SlideShare a Scribd company logo
1 of 6
Download to read offline
1
พระประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก
ตอนที่ ๑๕ มหากัจจายนเถราปทาน
พลตรี มารวย ส่งทานินทร์
๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
๓. มหากัจจายนเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมหากัจจายนเถระ
เกริ่นนา
ภายหลังเขาออกบวชแล้วจักสาเร็จเป็นพระอรหันต์ ไม่มีอาสวะ พระโคดมผู้ส่องโลกให้โชติช่วงจัก
ตั้งเขาไว้ในเอตทัคคะ เขาจักตอบปัญหาที่ถูกถามอย่างย่อได้โดยพิสดาร และเมื่อตอบปัญหานั้น จักทา
อัธยาศัยให้เต็มได้
(พระมหากัจจายนเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๑] พระเจดีย์ (วิหารที่ประทับ) ชื่อว่าปทุมะ ของพระผู้มีพระภาคผู้เป็นที่พึ่งพระนามว่าปทุมุต
ตระ ข้าพเจ้าให้ทาแผ่นศิลาไว้ภายใต้แล้วใช้ทองคาไล้ทาแผ่นศิลานั้น
[๓๒] และได้กั้นฉัตรซึ่งทาด้วยรัตนะแล้ว ถือพัดวาลวีชนีพัดถวายพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของ
สัตว์โลก ผู้คงที่
[๓๓] ภุมมเทวดา(เทวดาผู้อาศัยอยู่บนแผ่นดิน) มาประชุมกันทั้งหมดเท่าที่มีในครั้งนั้น ด้วยหวัง
ว่า พระศาสดาจักตรัสผลแห่งการกั้นฉัตรซึ่งทาด้วยรัตนะ
[๓๔] พวกเราจักฟังพระศาสดาตรัสเรื่องทั้งหมดนั้น จะพึงเกิดความร่าเริงอย่างยิ่งในศาสนาของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๓๕] พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระสยัมภู เป็นบุคคลผู้เลิศประทับนั่งบนอาสนะทองแล้ว มีหมู่ภิกษุ
ห้อมล้อม ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ ว่า
[๓๖] เราจักพยากรณ์ผู้ที่ได้ถวายอาสนะซึ่งทาด้วยทอง และกั้นฉัตรซึ่งทาด้วยรัตนะนี้ ท่าน
ทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๓๗] ผู้นั้นจักเป็นจอมเทพครองเทวสมบัติ ๓๐ กัป จักแผ่รัศมีไป ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ
[๓๘] ผู้นั้นจักมาเกิดยังมนุษยโลก เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีพระนามว่าปภัสสระ จักเป็นผู้มีเดชแผ่
ไป
[๓๙] ผู้นั้นจักได้เป็นกษัตริย์ ส่องสว่างไป ๘ ศอก โดยรอบทั้งกลางวันกลางคืน เหมือนดวง
อาทิตย์อุทัย ฉะนั้น
2
[๔๐] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ ไป) พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร ทรง
สมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๔๑] ผู้นั้นถูกกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต มาเกิดเป็นบุตรของพราหมณ์มีนาม
ว่ากัจจานะ ตามโคตร
[๔๒] ภายหลังเขาออกบวชแล้วจักสาเร็จเป็นพระอรหันต์ ไม่มีอาสวะ พระโคดมผู้ส่องโลกให้โชติ
ช่วงจักตั้งเขาไว้ในเอตทัคคะ
[๔๓] เขาจักตอบปัญหาที่ถูกถามอย่างย่อได้โดยพิสดาร และเมื่อตอบปัญหานั้น จักทาอัธยาศัยให้
เต็มได้
[๔๔] ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ผู้อภิชาตบุตรในตระกูลที่มั่งคั่ง จบมนตร์ สละทรัพย์และข้าวเปลือก
แล้ว ออกบวชเป็นบรรพชิต
[๔๕] เมื่อถูกถามปัญหาแม้โดยย่อ ข้าพเจ้าก็กล่าวแก้ได้โดยพิสดาร ทาอัธยาศัยของชนเหล่านั้น
ให้เต็ม ให้พระผู้มีพระภาคผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์ทรงพอพระทัยได้
[๔๖] พระมหาวีระผู้เป็นพระสยัมภู เป็นบุคคลผู้เลิศ ข้าพเจ้าทาให้ทรงพอพระทัยแล้ว ประทับนั่ง
ในท่ามกลางหมู่ภิกษุแล้ว ทรงตั้งข้าพเจ้าไว้ในเอตทัคคะ
[๔๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทาให้แจ้งแล้ว
คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทาสาเร็จแล้ว ดังนี้ แล
ได้ทราบว่า ท่านพระมหากัจจายนเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
มหากัจจายนเถราปทานที่ ๓ จบ
----------------------------------
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
๕๔. กัจจายนวรรค
๑. มหากัจจายนเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมหากัจจายนเถระ
(พระมหากัจจายนเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้หมดตัณหา ทรงชนะสิ่งที่ใครๆ เอาชนะไม่ได้ ทรงเป็น
ผู้นา เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ ไป
[๒] พระองค์เป็นผู้แกล้วกล้า มีพระเนตรเหมือนกลีบบัว มีพระพักตร์ปราศจากมลทินดุจดวง
จันทร์ มีพระฉวีวรรณดุจทองคา มีพระรัศมีเสมอด้วยแสงอาทิตย์
[๓] ดึงดูดดวงตาและดวงใจของสัตว์ไว้ได้ ประดับด้วยพระลักษณะอันประเสริฐ ไม่ยึดถือถ้อยคา
