Ce diaporama a bien été signalé.
Le téléchargement de votre SlideShare est en cours. ×

เอกสารศึกษาการสร้างการสร้างประชาธิปไตยทำอย่างไร จึงจะถูกต้องตามหลักวิชาที่แท้จริง ของข

Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
การสร้างประชาธิปไตยทาอย่างไรจึงจะถูกต้องตามหลักวิชาที่แท้จริง
เรื่อง การสร้างประชาธิปไตยทาอย่างไร
เขียนโดยอาจารย์วันชัยพรห...
ขัดแย้งของคนในชาติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นไปอีกในท่ามกลางความต้องการประชาธิปไตยของประชาชนเช่นนี้
ได้สร้างความสับสนให้แก่พี่น้...
ที่ไม่ใช่เป็นการปกครองของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประชาชนดังนั้นการเลือกตั้งทั่วไป
จึงไม่ใช่ทางออกของชาติในสถานการณ์เช่นนี้
4...
Publicité
Publicité

Consultez-les par la suite

1 sur 14 Publicité

เอกสารศึกษาการสร้างการสร้างประชาธิปไตยทำอย่างไร จึงจะถูกต้องตามหลักวิชาที่แท้จริง ของข

Télécharger pour lire hors ligne

เอกสารศึกษาการสร้างการสร้างประชาธิปไตยทำอย่างไร จึงจะถูกต้องตามหลักวิชาที่แท้จริง ของขบวนการกรรมกร ชาวนา ชาวไร่ไทย ฯ

เอกสารศึกษาการสร้างการสร้างประชาธิปไตยทำอย่างไร จึงจะถูกต้องตามหลักวิชาที่แท้จริง ของขบวนการกรรมกร ชาวนา ชาวไร่ไทย ฯ

Publicité
Publicité

Plus De Contenu Connexe

Similaire à เอกสารศึกษาการสร้างการสร้างประชาธิปไตยทำอย่างไร จึงจะถูกต้องตามหลักวิชาที่แท้จริง ของข (20)

Plus par Thongkum Virut (20)

Publicité

เอกสารศึกษาการสร้างการสร้างประชาธิปไตยทำอย่างไร จึงจะถูกต้องตามหลักวิชาที่แท้จริง ของข

