Contenu connexe

Présentations pour vous(19)

Similaire à Dhammaratana journal 3(19)

Plus de Watpadhammaratana Pittsburgh(16)

Dernier(20)

Dhammaratana journal 3

  1. Dhammaratana Journal Vol.1 No.3 July-Sept 2012 ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๓ เดือนก.ค.- ก.ย. ๒๕๕๕ วารสารธรรมรัตน์ ๕ ส.ค. ๒๕๕๕ ขอเชิญร่วมงาน... วันอาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา ณ วัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก - ถือศีลปฏิบัติธรรม - ตักบาตร - ฟังเทศน์ - ถวายผ้าอาบน้ำ�ฝน ข อ เ ช ิ ญ ร ่ ว ม . . . Buddhist Lent Ceremony & Asalha Puja Day Sunday, August 5, 2012 All Members are Welcome
  2. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana C O N T E N T S ส า ร บ ั ญ OBJECTIVES - To serve as a Buddhism promotion center in the U.S. - To serve as a meditation center in Pittsburgh - To promote virtues, Bud- dhist culture and traditions - To be a center of all Bud- dhists, regardless of nationalities วัตถุประสงค์ -เพื่อเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่ พระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกา - เพื่อเป็นศูนย์ปฏิบัติวิปัสสนา กรรมฐานประจำ�เมืองพิทส์เบอร์ก - เพื่อศูนย์ส่งเสริม ศีลธรรม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่ดีงามของชาวพุทธ - เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมเสริม ความรู้พระธรรมทูตสายต่างประเทศ - เพื่อเป็นศูนย์รวมใจของชาว พุทธโดยไม่จำ�กัดเชื้อชาติ บทบรรณาธิการ พระพุทธพจน์ - The Buddha's Words 1 You are a must-read book 2 To control one's mind 4 เพชร......จากพระไตรปิฎก 9 เข้าพรรษา ลดเลิกลา 10 โอกาส 11 เข้าพรรษา เข้าหาธรรม 14 สรุปข่าวรอบ ๓ เดือน 20 สุขภาพดี๊ดี...ด้วย ๘ วิธีแสนง่าย 24 รายรับ-รายจ่ายเดือนเม.ย.-มิ.ย. 2555 28 อย่าจม !! อยู่กับอดีต 35 ญาติโยมผู้ถวายภัตตาหารเพลประจำ�วันต่างๆ 39 ภาพกิจกรรมต่างๆ - Activities 40-43 กิจวัตร 44 The Daily Schedule of BMCP 45 กิจกรรมทำ�บุญประจำ�ปี 2555 - Religious Ceremony 2012 46 Activities of BMCP 47 วัดป่าธรรมรัตน์ ก้าวย่างแห่งการฝึกตน คติธรรมประจำ�วัด สติมโต สทา ภทฺทํ คนมีสติ เท่ากับมีสิ่งนำ�โชคตลอดเวลา The mind is very hard to check and swift, it falls on what it wants. The training of the mind is good, a mind so tamed brings happiness. เจ้าของ : วัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก ที่ปรึกษา : พระวิเทศธรรมรังษี(หลวงตาชี) พระสุนทรพุทธิวิเทศ พระครูปริยัติธรรมาภิราม พระมหาถนัด อตฺถจารี พระครูสังฆรักษ์อำ�พล สุธีโร คณะสงฆ์วัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดีซี คณะสงฆ์วัดป่าสันติธรรม กองบรรณาธิการ : พระมหาสิทธิผล สิทฺธิผโล พระอาจารย์สุริยา เตชวโร พระมหาปิยะ อุตฺตมปญฺโญ และอุบาสก-อุบาสิกา รูปเล่ม/รูปภาพ พระมหาปิยะ อุตฺตมปญฺโญ Dhammaratana Journal is published by Wat Padhammaratana The Buddhist Meditation Center of Pittsburgh 5411 Glenwood Ave., Pittsburgh, PA 15207 Tel(412)521-5095 E-mail : bmcpitts@hotmail.com bmcpitts@yahoo.com Homepage : www.bmcpitts.org www.facebook.com/bmcpitts www.youtube.com/bmcpitts ธรรมรัตน์-Dhammaratana วารสารธรรมะของวัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๓ ประจำ�เดือนก.ค. - ก.ย. ๒๕๕๕ Vol.1 No.3 July-September 2012
  3. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana1 พระพุทธพจน์ The Buddha's Words มโนปุพฺพงฺคา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา มนสา เจ ปสนฺเนน ภาสติ วา กโรติ วา ตโต นํ สุขมนฺเวติ ฉายา ว อนุปายินี ฯ๒ฯ ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำ�เร็จด้วยใจ ถ้าคนมีใจดี ก็จะพูดดีหรือทำ�ดีตามไปด้วย เพราะความดีนั้น สุขย่อมติดตามเขาไป เหมือนเงาติดตามตัวเขาไป ฉะนั้น Mind foreruns all mental conditions, Mind is chief, mind-made are they; If one speaks or acts with a pure mind, Then happiness follows him. บทบรรณาธิการ ในอภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตรกล่าวไว้ว่า เราพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า "วันคืน ล่วงไปๆ บัดนี้เราทำ�อะไรอยู่" เมื่อย้อนนึกถึงวันแรกที่พวกเราทำ�บุญเปิดวัด คือ วัน ที่ ๒๕ ก.ย.๒๕๕๔ ปีที่แล้ว จนกระทั่งวันที่พระธรรมทูตย้ายเข้ามาอยู่ปฏิบัติศาสนกิจ ในวันที่ ๒๐ พ.ย.๒๕๕๔ ตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ เวลาผ่านไปใกล้จะย่างเข้าปีที่ ๑ ของ การก่อตั้งวัดป่าธรรมรัตน์ของพวกเรา มีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นมากมายภายในรอบหลายเดือน ที่ผ่านมา อันเกิดจากการคิดดี พูดดี ทำ�ดีของพวกเรา แน่นอนว่า การทำ�ความดีย่อมมี ปัญหาอุปสรรคเป็นเรื่องธรรมดา สิ่งสำ�คัญที่สุดคือหัวใจที่เข้มแข็งแน่วแน่เชื่อมั่นในคุณ งามความดีที่กำ�ลังทำ�อยู่ เดือนสิงหาคมนี้มีกิจกรรมหลายอย่างที่จะเกิดขึ้น คือ มีการถือศีลปฏิบัติธรรม เนื่องในวันอาสาฬหบูชา-วันเข้าพรรษา ระหว่างวันที่ ๔ - ๕ ส.ค.๒๕๕๕ นอกจากนี้จะ มีกิจกรรมบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนระหว่างวันที่ ๑๒-๑๙ ส.ค.๒๕๕๕ นี้ ขอเชิญ พุทธศาสนิกชนที่มีความสนใจเข้าร่วมปฏิบัติบูชา และนำ�บุตรหลานที่มีความสนใจเข้า บรรพชาสามเณรในช่วงปิดเทอม เพื่อศึกษาพุทธธรรมในพระพุทธศาสนาอันจะเป็น หลักสำ�คัญในการดำ�เนินชีวิตในอนาคตของลูกหลาน และในเดือนกันยายนระหว่างวันที่ ๒๑ - ๒๓ กันยายน ๒๕๕๕ ทางวัดจะจัด ให้มีการปฏิบัติธรรมให้บรรพบุรุษในเทศกาลวันสารท หรือวันระลึกถึงบรรพบุรุษผู้มี พระคุณ ขอเชิญพุทธศาสนิกชนร่วมถือศีลปฏิบัติอุทิศส่วนบุญกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไป แล้ว ท้ายที่สุดนี้ ในเทศกาลเข้าพรรษาปีนี้ ขอเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่านอธิษฐาน บารมีด้วยการตั้งกุศลจิตที่จะทำ�ความดีสักอย่างหนึ่งในระหว่างพรรษาอันเป็นโบราณ ประเพณีที่ดีงาม เป็นต้นว่า งดเหล้าเข้าพรรษา หรือสวดมนต์ทำ�วัตรตลอดพรรษา ลอง นึกหาสิ่งดีๆ ที่อยากทำ�ในเทศกาลเข้าพรรษานี้ ในส่วนของวัดป่าธรรมรัตน์ ขอเชิญ ญาติโยมทุกท่านร่วมสวดมนต์-เจริญจิตภาวนาทุกวัน นอกจากนั้นขอเชิญศึกษาเรียน รู้ธรรมะที่ชาวพุทธควรรู้ทุกวันอาทิตย์ในระหว่างพรรษานี้ เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม เป็นต้นไป ด้วยไมตรีธรรม คณะผู้จัดทำ�
