Ce diaporama a bien été signalé.
Le téléchargement de votre SlideShare est en cours. ×

การดูแลรักษาต้นไม้ใหญ่ ในงานภูมิทัศน์เมือง 1_บทนำ.pptx

Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Prochain SlideShare
Survey Workshop Playground
Survey Workshop Playground
Chargement dans…3
×

Consultez-les par la suite

1 sur 274 Publicité

Plus De Contenu Connexe

Plus récents (20)

Publicité

การดูแลรักษาต้นไม้ใหญ่ ในงานภูมิทัศน์เมือง 1_บทนำ.pptx

  1. 1. โดย
  2. 2. เมื่อเทียบกับ
  3. 3. 10
  4. 4. เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม 20
  5. 5. 30
  6. 6. 40
  7. 7. 50
  8. 8. เรื่องท ้าทายให ้ศึกษาเกี่ยวกับ...
  9. 9. เรื่องท ้าทายให ้ศึกษาเกี่ยวกับ...
  10. 10. 60
  11. 11. 65

Notes de l'éditeur

  • พื้นที่นี้ อยู่กลางถนนเอกมัย
  • สภาพป่าไม้ในเขตเมืองโดยรอบอาคารสำนักงานของกลุ่มบริษัทพรีเมียร์ พนักงานในภาพเป็นกลุ่มพนักงานขายที่เพิ่งเดินทางกลับมาจากต่างจังหวัด
  • พื้นที่นี้ อยู่กลางถนนเอกมัย
  • แน่นอนที่สุด ป่าธรรมชาติ มีคุณประโยชน์ ในแทบทุกด้าน เหนือป่าไม้ในเขตเมืองหลายเท่าตัว
  • แต่ป่าไม้ในเขตเมือง ก็ยังมีคุณประโยชน์ต่อประชาคมเมือง เหนือป่าธรรมชาติ บางประการ...
  • เด็ก ผู้พิการ และ คนชรา สามารถเข้าใช้ประโยชน์จากป่าไม้ในเขตเมืองได้โดยง่าย... (แต่อาจไม่มีโอกาสได้เข้าไปสัมผัสความร่มรื่นของป่าธรรมชาติได้เลย)
  • ถ้าเราสร้างป่าไม้ในเขตเมืองให้ร่มรื่น ผู้คนในเมืองจะสามารถเข้าไปสัมผัสความร่มรื่นของป่าไม้ในเขตเมือง ได้ง่ายกว่า และ โดยเสียค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า (การเดินทางไปยังป่าธรรมชาติ)
  • สถานบริการน้ำมันที่ยิ่งใหญ่ อลังการในอดีต ต้องมีสภาพเช่นนี้ (แต่บัดนี้สูญหายไปเกือบหมดสิ้นแล้ว)
  • สถานบริการน้ำมันที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน
  • บริเวณซอยสวนพลูช่วงกลางวัน
  • จามจุรีต้นนี้ เอนเอียง เสียสมดุล ทั้งบริเวณโคนต้นผุเป็นโพรง
  • จึงโค่นล้มลงมา....
  • ต้นไม้ใหญ่ในเขตเมือง จักสามารถยืนต้นได้อย่างมั่นคง ต้องได้รับการค้ำยันจาก 3 ปัจจัย อย่างสมดุลกัน
  • เมื่อรู้ชนิดของป่า สถานที่ตั้ง เราจะสามารถบอกองค์ประกอบ และ สภาพของป่าได้
  • แต่องค์ประกอบของป่าไม้ในเขตเมือง ผันแปร หลากหลายจนไม่สามารถคาดเดาได้ ในภาพเป็นต้นสนเขา จากยอดเขาสูงในภาคเหนือ ที่นำมาปลูกเคียงคู่กับหมากแดง จากป่าพลุในภาคใต้ และไม้ประดับจากต่างประเทศ
  • อัตรายที่มากที่สุด ที่เกิดจากมนุษย์ที่กระทำต่อต้นไม้ใหญ่ในเขตเมือง คือ การตัดแต่งที่ผิดวิธี