  1. 1. การสร้างประชาธิปไตยทาอย่างไรจึงจะถูกต้องตามหลักวิชาที่แท้จริง เรื่อง การสร้างประชาธิปไตยทาอย่างไร เขียนโดยอาจารย์วันชัยพรหมภา การเมืองบ้านเราในสถานการณ์ปัจจุบันโดยเกิดการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยอย่างกว้างขวางใหญ่โต ประชาชนทั่วไปมีการเรียกร้องประชาธิปไตยกันอย่างยืดเยื้อยาวนานชนิดที่ไม่เคยปรากฏมา ก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทยความต้องการประชาธิปไตยของพี่น้องประชาชนที่เป็นอยู่นี้เป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่า ประเทศไทยมีการปกครองแบบเผด็จการที่ไม่อาจจะปิดบังอาพรางกันได้อีกต่อไปแล้ว การต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนเป็นกระแสร้อนแรงไปทั่วทุกหย่อมหญ้า และพร้อมที่จะพังทลายทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นอุปสรรคขวางหน้า ในสถานการณ์ที่ประชาชนมีความต้องการประชาธิปไตยเช่นนี้ได้มีกลุ่มการเมืองและคณะการเมืองหลากหลาย ได้เข้ามามีบทบาทในการนาประชาชนเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยตามทรรศนะที่ตนต้องการ โดยไม่เอื้อเฟื้อต่อหลักการและหลักวิชาจึงทาให้การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชนล้มเหลวซ้าแล้วซ้าเล่า ซึ่งขณะนี้นอกจากจะทาให้บ้านเมืองไม่มีทางออกแล้วยังกลับส่งผลร้ายให้ความ
  2. 2. ขัดแย้งของคนในชาติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นไปอีกในท่ามกลางความต้องการประชาธิปไตยของประชาชนเช่นนี้ ได้สร้างความสับสนให้แก่พี่น้องประชาชนเป็นอย่างมากว่าทรรศนะประชาธิปไตยแบบไหนคือความถูกต้อง ทรรศนะแบบไหนคือสิ่งที่ควรทาหรือไม่ควรทากล่าวโดยสรุปก็คือประชาชนต้องการทราบว่า การสร้างประชาธิปไตยที่ถูกต้องทาอย่างไรหรือต้องมีความเข้าใจเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ถูกต้องและนาไปสู่การแก้ปัญหาของชาติได้ ปัญหานี้จึงเป็นที่มาของการจัดสัมมนาในวันนี้ ปัญหาประชาธิปไตยนั้นเกี่ยวเนื่องด้วยหลักวิชาโดยสังกัดอยู่ในวิชาการเมืองหรือรัฐศาสตร์ (Political Science) ซึ่งมีหลักการและกฎเกณฑ์ที่จะต้องมีความเข้าใจและยึดถืออย่างเคร่งครัดมากมายซึ่งเราจะคิดจะพูด จะทาเอาตามชอบใจมิได้เลย การจะสร้างประชาธิปไตยให้สาเร็จได้นั้นนอกจากจะต้องมีความเข้าใจในลัทธิประชาธิปไตย(Democracy) เป็นพื้นฐานแล้วยังจะต้องประกอบด้วยความเข้าใจปัญหาและอุปสรรคต่างๆที่เป็นเงื่อนไขสาคัญอีกหลายประการ อาทิเช่น 1. เราต้องเข้าใจว่าปัญหาพื้นฐานของชาติคือระบอบเผด็จการ(Dictatorial Regime) กล่าวคือ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 แล้วประเทศของเราก็ยังคงมีการปกครองแบบเผด็จการตลอดมา เป็นเวลา80 ปี ซึ่งเป็นเรื่องง่ายๆประชาชนธรรมดารู้และรู้สึกได้เป็นอย่างดีแต่นัก วิชาการและนักการเมืองในบ้านเรากลับไม่รู้ ซึ่งนอกจากไม่รู้แล้วยังหลอกให้ประชาชนรู้ผิดๆอีกด้วย 2. การสร้างประชาธิปไตยหรือการปฏิวัติประชาธิปไตยนั้นประชาชนต้องทาด้วยตนเองโดยการทาให้ อานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน(Sovereigntyof the PeopleหรือPopularSovereignty) มิใช่การเรียกร้องให้เอารัฐธรรมนูญปี 2540 กลับมาและเอารัฐธรรมนูญปี 2550 คืนไป และก็มิใช่การ เปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือการทาให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตยหรือการโค่นรัฐบาลหรือโค่นอามาตยาธิปไตย หรือยุบสภาคืนอานาจให้ประชาชนแต่อยู่ที่ประชาชนต้องร่วมกันโค่นระบอบเผด็จการ 3. เสนอเรื่อง การปฏิวัติในสถานการณ์ปฏิวัติปัจจุบันเป็นสถานการณ์ปฏิวัติเป็นสถานการณ์ ที่ต้องเปลี่ยน ระบอบเผด็จการให้เป็นระบอบประชาธิปไตยไม่ใช่แค่เปลี่ยนรัฐบาลเท่านั้นเป็น สถานการณ์ที่ยังไม่เหมาะสมสาหรับการเลือกตั้งทั่วไปเพราะเป็นสถานการณ์ที่ประชาชนปฏิเสธการปกครอง
