งทรัพยากรอื่นๆ อีกที่เป็นที่ต้องการของบริษัทข้ามชาติ เห็นได้จากกรณีตัวอย่างของประเทศจีนที่มี โอกาสการตลาดสูงมากเพราะมีประชากรถึงประเทศ 1,300 ล้านคน มีค่าแรงงาน ถูกและมีแรงงานมากพอทาให้เป็นที่ดึงดูดนักลงทุนจากประเทศต่างๆมาก ซึ่งย่อมมี อานาจในการต่อรองมากในปัจจุบัน แต่ในหลายกรณีพบว่าบริษัทข้ามชาติก็มีอานาจ ต่อรองไม่น้อยในแง่ที่ว่าประเทศกาลังพัฒนาต้องการเงินลงทุนและเทคโนโลยีจาก ภายนอกดูจากมากกว่า เพราะหากไม่มีบริษัทเหล่านี้มาลงทุนก็ดูจะไม่เกิดประโยชน์ แก่ประการใดถึงแม้จะมีทรัพยากรอยู่ก็ตาม
  18. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  การใช้วิธีการถ่วงเวลานับเป็นรูปแบบหนึ่งของการเป็นอานาจต่อรอง เช่น หากคุณ เดินจากมาโดยที่ไม่เจรจาต่อ แน่นอนว่าอีกฝ่ายหนึ่งย่อมกระวนกระวายใจและก็อาจ อยากที่จะผ่อนปรนเงื่อนไขอะไรต่างๆลงมา แต่ในอีกด้านหนึ่งหากคุณเป็นฝ่าย กระวนกระวายกว่าก็อาจเป็นไปได้ว่าคุณต้องการในจุดนั้นและก็อาจผ่อนปรนเงื่อนไข ลงมาบ้าง การเจรจาย่อมมีช่วงการพักของแต่ละฝ่ายจะคิดและกาหนดท่าทางใน บริบทนี้จะกล่าวได้ว่าการอดทนเป็นกุญแจสาคัญในการเจรจาต่อรอง  แต่ละชาติอาจมีความอดทนไม่เท่ากัน เช่น คนอเมริกันดูจะมีความอดทนน้อยกว่าคน ชาติอื่น เช่น ญี่ปุ่น
  19. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  ถึงแม้ว่าพฤติกรรมในการเจรจาต่อรองหลักๆล้วนมาจากสัญชาตญาณและบางทีก็ ไม่ใช่การใช้ดุลยพินิจ ในการที่จะรับฟังคู่เจรจาอีกฝ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เจรจา ควรจะแยกความคิดเห็นส่วนตัวออกมา ควรแยกออกจากความคิด แต่เดิมที่มีมาหรือ อคติ และก็ควรจะมีที่กรองอารมณ์ออกจากสิ่งเหล่านั้น ต้องเรียนรู้ที่จะต้องควบคุม อารมณ์จะต้องไม่ได้ตอบและถูกคนอื่นปลุกปั่นให้มีอารมณ์โดยอีกฝ่ายหนึ่งได้  แต่ถ้าคุณเจรจาโดยมุ่งแต่เรื่องของหลักเหตุผลตรรกะจนมากเกินไปก็อาจทาให้คุณ ละเลยการสังเกตในเรื่องของอารมณ์ของอีกฝ่าย การรับรู้ถึงความรู้สึก(ทั้งของตัวคุณ และอีกฝ่าย)แต่ไม่ใช่ลักษณะของการตอบได้
  20. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  มีกลยุทธ์เจรจาต่อรองอย่างมากมายแต่ก็อาจใช้ได้ดีในวัฒนธรรมหนึ่งและอาจใช้ ไม่ได้ในวัฒนธรรมอื่น Acuff(2008)ได้เสนอแนะกลยุทธ์ที่สาคัญในการเจรจา ต่อรองข้ามชาติให้ประสบความสาเร็จ คือ
  21. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  การวางแผนที่ดีจะนาไปสู่การบรรลุเป้ าหมาย นั่งก็คือ การที่จะต้องระบุประเด็น ทั้งหมดที่เกี่ยวกับการเจรจาให้ได้ ถัดมาก็คือจะต้องวางลาดับความสาคัญว่าประเด็น ไหนสาคัญอย่างไร การกาหนดขอบเขตว่าจะตกลงกันได้ระหว่างช่วงใดได้ และการ พัฒนากลยุทธ์ในกลวิธีเพื่อจัดการกับประเด็นที่ตั้งไว้
