Ce diaporama a bien été signalé.
Le téléchargement de votre SlideShare est en cours. ×

โอวาทพระอาจารย์

Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité

Consultez-les par la suite

1 sur 25 Publicité

โอวาทพระอาจารย์

Télécharger pour lire hors ligne

Publicité
Publicité

Plus De Contenu Connexe

Diaporamas pour vous (16)

Les utilisateurs ont également aimé (18)

Publicité

Similaire à โอวาทพระอาจารย์ (20)

Publicité

โอวาทพระอาจารย์

  1. 1. Reference : http://www.baanjomyut.com
  2. 2. <ul><li>หลวงพ่อพุธ ฐานิโย </li></ul><ul><li>ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต </li></ul><ul><li>หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล </li></ul><ul><li>หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ </li></ul><ul><li>หลวงปู่ดุลย์ อตุโล </li></ul><ul><li>หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี </li></ul><ul><li>หลวงปู่ชอบ ฐานสโม </li></ul><ul><li>พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ </li></ul><ul><li>หลวงปู่ฝั้น อาจาโร </li></ul><ul><li>หลวงปู่แหวน สุจิณโณ </li></ul><ul><li>หลวงปู่สิม พุทธาจาโร </li></ul><ul><li>ท่านพ่อลี ธัมมธโร </li></ul><ul><li>หลวงปู่ขาว อนาลโย </li></ul><ul><li>หลวงปู่หลุย จันทสาโร </li></ul><ul><li>หลวงปู่คำดี ปภาโส </li></ul><ul><li>หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ </li></ul><ul><li>หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน </li></ul><ul><li>พระอาจารย์วัน อุตตโม </li></ul><ul><li>พระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ </li></ul><ul><li>พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร </li></ul><ul><li>หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต </li></ul><ul><li>หลวงปู่หล้า เขมปัตโต </li></ul><ul><li>หลวงปู่สี มหาวีโร </li></ul>
  3. 3. <ul><li>                      การปฎิบัติ สำคัญที่การรวมจิตเป็นใหญ่ เพราะพื้นฐานแห่งความดี ความชั่วย่อมเกิดที่จิต ถ้าจิตตัวนี้ปราศจากสติ เป็นเครื่องคุ้มครองหรือประคับประคองเมื่อใด เมื่อนั้นดวงจิตดวงนี้ก็จะต้องมีความเผลอไป นึกสร้างบาปกรรมใส่ตัวเลย เพราะฉะนั้นการอบรมจิตให้มีสติ จึงเป็นสิ่งจำเป็น ความทุกข์ทั้งหลายเกิดจากกิเลส โลภะ ราคะ โทสะ โมหะ ถ้าต้องการมีความสุข ต้องกำจัดกิเลสของตน กิเลสในใจตนเอง ไม่ใช่ไปตั้งหน้ากำจัดคนอื่น . </li></ul>Home