  4. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana2 3 We all agree that we want happiness and hate suffer- ing. We live in a world of high technology where people seem to have everything needed to make them happy. And yet mod- ern men and women, despite their many conveniences and medical aids, are still unhappy. Why? I believe that the answer to this lies within ourselves. We simply do not spend time getting to know ourselves. Ajaan Chah, a famous meditation master, said in a speech to gradu- ate students, "You have been reading many books and watch- ing many movies; Now, I would like you to stop doing that and begin reading and watching yourself." How much time do you spend watching yourself every- day? The first step in following the Buddhist way is to know yourself. We know so much about the world but so little about ourselves. Knowing yourself is the first step toward happiness. As the Lord Buddha stated, "In this one-fathom-long body (about six feet), along with perceptions and thoughts, I proclaim the world, the origin of the world, the end of the world and the path leading to the end of the world." When people ask me how they should begin study- ing Buddhism, I reply that one must begin by learning about oneself. In Pali, the ancient language which the Lord Buddha used to preach, there is a very important word, "sikkha." Sik- kha means study or understanding yourself and is derived from two other words: "sa," meaning yourself, and "ikkha," meaning to see or understand. Going a little deeper, sikkha also has the flavor of trying to understand ourselves by read- ing the often complex book of ourselves, our mind and body together. Knowing how to read your special book will bring you happiness. Learning how to read and know yourself takes dedica- tion and practice. It takes effort, but it is worth the effort be- cause you will find happiness and peace. Let me finish with the words of Lao Tzu, the founder of Taoism, who said, "He who knows other is wise, he who knows himself is enlight- ened." YOU ARE A MUST-READ BOOK By Phramaha Piya Uttamapanno (Jundadal)
  5. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana4 5 Our old friend dukkha can be triggered by bodily discom- fort, but more often it is caused by the mind's aberrations and con- volutions. The mind creates dukkha, and that is why we must guard the mind well. Our own mind makes us happy or unhappy - nothing else in the world can. Sinc events trigger reactions, often catching us unaware, we need to develop attentiveness to our own mind mo- ments. We have a good chance to do that in meditation. There are twodirectionsinmeditation:calm(samatha)andinsight(vipassana). If we can achieve some calm, that indicates that concentration is improving. But unless that valuable skill is used for insight, it may be a waste of time. If the mind becomes calm, joy often arises, but we can observe how fleeting and impermanent that joy is, and how even bliss is just a passing condition. Only insight is irreversible. TO CONTROL ONE'S MIND BY AYYA KHEMA The deeper the calm within us, the better it will withstand dis- turbances. In the begining any noise, discomfort, or thought will break it up, especially if the mind has not been calm during the day. The impermanence(anicca) of everything needs to be seen clearly at all times, and not just during meditation. Mindfulness is the heart of Buddhist meditation and insight is its goal. We spend only some of our time in meditation, but we can use all of our time to gain insight into our own mind. That is where the whole world is happening for us. Nothing outside of what we know in the mind exists for us. The more we watch the mind and see what it does to us and for us, the more we will be inclined to take good care of it and treat it with respect. One of the biggest mistakes we can make is taking the mind for granted. The mind has the capacity to create good and evil for us. Only when we are able to remain happy and calm, no mater what conditions are arising, can we say that we have gained a little control. Until then we are out of control and our thoughts are our master. Whatever harm a foe may do to foe, or hater unto one he hates, the ill-directed mind indeed can do one greater harm. What neither mother, nor father too, nor any other relative can do, the well-directed mind indeed can do one geater good. Dhammapada 42, 43 In the Buddha's words, nothing is more valuable than a controlled and skillfully directed mind. Taming one's mind does
  6. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana6 7 not happen only in med- itation-that is just one spe- cific training. It can be lik- ened to learn- ing to play tennis. One practices with a coach, again and again, until one has found one's balance and aptitude and can actually play a match. The match in which we tame the mind is everyday life - every situation we encounter. The greatest support we can have is mindfulness, which means being totally present in each moment. If the mind remains centered, it cannot make up stories about the injustice of the world or one's friends, or about one's desires or sorrows. All these stories could fill many volumes, but when we are mindful such verbal- izations stop. Being mindful means being fully absorbed in the moment, leaving no room for anything else. We are filled with the momentary happening, whatever it is - standing or sitting or