  22. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  เป็นขั้นของการรวบรวมข้อมูลสาคัญโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับฝ่ายตรงข้าม วัฒนธรรม ของอีกฝ่ายที่มีผลต่อการเจรจา ลักษณะองค์กรและผู้เล่นอื่น และประวัติศาสตร์แต่ เดิมที่มีการเจรจาการต่อรองกันมา (หากมี) การตรวจสอบอาจทาเป็นบัญชี ตรวจสอบ ดังนี้  ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับฝ่ายตรงข้าม -สถานะครอบครัว ( เช่น แต่งงาน เป็นโสด มีลูก) -กิจกรรมนันทนาการ -นิสัยการทางาน ( เช่นทางานดึก ไปทางานแต่เช้า) -พฤติกรรม ( เช่น เป็นนักสมบูรณ์นิยม ชอบมองภาพใหญ่ มุ่งงาน มุ่งคน) -จานวนปีที่บริษัท/หน่วยงานก่อตั้งมา -ความมั่นคงในปัจจุบันขององค์กร -ชื่อเสียงโดยรวมในฐานะผู้เจรจาต่อรอง
  23. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ -การประชุมตรงเวลาหรือไม่ -คุณสามารถคาดหวังอะไรจากการเจรจาต่อรอง -ความแตกต่างในความเห็นจะเป็นเรื่องเชิงอารมณ์หรือการอภิปรายพูดคุย -จะมีการนาทีมเจรจาขนาดใหญ่มาหรือไม่ -คุณต้องการตัวแทนหรือล่ามหรือไม่
  24. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ -ผลผลิตหรือบริการขององค์กรคืออะไร -สถานะการเงินในอดีต ปัจจุบันเป็นอย่างไร -ปัญหาขององค์กรที่มีอยู่คืออะไร( เช่น การลดขนาดองค์กร การแข่งขันอย่างหนัก) -ใครคือหัวหน้าของผู้เจรจา และคุณรู้จักเขาอะไรบ้าง -มีกรอบเวลาอะไรที่กดดันองค์กรอยู่
  25. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ -หัวข้อการเจรจาต่อรองในอดีตคืออะไร -อุปสรรคหลักคืออะไรและผลสัมฤทธิ์คืออะไร -ข้อโต้แย้งที่ยกขึ้นคืออะไร -คู่ต่อสู้ใช้กลยุทธ์และกลวิธีอะไร -ข้อเสนอขั้นแรกสูงกว่าราคาสุดท้ายที่ตกลงมากน้อยเพียงใด -ผลลัพธ์มีการบรรลุได้อย่างไร ใช้กรอบเวลาเท่าไร ในเรื่องนี้นักเจรจาต่อรองที่มีทักษะได้ให้ข้อเสนอแนะ 5 แนวทางในการวางแผน 1.พิจารณาขยายขอบเขตทางเลือกและผลลัพธ์ในเชิงปฏิบัติมากเป็น 2 เท่าของผู้ไม่มีทักษะ 2.ควรใช้เวลาช่วงพักมากกว่าทั่วไป 3 เท่าในการดูว่ามีเรื่องใดที่ทั้ง2ฝ่ายเห็นร่วมกันได้ 3.ใช้เวลามากเป็น2เท่าเมื่อพิจารณาถึงประเด็นที่จะมีผลในระยะยาว 4.ตั้งขอบข่ายวัตถุประสงค์ให้กว้างกว่าเดิม (เช่นกาหนดราคาเป้ าหมายให้มีช่วงมากขึ้น อาทิระหว่าง50-60 บาท/หน่วย) แทนที่จะกาหนดวัตถุประสงค์ให้แคบลงไป (เช่น กาหนดที่55) เพราะจะทาให้ความยืดหยุ่น มากกว่า 5.วางแผนเป็นประเด็นๆไป มากกว่าการที่จะพิจารณาประเด็นแบบใส่เรียงกันไปตามลาดับ
