SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  71
การพยาบาลแบบองค์รวมในการ
แก้ไขปัญหาสุขภาพสำาหรับ เด็ก วัย
รุ่น วัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มี
อารมณ์ผิดปกติทั้งในภาวะ
เฉียบพลัน วิกฤติและเรื้อรัง
โดย
อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
สุขภาพสำาหรับ
เด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
ที่มีอารมณ์ผิดปกติทั้งในภาวะเฉียบพลัน วิกฤติและ
เรื้อรัง
1. Anxiety
Disorder
2. Mania
3. Depressive &
Suicide
4. Bipolar
Disorder
Anxiety Disorder
ความวิตกกังวล
ความหมาย ความวิตกกังวลเป็นสภาวะ
ทางอารมณ์ของบุคคล ที่มีความรู้สึก
หวาดหวั่น หวาดกลัว อึดอัดไม่สบายใจ
เกรงว่าจะมีสิ่งร้าย หรือเหตุการณ์ที่ไม่ดี
เกิดขึ้นกับตน
ลักษณะของความวิตกกังวล ประกอบ
ด้วย
- ความรู้สึกหงุดหงิดไม่สบายในภาพการณ์
ที่ไม่แน่ใจ
- ความรู้สึกหวาดหวั่น หวั่นเกรงจะมีเหตุ
ร้ายเกิดขึ้นกับตน
- สภาวะกระสับกระส่าย อึดอัด ไม่สบายใจ
- ความรู้สึกตระหนก ตกใจ กลัวบางสิ่งบาง
อย่างที่บอกไม่ได้
- ความรู้สึกไม่มั่นใจในเหตุการณ์ร่วงหน้า
กระบวนการเกิดความวิตกกังวล
เกิดจากเหตุการณ์ต่างๆ ดังนี้
1. ความต้องการของบุคคลมี
สิ่งขัดขวาง ทำาให้ไม่
ประสบความสำาเร็จ
2. บุคคลเกิดอารมณ์ไม่
สบายใจ ไม่แน่ใจ
กระวนกระวายใจ ท้อแท้
ไม่สามารถขจัดความไม่
สบายต่างๆ ได้ด้วยตนเอง
3. มีภาวะอื่นตามมาเพื่อลด
ความวิตกกังวลและป้องกัน
ตนเอง เช่น ภาวะโกรธ
ก้าวร้าว ตำาหนิผู้อื่น
การพยาบาล
1. ประเมินสภาพปัญหาและความรุนแรง
1.1 ระดับของความวิตกกังวล โดยทั่วไปแบ่ง
เป็น 4 ระดับ คือ
1) ความวิตกกังวลระดับตำ่า (Mild anxiety)
เป็นความวิตกกังวลระดับน้อยๆ เป็นปกติใน
บุคคลทั่วไป จะช่วยกระตุ้นให้บุคคลแก้
ปัญหา ได้ดีขึ้น
2) ความวิตกกังวลระดับกลาง (Moderate
anxiety) การรับรู้แคบลง จะสนใจเฉพาะ
ปัญหาที่จะทำาให้ตนไม่สบายใจ พยายามแก้
ปัญหาสูงขึ้น
3) ความวิตกกังวลระดับสูง (Severe
anxiety) การรับรู้แคบลง สมาธิในการรับฟัง
ปัญหาและข้อมูลต่างๆ ลดลง จนไม่สามารถ
ติดตามเนื้อหาของเรื่องราวอย่างกว้างขว้าง
มีอาการมึนงง กระสับกระส่าย ไม่อยู่กับที่ ไม่
สนใจสิ่งแวดล้อม
ลักษณะอาการของบุคคลที่มีความวิตก
กังวล
เมื่อมีความวิตกกังวลจะมีความ
เปลี่ยนแปลงดังนี้
1) การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย
จะมีอาการ
- หัวใจเต้นเร็ว /BP↑ / แน่น
หน้าอก / เหงื่อออกบริเวณฝ่ามือ
ตามตัว / ปากแห้ง /ตัวสั่น /ปวด
ศีรษะ / ปัสสาวะบ่อย หรือท้อง
เสีย / คลื่นไส้ อาเจียน / นอนไม่
หลับ / เบื่ออาหาร/ อ่อนเพลีย
/เจ็บป่วยบ่อย / บุคลิกภาพ
เปลี่ยนไป / นำ้าตาลถูกขับออก
ลักษณะอาการของบุคคลที่มีความวิตก
กังวล
2) การเปลี่ยนแปลงทาง
อารมณ์ จะมีอาการ
หงุดหงิดง่ายกระสับ
กระส่าย /โกรธง่าย/
รู้สึกตนเองไม่มีค่า /
เศร้า ร้องไห้บ่อย/
สงสัยบ่อย / พักผ่อนได้
น้อย / แยกตัว/ ขาก
ความคิดริเริ่ม/ ร้องไห้
ง่าย แม้เรื่องเพียงเล็ก
น้อย/ พึ่งพาผู้อื่น/
ตำาหนิติเตียนผู้อื่น/ มี
ความโน้มเอียงที่จะ
ลักษณะอาการของบุคคลที่มีความวิตก
กังวล
3) การเปลี่ยนแปลงทาง
ความคิด ความจำา และ
การรับรู้ จะมีอาการ
- ลืมง่าย/ หมกมุ่น/
การคิดและการใช้ภาษา
ผิดพลาด/ การตัดสินใจ
ไม่ดี / ไม่ค่อยมีสมาธิ/
ครุ่นคิดแต่อดีต/ ไม่ค่อย
รับรู้ต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ/
ความสนใจลดลง/ การ
พูดติดขัด หรือไม่พูด
เลย/ การรับรู้ผิดพลาด/
มีความคิดและการกระ
การวางแผนการพยาบาล
กำาหนดเป้าหมายการพยาบาลเป็น 2
ระยะ คือ
2.1 เป้าหมายระยะสั้น
- ลดความวิตกกังวลจนถึงปกติ
- สามารถปฏิบัติหน้าที่ประจำาวัน
ได้
2.2 เป้าหมายระยะยาว
- เน้นการรู้ถึงเหตุและผลของ
ความวิตกกังวล
- รู้จักวิธีการลดความวิตกกังวล
- ลดความถี่การเกิดความวิตก
กังวล
- ปรับบุคลิกภาพและใช้กลไกทาง
จิตที่เหมาะสม
- ขจัดความขัดแย้ง และบรรเทา
การช่วยเหลือผู้ที่วิตกกังวล
เน้นที่
3.1 แสดงการยอมรับ
3.2 อยู่เป็นเพื่อน พูดคุย ให้ระบาย
ความวิตกกังวล พยาบาลรับฟัง แล
ให้ข้อเสนอแนะ
3.3 ให้ความมั่นใจว่าจะได้รับการช่วย
เหลือ
3.4 จัดสภาพแวดล้อมให้สงบและลด
สิ่งกระตุ้นความเครียด และวิตก
กังวล
3.5 ดูแลตอบสนองความต้องการด้าน
ร่างกาย เช่น อาหาร นำ้า ความ
สะอาดเป็นต้น
3.6 กระตุ้นบุคคลได้ระบายความวิตก
กังวล
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความวิตกกังวล
และความเครียดผิดปกติ
โรควิตกกังวล (Anxiety Disorders )
Anxiety Disorders : ผู้ป่วยวิตก
กังวลผิดปกติ (pathological
anxiety) เป็นการตอบสนองที่ไม่
เหมาะสมต่อสิ่งที่ทำาให้เกิดความเครียด
หรือความกลัว จำาแนกออกได้เป็น 5
กลุ่ม คือ
1. Panic Disorder
2. Phobias
3. Obsessive – Compulsive
Disorder
4. Stress disorders (Posttraumatic
stress Disorder และ Acute
Stress Disorder)
5. Generalized Anxiety Disorder
Panic disorder
ผู้ป่วยโรคแพนิคมีปัญหาในการ
ทำางานของสมองส่วนที่ทำาให้
เกิดอาการ "ตื่นตระหนก"โดย
เป็นความผิดปกติของสารสื่อนำา
ประสาทบางอย่าง ทำาให้มี
ลักษณะอาการแสดงถึงความตื่น
ตระหนกอย่างสูงสุด อาการที่
เกิดขึ้นมักเกิดอย่างกระทันหัน
อาการที่พบได้แก่ หายใจไม่
ออก หายใจตื้น งุนงงหรือเป็น
ลม หัวใจเต้นแรงและเร็ว มือ
แขน ขาและตัวสั่น เหงื่อออก
มาก ปวดท้อง ลำาไส้ปั่นป่วนและ
คลื่นไส้ ชาปลายมือปลายเท้า
การวินิจฉัย
การวินิจฉัย ต้องมีอาการอย่างน้อย 4 อาการต่อไป
นี้ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และถึงขีดสูงสุดภายใน
10 นาที
1. ใจสั่น ใจเต้นแรงหรือหัวใจเต้นเร็วมาก 2.
เหงื่อออก
3. สั่น
4. หายใจไม่เต็มอิ่มหรือหายใจลำาบาก
5. รู้สึกอึดอัดหรือแน่นอยู่ข้างใน 6. เจ็บ
หรือแน่นหน้าอก
7. คลื่นไส้ หรือท้องปั่นป่วน 8. วิง
เวียน เดินเซ มืนตื้อ หรือเป็นลม
9. รู้สึกว่าตนเปลี่ยนไปจาก
เดิม(depersonalization)หรือสิ่งแวดล้อม
เปลี่ยน (derealization)
10. กลัวควบคุมตัวเองไม่ได้ กลัวกำาลังจะเป็นบ้า
หรือเสียสติ
การพยาบาลผู้ป่วย Panic Disorder
เป้าหมาย เพื่อลดความตื่นตระหนก
และช่วยให้ผู้ป่วยปรับตัวได้ต่อความ
วิตกกังวล
- การปฏิบัติการพยาบาลขณะมีอาการ
ควรมีคนอยู่กับผู้ป่วยตลอดเวลา
- จัดสภาพแวดล้อมให้เงียบสงบ
- พยาบาลต้องมีท่าทีสงบ สุขุม นุ่มนวล
- เมื่อผู้ป่วยมีความวิตกกังวลลดลงควร
ควรเปิดโอกาสให้พูดระบายสาเหตุ
สิ่งกระตุ้นที่ทำาให้เกิดอาการ
- ฝึกทักษะการผ่อนคลายวิธีต่างๆ
Phobia disorder
มีลักษณะอาการแสดงถึงความกลัวใน
บางสิ่งบางอย่างมากเกินปกติ เป็น
ความกลัวอย่างขาดเหตุผลและเป็น
ความกลัวไม่สัมพันธ์กับอันตรายที่
ควรเกิด สิ่งที่ทำาให้กลัวอาจเป็นวัตถุ
สิ่งของ หรือสถานการณ์บางอย่าง
แบ่งออกเป็น
2.1 Agoraphobia
2.2 Specific phobia
2.3 Social phobia (Social
Anxiety Disorder)
Agoraphobia
Agoraphobia คือ อาการกลัวที่โล่ง หรือ
การกลัวที่จะออกนอกบ้าน
- ผู้ป่วยกลัวการเกิดอาการวิตกกังวลใน
สถานการณ์ที่การหลีกหนีทำาได้ลำาบาก
- มักไม่กล้าอยู่คนเดียว และต้องมีเพื่อนหรือผู้
ติดตามไปด้วย เมื่อออกนอกบ้าน
- อาการกลัวมักเกี่ยวกับ การออกนอกบ้านตาม
ลำาพัง การอยู่ท่ามกลางหมู่คน หรือยืนเข้า
แถว การอยู่บนสะพาน การเข้าอุโมงค์ การ
เดินทางโดยรถเมล์ รถไฟ หรือการเข้าโรง
ภาพยนต์ กลัวการขึ้นรถลงเรือไปเหนือล่อง
ใต้
- ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีอาการ agoraphobia
มักจะตามมาด้วยอาการของ Panic
Disorder
- อาการ agoraphobia มักหายไปด้วยการ
Specific phobia
แต่ก่อนเรียกว่า Simple
Phobia เป็นความกลัววัตถุ
สิ่งของหรือสถานการณ์บาง
อย่างที่รุนแรง และไร้เหตุผล
(เช่น ขึ้นเครื่องบิน อยู่ที่สูง
สัตว์ ได้รับการฉีดยา เห็น
เลือด อยู่ในที่แคบ)
- การเผชิญกับสิ่งที่กลัวนั้น ก่อ
ให้เกิดความวิตกกังวลขึ้นมา
ทันที
- ผู้ป่วยตระหนักดีว่า ความกลัว
นั้นมีมากเกินควร และไม่มี
Social phobia
(Social Anxiety Disorder)
1.มีความกลัวที่รุนแรง และคงอยู่นานต่อ
สถานการณ์หนึ่งอย่าง หรือมากกว่าซึ่งเกี่ยว
กับการเข้าสังคมหรือการกระทำาบางอย่าง
ทำาให้บุคคลต้องเผชิญกับคนอื่นที่ไม่คุ้นเคย
หรือถูกคนอื่นจับตาดูอยู่ ผู้ป่วยกลัวว่าจะ
กระทำาการบางอย่าง (หรือ แสดงอาการวิตก
กังวล) ที่ทำาให้รู้สึกน่าอับอายหรืออึดอัดใจ
2.การเผชิญกับสถานการณ์ทางสังคมที่น่ากลัว
นั้นจะยั่วยุให้เกิดความวิตกกังวลขึ้นมาทันที
แทบทุกราย
3.มีการหลีกเลี่ยงสถานการณ์ทางสังคมหรือการก
ระทำาที่ทำาให้เกิดความกลัว หรืออาจต้องทน
กับสถานการณ์นั้น ๆ ด้วยความวิตกกังวลหรือ
ความทุกข์ทรมานใจอย่างมาก
4.มีผลกระทบต่อการดำาเนินชีวิตประจำาวัน การ
ประกอบอาชีพ การเรียน กิจกรรมทางสังคม
หรือสัมพันธภาพกับผู้อื่น บางคนไม่กล้าไป
งานเลี้ยง งานแต่งงาน หรือไม่กล้าแสดงตัว
ต่อที่สาธารณะ
5.ระบุ Generalized : ถ้าความกลัว
การพยาบาลผู้ป่วย Phobia Disorder
เป้าหมายเพื่อทำาให้ผู้ป่วยสามารถทำา
กิจกรรมประจำาวันต่างๆได้โดยไม่
ตื่นกลัว
- การปฏิบัติการพยาบาล หลีกเลี่ยง
วิธีการใช้การหาเหตุผลมาอธิบาย
และคาดคั้นให้ผู้ป่วยปฏิบัติตาม
- ควรให้ความมั่นใจในความ
ปลอดภัย
- ร่วมประเมินปัญหาและให้ผู้ป่วย
หาทางเลือกในการปฏิบัติด้วย
ตนเอง
- ประยุกต์ใช้แนวคิดพฤติกรรม
บำาบัดช่วยในการควบคุมความ
Generalized anxiety disorder
มีลักษณะอาการแสดงถึงความวิตกกังวลและ
ความกังวลใจตลอดเวลา การดำาเนินชีวิต
ไม่มีความสุขโดยที่ไม่รู้ว่าเกิดจากอะไร
อาการนี้จะดำาเนินต่อเนื่องเป็นเวลานาน
กว่า 6 เดือน
ความวิตกกังวล และความกังวลใจ สัมพันธ์
กับอาการอย่างน้อย 3 อาการ ต่อไปนี้
- กระวนกระวาย (หรือกระสับกระส่าย) หรือ
รู้สึกตื่นเต้นจนทนแทบไม่ได้
- อ่อนเพลียง่าย
- ขาดสมาธิหรือคิดอะไรไม่ออก
- หงุดหงิด
- กล้ามเนื้อตึงเครียด
ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักพบได้ทั่วไป และมักมาโรง
พยาบาลด้วยการเจ็บป่วยทางกายหรือ
แสดงอาการของอารมณ์ซึมเศร้า
Obsessive-compulsive disorder
อาการยำ้าคิด (Obsessions) ประกอบด้วยลักษณะ
ต่อไปนี้
1. ความคิด แรงผลักดัน หรือจินตภาพที่เกิดขึ้นซำ้า ๆ
และคงอยู่นานในผู้ป่วยและในช่วงใดช่วงหนึ่ง
ของความผิดปกติ จะมีความรู้สึกว่าอาการเช่น
นี้มีลักษณะแทรกซอน (intrusive) ที่ไม่เหมาะ
สม และทำาให้เกิดความวิตกกังวลหรือความทุกข์
ใจอย่างมาก
2. ความคิด แรงผลักดัน หรือจินตภาพ มิได้เป็นแต่
เพียงความกังวลที่มากเกินไปเกี่ยวกับปัญหา
ชีวิตที่มีอยู่จริง
3. ผู้ป่วยพยายามไม่สนใจหรือกดระงับความคิด
แรงผลักดันหรือ จินตภาพ หรือทำาให้สิ่งเหล่านี้
หมดไปด้วยความคิดหรือการกระทำาอย่างอื่น
4. ผู้ป่วยตระหนักว่า ความคิด แรงผลักดัน หรือ
อาการยำ้าทำา (Compulsion)
หมายถึง พฤติกรรมซำ้า ๆ (เช่น การล้าง
มือ การตรวจสอบสิ่งของอย่าง
ละเอียด) หรือกิจกรรมทางจิต (เช่น
การสวดมนต์ การนับ การพูดในใจ
ซำ้า ๆ) ที่บุคคลรู้สึกว่าต้องทำา เพื่อ
เป็นการตอบสนอง ต่อการยำ้าคิดหรือ
ตามกฎหมายที่ต้องนำามาปฏิบัติอย่าง
เคร่งครัด พฤติกรรมหรือกิจกรรมทาง
จิตมุ่งไปที่การป้องกันหรือการลด
ความทุกข์ทรมานใจ หรือป้องกัน
เหตุการณ์ หรือสถานการณ์ที่น่ากลัว
บางอย่าง แต่พฤติกรรม หรือกิจกรรม
ทางจิตเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวโยงอย่างมี
เหตุผลกับสิ่งที่ผู้ป่วยกำาหนดขึ้นมา
การพยาบาลผู้ป่วย Obesive –
Compulsive Disorder
เป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยควบคุม
พฤติกรรมยำ้าคิดยำ้าทำา
การปฏิบัติการพยาบาล
- ไม่ควรไปยับยั้งห้ามให้ผู้
ป่วยทำาพฤติกรรมซำ้าๆ
- ไม่ตำาหนิแต่ควรหาสาเหตุ
ของการทำาพฤติกรรมนั้นๆ
- จัดตารางกิจกรรมให้ผู้ป่วย
ทำาเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ
Acute stress Disorder
ผู้ป่วยเผชิญกับเหตุการณ์ที่ทำาให้เกิดการ
บาดเจ็บทางจิตใจ และเกิดมีอาการ
ต่าง ๆ เหมือนกับที่พบใน PTSD
ความแตกต่าง คือ Acute Stress
Disorder เกิดขึ้นเป็นเวลาอย่างน้อย
2 วันและมากที่สุด 4 สัปดาห์ และเกิด
ขึ้นภายใน 4 สัปดาห์ หลังจากเกิด
เหตุการณ์นั้น
Acute Stress Disorder มักสัมพันธ์
กับอาการ dissociate symptoms
ซึ่งเด่นชัดมากกว่าที่พบใน PTSD
ประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วยที่เป็น
Acute Stress Disorder ต่อไปจะ
เกิดเป็น PTSD
Post-traumatic stress disorder
1. บุคคลเผชิญกับเหตุการณ์ที่ทำาให้เกิดการบาดเจ็บ
ทางจิตใจ (a traumatic event) โดยมี
ลักษณะดังต่อไปนี้ 2 อย่าง
1.1 บุคคลได้พบเห็น หรือเผชิญกับเหตุการณ์ที่
เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต หรือการคุกคามต่อชีวิต
ของตนเองหรือผู้อื่น
1.2 การตอบสนองของผู้ป่วยเกี่ยวข้องกับความ
กลัวอย่างรุนแรง หรือ หวาดผวา
2 เหตุการณ์สยองขวัญ ที่กระทบกระเทือนจิตใจ จะ
กลับคืนมาและคงอยู่นานโดยมีลักษณะดังต่อไปนี้
1 อย่างหรือมากกว่า
2.1 การระลึกเหตุการณ์ที่ผุดขึ้นมา และทำาให้
ทุกข์ทรมานใจ ซำ้าแล้วซำ้าอีก
2.2 ความฝันที่ทำาให้ทุกข์ทรมานใจเกี่ยวกับ
เหตุการณ์นั้นซำ้าแล้วซำ้าอีก
2.3 การกระทำาหรือความรู้สึกคล้ายกับว่า
เหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนใจ กำาลังเกิดขึ้นอีก
2.4 ความทุกข์ทรมานใจอย่างรุนแรง เมื่อเผชิญ
กับสิ่งกระตุ้นทั้งภายในและภายนอกที่เป็น
Post-traumatic stress disorder (ต่อ)
3. มีการหลีกเลี่ยงที่คงอยู่นาน ต่อสิ่งเร้า
ที่สัมพันธ์กับการบาดเจ็บทางจิตใจ
และความรู้สึกเย็นชา (numbings)
ของการตอบสนองทั่วไป โดยมี
ลักษณะดังต่อไปนี้ 3 อย่างหรือ
มากกว่า
3.1 ความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงความ
คิด ความรู้สึก หรือการสนทนาที่เกี่ยว
กับเหตุการณ์นั้น
3.2 ความพยายามที่จะหลีกเลี่ยง
กิจกรรม สถานที่ หรือบุคคลที่กระตุ้น
ให้ระลึกถึงเหตุการณ์นั้น
3.3 ความไม่สามารถที่จะระลึกถึงส่วน
สำาคัญของเหตุการณ์นั้น
3.4 ความสนใจและความสามารถร่วม
มือในกิจกรรมที่สำาคัญลดลงไปอย่าง
มาก
3.5 ความรู้สึกแยกตัวเอง เหินห่าง หรือ
Post-traumatic stress disorder (ต่อ)
4. อาการของความตื่นตัวที่เพิ่มขึ้นและคงอยู่
นาน (ไม่มีก่อนเหตุการณ์กระทบกระเทือน
ใจ) โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้ 2 อย่างหรือ
มากกว่า
4.1 นอนหลับยาก หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ
4.2 หงุดหงิดหรือแสดงความโกรธออกมา
อย่างรุนแรง
4.3 ขาดสมาธิ
4.4 ระแวดระวังมากเกินไป
4.5 สะดุ้งตกใจมากเกินปกติ
5.ระยะเวลาของความผิดปกตินานกว่า 1 เดือน
6.ระบุ Acute : ถ้าช่วงระยะเวลาที่มีอาการ
น้อยกว่า 3 เดือน
Chronic : ถ้าช่วงระยะเวลาที่มีอาการเริ่มต้น
ของอาการอย่างน้อย 6 เดือนหลังจากสิ่งที่
การรักษา
1.การรักษาด้วยยาต้านความวิตกกังวล
2. การรักษาด้วยจิตบำาบัดและ
พฤติกรรมบำาบัด โดยวิธี
Relaxation และ
Desensitization
3. การรักษาด้วยวิธีทางเลือกอื่น โดย
ใช้เทคนิคการลดความวิตกกังวลซึ่ง
ต้องใช้ให้เหมาะสมตามลักษณะ
ปัญหาของแต่ละบุคคล เช่นการสร้าง
จินตนาการ การออกกำาลังกาย การ
นวดคลายเครียด การทำาสมาธิ การ
เผชิญกับความวิตกกังวลอย่างเป็น
การพยาบาลผู้ป่วย Post-traumatic
stress disorder (PTSD)
เป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยยอมรับรู้
ปัญหาที่กระทบกระเทือน
จิตใจและดำาเนินชีวิตของตน
อย่างมีเป้าหมาย
การปฏิบัติการพยาบาล
- จัดให้มีบุคคลอยู่กับผู้ป่วย
ร่วมกับผู้ป่วยประเมินสาเหตุ
และวางแผนจัดการปัญหา
ของผู้ป่วย ปัจจุบันนิยมใช้
Cognitive behavior
therapy
การพยาบาลผู้มีภาวะซึมเศร้า
ความหมาย ภาวะ
ซึมเศร้าเป็นปฏิกิริยา
จากการสูญเสีย ทำาให้
เกิดความรู้สึกมืดมน
เหนื่อยหน่าย หดหู่
จิตใจอ่อนเพลีย ท้อแท้
สิ้นหวัง รู้สึกไร้คุณค่า
อาจเกิดความรู้สึกไม่
อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป
และทำาร้ายตนเองใน
ที่สุด
สาเหตุ
สาเหตุของความเศร้ามักเกิดจาก
