SlideShare a Scribd company logo
1 of 100
Download to read offline
ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
M a h a k a n L i f e:
“ความเป็นชุมชนนั้น ไม่ใช่แค่ไม้ แค่ตัวบ้านเรือนอยู่อาศัย
แต่คือ ความสัมพันธ์ ความผูกพัน ความเป็นเครือญาติ
พี่น้อง ครอบครัว คือต้นทุนทางประวัติศาสตร์ สังคม
วัฒนธรรมที่มีและด�ำรงอยู่และหมายรวมถึงความภาคภูมิใจ
ในความเป็นคนป้อมมหากาฬที่ต่างมีร่วมกัน”
“ชุมชนป้อมมหากาฬ” เป็นชุมชนที่มีอายุเก่าแก่นับร้อยปี ตั้งแต่สมัยรัชกาล
ที่ 3 บริเวณแห่งนี้นั้นในอดีตเป็นที่อยู่อาศัยของข้าราชบริพารที่มีหน้าที่ดูแล
วัดภูเขาทองและวัดราชนัดดาที่อยู่ใกล้เคียง นอกจากนี้ ชุมชนป้อมมหากาฬ
ยังเป็นชุมชนโบราณที่มีต�ำนานและอาชีพเก่าแก่ดั้งเดิมที่มีการสืบทอดกันมา
จนถึงทุกวันนี้
จนกระทั่ง พ.ศ.2535 เมื่อกรุงเทพมหานครได้ออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืน
ที่ดิน ส่งผลให้มีการเวนคืนที่ ไล่รื้อชุมชนเพื่อน�ำพื้นที่ไปสร้างเป็น
สวนสาธารณะตามแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ …
จากวันนั้นจนวันนี้ นับเป็นเวลากว่า 24 ปีแล้ว ของการต่อสู้ของชุมชน
ป้อมมหากาฬ
บทน�ำ
หากถามว่า ท�ำไมคนป้อมมหากาฬถึงลุกขึ้นมาต่อสู้ ค�ำตอบที่เด่นชัดในใจคน
ป้อมมหากาฬ คือ
	 …ที่นี่คือบ้าน บ้านอันเป็นทั้งเรือนเกิด และเรือนตายที่อยากฝังร่างไว้
	 …ที่นี่คือบ้าน ที่ที่มีความทรงจ�ำ มีความผูกพันของผู้คน ที่ผ่านทั้งคืน	
สุขและวันทุกข์ยากมาร่วมกัน
“เราเป็นเพียงชุมชนเล็กๆ ไม่มีก�ำลังทรัพย์ใดๆ แต่ชุมชนมีก�ำลังใจ ก�ำลังกาย
ที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมือง และมีส่วนร่วมในการพัฒนา
สวนสาธารณะป้อมมหากาฬแห่งนี้ให้เป็นพื้นที่สีเขียวและพื้นที่เรียนรู้
เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม เราพร้อมและเราขอโอกาสพิสูจน์ตัวเอง”
	 “คุณ...เป็นส่วนหนึ่งของเมืองเช่นไร
	 เรา...ก็เป็นส่วนหนึ่งของเมืองไม่ต่างกัน
	 คุณ...รักบ้านของคุณเช่นไร
	 เรา...ก็รักบ้านของเรา ไม่ต่างกันเลย”
ชุมชนป้อมมหากาฬ
ธันวาคม พ.ศ.2559
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
6
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
7
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
8
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
9
โดย สรณ วิริยะประสิทธิ์
	 ก่อนจะกลายมาเป็นชาวชุมชนป้อมมหากาฬ ครอบครัวคิ้มเคยมีบ้าน
อยู่แถวกิ่งเพชรมาก่อน เตี่ยของคิ้มมีอาชีพลากรถเจ๊กอยู่แถวสะพานผ่านฟ้า
ลีลาศ รู้จักพื้นที่แถวนี้เป็นอย่างดี พอมีการเวนคืนเพื่อตัดถนน ครอบครัวของ
คิ้มจึงได้ย้ายถิ่นฐานเข้ามา นั่นคือจุดเริ่มต้นของชีวิตในชุมชนป้อมมหากาฬ
กว่า 60 ปี ของคิ้ม สมใจ กาญจนะ
	 แรกเริ่มเข้ามา ครอบครัวของคิ้มอาศัยอยู่กับญาติที่มีบ้านอยู่ในชุมชน
แห่งนี้ ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2505 - 2506 จึงแยกไปเช่าบ้านอยู่เอง นั่นคือ
บ้านเลขที่ 97 ซึ่งในสมัยนั้นเจ้าของบ้านยังอาศัยอยู่และมีอาชีพท�ำทอง
โดยการน�ำเศษทองมาหลอมใหม่ (ปัจจุบันบ้านหลังนี้ยังคงอนุรักษ์เอาไว้ใน
ฐานะบ้านโบราณหนึ่งในห้าหลังของชุมชน) จนในที่สุดครอบครัวของคิ้มก็ได้
เช่าบ้านเลขที่ 89 อาศัยอยู่มาจนปัจจุบัน บ้านหลังนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของ
วัดราชนัดดาราม มีลักษณะคล้ายห้องแถวเล็กๆ เรียงต่อกันสามหลัง
ด้านหน้ากว้างหลังละ 3 เมตร มี 2 ชั้น สร้างจากไม้ทั้งหมด ค่าเช่าในระยะ
แรกตกประมาณเดือนละ 20 บาท จนมาช่วงหลังจึงขึ้นเป็น 300 บาทต่อเดือน
	 ต่อมา เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินบริเวณป้อมมหากาฬ ปี
พ.ศ.2535 ทางวัดจึงได้คืนพื้นที่บ้านเช่าให้กรมศาสนา และส่งมอบให้
กรุงเทพมหานคร จนเกิดกรณีไล่รื้อที่เป็นข้อพิพาทกันมาจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.
2559) คิ้มจึงไม่ได้จ่ายค่าเช่าบ้านอีกต่อไป “พอเขาจะมาไล่รื้อ เราก็ไม่ได้
คิ้ม
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
10
รับเงิน ไม่ได้อะไรเลย เพราะเจ้าของที่ เจ้าของบ้านเขาได้รับทั้งหมด” แม้ว่า
จะมีการชดเชยค่าเวนคืน แต่ส�ำหรับคิ้มที่เป็นเพียงผู้เช่า จึงไม่มีสิทธิ์ใดๆ
ในการได้รับเงินจ�ำนวนดังกล่าว
	 ชุมชนป้อมมหากาฬในสมัยก่อนค่อนข้างคึกคัก ผู้คนมากมายทั้งใน
ชุมชนและชุมชนรอบนอกต่างพากันแวะเวียนเข้ามาในป้อมมหากาฬเสมอ
เนื่องจากเป็นย่านกลางเมืองที่ส�ำคัญแห่งหนึ่ง คิ้มเล่าให้ฟังว่า ในตอนแรก
นอกจากเตี่ยที่ลากรถแล้ว ครอบครัวก็ท�ำการค้าขาย จะขายอะไรก็ขายได้
มีลูกค้ามาจับจ่ายซื้อของเสมอ ด้วยความที่ไม่ได้เรียนหนังสือ จึงช่วยทางบ้าน
หารายได้ทั้งในส่วนการค้าขายและเย็บผ้าโหล เช่น ชุดเครื่องแบบนักเรียน
กางเกง เสื้อ เป็นต้น แล้วเอาไปส่งขายตลาดเสื้อผ้าย่านโบ๊เบ๊ ต่อมาคิ้มหันมา
ขายอาหารตามสั่งเป็นหลัก รวมทั้งพวกลูกชิ้นทอด ไก่ทอด ไปจนถึงก๋วยจั๊บ
มาช่วง 30 ปีหลังนี้เอง ที่คิ้มเริ่มหันมายึดอาชีพขายกระเพาะปลา กระเพาะ
ปลาเป็นอีกอาชีพเก่าแก่ของชาวชุมชน คิ้มบอกว่าสมัยก่อนนั้นมีคนท�ำ
กระเพาะปลาแล้วน�ำออกไปขายนอกชุมชนจ�ำนวนมากถึง 9 เจ้า ก่อนจะ
ล้มหายตายจาก หรือย้ายออกกันไป จนปัจจุบันเหลือเพียงเจ้าเดียว วัตถุดิบ
ที่น�ำมาท�ำก็มักจะหาได้จากละแวกใกล้ๆ ยกตัวอย่างเช่นกระเพาะปลา หาซื้อ
ได้ที่ตลาดเก่า เยาวราช ส่วนวัตถุดิบอื่นๆ ก็จะมาจากตลาดมหานาค หากแต่
ตอนนี้คิ้มเลิกขายกระเพาะปลาแล้ว เนื่องจากประสบอุบัติเหตุ บาดเจ็บที่ขา
เมื่อ 5 ปีก่อน ท�ำให้ไม่สามารถเดินทางออกไปซื้อหาวัตถุดิบและขายของได้
อีกต่อไป
	 นอกจากการท�ำมาหากินแล้ว ในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชน สมัยสาวๆ
คิ้มมักจะไปท�ำบุญตามวัดต่างๆ ในละแวกนี้ อาทิ การท�ำบุญผ้าอาบน�้ำฝน
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
11
ช่วงเข้าพรรษามักจะไปวัดราชนัดดาราม ส่วนงานลอยกระทงจะไปวัด
สระเกศ ซึ่งจัดงานภูเขาทองเป็นที่สนุกสนาน และด้วยความที่มีเชื้อสายจีน
ก็มักจะไหว้เจ้าทั้งที่บ้านและศาลเจ้าต่างๆ หรือพอถึงช่วงเทศกาลเชงเม้ง
ก็จะไปประกอบพิธีที่ฮวงซุ้ยแถวจังหวัดสระบุรี ถือเป็นโอกาสอันดีที่คิ้มจะได้
พบปะญาติที่อาศัยอยู่ที่อื่น ส�ำหรับในส่วนของชุมชนเอง คิ้มเล่าถึงงานสมา
พ่อปู่ป้อมมหากาฬ ซึ่งเป็นงานบุญใหญ่ประจ�ำปีของชาวชุมชนป้อมที่สืบทอด
กันมานาน นับแต่ก่อนที่คิ้มจะมาอยู่ที่นี่เสียอีก พิธีกรรมนี้มีก�ำหนดจัดขึ้นช่วง
หลังเทศกาลสงกรานต์ในแต่ละปีในสมัยก่อนที่ยังไม่มีระบบกรรมการหมู่บ้าน
แบบปัจจุบัน คิ้มในวัยสาวเคยท�ำหน้าที่เหมือนเหรัญญิกคอยเรี่ยไรเงินจาก
ชาวชุมชนมาช่วยกัน และช่วยในส่วนของการท�ำที่นั่งรดน�้ำมนต์ เป็นต้น
คิ้มเสริมว่า “เป็นเรื่องปกติที่คนในชุมชนจะมาร่วมมือร่วมใจกันท�ำกิจกรรม
ดังกล่าวอย่างแข็งขัน”
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
12
	 บรรยากาศสมัยเก่าๆ ของพื้นที่ชานเกาะรัตนโกสินทร์อย่างชุมชนป้อม
มหากาฬ มีชีวิตชีวาอย่างมาก “แถวนี้ก็มีชุมชนวัดราชนัดดา วัดเทพธิดา
บ้านบาตรวัดแคนางเลิ้งทุกชุมชนวิ่งกันไปวิ่งกันมา” ปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาว
ชุมชนแต่ละแห่งจึงเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไป เวลาที่ชุมชนป้อมมหากาฬมี
งานอะไร คนชุมชนข้างนอกก็จะมากันบ้าง หรือเวลาชุมชนอื่นๆ จัดกิจกรรม
ทางนี้ก็จะส่งตัวแทนเข้าไปร่วม แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์และความผูกพัน
ของผู้คนที่อยู่กันมาดั้งเดิมแตกต่างกับวิถีต่างคนต่างอยู่ดังเช่นคนในเมืองใหญ่
ทั่วไป
	 ชีวิตของคิ้มในชุมชนป้อมมหากาฬ เรียกได้ว่า มีความสุขสงบตาม
อัตภาพ คิ้มพบรักกับสามีในปี พ.ศ. 2520 ก่อนจะแต่งงานและมาอยู่ด้วยกัน
ที่บ้านในชุมชนแห่งนี้ และให้ก�ำเนิดลูกสาวหนึ่งคน ในช่วงแรกนั้น สามีของ
คิ้มท�ำงานบริษัทวัสดุก่อสร้างแห่งหนึ่งในละแวกใกล้เคียง ก่อนจะลาออกมา
ขายผลไม้ ปัจจุบันสามีของคิ้มเสียชีวิตแล้วหลังจากใช้ชีวิตในสมณเพศกว่า
12 ปี ส่วนลูกสาวแต่งงานและมีลูก 3 คน ปัจจุบันหลานทั้งสามคนพักอยู่กับ
ญาติฝ่ายพ่อ แต่ตัวลูกสาวยังคงอยู่ดูแลคิ้มที่นี่เสมอมา
	 นับตั้งแต่ช่วงหลังทศวรรษ 2530 ที่มีการไล่รื้อชุมชน คิ้มเล่าถึงการต่อสู้
ของชาวบ้านในตอนนั้นว่า “สมัยแรกๆเราก็ไปอยู่ตรงหัวป้อมกันต่อสู้อาหาร
การกินก็อดๆ อยากๆ พอไปท�ำสวน เขาก็มารื้อ แล้วก็มีมาเรื่อยๆ ตลอด
ไม่เคยหยุด” จนกระทั่งช่วง พ.ศ. 2541 - 2542 สถานการณ์ก็เริ่มดีขึ้นมาบ้าง
ชาวบ้านมีความหวังในการต่อสู้มากขึ้นสิ่งที่ท�ำให้คิ้มมีก�ำลังใจมากในการต่อสู้
เหล่านี้คือ ความสมัครสมานสามัคคีกันของชาวชุมชนป้อม ที่ไม่ว่าจะมีเรื่อง
อะไรเกิดขึ้นก็จะมาช่วยกันตลอด ส่วนตัวคิ้มเองเป็นหนึ่งในพลังเหล่านั้น
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
13
เมื่อมีการเดินทางไปยื่นหนังสือ จะไปด้วยกัน“พอมามีข่าวไล่รื้อ คนในชุมชน
ก็วุ่นวาย อยู่กันไม่สุข แต่พอมีเรื่องกันก็มารวมกัน” อาจกล่าวได้ว่า ความเป็น
พี่เป็นน้องจากการที่รู้จักกันหมดนี้เอง เป็นพลังที่ส�ำคัญที่สุดของชุมชนป้อม
มหากาฬ
	 ยิ่งไปกว่านั้น การที่มีคนจากภายนอกเข้ามาช่วย ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา
จากมหาวิทยาลัยต่างๆ หรืออาจารย์ นักวิชาการ ก็เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่สร้าง
ความสุขใจให้กับคิ้มมาก เพราะท�ำให้ไม่รู้สึกว่าโดดเดี่ยว และรู้สึกว่าชุมชน
ยังสามารถต่อสู้เรียกร้องสิทธิการอยู่อาศัยกับทางกรุงเทพฯ ต่อไปได้
โดยส่วนตัวของคิ้มเองนั้น ปัจจุบันก็อายุมากแล้ว จัดได้ว่าเป็นกลุ่มคนที่อายุ
มากที่สุดในป้อมเลยทีเดียว การที่จะต้องมานั่งจินตนาการถึงอนาคตว่าจะไป
อยู่ที่ไหน จะมีชีวิตอย่างไร จึงเป็นเรื่องที่ยากมาก“คิดว่าถ้าต้องย้ายออกจาก
ป้อมจริงๆ ก็ยังไม่รู้ ไม่เคยคิด คิดแล้วปวดหัว ยิ่งมีความดันอยู่ยิ่งไม่กล้าคิด
แล้วแต่เวรแต่กรรม” อันที่จริงลูกหลานของก็เสนอว่าสามารถมาพักกับพวก
เขาได้ แต่ด้วยความรักความผูกพันต่อวิถีชีวิตดั้งเดิมที่มีมากับชุมชนแห่งนี้
และไม่อยากไปเป็นภาระคนอื่น คิ้มจึงเลือกที่จะอยู่ต่อสู้ร่วมกันชาวชุมชน
ที่เหลืออยู่ต่อไป
	 ทุกวันนี้ แม้สุขภาพจะไม่เอื้ออ�ำนวยสักเท่าไร คิ้มยังคงเข้าร่วมกิจกรรม
ของทางชุมชนอยู่เสมอมาโดยมีหน้าที่หลักตามการแบ่งรับผิดชอบของชุมชน
คือการดูแลต้นไม้ดอกไม้ต่างๆ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่สวยงามต่อสายตา
ผู้มาเยือน และยังไม่คิดจะยอมแพ้ให้กับการต่อสู้ในครั้งนี้.
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
14
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
15
เตี้ยม
โดย สรณ วิริยะประสิทธิ์
“เกิดที่จังหวัดมหาสารคาม มาอยู่กรุงเทพฯ ตั้งนานแล้ว แต่ว่าอยู่ที่อื่นก่อนนะ
แล้วก็ย้ายมาที่นี่ ได้ประมาณ 42 ปี แล้ว ...พอดีมีเพื่อนเป็นคนรู้จักกัน เขา
เคยอยู่ที่นี่ เขาก็เลยชวนมา แต่ตอนนี้เขาย้ายออกไปแล้ว เราก็ยังต้องอยู่ ...”
	 พรรณนีมาตย์สาลีหรือเตี้ยมคนเก่าอีกคนหนึ่งของชุมชนป้อมมหากาฬ
เล่าให้เราฟังถึงที่มาที่ไปก่อนจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของที่นี่ แม้จะมีอายุเกือบ
60 ปี แล้ว แต่เรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับชีวิตของที่เกี่ยวข้องกับชุมชนป้อม
มหากาฬยังแจ่มชัดและพร้อมจะถ่ายทอดออกมาให้ผู้คนที่สนใจฟังเสมอ
	 “ตอนนั้นไม่รู้จักที่นี่หรอก มีเพื่อนเขาเช่าบ้าน เมื่อก่อนอยู่หลัง
วัดเทพธิดาราม เพื่อนเขาบอกว่ามีห้องว่างอยู่จะไปอยู่ไหม” จากจุดเริ่มต้น
ณบ้านไม้หลังเล็กๆ เลขที่95ปัจจุบันเตี้ยมก็ยังคงอาศัยอยู่ตลอดมาเป็นเวลา
กว่า 42 ปีแล้ว โดยแรกเริ่ม เป็นการท�ำสัญญาเช่า แต่ต่อมาภายหลังเจ้าของ
บ้านต้องการจะรื้อออกเนื่องจากได้คืนพื้นที่ให้กับทางกรุงเทพมหานครและ
ได้รับเงินชดเชยครบแล้ว เตี้ยมจึงประสบกับสถานการณ์ที่ยากล�ำบาก
	 ครอบครัวของเตี้ยมย้ายเข้ามาอยู่ที่ชุมชนแห่งนี้ตั้งแต่ตอนเตี้ยม อายุ
16 ปี ช่วงสาวๆ เตี้ยมท�ำงานที่โรงงานแถวสะพานปลาย่านบางรัก แต่พอพบ
กับสามีและมีครอบครัวด้วยกัน จึงออกจากงานและมาเป็นแม่บ้านเลี้ยงลูก
เมื่อมีเวลามากขึ้นจึงมีโอกาสเห็นความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับวิถีชีวิต
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
16
ของชาวชุมชนป้อมมหากาฬเตี้ยมเล่าให้ฟังว่าสมัยก่อนที่แห่งนี้มีความสะดวก
สบายมากเนื่องจากตั้งอยู่ใจกลางเมือง จะไปไหนมาไหนก็ง่าย ผู้คนในชุมชน
เหมือนพี่น้องกันหมด ทุกคนรู้จักกัน ต่อมาช่วงที่เริ่มมีเรื่องไล่รื้อเกิดขึ้น
(ทศวรรษ 2530) “คนที่นี่ก็ออกไปท�ำงานข้างนอก คนที่ว่างก็ท�ำกิจกรรม
ข้างใน มีคนเข้ามาสอนนู่นนี่ เราก็ท�ำกันตลอดนะ” เตี้ยมยกตัวอย่างอาจารย์
และนักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เข้ามาสอนงานฝีมือหลากหลายไม่ว่าจะ
เป็นการปักเสื้อ ท�ำดอกไม้ ท�ำยาดม โดยมีกลุ่มแม่บ้านของชุมชนจะเข้ามา
เรียนรู้และจับกลุ่มท�ำกัน ตลอดจนคนที่ออกไปท�ำงานวันธรรมดา เมื่อมีเวลา
ว่างวันเสาร์ – อาทิตย์ ก็จะมาช่วยกันท�ำด้วย เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการมี
กิจกรรมร่วมกันในชุมชนซึ่งช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้าน
นอกจากนี้กลุ่มแม่บ้านยังมีหน้าที่ท�ำอาหารส�ำหรับเลี้ยงในโอกาสที่มีแขกมา
เยือน หรือในโอกาสงานพิเศษต่างๆ โดยส่วนตัวของเตี้ยมเองนั้นก็ให้ความ
ร่วมมือกับทุกกิจกรรมด้วยความเต็มใจ
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
17
	 โดยเฉพาะในส่วนของวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับ ความเชื่อและศาสนา
งานสักการะพ่อปู่(งามสมาพ่อปู่ป้อมมหากาฬ) เป็นงานที่ส�ำคัญมากที่สุดของ
ชาวชุมชนป้อมมหากาฬ ประกอบไปด้วยการเลี้ยงพระ ไหว้พ่อปู่บนป้อม
มหากาฬ มีขบวนแห่กลองยาว มีคนร�ำน�ำขบวน ตัวที่เป็นแม่บ้านก็มักจะช่วย
งานท�ำอาหารหรือจัดเตรียมสถานที่ต่างๆในชีวิตประจ�ำวันหากต้องไปท�ำบุญ
ที่วัด เตี้ยมก็มักจะไปวัดราชนัดดารามหรือวัดเทพธิดาราม ซึ่งเวลามีกิจกรรม
งานบุญในชุมชนแต่เก้าอี้ไม่พอ ก็สามารถไปขอยืมจากทางวัดได้เหมือนกัน
“ทางวัดเขาจะมีใบบอกกิจกรรม ช่วงเข้าพรรษา ถวายผ้าอาบน�้ำฝน ตักบาตร
เทโว” ด้วยความสัมพันธ์อันแนบแน่นดังกล่าว เวลามีงานต่างๆ คนในชุมชน
ก็เลือกที่จะนิมนต์พระจากสองวัดนี้เป็นหลักเช่นกัน
	 “เมื่อก่อนนี้เราไม่ได้พัฒนาอะไร เพราะว่าเราอยู่กันแบบไม่มีเหตุการณ์
อะไรที่ต้องมากันการไล่รื้อ อยู่กันแบบชาวบ้านทั่วไป ธรรมดาท�ำมาหากิน”
เตี้ยมยอมรับว่า ด้วยสถานการณ์ที่บีบบังคับดังกล่าว จึงท�ำให้ชาวบ้านต้อง
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
18
ร่วมมือสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มากขึ้น แม้ปกติจะมีกิจกรรมร่วมกันบ่อยครั้ง
อยู่แล้ว แต่พอมีเหตุการณ์ไล่รื้อเกิดขึ้น กิจกรรมต่างๆ ย่อมต้องมีจุดมุ่งหมาย
ที่แน่ชัดและจับต้องได้ ในทางกายภาพมีการท�ำความสะอาดพื้นที่ ปรับปรุง
บ้านและทางเดิน มีการน�ำต้นไม้มาประดับ “เราจะพัฒนากันอยู่ตลอด เรา
จะไม่ปล่อยให้มันว่าง” กระบวนการเหล่านี้รวมไปถึงการท�ำให้บ้านโบราณ
ทั้งหลายได้รับการอนุรักษ์ให้คงสภาพดั้งเดิมมากที่สุด เหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นได้
