SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  29
Télécharger pour lire hors ligne
Appreciative Inquiry Research A-Z:
A Survival Guide for Ph.D. Students
“ทำ AI Reseach อย่างไร ให้ชัวร์และชิลล์”
โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ ผู้ก่อตั้ง AI Thailand
© 2016
คุยกันก่อน
วิจัยเป็นอะไรที่ท้าทาย สำหรับนักศึกษาปริญญา
เอกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะวิจัยแนวใหม่ๆ ที่
วงการวิชาการยังไม่คุ้นเคยอย่าง Appreciative
Inquiry ...เนื่องจากสมัยทำวิจัยป.เอกก็หาตัวอย่าง
ไม่ได้ ก็ต้องลุยอย่างเดียวมาวันนี้ตั้งแต่เริ่มต้นก็
สิบปีแล้ว เลยอย่างกลั่นประสบการณ์จากการ
ทำป.เอก จนถึงมาสอนนักนิสิตนักศึกษาจาก
หลายสถาบัน ...เพื่อประโยชน์ของผู้มาทีหลัง จะ
ได้ไม่ต้องมึนงงมากนัก แถมจะมีความสุขมากขึ้น
ผมจึงทำ Guideline ง่ายๆ สำหรับผู้ที่ใหม่กับวิจัย
แนวนี้ ถ้ายังติดอะไรก็ Inbox มาถามกันได้ ที่อยู่
ของผมอยู่ slide แผ่นท้ายสุด และขอให้มีความสุข
กับการทำวิจัยแนว AI จะครับ ผมเชียร์สุดใจเลย
ติดอะไรถามกันได้ไม่ต้องเกรงใจครับ อยากให้
คุณชัวร์และชิลล์ครับ
ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์
MBA KKU และ AI Thailand
ถ่ายกับศาสตราจารย์เดวิด คูปเปอร์ไรเดอร์
ผู้คิดค้น Appreciative Inquiry
ตอนมาสอนเมืองไทย
A= Art and Science of
Appreciative Inquiry
อย่างแรกเลยคือศึกษาปรัชญา ความเป็นมา
ของ Appreciative Inquiry (AI) จริงๆ มีไม่มาก
จะอยู่ในบทแรกของตำรา AI ทุกเล่มในโลก
เลือกเล่มใดเล่มหนึ่งก็ได้ ศึกษาวิธีการทำอย่าง
ละเอียดนั่นคือ Science แต่ในเรื่องของ Art ต้อง
เข้าใจว่า AI คิดโดยฝรั่ง ถามแบบฝรั่ง ทำใน
บริบทแบบฝรั่ง อย่างกรณีศึกษาของอาจารย์
เดวิด ผู้คิดค้น AI นี่มันส์ๆทั้งนั้นครับ เช่นการ
สร้างเมืองแนวคิดใหม่ หรือความพยายาม
แก้ไขปัญหาของอิสราเอลกับปาเลสไตน์...สุด
ยอด...แต่เดี๋ยว..แล้วถ้าผมจะทำ AI เพื่อพัฒนา
ร้านกาแฟ ที่มีคนเพียงสามคนทำไงล่ะ เพราะ
แต่ละ case ที่เจ้าพ่อ AI ของโลกทำนั้นบาง case
คนเกี่ยวข้องนับแสนคนครับนี่เป็นที่มาของการ
ที่คุณอาจต้องไปดู case ที่ทำในไทย ง่ายๆ เริ่ม
ที่ www.atihailand.org ก็ได้ครับ เพราะฝรั่งไม่มี
หรอกครับ ร้านกาแฟมีคนทำงานสามคน ส่วน
ใหญ่จะแกรนด์ๆ ทั้งนั้น
©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
B=Blend
AI เป็นเพียงศาสตร์ของการตั้งคำถามเชิงบวก
เพื่อนำมาสู่การแก้ปัญหา วางแผน พัฒนา
องค์กร ดังนั้นจึงสามารถนำไปผสมผสานกับ
ศาสตร์อะไรก็ได้ ก็เหมือนวิจัยทั่วไป เอาไป
ประยุกต์กับโจทย์ได้เกือบทุกโจทย์ นั่นหมาย
ถึงอะไรครับ หมายถึงคุณโชคดี ที่ปรึกษาจะดยู่
ใน Field อะไรก็ได้ คุณก็สามารถใช้ AI มาเป็น
ส่วนหนึ่งของงานวิจัยใน Field นั้นได้ คุณไม่
ต้องหาอาจารย์จบ AI โดยตรง ถ้าคุณเรียน
หมอ คุณก็ไปหาอาจารย์หมอได้เหมือนเดิม ถ้า
คุณเรียน HR ก็จัดเต็ม AI ด้าน HR เลย เพียงแต่
เพิ่ม AI เข้าไปเท่านั้น จริงจะดีมากๆด้วยซ้ำ เท่า
ที่ทำร่วมกันมาก็ไปกันด้วยดีครับ เพราะ AI ก็จะ
ทำให้เห็นมุมมองอีกมุมของศาสตร์ด้านนั้น
ส่วนเรื่องการตีพิมพ์ ไม่ต้องกังวลครับ ตอนนี้จะ
เข้างานที่ 400 แล้ว ตีพิมพ์ได้ครับ ไป Inter ก็ได้
ในประเทศไทยไปได้ทุกมหาวิทยาลัยครับ
Blend ในที่นี้ยังหมายถึงอาจผสมผสานหลายๆ
วิธีการในการทำวิจัยด้วยครับ ผมเองก็ผสม
ผสาน AI, Appreciative Coaching และ KM
เข้าไปในการทำวิจัยแบบ Action Research
ของผมด้วย ...One Size Does not fit All. ©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
C= Courses
1. ตอนนี้ที่เปิดสอนอย่างเป็นทางการคือที่ MBA
มหาวิทยาลัยขอนแก่นชื่อวิชา Appreciative Inuriy and
Positive Organisation Development สอนโดยผมเอง
ดร.ภิญโญ อีกวิชาที่ MBA เช่นกันคือวิชา Leadership
สอนโดยดร.อัจฉริยะ เพื่อนผม ตัวนี้เน้นการพัฒนา
Appreciative Leadership ครับ ส่วนที่อื่นน่าจะสอด
แทรกอยู่ในรายวิชาอื่น ยังไม่เห็น Courses เต็มๆ
2. อาจลงเรียนทาง Udemy ก็ได้ แต่เป็นภาษาอังกฤษ
ลอง Search แล้วเก็บเป็น Wishlist ลองคอยช่วงลด
ราคา จะไม่แพงมากไป
3. ลอง Search Clip Video ของ David Cooperrider ดูนะ
ครับ เท่าที่ผมเห็น สอนเหมือนที่ผมเคยไปเรียนกับ
ท่าน... เท่านั้นคุณก็เรียนด้วยตนเองได้ ผมเห็นท่านพูด
ให้ TED Talks ด้วย
4. ศึกษาด้วยตนเองก็ได้มาที่ www.aithailand.org จะมี
Case Study ให้ดู ตัวนั้นรับรองทำเป็นครับ หลายคนไม่
เคยเรียนกับผมหรือเดวิดเลยก็มาดูที่นี่ก็ทำเป็นครับ
5. เห็นเริ่มมี Certification Programme แต่เป็นสาย
โค้ช...ตัวนั้นอาจไม่จำเป็นครับ เพราะ AI Research
กว้างกว่านั้นมาก ถ้าไม่ไปเป็น Coach จริงๆ ก็ไม่ต้อง
ครับ
6. ถ้าหาเรียนที่ไหนไม่ได้ ก็ยินดีสอนให้ครับ ลองเข้า
มาที่ www.aithailand.org จะมีเบอร์ติดต่อครับ
©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
D= 4D Process
แน่นอนนี่คือวงจรพื้นฐาน ค้นหาเรื่องดีๆ ตั้ง
คำถามกับสิ่งที่มีอยู่ แม้จะเป็นปัญหา ก็มักมีใคร
ทำได้ หรือช่วงเวลาที่เคยทำได้ไกล้เคียง ร่วม
กันค้นหา จริงๆแล้ว AI คือกระบวนการสืบค้น
เรื่องดีๆ ของคนในองค์กรร่วมกัน แล้วเอามา
ขยายผลสร้างการเปลี่ยน นั่นหมายถึง คุณไม่
ควรค้นหาอยู่คนเดียว ควรชวนคนให้มากที่สุด
ร่วมกันค้นหา แต่ถ้าไม่พร้อมก็คนเดียวไปก่อน
พอถนัดก็ขยายวงมากขึ้น ถามว่าถ้าเรื่องดีๆ ใน
องค์กรไม่มีจะทำอย่างไรดี ...ทำมาเป็น 100 มี
แน่นอนครับ เพียงแต่ต้องปรับ Mindset กัน
หน่อย ว่าเรื่องดีๆ ไม่จำเป็นต้องระดับแม่ดีเด่น
แห่งชาติ เอาเล็กๆ ไม่มีใครเคยเห็น ก็เอามา
ใช้ได้เลย นี่คือ (Discovery)
ถามมากๆ แล้วเอามาคิดต่อว่าจะนำมาสรุปเป็น
ภาพในอนาคต (Dream) แล้วเอามาขยายผล
(design) ...ขยายผลจากอะไร จาก Discovery
นั่นเอง หรือจะตีความจาก Dream เพิ่มเติมก็ได้
ขั้นตอนต่อไปก็ Destiny คือพากันลุย แล้ววัดผล
วัดผลก็ง่ายๆ ลองดูว่า Discovery ที่ทำจะตอบ
โจทย์ตัวชี้วัดตัวไหน ..มักจะตรงเสมอไม่ต้อง
สร้างใหม่ ที่สำคัญมันเป็นวงจร เอาไปขยายผล
Source http://www.tmiaust.com.au/what_we_do/appreciative_inquiry.htm
6
ก็จะเจออีกว่าได้ผล ตรงไหน ไม่ได้ผลตรง
ไหน เราก็เอาสรุปเป็นบทเรียน ปรับ
กระบวนการใหม่ แล้วทำซ้ำขยายผลไป
เรื่อยๆ จนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาที่
วางแผนไว้
©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
E= Ethics
เรื่องนี้เรื่องใหญ่ เอาง่ายๆ Copy and Paste
นี่ยากครับ คุณจะเบลอไปตลอด ใจเย็นๆ
ค่อยๆสรุปเขียน Literature Review อ่าน
ภาษาอังกฤษไม่แตก ก็เอาไปถามอาจารย์
ถามเพื่อนก็ได้ การทำวิจัยแนวนี้ทางทฤษฎี
เท่านั้นที่อาจต้องอ่านภาษาอังกฤษ แต่ก็มี
หนังสือภาษาไทยดีๆ จำนวนมากที่ผม
แนะนำให้อ่าน เช่น “กลยุทธ์จุดกระแส
(Tipping Point)” ..ก็ให้อ่าน อ่านจริงๆ อย่า
Copy and Paste จะไม่รู้เรื่องเลย ที่สุดคุณจะ
ต่อไม่ติดกับที่ปรึกษา ที่ปรึกษาเองก็จะเริ่ม
เซ็ง และหมดความนับถือในตัวคุณมากขึ้น