  3. 3. ที่ไม่ใช่เป็นการปกครองของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประชาชนดังนั้นการเลือกตั้งทั่วไป จึงไม่ใช่ทางออกของชาติในสถานการณ์เช่นนี้ 4. แยก การปฏิวัติ(Revolution) ออกจากรัฐประหาร(Coupďé tat) อย่างเด็ดขาดทั้งนี้ เพราะการปฏิวัติหมายถึงทาสิ่งที่ไม่ดีให้ดีขึ้นเป็นการพัฒนาและสร้างสรรค์ในทางการเมืองหมายถึง การเปลี่ยนระบอบเผด็จการเป็นระบอบประชาธิปไตยส่วนรัฐประหารหมายถึงการใช้กาลังอาวุธยึด อานาจรัฐโดยผิดกฎหมายจึงไม่ควรเอา 2คานี้มาปะปนกันเพราะการเห็นรัฐประหารเป็นการปฏิวัตินั้น เป็นอุปสรรคที่สาคัญของการสร้างประชาธิปไตยกลายเป็นอาชญากรรมทางวุฒิปัญญา 5. การเรียกร้องลัทธิรัฐธรรมนูญ(Constitutionalism) หรือการเรียกร้องให้มีการแก้ไข รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยของนักวิชาการโดยไม่เรียกร้องลัทธิประชาธิปไตย(Democracy) นั้น เป็นการพ่นพิษใส่ประชาชนทั้งนี้เพราะเป็นอุปสรรคที่สาคัญอย่างที่สุดของการสร้างประชาธิปไตยสาหรับประเทศไทย ในทางวิชาการเรียกขบวนการทางการเมืองเช่นนี้ว่าพวกปฏิปักษ์ปฏิวัติ(CounterRevolutionary) หรือ พวกปฏิวัติซ้อนหมายถึงพวกปฏิวัติเพื่อทาลายการปฏิวัติ 6. ใน ระบบทุนนิยม(CapitalismSystem) ในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ถ้าตราบใดที่ชนชั้นกรรมกรซึ่งเป็น ชนชั้นล่าง ยังไม่มีการผลักดัน(PressureGroup) การสร้างประชาธิปไตยตราบนั้นก็เป็นอันเชื่อได้ว่า จะยังไม่มีระบอบประชาธิปไตยที่เป็นจริงเกิดขึ้นได้เลยทั้งนี้ก็เพราะว่าระบบทุนนิยม และระบอบประชาธิปไตยจะดารงอยู่ได้ ก็แต่โดยความร่วมมือระหว่างกรรมกรกับนายทุนเท่านั้น ขาดข้างใดข้างหนึ่งก็จะไม่มีระบบทุนนิยมและถ้ากรรมกรไม่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยก็จะไม่มี ระบอบประชาธิปไตย 7. การสร้างประชาธิปไตยจาเป็นต้องมีห้วงเวลาในการเปลี่ยนแปลงในทางวิชาการเรียกว่าระยะเปลี่ยนผ่าน (TransitionPeriod) หรือช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อความล้มเหลวหรือความสาเร็จของ การสร้างประชาธิปไตยก็จะอยู่ที่ตรงจุดนี้ซึ่งเป็นภารกิจที่สาคัญของรัฐบาลเฉพาะกาล(Provisional Government) หรือรัฐบาลชั่วคราว(InterimGovernment)ไม่ใช่เป็นภารกิจของรัฐบาลรักษาการณ์ (CaretakerGovernment) ซึ่งไม่มีอานาจหรือรัฐบาลที่มาจากพรรคการเมืองดังเช่นในกรณีพรรคประชาธิปัตย์ กับพรรคร่วมรัฐบาลที่เป็นอยู่ในขณะนี้เพราะเป็นพรรคปฏิกิริยา(Reactionary) เป็นขบวนการที่ล้าหลัง(Backward) ไม่ใช่ขบวนการปฏิวัติ(Revolutionary) หรือขบวนการก้าวหน้า(Progressive) จึงเป็นอุปสรรคที่สาคัญที่สุดของการสร้างประชาธิปไตย
  4. 4. 8. เสนอการปฏิวัติสันติ (Peaceful Line) ทั้งนี้เป็นเพราะการปฏิวัติประชาธิปไตยสาหรับประเทศไทยนั้น มีกฏเกณฑ์ที่แน่นอนคือจะสาเร็จได้ก็แต่การปฏิวัติสันติเท่านั้นมิอาจสาเร็จได้ด้วยการปฏิวัติแนวทางรุนแรง(Violent Line) และการเคลื่อนไหวมวลชนเช่นที่ผ่านมาทั้งนี้เพราะว่าการเคลื่อนไหวปฏิวัตินั้น สาหรับประเทศไทยนอกจากต้องใช้แนวทางสันติแล้วการเคลื่อนไหวปฏิวัติยังจะต้องประกอบด้วย 1) การเคลื่อนไหวทางความคิด 2) การเคลื่อนไหวทางหลักการ 3) การเคลื่อนไหวทางการจัดตั้ง 9. การสร้างประชาธิปไตยหัวใจที่สาคัญอยู่ที่“แนวทาง”หรือ“มรรควิธี”(Method) มิใช่อยู่ที่ “เจตนาดี” หรือคาพังเพยของฝรั่งที่ว่า“GoodIntentionPavesthe WaytoHell” และสาระสาคัญของแนวทางก็คือ อธิปไตยของปวงชนและ เสรีภาพของบุคคลเช่นเดียวกับสาระสาคัญของนโยบาย66/23 ที่มีประสิทธิภาพในการยุติสงครามกลางเมืองลงได้ ก็คือ“การขยายเสรีภาพของบุคคล”และ“ขยายอธิปไตยของปวงชน” ให้ปรากฏเป็นจริง... แต่ในปัจจุบันอยู่ที่ต้องทาให้ เสรีภาพของบุคคลและ อธิปไตยของปวงชนให้เป็นจริงเพียงอย่างเดียวเท่านั้นมิใช่อยู่ที่การขยายให้เป็นจริงซึ่งก็จะแก้ ปัญหาของชาติทั้งปวงได้เช่นเดียวกับนโยบาย 66/23 10. การจะสร้างประชาธิปไตยให้สาเร็จได้นั้นเราจะต้องมีความเข้าใจความหมายของประชาธิปไตยใน 2 ลักษณะคือลักษณะทั่วไปและลักษณะประยุกต์ลักษณะทั่วไปคือปัญหา หลักการและหลักวิชาของลัทธิประชาธิปไตย แต่ความรู้ความเข้าใจแค่นี้ยังไม่พอเรายังต้องมีความเข้าใจประชาธิปไตยในลักษณะประยุกต์อีกด้วยกล่าวคือ เราต้องสามารถประยุกต์หลักการและหลักวิชาอันเป็นหลักสากลให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ของสังคมไทยให้ได้อีกด้วย ถ้าเรายังแก้ปัญหานี้ไม่ตกเราก็จะสร้างประชาธิปไตยให้เป็นจริงไม่ได้