ก็ด้วยสัมพันธภาพระหว่างชาวชุมชนอันแน่นแฟ้น ทั้งนี้ส่วนหนึ่งก็มาจาก
ปัจจัยที่ว่าคนส่วนใหญ่เป็นคนเก่า เป็นคนที่อยู่มานานแล้วในพื้นที่ด้วย
การย้ายเข้าหรือย้ายออกไม่ใช่เรื่องปกติของชุมชนป้อมมหากาฬเหมือนชุมชน
อื่นๆ จึงเกิดเป็นฉันทามติรับรองว่าใครจะอยู่ด้วยกันก็ต้องช่วยกันต่อสู้
ช่วยกันพัฒนา หรือเมื่อมีกิจกรรมข้างนอก ก็ต้องไปช่วย แต่หากไม่สบายใจ
ที่จะอยู่ก็สามารถย้ายออกไปได้ไม่ว่าอะไร “พอมีเหตุการณ์อย่าง กทม. จะมา
เขาก็กลัว เขามาช่วยเราไม่ได้ เขาก็ย้ายออกไป ที่ออกไปก็คนใหม่ทั้งนั้นแหละ
คนเก่าก็ไม่มีใครย้าย”
	 เตี้ยมเล่าต่อไปถึงกลยุทธ์การต่อสู้ของชาวชุมชน โดยกล่าวถึงสมัยที่เคย
ท�ำหน้าที่เป็นเวรยามที่ต้องตื่นตัวตลอดเวลา แม้ว่าจะเหนื่อยล้า “แต่ว่ามันก็
มีรสชาติดีเหมือนกัน” นับตั้งแต่การไล่รื้อช่วงปี พ.ศ. 2535 เกิดขึ้นเป็นต้นมา
จะมีบางระยะที่ชาวชุมชนต้องสลับกันเฝ้ายามตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยกลัวว่า
จะมีการแอบเข้ามารื้อบ้านเรือน ต่อมาช่วงหลังปี พ.ศ. 2546 เริ่มมีการแบ่ง
พื้นที่ในป้อมออกเป็นโซน โดยตัวเตี้ยมเองเป็นหัวหน้าโซนสาม ก็จะมีหน้าที่
หลักในการประสานงานกับชาวบ้านสมาชิกในโซนเดียวกัน เวลามีกิจกรรม
หรือข่าวสารต่างๆ ที่จ�ำเป็นต้องรับรู้ ก็จะใช้วิธีเดินไปบอกๆ แต่ละบ้านเลย
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
19
ตลอดจนหน้าที่ต้องดูแลรักษาความสะอาดและภูมิทัศน์ของโซนให้สะอาด
สวยงามอยู่เสมอ เหล่านี้ก็จะมีการจัดแบ่งความรับผิดชอบกันออกไป
	 นอกจากนี้ทางชุมชนยังมีการหาพันธมิตรเครือข่ายที่จะมาช่วยเป็น
พี่เลี้ยง คอยแนะน�ำ “เราก็มีคนที่เขาคอยช่วยเราอยู่ ไม่ใช่ว่าต่อสู้กันเฉพาะ
คนในนี้”สิ่งนี้กลายเป็นสิ่งที่สร้างก�ำลังใจให้กับตัวเตี้ยมได้มากที่สุด เนื่องจาก
สร้างความรู้สึกที่ว่าพวกเขายังไม่โดดเดี่ยว ยังมีคนเข้ามาให้ก�ำลังใจ สนใจ
พวกเขา หากไม่มีใครเข้ามาเลย ว่ามันก็น่าจะเงียบเหงามากเลยทีเดียว
	 อย่างไรก็ตาม เตี้ยมก็อดไม่ได้ที่จะรู้สึกท้อใจในบางเวลา “แต่ทีนี้เรามา
คิดอีกทีว่า คนอื่นเขาสู้ เราก็ต้องสู้ตามเขา เราสู้มาตลอด เราจะถอยได้อย่างไร
เพื่อนเราทุกคนก็ยังสู้”สิ่งที่เตี้ยมอยากได้มากที่สุดคือค�ำตอบที่ว่าอยู่ได้จริงๆ
จากทาง กทม. ซึ่งหากผลลัพธ์ออกมาอย่างที่คิดจริงๆ ทุกคนก็จะมาช่วย
ปรับปรุงพื้นที่ให้ดีขึ้น โดยพร้อมจะปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เข้ากับแนวทางการ
พัฒนาที่ได้รับการยอมรับจากทางชุมชนและ กทม. เป็นหลัก เพราะด้วย
วัยขนาดนี้แล้วประกอบกับฐานะทางบ้านที่ไม่ค่อยดีเท่าไรการจะให้ย้ายออก
ไปแล้วเริ่มต้นชีวิตใหม่นั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
	 “เคยนั่งคุยกัน (หัวเราะ) ถ้าเราย้ายออกไปเราคงคิดถึงตรงนี้นะ แล้วมัน
ก็คงไม่มีที่แบบนี้ตรงไหนอีกแล้วในกรุงเทพ” เตี้ยมบอกเราในตอนท้ายเมื่อ
ถามถึงจินตนาการหากต้องย้ายออกไปจากพื้นที่นี้ในที่สุด “เคยคิดว่าถ้าไป
ไหนแล้ว ให้โทรหากันนะ แล้วเรามานัดเจอกันที่นี่นะ ถ้าตามที่เขาพูด กทม.
ท�ำสวนสาธารณะ เราก็ต้องเข้ามานั่งคุยกันได้นะ มานั่งคุยความหลังกัน นัด
กันมา ลอยกระทงเรามานะ”.
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
20
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
21
โดย สรณ วิริยะประสิทธิ์
	 ในช่วงเวลากลางวัน พื้นที่หลังก�ำแพงเมืองพระนครฝั่งตรงข้ามประตู
วัดราชนัดดาราม ยังมีร้านขายของเล็กๆ ตั้งแผงขายง่ายๆ บริเวณหน้าบ้าน
หลังน้อย สินค้าที่สามารถเลือกซื้อได้ก็มักจะเป็นของทั่วไป ตั้งแต่ขนมถุง
น�้ำอัดลม เครื่องดื่ม ไปจนกระทั่งผงซักฟอก ยาสีฟัน ส่วนลูกค้าที่เข้ามาก็จะ
เป็นชาวบ้านทั้งในชุมชนและบริเวณใกล้เคียง โดยมีแม่ค้าที่ชื่อว่า “เฮง”
คอยบริการอย่างเป็นกันเอง
	 ด้วยวัย 75 ปี สมพร อาปะนน เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้สูงอายุจ�ำนวนไม่กี่คน
ของชุมชนป้อมมหากาฬแห่งนี้ เฮงเป็นคนจีนโดยก�ำเนิด คุณพ่อของเป็น
คนจีนแซ่อาวอพยพมาประเทศไทย ในขณะที่คุณแม่ก็เป็นชาวจีนเช่นกันแต่
เกิดที่กรุงเทพฯ ด้วยความที่เป็นครอบครัวคนจีนทั้งหมด เฮงจึงใช้ภาษาจีน
ในการสื่อสารมาตลอดจนกระทั่งอายุประมาณ 20 ปี จึงสามารถพูดไทยได้
อย่างชัดเจน
	 ในตอนแรกครอบครัวของตั้งบ้านเรือนอยู่ในชุมชนชาวจีนแถวห้าแยก
พลับพลาไชย บริเวณพื้นที่ที่เรียกกันว่าตรอกถั่วงอก “ตอนนั้นอาก๋ง เขาขาย
ก๋วยเตี๋ยวหลอด แต่อาม่าเขาก็ท�ำงานในบ้าน” ส่วนตัวเฮงนั้นเริ่มชีวิตการ
ท�ำงานโดยเป็นสาวโรงงานถ่านไฟฉาย ย่านสวนมะลิ ตั้งแต่อายุ 12 ปี
ครอบครัวของเฮงใช้ชีวิตอยู่ตรอกถั่วงอกจนกระทั่งเกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่
เฮง
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
22
ประมาณ พ.ศ. 2503 ไฟไหม้ครั้งนั้นได้ท�ำลายบ้านเรือนในชุมชนไปเป็น
จ�ำนวนมาก ชาวบ้านต่างย้ายออกจากพื้นที่กันหมดไปหาที่อยู่ใหม่ เช่น
เดียวกันกับครอบครัวของเฮงก็ได้ย้ายไปอยู่กับญาติแถบบางซื่อ
	 การย้ายบ้านครั้งนั้นนอกจากจะท�ำให้การเดินทางไปท�ำงานโรงงานถ่าน
ไฟฉายยากขึ้น เฮงในวัย 19 ปี จึงเลือกที่จะลาออกแล้วมาช่วยงานโรงงาน
ผลิตธูปของอากู๋ ญาติที่ครอบครัวของย้ายมาอาศัยด้วยนั่นเอง “ก็ท�ำกัน
ในบ้าน ท�ำกันเป็นครอบครัว ขายส่งเขาน่ะ แบบว่ามีท�ำกันพี่น้องสามสี่คน
มีอากู๋ด้วย เป็นโรงงานเล็กๆ”
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
23
	 จนกระทั่งอายุ 37 ปี เฮงได้แต่งงานกับสามีซึ่งมีบ้านอยู่ในชุมชนป้อม
มหากาฬ สามีของเป็นคนจีนที่เกิดในประเทศไทยเช่นเดียวกัน เฮงจึงสามารถ
เข้ากับครอบครัวของสามีได้อย่างง่ายดาย เฮงย้ายเข้ามาอยู่กับครอบครัวสามี
ที่ป้อมมหากาฬ บ้านหลังแรกที่เฮงเข้ามาพักอาศัยก็คือบ้านหลังที่อยู่มา
จนปัจจุบันนี้เอง ซึ่งเป็นบ้านที่อาม่าของสามีเช่าอยู่ เมื่ออาม่าย้ายไปอยู่ข้าง
นอกจึงยกบ้านหลังนี้ให้เฮงและสามีอยู่ โดยเป็นการเช่าในช่วงแรก ก่อนที่จะ
มีเหตุการณ์ไฟไหม้เกิดขึ้นในบริเวณข้างเคียง และปัญหาข้อกฎหมาย
บางประการ ทางเจ้าของที่จึงไม่ได้คิดค่าเช่าอีกต่อไป
	 ส�ำหรับชีวิตในชุมชนป้อมฯ เฮงเล่าว่าแต่ก่อนมีคนอยู่กันเยอะมาก
บรรยากาศคึกคักกันตลอด เพื่อนบ้านทุกคนจะรู้จักกันหมด และมีไมตรี
ต่อกันเหมือนพี่เหมือนน้อง แต่พอมาปัจจุบันก็มีย้ายออกกันไปเยอะ และ
ไม่ค่อยมีใครย้ายเข้าใหม่ ตัวสามีที่อยู่ที่นี่มาตั้งแต่เด็กเคยเล่าให้ฟังว่าชีวิต
ในชุมชนสมัยนั้นเป็นอะไรที่สนุกมาก ขนาดคลองด้านหลังนี้ว่ายน�้ำได้เลย
ทีเดียว อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เฮงคิดว่าดีมากที่สุดอย่างหนึ่งของที่นี่ คือ ตลอด
ชีวิตของแถวนี้ไม่เคยมีน�้ำท่วมเลย “มันไม่ท่วมหรอก อยู่ใกล้ กทม. เขาไม่มี
ทางให้น�้ำท่วม เขาท่วมไม่ได้”
	 ในส่วนของงานบุญ นอกจากงานประจ�ำปีสักการะพ่อปู่ที่ชาวชุมชน
ทุกคนต้องเข้าร่วมกันอยู่แล้ว เฮงก็มักจะไปท�ำบุญที่วัดราชนัดดาราม
เนื่องจากรู้จักกับพระที่จ�ำพรรษาอยู่ที่วัดเป็นการส่วนตัว เพราะลูกพี่ลูกน้อง
ของเคยบวชที่วัดนี้มาก่อน เวลาต้องการจะท�ำสังฆทานจึงมักจะไปที่กุฏิของ
พระรูปนี้เสมอ นอกจากนี้ ตามธรรมเนียมของคนจีนก็จะต้องมีการไหว้เจ้า
การกินเจ เฮงมักจะไหว้เจ้าที่บ้านหรือตามศาลเจ้าใกล้เคียงอย่างศาล
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
24
เจ้าพ่อเสือ ตอนมีเทศกาลกินเจ ก็จะไปร่วมพิธีที่โรงเจย่านพุทธมณฑลสาย
สอง เพราะเจ้าของเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกันอีกด้วย
	 ชีวิตแต่งงานของเฮงก็ด�ำเนินไปอย่างเรียบง่ายเช่นกัน สามีของเฮงเป็น
ผู้หารายได้หลักของครอบครัว “เขาท�ำปั๊มน�้ำมันก่อน พอแต่งงานเขาบอกว่า
เป็นลูกจ้างไม่ไหวแล้ว เลยออกมาขายพวกกุญแจ ขายส่ง ไปต่างจังหวัด
ไปหลายที่” ส่วนตัวเฮงนั้นก็ท�ำอาชีพเย็บผ้า โดยมีสถานที่ท�ำงานอยู่แถว
พาหุรัด ต่อมาพอมีลูกจึงได้เลิกท�ำและใช้เวลาอยู่บ้านมากขึ้น “พอมีลูกงาน
ก็อยู่บ้านสิ อยู่บ้านเราก็ต้องหาของขาย”
	 ในช่วงแรกนั้น กิจการเล็กๆ หน้าบ้านของ เป็นการขายอาหาร จ�ำพวก
ลูกชิ้นทอด ไก่ทอด โดยจะใช้เวลารุ่งเช้าออกไปหาซื้อวัตถุดิบจากตลาดใกล้ๆ
บอกว่าสมัยนั้นเขาจะเรียกกันว่า “ตลาดสี่แยก” แต่สมัยนี้พูดแบบนี้ไปคนรุ่น
ใหม่ก็ไม่ค่อยจะมีใครรู้จัก ต้องบอกว่า “ตลาดสะพานขาว” หรือตลาด
มหานาคนั่นเอง อย่างไรก็ตาม จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นตอนเฮงอายุ 63 ปี ท�ำให้
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
25
กระดูกช่วงต้นขาร้าว ส่งผลให้เฮงไม่สามารถเดินได้คล่องมากนัก จ�ำเป็นต้อง
ใช้ไม้ค�้ำตลอดเวลา การจะไปซื้อวัตถุดิบและน�ำมาประกอบอาหารขายจึงเป็น
เรื่องที่ต้องหยุดไปโดยปริยาย
	 ปัจจุบันเฮงอาศัยอยู่ที่บ้านหลังนี้กับลูกชายคนเล็กลูกสาวและหลานชาย
เฮงกับสามีมีลูกด้วยกัน 3 คน ชายสองคนและหญิงหนึ่งคน โดยแต่ละคนมี
อาชีพการงานแตกต่างกัน ตัวเฮงนั้นยังคงสานต่อกิจการแผงขายของเล็กๆ
หน้าบ้านต่อไป แต่ปรับเปลี่ยนจากขายอาหารมาเป็นขายขนมและของช�ำ
ทั่วไป โดยลูกชายจะเป็นผู้จัดหาเข้ามาให้น�ำออกมาขายเรื่อยๆ แม้ว่าจะไม่ใช่
ธุรกิจที่ท�ำก�ำไรมากนัก แต่ก็พอจะท�ำให้เฮงไม่ต้องอยู่บ้านเฉยๆ ตลอดเวลา
ร้านของนั้นจะมีลูกค้าแวะเวียนเข้ามาหาของที่ต้องการเป็นระยะในแต่ละวัน
ทั้งคนในชุมชนเองและคนเดินผ่านหรือชุมชนด้านนอก เรียกได้ว่าก็ยังขายได้
เรื่อยๆ
	 อย่างไรก็ตาม เฮงเล่าให้เราฟังถึงสถานการณ์ปัจจุบันว่า “พักนี้ก็ไม่ค่อยดี
บางคนก็เข้ามาซื้อเรา บางครั้งก็ไม่ค่อยมีคน คนก็เหลือน้อยละ มันเงียบ
ขึ้นเยอะ” เนื่องจากเหตุการณ์ไล่รื้อที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ โดยมีระดับความ
รุนแรงที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละสมัยของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ช่วงที่หนักมากที่สุดส�ำหรับคือช่วงที่นายสมัครสุนทรเวชเป็นผู้ว่าฯซึ่งด�ำเนิน
นโยบายที่ค่อนข้างรุนแรง บอกว่าช่วงนั้นชาวชุมชนต้องช่วยกันเฝ้าเวรยาม
ตลอดทั้งคืนติดต่อกันหลายวันด้วยความกลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงจาก
คนนอก ต่อมาในสมัยอภิรักษ์ ช่วงนี้เป็นช่วงที่และชุมชนมีความหวังมากที่สุด
เพราะเริ่มมีการปรับเปลี่ยนนโยบายว่าชาวบ้านสามารถอยู่ในพื้นที่ได้ มีการ
เข้ามาพูดคุยหารือว่าจะท�ำอะไรกันบ้าง จะปรับปรุงตรงไหน เป็นต้น อย่างไร
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
26
ก็ตาม พอเวลาผ่านไป ผู้ว่า กทม. คนใหม่เข้ามาก็ไม่มีอะไรต่างไปจากเดิม การ
ไล่รื้อยังคงเกิดขึ้นอีกหลายครั้ง โดยเฉพาะในปีนี้ พ.ศ. 2559 ที่เฮงบอกว่ารู้สึก
สิ้นหวังมากที่สุด “เขาจะรื้ออย่างเดียว เหมือนเวลานี้เขาก็จะรื้ออย่างเดียว”
	 “เพราะเราอยู่ที่นี่มานานละ รักที่นี่น่ะ คนก็ถามว่าท�ำไมเราไม่ออกไป
เราก็บอกว่าให้เขามาอยู่ แล้วเขาก็จะรู้ ว่าอยู่ที่นี่เขาจะไม่วุ่นวาย” เฮงบอก
ถึงเหตุผลที่ยังร่วมต่อสู้เรียกร้องสิทธิในการอยู่อาศัยในพื้นที่กับชาวชุมชน
คนอื่นๆ ที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งนอกจากเหตุผลส่วนตัวแล้ว ความเป็นพี่เป็นน้อง
อันน�ำมาซึ่งความสามัคคีของชาวบ้านก็คงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยส่งเสริม
ความร่วมมือระหว่างกันดังกล่าวด้วย ซึ่งในส่วนตัวของเฮงเองนั้น ก็ยังไม่เคย
คิดท้อ “ถ้าเหลืออยู่หลังเดียว ก็จะสู้ถึงที่สุด” ไม่เคยจินตนาการถึงว่าหาก
ต้องออกไปอยู่ข้างนอกแล้วชีวิตจะเป็นแบบไหนเลยแม้แต่น้อย
	 แม้ว่าปัจจุบัน บ้านเลขที่ 169 หลังนี้จะไม่ได้มีสิ่งอ�ำนวยความสะดวก
มากมายหรือมีพื้นที่กว้างขวางเท่าไรนักแต่ด้วยความรักความผูกพันกับพื้นที่
ตลอดจนเพื่อนบ้านรอบข้าง จึงท�ำให้เฮงยังสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
แม้ว่าจะต้องคอยพะวงกับปัญหาการไล่รื้อที่ยังคงไม่สิ้นสุด แต่ตัวเองก็พร้อม
จะต่อสู้ไปกับชาวชุมชนจนถึงที่สุด.
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
27
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
28
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
29
อ้วน
โดย นภสร เวชพราหมณ์
	 พ่อของอ้วน รัชนี นิลใบ เดินทางจากเมืองจีนมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่จังหวัด
สุพรรณบุรีและพบกับคุณแม่ซึ่งเป็นคนไทยท้องถิ่นสุพรรณแต่เดิม จากนั้น
ย้ายมาอาศัยอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ และเป็นช่วงเวลาที่อ้วนและพี่น้องอีก
11 คน เกิดและเติบโต เมื่ออายุได้ประมาณ 10 ปี อ้วนและครอบครัวย้ายมา
อยู่ที่กรุงเทพฯ บริเวณชุมชนพรานนก ประกอบอาชีพขายพระบริเวณท่า
พระจันทร์และวัดมหาธาตุ ท�ำให้ชีวิตอ้วนและครอบครัวผูกพันกับวงการเช่า
พระ และต่อมาเธอได้ติดตามเพื่อนบ้านมาขายของในวัดราชนัดดา
	 จากจุดนี้เองท�ำให้เธอได้พบกับสามีซึ่งอาศัยอยู่ในชุมชนป้อมมหากาฬ
มาแต่เดิมและย้ายเข้ามาอยู่ด้วยกันหลังแต่งงาน สามีของอ้วนนับถือศาสนา
อิสลาม มีอาชีพช่างท�ำกรงนกเขาชวา
	 “พี่แต่งงานอยู่กับเขามาสามสิบปีก็เห็นสั่งกรงมาตลอด รุ่นตาเขาที่ท�ำ
เมื่อก่อนเขาก็อยู่ที่ป้อมเลย เขาอยู่ท้ายคลอง ตรงข้างหลัง ตอนหลังเขาก็โยก
ย้ายไปก็มาอยู่ตรงนื้เวลาไปแข่งก็จะมีคนเขาเอามาให้เราท�ำ ทาสีใหม่ กรงนี่
มันจะแบบ หัก 2-3 ซี่ เขาจะเอามาให้เราล้าง ทาใหม่ ลอกสีเก่าออก ตัดผ้าใหม่
บางทีมันก็นานหน่อย คิวมันก็ยาว เขาก็เอานกไปใส่กรงอื่นก่อน แล้วเอามา
ให้เราท�ำ กรงใบนึงแพง อยู่ได้หลายสิบปี ...ที่อื่นเขาท�ำไม้จะอ่อน มันจะ
ไม่ได้สีอย่างนี้ แต่ที่นี่เขาจะใช้ไม้แก่ท�ำจากทางใต้ ที่นี้ในกรุงเทพฯ ก็มีเขาท�ำ
ไม้อ่อนมันไม่สวย นุ่มนิ่ม ไผ่มันมีหลายประเภท ไผ่สีสุก ทุกวันนี้ก็ท�ำมา
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
30
จากโน่น แล้วมาท�ำผ้า แต่พอมาถึงเขาก็จะมาท�ำก่อน เอากระดาษทรายมา
ลูบให้มันไม่คม มาตกแต่งก่อน กรงที่นี่มันขายได้เพราะว่า เราใช้วิธีดั้งเดิมไง
คือเราใช้ทา เห็นไหม ที่เขาทาเนี่ยมันเป็น ย้อยๆ ย้วยๆ ใช้ชแล็ค สมัยใหม่เขา
พ่น พ่นแล้วมันก็จะไม่เข้าไปเนื้อไม้ มันก็จะไม่ทน ที่นี่มันขายดีเพราะว่าเขา
ท�ำแบบดั้งเดิม คือยังใช้มือทาอยู่”
	 เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความช�ำนาญในงานช่างท�ำกรงนกของสามีที่ถึง
แม้จะสั่งกรงนกส�ำเร็จรูปมาจากที่อื่น แต่ก็ยังคงอนุรักษ์วิธีทาสีดั้งเดิม คือ
ทาด้วยมือแทนการพ่นแบบสมัยใหม่
	 อ้วนยังได้เรียนวิชาเย็บผ้าประดับกรงนกผ่านการสังเกตแม่ของสามี โดย
ในช่วงแรกยังไม่มีทักษะในด้านงานเย็บปักถักร้อยเท่าไรนัก และแม่สามียัง
ไม่ได้ถ่ายทอดวิชานี้ให้ แต่ด้วยความพยายามฝึกฝน เมื่อแม่สามีล้มป่วยเธอ
จึงน�ำผ้าที่ลูกค้าสั่งไปให้ตัดที่โรงพยาบาลและน�ำมาเย็บด้วยตนเอง
	 หากถามถึงบรรยากาศของป้อมมหากาฬสมัยที่เธอมาอยู่ใหม่ๆ นั้น อ้วน
เล่าว่า “พี่แต่งงานอยู่กับแฟนก็ 30 ปีได้ พี่มาอยู่ตั้งแต่อายุ 12-13 ปี อยู่
วัดราชนัดดา แต่ว่าสมัยก่อนตรงนี้มันไม่ได้โล่งๆ แบบนี้ มันเป็นร้านขายนก
อยู่ข้างใน ข้างหน้านี่จะเป็นร้านขายพวกโอเลี้ยง กาแฟ ขายข้าวไม่ค่อยน่าดู”
เธอยังได้กล่าวย้อนไปก่อนหน้าที่จะมาอยู่อีกว่า “สมัยก่อนป้อมไม่ได้เป็น
แบบนี้ แต่ชุมชนก็พัฒนามาตลอด” โดยบ้านหลังปัจจุบันที่เธออยู่นั้น ผ่าน