เรื่อยๆ ไปไม่รอดครับ ยิ่งจ้างทำยิ่งไม่
ควร ...คุณไปตายตอนสอบแน่นอน ไม่มีวัน
ตอบได้ กรรมการส่วนใหญ่ไม่รู้จัก บางคน
อาจถึงขั้นต่อต้าน คุณจะสู้ได้ก็ต่อเมื่อคุณ
อ่านมาจริง และคุณลงมือทำจริงเท่านั้น
©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
F=FIT
คุณเหมาะจริงๆ ที่จะทำสิ่งที่ทำอยู่ไหม ..โดย
เฉพาะคนทำงานแล้ว หลายคนชีวิตดิ้นรน
มาก เพราะเลือกทำเรื่องนอกองค์กรของตัว
เอง จริงๆ แล้วสามารถเอา AI มาพัฒนางาน
ของตัวเองได้ เช่นคุณขายบัตรเครดิต คุณก็
เอา AI ไปทำ Research ในงานของคุณได้
คือคุณต้องเลือกสนามในการทำวิจัยหน่อย
แนะนำมากๆ คืองานของคุณเอง บางคนไป
พัฒนางานให้ญาต หรือเจ้านายเก่า ตอน
แรกก็ง่ายดี แต่ไปๆมาๆ เขาอาจยุ่งไม่มีเวลา
ให้คุณไปรบกวนเขา หรือไม่ก็รู้สึกกลัวว่า
คุณไปเจอกลเม็ดเคล็ดลับของเขา ทำให้คุณ
ไม่สามารถเปิดเผยเป็นงานวิจัยออกมาได้ นี่
ก็ยุ่งครับ พยายามเอางานของคุณไปทำ
Research จะดีกว่า ..AI ช่วยคุณทำงานได้ดี
ขึ้นแน่นอน คุณจะควบคุมสถาณการณ์ได้
ทำงานได้ง่ายขึ้นไม่เสียเวลาซ้ำซ้อน แถม
ควบคุมไม่ได้ คิดดีๆก่อนทำนะครับ สรุป
แนะนำให้นำมาปรับปรุงงานของตัวเองครับ
©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
G= Guideline
ทำ ต า ม กำ ห น ด เ ว ล า ห รื อ
Format ..ระเบียบพิธีการของ
มหาวิทยาลัยอย่างเคร่งครัด เขา
กำหนดให้ส่งอะไรก็ทำตามให้ทัน
อย่าหลุด ...Guideline อีกตัวคือ
แนวการถาม ..ควรเข้าฟังคนอื่น
สอบ ดูว่ากรรมการถามอะไร ส่วน
ใหญ่จะถามแนวเดียวกัน จด
คำถามไว้ แล้วมาเล่าให้ที่ปรึกษา
ฟัง ช่วยกันตอบแต่ต้น งานจะออก
มาดีมากๆ ...เรียกว่าแตกต่างไป
เลย เราเองก็จะแตกฉานมากยิ่งขึ้น
©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
H = Habit
สร้างนิสัยการทำงานอย่างสม่ำเสมอ
การทำวิจัยไม่ว่าจะระดับโท หรือเอก
ควรมีวินัย อย่าหยุดทำ หยุดเมื่อไหร่
เริ่มต้นไหม เสียจังหวะไปมาก เพราะ
ฉะนั้นทำทุกวัน แนะนำง่ายๆ เขียน
อย่างต่ำวันละ 3 บรรทัด หรือกลับไป
แก้งาน 10 จุด อ่าน Paper วันละสอง
เรื่อง นี่คือขั้นต่ำ รักษาระดับนี้ไว้คุณจะ
ทำงานทัน ไม่ชะงัก และคุณจะจบตรง
เวลา
©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
I = Interview
แล้วแต่ขนาดของงาน ส่วนใหญ่ตอนฝึก
ทำวิจัยก็ 30-90 คน ตัวนี้ก็ทำเองก็ได้
ส่วนใหญ่ถามได้ 4-5 คนต่อวันก็เก่งแล้ว
ครับ เพราะเราเองก็ทำงาน คนที่เป็นกลุ่ม
เป้าหมายของเราก็ทำงาน
แต่ถ้างานขนาดใหญ่หน่อย ก็อาจจัดใน
รูปแบบ Workshop เช่นผมทำบางทีก็
80-200 คน นี่ก็ต้องมีทีมครับ หัดให้เขา
ช่วยถาม ช่วยเก็บข้อมูลให้ได้ แต่ต้องหัด
ให้ดี เช็คให้ชัวร์ว่าทำเป็นจริงๆ หรือ
ไม่ ...และเราไม่ใช้แบบสอบถามกันครับ
อย่าพยายาถามทาง Line หรือใช้
แบบสอบถาม มักซักรายละเอียดไม่ค่อย
ได้ ไม่แนะนำครับ ถามต่อหน้า หรือคุย
กันทางโทรศัพท์ก็ยังดี
©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
J = Just do it
เน้นทำมากๆครับ ทำแล้วจะเห็น
เอง AI...เป็นอะไรที่ไม่ทำไม่มีวัน
เข้าใจครับ เท่าที่ผมทำมาและ
สังเกตจากลูกศิษย์ ถ้าเริ่มไปถาม
สัก 4-5 คน ก็จะเริ่มเห็นแล้วว่าจะ
ต้องทำอะไรต่อ ถามไปสัก 20 ก็
จะอยากขยายผล เรียกว่าคน
ถามจะเกิดเห็นโอกาสและบางที
ขยายผลไปเลย
©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
K=Knowledge
AI เน้นที่กระบวนการ Discovery มากๆ
ครับ ถามเพื่อเอาสิ่งดีๆ มาขยายผล แต่
บางครั้งถ้ากลุ่มใหญ่มากๆ คุณต้อง
ระวังเก็บเรื่องที่เล่ามาใช้ไม่หมด คุณ
ควรมีระบบบันทึกข้อมูลที่ดีพอ ส่วน
ใหญ่ผมจะแนะนำให้คนที่เล่ากลับไป
เขียนเรื่องที่เล่ากลับมาส่ง จะง่ายที่สุด
แต่ต้องกำหนดให้เขียนคนละ 10
บรรทัด ไม่เช่นนั้นจะสรุปมาห้วนๆ เอา
ไปใช้อะไรไม่ได้ แต่ถ้าเก็บข้อมูลซัก
30 รายไม่เป็นไร คุณถามๆ จดโน๊ตไว้
แล้วรีบกลับมาเขียนบันทึกไว้ได้ จะใช้
เครื่องอัดก็ได้ แต่ขออนุญาตก่อน
©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
L = Log
แต่ละวัน ไม่ว่าคุณจะทำอะไร ไปเจอ
ใครให้คุณเขียนบันึกเหตุการณ์ไว้
ทุกวัน เหตุการณ์ละบรรทัดสอง
บรรทัดก็พอ เราเรียกว่าเขียนลง
Log ขั้นตอนนี้สำคัญมากๆ เพราะ
จะช่วยให้คุณจำเหตุการณ์ได้ และ
ระหว่างเขียนอาจช่วยให้คุณ
ตกผลึกอะไรบางอย่างได้ ไม่งั๊น
เวลาวิเคราะห์ หรือเขียน
วิทยานิพนธ์คุณอาจจะจำอะไรไม่ได้
เลย
©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
M = Methodology
นี่เป็นปัญหาโลกแตกของคนทำวิจัยครับ ส่วน
ใหญ่จะเน้นหาทฤษฎีหลักๆ ด้าน AI ไปตรงๆ
หรือไม่ก็ทฤษฎีที่จะใช้งาน แต่ไม่ค่อยมีใคร
ศึกษาระเบียบวิธีวิจัยตรงๆ ให้ดีพอ ส่วนใหญ่
ไม่แม่น จริงๆ แล้วระเบียบวิธีวิจัยสำคัญมากๆ
เพราะมันคือกรอบการทำงานของนักวิจัย ถ้า
ไม่แม่น ก็ตกม้าตาย ควรอ่านมากๆครับ อ่าน
ไปนอก AI ด้วย ..สิ่งที่ควรอ่านคือหนังสือ
Organisation Development (OD) จะได้เห็น
ภาพรวมว่า OD ทำอย่างไร , Action Research
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ และสุดท้ายคือการ
วิจัยเชิงคุณภาพ ที่จะทำให้คุณเข้าใจ AI และ
มั่นใจมากขึ้น ที่สำคัญจะทำให้สามารถ
สื่อสารกับกรรมการสอบได้ เราเองก็จะแม่น
ขึ้นด้วย ไม่ Strong ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย
สองเล่มนี้สุดยอดมากๆ ...หรือไม่ก็ไปขอ Sitin
อาจารย์ที่สอน Quali ที่คณะอื่นก็ได้ หรือมหา
ลัยอื่นก็ได้ ถ้าคณะคุณไม่มี อาจารย์ใจดีครับ
ลองดู List ที่ผมอ่านข้างๆนี้ครับ
©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
N = Number
จำนวนผู้เข้าร่วมวิจัยหรือ
Participants ไม่จำกัดจำนวน
ครับ ขึ้นกับความสมัครใจ
น้อยสุดที่เคยทำคือ 1 คน
(ป.โท) ส่วนป.เอกที่น้อยที่สุด
คือ 15 คน แต่ถ้าเป็นไปได้ก็
คืออย่างต่ำ 30 คน แต่อุดมคติ
เลยคือทุกคนที่เกี่ยวข้องไม่ว่า
จะเป็นนายจ้างลูกจ้าง ลูกค้า
ผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด
©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
Objectives
การเขียนวัตถุประสงค์ เราเขียนง่ายๆ
ดูว่าเราจะเปลี่ยนอะไร ในมุมมองไหน
เช่นเพิ่มรายได้ ก็เขียนว่าเพื่อเพิ่มราย
ได้ ไปเลย อยากลดต้นทุน ก็เขียนเพื่อ
ลดต้นทุนไปเลย โดยจะสัมพันธ์กับ
Research Questions .. เขียนแบบตรง
ไปตรงมา...เราไม่เน้น เพื่อเปรียบ
เทียบตัวแปร...กับตัวแปรอะไรนี่ เป็น
งานวิจัยแนวอื่นครับ ...เราเน้นการ
พัฒนา เอาผลการศึกษาที่ได้ไป
พัฒนาหน้างานจริงๆ แล้ววัดผลก่อน
หลังเลย เราไม่เปรียบเทียบครับ
©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
P=Participants
วิจัยแนวนี้เราไม่สุ่มตัวอย่าง
(Sampling) เราไม่ใช่คำว่ามีประชากร
เท่าไหร่ (Population) เราใช้คำว่า
Participants หรือผู้มีส่วนร่วมในการ
วิจัย จริงๆ เป็นปรัชญาของงานวิจัย
แนวนี้เลย เราเน้นทุกเสียงมีส่วนร่วม
เพราะทุกคนมีคำตอบดีๆ รออยู่ ยิ่งมี
คนเข้ามามีส่วนร่วมมากก็ยิ่งดี เรา
ต้องการฟังทุกเสียง (Every Voice is
Heard) แต่ถ้าไม่พร้อม เท่าไหนก็
เท่านั้นครับ
©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