  26. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  การที่ใช้กลยุทธ์ชนทั้งคู่จะไม่ได้มีการนามาใช้โดยง่ายดายนัก ส่วนใหญ่มักจะเป็น การห่าหั่นกัน นักเจรจาต่อรองของผู้มีประสบการณ์จะไม่ยอมเสียเวลามากนักกับ พฤติกรรมที่มักจะใช้การโจมตีหรือป้ องกันรวมทั้งอาจจะคุยเรื่องที่ไม่เห็นชอบด้วยกัน แต่จะใช้เวลากับเรื่องของการให้ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้สึกและก็พยายามให้มีข้อ โต้แย้งให้น้อยในการที่จะสนับสนุนให้เสนอจุดยืนของคน ซึ่งดูเหมือนจะฝืนกับ ความรู้สึกของคนทั่วไปที่มองว่าการมีข้อตอบโต้โต้แย้งมากน่าจะเป็นการดี คนที่มี ทักษะจะมองว่าการมีข้อโต้แย้งหลักๆ เพียงไม่กี่ประเด็นที่แข็งแกร่งจะมีประสิทธิผล กว่าการมีหลายข้อโต้แย้ง
  27. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ ในการที่จะเกิดผลได้แก่ 2 ฝ่ายมีความจาเป็นที่ต้องเรียนรู้วัฒนธรรมอื่นที่มีความหมาย แตกต่างในวัฒนธรรมอื่นที่มีความแตกต่างในวัฒนธรรม กรณีตัวอย่างการต่อรองใน ซาอุดีอาระเบียที่มองว่าการโต้ตอบกันไปมาในการต่อรองเป็นเครื่องแสดงถึงความ จริงใจและการฝ่าฟันต่อการต่อรองในครั้งนั้น หากมีการปฏิเสธบางอย่างที่แสดงออกถึง การ รับ-การให้กาจจะถูกมองว่าเป็นการดูถูกกัน ดังนั้นในกรณีของซาอุดีอาระเบียการเทียว ไป เทียวมาและขยันต่อรองดูจะเป็นที่ยอมรับและได้รับความประทับใจกว่า
  28. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ ในสังคมอื่นอาจมองต่างมุมไปในอังกฤษการที่จะนาไปสู่การตกลงกันได้เป็นเรื่อง ของการที่ต้องมีการพูดคุยกันอย่างมีขั้นตอน พูดคุยกันในรายละเอียดตั้งอยู่บน ข้อเท็จจริง ว่าด้วยความเหมาะสมและเหตุผลจึงจะนาไปสู่การตกลงกันได้การที่จะให้ได้ประโยชน์ ทั้ง 2 ฝ่ายยังจะต้องมีการพินิจถึงเปาประสงค์โดยรวมอย่างระมัดระวังเห็นได้จากกรณี ของญี่ปุ่นที่มักมองความสัมพันธ์ในแบบระยะยาวมากกว่าการมุ่งหากาไรในระยะสั้น ดั้ง นั้น คุณควรที่จะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับอีกฝ่ายแต่โดยรวมแล้วผลประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่ายจะลงตัวก็คือการมีวัตถุประสงค์ที่สอดรับกันถึงแม้ว่าโดยวัตถุประสงค์แต่ละฝ่ายจะ แตกแยกกัน เช่น ฝ่ายหนึ่งต้องการลงทุนและได้แรงงานถูกในขณะที่อีกฝ่ายอาจต้องการ ได้เงินทุนที่ข้ามาลงทุน อย่างไรก็ตามการมองหาถึงผลประโยชน์ร่วมกันนับว่าดีและ โดยเฉพาะการมองถึงระยะยาวด้วย
  29. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ การเจรจาต่อรองไม่ควรที่จะเริ่มต้นด้วยข้อเรียกร้องที่ต่าเกินไป อันที่จริงแล้วควรมีการตั้งเป้ าหมายไว้ให้สูง เคล็ดลับในเรื่องนี้มี ด้วยกันหลายประการ คือหากมีอานาจต่อรองอยู่ก็ไม่ควรปล่อย ไปจากมือ หาไม่อีกฝ่ายอาจเอาไปใช้แทนคุณข้อเสนอ (ข้อ เรียกร้อง) เบื้องแรกให้สูงเข้าไว้จะเป็นตัวที่บอกให้รู้ว่าคนอื่น (อีกฝ่าย) เขากระทากับคุณอย่างไรข้อเรียกร้องสูงจะไปช่วยลด ความคาดหวังของอีกฝ่ายลงข้อเรียกร้องที่สูงจะแสดงให้เห็นถึง การยืนกรานของคุณ ความเชื่อของคุณ