การต่อเติมมาหลายครั้งเพราะต้องขยายจ�ำนวนห้องไปตามสมาชิกครอบครัว
	 ช่วงที่คนในป้อมเริ่มถูกสั่งให้ย้ายไปอยู่ที่อื่น เธอเล่าว่า “กทม.จะท�ำสวน
เฉลิมพระเกียรติฯ แต่น้องก็เห็นไม่ใช่หรอ รื้อไปก็ไม่มีคนท�ำ หมดเงินไปกี่ล้าน
รื้อไปมันก็ใช้ประโยชน์ไม่ได้ แล้วพี่ไปถามคนเดินแจกใบปลิว ถ้าเขามาเป็น
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
31
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
32
สวนอย่างนี้จะกล้าเข้ามาไหม ทุกคนพูดเหมือนกันหมดเลยว่า ใครจะเข้ามา
ก�ำแพงมันบังอย่างนี้ น่ากลัว เราก็ท�ำแบบสอบถาม เขาอยากท�ำอะไร เขาก็
บอกท�ำทุกวิถีทาง ขอให้ได้อยู่ ขอให้มีคนอยู่ร่วม แต่ก็ไม่เห็นจะได้สักที”
ช่วงแรกจะมีเอกสารมาแปะที่บ้านมีการเรียกเจรจาและให้ทุกบ้านรับเงินจาก
ทางกรุงเทพมหานคร “แม่แฟนพี่ก็รับ รับมา 25% เขาไม่อยากไป ตอนนั้น
หัวหน้าชุมชนคนเก่า (เสียชีวิตไปนานแล้ว) เขาพูดว่า ‘ถ้าเอ็งไม่เอาเงินเดี๋ยว
เขามาไถเอ็งก็ไม่ได้อะไรนะได้เงินซะเอ็งก็ยังมีเงินไปดาวน์ที่ไปจองตรงนี้ๆนะ
เราก็เลยไปเอา”
	 อย่างไรก็ตามหลังจากรับเงินจากทางกทม.ยังไม่มีการรื้อถอนใดๆเพราะ
ชาวบ้านเจรจาขออยู่ต่อ และผ่านยุคสมัยนักการเมืองหลายคน มาจนถึง
ปัจจุบัน “ก็เหมือนเราเจรจาขออยู่ต่อ เขาก็ไม่เห็นท�ำอะไรเลย แล้วก็มาถึง
สมัยผู้ว่าฯ อภิรักษ์ เขาก็มาเซ็น MOU ว่าจะให้อยู่ต่อ ก็ยังมีเห็นด้วยกับเรา
พอหมดอภิรักษ์ไป ก็เอาอีก เปลี่ยนสมัยทีก็เปลี่ยนที สลับไปสลับมา 4 ปี กู
เอาที” ด้วยเหตุนี้ ต่อมาชาวบ้านจึงรวมกลุ่มสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ เพื่อ
ให้คนนอกได้รับรู้ถึงเหตุผลที่ชุมชนควรอยู่คู่ป้อมมหากาฬ ส่วนตัวอ้วนเอง
ก็ได้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการ Co-Create จัดสร้างพิพิธภัณฑ์มีชีวิตเพื่อให้
ทุกคนสามารถเข้ามาภายในชุมชนเพื่อศึกษาข้อมูลจากชาวบ้านที่อาศัยอยู่
จริงได้
	 นอกจากนี้ ทางชุมชนยังไม่ขาดความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอก
ที่ยื่นมือเข้ามา โดยเฉพาะชาวต่างชาติ “อาจารย์ไมเคิล มหาวิทยาลัยฮาเวิร์ด
เขาก็เข้ามาสมัยแรกๆ เลยนะ เข้ามาตั้งแต่ยังไม่มีอะไรเลย ทุกวันนี้เขาก็ยัง
ติดต่อกัน ฝรั่งเขาก็มาช่วย เขายังส่งเรื่องถึง กทม. มีคนช่วยเยอะนะ คือเขา
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
33
เข้ามาดูแล้วมันไม่น่าจะท�ำสวนได้ เพราะดูแล้วมันไม่ใช่ ถ้าให้คนอยู่มันน่าจะ
ดีกว่า คนข้างนอกเขามาดู เขามาศึกษาเขาจะเห็นด้วยกับเรามากกว่าที่ทาง
กทม. แต่ถ้าคนข้างนอกเขาจะไม่รู้ไง ว่าข้างในนี้มันมีอะไรบ้าง ต้องเข้ามารู้
ถึงจะเห็นความจริงว่ามันเป็นอย่างนี้บางทีคนฟังแต่ข่าวทางโน้น ไม่ได้มานี่จะ
ไม่รู้”
	 อย่างไรก็ตามทางกทม.ยังคงเดินหน้านโยบายรื้อป้อมต่อไป และถ้าหาก
วันนั้นมาถึงวันที่บ้านของอ้วนถูกรื้ออ้วนและครอบครัวก็ไม่คิดจะย้ายหนีไปไหน
“มันรู้สึกว่าแบบ เฮ้ย จะอยู่ได้หรือเปล่าวะ ก็คิดว่าแบบ แต่ยังไงก็ต้องอยู่
ลูกก็อยากจะอยู่ที่นี่ คงไปที่ไหนไม่ได้แล้ว”.
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
34
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
35
โดย นภสร เวชพราหมณ์
	 เดิมจันอาศัยอยู่กับพ่อและแม่เลี้ยงในชุมชนมุสลิมข้างทางรถไฟแยก
ยมราช เมื่อพ่อจากไปจึงย้ายกลับมาอยู่ในชุมชนป้อมมหากาฬซึ่งเป็นบ้าน
ทางแม่ จันย้ายมาตอนอายุ 8 ขวบ ขณะเรียนโรงเรียนวัดพระยายัง ก่อนจะ
ย้ายทะเบียนบ้านตามมาทีหลังโดยมีญาติอยู่ในชุมชนคือบ้านขายดอกไม้ไฟ
หน้าชุมชนซึ่งเป็นมุสลิมด้วยกัน จันพูดถึงบรรยากาศในป้อมตอนเด็กๆ ว่า
“มันบ้านๆ กว่า ไม่เป็นแบบนี้มันบ้านๆ เราเดินเข้าออกได้ทุกบ้าน คนเฒ่า
คนแก่ก็อยู่เยอะกว่านี้ นี่เขาก็รื้อกันไปหลายบ้าน ย้ายไปหลายบ้าน ตอนนั้น
บ้านนี่ติดๆกันหมด สมัยก่อนโรงหนังเฉลิมไทยยังไม่รื้อเลยนะ ยังวิ่งเล่น
โรงหนังเฉลิมไทยอยู่เลย ทางนี้ก็ไม่ได้เป็นแบบนี้ด้วย ทางด้านที่เป็นสวน
หย่อมก็เป็นตลาดนก ทางเข้า”
	 ปัจจุบันจันอาศัยอยู่ที่บ้านพร้อมสามีและลูกหลาน เธอขายอาหารตาม
สั่งและเปิดร้านขายของช�ำไปพร้อมกัน บ้านของจันจึงเป็นแหล่งเสบียงของ
ชาวบ้านและเมื่อชุมชนมีงานส�ำคัญ รวมถึงงานสักการะพ่อปู่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์
ประจ�ำชุมชนป้อมมหากาฬ
	 ในปี พ.ศ.2535 นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ไล่รื้อ เธอจึงเริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง
ของการต่อสู้เพื่อการอยู่รอดของทุกคนเรื่อยมา “คนในชุมชนเยอะกว่านี้
ก็ยังร่วมมือร่วมใจกัน ตอนช่วงนั้นก็ไปหลายบ้านแล้วนะ หลังจากนั้นก็ไปอีก
จัน
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
36
หลายบ้านอีก และมาถึงคราวนี้ก็ทยอยๆ ออก ตอนนั้นคนแก่คนมีอายุที่ว่า
ไม่ใช่เป็นที่ของตัวเองกทม.มาเสนอเงินให้คนเฒ่าคนแก่เห็นเงินก็ดีใจตาโตแล้ว”
	 จันเป็นหนึ่งในแกนน�ำชุมชน ที่ไม่เคยคิดท้อต่อการต่อสู้เพื่อการอยู่รอด
“ท้อไม่ได้ เหนื่อยยังไม่ได้เลย เราต้องนึกถึงลูกหลาน ที่เราอยู่ถ้าเราไม่สู้แล้ว
ลูกหลานเราจะอยู่ได้อย่างไร ถ้าเราสู้แล้วลูกบ้านถอยก็ไม่รู้จะสู้ไปท�ำไม
เราเป็นผู้น�ำ มันสู้เราก็ต้องสู้ต่อไป ถามว่าท้อไหม ไม่เคยคิดท้อ อยากให้จบรู้
แล้วรู้รอด”
	 จันและคนในชุมชนจึงเริ่มท�ำโครงการต่างๆ เพื่อกระตุ้นจิตส�ำนึกให้
คนในป้อมตระหนักถึงความส�ำคัญของการอยู่ร่วมกัน และให้ผู้คนภายนอก
ได้รับรู้ถึงคุณค่าในตัวชุมชน รวมถึงใช้วิธีเจรจากับทาง กทม.ที่จะมารื้อด้วย
เช่นกัน “อีกหน่อยกรุงเทพฯ ไม่มีแล้วชุมชน ถ้าโดนอย่างนี้ไม่มี ขึ้นเป็นตึกสูง
อันไหนที่เป็นโบร�่ำโบราณก็จะไม่มีให้พวกนักศึกษา สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่ง
เรียนรู้ได้ กทม.ไม่เคยมีความคิดนะว่าจะมาอนุรักษ์บ้านเรือนไทย จะมาท�ำ
สิ่งเรียนรู้ให้นักศึกษา กทม.ท�ำไม่ได้อย่างที่พวกเราท�ำหรอกเชื่อได้ เขาไม่ได้
อยู่ในพื้นที่ก่อนหน้านี้กทม.จะท�ำแค่สวนหย่อมแต่พอเห็นแนวคิดของชุมชน
เขาก็เลยเอามาเป็นแนวคิดบ้าง แต่ให้เขามาพูดมาคิดอย่างเรา เขาอธิบาย
ไม่ได้อย่างเราหรอก บ้านหลังนี้เป็นอย่างไร พื้นเพคนดั้งเดิมมีอาชีพอะไร
เขาเล่าไม่ได้ แต่อันนี้เขามีตัวตนที่เล่าได้ตามบ้าน”
	 บ้านของจันสร้างด้วยไม้ มีอายุเก่าแก่ จึงเตรียมจัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์
มีชีวิตคือมีคนอาศัยอยู่ในบ้านและสามารถให้คนภายนอกเข้ามาดูได้“ใช้ค�ำว่า
พิพิธภัณฑ์ มันก็ต้องมีคนที่อยู่ในพื้นที่ เล่าอธิบายได้ แล้วจะเป็นพิพิธภัณฑ์มี
ชีวิต มีแต่บ้านมานั่งดู เงินหยอดตู้ แล้วก็ออก เขียนประวัติให้เขาอ่าน
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
37
อย่างนั้นเหรอ ขนาดวัดโพธิ์ วัดพระแก้ว เขาก็ยังมีมัคคุเทศก์ มีอะไรเดิน
อธิบายเดินบอกใช่ไหม ตรงนี้ฝรั่งก็เข้าเยอะนะ และข่าวข้อมูลข่าวไปถึงต่าง
ประเทศ คนก็เข้ามาดูมาถ่ายรูปความสัมพันธ์ที่อยู่ในนี้กัน”
	 และถึงแม้ว่า จันจะมีญาติอยู่ต่างจังหวัด แต่เธอก็ยังไม่อยากย้ายไปจาก
ที่นี่ เพราะเธอมีความรัก ความผูกพันอยู่กับชุมชนแห่งนี้มาตั้งแต่เกิด.
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
38
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
39
โดย นภสร เวชพราหมณ์
	 เล็ก พีระพล เหมรัตน์ เกิดในชุมชนหลังโรงแรมรัตนโกสินทร์เมื่อปี พ.ศ.
2503 ย้ายเข้ามาอยู่ในชุมชนป้อมมหากาฬเพราะถูกไล่ที่เมื่อประมาณเกือบ
40 ปีก่อน บ้านที่อยู่ทุกวันนี้เป็นที่ของพ่อตาแม่ยาย ซึ่งได้มีการเช่าต่อกันมา
เล็กพูดถึงสภาพความเป็นอยู่ในป้อมช่วงวัยเด็กไว้ว่า “ที่นี่ เมื่อก่อนมีบ้านอยู่
เต็มไปหมดเลย ตอนพี่เรียนวัดสุทัศน์ก็มีเพื่อนเรียนอยู่ที่นี่ ตอนเด็กก็มาเที่ยว
กับเพื่อนประจ�ำ มากินมานอนในนี้ตั้งแต่เด็ก จนมาได้แฟนอยู่ที่นี่”
	 หลังจากเรียนจบชั้นประถมและมัธยมเล็กเรียนต่อระดับประกาศนียบัตร
ชั้นสูง ด้านพาณิชย์ที่เทคนิคกรุงเทพฯ และท�ำงานแผนกน�ำเข้า – ส่งออก
สินค้า ในบริษัทผลิตอุตสาหกรรมเส้นด้าย และย้ายออกไปผ่อนบ้านใหม่ จน
เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงปี2540บริษัทล้มละลายบ้านที่ผ่อนไว้ถูกยึดท�ำให้
เล็กต้องกลับมาประกอบอาชีพขายโอเลี้ยงกาแฟเย็นในบริเวณชุมชนตามเดิม
เมื่อกลับมาอยู่ในชุมชนอีกครั้งเล็กเริ่มท�ำงานร่วมกับเครือข่ายชาวบ้านในเขต
อื่นๆ เล็กจึงเลิกอาชีพค้าขาย ผันตัวมาท�ำงานให้กับชุมชนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
	 “เรามีความรู้อยู่แล้ว จะไปท�ำงานที่ไหนอะไรก็ได้ เราเอาบ้านและงาน
ชุมชนที่อยู่อาศัยเราก่อนดีกว่า” เล็กเล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่ได้ออกมาท�ำธุรกิจ
ค้าขายน�้ำในชุมชนท�ำให้เริ่มมีความใกล้ชิดและมองถึงปัญหาของชุมชนมากขึ้น
ประกอบกับในช่วงนั้นเป็นช่วงที่สถานการณ์การไล่รื้อนั้นเริ่มตึงเครียดมากขึ้น
เล็ก
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
40
ชุมชนเริ่มน�ำหน่วยงานของเอกชนหรือหน่วยงานที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือ
ของเครือข่ายชาวบ้านผู้โดนไล่ที่ต่างๆ เข้ามา ท�ำให้เล็กเริ่มที่จะท�ำงานชุมชน
อย่างเต็มเวลา จนต้องเลิกกิจการส่วนตัวไป โดยมีงบประมาณจากการ
ออมทรัพย์ส่วนกลางของเครือข่ายที่เป็นตัวเลี้ยงชีพของเล็กเอง
	 “เรามาอยู่ที่นี่ เราก็รักที่นี่เหมือนกัน และพอมาดู หนึ่งเราดูแล้วเรา
ไปไหนไม่ได้และสองที่นี่เหมือนครอบครัวใหญ่ครอบครัวหนึ่งก็ช่วยกันดูแล”
เล็กเล่าให้ฟังถึงความรู้สึกก่อนที่จะเข้ามาท�ำงานชุมชนอย่างจริงจัง“พอกทม.
ให้เงื่อนไขว่าต้องออกจากพื้นที่ พ่อแม่ก็ไปจองล็อค โดยเขาจะมีกระดาษแผ่น
ใหญ่เป็นแปลนเป็นล็อค ก็ไปจิ้มๆ กัน”
	 เล็กเล่าถึงสถานที่ที่กรุงเทพมหานคร จัดเตรียมไว้ให้ส�ำหรับพี่น้องชุมชน
ป้อมฯ รวมถึงชุมชนอื่นๆ ที่ถูกกรุงเทพมหานครมองว่าเป็นพื้นที่แออัดและมี
ความต้องการที่จะไล่รื้อแหล่งที่อยู่อาศัยเหล่านั้น และย้ายผู้คนทั้งหมดไปอยู่
ในพื้นที่ที่เรียกว่า “โครงการฉลองกรุง 2” อยู่แถวเขตมีนบุรี เล็กอธิบายว่า
ตั้งแต่การเริ่มมีประกาศเวนคืน ในปี พ.ศ. 2535 ตอนนั้นเล็กเป็นมนุษย์เงิน
เดือนอยู่และไม่ได้สนใจเรื่องของการต่อสู้ และพ่อตาแม่ยายของเล็กได้รับเงิน
และจองที่ไป ซึ่งการรับเงินก็ขึ้นอยู่กับขนาดของบ้าน และในการจองที่นั้น
จ�ำเป็นต้องมีการวางเงินดาวน์และผ่อนกับธนาคารการเคหะฯ
	 หลังจากผ่อนส่งไปได้ 1 – 2 ปี ประมาณปี พ.ศ. 2539 ชาวบ้านรวมตัว
กันไปดูสถานที่ตั้งโครงการ แต่กลับพบเพียงพื้นที่ว่างเปล่า แม้กระทั่งระบบ
ประปา – ไฟฟ้า ก็ยังไม่ได้ถูกจัดการให้เรียบร้อย ตลอดจนถนนทางเข้าไปยัง
ตัวโครงการก็มีสภาพย�่ำแย่ ห่างไกลจากถนนสายหลักเกือบ 8 กิโลเมตร ใน
ขณะที่ระบบขนส่งสาธารณะก็มีน้อยมาก และสาเหตุส�ำคัญอีกประการหนึ่ง
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
41
ผลงานดินเผาที่ท�ำร่วมกับเด็กในชุมชน
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
42
คือ ระบบโครงสร้างพื้นฐานในการด�ำรงชีวิตเต็มไปด้วยความยากล�ำบากใน
การเข้าถึง จะส่งผลกระทบของความเป็นชุมชนที่มีอยู่เดิม ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง
ของผู้คนที่หลากหลายมากขึ้นความแออัดที่ไม่ต่างจากเดิมเพียงแต่ย้ายที่และ
มีจ�ำนวนประชากรเยอะขึ้น ท�ำให้ชาวบ้านไม่สามารถรับเงื่อนไขและการ
จัดการของรัฐ จึงน�ำไปสู่การหาทางแก้ปัญหาในแบบอื่นๆ ต่อมา
	 เล็กเล่าให้ฟังว่า การท�ำงานในชุมชนของเล็กนอกจากจะเป็นแรงผลัก
ดันในการน�ำชาวบ้านจัดการพัฒนาภายในชุมชนแล้ว การที่เล็กเดินทางออก
ไปท�ำงานอาสากับกลุ่มเครือข่ายต่างๆ นั้นก็เป็นการท�ำงานให้ชุมชนไปด้วย
อีกทาง เพราะเมื่อถึงเวลาที่สถานการณ์ของชุมชนป้อมฯ เข้าสู่ช่วงตึงเครียด
ก็ได้ทั้งแรงก�ำลังกายและการช่วยเหลือข้าวของต่างๆจากกลุ่มพี่น้องเครือข่าย
ที่มาช่วยเหลือท�ำให้ป้อมต่อสู้ได้มาจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงการที่ออกไปช่วย
เหลือพี่น้องชุมชนอื่นๆ ก็เปรียบเสมือนการดูงานของเล็กเพื่อน�ำมาปรับใช้กับ
ชุมชนของตัวเอง
	 “สิ่งที่เรามองเห็นว่ามันมีทางสู้ต่อ คือ มีนักกฎหมายเป็นอาจารย์ จาก
มธ. ร่วมถึงกลุ่มนักวิชาการต่างๆ หรือพวกกลุ่ม อย่างกลุ่ม hostel หรือ กลุ่ม
onceagainซึ่งก็คุยกันว่าป้อมนี่มันน่าจะอยู่คู่กับเมืองได้นะมันไม่ได้ไปเบียด
บังที่ทางหน่วยงานของรัฐ เพียงแต่เขาอยู่เป็นสวนของเขา มีสวนบ้างมีชาว
บ้านอยู่บ้าง ซึ่งการที่หน่วยงานต่างๆ กลุ่มต่างๆ รวมถึงพี่น้องจากหลายที่เข้า
มาช่วยเรา ท�ำให้เราเห็นว่า มันก็น่าจะมีทางนะ คนอื่นยังมาช่วยเราขนาดนี้
เราไม่ได้อยู่อย่างโดดเดียว”
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
43
	 เล็กเล่าถึงสิ่งที่ท�ำให้มีก�ำลังใจสู้มาถึงทุกวันนี้ก่อนที่จะพูดถึงช่วงท้อที่สุด
ว่าก็เป็นช่วงที่โดนเข้ามารื้อสวนในบริเวณส่วนหน้าของป้อมไป “สู้มา 24 ปี
เราไม่ได้สู้กันมาอย่างโดดเดี่ยวนะ พี่น้องเราเยอะ เรามีเพื่อน”
	 การที่มีเครือข่ายชุมชนอย่างเครือข่ายคลองหรือชุมชนที่ถูกรื้อไล่อื่นๆนั้น
สามารถเป็นพลังและแรงสนับสนุนซึ่งกันและกันเองทั้งในด้านนโยบายและ
การรวมพลังมวลชน พี่น้องป้อมฯ ช่วยพี่น้องคลอง พี่น้องคลองช่วยพี่น้อง
ริมทางรถไฟ จนเกิดเป็นพลังมวลชนที่สามารถปลุกกระแสของสังคมให้หัน
มาให้ความสนใจในความเพิกเฉยต่อผู้คนของรัฐ
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
44
M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม
45
โดย วิศรุต ประทุมมา
	 นับเป็นเวลาร่วม 30 ปีที่ อุทร ปัญญาศิริ ได้ก้าวเข้ามาพักอาศัย และใช้
ชีวิตอยู่ที่ชุมชนป้อมมหากาฬ “เริ่มแรกก็มาเช่า มาอยู่ห้องหนึ่งในบ้านหลังนี้
แหละ แต่อยู่ข้างล่าง ที่นี่แต่ก่อนแบ่งให้เช่าบริเวณชั้นล่าง มีทั้งหมดประมาณ
4-5 ห้อง ข้างบนเจ้าของอยู่” ในช่วงปี พ.ศ.2527 – 2528 ชุมชนมีผู้คนอาศัย
อยู่อย่างหนาแน่นและแออัด“คนเยอะ อย่างชั้นล่างก็เป็น 20-30 คน วุ่นวาย
มาก เรามุ่งมั่นหาเงินอย่างเดียว คนที่อยู่ก็คุยกัน ส่วนมากก็คนต่างจังหวัด
กันทั้งนั้น เช่าอยู่ก็เลยคุยกันเข้าใจรู้เรื่อง สิ่งแวดล้อมเราก็ไม่สนใจ หนวกหู
อะไรเราก็ทน”
	 ปัจจุบันในวัย 58 ปี อุทรอาศัยอยู่ร่วมกับภรรยาและลูกชายคนเล็ก ส่วน
ลูกสาวคนโตอยู่ต่างจังหวัด เรียนจบและมีครอบครัวแล้ว “ตอนแรกก็อยู่ใน
ห้องเล็ก ไม่กล้าเอามาเลี้ยง เลยส่งไปต่างจังหวัดให้แม่ยายเลี้ยง พอโตขึ้นมา
เขาก็ไปสอบได้ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ลูกชายคนเล็กเพิ่งเรียน ป.6 จบที่นี่”
พื้นเพเดิมของอุทรอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา ส่วนภรรยาเป็นชาวจังหวัด
หนองคาย “เจ้าของเขาไม่ค่อยอยู่บ้าน ผมก็ช่วยดูแลบ้าน เขาเลยให้ขึ้นมาอยู่
ข้างบน...ก็มีหลานที่มาอาศัยเรียนหนังสือก็มาเป็นรุ่นๆน้องก็มาพักบ้างอะไร
บ้าง มีงานเขาก็ไป ที่นี่ก็กลายเป็นจุดรวมของญาติพี่น้องที่มากรุงเทพฯ”
	 อุทรเช่าห้องจากเจ้าของชื่อองุ่น เป็นการเช่าแบบปากเปล่า ไม่มีหนังสือ
สัญญา “พี่องุ่นเขามาเช่าอีกทีหนึ่ง มาสอบถามทีหลัง จริงๆเป็นของคุณเฉลา
...บ้านหลังนี้วุ่นวายเหมือนกันนะ มันมีการฟ้องกันระหว่างเจ้าของบ้านกับ
เจ้าบ้าน ใบทะเบียนบ้านเป็นชื่อของพี่องุ่น แต่ใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าและน�้ำ
อุทร
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life