ทุกชนิด ผู้อันหมู่มนุษย์และเทวดาสักการะ
3
[๔] ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ทรงช่วยเหล่าสัตว์ให้ตรัสรู้ ทรงนาไปได้อย่างรวดเร็ว ทรงมีพระสุ
รเสียงไพเราะ มีพระอุปนิสัยเนื่องด้วยพระกรุณา ทรงแกล้วกล้าในท่ามกลางบริษัท
[๕] ทรงแสดงธรรมอย่างไพเราะ ซึ่งประกอบด้วยสัจจะ ๔ ทรงช่วยเหลือหมู่สัตว์ ที่จมอยู่ในเปือก
ตมคือโมหะได้
[๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นดาบส เที่ยวไปแต่ผู้เดียว อาศัยอยู่ที่ภูเขาหิมพานต์ กาลังไปยังมนุษยโลก
ทางอากาศก็ได้เห็นพระชินเจ้า
[๗] ข้าพเจ้าได้เข้าเฝ้าพระองค์แล้ว ฟังพระธรรมเทศนาของพระธีรเจ้า ผู้ทรงพรรณนาคุณอัน
ยิ่งใหญ่ของสาวกอยู่ว่า
[๘-๙] ‘เราไม่เห็นสาวกอื่นบางรูปในธรรมวินัยนี้ เหมือนพระกัจจายนะนี้ ผู้ประกาศธรรมที่เรา
แสดงไว้โดยย่อให้พิสดารได้ ทาชุมชนและเราให้ยินดี เพราะฉะนั้น พระกัจจายนะนี้ เป็นผู้เลิศในตาแหน่งที่
เลิศนั้น ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงจาไว้อย่างนี้ เถิด’
[๑๐] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ฟังพระดารัสที่รื่นรมย์ใจแล้ว เกิดความอัศจรรย์ใจ จึงไปยังป่าหิมพานต์
นากลุ่มดอกไม้มา
[๑๑] บูชาพระผู้เป็นสรณะของสัตว์โลก แล้วปรารถนาตาแหน่งนั้น ครั้งนั้น พระผู้เป็นที่อยู่แห่ง
สรณะทรงทราบอัธยาศัยของข้าพเจ้าแล้ว ได้ทรงพยากรณ์ว่า
[๑๒] ‘เธอทั้งหลายจงดูฤๅษีผู้ประเสริฐนี้ ซึ่งเป็นผู้มีผิวพรรณเหมือนทองคาที่ไล่มลทินออกแล้ว มี
โลมชาติชูชันและมีใจเบิกบาน ยืนประนมมือนิ่งอยู่
[๑๓] ร่าเริง มีนัยน์ตาเต็มดี มีอัธยาศัยน้อมไปในคุณของพระพุทธเจ้า มีใจเบิกบาน ซึ่งเกิดแต่
ธรรม มีรัศมีเรืองรองเหมือนถูกรดด้วยน้าอมฤต
[๑๔] ข้าแต่พระมหามุนี ข้าพระองค์ได้ฟังคุณของพระกัจจายนะแล้ว จึงได้ยืนปรารถนาตาแหน่ง
นั้น ในอนาคตกาลของพระโคดมพุทธเจ้า
[๑๕] ฤๅษีผู้นี้ มีนามว่ากัจจายนะ ตามโคตร เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต จักเป็น
สาวกของพระศาสดา
[๑๖] เขาจักเป็นพหูสูต มีญาณยิ่งใหญ่ รู้อธิบายชัดแจ้ง เป็นมุนี จักถึงตาแหน่งนั้น ดังที่เรา
พยากรณ์ไว้’
[๑๗] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ ไป ข้าพเจ้าได้ทากรรมไว้ในครั้งนั้น จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้
เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๘] ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๒ ภพ คือ (๑) ภพเทวดา (๒) ภพมนุษย์ คติอื่นข้าพเจ้าไม่
รู้จักเลย นี้ เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๙] ข้าพเจ้ารู้เฉพาะ ๒ ตระกูล คือ (๑) ตระกูลกษัตริย์ (๒) ตระกูลพราหมณ์ จะไม่เกิดใน
ตระกูลที่ต่า นี้ เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๐] ในภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดเป็นพราหมณ์ปุโรหิต ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในกรุงอุชเชนีที่
รื่นรมย์
4
[๒๑] เป็นบุตรของพราหมณ์ชื่อว่าติปีติวัจฉะ เป็นผู้ฉลาด เรียนจบพระเวท ส่วนมารดาของ
ข้าพเจ้าชื่อว่าจันทนปทุมา ข้าพเจ้าชื่อว่ากัจจายนะ เป็นผู้มีผิวพรรณสวยงาม
[๒๒] ข้าพเจ้าถูกพระเจ้าแผ่นดินทรงส่งไปเพื่อพิจารณา(สืบข่าว)พระพุทธเจ้า ได้เห็นพระผู้นาซึ่ง
เป็นประตูของโมกขบุรี (โมกขบุรี หมายถึงบุรีคือพระนิพพาน) เป็นที่สั่งสมพระคุณ
[๒๓] และได้ฟังพุทธภาษิตที่ปราศจากมลทิน เป็นเครื่องชาระล้างเปือกตมคือคติ ได้บรรลุอมต
ธรรมที่สงบระงับ พร้อมกับบุรุษที่เหลืออีก ๗ คน
[๒๔] ข้าพเจ้าเป็นผู้รู้อธิบายในอมตบทที่ยิ่งใหญ่ของพระสุคต และมีมโนรถอันสาเร็จด้วยดี ได้รับ
แต่งตั้งในตาแหน่งเอตทัคคะ
[๒๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่อง
ผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสานักของพระพุทธเจ้า เป็นการมาดีแล้วโดยแท้ วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้
บรรลุแล้วโดยลาดับ คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทาสาเร็จแล้ว
[๒๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทาให้แจ้ง
แล้ว คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทาสาเร็จแล้ว ดังนี้ แล
ได้ทราบว่า ท่านพระมหากัจจายนเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
มหากัจจายนเถราปทานที่ ๑ จบ
------------------------------