Q = Quality
จะดูว่าการทำ Appreciative Inquiry ของคุณให้มี
คุณภาพเชื่อถือได้หรือไม่ ใช้เกณฑ์ง่ายๆครับ
1. คนที่เราไปเชิญเข้ามาในโครงการรับรู้ความเป็น
มา และเต็มใจไหม (Democratic Validity)
2. มีการวัดผลหลายทางไหม เช่นอาจสัมภาษณ์ก่อน
หลัง กับดู KPI หรือสังเกตร่วมไปด้วย (Process
Validity)
3. เน้นการขยายผล ไม่ใช่ทำเป็นข้อเสนออย่างเดียว
จะได้สร้างการเปลี่ยนแปลงและการเรียนรู้ไปในตัว
(Outcome Validity)
4. คนทำต้องหมั่นใคร่ครวญเรียนรู้ว่าอะไรที่ทำไปมี
จุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร จะได้ปรับปรุงกระบวนการ
ให้ดีขึ้น (Catalytic Validty)
5. หมั่นสอบถามให้เพื่อน ผู้รู้ช่วยดูงานให้จะได้ไม่
อคติ ตีความเกินจริงไป (Dialogic Validty)
Ref: The Action Research Dissertation
©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
R= Research
Question
Research Question สำหรับการทำวิจัยแนว
AI เราใช้โครงสร้างประโยคแบบนี้ครับ
To what extent AI impact อะไรบางอย่างที่
เราต้องการให้เปลี่ยน หรือภาษาไทย คือ
“การสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วย AI
ทำให้....เปลี่ยนแปลงไปในระดับ
ใด...ประมาณนี้ เราไม่พิสูจน์ เปรียบเทียบ
อะไรทั้งสิ้นครับ เราต้องการเพิ่ม เปลี่ยน
อะไรบางอย่าง แต่เวลาวัดการเปลี่ยนแปลง
เราวัดทั้งปริมาณและคุณภาพครับ และเรา
ไม่ต้องหาว่ามันเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญไหม
จริงเราดู Percent ธรรมดา เราไม่ต้องเล็ง
ก่อนว่ามันจะเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่
การทำ AI เหมือนการทดลองอะไรบางอย่าง
เราไม่มีวันรู้ว่าแรกๆ มันจะไปถึงไหน แต่พอ
ทำ พอประเมินเป็นวงจรไปเรื่อยๆ เราจะเห็น
การเติบโต เห็น Cycle ไปเองครับ
©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
S=Scope
ขอบเขตงานวิจัย งานวิจัยแบบ AI เราไม่เน้นไป
สำรวจแบบ Survey ครับ คือไปสำรวจทั้งจังหวัดนี่
ไม่ใช่แนว ส่วนใหญ่เราจะไปพัฒนาองค์กรใด
องค์กรหนึ่งที่จะทำอย่างจริงจังจนวัดผลเลยที
เดียว ขอบเขตอย่างแรก จึงเน้นจุดที่เราจะ
สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ส่วนใหญ่อยู่ในองค์กร
ใดองค์กรหนึ่ง แต่ก็เป็นไปได้ที่ AI Research จะ
เป็นการร่วมมือกันทำของหลายองค์กรเรา ซึ่งเรา
เรียกว่า Positive Change Consortium ก็ได้ แต่ยัง
ไม่ค่อยเห็นใครทำครับ
ขอบเขตอีกด้านคือเรื่องเวลา เราทำตามขอบเขต
เวลาที่กำหนดครับ เช่น 3 เดือน 6 เดือน หรือ 8
เดือน แล้วแต่ที่สถานศึกษาจะเห็นควร และเมื่อทำ
ถึงแค่ไหนก็ตัดจบเท่านั้นครับ...โดยที่ผลการ
ดำเนินงานบางวิจัยอาจไม่ได้เห็นการ
เปลี่ยนแปลงอะไรมาก บางทีอาจล้มเหลว ก็ไม่
เป็นไร ขอให้เราศึกษาบทเรียนความสำเร็จล้ม
เหลวมาด้วย ซึ่งก็ถือเป็นผลการศึกษาหนึ่งเช่นกัน
©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
T = Theories
ต้องใช้ทฤษฎีอะไรบ้าง
1. AI ก็มีทฤษฏี AI และทฤษฎีจิตวิทยา
บวก ให้อ่านให้หมด ส่วนใหญ่จะหา
ต้นฉบับได้ในเมืองไทย
2. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เช่นการตลาดก็ไป
หาดูงานวิจัย หรือทฤษฎีด้านการตลาด
3. งานวิจัยของรุ่นพี่ทั้งใน นอกประเทศ
ฐานข้อมูลงานวิจัยในไทยตอนนี้ค่อน
ข้างทันสมัย มีมากพอควรรับ
4. งานวิจัยของ AI ในไทย มีคนทำมาก
พอควรในหลาย Fields ลองหาดูครับ
5. อาจดูงานวิจัย หรือทฤษฎีทาง OD
เพิ่มเติมเพื่อจะได้เข้าใจ OD (AI เป็น
ส่วนหนึ่งของศาสตร์ OD หรือ
Organisation Development
©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
U=Universities
มีมหาวิทยาลัยไหนที่อาจารย์ให้คำปรึกษา
เรื่อง AI บ้าง หลักๆคือ
MBA มหาวิทยาลัยขอนแก่นครับ (ป.โท)
ABAC ป.เอก
ป.โท NIDA ที่ HROD เป็นป.โท
ม.นเรศวร ป.เอก
แต่จริงๆ อยากทำก็ลองไปพัฒนางานวิจัยขึ้น
มากับอาจารย์ที่ปรึกษาเลย หลายครั้งที่
ปรึกษาจะโทรมาคุยกับผมเอง พวกเรา
สามารถเป็นที่ปรึกษาด้านเครื่องมือให้ ตอน
นี้กำลังทำร่วมกับจุฬา (ป.โท) ม.เกษมบัณฑิต
(ป.เอก) ม.ราม (ป.เอก) อยู่ครับ สักพักคง
ขยายผลไปอีกมาก
ติดต่อมาที่ www.aithailand.org ที่นั่นมีเบอร์
โทรครับ
©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
V= Visual
ใช้การสังเกตเป็นการเก็บข้อมูล
ได้ครับ และใช้ดูว่า Participants
เต็มใจให้ข้อมูล หรือระหว่างที่
เราวางแผน หรือขยายผล คนดู
เต็มใจ อึดอัดไหม ถ้าดูอึดอัดให้
ทบทวนด่วน หรือหยุดไปก่อน
©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
W= (Do not)
Waste time
ความรู้เกิดจากการไปปฏิบัติ ช่วง
Proposal อ่านให้มากจริง แต่อย่า
จมตัวเองไปกับการสังเคราะห์
ทฤษฎี เพื่อหาตัวแปร ...คนละเรื่อง
ครับ หาจุดเริ่มจากความท้าทาย
ขององค์กร เช่นด้านการตลาด ก็
ไปหาทฤษฎีการตลาดมาดู แต่ทำ
พอควร แล้วลงมือทำจริงให้ครบ
4D คุณจะได้ความรู้ แล้วค่อยกลับ
มาเทียบกับทฤษฎีเดิมว่ามีใครทำ
มาแล้ว จะดีครับ ไม่งั๊นเสียเวลา
มากๆ อาจไม่ได้อะไรเลย แบ่ง
เวลาทำจริงอย่างต่ำสามเดือน
(ป.โท) ป.เอกสัก 7-8 เดือน
©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
X=Experimentation
การทดลองครับ AI ไม่ใช่เขียน
Proposal จบแล้วทำได้เลย ควรทดลอง
ทำก่อนด้วยตนเองให้ครบวงจร หรือ
อาจทดลองในกลุ่มเล็กๆ ตอนผมทำ
ป.เอก ผมทดลองทำหนึ่งเดือน ปรากฏ
ว่าเห็นชัดเจนเลยว่าจะใช้เวลาทำกับ
กลุ่มใหญ่นานขนาดไหน เราจะเห็น
ภาพชัดขึ้นมากๆ เรียกว่าทำให้เรียนจบ
ตรงเวลาเลย ตอนนี้เห็นคนทำ AI
จำนวนมากในหลายๆ สถาบันไม่ทำ
ก่อนครับ ทำให้มองไม่ออก ลอง
พิจารณาข้อเสนอแนะของผมนะครับ
©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
Y=Yes!!!!!
ต้องเช็คว่าข้อมูลที่ได้มีคุณภาพไหม
โดยดูว่าเขาเล่าละเอียดจนเห็นภาพที่
เอาไปทำซ้ำได้ไหม เช่นถามว่า “ชอบ
เราเราตรงไหน” ลูกค้าตอบ “บริการ
ดี” นี่ไม่ Yes ครับ เพราะไม่รู้จะทำต่อ
ยังไง ถามต่อ “พี่ช่วยเล่าละเอียดนิด
หนึ่งครับ” ...อ้อ “พี่เดินเข้ามาตลาด
เห็นน้องเป็นร้านเดียวที่ยิ้มให้ลูกค้า
มาแต่ไกล...” นี่เลย Yes ใช่...ข้อมูล
ชัดแล้ว เอาไปทำซ้ำได้
©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
Z=Zappos
องค์กรระดับโลกที่ใช้แนวคิด
จิตวิทยาบวก (Positive
Psychology) บริหารแล้วประสบ
ความสำเร็จมากๆก็มีเช่น Zappos
ตอนนี้แปลเป็นไทย แต่หาซื้อยาก
หน่อย ต้องสั่งเอาครับ ...AI ถือเป็น
ส่วนหนึ่งจิตวิทยาบวก ...ผมกับลูก
ศิษย์เวลาทำ AI ก็จะมีกัลยาณมิตร
ทักเสมอว่า “มองโลกสวยไปไหม”
มีใครทำ แล้วใครทำสำเร็จ ในต่าง
ประเทศก็มีมากขึ้น ลองหามาอ่าน
ดูนะครับ เป็นอะไรที่ชัดเจนมากๆ
ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์
อาจารย์ MBA KKU
ผู้ก่อตั้ง AI Thailand
www.aithailand.org
Line ID: aithailand
“สอน AI ทุกวัน มีความสุขมากมาย”
ถ่ายกับ Adviser สมัยเรียนปริญญาเอก
Dr. Rita Aloni
Former President of International
Organisation Development
Association (IODA)
©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016