More Related Content

What's hot

ภาษาพูด ภาษาเขียน
ภาษาพูด ภาษาเขียนภาษาพูด ภาษาเขียน
ภาษาพูด ภาษาเขียนmonnawan
 
เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑พัน พัน
 
การร้อยเรียงประโยค ครูคุณานนต์
การร้อยเรียงประโยค ครูคุณานนต์การร้อยเรียงประโยค ครูคุณานนต์
การร้อยเรียงประโยค ครูคุณานนต์คุณานนต์ ทองกรด
 
คำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติ
คำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติคำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติ
คำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติsurang1
 
ตัวอย่างโครงการสอน
ตัวอย่างโครงการสอนตัวอย่างโครงการสอน
ตัวอย่างโครงการสอนKrupol Phato
 
ใบงาน1จุด
ใบงาน1จุดใบงาน1จุด
ใบงาน1จุดkanjana2536
 
การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย
การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัยการเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย
การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัยBenjapron Seesukong
 
๒.๓ แนวข้อสอบสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา จักราวุธ คำทวี
๒.๓ แนวข้อสอบสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา จักราวุธ คำทวี๒.๓ แนวข้อสอบสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา จักราวุธ คำทวี
๒.๓ แนวข้อสอบสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา จักราวุธ คำทวีนายจักราวุธ คำทวี
 
ข้อสอบ LAS ปี ๒๕๕๗ ภาษาไทย ป.5
ข้อสอบ LAS ปี ๒๕๕๗ ภาษาไทย ป.5ข้อสอบ LAS ปี ๒๕๕๗ ภาษาไทย ป.5
ข้อสอบ LAS ปี ๒๕๕๗ ภาษาไทย ป.5Khunnawang Khunnawang
 
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญในบางกอก
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญในบางกอกแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญในบางกอก
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญในบางกอกDarunee Keawsod
 
หนังสือเรียนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
หนังสือเรียนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติหนังสือเรียนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
หนังสือเรียนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติJarinya Chaiyabin
 
กาพย์ยานี
กาพย์ยานีกาพย์ยานี
กาพย์ยานีkhorntee
 
เรขาคณิต (Geometry)
เรขาคณิต (Geometry) เรขาคณิต (Geometry)
เรขาคณิต (Geometry) pratumma
 
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์Attapon Phonkamchon
 
แผ่นพับปลาย
แผ่นพับปลายแผ่นพับปลาย
แผ่นพับปลายjunyarat
 
อักษรนำ
อักษรนำอักษรนำ
อักษรนำAunop Nop
 

What's hot (20)

โจทย์ปัญหาการบวกลบระคนป.1
โจทย์ปัญหาการบวกลบระคนป.1โจทย์ปัญหาการบวกลบระคนป.1
โจทย์ปัญหาการบวกลบระคนป.1
 