lying down, feeling pleasure or pain - and we maintain a nonjudgmental awareness, a "just knowing." Clear comprehension implies evaluation: we comprehend the purpose of our thought, speech, or action, and we know whether we are using skillful means and whether we have actually achieved the required results. We need to gain some distance from ourselves to evaluate dispassionately, for if we are completely identified with an event, objectivity is nearly impossible. Mindfulness coupled with clear comprehension provides us with necessary distance. Any dukkha that we have, great or small, continuous or in- termittent, is created by our minds. We create all that happens to us, nobody else is involved. Everybody else is playing his own role in this drama called "life." Sometimes other people just happen to be around, and we imagine they are responsible for our difficulties. But in reality, whatever we do arises from our own mind moments. The more we watch our thoughts in meditation, the more insight can arise. When we watch mind moments arising, staying, and ceasing, detachment from our thinking process results, bring- ing dispassion. Thoughts come and go all the time, just like the breath. If we hang on to them, problems arise. We believe we own our thoughts and have to do something about them, especially if they are negative. This is bound to create dukkha. The Buddha's formula for the highest effort is worth re- membering: "Not to let an unwholesome thought arise that has not yet arisen. Not to sustain an unwholesome thought that has already arisen. To arouse a wholesome thought that has not yet arisen. To sustain a wholesome thought that has already arisen." The quicker we master this effort, the better it is for our well-being. This is part of the training we undergo in meditation. When we have learned to drop whatever arises in meditation, we can do the same with unwholesome thoughts in daily life. When we can abandon distracting thoughts while meditating on the breath, we can use the same skill to protect our mind at all times. The more we learn to shut our mind-door to the negativities that disturb our inner peace, the easier our life becomes. Peace of mind is not indif- ference. Recognizing and letting go is not suppression. A peaceful mind is a compassionate mind. Dukkha is self-made and self-perpetuated. If we are sincere
  7. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana8 9 in wanting to get rid of it, we have to watch the mind carefully. We have to gain insight into what is really happening within. What triggers us? How do we react? There are innumerable triggers, but only two reactions. One is equanimity, the other craving. We can learn from everything. Today some anagarikas had to wait quite a long time at the bank, which was an exercise in pa- tience. Whether the exercise was successful or not does not matter. It was a learning experience. Everything we do is an exercise and a challenge. This is our purpose as human beings, our only reason for being here. We use the time on our little planet for learning and growing. We should think of our life as an adult education class. Any other life purpose is mistaken. We are guests here, giving a limited guest performance. If we use our time to gain insight into ourselves-our likes and dis- likes, our resistances, our rejections, our worries and fears - then we are living our lives to the best advantage. It is a great skill to live in such a way. The Buddha called it "urgency" (samvega), a sense of having to work on ourselves now and not leave it for some future, unspecified date when one may have more time. Everything can be a learning experience, and the only time is now. พระเจ้าพัลลิกราชทรงแข็งต่อผู้ที่ แข็ง ทรงชำ�นะคนอ่อนด้วยความอ่อน ทรงชำ�นะคนดีด้วยความดี ทรงชำ�นะคน ไม่ดีด้วยความไม่ดี พระราชาพระองค์ นี้ เป็นเช่นนี้ ดูกรนายสารถี ท่านจงหลีก ทางถวายพระราชาของเราเถิด. พระเจ้าพาราณสีทรงชำ�นะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ ทรงชำ�นะคนไม่ดีด้วย ความดี ทรงชำ�นะคนตระหนี่ด้วยการ ให้ ทรงชำ�นะคนพูดเหลาะแหละด้วยคำ� สัตย์ พระราชาพระองค์นี้ เป็นเช่นนี้ ดูกรนายสารถี ท่านจงหลีกทางถวาย พระราชาของเราเถิด. เพชรจาก......พระไตรปิฎก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ ข้อที่ ๑๕๑-๑๕๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกายชาดก ราโชวาทชาดก (ว่าด้วยวิธีชนะ)
  8. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana10 11 เข้าพรรษาคือเขตสงฆ์ผู้ดำ�รงพระวินัย สามเดือนจะไม่ไปเที่ยวสัญจรหรือรอนแรม เป็นช่วงที่พระจะศึกษ์ต้องประพฤติมโนแจ่ม ภาวนาอยู่พักแรม ณ วัดชอบประกอบคุณ ส่วนโยมน้อมก้มสิระทุกทิวะจะอุดหนุน กอปรทานศีลเพิ่มพูนในใบบุญพระสัมมาฯ ขอเชิญทุกทุกท่านจงเข้ากาลปวารณา ตั้งใจลดเลิกลาเสพย์สุราและเมรัย อีกทั้งสิ่งเสพย์ติดทุกชนิดไม่พิศมัย จงผละมันออกไปในพรรษาไตรมาส์เดือน ทำ�ดีคู่เคียงสงฆ์ตั้งใจตรงดำ�รงเหมือน บวชใจไม่แชเชือนความสุขเปื้อนณ พักตร์งาม ทำ�บุญด้วยจิตแจ่มอยู่พักแรม ณ เดือนสาม (3 เดือน) ตั้งใจพระพฤติตามธรรมวิลาสองอาจเทอญ.. สมัยเป็นนักศึกษาเรียนอยู่ที่ประเทศอินเดีย ได้พักอาศัยอยู่ที่ วัดไทยพุทธคยา ที่หน้ากุฏิของหลวงพ่อเจ้าอาวาสมีกลอนบทหนึ่งเขียน ติดไว้ว่า “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม คนหนึ่งตาม แหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” ทำ�ไมผู้เขียนจึงเกริ่นนำ�ด้วยกลอนบทนี้ เพราะมันเกี่ยวพันกับ บทความที่กำ�ลังจะเขียนนะซิครับ มาดูว่าเกี่ยวยังไง เกิดเมืองไทย ไป อินเดีย จากอินเดีย และมาอเมริกา ไปอยู่ที่ไหนก็รู้สึกรักและผูกพันกับ ประเทศนั้นเสมือนหนึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของตน ผู้เขียนมองเห็นทั้ง สิ่งที่ดีและไม่ดีของแต่ละที่ เราต้องยอมรับอย่างปฏิเสธไม่ได้ว่า แต่ละที่ แต่ละแห่งต่างก็มีจุดดีและจุดด้อยแตกต่างกันไป ไม่มีที่ไหนที่สมบูรณ์ แบบที่สุดหรอก ว่าไหม ? เพราะคนเรายังไม่สมบูรณ์ แต่ประโยชน์อะไร กับการมองในแง่ร้ายเล่า เรามองหาจุดดีของแต่ละที่ดีกว่าไหม เรียนรู้จาก สิ่งเหล่านั้นแล้วนำ�มาปฏิบัติตามจะไม่ดีเหรอ เรียกว่า “ ร่อนแร่หาทอง ” ทำ�ไมเขียนเกี่ยวกับอเมริกาละ เพราะตอนนี้อยู่อเมริกา และที่ เข้าพรรษา ลดเลิกลา พระมหาทองสมุทร ธมฺมาทโร “ โอกาส ” ปิยเมธี