คาอธิบายนี้ นามาจากบางส่วนของอรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
เถราปทาน ๔. กุณฑธานวรรค
๓. มหากัจจายนเถราปทาน (๓๓)
๓๓. อรรถกถามหากัจจานเถราปทาน
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบาเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็น
อุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพนั้นๆ.
ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิดในตระกูลคฤหบดีมหาศาล
พอเจริญวัยแล้ว วันหนึ่งได้ฟังธรรมในสานักของพระศาสดา ได้เห็นภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งพระศาสดาทรงสถาปนา
ไว้ในตาแหน่งที่ (สามารถ) จาแนกเนื้ อความที่พระศาสดาตรัสไว้โดยย่อให้พิสดารได้ แม้ตนเองก็ปรารถนา
ตาแหน่งนั้นบ้าง จึงตั้งปณิธานทาบุญมีทานเป็นต้นไว้เป็นอันมาก แล้วท่องเที่ยวไปในเทวโลกและ
มนุษยโลก.
ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ได้เป็นวิทยาธร เที่ยวไปทางอากาศ ได้พบ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ซึ่งประทับนั่งในชัฏแห่งป่าแห่งหนึ่ง มีใจเลื่อมใสได้เอาดอกกรรณิการ์
มาทาการบูชา.
5
ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงกลับไปมาเฉพาะแต่ในสุคติอย่างเดียว.
ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ เขาได้บังเกิดในเรือนอันมีสกุล ในกรุง
พาราณสี เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ได้เอาแผ่นอิฐทองคามีค่าราคาแสนหนึ่ง ทาการบูชา ณ ที่
สุวรรณเจดีย์สาหรับบาเพ็ญกัมมัฏฐาน ได้ตั้งความปรารถนาไว้ว่า ด้วยผลแห่งบุญอันนี้ ขอให้สรีระของข้า
พระองค์จงมีวรรณะดุจทองคา ในที่ที่ได้บังเกิดแล้วๆ เถิด ตั้งแต่นั้นมาก็ได้ทาแต่กุศลกรรมจนตลอดชีวิตแล้ว
ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลกตลอดพุทธันดรหนึ่ง.
ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในเรือนปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในกรุงอุชเชนี ในวันตั้ง
ชื่อเขา มารดาคิดว่า ลูกของเรามีสีกายดุจทองคา เขาถือเอาชื่อของตนเองมา (แต่เกิด) ดังนี้ จึงตั้งชื่อเขาว่า
กัญจนมาณพทีเดียว.
เขาเจริญวัยแล้ว เล่าเรียนจบไตรเพท พอบิดาล่วงลับดับชีวิตแล้ว ก็ได้รับตาแหน่งปุโรหิตแทน
ว่าโดยอานาจโคตรเขาปรากฏแล้วว่า กัจจายนะ.
ต่อมาพระเจ้าจัณฑปัชโชตได้ทรงสดับว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้น จึงส่งเขาไปหาด้วยพระราช
ดารัสว่า ท่านอาจารย์ ท่านจงไปที่พระอารามนั้นแล้ว ทูลนิมนต์พระศาสดามาในวังนี้ ท่านปุโรหิตนั้นมีตน
เป็นที่ ๘ เข้าไปเฝ้าพระศาสดา.
พระศาสดาได้ทรงแสดงธรรมแก่ปุโรหิตนั้นแล้ว. ในเวลาจบพระธรรมเทศนา ท่านปุโรหิตพร้อม
กับคนทั้ง ๗ ได้ดารงอยู่ในพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔.
ท่านได้บรรลุอรหัตผลแล้วอย่างนี้ ระลึกถึงบุรพกรรมของตนได้เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะ
ประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน.
ลาดับนั้น พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด. ในขณะนั้น พวก
ภิกษุเข้านั้นได้มีผมและหนวดยาวประมาณ ๒ องคุลี ทรงบาตรและจีวรอันสาเร็จด้วยฤทธิ์ ได้เป็นคล้ายพระ
เถระบวชมา ๖๐ พรรษา พระเถระทาประโยชน์ของตนให้สาเร็จแล้วอย่างนี้ (วันหนึ่ง) จึงกราบทูลพระ
ศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าจัณฑปัชโชตปรารถนาจะไหว้พระบาท และฟังธรรมของพระองค์
พระเจ้าข้า.
พระศาสดาตรัสว่า กัจจายนะ เธอนั่นแหละจงไปในวังนั้น เมื่อเธอไปถึงแล้ว พระราชาจักทรง
เลื่อมใส.
พระเถระมีตนเป็นที่ ๘ ได้ไปในพระราชวังนั้น ตามพระบัญชาของพระศาสดา ได้ทาให้พระราชา
ทรงเลื่อมใสแล้ว ได้ประดิษฐานพระศาสนาไว้ในอวันตีชนบทเรียบร้อยแล้ว จึงได้กลับมาเฝ้าพระศาสดาอีก.
ด้วยอานาจความปรารถนาในครั้งก่อนของตน ปกรณ์ทั้ง ๓ คือ กัจจายนปกรณ์ มหานิรุตติ
ปกรณ์ และเนตติปกรณ์ จึงได้ปรากฏแล้วในท่ามกลางสงฆ์.
ต่อมา ท่านได้รับสถาปนาจากพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงสันโดษไว้ในตาแหน่งที่เลิศ ด้วยพระ
ดารัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหากัจจายนะเป็นเลิศกว่าสาวกทั้งหลายของเราผู้จาแนกเนื้ อความที่เรากล่าว
ไว้โดยย่อ ทาให้พิสดารได้ ดังนี้ แล้ว ท่านก็อยู่ด้วยความสุขอันเกิดแต่พระอรหัตผลแล.
6
จบอรรถกถามหากัจจายนเถราปทาน
-------------------------------