ภาษาพูด ภาษาเขียน
ภาษาพูด ภาษาเขียนภาษาพูด ภาษาเขียน
ภาษาพูด ภาษาเขียน
 
ใบงาน
ใบงานใบงาน
ใบงาน
 
เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
 
การร้อยเรียงประโยค ครูคุณานนต์
การร้อยเรียงประโยค ครูคุณานนต์การร้อยเรียงประโยค ครูคุณานนต์
การร้อยเรียงประโยค ครูคุณานนต์
 
คำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติ
คำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติคำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติ
คำทับศัพท์และศัพท์บัญญัติ
 
ข้อสอบการงานอาชีพและเทคโนโลยี ป.5
ข้อสอบการงานอาชีพและเทคโนโลยี ป.5ข้อสอบการงานอาชีพและเทคโนโลยี ป.5
ข้อสอบการงานอาชีพและเทคโนโลยี ป.5
 
ตัวอย่างโครงการสอน
ตัวอย่างโครงการสอนตัวอย่างโครงการสอน
ตัวอย่างโครงการสอน
 
ใบงาน1จุด
ใบงาน1จุดใบงาน1จุด
ใบงาน1จุด
 
การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย
การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัยการเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย
การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย
 
๒.๓ แนวข้อสอบสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา จักราวุธ คำทวี
๒.๓ แนวข้อสอบสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา จักราวุธ คำทวี๒.๓ แนวข้อสอบสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา จักราวุธ คำทวี
๒.๓ แนวข้อสอบสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา จักราวุธ คำทวี
 
ข้อสอบ LAS ปี ๒๕๕๗ ภาษาไทย ป.5
ข้อสอบ LAS ปี ๒๕๕๗ ภาษาไทย ป.5ข้อสอบ LAS ปี ๒๕๕๗ ภาษาไทย ป.5
ข้อสอบ LAS ปี ๒๕๕๗ ภาษาไทย ป.5
 
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญในบางกอก
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญในบางกอกแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญในบางกอก
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญในบางกอก
 
หนังสือเรียนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
หนังสือเรียนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติหนังสือเรียนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
หนังสือเรียนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
 
กาพย์ยานี
กาพย์ยานีกาพย์ยานี
กาพย์ยานี
 
เรขาคณิต (Geometry)
เรขาคณิต (Geometry) เรขาคณิต (Geometry)
เรขาคณิต (Geometry)
 
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
 
แผ่นพับปลาย
แผ่นพับปลายแผ่นพับปลาย
แผ่นพับปลาย
 
อักษรนำ
อักษรนำอักษรนำ
อักษรนำ
 
ข้อสอบคอมพิวเตอร์ PowerPoint +internet
ข้อสอบคอมพิวเตอร์ PowerPoint +internetข้อสอบคอมพิวเตอร์ PowerPoint +internet
ข้อสอบคอมพิวเตอร์ PowerPoint +internet
 

More from Tum Meng

IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น Tum Meng
 
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุขหนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุขTum Meng
 
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้Tum Meng
 
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทยเหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทยTum Meng
 
การศึกษาเพื่อความเป็นไท
การศึกษาเพื่อความเป็นไทการศึกษาเพื่อความเป็นไท
การศึกษาเพื่อความเป็นไทTum Meng
 
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)Tum Meng
 
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมืองสรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมืองTum Meng
 
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลกEduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลกTum Meng
 
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้Tum Meng
 
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วนEduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วนTum Meng
 
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....Tum Meng
 
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเราโรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเราTum Meng
 
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่Tum Meng
 
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)Tum Meng
 
Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015 Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015 Tum Meng
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)Tum Meng
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)Tum Meng
 
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้าชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้าTum Meng
 
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่นหลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่นTum Meng
 
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเองทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเองTum Meng
 

More from Tum Meng (20)

IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น
 
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุขหนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
 
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
 
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทยเหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
 
การศึกษาเพื่อความเป็นไท
การศึกษาเพื่อความเป็นไทการศึกษาเพื่อความเป็นไท
การศึกษาเพื่อความเป็นไท
 
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
 
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมืองสรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
 
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลกEduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
 
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
 
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วนEduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
 
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
 
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเราโรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
 
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
 
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
 
Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015 Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)
 
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้าชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
 
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่นหลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
 
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเองทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
 

ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life

  • 1.
  • 2.
  • 3. ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม M a h a k a n L i f e:
  • 4. “ความเป็นชุมชนนั้น ไม่ใช่แค่ไม้ แค่ตัวบ้านเรือนอยู่อาศัย แต่คือ ความสัมพันธ์ ความผูกพัน ความเป็นเครือญาติ พี่น้อง ครอบครัว คือต้นทุนทางประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรมที่มีและด�ำรงอยู่และหมายรวมถึงความภาคภูมิใจ ในความเป็นคนป้อมมหากาฬที่ต่างมีร่วมกัน” “ชุมชนป้อมมหากาฬ” เป็นชุมชนที่มีอายุเก่าแก่นับร้อยปี ตั้งแต่สมัยรัชกาล ที่ 3 บริเวณแห่งนี้นั้นในอดีตเป็นที่อยู่อาศัยของข้าราชบริพารที่มีหน้าที่ดูแล วัดภูเขาทองและวัดราชนัดดาที่อยู่ใกล้เคียง นอกจากนี้ ชุมชนป้อมมหากาฬ ยังเป็นชุมชนโบราณที่มีต�ำนานและอาชีพเก่าแก่ดั้งเดิมที่มีการสืบทอดกันมา จนถึงทุกวันนี้ จนกระทั่ง พ.ศ.2535 เมื่อกรุงเทพมหานครได้ออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืน ที่ดิน ส่งผลให้มีการเวนคืนที่ ไล่รื้อชุมชนเพื่อน�ำพื้นที่ไปสร้างเป็น สวนสาธารณะตามแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ … จากวันนั้นจนวันนี้ นับเป็นเวลากว่า 24 ปีแล้ว ของการต่อสู้ของชุมชน ป้อมมหากาฬ บทน�ำ
  • 5. หากถามว่า ท�ำไมคนป้อมมหากาฬถึงลุกขึ้นมาต่อสู้ ค�ำตอบที่เด่นชัดในใจคน ป้อมมหากาฬ คือ …ที่นี่คือบ้าน บ้านอันเป็นทั้งเรือนเกิด และเรือนตายที่อยากฝังร่างไว้ …ที่นี่คือบ้าน ที่ที่มีความทรงจ�ำ มีความผูกพันของผู้คน ที่ผ่านทั้งคืน สุขและวันทุกข์ยากมาร่วมกัน “เราเป็นเพียงชุมชนเล็กๆ ไม่มีก�ำลังทรัพย์ใดๆ แต่ชุมชนมีก�ำลังใจ ก�ำลังกาย ที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมือง และมีส่วนร่วมในการพัฒนา สวนสาธารณะป้อมมหากาฬแห่งนี้ให้เป็นพื้นที่สีเขียวและพื้นที่เรียนรู้ เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม เราพร้อมและเราขอโอกาสพิสูจน์ตัวเอง” “คุณ...เป็นส่วนหนึ่งของเมืองเช่นไร เรา...ก็เป็นส่วนหนึ่งของเมืองไม่ต่างกัน คุณ...รักบ้านของคุณเช่นไร เรา...ก็รักบ้านของเรา ไม่ต่างกันเลย” ชุมชนป้อมมหากาฬ ธันวาคม พ.ศ.2559
  • 6. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 6
  • 7. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 7
  • 8. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 8
  • 9. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 9 โดย สรณ วิริยะประสิทธิ์ ก่อนจะกลายมาเป็นชาวชุมชนป้อมมหากาฬ ครอบครัวคิ้มเคยมีบ้าน อยู่แถวกิ่งเพชรมาก่อน เตี่ยของคิ้มมีอาชีพลากรถเจ๊กอยู่แถวสะพานผ่านฟ้า ลีลาศ รู้จักพื้นที่แถวนี้เป็นอย่างดี พอมีการเวนคืนเพื่อตัดถนน ครอบครัวของ คิ้มจึงได้ย้ายถิ่นฐานเข้ามา นั่นคือจุดเริ่มต้นของชีวิตในชุมชนป้อมมหากาฬ กว่า 60 ปี ของคิ้ม สมใจ กาญจนะ แรกเริ่มเข้ามา ครอบครัวของคิ้มอาศัยอยู่กับญาติที่มีบ้านอยู่ในชุมชน แห่งนี้ ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2505 - 2506 จึงแยกไปเช่าบ้านอยู่เอง นั่นคือ บ้านเลขที่ 97 ซึ่งในสมัยนั้นเจ้าของบ้านยังอาศัยอยู่และมีอาชีพท�ำทอง โดยการน�ำเศษทองมาหลอมใหม่ (ปัจจุบันบ้านหลังนี้ยังคงอนุรักษ์เอาไว้ใน ฐานะบ้านโบราณหนึ่งในห้าหลังของชุมชน) จนในที่สุดครอบครัวของคิ้มก็ได้ เช่าบ้านเลขที่ 89 อาศัยอยู่มาจนปัจจุบัน บ้านหลังนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของ วัดราชนัดดาราม มีลักษณะคล้ายห้องแถวเล็กๆ เรียงต่อกันสามหลัง ด้านหน้ากว้างหลังละ 3 เมตร มี 2 ชั้น สร้างจากไม้ทั้งหมด ค่าเช่าในระยะ แรกตกประมาณเดือนละ 20 บาท จนมาช่วงหลังจึงขึ้นเป็น 300 บาทต่อเดือน ต่อมา เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินบริเวณป้อมมหากาฬ ปี พ.ศ.2535 ทางวัดจึงได้คืนพื้นที่บ้านเช่าให้กรมศาสนา และส่งมอบให้ กรุงเทพมหานคร จนเกิดกรณีไล่รื้อที่เป็นข้อพิพาทกันมาจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) คิ้มจึงไม่ได้จ่ายค่าเช่าบ้านอีกต่อไป “พอเขาจะมาไล่รื้อ เราก็ไม่ได้ คิ้ม
  • 10. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 10 รับเงิน ไม่ได้อะไรเลย เพราะเจ้าของที่ เจ้าของบ้านเขาได้รับทั้งหมด” แม้ว่า จะมีการชดเชยค่าเวนคืน แต่ส�ำหรับคิ้มที่เป็นเพียงผู้เช่า จึงไม่มีสิทธิ์ใดๆ ในการได้รับเงินจ�ำนวนดังกล่าว ชุมชนป้อมมหากาฬในสมัยก่อนค่อนข้างคึกคัก ผู้คนมากมายทั้งใน ชุมชนและชุมชนรอบนอกต่างพากันแวะเวียนเข้ามาในป้อมมหากาฬเสมอ เนื่องจากเป็นย่านกลางเมืองที่ส�ำคัญแห่งหนึ่ง คิ้มเล่าให้ฟังว่า ในตอนแรก นอกจากเตี่ยที่ลากรถแล้ว ครอบครัวก็ท�ำการค้าขาย จะขายอะไรก็ขายได้ มีลูกค้ามาจับจ่ายซื้อของเสมอ ด้วยความที่ไม่ได้เรียนหนังสือ จึงช่วยทางบ้าน หารายได้ทั้งในส่วนการค้าขายและเย็บผ้าโหล เช่น ชุดเครื่องแบบนักเรียน กางเกง เสื้อ เป็นต้น แล้วเอาไปส่งขายตลาดเสื้อผ้าย่านโบ๊เบ๊ ต่อมาคิ้มหันมา ขายอาหารตามสั่งเป็นหลัก รวมทั้งพวกลูกชิ้นทอด ไก่ทอด ไปจนถึงก๋วยจั๊บ มาช่วง 30 ปีหลังนี้เอง ที่คิ้มเริ่มหันมายึดอาชีพขายกระเพาะปลา กระเพาะ ปลาเป็นอีกอาชีพเก่าแก่ของชาวชุมชน คิ้มบอกว่าสมัยก่อนนั้นมีคนท�ำ กระเพาะปลาแล้วน�ำออกไปขายนอกชุมชนจ�ำนวนมากถึง 9 เจ้า ก่อนจะ ล้มหายตายจาก หรือย้ายออกกันไป จนปัจจุบันเหลือเพียงเจ้าเดียว วัตถุดิบ ที่น�ำมาท�ำก็มักจะหาได้จากละแวกใกล้ๆ ยกตัวอย่างเช่นกระเพาะปลา หาซื้อ ได้ที่ตลาดเก่า เยาวราช ส่วนวัตถุดิบอื่นๆ ก็จะมาจากตลาดมหานาค หากแต่ ตอนนี้คิ้มเลิกขายกระเพาะปลาแล้ว เนื่องจากประสบอุบัติเหตุ บาดเจ็บที่ขา เมื่อ 5 ปีก่อน ท�ำให้ไม่สามารถเดินทางออกไปซื้อหาวัตถุดิบและขายของได้ อีกต่อไป นอกจากการท�ำมาหากินแล้ว ในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชน สมัยสาวๆ คิ้มมักจะไปท�ำบุญตามวัดต่างๆ ในละแวกนี้ อาทิ การท�ำบุญผ้าอาบน�้ำฝน
  • 11. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 11 ช่วงเข้าพรรษามักจะไปวัดราชนัดดาราม ส่วนงานลอยกระทงจะไปวัด สระเกศ ซึ่งจัดงานภูเขาทองเป็นที่สนุกสนาน และด้วยความที่มีเชื้อสายจีน ก็มักจะไหว้เจ้าทั้งที่บ้านและศาลเจ้าต่างๆ หรือพอถึงช่วงเทศกาลเชงเม้ง ก็จะไปประกอบพิธีที่ฮวงซุ้ยแถวจังหวัดสระบุรี ถือเป็นโอกาสอันดีที่คิ้มจะได้ พบปะญาติที่อาศัยอยู่ที่อื่น ส�ำหรับในส่วนของชุมชนเอง คิ้มเล่าถึงงานสมา พ่อปู่ป้อมมหากาฬ ซึ่งเป็นงานบุญใหญ่ประจ�ำปีของชาวชุมชนป้อมที่สืบทอด กันมานาน นับแต่ก่อนที่คิ้มจะมาอยู่ที่นี่เสียอีก พิธีกรรมนี้มีก�ำหนดจัดขึ้นช่วง หลังเทศกาลสงกรานต์ในแต่ละปีในสมัยก่อนที่ยังไม่มีระบบกรรมการหมู่บ้าน แบบปัจจุบัน คิ้มในวัยสาวเคยท�ำหน้าที่เหมือนเหรัญญิกคอยเรี่ยไรเงินจาก ชาวชุมชนมาช่วยกัน และช่วยในส่วนของการท�ำที่นั่งรดน�้ำมนต์ เป็นต้น คิ้มเสริมว่า “เป็นเรื่องปกติที่คนในชุมชนจะมาร่วมมือร่วมใจกันท�ำกิจกรรม ดังกล่าวอย่างแข็งขัน”
  • 12. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 12 บรรยากาศสมัยเก่าๆ ของพื้นที่ชานเกาะรัตนโกสินทร์อย่างชุมชนป้อม มหากาฬ มีชีวิตชีวาอย่างมาก “แถวนี้ก็มีชุมชนวัดราชนัดดา วัดเทพธิดา บ้านบาตรวัดแคนางเลิ้งทุกชุมชนวิ่งกันไปวิ่งกันมา” ปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาว ชุมชนแต่ละแห่งจึงเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไป เวลาที่ชุมชนป้อมมหากาฬมี งานอะไร คนชุมชนข้างนอกก็จะมากันบ้าง หรือเวลาชุมชนอื่นๆ จัดกิจกรรม ทางนี้ก็จะส่งตัวแทนเข้าไปร่วม แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์และความผูกพัน ของผู้คนที่อยู่กันมาดั้งเดิมแตกต่างกับวิถีต่างคนต่างอยู่ดังเช่นคนในเมืองใหญ่ ทั่วไป ชีวิตของคิ้มในชุมชนป้อมมหากาฬ เรียกได้ว่า มีความสุขสงบตาม อัตภาพ คิ้มพบรักกับสามีในปี พ.ศ. 2520 ก่อนจะแต่งงานและมาอยู่ด้วยกัน ที่บ้านในชุมชนแห่งนี้ และให้ก�ำเนิดลูกสาวหนึ่งคน ในช่วงแรกนั้น สามีของ คิ้มท�ำงานบริษัทวัสดุก่อสร้างแห่งหนึ่งในละแวกใกล้เคียง ก่อนจะลาออกมา ขายผลไม้ ปัจจุบันสามีของคิ้มเสียชีวิตแล้วหลังจากใช้ชีวิตในสมณเพศกว่า 12 ปี ส่วนลูกสาวแต่งงานและมีลูก 3 คน ปัจจุบันหลานทั้งสามคนพักอยู่กับ ญาติฝ่ายพ่อ แต่ตัวลูกสาวยังคงอยู่ดูแลคิ้มที่นี่เสมอมา นับตั้งแต่ช่วงหลังทศวรรษ 2530 ที่มีการไล่รื้อชุมชน คิ้มเล่าถึงการต่อสู้ ของชาวบ้านในตอนนั้นว่า “สมัยแรกๆเราก็ไปอยู่ตรงหัวป้อมกันต่อสู้อาหาร การกินก็อดๆ อยากๆ พอไปท�ำสวน เขาก็มารื้อ แล้วก็มีมาเรื่อยๆ ตลอด ไม่เคยหยุด” จนกระทั่งช่วง พ.ศ. 2541 - 2542 สถานการณ์ก็เริ่มดีขึ้นมาบ้าง ชาวบ้านมีความหวังในการต่อสู้มากขึ้นสิ่งที่ท�ำให้คิ้มมีก�ำลังใจมากในการต่อสู้ เหล่านี้คือ ความสมัครสมานสามัคคีกันของชาวชุมชนป้อม ที่ไม่ว่าจะมีเรื่อง อะไรเกิดขึ้นก็จะมาช่วยกันตลอด ส่วนตัวคิ้มเองเป็นหนึ่งในพลังเหล่านั้น
  • 13. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 13 เมื่อมีการเดินทางไปยื่นหนังสือ จะไปด้วยกัน“พอมามีข่าวไล่รื้อ คนในชุมชน ก็วุ่นวาย อยู่กันไม่สุข แต่พอมีเรื่องกันก็มารวมกัน” อาจกล่าวได้ว่า ความเป็น พี่เป็นน้องจากการที่รู้จักกันหมดนี้เอง เป็นพลังที่ส�ำคัญที่สุดของชุมชนป้อม มหากาฬ ยิ่งไปกว่านั้น การที่มีคนจากภายนอกเข้ามาช่วย ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยต่างๆ หรืออาจารย์ นักวิชาการ ก็เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่สร้าง ความสุขใจให้กับคิ้มมาก เพราะท�ำให้ไม่รู้สึกว่าโดดเดี่ยว และรู้สึกว่าชุมชน ยังสามารถต่อสู้เรียกร้องสิทธิการอยู่อาศัยกับทางกรุงเทพฯ ต่อไปได้ โดยส่วนตัวของคิ้มเองนั้น ปัจจุบันก็อายุมากแล้ว จัดได้ว่าเป็นกลุ่มคนที่อายุ มากที่สุดในป้อมเลยทีเดียว การที่จะต้องมานั่งจินตนาการถึงอนาคตว่าจะไป อยู่ที่ไหน จะมีชีวิตอย่างไร จึงเป็นเรื่องที่ยากมาก“คิดว่าถ้าต้องย้ายออกจาก ป้อมจริงๆ ก็ยังไม่รู้ ไม่เคยคิด คิดแล้วปวดหัว ยิ่งมีความดันอยู่ยิ่งไม่กล้าคิด แล้วแต่เวรแต่กรรม” อันที่จริงลูกหลานของก็เสนอว่าสามารถมาพักกับพวก เขาได้ แต่ด้วยความรักความผูกพันต่อวิถีชีวิตดั้งเดิมที่มีมากับชุมชนแห่งนี้ และไม่อยากไปเป็นภาระคนอื่น คิ้มจึงเลือกที่จะอยู่ต่อสู้ร่วมกันชาวชุมชน ที่เหลืออยู่ต่อไป ทุกวันนี้ แม้สุขภาพจะไม่เอื้ออ�ำนวยสักเท่าไร คิ้มยังคงเข้าร่วมกิจกรรม ของทางชุมชนอยู่เสมอมาโดยมีหน้าที่หลักตามการแบ่งรับผิดชอบของชุมชน คือการดูแลต้นไม้ดอกไม้ต่างๆ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่สวยงามต่อสายตา ผู้มาเยือน และยังไม่คิดจะยอมแพ้ให้กับการต่อสู้ในครั้งนี้.
  • 14. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 14
  • 15. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 15 เตี้ยม โดย สรณ วิริยะประสิทธิ์ “เกิดที่จังหวัดมหาสารคาม มาอยู่กรุงเทพฯ ตั้งนานแล้ว แต่ว่าอยู่ที่อื่นก่อนนะ แล้วก็ย้ายมาที่นี่ ได้ประมาณ 42 ปี แล้ว ...พอดีมีเพื่อนเป็นคนรู้จักกัน เขา เคยอยู่ที่นี่ เขาก็เลยชวนมา แต่ตอนนี้เขาย้ายออกไปแล้ว เราก็ยังต้องอยู่ ...” พรรณนีมาตย์สาลีหรือเตี้ยมคนเก่าอีกคนหนึ่งของชุมชนป้อมมหากาฬ เล่าให้เราฟังถึงที่มาที่ไปก่อนจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของที่นี่ แม้จะมีอายุเกือบ 60 ปี แล้ว แต่เรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับชีวิตของที่เกี่ยวข้องกับชุมชนป้อม มหากาฬยังแจ่มชัดและพร้อมจะถ่ายทอดออกมาให้ผู้คนที่สนใจฟังเสมอ “ตอนนั้นไม่รู้จักที่นี่หรอก มีเพื่อนเขาเช่าบ้าน เมื่อก่อนอยู่หลัง วัดเทพธิดาราม เพื่อนเขาบอกว่ามีห้องว่างอยู่จะไปอยู่ไหม” จากจุดเริ่มต้น ณบ้านไม้หลังเล็กๆ เลขที่95ปัจจุบันเตี้ยมก็ยังคงอาศัยอยู่ตลอดมาเป็นเวลา กว่า 42 ปีแล้ว โดยแรกเริ่ม เป็นการท�ำสัญญาเช่า แต่ต่อมาภายหลังเจ้าของ บ้านต้องการจะรื้อออกเนื่องจากได้คืนพื้นที่ให้กับทางกรุงเทพมหานครและ ได้รับเงินชดเชยครบแล้ว เตี้ยมจึงประสบกับสถานการณ์ที่ยากล�ำบาก ครอบครัวของเตี้ยมย้ายเข้ามาอยู่ที่ชุมชนแห่งนี้ตั้งแต่ตอนเตี้ยม อายุ 16 ปี ช่วงสาวๆ เตี้ยมท�ำงานที่โรงงานแถวสะพานปลาย่านบางรัก แต่พอพบ กับสามีและมีครอบครัวด้วยกัน จึงออกจากงานและมาเป็นแม่บ้านเลี้ยงลูก เมื่อมีเวลามากขึ้นจึงมีโอกาสเห็นความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับวิถีชีวิต
  • 16. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 16 ของชาวชุมชนป้อมมหากาฬเตี้ยมเล่าให้ฟังว่าสมัยก่อนที่แห่งนี้มีความสะดวก สบายมากเนื่องจากตั้งอยู่ใจกลางเมือง จะไปไหนมาไหนก็ง่าย ผู้คนในชุมชน เหมือนพี่น้องกันหมด ทุกคนรู้จักกัน ต่อมาช่วงที่เริ่มมีเรื่องไล่รื้อเกิดขึ้น (ทศวรรษ 2530) “คนที่นี่ก็ออกไปท�ำงานข้างนอก คนที่ว่างก็ท�ำกิจกรรม ข้างใน มีคนเข้ามาสอนนู่นนี่ เราก็ท�ำกันตลอดนะ” เตี้ยมยกตัวอย่างอาจารย์ และนักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เข้ามาสอนงานฝีมือหลากหลายไม่ว่าจะ เป็นการปักเสื้อ ท�ำดอกไม้ ท�ำยาดม โดยมีกลุ่มแม่บ้านของชุมชนจะเข้ามา เรียนรู้และจับกลุ่มท�ำกัน ตลอดจนคนที่ออกไปท�ำงานวันธรรมดา เมื่อมีเวลา ว่างวันเสาร์ – อาทิตย์ ก็จะมาช่วยกันท�ำด้วย เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการมี กิจกรรมร่วมกันในชุมชนซึ่งช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้าน นอกจากนี้กลุ่มแม่บ้านยังมีหน้าที่ท�ำอาหารส�ำหรับเลี้ยงในโอกาสที่มีแขกมา เยือน หรือในโอกาสงานพิเศษต่างๆ โดยส่วนตัวของเตี้ยมเองนั้นก็ให้ความ ร่วมมือกับทุกกิจกรรมด้วยความเต็มใจ
  • 17. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 17 โดยเฉพาะในส่วนของวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับ ความเชื่อและศาสนา งานสักการะพ่อปู่(งามสมาพ่อปู่ป้อมมหากาฬ) เป็นงานที่ส�ำคัญมากที่สุดของ ชาวชุมชนป้อมมหากาฬ ประกอบไปด้วยการเลี้ยงพระ ไหว้พ่อปู่บนป้อม มหากาฬ มีขบวนแห่กลองยาว มีคนร�ำน�ำขบวน ตัวที่เป็นแม่บ้านก็มักจะช่วย งานท�ำอาหารหรือจัดเตรียมสถานที่ต่างๆในชีวิตประจ�ำวันหากต้องไปท�ำบุญ ที่วัด เตี้ยมก็มักจะไปวัดราชนัดดารามหรือวัดเทพธิดาราม ซึ่งเวลามีกิจกรรม งานบุญในชุมชนแต่เก้าอี้ไม่พอ ก็สามารถไปขอยืมจากทางวัดได้เหมือนกัน “ทางวัดเขาจะมีใบบอกกิจกรรม ช่วงเข้าพรรษา ถวายผ้าอาบน�้ำฝน ตักบาตร เทโว” ด้วยความสัมพันธ์อันแนบแน่นดังกล่าว เวลามีงานต่างๆ คนในชุมชน ก็เลือกที่จะนิมนต์พระจากสองวัดนี้เป็นหลักเช่นกัน “เมื่อก่อนนี้เราไม่ได้พัฒนาอะไร เพราะว่าเราอยู่กันแบบไม่มีเหตุการณ์ อะไรที่ต้องมากันการไล่รื้อ อยู่กันแบบชาวบ้านทั่วไป ธรรมดาท�ำมาหากิน” เตี้ยมยอมรับว่า ด้วยสถานการณ์ที่บีบบังคับดังกล่าว จึงท�ำให้ชาวบ้านต้อง
