SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  154
Télécharger pour lire hors ligne
ชุดที่ 1       เอกสารชุดแนวทางพัฒนาการเรียนรู้
               สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

                             เล่มที่
2
         การเตรียมความพร้อม
     สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่อง
              ทางการเรียนรู้
                                                               ข
                                                    ง
                                                    ข ก
                                                     ง
                                  ก ค
           สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
           กระทรวงศึกษาธิการ
                                                     ค
เอกสารชุดแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้
   สำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้



                     ชุดที่ 1
             ก�รเตรียมคว�มพร้อม
สำ�หรับนักเรียนที่มีคว�มบกพร่องท�งก�รเรียนรู้
                   เล่มที่ 2




     สำานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
               กระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง        การเตรียมความพร้อมสำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้	เล่มที่	2
ผู้จัดพิมพ์   กลุ่มการจัดการศึกษาเรียนร่วม
	             สำานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
	             สำานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
              กระทรวงศึกษาธิการ
จำานวนพิมพ์ 2,500	เล่ม
ปีที่พิมพ์    2554
ISBN          978-616-202-344-6
คำ�นำ�
	          เอกสารชุด	“แนวทางพัฒนาการเรียนรู้	สำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้”	นี้	ได้จัด
ทำาและเผยแพร่ครั้งแรกในปี	 พ.ศ.	2551	โดยในครั้งนั้นได้จัดทำาเป็นเอกสาร	5	เล่ม	คือ	เล่มที่	 1	ความรู้
พื้นฐานและแนวทางพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้	เล่มที่	2	การเตรียมความพร้อมสำาหรับ
นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้	เล่มที่	3	เทคนิค	วิธีการและสื่อ	สำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่อง
ทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน	 เล่มที่	 4	 เทคนิค	 วิธีการและสื่อ	 สำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการ
เรียนรู้ด้านการเขียน	และเล่มที่	 5	เทคนิค	วิธีการและสื่อ	สำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้	
ด้านคณิตศาสตร์	โดยทีผานมาพบว่าเอกสารชุดดังกล่าว	เป็นประโยชน์กบครูผสอนและผูทเกียวข้องในการใช้
                      ่ ่                                            ั     ู้        ้ ี่ ่
เป็นแนวทางในการพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านต่าง	ๆ	ได้เป็นอย่างดี
	        อย่างไรก็ตามเพื่อให้เอกสารชุดนี้มีความเป็นปัจจุบันและมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น 	 สำานักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงเห็นควรปรับปรุงเอกสารดังกล่าว	 โดยในการปรับปรุงครั้งนี้	 นอกจาก
ความเหมาะสมของเทคนิค	วิธการและสือ	สำาหรับนักเรียนทีมความบกพร่องทางการเรียนรูแล้ว	ยังได้คานึงถึง
                               ี     ่                ่ ี                       ้            ำ
ความสะดวกของครูและผูทเกียวข้องในการนำาไปใช้ดวยเป็นสำาคัญ	ด้วยเหตุนจงได้จดพิมพ์เอกสารชุดนีออกเป็น	
                        ้ ี่ ่                 ้                   ี้ ึ ั                  ้
1	เล่มกับอีก	4	ชุด	เพื่อให้เอกสารแต่ละเล่มมีขนาดไม่หนาจนเกินไป	โดยประกอบด้วยเอกสารต่าง	ๆ	ดังนี้
         เอกสารความรู้พื้นฐานและแนวทางพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
      เอกสารชุดที่ 1 การเตรียมความพร้อมสำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
ประกอบด้วยเอกสาร 2 เล่ม
       เอกสารชุดที่ 2 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
ด้านการอ่าน ประกอบด้วยเอกสาร 6 เล่ม
        เอกสารชุดที่ 3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
ด้านการเขียน ประกอบด้วยเอกสาร 3 เล่ม
       เอกสารชุดที่ 4 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
ด้านคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยเอกสาร 5 เล่ม

	          สำาหรับเอกสารนี้เป็นเล่มที่ 2 ในเอกสารชุดที่ 1 การเตรียมความพร้อมสำาหรับนักเรียน
ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้	 ซึ่งในเอกสารจะกล่าวถึงสภาพปัญหา	 แนวทางพัฒนา	 เทคนิควิธีการ
และสื่อการเรียนการสอน	 รวมทั้งกิจกรรมการจัดการเรียนรู้และแบบฝึก 	 ที่จะนำาไปสู่การแก้ไขปัญหา
ที่เกิดกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ	 ทั้งนี้ในการนำาไปใช้
ครูผู้สอน	ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องอาจพิจาณาปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
สำานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน	 ขอขอบคุณผู้มีส่วนร่วมในการจัดทำาเอกสารชุดนี้	
หวังเป็นอย่างยิงว่าเอกสารนีจะก่อให้เกิดประโยชน์ตอครูผสอน	ผูปกครองและผูเกียวข้องทุกระดับซึงจะได้นำา
               ่           ้                    ่    ู้     ้          ้ ่               ่
ไปประยุกต์ใช้เพือพัฒนานักเรียนทีมความบกพร่องทางการเรียนรูได้อย่างเหมาะสม	กล่าวคือนักเรียนทีมความ
                 ่              ่ ี                       ้                                ่ ี
บกพร่องทางการเรียนรู้แต่ละคนจะได้รับการช่วยเหลือและส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ	 ซึ่งย่อม
ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพการศึกษาและคุณภาพชีวิตของผู้เรียน




                                                      (นายชินภัทร	ภูมิรัตน)
                                             เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ส�รบัญ

เรื่อง	      	 	                                                                                                                                หน้า
คำานำา
สารบัญ
บทนำา
การเตรียมความพร้อมของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้...................................................	                                   1	
แนวทางในการเตรียมความพร้อมสำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้...................................                                        2
ขอบข่ายการเตรียมความพร้อมสำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้....................................                                        6
แผนภาพแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมสำาหรับนักเรียน
ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้..........................................................................................................	         7
เทคนิควิธีการช่วยเหลือและพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู.้ .........                                                                   8
ตารางวิเคราะห์แผนการจัดกิจกรรมการเตรียมความพร้อม..................................................................	                               9	
ด้านที่ 3 การเตรียมความพร้อมในการรับรู้ทางการได้ยิน..............................................                                                11
แผนการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม การจำาแนกจากการได้ยิน...............................                                                             12
กิจกรรมที่	 1	เสียงอะไรเอ่ย.................................................................................................................	    12
กิจกรรมที่	 2	เสียงพยัญชนะไทย........................................................................................................	           14
แผนการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม การจำาจากการได้ยิน........................................                                                       21
กิจกรรม		 เสียงคำาที่ใกล้เคียงกัน.....................................................................................................           21
แผนการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม การเรียงลำาดับจากการได้ยิน........................                                                               28
กิจกรรมที่	 1	อวัยวะฉันอยู่ไหน...........................................................................................................	       28
กิจกรรมที่	 2	เก็บของใส่ตะกร้า...........................................................................................................	       30
กิจกรรมที่	 3	ไล่ตามพยัญชนะ............................................................................................................	         32
กิจกรรมที่	 4	ตอบคำาถามฉันหน่อย.....................................................................................................             36
ด้านที่ 4 การเตรียมความพร้อมในการประสานสัมพันธ์ระหว่างสายตากับมือ........                                                                        42
แผนการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม การหยิบจับวัตถุ................................................                                                  43
กิจกรรมที่	 1	แท่งไม้มหาสนุก.............................................................................................................	       43
กิจกรรมที่	 2	บล็อกหรรษา..................................................................................................................	      45
เรื่อง	 	 			         	                                                                                                                       หน้า
กิจกรรมที่	 3	เสกสรรปั้นแต่ง...........................................................................................................	       47
กิจกรรมที่	 4	นิ้วนำาทาง...................................................................................................................    49
กิจกรรมที่	 5	กระดาษหรรษา..........................................................................................................	           51
แผนการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม การขีดเขียน....................................................                                                71
กิจกรรมที่	 1	ดินสอสามมุม..............................................................................................................	       71
กิจกรรมที่	 2	ลีลาพาเพลิน...............................................................................................................	      73
ด้านที่ 5 การเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ..................................................................                                      99
แผนการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับขนาด.......................................................................................................	            100
กิจกรรม	 บอกได้ใหญ่-เล็ก...........................................................................................................	          100
แผนการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับรูปทรง......................................................................................................	 107
กิจกรรม		 วงกลมมหัศจรรย์............................................................................................................	 107
แผนการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการสังเกต	การจำาแนก	และการเปรียบเทียบ.......................................... 114
กิจกรรม	 สี่เหลี่ยมหรรษา...............................................................................................................	 114
แผนการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตำาแหน่ง................................................................................................... 121
กิจกรรม	 เธออยู่ไหนเอ่ย................................................................................................................	 121
แผนการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับทิศทาง.....................................................................................................	            133
กิจกรรม	 จำาได้ซ้ายขวา..................................................................................................................      133
บรรณานุกรม...............................................................................................................................     139
คณะทำางาน..................................................................................................................................   140
บทนำ�
การเตรียมความพร้อมของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

	         เด็กทุกคนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของชาติ	 มีสิทธิและศักดิ์ศรีเท่าเทียมกันตามสิทธิมนุษยชนและ
สิทธิตามกฎหมายในสังคมไทย	 เด็กทุกคนจึงสมควรได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจังตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ	
แรกเกิดและเติบโต	โดยได้รับความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย	ตลอดจนได้รับการเตรียม
ความพร้อมให้มความเข้มแข็งทังด้านร่างกาย	จิตใจ	อารมณ์และสังคม	เพือจะได้เติบโตเป็นผูใหญ่ทมคณภาพ
                ี             ้                                        ่                  ้     ี่ ี ุ
ในอนาคต	นักเรียนทีมความบกพร่องทางการเรียนรู้	มีระดับสติปญญา	(IQ)	อยูในระดับปกติเหมือนนักเรียน
                    ่ ี                                        ั             ่
ทั่วไป	 แต่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำากว่าความสามารถที่แท้จริง	 เนื่องจากความบกพร่องของกระบวนการ	
ทางจิตวิทยา	 (Psychological	 Processes)	 ซึ่งเป็นความบกพร่องในกระบวนการด้านการเห็น	 (Visual	
Processing	Disabilities)	ความบกพร่องในกระบวนการด้านการได้ยิน	(Auditory	Processing	Disabilities)	
ความบกพร่องในกระบวนการจัดลำาดับ	(Sequential	Processing	Disabilities)	ความบกพร่องในกระบวนการ
สร้างความคิดรวบยอด	(Conceptual	Processing	Disabilities)	และความบกพร่องในกระบวนการด้านการใช้
ความเร็วในการเคลื่อนไหวและทำากิจกรรม	(Processing	Speed	Disabilities)	ทำาให้ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้
คือ	ความเข้าใจภาษา	การพูด	การอ่าน	การเขียน	การสะกดคำา	และคณิตศาสตร์	 แสดงออกให้เห็นโดยมี
ปัญหาการอ่านไม่ได้	พูดไม่ได้ใจความ	อ่านจับใจความไม่ได้	เขียนหนังสือไม่เป็นตัว	เขียนไม่ตรงเส้นบรรทัด	
เขียนตามคำาบอกไม่ได้	 สะกดคำาไม่ได้	 ไม่เข้าใจความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์เป็นต้น	 นอกจากนี้ยัง
พบว่านักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ยังมีปัญหาอื่นๆ	ร่วมด้วย	ได้แก่
	         1.	ขาดความเชื่อมั่นและการยอมรับตนเอง	(Self	Esteem)	ซึ่งแสดงออกโดย	ไม่พยายามทำาสิ่ง
ใหม่	กลัวความล้มเหลว	ขี้อาย	เก็บตัว	โกรธ	ก้าวร้าว	เบื่อการอ่าน	เบื่อการเรียน
	         2.	สับสนกับบทบาทและการแสดงออกทางสังคม	(Social	Confusion)	ไม่เข้าใจปฏิกิริยาของผู้อื่น	
ทำาให้แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ	เช่น	แสดงออกมากเกินไป(Overreact)	ประเมินเรืองเกินจริง	 ่
หุนหันพลันแล่น	โต้ตอบช้าเกินไป	เป็นต้น
	         3.	 มีความยุ่งยากในการสื่อสาร	 (Communication)	 สื่อสารไม่ได้	 จึงหลีกเลี่ยงการพูดคุย	 หรือ
แสดงออกอย่างก้าวร้าวแทนการพูดดีๆ	ไม่อยากมีเพื่อนเพราะกลัวถูกล้อเลียนทำาให้ดูไม่เป็นมิตรกับผู้อื่น
	         4.	มีปัญหาด้านสมาธิ	(Attention)	ทำาให้ไม่อยู่นิ่ง	หรือทำากิจกรรมไม่ต่อเนื่อง	ทำางานไม่เสร็จตาม
กำาหนด	เป็นต้น




                                                  1
ปัญหาเหล่านี้เป็นอุปสรรคสำาคัญในการเรียนรู้	 ทำาให้ไม่ประสบความสำาเร็จในการเรียน	 ครูและ
ผู้เกี่ยวข้องจึงจำาเป็นต้องช่วยเหลือ	 โดยการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
ตั้งแต่เริ่มพบปัญหา	 เพื่อลดข้อจำากัดในการเรียนรู้และเป็นการส่งเสริมให้มีความรู้พื้นฐาน	 ซึ่งเป็นเครื่องมือ
ในการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
	           อย่างไรก็ตามการพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้นั้น	 จำาเป็นต้องพัฒนา
อย่างมีทิศทางและดำาเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นกระบวนการ	โดยความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย	ได้แก่	ครู	
พ่อแม่	ผู้บริหาร	และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ	ซึ่งควรมีการประเมินความสามารถพื้นฐานโดยละเอียดและนำาปัญหาที่
พบมาวิเคราะห์รวมทั้งกำาหนดจุดประสงค์ในการพัฒนาอย่างชัดเจน	 มีการประชุมเพื่อจัดทำาแผนการจัดการ
ศึกษาเฉพาะบุคคล	และนำาไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง
	           สำาหรับการช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้นั้นมีเป้าหมายในการพัฒนา	คือ
	           1.	เพื่อลดข้อจำากัดในการเรียนรู้ของนักเรียน
	           2.	เพื่อให้นักเรียนยอมรับตนเองและประสบผลสำาเร็จในการดำาเนินชีวิต
	           3.	เพื่อพัฒนาความสามารถทางการเรียนรู้ของนักเรียนด้านการอ่าน	การเขียน	และคณิตศาสตร์
	           4.	เพื่อให้นักเรียนสามารถดำาเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข	 และสามารถทำาประโยชน์ให้สังคมและ
ประเทศ

แนวทางในการเตรียมความพร้อมสำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
         การเตรียมความพร้อมสำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้	มีแนวทาง	ดังนี้
         1. การประเมินความสามารถพื้นฐาน	ครูผู้สอนสามารถประเมินโดยวิธีการที่หลากหลาย	ทั้งที่
เป็นทางการและไม่เป็นทางการ	การทดสอบอย่างเป็นทางการ	ได้แก่	การวัดระดับสติปญญา	(IQ	Test)	การวัดระดับ
                                                                         ั
ผลสัมฤทธิทางการเรียน	(Achievement	Test)	การทดสอบอย่างไม่เป็นทางการ	ได้แก่	การสังเกตพฤติกรรม
          ์
ทางการเรียนของนักเรียน	การใช้แบบสำารวจปัญหาทางการเรียน	ศึกษาจากแบบบันทึก	ประวัต	การสัมภาษณ์
                                                                                    ิ
ผูปกครอง	การทดสอบนักเรียนเป็นรายบุคคล	เพือวิเคราะห์สภาพปัญหาทางการเรียนรูของนักเรียน	ด้านการ
  ้                                         ่                                 ้
อ่าน	การเขียน	การสะกดคำา	และคณิตศาสตร์	และใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ	หาแนวทางช่วยเหลือ
          2. การส่งเสริมศักยภาพของนักเรียนและลดข้อจำากัดจากปัญหาที่มีอยู่	 ครูผู้สอนสามารถ
สังเกตและวิเคราะห์ลีลาการเรียนรู้ว่า	นักเรียนแต่ละคนมีความถนัดหรือมีลีลาในการเรียนรู้แบบใด	เช่น	การ
ใช้ตาในการมอง	การฟัง	การใช้การสัมผัสหรือลงมือทำา	ชอบการเรียนรู้คนเดียวหรือเรียนเป็นกลุ่ม	เป็นต้น	
ซึ่งจะช่วยให้สามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลายและสอดคล้องกับความต้องการจำาเป็นได้
          3. การวิเคราะห์ปัญหาของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ซึ่งมีความบกพร่องใน
การรับรู้ทางจิตวิทยา	ประกอบด้วย	ความบกพร่องในการรับรู้ทางการได้ยิน	การเห็น	การประสานสัมพันธ์ของ
ตากับการรับรู้ของกล้ามเนื้อ	ความจำาและการจัดระเบียบในการเรียนรู้	พิจารณาได้จากประเด็นต่อไปนี้