  5. 5. 11. เราต้องเข้าใจว่าประชาธิปไตยนั้นมีหลายแบบคือประชาธิปไตยแบบตะวันตกซึ่งเป็น ประชาธิปไตยในแบบของประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นร้อยๆปี กับประชาธิปไตยในแบบของประเทศที่ กาลังพัฒนามีลักษณะต่างกันเราจึงไม่อาจจะเอาประชาธิปไตยแบบตะวันตกมาใช้กับประเทศด้อยพัฒนาหรือ ประเทศที่กาลังพัฒนาได้เลยเพราะมันเข้ากันไม่ได้ เราจึงจาเป็นต้องคิดสร้างประชาธิปไตยให้เป็นแบบของเราขึ้นมาเอง ที่เรียกกันว่าประชาธิปไตยแบบไทยเหตุที่การสร้างประชาธิปไตยในบ้านเราล้มเหลวมายาวนาน ก็เพราะว่าคณะราษฎรเอาประชาธิปไตยในแบบของประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งดุ้นมาครอบประเทศไทยเอาไว้ และนักร่างรัฐธรรมนูญคณะต่อๆมาก็ถนัดแต่จะลอกแบบประชาธิปไตยของประเทศอื่นๆมาใช้ทั้งสิ้น โดยไม่เคยคิดสร้างแบบของเราขึ้นมาใช้ เองเลยจึงทาให้ประชาธิปไตยบ้านเราล้มเหลวมาจนทุกวันนี้ 12. เราต้องเข้าใจว่าประชาธิปไตยนั้นมีทั้งด้านเนื้อแท้ และด้านรูปแบบภายนอกด้านเนื้อแท้ คือหลักการ คือคาจากัดความที่ท่านอับราฮัมลินคอร์นได้ประกาศไว้คือการปกครองของประชาชนโดยประชาชนและเพื่อประชาชน ซึ่งเป็นด้านที่สาคัญที่สุดด้านรูปแบบภายนอกคือการมีรัฐธรรมนูญมีการเลือกตั้งและมีการเคลื่อนไหวต่างๆ ตามแบบประชาธิปไตยเราต้องเข้าใจว่าด้านรูปแบบภายนอกจะมีความหมายต่อความเป็นประชาธิปไตยได้ ก็ต่อเมื่อหลักการซึ่งเป็นด้านเนื้อแท้นั้นปรากฏเป็นจริงแล้วเท่านั้น 13. เราต้องเข้าใจว่าการเลือกตั้งเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่จะบรรลุผลให้มีการปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชนปรากฏเป็นจริงแต่ในสภาพแวดล้อมอย่างหนึ่งการ เลือกตั้งกลับกลายเป็นอุปสรรคต่อการเป็นประชาธิปไตยดังนั้นเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของความ เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงเราจึงจาเป็นต้องระงับการเลือกตั้งไว้ก่อนและเราจะต้องเข้าใจว่าการไม่ มีผู้แทนที่ราษฎรเลือกตั้งมานั้นก็ไม่ได้หมายถึงว่าจะไม่เป็นประชาธิปไตยถ้าหากฝ่ายปกครองมีวิธีการต่างๆ ที่จะรวบรวมเอาความคิดเห็นของประชาชนมาทาการปกครองได้มากเพียงใดทาให้ ประชาชนได้รับผลประโยชน์อย่างทั่วถึงการปกครองนั้นก็จะเป็นประชาธิปไตยมากเพียงนั้นผู้แทน ราษฎรซึ่งราษฎรเลือกตั้งมาโดยตรงแต่กลับไม่ทาหน้าที่ผู้แทนต่างหากเล่าที่ไม่เป็นประชาธิปไตย 14. การที่เราจะสร้างประชาธิปไตยได้ เราจาเป็นต้องมีความเข้าใจความหมายของคาว่าเผด็จการและคาว่า อนาธิปไตยด้วย การเมืองในบ้านเราดูภายนอกจะเห็นว่าการที่มีรัฐธรรมนูญมีการเลือกตั้ง มีการเคลื่อนไหวของพรรคการเมืองดูเหมือนว่าเป็นประชาธิปไตยแต่ถ้าดูเนื้อในก็จะเห็นว่าแท้จริงแล้วเป็นอนาธิปไตย หรือไม่ก็ เป็นเผด็จการทั้งอนาธิปไตยและเผด็จการก็ล้วนเป็นภัยต่อประชาชนทั้ง2 อย่างทหารเป็นเผด็จการ
  6. 6. เรามีความเข้าใจกันเป็นอย่างดีแต่พรรคการเมืองนามาซึ่งอนาธิปไตยทุกครั้งที่เข้ามามีอานาจเรากลับไม่เข้าใจกัน และยังกลับเห็นว่าอนาธิปไตยเป็นประชาธิปไตยเสียอีกด้วย 15. เราต้องเข้าใจความหมายของประชาธิปไตยโดยมี2นัยคือโดยนัยอันแคบและโดยนัยอันกว้าง โดยนัยอันแคบคือความหมายประชาธิปไตยในทางการเมืองโดยนัยอันกว้างหมายถึงระบบประชาธิปไตย (DemocraticSystem) คือหมายถึงระบบสังคมทั้งระบบซึ่งประกอบด้วยการเมือง-เศรษฐกิจ-สังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งเรื่องอื่นๆอีกมากมายไม่ใช่มองกันที่ต้องมี รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งเท่านั้น การทาให้เกิดประชาธิปไตยโดยนัยอันกว้างเท่านั้นที่จะเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง 16. เราต้องเข้าใจว่าประชาธิปไตยของไทยนั้นต้องมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ เพราะองค์พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะ“อเนกชนนิกรสโมสรสมมุติ”โดยเฉพาะประเทศไทยมีการปกครองแบบ รัฐเดียว(UnitaryState) ซึ่งต้องใช้การปกครองด้วยวิธี“รวมอานาจการปกครอง”(Centralizationof Administrative Power) จะใช้ การกระจายอานาจการปกครองมิได้ และจะกาหนดให้ นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้งมิได้ เพราะผิดหลักวิชารัฐศาสตร์อย่างร้ายแรง และการจะสร้างประชาธิปไตยให้สันติได้ก็แต่พระราชอานาจของพระมหากษัตริย์เท่านั้น 