  • 18. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 18 ร่วมมือสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มากขึ้น แม้ปกติจะมีกิจกรรมร่วมกันบ่อยครั้ง อยู่แล้ว แต่พอมีเหตุการณ์ไล่รื้อเกิดขึ้น กิจกรรมต่างๆ ย่อมต้องมีจุดมุ่งหมาย ที่แน่ชัดและจับต้องได้ ในทางกายภาพมีการท�ำความสะอาดพื้นที่ ปรับปรุง บ้านและทางเดิน มีการน�ำต้นไม้มาประดับ “เราจะพัฒนากันอยู่ตลอด เรา จะไม่ปล่อยให้มันว่าง” กระบวนการเหล่านี้รวมไปถึงการท�ำให้บ้านโบราณ ทั้งหลายได้รับการอนุรักษ์ให้คงสภาพดั้งเดิมมากที่สุด เหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยสัมพันธภาพระหว่างชาวชุมชนอันแน่นแฟ้น ทั้งนี้ส่วนหนึ่งก็มาจาก ปัจจัยที่ว่าคนส่วนใหญ่เป็นคนเก่า เป็นคนที่อยู่มานานแล้วในพื้นที่ด้วย การย้ายเข้าหรือย้ายออกไม่ใช่เรื่องปกติของชุมชนป้อมมหากาฬเหมือนชุมชน อื่นๆ จึงเกิดเป็นฉันทามติรับรองว่าใครจะอยู่ด้วยกันก็ต้องช่วยกันต่อสู้ ช่วยกันพัฒนา หรือเมื่อมีกิจกรรมข้างนอก ก็ต้องไปช่วย แต่หากไม่สบายใจ ที่จะอยู่ก็สามารถย้ายออกไปได้ไม่ว่าอะไร “พอมีเหตุการณ์อย่าง กทม. จะมา เขาก็กลัว เขามาช่วยเราไม่ได้ เขาก็ย้ายออกไป ที่ออกไปก็คนใหม่ทั้งนั้นแหละ คนเก่าก็ไม่มีใครย้าย” เตี้ยมเล่าต่อไปถึงกลยุทธ์การต่อสู้ของชาวชุมชน โดยกล่าวถึงสมัยที่เคย ท�ำหน้าที่เป็นเวรยามที่ต้องตื่นตัวตลอดเวลา แม้ว่าจะเหนื่อยล้า “แต่ว่ามันก็ มีรสชาติดีเหมือนกัน” นับตั้งแต่การไล่รื้อช่วงปี พ.ศ. 2535 เกิดขึ้นเป็นต้นมา จะมีบางระยะที่ชาวชุมชนต้องสลับกันเฝ้ายามตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยกลัวว่า จะมีการแอบเข้ามารื้อบ้านเรือน ต่อมาช่วงหลังปี พ.ศ. 2546 เริ่มมีการแบ่ง พื้นที่ในป้อมออกเป็นโซน โดยตัวเตี้ยมเองเป็นหัวหน้าโซนสาม ก็จะมีหน้าที่ หลักในการประสานงานกับชาวบ้านสมาชิกในโซนเดียวกัน เวลามีกิจกรรม หรือข่าวสารต่างๆ ที่จ�ำเป็นต้องรับรู้ ก็จะใช้วิธีเดินไปบอกๆ แต่ละบ้านเลย
  • 19. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 19 ตลอดจนหน้าที่ต้องดูแลรักษาความสะอาดและภูมิทัศน์ของโซนให้สะอาด สวยงามอยู่เสมอ เหล่านี้ก็จะมีการจัดแบ่งความรับผิดชอบกันออกไป นอกจากนี้ทางชุมชนยังมีการหาพันธมิตรเครือข่ายที่จะมาช่วยเป็น พี่เลี้ยง คอยแนะน�ำ “เราก็มีคนที่เขาคอยช่วยเราอยู่ ไม่ใช่ว่าต่อสู้กันเฉพาะ คนในนี้”สิ่งนี้กลายเป็นสิ่งที่สร้างก�ำลังใจให้กับตัวเตี้ยมได้มากที่สุด เนื่องจาก สร้างความรู้สึกที่ว่าพวกเขายังไม่โดดเดี่ยว ยังมีคนเข้ามาให้ก�ำลังใจ สนใจ พวกเขา หากไม่มีใครเข้ามาเลย ว่ามันก็น่าจะเงียบเหงามากเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม เตี้ยมก็อดไม่ได้ที่จะรู้สึกท้อใจในบางเวลา “แต่ทีนี้เรามา คิดอีกทีว่า คนอื่นเขาสู้ เราก็ต้องสู้ตามเขา เราสู้มาตลอด เราจะถอยได้อย่างไร เพื่อนเราทุกคนก็ยังสู้”สิ่งที่เตี้ยมอยากได้มากที่สุดคือค�ำตอบที่ว่าอยู่ได้จริงๆ จากทาง กทม. ซึ่งหากผลลัพธ์ออกมาอย่างที่คิดจริงๆ ทุกคนก็จะมาช่วย ปรับปรุงพื้นที่ให้ดีขึ้น โดยพร้อมจะปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เข้ากับแนวทางการ พัฒนาที่ได้รับการยอมรับจากทางชุมชนและ กทม. เป็นหลัก เพราะด้วย วัยขนาดนี้แล้วประกอบกับฐานะทางบ้านที่ไม่ค่อยดีเท่าไรการจะให้ย้ายออก ไปแล้วเริ่มต้นชีวิตใหม่นั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย “เคยนั่งคุยกัน (หัวเราะ) ถ้าเราย้ายออกไปเราคงคิดถึงตรงนี้นะ แล้วมัน ก็คงไม่มีที่แบบนี้ตรงไหนอีกแล้วในกรุงเทพ” เตี้ยมบอกเราในตอนท้ายเมื่อ ถามถึงจินตนาการหากต้องย้ายออกไปจากพื้นที่นี้ในที่สุด “เคยคิดว่าถ้าไป ไหนแล้ว ให้โทรหากันนะ แล้วเรามานัดเจอกันที่นี่นะ ถ้าตามที่เขาพูด กทม. ท�ำสวนสาธารณะ เราก็ต้องเข้ามานั่งคุยกันได้นะ มานั่งคุยความหลังกัน นัด กันมา ลอยกระทงเรามานะ”.
  • 20. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 20
  • 21. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 21 โดย สรณ วิริยะประสิทธิ์ ในช่วงเวลากลางวัน พื้นที่หลังก�ำแพงเมืองพระนครฝั่งตรงข้ามประตู วัดราชนัดดาราม ยังมีร้านขายของเล็กๆ ตั้งแผงขายง่ายๆ บริเวณหน้าบ้าน หลังน้อย สินค้าที่สามารถเลือกซื้อได้ก็มักจะเป็นของทั่วไป ตั้งแต่ขนมถุง น�้ำอัดลม เครื่องดื่ม ไปจนกระทั่งผงซักฟอก ยาสีฟัน ส่วนลูกค้าที่เข้ามาก็จะ เป็นชาวบ้านทั้งในชุมชนและบริเวณใกล้เคียง โดยมีแม่ค้าที่ชื่อว่า “เฮง” คอยบริการอย่างเป็นกันเอง ด้วยวัย 75 ปี สมพร อาปะนน เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้สูงอายุจ�ำนวนไม่กี่คน ของชุมชนป้อมมหากาฬแห่งนี้ เฮงเป็นคนจีนโดยก�ำเนิด คุณพ่อของเป็น คนจีนแซ่อาวอพยพมาประเทศไทย ในขณะที่คุณแม่ก็เป็นชาวจีนเช่นกันแต่ เกิดที่กรุงเทพฯ ด้วยความที่เป็นครอบครัวคนจีนทั้งหมด เฮงจึงใช้ภาษาจีน ในการสื่อสารมาตลอดจนกระทั่งอายุประมาณ 20 ปี จึงสามารถพูดไทยได้ อย่างชัดเจน ในตอนแรกครอบครัวของตั้งบ้านเรือนอยู่ในชุมชนชาวจีนแถวห้าแยก พลับพลาไชย บริเวณพื้นที่ที่เรียกกันว่าตรอกถั่วงอก “ตอนนั้นอาก๋ง เขาขาย ก๋วยเตี๋ยวหลอด แต่อาม่าเขาก็ท�ำงานในบ้าน” ส่วนตัวเฮงนั้นเริ่มชีวิตการ ท�ำงานโดยเป็นสาวโรงงานถ่านไฟฉาย ย่านสวนมะลิ ตั้งแต่อายุ 12 ปี ครอบครัวของเฮงใช้ชีวิตอยู่ตรอกถั่วงอกจนกระทั่งเกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ เฮง
  • 22. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 22 ประมาณ พ.ศ. 2503 ไฟไหม้ครั้งนั้นได้ท�ำลายบ้านเรือนในชุมชนไปเป็น จ�ำนวนมาก ชาวบ้านต่างย้ายออกจากพื้นที่กันหมดไปหาที่อยู่ใหม่ เช่น เดียวกันกับครอบครัวของเฮงก็ได้ย้ายไปอยู่กับญาติแถบบางซื่อ การย้ายบ้านครั้งนั้นนอกจากจะท�ำให้การเดินทางไปท�ำงานโรงงานถ่าน ไฟฉายยากขึ้น เฮงในวัย 19 ปี จึงเลือกที่จะลาออกแล้วมาช่วยงานโรงงาน ผลิตธูปของอากู๋ ญาติที่ครอบครัวของย้ายมาอาศัยด้วยนั่นเอง “ก็ท�ำกัน ในบ้าน ท�ำกันเป็นครอบครัว ขายส่งเขาน่ะ แบบว่ามีท�ำกันพี่น้องสามสี่คน มีอากู๋ด้วย เป็นโรงงานเล็กๆ”
  • 23. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 23 จนกระทั่งอายุ 37 ปี เฮงได้แต่งงานกับสามีซึ่งมีบ้านอยู่ในชุมชนป้อม มหากาฬ สามีของเป็นคนจีนที่เกิดในประเทศไทยเช่นเดียวกัน เฮงจึงสามารถ เข้ากับครอบครัวของสามีได้อย่างง่ายดาย เฮงย้ายเข้ามาอยู่กับครอบครัวสามี ที่ป้อมมหากาฬ บ้านหลังแรกที่เฮงเข้ามาพักอาศัยก็คือบ้านหลังที่อยู่มา จนปัจจุบันนี้เอง ซึ่งเป็นบ้านที่อาม่าของสามีเช่าอยู่ เมื่ออาม่าย้ายไปอยู่ข้าง นอกจึงยกบ้านหลังนี้ให้เฮงและสามีอยู่ โดยเป็นการเช่าในช่วงแรก ก่อนที่จะ มีเหตุการณ์ไฟไหม้เกิดขึ้นในบริเวณข้างเคียง และปัญหาข้อกฎหมาย บางประการ ทางเจ้าของที่จึงไม่ได้คิดค่าเช่าอีกต่อไป ส�ำหรับชีวิตในชุมชนป้อมฯ เฮงเล่าว่าแต่ก่อนมีคนอยู่กันเยอะมาก บรรยากาศคึกคักกันตลอด เพื่อนบ้านทุกคนจะรู้จักกันหมด และมีไมตรี ต่อกันเหมือนพี่เหมือนน้อง แต่พอมาปัจจุบันก็มีย้ายออกกันไปเยอะ และ ไม่ค่อยมีใครย้ายเข้าใหม่ ตัวสามีที่อยู่ที่นี่มาตั้งแต่เด็กเคยเล่าให้ฟังว่าชีวิต ในชุมชนสมัยนั้นเป็นอะไรที่สนุกมาก ขนาดคลองด้านหลังนี้ว่ายน�้ำได้เลย ทีเดียว อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เฮงคิดว่าดีมากที่สุดอย่างหนึ่งของที่นี่ คือ ตลอด ชีวิตของแถวนี้ไม่เคยมีน�้ำท่วมเลย “มันไม่ท่วมหรอก อยู่ใกล้ กทม. เขาไม่มี ทางให้น�้ำท่วม เขาท่วมไม่ได้” ในส่วนของงานบุญ นอกจากงานประจ�ำปีสักการะพ่อปู่ที่ชาวชุมชน ทุกคนต้องเข้าร่วมกันอยู่แล้ว เฮงก็มักจะไปท�ำบุญที่วัดราชนัดดาราม เนื่องจากรู้จักกับพระที่จ�ำพรรษาอยู่ที่วัดเป็นการส่วนตัว เพราะลูกพี่ลูกน้อง ของเคยบวชที่วัดนี้มาก่อน เวลาต้องการจะท�ำสังฆทานจึงมักจะไปที่กุฏิของ พระรูปนี้เสมอ นอกจากนี้ ตามธรรมเนียมของคนจีนก็จะต้องมีการไหว้เจ้า การกินเจ เฮงมักจะไหว้เจ้าที่บ้านหรือตามศาลเจ้าใกล้เคียงอย่างศาล
  • 24. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 24 เจ้าพ่อเสือ ตอนมีเทศกาลกินเจ ก็จะไปร่วมพิธีที่โรงเจย่านพุทธมณฑลสาย สอง เพราะเจ้าของเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกันอีกด้วย ชีวิตแต่งงานของเฮงก็ด�ำเนินไปอย่างเรียบง่ายเช่นกัน สามีของเฮงเป็น ผู้หารายได้หลักของครอบครัว “เขาท�ำปั๊มน�้ำมันก่อน พอแต่งงานเขาบอกว่า เป็นลูกจ้างไม่ไหวแล้ว เลยออกมาขายพวกกุญแจ ขายส่ง ไปต่างจังหวัด ไปหลายที่” ส่วนตัวเฮงนั้นก็ท�ำอาชีพเย็บผ้า โดยมีสถานที่ท�ำงานอยู่แถว พาหุรัด ต่อมาพอมีลูกจึงได้เลิกท�ำและใช้เวลาอยู่บ้านมากขึ้น “พอมีลูกงาน ก็อยู่บ้านสิ อยู่บ้านเราก็ต้องหาของขาย” ในช่วงแรกนั้น กิจการเล็กๆ หน้าบ้านของ เป็นการขายอาหาร จ�ำพวก ลูกชิ้นทอด ไก่ทอด โดยจะใช้เวลารุ่งเช้าออกไปหาซื้อวัตถุดิบจากตลาดใกล้ๆ บอกว่าสมัยนั้นเขาจะเรียกกันว่า “ตลาดสี่แยก” แต่สมัยนี้พูดแบบนี้ไปคนรุ่น ใหม่ก็ไม่ค่อยจะมีใครรู้จัก ต้องบอกว่า “ตลาดสะพานขาว” หรือตลาด มหานาคนั่นเอง อย่างไรก็ตาม จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นตอนเฮงอายุ 63 ปี ท�ำให้
  • 25. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 25 กระดูกช่วงต้นขาร้าว ส่งผลให้เฮงไม่สามารถเดินได้คล่องมากนัก จ�ำเป็นต้อง ใช้ไม้ค�้ำตลอดเวลา การจะไปซื้อวัตถุดิบและน�ำมาประกอบอาหารขายจึงเป็น เรื่องที่ต้องหยุดไปโดยปริยาย ปัจจุบันเฮงอาศัยอยู่ที่บ้านหลังนี้กับลูกชายคนเล็กลูกสาวและหลานชาย เฮงกับสามีมีลูกด้วยกัน 3 คน ชายสองคนและหญิงหนึ่งคน โดยแต่ละคนมี อาชีพการงานแตกต่างกัน ตัวเฮงนั้นยังคงสานต่อกิจการแผงขายของเล็กๆ หน้าบ้านต่อไป แต่ปรับเปลี่ยนจากขายอาหารมาเป็นขายขนมและของช�ำ ทั่วไป โดยลูกชายจะเป็นผู้จัดหาเข้ามาให้น�ำออกมาขายเรื่อยๆ แม้ว่าจะไม่ใช่ ธุรกิจที่ท�ำก�ำไรมากนัก แต่ก็พอจะท�ำให้เฮงไม่ต้องอยู่บ้านเฉยๆ ตลอดเวลา ร้านของนั้นจะมีลูกค้าแวะเวียนเข้ามาหาของที่ต้องการเป็นระยะในแต่ละวัน ทั้งคนในชุมชนเองและคนเดินผ่านหรือชุมชนด้านนอก เรียกได้ว่าก็ยังขายได้ เรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม เฮงเล่าให้เราฟังถึงสถานการณ์ปัจจุบันว่า “พักนี้ก็ไม่ค่อยดี บางคนก็เข้ามาซื้อเรา บางครั้งก็ไม่ค่อยมีคน คนก็เหลือน้อยละ มันเงียบ ขึ้นเยอะ” เนื่องจากเหตุการณ์ไล่รื้อที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ โดยมีระดับความ รุนแรงที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละสมัยของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ช่วงที่หนักมากที่สุดส�ำหรับคือช่วงที่นายสมัครสุนทรเวชเป็นผู้ว่าฯซึ่งด�ำเนิน นโยบายที่ค่อนข้างรุนแรง บอกว่าช่วงนั้นชาวชุมชนต้องช่วยกันเฝ้าเวรยาม ตลอดทั้งคืนติดต่อกันหลายวันด้วยความกลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงจาก คนนอก ต่อมาในสมัยอภิรักษ์ ช่วงนี้เป็นช่วงที่และชุมชนมีความหวังมากที่สุด เพราะเริ่มมีการปรับเปลี่ยนนโยบายว่าชาวบ้านสามารถอยู่ในพื้นที่ได้ มีการ เข้ามาพูดคุยหารือว่าจะท�ำอะไรกันบ้าง จะปรับปรุงตรงไหน เป็นต้น อย่างไร
  • 26. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 26 ก็ตาม พอเวลาผ่านไป ผู้ว่า กทม. คนใหม่เข้ามาก็ไม่มีอะไรต่างไปจากเดิม การ ไล่รื้อยังคงเกิดขึ้นอีกหลายครั้ง โดยเฉพาะในปีนี้ พ.ศ. 2559 ที่เฮงบอกว่ารู้สึก สิ้นหวังมากที่สุด “เขาจะรื้ออย่างเดียว เหมือนเวลานี้เขาก็จะรื้ออย่างเดียว” “เพราะเราอยู่ที่นี่มานานละ รักที่นี่น่ะ คนก็ถามว่าท�ำไมเราไม่ออกไป เราก็บอกว่าให้เขามาอยู่ แล้วเขาก็จะรู้ ว่าอยู่ที่นี่เขาจะไม่วุ่นวาย” เฮงบอก ถึงเหตุผลที่ยังร่วมต่อสู้เรียกร้องสิทธิในการอยู่อาศัยในพื้นที่กับชาวชุมชน คนอื่นๆ ที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งนอกจากเหตุผลส่วนตัวแล้ว ความเป็นพี่เป็นน้อง อันน�ำมาซึ่งความสามัคคีของชาวบ้านก็คงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยส่งเสริม ความร่วมมือระหว่างกันดังกล่าวด้วย ซึ่งในส่วนตัวของเฮงเองนั้น ก็ยังไม่เคย คิดท้อ “ถ้าเหลืออยู่หลังเดียว ก็จะสู้ถึงที่สุด” ไม่เคยจินตนาการถึงว่าหาก ต้องออกไปอยู่ข้างนอกแล้วชีวิตจะเป็นแบบไหนเลยแม้แต่น้อย แม้ว่าปัจจุบัน บ้านเลขที่ 169 หลังนี้จะไม่ได้มีสิ่งอ�ำนวยความสะดวก มากมายหรือมีพื้นที่กว้างขวางเท่าไรนักแต่ด้วยความรักความผูกพันกับพื้นที่ ตลอดจนเพื่อนบ้านรอบข้าง จึงท�ำให้เฮงยังสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข แม้ว่าจะต้องคอยพะวงกับปัญหาการไล่รื้อที่ยังคงไม่สิ้นสุด แต่ตัวเองก็พร้อม จะต่อสู้ไปกับชาวชุมชนจนถึงที่สุด.
  • 27. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 27
  • 28. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 28
  • 29. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 29 อ้วน โดย นภสร เวชพราหมณ์ พ่อของอ้วน รัชนี นิลใบ เดินทางจากเมืองจีนมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่จังหวัด สุพรรณบุรีและพบกับคุณแม่ซึ่งเป็นคนไทยท้องถิ่นสุพรรณแต่เดิม จากนั้น ย้ายมาอาศัยอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ และเป็นช่วงเวลาที่อ้วนและพี่น้องอีก 11 คน เกิดและเติบโต เมื่ออายุได้ประมาณ 10 ปี อ้วนและครอบครัวย้ายมา อยู่ที่กรุงเทพฯ บริเวณชุมชนพรานนก ประกอบอาชีพขายพระบริเวณท่า พระจันทร์และวัดมหาธาตุ ท�ำให้ชีวิตอ้วนและครอบครัวผูกพันกับวงการเช่า พระ และต่อมาเธอได้ติดตามเพื่อนบ้านมาขายของในวัดราชนัดดา จากจุดนี้เองท�ำให้เธอได้พบกับสามีซึ่งอาศัยอยู่ในชุมชนป้อมมหากาฬ มาแต่เดิมและย้ายเข้ามาอยู่ด้วยกันหลังแต่งงาน สามีของอ้วนนับถือศาสนา อิสลาม มีอาชีพช่างท�ำกรงนกเขาชวา “พี่แต่งงานอยู่กับเขามาสามสิบปีก็เห็นสั่งกรงมาตลอด รุ่นตาเขาที่ท�ำ เมื่อก่อนเขาก็อยู่ที่ป้อมเลย เขาอยู่ท้ายคลอง ตรงข้างหลัง ตอนหลังเขาก็โยก ย้ายไปก็มาอยู่ตรงนื้เวลาไปแข่งก็จะมีคนเขาเอามาให้เราท�ำ ทาสีใหม่ กรงนี่ มันจะแบบ หัก 2-3 ซี่ เขาจะเอามาให้เราล้าง ทาใหม่ ลอกสีเก่าออก ตัดผ้าใหม่ บางทีมันก็นานหน่อย คิวมันก็ยาว เขาก็เอานกไปใส่กรงอื่นก่อน แล้วเอามา ให้เราท�ำ กรงใบนึงแพง อยู่ได้หลายสิบปี ...ที่อื่นเขาท�ำไม้จะอ่อน มันจะ ไม่ได้สีอย่างนี้ แต่ที่นี่เขาจะใช้ไม้แก่ท�ำจากทางใต้ ที่นี้ในกรุงเทพฯ ก็มีเขาท�ำ ไม้อ่อนมันไม่สวย นุ่มนิ่ม ไผ่มันมีหลายประเภท ไผ่สีสุก ทุกวันนี้ก็ท�ำมา
  • 30. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 30 จากโน่น แล้วมาท�ำผ้า แต่พอมาถึงเขาก็จะมาท�ำก่อน เอากระดาษทรายมา ลูบให้มันไม่คม มาตกแต่งก่อน กรงที่นี่มันขายได้เพราะว่า เราใช้วิธีดั้งเดิมไง คือเราใช้ทา เห็นไหม ที่เขาทาเนี่ยมันเป็น ย้อยๆ ย้วยๆ ใช้ชแล็ค สมัยใหม่เขา พ่น พ่นแล้วมันก็จะไม่เข้าไปเนื้อไม้ มันก็จะไม่ทน ที่นี่มันขายดีเพราะว่าเขา ท�ำแบบดั้งเดิม คือยังใช้มือทาอยู่” เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความช�ำนาญในงานช่างท�ำกรงนกของสามีที่ถึง แม้จะสั่งกรงนกส�ำเร็จรูปมาจากที่อื่น แต่ก็ยังคงอนุรักษ์วิธีทาสีดั้งเดิม คือ ทาด้วยมือแทนการพ่นแบบสมัยใหม่ อ้วนยังได้เรียนวิชาเย็บผ้าประดับกรงนกผ่านการสังเกตแม่ของสามี โดย ในช่วงแรกยังไม่มีทักษะในด้านงานเย็บปักถักร้อยเท่าไรนัก และแม่สามียัง ไม่ได้ถ่ายทอดวิชานี้ให้ แต่ด้วยความพยายามฝึกฝน เมื่อแม่สามีล้มป่วยเธอ จึงน�ำผ้าที่ลูกค้าสั่งไปให้ตัดที่โรงพยาบาลและน�ำมาเย็บด้วยตนเอง หากถามถึงบรรยากาศของป้อมมหากาฬสมัยที่เธอมาอยู่ใหม่ๆ นั้น อ้วน เล่าว่า “พี่แต่งงานอยู่กับแฟนก็ 30 ปีได้ พี่มาอยู่ตั้งแต่อายุ 12-13 ปี อยู่ วัดราชนัดดา แต่ว่าสมัยก่อนตรงนี้มันไม่ได้โล่งๆ แบบนี้ มันเป็นร้านขายนก อยู่ข้างใน ข้างหน้านี่จะเป็นร้านขายพวกโอเลี้ยง กาแฟ ขายข้าวไม่ค่อยน่าดู” เธอยังได้กล่าวย้อนไปก่อนหน้าที่จะมาอยู่อีกว่า “สมัยก่อนป้อมไม่ได้เป็น แบบนี้ แต่ชุมชนก็พัฒนามาตลอด” โดยบ้านหลังปัจจุบันที่เธออยู่นั้น ผ่าน การต่อเติมมาหลายครั้งเพราะต้องขยายจ�ำนวนห้องไปตามสมาชิกครอบครัว ช่วงที่คนในป้อมเริ่มถูกสั่งให้ย้ายไปอยู่ที่อื่น เธอเล่าว่า “กทม.จะท�ำสวน เฉลิมพระเกียรติฯ แต่น้องก็เห็นไม่ใช่หรอ รื้อไปก็ไม่มีคนท�ำ หมดเงินไปกี่ล้าน รื้อไปมันก็ใช้ประโยชน์ไม่ได้ แล้วพี่ไปถามคนเดินแจกใบปลิว ถ้าเขามาเป็น