                                                    2
การรับรู้ทางการได้ยิน	เป็นความสามารถในการตีความสิ่งเร้าที่เราได้ยิน	รวมถึงทักษะต่างๆ	
เช่น	 ความจำาจากการได้ยิน	 ความสามารถแยกแยะเสียง	 ความสามารถในการวิเคราะห์และสังเคราะห์สิ่งที่
ได้ยิน	ความสามารถในการฟังและเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งในขณะที่มีเรื่องอื่นๆ	เข้ามาแทรก
          การรับรู้ทางการเห็น	 เป็นความสามารถในการตีความสิ่งที่เห็น	 รวมถึงความจำาจากการเห็น	
ความสามารถในการแยกแยะสิงทีเห็น	ความสามารถในการวิเคราะห์และสังเคราะห์สงทีเห็นและความสามารถ
                        ่ ่                                            ิ่ ่
ในการแยกแยะภาพใดภาพหนึ่งเมื่อมีภาพอื่นๆ	เข้ามาแทรก
               การจัดระเบียบในการเรียนรู้	 เป็นความสามารถในการจัดระเบียบสิ่งเร้าทั้งที่เป็นคำาพูดและ
ที่ไม่เป็นคำาพูด	 ความสามารถในการที่จะจัดการกับข้อมูลด้วยตนเอง	 รวมทั้งความสามารถในการจัดระบบ
คำาพูด	การจัดระบบความคิด	และการจัดระเบียบทางมิติสัมพันธ์
              การรับรู้ทางกล้ามเนื้อ	 เป็นความสามารถในการรับรู้สิ่งเร้าโดยผ่านประสาทสัมผัสและแสดง
ปฏิกิริยากลับออกมาในรูปของการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ
                 ความจำา	เป็นความสามารถในการจัดเก็บและดึงประสบการณ์เดิมโดยผ่านประสาทสัมผัสและ
การรับรู้สิ่งเร้าที่เคยผ่านมาแล้ว	ความจำาแบ่งเป็น	2	ชนิด	คือ	ความจำาระยะสั้น	และความจำาระยะยาว	ความ
จำาระยะสันเป็นการเก็บข้อมูลชัวคราวโดยทีเรามีการตระหนักถึงสิงนัน	ส่วนความจำาระยะยาวเป็นการเก็บข้อมูล
          ้                     ่         ่                   ่ ้
อย่างถาวร	 เป็นกระบวนการโยกย้ายข้อมูลจากความจำาระยะสั้นมาสู่ความจำาระยะยาว	 สำาหรับนักเรียนที่มี
ความบกพร่องทางการเรียนรู้จะมีปัญหาด้านความจำา
             การดึงข้อมูลจากความจำา	 เป็นความสามารถในการที่จะระลึกถึงข้อมูลที่จัดเก็บในความจำา
ระยะยาวออกมาใช้	สำาหรับนักเรียนทีมความบกพร่องทางการเรียนรูจะมีความยากลำาบากในเรืองดังกล่าวเมือ
                                 ่ ี                       ้                     ่           ่
ครูให้งานกับนักเรียนๆ	จะไม่สามารถถึงข้อมูลจากความจำาระยะยาวออกมาใช้ได้
               ปัญหาทางด้านสังคมและอารมณ์	 นักเรียนมักจะมีปัญหาอารมณ์รุนแรงและมีปัญหาในด้าน
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลอื่น	 ทั้งนี้เพราะนักเรียนไม่เข้าใจเงื่อนไขทางสังคม	 ทำาให้มีความรู้สึกต่ำาต้อย	
มีความวิตกกังวลและมีความหดหู่ใจ
	         จากการวิเคราะห์ปัญหา	 นำาไปสู่การวิเคราะห์หาหลักการ	 เทคนิควิธีการ	 แนวทางในการแก้ไขให้
ครอบคลุมสภาพปัญหา	 ออกแบบแผนการจัดกิจกรรมในการเตรียมความพร้อมและเทคนิควิธีการช่วยเหลือ
เบื้องต้นสำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้	สามารถสรุปเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อม
สำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ใน	5	ด้าน	ดังนี้
          1. การเตรียมความพร้อมด้านสมาธิ
	         	 การเตรียมความพร้อมด้านสมาธิ	ประกอบด้วย	การเพิมช่วงความสนใจ	(Attention	Span)	และ
                                                                  ่
ความจดจ่อ	(Concentration)
	         	 การฝึกและเตรียมความพร้อมด้านสมาธิมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนไม่วอกแวกง่าย	 มีความ
ตั้งใจในการทำางาน	สามารถทำางานได้เสร็จทันกำาหนดเวลา	มีผลงานที่เรียบร้อย	มีระเบียบ	รู้จักการรอคอย	
และเป็นพื้นฐานที่จำาเป็นสำาหรับนักเรียนในการเรียนรู้เรื่องต่างๆ	 ดังนั้นกิจกรรมที่ใช้ในการฝึกสมาธิจึงควร

                                                   3
เป็นกิจกรรมทีชวยเพิมช่วงความสนใจและความจดจ่อให้แก่นกเรียน	โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ	เช่น	การเล่นเกม
             ่ ่ ่                                 ั
ที่สนใจ	การทำางานศิลปะที่ชอบ	เป็นต้น
         2. การเตรียมความพร้อมด้านการรับรู้ทางการเห็น
	        	 การเตรียมความพร้อมด้านการรับรู้ทางการเห็น	 ประกอบด้วย	 การสังเกต	 การกวาดสายตา	
การต่อเติมภาพให้สมบูรณ์	(Visual	Closure)	การจำาแนกภาพจากฉากหลัง	(Visual	Figure	Ground)	การ
จำาแนกทางการเห็น	(Visual	Discrimination)	การจำาจากการเห็น(Visual	Memory)	และการเรียงลำาดับภาพ	
(Picture	Sequencing)	เป็นต้น
	        	 การฝึกและเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาความสามารถในกระบวนการทางการเห็น	 (Visual	
Processing	Disabilities)	สามารถใช้เทคนิควิธีการต่างๆ	ได้แก่	กิจกรรมต่อภาพ	(Jigsaw)	ต่อไม้บล็อกหรือ
ให้ดภาพ	ปิดภาพแล้วจำาให้ได้วามีภาพอะไรบ้าง	ให้ดภาพและสังเกตว่ามีความผิดปกติทใดบ้าง	ให้ดภาพและ
    ู                        ่                   ู                              ี่        ู
จำาแนกรูปทรงเรขาคณิตจากภาพที่กำาหนดให้หรือให้หาคำาจากภาพอักษรปริศนา	เป็นต้น
           3. การเตรียมความพร้อมด้านการรับรู้ทางการได้ยิน
	          	 การเตรียมความพร้อมด้านการรับรู้ทางการได้ยิน	 ประกอบด้วย	 การจำาแนกทางการได้ยิน	
(Auditory	Discrimination)	การจำาจากการได้ยิน	(Auditory	Memory)	การเรียงลำาดับจากการได้ยิน	(Auditory
Sequencing)	เป็นต้น
	          	 การฝึกและเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาความสามารถในกระบวนการทางการได้ยิน	(Auditory	
Processing	Disabilities)	สามารถใช้เทคนิควิธีการต่างๆ	ได้แก่	ให้นักเรียนนั่งหลับตา	และถามว่านักเรียน
ได้ยินเสียงอะไร	ให้พูดตามเพือนเป็นคำา	เป็นประโยคให้นบวันในรอบสัปดาห์	หรือนับเดือนในรอบหนึงปีย้อน
                                  ่                         ั                               ่
กลับ	เช่น	ธันวาคม	พฤศจิกายน	มกราคม	ให้ฟังเพลงแล้วนึกถึงคำาในเนื้อเพลงแต่ละคำา	ให้นักเรียนท่องตัว
อักษรย้อนกลับ	เช่น	ฮ	อ	ฬ...ก	หรือ	Z	Y	X…A	ให้เพื่อนเล่าเรื่องสั้นๆ	ให้ฟัง	หลังจากจบแล้ว	ให้นักเรียน
เล่าเรื่องที่จบไปเมื่อครู่นี้	หรือให้มีกิจกรรมปฏิบัติตามคำาสั่งเพื่อน	เป็นต้น
         4. การเตรียมความพร้อมในการประสานสัมพันธ์ระหว่างสายตากับมือ
	        	 การเตรียมความพร้อมในการประสานสัมพันธ์ระหว่างสายตากับมือ	ประกอบด้วย	การฝึกทักษะ
การใช้มือ	 และการประสานความสัมพันธ์ระหว่างตากับมือเพื่อเตรียมความพร้อมในการเขียน	 การใช้มือทำา
กิจกรรมต่างๆ	เช่น	การจับวัตถุเล็ก	ๆ	การตัดโดยใช้กรรไกร	การเว้นช่องไฟในการเขียนหนังสือ	เป็นต้น
	        	 การฝึ ก และเตรี ย มความพร้ อ มเพื่ อ พั ฒ นาความสามารถในกระบวนการด้ า นการจั ด ลำา ดั บ	
(Sequential	Processing	Disabilities)	สามารถใช้เทคนิควิธีการต่างๆ	ได้แก่	 ให้นักเรียนเรียงลำาดับชื่อคน	
ตามลำาดับตัวอักษร	ก	ถึง	ฮ	ให้บอกชือของใช้ภายในบ้าน	ตามลำาดับอักษรให้เรียงลำาดับตัวอักษร	ตัวเลข	หรือ
                                  ่
คำา	ให้มองดูภาพ	แล้วบรรยายภาพ	โดยละเอียด	ให้ฝึกอ่านคำาสั่งหลังปฏิบัตตาม	เช่น	การติดตั้งเสาโทรทัศน์	
                                                                       ิ
การทำาอาหาร	 เป็นต้น	 ให้บอกวันเกิดของเพื่อนๆ	 ให้ได้มากที่สุด	 ให้เลียนแบบการแสดงท่าทางของเพื่อน
แต่ละคน	เป็นต้น




                                                 4
การฝึกและเตรียมความพร้อมเพือพัฒนาความสามารถในกระบวนการด้านการใช้ความเร็วในการ
                                            ่
เคลื่อนไหวและทำากิจกรรมต่างๆ	(Processing	Speed	Disabilities)	สามารถใช้เทคนิควิธีการต่างๆ	ได้แก่	
ให้นักเรียนเล่นเกมคอมพิวเตอร์	 หรือวิดีโอเกม	 ครูเปิดเทปเสียงโดยใช้ความเร็วสูงกว่าปกติ	 แล้วถามนักเรียนว่า
ได้ยินประโยคใดบ้าง	 เข้าใจข้อความใดบ้าง	 เป็นต้น	 จับเวลาในการทำากิจวัตรประจำาวันของนักเรียน	 เช่น	
การจัดที่นอน	 การนำาถุงขยะไปทิ้ง	 ให้นักเรียนอ่านเรื่องสั้นๆ	 ให้จบภายในเวลาที่กำาหนด	 ให้นักเรียนต่อ
ไม้บล็อกให้เสร็จในเวลาที่กำาหนดหรือให้เลือกตัวอักษร	ก	–	ฮ	สระ	อะ	อี...แล้วให้บอกว่าตัวอักษรหรือสระ
ดังกล่าว	อยู่ระหว่างตัวอักษร	หรือสระใด	เป็นต้น
           5. การเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ
	          	 การเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ	 ประกอบด้วยการให้เด็กเรียนรู้ความคิดรวบยอด	 ขนาด	
การรับรู้	ปริมาณ	รูปทรง	ตำาแหน่ง	การสังเกต	จำาแนก	เปรียบเทียบ	เวลา	การแก้ปัญหา	การใช้ภาษาและ
การสื่อสารเป็นต้น
	          	 การฝึกและเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาความสามารถในกระบวนการสร้างความคิดรวบยอด	
(Conceptual	Processing	Disability)	สามารถใช้เทคนิควิธีการต่างๆ	ได้แก่	ให้นักเรียนพูดคำาคล้องจองกัน
หลายๆ	คำา	เช่น	ปลาดาว	หาวนอน	ตอนเย็น	หรือให้บอกคำาที่ขึ้นต้นด้วย	ก...ข......ฮ	ให้หาสัตว์ที่ซ่อนอยู่
ในภาพ	 ให้บอกว่าเครื่องมือต่อไปนี้ใช้ทำาอะไรได้บ้าง	 (มีด	 จอบ	 ช้อน)	 และให้นักเรียนบอกสิ่งที่คาดว่าจะ
พบเห็นเมื่อจะไปทัศนศึกษา	ณ	สถานที่แห่งหนึ่ง	เช่น	ถ้าไปสวนสัตว์จะพบอะไรบ้าง	(เสือ	สิงโต	ช้าง	ลิง)	
หรือเมื่ออ่านหนังสือการ์ตูน	เรื่องขำาขัน	แล้วให้นักเรียนบอกว่า	ตลกตรงไหน	เป็นต้น	โดยการเตรียมความ
พร้อมสำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้นั้น	ควรจัดให้ครอบคลุมทั้ง	5	ด้าน	ดังแผนภาพที่ได้
นำาเสนอ	ต่อไปนี้




                                                   5
ขอบข่�ยก�รเตรียมคว�มพร้อมสำ�หรับนักเรียนที่มีคว�มบกพร่องท�งก�รเรียนรู้

                                             การเตรียมความพร้อมด้านสมาธิ
                                             l   การเพิ่มช่วงความสนใจ	(Attention	Span)
                                             l   ความจดจ่อ	(Concentration)



                                                                                             การเตรียมความพร้อมในการรับรู้ทางการเห็น
                                                                                             l การสังเกต	การกวาดสายตา
     การเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ
                                                                                             l การต่อเติมภาพให้สมบูรณ์	(Visual	Closure)




6
     l พัฒนาความคิดรวบยอด
                                                                                             l การจำาแนกภาพจากฉากหลัง	(Visual	Figure	Ground)
     l การแก้ปัญหา
                                                                                             l การจำาแนกทางการเห็น	(Visual	Discrimination)
     l ภาษาและการสื่อสาร
                                                                                             l การจำาจากการเห็น	(Visual	Memory)

                                                                                             l การเรียงลำาดับภาพ	(Picture	Sequencing)
                                                          ขอบข่าย

     การเตรียมความพร้อมในการประสานสัมพันธ์
     ระหว่างสายตากับมือ                                                                  การเตรียมความพร้อมในการรับรู้ทางการได้ยิน
                                                                                         l การจำาแนกจากการได้ยิน	(Auditory	Discrimination)
     l การหยิบจับวัตถุ
     l การขีดเขียน                                                                       l การจำาจากการได้ยิน	(Auditory	Memory)

                                                                                         l การเรียงลำาดับจากการได้ยิน	(Auditory	Sequencing)
แผนภาพแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อม
                       สำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้


                 การเตรียมความพร้อมสำาหรับนักเรียน ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้