  9. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana12 13 สำ�คัญอยากให้เรียนรู้ร่วมกันว่า เหตุใดประเทศแห่งนี้ จึงสามารถพัฒนา จนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ�ของโลกได้ในยุคปัจจุบัน ผู้เขียนคิดว่า ถ้า ไม่มีอะไรดี หรือไม่แน่จริง คงไม่สามารถพัฒนาได้ขนาดนี้หรอก แล้ว อะไรละที่เป็นคุณสมบัติเหล่านั้น เป็นสิ่งที่เราต้องมาศึกษาและเรียนรู้ร่วม กัน ในตอนแรกนี้ อยากจะพาไปรู้จักอเมริกาว่า ทำ�ไม อเมริกา จึง เป็นจุดหมายปลายทางของชนหลายชาติ หลากภาษา (America desti- nation) ซึ่งต่อมามีคำ�เรียกประเทศแห่งนี้ว่า เป็นเบ้าหลอมทางเชื้อชาติ วัฒนธรรมประเพณีจากที่ต่างๆ ทั่วโลก(Melting Pot) หรือถ้าเป็นคน อังกฤษก็จะเรียกประเทศแห่งนี้ว่า โลกใหม่ (New World) ผู้เขียนเคยดู สารคดีเรื่อง จุดหมายปลายทาง คือ อเมริกา(America Destination)ใน สารคดีนั้นมีเรื่องราวของคนจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกว่า เหตุใดเขาจึงพา กันอพยพมาอยู่ ณ ประเทศแห่งนี้ บางคนหนีความยากจน บางคนหนีภัย การเมือง บางคนหนีปัญหาการกดขี่ทางเชื้อชาติ ศาสนา เพราะพวกเขา เชื่อว่าประเทศแห่งนี้มีโอกาสในการเริ่มต้นใหม่ได้ มีประโยคฮิตที่ใช้ประกาศอิสรภาพของประเทศอเมริกาที่เขียน โดยโทมัส เจฟเฟอสัน(Thomas Jefferson)ประธานาธิบดีคนที่ ๓ ของ ประเทศสหรัฐอเมริกา ว่า มนุษย์ทุกคนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน (All men are created equal)ในด้านสิทธิเสรีภาพ หรือถ้าจะพูดว่า ทุกคนมี สิทธิเสรีภาพจะทำ�อะไรก็ได้ที่ไม่ขัดกับตัวบทกฎหมายของบ้านเมือง โอกาสถือว่าเป็นคำ�ยิ่งใหญ่ในประเทศอเมริกานี้ เพราะทุกคนมี โอกาสเท่าเทียมกันในการที่จะคิด พูด และทำ�ในสิ่งที่ไม่ขัดกับกฏหมาย บ้านเมือง ผู้เขียนชื่นชมสังคมแห่งนี้ที่ยกย่องชื่นชมคนเก่งและให้เกียรติ คนดี อย่างคำ�พระท่านว่า “ นิคคัณเห นิคคะหาระหัง ปัคคัณเห ปัคคะหา ระหัง ข่มคนที่ควรข่ม ยกย่องคนที่ควรยกย่อง ” คนทำ�ความดีก็ต้องยกย่องสรรเสริญ คนเก่งก็ต้องให้เกียรติ เพราะการทำ�อย่างนี้จะเป็นการให้กำ�ลังใจคนดีและคนเก่ง ให้รักษาความ ดีและพัฒนาความสามารถของตนยิ่งๆ ขึ้นไป คนในสังคมจะเป็นอย่างไร ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับค่านิยมที่สังคมกำ�หนดให้ด้วย สังคมจึงควรนิยมคน เก่งและดี เพื่อที่จะได้เป็นตัวอย่างแก่คนอื่นยิ่งๆ ขึ้นไป เมื่อนายโบรัค โอบามา ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน เข้ารับตำ�แหน่ง ประธานาธิบดีคนที่ ๔๔ ของอเมริกา นั้นเป็นข้อพิสูจน์คำ�ว่า โอกาส ได้ ดีที่สุด เพราะถ้าทุกคนในประเทศแห่งนี้มีความเพียรพยายามและตั้งใจ จริงที่จะทำ�หรือเป็นอะไร ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำ�หรือเป็น คำ�ว่า โอกาส คำ�นี้จึงเป็นคำ�ที่คนในประเทศแห่งนี้ยกย่องเชิดชู พร้อมทั้งเปิดทางให้แก่คนที่ชอบแสวงหาโอกาส คนเราทุกคนควรจะ ให้โอกาสแก่ตนเองและผู้อื่น และควรแสวงหาโอกาสที่จะทำ�สิ่งดีๆ เพื่อ ความเจริญก้าวหน้าของตน แต่อย่ามัวรอให้โอกาสวิ่งเข้ามาหาเราอย่าง เดียวละ ควรจะเดินเข้าไปโอกาสด้วย ท่านผู้อ่านละ คิดเหมือนกันไหม ? ประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาสมัยสามัญครั้งที่ ๓๖/๒๕๕๕ ณ วัดไทยลองแองเจลิส
  10. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana14 15 ช่วงเข้าพรรษาควรเป็นเวลาและโอกาสที่เราจะเข้าหาธรรมะอย่างจริงจัง ใครที่มีธรรมะรักษาจิตใจอยู่แล้วก็ควรใช้โอกาสนี้พาจิตพาใจเข้าหาธรรมให้เข้ม ข้นและจริงจังมากขึ้น ส่วนใครที่ห่างไกลจากธรรมะก็ควรให้โอกาสแก่ตัวเองได้ สัมผัสกับธรรมะในช่วงสามเดือนนี้ เพราะว่าธรรมะนั้นช่วยให้จิตใจของเราเป็นสุข ผ่อนคลาย โปร่งเบา ชีวิตของเราแต่ละวัน ๆ ไม่ควรเป็นไปเพื่อมีเงินมีทอง หรือมี อำ�นาจ บริษัทบริวารเท่านั้น แต่เราควรมีชีวิตเพื่อการพบความสุขภายใน มีจิตใจที่ โปร่งเบา และช่วงเวลาเข้าพรรษาเป็นช่วงเวลาสำ�คัญ ที่เราควรพบความสุขแบบนี้ หลายคนตั้งใจว่า วันเข้าพรรษา วันอาสาฬหบูชาจะเข้าวัดเพื่อฟังธรรม ทำ�บุญ อันนั้นก็ดีอยู่ แต่เราควรทำ�มากกว่านั้นเพื่อเปิดโอกาสให้ชีวิตจิตใจของเรา ได้รับการอาบรดด้วยน้ำ�แห่งธรรมอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งสามเดือน หรือตลอด พรรษานี้ เช่น การรักษาศีลให้มั่นคง ใครที่ศีล ๕ ยังไม่หนักแน่นมั่นคง ก็ขอให้ตั้ง จิตอธิษฐานว่าจะตั้งมั่นอยู่ในศีล ๕ อธิษฐานไม่ได้แปลว่าขอ แต่หมายถึงการตั้งจิตแน่วแน่ที่จะทำ�สิ่งดีงาม ถ้าเราตั้งจิตอธิษฐานแบบนี้เราก็จะสามารถรักษาศีลได้อย่างต่อเนื่องตลอดสาม เดือน โดยเฉพาะคนที่ติดอบายมุข ร่างกายถูกอบายมุข โดยเฉพาะสุรา ยาเสพติด หรือแม้แต่บุหรี่กัดกร่อนบั่นทอนทำ�ให้อายุสั้นลง เราควรรักร่างกายของเรา ดูแล ร่างกายของเราด้วยการละ เลิก อบายมุขเหล่านี้ สิ่งนี้จะเป็นของขวัญที่เราสามารถ จะมอบให้แก่ชีวิตเราได้ ส่วนคนที่รักษาศีล ๕ ได้อย่างต่อเนื่องแล้ว ก็ควรใช้เวลาช่วงนี้ ทำ�สิ่งดีๆ ให้มากกว่าเดิม บางคนรักษาศีล ๕ ได้ดีแล้วแต่ว่าติดอบายมุขแบบใหม่ เช่น ชอบ เที่ยวห้าง ติดเกมส์ออนไลน์ หรือติดกาแฟ หรือแม้กระทั่งติดนิสัยไม่ดีบางอย่าง เช่น ชอบนินทา ชอบบ่น ชอบจู้จี้ หลายคนก็รู้ว่ามันไม่ดี แต่ก็เลิกไม่ได้ ที่จริงเลิก ได้ถ้าตั้งใจ จึงควรใช้ช่วงเข้าพรรษานี้ตั้งจิตมุ่งมั่นว่า สามเดือนนี้ฉันจะเลิกให้ได้ หรือเกี่ยวข้องกับมันให้น้อยลง หลายคนติดเกมส์ หลายคนติดอินเตอร์เน็ต หลายคนติดละครโทรทัศน์ ติดละครเกาหลีจนไม่เป็นอันหลับอันนอน ไม่มีเวลาจะพักผ่อน ก็ควรตั้งจิตว่าใน พรรษานี้จะเลิกให้ได้ ใหม่ๆ อาจจะยาก แต่ว่าไม่นานก็จะทำ�ได้ และรู้สึกว่ามัน สบาย นอกจากการละเลิกสิ่งไม่ดีแล้ว บางคนอาจจะตั้งใจทำ�ความดีให้มาก ขึ้น เช่นตั้งใจว่าจะสมาทานมังสวิรัติ หรือถือศีล ๘ อันนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าอนุโมทนา เป็นการเสริมสร้างจิตใจให้เข้มแข็ง และเป็นการบำ�รุงสุขภาพด้วย มีหลายอย่างที่เราสามารถจะทำ�ได้ในช่วงเข้าพรรษาเพื่อทำ�ให้ชีวิตจิตใจ โปร่งเบา เช่น บางคนอาจจะตั้งจิตว่า ก่อนนอนทุกคืนตลอดพรรษานี้จะสวดมนต์ บางวันแม้จะเหนื่อย แม้จะกลับบ้านดึกก็จะไม่ทิ้งการสวดมนต์ แต่แทนที่จะสวด ยาว สวดสั้นก็ได้แต่ขอให้สวดอย่างที่ตั้งใจ บางคนอาจจะเลือกนั่งสมาธิก่อนนอน อย่างน้อยวันละ ๕ นาทีก็ยังดี หรือว่าถ้าสามารถทำ�เมื่อตื่นนอนได้ด้วยก็ยิ่งดี เราสามารถทำ�อะไรดีๆ ได้ตั้งหลายอย่างในช่วงเขาพรรษาตลอดสามเดือน นี้ ก็เพื่อให้เราได้เข้าใกล้ธรรมะมากขึ้น เป็นการเติมความสุขให้แก่จิตใจของเรา เปิดโอกาสให้ชีวิตของเรา ซึ่งปกติแล้วก็วุ่นวายกับภารกิจการงาน การทำ�มาหากิน หรือบางทีก็ถูกสิ่งยั่วยุดึงดูดกระตุ้นเร้าจิตใจจนกระทั่งหาความสงบไม่ได้ แต่ถ้า เราใช้โอกาสนี้สร้างสิ่งดีๆ ให้กับชีวิตของเราเอง เราก็จะพบกับความสงบมากขึ้น เราลองพิจารณาดูนะว่า ที่ผ่านมามีนิสัยอะไรบ้างที่ทำ�ความกังวล ทำ�ความหนักใจ ให้เรา ไม่ว่าจะเป็นการติดเที่ยว ติดสนุก ติดอบายมุข ติดสุรา หรือว่า ติดความ เข้าพรรษา เข้าหาธรรม พระไพศาล วิสาโล