  • หากปล่อยให้ต้นไม้ใหญ่ในเขตเมือง เติบโตไปตามธรรมชาติ เช่นที่ปรากฏในป่าธรรมชาติ ต้นไม้ใหญ่ในเขตเมืองอาจก่ออันตรายร้ายแรงขึ้นได้
  • การปฏิบัติงานในเขตเมืองต้องเพิ่มความระมัดระวังเพิ่มขึ้น
  • พรรณไม้แต่ละชนิด ได้เลือกถิ่นกำเนิด(หรือ ถิ่นอาศัย : Habitat) ที่เหมาะสมต่อการอยู่รอดของเผ่าพรรณของตนมานานนับพันปีแล้ว
  • ข้อมูลเรื่อง Habitat – Ecology – Distribution ของพรรณไม้แต่ละชนิด มักปรากฏในหนังสือ ข้อมูลอ้างอิงโดยทั่วๆไปแล้ว แต่ยังมีการนำมาใช้ประโยชน์ในวงจำกัดยิ่ง โดยเฉพาะในงานดูแลรักษาป่าไม้ในเขตเมือง
  • การกระจายพันธุ์ของพรรณไม้ ก็ไขรหัสลับให้แก่เราเช่นกัน
  • แต่องค์ประกอบของป่าไม้ในเขตเมือง ผันแปร หลากหลายจนไม่สามารถคาดเดาได้ ในภาพเป็นต้นสนเขา จากยอดเขาสูงในภาคเหนือ ที่นำมาปลูกเคียงคู่กับหมากแดง จากป่าพลุในภาคใต้ และไม้ประดับจากต่างประเทศ
  • ไม่รู้ว่านักวิชาการเขาใช้คำนี้หรือไม่
    แต่ผมใช้เรียกอาการที่เกิดกับต้นไม้หลังตัดหนัก
    บริเวณลำต้นและกิ่งขนาดใหญ่ของต้นไม้หลายชนิด
    ที่สัมผัสแสงแดดตรงๆ โดยเฉพาะแดดบ่าย เป็นเวลานานๆ
    เปลือกด้านที่สัมผัสแดด จะเริ่มเน่า ท้ายที่สุดก็แห้งตาย
  • ต้นไม้ที่เปราะบางต่อปัญหานี้ คือ ต้นไม้จากป่าเหล่านี้ โดยมีข้อสังเกตว่า พวกมีใบร่มครึ้มตลอดทั้งปี มีเจอปัญหานี้
  • ต้นไทร ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ทนทานมากเป็นพิเศษ ก็อาจทรุดโทรมได้หากปฏิบัติไม้ถูกต้อง
  • หากตัดแต่งหนัก เปลือกของต้นไทรซึ่งไม่เคยสัมผัสแสงแดดตรงๆมาก่อน จะเกิดอาการ “ ตายนึ่ง ”ได้
  • กร่างต้นนี้ สูงใหญ่จนบดบังแสงต้นอื่นๆ จำต้องตัดหนัก
    เพราะกิ่งส่วนใหญ่อยู่ในแนวตั้ง ไม่มีโอกาสถูกแดดเผาตรงๆ
    จึงไม่ค่อยกังวล
  • แต่อาการดังกล่าวกับปรากฏที่รากแขนงผิวดิน ซึ่งสัมผัสแดดเที่ยงตรงๆ
  • อาการที่ปรากฏบนราก
  • เพื่อป้องกันปัญหานี้ หากจำต้องตัดแต่งใหญ่ต้นไม้บางชนิด จำต้องห่อหุ้มเปลือกทุกครั้ง
  • แต่ก็สังเกตว่า ไม่เกิดปัญหานี้กับต้นไม้จากป่าบางประเภท
  • โดยต้นไม้ที่มาจากป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ซึ่งคุ้นเคยกับแสงแดดในช่วงฤดูแล้ง ทั้งยังอาจเกิดไฟป่าลวกในบางปี
    จึงสามารถตัดแต่งหนักได้โดยไม่จำต้องห่อหุ้มเปลือกแต่ประการใด
  • ความเข้าใจในเรื่อง ถิ่นกำเนิด นิเวศน์วิทยา และ การกรจายพันธุ์ ยังช่วยให้เราเข้าใจสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไป ที่อาจเป็นอันตรายต่อต้นไม้ใหญ่ได้
  • ระบบรากก็เป็นประเด็นสำคัญ สำหรับงานด้านป่าไม้ในเขตเมืองเช่นกัน