  1.	 เพื่อลดข้อจำากัดในการเรียนรู้ให้                 หลักการ               เป็นรูปแบบวิธีการที่จัดให้สอดคล้อง
  กับนักเรียน	LD                                                             กับปัญหาของนักเรียน	LD	ทีสงเสริม
                                                                                                         ่่
  2.เพื่อพัฒนาความสามารถทางการ                                               และพัฒนานักเรียน	 LD	 ให้เกิดการ
  เรียนรู้ด้านการอ่าน	 การเขียน	 และ                  วัตถุประสงค์           เรียนรูอนจะนำาไปสูการพัฒนาทังด้าน
                                                                                    ้ั          ่           ้
  คณิตศาสตร์ของนักเรียน	LD                                                   วิชาการและด้านทักษะชีวิต	 สังคม
  3.	 เพื่ อให้ นั ก เรี ย น	 LD	 เกิ ด การ             ขอบข่าย              และส่วนตัวให้ครอบคลุมด้านสมาธิ	
  ยอมรับตนเองและประสบผลสำาเร็จใน              1.	ด้านสมาธิ                   ด้านการรับรู้ทางการเห็น	 ด้านการ
  การดำาเนินชีวิต                             2.	ด้านการรับรู้ทางการเห็น     รับรู้ทางการได้ยิน	 ด้านการประสาน
  4.	 เพื่อเป็นพื้นฐานสู่การพัฒนาด้าน         3.	ด้านการรับรู้ทางการได้ยิน   สัมพันธ์ระหว่างสายตากับมือ	 และ
  อื่นๆ	ให้มีประสิทธิภาพ                      4.	 ด้านการประสานสัมพันธ์      ด้านวิชาการ	 โดยครูผู้รับผิดชอบจัด
                                              ระหว่างสายตากับมือ             กิจกรรม
                                              5.	ด้านวิชาการ


                                    แนวการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม
1.	ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
2.	วิเคราะห์หลักการ	แนวทางแก้ไขให้ครอบคลุมสภาพปัญหา
3.	กำาหนดวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม
4.	ออกแบบแผนการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมและแบบฝึกทักษะ	ให้ครอบคลุมด้านสมาธิ	ด้านการรับรู้ทางการเห็น	
	 ด้านการรับรู้ทางการได้ยิน	ด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างสายตากับมือ	และด้านวิชาการ
5.	จัดทำาแผนการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม
6.	ประเมินความสามารถพื้นฐานโดยการทดสอบอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
7.	จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมตามแผนและประเมินการจัดกิจกรรมตามเกณฑ์
8.	ประเมินเพื่อตัดสินผลและสรุปผล


              ซ่อมเสริม                                 ประเมิน                         เกณฑ์การประเมิน
                                                                                       ตามที่กิจกรรมกำาหนด
               ไม่ผ่าน
                                                         ผ่าน


                                                        สรุปผล

                                                          7
เทคนิควิธก�รช่วยเหลือและพัฒน�นักเรียนทีมคว�มบกพร่องท�งก�รเรียนรู้
         ี                             ่ี

	      การเตรียมความพร้อมให้นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู	 ในเอกสารนี้	 จะประกอบด้วย
                                                                 ้
แผนการจัดกิจกรรมและแบบฝึกทักษะ	เพือพัฒนาทักษะใน	5	ด้านตามทีกล่าวไปแล้วข้างต้น	ซึงประกอบด้วย
                                   ่                        ่                    ่
	        1.	ด้านสมาธิ
	        2.	ด้านการรับรู้ทางการเห็น	
	        3.	ด้านการรับรู้ทางการได้ยิน	
	        4.	ด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างสายตากับมือ
	        5.	ด้านวิชาการ
	             สำาหรับการจัดทำาแผนการจัดกิจกรรมเพือเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมและแก้ปญหาในการ
                                                 ่                                       ั
เรียนรูของนักเรียนทีมความบกพร่องทางการเรียนรูนน	จะประกอบไปด้วยด้วย	ปัญหา	ระดับชัน	ชือกิจกรรม	
         ้              ่ ี                        ้ ั้                                ้ ่
จุดประสงค์การเรียนรู้	สื่อ/อุปกรณ์	วิธีดำาเนินกิจกรรม	การวัดและประเมินผล	รวมทั้งข้อเสนอแนะ	และเพื่อ
ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้เห็นภาพการเตรียมความพร้อมสำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้อย่างเป็น
ระบบ	ซึงจะช่วยให้สามารถนำาไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมยิงขึน	ในเอกสารนีจงได้นาเสนอตารางวิเคราะห์
           ่                                                ่ ้           ้ึ ำ
แผนการจัดกิจกรรมการเตรียมความพร้อมไว้ด้วย	ดังตารางต่อไปนี้




                                                 8
ตารางวิเคราะห์แผนการจัดกิจกรรมการเตรียมความพร้อม

   การเตรียม                                             แนวทางการเตรียมความพร้อม
                        ลักษณะปัญหา
   ความพร้อม                                    หลักการ/ทฤษฎี    เทคนิค/วิธีการ                 สื่อ
1.	ด้านสมาธิ       1.	ไม่อยู่นิ่ง           1.	การเพิ่มช่วงความสนใจ 1.	เกม            1.	ของจริง
                   2.	เหม่อลอย              2.	ความจดจ่อ            2.	เพลง           2.	บัตรคำา
                   3.	ใจไม่จดจ่อในการทำางาน                         3.	การใช้ประสาท	 3.	สิ่งของ
                                                                    สัมผัสที่หลากหลาย
2.	ด้านการรับรู้   1.	มีปัญหาในการมองราย     1.	การสังเกต	กวาดสายตา    1.	เกม             1.	ของจริง
ทางการเห็น         ละเอียดการเก็บข้อมูลจาก   การต่อเติมภาพให้สมบูรณ์   2.	เพลง            2.	บัตรภาพ
                   สิ่งที่มองเห็น            2.	การจำาแนกภาพจาก        3.	การใช้ประสาท    3.	แบบฝึกทักษะ
                   2.	มีความบกพร่องใน        ฉากหลัง                   สัมผัสที่ลากหลาย
                   การรับรู้ทางการเห็น       3.	การจำาแนกทางการเห็น
                   3.	มีปัญหาในการจำาจาก     4.	การจำาจากการเห็น
                   การเห็น                   5.	การเรียงลำาดับภาพ
                   4.	จำาแนกภาพจากฉาก
                   หลังไม่ได้
                   5.	เขียนหนังสือไม่ตรง
                   บรรทัด
                   6.	จำาแนกสัญลักษณ์และ
                   รูปภาพไม่ได้
                   7.	เรียงลำาดับเหตุการณ์
                   ไม่ได้

3.	ด้านการรับรู้   1.	จำาแนกเสียงที่ได้ยิน   1.	การจำาแนกจาก           1.	เกม            1.	ของจริง
ทางการได้ยิน       ไม่ได้                    การได้ยิน                 2.	เพลง           2.	บัตรภาพ
                   2.จำาแนกเสียงพยัญชนะ      2.	การจำาจากการได้ยิน     3.	การใช้ประสาท 3.	แบบฝึกทักษะ
                   ที่ใกล้เคียงกันไม่ได้     3.	การเรียงลำาดับจาก      สัมผัสที่หลากหลาย
                   3.	จำาแนกเสียงคำาที่      	การได้ยิน
                   ใกล้เคียงกันไม่ได้
                   4.	เรียงลำาดับจากการ
                   	ได้ยินไม่ได้


                                                   9
การเตรียม                                            แนวทางการเตรียมความพร้อม
                       ลักษณะปัญหา
  ความพร้อม                                   หลักการ/ทฤษฎี    เทคนิค/วิธีการ               สื่อ
4.	ด้านการประสาน 1.	การหยิบจับไม่มั่นคง    การใช้ตากับมือทำางานให้   1.	เกม           1.	ของจริง
สัมพันธ์ระหว่าง  2.	การประสานสัมพันธ์	     ประสานสัมพันธ์กัน         2.	เพลง          2.บัตรภาพ
สายตากับมือ      ระหว่างสายตากับมือไม่ดี                             3.ประสาทสัมผัส   3.	แบบฝึกทักษะ
                                                                     ที่หลากหลาย

5.	ด้านวิชาการ    ไม่มีความคิดรวบยอดเกี่ยว 1.	พัฒนาความคิดรวบยอด	 1.	เกม            1.	ของจริง
                  กับขนาด	ปริมาณ	รูปทรง 2.	การแก้ปัญหา            2.	เพลง           2.	บัตรภาพ
                  ตำาแหน่ง	การเปรียบเทียบ	 3.	ภาษาและการสื่อสาร 3.	การใช้ประสาท	 3.	แบบฝึกทักษะ
                  เวลา	ภาษาและการสื่อสาร                          สัมผัสที่หลากหลาย




                                                10
ด้านที่ 3

                    การเตรียมความพร้อม
                   ในการรับรู้ทางการได้ยิน

       การเตรียมความพร้อมในการรับรู้ทางการได้ยิน
               l    การจำาแนกจากการได้ยิน	(Auditory	Discrimination)
               l    การจำาจากการได้ยิน	(Auditory	Memory)
               l		การเรียงลำาดับจากการได้ยิน	(Auditory	Sequencing)




	          การเตรียมความพร้อมในการรับรูทางการได้ยน	เป็นการส่งเสริมให้นกเรียนทีมความบกพร่องทางการ
                                       ้         ิ                    ั       ่ ี
เรียนรูและมีความบกพร่องในการรับรูทางการได้ยน	ซึงอาจมีความยากลำาบากในการจำาแนกเสียง	การจำาจาก
       ้                         ้           ิ ่
การได้ยน	และไม่สามารถเรียงลำาดับเรืองราวจากการได้ยน	ให้สามารถจำาแนกจากการได้ยน	จำาจากการได้ยน
         ิ                         ่               ิ                              ิ            ิ
และเรียงลำาดับจากการได้ยินได้




                                              11
แผนก�รจัดกิจกรรมเตรียมคว�มพร้อม
                        ก�รจำ�แนกจ�กก�รได้ยิน

1. ปัญหา	           นักเรียนจำาแนกเสียงที่ได้ยินไม่ได้

2. ระดับชั้น	       ทุกระดับชั้น

3. กิจกรรมที่ 1	 เสียงอะไรเอ่ย

4. จุดประสงค์การเรียนรู้
	      ให้นักเรียนจำาแนกสียงที่ได้ยินได้ถูกต้อง

5. สื่อ/อุปกรณ์
	      5.1	บัตรภาพ

6. วิธีดำาเนินกิจกรรม
	      6.1	นักเรียนดูภาพข้างล่างนี้แล้วฟังครูบอกชื่อภาพ	นักเรียนหยิบภาพที่ครูอ่านชื่อให้ฟัง	ครูให้แรง
	      	 เสริมเมื่อนักเรียนหยิบภาพถูกต้อง




                                                  12
6.2	นักเรียนรับบัตรภาพจากครู	 ต่อจากนั้นครูจะอ่านชื่อภาพแต่ละภาพ	เมื่อครูอ่านชื่อภาพจบให้
	     	 นักเรียนชูภาพที่ครูอ่านจนครบทุกภาพ
	     6.3	ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยและแจกบัตรภาพให้นักเรียนนำาไประบายสี
	     6.4	ครูให้การเสริมแรงให้กับนักเรียนที่ร่วมกิจกรรม
	     6.5	นักเรียนนำาเสนอผลงานของตน	โดยการติดที่ป้ายนิเทศในห้องเรียนหรือหน้าห้องเรียน

7. การวัดและประเมินผล
	     7.1	วิธีการวัดผล
	     	 7.1.1	สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
	     	 7.1.2	ตรวจสอบผลงาน
	     7.2	เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล
	     	 7.2.1	แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
	     7.3	เกณฑ์การประเมินผล	
		    	 0	 หมายถึง	 ไม่ตอบสนอง/ทำาไม่ถูกต้อง
	     	 1	 หมายถึง	 ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนทางกายและวาจา
	     	 2	 หมายถึง	 ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยท่าทางและวาจา
	     	 3	 หมายถึง	 ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยวาจา
	     	 4	 หมายถึง	 ทำาได้ถูกต้องด้วยตนเอง
	     7.4	เกณฑ์ผ่านการประเมิน
	     	 นักเรียนทำากิจกรรมได้ระดับคุณภาพ	4

8. ข้อเสนอแนะ
	     ในกรณีที่นักเรียนไม่ผ่านการประเมิน	ครูควรจัดทำาแบบฝึกเพิ่มเติมให้กับนักเรียน




                                             13
แผนก�รจัดกิจกรรมเตรียมคว�มพร้อม
                       ก�รจำ�แนกจ�กก�รได้ยิน

1. ปัญหา	         นักเรียนจำาแนกเสียงพยัญชนะที่ใกล้เคียงกันไม่ได้

2. ระดับชั้น	     ทุกระดับชั้น

3. กิจกรรมที่ 2	 เสียงพยัญชนะไทย

4. จุดประสงค์การเรียนรู้	 นักเรียนจำาแนกเสียงพยัญชนะได้

5. สื่อ/อุปกรณ์
	      5.1	แบบฝึกทักษะที่	1	–	5
	      5.2	บัตรภาพ
	      5.3	บัตรพยัญชนะ

6. วิธีดำาเนินกิจกรรม
	      6.1	ครูแจกบัตรภาพพยัญชนะให้นักเรียนแล้วออกเสียงพยัญชนะให้นักเรียนฟังแล้วให้นักเรียน
	      	 ชูบัตรภาพพยัญชนะให้ตรงกับเสียง
       6.2 ครูแจกบัตรพยัญชนะให้นกเรียน	แล้วออกเสียงพยัญชนะให้นกเรียนฟัง	และให้นกเรียนออกเสียงตาม
                                ั                             ั                ั
           พร้อมทั้งชูบัตรภาพพยัญชนะให้ตรงตามเสียง
	      6.3	นักเรียนดูแบบฝึกทักษะที่ครูแจกให้
	      6.4	 ครูอ่านออกเสียงพยัญชนะทีละตัวในแต่ละข้อพร้อมชี้ไปที่พยัญชนะตัวนั้นและให้	 นักเรียน
	      	 พูดตาม
	      6.5	ครูอ่านออกเสียงพยัญชนะทั้ง	3	ตัว	แล้วครูถามนักเรียนว่าตัว	...	อยู่ไหนให้นักเรียนชี้บอก
	      	 เช่น	ตัว	“ม”	อยู่ไหน

7. การวัดและประเมินผล
	      7.1	วิธีการวัดผล
	      	 7.1.1	สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
		     	 7.1.2	ตรวจสอบผลงาน
	      7.2	เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล	
	      		 7.2.1	แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้


                                              14
7.3	เกณฑ์การประเมินผล	
	     	 0	 หมายถึง	 ไม่ตอบสนอง/ทำาไม่ถูกต้อง
	     	 1	 หมายถึง	 ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนทางกายและวาจา
	     	 2	 หมายถึง	 ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยท่าทางและวาจา
	     	 3	 หมายถึง	 ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยวาจา
	     	 4	 หมายถึง	 ทำาได้ถูกต้องด้วยตนเอง
	     7.4	เกณฑ์ผ่านการประเมิน
	     	 นักเรียนทำากิจกรรมได้ระดับคุณภาพ	4

8. ข้อเสนอแนะ
	     ครูอาจสร้างแบบฝึกทักษะเพิ่มเติมให้หลากหลาย




                                          15
แบบฝึกทักษะที่ 1 เสียงพยัญชนะไทย

คำาชี้แจง ให้นกเรียนออกเสียงพยัญชนะตามครู แล้ว
              ั                                                              ล้อมรอบตัวพยัญชนะทีออกเสียง
                                                                                                ่

 1



                       ช                                     ด                                                         ย
 2

                       ล                                    ข                                                        ฟ
 3


                       ถ                                     ร                                                       พ
เกณฑ์การประเมินผล                                                            ประเมินผล
(	)	0	หมายถึง	ไม่ตอบสนอง/ทำาไม่ถูกต้อง                                                ผ่าน                                   ไม่ผ่าน
(	)	1	หมายถึง	ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนทางกายและวาจา       ข้อเสนอแนะ
(	)	2	หมายถึง	ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยท่าทางและวาจา   ......................................................................................
(	)	3	หมายถึง	ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยวาจา            ......................................................................................
(	)	4	หมายถึง	ทำาได้ถูกต้องด้วยตนเอง                                         ......................................................................................