  4. 4. <ul><li>                  คนเราเมื่อมีลาภก็เสื่อมลาภ เมื่อมียศก็เสื่อมยศ เมื่อมีสุขก็มีทุกข์ เมื่อมีสรรเสริญก็มีนินทา เป็นของคู่กันมาเช่นนี้ จะไปถืออะไรกับปากมนุษย์ ถึงจะดีแสนดีก็มีที่ติ ถึงจะชั่วแสนชั่วมันก็ชม นับประสาอะไร พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐเลิศดีกว่ามนุษย์และเทวดา ยังมีมารผจญ ยังมีคนนินทาติเตียน ปุถุชนอย่างเราจะหลุดพ้นจากโลกะธรรมดังกล่าวแล้วไม่ได้ ต้องคิดเสียว่าเขาจะติก็ช่าง จะชมก็ช่าง เราไม่ได้ทำอะไรให้เขาเดือดเนื้อร้อนใจ ก่อนที่เราจะทำอะไรเราคิดแล้วว่า ไม่เดือดร้อนแก่ตัวเราแลคนอื่น เราจึงทำ เขาจะนินทาว่าร้ายอย่างไรก็ช่างเขา บุญเราทำกรรมเราไม่สร้าง พยายามสงบกาย สงบวาจา สงบใจ จะต้องไปกังวลกลัวใครติเตียนทำไม ไม่เห็นมีประโยชน์ เปลืองความคิดเปล่าๆ . </li></ul>Home
  5. 5. <ul><li>                     ธรรมะมีอยู่ในกาย เพราะกายมีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย ท่านได้เสียสละเช่น ความสุจอันเป็นไปด้วยราชสมบัตินั้น พระองค์ท่านผู้มีคนยกย่องสรรเสริญ คอยปฎิบัติวัฎฐาก แล้วได้เสียสละมานอนกับดินกินกับหญ้า ใต้โคนต้นไม้ ถึงกับอดอาหารเป็นต้น การเสียสละเหล่านี้เพื่อประโยชน์อะไร ก็เพื่อให้ได้ถึงซึ่งวิโมกขธรรม คือ ธรรมะ เป็นเครื่องพ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย และเมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ ก็ทรงนั่งสมาธิใต้ร่มไม้ อันเป็นสถานที่เงียบสงัด และได้ทรงพิจารณาถึงความจริง คือ อริยะสัจ 4 นี้ เป็นมูลเหตุอันเป็นเบื้องต้นของพระพุทธเจ้า . </li></ul>Home
  6. 6. <ul><li>                     สิ่งที่ล่วงไปแล้วไม่ควรไปทำความผูกพัน เพราะเป็นสิ่งที่ล่วงไปแล้วอย่างแท้จริง แม้ทำความผูกพันและมั่นใจในสิ่งนั้น กลับมาปัจจุบันก็เป็นไปไม่ได้ ผู้ทำความสำคัญมั่นหมายนั้นเป็นทุกข์แต่ผู้เดียว โดยไม่มีความสมหวังตลอดไป อนาคตที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดเหนี่ยวเช่นกัน อดีตควรปล่อยไว้ตามอดีต อนาคตควรปล่อยไว้ตามกาลของมัน ปัจจุบันเท่านั้นที่สำเร็จเป็นประโยชน์ได้ เพราะอยู่ในฐานะที่ทำได้ไม่สุดวิสัย . </li></ul>Home
  7. 7. <ul><li>                       แม้จะจบพระไตรปิฎกหมดแล้ว จำพระธรรมได้มากมายมีคนเคารพมาก ทำการก่อสร้างวัตถุได้มากมาย หรือสามารถอธิบายได้ถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้อย่างละเอียดแค่ไหนก็ตาม ถ้ายังประมาทอยู่ก็ยังว่าไม่ได้รสชาดของพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นของภายนอกเท่านั้น เมื่อพูดถึงประโยชน์ก็ประโยชน์ภายนอก คือเป็นไปเพื่อสงเคราะห์สังคม เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น