  • 31. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 31
  • 32. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 32 สวนอย่างนี้จะกล้าเข้ามาไหม ทุกคนพูดเหมือนกันหมดเลยว่า ใครจะเข้ามา ก�ำแพงมันบังอย่างนี้ น่ากลัว เราก็ท�ำแบบสอบถาม เขาอยากท�ำอะไร เขาก็ บอกท�ำทุกวิถีทาง ขอให้ได้อยู่ ขอให้มีคนอยู่ร่วม แต่ก็ไม่เห็นจะได้สักที” ช่วงแรกจะมีเอกสารมาแปะที่บ้านมีการเรียกเจรจาและให้ทุกบ้านรับเงินจาก ทางกรุงเทพมหานคร “แม่แฟนพี่ก็รับ รับมา 25% เขาไม่อยากไป ตอนนั้น หัวหน้าชุมชนคนเก่า (เสียชีวิตไปนานแล้ว) เขาพูดว่า ‘ถ้าเอ็งไม่เอาเงินเดี๋ยว เขามาไถเอ็งก็ไม่ได้อะไรนะได้เงินซะเอ็งก็ยังมีเงินไปดาวน์ที่ไปจองตรงนี้ๆนะ เราก็เลยไปเอา” อย่างไรก็ตามหลังจากรับเงินจากทางกทม.ยังไม่มีการรื้อถอนใดๆเพราะ ชาวบ้านเจรจาขออยู่ต่อ และผ่านยุคสมัยนักการเมืองหลายคน มาจนถึง ปัจจุบัน “ก็เหมือนเราเจรจาขออยู่ต่อ เขาก็ไม่เห็นท�ำอะไรเลย แล้วก็มาถึง สมัยผู้ว่าฯ อภิรักษ์ เขาก็มาเซ็น MOU ว่าจะให้อยู่ต่อ ก็ยังมีเห็นด้วยกับเรา พอหมดอภิรักษ์ไป ก็เอาอีก เปลี่ยนสมัยทีก็เปลี่ยนที สลับไปสลับมา 4 ปี กู เอาที” ด้วยเหตุนี้ ต่อมาชาวบ้านจึงรวมกลุ่มสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ เพื่อ ให้คนนอกได้รับรู้ถึงเหตุผลที่ชุมชนควรอยู่คู่ป้อมมหากาฬ ส่วนตัวอ้วนเอง ก็ได้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการ Co-Create จัดสร้างพิพิธภัณฑ์มีชีวิตเพื่อให้ ทุกคนสามารถเข้ามาภายในชุมชนเพื่อศึกษาข้อมูลจากชาวบ้านที่อาศัยอยู่ จริงได้ นอกจากนี้ ทางชุมชนยังไม่ขาดความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอก ที่ยื่นมือเข้ามา โดยเฉพาะชาวต่างชาติ “อาจารย์ไมเคิล มหาวิทยาลัยฮาเวิร์ด เขาก็เข้ามาสมัยแรกๆ เลยนะ เข้ามาตั้งแต่ยังไม่มีอะไรเลย ทุกวันนี้เขาก็ยัง ติดต่อกัน ฝรั่งเขาก็มาช่วย เขายังส่งเรื่องถึง กทม. มีคนช่วยเยอะนะ คือเขา
  • 33. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 33 เข้ามาดูแล้วมันไม่น่าจะท�ำสวนได้ เพราะดูแล้วมันไม่ใช่ ถ้าให้คนอยู่มันน่าจะ ดีกว่า คนข้างนอกเขามาดู เขามาศึกษาเขาจะเห็นด้วยกับเรามากกว่าที่ทาง กทม. แต่ถ้าคนข้างนอกเขาจะไม่รู้ไง ว่าข้างในนี้มันมีอะไรบ้าง ต้องเข้ามารู้ ถึงจะเห็นความจริงว่ามันเป็นอย่างนี้บางทีคนฟังแต่ข่าวทางโน้น ไม่ได้มานี่จะ ไม่รู้” อย่างไรก็ตามทางกทม.ยังคงเดินหน้านโยบายรื้อป้อมต่อไป และถ้าหาก วันนั้นมาถึงวันที่บ้านของอ้วนถูกรื้ออ้วนและครอบครัวก็ไม่คิดจะย้ายหนีไปไหน “มันรู้สึกว่าแบบ เฮ้ย จะอยู่ได้หรือเปล่าวะ ก็คิดว่าแบบ แต่ยังไงก็ต้องอยู่ ลูกก็อยากจะอยู่ที่นี่ คงไปที่ไหนไม่ได้แล้ว”.
  • 34. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 34
  • 35. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 35 โดย นภสร เวชพราหมณ์ เดิมจันอาศัยอยู่กับพ่อและแม่เลี้ยงในชุมชนมุสลิมข้างทางรถไฟแยก ยมราช เมื่อพ่อจากไปจึงย้ายกลับมาอยู่ในชุมชนป้อมมหากาฬซึ่งเป็นบ้าน ทางแม่ จันย้ายมาตอนอายุ 8 ขวบ ขณะเรียนโรงเรียนวัดพระยายัง ก่อนจะ ย้ายทะเบียนบ้านตามมาทีหลังโดยมีญาติอยู่ในชุมชนคือบ้านขายดอกไม้ไฟ หน้าชุมชนซึ่งเป็นมุสลิมด้วยกัน จันพูดถึงบรรยากาศในป้อมตอนเด็กๆ ว่า “มันบ้านๆ กว่า ไม่เป็นแบบนี้มันบ้านๆ เราเดินเข้าออกได้ทุกบ้าน คนเฒ่า คนแก่ก็อยู่เยอะกว่านี้ นี่เขาก็รื้อกันไปหลายบ้าน ย้ายไปหลายบ้าน ตอนนั้น บ้านนี่ติดๆกันหมด สมัยก่อนโรงหนังเฉลิมไทยยังไม่รื้อเลยนะ ยังวิ่งเล่น โรงหนังเฉลิมไทยอยู่เลย ทางนี้ก็ไม่ได้เป็นแบบนี้ด้วย ทางด้านที่เป็นสวน หย่อมก็เป็นตลาดนก ทางเข้า” ปัจจุบันจันอาศัยอยู่ที่บ้านพร้อมสามีและลูกหลาน เธอขายอาหารตาม สั่งและเปิดร้านขายของช�ำไปพร้อมกัน บ้านของจันจึงเป็นแหล่งเสบียงของ ชาวบ้านและเมื่อชุมชนมีงานส�ำคัญ รวมถึงงานสักการะพ่อปู่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประจ�ำชุมชนป้อมมหากาฬ ในปี พ.ศ.2535 นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ไล่รื้อ เธอจึงเริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ของการต่อสู้เพื่อการอยู่รอดของทุกคนเรื่อยมา “คนในชุมชนเยอะกว่านี้ ก็ยังร่วมมือร่วมใจกัน ตอนช่วงนั้นก็ไปหลายบ้านแล้วนะ หลังจากนั้นก็ไปอีก จัน
  • 36. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 36 หลายบ้านอีก และมาถึงคราวนี้ก็ทยอยๆ ออก ตอนนั้นคนแก่คนมีอายุที่ว่า ไม่ใช่เป็นที่ของตัวเองกทม.มาเสนอเงินให้คนเฒ่าคนแก่เห็นเงินก็ดีใจตาโตแล้ว” จันเป็นหนึ่งในแกนน�ำชุมชน ที่ไม่เคยคิดท้อต่อการต่อสู้เพื่อการอยู่รอด “ท้อไม่ได้ เหนื่อยยังไม่ได้เลย เราต้องนึกถึงลูกหลาน ที่เราอยู่ถ้าเราไม่สู้แล้ว ลูกหลานเราจะอยู่ได้อย่างไร ถ้าเราสู้แล้วลูกบ้านถอยก็ไม่รู้จะสู้ไปท�ำไม เราเป็นผู้น�ำ มันสู้เราก็ต้องสู้ต่อไป ถามว่าท้อไหม ไม่เคยคิดท้อ อยากให้จบรู้ แล้วรู้รอด” จันและคนในชุมชนจึงเริ่มท�ำโครงการต่างๆ เพื่อกระตุ้นจิตส�ำนึกให้ คนในป้อมตระหนักถึงความส�ำคัญของการอยู่ร่วมกัน และให้ผู้คนภายนอก ได้รับรู้ถึงคุณค่าในตัวชุมชน รวมถึงใช้วิธีเจรจากับทาง กทม.ที่จะมารื้อด้วย เช่นกัน “อีกหน่อยกรุงเทพฯ ไม่มีแล้วชุมชน ถ้าโดนอย่างนี้ไม่มี ขึ้นเป็นตึกสูง อันไหนที่เป็นโบร�่ำโบราณก็จะไม่มีให้พวกนักศึกษา สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่ง เรียนรู้ได้ กทม.ไม่เคยมีความคิดนะว่าจะมาอนุรักษ์บ้านเรือนไทย จะมาท�ำ สิ่งเรียนรู้ให้นักศึกษา กทม.ท�ำไม่ได้อย่างที่พวกเราท�ำหรอกเชื่อได้ เขาไม่ได้ อยู่ในพื้นที่ก่อนหน้านี้กทม.จะท�ำแค่สวนหย่อมแต่พอเห็นแนวคิดของชุมชน เขาก็เลยเอามาเป็นแนวคิดบ้าง แต่ให้เขามาพูดมาคิดอย่างเรา เขาอธิบาย ไม่ได้อย่างเราหรอก บ้านหลังนี้เป็นอย่างไร พื้นเพคนดั้งเดิมมีอาชีพอะไร เขาเล่าไม่ได้ แต่อันนี้เขามีตัวตนที่เล่าได้ตามบ้าน” บ้านของจันสร้างด้วยไม้ มีอายุเก่าแก่ จึงเตรียมจัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ มีชีวิตคือมีคนอาศัยอยู่ในบ้านและสามารถให้คนภายนอกเข้ามาดูได้“ใช้ค�ำว่า พิพิธภัณฑ์ มันก็ต้องมีคนที่อยู่ในพื้นที่ เล่าอธิบายได้ แล้วจะเป็นพิพิธภัณฑ์มี ชีวิต มีแต่บ้านมานั่งดู เงินหยอดตู้ แล้วก็ออก เขียนประวัติให้เขาอ่าน
  • 37. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 37 อย่างนั้นเหรอ ขนาดวัดโพธิ์ วัดพระแก้ว เขาก็ยังมีมัคคุเทศก์ มีอะไรเดิน อธิบายเดินบอกใช่ไหม ตรงนี้ฝรั่งก็เข้าเยอะนะ และข่าวข้อมูลข่าวไปถึงต่าง ประเทศ คนก็เข้ามาดูมาถ่ายรูปความสัมพันธ์ที่อยู่ในนี้กัน” และถึงแม้ว่า จันจะมีญาติอยู่ต่างจังหวัด แต่เธอก็ยังไม่อยากย้ายไปจาก ที่นี่ เพราะเธอมีความรัก ความผูกพันอยู่กับชุมชนแห่งนี้มาตั้งแต่เกิด.
  • 38. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 38
  • 39. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 39 โดย นภสร เวชพราหมณ์ เล็ก พีระพล เหมรัตน์ เกิดในชุมชนหลังโรงแรมรัตนโกสินทร์เมื่อปี พ.ศ. 2503 ย้ายเข้ามาอยู่ในชุมชนป้อมมหากาฬเพราะถูกไล่ที่เมื่อประมาณเกือบ 40 ปีก่อน บ้านที่อยู่ทุกวันนี้เป็นที่ของพ่อตาแม่ยาย ซึ่งได้มีการเช่าต่อกันมา เล็กพูดถึงสภาพความเป็นอยู่ในป้อมช่วงวัยเด็กไว้ว่า “ที่นี่ เมื่อก่อนมีบ้านอยู่ เต็มไปหมดเลย ตอนพี่เรียนวัดสุทัศน์ก็มีเพื่อนเรียนอยู่ที่นี่ ตอนเด็กก็มาเที่ยว กับเพื่อนประจ�ำ มากินมานอนในนี้ตั้งแต่เด็ก จนมาได้แฟนอยู่ที่นี่” หลังจากเรียนจบชั้นประถมและมัธยมเล็กเรียนต่อระดับประกาศนียบัตร ชั้นสูง ด้านพาณิชย์ที่เทคนิคกรุงเทพฯ และท�ำงานแผนกน�ำเข้า – ส่งออก สินค้า ในบริษัทผลิตอุตสาหกรรมเส้นด้าย และย้ายออกไปผ่อนบ้านใหม่ จน เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงปี2540บริษัทล้มละลายบ้านที่ผ่อนไว้ถูกยึดท�ำให้ เล็กต้องกลับมาประกอบอาชีพขายโอเลี้ยงกาแฟเย็นในบริเวณชุมชนตามเดิม เมื่อกลับมาอยู่ในชุมชนอีกครั้งเล็กเริ่มท�ำงานร่วมกับเครือข่ายชาวบ้านในเขต อื่นๆ เล็กจึงเลิกอาชีพค้าขาย ผันตัวมาท�ำงานให้กับชุมชนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา “เรามีความรู้อยู่แล้ว จะไปท�ำงานที่ไหนอะไรก็ได้ เราเอาบ้านและงาน ชุมชนที่อยู่อาศัยเราก่อนดีกว่า” เล็กเล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่ได้ออกมาท�ำธุรกิจ ค้าขายน�้ำในชุมชนท�ำให้เริ่มมีความใกล้ชิดและมองถึงปัญหาของชุมชนมากขึ้น ประกอบกับในช่วงนั้นเป็นช่วงที่สถานการณ์การไล่รื้อนั้นเริ่มตึงเครียดมากขึ้น เล็ก
  • 40. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 40 ชุมชนเริ่มน�ำหน่วยงานของเอกชนหรือหน่วยงานที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือ ของเครือข่ายชาวบ้านผู้โดนไล่ที่ต่างๆ เข้ามา ท�ำให้เล็กเริ่มที่จะท�ำงานชุมชน อย่างเต็มเวลา จนต้องเลิกกิจการส่วนตัวไป โดยมีงบประมาณจากการ ออมทรัพย์ส่วนกลางของเครือข่ายที่เป็นตัวเลี้ยงชีพของเล็กเอง “เรามาอยู่ที่นี่ เราก็รักที่นี่เหมือนกัน และพอมาดู หนึ่งเราดูแล้วเรา ไปไหนไม่ได้และสองที่นี่เหมือนครอบครัวใหญ่ครอบครัวหนึ่งก็ช่วยกันดูแล” เล็กเล่าให้ฟังถึงความรู้สึกก่อนที่จะเข้ามาท�ำงานชุมชนอย่างจริงจัง“พอกทม. ให้เงื่อนไขว่าต้องออกจากพื้นที่ พ่อแม่ก็ไปจองล็อค โดยเขาจะมีกระดาษแผ่น ใหญ่เป็นแปลนเป็นล็อค ก็ไปจิ้มๆ กัน” เล็กเล่าถึงสถานที่ที่กรุงเทพมหานคร จัดเตรียมไว้ให้ส�ำหรับพี่น้องชุมชน ป้อมฯ รวมถึงชุมชนอื่นๆ ที่ถูกกรุงเทพมหานครมองว่าเป็นพื้นที่แออัดและมี ความต้องการที่จะไล่รื้อแหล่งที่อยู่อาศัยเหล่านั้น และย้ายผู้คนทั้งหมดไปอยู่ ในพื้นที่ที่เรียกว่า “โครงการฉลองกรุง 2” อยู่แถวเขตมีนบุรี เล็กอธิบายว่า ตั้งแต่การเริ่มมีประกาศเวนคืน ในปี พ.ศ. 2535 ตอนนั้นเล็กเป็นมนุษย์เงิน เดือนอยู่และไม่ได้สนใจเรื่องของการต่อสู้ และพ่อตาแม่ยายของเล็กได้รับเงิน และจองที่ไป ซึ่งการรับเงินก็ขึ้นอยู่กับขนาดของบ้าน และในการจองที่นั้น จ�ำเป็นต้องมีการวางเงินดาวน์และผ่อนกับธนาคารการเคหะฯ หลังจากผ่อนส่งไปได้ 1 – 2 ปี ประมาณปี พ.ศ. 2539 ชาวบ้านรวมตัว กันไปดูสถานที่ตั้งโครงการ แต่กลับพบเพียงพื้นที่ว่างเปล่า แม้กระทั่งระบบ ประปา – ไฟฟ้า ก็ยังไม่ได้ถูกจัดการให้เรียบร้อย ตลอดจนถนนทางเข้าไปยัง ตัวโครงการก็มีสภาพย�่ำแย่ ห่างไกลจากถนนสายหลักเกือบ 8 กิโลเมตร ใน ขณะที่ระบบขนส่งสาธารณะก็มีน้อยมาก และสาเหตุส�ำคัญอีกประการหนึ่ง
  • 41. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 41 ผลงานดินเผาที่ท�ำร่วมกับเด็กในชุมชน
  • 42. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 42 คือ ระบบโครงสร้างพื้นฐานในการด�ำรงชีวิตเต็มไปด้วยความยากล�ำบากใน การเข้าถึง จะส่งผลกระทบของความเป็นชุมชนที่มีอยู่เดิม ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ของผู้คนที่หลากหลายมากขึ้นความแออัดที่ไม่ต่างจากเดิมเพียงแต่ย้ายที่และ มีจ�ำนวนประชากรเยอะขึ้น ท�ำให้ชาวบ้านไม่สามารถรับเงื่อนไขและการ จัดการของรัฐ จึงน�ำไปสู่การหาทางแก้ปัญหาในแบบอื่นๆ ต่อมา เล็กเล่าให้ฟังว่า การท�ำงานในชุมชนของเล็กนอกจากจะเป็นแรงผลัก ดันในการน�ำชาวบ้านจัดการพัฒนาภายในชุมชนแล้ว การที่เล็กเดินทางออก ไปท�ำงานอาสากับกลุ่มเครือข่ายต่างๆ นั้นก็เป็นการท�ำงานให้ชุมชนไปด้วย อีกทาง เพราะเมื่อถึงเวลาที่สถานการณ์ของชุมชนป้อมฯ เข้าสู่ช่วงตึงเครียด ก็ได้ทั้งแรงก�ำลังกายและการช่วยเหลือข้าวของต่างๆจากกลุ่มพี่น้องเครือข่าย ที่มาช่วยเหลือท�ำให้ป้อมต่อสู้ได้มาจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงการที่ออกไปช่วย เหลือพี่น้องชุมชนอื่นๆ ก็เปรียบเสมือนการดูงานของเล็กเพื่อน�ำมาปรับใช้กับ ชุมชนของตัวเอง “สิ่งที่เรามองเห็นว่ามันมีทางสู้ต่อ คือ มีนักกฎหมายเป็นอาจารย์ จาก มธ. ร่วมถึงกลุ่มนักวิชาการต่างๆ หรือพวกกลุ่ม อย่างกลุ่ม hostel หรือ กลุ่ม onceagainซึ่งก็คุยกันว่าป้อมนี่มันน่าจะอยู่คู่กับเมืองได้นะมันไม่ได้ไปเบียด บังที่ทางหน่วยงานของรัฐ เพียงแต่เขาอยู่เป็นสวนของเขา มีสวนบ้างมีชาว บ้านอยู่บ้าง ซึ่งการที่หน่วยงานต่างๆ กลุ่มต่างๆ รวมถึงพี่น้องจากหลายที่เข้า มาช่วยเรา ท�ำให้เราเห็นว่า มันก็น่าจะมีทางนะ คนอื่นยังมาช่วยเราขนาดนี้ เราไม่ได้อยู่อย่างโดดเดียว”
  • 43. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 43 เล็กเล่าถึงสิ่งที่ท�ำให้มีก�ำลังใจสู้มาถึงทุกวันนี้ก่อนที่จะพูดถึงช่วงท้อที่สุด ว่าก็เป็นช่วงที่โดนเข้ามารื้อสวนในบริเวณส่วนหน้าของป้อมไป “สู้มา 24 ปี เราไม่ได้สู้กันมาอย่างโดดเดี่ยวนะ พี่น้องเราเยอะ เรามีเพื่อน” การที่มีเครือข่ายชุมชนอย่างเครือข่ายคลองหรือชุมชนที่ถูกรื้อไล่อื่นๆนั้น สามารถเป็นพลังและแรงสนับสนุนซึ่งกันและกันเองทั้งในด้านนโยบายและ การรวมพลังมวลชน พี่น้องป้อมฯ ช่วยพี่น้องคลอง พี่น้องคลองช่วยพี่น้อง ริมทางรถไฟ จนเกิดเป็นพลังมวลชนที่สามารถปลุกกระแสของสังคมให้หัน มาให้ความสนใจในความเพิกเฉยต่อผู้คนของรัฐ
  • 44. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 44
  • 45. M a h a k a n L i f e : ชี วิ ต (คน) ป้ อ ม 45 โดย วิศรุต ประทุมมา นับเป็นเวลาร่วม 30 ปีที่ อุทร ปัญญาศิริ ได้ก้าวเข้ามาพักอาศัย และใช้ ชีวิตอยู่ที่ชุมชนป้อมมหากาฬ “เริ่มแรกก็มาเช่า มาอยู่ห้องหนึ่งในบ้านหลังนี้ แหละ แต่อยู่ข้างล่าง ที่นี่แต่ก่อนแบ่งให้เช่าบริเวณชั้นล่าง มีทั้งหมดประมาณ 4-5 ห้อง ข้างบนเจ้าของอยู่” ในช่วงปี พ.ศ.2527 – 2528 ชุมชนมีผู้คนอาศัย อยู่อย่างหนาแน่นและแออัด“คนเยอะ อย่างชั้นล่างก็เป็น 20-30 คน วุ่นวาย มาก เรามุ่งมั่นหาเงินอย่างเดียว คนที่อยู่ก็คุยกัน ส่วนมากก็คนต่างจังหวัด กันทั้งนั้น เช่าอยู่ก็เลยคุยกันเข้าใจรู้เรื่อง สิ่งแวดล้อมเราก็ไม่สนใจ หนวกหู อะไรเราก็ทน” ปัจจุบันในวัย 58 ปี อุทรอาศัยอยู่ร่วมกับภรรยาและลูกชายคนเล็ก ส่วน ลูกสาวคนโตอยู่ต่างจังหวัด เรียนจบและมีครอบครัวแล้ว “ตอนแรกก็อยู่ใน ห้องเล็ก ไม่กล้าเอามาเลี้ยง เลยส่งไปต่างจังหวัดให้แม่ยายเลี้ยง พอโตขึ้นมา เขาก็ไปสอบได้ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ลูกชายคนเล็กเพิ่งเรียน ป.6 จบที่นี่” พื้นเพเดิมของอุทรอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา ส่วนภรรยาเป็นชาวจังหวัด หนองคาย “เจ้าของเขาไม่ค่อยอยู่บ้าน ผมก็ช่วยดูแลบ้าน เขาเลยให้ขึ้นมาอยู่ ข้างบน...ก็มีหลานที่มาอาศัยเรียนหนังสือก็มาเป็นรุ่นๆน้องก็มาพักบ้างอะไร บ้าง มีงานเขาก็ไป ที่นี่ก็กลายเป็นจุดรวมของญาติพี่น้องที่มากรุงเทพฯ” อุทรเช่าห้องจากเจ้าของชื่อองุ่น เป็นการเช่าแบบปากเปล่า ไม่มีหนังสือ สัญญา “พี่องุ่นเขามาเช่าอีกทีหนึ่ง มาสอบถามทีหลัง จริงๆเป็นของคุณเฉลา ...บ้านหลังนี้วุ่นวายเหมือนกันนะ มันมีการฟ้องกันระหว่างเจ้าของบ้านกับ เจ้าบ้าน ใบทะเบียนบ้านเป็นชื่อของพี่องุ่น แต่ใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าและน�้ำ อุทร