                                                            16
แบบฝึกทักษะที่ 2 เสียงพยัญชนะไทย

คำาชี้แจง ให้นกเรียนออกเสียงพยัญชนะตามครู แล้ว
              ั                                                              ล้อมรอบตัวพยัญชนะทีออกเสียง
                                                                                                ่

1


                      ก                                       จ                                                        ม
2


                       ง                                      ต                                                         ก
3


                      ต                                       ส                                                        น
เกณฑ์การประเมินผล                                                            ประเมินผล
(	)	0	หมายถึง	ไม่ตอบสนอง/ทำาไม่ถูกต้อง                                                ผ่าน                                   ไม่ผ่าน
(	)	1	หมายถึง	ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนทางกายและวาจา       ข้อเสนอแนะ
(	)	2	หมายถึง	ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยท่าทางและวาจา   ......................................................................................
(	)	3	หมายถึง	ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยวาจา            ......................................................................................
(	)	4	หมายถึง	ทำาได้ถูกต้องด้วยตนเอง                                         ......................................................................................




                                                            17
แบบฝึกทักษะที่ 3 เสียงพยัญชนะไทย

คำาชี้แจง ให้นกเรียนออกเสียงพยัญชนะตามครู แล้ว
              ั                                                              ล้อมรอบตัวพยัญชนะทีออกเสียง
                                                                                                ่


1


                      ผ                                       ป                                                        ฎ
2


                      ธ                                       ล                                                       ฆ
3


                     ณ                                       ฑ                                                         ค
เกณฑ์การประเมินผล                                                            ประเมินผล
(	)	0	หมายถึง	ไม่ตอบสนอง/ทำาไม่ถูกต้อง                                                ผ่าน                                   ไม่ผ่าน
(	)	1	หมายถึง	ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนทางกายและวาจา       ข้อเสนอแนะ
(	)	2	หมายถึง	ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยท่าทางและวาจา   ......................................................................................
(	)	3	หมายถึง	ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยวาจา            ......................................................................................
(	)	4	หมายถึง	ทำาได้ถูกต้องด้วยตนเอง                                         ......................................................................................



                                                            18
แบบฝึกทักษะที่ 4 เสียงพยัญชนะไทย

คำาชี้แจง ให้นกเรียนออกเสียงพยัญชนะตามครู แล้ว
              ั                                                              ล้อมรอบตัวพยัญชนะทีออกเสียง
                                                                                                ่



1
                      ง                                      ย                                                       ม
2
                      ร                                      บ                                                       ฝ
3
                     ป                                       ฝ                                                        ร
เกณฑ์การประเมินผล                                                            ประเมินผล
(	)	0	หมายถึง	ไม่ตอบสนอง/ทำาไม่ถูกต้อง                                                ผ่าน                                   ไม่ผ่าน
(	)	1	หมายถึง	ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนทางกายและวาจา       ข้อเสนอแนะ
(	)	2	หมายถึง	ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยท่าทางและวาจา   ......................................................................................
(	)	3	หมายถึง	ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยวาจา            ......................................................................................
(	)	4	หมายถึง	ทำาได้ถูกต้องด้วยตนเอง                                         ......................................................................................



                                                            19
แบบฝึกทีกษะที่ 5 เสียงพยัญชนะไทย

คำาชี้แจง ให้นกเรียนออกเสียงพยัญชนะตามครู แล้ว
              ั                                                              ล้อมรอบตัวพยัญชนะทีออกเสียง
                                                                                                ่



1
                     ฉ                                       ช                                                     ญ
2
                     ข                                        ว                                                       จ
3
                     ภ                                       ษ                                                      ฆ
เกณฑ์การประเมินผล                                                            ประเมินผล
(	)	0	หมายถึง	ไม่ตอบสนอง/ทำาไม่ถูกต้อง                                                ผ่าน                                   ไม่ผ่าน
(	)	1	หมายถึง	ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนทางกายและวาจา       ข้อเสนอแนะ
(	)	2	หมายถึง	ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยท่าทางและวาจา   ......................................................................................
(	)	3	หมายถึง	ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยวาจา            ......................................................................................
(	)	4	หมายถึง	ทำาได้ถูกต้องด้วยตนเอง                                         ......................................................................................



                                                            20
แผนก�รจัดกิจกรรมเตรียมคว�มพร้อม
                        ก�รจำ�จ�กก�รได้ยิน

1. ปัญหา	          นักเรียนฟังเสียงแล้วจำาเสียงจากการฟังไม่ได้หรือจำาได้แต่มีระยะในการจำาสั้น

2. ระดับชั้น	      ทุกระดับชั้น

3. กิจกรรม	        เสียงคำาที่ใกล้เคียงกัน

4. จุดประสงค์การเรียนรู้
	      4.1	นักเรียนจำาแนกคำาจากการได้ยินได้
	      4.2	นักเรียนพูดทวนตามเสียงคำาที่ได้ยินได้

5. สื่อ/อุปกรณ์
	      5.1	แบบฝึกทักษะที่	1	–	5
	      5.2	บัตรคำา

6. วิธีดำาเนินกิจกรรม
	      6.1	ครูฝึกการจำาจากการฟังโดยให้นักเรียนพูดตามคำาที่ครูออกเสียง	เช่น	
	      	 	 ปู	นักเรียนพูดว่า	ปู
	      	 	 งู	นักเรียนพูดว่า	งู
	      6.2	ครูเพิ่มจำานวนคำามากขึ้นเป็นครั้งละ	3	-	6	คำา	แล้วนักเรียนพูดตาม	เช่น	ปู	-	งู	–	หู
           กา	–	ขา	–	อา
	      6.3	นักเรียนฟังคำาที่ครูอ่านจากแบบฝึกทักษะที่	1	–	5	แล้วปฏิบัติตามคำาสั่งที่กำาหนด

7. การวัดและประเมินผล
	      7.1	วิธีการวัดผล
	      	 	 7.1.1	สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
	      	 	 7.1.2	ตรวจสอบความถูกต้องจากการปฏิบัติ
	      7.2	เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล	
	      	 	 7.1.1	แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
	      	 	 7.1.2	แบบประเมินทักษะ



                                               21
7.3	เกณฑ์การประเมินผล	
	        	 	 0	       หมายถึง	        ไม่ตอบสนอง/ทำาไม่ถูกต้อง
	        	 	 1	       หมายถึง	        ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนทางกายและวาจา
	        	 	 2	       หมายถึง	        ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยท่าทางและวาจา
	        	 	 3	       หมายถึง	        ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยวาจา
	        	 	 4	       หมายถึง	        ทำาได้ถูกต้องด้วยตนเอง
	        7.4	เกณฑ์ผ่านการประเมิน
	        	 	 นักเรียนทำากิจกรรมได้ระดับคุณภาพ	4

8. ข้อเสนอแนะ
         ครูสามารถสร้างแบบฝึกทักษะโดยนำาคำาหลาย	ๆ	คำาที่ออกเสียงคล้ายกัน	มาให้นักเรียนฝึกการจำาเสียงคำา
หากนักเรียนจำาคำาไม่ได้	ครูพยายามพูดช้า	ๆ




                                                 22
แบบฝึกทักษะที่ 1 จำาเสียงคำา

คำาชี้แจง ให้นักเรียนออกเสียงคำาตามครูทีละข้อ แล้ว                                         ล้อมรอบคำาตามเสียงที่ครู
          กำาหนดให้ข้อละ 1 คำา




   1.
                           กา                                    ขา                                                   ตา
   2.
                             พี่                                   ตี                                                       สี
   3.
                             ปู                                     งู                                                     หู
เกณฑ์การประเมินผล                                                            ประเมินผล
(	)	0	หมายถึง	ไม่ตอบสนอง/ทำาไม่ถูกต้อง                                                ผ่าน                                   ไม่ผ่าน
(	)	1	หมายถึง	ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนทางกายและวาจา       ข้อเสนอแนะ
(	)	2	หมายถึง	ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยท่าทางและวาจา   ......................................................................................
(	)	3	หมายถึง	ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยวาจา            ......................................................................................
(	)	4	หมายถึง	ทำาได้ถูกต้องด้วยตนเอง                                         ......................................................................................




                                                            23
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2

Contenu connexe

Tendances

ชุดที่4 เล่ม4 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่4 เล่ม4 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...ชุดที่4 เล่ม4 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่4 เล่ม4 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...sornordon
 
ชุดที่4 เล่ม5 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่4 เล่ม5 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...ชุดที่4 เล่ม5 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่4 เล่ม5 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...sornordon
 
ชุดที่4 เล่ม3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่4 เล่ม3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...ชุดที่4 เล่ม3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่4 เล่ม3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...sornordon
 
ชุดที่2 เล่ม5 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่2 เล่ม5 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...ชุดที่2 เล่ม5 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่2 เล่ม5 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...Napadon Yingyongsakul
 
ชุดที่3 เล่ม2 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่3 เล่ม2 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...ชุดที่3 เล่ม2 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่3 เล่ม2 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...sornordon
 
ชุดที่4 เล่ม2 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่4 เล่ม2 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...ชุดที่4 เล่ม2 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่4 เล่ม2 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...sornordon
 
ชุดที่3 เล่ม3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่3 เล่ม3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...ชุดที่3 เล่ม3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่3 เล่ม3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...sornordon
 
F14c480a63192c11d518
F14c480a63192c11d518F14c480a63192c11d518
F14c480a63192c11d518Where Try
 
เล่มที่ 1 2 slideshare
เล่มที่ 1 2 slideshareเล่มที่ 1 2 slideshare
เล่มที่ 1 2 slideshareNumuk
 
School curriculum usage report
School curriculum usage reportSchool curriculum usage report
School curriculum usage reportpeter dontoom
 
ใบความรู้วิชาห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ 2
ใบความรู้วิชาห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ 2ใบความรู้วิชาห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ 2
ใบความรู้วิชาห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ 2Ploykarn Lamdual
 
ใบความรู้ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ม.2
ใบความรู้ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้  ม.2ใบความรู้ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้  ม.2
ใบความรู้ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ม.2Ploykarn Lamdual
 
รูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงานรูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงานAjBenny Pong
 

Tendances (20)

ชุดที่4 เล่ม4 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่4 เล่ม4 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...ชุดที่4 เล่ม4 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่4 เล่ม4 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
 
ชุดที่4 เล่ม5 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่4 เล่ม5 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...ชุดที่4 เล่ม5 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่4 เล่ม5 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
 
ชุดที่4 เล่ม3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่4 เล่ม3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...ชุดที่4 เล่ม3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่4 เล่ม3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
 
ชุดที่2 เล่ม5 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่2 เล่ม5 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...ชุดที่2 เล่ม5 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่2 เล่ม5 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
 
ชุดที่3 เล่ม2 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่3 เล่ม2 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...ชุดที่3 เล่ม2 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่3 เล่ม2 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
 
ชุดที่4 เล่ม2 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่4 เล่ม2 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...ชุดที่4 เล่ม2 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่4 เล่ม2 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
 
ชุดที่3 เล่ม3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่3 เล่ม3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...ชุดที่3 เล่ม3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่3 เล่ม3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
 
F14c480a63192c11d518
F14c480a63192c11d518F14c480a63192c11d518
F14c480a63192c11d518
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่  2หน่วยการเรียนรู้ที่  2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
 
เล่มที่ 1 2 slideshare
เล่มที่ 1 2 slideshareเล่มที่ 1 2 slideshare
เล่มที่ 1 2 slideshare
 
Work you selt3
Work you selt3Work you selt3
Work you selt3
 
School curriculum usage report
School curriculum usage reportSchool curriculum usage report
School curriculum usage report
 
ใบความรู้วิชาห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ 2
ใบความรู้วิชาห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ 2ใบความรู้วิชาห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ 2
ใบความรู้วิชาห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ 2
 
ใบความรู้ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ม.2
ใบความรู้ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้  ม.2ใบความรู้ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้  ม.2
ใบความรู้ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ม.2
 
Work you selt2
Work you selt2Work you selt2
Work you selt2
 
port peter64.pdf
port peter64.pdfport peter64.pdf
port peter64.pdf
 
Post selt2
Post selt2Post selt2
Post selt2
 
200 day part1
200 day part1200 day part1
200 day part1
 
รูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงานรูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงาน
 
ใบงาน2
ใบงาน2ใบงาน2
ใบงาน2
 

Similaire à ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2

1.รายงานปฏิบัติงาน255538หน้า
1.รายงานปฏิบัติงาน255538หน้า1.รายงานปฏิบัติงาน255538หน้า
1.รายงานปฏิบัติงาน255538หน้าKruthai Kidsdee
 
แบบรายงานผลการปฏิบัติงานและพัฒนาตนเองของกมลรัตน์ ฉิมพาลี
แบบรายงานผลการปฏิบัติงานและพัฒนาตนเองของกมลรัตน์ ฉิมพาลีแบบรายงานผลการปฏิบัติงานและพัฒนาตนเองของกมลรัตน์ ฉิมพาลี
แบบรายงานผลการปฏิบัติงานและพัฒนาตนเองของกมลรัตน์ ฉิมพาลีกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
สมุดประเมินผลกิจกรรมชุมนุม กูรูไอที
สมุดประเมินผลกิจกรรมชุมนุม กูรูไอทีสมุดประเมินผลกิจกรรมชุมนุม กูรูไอที
สมุดประเมินผลกิจกรรมชุมนุม กูรูไอทีPakornkrits
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสาร
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสารชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสาร
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสารKetsarin Prommajun
 
001ชุดการเรียนรู้ชุดที่ 1(1)
001ชุดการเรียนรู้ชุดที่ 1(1)001ชุดการเรียนรู้ชุดที่ 1(1)
001ชุดการเรียนรู้ชุดที่ 1(1)sopa sangsuy
 
001ชุดการเรียนรู้ชุดที่ 1(1)
001ชุดการเรียนรู้ชุดที่ 1(1)001ชุดการเรียนรู้ชุดที่ 1(1)
001ชุดการเรียนรู้ชุดที่ 1(1)sopa sangsuy
 
ชุดการเรียนรู้ชุดที่ 1
ชุดการเรียนรู้ชุดที่ 1ชุดการเรียนรู้ชุดที่ 1
ชุดการเรียนรู้ชุดที่ 1sopa sangsuy
 
แผนการสอนอาเซียน ม.1-3
แผนการสอนอาเซียน ม.1-3แผนการสอนอาเซียน ม.1-3
แผนการสอนอาเซียน ม.1-3sompriaw aums
 
แผนการสอนอาเซียนศึกษา ป.1-3
แผนการสอนอาเซียนศึกษา ป.1-3แผนการสอนอาเซียนศึกษา ป.1-3
แผนการสอนอาเซียนศึกษา ป.1-3sompriaw aums
 
แผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพ
แผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพแผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพ
แผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพpronprom11
 
แผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพ
แผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพแผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพ
แผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพpronprom11
 
วันออกพรรษา
วันออกพรรษาวันออกพรรษา
วันออกพรรษาsuchinmam
 
นำเสนองานวิจัยประชุมวิชาการ มศว นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
นำเสนองานวิจัยประชุมวิชาการ มศว นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์นำเสนองานวิจัยประชุมวิชาการ มศว นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
นำเสนองานวิจัยประชุมวิชาการ มศว นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์Kobwit Piriyawat
 
รายงานการประเมินตนเอง 2558.doc
รายงานการประเมินตนเอง 2558.doc รายงานการประเมินตนเอง 2558.doc
รายงานการประเมินตนเอง 2558.doc Aobinta In
 

Similaire à ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2 (20)

1.รายงานปฏิบัติงาน255538หน้า
1.รายงานปฏิบัติงาน255538หน้า1.รายงานปฏิบัติงาน255538หน้า
1.รายงานปฏิบัติงาน255538หน้า
 