  30. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ คุณสามารถลดข้อเรียกร้องของคุณได้เสมอ หากคุณตั้งข้อเรียกร้องไว้สูงยอมมีระดับที่ คุณสามารถผ่อนปรนลงได้ข้อให้ระลึกเสมอว่าเวลาที่มีอยู่ข้างคุณ การเรียกร้องสูงจะ ช่วยให้คุณได้เรียนรู้อีกฝ่ายและเวลาจะช่วยเยียวยาสิ่งต่างๆลงได้มีแง่มุมทางอารมณ์ที่ อีกฝ่ายจะบีบคั้นคุณ นับว่าสาคัญต่อความรู้สึกถึงการได้รับชัยชนะ ดังนั้นการยื่น ข้อเสนอหรือเรียกร้องให้สูงกว่าราคาเป็นเป้ าหมายเพื่อที่จะให้มีการให้มีการต่อรองเป็น ภาระหน้าที่ของอีกฝ่ายที่จะต้องต่อคุณลง และหากคุณเข้าสู้กระบวนการแบบแข่งขันที่ จะเสนอ ก็ข้อให้นาโดยเน้นในเรื่องของคุณภาพ บริการหรือแง่มุมอื่นที่จะทาให้ข้อเสนอ ด้านราคาของคุณมีคุณค่าขึ้นมาอย่างเยี่ยมยอด
  31. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ การใช้ภาษานั้นมีความสาคัญมาก ในที่นี้จะกล่าวถึงภาษาอังกฤษที่ใช้กันเป็นสื่อกลาง จะพบว่ามีทั้งความยากความง่าย และยังมีเรื่องของสานวน วลี คาสแลง ที่คนที่ไม่ คุ้นเคยก็อาจทาให้เกิดความสับสนซึ่งแทนที่จะเป็นผลดีกลับอาจกลายเป็นผลเสียขึ้นมา ได้ไม่ควรที่จะคาดการและทึกทักเอาว่าอีกฝ่ายจะมีความรู้ในด้านภาษาที่ดี ดังนั้น จึง เป็นการดีที่สุดที่จะใช้ภาษาอย่างเรียบง่ายและอีกฝ่ายเข้าใจได้อย่างถ่องแท้นั้นย่อมมี ประสิทธิผลสูงสุด
  32. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ การถามคาถามที่ดีนับว่าเป็นเรื่องสาคัญตลอดการเจรจาต่อรองและโดยเฉพาะในขั้น ตอนแรกๆ เป้ าหมายสาคัญของคุณก็คือการที่ต้องการให้ได้รับข้อมูลข่าวสาร นักเจรจาต่อรองที่มีทักษะจะมีการถามคาถามให้มากและก็รับฟังอย่างตั้งใจ ในการ ถามคาถามมีประเด็นสาคัญก็คือไม่ควรถามอะไรที่ทาให้อีกฝ่ายรู้สึกกระอักกระอ่วนใจ คาถามอาจถามตรงและมีความเปิดเผยในบางประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย สวิสเซอร์แลนด์ สวีเดน และเยอรมนี ส่วนบางประเทศการถามอาจถาม อย่างอ้อมๆ จะดีกว่า เช่น ในญี่ปุ่น ไต้หวัน บราซิล หรือโคลอมเบีย
  33. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ สาหรับเคล็ดลับในการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ ก็คือการที่พยายามจากัดการพูดของเรา ไว้ (พูดมากย่อมฟังได้น้อย) ขอให้จดจ่อกับสิ่งที่อีกฝ่ายพูดออกมาขอให้สบตากับคนพูด (แต่ไม่ใช่จ้องหน้า) การเรียบเรียงและสรุปข้อสังเกตที่ได้ หลีกเลี่ยงการด่วนสรุปเกินไป อย่าตัดสินอะไรด่วนเกินไป ให้ดูภาษาท่าทางว่า สื่ออะไรบ้าง ขอให้ฟังอย่างเห็นอารมณ์ ให้ถามคาถามเพื่อเกิดความกระจ่างหากเกิดข้อสงสัยไม่ควรขัดจังหวะเวลาเขาพูดและ ขอให้หยุดชั่วขณะเพื่อทบทวนความเข้าใจอย่าด่วนพูดแทรกในช่วงว่างที่เขาอาจกาลัง คิดอยู่ กริยาท่าทางที่แสดงออกทั้งของผู้พูดและของผู้ฟังล้วนมีความสาคัญเหมือนกับการส่ง สัญญาณออกไปจึงมีความจะเป็นที่จะต้องเรียนรู้อวจนะภาษาของแต่ละวัฒนธรรม เพื่อที่จะปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม ต่อไปนี้เป็นกริยาท่าทางหรือการทาตัวให้เกิดภาพเชิง บวก อาทิ