  11. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana16 17 บันเทิงเริงรมย์ ในส่วนลึกของจิตใจเราก็รู้ว่ามันสร้างภาระให้แก่จิตใจ บางทีก็ บั่นทอนร่างกาย แต่เราก็ไม่มีกำ�ลังที่จะเลิก เราก็ต้องอาศัยช่วงโอกาสสำ�คัญ เช่น วันพระ หรือช่วงเข้าพรรษานี้แหละ สามเดือนเป็นโอกาสที่เราจะได้พักผ่อนทั้งกาย และใจได้ เรายังทำ�งานอยู่แต่เราไม่ใช้ร่างกายไปในทางที่บั่นทอน คือเพียงแต่เราไม่ ติดอบายมุข ไม่ว่าจะเป็นเหล้า การพนัน ความบันเทิงเริงรมย์ หรืออบายมุขแบบ ใหม่ เช่น เกมส์ออนไลน์ การเที่ยวห้าง ถ้าเราสามารถที่จะลด ละ หรือเลิกสิ่งเหล่า นี้ได้ เราจะพบกับความสบาย เราเสียเวลาไปกับสิ่งเหล่านี้มากมาย มันบั่นทอนทั้ง ร่างกาย และจิตใจและถ้าเราไม่รู้จักควบคุมมัน ต่อไปเราก็จะกลายเป็นทาสของ มัน ที่ประเทศเกาหลีใต้ มีผู้ชายคนหนึ่งติดเกมส์ออนไลน์มาก จนกระทั่งไม่ เป็นอันทำ�งาน สุดท้ายก็โดนไล่ออกจากงาน แทนที่จะเสียใจกลับดีใจว่าต่อไปนี้ ฉันจะได้เล่นเกมส์ออนไลน์โดยไม่ต้องห่วงเรื่องการเรื่องงาน ทันทีที่ถูกไล่ออก จากงาน เขาก็หมกมุ่นอยู่กับการเล่นเกมส์ออนไลน์ทั้งวันและทั้งคืนไม่ได้หลับ ไม่ได้นอน เขาติดมันมากจนถอนใจไม่ออก ปรากฏว่าเล่นเกมส์ออนไลน์ไป ๔๘ ชั่วโมงโดยไม่ได้หลับไม่ได้นอนเลย ในที่สุดก็หัวใจวาย ช็อคตายอยู่หน้าเครื่อง คอมพิวเตอร์ นี่เรียกว่าเป็นเพราะตกเป็นทาสของมัน ไปหลงคิดว่ามันเป็นสรณะ มีครอบครัวชาวเกาหลีใต้อีกครอบครัวหนึ่ง ถูกจับศาลลงโทษจำ�คุก ๓ ปี เพราะว่าทิ้งลูกอายุ ๓ เดือนให้อดอาหารตายเนื่องจากสามีภรรยาคู่นี้ติดเกมส์ ออนไลน์ ไปเล่นที่ร้านอินเตอร์เน็ตนอกบ้าน ซึ่งมีเครื่องเล่นดีกว่าที่บ้าน ติดเกมส์ จนกระทั่งนอกจากจะไม่เป็นอันทำ�งานแล้ว ยังไม่สนใจเลี้ยงดูลูกน้อย กว่าจะกลับ ถึงบ้านลูกก็หลับแล้ว ให้นมลูกเป็นครั้งเป็นคราว จนลูกขาดอาหารตายเพราะพ่อ แม่ไม่ใส่ใจ ที่น่าแปลกใจก็คือเกมส์ที่สามีภรรยาคู่นี้เล่นเป็นเกมส์ที่เกี่ยวกับการ ช่วยเหลือเด็กสาวที่กำ�ลังลำ�บาก สามีภรรยาคู่นี้ห่วงใยตัวละครในจินตนาการที่ กำ�ลังเดือดร้อน อยากช่วยเหลือเขา แต่กลับละเลยลูกสาวของตัวเอง เป็นเพราะ อะไร เพราะหลงอยู่ในอบายมุข ถ้าเราไม่รู้จักเป็นนายมัน มันก็จะมาเป็นนายของ เรา เราก็ตกเป็นทาสของมันจนกระทั่งเราเองก็แย่ สุขภาพก็ไม่ดี และทำ�ให้คนที่รัก ต้องมีอันเป็นไป นี่ คื อ โ ท ษ ของอบายมุข ไม่ ต้องพูดถึงเรื่อง สุราซึ่งเป็นที่รู้กัน ดีอยู่แล้ว นั่นเป็น อบายมุขแบบ เก่า อบายมุข แบบใหม่นั้นมีอยู่ มากมาย เพราะ ฉะนั้นในช่วงเข้าพรรษา อย่างหนึ่งที่เราควรใส่ใจคือการรักษาศีลให้ดี ศีลในข้อ นี้หมายถึงการมีพฤติกรรมที่ไม่เป็นโทษ รู้จักเสพหรือบริโภคสิ่งต่างๆ ที่ไม่เป็น อันตรายทั้งต่อกายและใจ โดยเฉพาะถ้าเราไม่ไปข้องแวะกับอบายมุขทั้งแบบเก่า และแบบใหม่ก็จะยิ่งดี มีศีลแล้วก็อย่าลืมทาน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เข้าพรรษานี้อาจจะตั้งใจว่า ทุกวันพระเราจะทำ�บุญ ไม่จำ�เป็นต้องทำ�บุญกับพระก็ได้ ทำ�บุญให้ทานเพื่อช่วย เหลือผู้ที่เดือดร้อนก็ได้ ตั้งใจจะทำ�อาทิตย์ละครั้งคือวันพระ ตลอดพรรษาหรือ ว่าการไปช่วยเหลือกิจการส่วนรวม เป็นจิตอาสาอาทิตย์ละครั้ง อาจจะเป็นช่วงวัน เสาร์อาทิตย์ก็ได้ ศีลก็ควรทำ� ทานก็ควรทำ� และที่ควรทำ�อีกอย่างก็คือภาวนา สวดมนต์ ทุกวัน ทำ�สมาธิภาวนาทุกวัน ก่อนนอนและหลังตื่นนอน ขณะเดียวกันก็พยายาม รักษาสติ มีสติทุกอิริยาบถในชีวิตประจำ�วันเท่าที่เราจะทำ�ได้ แต่ถ้าให้ดี ควรจัด เวลาให้กับการเจริญสติทุกวัน เช่น วันละครึ่งชั่วโมง นอกจากนี้ ถ้าเรามีนิสัยบางอย่างที่ไม่ดีเช่นชอบจู้จี้ขี้บ่นหรือเป็นคนช่าง โกรธ ก็ควรตั้งกติกาให้กับตัวเองในช่วงเข้าพรรษา เช่นตั้งใจว่า ในพรรษานี้ฉัน จะหยุดบ่น หยุดวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นสักสามเดือน หรือถ้าวิจารณ์ใครก็จะชม เขาด้วย อันนี้ก็เป็นการฝึกใจของเราด้วย เพราะคนที่จู้จี้ขี้บ่นมักมองเห็นแต่ข้อ บกพร่องหรือข้อผิดพลาดของคนอื่น ถ้าหากว่าเราเห็นแต่แง่นี้ เราก็จะทุกข์มาก เลย คนอื่นก็จะทุกข์ด้วย แต่ถ้าหัดมองในแง่บวกบ้าง เราก็จะเห็นว่าเขามีข้อดีที่
  12. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana18 19 ควรชมอย่างไร อันนี้ก็ช่วยทำ�ให้นิสัยจู้จี้ขี้บ่นลดลง และเราก็จะมองอะไรในแง่ บวกมากขึ้น คนเราถ้าเอาแต่ตำ�หนิ เอาแต่บ่น ชีวิตจะเป็นทุกข์มาก ความสัมพันธ์ กับผู้คนรอบข้างก็จะแย่ไปด้วย ส่วนบางคนก็เป็นคนขี้โกรธ ก็อาจจะตั้งกฎกติกาสำ�หรับตัวเองว่า วันหนึ่ง จะโกรธได้แค่ครั้งหรือสองครั้งอย่างมาก จริงอยู่คนเรามักจะห้ามความโกรธไม่ได้ ก็ควรจะตั้งกติกาให้กับตัวเองว่า จะโกรธได้วันละกี่ครั้ง หรือตั้งกติกาว่าจะไม่โกรธ เกลียดข้ามคืน โกรธวันไหนก็ให้จบลงในวันนั้น วันรุ่งขึ้นตื่นมาจิตใจก็จะแจ่มใส แช่มชื่นเบิกบาน บางคนเป็นคนนอนดึกตื่นสาย ก็อาจจะตั้งกติกาหรือตั้งอธิษฐานกับตัว เองว่า จะนอนให้เร็วขึ้น และจะตื่นก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ถ้าคนเราตื่นขึ้นมาได้เห็น แสงเงินแสงทอง ร่างกายและจิตใจจะกระชุ่มกระชวย หลายคนไม่เคยเห็นท้องฟ้า ในช่วงอรุณรุ่งว่างามอย่างไร ช่วงเข้าพรรษานี้เราควรให้โอกาสแก่ตัวเอง ตื่นขึ้นมา ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ก่อนที่นกจะทำ�มาหากิน เราก็จะได้เห็นแสงเงินแสงทอง มัน จะช่วยปลุกใจของเราให้สว่างไสวตามไปด้วย ช่วยให้มีชีวิตชีวาและกระตือรือร้น ในการทำ�สิ่งต่างๆ อีกมากมาย จะเห็นว่าในช่วงเข้าพรรษานี้ เราสามารถทำ�อะไรได้มากมาย ที่อาจจะรู้สึก ว่าทำ�ได้ยากในช่วงเวลาปกติ สมัยที่อาตมาเป็นฆราวาส อยากจะอ่านหนังสือเล่ม หนึ่งชื่อว่า “พุทธธรรม” ของพระเดชพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์ให้จบทั้งเล่ม แต่ก็ไม่ค่อยมั่นใจว่าจะทำ�ได้เพราะหนังสือเล่มนี้หนามากกว่าพันหน้า ไม่รู้จะเอา เวลาที่ไหนมาอ่าน แต่ว่าพอถึงวันเข้าพรรษาปีหนึ่งก็ตั้งใจว่าจะอ่านหนังสือเล่มนี้ ทุกวันวันละ ๑๐ หน้า จะต้องอ่านทุกวันไม่ว่าจะกลับบ้านดึกแค่ไหน บางวันไปต่าง จังหวัดหรือไปค้างที่อื่นก็ต้องอ่านตุนเอาไว้ จาก ๑๐ หน้าก็เป็น ๒๐ หน้า ปรากฏ ว่าไม่ทันถึงวันออกพรรษาก็อ่านได้จบ เกิดความรู้ เกิดความศรัทธาในพระพุทธ ศาสนามาก และรวมทั้งเกิดความมั่นใจในอานุภาพแห่งธรรมด้วย อันนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ทุกท่านสามารถทำ�ได้ในช่วงเข้าพรรษา เราไม่ จำ�เป็นต้องทำ�ตามประเพณี เช่นจำ�ศีลที่วัดก็ได้ เพราะว่าเดี๋ยวนี้หาโอกาสยาก แต่ เราสามารถทำ�บุญหรือทำ�ความดีที่บ้านได้ อย่าให้มีข้ออ้างว่าเราไปวัดไม่ได้ ก็เลย ทำ�บุญไม่ได้ อันนี้บางทีมันเป็นข้ออ้างของกิเลส กิเลสจะหาข้ออ้างอีกหลายอย่าง ที่ทำ�ให้เราไม่ทำ�ความดี แต่ช่วงเข้าพรรษานี้เป็นโอกาสที่เราจะเพิ่มพลังฝ่ายบวก ฝ่ายกุศลในใจของเรา จิตใจส่วนลึกของเราต้องการทำ�ความดี แต่ว่ามักพ่ายแพ้ต่อ กิเลสเพราะกิเลสมีข้ออ้างที่ดีๆ ทำ�ให้เราละทิ้งธรรมะ เข้าหาสิ่งที่ไม่เป็นกุศล แต่ ตอนนี้เป็นช่วงเข้าพรรษา ควรถือเป็นโอกาสให้กับธรรมะในใจเรา เป็นข้ออ้างให้ กับพลังฝ่ายดีใในการทำ�ความดี ก็ขอให้เราสนองตอบความปรารถนาของธรรมะ ในใจเรา เพื่อจะได้ทำ�ความดีให้มากขึ้น ในที่สุดเราจะได้รับความสุข ความโปร่ง โล่งแจ่มใสเบิกบานเป็นรางวัล รวมทั้งอาจทำ�ให้เราทำ�งานสำ�เร็จ ได้รับสิ่งต่างๆ ที่ ควรได้ แต่นั่นก็เป็นของแถมไม่ว่าจะเป็น เงินเดือน คำ�ยกย่อง หรือว่าชื่อเสียง สิ่ง เหล่านั้นเป็นรางวัลที่หาความแน่นอนไม่ได้ แต่ที่แน่ๆ คือ ใจเราจะเป็นสุข จิตใจ เราจะเป็นอิสระจากความทุกข์ ห่างไกลจากความเศร้าหมอง และเราก็จะขอบคุณ ตัวเองว่า เราตัดสินใจถูกต้องแล้วที่เข้าหาธรรมในช่วงเข้าพรรษา สุดท้ายนี้ก็ขอให้ทุกท่านมีความมั่นคง มั่นใจในการทำ�ความดี ไม่ว่าเป็น ทาน ศีล ภาวนา ในช่วงเข้าพรรษานี้ เลือกทำ�ดีไม่กี่อย่างก็พอ แต่ขอให้ทำ�ทุกวัน ดีกว่าอยากจะทำ�หลายอย่างแต่ว่าไม่ได้ทำ�อย่างต่อเนื่อง ขอให้ตั้งใจว่าจะทำ�ทุกวัน ตลอดเข้าพรรษา อาตมาเชื่อแน่ว่า ทุกท่านจะได้รับอานิสงส์แห่งบุญนี้ ไม่ใช่แค่ ตลอดในพรรษา แต่อาจจะมีอานิสงส์ไปจนตลอดชีวิตเลยก็ได้ ร่วมงานวิสาขบูชาที่วัดศรีลังกา - Join Vesak Ceremony at Sri Lanka Temple
  13. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana21 วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๕๕ : พระวิเทศวิสุทธิคุณเมตตาเยี่ยมวัด พระวิเทศวิสุทธิคุณ เลขาธิการสมัชชาสงฆ์ไทยฯ รูปที่ ๓ เจ้า อาวาสวัดปากน้ำ�อเมริกา แวะมาเยี่ยมให้กำ�ลังใจพระธรรมทูตที่อยู่ปฏิบัติ ศาสนกิจ ณ วัดป่าธรรมรัตน์ และร่วมทำ�บุญกับทางวัดด้วย ขอกราบ ขอบพระคุณและอนุโมทนามา ณ โอกาสนี้ วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๕ : ทำ�บุญประเพณีสงกรานต์ วัดป่าธรรมรัตน์จัดทำ�บุญประเพณีสงกรานต์ โดยจัดให้มีการ ทำ�บุญตักบาตร บังสุกุลให้กับบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว พร้อมกันนี้ยัง นิมนต์พระธรรมทูตชาวศรีลังกา ๒ รูป มาร่วมงานและแสดงธรรมใน โอกาสนี้ด้วย หลังจากนั้นได้มีการสรงน้ำ�พระพุทธรูป สรงน้ำ�พระ และ ผู้ใหญ่ประจำ�เมืองพิทส์เบิร์กด้วย มีญาติโยมมาร่วมงานกว่า ๕๐ ท่าน เนื่องจากตรงกับเทศกาล Easter ของชาวอเมริกัน ขออนุโมทนา วันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๕ : ร่วมทำ�บุญงานประเพณีสงกรานต์วัดไทยกรุง วอชิงตัน,ดี.ชี. คณะสงฆ์และญาติโยมวัดป่าธรรมรัตน์บางกลุ่มเดินทางไปช่วย เตรียมงานทำ�บุญวันสงกรานต์ก่อนวันงาน ๔-๕ วัน และบางกลุ่มเดินทาง ไปร่วมทำ�บุญในวันจริง เพื่อร่วมทำ�บุญตามประเพณี และแสดงออกถึง ความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ คือ พระเดชพระคุณพระวิเทศธรรม รังสี(หลวงตาชี)องค์อุปถัมภ์วัดป่าธรรมรัตน์ วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๕ : เจริญพระพุทธมนต์-ทำ�บุญบ้าน คุณโยมจิม-คุณแหม่ม-เมย์ ครอบครัวเบอร์มิ่งแฮม นิมนต์พระ สงฆ์วัดป่าธรรมรัตน์เจริญพระพุทธมนต์-ฉันภัตตาหารเพล-กล่าวธรรมี กถา ขออนุโมทนาในกุศลเจตนา วันที่ ๘ - ๒๐ พ.ค.๒๕๕๕ : ปริวาสกรรม พระอาจารย์สุริยา เตชวโร พระธรรมทูตวัดป่าธรรมรัตน์ เดินทาง ไปปฏิบัติศาสนกิจที่วัดพระมหาชนก มลรัฐจอร์เจีย เพื่อช่วยงานปริวาส กรรม การประพฤติวุฎฐานวิธี ซึ่งทางสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา และวัดพระมหาชนกร่วมกันจัดขึ้นเป็นปีที่ ๒ ติดต่อกันแล้ว มีพระธรรม ทูต และญาติโยมเข้าร่วมปฏิบัติธรรม-ทำ�บุญเป็นจำ�นวนมาก วันที่ ๒๐ พ.ค.๒๕๕๕ : ชาวพุทธนานาชาติร่วมกันจัดวิสาขะนานาชาติ วัดป่าธรรมรัตน์ และชาวพุทธนานาชาติในเมืองพิทส์เบิร์กร่วมกัน จัดงานฉลองวิสาขบูชานานาชาติ ที่ Allegheny Unitarian Universalist Church ซึ่งปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ ๔ และวัดป่าธรรมรัตน์ของเราร่วมงานนี้ สรุปข่าว เดือนเมษายน-พฤษภาคม-มิถุนายน
  14. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana22 23 เป็นครั้งแรก มีชาวพุทธในเมืองพิทส์เบิร์กมาร่วมงานเกือบ ๒๐๐ คน งานเริ่มตั้งแต่เวลา ๑๕.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. โดยเริ่มด้วยการสวดมนต์ของชาว พุทธกลุ่มต่างๆ การบรรยายธรรม ตบท้ายด้วยการรวมกลุ่มเดินธรรม ยาตราไปที่ริมแม่น้ำ�ในเมืองพิทส์เบิร์ก และร่วมกันอธิษฐานจิตเทน้ำ�มนต์ ศักดิ์สิทธิ์ลงในแม่น้ำ� เพื่อสันติสุขแก่มวลมนุษยชาติ วันที่ ๑-๔ พ.ค.๒๕๕๕ : บรรยายธรรมที่วิทยาลัยคล๊าก มลรัฐวอชิงตัน วิทยาลัยคล๊าก มลรัฐวอชิงตัน นิมนต์พระมหาปิยะ อุตฺตมปญฺโญ พระธรรมทูตวัดป่าธรรมรัตน์ไปบรรยายเรื่องสติและสมาธิให้กับ นักศึกษาและบุคคลทั่วไปผู้มีความสนใจฟัง ซึ่งมีนักศึกษาและผู้สนใจ เข้าร่วมฟังเกือบ ๑๐๐ คน วันที่ ๕-๙ พ.ค. ๒๕๕๕ : ร่วมประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา พระมหาปิยะ อุตฺตมปญฺโญ พระธรรมทูตวัดป่าธรรมรัตน์เดิน ทางเข้าร่วมประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาสมัยสามัญครั้งที่ ๓๖ ณ วัดไทยลอสแองเจลิส แคลิฟอร์เนีย มีพระธรรมทูตจากรัฐต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา และพระธรรมทูตจากประเทศไทย ทวีปยุโรป เข้าร่วม ประชุมกว่า ๒๕๐ รูป ในงานนี้ยังมีการทำ�บุญอายุวัฒนมงคล ๘๐ ปีพระ เดชพระคุณพระราชธรรมวิเทศ รองประธานสมัชชาสงฆ์ไทยฯ รูปที่ ๑ และงานฉลองครบรอบ ๔๐ ปีวัดไทยลอสแองเจลิส วัดไทยแห่งแรกใน ประเทศสหรัฐอเมริกา วันที่ ๑๐ พ.