More Related Content

Similar to (๑๕) มหากัจจายนเถราปทาน มจร.pdf

๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdfmaruay songtanin
 
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdfmaruay songtanin
 
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdfmaruay songtanin
 
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdfmaruay songtanin
 
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdfmaruay songtanin
 
24 อโยฆรจริยา มจร.pdf
24 อโยฆรจริยา มจร.pdf24 อโยฆรจริยา มจร.pdf
24 อโยฆรจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
๐๙ โตเทยยปัญหา.pdf
๐๙ โตเทยยปัญหา.pdf๐๙ โตเทยยปัญหา.pdf
๐๙ โตเทยยปัญหา.pdfmaruay songtanin
 
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdfmaruay songtanin
 
(๑๔) กุมารกัสสปเถระ มจร.pdf
(๑๔) กุมารกัสสปเถระ มจร.pdf(๑๔) กุมารกัสสปเถระ มจร.pdf
(๑๔) กุมารกัสสปเถระ มจร.pdfmaruay songtanin
 
๒๑. จัณฑาลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๒๑. จัณฑาลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๒๑. จัณฑาลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๒๑. จัณฑาลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๖๕. ปฐมอคาริยวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๖๕. ปฐมอคาริยวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๖๕. ปฐมอคาริยวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๖๕. ปฐมอคาริยวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...maruay songtanin
 
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...maruay songtanin
 
๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๖๖. ทุติยอคาริยวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๖๖. ทุติยอคาริยวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๖๖. ทุติยอคาริยวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๖๖. ทุติยอคาริยวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...maruay songtanin
 
(๖) พระอนุรุทธเถราปทาน มจร.pdf
(๖) พระอนุรุทธเถราปทาน มจร.pdf(๖) พระอนุรุทธเถราปทาน มจร.pdf
(๖) พระอนุรุทธเถราปทาน มจร.pdfmaruay songtanin
 
(๗) พระปุณณมันตานีปุตตเถราปทาน มจร.pdf
(๗) พระปุณณมันตานีปุตตเถราปทาน มจร.pdf(๗) พระปุณณมันตานีปุตตเถราปทาน มจร.pdf
(๗) พระปุณณมันตานีปุตตเถราปทาน มจร.pdfmaruay songtanin
 
๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...maruay songtanin
 
๐๕. มโหสธชาดก.pdf
๐๕. มโหสธชาดก.pdf๐๕. มโหสธชาดก.pdf
๐๕. มโหสธชาดก.pdfmaruay songtanin
 
๑๕. อุตตราวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๑๕. อุตตราวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๑๕. อุตตราวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๑๕. อุตตราวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 

Similar to (๑๕) มหากัจจายนเถราปทาน มจร.pdf (20)

๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
 
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
(๒) ปัจเจกพุทธาปทาน มจร.pdf
 
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf
(๑๒) พระอานันทเถราปทาน มจร.pdf
 
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
๐๒. มหาชนกชาดก.pdf
 
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
 
24 อโยฆรจริยา มจร.pdf
24 อโยฆรจริยา มจร.pdf24 อโยฆรจริยา มจร.pdf
24 อโยฆรจริยา มจร.pdf
 
๐๙ โตเทยยปัญหา.pdf
๐๙ โตเทยยปัญหา.pdf๐๙ โตเทยยปัญหา.pdf
๐๙ โตเทยยปัญหา.pdf
 
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf
 
(๑๔) กุมารกัสสปเถระ มจร.pdf
(๑๔) กุมารกัสสปเถระ มจร.pdf(๑๔) กุมารกัสสปเถระ มจร.pdf
(๑๔) กุมารกัสสปเถระ มจร.pdf
 
๒๑. จัณฑาลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๒๑. จัณฑาลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๒๑. จัณฑาลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๒๑. จัณฑาลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๖๕. ปฐมอคาริยวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๖๕. ปฐมอคาริยวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๖๕. ปฐมอคาริยวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๖๕. ปฐมอคาริยวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๐. อุจฉุทายิกาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๑๘. ทาสีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๖๖. ทุติยอคาริยวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๖๖. ทุติยอคาริยวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๖๖. ทุติยอคาริยวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๖๖. ทุติยอคาริยวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
(๖) พระอนุรุทธเถราปทาน มจร.pdf
(๖) พระอนุรุทธเถราปทาน มจร.pdf(๖) พระอนุรุทธเถราปทาน มจร.pdf
(๖) พระอนุรุทธเถราปทาน มจร.pdf
 
(๗) พระปุณณมันตานีปุตตเถราปทาน มจร.pdf
(๗) พระปุณณมันตานีปุตตเถราปทาน มจร.pdf(๗) พระปุณณมันตานีปุตตเถราปทาน มจร.pdf
(๗) พระปุณณมันตานีปุตตเถราปทาน มจร.pdf
 
๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
 
๐๕. มโหสธชาดก.pdf
๐๕. มโหสธชาดก.pdf๐๕. มโหสธชาดก.pdf
๐๕. มโหสธชาดก.pdf
 
๑๕. อุตตราวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๑๕. อุตตราวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๑๕. อุตตราวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๑๕. อุตตราวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
ใบความรู้ เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก
ใบความรู้ เรื่อง มหาเวสสันดรชาดกใบความรู้ เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก
ใบความรู้ เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก
 

More from maruay songtanin

7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdfmaruay songtanin
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...maruay songtanin
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docxmaruay songtanin
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfmaruay songtanin
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...maruay songtanin
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 