เพื่ออนุชนรุ่นหลัง หรือเพื่อสัญญลักษณ์ของพระศาสนวัตถุ ส่วนประโยชน์ของตนที่แท้นั้นก็คือ ความพ้นทุกข์ จะพ้นทุกข์ได้ก็ต่อเมื่อรู้จิตหนึ่ง - จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย - ผลอันเกิดจากจืตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์ - จิตเห็นจิต เป็นมรรค - ผลอันเกิดจากจิตที่เห็น เป็นนิโรธ </li></ul>Home
  8. 8. <ul><li>                       ใจ คือผู้ที่อยู่เฉยๆ และรู้ตัวว่าเฉย ไม่คิด ไม่นึก อันนั้นแหละเรียกว่าใจ                        จิต คือผู้ที่คิดนึก มันคิด มันนึก มันปรุง มันแต่ง สัญญา อารมณ์ทั้งปวงหมด อันนั้นเรียกว่าจิต                        เรื่องเรียนพระพุทธศาสนา ไม่ต้องเรียนอื่นไกล เรียนเข้ามาหาใจเสียก่อนแล้วหมดเรื่องพระพุทธเจ้าทรงสอนสาวกทั้งหลาย ก็สอนถึงใจทั้งนั้น ถึงที่สุดก็คือใจ เรียกว่า พระศาสดาสอนถึงที่สุดก็คือใจ เท่านั้น แต่เรายังทำไม่ถึง เราจะต้องพยายามฝึกหัดอบรมใจของตนนี้ ให้มันถึงที่สุด มันจึงจะเข้าถึงที่สุดของพระพุทธศาสนา หมดพุทธศาสนาได้ ผู้ใดทำใจให้เป็นกลาง ผู้นั้นจะพ้นจากทุกข์ทั้งปวง . </li></ul>Home
  9. 9. <ul><li>                           ให้พิจารณาความตาย                            นั่งก็ตาย นอนก็ตาย ยืนก็ตาย เดินก็ตาย . </li></ul>Home
  10. 10. <ul><li>                         ในพวกเราชาวสยามนี้ ควรได้เห็นว่าเป็นคนมีบุญมาก เกิดมาได้พบพระพุทธศาสนาเลยทีเดียว ด้วยบุรพบรรพรุษพาถือกันมานานแล้วกว่า 2000 ปี อย่าพากันมีความประมาท พึงตั้งใจปฎิบัติกันให้เห็นผลจนรู้สึกตัวว่า เรามีที่พึ่งอันใดแล้ว จึงจะเป็นคนที่ไม่เสียทีที่ได้พบพระพุทธศาสนา                          อะไรเป็นปัจจัยของอวิชชา เรานั่นแหละเป็นปัจจัยของอวิชชา อะไรเป็นปัจจัยของเรา อวิชชานั่นแหละเป็นปัจจัยของเรา ถ้ามีอวิชชาก็มีเรา ถ้ามีเราก็มีอวิชชา ตำราแบบแผนมิใช่ยา ยามิใช่ตำราแบบแผน ความไข้ไม่ได้หายด้วยยาอย่างเดียว ต้องอาศัยกินยานั้นด้วยไข้จึงหาย . </li></ul>Home
  11. 11. <ul><li>                      ไม่มีตัวตน สัตว์บุคคลเราเขาอะไรสักอย่าง เพ่งดูสิมันไม่เป็นแก่นสารอะไรเลย ถ้าเป็นแก่นสารทำไมคนเราต้องล้มหายตายจาก ถ้าเป็นแก่นสารตัวเรา ทำไม่ต้องเป็นหวัด เป็นไอ เป็นไข้ ทำไมต้องหนาวร้อน เพราะเหตุนี้จึงเห็นได้ว่า ไม่ใช่ตัวตน                      ตาสำหรับเห็น รูป ใจ เป็นผู้รู้ว่า รูปดี รูปชั่ว รูปไม่ดี รูปไม่ชั่ว แท้ที่จริง รูปทั้งหลายเขาไม่ได้ว่า รูปเขาดีเขาไม่ได้ว่าเขาชั่ว เราเป็นผู้ไปว่าเอา สมมุติเอา - พระสติ หมายถึงลมเข้า - พระวินัย หมายถึงลมออก - พระปรมัตถ์ หมายถึงผู้รู้ลมเข้าลมออก                       เป็นอันจบพระไตรปิฎก นอกนั้นเป็นสิ่งกิ่งก้านสาขา เท่านั้น . </li></ul>Home