แบบรายงานผลการปฏิบัติงานและพัฒนาตนเองของกมลรัตน์ ฉิมพาลี
แบบรายงานผลการปฏิบัติงานและพัฒนาตนเองของกมลรัตน์ ฉิมพาลีแบบรายงานผลการปฏิบัติงานและพัฒนาตนเองของกมลรัตน์ ฉิมพาลี
แบบรายงานผลการปฏิบัติงานและพัฒนาตนเองของกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
สมุดประเมินผลกิจกรรมชุมนุม กูรูไอที
สมุดประเมินผลกิจกรรมชุมนุม กูรูไอทีสมุดประเมินผลกิจกรรมชุมนุม กูรูไอที
สมุดประเมินผลกิจกรรมชุมนุม กูรูไอที
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสาร
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสารชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสาร
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการจำแนกสาร ชุดที่ 1 สสารและสาร
 
Kamon
KamonKamon
Kamon
 
Kamon1
Kamon1Kamon1
Kamon1
 
001ชุดการเรียนรู้ชุดที่ 1(1)
001ชุดการเรียนรู้ชุดที่ 1(1)001ชุดการเรียนรู้ชุดที่ 1(1)
001ชุดการเรียนรู้ชุดที่ 1(1)
 
001ชุดการเรียนรู้ชุดที่ 1(1)
001ชุดการเรียนรู้ชุดที่ 1(1)001ชุดการเรียนรู้ชุดที่ 1(1)
001ชุดการเรียนรู้ชุดที่ 1(1)
 
ชุดการเรียนรู้ชุดที่ 1
ชุดการเรียนรู้ชุดที่ 1ชุดการเรียนรู้ชุดที่ 1
ชุดการเรียนรู้ชุดที่ 1
 
แผนการสอนอาเซียน ม.1-3
แผนการสอนอาเซียน ม.1-3แผนการสอนอาเซียน ม.1-3
แผนการสอนอาเซียน ม.1-3
 
แผนการสอนอาเชี่ยนศึกษา ม.1 3
แผนการสอนอาเชี่ยนศึกษา ม.1 3แผนการสอนอาเชี่ยนศึกษา ม.1 3
แผนการสอนอาเชี่ยนศึกษา ม.1 3
 
แผนการสอนอาเซียนศึกษา ป.1-3
แผนการสอนอาเซียนศึกษา ป.1-3แผนการสอนอาเซียนศึกษา ป.1-3
แผนการสอนอาเซียนศึกษา ป.1-3
 
แผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพ
แผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพแผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพ
แผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพ
 
แผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพ
แผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพแผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพ
แผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพ
 
Krathong5
Krathong5Krathong5
Krathong5
 
Sar 59 wichai li
Sar 59 wichai liSar 59 wichai li
Sar 59 wichai li
 
วันออกพรรษา
วันออกพรรษาวันออกพรรษา
วันออกพรรษา
 
นำเสนองานวิจัยประชุมวิชาการ มศว นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
นำเสนองานวิจัยประชุมวิชาการ มศว นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์นำเสนองานวิจัยประชุมวิชาการ มศว นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
นำเสนองานวิจัยประชุมวิชาการ มศว นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
 
รายงานการประเมินตนเอง 2558.doc
รายงานการประเมินตนเอง 2558.doc รายงานการประเมินตนเอง 2558.doc
รายงานการประเมินตนเอง 2558.doc
 
ตัวอย่าง Sar
ตัวอย่าง Sarตัวอย่าง Sar
ตัวอย่าง Sar
 

Plus de Napadon Yingyongsakul

ห้องเรียนแห่งศตวรรษใหม่
ห้องเรียนแห่งศตวรรษใหม่ห้องเรียนแห่งศตวรรษใหม่
ห้องเรียนแห่งศตวรรษใหม่Napadon Yingyongsakul
 
แนวปฏิบัติในการยกระดับคุณภาพนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แนวปฏิบัติในการยกระดับคุณภาพนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแนวปฏิบัติในการยกระดับคุณภาพนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แนวปฏิบัติในการยกระดับคุณภาพนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานNapadon Yingyongsakul
 
รายชื่อเว็บบล็อกการอบรมปฏิบัติการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน รุ่นที่ ๑
รายชื่อเว็บบล็อกการอบรมปฏิบัติการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน รุ่นที่ ๑รายชื่อเว็บบล็อกการอบรมปฏิบัติการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน รุ่นที่ ๑
รายชื่อเว็บบล็อกการอบรมปฏิบัติการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน รุ่นที่ ๑Napadon Yingyongsakul
 
แบบฝึกพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ
แบบฝึกพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบฝึกพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ
แบบฝึกพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษNapadon Yingyongsakul
 
คู่มือการทำแบบสอบถามออนไลน์ โดย Google doc
คู่มือการทำแบบสอบถามออนไลน์ โดย Google docคู่มือการทำแบบสอบถามออนไลน์ โดย Google doc
คู่มือการทำแบบสอบถามออนไลน์ โดย Google docNapadon Yingyongsakul
 
คู่มือการใช้งาน Blog ที่ wordpress
คู่มือการใช้งาน Blog ที่ wordpressคู่มือการใช้งาน Blog ที่ wordpress
คู่มือการใช้งาน Blog ที่ wordpressNapadon Yingyongsakul
 
ขั้นตอนการติดตั้งเนื้อหา ป. 2 สู่แท็บเล็ต จากแผ่น DVD
ขั้นตอนการติดตั้งเนื้อหา ป. 2 สู่แท็บเล็ต จากแผ่น DVD ขั้นตอนการติดตั้งเนื้อหา ป. 2 สู่แท็บเล็ต จากแผ่น DVD
ขั้นตอนการติดตั้งเนื้อหา ป. 2 สู่แท็บเล็ต จากแผ่น DVD Napadon Yingyongsakul
 
ขั้นตอนการติดตั้งสื่อการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สู่แท็บเล็ต
ขั้นตอนการติดตั้งสื่อการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่   2  สู่แท็บเล็ต  ขั้นตอนการติดตั้งสื่อการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่   2  สู่แท็บเล็ต
ขั้นตอนการติดตั้งสื่อการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สู่แท็บเล็ต Napadon Yingyongsakul
 
การดู serial number และ Mac Address Tablet OTPC
การดู serial number และ Mac Address Tablet OTPCการดู serial number และ Mac Address Tablet OTPC
การดู serial number และ Mac Address Tablet OTPCNapadon Yingyongsakul
 
การจัดตั้งศูนย์บริการหลังการขายคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต)
การจัดตั้งศูนย์บริการหลังการขายคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต)การจัดตั้งศูนย์บริการหลังการขายคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต)
การจัดตั้งศูนย์บริการหลังการขายคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต)Napadon Yingyongsakul
 
การพิจารณาคัดเลือกพ่อตัวอย่างแห่งชาติ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๕
การพิจารณาคัดเลือกพ่อตัวอย่างแห่งชาติ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๕การพิจารณาคัดเลือกพ่อตัวอย่างแห่งชาติ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๕
การพิจารณาคัดเลือกพ่อตัวอย่างแห่งชาติ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๕Napadon Yingyongsakul
 
สาร สพป.สตูล ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๕ ประจำเดือน พฤษภาคม - มิถุนายน ๒๕๕๕
สาร สพป.สตูล ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๕ ประจำเดือน พฤษภาคม - มิถุนายน ๒๕๕๕สาร สพป.สตูล ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๕ ประจำเดือน พฤษภาคม - มิถุนายน ๒๕๕๕
สาร สพป.สตูล ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๕ ประจำเดือน พฤษภาคม - มิถุนายน ๒๕๕๕Napadon Yingyongsakul
 
ตัวอักษรแบบของกระทรวงศึกษาธิการ
ตัวอักษรแบบของกระทรวงศึกษาธิการตัวอักษรแบบของกระทรวงศึกษาธิการ
ตัวอักษรแบบของกระทรวงศึกษาธิการNapadon Yingyongsakul
 
สงครามนกกระสา
สงครามนกกระสาสงครามนกกระสา
สงครามนกกระสาNapadon Yingyongsakul
 
ทำเนียบสื่อมวลชนสตูล
ทำเนียบสื่อมวลชนสตูลทำเนียบสื่อมวลชนสตูล
ทำเนียบสื่อมวลชนสตูลNapadon Yingyongsakul
 
การจัดงานสัมมนาวิชาการ เปิดบ้านนวัตกรรม
การจัดงานสัมมนาวิชาการ เปิดบ้านนวัตกรรม การจัดงานสัมมนาวิชาการ เปิดบ้านนวัตกรรม
การจัดงานสัมมนาวิชาการ เปิดบ้านนวัตกรรม Napadon Yingyongsakul
 
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)Napadon Yingyongsakul
 
ข้อสอบคณิตศาสตร์ (PISA)
ข้อสอบคณิตศาสตร์ (PISA)ข้อสอบคณิตศาสตร์ (PISA)
ข้อสอบคณิตศาสตร์ (PISA)Napadon Yingyongsakul
 
ข้อสอบการอ่าน (PISA)
ข้อสอบการอ่าน (PISA)ข้อสอบการอ่าน (PISA)
ข้อสอบการอ่าน (PISA)Napadon Yingyongsakul
 

Plus de Napadon Yingyongsakul (20)

ห้องเรียนแห่งศตวรรษใหม่
ห้องเรียนแห่งศตวรรษใหม่ห้องเรียนแห่งศตวรรษใหม่
ห้องเรียนแห่งศตวรรษใหม่
 
แนวปฏิบัติในการยกระดับคุณภาพนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แนวปฏิบัติในการยกระดับคุณภาพนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแนวปฏิบัติในการยกระดับคุณภาพนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แนวปฏิบัติในการยกระดับคุณภาพนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 
รายชื่อเว็บบล็อกการอบรมปฏิบัติการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน รุ่นที่ ๑
รายชื่อเว็บบล็อกการอบรมปฏิบัติการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน รุ่นที่ ๑รายชื่อเว็บบล็อกการอบรมปฏิบัติการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน รุ่นที่ ๑
รายชื่อเว็บบล็อกการอบรมปฏิบัติการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน รุ่นที่ ๑
 
แบบฝึกพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ
แบบฝึกพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบฝึกพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ
แบบฝึกพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ
 
คู่มือการทำแบบสอบถามออนไลน์ โดย Google doc
คู่มือการทำแบบสอบถามออนไลน์ โดย Google docคู่มือการทำแบบสอบถามออนไลน์ โดย Google doc
คู่มือการทำแบบสอบถามออนไลน์ โดย Google doc
 
คู่มือการใช้งาน Blog ที่ wordpress
คู่มือการใช้งาน Blog ที่ wordpressคู่มือการใช้งาน Blog ที่ wordpress
คู่มือการใช้งาน Blog ที่ wordpress
 
ขั้นตอนการติดตั้งเนื้อหา ป. 2 สู่แท็บเล็ต จากแผ่น DVD
ขั้นตอนการติดตั้งเนื้อหา ป. 2 สู่แท็บเล็ต จากแผ่น DVD ขั้นตอนการติดตั้งเนื้อหา ป. 2 สู่แท็บเล็ต จากแผ่น DVD
ขั้นตอนการติดตั้งเนื้อหา ป. 2 สู่แท็บเล็ต จากแผ่น DVD
 
ขั้นตอนการติดตั้งสื่อการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สู่แท็บเล็ต
ขั้นตอนการติดตั้งสื่อการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่   2  สู่แท็บเล็ต  ขั้นตอนการติดตั้งสื่อการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่   2  สู่แท็บเล็ต
ขั้นตอนการติดตั้งสื่อการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สู่แท็บเล็ต
 
การดู serial number และ Mac Address Tablet OTPC
การดู serial number และ Mac Address Tablet OTPCการดู serial number และ Mac Address Tablet OTPC
การดู serial number และ Mac Address Tablet OTPC
 
การจัดตั้งศูนย์บริการหลังการขายคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต)
การจัดตั้งศูนย์บริการหลังการขายคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต)การจัดตั้งศูนย์บริการหลังการขายคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต)
การจัดตั้งศูนย์บริการหลังการขายคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต)
 
การพิจารณาคัดเลือกพ่อตัวอย่างแห่งชาติ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๕
การพิจารณาคัดเลือกพ่อตัวอย่างแห่งชาติ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๕การพิจารณาคัดเลือกพ่อตัวอย่างแห่งชาติ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๕
การพิจารณาคัดเลือกพ่อตัวอย่างแห่งชาติ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๕
 
สาร สพป.สตูล ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๕ ประจำเดือน พฤษภาคม - มิถุนายน ๒๕๕๕
สาร สพป.สตูล ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๕ ประจำเดือน พฤษภาคม - มิถุนายน ๒๕๕๕สาร สพป.สตูล ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๕ ประจำเดือน พฤษภาคม - มิถุนายน ๒๕๕๕
สาร สพป.สตูล ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๕ ประจำเดือน พฤษภาคม - มิถุนายน ๒๕๕๕
 
ตัวอักษรแบบของกระทรวงศึกษาธิการ
ตัวอักษรแบบของกระทรวงศึกษาธิการตัวอักษรแบบของกระทรวงศึกษาธิการ
ตัวอักษรแบบของกระทรวงศึกษาธิการ
 
สงครามนกกระสา
สงครามนกกระสาสงครามนกกระสา
สงครามนกกระสา
 
ทำเนียบสื่อมวลชนสตูล
ทำเนียบสื่อมวลชนสตูลทำเนียบสื่อมวลชนสตูล
ทำเนียบสื่อมวลชนสตูล
 
The best teacher_of_social_media
The best teacher_of_social_mediaThe best teacher_of_social_media
The best teacher_of_social_media
 
การจัดงานสัมมนาวิชาการ เปิดบ้านนวัตกรรม
การจัดงานสัมมนาวิชาการ เปิดบ้านนวัตกรรม การจัดงานสัมมนาวิชาการ เปิดบ้านนวัตกรรม
การจัดงานสัมมนาวิชาการ เปิดบ้านนวัตกรรม
 
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
 
ข้อสอบคณิตศาสตร์ (PISA)
ข้อสอบคณิตศาสตร์ (PISA)ข้อสอบคณิตศาสตร์ (PISA)
ข้อสอบคณิตศาสตร์ (PISA)
 
ข้อสอบการอ่าน (PISA)
ข้อสอบการอ่าน (PISA)ข้อสอบการอ่าน (PISA)
ข้อสอบการอ่าน (PISA)
 

ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2

  • 1. ชุดที่ 1 เอกสารชุดแนวทางพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เล่มที่ 2 การเตรียมความพร้อม สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ ข ง ข ก ง ก ค สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ค
  • 2. เอกสารชุดแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ สำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชุดที่ 1 ก�รเตรียมคว�มพร้อม สำ�หรับนักเรียนที่มีคว�มบกพร่องท�งก�รเรียนรู้ เล่มที่ 2 สำานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
  • 3. เรื่อง การเตรียมความพร้อมสำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เล่มที่ 2 ผู้จัดพิมพ์ กลุ่มการจัดการศึกษาเรียนร่วม สำานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จำานวนพิมพ์ 2,500 เล่ม ปีที่พิมพ์ 2554 ISBN 978-616-202-344-6
  • 4. คำ�นำ� เอกสารชุด “แนวทางพัฒนาการเรียนรู้ สำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้” นี้ ได้จัด ทำาและเผยแพร่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2551 โดยในครั้งนั้นได้จัดทำาเป็นเอกสาร 5 เล่ม คือ เล่มที่ 1 ความรู้ พื้นฐานและแนวทางพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เล่มที่ 2 การเตรียมความพร้อมสำาหรับ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เล่มที่ 3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน เล่มที่ 4 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการ เรียนรู้ด้านการเขียน และเล่มที่ 5 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้านคณิตศาสตร์ โดยทีผานมาพบว่าเอกสารชุดดังกล่าว เป็นประโยชน์กบครูผสอนและผูทเกียวข้องในการใช้ ่ ่ ั ู้ ้ ี่ ่ เป็นแนวทางในการพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามเพื่อให้เอกสารชุดนี้มีความเป็นปัจจุบันและมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น สำานักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงเห็นควรปรับปรุงเอกสารดังกล่าว โดยในการปรับปรุงครั้งนี้ นอกจาก ความเหมาะสมของเทคนิค วิธการและสือ สำาหรับนักเรียนทีมความบกพร่องทางการเรียนรูแล้ว ยังได้คานึงถึง ี ่ ่ ี ้ ำ ความสะดวกของครูและผูทเกียวข้องในการนำาไปใช้ดวยเป็นสำาคัญ ด้วยเหตุนจงได้จดพิมพ์เอกสารชุดนีออกเป็น ้ ี่ ่ ้ ี้ ึ ั ้ 1 เล่มกับอีก 4 ชุด เพื่อให้เอกสารแต่ละเล่มมีขนาดไม่หนาจนเกินไป โดยประกอบด้วยเอกสารต่าง ๆ ดังนี้ เอกสารความรู้พื้นฐานและแนวทางพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เอกสารชุดที่ 1 การเตรียมความพร้อมสำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ประกอบด้วยเอกสาร 2 เล่ม เอกสารชุดที่ 2 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้านการอ่าน ประกอบด้วยเอกสาร 6 เล่ม เอกสารชุดที่ 3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้านการเขียน ประกอบด้วยเอกสาร 3 เล่ม เอกสารชุดที่ 4 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้านคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยเอกสาร 5 เล่ม สำาหรับเอกสารนี้เป็นเล่มที่ 2 ในเอกสารชุดที่ 1 การเตรียมความพร้อมสำาหรับนักเรียน ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ซึ่งในเอกสารจะกล่าวถึงสภาพปัญหา แนวทางพัฒนา เทคนิควิธีการ และสื่อการเรียนการสอน รวมทั้งกิจกรรมการจัดการเรียนรู้และแบบฝึก ที่จะนำาไปสู่การแก้ไขปัญหา ที่เกิดกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ในการนำาไปใช้ ครูผู้สอน ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องอาจพิจาณาปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
  • 5. สำานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอขอบคุณผู้มีส่วนร่วมในการจัดทำาเอกสารชุดนี้ หวังเป็นอย่างยิงว่าเอกสารนีจะก่อให้เกิดประโยชน์ตอครูผสอน ผูปกครองและผูเกียวข้องทุกระดับซึงจะได้นำา ่ ้ ่ ู้ ้ ้ ่ ่ ไปประยุกต์ใช้เพือพัฒนานักเรียนทีมความบกพร่องทางการเรียนรูได้อย่างเหมาะสม กล่าวคือนักเรียนทีมความ ่ ่ ี ้ ่ ี บกพร่องทางการเรียนรู้แต่ละคนจะได้รับการช่วยเหลือและส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ ซึ่งย่อม ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพการศึกษาและคุณภาพชีวิตของผู้เรียน (นายชินภัทร ภูมิรัตน) เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • 6. ส�รบัญ เรื่อง หน้า คำานำา สารบัญ บทนำา การเตรียมความพร้อมของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้................................................... 1 แนวทางในการเตรียมความพร้อมสำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้................................... 2 ขอบข่ายการเตรียมความพร้อมสำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้.................................... 6 แผนภาพแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมสำาหรับนักเรียน ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้.......................................................................................................... 7 เทคนิควิธีการช่วยเหลือและพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู.้ ......... 8 ตารางวิเคราะห์แผนการจัดกิจกรรมการเตรียมความพร้อม.................................................................. 9 ด้านที่ 3 การเตรียมความพร้อมในการรับรู้ทางการได้ยิน.............................................. 11 แผนการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม การจำาแนกจากการได้ยิน............................... 12 กิจกรรมที่ 1 เสียงอะไรเอ่ย................................................................................................................. 12 กิจกรรมที่ 2 เสียงพยัญชนะไทย........................................................................................................ 14 แผนการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม การจำาจากการได้ยิน........................................ 21 กิจกรรม เสียงคำาที่ใกล้เคียงกัน..................................................................................................... 21 แผนการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม การเรียงลำาดับจากการได้ยิน........................ 28 กิจกรรมที่ 1 อวัยวะฉันอยู่ไหน........................................................................................................... 28 กิจกรรมที่ 2 เก็บของใส่ตะกร้า........................................................................................................... 30 กิจกรรมที่ 3 ไล่ตามพยัญชนะ............................................................................................................ 32 กิจกรรมที่ 4 ตอบคำาถามฉันหน่อย..................................................................................................... 36 ด้านที่ 4 การเตรียมความพร้อมในการประสานสัมพันธ์ระหว่างสายตากับมือ........ 42 แผนการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม การหยิบจับวัตถุ................................................ 43 กิจกรรมที่ 1 แท่งไม้มหาสนุก............................................................................................................. 43 กิจกรรมที่ 2 บล็อกหรรษา.................................................................................................................. 45
  • 7. เรื่อง หน้า กิจกรรมที่ 3 เสกสรรปั้นแต่ง........................................................................................................... 47 กิจกรรมที่ 4 นิ้วนำาทาง................................................................................................................... 49 กิจกรรมที่ 5 กระดาษหรรษา.......................................................................................................... 51 แผนการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม การขีดเขียน.................................................... 71 กิจกรรมที่ 1 ดินสอสามมุม.............................................................................................................. 71 กิจกรรมที่ 2 ลีลาพาเพลิน............................................................................................................... 73 ด้านที่ 5 การเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ.................................................................. 99 แผนการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับขนาด....................................................................................................... 100 กิจกรรม บอกได้ใหญ่-เล็ก........................................................................................................... 100 แผนการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับรูปทรง...................................................................................................... 107 กิจกรรม วงกลมมหัศจรรย์............................................................................................................ 107 แผนการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการสังเกต การจำาแนก และการเปรียบเทียบ.......................................... 114 กิจกรรม สี่เหลี่ยมหรรษา............................................................................................................... 114 แผนการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตำาแหน่ง................................................................................................... 121 กิจกรรม เธออยู่ไหนเอ่ย................................................................................................................ 121 แผนการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับทิศทาง..................................................................................................... 133 กิจกรรม จำาได้ซ้ายขวา.................................................................................................................. 133 บรรณานุกรม............................................................................................................................... 139 คณะทำางาน.................................................................................................................................. 140
  • 8. บทนำ� การเตรียมความพร้อมของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เด็กทุกคนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของชาติ มีสิทธิและศักดิ์ศรีเท่าเทียมกันตามสิทธิมนุษยชนและ สิทธิตามกฎหมายในสังคมไทย เด็กทุกคนจึงสมควรได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจังตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ แรกเกิดและเติบโต โดยได้รับความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตลอดจนได้รับการเตรียม ความพร้อมให้มความเข้มแข็งทังด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม เพือจะได้เติบโตเป็นผูใหญ่ทมคณภาพ ี ้ ่ ้ ี่ ี ุ ในอนาคต นักเรียนทีมความบกพร่องทางการเรียนรู้ มีระดับสติปญญา (IQ) อยูในระดับปกติเหมือนนักเรียน ่ ี ั ่ ทั่วไป แต่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำากว่าความสามารถที่แท้จริง เนื่องจากความบกพร่องของกระบวนการ ทางจิตวิทยา (Psychological Processes) ซึ่งเป็นความบกพร่องในกระบวนการด้านการเห็น (Visual Processing Disabilities) ความบกพร่องในกระบวนการด้านการได้ยิน (Auditory Processing Disabilities) ความบกพร่องในกระบวนการจัดลำาดับ (Sequential Processing Disabilities) ความบกพร่องในกระบวนการ สร้างความคิดรวบยอด (Conceptual Processing Disabilities) และความบกพร่องในกระบวนการด้านการใช้ ความเร็วในการเคลื่อนไหวและทำากิจกรรม (Processing Speed Disabilities) ทำาให้ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ คือ ความเข้าใจภาษา การพูด การอ่าน การเขียน การสะกดคำา และคณิตศาสตร์ แสดงออกให้เห็นโดยมี ปัญหาการอ่านไม่ได้ พูดไม่ได้ใจความ อ่านจับใจความไม่ได้ เขียนหนังสือไม่เป็นตัว เขียนไม่ตรงเส้นบรรทัด เขียนตามคำาบอกไม่ได้ สะกดคำาไม่ได้ ไม่เข้าใจความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์เป็นต้น นอกจากนี้ยัง พบว่านักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ยังมีปัญหาอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ 1. ขาดความเชื่อมั่นและการยอมรับตนเอง (Self Esteem) ซึ่งแสดงออกโดย ไม่พยายามทำาสิ่ง ใหม่ กลัวความล้มเหลว ขี้อาย เก็บตัว โกรธ ก้าวร้าว เบื่อการอ่าน เบื่อการเรียน 2. สับสนกับบทบาทและการแสดงออกทางสังคม (Social Confusion) ไม่เข้าใจปฏิกิริยาของผู้อื่น ทำาให้แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ เช่น แสดงออกมากเกินไป(Overreact) ประเมินเรืองเกินจริง ่ หุนหันพลันแล่น โต้ตอบช้าเกินไป เป็นต้น 3. มีความยุ่งยากในการสื่อสาร (Communication) สื่อสารไม่ได้ จึงหลีกเลี่ยงการพูดคุย หรือ แสดงออกอย่างก้าวร้าวแทนการพูดดีๆ ไม่อยากมีเพื่อนเพราะกลัวถูกล้อเลียนทำาให้ดูไม่เป็นมิตรกับผู้อื่น 4. มีปัญหาด้านสมาธิ (Attention) ทำาให้ไม่อยู่นิ่ง หรือทำากิจกรรมไม่ต่อเนื่อง ทำางานไม่เสร็จตาม กำาหนด เป็นต้น 1