เหตุการณ์ในชีวิตประจำาวัน และ
ปัญหาต่างๆ เกิดการสูญ
เสียบุคคล หรือสิ่งของที่
เป็นที่รัก
ความผูกพัน คิดสับสนอยู่กับสิ่งที่
ผ่านไป และปรับตัวไม่ได้
สภาพร่างกายและอารมณ์ มีการ
เปลี่ยนแปลงตามวัย
ประสบการณ์การสูญเสีย เช่น
การสูญเสียบุคคล พบแต่
เหตุการณ์สูญเสียอยู่เสมอ
และสิ่งที่สูญเสียเป็นสิ่งที่มี
ความหมายต่อบุคคลนั้นๆ
การประเมินภาวะซึมเศร้า
ภาวะซึมเศร้ามีผลกระทบต่อผู้ป่วย
ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ
อารมณ์และสังคม หลายประการ
ขึ้นอยู่กับอาการ และระดับความ
รุนแรง พยาบาลจะต้องสังเกตและ
ประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วย
ตามเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะซึม
เศร้า เช่น มีสีหน้าเศร้า อ่อนเพลีย
มีความรู้สึกไร้ค่า สูญเสียคนรัก
หรือมีความคิดฆ่าตัวตาย เป็นต้น
หลักการพยาบาลภาวะซึมเศร้า
หลักการพยาบาล กำาหนดแนวทางช่วย
เหลือเป็น 2 ระยะ คือ
1 กำาหนดเป้าหมายระยะสั้น
- เน้นการป้องกันการทำาร้ายตนเอง
- ให้ความช่วยเหลือถ้าผู้ป่วยเสียใจจน
ขาดสติ
- เน้นการปรับตัวกับสถานการณ์ การ
ระบายปัญหา
2 กำาหนดเป้าหมายระยะยาว
- ทำาความเข้าใจปัญหา การฝึกการ
เผชิญปัญหา
- สร้างคุณค่าและเป้าหมายในตนเอง
3. การพยาบาลระยะป่วยด้วยโรค
อารมณ์ซึมเศร้า
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติ
ทางด้านอารมณ์ (Mood Disorders)
Mood Disorders : โรคอารมณ์
แปรปรวน เป็นความผิดปกติของ
อารมณ์เป็นอาการเด่น โดยมีอารมณ์
เศร้าผิดปกติ ร้องไห้ อ่อนเพลีย อยาก
ตาย หรือมีอารมณ์ดีมากผิดปกติ
ครึกครื้น พูดมาก ผู้ป่วยอาจมีอาการ
เพียงด้านเดียว หรือทั้งสองด้านก็ได้
ความผิดปกติด้านอารมณ์ที่พบบ่อยคือ
1. ความผิดปกติด้านอารมณ์ชนิดซึมเศร้า
(Depressive Disorder)
2. ความผิดปกติด้านอารมณ์ชนิดคลุ้มคลั่ง
(Mania Episodes)
3. โรคอารมณ์แปรปรวน (Bipolar
ความผิดปกติด้านอารมณ์ชนิดเศร้า
(Depressive Disorders)
เป็นภาวะจิตใจที่หม่นหมอง หดหู่
เศร้า ร่วมกับความรู้สึกท้อแท้
หมดหวังมองโลกในแง่ร้าย มี
ความรู้สึกผิด รู้สึกมีคุณค่าใน
ตนเองตำ่า ตำาหนิตนเอง ผู้ป่วย
จะมีอารมณ์เศร้าตลอดวัน
เกือบทุกวันเป็นเวลาอย่างน้อย
2 สัปดาห์ อาการที่เกิดขึ้น
ไม่ใช่อาการที่เกิดจากโรคจิต
ชนิดอื่น ไม่เคยมีอาการ
เปลี่ยนแปลงด้านจิตอารมณ์
ชนิดเริงร่า ( Mania)
อารมณ์ชนิดซึมเศร้า แบ่งเป็น
ระดับของภาวะซึมเศร้า (APA,
2000)
1. ภาวะซึมเศร้าระดับ
น้อย (Mild
Depression)
2. ภาวะซึมเศร้าระดับ
ปานกลาง
(Moderate
Depression)
3. ภาวะซึมเศร้าระดับ
ภาวะซึมเศร้าระดับน้อย (Mild
Depression)
ภาวะซึมเศร้าระดับน้อย (Mild
Depression) คือ ภาวะอารมณ์
ไม่สดชื่น ไม่แจ่มใส (Blue
Moods) บุคคลอาจรู้สึกเศร้าใน
บางครั้ง ซึ่งบางทีก็มีสาเหตุและ
เหตุผลเพียงพอ ในบางครั้งก็ไม่มี
สาเหตุใดๆ เลย อาจจะมีอารมณ์
เศร้า หากเหน็ดเหนื่อยมากๆ ขาด
คนเห็นใจ รู้สึกว่าถูกทอดทิ้งให้อยู่
คนเดียว ขาดคนเข้าใจ ความ
ภูมิใจถูกทำาลาย ภาพพจน์เกี่ยวกับ
ตัวเองถูกบั่นทอน เป็นต้น
2. ภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง
(Moderate Depression)
ภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง
(Moderate Depression)
อารมณ์เช่นเดียวกับอาการเศร้าใน
ระดับน้อยแต่รุนแรงกว่า กระทบ
ต่อชีวิตครอบครัว การงาน แต่ยัง
สามารถดำาเนินชีวิตประจำาวันได้
แม้ว่าจะไม่สมบูรณ์นัก เป็น
ปฏิกิริยาตอบโต้ต่อภาวะการสูญ
เสียและเหตุการณ์คับขัน ผู้ที่อยู่ใน
ภาวะเศร้าชนิดนี้ จะรู้สึกอึดอัดใจ
ไม่สบายใจเป็นเวลานาน ปวดใจ
พูดลำาบาก คิดช้า อาจมีความวิตก
กังวลซึ่งแสดงออกโดยการยำ้าคิด
3. ภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง
(Severe Depression)
ภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง
(Severe Depression) หมาย
ถึง ความเศร้ามีระดับลึกขึ้น
และเป็นนาน มีการ
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่าง
เห็นได้ชัด สนใจสิ่งแวดล้อม
น้อยลง วิตกกังวลสูง นอนไม่
หลับ สาเหตุของความเศร้ามัก
จะมาจากภายในตัวบุคคลนั้น
ไม่สามารถปฏิบัติภาระหน้าที่
ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มักจะถอนตัวจากโลกของ
ความจริง อาจมีอาการหลง
Major Depressive Disorder
ลักษณะทางคลินิก
อารมณ์เศร้า หดหู่ สะเทือนใจร้องไห้ง่าย ในผู้
ป่วยไทยอาจไม่บอกว่าเศร้า แต่จะบอกว่า
รู้สึกเบื่อหน่ายไปหมด จิตใจห่อเหี่ยว ไม่มี
ความสุขสบายใจหรือสดชื่นเหมือนเดิม
อยากอยู่คนเดียว อาการอื่น เช่น นอนไม่
หลับ เบื่ออาหาร นำ้าหนักลดลงชัดเจน รู้สึก
อ่อนเพลียทั้งวัน ผู้ป่วยหญิงอาจมีประจำา
เดือนผิดปกติ การเคลื่อนไหวก็จะเชื่องช้า
พูดน้อย คิดนาน บางรายอาจมีกระสับ
กระส่าย พบบ่อยว่าผู้ป่วยมีสมาธิลดลง
หลงลืมง่าย ความคิดอ่านเชื่องช้าลง ลังเล
มองโลกมองชีวิตในแง่ลบ คิดว่าชีวิต
ตนเองไม่มีคุณค่า คิดอยากตาย หรือ
พยายามฆ่าตัวตาย
การวินิจฉัย Major Depressive
Episode
A. มีอาการต่อไปนี้ ≥ 5 ข้อ ร่วมกันนาน 2
สัปดาห์ และมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ
ไปจากแต่ก่อน โดยต้องมีอาการ อย่างน้อย 1
ข้อ ของ (1) depressive mood หรือ (2)
loss of interest or pleasure (เบื่อ
หน่าย ไม่มีความสุข)
1. มีอารมณ์เศร้าเป็นส่วนใหญ่ของวัน แทบทุก
วัน โดยได้จากการบอกเล่าของผู้ป่วย (เช่น
รู้สึกเศร้า หรือว่างเปล่า) หรือจากการสังเกต
เห็นของผู้อื่น (เช่น เห็นว่าร้องไห้)
หมายเหตุ : ในเด็กและวัยรุ่นอาจเป็นอารมณ์
หงุดหงิด
2. loss of interest or pleasure (ความ
สนใจหรือความสุขในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งหมด
หรือแทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก) โดยเป็นส่วน
ใหญ่ของวัน แทบทุกวัน (โดยได้จากการบอก
การวินิจฉัย Major Depressive
Episode
3. นำ้าหนักลดลงโดยไม่ได้เกิดจากการคุมอาหาร หรือ
เพิ่มขึ้นอย่างมีความสำาคัญ (ได้แก่นำ้าหนัก
เปลี่ยนแปลงมากกว่าร้อยละ 5 ต่อเดือน) หรือมีการ
เบื่ออาหารหรือเจริญอาหารแทบทุกวัน
หมายเหตุ : ในเด็กดูว่านำ้าหนักไม่เพิ่มขึ้นตามที่
ควรจะเป็น
4. นอนไม่หลับ หรือหลับมากไป
5. psychomotor agitation หรือ retardation
แทบทุกวัน (จากการสังเกตของผู้อื่น ไม่ใช่เพียง
จากความรู้สึกของผู้ป่วย)
6. fatigue หรือ loss of energy : รู้สึก
อ่อนเพลีย หรือไร้เรี่ยวแรงแทบทุกวัน
7. รู้สึกตนเองไร้ค่า หรือรู้สึกผิดอย่างไม่เหมาะสมหรือ
มากเกินควร (อาจถึงขั้นหลงผิด) แทบทุกวัน (มิใช่
เพียงแค่การลงโทษตัวเองหรือรู้สึกผิดที่ป่วย)
8. สมาธิหรือความสามารถในการคิดอ่านลดลงหรือ
ตัดสินใจอะไรไม่ได้แทบทุกวัน (โดยได้จากการ
บอกเล่าของผู้ป่วย หรือ)
การวินิจฉัย Major Depressive
Episode
B. อาการดังกล่าวมิได้เข้าเกณฑ์ของ Mixed
Episode
C. อาการเหล่านี้ทำาให้ผู้ป่วยมีความทุกข์
ทรมานอย่างมีความสำาคัญทางการแพทย์
หรือกิจกรรมด้านสังคม การงาน หรือด้าน
อื่น ๆ ที่สำาคัญบกพร่องลง
D. ไม่ได้เกิดจากยา สารเสพติด หรือความ
เจ็บป่วยทางกาย (เช่น hypothyroidism)
E. อาการไม่ได้เข้ากับ bereavement ได้ดี
กว่า ได้แก่ มีอาการคงอยู่นานกว่า 2 เดือน
หลังการสูญเสียผู้ที่ตนรัก หรือมีหน้าที่
บกพร่องลงมาก หมกมุ่นกับความคิดว่าตนไร้
ค่าอย่างผิดปกติ มีความคิดฆ่าตัวตาย มี
อาการโรคจิต หรือ psychomotor
retardation
Dysthymic disorder
อาการต่างๆ คล้ายกับใน
Major depressive
disorders แต่รุนแรงน้อย
กว่า อาการที่พบบ่อยส่วนใหญ่
เป็นด้านอารมณ์และความคิด
โดยผู้ป่วยจะมีอาการเบื่อ
หน่ายท้อแท้ มองโลกในแง่
ร้าย
อาการสำาคัญ จะมีอารมณ์เศร้า
แทบทั้งวัน เป็นเวลานานกว่า
2 ปี ในเด็กและวัยรุ่นอาจมี
อารมณ์หงุดหงิดและเป็นอย่าง
น้อย 1 ปี ส่วนใหญ่เริ่มมี
อาการตั้งแต่วัยรุ่น อาการเริ่ม
ความผิดปกติด้านอารมณ์ชนิด
คลุ้มคลั่ง
(Manic episodes)
ภาวะคลุ้มคลั่ง เป็นความผิดปกติของอารมณ์ที่มีลักษณะ
อารมณ์คลรื้นเครง คึกคัก หรือหงุดหงิดอย่างผิดปกติ
เป็นเวลาติดต่อกันอย่างน้อย 1 สัปดาห์ (หรือนาน
เท่าไรก็ได้ในกรณีที่จำาเป็น ต้องพักรักษาตัวในโรง
พยาบาล) แบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้
1. Hypomania ความแปรปรวนทางอารมณ์ ยังไม่รุนแรง
อาจทำาให้หน้าที่ทางสังคมและการทำางานมีความ
บกพร่อง อาการสำาคัญได้แก่ อารมณ์ดี ดูมีความสุข แต่
จะแปรปรวนง่ายเมื่อถูกขัดใจ อารมณ์ไม่คงที่ คิดว่า
ตนเองเป็นใหญ่เป็นโต ขาดสมาธิ พูดมาก เสียงดัง
สนใจในเรื่องเพศตรงข้าม ใช้จ่าย ฟุ่มเฟือย
2. Acute mania มีความรุนแรงขึ้นต้องได้รับการรักษา
อาการที่พบ สนุกสนาน ครึกครื้น รื่นเริง ไม่สอดคล้อง
กับเหตุการณ์ อารมณ์แปรปรวนง่าย อาจหงุดหงิด
ก้าวร้าว อาละวาดโดยไม่มีเหตุผล สับสน พูดมาก
โวยวาย คิดว่าตนมีอำานาจเหนือผู้อื่น อาจมีหลงผิด
หวาดระแวงได้ ไม่อยู่นิ่ง ไม่กิน ไม่นอน เข้าสังคมบ่อย
ใช้จ่ายเงินมาก ตัดสินใจเร็วขาดการไตร่ตรอง
3. Delirious mania เป็นระยะที่มีความรุนแรงมาก มัก
ไม่ค่อยพบ ถ้ามีการรักษามาก่อน อาการที่พบได้แก่
หงุดหงิดมาก ควบคุมไม่ได้ ความคิดสับสน ไม่รับรู้ วัน
การวินิจฉัย Manic episodes
A. มีช่วงที่มีอารมณ์คึกคัก หรืออารมณ์หงุดหงิดที่ผิดปกติและคงอยู่
ตลอดอย่างชัดเจนนานอย่างน้อย 4 วัน
B. ช่วงที่มีความผิดปกติด้านอารมณ์ต้องมีอาการดังต่อไปนี้อยู่ตลอด
อย่างน้อย 3 อาการ (หรือ 4 อาการหากมีเพียงอารมณ์หงุดหงิด)
และอาการเหล่านี้รุนแรงอย่างมีความสำาคัญ
1. มี self-esteem เพิ่มขึ้นมาก หรือมีความคิดว่าตนยิ่งใหญ่
(grandiosity)
2. decreased need of sleep (มีความต้องการนอนลดลง)
3. more talkative หรือ pressure of speech (พูดคุย
มากกว่าปกติ)
4. flight of idea หรือผู้ป่วยรู้สึกว่าความคิดแล่นเร็ว
5. วอกแวก (distractibility) : ถูกดึงดูดความสนใจได้ง่าย
6. ทำากิจกรรมซึ่งมีจุดหมายเพิ่มขึ้นมาก (ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม การ
งานหรือการเรียน หรือด้านเพศ) หรือ psychomotor
agitation
7. หมกมุ่นอย่างมากกับกิจกรรมที่ทำาให้เพลิดเพลิน แต่มักจะมีความ
ยุ่งยากตามมา (เช่น ใช้จ่ายไม่ยั้ง ไม่ยับยั้งใจเรื่องเพศ)
C. ระยะที่มีอาการมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ
ซึ่งมิใช่ลักษณะประจำาของบุคคลนั้นขณะไม่มีอาการอย่างเห็นได้
ชัด
D. ผู้อื่นสังเกตเห็นความผิดปกติด้านอารมณ์และการเปลี่ยนแปลง
E. ระยะที่มีอาการไม่รุนแรงถึงกับทำาให้กิจกรรมด้านสังคม หรือการ
งานบกพร่องลงมาก หรือทำาให้ต้องอยู่โรงพยาบาล และไม่มี
ความผิดปกติด้านอารมณ์แปรปรวน
(Bipolar Disorders)
เป็นโรคอารมณ์แปรปรวนที่ผู้ป่วยมีอาการ
mania หรือ hypomania สลับกับ
major depressive episode อาการนำา
ที่สำาคัญคือ มีอารมณ์โดยทั่วไปเศร้า บาง
คนอาจจะมีอาการนอนไม่หลับ นำ้าหนักตัว
ลด มักจะเริ่มเกิดอาการในช่วงอายุ 21-
25 ปี อัตราการเกิดอาการในหญิงและ
ชายเท่า ๆ กัน มักจะพบว่าอาการที่เกิด
ครั้งแรกในชายเป็นประเภทเริงร่าเป็น
อาการนำา (manic episode) ส่วนในผู้
หญิงจะพบอาการซึมเศร้าเป็นอาการนำา
(major depressive episode)
Bipolar disorders มีความแตกต่างจาก
Major depressive disorder คือการมี
ประวัติของอารมณ์เริงร่า (manic) หรือมี
ภาวะอารมณ์เริงร่าในระดับตำ่า
(hypomanic) มาก่อน และถ้าเปรียบ
เทียบด้านอาการความรุนแรงแล้ว
Bipolar disorders จะมีอาการรุนแรง
ลักษณะการแสดงออก
ด้านพฤติกรรม จะมีพละกำาลังมาก นอนน้อย
ไม่มีอาการง่วงนอนให้เห็นแม้ว่าจะนอน
น้อย พูดมากและพูดไม่หยุด (Pressure
speech) และเปลี่ยนเรื่องไปเรื่อย ๆ มี
ความคิดพรั่งพรู (Flight of ideas) หันเห
ความสนใจง่าย (Distractibility) อยู่นิ่ง
ไม่ได้ โอ้อวดตนเอง (Inflated self –
esteem) ใช้จ่ายสิ้นเปลือง
ด้านความคิด ความคิดพรั่งพรู มีความคิดที่
บ่งบอกว่าการตัดสินใจไม่ดี ขาด
วิจารณญาณ ถึงแม้ว่าผู้ป่วยเหล่านี้ไม่เสีย
ด้านสติปัญญา ในรายที่เป็นรุนแรงจะพบมี
อาการหลงผิดหรือประสาทหลอน โดย
เนื้อหามักเกี่ยวกับเรื่องของอำานาจวิเศษ
ศาสนา หรือบางครั้งอาจมีลักษณะแปลก ๆ
เช่นเดียวกับที่พบในโรค schizophrenia
ด้านอารมณ์ อารมณ์แกว่งมาก จากอารมณ์
Bipolar disorders
แบ่งเป็น
1. Bipolar I Disorder เป็นความผิดปกติด้าน
อารมณ์ที่มีลักษณะสำาคัญ คือ มีอารมณ์เริงร่า
(mania) เป็นอาการนำามาก่อน เกิดอย่างน้อย
1 ครั้ง หรือมากกว่า 1 ครั้ง ร่วมกับการมี
ประวัติการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ที่มีลักษณะ
ซึมเศร้า ภาวะอารมณ์ผิดปกติเกิดขึ้นอย่างทันที
ทันใดและเปลี่ยนเร็ว จะเปลี่ยนจากภาวะเริงร่า
ไปเป็นภาวะซึมเศร้าอย่างเร็ว ความผิดปกติทาง
อารมณ์จะคงอยู่เป็นเวลาหลายวันจนถึงหลาย
เดือน และบุคคลจะไม่ตระหนักว่าตนเองมี
อารมณ์ผิดปกติ มีพฤติกรรมเปลี่ยนจากเดิม จึง
ไม่ยอมที่จะรับการรักษา
2. Bipolar II Disorder ความผิดปกติทาง
อารมณ์ที่มีลักษณะอารมณ์ซึมเศร้า (depress)
เป็นอาการนำามาก่อน การเกิดอารมณ์เศร้า
อาจจะเกิดขึ้นอย่างน้อย 1 ครั้ง หรือมากกว่า 1
ครั้ง อาจจะมีภาวะการณ์ แปรเปลี่ยนทางด้าน
การวินิจฉัย Bipolar I disorder
A. มีอารมณ์ elevated mood, euphoria
หรือ expansive mood หรือ irritable mood
อย่างผิดปกติ และคงอยู่นานอย่างน้อย 1 สัปดาห์
(หรือนานเท่าใดก็ได้หากต้องอยู่ในโรงพยาบาล)
B. ในช่วงที่มีความผิดปกติด้านอารมณ์นี้ พบมี
อาการดังต่อไปนี้อยู่ตลอดอย่างน้อย 3 อาการ
(หรือ 4 อาการหากมีเพียงอารมณ์หงุดหงิด) และ
อาการเหล่านี้รุนแรงอย่างมีความสำาคัญ
1. มี self-esteem เพิ่มขึ้นมาก หรือมี
grandiosity
2. decreased need of sleep
3. more talkative หรือ pressure of
speech
4. flight of idea หรือ ความคิดแล่น
เร็ว
5. วอกแวก (distractibility) : ถูกดึงดูด
ความสนใจได้ง่าย
6. psychomotor agitation หรือ ทำา
กิจกรรมซึ่งมีจุดหมายเพิ่มขึ้นมาก (ไม่ว่าจะเป็น
การวินิจฉัย Bipolar I disorder
(ต่อ)
C. อาการไม่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัย
Mixed Episode
D. ความผิดปกติด้านอารมณ์ที่เกิดขึ้น
รุนแรงจนทำาให้มีความบกพร่อง
อย่างมากในด้านการงาน หรือ
กิจกรรมทางสังคมตามปกติ หรือ
สัมพันธภาพกับผู้อื่น หรือทำาให้ต้อง
อยู่ในโรงพยาบาลเพื่อป้องกัน
อันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น หรือมี
อาการโรคจิต
E. อาการไม่ได้เกิดจากยา สารเสพติด
หรือการรักษาอื่น หรือโรคทางกาย
สาเหตุของความผิดปกติทาง
อารมณ์
1. ปัจจัยด้านชีวภาพ สารชีวเคมี (Monoamine) ที่มีผล
ทำาให้เกิดภาวะอารมณ์ซึมเศร้าหรือภาวะอารมณ์ลิงโลด
โดยพบว่า ถ้าระดับ serotonin นี้มีน้อยก็จะทำาให้เกิด
ภาวะอารมณ์ซึมเศร้าได้
2. ปัจจัยทางด้านสังคม เหตุการณ์เครียด ภาวะที่บุคคล
มีการสูญเสีย ได้แก่ บุคคลที่รัก หน้าที่การงาน คุณค่าใน
ตนเอง เด็กที่ถูกทอดทิ้ง มักจะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มี
อารมณ์เศร้า
3. ปัจจัยด้านการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้เห็นว่าภาวะ
ความซึมเศร้าเกิดจากการที่บุคคลมองเหตุการณ์และแปล
เหตุการณ์ไปในทางลบ เป็นภาวะ Learned
helplessness
4. ยา /สารเคมี Reserpine ใช้ในการรักษาโรคความ
ดันโลหิตสูง จะลด Biogenic Amineทำาให้ซึมเศร้า
M.A.O. Inhibitor ที่ใช้รักษาโรควัณโรค จะเพิ่ม
Biogenic Amineทำาให้ผู้ป่วยร่าเริง การมี Steroid
out put เพิ่มขึ้น ผู้ป่วยจะซึมเศร้า
5. ลักษณะบุคลิกภาพของบุคคล มักพบในคนขี้อาย หวั่น
ไหวง่าย วิตกกังวลง่าย ระมัดระวังตนเองมากเกินไป ไม่มี
ความเชื่อมั่นในตนเอง มีแนวโน้มทำาร้ายตนเองและผู้อื่น
6. สัมพันธภาพกับบุคคลอื่นไม่ดี บุคคลที่กลัวการติดต่อ
กับบุคคลอื่น กลัวผู้อื่นทำาร้าย มักใช้ กลไกทางจิต แบบ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิด
ปกติทางด้านอารมณ์
หลักการสำาคัญที่สุด
1. ดูแลเรื่องสุขอนามัยและความปลอดภัย
ของผู้ป่วย ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติด้าน