  12. 12. <ul><li>                           อันว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งมนุษย์ และเทวดา ได้ถูกไฟ 11 กอง เผาอยู่เสมอ เป็นเหตุให้ได้รับความทุกข์นานาประการ 11 กอง คือ 1.) ราคะ คสามกำหนัดชอบใจ อยากได้กามคุณ 5 มีรูปเป็นต้น 2.) ไฟโทสะ คือความโกรธ มีความไม่พอใจเป็นลักษณะ 3.) ไฟโมหะ ได้แก่ความลุ่มหลงในรูป รส กลิ่น เสียง โผฎฐัพพ ลังเล ใจฟุ้งซ่าน ไปตามอารมณ์ 4.) ชาติ คือไฟแห่งความเกิดอันเป็นทุกข์ 5.) ชรา คือไฟแห่งความแก่อันเป็นทุกข์ 6.) มรณธ คือไฟแห่งความตายอันเป็นทุกข์ 7.) โสกะ คือไฟแห่งความเศร้าโศก 8.) ปริเทวะ คือไฟบ่นเพ้อร่ำไร รำพัน 9.) ทุกขัง คือไฟแห่งความทุกข์ลำบากกายใจ 10.) โทมนัส คือไฟแห่งความเสียใจ 11.) อุปายโส คือไฟแห่งความคับแค้นใจ                             ไฟทั้ง 11 กองนี้แหละเผาลนสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้ต้องพากันงมงาย เวียนว่ายตายเกิด ได้รับทุกข์ต่างๆ . </li></ul>Home
  13. 13. <ul><li>                     พระพุทธเจ้าท่านจึงให้ปล่อยวางอย่าไปยึดถือ ตัวกูของกู ตัวเราของเรา มันเป็นเพียงสมมุติ ให้เป็นตัวเราของเราเท่านั้นแหละ ธาตุแท้มันไม่ได้เป็นของใคร เมื่อมีเหตุปัจจัยเกิดขึ้น มันก็เกิดขึ้นอย่างนี้ เมื่อหมดเหตุปัจจัยมันหายไปไหน ก็ละลายลงสู่พื้นดิน ธาตุดินก็ไปสู่ธาตุดิน ธาตุน้ำก็ไหลไปสู่ธาตุน้ำ ไหลไปในอากาศ ธาตุลมก็ไปกับลม ธาตุไฟความร้อนความอบอุ่น มันก็ไปกับธาตุไฟ ะาตุเหล่านี้เทื่อไหลไปสู่สภาพของเขา เขาก็ไม่มีความทุกข์ความเดือดร้อนอย่างไร เพราะธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นธรรมชาติประจำโลก ประจำวัฎฎสงสาร อันนี้มานับไม่ถ้วนแล้ว มาถึงพวกเราภาวนาจะต้องให้รู้ให้เข้าใจ จิตมายึดมาถือความทุกข์ความเวทนานี้เป็นความหลง . </li></ul>Home
  14. 14. <ul><li>                      คนบางคนที่มีปัญญาฉลาดหลักแหลม สามารถจะอธิบายข้ออรรถข้อธรรมได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง แต่กิเลสเพียงหยาบๆ อันเป็นคู่ปรับแห่งศีล แค่นี้ยังละกันไม่ค่อยจะออก เป็นเพราะขาดความสมบูรณ์ แห่งศีล สมาธิ ปัญญากระมัง จึงได้เป็นอย่างนี้ ศีลก็คงเป็นศีลอย่างเปลือกๆ ปัญญาก็คงเป็นปัญญาอย่างเลอะเลือน เคลือบเอาเสมอเหมือนดวงกระจกทาด้วยปรอท ฉะนั้นจึงไม่สามรถเป็นเหตุให้สำเร็จด้วยความมุ่งหวังของพุทธบริษัทได้ ตกอยู่ในลักษณะมีดที่คมอยู่นอกฝัก คือฉลาดในเชิงพูด เชิงคิด แต่ดวงจิตไม่มีสมาธิ นี้เรียกว่า คมนอกฝัก . </li></ul>Home