  • ต้นไม้ที่มีเรือนยอดเท่ากัน ปะทะด้วยลมที่มีความเร็วเท่ากัน หากลำต้นโตและแข็งแรงมากๆ ต้นที่สูงกว่า ย่อมส่งผ่านแรงลมลงไปกระทำต่อระบบราก ได้มากกว่าต้นที่เตี้ยๆ ทั้งนี้ ตามหลักคานดีด-คานงัดนั่นเอง
  • ปัญหาใหญ่ในเมืองไทย คือ กล้าไม้ส่วนใหญ่ มักมีรากแก้วที่คดงอ
  • ต้นกล้าที่เตรียมมาถูกต้องจะมีรากแก้วที่เหยียดตรงเช่นนี้
  • แต่ถ้าทำไม่ถูกต้อง จะได้รากแก้วที่คดงอ
  • รากแขนงผิวดินที่มีโครงสร้างดี จะกระจายตัวเป็นรัศมีออกจากลำต้น จุดที่ลูกศรชี้ คือ ปัญหารากขนาดเล็กกดทับรากเส้นที่สำคัญ ต้องทำการตัดแต่งราก : Root Trimming
  • รากที่โค้งงอ มีความสามารถในการเหนี่ยวรั้งต้นไม้ลดลง ควรตัดส่วนที่โค้งออกเพื่อให้เกิดรากเส้นใหม่ที่ตรงซึ่งจะช่วยเหนี่ยวรั้งต้นไม้ได้ดีกว่า
  • รูปแบบชีวิต : Life Form ของต้นไม้ ก็เป็นประเด็นที่สำคัญที่ช่วยให้สามารถตัดแต่งต้นไม้ได้โดดเด่น สวยงาม
  • ต้นไม้ที่สูงชะลูด ขาดความน่าเกรงขาม
  • จุดเริ่มต้นในประเด็นนี้ คงต้องแยกให้ออก ระหว่าง กิ่งตั้ง / กิ่งนอน สำหรับต้นไม้ในแต่ละชนิดให้ได้เสียก่อน จากนั้นจึงค่อยๆลงลึกไปในข้อปลีกย่อยอื่นๆ ต่อไป
  • ต้นไม้กลุ่มแรก มีกิ่งตั้ง / กิ่งนอน แยกจากกันอย่างเด่นชัด โดยกลุ่มย่อยกลุ่มที่หนึ่ง จะสร้างกิ่งนอนขึ้นมาเป็นระยะ เช่น ตะเคียนทอง จำปี จำปา กาแฟ อโศกอินเดีย เป็นต้น
  • ต้นไม้กลุ่มย่อยที่สอง มีกิ่งตั้ง / กิ่งนอน แยกจากกันชัดเจน แต่กิ่งนอนจะเกิดขึ้นเป็นระยะ จึงมีลักษณะเป็นฉัตร เป็นชั้น เช่น สัตบรรณ หูกวาง
  • ต้นไม้อีกกลุ่มหนึ่ง จะไม่ค่อยสร้างกิ่งนอนออกมา แต่จะสูงชะลูดขึ้นไป
  • เมื่อปล่อยให้โตถึงระดับหนึ่ง ปลายยอดจะโน้มลง และ หยุดเติบโตด้านความสูง หลังจากสะสมอาหารได้ระยะหนึ่งแล้ว ก็จะสร้างกิ่งกระโดงออกมา กิ่งกระโดงเหล่านี้ จะเป็นตัวเพิ่มความสูงให้ต้นไม้ต้นนั้น เมื่อกิ่งกระโดงชุดใหม่โตสูงขึ้นไปได้ระยะหนึ่ง ก็จะหยุดการเติบโต และ มีปลายยอดโค้งลง กิ่งกระโดงชุดที่ 3 จะเกิดขึ้น เมื่อต้นไม้หยุดสะสมอาหารได้สักระยะหนึ่ง เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
  • ต้นปีบ เป็นต้นไม้ที่มีฟอร์มในลักษณะนี้ ในภาพจะเป็นการ“ถีบตัวสูงขึ้น” 4 – 5 ครั้ง
  • หากจะลดความสูงลง ให้ตัดตรงจุดที่ลูกศรชี้ ก็จะสวยงาม ไม่ดูสะดุดตา
  • รูปฟอร์มของลั่นทม
  • แม้มีอายุมากๆ รูปฟอร์มของลั่นทมก็ยังคงเป็นเช่นเดิม
  • รูปฟอร์มของลั่นทม ???
  • การรักษารูปฟอร์มของต้นไม้ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องรักษาสมดุลในทุกๆด้านของต้นไม้ไว้ แต่สามารถปรับแต่งให้สอดรับ กลมกลืนกับสิ่งก่อสร้างโดยรอบ โดยพยายามรักษารูปฟอร์มของต้นไม้ ไว้ให้ได้มากที่สุด
  • ฟอร์มของต้นจามจุรีที่สวยงาม
  • ฟอร์มของต้นจามจุรี ?