(๑๕) มหากัจจายนเถราปทาน มจร.pdf

  • 1. 1 พระประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก ตอนที่ ๑๕ มหากัจจายนเถราปทาน พลตรี มารวย ส่งทานินทร์ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ ๓. มหากัจจายนเถราปทาน ประวัติในอดีตชาติของพระมหากัจจายนเถระ เกริ่นนา ภายหลังเขาออกบวชแล้วจักสาเร็จเป็นพระอรหันต์ ไม่มีอาสวะ พระโคดมผู้ส่องโลกให้โชติช่วงจัก ตั้งเขาไว้ในเอตทัคคะ เขาจักตอบปัญหาที่ถูกถามอย่างย่อได้โดยพิสดาร และเมื่อตอบปัญหานั้น จักทา อัธยาศัยให้เต็มได้ (พระมหากัจจายนเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๓๑] พระเจดีย์ (วิหารที่ประทับ) ชื่อว่าปทุมะ ของพระผู้มีพระภาคผู้เป็นที่พึ่งพระนามว่าปทุมุต ตระ ข้าพเจ้าให้ทาแผ่นศิลาไว้ภายใต้แล้วใช้ทองคาไล้ทาแผ่นศิลานั้น [๓๒] และได้กั้นฉัตรซึ่งทาด้วยรัตนะแล้ว ถือพัดวาลวีชนีพัดถวายพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของ สัตว์โลก ผู้คงที่ [๓๓] ภุมมเทวดา(เทวดาผู้อาศัยอยู่บนแผ่นดิน) มาประชุมกันทั้งหมดเท่าที่มีในครั้งนั้น ด้วยหวัง ว่า พระศาสดาจักตรัสผลแห่งการกั้นฉัตรซึ่งทาด้วยรัตนะ [๓๔] พวกเราจักฟังพระศาสดาตรัสเรื่องทั้งหมดนั้น จะพึงเกิดความร่าเริงอย่างยิ่งในศาสนาของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า [๓๕] พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระสยัมภู เป็นบุคคลผู้เลิศประทับนั่งบนอาสนะทองแล้ว มีหมู่ภิกษุ ห้อมล้อม ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ ว่า [๓๖] เราจักพยากรณ์ผู้ที่ได้ถวายอาสนะซึ่งทาด้วยทอง และกั้นฉัตรซึ่งทาด้วยรัตนะนี้ ท่าน ทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด [๓๗] ผู้นั้นจักเป็นจอมเทพครองเทวสมบัติ ๓๐ กัป จักแผ่รัศมีไป ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ [๓๘] ผู้นั้นจักมาเกิดยังมนุษยโลก เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีพระนามว่าปภัสสระ จักเป็นผู้มีเดชแผ่ ไป [๓๙] ผู้นั้นจักได้เป็นกษัตริย์ ส่องสว่างไป ๘ ศอก โดยรอบทั้งกลางวันกลางคืน เหมือนดวง อาทิตย์อุทัย ฉะนั้น
  • 2. 2 [๔๐] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ ไป) พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร ทรง สมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก [๔๑] ผู้นั้นถูกกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต มาเกิดเป็นบุตรของพราหมณ์มีนาม ว่ากัจจานะ ตามโคตร [๔๒] ภายหลังเขาออกบวชแล้วจักสาเร็จเป็นพระอรหันต์ ไม่มีอาสวะ พระโคดมผู้ส่องโลกให้โชติ ช่วงจักตั้งเขาไว้ในเอตทัคคะ [๔๓] เขาจักตอบปัญหาที่ถูกถามอย่างย่อได้โดยพิสดาร และเมื่อตอบปัญหานั้น จักทาอัธยาศัยให้ เต็มได้ [๔๔] ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ผู้อภิชาตบุตรในตระกูลที่มั่งคั่ง จบมนตร์ สละทรัพย์และข้าวเปลือก แล้ว ออกบวชเป็นบรรพชิต [๔๕] เมื่อถูกถามปัญหาแม้โดยย่อ ข้าพเจ้าก็กล่าวแก้ได้โดยพิสดาร ทาอัธยาศัยของชนเหล่านั้น ให้เต็ม ให้พระผู้มีพระภาคผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์ทรงพอพระทัยได้ [๔๖] พระมหาวีระผู้เป็นพระสยัมภู เป็นบุคคลผู้เลิศ ข้าพเจ้าทาให้ทรงพอพระทัยแล้ว ประทับนั่ง ในท่ามกลางหมู่ภิกษุแล้ว ทรงตั้งข้าพเจ้าไว้ในเอตทัคคะ [๔๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทาให้แจ้งแล้ว คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทาสาเร็จแล้ว ดังนี้ แล ได้ทราบว่า ท่านพระมหากัจจายนเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้ มหากัจจายนเถราปทานที่ ๓ จบ ---------------------------------- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก ๕๔. กัจจายนวรรค ๑. มหากัจจายนเถราปทาน ประวัติในอดีตชาติของพระมหากัจจายนเถระ (พระมหากัจจายนเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๑] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้หมดตัณหา ทรงชนะสิ่งที่ใครๆ เอาชนะไม่ได้ ทรงเป็น ผู้นา เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ ไป [๒] พระองค์เป็นผู้แกล้วกล้า มีพระเนตรเหมือนกลีบบัว มีพระพักตร์ปราศจากมลทินดุจดวง จันทร์ มีพระฉวีวรรณดุจทองคา มีพระรัศมีเสมอด้วยแสงอาทิตย์ [๓] ดึงดูดดวงตาและดวงใจของสัตว์ไว้ได้ ประดับด้วยพระลักษณะอันประเสริฐ ไม่ยึดถือถ้อยคา ทุกชนิด ผู้อันหมู่มนุษย์และเทวดาสักการะ