  15. 15. <ul><li>                        การปฎิบัติธรรมนั้นไม่มีโทษมีแต่คุณ คือจิตไม่ขุ่นมัว จิตผ่องใส จิตเบิกบาน จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ก็มีความสุข ไม่มีทุกข์ จะเข้าสู่สังคมใดๆ ก็องอาจหาญกล้า การทำความเพียร เมื่อสมาธิมีขึ้นแล้วจะไม่มีความหวั่นไหว ไม่มีความเกียจคร้านต่อการงาน ทั้งทางโลกและทางธรรม จากนั้นก็จะเป็นปัญญาที่จะมาเป็นกำลัง เมื่อปัญญาเกิดขึ้นแล้วรู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์ จะเรียนทางโลกก็สำเร็จ จะเรียนทางธรรมก็สำเร็จ พระพุทธเจ้าท่านสั่งสอนอบรมให้เกิด ให้มีขึ้นมาเบื้องต้นตั้งแต่ศีล ศีลเป็นที่ตั้งของสมาธิ สมาธิเป็นที่ตั้งของปัญญา ไม่ว่าศีล สมาธิ ปัญญา เป็นทางมาแห่งวิมุตติ คือความหลุดพ้นด้วยกัน . </li></ul>Home
  16. 16. <ul><li>                        นี้แหละ ... จิตของปุถุชนมันดื้อมันด้าน ดื้อด้าน มันไม่ลงรอย จิตชนิดนี้ต้องทรมานด้วยกำลังศีลหนึ่ง กำลังทานหนึ่ง ทานของอวัยวะ นะ ไม่ใช่ทานอามิสนี่ ทาน ... ขี้เกียจมาเอาทานมันให้ขยันนั่น คิดอดีตมาเอ้า ! ทานมันนะบริจาคนั้น ง่วงเหงาหาวนอน ทานมันนะ ... ไม่ต้องนอนนั่น หัดมันนะนั่น ทานละ ไอ้ความชั่วนะนั่น นี้แหละฉันใดก็ดีให้ตั้งอกตั้งใจ . </li></ul>Home
  17. 17. <ul><li>                        การปฎิบัติศีล ธรรม ต้องมีเหตุมีผล เหตุดีผลก็ดี ถ้าเหตุร้ายผลก็ร้าย เปรียบเหมือนของภายนอก อย่างผลไม้ต่างๆ มันก็เกิดจากต้นของมัน ถ้าไม่มีต้นก็ไม่มีผลจะเป็นต้นกล้าผลไม้ในไร่สวนก็เช่นกัน ดอกหรือผลของมัน พวกชาวไร่ชาวสวนทั้งหลายเขาก็ปฎิบัติตกแต่งแต่ลำต้นของมันเท่านั้น คือเขาต้องใส่ปุ๋ยดายหญ้า รดน้ำ และรักษาสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ต้นไม้ของเขาเท่านั้น เมื่อเขาปฎิบัติลำต้นของมันดังกล่าว เรื่องของดอกและผลมันก็เป็นของมันเอง                       ทีนี้การปฎิบัติทางพุทธศาสนาก็คล้ายคลึงกัน ถ้าเราอยากเป็นคนมีเงินมีทอง อยากร่ำรวยเหมือนเขา อยากมีร่างกายสวยเหมือนเขา อยากมีลาภมียศอย่างเจา เราจะไปปฎิบัติตรงไหน พระพุทธเจ้าท่านสอนให้ปฎิบัติ กาย วาจา ใจ ถ้ากายของเราดี วาจาของเราดี จิตใจของเราดี ได้ลาภมาก็มากและใหญ่ได้ ยศก็ใหญ่ได้ อะไรมาก็มีแต่ดีทั้งนั้น ถ้ากาย วาจา ใจ ดีแล้ว เมื่อกาย วาจา ใจ ของเราเป็นบาปแล้วได้อะไรมาก็เหมือนก็เหมือนของที่ไม่ดีทั้งนั้น . </li></ul>Home