อารมณ์ชนิดซึมเศร้า และชนิด เริงร่าลิงโลก
จะไม่สนใจในเรื่องสุขอนามัย ไม่สนใจเรื่องการ
รับประทานอาหารและนำ้า
2. การเฝ้าระวังเรื่องการให้ยาและ S/E เช่น
ปากแห้ง คอแห้งกระหายนำ้า ความดันโลหิตตำ่า
อาการไม่สุขสบายที่เกิดจากยาจะทำาให้ผู้ป่วย
ไม่ร่วมมือในการรักษา ผู้ป่วยอาจจะบอกว่าหน้า
มืดจะเป็นลมหลังได้รับยา ซึ่งเป็นผลจากความ
ดันโลหิตตำ่าจากยา
3. การให้ความรู้แก่ผู้ป่วย เรื่องการใช้ยาต้าน
เศร้าเพื่อการรักษา คือฤทธิ์ข้างเคียงที่เกิดจาก
ยา เช่น อาการปากแห้งและคอแห้ง ก็ให้จิบนำ้า
บ่อย ๆ หรืออมก้อนนำ้าแข็งเล็ก การป้องกัน
อาการหน้ามืด วิงเวียนเนื่องจากความดันโลหิต
ตำ่าโดยการลุกนั่งหรือลุกเดินช้า ๆ ให้ความรู้
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิด
ปกติทางด้านอารมณ์
4. การใช้กระบวนการพยาบาล
การดูแลผู้ป่วยโดยใช้กระบวนการพยาบาลจะช่วย
ให้พยาบาลมีทิศทางในการดูแลผู้ป่วยดีขึ้น การ
วินิจฉัยปัญหาสำาหรับการพยาบาลขึ้นอยู่กับ
ลักษณะและอาการผู้ป่วย
4.1 การประเมินสภาพผู้ป่วย การประเมินสภาพ
ทั่ว ๆ ไป ความคิด การรับรู้ อาการแสดงที่ผิด
ไปจากปกติที่เป็นสาเหตุทำาให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับ
การรักษาตัวในโรงพยาบาล ประเมินความคิด
และพฤติกรรมทำาร้ายตนเอง ความคิดและ
พฤติกรรมที่บ่งบอกจะฆ่าตัวตาย ใช้แหล่งข้อมูล
หลายแหล่งร่วมกัน เช่น จากตัวผู้ป่วย ญาติ การ
สังเกตขณะให้สัมภาษณ์ และจากการบอกเล่า
ของทีมพยาบาลเวรอื่น ๆ ที่ดูแลผู้ป่วย
4.2 การวินิจฉัยพยาบาล
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างข้อวินิจฉัยพยาบาลในผู้ป่วย
ซึมเศร้าที่มีอาการเศร้าเป็นอาการนำา เช่น
1. มีความบกพร่องในด้านการดูแลตนเองเนื่องจาก
ภาวะซึมเศร้า
2. มีการรับรู้ในคุณค่าตนเองลดลงเนื่องจากรู้สึกผิด
การวางแผนการพยาบาล
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1. มีความบกพร่องในด้านการดูแลตนเอง
เนื่องจาก ภาวะซึมเศร้า
เป้าหมายทางการพยาบาล ผู้ป่วยมีส่วนร่วม
ในการดูแลตนเองมากขึ้นในสัปดาห์ที่ 1
และผู้ป่วยสามารถดูแลและปฏิบัติ กิจวัตร
ประจำาวันของ ตนเองโดยไม่ต้องบอกใน
สัปดาห์ 2 ผู้ป่วยใส่ใจในเรื่อง สุขอนามัย
ของตนเองได้เช่นปกติในสัปดาห์ที่ 3
2. มีการรับรู้ในคุณค่าตนเองลดลงเนื่องจาก
รู้สึกผิดในการกระทำาของตนเอง
เป้าหมายทางการพยาบาล ผู้ป่วยมีการรับ
รู้ในคุณค่าตนเองดีขึ้น ผู้ป่วยมีความรู้สึกต่อ
ตนเองดีขึ้นเห็นความสำาคัญของตนเองมาก
ขึ้น
การปฏิบัติการพยาบาล เพื่อให้แผนการ
พยาบาลได้บรรลุวัตถุประสงค์ของการ
พยาบาลที่ตั้งไว้ทีมพยาบาลจะต้องมีการ
การพยาบาลที่สำาคัญสำาหรับผู้ป่วยที่มี
ความผิดปกติ
ด้านอารมณ์ชนิดซึมเศร้า
1. การสร้างสัมพันธภาพ เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ
พร้อมทั้งให้ความสนใจเอาใจใส่อย่างจริงใจต่อ
ท่าทีของผู้ป่วย
2. กระตุ้นให้ผู้ป่วยได้ระบายความคิดและความรู้สึก
ออกมา
3. ส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การมองข้อดี
ของตนเอง การแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง การ
สร้างเป้าหมายในชีวิต
4. ส่งเสริมการปรับตัว การแก้ไขปัญหา การใช้กลไก
ทางจิตที่เหมาะสม
5. สนับสนุนการดูแลตนเองในการทำากิจวัตรประจำา
วัน
6. การดูแลให้ได้รับการรักษาและรับยาอย่างต่อเนื่อง
และสังเกตอาการข้างเคียงของยา
7. ระวังการทำาร้ายตนเอง จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย
การประเมินความเสี่ยงต่อการทำาร้ายตนเอง เฝ้า
ระวังและสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ลดสิ่งกระตุ้น
การพยาบาลที่สำาคัญสำาหรับผู้ป่วยที่มี
ความผิดปกติ
ด้านอารมณ์ชนิดคลุ้มคลั่ง
1. การสร้างสัมพันธภาพ เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ
พร้อมทั้งให้ความสนใจเอาใจใส่อย่างจริงใจต่อท่าที
ของผู้ป่วย และการยอมรับผู้ป่วยในเรื่องศักดิ์ศรีของ
ความเป็นมนุษย์
2. จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย ป้องกันอันตรายทั้งตัวผู้
ป่วยเองและผู้อื่น
3. กระตุ้น และสนับสนุนการดูแลตนเองในการทำากิจวัตร
ประจำาวัน
4. จัดกิจกรรมกลุ่มบำาบัด เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่พึง
ประสงค์ เพิ่มการใช้พลังงานอย่างสร้างสรรค์
5. สอนทักษะการเผชิญปัญหา การจัดการกับ
ความเครียด และการควบคุมพฤติกรรมที่เหมาะสม
6. การดูแลให้ได้รับการรักษาและรับยาอย่างต่อเนื่อง
และสังเกตอาการข้างเคียงของยา โดยเฉพาะยา
ลิเทียม ต้องประเมินระดับลิเทียมในกระแลเลือด และ
ดูแลเรื่องการรักษาด้วยไฟฟ้า
การพยาบาลที่สำาคัญสำาหรับผู้ป่วยที่มีความผิด
การประเมินผลการพยาบาล
การประเมินผลการ
พยาบาลตามข้อวินิจฉัย
การพยาบาลแต่ละข้อ
ว่าเป็นไปตามแผนหรือ
ไม่ ถ้ายังไม่เป็นไปตาม
แผน จำาเป็นต้องปรับ
การปฏิบัติการพยาบาล
อย่างไรบ้าง จำาเป็นต้อง
เพิ่มข้อวินิจฉัยการ
พยาบาล อื่น ๆ อีกหรือ
ไม่
การพยาบาลผู้ที่มีปัญหาฆ่าตัวตาย
(SUICIDAL IDEA)
ความคิดอยากฆ่าตัวตาย เป็นอารมณ์วูบหนึ่ง อาจเกิด
ขึ้นได้ในคนปกติ แต่ถ้าคิดซำ้าซากก็เป็นพยาธิ
สภาพ เป็นพฤติกรรมผิดปกติ เพราะคนส่วนมาก จะ
ไม่ฆ่าตัวตาย แม้จะตกอยู่ในภาวะเช่นเดียวกันนั้น
พบได้บ่อยในภาวะซึมเศร้า ผู้คิดฆ่าตัวตายจะมี
ความรู้สึกตรงกันข้ามทั้งสองฝ่ายปนกัน คือ ทั้ง
อยากตาย และอยากมีชีวิตอยู่เพียงแต่ความรู้สึก
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากกว่าเท่านั้น การฆ่าตัวตายอาจ
เป็นการลงโทษตนเอง, เป็นการแก้แค้นผู้อื่น, หรือ
เนื่องมาจากความเชื่อเรื่องเกิดใหม่ในชาติหน้าร่วม
กับคนที่ตนรักก็ได้ คนที่คิดฆ่าตัวตายจะมีความรู้สึก
คล้ายกัน คือ "ขาดความรัก"
คำาจำากัดความ การฆ่าตัวตายแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
ได้แก่
ก. การพยายามฆ่าตัวตาย (attempted
suicide) หมายถึงผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย แต่ใน
ที่สุดยังไม่ถึงแก่ชีวิต ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ยังอยู่ใน
วัยหนุ่มสาว ทำาด้วยความหุนหันพลันแล่น หรือ ทำา
เพราะต้องการประท้วง ต้องการให้ผู้อื่นรู้สึกผิด
เพราะรู้สึกโกรธ หรือหาทางออกกับสถานการณ์ใน
ขณะนั้นไม่ได้
สาเหตุของการฆ่าตัวตาย
มีหลายประการ ได้แก่
มีอาการซึมเศร้า ผู้ที่มีอาการซึมเศร้ามากๆ จะคิด
ว่าตนเองไร้ค่าอยู่ไปไม่มีประโยชน์ ความ
รู้สึกซึมเศร้าทำาให้ไม่สามารถทนอยู่กับ
อาการต่างๆ ซึ่งทรมานได้อีกต่อไป ส่วน
ใหญ่ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า จะมีอาการ
รุนแรงถึงขนาดฆ่าตัวตายได้
มีอาการโรคจิต ผู้ที่เป็นโรคจิต มักมีอาการหู
แว่ว,หลงผิด และปรับตัวเข้ากับสังคมได้
ลำาบาก บางครั้งเกิดอาการซึมเศร้าจากการ
ป่วยโรคจิตอย่างเรื้อรัง ไม่มีความหวังใน
ชีวิต ก็คิดอยากตายได้ บางคนมีหูแว่วเป็น
เสียงสั่งให้ฆ่าตัวตายก็ทำาตามเสียงนั้น บาง
ชนิดจะสับสน มีภาพหลอน เกิดตกใจวิ่งหนี
ทำาให้เกิดอุบัติเหตุเหมือนฆ่าตัวตายได้
ผู้ที่ติดเหล้าหรือสารเสพติด เกิดอาการซึมเศร้า
และขาดการยับยั้งใจตัวเอง ฆ่าตัวตายด้วย
ความโกรธ และก้าวร้าวต่อตนเองได้
ผู้ที่มีบุคลิกภาพผิดปกติ จะเกิดปัญหาทางอารมณ์
ได้ง่ายและอยากฆ่าตัวตายได้
ลักษณะที่บ่งว่าผู้ป่วยมีความตั้งใจ
ฆ่าตัวตาย
1. ทำาในที่ห่างไกล ยากแก่การพบเห็น
2. ทำาในเวลาที่การช่วยเหลือทำาได้ลำาบาก
3. เตรียมการเรื่องทรัพย์สิน จดหมายลาตาย
4. เตรียมการเรื่องการฆ่าตัวตาย เช่น หาซื้อยา
มาสะสมไว้
5. ครุ่นคิดเรื่องการฆ่าตัวตายนานพอสมควร
(นานเป็นชั่วโมงๆ ก่อนทำา)
6. ใช้วิธีการที่รุนแรง
7. ไม่เรียกร้องขอความช่วยเหลือหลังทำา
ผู้ป่วยที่อาการสาหัสอาจไม่จำาเป็นต้องมีความ
เสี่ยงสูงเสมอไป โดยเฉพาะการรับประทาน
ยา ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเมินยากว่าผู้ป่วยทราบ
หรือไม่ว่ายาตัวไหนมีอันตรายอย่างไร รับ
ประทานแล้วถึงตายหรือไม่. แต่หากเป็นการ
ทำาโดยใช้วิธีที่รุนแรง เช่น กระโดดตึก, ยิง
ตัวตาย ก็ค่อนข้างแน่ใจว่าผู้ป่วยมีความ
ต้องการฆ่าตัวตายสูง
โรคทางจิตเวชที่พบบ่อยในผู้ป่วย
ที่พยายามฆ่าตัวตาย
Adjustment disorder ผู้ป่วยเดิม
ปกติดีมาก่อน เกิดความกดดันหรือ
ปัญหา แล้วปรับตัวหรือหาทางแก้
ปัญหาไม่ได้ อาจเครียด วิตกกังวล
หรือซึมเศร้า
Major depression อาจมีความ
กดดันหรือไม่ก็ได้ ผู้ป่วยมีอารมณ์ซึม
เศร้า หรือเบื่อหน่าย ที่มักเป็นตลอด
วันนานกว่า 2 สัปดาห์ ร่วมกับมี
อาการนอนไม่หลับ อ่อนเพลีย เบื่อ
อาหาร สมาธิบกพร่อง หรือรู้สึกผิด
เป็นต้น
Personality disorder บุคลิกภาพ
ผิดปกติ มักพบเป็นแบบที่ผู้ป่วยสนใจ
แต่ตนเอง เรียกร้องจากผู้อื่นอารมณ์
อ่อนไหว ไม่มั่นคง หุนหันพลันแล่น
หรือสับสนในชีวิต
หัวข้อการประเมินผู้ป่วยที่ attempt
suicide
โดยสรุปแล้วมีที่สำาคัญอยู่ 3 หัวข้อ ในการประเมินผู้ป่วยแต่ละราย คือ
1). Precipitating factors ผู้ป่วยที่ attempt suicide มีเหตุการณ์ที่
กดดันต่อตนเองภายในช่วง 6 สัปดาห์ ก่อนการพยายามฆ่าตัวตาย
มากกว่าผู้ป่วยที่ depress อย่างเดียวอย่างมีนัยสำาคัญ ตัวอย่าง
เหตุการณ์ที่กดดัน เช่น ความสูญเสียคนใกล้ชิด ปัญหาด้าน
สัมพันธภาพ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น การที่ต้องถามในเรื่อง
ของ precipitating factor นั้น มีความสำาคัญอยู่ 3 ประการ ได้แก่
1.1precipitating factor บางอย่าง พบในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่า
ตัวตายสูง เช่น การหย่าในผู้ป่วยที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง การเข้าใจ
ถึงปัญหาที่มากระทบต่อผู้ป่วย ทำาให้สามารถเข้าใจผู้ป่วยได้ดีขึ้น
เห็นถึงแนวคิดของผู้ป่วยต่อปัญหา และแนวการแก้ปัญหาของเขา
1.2). Motivation ผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตายมิได้อยากตายจริง ๆ ไป
ทั้งหมด โดยเฉพาะในวัยรุ่นและวัยหนุ่ม สาว ซึ่งโดยมากพบว่า เป็น
เพราะต้องการให้สิ่งที่ตนเองกระทำาส่งผลต่อผู้อื่น ( เช่น เพื่อเรียกร้อง
ความสนใจ เพื่อให้คนนั้นรู้สึกผิด ลักษณะของ motivation นี้มีผล
ต่อการวางแผนช่วยเหลือ ผู้ป่วยผู้ป่วยเช่นนี้ ต้องให้การช่วยเหลือ
โดยด่วน จำาเป็นต้องรับไว้ในโรงพยาบาลดูแลอย่างใกล้ชิด ความ
ต้องการฆ่าตัวตาย (suicidal intent) มีได้หลายระดับ ต้องประเมิน
จากพฤติกรรมของผู้ป่วย ก่อนการฆ่าตัวตายด้วย ได้แก่ ผู้ป่วยที่
วางแผนอย่างรอบคอบ เขียนจดหมายลาตาย แอบจัดการเรื่อง
ทรัพย์สิน ทำาการขณะไม่ผู้คนอยู่ ใกล้เคียง
1.3). ความรุนแรงของอาการทางกาย (lethality) ความรุนแรงของอาการมี
ผลต่อการวางแผนการรักษาทางกาย อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีอาการ
รุนแรง อาจไม่จำาเป็นต้องมีความเสี่ยงเสมอไป ควรประเมินจาก
พฤติกรรมการฆ่าตัวตายร่วมด้วย โดยเฉพาะ การกินยาซึ่งเป็นสิ่งที่
ประเมินยากว่าผู้ป่วยทราบหรือไม่ว่ายาตัวไหนมีอันตรายอย่างไร กิน
แล้วถึงตายหรือไม่ แต่ถ้าเป็นฆ่าตัวตายโดยการยิงตัวตาย กระโดด
จากที่สูง ก็ค่อนข้างจะแน่ใจว่าผู้ป่วยมีความต้องการฆ่าตัวตายสูง
ข้อควรปฏิบัติในการซักประวัติ
และตรวจผู้ป่วย
1. คอยระวัง ให้ผู้ป่วยอยู่ในสายตาตลอด โดย
เฉพาะผู้ป่วยที่อาการดีแล้ว ผู้ป่วยบางคนอาจหลบ
หนีออกไปขณะที่บุคลากรทำาหน้าที่อื่นอยู่
2. การซักประวัติผู้ป่วยหากเป็นไปได้ควรทำาในที่
เป็นส่วนตัว เนื่องจากบางเรื่องผู้ป่วยไม่ต้องการ
ให้ใครทราบ หรือลำาบากใจที่จะเล่าหากมีคนมาก
3. แสดงความเข้าใจถึงความทุกข์ใจของผู้ป่วย
เห็นใจ ไม่แสดงท่าทีตัดสินถูกผิดต่อสิ่งที่เขาได้
กระทำาลงไป
4. เลี่ยงการถกกับผู้ป่วยถึงข้อดีข้อเสียของการ
ฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะการมีท่าทีลังเลหรือเห็น
คล้อยตามไปกับผู้ป่วยว่าเขาไม่มีทางออกจริงๆ
การมีความเข้าใจในผู้ป่วยเป็นสิ่งดี แต่การตัดสินใจ
หรือแนวทางในการช่วยเหลือนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ควรมีท่าทีที่มั่นคง แสดงความเห็นอย่างชัดเจนว่า
แม้ว่าปัญหาของผู้ป่วยดูจะยุ่งยาก แต่การตายไม่ใช่
แนวทางในการแก้ปัญหา. ผู้ป่วยมักมีความคิดสอง
จิตสองใจ การแสดงท่าทีลังเลของแพทย์จะไปเสริม
ความรู้สึกไม่มั่นใจนี้ยิ่งขึ้น
5. พบญาติหรือผู้ใกล้ชิดทุกครั้ง ทั้งนี้เพื่อจะได้
ทราบถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยญาติอาจมี
มุมมองต่างไปจากผู้ป่วย จากข้อมูลหลาย ๆ แห่ง
ทำาให้ประเมินปัญหาได้ตรงขึ้น. แต่ มิใช่ว่าจะเชื่อ
แนวทางในการสัมภาษณ์
สิ่งสำาคัญลำาดับแรกคือการช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะทาง
ร่างกายให้พ้นภาวะฉุกเฉิน. หลังจากที่ผู้ป่วย
อาการดีขึ้นแล้วควรหาประวัติและสัมภาษณ์ เพื่อ
เป็นแนวทางในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อ
ไป
หัวข้อสำาคัญในการสัมภาษณ์ ได้แก่
1. ปัจจัยกระตุ้นให้ผู้ป่วยคิดฆ่าตัวตาย พบว่าผู้
ป่วยมักประสบเหตุการณ์กดดันก่อนคิดฆ่าตัวตาย.
ตัวอย่างเหตุการณ์ได้แก่ การสูญเสียคนใกล้ชิด
ปัญหาด้านสัมพันธภาพ เป็นต้น การทราบถึง
ปัจจัยกระตุ้น ทำาให้ผู้ดูแลสามารถเข้าใจผู้ป่วย
มากขึ้น เห็นถึงแนวคิดของผู้ป่วยต่อปัญหาและวิธี
การแก้ปัญหาก่อนหน้านี้ของเขา. นอกจากนี้การ
ทราบถึงปัจจัยกระตุ้นจะทำาให้การวางแผนช่วย
เหลือผู้ป่วยทำาได้ตรงจุดขึ้น
2. สิ่งที่ผู้ป่วยหวังผลจากการกระทำา ผู้ป่วยที่
พยายามฆ่าตัวตายจำานวนหนึ่งทำาไปเพราะหวังผล
จากการกระทำา เช่น ประท้วง หรือเพื่อหลีกเลี่ยง
สถานการณ์บางอย่าง เป็นต้น ผู้ป่วยดังกล่าวนี้จะ
มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอีกน้อยกว่าผู้ป่วยที่
ทำาเพราะรู้สึกท้อแท้ หมดหวัง ฆ่าตัวตายเพราะ
อยากตาย. มีลักษณะช่วยบ่งหลายประการว่าผู้
ป่วยมีความตั้งใจจริง
แนวทางในการสัมภาษณ์
3. อาการตลอดจนการวินิจฉัยทางจิตเวช มีการ
ศึกษาผู้ป่วยฆ่าตัวตายสำาเร็จ พบว่าผู้ป่วยมีความผิด
ปกติทางจิตเวชในกลุ่ม depressive disorders ถึง
ประมาณร้อยละ 75.7 การวินิจฉัยทางจิตเวชนี้ พบ
ว่าเป็นตัวบ่งชี้ที่สำาคัญถึงความรุนแรงของปัญหา
4. สภาพจิตใจของผู้ป่วยขณะพบแพทย์ ผู้ป่วยที่ซึม
เศร้ามาก ท้อแท้ หมดหวัง หรือรู้สึกว่าหมดหนทางใน
ชีวิต จะมีความเสี่ยงสูง
5. การช่วยเหลือคำ้าจุนจากครอบครัวหรือความ
ใกล้ชิดกับผู้อื่น ผู้ป่วยที่ญาติดูแลดี มักทำาให้
สถานการณ์ที่รุนแรงในช่วงก่อนหน้านั้นคลี่คลายลง
ได้.
6. ความคิดเห็นของผู้ป่วยต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
การทราบความคิดของผู้ป่วยอาจทำาให้พอประเมินได้
ว่าผู้ป่วยยังมีความเสี่ยงสูงอยู่หรือไม่. ผู้ป่วยบางคน
หลังจากผ่านเหตุการณ์มาแล้ว เกิดการเปลี่ยนมุมมอง
ต่อปัญหาชีวิตของตนใหม่ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่กระทำา
ลงไปอย่างหุนหันพลันแล่น. ผู้ป่วยที่ยังคงมีมุมมอง
เหมือนเดิม หรือหมดหวัง ท้อแท้ จัดว่าเป็นผู้ป่วยที่มี
ความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอีกสูง
สิ่งควรตระหนักคือ ภาวะความเสี่ยงนี้มิใช่สิ่งที่อยู่คงที่
ผู้ป่วยที่ต้องรับไว้ในโรงพยาบาล
1. จากประวัติมีลักษณะตั้งใจฆ่าตัวตายสูง
2. ยังมีความคิดอยากตายอยู่
3. มีอารมณ์เศร้ามาก
4. รู้สึกท้อแท้ หมดหวัง หมดหนทาง
5. มีโรคซึมเศร้า หรือมีอาการของโรคจิต เช่น หู
แว่ว
6. ปฏิเสธการช่วยเหลือ
7. อยู่คนเดียว ไม่มีผู้สามารถดูแลได้
ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย บางรายดู
เหมือนไม่รุนแรง แต่เมื่อประเมินจากข้อมูล
โดยรวมแล้วกลับมีความเสี่ยงสูง ดังนั้นการ
สอบถามถึงปัจจัยต่าง ๆ ทั้งจากผู้ป่วยและผู้
อื่นจึงเป็นสิ่งที่จำาเป็น. โดยเฉพาะเหตุผลที่
ทำาให้ผู้ป่วยฆ่าตัวตายและความรู้สึกที่มีขณะ
ทำาว่าเป็นอย่างไร หากยังได้คลุมเครือหรือไม่
เข้าใจแน่ชัด แสดงว่าผู้ป่วยอาจปกปิดบางสิ่ง
ไว้ ให้กลับมาสังเกตถึงท่าทีของตนเอง หาก
คิดว่าตนเองมีท่าทีที่เหมาะสมแล้ว แต่ก็ยังไม่
ได้ข้อมูล ให้ถือไว้ก่อนว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรือง

Contenu connexe

Tendances

27การตรวจครรภ์
27การตรวจครรภ์27การตรวจครรภ์
27การตรวจครรภ์Papawee Laonoi
 
Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition techno UCH
 
Central venous pressure (cvp)
Central venous pressure (cvp)Central venous pressure (cvp)
Central venous pressure (cvp)piyarat wongnai
 
กลไกการคลอดปกติ 8 ขั้นตอน
กลไกการคลอดปกติ 8 ขั้นตอนกลไกการคลอดปกติ 8 ขั้นตอน
กลไกการคลอดปกติ 8 ขั้นตอนda priyada
 
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)yahapop
 
คู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสตคู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสตsivapong klongpanich
 
Trauma Initial assessment and Resuscitation
Trauma Initial assessment and ResuscitationTrauma Initial assessment and Resuscitation
Trauma Initial assessment and ResuscitationNarenthorn EMS Center
 
1.6.3 สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
1.6.3 สารอาหารทางหลอดเลือดดำ1.6.3 สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
1.6.3 สารอาหารทางหลอดเลือดดำNickson Butsriwong
 
คู่มือ ICD (Chest drain)
คู่มือ ICD (Chest drain)คู่มือ ICD (Chest drain)
คู่มือ ICD (Chest drain)Weerawan Ueng-aram
 
คู่มือยาจิตเวชชุมชน
คู่มือยาจิตเวชชุมชนคู่มือยาจิตเวชชุมชน
คู่มือยาจิตเวชชุมชนUtai Sukviwatsirikul
 
การอ่านค่า Ekg
การอ่านค่า Ekgการอ่านค่า Ekg
การอ่านค่า Ekgtechno UCH
 
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจtechno UCH
 
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)Aiman Sadeeyamu
 
โครงการให้ความรู้พยาบาลใหม่ Pdf
โครงการให้ความรู้พยาบาลใหม่ Pdfโครงการให้ความรู้พยาบาลใหม่ Pdf
โครงการให้ความรู้พยาบาลใหม่ Pdfporkhwan
 
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์Utai Sukviwatsirikul
 

Tendances (20)

27การตรวจครรภ์
27การตรวจครรภ์27การตรวจครรภ์
27การตรวจครรภ์
 
22
2222
22
 
Warning sign
Warning signWarning sign
Warning sign
 
Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition
 
อาหาร Dm
อาหาร Dmอาหาร Dm
อาหาร Dm
 
Central venous pressure (cvp)
Central venous pressure (cvp)Central venous pressure (cvp)
Central venous pressure (cvp)
 
กลไกการคลอดปกติ 8 ขั้นตอน
กลไกการคลอดปกติ 8 ขั้นตอนกลไกการคลอดปกติ 8 ขั้นตอน
กลไกการคลอดปกติ 8 ขั้นตอน
 
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)
 
คู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสตคู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสต
 
Trauma Initial assessment and Resuscitation
Trauma Initial assessment and ResuscitationTrauma Initial assessment and Resuscitation
Trauma Initial assessment and Resuscitation
 
1.6.3 สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
1.6.3 สารอาหารทางหลอดเลือดดำ1.6.3 สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
1.6.3 สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
 
คู่มือ ICD (Chest drain)
คู่มือ ICD (Chest drain)คู่มือ ICD (Chest drain)
คู่มือ ICD (Chest drain)
 
คู่มือยาจิตเวชชุมชน
คู่มือยาจิตเวชชุมชนคู่มือยาจิตเวชชุมชน
คู่มือยาจิตเวชชุมชน
 
Genogram
GenogramGenogram
Genogram
 
การอ่านค่า Ekg
การอ่านค่า Ekgการอ่านค่า Ekg
การอ่านค่า Ekg
 
เกณฑ์การวัดสมรรถนะระดับปฏิบัติการ
เกณฑ์การวัดสมรรถนะระดับปฏิบัติการเกณฑ์การวัดสมรรถนะระดับปฏิบัติการ
เกณฑ์การวัดสมรรถนะระดับปฏิบัติการ
 
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
 
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
 
โครงการให้ความรู้พยาบาลใหม่ Pdf
โครงการให้ความรู้พยาบาลใหม่ Pdfโครงการให้ความรู้พยาบาลใหม่ Pdf
โครงการให้ความรู้พยาบาลใหม่ Pdf
 
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
 

En vedette

Schizophrenia รัชฎาพร 29 ก.ย. 54
Schizophrenia  รัชฎาพร 29 ก.ย. 54Schizophrenia  รัชฎาพร 29 ก.ย. 54
Schizophrenia รัชฎาพร 29 ก.ย. 54Watcharapong Rintara
 
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวชเรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวชKanti Bkk
 
การดูแลผู้ที่มีปัญหาสุราในระบบสุขภาพ
การดูแลผู้ที่มีปัญหาสุราในระบบสุขภาพการดูแลผู้ที่มีปัญหาสุราในระบบสุขภาพ
การดูแลผู้ที่มีปัญหาสุราในระบบสุขภาพWajana Khemawichanurat
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)Aphisit Aunbusdumberdor
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...
แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...
แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...Utai Sukviwatsirikul
 
คู่มือดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช
คู่มือดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชคู่มือดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช
คู่มือดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชUtai Sukviwatsirikul
 
PC05 : Management of nonpain symptoms
PC05 : Management of nonpain symptomsPC05 : Management of nonpain symptoms
PC05 : Management of nonpain symptomsCAPD AngThong
 
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น Utai Sukviwatsirikul
 
คู่มือการรักษาทางจิตเวช
คู่มือการรักษาทางจิตเวช คู่มือการรักษาทางจิตเวช
คู่มือการรักษาทางจิตเวช Utai Sukviwatsirikul
 
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...Dr.Suradet Chawadet
 
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดหลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดpluakdeang Hospital
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัว
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัว การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัว
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัว techno UCH
 
การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอ เพื่อระบบสุขภาพชุมชนที่ยั่งยืน
การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอ เพื่อระบบสุขภาพชุมชนที่ยั่งยืนการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอ เพื่อระบบสุขภาพชุมชนที่ยั่งยืน
การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอ เพื่อระบบสุขภาพชุมชนที่ยั่งยืนDr.Suradet Chawadet
 
Somatoform disorder
Somatoform disorderSomatoform disorder
Somatoform disorderSara Dawod
 

En vedette (20)

Schizophrenia
SchizophreniaSchizophrenia
Schizophrenia
 
Schizophrenia รัชฎาพร 29 ก.ย. 54
Schizophrenia  รัชฎาพร 29 ก.ย. 54Schizophrenia  รัชฎาพร 29 ก.ย. 54
Schizophrenia รัชฎาพร 29 ก.ย. 54
 
Case schizophrenia 28 ก.ย. 54
Case schizophrenia 28 ก.ย. 54Case schizophrenia 28 ก.ย. 54
Case schizophrenia 28 ก.ย. 54
 
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวชเรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
 
การดูแลผู้ที่มีปัญหาสุราในระบบสุขภาพ
การดูแลผู้ที่มีปัญหาสุราในระบบสุขภาพการดูแลผู้ที่มีปัญหาสุราในระบบสุขภาพ
การดูแลผู้ที่มีปัญหาสุราในระบบสุขภาพ
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...
แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...
แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...
 