  • ฟอร์มของต้นน้ำเต้าญี่ปุ่น เมื่อปล่อยให้โตตามธรรมชาติ
  • เสลา ตะแบก อินทนิลบก อินทนิลน้ำ และต้นไม้ในสกุลนี้ ชนิดอื่นๆ ล้วนมีรูปฟอร์มที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงต้องตัดแต่งให้ถูกต้อง หากตัดแต่งให้มีรูปทรงลักษณะเดียวกัน จะมองดูไม่สวยงาม และ ไม่เป็นธรรมชาติ
  • ต้นหูกวางซึ่งมีกิ่งนอนเป็นฉัตรเป็นเอกลักษณ์ประจำพันธุ์ ถ้าตัดกิ่งนอนสั้นเกินควร จะไม่เกิดกิ่งนอนที่จุดนั้นๆอีก แต่จะเกิดกิ่งตั้งออกมาก่อน จากนั้นจึงจะเกิดกิ่งนอนบนกิ่งตั้งชุดใหม่นี้
  • ดังนั้น ถ้าตัดกิ่งนอนต้นหูกวางผิดพลาด ฟอร์มของกิ่งจะเสียหายโดยแก้ไขได้ยาก ต้องตัดลงมาลึกๆใต้จุดที่ตัดพลาด เพื่อให้เกิดกิ่งตั้งชุดใหม่เท่านั้น
  • สภาพเมื่อใบแตกเต็มที่
  • ใบอ่อนตะแบกเมื่อสัมผัสแดดเช้า (ที่ชะอำ เพชรบุรี)
  • ใบอ่อนตะแบกเมื่อสัมผัสแดดเช้า (ที่ชะอำ เพชรบุรี)
  • ใบหูกวางแก่ๆ เมื่อสัมผัสอากาศเย็น จะเปลี่ยนเป็นสีแดง
  • เปลือกต้นปอทะเลที่ดูแลรักษาเป็นอย่างดี
  • เหตุผลส่วนหนึ่งที่เราปลูกต้นไม้ประดับบ้านเมือง ก็เพื่อความสวยงาม ความเข้าใจในเรื่องนิสัยในการออกดอกของต้นไม้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรรู้ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถปฏิบัติรักษาต้นไม้ใหญ่เพื่อให้เบ่งบานสวยงามสูงสุด
    เพราะมิใช่นักวิชาการ จึงต้องบอกว่า ศัพท์แสงทั้งหมดที่กล่าวถึงในเรื่องนี้ เป็นคำเรียกของผู้คนใน “ภาคปฏิบัติ” อาจเป็นหรือไม่ได้เป็นศัพท์ทางวิชาการด้าน Plant Physiology ก็มิอาจทราบได้
    คำว่า Spring Bloomer และ Summer Bloomer นี้ พบเห็นครั้งแรก บนคำแนะนำที่แนบมาจากเครื่องมือตัดแต่งกิ่งชิ้นหนึ่ง ซึ่งเมื่อนำมาพิจารณาอย่างรอบคอบให้การปฏิบัติงานในช่วงหลายๆปีที่ผ่านมา พบว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการตัดแต่งต้นไม้ และมีคุณประโยชน์ที่ซ่อนเร้นอยู่อย่างมหาศาล
    จึงอยากฝากมาให้ทุกท่านพิจารณา...
  • สำหรับ”คนรับจ้างตัดต้นไม้”เช่นเรา ข้อมูลที่บอกว่าต้นไม้ชนิดใด ออกดอกเมื่อใดนั้น มีประโยชน์น้อยมาก...
  • เพราะสภาพดินฟ้าอากาศในบ้านเรา ไม่แตกต่างอย่างเด่นชัดเช่นในเมืองหนาว เมื่อจะเรียนรู้ในเรื่องนี้ จึงต้องให้จินตนาการว่าอยู่ในเมืองหนาว...
    หลังจากฤดูหนาวผ่านพ้นไป... เขาถือกันว่า ฤดูใบไม้ผลิ เป็นจุดเริ่มต้นของฤดูการเจริญเติบโตของต้นไม้ในแต่ละปี
    เมื่อฤดูใบไม้ผลิเริ่มต้น ต้นไม้แต่ละชนิด จะมีปฏิกริยาแตกต่างกัน....
  • ต้นไม้ในกลุ่มนี้ เราเรียกกันว่าพวก Summer Bloomer
    เมื่อสร้างยอดอ่อน กิ่งอ่อนออกมาสักระยะหนึ่ง จึงผลิดอกออกมาให้ชมกัน