  18. 18. <ul><li>                      เรือที่นายช่างต่อดีแล้วอย่างเข้มแข็ง เมื่อถูกคลื่นกระทบ ไม่เสียหายฉันใด จิตของบุคคลใดเมื่อฝึกฝนให้ดีแล้ว คลื่นของกิเลสกระทบเข้า ย่อมไม่หวั่นไหว ก็ฉันนั้น                      อธิบายว่า เมื่อบุคคลใดฝึกจิตนี้ให้มั่นอยู่ในศีลในสมาธิ อยู่ในปัญญาเต็มที่แล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม 8 ประการ ฉันนั้นคือ เมื่อมีลาภ มียศ มีสรรเสริญ และมีความสุขกาย สบายใจ ก็ไม่เพลิดเพลินเมามัวในลาภ เป็นต้น เมื่อลาภเสื่อมยศเสื่อม ถูกนินทา ถูกทุกข์ครอบงำกายและจิต ก็ไม่หวั่นไหว คือไม่เศร้าโศกเสียใจ ทั้งนี้เพราะปัญญาเห็นแจ้งในความจริงว่า สิ่งเหล่านี้เป็นของไม่เที่ยงแท้แน่นอนอะไรเลย มีเกิดขึ้นแล้วแปรปรวนแตกดับไปเป็นธรรมดา เหมือนกับเรือที่นายช่างต่อดีแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวต่อคลื่นฉันนั้น . </li></ul>Home
  19. 19. <ul><li>                          พระพุทธเจ้าองค์เอก สอนธรรมชั้นเอกทั้งนั้นๆ ให้เราประพฤติปฎิบัติ นำเข้าไปต่อกรกับกิเลส เมื่อถึงขั้นเอกจิตแห่งการปฎิบัติแล้ว ทำไมจะไม่เป็นเอกธรรม สำหรับจิตดวงที่พ้นจากสมมุติโดยประการทั้งปวงแล้ง ต้องเป็นเอกจิต เอกธรรม นั่นละความเลิศความประเสริฐอยู่ตรงนั้น พระพุทธเจ้าพ้นจากทุกข์ก็พ้นจากตรงนั้น เลิศก็เลิศจากตรงนั้น ไม่มีใครบอกว่าเลิศก็เลิศที่ตรงนั้น เป็นของมหัศจรรย์ที่ตรงนั้น นอกนั้นไม่ปรากฎว่าสิ่งใดเป็นสิ่งมหัศจรรย์ และเป็นคู่แข่งแห่งธรรมอันเอกของพระพุทธเจ้าที่หลุดพ้นแล้ว หรือบริสุทธิ์แล้วนั้นเลย . </li></ul>Home
  20. 20. <ul><li>                         เพราะฉะนั้นตัณหานี้เราต้องเพียรพยายามละ คือตั้งความเพียรของเราไว้ ปหานปธาน เพียรละความชั่วของเรา สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้น ภาวนาปธาน เพียรให้ความดีเกิดขึ้น อนุรักขนาปธาน เพียรรักษาความดีของเราไว้ นี้เรียกว่าหลักของความเพียรจะต้องเพียรพยายาม ที่เราจะละความชั่วของเราได้ การบำเพ็ญปหาปธานนี้ เราจะต้องทบทวนเข้ามา คือทบทวนเข้ามาภายใน มาดูที่จิตใจของเรา ดูที่กายของเรา ดูที่วาจาของเรา ต้องให้ดูกิริยามารยาทของเราที่แสดงออก ที่เราปฎิบัตินั้นดีหรือชั่ว แม้เรามาตรวจค้นดู ทบทวนดู หรือส่องดู เงาของเจ้าของ การภาวนา นี้แหละเท่ากับว่าเป็นการส่องดู เป็นแว่นธรรมเป็นกระจกสำหรับส่องดูตัวของเรา ให้รู้ให้เห็นว่าเป็นอย่างไรดีชั่ว สะอาดหรือเศร้าหมอง เราจะได้รู้จะได้เห็นด้วยอาศัยการภาวนานี้แหละ . </li></ul>Home