  34. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ ยิ้มเข้าไว้ การส่งยิ้มย่อมสร้างบรรยากาศที่ดีช่วยเปิดฉากการเจรจาต่อรองอย่างเป็นมิตร แต่งตัวให้ดีทั้งตัว ควรดูแลทั้งผม รองเท้า เล็บ และเสื้อผ้าที่มีความเหมาะสมกับโอกาส ต่างๆ ภาพลักษณ์ที่ปรากฏจึงนับว่าเป็นสิ่งที่อีกฝ่ายจะใช้พิจารณาคุณขยับที่นั่งให้ความ สนใจ จะแสดงถึงว่าเรากาลังให้ความสนใจฟัง และพูดคุยกับอีกฝ่ายอย่างแข็งขันตื่นตัว มีกริยาท่าทางแบบเปิดรับ เหมือนกับจะรับฟัง จะพูดคุยพร้อมที่จะหารือ กริยา บางอย่างเช่นการเอามือกอดอกอาจทาให้อีกฝ่ายคิดว่าไม่ค่อยให้ความสนใจ
  35. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนับว่ามีความสาคัญต่อการเจรจาต่อรองใน หลายวัฒนธรรมการมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคลนับว่าสาคัญกว่าเนื้อหาการ เจรจาต่อรองด้วยซ้า แต่ในบางวัฒนธรรมก็อาจมองเรื่องของความสัมพันธ์เป็นเรื่อง รอง แต่อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์อันดีนับว่ามีผลต่อการเจรจาต่อรองทั้งในระยะสั้น และระยะยาว  หลักการสาคัญประการหนึ่งในการสานสัมพันธ์ก็คือการใช้คาพูดที่ฟังดูดีและมอง ภาพเชิงบวก ดังนั้น จึงไม่ควรใช้คาพูดแบบว่าระคายเคืองทาให้อีกฝ่ายรู้สึกขุ่นเคือง ได้ บางทีคาพูดที่ดูดีอาจสร้างความราคาญใจให้อีกฝ่ายก็ได้ อาทิ นี่นับเป็นข้อเสนอที่ กรุณาแล้ว ราคายุติธรรมและนี่เป็นการเตรียมการอย่างดีแล้ว เป็นต้น
  36. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  นอกจากนี้ยังมีอีกบางคาพูดที่ไม่ควรพูดในการเจรจาต่อรอง อาทิ Let’s negotiate this deal หากพูดลักษณะนี้จะก่อให้เกิดความรู้สึกเหมือนว่า กาลังจะฟาดฟันกัน ดังนั้น อาจพูดใหม่ให้ฟังดูดีขึ้น เช่น Let’s work out something that is good for bath of us หรือก็อาจจะพูดว่า Let’s discuss the concerns you have.  การเจรจาบางครั้งอาจนาไปสู่ทางตันแบบไม่รู้ว่าจะหารืออะไรต่อไปได้ ต่อไปนี้อาจ เป็นข้อเสนอแนะในการผ่าทางตัน
  37. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  สรุปการพูดอีกทีให้แน่ใจว่าถึงทางตันจริงๆ  ย้าเน้นในเรื่องของผลประโยชน์ร่วม  เน้นในเรื่องว่าเสียหายอะไรถ้าตกลงกันไม่ได้และสถานการณ์ที่คุณต้องการจะ หลีกเลี่ยง  ให้บรรลุการตกลงในหลักการ ให้เลื่อนประเด็นที่ยุ่งยากออกไปก่อน  พยายามหาดูว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องมาจากการที่อีกฝ่ายปิดบังอะไรอยู่หรือ เปล่า  เปลี่ยนรูปแบบของสัญญา  จัดให้มีการหารือแบบไม่เป็นทางการในโอกาสอื่น