  • ตัวอย่างของต้นไม้ในกลุ่มนี้ เช่น คูณ เสลา กระพี้จั่น ประดู่
  • กัลปพฤกษ์
  • กาสะลองคำ
  • แม้จะแนะนำให้ตัดแต่งต้นไม้ในช่วงต้นไม้ผลัดใบเต็มที่ เริ่มตั้งแต่ช่วงปลายฝน ไปจนถึงปลายฤดูหนาว
    แต่... ด้วยความรู้ความเข้าใจที่มีจำกัดเกี่ยวกับนิสัยในการออกดอกของต้นไม้ในกลุ่มนี้ จึงแนะนำว่า...
    ยังไม่ต้องรีบตัดหนักในช่วงต้นไม้ผลัดใบ แต่ให้รอให้ดอกโรยเสียก่อนจึงเริ่มตัดแต่งได้
  • เคยเชื่อว่า ถ้าตัดหนักต้นไม้ในกลุ่ม Spring Bloomer แล้วเราจะอดเห็นดอกสวยๆในปีนั้นอย่างแน่นอน วันหนึ่งธรรมชาติก็ให้บทเรียน คูณต้นนี้ถูกตัดหนักช่วงปลายฝน แต่ก็ยังออกดอกได้ในช่วงแล้ง
  • นี่ก็เพิ่งถูกตัดหนักมาไม่นานนี้
  • แต่พวกเราเข้าใจปัจจัยที่กระตุ้นให้ต้นไม้ประจำชาติไทย ออกดอกแล้วหรือยัง พิสูจน์ความเชื่อนั้นได้หรือไม่ ?
  • ภาพระบุว่า ถ่ายในวันที่ 28 สิงหาคม ????
  • บางช่วง บางจังหวะของแต่ละปี โมกจะบานสะพรั่งอย่างน่าสนใจ
  • ดอกแก้ว ก็บานพร้อมๆกันเป็นบริเวณกว้างเช่นกัน
  • ดอกประดู่ก็เช่นกัน
  • ต้นไม้อีกกลุ่มหนึ่ง เมื่อฤดูใบไม้ผลิมาถึง จะยังไม่ออกดอก แต่กลับแตกยอดอ่อน ใบอ่อนออกมาก่อน
  • ต้นไม้ในกลุ่มนี้ เราเรียกกันว่าพวก Summer Bloomer
    เมื่อสร้างยอดอ่อน กิ่งอ่อนออกมาสักระยะหนึ่ง จึงผลิดอกออกมาให้ชมกัน
  • ดอกของต้นไม้ในกลุ่มนี้ จึงมีสีเขียวของใบเป็นฉากหลังเสมอ เช่น อินทนิลน้ำ อินทนิลบก ตะแบก
  • ขี้เหล็กทุกชนิด
  • นนทรี
  • คำแนะนำสำหรับต้นไม้ในกลุ่ม Summer Bloomer นี้ คือ
    ทันทีที่ต้นไม้ผลัดใบเต็มที่ ให้รีบตัดหนัก(Hard Pruning) ได้เลย
  • ในขณะที่ตัดแต่งหนัก ควรจัดโครงสร้างกิ่งของต้นไม้ต้นนั้นๆให้สวยงามไปพร้อมๆกัน
    ทั้งนี้ โดยแนะนำว่า ปลายกิ่งทุกกิ่งที่เหลือไว้ ควรมีขนาดใกล้เคียงกัน ทั้งนี้เพื่อให้ผลิยอดอ่อนออกมาพร้อมๆกัน ซึ่งจะทำให้เราได้ดอกซึ่งบานพร้อมกันทั้งต้น
  • เมื่อตัดแต่งพร้อมๆกัน ดอกก็จะบานพร้อมๆกันตามไปด้วย
  • เพราะเราไม่ได้ปลูก และตัดแต่งต้นไม้ตามหลักวิชาการ ต้นไม้แต่ละต้นจึงผลัดใบไม่พร้อมกัน แม้บนต้นเดียวกันก็ยังผลัดใบในเวลาต่างกัน เราจึงได้ดอกที่บานไม่พร้อมกัน ความโดดเด่น สวยงามข้องบ้านเมือง จึงไม่เคยปรากฏให้เห็น...
  • ข้อควรระวัง
    หากต้นไม้แตกยอดอ่อนชุดแรกของปีใหม่แล้ว ไม่ควรตัดแต่งใหญ่ในปีนั้นๆ
    ต้นนนทรีต้นนี้ ผลิยอดอ่อนชุดใหม่ออกมาแล้ว ยาวประมาณ 15 – 20 ซม. แล้วจึงทำการตัดแต่ง
  • ปรากฏว่า ในปีนั้นไม่ออกดอกแม้แต่ช่อเดียว ตลอดทั้งปี !!!!
  • การตัดต้นไม้ในช่วงผลัดใบเต็มที่ช่วยให้มองเห็นโครงสร้างของต้นไม้ต้นนั้นๆได้ชัดเจน จึงสามารถพิจารณาเรื่องโครงสร้างได้อย่างแม่นยำขึ้น

×