Contenu connexe

Similaire à Appreciative Inquiry Research A-Z

9789740335795
97897403357959789740335795
9789740335795CUPress
 
จะทำโครงงานอะไรดี
จะทำโครงงานอะไรดีจะทำโครงงานอะไรดี
จะทำโครงงานอะไรดีkorakate
 
Semina
SeminaSemina
Seminasuknin
 
โครงงานคอมพร อมตกแต ง
โครงงานคอมพร อมตกแต งโครงงานคอมพร อมตกแต ง
โครงงานคอมพร อมตกแต งSittikorn Thipnava
 
Chapter4 สื่อการเรียนรู้
Chapter4  สื่อการเรียนรู้Chapter4  สื่อการเรียนรู้
Chapter4 สื่อการเรียนรู้Prakaidao Suebwong
 
เล่ม 1 ตอนที่ 2 การสอนวิทยาศาสตร์ด้วยโครงงาน
เล่ม 1 ตอนที่ 2 การสอนวิทยาศาสตร์ด้วยโครงงานเล่ม 1 ตอนที่ 2 การสอนวิทยาศาสตร์ด้วยโครงงาน
เล่ม 1 ตอนที่ 2 การสอนวิทยาศาสตร์ด้วยโครงงานAusa Suradech
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศThank Chiro
 
หลักการปรับพฤติกรรมให้ได้ผลดี
หลักการปรับพฤติกรรมให้ได้ผลดีหลักการปรับพฤติกรรมให้ได้ผลดี
หลักการปรับพฤติกรรมให้ได้ผลดีpluakdeang Hospital
 
Work hard work_smart_
Work hard work_smart_Work hard work_smart_
Work hard work_smart_mrjohndavy
 
9789740329411
97897403294119789740329411
9789740329411CUPress
 
ไม่เหนื่อยไม่ท้อ ไม่เครียด เมื่อรู้จักตนเอง
ไม่เหนื่อยไม่ท้อ ไม่เครียด เมื่อรู้จักตนเองไม่เหนื่อยไม่ท้อ ไม่เครียด เมื่อรู้จักตนเอง
ไม่เหนื่อยไม่ท้อ ไม่เครียด เมื่อรู้จักตนเองBiobiome
 

Similaire à Appreciative Inquiry Research A-Z (20)