  • 3. 3 [๔] ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ทรงช่วยเหล่าสัตว์ให้ตรัสรู้ ทรงนาไปได้อย่างรวดเร็ว ทรงมีพระสุ รเสียงไพเราะ มีพระอุปนิสัยเนื่องด้วยพระกรุณา ทรงแกล้วกล้าในท่ามกลางบริษัท [๕] ทรงแสดงธรรมอย่างไพเราะ ซึ่งประกอบด้วยสัจจะ ๔ ทรงช่วยเหลือหมู่สัตว์ ที่จมอยู่ในเปือก ตมคือโมหะได้ [๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นดาบส เที่ยวไปแต่ผู้เดียว อาศัยอยู่ที่ภูเขาหิมพานต์ กาลังไปยังมนุษยโลก ทางอากาศก็ได้เห็นพระชินเจ้า [๗] ข้าพเจ้าได้เข้าเฝ้าพระองค์แล้ว ฟังพระธรรมเทศนาของพระธีรเจ้า ผู้ทรงพรรณนาคุณอัน ยิ่งใหญ่ของสาวกอยู่ว่า [๘-๙] ‘เราไม่เห็นสาวกอื่นบางรูปในธรรมวินัยนี้ เหมือนพระกัจจายนะนี้ ผู้ประกาศธรรมที่เรา แสดงไว้โดยย่อให้พิสดารได้ ทาชุมชนและเราให้ยินดี เพราะฉะนั้น พระกัจจายนะนี้ เป็นผู้เลิศในตาแหน่งที่ เลิศนั้น ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงจาไว้อย่างนี้ เถิด’ [๑๐] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ฟังพระดารัสที่รื่นรมย์ใจแล้ว เกิดความอัศจรรย์ใจ จึงไปยังป่าหิมพานต์ นากลุ่มดอกไม้มา [๑๑] บูชาพระผู้เป็นสรณะของสัตว์โลก แล้วปรารถนาตาแหน่งนั้น ครั้งนั้น พระผู้เป็นที่อยู่แห่ง สรณะทรงทราบอัธยาศัยของข้าพเจ้าแล้ว ได้ทรงพยากรณ์ว่า [๑๒] ‘เธอทั้งหลายจงดูฤๅษีผู้ประเสริฐนี้ ซึ่งเป็นผู้มีผิวพรรณเหมือนทองคาที่ไล่มลทินออกแล้ว มี โลมชาติชูชันและมีใจเบิกบาน ยืนประนมมือนิ่งอยู่ [๑๓] ร่าเริง มีนัยน์ตาเต็มดี มีอัธยาศัยน้อมไปในคุณของพระพุทธเจ้า มีใจเบิกบาน ซึ่งเกิดแต่ ธรรม มีรัศมีเรืองรองเหมือนถูกรดด้วยน้าอมฤต [๑๔] ข้าแต่พระมหามุนี ข้าพระองค์ได้ฟังคุณของพระกัจจายนะแล้ว จึงได้ยืนปรารถนาตาแหน่ง นั้น ในอนาคตกาลของพระโคดมพุทธเจ้า [๑๕] ฤๅษีผู้นี้ มีนามว่ากัจจายนะ ตามโคตร เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต จักเป็น สาวกของพระศาสดา [๑๖] เขาจักเป็นพหูสูต มีญาณยิ่งใหญ่ รู้อธิบายชัดแจ้ง เป็นมุนี จักถึงตาแหน่งนั้น ดังที่เรา พยากรณ์ไว้’ [๑๗] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ ไป ข้าพเจ้าได้ทากรรมไว้ในครั้งนั้น จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้ เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า [๑๘] ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๒ ภพ คือ (๑) ภพเทวดา (๒) ภพมนุษย์ คติอื่นข้าพเจ้าไม่ รู้จักเลย นี้ เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า [๑๙] ข้าพเจ้ารู้เฉพาะ ๒ ตระกูล คือ (๑) ตระกูลกษัตริย์ (๒) ตระกูลพราหมณ์ จะไม่เกิดใน ตระกูลที่ต่า นี้ เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า [๒๐] ในภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดเป็นพราหมณ์ปุโรหิต ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในกรุงอุชเชนีที่ รื่นรมย์
  • 4. 4 [๒๑] เป็นบุตรของพราหมณ์ชื่อว่าติปีติวัจฉะ เป็นผู้ฉลาด เรียนจบพระเวท ส่วนมารดาของ ข้าพเจ้าชื่อว่าจันทนปทุมา ข้าพเจ้าชื่อว่ากัจจายนะ เป็นผู้มีผิวพรรณสวยงาม [๒๒] ข้าพเจ้าถูกพระเจ้าแผ่นดินทรงส่งไปเพื่อพิจารณา(สืบข่าว)พระพุทธเจ้า ได้เห็นพระผู้นาซึ่ง เป็นประตูของโมกขบุรี (โมกขบุรี หมายถึงบุรีคือพระนิพพาน) เป็นที่สั่งสมพระคุณ [๒๓] และได้ฟังพุทธภาษิตที่ปราศจากมลทิน เป็นเครื่องชาระล้างเปือกตมคือคติ ได้บรรลุอมต ธรรมที่สงบระงับ พร้อมกับบุรุษที่เหลืออีก ๗ คน [๒๔] ข้าพเจ้าเป็นผู้รู้อธิบายในอมตบทที่ยิ่งใหญ่ของพระสุคต และมีมโนรถอันสาเร็จด้วยดี ได้รับ แต่งตั้งในตาแหน่งเอตทัคคะ [๒๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่อง ผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ [๒๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสานักของพระพุทธเจ้า เป็นการมาดีแล้วโดยแท้ วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้ บรรลุแล้วโดยลาดับ คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทาสาเร็จแล้ว [๒๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทาให้แจ้ง แล้ว คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทาสาเร็จแล้ว ดังนี้ แล ได้ทราบว่า ท่านพระมหากัจจายนเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้ มหากัจจายนเถราปทานที่ ๑ จบ ------------------------------ คาอธิบายนี้ นามาจากบางส่วนของอรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๔. กุณฑธานวรรค ๓. มหากัจจายนเถราปทาน (๓๓) ๓๓. อรรถกถามหากัจจานเถราปทาน แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบาเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็น อุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพนั้นๆ. ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิดในตระกูลคฤหบดีมหาศาล พอเจริญวัยแล้ว วันหนึ่งได้ฟังธรรมในสานักของพระศาสดา ได้เห็นภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งพระศาสดาทรงสถาปนา ไว้ในตาแหน่งที่ (สามารถ) จาแนกเนื้ อความที่พระศาสดาตรัสไว้โดยย่อให้พิสดารได้ แม้ตนเองก็ปรารถนา ตาแหน่งนั้นบ้าง จึงตั้งปณิธานทาบุญมีทานเป็นต้นไว้เป็นอันมาก แล้วท่องเที่ยวไปในเทวโลกและ มนุษยโลก. ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ได้เป็นวิทยาธร เที่ยวไปทางอากาศ ได้พบ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ซึ่งประทับนั่งในชัฏแห่งป่าแห่งหนึ่ง มีใจเลื่อมใสได้เอาดอกกรรณิการ์ มาทาการบูชา.
  • 5. 5 ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงกลับไปมาเฉพาะแต่ในสุคติอย่างเดียว. ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ เขาได้บังเกิดในเรือนอันมีสกุล ในกรุง พาราณสี เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ได้เอาแผ่นอิฐทองคามีค่าราคาแสนหนึ่ง ทาการบูชา ณ ที่ สุวรรณเจดีย์สาหรับบาเพ็ญกัมมัฏฐาน ได้ตั้งความปรารถนาไว้ว่า ด้วยผลแห่งบุญอันนี้ ขอให้สรีระของข้า พระองค์จงมีวรรณะดุจทองคา ในที่ที่ได้บังเกิดแล้วๆ เถิด ตั้งแต่นั้นมาก็ได้ทาแต่กุศลกรรมจนตลอดชีวิตแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลกตลอดพุทธันดรหนึ่ง. ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในเรือนปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในกรุงอุชเชนี ในวันตั้ง ชื่อเขา มารดาคิดว่า ลูกของเรามีสีกายดุจทองคา เขาถือเอาชื่อของตนเองมา (แต่เกิด) ดังนี้ จึงตั้งชื่อเขาว่า กัญจนมาณพทีเดียว. เขาเจริญวัยแล้ว เล่าเรียนจบไตรเพท พอบิดาล่วงลับดับชีวิตแล้ว ก็ได้รับตาแหน่งปุโรหิตแทน ว่าโดยอานาจโคตรเขาปรากฏแล้วว่า กัจจายนะ. ต่อมาพระเจ้าจัณฑปัชโชตได้ทรงสดับว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้น จึงส่งเขาไปหาด้วยพระราช ดารัสว่า ท่านอาจารย์ ท่านจงไปที่พระอารามนั้นแล้ว ทูลนิมนต์พระศาสดามาในวังนี้ ท่านปุโรหิตนั้นมีตน เป็นที่ ๘ เข้าไปเฝ้าพระศาสดา. พระศาสดาได้ทรงแสดงธรรมแก่ปุโรหิตนั้นแล้ว. ในเวลาจบพระธรรมเทศนา ท่านปุโรหิตพร้อม กับคนทั้ง ๗ ได้ดารงอยู่ในพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔. ท่านได้บรรลุอรหัตผลแล้วอย่างนี้ ระลึกถึงบุรพกรรมของตนได้เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะ ประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน. ลาดับนั้น พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด. ในขณะนั้น พวก ภิกษุเข้านั้นได้มีผมและหนวดยาวประมาณ ๒ องคุลี ทรงบาตรและจีวรอันสาเร็จด้วยฤทธิ์ ได้เป็นคล้ายพระ เถระบวชมา ๖๐ พรรษา พระเถระทาประโยชน์ของตนให้สาเร็จแล้วอย่างนี้ (วันหนึ่ง) จึงกราบทูลพระ ศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าจัณฑปัชโชตปรารถนาจะไหว้พระบาท และฟังธรรมของพระองค์ พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า กัจจายนะ เธอนั่นแหละจงไปในวังนั้น เมื่อเธอไปถึงแล้ว พระราชาจักทรง เลื่อมใส. พระเถระมีตนเป็นที่ ๘ ได้ไปในพระราชวังนั้น ตามพระบัญชาของพระศาสดา ได้ทาให้พระราชา ทรงเลื่อมใสแล้ว ได้ประดิษฐานพระศาสนาไว้ในอวันตีชนบทเรียบร้อยแล้ว จึงได้กลับมาเฝ้าพระศาสดาอีก. ด้วยอานาจความปรารถนาในครั้งก่อนของตน ปกรณ์ทั้ง ๓ คือ กัจจายนปกรณ์ มหานิรุตติ ปกรณ์ และเนตติปกรณ์ จึงได้ปรากฏแล้วในท่ามกลางสงฆ์. ต่อมา ท่านได้รับสถาปนาจากพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงสันโดษไว้ในตาแหน่งที่เลิศ ด้วยพระ ดารัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหากัจจายนะเป็นเลิศกว่าสาวกทั้งหลายของเราผู้จาแนกเนื้ อความที่เรากล่าว ไว้โดยย่อ ทาให้พิสดารได้ ดังนี้ แล้ว ท่านก็อยู่ด้วยความสุขอันเกิดแต่พระอรหัตผลแล.