  • 9. ปัญหาเหล่านี้เป็นอุปสรรคสำาคัญในการเรียนรู้ ทำาให้ไม่ประสบความสำาเร็จในการเรียน ครูและ ผู้เกี่ยวข้องจึงจำาเป็นต้องช่วยเหลือ โดยการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ตั้งแต่เริ่มพบปัญหา เพื่อลดข้อจำากัดในการเรียนรู้และเป็นการส่งเสริมให้มีความรู้พื้นฐาน ซึ่งเป็นเครื่องมือ ในการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป อย่างไรก็ตามการพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้นั้น จำาเป็นต้องพัฒนา อย่างมีทิศทางและดำาเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นกระบวนการ โดยความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้แก่ ครู พ่อแม่ ผู้บริหาร และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ซึ่งควรมีการประเมินความสามารถพื้นฐานโดยละเอียดและนำาปัญหาที่ พบมาวิเคราะห์รวมทั้งกำาหนดจุดประสงค์ในการพัฒนาอย่างชัดเจน มีการประชุมเพื่อจัดทำาแผนการจัดการ ศึกษาเฉพาะบุคคล และนำาไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง สำาหรับการช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้นั้นมีเป้าหมายในการพัฒนา คือ 1. เพื่อลดข้อจำากัดในการเรียนรู้ของนักเรียน 2. เพื่อให้นักเรียนยอมรับตนเองและประสบผลสำาเร็จในการดำาเนินชีวิต 3. เพื่อพัฒนาความสามารถทางการเรียนรู้ของนักเรียนด้านการอ่าน การเขียน และคณิตศาสตร์ 4. เพื่อให้นักเรียนสามารถดำาเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข และสามารถทำาประโยชน์ให้สังคมและ ประเทศ แนวทางในการเตรียมความพร้อมสำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ การเตรียมความพร้อมสำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ มีแนวทาง ดังนี้ 1. การประเมินความสามารถพื้นฐาน ครูผู้สอนสามารถประเมินโดยวิธีการที่หลากหลาย ทั้งที่ เป็นทางการและไม่เป็นทางการ การทดสอบอย่างเป็นทางการ ได้แก่ การวัดระดับสติปญญา (IQ Test) การวัดระดับ ั ผลสัมฤทธิทางการเรียน (Achievement Test) การทดสอบอย่างไม่เป็นทางการ ได้แก่ การสังเกตพฤติกรรม ์ ทางการเรียนของนักเรียน การใช้แบบสำารวจปัญหาทางการเรียน ศึกษาจากแบบบันทึก ประวัต การสัมภาษณ์ ิ ผูปกครอง การทดสอบนักเรียนเป็นรายบุคคล เพือวิเคราะห์สภาพปัญหาทางการเรียนรูของนักเรียน ด้านการ ้ ่ ้ อ่าน การเขียน การสะกดคำา และคณิตศาสตร์ และใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ หาแนวทางช่วยเหลือ 2. การส่งเสริมศักยภาพของนักเรียนและลดข้อจำากัดจากปัญหาที่มีอยู่ ครูผู้สอนสามารถ สังเกตและวิเคราะห์ลีลาการเรียนรู้ว่า นักเรียนแต่ละคนมีความถนัดหรือมีลีลาในการเรียนรู้แบบใด เช่น การ ใช้ตาในการมอง การฟัง การใช้การสัมผัสหรือลงมือทำา ชอบการเรียนรู้คนเดียวหรือเรียนเป็นกลุ่ม เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้สามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลายและสอดคล้องกับความต้องการจำาเป็นได้ 3. การวิเคราะห์ปัญหาของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ซึ่งมีความบกพร่องใน การรับรู้ทางจิตวิทยา ประกอบด้วย ความบกพร่องในการรับรู้ทางการได้ยิน การเห็น การประสานสัมพันธ์ของ ตากับการรับรู้ของกล้ามเนื้อ ความจำาและการจัดระเบียบในการเรียนรู้ พิจารณาได้จากประเด็นต่อไปนี้ 2
  • 10. การรับรู้ทางการได้ยิน เป็นความสามารถในการตีความสิ่งเร้าที่เราได้ยิน รวมถึงทักษะต่างๆ เช่น ความจำาจากการได้ยิน ความสามารถแยกแยะเสียง ความสามารถในการวิเคราะห์และสังเคราะห์สิ่งที่ ได้ยิน ความสามารถในการฟังและเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งในขณะที่มีเรื่องอื่นๆ เข้ามาแทรก การรับรู้ทางการเห็น เป็นความสามารถในการตีความสิ่งที่เห็น รวมถึงความจำาจากการเห็น ความสามารถในการแยกแยะสิงทีเห็น ความสามารถในการวิเคราะห์และสังเคราะห์สงทีเห็นและความสามารถ ่ ่ ิ่ ่ ในการแยกแยะภาพใดภาพหนึ่งเมื่อมีภาพอื่นๆ เข้ามาแทรก การจัดระเบียบในการเรียนรู้ เป็นความสามารถในการจัดระเบียบสิ่งเร้าทั้งที่เป็นคำาพูดและ ที่ไม่เป็นคำาพูด ความสามารถในการที่จะจัดการกับข้อมูลด้วยตนเอง รวมทั้งความสามารถในการจัดระบบ คำาพูด การจัดระบบความคิด และการจัดระเบียบทางมิติสัมพันธ์ การรับรู้ทางกล้ามเนื้อ เป็นความสามารถในการรับรู้สิ่งเร้าโดยผ่านประสาทสัมผัสและแสดง ปฏิกิริยากลับออกมาในรูปของการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ความจำา เป็นความสามารถในการจัดเก็บและดึงประสบการณ์เดิมโดยผ่านประสาทสัมผัสและ การรับรู้สิ่งเร้าที่เคยผ่านมาแล้ว ความจำาแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ความจำาระยะสั้น และความจำาระยะยาว ความ จำาระยะสันเป็นการเก็บข้อมูลชัวคราวโดยทีเรามีการตระหนักถึงสิงนัน ส่วนความจำาระยะยาวเป็นการเก็บข้อมูล ้ ่ ่ ่ ้ อย่างถาวร เป็นกระบวนการโยกย้ายข้อมูลจากความจำาระยะสั้นมาสู่ความจำาระยะยาว สำาหรับนักเรียนที่มี ความบกพร่องทางการเรียนรู้จะมีปัญหาด้านความจำา การดึงข้อมูลจากความจำา เป็นความสามารถในการที่จะระลึกถึงข้อมูลที่จัดเก็บในความจำา ระยะยาวออกมาใช้ สำาหรับนักเรียนทีมความบกพร่องทางการเรียนรูจะมีความยากลำาบากในเรืองดังกล่าวเมือ ่ ี ้ ่ ่ ครูให้งานกับนักเรียนๆ จะไม่สามารถถึงข้อมูลจากความจำาระยะยาวออกมาใช้ได้ ปัญหาทางด้านสังคมและอารมณ์ นักเรียนมักจะมีปัญหาอารมณ์รุนแรงและมีปัญหาในด้าน ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลอื่น ทั้งนี้เพราะนักเรียนไม่เข้าใจเงื่อนไขทางสังคม ทำาให้มีความรู้สึกต่ำาต้อย มีความวิตกกังวลและมีความหดหู่ใจ จากการวิเคราะห์ปัญหา นำาไปสู่การวิเคราะห์หาหลักการ เทคนิควิธีการ แนวทางในการแก้ไขให้ ครอบคลุมสภาพปัญหา ออกแบบแผนการจัดกิจกรรมในการเตรียมความพร้อมและเทคนิควิธีการช่วยเหลือ เบื้องต้นสำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ สามารถสรุปเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อม สำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ใน 5 ด้าน ดังนี้ 1. การเตรียมความพร้อมด้านสมาธิ การเตรียมความพร้อมด้านสมาธิ ประกอบด้วย การเพิมช่วงความสนใจ (Attention Span) และ ่ ความจดจ่อ (Concentration) การฝึกและเตรียมความพร้อมด้านสมาธิมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนไม่วอกแวกง่าย มีความ ตั้งใจในการทำางาน สามารถทำางานได้เสร็จทันกำาหนดเวลา มีผลงานที่เรียบร้อย มีระเบียบ รู้จักการรอคอย และเป็นพื้นฐานที่จำาเป็นสำาหรับนักเรียนในการเรียนรู้เรื่องต่างๆ ดังนั้นกิจกรรมที่ใช้ในการฝึกสมาธิจึงควร 3
  • 11. เป็นกิจกรรมทีชวยเพิมช่วงความสนใจและความจดจ่อให้แก่นกเรียน โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การเล่นเกม ่ ่ ่ ั ที่สนใจ การทำางานศิลปะที่ชอบ เป็นต้น 2. การเตรียมความพร้อมด้านการรับรู้ทางการเห็น การเตรียมความพร้อมด้านการรับรู้ทางการเห็น ประกอบด้วย การสังเกต การกวาดสายตา การต่อเติมภาพให้สมบูรณ์ (Visual Closure) การจำาแนกภาพจากฉากหลัง (Visual Figure Ground) การ จำาแนกทางการเห็น (Visual Discrimination) การจำาจากการเห็น(Visual Memory) และการเรียงลำาดับภาพ (Picture Sequencing) เป็นต้น การฝึกและเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาความสามารถในกระบวนการทางการเห็น (Visual Processing Disabilities) สามารถใช้เทคนิควิธีการต่างๆ ได้แก่ กิจกรรมต่อภาพ (Jigsaw) ต่อไม้บล็อกหรือ ให้ดภาพ ปิดภาพแล้วจำาให้ได้วามีภาพอะไรบ้าง ให้ดภาพและสังเกตว่ามีความผิดปกติทใดบ้าง ให้ดภาพและ ู ่ ู ี่ ู จำาแนกรูปทรงเรขาคณิตจากภาพที่กำาหนดให้หรือให้หาคำาจากภาพอักษรปริศนา เป็นต้น 3. การเตรียมความพร้อมด้านการรับรู้ทางการได้ยิน การเตรียมความพร้อมด้านการรับรู้ทางการได้ยิน ประกอบด้วย การจำาแนกทางการได้ยิน (Auditory Discrimination) การจำาจากการได้ยิน (Auditory Memory) การเรียงลำาดับจากการได้ยิน (Auditory Sequencing) เป็นต้น การฝึกและเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาความสามารถในกระบวนการทางการได้ยิน (Auditory Processing Disabilities) สามารถใช้เทคนิควิธีการต่างๆ ได้แก่ ให้นักเรียนนั่งหลับตา และถามว่านักเรียน ได้ยินเสียงอะไร ให้พูดตามเพือนเป็นคำา เป็นประโยคให้นบวันในรอบสัปดาห์ หรือนับเดือนในรอบหนึงปีย้อน ่ ั ่ กลับ เช่น ธันวาคม พฤศจิกายน มกราคม ให้ฟังเพลงแล้วนึกถึงคำาในเนื้อเพลงแต่ละคำา ให้นักเรียนท่องตัว อักษรย้อนกลับ เช่น ฮ อ ฬ...ก หรือ Z Y X…A ให้เพื่อนเล่าเรื่องสั้นๆ ให้ฟัง หลังจากจบแล้ว ให้นักเรียน เล่าเรื่องที่จบไปเมื่อครู่นี้ หรือให้มีกิจกรรมปฏิบัติตามคำาสั่งเพื่อน เป็นต้น 4. การเตรียมความพร้อมในการประสานสัมพันธ์ระหว่างสายตากับมือ การเตรียมความพร้อมในการประสานสัมพันธ์ระหว่างสายตากับมือ ประกอบด้วย การฝึกทักษะ การใช้มือ และการประสานความสัมพันธ์ระหว่างตากับมือเพื่อเตรียมความพร้อมในการเขียน การใช้มือทำา กิจกรรมต่างๆ เช่น การจับวัตถุเล็ก ๆ การตัดโดยใช้กรรไกร การเว้นช่องไฟในการเขียนหนังสือ เป็นต้น การฝึ ก และเตรี ย มความพร้ อ มเพื่ อ พั ฒ นาความสามารถในกระบวนการด้ า นการจั ด ลำา ดั บ (Sequential Processing Disabilities) สามารถใช้เทคนิควิธีการต่างๆ ได้แก่ ให้นักเรียนเรียงลำาดับชื่อคน ตามลำาดับตัวอักษร ก ถึง ฮ ให้บอกชือของใช้ภายในบ้าน ตามลำาดับอักษรให้เรียงลำาดับตัวอักษร ตัวเลข หรือ ่ คำา ให้มองดูภาพ แล้วบรรยายภาพ โดยละเอียด ให้ฝึกอ่านคำาสั่งหลังปฏิบัตตาม เช่น การติดตั้งเสาโทรทัศน์ ิ การทำาอาหาร เป็นต้น ให้บอกวันเกิดของเพื่อนๆ ให้ได้มากที่สุด ให้เลียนแบบการแสดงท่าทางของเพื่อน แต่ละคน เป็นต้น 4
  • 12. การฝึกและเตรียมความพร้อมเพือพัฒนาความสามารถในกระบวนการด้านการใช้ความเร็วในการ ่ เคลื่อนไหวและทำากิจกรรมต่างๆ (Processing Speed Disabilities) สามารถใช้เทคนิควิธีการต่างๆ ได้แก่ ให้นักเรียนเล่นเกมคอมพิวเตอร์ หรือวิดีโอเกม ครูเปิดเทปเสียงโดยใช้ความเร็วสูงกว่าปกติ แล้วถามนักเรียนว่า ได้ยินประโยคใดบ้าง เข้าใจข้อความใดบ้าง เป็นต้น จับเวลาในการทำากิจวัตรประจำาวันของนักเรียน เช่น การจัดที่นอน การนำาถุงขยะไปทิ้ง ให้นักเรียนอ่านเรื่องสั้นๆ ให้จบภายในเวลาที่กำาหนด ให้นักเรียนต่อ ไม้บล็อกให้เสร็จในเวลาที่กำาหนดหรือให้เลือกตัวอักษร ก – ฮ สระ อะ อี...แล้วให้บอกว่าตัวอักษรหรือสระ ดังกล่าว อยู่ระหว่างตัวอักษร หรือสระใด เป็นต้น 5. การเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ การเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ ประกอบด้วยการให้เด็กเรียนรู้ความคิดรวบยอด ขนาด การรับรู้ ปริมาณ รูปทรง ตำาแหน่ง การสังเกต จำาแนก เปรียบเทียบ เวลา การแก้ปัญหา การใช้ภาษาและ การสื่อสารเป็นต้น การฝึกและเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาความสามารถในกระบวนการสร้างความคิดรวบยอด (Conceptual Processing Disability) สามารถใช้เทคนิควิธีการต่างๆ ได้แก่ ให้นักเรียนพูดคำาคล้องจองกัน หลายๆ คำา เช่น ปลาดาว หาวนอน ตอนเย็น หรือให้บอกคำาที่ขึ้นต้นด้วย ก...ข......ฮ ให้หาสัตว์ที่ซ่อนอยู่ ในภาพ ให้บอกว่าเครื่องมือต่อไปนี้ใช้ทำาอะไรได้บ้าง (มีด จอบ ช้อน) และให้นักเรียนบอกสิ่งที่คาดว่าจะ พบเห็นเมื่อจะไปทัศนศึกษา ณ สถานที่แห่งหนึ่ง เช่น ถ้าไปสวนสัตว์จะพบอะไรบ้าง (เสือ สิงโต ช้าง ลิง) หรือเมื่ออ่านหนังสือการ์ตูน เรื่องขำาขัน แล้วให้นักเรียนบอกว่า ตลกตรงไหน เป็นต้น โดยการเตรียมความ พร้อมสำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้นั้น ควรจัดให้ครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน ดังแผนภาพที่ได้ นำาเสนอ ต่อไปนี้ 5
  • 13. ขอบข่�ยก�รเตรียมคว�มพร้อมสำ�หรับนักเรียนที่มีคว�มบกพร่องท�งก�รเรียนรู้ การเตรียมความพร้อมด้านสมาธิ l การเพิ่มช่วงความสนใจ (Attention Span) l ความจดจ่อ (Concentration) การเตรียมความพร้อมในการรับรู้ทางการเห็น l การสังเกต การกวาดสายตา การเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ l การต่อเติมภาพให้สมบูรณ์ (Visual Closure) 6 l พัฒนาความคิดรวบยอด l การจำาแนกภาพจากฉากหลัง (Visual Figure Ground) l การแก้ปัญหา l การจำาแนกทางการเห็น (Visual Discrimination) l ภาษาและการสื่อสาร l การจำาจากการเห็น (Visual Memory) l การเรียงลำาดับภาพ (Picture Sequencing) ขอบข่าย การเตรียมความพร้อมในการประสานสัมพันธ์ ระหว่างสายตากับมือ การเตรียมความพร้อมในการรับรู้ทางการได้ยิน l การจำาแนกจากการได้ยิน (Auditory Discrimination) l การหยิบจับวัตถุ l การขีดเขียน l การจำาจากการได้ยิน (Auditory Memory) l การเรียงลำาดับจากการได้ยิน (Auditory Sequencing)
  • 14. แผนภาพแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อม สำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ การเตรียมความพร้อมสำาหรับนักเรียน ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 1. เพื่อลดข้อจำากัดในการเรียนรู้ให้ หลักการ เป็นรูปแบบวิธีการที่จัดให้สอดคล้อง กับนักเรียน LD กับปัญหาของนักเรียน LD ทีสงเสริม ่่ 2.เพื่อพัฒนาความสามารถทางการ และพัฒนานักเรียน LD ให้เกิดการ เรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียน และ วัตถุประสงค์ เรียนรูอนจะนำาไปสูการพัฒนาทังด้าน ้ั ่ ้ คณิตศาสตร์ของนักเรียน LD วิชาการและด้านทักษะชีวิต สังคม 3. เพื่ อให้ นั ก เรี ย น LD เกิ ด การ ขอบข่าย และส่วนตัวให้ครอบคลุมด้านสมาธิ ยอมรับตนเองและประสบผลสำาเร็จใน 1. ด้านสมาธิ ด้านการรับรู้ทางการเห็น ด้านการ การดำาเนินชีวิต 2. ด้านการรับรู้ทางการเห็น รับรู้ทางการได้ยิน ด้านการประสาน 4. เพื่อเป็นพื้นฐานสู่การพัฒนาด้าน 3. ด้านการรับรู้ทางการได้ยิน สัมพันธ์ระหว่างสายตากับมือ และ อื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพ 4. ด้านการประสานสัมพันธ์ ด้านวิชาการ โดยครูผู้รับผิดชอบจัด ระหว่างสายตากับมือ กิจกรรม 5. ด้านวิชาการ แนวการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม 1. ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 2. วิเคราะห์หลักการ แนวทางแก้ไขให้ครอบคลุมสภาพปัญหา 3. กำาหนดวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม 4. ออกแบบแผนการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมและแบบฝึกทักษะ ให้ครอบคลุมด้านสมาธิ ด้านการรับรู้ทางการเห็น ด้านการรับรู้ทางการได้ยิน ด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างสายตากับมือ และด้านวิชาการ 5. จัดทำาแผนการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม 6. ประเมินความสามารถพื้นฐานโดยการทดสอบอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ 7. จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมตามแผนและประเมินการจัดกิจกรรมตามเกณฑ์ 8. ประเมินเพื่อตัดสินผลและสรุปผล ซ่อมเสริม ประเมิน เกณฑ์การประเมิน ตามที่กิจกรรมกำาหนด ไม่ผ่าน ผ่าน สรุปผล 7