9789740335795
97897403357959789740335795
9789740335795
 
จะทำโครงงานอะไรดี
จะทำโครงงานอะไรดีจะทำโครงงานอะไรดี
จะทำโครงงานอะไรดี
 
Semina
SeminaSemina
Semina
 
Appreciative Inquiry Coaching A-Z
Appreciative Inquiry Coaching A-ZAppreciative Inquiry Coaching A-Z
Appreciative Inquiry Coaching A-Z
 
การวิจัยในชั้นเรียน
การวิจัยในชั้นเรียนการวิจัยในชั้นเรียน
การวิจัยในชั้นเรียน
 
โครงงานคอมพร อมตกแต ง
โครงงานคอมพร อมตกแต งโครงงานคอมพร อมตกแต ง
โครงงานคอมพร อมตกแต ง
 
portfolio
portfolioportfolio
portfolio
 
Chapter4 สื่อการเรียนรู้
Chapter4  สื่อการเรียนรู้Chapter4  สื่อการเรียนรู้
Chapter4 สื่อการเรียนรู้
 
เล่ม 1 ตอนที่ 2 การสอนวิทยาศาสตร์ด้วยโครงงาน
เล่ม 1 ตอนที่ 2 การสอนวิทยาศาสตร์ด้วยโครงงานเล่ม 1 ตอนที่ 2 การสอนวิทยาศาสตร์ด้วยโครงงาน
เล่ม 1 ตอนที่ 2 การสอนวิทยาศาสตร์ด้วยโครงงาน
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
Get job hop to success
Get job hop to successGet job hop to success
Get job hop to success
 
หลักการปรับพฤติกรรมให้ได้ผลดี
หลักการปรับพฤติกรรมให้ได้ผลดีหลักการปรับพฤติกรรมให้ได้ผลดี
หลักการปรับพฤติกรรมให้ได้ผลดี
 
Inc281
Inc281Inc281
Inc281
 
Inc281
Inc281Inc281
Inc281
 
new portfolio
new portfolionew portfolio
new portfolio
 
Research-tools 2014
Research-tools 2014Research-tools 2014
Research-tools 2014
 
Cas12 2
Cas12 2Cas12 2
Cas12 2
 
Work hard work_smart_
Work hard work_smart_Work hard work_smart_
Work hard work_smart_
 
9789740329411
97897403294119789740329411
9789740329411
 
ไม่เหนื่อยไม่ท้อ ไม่เครียด เมื่อรู้จักตนเอง
ไม่เหนื่อยไม่ท้อ ไม่เครียด เมื่อรู้จักตนเองไม่เหนื่อยไม่ท้อ ไม่เครียด เมื่อรู้จักตนเอง
ไม่เหนื่อยไม่ท้อ ไม่เครียด เมื่อรู้จักตนเอง
 