คู่มือดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช
คู่มือดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชคู่มือดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช
คู่มือดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช
 
PC05 : Management of nonpain symptoms
PC05 : Management of nonpain symptomsPC05 : Management of nonpain symptoms
PC05 : Management of nonpain symptoms
 
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น
 
Depression and suicide
Depression and suicide Depression and suicide
Depression and suicide
 
คู่มือการรักษาทางจิตเวช
คู่มือการรักษาทางจิตเวช คู่มือการรักษาทางจิตเวช
คู่มือการรักษาทางจิตเวช
 
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
 
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดหลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัว
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัว การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัว
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัว
 
การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอ เพื่อระบบสุขภาพชุมชนที่ยั่งยืน
การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอ เพื่อระบบสุขภาพชุมชนที่ยั่งยืนการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอ เพื่อระบบสุขภาพชุมชนที่ยั่งยืน
การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอ เพื่อระบบสุขภาพชุมชนที่ยั่งยืน
 
Lesson 10 Healthcare Economics
Lesson 10 Healthcare EconomicsLesson 10 Healthcare Economics
Lesson 10 Healthcare Economics
 
ความก้าวร้าว_จิตวิทยา
ความก้าวร้าว_จิตวิทยาความก้าวร้าว_จิตวิทยา
ความก้าวร้าว_จิตวิทยา
 
Amputation
AmputationAmputation
Amputation
 
Somatoform disorder
Somatoform disorderSomatoform disorder
Somatoform disorder
 

Similaire à การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง

Palliativecaretopic 1311489380-phpapp01-110724013855-phpapp01
Palliativecaretopic 1311489380-phpapp01-110724013855-phpapp01Palliativecaretopic 1311489380-phpapp01-110724013855-phpapp01
Palliativecaretopic 1311489380-phpapp01-110724013855-phpapp01Angkana Chongjarearn
 
Topic palliative care ณัฐวุธ 13 ก.ค. 54
Topic palliative care  ณัฐวุธ 13 ก.ค. 54Topic palliative care  ณัฐวุธ 13 ก.ค. 54
Topic palliative care ณัฐวุธ 13 ก.ค. 54Watcharapong Rintara
 
คู่มือดูแลจิตเวช
คู่มือดูแลจิตเวชคู่มือดูแลจิตเวช
คู่มือดูแลจิตเวชUtai Sukviwatsirikul
 
ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทย
ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยปัญหาสุขภาพจิตของคนไทย
ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยgeekan
 
โรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายในเด็ก
โรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายในเด็กโรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายในเด็ก
โรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายในเด็กUtai Sukviwatsirikul
 
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุอาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุUtai Sukviwatsirikul
 
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เลขที่ 28 ม.5 1
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เลขที่ 28 ม.5 1คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เลขที่ 28 ม.5 1
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เลขที่ 28 ม.5 1Natthaphong Messi
 
โรคแพนิก (Panic disorder).pdf
โรคแพนิก (Panic disorder).pdfโรคแพนิก (Panic disorder).pdf
โรคแพนิก (Panic disorder).pdf609262
 
โรคไบโพล่าร์ (Bipolar)
โรคไบโพล่าร์ (Bipolar)โรคไบโพล่าร์ (Bipolar)
โรคไบโพล่าร์ (Bipolar)satjakornii
 
สุทธิดา วิชชุดา
สุทธิดา   วิชชุดาสุทธิดา   วิชชุดา
สุทธิดา วิชชุดาsupphawan
 
PC02 :Assessment in PC
PC02 :Assessment in PCPC02 :Assessment in PC
PC02 :Assessment in PCCAPD AngThong
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8Tuk Diving
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8Tuk Diving
 
สูงวัยกับโรคซึมเศร้าใหม่
สูงวัยกับโรคซึมเศร้าใหม่สูงวัยกับโรคซึมเศร้าใหม่
สูงวัยกับโรคซึมเศร้าใหม่Gear Tanatchaporn
 
Transfer factor chewable 15.5.2555
Transfer factor chewable 15.5.2555Transfer factor chewable 15.5.2555
Transfer factor chewable 15.5.25554LIFEYES
 
ปัญหาสุขภาพจิต
ปัญหาสุขภาพจิตปัญหาสุขภาพจิต
ปัญหาสุขภาพจิตgeekan
 
Psychiatric emergency (Thai Version)
Psychiatric emergency (Thai Version)Psychiatric emergency (Thai Version)
Psychiatric emergency (Thai Version)Patinya Yutchawit
 
การจัดสิ่งแวดล้อม
การจัดสิ่งแวดล้อมการจัดสิ่งแวดล้อม
การจัดสิ่งแวดล้อมtechno UCH
 

Similaire à การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง (20)

Palliativecaretopic 1311489380-phpapp01-110724013855-phpapp01
Palliativecaretopic 1311489380-phpapp01-110724013855-phpapp01Palliativecaretopic 1311489380-phpapp01-110724013855-phpapp01
Palliativecaretopic 1311489380-phpapp01-110724013855-phpapp01
 
Topic palliative care ณัฐวุธ 13 ก.ค. 54
Topic palliative care  ณัฐวุธ 13 ก.ค. 54Topic palliative care  ณัฐวุธ 13 ก.ค. 54
Topic palliative care ณัฐวุธ 13 ก.ค. 54
 
คู่มือดูแลจิตเวช
คู่มือดูแลจิตเวชคู่มือดูแลจิตเวช
คู่มือดูแลจิตเวช
 
ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทย
ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยปัญหาสุขภาพจิตของคนไทย
ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทย
 
โรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายในเด็ก
โรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายในเด็กโรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายในเด็ก
โรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายในเด็ก
 
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุอาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
 
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เลขที่ 28 ม.5 1
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เลขที่ 28 ม.5 1คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เลขที่ 28 ม.5 1
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เลขที่ 28 ม.5 1
 
โรคแพนิก (Panic disorder).pdf
โรคแพนิก (Panic disorder).pdfโรคแพนิก (Panic disorder).pdf
โรคแพนิก (Panic disorder).pdf
 
Psychiatric Emergency
Psychiatric EmergencyPsychiatric Emergency
Psychiatric Emergency
 
โรคไบโพล่าร์ (Bipolar)
โรคไบโพล่าร์ (Bipolar)โรคไบโพล่าร์ (Bipolar)
โรคไบโพล่าร์ (Bipolar)
 
สุทธิดา วิชชุดา
สุทธิดา   วิชชุดาสุทธิดา   วิชชุดา
สุทธิดา วิชชุดา
 
PC02 :Assessment in PC
PC02 :Assessment in PCPC02 :Assessment in PC
PC02 :Assessment in PC
 
emergency_2552.ppt
emergency_2552.pptemergency_2552.ppt
emergency_2552.ppt
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8
 
สูงวัยกับโรคซึมเศร้าใหม่
สูงวัยกับโรคซึมเศร้าใหม่สูงวัยกับโรคซึมเศร้าใหม่
สูงวัยกับโรคซึมเศร้าใหม่
 
Transfer factor chewable 15.5.2555
Transfer factor chewable 15.5.2555Transfer factor chewable 15.5.2555
Transfer factor chewable 15.5.2555
 
ปัญหาสุขภาพจิต
ปัญหาสุขภาพจิตปัญหาสุขภาพจิต
ปัญหาสุขภาพจิต
 
Psychiatric emergency (Thai Version)
Psychiatric emergency (Thai Version)Psychiatric emergency (Thai Version)
Psychiatric emergency (Thai Version)
 
การจัดสิ่งแวดล้อม
การจัดสิ่งแวดล้อมการจัดสิ่งแวดล้อม
การจัดสิ่งแวดล้อม
 

Plus de Utai Sukviwatsirikul

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaUtai Sukviwatsirikul
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)Utai Sukviwatsirikul
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaUtai Sukviwatsirikul
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Utai Sukviwatsirikul
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตUtai Sukviwatsirikul
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)Utai Sukviwatsirikul
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการUtai Sukviwatsirikul
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินUtai Sukviwatsirikul
 