  38. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  การผ่อนปรนในบางประเด็นที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดหมายมาก่อน  การจัดตั้งรูปคณะกรรมการศึกษาร่วมกัน  การเปลี่ยนสมาชิกหรือหัวหน้าทีม  การพูดคุยเพื่อหาว่าสองฝ่ายจะสนองต่อและหาทางออกแบบไม่ต้องผูกมัดมากตอน พูดคุยหารือ  เล่าเรื่องตลกบ้าง  พิจารณากาหนดเส้นตายสาหรับการหาทางออกซึ่งจะช่วยให้รู้สึกถึงความเร่งด่วน  ขอให้มีความอดทน  ขอให้ตระหนักไว้ว่าการพยายามสร้างความสัมพันธ์แม้ว่าในครั้งนี้จะไม่ได้นาไปสู่ ความสาเร็จของการเจรจาต่อรองแต่ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการสานต่อในการที่จะ ร่วมมือกันในโอกาสต่อไป
  39. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  ความซื่อสัตย์ของบุคคลนับว่ามีความสาคัญต่อความสาเร็จในการเจรจาต่อรองของ คุณใยที่นี้อาจจะไม่ได้พูดเกี่ยวกับมิติทางศาสนาแต่จะดูในเรื่องของการปฏิบัติ  ความซื่อสัตย์มีความสาคัญในแง่ว่าจะไม่มีใครบอกอะไรที่สาคัญแก่คุณหากเห็นว่า เป็นคนที่ไม่น่าไว้วางใจได้คงจะบอกข้อมูลคุณเฉพาะที่จาเป็นต้องบอกเท่านั้น  ความสาคัญประการที่ 2 ก็คือ ประเด็นเรื่องของความไว้เนื้อเชื่อใจในความซื่อสัตย์ หากว่าขาดความเชื่อมั่นไปแล้ว  ก็ยากที่จะเยียวยาให้กลับคืนมาดังเดิมได้คือ หากไม่ไว้วางใจกันแต่แรกแล้วก็ยากที่ จะไว้ใจได้ในคราวต่อไปลองนึกถึงคนที่คุณไม่ไว้วางใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการ ยากที่จะกลับมาไว้ใจได้อีกโดยง่าย
  40. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  บางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ที่เห็นว่าหากจะหลีกเลี่ยงปัญหาความไว้วางใจจึง เห็นว่าควรจัดทาสัญญาให้มีความชัดเจนเพื่อใช้อ้างอิงอย่างเป็นทางการดีกว่าแต่ใน หลายวัฒนธรรมเอกสารข้อตกลงสัญญามีความหมายน้อยกว่าความสัมพันธ์แสดง ความไว้วาใจที่มีต่อกันการยึดโยงและมีพันธะต่อสัญญาอาจไม่ได้รับความสาคัญสูง มากมายอะไรนักในหลายวัฒนธรรมอย่างกรณีมาเลเซียก็เห็นว่าต้องมีข้อกาหนดใน สัญญาที่จะสามารถจะมีทางออกได้ง่ายเพราะไม่การผูกติดกับสัญญามากเกินไป หรืออย่างในตะวันออกกลางที่มองว่าการทาธุรกิจขึ้นอยู่กับบุคคลและความไว้วางใจ เป็นสาคัญ
  41. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  การสร้างความไว้วางใจกันได้โดยเฉพาะในระดับระหว่างประเทศล้วนต้องใช้เวลา พอสมควรดังนั้นในการสนทนาบางครั้งจึงอาจมีการใช้คาพูดที่จะแสดงถึงว่าคุณเป็น ที่ซื่อสัตย์ไว้ใจได้ การใช้คาพูดเหล่านี้ไม่ควรที่จะใช้อย่างพร่าเพรื่ออาทิ “to be honest with you…..” (อาจสื่อความได้ว่าปกติแล้วคุณไม่ค่อยจะซื่อสัตย์ เท่าไหร่) หรือวลี “to tell you the truth…...”(แสดงว่าคุณไม่ค่อยพูด อะไรที่จริงใจ)  ดังนั้นไม่ว่ากรณีใดอย่างหนึ่งจะต้องสร้างความหน้าเชื่อถือไว้วางใจให้ได้และ แม้กระทั่งเจรจาไม่สาเร็จแต่ก็ให้รักษาความไว้วางใจให้ได้