17. เราต้องเข้าใจว่าการสร้างประชาธิปไตยของคณะราษฎรล้มเหลวนั้นก็ด้วยเหตุสาคัญ2ประการ ทั้งในทางการเมืองและทางเศรษฐกิจในการวางแผนเศรษฐกิจนั้นเหตุที่ล้มเหลวก็เพราะว่าเอียงไปทางซ้ายสุดไม่ใช่ ระบบเสรีนิยมเมื่อผิดพลาดแล้วคณะราษฎรก็ไม่ได้กาหนดแผนใหม่ขึ้นมาแทน กลับปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรมในทางการเมืองล้มเหลวเพราะว่านอกจากหลัก6 ประการของคณะราษฎรขาดหลักอธิปไตยของปวงชนแล้วยังไปนาเอารัฐธรรมนูญจากตะวันตกซึ่งเป็นคนละกรอบ มาครอบประเทศไทยไว้อีกด้วยซึ่งไม่สามารถเข้ากันได้กับสภาวการณ์ทางประวัติศาสตร์และทางสังคมของประเทศไทย จึงทาให้โน้มเอียงไปไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่งกล่าวคือถ้าไม่เป็นเผด็จการก็เป็นอนาธิปไตย 18. เราต้องเข้าใจว่าประชาธิปไตยกับเสถียรภาพทางการเมืองเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันมิได้ ประเทศจะเป็นประชาธิปไตยได้ ต้องทาให้เกิดเสถียรภาพทางการเมืองและการจะทาให้เกิดเสถียรภาพทางการเมืองได้นั้น ต้องขจัดความเป็นเผด็จการและอนาธิปไตยและหลักการที่จะทาให้ เผด็จการกับอนาธิปไตยหมดไปก็คือการทาให้หลัก อานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนกับบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ มีความสมดุลกันทั้งนี้ก็เพราะว่า ถ้ามีอานาจอธิปไตยมากเกินไปก็เป็นเผด็จการและถ้ามีเสรีภาพมากเกินไปก็เป็นอนาธิปไตย
  7. 7. 19. การที่นักวิชาการและนักการเมืองตั้งสูตรว่าทหารเป็นเผด็จการและพลเรือนเป็นประชาธิปไตยนั้น ไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริงและหลักวิชาเพราะโดยข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์แล้ว ยอดนักเผด็จการของโลกล้วนแต่เป็นพลเรือนทั้งสิ้นไม่ว่าฮิตเลอร์ มุสโสสินีหรือโงดินห์เดียมฯลฯและตามหลักวิชาแล้ว คาว่าระบอบอะไรหมายถึงอานาจเป็นของใครเช่นระบอบประชาธิปไตยหมายถึงอานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน และระบอบเผด็จการหมายถึงอานาจอธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อยซึ่งชนส่วนน้อยนั้นอาจจะเป็นพรรคทหาร หรือเป็นพรรคของพลเรือนก็ได้ทั้งสิ้น 20. เราต้องเข้าใจว่าการสร้างประชาธิปไตยเป็นคนละเรื่องกับการสร้างรัฐธรรมนูญและก็ยังไม่เคยมีที่ไหนในโลก ที่เอารัฐธรรมนูญมาสร้างประชาธิปไตยสาเร็จได้เลยมีแต่ต้องสร้างประชาธิปไตยก่อนแล้ว จึงสร้างรัฐธรรมนูญขึ้นมารักษาความเป็นประชาธิปไตยแต่บ้านเรากลับดัน ทุลังจะสร้างรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยให้ได้ แสดงให้เห็นถึงความวิปริตพุทธิ 21. ในกรณีที่เริ่มต้นสถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตยหรือที่เรียกว่าการสร้างประชาธิปไตยนั้น เป็นการปฏิวัติหรือการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นดังนั้นหากมีความจาเป็นต้องใช้กาลังไม่ว่ารูปแบบไหน ก็เป็นที่ยอมรับกันโดยหลักนิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ ว่าเป็นความถูกต้องชอบธรรม 22. ในสถานการณ์ปฏิวัติเราจะต้องทาความรู้จักกับขบวนการเมือง(Political Movement) ที่สาคัญในประเทศไทยด้วยคือ 1) ขบวนการปฏิวัติประชาธิปไตย 2) ขบวนการเผด็จการ 3) ขบวนการปฏิวัติสังคมนิยม 4) ขบวนการรัฐธรรมนูญ
  8. 8. ขบวนการเผด็จการมีความมุ่งหมายเพื่อสร้างประชาธิปไตยมีนายทุนที่ก้าวหน้าร่วมมือกับขบวนการกรรมกร เป็นกาลังพื้นฐาน ขบวนการเผด็จการมีความมุ่งหมายเพื่อรักษาระบอบเผด็จการมีพรรคการเมืองเป็นผู้แทนของชนส่วนน้อย ซึ่งเป็นพรรคของชนชั้นสูงและพรรคของชนชั้นกลางโดยปฏิเสธการร่วมมือกับชนชั้นล่าง ขบวนการปฏิวัติสังคมนิยมเป็นขบวนการปฏิวัติที่แข่งกับขบวนการประชาธิปไตยโดยมี ความมุ่งหมายไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์มีชนชั้นกรรมาชีพเป็นกาลังสาคัญเพื่อทาลายชนชั้นและชนชั้นกลาง ขบวนการรัฐธรรมนูญมีความมุ่งหมายเพื่อรักษาระบอบเผด็จการโดยไม่รู้ตัวเป็นขบวนของนักวิชาการ และเป็นขบวนการที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างประชาธิปไตยอย่างที่สุดเป็นปฏิปักษ์ต่อ กระบวนการประชาธิปไตยร้ายแรงยิ่งกว่าขบวนการเผด็จการถ้าขบวนการนี้หยุดการเคลื่อนไหวรัฐธรรมนูญเมื่อใด ประเทศไทยก็จะเป็นประชาธิปไตยเมื่อนั้น 23. ในสถานการณ์ขณะนี้เป็นสถานการณ์ปฏิวัติคือประชาชนขัดแย้งกับระบอบเผด็จการ จึงเกิดการเคลื่อนไหวของประชาชนกดดันระบอบเผด็จการอย่างรุนแรงแต่บรรดานักการเมืองต่างๆซึ่งเป็นฝ่ ายเผด็จการ ไม่ต้องการเปลี่ยนอานาจอธิปไตยให้เป็นของประชาชนจึงแบ่งขบวนการเผด็จการออกเป็น 2ขั้ว แล้วระดมสรรพกาลังเข้าต่อสู้กันเองเพื่อต้องการเบี่ยงเบนกระแสปฏิวัติของประชาชน หมายความว่าการเคลื่อนไหวมวลชนไม่ว่าจะใส่เสื้อสีอะไรก็ตามจะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตามเป็นปฏิวัติ (Revolution) เสมอแต่มีการนาเป็นปฏิกิริยา(Reaction) ดังนั้นถ้ากระแสปฏิวัติของประชาชนมีความรุนแรงมากเท่าใด ก็จะยิ่งส่งผลให้ฝ่ ายเผด็จการต่อสู้กันเองอย่างรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าฝ่ ายไหนเป็นผู้ชนะก็จะหลอกพาประชาชนไปสร้างรัฐธรรมนูญใหม่โดยไม่สร้างประชาธิปไตย ประชาชนจะต้องผ่านบทเรียนเหล่านี้ก่อนทั้งสิ้นไม่ว่าในประเทศไหนก่อนที่จะได้ ประชาธิปไตยที่แท้จริง 24. เราต้องเข้าใจว่าไม่ว่าในส่งหรือปรากฏการณ์ใดๆ“เนื้อหา”(Content) กับ“รูปแบบ” (Form) ย่อมเป็นเอกภาพกันแยกออกจากกันมิได้ ถ้าเนื้อหากับรูปแบบแยกออกจากกันก็จะไม่มีสิ่งนั้นปรากฏการณ์นั้นๆ
  9. 9. เช่นเดียวกันถ้าหลักการปกครอง(Principle of Government)กับรูปการปกครอง(Formsof Government) แยกออกจากกันก็จะไม่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย(DemocraticGovernment) กล่าวอีกนัยหนึ่ง ถ้าระบอบประชาธิปไตยกับระบบรัฐสภาแยกออกจากกันหรือขาดข้างใดข้างหนึ่งก็จะไม่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย ภายใต้สภาวการณ์ อนาธิปไตย(Anarchism)ของประเทศไทยโดยมีรัฐบาลอภิสิทธิ์เป็นผู้ ปกครองอยู่ในขณะนี้ นอกจากหลักการปกครองไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยแล้วรูปการปกครองก็ยังไม่ใช่ระบบรัฐสภาอีกด้วย จึงส่งให้วิกฤติของชาติในครั้งนี้มีความรุนแรงอย่างที่สุดและหาทางออกไม่ได้ ถ้าทุกพรรคการเมืองเห็นแก่ชาติบ้านเมืองตามที่พูดจริงจะต้องวางมือทางการเมืองชั่วคราว และเปิดทางให้รัฐบาลเฉพาะกาลเข้ามาแก้ปัญหาของชาติแทนประเทศชาติก็จะมีทางออก 25. เราต้องเข้าใจว่าในประวัติศาสตร์สมัยใหม่เศรษฐกิจได้เปลี่ยนเป็นระบบเสรีนิยม(LiberalismSystem) โดยมีระบอบประชาธิปไตย(DemocraticRegime)เกิดขึ้นและตั้งอยู่บนรากฐานของระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม เมื่อมีการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมมันก็จะผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยอย่างกว้างขวาง และเป็นไปเอง ถ้าหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นประชาธิปไตยก็จะส่งผลให้ความขัดแย้งระหว่าง “ประชาชน” กับ“ระบอบ เผด็จการ”พัฒนาขึ้นเป็นความรุนแรงและถ้ามีอุปสรรคขัดขวาง การเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นประชาธิปไตยเมื่อใดมันก็จะระเบิดขึ้นเป็นสงครามกลางเมือง(Civil War) มวลชนลุกขึ้นสู้ (Mass Uprising) นาความหายนะมาสู่ชีวิตและทรัพย์สินของประเทศชาติและประชาชน 26. เราจะต้องเข้าใจว่าแนวทางสร้างประชาธิปไตยที่ถูกต้องของประเทศไทยนั้นคือแนวทาง ของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่รัชกาลที่5,6, 7 เป็นต้นมา เป็นวิวัฒนาการของการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยในประเทศไทย ร้อยกว่าปีจนถึงปัจจุบันโดยมีความมุ่งหมายเพื่อสถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตยตามแบบยุโรปและญี่ปุ่น เพราะอยู่ในรุ่นเดียวกันกล่าวคือญี่ปุ่นสถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตยสาเร็จเมื่อพ.ศ. 2432 ภายหลังความสาเร็จสมบูรณ์ของมหาปฏิวัติฝรั่งเศสเพียง15 ปี คือปี พ.ศ. 2414 โดยที่ประเทศไทยก็เริ่มเคลื่อนไหวประชาธิปไตยมาพร้อมๆกับญี่ปุ่นใน รัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิมัตซูฮิโต โดยพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดาเนินการปฏิวัติประชาธิปไตยซึ่งในขณะนั้นเรียกทับศัพท์ว่า “เรโวลูชั่น”ด้วยวิธี“การปฏิรูปการปกครอง”ซึ่งเรียกทับศัพท์ว่า“คอเวินเมนต์รีฟอร์ม” เพื่อบรรลุความมุ่งหมายเช่นดียวกับญี่ปุ่นแต่ต่อมาแนวทางดังกล่าวต้องล้มเหลว ก็เพราะการยึดอานาจของคณะราษฎรในสมัยรัชกาลที่7 และได้ล้มเหลวมาจนถึงทุกวันนี้ฉะนั้นการสร้างประชาธิปไตย จึงต้องกลับไปสู่การนาโดยพระมหากษัตริย์ดังเดิมก็จะทาให้ การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปด้วยความราบรื่นและเป็นผลดี