  21. 21. <ul><li>                        อย่าพากันไว้ใจในชีวิตตน ชีวิตเป็นของไม่เที่ยงไม่แน่นอน วันนี้เรามีชีวิตอยู่ ยังหายใจอยู่ วันหลังมาชีวิตจะเป็นอย่างไร ดีหรือไม่ ชีวิตของเรานั้นวันหลังจะเป็นอย่างไร ในพรรษานี้พวกเราทั้งหลายเชื่อหรือว่าชีวิตจะตลอดพรรษา เพราะความตายเป็นของไม่มีกาลเวลา จิตมันจะตายเวลาไหนก็ไม่รู้ เพราะชีวิตเป็นของไม่เที่ยง สุดแท้แต่จะเป็นไป เมื่อเรามีชีวิตอยู่ อย่าพากันประมาท จงพากันบำเพ็ญความดี ให้เกิดให้มีขึ้นในดวงจิต ความคิดของเรา      รู้อื่นหมื่นแสน   ยังไม่แม้เท่ารู้ตน      รู้อื่นหมื่นล้าน   ยังไม่พ้นพาลเหมือนดีตน      ชนะอื่นหมื่นโกฎิ   ยังไม่พ้นโทษเหมือนชนะตน      รู้ตนดี ตนชนะตน นั้นย่อมคนผู้ชนะดี . </li></ul>Home
  22. 22. <ul><li>                            สุขได้สบายได้ แต่สุขสบายเพราะความหลงของใจ ถ้าเกิดโรคภัยเจ็บป่วยขึ้น เขาจะมาเต้นรำขนาดไหนให้มันดูก็ไม่เพลิน จะเอาเงินจะเอาทองมาวางกองเทินไว้ใหญ่โตขนาดไหน มันก็ไม่มีความสุข เพราะใจมันเป็นทุกข์มันห่วง มันหวงในชีวิต คนที่ไม่มีความสุขของใจ โดยส่วนใหญ่ไปสถานที่ใด ใครเข้ามาหาก็บ่นทุกข์อย่างนั้น บ่นทุกข์อย่างนี้ ทั้งๆที่มีสมบูรณ์ทุกอย่าง บ้านช่องห้องหออะไรก็ใหญ่โต เงินทองข้าวของอะไรก็เยอะแยะ แต่ก็บ่นว่าทุกข์ ทุกข์ มันทุกข์อะไร มันทุกข์ใจ . </li></ul>Home
  23. 23. <ul><li>                           เป็นครูสอนคนอื่นก็ดีอยู่ หากสอนตัวเองด้วยก็จะดีมากขึ้น เราตรวจคะแนนให้คนอื่น ข้อนี้ถูก ข้อนั้นผิด เราเคยตรวจดูตัวเองบ้างหรือเปล่า วันเวลาผ่านไปตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน คะแนนฝ่ายดีกับฝ่ายชั่วนั้น ข้างไหนมากน้อยกว่ากัน กับไปตรวจดูตัวเองบ้างก็ดี                          ศีลมีหลายข้อ ไม่ต้องรักษาหมดทุกข้อหรอก รักษาแต่ใจให้ดีอย่างเดียว ให้ดี กาย วาจา ก็จะดีไปด้วยกันนั่นแหละ . </li></ul>Home
  24. 24. <ul><li>                     การได้พิจารณาไตรลักษณ์ ให้เห็นชัดประจักษ์แจ้งนี้ ไม่หวังว่าจะหอบใส่รถไปพระนิพพานด้วยหรอก อนิจจาเอ๋ย พิจารณาเพื่อถอนความหลงของเจ้า ตัวที่เข้าใจผิดว่าเป็นของเที่ยง เป็นของสุข เป็นตัวเรา เขาสัตว์ บุคคลต่างหากเพื่อให้หน่ายความหลงของเจ้า ตัวที่เคยหลงมา อวิชชาก็ว่าปัญญา เป็นหัวหน้าของสมาธิ และศีลตอนนี้มีพละกำลังมาก . </li></ul>Home
  25. 25. <ul><li>                   ในเรื่องของจิตคล้ายๆกับว่า นิวรณ์ มันเคลื่อนหรือไหลหนีทำนองนั้นแหละ เพราะสติเราตั้งจดจ่ออยู่ แต่ยังเข้าไม่ถึงจิต พออย่างนี้เคลื่อนไป ก็รู้เรื่องจิตแล้วไปกำหนดเกี่ยวกับธรรมชาติรู้ อันนี้พวกนิวรณ์ทั้ง 5 มาแสดงท่าทางขึ้นอยู่อย่างนั้น เราก็พยายามทดสอบลองดู คือมันถอยๆ ออกพอถอยออกไปหน่อย ก็หุบ ... พอสติเข้าไปถึงก็ถอนออกทันที รู้เรื่องของกันและกันอยู่อย่างนี้ ... แต่ว่า จำพวกนิวรณ์ทั้ง 4 อย่างมาแรงๆอย่าง ( งผาง เรารู้จักดี ไอ้ ... ตัว &quot; ถีนมิทธะ &quot; คือความง่วงเหงาหาวนอน มันมาอย่างละเอียดอ่อนที่สุด . </li></ul>Home

×