Plus de Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 

การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง

  • 1. การพยาบาลแบบองค์รวมในการ แก้ไขปัญหาสุขภาพสำาหรับ เด็ก วัย รุ่น วัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มี อารมณ์ผิดปกติทั้งในภาวะ เฉียบพลัน วิกฤติและเรื้อรัง โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
  • 2. สุขภาพสำาหรับ เด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ที่มีอารมณ์ผิดปกติทั้งในภาวะเฉียบพลัน วิกฤติและ เรื้อรัง 1. Anxiety Disorder 2. Mania 3. Depressive & Suicide 4. Bipolar Disorder
  • 3. Anxiety Disorder ความวิตกกังวล ความหมาย ความวิตกกังวลเป็นสภาวะ ทางอารมณ์ของบุคคล ที่มีความรู้สึก หวาดหวั่น หวาดกลัว อึดอัดไม่สบายใจ เกรงว่าจะมีสิ่งร้าย หรือเหตุการณ์ที่ไม่ดี เกิดขึ้นกับตน ลักษณะของความวิตกกังวล ประกอบ ด้วย - ความรู้สึกหงุดหงิดไม่สบายในภาพการณ์ ที่ไม่แน่ใจ - ความรู้สึกหวาดหวั่น หวั่นเกรงจะมีเหตุ ร้ายเกิดขึ้นกับตน - สภาวะกระสับกระส่าย อึดอัด ไม่สบายใจ - ความรู้สึกตระหนก ตกใจ กลัวบางสิ่งบาง อย่างที่บอกไม่ได้ - ความรู้สึกไม่มั่นใจในเหตุการณ์ร่วงหน้า
  • 4. กระบวนการเกิดความวิตกกังวล เกิดจากเหตุการณ์ต่างๆ ดังนี้ 1. ความต้องการของบุคคลมี สิ่งขัดขวาง ทำาให้ไม่ ประสบความสำาเร็จ 2. บุคคลเกิดอารมณ์ไม่ สบายใจ ไม่แน่ใจ กระวนกระวายใจ ท้อแท้ ไม่สามารถขจัดความไม่ สบายต่างๆ ได้ด้วยตนเอง 3. มีภาวะอื่นตามมาเพื่อลด ความวิตกกังวลและป้องกัน ตนเอง เช่น ภาวะโกรธ ก้าวร้าว ตำาหนิผู้อื่น
  • 5. การพยาบาล 1. ประเมินสภาพปัญหาและความรุนแรง 1.1 ระดับของความวิตกกังวล โดยทั่วไปแบ่ง เป็น 4 ระดับ คือ 1) ความวิตกกังวลระดับตำ่า (Mild anxiety) เป็นความวิตกกังวลระดับน้อยๆ เป็นปกติใน บุคคลทั่วไป จะช่วยกระตุ้นให้บุคคลแก้ ปัญหา ได้ดีขึ้น 2) ความวิตกกังวลระดับกลาง (Moderate anxiety) การรับรู้แคบลง จะสนใจเฉพาะ ปัญหาที่จะทำาให้ตนไม่สบายใจ พยายามแก้ ปัญหาสูงขึ้น 3) ความวิตกกังวลระดับสูง (Severe anxiety) การรับรู้แคบลง สมาธิในการรับฟัง ปัญหาและข้อมูลต่างๆ ลดลง จนไม่สามารถ ติดตามเนื้อหาของเรื่องราวอย่างกว้างขว้าง มีอาการมึนงง กระสับกระส่าย ไม่อยู่กับที่ ไม่ สนใจสิ่งแวดล้อม
  • 6. ลักษณะอาการของบุคคลที่มีความวิตก กังวล เมื่อมีความวิตกกังวลจะมีความ เปลี่ยนแปลงดังนี้ 1) การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จะมีอาการ - หัวใจเต้นเร็ว /BP↑ / แน่น หน้าอก / เหงื่อออกบริเวณฝ่ามือ ตามตัว / ปากแห้ง /ตัวสั่น /ปวด ศีรษะ / ปัสสาวะบ่อย หรือท้อง เสีย / คลื่นไส้ อาเจียน / นอนไม่ หลับ / เบื่ออาหาร/ อ่อนเพลีย /เจ็บป่วยบ่อย / บุคลิกภาพ เปลี่ยนไป / นำ้าตาลถูกขับออก
  • 7. ลักษณะอาการของบุคคลที่มีความวิตก กังวล 2) การเปลี่ยนแปลงทาง อารมณ์ จะมีอาการ หงุดหงิดง่ายกระสับ กระส่าย /โกรธง่าย/ รู้สึกตนเองไม่มีค่า / เศร้า ร้องไห้บ่อย/ สงสัยบ่อย / พักผ่อนได้ น้อย / แยกตัว/ ขาก ความคิดริเริ่ม/ ร้องไห้ ง่าย แม้เรื่องเพียงเล็ก น้อย/ พึ่งพาผู้อื่น/ ตำาหนิติเตียนผู้อื่น/ มี ความโน้มเอียงที่จะ
  • 8. ลักษณะอาการของบุคคลที่มีความวิตก กังวล 3) การเปลี่ยนแปลงทาง ความคิด ความจำา และ การรับรู้ จะมีอาการ - ลืมง่าย/ หมกมุ่น/ การคิดและการใช้ภาษา ผิดพลาด/ การตัดสินใจ ไม่ดี / ไม่ค่อยมีสมาธิ/ ครุ่นคิดแต่อดีต/ ไม่ค่อย รับรู้ต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ/ ความสนใจลดลง/ การ พูดติดขัด หรือไม่พูด เลย/ การรับรู้ผิดพลาด/ มีความคิดและการกระ
  • 9. การวางแผนการพยาบาล กำาหนดเป้าหมายการพยาบาลเป็น 2 ระยะ คือ 2.1 เป้าหมายระยะสั้น - ลดความวิตกกังวลจนถึงปกติ - สามารถปฏิบัติหน้าที่ประจำาวัน ได้ 2.2 เป้าหมายระยะยาว - เน้นการรู้ถึงเหตุและผลของ ความวิตกกังวล - รู้จักวิธีการลดความวิตกกังวล - ลดความถี่การเกิดความวิตก กังวล - ปรับบุคลิกภาพและใช้กลไกทาง จิตที่เหมาะสม - ขจัดความขัดแย้ง และบรรเทา
  • 10. การช่วยเหลือผู้ที่วิตกกังวล เน้นที่ 3.1 แสดงการยอมรับ 3.2 อยู่เป็นเพื่อน พูดคุย ให้ระบาย ความวิตกกังวล พยาบาลรับฟัง แล ให้ข้อเสนอแนะ 3.3 ให้ความมั่นใจว่าจะได้รับการช่วย เหลือ 3.4 จัดสภาพแวดล้อมให้สงบและลด สิ่งกระตุ้นความเครียด และวิตก กังวล 3.5 ดูแลตอบสนองความต้องการด้าน ร่างกาย เช่น อาหาร นำ้า ความ สะอาดเป็นต้น 3.6 กระตุ้นบุคคลได้ระบายความวิตก กังวล
  • 11. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความวิตกกังวล และความเครียดผิดปกติ โรควิตกกังวล (Anxiety Disorders ) Anxiety Disorders : ผู้ป่วยวิตก กังวลผิดปกติ (pathological anxiety) เป็นการตอบสนองที่ไม่ เหมาะสมต่อสิ่งที่ทำาให้เกิดความเครียด หรือความกลัว จำาแนกออกได้เป็น 5 กลุ่ม คือ 1. Panic Disorder 2. Phobias 3. Obsessive – Compulsive Disorder 4. Stress disorders (Posttraumatic stress Disorder และ Acute Stress Disorder) 5. Generalized Anxiety Disorder
  • 12. Panic disorder ผู้ป่วยโรคแพนิคมีปัญหาในการ ทำางานของสมองส่วนที่ทำาให้ เกิดอาการ "ตื่นตระหนก"โดย เป็นความผิดปกติของสารสื่อนำา ประสาทบางอย่าง ทำาให้มี ลักษณะอาการแสดงถึงความตื่น ตระหนกอย่างสูงสุด อาการที่ เกิดขึ้นมักเกิดอย่างกระทันหัน อาการที่พบได้แก่ หายใจไม่ ออก หายใจตื้น งุนงงหรือเป็น ลม หัวใจเต้นแรงและเร็ว มือ แขน ขาและตัวสั่น เหงื่อออก มาก ปวดท้อง ลำาไส้ปั่นป่วนและ คลื่นไส้ ชาปลายมือปลายเท้า
  • 13. การวินิจฉัย การวินิจฉัย ต้องมีอาการอย่างน้อย 4 อาการต่อไป นี้ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และถึงขีดสูงสุดภายใน 10 นาที 1. ใจสั่น ใจเต้นแรงหรือหัวใจเต้นเร็วมาก 2. เหงื่อออก 3. สั่น 4. หายใจไม่เต็มอิ่มหรือหายใจลำาบาก 5. รู้สึกอึดอัดหรือแน่นอยู่ข้างใน 6. เจ็บ หรือแน่นหน้าอก 7. คลื่นไส้ หรือท้องปั่นป่วน 8. วิง เวียน เดินเซ มืนตื้อ หรือเป็นลม 9. รู้สึกว่าตนเปลี่ยนไปจาก เดิม(depersonalization)หรือสิ่งแวดล้อม เปลี่ยน (derealization) 10. กลัวควบคุมตัวเองไม่ได้ กลัวกำาลังจะเป็นบ้า หรือเสียสติ
  • 14. การพยาบาลผู้ป่วย Panic Disorder เป้าหมาย เพื่อลดความตื่นตระหนก และช่วยให้ผู้ป่วยปรับตัวได้ต่อความ วิตกกังวล - การปฏิบัติการพยาบาลขณะมีอาการ ควรมีคนอยู่กับผู้ป่วยตลอดเวลา - จัดสภาพแวดล้อมให้เงียบสงบ - พยาบาลต้องมีท่าทีสงบ สุขุม นุ่มนวล - เมื่อผู้ป่วยมีความวิตกกังวลลดลงควร ควรเปิดโอกาสให้พูดระบายสาเหตุ สิ่งกระตุ้นที่ทำาให้เกิดอาการ - ฝึกทักษะการผ่อนคลายวิธีต่างๆ
  • 15. Phobia disorder มีลักษณะอาการแสดงถึงความกลัวใน บางสิ่งบางอย่างมากเกินปกติ เป็น ความกลัวอย่างขาดเหตุผลและเป็น ความกลัวไม่สัมพันธ์กับอันตรายที่ ควรเกิด สิ่งที่ทำาให้กลัวอาจเป็นวัตถุ สิ่งของ หรือสถานการณ์บางอย่าง แบ่งออกเป็น 2.1 Agoraphobia 2.2 Specific phobia 2.3 Social phobia (Social Anxiety Disorder)
  • 16. Agoraphobia Agoraphobia คือ อาการกลัวที่โล่ง หรือ การกลัวที่จะออกนอกบ้าน - ผู้ป่วยกลัวการเกิดอาการวิตกกังวลใน สถานการณ์ที่การหลีกหนีทำาได้ลำาบาก - มักไม่กล้าอยู่คนเดียว และต้องมีเพื่อนหรือผู้ ติดตามไปด้วย เมื่อออกนอกบ้าน - อาการกลัวมักเกี่ยวกับ การออกนอกบ้านตาม ลำาพัง การอยู่ท่ามกลางหมู่คน หรือยืนเข้า แถว การอยู่บนสะพาน การเข้าอุโมงค์ การ เดินทางโดยรถเมล์ รถไฟ หรือการเข้าโรง ภาพยนต์ กลัวการขึ้นรถลงเรือไปเหนือล่อง ใต้ - ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีอาการ agoraphobia มักจะตามมาด้วยอาการของ Panic Disorder - อาการ agoraphobia มักหายไปด้วยการ
  • 17. Specific phobia แต่ก่อนเรียกว่า Simple Phobia เป็นความกลัววัตถุ สิ่งของหรือสถานการณ์บาง อย่างที่รุนแรง และไร้เหตุผล (เช่น ขึ้นเครื่องบิน อยู่ที่สูง สัตว์ ได้รับการฉีดยา เห็น เลือด อยู่ในที่แคบ) - การเผชิญกับสิ่งที่กลัวนั้น ก่อ ให้เกิดความวิตกกังวลขึ้นมา ทันที - ผู้ป่วยตระหนักดีว่า ความกลัว นั้นมีมากเกินควร และไม่มี
  • 18. Social phobia (Social Anxiety Disorder) 1.มีความกลัวที่รุนแรง และคงอยู่นานต่อ สถานการณ์หนึ่งอย่าง หรือมากกว่าซึ่งเกี่ยว กับการเข้าสังคมหรือการกระทำาบางอย่าง ทำาให้บุคคลต้องเผชิญกับคนอื่นที่ไม่คุ้นเคย หรือถูกคนอื่นจับตาดูอยู่ ผู้ป่วยกลัวว่าจะ กระทำาการบางอย่าง (หรือ แสดงอาการวิตก กังวล) ที่ทำาให้รู้สึกน่าอับอายหรืออึดอัดใจ 2.การเผชิญกับสถานการณ์ทางสังคมที่น่ากลัว นั้นจะยั่วยุให้เกิดความวิตกกังวลขึ้นมาทันที แทบทุกราย 3.มีการหลีกเลี่ยงสถานการณ์ทางสังคมหรือการก ระทำาที่ทำาให้เกิดความกลัว หรืออาจต้องทน กับสถานการณ์นั้น ๆ ด้วยความวิตกกังวลหรือ ความทุกข์ทรมานใจอย่างมาก 4.มีผลกระทบต่อการดำาเนินชีวิตประจำาวัน การ ประกอบอาชีพ การเรียน กิจกรรมทางสังคม หรือสัมพันธภาพกับผู้อื่น บางคนไม่กล้าไป งานเลี้ยง งานแต่งงาน หรือไม่กล้าแสดงตัว ต่อที่สาธารณะ 5.ระบุ Generalized : ถ้าความกลัว
  • 19. การพยาบาลผู้ป่วย Phobia Disorder เป้าหมายเพื่อทำาให้ผู้ป่วยสามารถทำา กิจกรรมประจำาวันต่างๆได้โดยไม่ ตื่นกลัว - การปฏิบัติการพยาบาล หลีกเลี่ยง วิธีการใช้การหาเหตุผลมาอธิบาย และคาดคั้นให้ผู้ป่วยปฏิบัติตาม - ควรให้ความมั่นใจในความ ปลอดภัย - ร่วมประเมินปัญหาและให้ผู้ป่วย หาทางเลือกในการปฏิบัติด้วย ตนเอง - ประยุกต์ใช้แนวคิดพฤติกรรม บำาบัดช่วยในการควบคุมความ
  • 20. Generalized anxiety disorder มีลักษณะอาการแสดงถึงความวิตกกังวลและ ความกังวลใจตลอดเวลา การดำาเนินชีวิต ไม่มีความสุขโดยที่ไม่รู้ว่าเกิดจากอะไร อาการนี้จะดำาเนินต่อเนื่องเป็นเวลานาน กว่า 6 เดือน ความวิตกกังวล และความกังวลใจ สัมพันธ์ กับอาการอย่างน้อย 3 อาการ ต่อไปนี้ - กระวนกระวาย (หรือกระสับกระส่าย) หรือ รู้สึกตื่นเต้นจนทนแทบไม่ได้ - อ่อนเพลียง่าย - ขาดสมาธิหรือคิดอะไรไม่ออก - หงุดหงิด - กล้ามเนื้อตึงเครียด ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักพบได้ทั่วไป และมักมาโรง พยาบาลด้วยการเจ็บป่วยทางกายหรือ แสดงอาการของอารมณ์ซึมเศร้า
  • 21. Obsessive-compulsive disorder อาการยำ้าคิด (Obsessions) ประกอบด้วยลักษณะ ต่อไปนี้ 1. ความคิด แรงผลักดัน หรือจินตภาพที่เกิดขึ้นซำ้า ๆ และคงอยู่นานในผู้ป่วยและในช่วงใดช่วงหนึ่ง ของความผิดปกติ จะมีความรู้สึกว่าอาการเช่น นี้มีลักษณะแทรกซอน (intrusive) ที่ไม่เหมาะ สม และทำาให้เกิดความวิตกกังวลหรือความทุกข์ ใจอย่างมาก 2. ความคิด แรงผลักดัน หรือจินตภาพ มิได้เป็นแต่ เพียงความกังวลที่มากเกินไปเกี่ยวกับปัญหา ชีวิตที่มีอยู่จริง 3. ผู้ป่วยพยายามไม่สนใจหรือกดระงับความคิด แรงผลักดันหรือ จินตภาพ หรือทำาให้สิ่งเหล่านี้ หมดไปด้วยความคิดหรือการกระทำาอย่างอื่น 4. ผู้ป่วยตระหนักว่า ความคิด แรงผลักดัน หรือ
  • 22. อาการยำ้าทำา (Compulsion) หมายถึง พฤติกรรมซำ้า ๆ (เช่น การล้าง มือ การตรวจสอบสิ่งของอย่าง ละเอียด) หรือกิจกรรมทางจิต (เช่น การสวดมนต์ การนับ การพูดในใจ ซำ้า ๆ) ที่บุคคลรู้สึกว่าต้องทำา เพื่อ เป็นการตอบสนอง ต่อการยำ้าคิดหรือ ตามกฎหมายที่ต้องนำามาปฏิบัติอย่าง เคร่งครัด พฤติกรรมหรือกิจกรรมทาง จิตมุ่งไปที่การป้องกันหรือการลด ความทุกข์ทรมานใจ หรือป้องกัน เหตุการณ์ หรือสถานการณ์ที่น่ากลัว บางอย่าง แต่พฤติกรรม หรือกิจกรรม ทางจิตเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวโยงอย่างมี เหตุผลกับสิ่งที่ผู้ป่วยกำาหนดขึ้นมา
  • 23. การพยาบาลผู้ป่วย Obesive – Compulsive Disorder เป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยควบคุม พฤติกรรมยำ้าคิดยำ้าทำา การปฏิบัติการพยาบาล - ไม่ควรไปยับยั้งห้ามให้ผู้ ป่วยทำาพฤติกรรมซำ้าๆ - ไม่ตำาหนิแต่ควรหาสาเหตุ ของการทำาพฤติกรรมนั้นๆ - จัดตารางกิจกรรมให้ผู้ป่วย ทำาเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ
  • 24. Acute stress Disorder ผู้ป่วยเผชิญกับเหตุการณ์ที่ทำาให้เกิดการ บาดเจ็บทางจิตใจ และเกิดมีอาการ ต่าง ๆ เหมือนกับที่พบใน PTSD ความแตกต่าง คือ Acute Stress Disorder เกิดขึ้นเป็นเวลาอย่างน้อย 2 วันและมากที่สุด 4 สัปดาห์ และเกิด ขึ้นภายใน 4 สัปดาห์ หลังจากเกิด เหตุการณ์นั้น Acute Stress Disorder มักสัมพันธ์ กับอาการ dissociate symptoms ซึ่งเด่นชัดมากกว่าที่พบใน PTSD ประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วยที่เป็น Acute Stress Disorder ต่อไปจะ เกิดเป็น PTSD
  • 25. Post-traumatic stress disorder 1. บุคคลเผชิญกับเหตุการณ์ที่ทำาให้เกิดการบาดเจ็บ ทางจิตใจ (a traumatic event) โดยมี ลักษณะดังต่อไปนี้ 2 อย่าง 1.1 บุคคลได้พบเห็น หรือเผชิญกับเหตุการณ์ที่ เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต หรือการคุกคามต่อชีวิต ของตนเองหรือผู้อื่น 1.2 การตอบสนองของผู้ป่วยเกี่ยวข้องกับความ กลัวอย่างรุนแรง หรือ หวาดผวา 2 เหตุการณ์สยองขวัญ ที่กระทบกระเทือนจิตใจ จะ กลับคืนมาและคงอยู่นานโดยมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1 อย่างหรือมากกว่า 2.1 การระลึกเหตุการณ์ที่ผุดขึ้นมา และทำาให้ ทุกข์ทรมานใจ ซำ้าแล้วซำ้าอีก 2.2 ความฝันที่ทำาให้ทุกข์ทรมานใจเกี่ยวกับ เหตุการณ์นั้นซำ้าแล้วซำ้าอีก 2.3 การกระทำาหรือความรู้สึกคล้ายกับว่า เหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนใจ กำาลังเกิดขึ้นอีก 2.4 ความทุกข์ทรมานใจอย่างรุนแรง เมื่อเผชิญ กับสิ่งกระตุ้นทั้งภายในและภายนอกที่เป็น
  • 26. Post-traumatic stress disorder (ต่อ) 3. มีการหลีกเลี่ยงที่คงอยู่นาน ต่อสิ่งเร้า ที่สัมพันธ์กับการบาดเจ็บทางจิตใจ และความรู้สึกเย็นชา (numbings) ของการตอบสนองทั่วไป โดยมี ลักษณะดังต่อไปนี้ 3 อย่างหรือ มากกว่า 3.1 ความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงความ คิด ความรู้สึก หรือการสนทนาที่เกี่ยว กับเหตุการณ์นั้น 3.2 ความพยายามที่จะหลีกเลี่ยง กิจกรรม สถานที่ หรือบุคคลที่กระตุ้น ให้ระลึกถึงเหตุการณ์นั้น 3.3 ความไม่สามารถที่จะระลึกถึงส่วน สำาคัญของเหตุการณ์นั้น 3.4 ความสนใจและความสามารถร่วม มือในกิจกรรมที่สำาคัญลดลงไปอย่าง มาก 3.5 ความรู้สึกแยกตัวเอง เหินห่าง หรือ
  • 27. Post-traumatic stress disorder (ต่อ) 4. อาการของความตื่นตัวที่เพิ่มขึ้นและคงอยู่ นาน (ไม่มีก่อนเหตุการณ์กระทบกระเทือน ใจ) โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้ 2 อย่างหรือ มากกว่า 4.1 นอนหลับยาก หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ 4.2 หงุดหงิดหรือแสดงความโกรธออกมา อย่างรุนแรง 4.3 ขาดสมาธิ 4.4 ระแวดระวังมากเกินไป 4.5 สะดุ้งตกใจมากเกินปกติ 5.ระยะเวลาของความผิดปกตินานกว่า 1 เดือน 6.ระบุ Acute : ถ้าช่วงระยะเวลาที่มีอาการ น้อยกว่า 3 เดือน Chronic : ถ้าช่วงระยะเวลาที่มีอาการเริ่มต้น ของอาการอย่างน้อย 6 เดือนหลังจากสิ่งที่
  • 28. การรักษา 1.การรักษาด้วยยาต้านความวิตกกังวล 2. การรักษาด้วยจิตบำาบัดและ พฤติกรรมบำาบัด โดยวิธี Relaxation และ Desensitization 3. การรักษาด้วยวิธีทางเลือกอื่น โดย ใช้เทคนิคการลดความวิตกกังวลซึ่ง ต้องใช้ให้เหมาะสมตามลักษณะ ปัญหาของแต่ละบุคคล เช่นการสร้าง จินตนาการ การออกกำาลังกาย การ นวดคลายเครียด การทำาสมาธิ การ เผชิญกับความวิตกกังวลอย่างเป็น
  • 29. การพยาบาลผู้ป่วย Post-traumatic stress disorder (PTSD) เป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยยอมรับรู้ ปัญหาที่กระทบกระเทือน จิตใจและดำาเนินชีวิตของตน อย่างมีเป้าหมาย การปฏิบัติการพยาบาล - จัดให้มีบุคคลอยู่กับผู้ป่วย ร่วมกับผู้ป่วยประเมินสาเหตุ และวางแผนจัดการปัญหา ของผู้ป่วย ปัจจุบันนิยมใช้ Cognitive behavior therapy
  • 30. การพยาบาลผู้มีภาวะซึมเศร้า ความหมาย ภาวะ ซึมเศร้าเป็นปฏิกิริยา จากการสูญเสีย ทำาให้ เกิดความรู้สึกมืดมน เหนื่อยหน่าย หดหู่ จิตใจอ่อนเพลีย ท้อแท้ สิ้นหวัง รู้สึกไร้คุณค่า อาจเกิดความรู้สึกไม่ อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป และทำาร้ายตนเองใน ที่สุด