Appreciative Inquiry Research A-Z

  • 1. Appreciative Inquiry Research A-Z: A Survival Guide for Ph.D. Students “ทำ AI Reseach อย่างไร ให้ชัวร์และชิลล์” โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ ผู้ก่อตั้ง AI Thailand © 2016
  • 2. คุยกันก่อน วิจัยเป็นอะไรที่ท้าทาย สำหรับนักศึกษาปริญญา เอกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะวิจัยแนวใหม่ๆ ที่ วงการวิชาการยังไม่คุ้นเคยอย่าง Appreciative Inquiry ...เนื่องจากสมัยทำวิจัยป.เอกก็หาตัวอย่าง ไม่ได้ ก็ต้องลุยอย่างเดียวมาวันนี้ตั้งแต่เริ่มต้นก็ สิบปีแล้ว เลยอย่างกลั่นประสบการณ์จากการ ทำป.เอก จนถึงมาสอนนักนิสิตนักศึกษาจาก หลายสถาบัน ...เพื่อประโยชน์ของผู้มาทีหลัง จะ ได้ไม่ต้องมึนงงมากนัก แถมจะมีความสุขมากขึ้น ผมจึงทำ Guideline ง่ายๆ สำหรับผู้ที่ใหม่กับวิจัย แนวนี้ ถ้ายังติดอะไรก็ Inbox มาถามกันได้ ที่อยู่ ของผมอยู่ slide แผ่นท้ายสุด และขอให้มีความสุข กับการทำวิจัยแนว AI จะครับ ผมเชียร์สุดใจเลย ติดอะไรถามกันได้ไม่ต้องเกรงใจครับ อยากให้ คุณชัวร์และชิลล์ครับ ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ MBA KKU และ AI Thailand ถ่ายกับศาสตราจารย์เดวิด คูปเปอร์ไรเดอร์ ผู้คิดค้น Appreciative Inquiry ตอนมาสอนเมืองไทย
  • 3. A= Art and Science of Appreciative Inquiry อย่างแรกเลยคือศึกษาปรัชญา ความเป็นมา ของ Appreciative Inquiry (AI) จริงๆ มีไม่มาก จะอยู่ในบทแรกของตำรา AI ทุกเล่มในโลก เลือกเล่มใดเล่มหนึ่งก็ได้ ศึกษาวิธีการทำอย่าง ละเอียดนั่นคือ Science แต่ในเรื่องของ Art ต้อง เข้าใจว่า AI คิดโดยฝรั่ง ถามแบบฝรั่ง ทำใน บริบทแบบฝรั่ง อย่างกรณีศึกษาของอาจารย์ เดวิด ผู้คิดค้น AI นี่มันส์ๆทั้งนั้นครับ เช่นการ สร้างเมืองแนวคิดใหม่ หรือความพยายาม แก้ไขปัญหาของอิสราเอลกับปาเลสไตน์...สุด ยอด...แต่เดี๋ยว..แล้วถ้าผมจะทำ AI เพื่อพัฒนา ร้านกาแฟ ที่มีคนเพียงสามคนทำไงล่ะ เพราะ แต่ละ case ที่เจ้าพ่อ AI ของโลกทำนั้นบาง case คนเกี่ยวข้องนับแสนคนครับนี่เป็นที่มาของการ ที่คุณอาจต้องไปดู case ที่ทำในไทย ง่ายๆ เริ่ม ที่ www.atihailand.org ก็ได้ครับ เพราะฝรั่งไม่มี หรอกครับ ร้านกาแฟมีคนทำงานสามคน ส่วน ใหญ่จะแกรนด์ๆ ทั้งนั้น ©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
  • 4. B=Blend AI เป็นเพียงศาสตร์ของการตั้งคำถามเชิงบวก เพื่อนำมาสู่การแก้ปัญหา วางแผน พัฒนา องค์กร ดังนั้นจึงสามารถนำไปผสมผสานกับ ศาสตร์อะไรก็ได้ ก็เหมือนวิจัยทั่วไป เอาไป ประยุกต์กับโจทย์ได้เกือบทุกโจทย์ นั่นหมาย ถึงอะไรครับ หมายถึงคุณโชคดี ที่ปรึกษาจะดยู่ ใน Field อะไรก็ได้ คุณก็สามารถใช้ AI มาเป็น ส่วนหนึ่งของงานวิจัยใน Field นั้นได้ คุณไม่ ต้องหาอาจารย์จบ AI โดยตรง ถ้าคุณเรียน หมอ คุณก็ไปหาอาจารย์หมอได้เหมือนเดิม ถ้า คุณเรียน HR ก็จัดเต็ม AI ด้าน HR เลย เพียงแต่ เพิ่ม AI เข้าไปเท่านั้น จริงจะดีมากๆด้วยซ้ำ เท่า ที่ทำร่วมกันมาก็ไปกันด้วยดีครับ เพราะ AI ก็จะ ทำให้เห็นมุมมองอีกมุมของศาสตร์ด้านนั้น ส่วนเรื่องการตีพิมพ์ ไม่ต้องกังวลครับ ตอนนี้จะ เข้างานที่ 400 แล้ว ตีพิมพ์ได้ครับ ไป Inter ก็ได้ ในประเทศไทยไปได้ทุกมหาวิทยาลัยครับ Blend ในที่นี้ยังหมายถึงอาจผสมผสานหลายๆ วิธีการในการทำวิจัยด้วยครับ ผมเองก็ผสม ผสาน AI, Appreciative Coaching และ KM เข้าไปในการทำวิจัยแบบ Action Research ของผมด้วย ...One Size Does not fit All. ©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
  • 5. C= Courses 1. ตอนนี้ที่เปิดสอนอย่างเป็นทางการคือที่ MBA มหาวิทยาลัยขอนแก่นชื่อวิชา Appreciative Inuriy and Positive Organisation Development สอนโดยผมเอง ดร.ภิญโญ อีกวิชาที่ MBA เช่นกันคือวิชา Leadership สอนโดยดร.อัจฉริยะ เพื่อนผม ตัวนี้เน้นการพัฒนา Appreciative Leadership ครับ ส่วนที่อื่นน่าจะสอด แทรกอยู่ในรายวิชาอื่น ยังไม่เห็น Courses เต็มๆ 2. อาจลงเรียนทาง Udemy ก็ได้ แต่เป็นภาษาอังกฤษ ลอง Search แล้วเก็บเป็น Wishlist ลองคอยช่วงลด ราคา จะไม่แพงมากไป 3. ลอง Search Clip Video ของ David Cooperrider ดูนะ ครับ เท่าที่ผมเห็น สอนเหมือนที่ผมเคยไปเรียนกับ ท่าน... เท่านั้นคุณก็เรียนด้วยตนเองได้ ผมเห็นท่านพูด ให้ TED Talks ด้วย 4. ศึกษาด้วยตนเองก็ได้มาที่ www.aithailand.org จะมี Case Study ให้ดู ตัวนั้นรับรองทำเป็นครับ หลายคนไม่ เคยเรียนกับผมหรือเดวิดเลยก็มาดูที่นี่ก็ทำเป็นครับ 5. เห็นเริ่มมี Certification Programme แต่เป็นสาย โค้ช...ตัวนั้นอาจไม่จำเป็นครับ เพราะ AI Research กว้างกว่านั้นมาก ถ้าไม่ไปเป็น Coach จริงๆ ก็ไม่ต้อง ครับ 6. ถ้าหาเรียนที่ไหนไม่ได้ ก็ยินดีสอนให้ครับ ลองเข้า มาที่ www.aithailand.org จะมีเบอร์ติดต่อครับ ©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
  • 6. D= 4D Process แน่นอนนี่คือวงจรพื้นฐาน ค้นหาเรื่องดีๆ ตั้ง คำถามกับสิ่งที่มีอยู่ แม้จะเป็นปัญหา ก็มักมีใคร ทำได้ หรือช่วงเวลาที่เคยทำได้ไกล้เคียง ร่วม กันค้นหา จริงๆแล้ว AI คือกระบวนการสืบค้น เรื่องดีๆ ของคนในองค์กรร่วมกัน แล้วเอามา ขยายผลสร้างการเปลี่ยน นั่นหมายถึง คุณไม่ ควรค้นหาอยู่คนเดียว ควรชวนคนให้มากที่สุด ร่วมกันค้นหา แต่ถ้าไม่พร้อมก็คนเดียวไปก่อน พอถนัดก็ขยายวงมากขึ้น ถามว่าถ้าเรื่องดีๆ ใน องค์กรไม่มีจะทำอย่างไรดี ...ทำมาเป็น 100 มี แน่นอนครับ เพียงแต่ต้องปรับ Mindset กัน หน่อย ว่าเรื่องดีๆ ไม่จำเป็นต้องระดับแม่ดีเด่น แห่งชาติ เอาเล็กๆ ไม่มีใครเคยเห็น ก็เอามา ใช้ได้เลย นี่คือ (Discovery) ถามมากๆ แล้วเอามาคิดต่อว่าจะนำมาสรุปเป็น ภาพในอนาคต (Dream) แล้วเอามาขยายผล (design) ...ขยายผลจากอะไร จาก Discovery นั่นเอง หรือจะตีความจาก Dream เพิ่มเติมก็ได้ ขั้นตอนต่อไปก็ Destiny คือพากันลุย แล้ววัดผล วัดผลก็ง่ายๆ ลองดูว่า Discovery ที่ทำจะตอบ โจทย์ตัวชี้วัดตัวไหน ..มักจะตรงเสมอไม่ต้อง สร้างใหม่ ที่สำคัญมันเป็นวงจร เอาไปขยายผล Source http://www.tmiaust.com.au/what_we_do/appreciative_inquiry.htm 6 ก็จะเจออีกว่าได้ผล ตรงไหน ไม่ได้ผลตรง ไหน เราก็เอาสรุปเป็นบทเรียน ปรับ กระบวนการใหม่ แล้วทำซ้ำขยายผลไป เรื่อยๆ จนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาที่ วางแผนไว้ ©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
  • 7. E= Ethics เรื่องนี้เรื่องใหญ่ เอาง่ายๆ Copy and Paste นี่ยากครับ คุณจะเบลอไปตลอด ใจเย็นๆ ค่อยๆสรุปเขียน Literature Review อ่าน ภาษาอังกฤษไม่แตก ก็เอาไปถามอาจารย์ ถามเพื่อนก็ได้ การทำวิจัยแนวนี้ทางทฤษฎี เท่านั้นที่อาจต้องอ่านภาษาอังกฤษ แต่ก็มี หนังสือภาษาไทยดีๆ จำนวนมากที่ผม แนะนำให้อ่าน เช่น “กลยุทธ์จุดกระแส (Tipping Point)” ..ก็ให้อ่าน อ่านจริงๆ อย่า Copy and Paste จะไม่รู้เรื่องเลย ที่สุดคุณจะ ต่อไม่ติดกับที่ปรึกษา ที่ปรึกษาเองก็จะเริ่ม เซ็ง และหมดความนับถือในตัวคุณมากขึ้น เรื่อยๆ ไปไม่รอดครับ ยิ่งจ้างทำยิ่งไม่ ควร ...คุณไปตายตอนสอบแน่นอน ไม่มีวัน ตอบได้ กรรมการส่วนใหญ่ไม่รู้จัก บางคน อาจถึงขั้นต่อต้าน คุณจะสู้ได้ก็ต่อเมื่อคุณ อ่านมาจริง และคุณลงมือทำจริงเท่านั้น ©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