ค.๒๕๕๕ : ทำ�บุญอายุวัฒนมงคล ๘๗ ปีพระเดชพระคุณพระ วิเทศธรรมรังษี(หลวงตาชี) คณะสงฆ์และศิษยานุศิษย์ เมืองพิทส์เบิร์ก เดินทางไปร่วมทำ�บุญ อายุวัฒนมงคล ๘๗ ปี และถวายสักการะพระเดชพระคุณพระวิเทศธร รมรังษี(หลวงตาชี) มีคณะศิษยานุศิษย์จากที่ต่างๆ เดินทางมาร่วมงานกัน อย่างคับคั่ง ในวโรกาสนี้ทางวัดได้นิมนต์พระเดชพระคุณพระธรรมโกศ าจาย์ กรรมการมหาเถรสมาคม อธิการบดีมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นองค์แสดงพระธรรมเทศนา เรื่อง “สังฆโสภณกถา” วันที่ ๑๔ - ๒๙ พ.ค. ๒๕๕๕ : ร่วมประชุมสมัยสามัญพระธรรมทูตไทย ในทวีปยุโรป พระมหาปิยะ อุตฺตมปญฺโญร่วมเดินทางไปประชุมสหภาพพระ ธรรมทูตไทยในทวีปยุโรปกับคณะของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา โดยการนำ�ของ พระราชธรรมวิเทศ รองประธานสมัชชาสงฆ์ไทยฯ รูปที่ ๑ เจ้าอาวาสวัดไทยลอสแองเจลิสและพระมหาดร.ถนัดอตฺถจารีเลขาธิการ สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา มีพระธรรมทูต ๕ รูป และญาติโยม ๕ ท่านเป็นผู้ติดตาม รวมทั้งหมด ๑๒ รูป/คน การประชุมสหภาพพระธรรม ทูตไทยในทวีปยุโรปจัดขึ้นที่วัดพุทธาราม ประเทศสวีเดน โดยมีพระ ธรรมทูตในทวีปยุโรป สหรัฐอเมริกา ประเทศไทยเข้าร่วมประชุมปรึกษา หารือแลกเปลี่ยนถึงปัญหาอุปสรรคในการทำ�งาน เพื่อหาทางแก้ไขร่วม กันต่อไป
  15. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana24 25 เพื่อน ๆ คนไหนอยากจะปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต เพื่อให้ สุขภาพดียิ่งขึ้น ลองมาติดตาม 8 นิสัยการใช้ชีวิตแบบง่าย ๆ ที่ เว็บไซต์ zenhabits.net นำ�มาลงไว้ อ่านแล้วจะรู้ว่า มันไม่ได้ยาก อย่างที่คิดเลยนะจ๊ะ 1.เลิกบุหรี่ ตัวการสำ�คัญที่สุดต่อสุขภาพ เพราะบุหรี่แทบจะ เป็นตัวการของหลาย ๆ สาเหตุของการเสียชีวิตก็ว่าได้ นั่นก็เพราะ ทุกครั้งที่ดูดเข้าไป มันคือการทำ�ลายร่างกายอย่างช้า ๆ และยัง เป็นนิสัยที่ยากเกินจะเปลี่ยนอีกด้วย 2.ลดน้ำ�หนัก สิ่งที่จะทำ�ให้เราลดน้ำ�หนักได้ดีที่สุด คือกินให้ น้อยลง หรือเลือกกินอาหารที่ไม่มีแคลอรี่มากเกินไป เช่น ผลไม้ และผัก การมีน้ำ�หนักตัวมากเกินไปนั้นเป็นปัจจัยก่อให้เกิดโรคภัย มากมาย ซึ่งมีความเสี่ยงรองลงมาจากการสูบบุหรี่ 3.การออกกำ�ลังกาย คนที่ไม่ชอบออกกำ�ลังกายทั้งหลาย รู้ไว้เถอะว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ, เส้นเลือดอุดตัน, มะเร็งลำ�ไส้ และมะเร็งลำ�ไส้ตรง, โรคเบาหวาน, มะเร็งเต้านม, ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง รู้ไว้เถิดว่าออกกำ�ลังกาย เล็กน้อยเพียงวันละ 5 นาทีเท่านั้น!! เป็นยาวิเศษที่ไม่ต้องเสียเงิน สักบาท ใครก็ทำ�ได้ 4.ดื่มแบบเบา ๆ ดื่มวันละนิดหน่อยก็พอ ให้เลือดหมุนเวียน ได้คล่องก็โอเค แต่อย่าจัดหนักบ่อย ๆ ถ้าไม่อยากให้ตับที่อ่อนนุ่ม กลายเป็นตับแข็งและอาจจะนำ�พาโรคอื่น ๆ ตามมาด้วย หนุ่ม ๆ วันละ 2 แก้ว, ส่วนสาว ๆ วันละ 1 แก้ว กำ�ลังดี เช่น ไวน์แดง จิบให้ ชื่นใจสักหน่อยก็เพียงพอแล้ว 5.หลีกเลี่ยงเนื้อแดงและเนื้อที่ผ่านการปรุงแล้ว ผู้ โปรดปรานเนื้อแดง เนื้อปรุงสำ�เร็จทั้งหลาย เช่น ไส้กรอก, เบคอน, เนื้อกระป๋อง ก็โปรดระวังเพราะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งลำ�ไส้และ สุขภาพดี๊ดี...ด้วย 8 วิธีแสนง่าย เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
  16. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana26 27 มะเร็งลำ�ไส้ตรง, มะเร็งกระเพาะ และไขมันในเลือดสูง และอาจจะ ทำ�ให้เป็นเส้นเลือดหัวใจตีบและเส้นเลือดอุดตัน ควรจะหันมากิน มังสวิรัติบ้างก็ดีนะจ๊ะ 6.ผลไม้และผัก อาหารเพื่อสุขภาพที่มีคุณประโยชน์อันเหลือ เชื่อ (แต่น้อยคนนักที่ชอบกิน) คือการกินผัก,ผลไม้นั้นสามารถช่วย ลดความเสี่ยงจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ได้ อาหารอย่างสลัดก็เป็น ที่ชื่นชอบของสาว ๆ ที่ต้องการลดน้ำ�หนัก (แต่ไม่ควรจะใส่น้ำ�สลัด หรือส่วนผสมหนัก ๆ เช่น เบคอนหรือเนื้อต่าง ๆ, ขนมปังกรอบ หรือชีส) ควรเพิ่มผักลงในซุป หรือปรุงอาหารโดยใช้ผักเป็นเครื่อง เคียงสำ�หรับมื้อกลางวันหรือมื้อค่ำ� ส่วนผลไม้ก็กินตอนเช้าหรือ เป็นของว่างเบา ๆ เก๋ ๆ เพื่อสุขภาพได้อีกต่างหาก เริ่ด! 7.ลดเกลือและอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัว/ไขมันไม่อิ่มตัว อาหารปรุงสำ�เร็จมักปรุงด้วยเกลือและกรดไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่ม ตัว รู้ไหมว่าอาหารที่มีส่วนผสมของสิ่งเหล่านี้เยอะ ทำ�ให้มีโอกาส ที่จะเป็นความดันโลหิตสูงและไขมันสูง จากนั้นจะนำ�ไปสู่โรคหัวใจ และเส้นเลือดอุดตัน ดังนั้นเราขอแนะนำ�ให้ทำ�อาหารกินเอง แทนที่ จะออกไปกินนอกบ้านหรือซื้ออาหารสำ�เร็จรูป เพราะเราสามารถ ควบคุมปริมาณเครื่องปรุงและส่วนผสมเองได้ 8.อย่าเครียดมาก จะเครียดไปทำ�ไมกันจ๊ะ รู้ไหมว่ามันก่อ ให้เกิดโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง ทั้งยังมีปัจจัยทำ�ให้เป็น เส้นเลือดอุดตัน ทำ�วันทำ�งานของคุณให้เป็นเรื่องง่าย จะได้ไม่ เครียดเกินไปและการออกกำ�ลังกายก็สามารถขจัดความเครียดทิ้ง ไปด้วยนะ สำ�หรับบางคนอาจจะมองว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงมากเกิน ไป จึงคิดว่าไม่มีทางทำ�ได้ แต่ของแบบนี้ต้องใช้เวลาและค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป เช่น เลือกเปลี่ยนพฤติกรรมทีละอย่าง ไม่ต้องทำ� ทั้งหมดในเวลาเดียวกัน รวมทั้งคิดวิธีการเปลี่ยนนิสัยในเชิงบวก และมีความสุขกับมัน เริ่มจากทีละน้อยเท่าที่ทำ�ได้ ไม่ต้องฝืน และ หาเพื่อนหรือทำ�กันเป็นกลุ่ม จะได้รู้สึกว่ามีเพื่อนได้ทำ�กิจกรรมร่วม กัน ถือเป็นการสร้างมิตรภาพใหม่ ๆ ขึ้นมาอีกด้วยค่ะ หลังจากได้อ่านบทความนี้แล้ว อยากให้เพื่อน ๆ ลองทำ� ดู ซึ่งก็ไม่ยากอย่างที่คิด ตอนนี้คนหันมาให้ความสนใจกับสุขภาพ มากขึ้น เราก็ต้องอินเทรนด์ตามยุคสมัยไปด้วยนะจ๊ะ ทำ�แล้วได้ผล ยังไงก็มาเล่าให้พวกเราชาวกระปุกฟังกันด้วยค่ะ ร่วมประชุมสมัยสามัญสหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป และเยี่ยมชมกิจกรรม วัดไทยในทวีปยุโรประหว่างวันที่ ๑๕ - ๒๙ มิ.ย.๒๕๕๕