  • 15. เทคนิควิธก�รช่วยเหลือและพัฒน�นักเรียนทีมคว�มบกพร่องท�งก�รเรียนรู้ ี ่ี การเตรียมความพร้อมให้นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู ในเอกสารนี้ จะประกอบด้วย ้ แผนการจัดกิจกรรมและแบบฝึกทักษะ เพือพัฒนาทักษะใน 5 ด้านตามทีกล่าวไปแล้วข้างต้น ซึงประกอบด้วย ่ ่ ่ 1. ด้านสมาธิ 2. ด้านการรับรู้ทางการเห็น 3. ด้านการรับรู้ทางการได้ยิน 4. ด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างสายตากับมือ 5. ด้านวิชาการ สำาหรับการจัดทำาแผนการจัดกิจกรรมเพือเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมและแก้ปญหาในการ ่ ั เรียนรูของนักเรียนทีมความบกพร่องทางการเรียนรูนน จะประกอบไปด้วยด้วย ปัญหา ระดับชัน ชือกิจกรรม ้ ่ ี ้ ั้ ้ ่ จุดประสงค์การเรียนรู้ สื่อ/อุปกรณ์ วิธีดำาเนินกิจกรรม การวัดและประเมินผล รวมทั้งข้อเสนอแนะ และเพื่อ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้เห็นภาพการเตรียมความพร้อมสำาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้อย่างเป็น ระบบ ซึงจะช่วยให้สามารถนำาไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมยิงขึน ในเอกสารนีจงได้นาเสนอตารางวิเคราะห์ ่ ่ ้ ้ึ ำ แผนการจัดกิจกรรมการเตรียมความพร้อมไว้ด้วย ดังตารางต่อไปนี้ 8
  • 16. ตารางวิเคราะห์แผนการจัดกิจกรรมการเตรียมความพร้อม การเตรียม แนวทางการเตรียมความพร้อม ลักษณะปัญหา ความพร้อม หลักการ/ทฤษฎี เทคนิค/วิธีการ สื่อ 1. ด้านสมาธิ 1. ไม่อยู่นิ่ง 1. การเพิ่มช่วงความสนใจ 1. เกม 1. ของจริง 2. เหม่อลอย 2. ความจดจ่อ 2. เพลง 2. บัตรคำา 3. ใจไม่จดจ่อในการทำางาน 3. การใช้ประสาท 3. สิ่งของ สัมผัสที่หลากหลาย 2. ด้านการรับรู้ 1. มีปัญหาในการมองราย 1. การสังเกต กวาดสายตา 1. เกม 1. ของจริง ทางการเห็น ละเอียดการเก็บข้อมูลจาก การต่อเติมภาพให้สมบูรณ์ 2. เพลง 2. บัตรภาพ สิ่งที่มองเห็น 2. การจำาแนกภาพจาก 3. การใช้ประสาท 3. แบบฝึกทักษะ 2. มีความบกพร่องใน ฉากหลัง สัมผัสที่ลากหลาย การรับรู้ทางการเห็น 3. การจำาแนกทางการเห็น 3. มีปัญหาในการจำาจาก 4. การจำาจากการเห็น การเห็น 5. การเรียงลำาดับภาพ 4. จำาแนกภาพจากฉาก หลังไม่ได้ 5. เขียนหนังสือไม่ตรง บรรทัด 6. จำาแนกสัญลักษณ์และ รูปภาพไม่ได้ 7. เรียงลำาดับเหตุการณ์ ไม่ได้ 3. ด้านการรับรู้ 1. จำาแนกเสียงที่ได้ยิน 1. การจำาแนกจาก 1. เกม 1. ของจริง ทางการได้ยิน ไม่ได้ การได้ยิน 2. เพลง 2. บัตรภาพ 2.จำาแนกเสียงพยัญชนะ 2. การจำาจากการได้ยิน 3. การใช้ประสาท 3. แบบฝึกทักษะ ที่ใกล้เคียงกันไม่ได้ 3. การเรียงลำาดับจาก สัมผัสที่หลากหลาย 3. จำาแนกเสียงคำาที่ การได้ยิน ใกล้เคียงกันไม่ได้ 4. เรียงลำาดับจากการ ได้ยินไม่ได้ 9
  • 17. การเตรียม แนวทางการเตรียมความพร้อม ลักษณะปัญหา ความพร้อม หลักการ/ทฤษฎี เทคนิค/วิธีการ สื่อ 4. ด้านการประสาน 1. การหยิบจับไม่มั่นคง การใช้ตากับมือทำางานให้ 1. เกม 1. ของจริง สัมพันธ์ระหว่าง 2. การประสานสัมพันธ์ ประสานสัมพันธ์กัน 2. เพลง 2.บัตรภาพ สายตากับมือ ระหว่างสายตากับมือไม่ดี 3.ประสาทสัมผัส 3. แบบฝึกทักษะ ที่หลากหลาย 5. ด้านวิชาการ ไม่มีความคิดรวบยอดเกี่ยว 1. พัฒนาความคิดรวบยอด 1. เกม 1. ของจริง กับขนาด ปริมาณ รูปทรง 2. การแก้ปัญหา 2. เพลง 2. บัตรภาพ ตำาแหน่ง การเปรียบเทียบ 3. ภาษาและการสื่อสาร 3. การใช้ประสาท 3. แบบฝึกทักษะ เวลา ภาษาและการสื่อสาร สัมผัสที่หลากหลาย 10
  • 18. ด้านที่ 3 การเตรียมความพร้อม ในการรับรู้ทางการได้ยิน การเตรียมความพร้อมในการรับรู้ทางการได้ยิน l การจำาแนกจากการได้ยิน (Auditory Discrimination) l การจำาจากการได้ยิน (Auditory Memory) l การเรียงลำาดับจากการได้ยิน (Auditory Sequencing) การเตรียมความพร้อมในการรับรูทางการได้ยน เป็นการส่งเสริมให้นกเรียนทีมความบกพร่องทางการ ้ ิ ั ่ ี เรียนรูและมีความบกพร่องในการรับรูทางการได้ยน ซึงอาจมีความยากลำาบากในการจำาแนกเสียง การจำาจาก ้ ้ ิ ่ การได้ยน และไม่สามารถเรียงลำาดับเรืองราวจากการได้ยน ให้สามารถจำาแนกจากการได้ยน จำาจากการได้ยน ิ ่ ิ ิ ิ และเรียงลำาดับจากการได้ยินได้ 11
  • 19. แผนก�รจัดกิจกรรมเตรียมคว�มพร้อม ก�รจำ�แนกจ�กก�รได้ยิน 1. ปัญหา นักเรียนจำาแนกเสียงที่ได้ยินไม่ได้ 2. ระดับชั้น ทุกระดับชั้น 3. กิจกรรมที่ 1 เสียงอะไรเอ่ย 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ ให้นักเรียนจำาแนกสียงที่ได้ยินได้ถูกต้อง 5. สื่อ/อุปกรณ์ 5.1 บัตรภาพ 6. วิธีดำาเนินกิจกรรม 6.1 นักเรียนดูภาพข้างล่างนี้แล้วฟังครูบอกชื่อภาพ นักเรียนหยิบภาพที่ครูอ่านชื่อให้ฟัง ครูให้แรง เสริมเมื่อนักเรียนหยิบภาพถูกต้อง 12
  • 20. 6.2 นักเรียนรับบัตรภาพจากครู ต่อจากนั้นครูจะอ่านชื่อภาพแต่ละภาพ เมื่อครูอ่านชื่อภาพจบให้ นักเรียนชูภาพที่ครูอ่านจนครบทุกภาพ 6.3 ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยและแจกบัตรภาพให้นักเรียนนำาไประบายสี 6.4 ครูให้การเสริมแรงให้กับนักเรียนที่ร่วมกิจกรรม 6.5 นักเรียนนำาเสนอผลงานของตน โดยการติดที่ป้ายนิเทศในห้องเรียนหรือหน้าห้องเรียน 7. การวัดและประเมินผล 7.1 วิธีการวัดผล 7.1.1 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ 7.1.2 ตรวจสอบผลงาน 7.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล 7.2.1 แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ 7.3 เกณฑ์การประเมินผล 0 หมายถึง ไม่ตอบสนอง/ทำาไม่ถูกต้อง 1 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนทางกายและวาจา 2 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยท่าทางและวาจา 3 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยวาจา 4 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องด้วยตนเอง 7.4 เกณฑ์ผ่านการประเมิน นักเรียนทำากิจกรรมได้ระดับคุณภาพ 4 8. ข้อเสนอแนะ ในกรณีที่นักเรียนไม่ผ่านการประเมิน ครูควรจัดทำาแบบฝึกเพิ่มเติมให้กับนักเรียน 13
  • 21. แผนก�รจัดกิจกรรมเตรียมคว�มพร้อม ก�รจำ�แนกจ�กก�รได้ยิน 1. ปัญหา นักเรียนจำาแนกเสียงพยัญชนะที่ใกล้เคียงกันไม่ได้ 2. ระดับชั้น ทุกระดับชั้น 3. กิจกรรมที่ 2 เสียงพยัญชนะไทย 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ นักเรียนจำาแนกเสียงพยัญชนะได้ 5. สื่อ/อุปกรณ์ 5.1 แบบฝึกทักษะที่ 1 – 5 5.2 บัตรภาพ 5.3 บัตรพยัญชนะ 6. วิธีดำาเนินกิจกรรม 6.1 ครูแจกบัตรภาพพยัญชนะให้นักเรียนแล้วออกเสียงพยัญชนะให้นักเรียนฟังแล้วให้นักเรียน ชูบัตรภาพพยัญชนะให้ตรงกับเสียง 6.2 ครูแจกบัตรพยัญชนะให้นกเรียน แล้วออกเสียงพยัญชนะให้นกเรียนฟัง และให้นกเรียนออกเสียงตาม ั ั ั พร้อมทั้งชูบัตรภาพพยัญชนะให้ตรงตามเสียง 6.3 นักเรียนดูแบบฝึกทักษะที่ครูแจกให้ 6.4 ครูอ่านออกเสียงพยัญชนะทีละตัวในแต่ละข้อพร้อมชี้ไปที่พยัญชนะตัวนั้นและให้ นักเรียน พูดตาม 6.5 ครูอ่านออกเสียงพยัญชนะทั้ง 3 ตัว แล้วครูถามนักเรียนว่าตัว ... อยู่ไหนให้นักเรียนชี้บอก เช่น ตัว “ม” อยู่ไหน 7. การวัดและประเมินผล 7.1 วิธีการวัดผล 7.1.1 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ 7.1.2 ตรวจสอบผลงาน 7.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล 7.2.1 แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ 14
  • 22. 7.3 เกณฑ์การประเมินผล 0 หมายถึง ไม่ตอบสนอง/ทำาไม่ถูกต้อง 1 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนทางกายและวาจา 2 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยท่าทางและวาจา 3 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยวาจา 4 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องด้วยตนเอง 7.4 เกณฑ์ผ่านการประเมิน นักเรียนทำากิจกรรมได้ระดับคุณภาพ 4 8. ข้อเสนอแนะ ครูอาจสร้างแบบฝึกทักษะเพิ่มเติมให้หลากหลาย 15
  • 23. แบบฝึกทักษะที่ 1 เสียงพยัญชนะไทย คำาชี้แจง ให้นกเรียนออกเสียงพยัญชนะตามครู แล้ว ั ล้อมรอบตัวพยัญชนะทีออกเสียง ่ 1 ช ด ย 2 ล ข ฟ 3 ถ ร พ เกณฑ์การประเมินผล ประเมินผล ( ) 0 หมายถึง ไม่ตอบสนอง/ทำาไม่ถูกต้อง ผ่าน ไม่ผ่าน ( ) 1 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนทางกายและวาจา ข้อเสนอแนะ ( ) 2 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยท่าทางและวาจา ...................................................................................... ( ) 3 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยวาจา ...................................................................................... ( ) 4 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องด้วยตนเอง ...................................................................................... 16
  • 24. แบบฝึกทักษะที่ 2 เสียงพยัญชนะไทย คำาชี้แจง ให้นกเรียนออกเสียงพยัญชนะตามครู แล้ว ั ล้อมรอบตัวพยัญชนะทีออกเสียง ่ 1 ก จ ม 2 ง ต ก 3 ต ส น เกณฑ์การประเมินผล ประเมินผล ( ) 0 หมายถึง ไม่ตอบสนอง/ทำาไม่ถูกต้อง ผ่าน ไม่ผ่าน ( ) 1 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนทางกายและวาจา ข้อเสนอแนะ ( ) 2 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยท่าทางและวาจา ...................................................................................... ( ) 3 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยวาจา ...................................................................................... ( ) 4 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องด้วยตนเอง ...................................................................................... 17
  • 25. แบบฝึกทักษะที่ 3 เสียงพยัญชนะไทย คำาชี้แจง ให้นกเรียนออกเสียงพยัญชนะตามครู แล้ว ั ล้อมรอบตัวพยัญชนะทีออกเสียง ่ 1 ผ ป ฎ 2 ธ ล ฆ 3 ณ ฑ ค เกณฑ์การประเมินผล ประเมินผล ( ) 0 หมายถึง ไม่ตอบสนอง/ทำาไม่ถูกต้อง ผ่าน ไม่ผ่าน ( ) 1 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนทางกายและวาจา ข้อเสนอแนะ ( ) 2 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยท่าทางและวาจา ...................................................................................... ( ) 3 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยวาจา ...................................................................................... ( ) 4 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องด้วยตนเอง ...................................................................................... 18
  • 26. แบบฝึกทักษะที่ 4 เสียงพยัญชนะไทย คำาชี้แจง ให้นกเรียนออกเสียงพยัญชนะตามครู แล้ว ั ล้อมรอบตัวพยัญชนะทีออกเสียง ่ 1 ง ย ม 2 ร บ ฝ 3 ป ฝ ร เกณฑ์การประเมินผล ประเมินผล ( ) 0 หมายถึง ไม่ตอบสนอง/ทำาไม่ถูกต้อง ผ่าน ไม่ผ่าน ( ) 1 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนทางกายและวาจา ข้อเสนอแนะ ( ) 2 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยท่าทางและวาจา ...................................................................................... ( ) 3 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยวาจา ...................................................................................... ( ) 4 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องด้วยตนเอง ...................................................................................... 19
  • 27. แบบฝึกทีกษะที่ 5 เสียงพยัญชนะไทย คำาชี้แจง ให้นกเรียนออกเสียงพยัญชนะตามครู แล้ว ั ล้อมรอบตัวพยัญชนะทีออกเสียง ่ 1 ฉ ช ญ 2 ข ว จ 3 ภ ษ ฆ เกณฑ์การประเมินผล ประเมินผล ( ) 0 หมายถึง ไม่ตอบสนอง/ทำาไม่ถูกต้อง ผ่าน ไม่ผ่าน ( ) 1 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนทางกายและวาจา ข้อเสนอแนะ ( ) 2 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยท่าทางและวาจา ...................................................................................... ( ) 3 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยวาจา ...................................................................................... ( ) 4 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องด้วยตนเอง ...................................................................................... 20
  • 28. แผนก�รจัดกิจกรรมเตรียมคว�มพร้อม ก�รจำ�จ�กก�รได้ยิน 1. ปัญหา นักเรียนฟังเสียงแล้วจำาเสียงจากการฟังไม่ได้หรือจำาได้แต่มีระยะในการจำาสั้น 2. ระดับชั้น ทุกระดับชั้น 3. กิจกรรม เสียงคำาที่ใกล้เคียงกัน 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ 4.1 นักเรียนจำาแนกคำาจากการได้ยินได้ 4.2 นักเรียนพูดทวนตามเสียงคำาที่ได้ยินได้ 5. สื่อ/อุปกรณ์ 5.1 แบบฝึกทักษะที่ 1 – 5 5.2 บัตรคำา 6. วิธีดำาเนินกิจกรรม 6.1 ครูฝึกการจำาจากการฟังโดยให้นักเรียนพูดตามคำาที่ครูออกเสียง เช่น ปู นักเรียนพูดว่า ปู งู นักเรียนพูดว่า งู 6.2 ครูเพิ่มจำานวนคำามากขึ้นเป็นครั้งละ 3 - 6 คำา แล้วนักเรียนพูดตาม เช่น ปู - งู – หู กา – ขา – อา 6.3 นักเรียนฟังคำาที่ครูอ่านจากแบบฝึกทักษะที่ 1 – 5 แล้วปฏิบัติตามคำาสั่งที่กำาหนด 7. การวัดและประเมินผล 7.1 วิธีการวัดผล 7.1.1 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ 7.1.2 ตรวจสอบความถูกต้องจากการปฏิบัติ 7.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล 7.1.1 แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ 7.1.2 แบบประเมินทักษะ 21
  • 29. 7.3 เกณฑ์การประเมินผล 0 หมายถึง ไม่ตอบสนอง/ทำาไม่ถูกต้อง 1 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนทางกายและวาจา 2 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยท่าทางและวาจา 3 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยวาจา 4 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องด้วยตนเอง 7.4 เกณฑ์ผ่านการประเมิน นักเรียนทำากิจกรรมได้ระดับคุณภาพ 4 8. ข้อเสนอแนะ ครูสามารถสร้างแบบฝึกทักษะโดยนำาคำาหลาย ๆ คำาที่ออกเสียงคล้ายกัน มาให้นักเรียนฝึกการจำาเสียงคำา หากนักเรียนจำาคำาไม่ได้ ครูพยายามพูดช้า ๆ 22
  • 30. แบบฝึกทักษะที่ 1 จำาเสียงคำา คำาชี้แจง ให้นักเรียนออกเสียงคำาตามครูทีละข้อ แล้ว ล้อมรอบคำาตามเสียงที่ครู กำาหนดให้ข้อละ 1 คำา 1. กา ขา ตา 2. พี่ ตี สี 3. ปู งู หู เกณฑ์การประเมินผล ประเมินผล ( ) 0 หมายถึง ไม่ตอบสนอง/ทำาไม่ถูกต้อง ผ่าน ไม่ผ่าน ( ) 1 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนทางกายและวาจา ข้อเสนอแนะ ( ) 2 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยท่าทางและวาจา ...................................................................................... ( ) 3 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องแต่ต้องช่วยด้วยการกระตุ้นเตือนด้วยวาจา ...................................................................................... ( ) 4 หมายถึง ทำาได้ถูกต้องด้วยตนเอง ...................................................................................... 23