  • 8. F=FIT คุณเหมาะจริงๆ ที่จะทำสิ่งที่ทำอยู่ไหม ..โดย เฉพาะคนทำงานแล้ว หลายคนชีวิตดิ้นรน มาก เพราะเลือกทำเรื่องนอกองค์กรของตัว เอง จริงๆ แล้วสามารถเอา AI มาพัฒนางาน ของตัวเองได้ เช่นคุณขายบัตรเครดิต คุณก็ เอา AI ไปทำ Research ในงานของคุณได้ คือคุณต้องเลือกสนามในการทำวิจัยหน่อย แนะนำมากๆ คืองานของคุณเอง บางคนไป พัฒนางานให้ญาต หรือเจ้านายเก่า ตอน แรกก็ง่ายดี แต่ไปๆมาๆ เขาอาจยุ่งไม่มีเวลา ให้คุณไปรบกวนเขา หรือไม่ก็รู้สึกกลัวว่า คุณไปเจอกลเม็ดเคล็ดลับของเขา ทำให้คุณ ไม่สามารถเปิดเผยเป็นงานวิจัยออกมาได้ นี่ ก็ยุ่งครับ พยายามเอางานของคุณไปทำ Research จะดีกว่า ..AI ช่วยคุณทำงานได้ดี ขึ้นแน่นอน คุณจะควบคุมสถาณการณ์ได้ ทำงานได้ง่ายขึ้นไม่เสียเวลาซ้ำซ้อน แถม ควบคุมไม่ได้ คิดดีๆก่อนทำนะครับ สรุป แนะนำให้นำมาปรับปรุงงานของตัวเองครับ ©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
  • 9. G= Guideline ทำ ต า ม กำ ห น ด เ ว ล า ห รื อ Format ..ระเบียบพิธีการของ มหาวิทยาลัยอย่างเคร่งครัด เขา กำหนดให้ส่งอะไรก็ทำตามให้ทัน อย่าหลุด ...Guideline อีกตัวคือ แนวการถาม ..ควรเข้าฟังคนอื่น สอบ ดูว่ากรรมการถามอะไร ส่วน ใหญ่จะถามแนวเดียวกัน จด คำถามไว้ แล้วมาเล่าให้ที่ปรึกษา ฟัง ช่วยกันตอบแต่ต้น งานจะออก มาดีมากๆ ...เรียกว่าแตกต่างไป เลย เราเองก็จะแตกฉานมากยิ่งขึ้น ©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
  • 10. H = Habit สร้างนิสัยการทำงานอย่างสม่ำเสมอ การทำวิจัยไม่ว่าจะระดับโท หรือเอก ควรมีวินัย อย่าหยุดทำ หยุดเมื่อไหร่ เริ่มต้นไหม เสียจังหวะไปมาก เพราะ ฉะนั้นทำทุกวัน แนะนำง่ายๆ เขียน อย่างต่ำวันละ 3 บรรทัด หรือกลับไป แก้งาน 10 จุด อ่าน Paper วันละสอง เรื่อง นี่คือขั้นต่ำ รักษาระดับนี้ไว้คุณจะ ทำงานทัน ไม่ชะงัก และคุณจะจบตรง เวลา ©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
  • 11. I = Interview แล้วแต่ขนาดของงาน ส่วนใหญ่ตอนฝึก ทำวิจัยก็ 30-90 คน ตัวนี้ก็ทำเองก็ได้ ส่วนใหญ่ถามได้ 4-5 คนต่อวันก็เก่งแล้ว ครับ เพราะเราเองก็ทำงาน คนที่เป็นกลุ่ม เป้าหมายของเราก็ทำงาน แต่ถ้างานขนาดใหญ่หน่อย ก็อาจจัดใน รูปแบบ Workshop เช่นผมทำบางทีก็ 80-200 คน นี่ก็ต้องมีทีมครับ หัดให้เขา ช่วยถาม ช่วยเก็บข้อมูลให้ได้ แต่ต้องหัด ให้ดี เช็คให้ชัวร์ว่าทำเป็นจริงๆ หรือ ไม่ ...และเราไม่ใช้แบบสอบถามกันครับ อย่าพยายาถามทาง Line หรือใช้ แบบสอบถาม มักซักรายละเอียดไม่ค่อย ได้ ไม่แนะนำครับ ถามต่อหน้า หรือคุย กันทางโทรศัพท์ก็ยังดี ©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
  • 12. J = Just do it เน้นทำมากๆครับ ทำแล้วจะเห็น เอง AI...เป็นอะไรที่ไม่ทำไม่มีวัน เข้าใจครับ เท่าที่ผมทำมาและ สังเกตจากลูกศิษย์ ถ้าเริ่มไปถาม สัก 4-5 คน ก็จะเริ่มเห็นแล้วว่าจะ ต้องทำอะไรต่อ ถามไปสัก 20 ก็ จะอยากขยายผล เรียกว่าคน ถามจะเกิดเห็นโอกาสและบางที ขยายผลไปเลย ©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
  • 13. K=Knowledge AI เน้นที่กระบวนการ Discovery มากๆ ครับ ถามเพื่อเอาสิ่งดีๆ มาขยายผล แต่ บางครั้งถ้ากลุ่มใหญ่มากๆ คุณต้อง ระวังเก็บเรื่องที่เล่ามาใช้ไม่หมด คุณ ควรมีระบบบันทึกข้อมูลที่ดีพอ ส่วน ใหญ่ผมจะแนะนำให้คนที่เล่ากลับไป เขียนเรื่องที่เล่ากลับมาส่ง จะง่ายที่สุด แต่ต้องกำหนดให้เขียนคนละ 10 บรรทัด ไม่เช่นนั้นจะสรุปมาห้วนๆ เอา ไปใช้อะไรไม่ได้ แต่ถ้าเก็บข้อมูลซัก 30 รายไม่เป็นไร คุณถามๆ จดโน๊ตไว้ แล้วรีบกลับมาเขียนบันทึกไว้ได้ จะใช้ เครื่องอัดก็ได้ แต่ขออนุญาตก่อน ©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
  • 14. L = Log แต่ละวัน ไม่ว่าคุณจะทำอะไร ไปเจอ ใครให้คุณเขียนบันึกเหตุการณ์ไว้ ทุกวัน เหตุการณ์ละบรรทัดสอง บรรทัดก็พอ เราเรียกว่าเขียนลง Log ขั้นตอนนี้สำคัญมากๆ เพราะ จะช่วยให้คุณจำเหตุการณ์ได้ และ ระหว่างเขียนอาจช่วยให้คุณ ตกผลึกอะไรบางอย่างได้ ไม่งั๊น เวลาวิเคราะห์ หรือเขียน วิทยานิพนธ์คุณอาจจะจำอะไรไม่ได้ เลย ©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
  • 15. M = Methodology นี่เป็นปัญหาโลกแตกของคนทำวิจัยครับ ส่วน ใหญ่จะเน้นหาทฤษฎีหลักๆ ด้าน AI ไปตรงๆ หรือไม่ก็ทฤษฎีที่จะใช้งาน แต่ไม่ค่อยมีใคร ศึกษาระเบียบวิธีวิจัยตรงๆ ให้ดีพอ ส่วนใหญ่ ไม่แม่น จริงๆ แล้วระเบียบวิธีวิจัยสำคัญมากๆ เพราะมันคือกรอบการทำงานของนักวิจัย ถ้า ไม่แม่น ก็ตกม้าตาย ควรอ่านมากๆครับ อ่าน ไปนอก AI ด้วย ..สิ่งที่ควรอ่านคือหนังสือ Organisation Development (OD) จะได้เห็น ภาพรวมว่า OD ทำอย่างไร , Action Research การวิจัยเชิงปฏิบัติการ และสุดท้ายคือการ วิจัยเชิงคุณภาพ ที่จะทำให้คุณเข้าใจ AI และ มั่นใจมากขึ้น ที่สำคัญจะทำให้สามารถ สื่อสารกับกรรมการสอบได้ เราเองก็จะแม่น ขึ้นด้วย ไม่ Strong ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย สองเล่มนี้สุดยอดมากๆ ...หรือไม่ก็ไปขอ Sitin อาจารย์ที่สอน Quali ที่คณะอื่นก็ได้ หรือมหา ลัยอื่นก็ได้ ถ้าคณะคุณไม่มี อาจารย์ใจดีครับ ลองดู List ที่ผมอ่านข้างๆนี้ครับ ©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
  • 16. N = Number จำนวนผู้เข้าร่วมวิจัยหรือ Participants ไม่จำกัดจำนวน ครับ ขึ้นกับความสมัครใจ น้อยสุดที่เคยทำคือ 1 คน (ป.โท) ส่วนป.เอกที่น้อยที่สุด คือ 15 คน แต่ถ้าเป็นไปได้ก็ คืออย่างต่ำ 30 คน แต่อุดมคติ เลยคือทุกคนที่เกี่ยวข้องไม่ว่า จะเป็นนายจ้างลูกจ้าง ลูกค้า ผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด ©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
  • 17. Objectives การเขียนวัตถุประสงค์ เราเขียนง่ายๆ ดูว่าเราจะเปลี่ยนอะไร ในมุมมองไหน เช่นเพิ่มรายได้ ก็เขียนว่าเพื่อเพิ่มราย ได้ ไปเลย อยากลดต้นทุน ก็เขียนเพื่อ ลดต้นทุนไปเลย โดยจะสัมพันธ์กับ Research Questions .. เขียนแบบตรง ไปตรงมา...เราไม่เน้น เพื่อเปรียบ เทียบตัวแปร...กับตัวแปรอะไรนี่ เป็น งานวิจัยแนวอื่นครับ ...เราเน้นการ พัฒนา เอาผลการศึกษาที่ได้ไป พัฒนาหน้างานจริงๆ แล้ววัดผลก่อน หลังเลย เราไม่เปรียบเทียบครับ ©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
  • 18. P=Participants วิจัยแนวนี้เราไม่สุ่มตัวอย่าง (Sampling) เราไม่ใช่คำว่ามีประชากร เท่าไหร่ (Population) เราใช้คำว่า Participants หรือผู้มีส่วนร่วมในการ วิจัย จริงๆ เป็นปรัชญาของงานวิจัย แนวนี้เลย เราเน้นทุกเสียงมีส่วนร่วม เพราะทุกคนมีคำตอบดีๆ รออยู่ ยิ่งมี คนเข้ามามีส่วนร่วมมากก็ยิ่งดี เรา ต้องการฟังทุกเสียง (Every Voice is Heard) แต่ถ้าไม่พร้อม เท่าไหนก็ เท่านั้นครับ ©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