  17. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana28 29 รายรับ ประจำ�เดือนเมษายน ปี ๒๕๕๕ Pittsburgh Thai Restaurant $ 260.00 นายณัฏฐพงศ์ จันทร์อยู่ $ 50.00 คุณอุษา จิรเชิดชูวงศ์ $ 100.00 คุณอนุสรณ์-พรพิไล อัศวโกวิท $ 100.00 Manus Sand(ทำ�บุญค่าน้ำ�-ไฟ) $ 50.00 Manus Sand(ประกันสุขภาพ) $ 100.00 คุณพนิดา วงคำ�(ค่าน้ำ�-ไฟ) $ 50.00 Aurelia Freve $ 100.00 พระวิเทศวิสุทธิคุณ วัดปากน้ำ�อเมริกา $ 350.00 Chockchai Hansupichon $ 25.00 น.ส.ภัทริน บุญสวัสดิ์ และครอบครัว $ 40.00 Andrew Perlman $ 10.00 Urai Tasit $ 100.00 Nakorn Apakupakul $ 100.00 Saard Sanpaarsa $ 40.00 วัชราภรณ์ น้ำ�ใส $ 50.00 Thai Me Up Restaurant $ 100.00 Ann Stewart $ 30.00 นิตยา เงินลา $ 30.00 Kim Hong $ 20.00 Preet Singh $ 20.00 Somsong Fox $ 50.00 อุไร น้ำ�ใส $ 20.00 Thai Gourmet $ 300.0 Pusadee Thongdee $ 300.00 Yem Family $ 30.00 Hokseng Hong, Hanteny Ngo $ 40.00 Sam Family $ 30.00 Thai Spoon $ 100.00 Sommai Nareedokmai $ 200.00 Gilbert & Pratin Trujillo $ 50.00 Prasarn Manakul(ประกันสุขภาพ) $ 148.00 Benjamard Best $ 100.00 Samornrat Kiefaber $ 25.00 Sompong Bray $ 30.00 วนิดา สุนทรพิทักษ์ $ 40.00 โยมสะ ภวะเวช(ซื้อที่ดินถวายวัด) $ 100.00 คุณประนอม จาบกุล $ 100.00 Nalinrat Thananopjirakul, Willy Brun $ 50.00 น.ส.กนกนุช อมรวงศ์ $ 20.00 Jim & Mam Birmingham $ 50.00 Phoc & Vilawan Vong $ 100.00 คุณพนิดา วงคำ� $ 30.00 รวม $ 3,638.00
  18. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana30 31 รายรับ ประจำ�เดือนพฤษภาคม ปี ๒๕๕๕ คุณพนิดา วงคำ� $ 30.00 คุณเกษม วงค์ษา $ 20.00 Bunlu Mennell $ 18.00 อุไร ตะสิทธิ์ $ 40.00 Kim Van $ 20.00 บุญนำ� รักกิจ, Wanpen Bruner $ 40.00 น้องแบล, น้องโบว์ $ 10.00 ทรงเกียรติ์ อาวะศรี, Jenn Richardson $ 20.00 Manus Sands $ 50.00 Manus Sands(Health Insurance) $ 100.00 Somsong Fox $ 50.00 Xim Phire $ 20.00 นพ.สหัสชัย มุสิกะภุมมะ $ 20.00 Tae Su & Suwattana Miller(อุทิศให้ Mr.Robert) $ 500.00 บุษบา ทองดี(ค่าน้ำ�-ค่าไฟ) $ 200.00 นายทรงพล-ชัญญาพร-กนกนุช-สงกาน อมรวงศ์(ซื้อที่ดิน)$ 40.00 น.ส.กนกนุช อมรวงศ์(ค่าน้ำ�-ค่าไฟ) $ 19.00 Pavida Jaisamer $ 20.00 Som Glass $ 25.00 สิริชัย จิระเชิดชูวงศ์, เพ็ญศิริ มณเฑียร $ 40.00 ทองสุข พรโสภณ $ 40.00 สุเทพ-ธมนวรรณ สุริยา $ 30.00 วิลาวรรณ์ อนัน-หว่อง(ซื้อที่ดิน) $ 200.00 Usa Jirachertchoowong(ค่าน้ำ�-ไฟ) $ 100.00 Thai Spoon $ 100.00 Moo & Peter Michael $ 50.00 อุไร ตะสิทธิ์(ซื้อแอร์ถวายวัด) $ 209.00 Dennis Ondek $ 100.00 รวม $ 2,111.00 รายรับ ประจำ�เดือนมิถุนายน ปี ๒๕๕๕ Orion Smart $ 24.00 สะ ภวะเวช(ทำ�บุญซื้อที่ดินถวายวัด) $ 100.00 สะ ภวะเวช(ทำ�บุญประกันสุขภาพพระ) $ 50.00 สะ ภวะเวช(ทำ�บุญค่าน้ำ�-ค่าไฟ) $ 20.00 สมทรง Fox(ทำ�บุญซื้อที่ดินถวายวัด) $ 50.00 Thongme Schaedler $ 70.00 วิลาวรรณ อนัน-วอง(ทำ�บุญประกันสุขภาพพระ) $ 100.00 Manus Sand(ทำ�บุญประกันสุขภาพพระ) $ 100.00 Manus Sand (ทำ�บุญค่าน้ำ�-ค่าไฟ) $ 50.00 Juntima Jirachertchoowong $ 50.00 รายจ่าย เดือนเมษายน ปี 2555 04/03/2012 Ticket for retreat in Georgia $ 295.59 04/17/2012 Guardian Protection Services $ 31.95 04/24/2012 Aetna Monk Health Insurance $ 148.00 04/24/2012 Aetna Monk Health Insurance $ 133.00
  19. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana32 33 04/05/2012 Duquesne Light $ 53.65 04/09/2012 Restroom for Happy New Year Ceremony $ 256.80 04/12/2012 Peoples Natural Gas $ 284.00 04/17/2012 PWSA water service $ 65.27 04/18/2012 Verizon Wireless $ 74.52 รายจ่าย เดือนพฤษภาคม 2555 05/12/2012 Erie Insurance $ 97.00* 05/18/2012 Guardian Protection $ 31.95* 05/26/2012 Aetna Health Insurance $ 148.00* 05/26/2012 Aetna Health Insurance $ 133.00* 05/09/2012 PWSA Water $ 92.05 05/09/2012 Peoples Natural Gas $ 44.75 05/15/2012 Verizon $ 75.00 05/23/2012 Duquesne Light $ 63.82 รวม $ 685.57 หมายเหตุ...* ทางวัดเขียนเช็คจ่าย นอกจากนั้นญาติโยมเป็นเจ้าภาพจ่าย รายจ่าย เดือนมิถุนายน ปี 2555 06/01/2012 ทำ�บุญอายุวัฒนมงคลพระวิเทศธรรมรังษี $ 500.00 06/01/2012 ทำ�บุญวัดไทยกรุงวอชิงตันดีชี $ 500.00 06/14/2012 Non-Profit Organization fee $ 850.00 06/14/2012 ค่าตั๋วพระธรรมทูตเดินทางจากประเทศไทย $ 1991.20 06/23/2012 Guardian Protection $ 31.95 06/20/2012 Aetna Insurance $ 148.00 06/20/2012 Aetna Insurance $ 133.00 06/12/2012 Verizon $ 120.00 06/12/2012 Peoples Natural Gas $ 101.00 06/12/2012 PWSA Water $ 92.05 หมายเหตุ...* ทางวัดเขียนเช็คจ่าย นอกจากนั้นญาติโยมเป็นเจ้าภาพจ่าย
  20. ธรรมรัตน์ Dhammaratana ธรรมรัตน์ Dhammaratana34 35 รายนามผู้บริจาคทำ�บุญ Non-Profit Organization License Phoc & Vilavan Vong $ 200.00 Pranom Jabkul $ 100.00 Somsong Fox $ 100.00 Manus Sand $ 100.00 จำ�ลอง แม็คคาซี่ $ 100.00 อรพรรณ วิทยปรีชาอนันต์ $ 20.00 Preet $ 20.00 Jeeraporn Chaisri(Thai me up) $ 50.00 Smiling Banana Leaf $ 100.00 Rattanaporn Namsai $ 20.00 Somsak Namsai $ 20.00 วิเชียร น้ำ�ใส $ 20.00 ความหนักอกหนักใจ เหนื่อยใจในชีวิตของเราทั่วๆ ไป อีกประการหนึ่งก็ คือ การคิดในเรื่องเก่าๆ ที่ผ่านมา ไม่ใช่ว่าจะห้ามเสียเลย หามิได้ คิดได้ แต่ว่า ต้องคิด ด้วยปัญญา รื้อมันด้วยปัญญา สร้างขึ้นด้วยปัญญาตลอดเวลา อย่างนั้น สิ่งนั้นจะเป็นประโยชน ไม่เป็นความเสียหายในการที่เราจะคิด เพราะเอามาศึกษาค้นคว้าในเรื่องอย่างนั้น ว่าสิ่งนี้มันเกิดขึ้นอย่างไร ตั้ง อยู่ เปลี่ยนแปลงไปในสภาพอย่างไร เราจะได้จดจำ�ไว้เป็นบทเรียนสำ�หรับชีวิตของ เราต่อไป คิดแบบวิเคราะห์วิจัยอย่างนี้ไม่เสียหาย แต่ว่าโดยมากหาได้คิดในรูปนั้น ไม่ เอามาคิดในรูป ที่มันจะสร้างปัญหา คือ ความทุกข์ความเดือดร้อนแก่ตนทั้งนั้น คือ คิดด้วยความโง่เขลา ไม่ได้คิดด้วยปัญญา ในเรื่องอะไรต่างๆ เรื่องบางเรื่องมัน ผ่านพ้นไปตั้งนาน แล้ว แต่เราก็เอามาคิด พอคิดแล้วก็เกิดความไม่สบาย ใจเป็น ทุกข์ขึ้นมาก็เพราะเรื่องอย่างนั้น บางคนถึงกับว่าน้ำ�ตาไหล ถามว่าทำ�ไมจึงน้ำ�ตาไหล แหมคิดถึงเรื่องเก่า แล้วฉันเศร้าใจเหลือเกิน... ก็มันเรื่อง อะไรที่ไปคิดให้เศร้าใจ อยู่ดีๆ ไม่ว่า ไปหา เรื่องให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อน ที่คนโบราณเขาว่า เอามือไป ซุกหีบ มือมัน อยู่ดีๆ ไม่ชอบ เอาเข้าไปซุกในหีบ แล้วก็ปิดฝาหีบลงไปโดนมือเจ็บปวดไปเปล่าๆ นี่มันไม่ได้เรื่องอะไร ทำ�ไมจึงชอบคิดในเรื่องอย่างนั้น เรื่องเก่าๆ ที่ผ่านมาไม่ชอบ ปล่อยชอบวาง ไม่ชอบทิ้งเรื่องนั้นออกไปเสีย อย่าจม !! อยู่กับอดีต หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