  10. 10. 27. การจะทาให้บ้านเมืองเกิดความปรองดองกันนั้นก่อนอื่นเราจะต้องมีความเข้าใจรูปธรรม ของความขัดแย้งทางสังคมว่าเป็นอย่างไรหรือคู่ขัดแย้งคืออะไรเมื่อมีความเข้าใจแล้วก็จะทาให้แก้ ปัญหานั้นได้ มีผู้อธิบายหลักการพิจารณาปัญหานี้ไว้ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่าถูกต้องก็คือ“มาร์กซ์”และ“เองเกลส์”ซึ่งเป็นผู้สร้าง ปรัชญาวัตถุนิยมวิภาษ(Dialectical Materialism) ขึ้นแล้ว ก็ได้นาเอาวัตถุนิยมวิภาษไปประยุกต์กับพัฒนาการของสังคมและสรุปขึ้นเป็นวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ (Historical Materialism) โดยถือว่าพัฒนาการของสังคมนั้นย่อมมีความขัดแย้งไม่เป็นเอกภาพซึ่งต้องเป็นไปตาม กฎของวัตถุนิยมวิภาษเช่นเดียวกับโลกธรรมชาติทั้งปวง โดยเห็นว่าความขัดแย้งภายในสังคมซึ่งนอกจากจะเป็นความขัดแย้งแล้วยังเป็นพลังผลักดัน พัฒนาการของสังคมด้วยก็คือความขัดแย้งระหว่าง“กาลังผลิต”(Productive Force) กับ“ความสัมพันธ์การผลิต” (ReactionProduction) ในสังคมชนชั้นมันจะแสดงออกเป็นความขัดแย้งทางชนชั้น โดยรูปธรรมของความขัดแย้งที่แท้จริงก็คือ“กรรมกร”กับ“นายทุน”นั่นเอง ดังนั้นความปรองดองแห่งชาติในสังคมนิยม จะเป็นไปได้ก็คือคู่ขัดแย้งตัวจริงของสังคมทุนนิยมต้องสามัคคีกันและการจะสามัคคีกันได้นั้น อยู่ที่ต้องสร้างประชาธิปไตยร่วมกันถ้าตราบใดที่ขบวนการกรรมกรยังไม่เข้าร่วมผลักดันการสร้างประชาธิปไตย ตราบนั้นก็จะยังไม่มีความปรองดองแห่งชาติเกิดขึ้นได้ 28. การจะสร้างประชาธิปไตยให้สาเร็จได้ เราต้องเข้าใจด้วยว่าระบอบเผด็จการ(DictatorialRegime) เนื้อแท้ตัวจริงเป็นอย่างไรการปกครองแบบประชาธิปไตย(DemocraticGovernment) ซึ่งจะเรียกว่า ระบอบประชาธิปไตย(DemocraticRegime) ก็ได้ แต่การปกครองแบบประชาธิปไตยกับระบอบประชาธิปไตยนั้น แม้ว่าจะมีความสัมพันธ์อย่างแยกกันไม่ออกก็ไม่ใช่สิ่งเดียวกันเพราะ ระบอบคือ มรรควิธีของการปกครอง กล่าวอย่างรูปธรรมหมายถึงอานาจอธิปไตยเป็นของใครซึ่งมีเพียง 2อย่าง คือ“ปวงชน” และ“ชนส่วนน้อย” ถ้าอานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนก็เป็น“ระบอบประชาธิปไตย”ถ้าอานาจอธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อยก็เป็น “ระบอบเผด็จการ”ฉะนั้นระบอบประชาธิปไตยจึงเป็นหลักการปกครองที่สาคัญที่สุดของการปกครองแบบประชาธิปไตย ถ้าปราศจากระบอบประชาธิปไตยแม้ว่าจะมีหลักการอื่นหรือเงื่อนไขอื่นเช่นมีเสรีภาพมีระบบ รัฐสภามีรัฐธรรมนูญ มีการเลือกตั้งเป็นต้นก็ไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตย ระบอบเผด็จการตรงข้ามกับระบอบประชาธิปไตยเป็นปัญหาหลักการคือหลักเผด็จการไม่ใช่ปัญหาบุคคล ความหมายตามหลักวิชาการคืออานาจอธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อยโดยชนส่วนน้อยนั้นอาจเป็นชนชั้นสูงก็ได้
  11. 11. ชนชั้นกลางก็ได้ หรือชนชั้นกรรมาชีพก็ได้ รวมทั้งเป็นทหารก็ได้ หรืออาจจะเป็นกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆก็ได้ ที่มีผลประโยชน์แตกต่างกันโดยแต่ละกลุ่มผลประโยชน์นั้นจะตั้งพรรคการเมืองของตนขึ้นมา เพื่อทาหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของตนซึ่งไม่ใช่เป็นผู้แทนของประชาชน นักการเมืองบ้านเราจึงล้วนเป็นผู้แทนของชนส่วนน้อยทั้งสิ้นแต่เมื่อเป็นผู้แทนของชนส่วนน้อยแล้วก็ไม่ได้หมายความว่า พรรคการเมืองเหล่านั้นเป็นเผด็จการพรรคการเมืองเหล่านี้จะเป็นเผด็จการได้ก็ต่อเมื่อมีอานาจอธิปไตยด้วยดังนั้น ระบอบเผด็จการจึงมีองค์ประกอบดังนี้ 1) เป็นผู้แทนของชนส่วนน้อยที่ร่ารวย 2) เป็นกลุ่มการเมืองหรือคณะหรือพรรคการเมืองผู้กุมอานาจรัฐหรือเป็นผู้ถืออานาจอธิปไตย ของชาติและของประชาชน ดังนั้นเผด็จการที่แท้จริงจึงอยู่ที่ตัวคณะผู้ปกครองหรือรัฐบาลมิใช่อยู่ที่รัฐธรรมนูญเลยแล้ว เราจะไปแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร 29. การสร้างประชาธิปไตยก็คือการปฏิวัติประชาธิปไตยกล่าวตามความหมายที่เป็นศัพท์ทางวิชาการก็คือ การทาให้ดีขึ้นแต่ถ้าจะกล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้นก็หมายถึงการยกเลิกสิ่งไม่ดีแล้วทาการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีขึ้นแทน ทั้งนี้ก็เพราะว่าการสร้างสรรค์สิ่งที่ไม่ดีไม่สามารถเป็นไปได้ โดยไม่ยกเลิกสิ่งไม่ดีเช่นเดียวกับการปฏิบัติธรรมนั้น ต้องมีทั้ง “ปหานะ” และ “ภาวนา”ปหานะ คือ ละอกุศลกรรมภาวนาคือเจริญกุศลกรรมดังนั้น การเจริญกุศลกรรมโดยไม่ละอกุศลกรรมนั้นจึงย่อมเป็นไปไม่ได้ หรือการทาดีโดยไม่ละชั่วจึงเป็นไปไม่ได้ เช่นเดียวกับการทานาต้องกาจัดวัชพืชก่อน ฉะนั้นการสร้างประชาธิปไตยก็ต้องยกเลิกระบอบเผด็จการและการปกครองเผด็จการโดยสิ้นเชิง ซึ่งประกอบด้วยมาตรการสาคัญดังนี้คือ (1) ทาให้รัฐบาลของการปกครองแบบเผด็จการสิ้นสุด
  12. 12. (2) ทาให้รัฐสภาของการปกครองแบบเผด็จการสิ้นสุด (3) ยกเลิกรัฐธรรมนูญของการปกครองแบบเผด็จการ (4) สลายพรรคการเมืองเผด็จการซึ่งแท้จริงแล้วก็คือบริษัทค้าการเมืองอันเป็นเครื่องมือ ทาธุรกิจของบรรดาเจ้าพ่อทั้งหลาย (5) สลายกลุ่มผลักดันมาเฟียและองค์กรอิสระที่เป็นกลไกปกป้ องคุ้มครองระบอบเผด็จการเพราะเป็นกลไกพรรค ไม่ใช่กลไกรัฐ (6) ให้จัดตั้ง “สภาปฏิวัติแห่งชาติ”ซึ่งประกอบด้วยองค์การระดับชาติและองค์การระดับจังหวัด มีผู้แทนในแต่ละอาเภอทั่วประเทศรวมกับผู้แทนอาชีพต่างๆอย่างเป็นสัดส่วน (7) ผู้แทนสาชาอาชีพต่างๆได้เปิดประชุมแต่ละสาขาอาชีพสะท้อนปัญหาและเสนอวิธีการ แก้ปัญหาของอาชีพนั้นๆ (8) กาหนดนโยบายประชาธิปไตยประกอบด้วยนโยบายหลักและนโยบายเร่งด่วนเฉพาะหน้าซึ่งสาระสาคัญ ของนโยบายเร่งด่วนเฉพาะหน้าควรเป็นดังนี้ 1) ยกเลิกการกดขี่ข่มเหงประชาชนโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐในทุกกรณีทันที 2) ยกเลิกหนี้สินของประชาชนที่มีฐานะยากจนและเฉลี่ยรายได้แห่งชาติให้เกิดความเป็นธรรม 3) ตรึงและพยุงราคาสินค้าโดยใช้รัฐวิสาหกิจที่ได้ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพแล้วเป็นสาคัญ
  13. 13. 4) ประกันราคาผลิตผลเกษตรกรรมอย่างมีประสิทธิภาพให้ผลประโยชน์ตกแก่ชาวนาชาวไร่ อย่างทั่วถึง และปฏิรูปที่ดินให้ชาวนามีกรรมสิทธิ์ในที่ทากินและประชาชนมีที่อยู่อาศัยอย่างทั่วถึง 5) ให้ข้าราชการเข้าร่วมกิจกรรมของสหภาพแรงงานและพรรคการเมืองได้อย่างเสรี ซึ่งจะยัง ผลให้ข้าราชการมีจิตสานึกเป็นข้าราชการของประชาชนอย่างแท้จริง 6) ให้ผู้แทนรัฐวิสาหกิจโดยทางองค์กรของผู้ใช้แรงงานที่แท้จริงเข้าร่วมกับฝ่ ายบริหารเพื่อ พิจารณากาหนดนโยบายและมาตรการในการปรับปรุงรัฐวิสาหกิจ 7) ออกกฎหมายประกันสังคมให้เป็นธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวกับการหางานและส่งคนงานไปต่างประเทศ 8) ปรับปรุงแก้ไข สาธารณูปโภคให้รับใช้ประชาชนอย่างแท้จริง 9) ปลดปล่อยนักโทษและยกเลิกคดีการเมือง 10) ปราบปรามอาชญากรรมและคอรัปชั่นและรักษาความปลอดภัยของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้พรรคการเมืองและองค์กรมวลชนร่าวมดาเนินการ 11) ปรับปรุงระบบราชการให้เป็นประชาธิปไตยโดยใช้มาตรการประสานกลไกรัฐกับ กลไกพรรคเป็นเครื่องมือสาคัญ 12) ให้มีสมาชิกวุฒิสภามาจากสาขาอาชีพอย่างยุติธรรม 13) ให้มีพรรคการเมืองพัฒนาตามธรรมชาติมิใช่โดยกฎหมายบังคับ
  14. 14. 14) ให้มีสภาการเลือกตั้งแห่งชาติประกอบด้วยส่วนราชการพรรคการเมืองและองค์การมวลชน ทาหน้าที่ดาเนินการเลือกตั้งเพื่อให้เป็นไปตามหลักเลือกตั้งเสรี และผู้มีสิทธิหนึ่งคนเลือกผู้แทนคนเดียว 15) ยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายทั้งปวงที่ทาลายหรือบั่นทอนเสรีภาพของบุคคล 16) ตั้งคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับโครงสร้างและหลักการประชาธิปไตย ที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์แล้วนั้นเมื่อรัฐสภาลงมติเห็นชอบแล้วให้ ประชาชนแสดงประชามติก่อนบังคับใช้ นี่คือตัวอย่างของการสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริงและเป็นทางออกของชาติได้ (เอกสารการสร้างประชาธิปไตยของนายวันชัยพรหมภาประธานสภากรรมกรแห่งชาติ) Edit: thongkrm_virut@yahoo.com

×