  • 19. Q = Quality จะดูว่าการทำ Appreciative Inquiry ของคุณให้มี คุณภาพเชื่อถือได้หรือไม่ ใช้เกณฑ์ง่ายๆครับ 1. คนที่เราไปเชิญเข้ามาในโครงการรับรู้ความเป็น มา และเต็มใจไหม (Democratic Validity) 2. มีการวัดผลหลายทางไหม เช่นอาจสัมภาษณ์ก่อน หลัง กับดู KPI หรือสังเกตร่วมไปด้วย (Process Validity) 3. เน้นการขยายผล ไม่ใช่ทำเป็นข้อเสนออย่างเดียว จะได้สร้างการเปลี่ยนแปลงและการเรียนรู้ไปในตัว (Outcome Validity) 4. คนทำต้องหมั่นใคร่ครวญเรียนรู้ว่าอะไรที่ทำไปมี จุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร จะได้ปรับปรุงกระบวนการ ให้ดีขึ้น (Catalytic Validty) 5. หมั่นสอบถามให้เพื่อน ผู้รู้ช่วยดูงานให้จะได้ไม่ อคติ ตีความเกินจริงไป (Dialogic Validty) Ref: The Action Research Dissertation ©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
  • 20. R= Research Question Research Question สำหรับการทำวิจัยแนว AI เราใช้โครงสร้างประโยคแบบนี้ครับ To what extent AI impact อะไรบางอย่างที่ เราต้องการให้เปลี่ยน หรือภาษาไทย คือ “การสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วย AI ทำให้....เปลี่ยนแปลงไปในระดับ ใด...ประมาณนี้ เราไม่พิสูจน์ เปรียบเทียบ อะไรทั้งสิ้นครับ เราต้องการเพิ่ม เปลี่ยน อะไรบางอย่าง แต่เวลาวัดการเปลี่ยนแปลง เราวัดทั้งปริมาณและคุณภาพครับ และเรา ไม่ต้องหาว่ามันเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญไหม จริงเราดู Percent ธรรมดา เราไม่ต้องเล็ง ก่อนว่ามันจะเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ การทำ AI เหมือนการทดลองอะไรบางอย่าง เราไม่มีวันรู้ว่าแรกๆ มันจะไปถึงไหน แต่พอ ทำ พอประเมินเป็นวงจรไปเรื่อยๆ เราจะเห็น การเติบโต เห็น Cycle ไปเองครับ ©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
  • 21. S=Scope ขอบเขตงานวิจัย งานวิจัยแบบ AI เราไม่เน้นไป สำรวจแบบ Survey ครับ คือไปสำรวจทั้งจังหวัดนี่ ไม่ใช่แนว ส่วนใหญ่เราจะไปพัฒนาองค์กรใด องค์กรหนึ่งที่จะทำอย่างจริงจังจนวัดผลเลยที เดียว ขอบเขตอย่างแรก จึงเน้นจุดที่เราจะ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ส่วนใหญ่อยู่ในองค์กร ใดองค์กรหนึ่ง แต่ก็เป็นไปได้ที่ AI Research จะ เป็นการร่วมมือกันทำของหลายองค์กรเรา ซึ่งเรา เรียกว่า Positive Change Consortium ก็ได้ แต่ยัง ไม่ค่อยเห็นใครทำครับ ขอบเขตอีกด้านคือเรื่องเวลา เราทำตามขอบเขต เวลาที่กำหนดครับ เช่น 3 เดือน 6 เดือน หรือ 8 เดือน แล้วแต่ที่สถานศึกษาจะเห็นควร และเมื่อทำ ถึงแค่ไหนก็ตัดจบเท่านั้นครับ...โดยที่ผลการ ดำเนินงานบางวิจัยอาจไม่ได้เห็นการ เปลี่ยนแปลงอะไรมาก บางทีอาจล้มเหลว ก็ไม่ เป็นไร ขอให้เราศึกษาบทเรียนความสำเร็จล้ม เหลวมาด้วย ซึ่งก็ถือเป็นผลการศึกษาหนึ่งเช่นกัน ©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
  • 22. T = Theories ต้องใช้ทฤษฎีอะไรบ้าง 1. AI ก็มีทฤษฏี AI และทฤษฎีจิตวิทยา บวก ให้อ่านให้หมด ส่วนใหญ่จะหา ต้นฉบับได้ในเมืองไทย 2. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เช่นการตลาดก็ไป หาดูงานวิจัย หรือทฤษฎีด้านการตลาด 3. งานวิจัยของรุ่นพี่ทั้งใน นอกประเทศ ฐานข้อมูลงานวิจัยในไทยตอนนี้ค่อน ข้างทันสมัย มีมากพอควรรับ 4. งานวิจัยของ AI ในไทย มีคนทำมาก พอควรในหลาย Fields ลองหาดูครับ 5. อาจดูงานวิจัย หรือทฤษฎีทาง OD เพิ่มเติมเพื่อจะได้เข้าใจ OD (AI เป็น ส่วนหนึ่งของศาสตร์ OD หรือ Organisation Development ©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
  • 23. U=Universities มีมหาวิทยาลัยไหนที่อาจารย์ให้คำปรึกษา เรื่อง AI บ้าง หลักๆคือ MBA มหาวิทยาลัยขอนแก่นครับ (ป.โท) ABAC ป.เอก ป.โท NIDA ที่ HROD เป็นป.โท ม.นเรศวร ป.เอก แต่จริงๆ อยากทำก็ลองไปพัฒนางานวิจัยขึ้น มากับอาจารย์ที่ปรึกษาเลย หลายครั้งที่ ปรึกษาจะโทรมาคุยกับผมเอง พวกเรา สามารถเป็นที่ปรึกษาด้านเครื่องมือให้ ตอน นี้กำลังทำร่วมกับจุฬา (ป.โท) ม.เกษมบัณฑิต (ป.เอก) ม.ราม (ป.เอก) อยู่ครับ สักพักคง ขยายผลไปอีกมาก ติดต่อมาที่ www.aithailand.org ที่นั่นมีเบอร์ โทรครับ ©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
  • 24. V= Visual ใช้การสังเกตเป็นการเก็บข้อมูล ได้ครับ และใช้ดูว่า Participants เต็มใจให้ข้อมูล หรือระหว่างที่ เราวางแผน หรือขยายผล คนดู เต็มใจ อึดอัดไหม ถ้าดูอึดอัดให้ ทบทวนด่วน หรือหยุดไปก่อน ©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
  • 25. W= (Do not) Waste time ความรู้เกิดจากการไปปฏิบัติ ช่วง Proposal อ่านให้มากจริง แต่อย่า จมตัวเองไปกับการสังเคราะห์ ทฤษฎี เพื่อหาตัวแปร ...คนละเรื่อง ครับ หาจุดเริ่มจากความท้าทาย ขององค์กร เช่นด้านการตลาด ก็ ไปหาทฤษฎีการตลาดมาดู แต่ทำ พอควร แล้วลงมือทำจริงให้ครบ 4D คุณจะได้ความรู้ แล้วค่อยกลับ มาเทียบกับทฤษฎีเดิมว่ามีใครทำ มาแล้ว จะดีครับ ไม่งั๊นเสียเวลา มากๆ อาจไม่ได้อะไรเลย แบ่ง เวลาทำจริงอย่างต่ำสามเดือน (ป.โท) ป.เอกสัก 7-8 เดือน ©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
  • 26. X=Experimentation การทดลองครับ AI ไม่ใช่เขียน Proposal จบแล้วทำได้เลย ควรทดลอง ทำก่อนด้วยตนเองให้ครบวงจร หรือ อาจทดลองในกลุ่มเล็กๆ ตอนผมทำ ป.เอก ผมทดลองทำหนึ่งเดือน ปรากฏ ว่าเห็นชัดเจนเลยว่าจะใช้เวลาทำกับ กลุ่มใหญ่นานขนาดไหน เราจะเห็น ภาพชัดขึ้นมากๆ เรียกว่าทำให้เรียนจบ ตรงเวลาเลย ตอนนี้เห็นคนทำ AI จำนวนมากในหลายๆ สถาบันไม่ทำ ก่อนครับ ทำให้มองไม่ออก ลอง พิจารณาข้อเสนอแนะของผมนะครับ ©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
  • 27. Y=Yes!!!!! ต้องเช็คว่าข้อมูลที่ได้มีคุณภาพไหม โดยดูว่าเขาเล่าละเอียดจนเห็นภาพที่ เอาไปทำซ้ำได้ไหม เช่นถามว่า “ชอบ เราเราตรงไหน” ลูกค้าตอบ “บริการ ดี” นี่ไม่ Yes ครับ เพราะไม่รู้จะทำต่อ ยังไง ถามต่อ “พี่ช่วยเล่าละเอียดนิด หนึ่งครับ” ...อ้อ “พี่เดินเข้ามาตลาด เห็นน้องเป็นร้านเดียวที่ยิ้มให้ลูกค้า มาแต่ไกล...” นี่เลย Yes ใช่...ข้อมูล ชัดแล้ว เอาไปทำซ้ำได้ ©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016
  • 28. Z=Zappos องค์กรระดับโลกที่ใช้แนวคิด จิตวิทยาบวก (Positive Psychology) บริหารแล้วประสบ ความสำเร็จมากๆก็มีเช่น Zappos ตอนนี้แปลเป็นไทย แต่หาซื้อยาก หน่อย ต้องสั่งเอาครับ ...AI ถือเป็น ส่วนหนึ่งจิตวิทยาบวก ...ผมกับลูก ศิษย์เวลาทำ AI ก็จะมีกัลยาณมิตร ทักเสมอว่า “มองโลกสวยไปไหม” มีใครทำ แล้วใครทำสำเร็จ ในต่าง ประเทศก็มีมากขึ้น ลองหามาอ่าน ดูนะครับ เป็นอะไรที่ชัดเจนมากๆ
  • 29. ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ อาจารย์ MBA KKU ผู้ก่อตั้ง AI Thailand www.aithailand.org Line ID: aithailand “สอน AI ทุกวัน มีความสุขมากมาย” ถ่ายกับ Adviser สมัยเรียนปริญญาเอก Dr. Rita Aloni Former President of International Organisation Development Association (IODA) ©ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ 2016