  • 31. สาเหตุ สาเหตุของความเศร้ามักเกิดจาก เหตุการณ์ในชีวิตประจำาวัน และ ปัญหาต่างๆ เกิดการสูญ เสียบุคคล หรือสิ่งของที่ เป็นที่รัก ความผูกพัน คิดสับสนอยู่กับสิ่งที่ ผ่านไป และปรับตัวไม่ได้ สภาพร่างกายและอารมณ์ มีการ เปลี่ยนแปลงตามวัย ประสบการณ์การสูญเสีย เช่น การสูญเสียบุคคล พบแต่ เหตุการณ์สูญเสียอยู่เสมอ และสิ่งที่สูญเสียเป็นสิ่งที่มี ความหมายต่อบุคคลนั้นๆ
  • 32. การประเมินภาวะซึมเศร้า ภาวะซึมเศร้ามีผลกระทบต่อผู้ป่วย ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม หลายประการ ขึ้นอยู่กับอาการ และระดับความ รุนแรง พยาบาลจะต้องสังเกตและ ประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วย ตามเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะซึม เศร้า เช่น มีสีหน้าเศร้า อ่อนเพลีย มีความรู้สึกไร้ค่า สูญเสียคนรัก หรือมีความคิดฆ่าตัวตาย เป็นต้น
  • 33. หลักการพยาบาลภาวะซึมเศร้า หลักการพยาบาล กำาหนดแนวทางช่วย เหลือเป็น 2 ระยะ คือ 1 กำาหนดเป้าหมายระยะสั้น - เน้นการป้องกันการทำาร้ายตนเอง - ให้ความช่วยเหลือถ้าผู้ป่วยเสียใจจน ขาดสติ - เน้นการปรับตัวกับสถานการณ์ การ ระบายปัญหา 2 กำาหนดเป้าหมายระยะยาว - ทำาความเข้าใจปัญหา การฝึกการ เผชิญปัญหา - สร้างคุณค่าและเป้าหมายในตนเอง 3. การพยาบาลระยะป่วยด้วยโรค อารมณ์ซึมเศร้า
  • 34. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติ ทางด้านอารมณ์ (Mood Disorders) Mood Disorders : โรคอารมณ์ แปรปรวน เป็นความผิดปกติของ อารมณ์เป็นอาการเด่น โดยมีอารมณ์ เศร้าผิดปกติ ร้องไห้ อ่อนเพลีย อยาก ตาย หรือมีอารมณ์ดีมากผิดปกติ ครึกครื้น พูดมาก ผู้ป่วยอาจมีอาการ เพียงด้านเดียว หรือทั้งสองด้านก็ได้ ความผิดปกติด้านอารมณ์ที่พบบ่อยคือ 1. ความผิดปกติด้านอารมณ์ชนิดซึมเศร้า (Depressive Disorder) 2. ความผิดปกติด้านอารมณ์ชนิดคลุ้มคลั่ง (Mania Episodes) 3. โรคอารมณ์แปรปรวน (Bipolar
  • 35. ความผิดปกติด้านอารมณ์ชนิดเศร้า (Depressive Disorders) เป็นภาวะจิตใจที่หม่นหมอง หดหู่ เศร้า ร่วมกับความรู้สึกท้อแท้ หมดหวังมองโลกในแง่ร้าย มี ความรู้สึกผิด รู้สึกมีคุณค่าใน ตนเองตำ่า ตำาหนิตนเอง ผู้ป่วย จะมีอารมณ์เศร้าตลอดวัน เกือบทุกวันเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ อาการที่เกิดขึ้น ไม่ใช่อาการที่เกิดจากโรคจิต ชนิดอื่น ไม่เคยมีอาการ เปลี่ยนแปลงด้านจิตอารมณ์ ชนิดเริงร่า ( Mania) อารมณ์ชนิดซึมเศร้า แบ่งเป็น
  • 36. ระดับของภาวะซึมเศร้า (APA, 2000) 1. ภาวะซึมเศร้าระดับ น้อย (Mild Depression) 2. ภาวะซึมเศร้าระดับ ปานกลาง (Moderate Depression) 3. ภาวะซึมเศร้าระดับ
  • 37. ภาวะซึมเศร้าระดับน้อย (Mild Depression) ภาวะซึมเศร้าระดับน้อย (Mild Depression) คือ ภาวะอารมณ์ ไม่สดชื่น ไม่แจ่มใส (Blue Moods) บุคคลอาจรู้สึกเศร้าใน บางครั้ง ซึ่งบางทีก็มีสาเหตุและ เหตุผลเพียงพอ ในบางครั้งก็ไม่มี สาเหตุใดๆ เลย อาจจะมีอารมณ์ เศร้า หากเหน็ดเหนื่อยมากๆ ขาด คนเห็นใจ รู้สึกว่าถูกทอดทิ้งให้อยู่ คนเดียว ขาดคนเข้าใจ ความ ภูมิใจถูกทำาลาย ภาพพจน์เกี่ยวกับ ตัวเองถูกบั่นทอน เป็นต้น
  • 38. 2. ภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง (Moderate Depression) ภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง (Moderate Depression) อารมณ์เช่นเดียวกับอาการเศร้าใน ระดับน้อยแต่รุนแรงกว่า กระทบ ต่อชีวิตครอบครัว การงาน แต่ยัง สามารถดำาเนินชีวิตประจำาวันได้ แม้ว่าจะไม่สมบูรณ์นัก เป็น ปฏิกิริยาตอบโต้ต่อภาวะการสูญ เสียและเหตุการณ์คับขัน ผู้ที่อยู่ใน ภาวะเศร้าชนิดนี้ จะรู้สึกอึดอัดใจ ไม่สบายใจเป็นเวลานาน ปวดใจ พูดลำาบาก คิดช้า อาจมีความวิตก กังวลซึ่งแสดงออกโดยการยำ้าคิด
  • 39. 3. ภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง (Severe Depression) ภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง (Severe Depression) หมาย ถึง ความเศร้ามีระดับลึกขึ้น และเป็นนาน มีการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่าง เห็นได้ชัด สนใจสิ่งแวดล้อม น้อยลง วิตกกังวลสูง นอนไม่ หลับ สาเหตุของความเศร้ามัก จะมาจากภายในตัวบุคคลนั้น ไม่สามารถปฏิบัติภาระหน้าที่ ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มักจะถอนตัวจากโลกของ ความจริง อาจมีอาการหลง
  • 40. Major Depressive Disorder ลักษณะทางคลินิก อารมณ์เศร้า หดหู่ สะเทือนใจร้องไห้ง่าย ในผู้ ป่วยไทยอาจไม่บอกว่าเศร้า แต่จะบอกว่า รู้สึกเบื่อหน่ายไปหมด จิตใจห่อเหี่ยว ไม่มี ความสุขสบายใจหรือสดชื่นเหมือนเดิม อยากอยู่คนเดียว อาการอื่น เช่น นอนไม่ หลับ เบื่ออาหาร นำ้าหนักลดลงชัดเจน รู้สึก อ่อนเพลียทั้งวัน ผู้ป่วยหญิงอาจมีประจำา เดือนผิดปกติ การเคลื่อนไหวก็จะเชื่องช้า พูดน้อย คิดนาน บางรายอาจมีกระสับ กระส่าย พบบ่อยว่าผู้ป่วยมีสมาธิลดลง หลงลืมง่าย ความคิดอ่านเชื่องช้าลง ลังเล มองโลกมองชีวิตในแง่ลบ คิดว่าชีวิต ตนเองไม่มีคุณค่า คิดอยากตาย หรือ พยายามฆ่าตัวตาย
  • 41. การวินิจฉัย Major Depressive Episode A. มีอาการต่อไปนี้ ≥ 5 ข้อ ร่วมกันนาน 2 สัปดาห์ และมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ไปจากแต่ก่อน โดยต้องมีอาการ อย่างน้อย 1 ข้อ ของ (1) depressive mood หรือ (2) loss of interest or pleasure (เบื่อ หน่าย ไม่มีความสุข) 1. มีอารมณ์เศร้าเป็นส่วนใหญ่ของวัน แทบทุก วัน โดยได้จากการบอกเล่าของผู้ป่วย (เช่น รู้สึกเศร้า หรือว่างเปล่า) หรือจากการสังเกต เห็นของผู้อื่น (เช่น เห็นว่าร้องไห้) หมายเหตุ : ในเด็กและวัยรุ่นอาจเป็นอารมณ์ หงุดหงิด 2. loss of interest or pleasure (ความ สนใจหรือความสุขในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งหมด หรือแทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก) โดยเป็นส่วน ใหญ่ของวัน แทบทุกวัน (โดยได้จากการบอก
  • 42. การวินิจฉัย Major Depressive Episode 3. นำ้าหนักลดลงโดยไม่ได้เกิดจากการคุมอาหาร หรือ เพิ่มขึ้นอย่างมีความสำาคัญ (ได้แก่นำ้าหนัก เปลี่ยนแปลงมากกว่าร้อยละ 5 ต่อเดือน) หรือมีการ เบื่ออาหารหรือเจริญอาหารแทบทุกวัน หมายเหตุ : ในเด็กดูว่านำ้าหนักไม่เพิ่มขึ้นตามที่ ควรจะเป็น 4. นอนไม่หลับ หรือหลับมากไป 5. psychomotor agitation หรือ retardation แทบทุกวัน (จากการสังเกตของผู้อื่น ไม่ใช่เพียง จากความรู้สึกของผู้ป่วย) 6. fatigue หรือ loss of energy : รู้สึก อ่อนเพลีย หรือไร้เรี่ยวแรงแทบทุกวัน 7. รู้สึกตนเองไร้ค่า หรือรู้สึกผิดอย่างไม่เหมาะสมหรือ มากเกินควร (อาจถึงขั้นหลงผิด) แทบทุกวัน (มิใช่ เพียงแค่การลงโทษตัวเองหรือรู้สึกผิดที่ป่วย) 8. สมาธิหรือความสามารถในการคิดอ่านลดลงหรือ ตัดสินใจอะไรไม่ได้แทบทุกวัน (โดยได้จากการ บอกเล่าของผู้ป่วย หรือ)
  • 43. การวินิจฉัย Major Depressive Episode B. อาการดังกล่าวมิได้เข้าเกณฑ์ของ Mixed Episode C. อาการเหล่านี้ทำาให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ ทรมานอย่างมีความสำาคัญทางการแพทย์ หรือกิจกรรมด้านสังคม การงาน หรือด้าน อื่น ๆ ที่สำาคัญบกพร่องลง D. ไม่ได้เกิดจากยา สารเสพติด หรือความ เจ็บป่วยทางกาย (เช่น hypothyroidism) E. อาการไม่ได้เข้ากับ bereavement ได้ดี กว่า ได้แก่ มีอาการคงอยู่นานกว่า 2 เดือน หลังการสูญเสียผู้ที่ตนรัก หรือมีหน้าที่ บกพร่องลงมาก หมกมุ่นกับความคิดว่าตนไร้ ค่าอย่างผิดปกติ มีความคิดฆ่าตัวตาย มี อาการโรคจิต หรือ psychomotor retardation
  • 44. Dysthymic disorder อาการต่างๆ คล้ายกับใน Major depressive disorders แต่รุนแรงน้อย กว่า อาการที่พบบ่อยส่วนใหญ่ เป็นด้านอารมณ์และความคิด โดยผู้ป่วยจะมีอาการเบื่อ หน่ายท้อแท้ มองโลกในแง่ ร้าย อาการสำาคัญ จะมีอารมณ์เศร้า แทบทั้งวัน เป็นเวลานานกว่า 2 ปี ในเด็กและวัยรุ่นอาจมี อารมณ์หงุดหงิดและเป็นอย่าง น้อย 1 ปี ส่วนใหญ่เริ่มมี อาการตั้งแต่วัยรุ่น อาการเริ่ม
  • 45. ความผิดปกติด้านอารมณ์ชนิด คลุ้มคลั่ง (Manic episodes) ภาวะคลุ้มคลั่ง เป็นความผิดปกติของอารมณ์ที่มีลักษณะ อารมณ์คลรื้นเครง คึกคัก หรือหงุดหงิดอย่างผิดปกติ เป็นเวลาติดต่อกันอย่างน้อย 1 สัปดาห์ (หรือนาน เท่าไรก็ได้ในกรณีที่จำาเป็น ต้องพักรักษาตัวในโรง พยาบาล) แบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้ 1. Hypomania ความแปรปรวนทางอารมณ์ ยังไม่รุนแรง อาจทำาให้หน้าที่ทางสังคมและการทำางานมีความ บกพร่อง อาการสำาคัญได้แก่ อารมณ์ดี ดูมีความสุข แต่ จะแปรปรวนง่ายเมื่อถูกขัดใจ อารมณ์ไม่คงที่ คิดว่า ตนเองเป็นใหญ่เป็นโต ขาดสมาธิ พูดมาก เสียงดัง สนใจในเรื่องเพศตรงข้าม ใช้จ่าย ฟุ่มเฟือย 2. Acute mania มีความรุนแรงขึ้นต้องได้รับการรักษา อาการที่พบ สนุกสนาน ครึกครื้น รื่นเริง ไม่สอดคล้อง กับเหตุการณ์ อารมณ์แปรปรวนง่าย อาจหงุดหงิด ก้าวร้าว อาละวาดโดยไม่มีเหตุผล สับสน พูดมาก โวยวาย คิดว่าตนมีอำานาจเหนือผู้อื่น อาจมีหลงผิด หวาดระแวงได้ ไม่อยู่นิ่ง ไม่กิน ไม่นอน เข้าสังคมบ่อย ใช้จ่ายเงินมาก ตัดสินใจเร็วขาดการไตร่ตรอง 3. Delirious mania เป็นระยะที่มีความรุนแรงมาก มัก ไม่ค่อยพบ ถ้ามีการรักษามาก่อน อาการที่พบได้แก่ หงุดหงิดมาก ควบคุมไม่ได้ ความคิดสับสน ไม่รับรู้ วัน
  • 46. การวินิจฉัย Manic episodes A. มีช่วงที่มีอารมณ์คึกคัก หรืออารมณ์หงุดหงิดที่ผิดปกติและคงอยู่ ตลอดอย่างชัดเจนนานอย่างน้อย 4 วัน B. ช่วงที่มีความผิดปกติด้านอารมณ์ต้องมีอาการดังต่อไปนี้อยู่ตลอด อย่างน้อย 3 อาการ (หรือ 4 อาการหากมีเพียงอารมณ์หงุดหงิด) และอาการเหล่านี้รุนแรงอย่างมีความสำาคัญ 1. มี self-esteem เพิ่มขึ้นมาก หรือมีความคิดว่าตนยิ่งใหญ่ (grandiosity) 2. decreased need of sleep (มีความต้องการนอนลดลง) 3. more talkative หรือ pressure of speech (พูดคุย มากกว่าปกติ) 4. flight of idea หรือผู้ป่วยรู้สึกว่าความคิดแล่นเร็ว 5. วอกแวก (distractibility) : ถูกดึงดูดความสนใจได้ง่าย 6. ทำากิจกรรมซึ่งมีจุดหมายเพิ่มขึ้นมาก (ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม การ งานหรือการเรียน หรือด้านเพศ) หรือ psychomotor agitation 7. หมกมุ่นอย่างมากกับกิจกรรมที่ทำาให้เพลิดเพลิน แต่มักจะมีความ ยุ่งยากตามมา (เช่น ใช้จ่ายไม่ยั้ง ไม่ยับยั้งใจเรื่องเพศ) C. ระยะที่มีอาการมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ซึ่งมิใช่ลักษณะประจำาของบุคคลนั้นขณะไม่มีอาการอย่างเห็นได้ ชัด D. ผู้อื่นสังเกตเห็นความผิดปกติด้านอารมณ์และการเปลี่ยนแปลง E. ระยะที่มีอาการไม่รุนแรงถึงกับทำาให้กิจกรรมด้านสังคม หรือการ งานบกพร่องลงมาก หรือทำาให้ต้องอยู่โรงพยาบาล และไม่มี
  • 47. ความผิดปกติด้านอารมณ์แปรปรวน (Bipolar Disorders) เป็นโรคอารมณ์แปรปรวนที่ผู้ป่วยมีอาการ mania หรือ hypomania สลับกับ major depressive episode อาการนำา ที่สำาคัญคือ มีอารมณ์โดยทั่วไปเศร้า บาง คนอาจจะมีอาการนอนไม่หลับ นำ้าหนักตัว ลด มักจะเริ่มเกิดอาการในช่วงอายุ 21- 25 ปี อัตราการเกิดอาการในหญิงและ ชายเท่า ๆ กัน มักจะพบว่าอาการที่เกิด ครั้งแรกในชายเป็นประเภทเริงร่าเป็น อาการนำา (manic episode) ส่วนในผู้ หญิงจะพบอาการซึมเศร้าเป็นอาการนำา (major depressive episode) Bipolar disorders มีความแตกต่างจาก Major depressive disorder คือการมี ประวัติของอารมณ์เริงร่า (manic) หรือมี ภาวะอารมณ์เริงร่าในระดับตำ่า (hypomanic) มาก่อน และถ้าเปรียบ เทียบด้านอาการความรุนแรงแล้ว Bipolar disorders จะมีอาการรุนแรง
  • 48. ลักษณะการแสดงออก ด้านพฤติกรรม จะมีพละกำาลังมาก นอนน้อย ไม่มีอาการง่วงนอนให้เห็นแม้ว่าจะนอน น้อย พูดมากและพูดไม่หยุด (Pressure speech) และเปลี่ยนเรื่องไปเรื่อย ๆ มี ความคิดพรั่งพรู (Flight of ideas) หันเห ความสนใจง่าย (Distractibility) อยู่นิ่ง ไม่ได้ โอ้อวดตนเอง (Inflated self – esteem) ใช้จ่ายสิ้นเปลือง ด้านความคิด ความคิดพรั่งพรู มีความคิดที่ บ่งบอกว่าการตัดสินใจไม่ดี ขาด วิจารณญาณ ถึงแม้ว่าผู้ป่วยเหล่านี้ไม่เสีย ด้านสติปัญญา ในรายที่เป็นรุนแรงจะพบมี อาการหลงผิดหรือประสาทหลอน โดย เนื้อหามักเกี่ยวกับเรื่องของอำานาจวิเศษ ศาสนา หรือบางครั้งอาจมีลักษณะแปลก ๆ เช่นเดียวกับที่พบในโรค schizophrenia ด้านอารมณ์ อารมณ์แกว่งมาก จากอารมณ์
  • 49. Bipolar disorders แบ่งเป็น 1. Bipolar I Disorder เป็นความผิดปกติด้าน อารมณ์ที่มีลักษณะสำาคัญ คือ มีอารมณ์เริงร่า (mania) เป็นอาการนำามาก่อน เกิดอย่างน้อย 1 ครั้ง หรือมากกว่า 1 ครั้ง ร่วมกับการมี ประวัติการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ที่มีลักษณะ ซึมเศร้า ภาวะอารมณ์ผิดปกติเกิดขึ้นอย่างทันที ทันใดและเปลี่ยนเร็ว จะเปลี่ยนจากภาวะเริงร่า ไปเป็นภาวะซึมเศร้าอย่างเร็ว ความผิดปกติทาง อารมณ์จะคงอยู่เป็นเวลาหลายวันจนถึงหลาย เดือน และบุคคลจะไม่ตระหนักว่าตนเองมี อารมณ์ผิดปกติ มีพฤติกรรมเปลี่ยนจากเดิม จึง ไม่ยอมที่จะรับการรักษา 2. Bipolar II Disorder ความผิดปกติทาง อารมณ์ที่มีลักษณะอารมณ์ซึมเศร้า (depress) เป็นอาการนำามาก่อน การเกิดอารมณ์เศร้า อาจจะเกิดขึ้นอย่างน้อย 1 ครั้ง หรือมากกว่า 1 ครั้ง อาจจะมีภาวะการณ์ แปรเปลี่ยนทางด้าน
  • 50. การวินิจฉัย Bipolar I disorder A. มีอารมณ์ elevated mood, euphoria หรือ expansive mood หรือ irritable mood อย่างผิดปกติ และคงอยู่นานอย่างน้อย 1 สัปดาห์ (หรือนานเท่าใดก็ได้หากต้องอยู่ในโรงพยาบาล) B. ในช่วงที่มีความผิดปกติด้านอารมณ์นี้ พบมี อาการดังต่อไปนี้อยู่ตลอดอย่างน้อย 3 อาการ (หรือ 4 อาการหากมีเพียงอารมณ์หงุดหงิด) และ อาการเหล่านี้รุนแรงอย่างมีความสำาคัญ 1. มี self-esteem เพิ่มขึ้นมาก หรือมี grandiosity 2. decreased need of sleep 3. more talkative หรือ pressure of speech 4. flight of idea หรือ ความคิดแล่น เร็ว 5. วอกแวก (distractibility) : ถูกดึงดูด ความสนใจได้ง่าย 6. psychomotor agitation หรือ ทำา กิจกรรมซึ่งมีจุดหมายเพิ่มขึ้นมาก (ไม่ว่าจะเป็น
  • 51. การวินิจฉัย Bipolar I disorder (ต่อ) C. อาการไม่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัย Mixed Episode D. ความผิดปกติด้านอารมณ์ที่เกิดขึ้น รุนแรงจนทำาให้มีความบกพร่อง อย่างมากในด้านการงาน หรือ กิจกรรมทางสังคมตามปกติ หรือ สัมพันธภาพกับผู้อื่น หรือทำาให้ต้อง อยู่ในโรงพยาบาลเพื่อป้องกัน อันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น หรือมี อาการโรคจิต E. อาการไม่ได้เกิดจากยา สารเสพติด หรือการรักษาอื่น หรือโรคทางกาย
  • 52. สาเหตุของความผิดปกติทาง อารมณ์ 1. ปัจจัยด้านชีวภาพ สารชีวเคมี (Monoamine) ที่มีผล ทำาให้เกิดภาวะอารมณ์ซึมเศร้าหรือภาวะอารมณ์ลิงโลด โดยพบว่า ถ้าระดับ serotonin นี้มีน้อยก็จะทำาให้เกิด ภาวะอารมณ์ซึมเศร้าได้ 2. ปัจจัยทางด้านสังคม เหตุการณ์เครียด ภาวะที่บุคคล มีการสูญเสีย ได้แก่ บุคคลที่รัก หน้าที่การงาน คุณค่าใน ตนเอง เด็กที่ถูกทอดทิ้ง มักจะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มี อารมณ์เศร้า 3. ปัจจัยด้านการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้เห็นว่าภาวะ ความซึมเศร้าเกิดจากการที่บุคคลมองเหตุการณ์และแปล เหตุการณ์ไปในทางลบ เป็นภาวะ Learned helplessness 4. ยา /สารเคมี Reserpine ใช้ในการรักษาโรคความ ดันโลหิตสูง จะลด Biogenic Amineทำาให้ซึมเศร้า M.A.O. Inhibitor ที่ใช้รักษาโรควัณโรค จะเพิ่ม Biogenic Amineทำาให้ผู้ป่วยร่าเริง การมี Steroid out put เพิ่มขึ้น ผู้ป่วยจะซึมเศร้า 5. ลักษณะบุคลิกภาพของบุคคล มักพบในคนขี้อาย หวั่น ไหวง่าย วิตกกังวลง่าย ระมัดระวังตนเองมากเกินไป ไม่มี ความเชื่อมั่นในตนเอง มีแนวโน้มทำาร้ายตนเองและผู้อื่น 6. สัมพันธภาพกับบุคคลอื่นไม่ดี บุคคลที่กลัวการติดต่อ กับบุคคลอื่น กลัวผู้อื่นทำาร้าย มักใช้ กลไกทางจิต แบบ