  42. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  การมีการผ่อนปรนจะเป็นเหมือนช่องทางในการสื่อข้อมูลของคุณออกไปรวมทั้งสไตล์ และวิธีปฎิบัติในการต่อรองซึ่งจะเป็นตัวกาหนดสภาพการเจรจาว่าจะเป็นไปอย่างไร คู่เจรจาของคุณจะไม่ได้มองเพียงแต่การเจรจาต่อรองในครั้งนี้แต่เขาจะดูว่ารูปแบบ ของการเจรจาต่อรองของคุณอันสังเกตได้ จากการผ่อนปรนในครั้งนี้ก็จะเป็น ตัวกาหนดท่าทีการต่อรองในครั้งหน้าด้วย ดังนั้น ในการให้การผ่อนปรนแต่ละครั้งจึง ควรระวังให้มาก
  43. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  ต่อไปนี้เป็นข้อแนะนาเกี่ยวกับกรผ่อนปรน  ไม่ควรที่จะเป็นคนแรกที่จะให้ผู้ให้การผ่อนปรนในประเด็นที่สาคัญ  ห้ามยอมรับข้อเสนอแลกจากอีกฝ่ายโดยเด็ดคาด  ทาให้อีกฝ่ายลดระดับของการร้องขออย่าพยายามไปยึดโยงกับข้อเรียกร้องที่สูงนั้น โดยมีข้อเสนอฝ่ายคุณโต้ตอบไปกับระดับนั้น  ให้การผ่อนปรนเล็กๆน้อยๆ เพื่อให้อีกฝ่ายลดการคาดหวังลง  เมื่อให้การผ่อนปรนก็ขอให้ทาอย่างช้าๆ  ทาให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าได้รับการผ่อนปรนมากในขณะที่เราผ่อนปรนให้เพียงเล็กน้อย
  44. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  พยายามเลื่อนการผ่อนปรนออกไปโดยเฉพาะประเด็นสาคัญ  การให้การผ่อนปรบแบบไม่คาดฝัน (เช่น เมื่อเราได้รับผลตอบแทนบางอย่างกลับมา หรือประเด็นที่ต้องการตกฟากแล้ว)  เฉลิมฉลอง (เป็นการภายใน) เมื่อได้รับการผ่อนปรนมา ไม่ควรที่จะรู้สึกผิดอะไร  ไม่ควรที่จะต้องรู้สึกว่าต้องมีการตอบแทนการผ่อนปรนที่คุณได้รับทุกครั้งไป  ในการให้การผ่อนปรนเริ่มแรกนั้นจะมีความแตกต่างไปในแต่ละวัฒนธรรม เช่น ญี่ปุ่น ดูจากการผ่อนปรนในช่วงเริ่มแรกไม่มากนัก เมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกาหรือ บราซิล  บางทีคุณอาจเผชิญกับข้อตอบโต้ที่ว่าต้องการให้คุณมีการผ่อนปรน เพื่อให้เกิดความ เป็นธรรม หากคุณพบเข้ากับข้อตอบโต้นี้ก็ไม่ควรที่จะเชื่ออีกฝ่ายเพราะนี่คือกลวิธี อย่างหนึ่ง
  45. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  การเจรจาต่อรองข้ามชาตินับว่าใช้เวลามากกว่าการเจรจาต่อรองทั่วไปในครั้งนี้ความ อดทนจึงนับเป็นคุณธรรมที่จาเป็นที่จะช่วยให้เกิดประโยชน์คือจะช่วยให้ได้ข้อมูล ข่าวสารจากอีกฝ่าย เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ส่งสัญญาณของความเอื้อเฟื้อ และ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการที่คุณจะทาการผ่อนปรนได้อย่างมรประสิทธิภาพมากขึ้น ว่า ไปแล้วคนที่ไม่อดทนก็คือคนที่พยายามผ่อนปรนและมักมีข้อเสนอโต้กับอีกฝ่ายเร็ว เกินไป นักเจรจาต่อรองที่มีทักษะจะมีข้อเสนอตอบโต้ (Counterproposal) ไม่มากนัก
  46. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  แน่นอนว่าอีกฝ่ายย่อมใช้กลวิธีเดียวกันคือความอดทนในการโต้ตอบกลับคุณเพื่อทา ให้คุณเกิดความกังวลใจเหมือนกัน ทางแก้ในเรื่องนี้คือ คุณควรที่จะต้องเตรียมให้มี เวลาที่พอเพียงไม่กดดันจนเกินไป ขอให้ทาตัวผ่อนคลายสบายๆ ขอให้เตรียมคนของ ตนในประเทศให้พร้อมกับข้อต่อรองที่ยาวนาน ขอให้ตระนักเช่นกันว่าอีกฝ่ายก็ย่อมที่ จะแข็งแกร่งและอาจมีมากกว่าคุณ และขอให้พิจารณาเร่องการกาหนดเส้นตายให้ดี
  47. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  การเข้าใจวัฒนธรรมของอีกฝ่ายรวมทั้งตัวคุณนับว่าเป็นสิ่งสาคัญที่จะทาให้ช่องว่างของทั้ง 2 ฝ่ายแคบลง ให้ทุกขั้นตอนของการเจรจาต่อรองควรที่จะมองผ่ายเลนส์ของวัฒนธรรม ของประเทศที่คุณเจรจาด้วยความเข้าใจในวัฒนธรรม ต้องเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนแรกๆ และก็ จาเป็นต้องทราบทั้งวัฒนธรรมในเชิงมิติของสังคมตั้งแต่การทักทายจนไปถึงเรื่องของธุรกิจ แนวทางวัฒนธรรมต่างๆที่ควรเรียนรู้และมีความสาคัญของประเทศต่างๆ ปรากฏในท้ายบท ของหนังสือ  หลักการสาคัญในเชิงวัฒนธรรมนั้นเราล้วนเติบโตมาภายในใต้หลักการที่ว่าไปแล้วก็อาจจะ คล้ายๆ กับชนชาติอื่นๆ ยกเว้นหลักการที่ว่า “ทาอะไรให้คนอื่นแบบว่าอยากให้คนอื่นทากับ เรา” นั่นเองอะไรที่เราไม่อยากให้ใครทากับเราแบบนั้นเราก็ไม่ควรทากับคนอื่นเช่นกัน เรา รู้จักที่จะกระทากับคนอื่นว่าควรทาอย่างไรเพราะเราได้เรียนรู้มาแล้วซึ่งก็นับว่าคนแต่ละชาติ ก็จะมีอะไรที่คล้ายๆ กัน การที่สองฝ่ายหารปรับตัวเข้าอยู่ในเขตที่ผ่อนคลาย สบายด้วยกัน ทั้งคู่การเจรจาต่อรองก็นับว่าจะง่ายไปอีเปลาะหนึ่งแล้ว
  48. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  สิ่งสาคัญประการถัดมาก็คือพยายามทาตัวเราให้กลมกลืนหรือแทบเป็นแบบ วัฒนธรรมท้องถิ่นก็จะเป็นการดี การที่เราเห็นฝรั่งยกมือไหว้ กล่าวขอบคุณเป็น ภาษาไทย หากมีกริยาแบบคนไทย เราย่อมมีความนิยมอยู่ในใจและก็จะมีทัศนคติที่ ดีต่อชาวต่างชาติคนนั้น แต่ไม่ต้องห่วงถึงขนาดนั้นที่ว่าจะต้องทาอะไรที่เหมือนเป๊ ะ เช่น การจับมือทักทายบางประเทศอาจจะต้องจับกันอย่างกระชับแน่น แต่ถ้าเราจะ จับแบบหลวมไปบ้างก็พอไหว เพราะท้ายที่สุดแล้วเราย่อมผ่อนปรนหรือไม่ถือสากับ ชาวต่างชาติที่อาจทาอะไรที่ผิดแบบแผน (ในสายตาของเรา) ไปบ้างก็ย่อมให้อภัย
  49. ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ  มีกฎบางข้อที่คุณควรตระหนักเหมือนกันและควรระวังโดยเฉพาะการไม่ไปหัวเราะ เยาะหรือดูถูกวัฒนธรรมอีกฝ่าย (ไม่เห็นด้วย รู้สึกรังเกียจก็ควรเก็บไว้ในใจ) หรือ แสดงอาการที่ไม่ควรจนออกนอกหน้า เพราะจะทาให้อีกฝ่ายรู้สึกกระอักกระอ่วนใจ เว้นแต่ว่าสนิทกันมากแล้วกรณีอย่างนั้น อาจแสดงอาการและความเห็นออกไปได้ ย่อมไม่ถือสากันแน่
Publicité