  • 53. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิด ปกติทางด้านอารมณ์ หลักการสำาคัญที่สุด 1. ดูแลเรื่องสุขอนามัยและความปลอดภัย ของผู้ป่วย ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติด้าน อารมณ์ชนิดซึมเศร้า และชนิด เริงร่าลิงโลก จะไม่สนใจในเรื่องสุขอนามัย ไม่สนใจเรื่องการ รับประทานอาหารและนำ้า 2. การเฝ้าระวังเรื่องการให้ยาและ S/E เช่น ปากแห้ง คอแห้งกระหายนำ้า ความดันโลหิตตำ่า อาการไม่สุขสบายที่เกิดจากยาจะทำาให้ผู้ป่วย ไม่ร่วมมือในการรักษา ผู้ป่วยอาจจะบอกว่าหน้า มืดจะเป็นลมหลังได้รับยา ซึ่งเป็นผลจากความ ดันโลหิตตำ่าจากยา 3. การให้ความรู้แก่ผู้ป่วย เรื่องการใช้ยาต้าน เศร้าเพื่อการรักษา คือฤทธิ์ข้างเคียงที่เกิดจาก ยา เช่น อาการปากแห้งและคอแห้ง ก็ให้จิบนำ้า บ่อย ๆ หรืออมก้อนนำ้าแข็งเล็ก การป้องกัน อาการหน้ามืด วิงเวียนเนื่องจากความดันโลหิต ตำ่าโดยการลุกนั่งหรือลุกเดินช้า ๆ ให้ความรู้
  • 54. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิด ปกติทางด้านอารมณ์ 4. การใช้กระบวนการพยาบาล การดูแลผู้ป่วยโดยใช้กระบวนการพยาบาลจะช่วย ให้พยาบาลมีทิศทางในการดูแลผู้ป่วยดีขึ้น การ วินิจฉัยปัญหาสำาหรับการพยาบาลขึ้นอยู่กับ ลักษณะและอาการผู้ป่วย 4.1 การประเมินสภาพผู้ป่วย การประเมินสภาพ ทั่ว ๆ ไป ความคิด การรับรู้ อาการแสดงที่ผิด ไปจากปกติที่เป็นสาเหตุทำาให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับ การรักษาตัวในโรงพยาบาล ประเมินความคิด และพฤติกรรมทำาร้ายตนเอง ความคิดและ พฤติกรรมที่บ่งบอกจะฆ่าตัวตาย ใช้แหล่งข้อมูล หลายแหล่งร่วมกัน เช่น จากตัวผู้ป่วย ญาติ การ สังเกตขณะให้สัมภาษณ์ และจากการบอกเล่า ของทีมพยาบาลเวรอื่น ๆ ที่ดูแลผู้ป่วย 4.2 การวินิจฉัยพยาบาล ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างข้อวินิจฉัยพยาบาลในผู้ป่วย ซึมเศร้าที่มีอาการเศร้าเป็นอาการนำา เช่น 1. มีความบกพร่องในด้านการดูแลตนเองเนื่องจาก ภาวะซึมเศร้า 2. มีการรับรู้ในคุณค่าตนเองลดลงเนื่องจากรู้สึกผิด
  • 55. การวางแผนการพยาบาล ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล 1. มีความบกพร่องในด้านการดูแลตนเอง เนื่องจาก ภาวะซึมเศร้า เป้าหมายทางการพยาบาล ผู้ป่วยมีส่วนร่วม ในการดูแลตนเองมากขึ้นในสัปดาห์ที่ 1 และผู้ป่วยสามารถดูแลและปฏิบัติ กิจวัตร ประจำาวันของ ตนเองโดยไม่ต้องบอกใน สัปดาห์ 2 ผู้ป่วยใส่ใจในเรื่อง สุขอนามัย ของตนเองได้เช่นปกติในสัปดาห์ที่ 3 2. มีการรับรู้ในคุณค่าตนเองลดลงเนื่องจาก รู้สึกผิดในการกระทำาของตนเอง เป้าหมายทางการพยาบาล ผู้ป่วยมีการรับ รู้ในคุณค่าตนเองดีขึ้น ผู้ป่วยมีความรู้สึกต่อ ตนเองดีขึ้นเห็นความสำาคัญของตนเองมาก ขึ้น การปฏิบัติการพยาบาล เพื่อให้แผนการ พยาบาลได้บรรลุวัตถุประสงค์ของการ พยาบาลที่ตั้งไว้ทีมพยาบาลจะต้องมีการ
  • 56. การพยาบาลที่สำาคัญสำาหรับผู้ป่วยที่มี ความผิดปกติ ด้านอารมณ์ชนิดซึมเศร้า 1. การสร้างสัมพันธภาพ เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ พร้อมทั้งให้ความสนใจเอาใจใส่อย่างจริงใจต่อ ท่าทีของผู้ป่วย 2. กระตุ้นให้ผู้ป่วยได้ระบายความคิดและความรู้สึก ออกมา 3. ส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การมองข้อดี ของตนเอง การแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง การ สร้างเป้าหมายในชีวิต 4. ส่งเสริมการปรับตัว การแก้ไขปัญหา การใช้กลไก ทางจิตที่เหมาะสม 5. สนับสนุนการดูแลตนเองในการทำากิจวัตรประจำา วัน 6. การดูแลให้ได้รับการรักษาและรับยาอย่างต่อเนื่อง และสังเกตอาการข้างเคียงของยา 7. ระวังการทำาร้ายตนเอง จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย การประเมินความเสี่ยงต่อการทำาร้ายตนเอง เฝ้า ระวังและสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ลดสิ่งกระตุ้น
  • 57. การพยาบาลที่สำาคัญสำาหรับผู้ป่วยที่มี ความผิดปกติ ด้านอารมณ์ชนิดคลุ้มคลั่ง 1. การสร้างสัมพันธภาพ เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ พร้อมทั้งให้ความสนใจเอาใจใส่อย่างจริงใจต่อท่าที ของผู้ป่วย และการยอมรับผู้ป่วยในเรื่องศักดิ์ศรีของ ความเป็นมนุษย์ 2. จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย ป้องกันอันตรายทั้งตัวผู้ ป่วยเองและผู้อื่น 3. กระตุ้น และสนับสนุนการดูแลตนเองในการทำากิจวัตร ประจำาวัน 4. จัดกิจกรรมกลุ่มบำาบัด เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่พึง ประสงค์ เพิ่มการใช้พลังงานอย่างสร้างสรรค์ 5. สอนทักษะการเผชิญปัญหา การจัดการกับ ความเครียด และการควบคุมพฤติกรรมที่เหมาะสม 6. การดูแลให้ได้รับการรักษาและรับยาอย่างต่อเนื่อง และสังเกตอาการข้างเคียงของยา โดยเฉพาะยา ลิเทียม ต้องประเมินระดับลิเทียมในกระแลเลือด และ ดูแลเรื่องการรักษาด้วยไฟฟ้า การพยาบาลที่สำาคัญสำาหรับผู้ป่วยที่มีความผิด
  • 59. การพยาบาลผู้ที่มีปัญหาฆ่าตัวตาย (SUICIDAL IDEA) ความคิดอยากฆ่าตัวตาย เป็นอารมณ์วูบหนึ่ง อาจเกิด ขึ้นได้ในคนปกติ แต่ถ้าคิดซำ้าซากก็เป็นพยาธิ สภาพ เป็นพฤติกรรมผิดปกติ เพราะคนส่วนมาก จะ ไม่ฆ่าตัวตาย แม้จะตกอยู่ในภาวะเช่นเดียวกันนั้น พบได้บ่อยในภาวะซึมเศร้า ผู้คิดฆ่าตัวตายจะมี ความรู้สึกตรงกันข้ามทั้งสองฝ่ายปนกัน คือ ทั้ง อยากตาย และอยากมีชีวิตอยู่เพียงแต่ความรู้สึก ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากกว่าเท่านั้น การฆ่าตัวตายอาจ เป็นการลงโทษตนเอง, เป็นการแก้แค้นผู้อื่น, หรือ เนื่องมาจากความเชื่อเรื่องเกิดใหม่ในชาติหน้าร่วม กับคนที่ตนรักก็ได้ คนที่คิดฆ่าตัวตายจะมีความรู้สึก คล้ายกัน คือ "ขาดความรัก" คำาจำากัดความ การฆ่าตัวตายแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ก. การพยายามฆ่าตัวตาย (attempted suicide) หมายถึงผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย แต่ใน ที่สุดยังไม่ถึงแก่ชีวิต ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ยังอยู่ใน วัยหนุ่มสาว ทำาด้วยความหุนหันพลันแล่น หรือ ทำา เพราะต้องการประท้วง ต้องการให้ผู้อื่นรู้สึกผิด เพราะรู้สึกโกรธ หรือหาทางออกกับสถานการณ์ใน ขณะนั้นไม่ได้
  • 60. สาเหตุของการฆ่าตัวตาย มีหลายประการ ได้แก่ มีอาการซึมเศร้า ผู้ที่มีอาการซึมเศร้ามากๆ จะคิด ว่าตนเองไร้ค่าอยู่ไปไม่มีประโยชน์ ความ รู้สึกซึมเศร้าทำาให้ไม่สามารถทนอยู่กับ อาการต่างๆ ซึ่งทรมานได้อีกต่อไป ส่วน ใหญ่ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า จะมีอาการ รุนแรงถึงขนาดฆ่าตัวตายได้ มีอาการโรคจิต ผู้ที่เป็นโรคจิต มักมีอาการหู แว่ว,หลงผิด และปรับตัวเข้ากับสังคมได้ ลำาบาก บางครั้งเกิดอาการซึมเศร้าจากการ ป่วยโรคจิตอย่างเรื้อรัง ไม่มีความหวังใน ชีวิต ก็คิดอยากตายได้ บางคนมีหูแว่วเป็น เสียงสั่งให้ฆ่าตัวตายก็ทำาตามเสียงนั้น บาง ชนิดจะสับสน มีภาพหลอน เกิดตกใจวิ่งหนี ทำาให้เกิดอุบัติเหตุเหมือนฆ่าตัวตายได้ ผู้ที่ติดเหล้าหรือสารเสพติด เกิดอาการซึมเศร้า และขาดการยับยั้งใจตัวเอง ฆ่าตัวตายด้วย ความโกรธ และก้าวร้าวต่อตนเองได้ ผู้ที่มีบุคลิกภาพผิดปกติ จะเกิดปัญหาทางอารมณ์ ได้ง่ายและอยากฆ่าตัวตายได้
  • 61. ลักษณะที่บ่งว่าผู้ป่วยมีความตั้งใจ ฆ่าตัวตาย 1. ทำาในที่ห่างไกล ยากแก่การพบเห็น 2. ทำาในเวลาที่การช่วยเหลือทำาได้ลำาบาก 3. เตรียมการเรื่องทรัพย์สิน จดหมายลาตาย 4. เตรียมการเรื่องการฆ่าตัวตาย เช่น หาซื้อยา มาสะสมไว้ 5. ครุ่นคิดเรื่องการฆ่าตัวตายนานพอสมควร (นานเป็นชั่วโมงๆ ก่อนทำา) 6. ใช้วิธีการที่รุนแรง 7. ไม่เรียกร้องขอความช่วยเหลือหลังทำา ผู้ป่วยที่อาการสาหัสอาจไม่จำาเป็นต้องมีความ เสี่ยงสูงเสมอไป โดยเฉพาะการรับประทาน ยา ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเมินยากว่าผู้ป่วยทราบ หรือไม่ว่ายาตัวไหนมีอันตรายอย่างไร รับ ประทานแล้วถึงตายหรือไม่. แต่หากเป็นการ ทำาโดยใช้วิธีที่รุนแรง เช่น กระโดดตึก, ยิง ตัวตาย ก็ค่อนข้างแน่ใจว่าผู้ป่วยมีความ ต้องการฆ่าตัวตายสูง
  • 62. โรคทางจิตเวชที่พบบ่อยในผู้ป่วย ที่พยายามฆ่าตัวตาย Adjustment disorder ผู้ป่วยเดิม ปกติดีมาก่อน เกิดความกดดันหรือ ปัญหา แล้วปรับตัวหรือหาทางแก้ ปัญหาไม่ได้ อาจเครียด วิตกกังวล หรือซึมเศร้า Major depression อาจมีความ กดดันหรือไม่ก็ได้ ผู้ป่วยมีอารมณ์ซึม เศร้า หรือเบื่อหน่าย ที่มักเป็นตลอด วันนานกว่า 2 สัปดาห์ ร่วมกับมี อาการนอนไม่หลับ อ่อนเพลีย เบื่อ อาหาร สมาธิบกพร่อง หรือรู้สึกผิด เป็นต้น Personality disorder บุคลิกภาพ ผิดปกติ มักพบเป็นแบบที่ผู้ป่วยสนใจ แต่ตนเอง เรียกร้องจากผู้อื่นอารมณ์ อ่อนไหว ไม่มั่นคง หุนหันพลันแล่น หรือสับสนในชีวิต
  • 63. หัวข้อการประเมินผู้ป่วยที่ attempt suicide โดยสรุปแล้วมีที่สำาคัญอยู่ 3 หัวข้อ ในการประเมินผู้ป่วยแต่ละราย คือ 1). Precipitating factors ผู้ป่วยที่ attempt suicide มีเหตุการณ์ที่ กดดันต่อตนเองภายในช่วง 6 สัปดาห์ ก่อนการพยายามฆ่าตัวตาย มากกว่าผู้ป่วยที่ depress อย่างเดียวอย่างมีนัยสำาคัญ ตัวอย่าง เหตุการณ์ที่กดดัน เช่น ความสูญเสียคนใกล้ชิด ปัญหาด้าน สัมพันธภาพ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น การที่ต้องถามในเรื่อง ของ precipitating factor นั้น มีความสำาคัญอยู่ 3 ประการ ได้แก่ 1.1precipitating factor บางอย่าง พบในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่า ตัวตายสูง เช่น การหย่าในผู้ป่วยที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง การเข้าใจ ถึงปัญหาที่มากระทบต่อผู้ป่วย ทำาให้สามารถเข้าใจผู้ป่วยได้ดีขึ้น เห็นถึงแนวคิดของผู้ป่วยต่อปัญหา และแนวการแก้ปัญหาของเขา 1.2). Motivation ผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตายมิได้อยากตายจริง ๆ ไป ทั้งหมด โดยเฉพาะในวัยรุ่นและวัยหนุ่ม สาว ซึ่งโดยมากพบว่า เป็น เพราะต้องการให้สิ่งที่ตนเองกระทำาส่งผลต่อผู้อื่น ( เช่น เพื่อเรียกร้อง ความสนใจ เพื่อให้คนนั้นรู้สึกผิด ลักษณะของ motivation นี้มีผล ต่อการวางแผนช่วยเหลือ ผู้ป่วยผู้ป่วยเช่นนี้ ต้องให้การช่วยเหลือ โดยด่วน จำาเป็นต้องรับไว้ในโรงพยาบาลดูแลอย่างใกล้ชิด ความ ต้องการฆ่าตัวตาย (suicidal intent) มีได้หลายระดับ ต้องประเมิน จากพฤติกรรมของผู้ป่วย ก่อนการฆ่าตัวตายด้วย ได้แก่ ผู้ป่วยที่ วางแผนอย่างรอบคอบ เขียนจดหมายลาตาย แอบจัดการเรื่อง ทรัพย์สิน ทำาการขณะไม่ผู้คนอยู่ ใกล้เคียง 1.3). ความรุนแรงของอาการทางกาย (lethality) ความรุนแรงของอาการมี ผลต่อการวางแผนการรักษาทางกาย อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีอาการ รุนแรง อาจไม่จำาเป็นต้องมีความเสี่ยงเสมอไป ควรประเมินจาก พฤติกรรมการฆ่าตัวตายร่วมด้วย โดยเฉพาะ การกินยาซึ่งเป็นสิ่งที่ ประเมินยากว่าผู้ป่วยทราบหรือไม่ว่ายาตัวไหนมีอันตรายอย่างไร กิน แล้วถึงตายหรือไม่ แต่ถ้าเป็นฆ่าตัวตายโดยการยิงตัวตาย กระโดด จากที่สูง ก็ค่อนข้างจะแน่ใจว่าผู้ป่วยมีความต้องการฆ่าตัวตายสูง
  • 64. ข้อควรปฏิบัติในการซักประวัติ และตรวจผู้ป่วย 1. คอยระวัง ให้ผู้ป่วยอยู่ในสายตาตลอด โดย เฉพาะผู้ป่วยที่อาการดีแล้ว ผู้ป่วยบางคนอาจหลบ หนีออกไปขณะที่บุคลากรทำาหน้าที่อื่นอยู่ 2. การซักประวัติผู้ป่วยหากเป็นไปได้ควรทำาในที่ เป็นส่วนตัว เนื่องจากบางเรื่องผู้ป่วยไม่ต้องการ ให้ใครทราบ หรือลำาบากใจที่จะเล่าหากมีคนมาก 3. แสดงความเข้าใจถึงความทุกข์ใจของผู้ป่วย เห็นใจ ไม่แสดงท่าทีตัดสินถูกผิดต่อสิ่งที่เขาได้ กระทำาลงไป 4. เลี่ยงการถกกับผู้ป่วยถึงข้อดีข้อเสียของการ ฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะการมีท่าทีลังเลหรือเห็น คล้อยตามไปกับผู้ป่วยว่าเขาไม่มีทางออกจริงๆ การมีความเข้าใจในผู้ป่วยเป็นสิ่งดี แต่การตัดสินใจ หรือแนวทางในการช่วยเหลือนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ควรมีท่าทีที่มั่นคง แสดงความเห็นอย่างชัดเจนว่า แม้ว่าปัญหาของผู้ป่วยดูจะยุ่งยาก แต่การตายไม่ใช่ แนวทางในการแก้ปัญหา. ผู้ป่วยมักมีความคิดสอง จิตสองใจ การแสดงท่าทีลังเลของแพทย์จะไปเสริม ความรู้สึกไม่มั่นใจนี้ยิ่งขึ้น 5. พบญาติหรือผู้ใกล้ชิดทุกครั้ง ทั้งนี้เพื่อจะได้ ทราบถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยญาติอาจมี มุมมองต่างไปจากผู้ป่วย จากข้อมูลหลาย ๆ แห่ง ทำาให้ประเมินปัญหาได้ตรงขึ้น. แต่ มิใช่ว่าจะเชื่อ
  • 65. แนวทางในการสัมภาษณ์ สิ่งสำาคัญลำาดับแรกคือการช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะทาง ร่างกายให้พ้นภาวะฉุกเฉิน. หลังจากที่ผู้ป่วย อาการดีขึ้นแล้วควรหาประวัติและสัมภาษณ์ เพื่อ เป็นแนวทางในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อ ไป หัวข้อสำาคัญในการสัมภาษณ์ ได้แก่ 1. ปัจจัยกระตุ้นให้ผู้ป่วยคิดฆ่าตัวตาย พบว่าผู้ ป่วยมักประสบเหตุการณ์กดดันก่อนคิดฆ่าตัวตาย. ตัวอย่างเหตุการณ์ได้แก่ การสูญเสียคนใกล้ชิด ปัญหาด้านสัมพันธภาพ เป็นต้น การทราบถึง ปัจจัยกระตุ้น ทำาให้ผู้ดูแลสามารถเข้าใจผู้ป่วย มากขึ้น เห็นถึงแนวคิดของผู้ป่วยต่อปัญหาและวิธี การแก้ปัญหาก่อนหน้านี้ของเขา. นอกจากนี้การ ทราบถึงปัจจัยกระตุ้นจะทำาให้การวางแผนช่วย เหลือผู้ป่วยทำาได้ตรงจุดขึ้น 2. สิ่งที่ผู้ป่วยหวังผลจากการกระทำา ผู้ป่วยที่ พยายามฆ่าตัวตายจำานวนหนึ่งทำาไปเพราะหวังผล จากการกระทำา เช่น ประท้วง หรือเพื่อหลีกเลี่ยง สถานการณ์บางอย่าง เป็นต้น ผู้ป่วยดังกล่าวนี้จะ มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอีกน้อยกว่าผู้ป่วยที่ ทำาเพราะรู้สึกท้อแท้ หมดหวัง ฆ่าตัวตายเพราะ อยากตาย. มีลักษณะช่วยบ่งหลายประการว่าผู้ ป่วยมีความตั้งใจจริง
  • 66. แนวทางในการสัมภาษณ์ 3. อาการตลอดจนการวินิจฉัยทางจิตเวช มีการ ศึกษาผู้ป่วยฆ่าตัวตายสำาเร็จ พบว่าผู้ป่วยมีความผิด ปกติทางจิตเวชในกลุ่ม depressive disorders ถึง ประมาณร้อยละ 75.7 การวินิจฉัยทางจิตเวชนี้ พบ ว่าเป็นตัวบ่งชี้ที่สำาคัญถึงความรุนแรงของปัญหา 4. สภาพจิตใจของผู้ป่วยขณะพบแพทย์ ผู้ป่วยที่ซึม เศร้ามาก ท้อแท้ หมดหวัง หรือรู้สึกว่าหมดหนทางใน ชีวิต จะมีความเสี่ยงสูง 5. การช่วยเหลือคำ้าจุนจากครอบครัวหรือความ ใกล้ชิดกับผู้อื่น ผู้ป่วยที่ญาติดูแลดี มักทำาให้ สถานการณ์ที่รุนแรงในช่วงก่อนหน้านั้นคลี่คลายลง ได้. 6. ความคิดเห็นของผู้ป่วยต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การทราบความคิดของผู้ป่วยอาจทำาให้พอประเมินได้ ว่าผู้ป่วยยังมีความเสี่ยงสูงอยู่หรือไม่. ผู้ป่วยบางคน หลังจากผ่านเหตุการณ์มาแล้ว เกิดการเปลี่ยนมุมมอง ต่อปัญหาชีวิตของตนใหม่ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่กระทำา ลงไปอย่างหุนหันพลันแล่น. ผู้ป่วยที่ยังคงมีมุมมอง เหมือนเดิม หรือหมดหวัง ท้อแท้ จัดว่าเป็นผู้ป่วยที่มี ความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอีกสูง สิ่งควรตระหนักคือ ภาวะความเสี่ยงนี้มิใช่สิ่งที่อยู่คงที่
  • 67. ผู้ป่วยที่ต้องรับไว้ในโรงพยาบาล 1. จากประวัติมีลักษณะตั้งใจฆ่าตัวตายสูง 2. ยังมีความคิดอยากตายอยู่ 3. มีอารมณ์เศร้ามาก 4. รู้สึกท้อแท้ หมดหวัง หมดหนทาง 5. มีโรคซึมเศร้า หรือมีอาการของโรคจิต เช่น หู แว่ว 6. ปฏิเสธการช่วยเหลือ 7. อยู่คนเดียว ไม่มีผู้สามารถดูแลได้ ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย บางรายดู เหมือนไม่รุนแรง แต่เมื่อประเมินจากข้อมูล โดยรวมแล้วกลับมีความเสี่ยงสูง ดังนั้นการ สอบถามถึงปัจจัยต่าง ๆ ทั้งจากผู้ป่วยและผู้ อื่นจึงเป็นสิ่งที่จำาเป็น. โดยเฉพาะเหตุผลที่ ทำาให้ผู้ป่วยฆ่าตัวตายและความรู้สึกที่มีขณะ ทำาว่าเป็นอย่างไร หากยังได้คลุมเครือหรือไม่ เข้าใจแน่ชัด แสดงว่าผู้ป่วยอาจปกปิดบางสิ่ง ไว้ ให้กลับมาสังเกตถึงท่าทีของตนเอง หาก คิดว่าตนเองมีท่าทีที่เหมาะสมแล้ว แต่ก็ยังไม่ ได้ข้อมูล ให้ถือไว้ก่อนว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยง