SlideShare a Scribd company logo
1 of 101
Download to read offline
เกร็ดประวัติ และ ปกิณกธรรมของหลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต ๑
จากหนังสือ "รําลึกวันวาน"
หลวงตาทองคํา จารุวัณโณ
โพสท์ในลานธรรมเสวนา หมวดบันเทิงธรรม กระทู้ 19153 โดย: ภิเนษกรมณ์ 08 มี.ค. 49
ตอนที่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘
ผม (คุณภิเนษกรมณ์ ผู้โพสท์) ได ้มีโอกาสอ่าน
หนังสือ "รําลึกวันวาน" อันเป็นบันทึกของ หลวงตา
ทองคํา จารุวัณโณ เกี่ยวกับเกร็ดประวัติและปกิณกธรรมของ
หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต เห็นว่ามีหลายประเด็นน่าสนใจ ชวนให ้คิด
และอ่านสนุก อาจจะพอเหมาะสมกับกระดานนี้ จึงจะได ้ทยอย
นํามาพิมพ์ให ้อ่านกัน โดยขอเป็นสรุปย่อบางส่วนนะครับ เพราะ
บางเรื่องท่านอธิบายไว ้ยาวมาก
หลวงตาทองคํา จารุวัณโณ (หรือในอดีต คือ พระอาจารย์ทองคํา ญาโณภาโส)
เป็นพระอุปัฏฐากผู้ใกล ้ชิดหลวงปู่ มั่น อยู่หลายปี ได ้มีโอกาสอยู่กับท่านทั้งในช่วงที่หลวงปู่
มั่นจําพรรษาอยู่ที่บ ้านโคกและบ ้านนามน อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร ระยะ พ.ศ. 2486 -
2487 จนเมื่อหลวงปู่ มั่นย ้ายมาอยู่ที่วัดป่ าบ ้านหนองผือ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
พ.ศ. 2488-2492ท่านก็ได ้ติดตามมาอยู่ด ้วย ได ้เป็นผู้อุปัฏฐากหลวงปู่ มั่น ร่วมกับพระ
อาจารย์วัน อุตตโม และหลวงปู่ หล ้า เขมปัตโต จนกระทั่งหลวงปู่ มั่นมรณภาพ แม ้ว่าท่านจะ
ได ้ลาสิกขาไปเมื่อครั้งพรรษาประมาณ 20 เศษ แต่เมื่ออายุได ้70 ปี ได ้กลับมาบวชอีกครั้ง
เมื่อปี พ.ศ.2536 หลวงตาทองคําเป็นผู้ที่มีความจําแม่นยํา ได ้เขียนบันทึกนี้ขึ้นเมื่อ
พ.ศ. 2541 ขณะอายุ 75 ปี เป็นที่น่าเสียดายว่าท่านมรณภาพไปเมื่อปีที่แล ้วนี้เองครับ
ผมขอนําคําปรารภของหลวงตาทองคํา จารุวัณโณ ผู้เขียนมาลงให ้อ่านก่อนนะ
ครับ และขออธิบายขยายความนิดหนึ่งครับ คือ หลวงตาทองคํา จารุวัณโณ ได ้เขียนบันทึก
เรื่องทั้งหมดนี้ขึ้นจากคําอาราธนาของท่านเจ้าคุณพระราชบัณฑิต (พระมหาชัยทวี จิตตฺคุตฺ
โต) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2541 หลวงตาทองคําท่านเขียนด ้วย
ลายมือลงในสมุดจดได ้หลายเล่มและเก็บไว ้ที่ท่านเจ้าคุณพระราชบัณฑิตอยู่หลายปี ต่อมา
ท่านเจ้าคุณฯ และคณะผู้จัดพิมพ์เห็นว่าเป็นบันทึกที่มีคุณค่าสมควรนํามาพิมพ์เผยแพร่ จึงได ้
นํามาตีพิมพ์ เมื่อ ปี พ.ศ.2547 ในนามกองทุนแสงตะวัน วัดปทุมวนาราม และได ้กราบเรียน
ขอให ้หลวงตาทองคําท่านเขียนคําปรารภสําหรับการพิมพ์หนังสือเล่มนี้ขึ้น ดังต่อไปนี้
หลวงตาทองคํา จารุวัณโณ
คําปรารภ
เมื่อ พ.ศ. 2541 ข ้าพเจ้าได ้จําพรรษาที่วัดปทุมรังสี อําเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
ซึ่งเป็นวัดที่ท่านเจ้าคุณพระมหาชัยทวี คุตตจิตโต ซึ่งข ้าพเจ้ารักและเคารพไปสร ้างไว ้ พอ
ออกพรรษาได ้มาพักกับท่านที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร บางโอกาสได ้นั่งสนทนา
ธรรมกับท่านเจ้าคุณฯ ท่านได ้กล่าวถึงท่านพระอาจารย์มั่น ในเรื่องเกี่ยวกับธรรมะบ ้าง
เกี่ยวกับบุคคล โบราณสถาน โบราณวัตถุบ ้าง ท่านเจ้าคุณฯ สนใจเป็นพิเศษ ได ้ขอให ้
ข ้าพเจ้าเขียนขึ้นมา
ข ้าพเจ้าสนใจเรื่องเกี่ยวกับสถานที่ เกี่ยวกับบุคคล วัตถุโบราณ สถานโบราณ
ประวัติศาสตร์เป็นพิเศษ ได ้ฟังแล ้วจะไม่ลืม หลายปีก็ไม่ลืม พอไปฟังเทศน์ท่านพระอาจารย์
มั่น จึงถือเป็นกรณีพิเศษ
บางเรื่องท่านฯ จะเล่าขณะที่ข ้าพเจ้าได ้ถวายการนวด หลังจากท่านเทศน์เสร็จ
แล ้ว นอกจากข้าพเจ้าที่ได้ฟังแล้ว ก็มีท่านอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร ท่าน
อาจารย์วัน อุตฺตโม ท่านอาจารย์หล้า เขมปตฺโต ท่านก็พูดแต่ไม่มาก แต่
สองรูปที่ท่านพูดให้ฟังมาก คือ ข้าพเจ้ากับท่านอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร
ส่วน ท่านอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ท่านเป็นเจ้าปัญญา ท่านพระ
อาจารย์ไม่ได ้พูดโดยตรง จะพูดโดยอ ้อม สลับมากับพระธรรมเทศนา ด ้วยสติปัญญาของท่าน
สูงส่ง ท่านก็เลยนํามาเขียน แต่บางอย่างก็ผิดกันกับข ้าพเจ้า บางอย่างก็ถูกกัน โดยเฉพาะ
เนื้อหาสาระสําคัญ จะผิดกันบ ้างก็คงเป็นส่วนปลีกย่อย
บางเรื่องก็เกิดจากอัตถุปัตติเหตุ เช่น เรื่องพระพุทธเจ้าเป็นบรรพบุรุษของคนไทย
จากสาเหตุกระดาษห่อธูปที่บริษัทผู้ผลิตเอารูปพระพุทธเจ้ามาเป็นเครื่องหมายการค ้า
ข ้าพเจ้าได ้เก็บนําไปถวายให ้ท่านฯ ดู ท่านฯ ก็เลยเทศน์ให ้ฟัง ขณะนั้นเพื่อนภิกษุยังไม่ขึ้น
ไปกุฏิท่าน ซึ่งเป็นการกลับตาลปัตร เพราะเรื่องนี้ไม่ปรากฏในประวัติศาสตร์ และคัมภีร์ใน
พระพุทธศาสนา ทําให ้ผู้ฟังงงงวยสับสนขึ้น เมื่อเรื่องมีอย่างนี้ ขอให ้อยู่ในดุลยพินิจ จงสื่อ
เอาแต่ผลประโยชน์เกื้อกูลเถิด
บางเรื่องก็ได ้ฟังจากพระธรรมเทศนาบ ้าง ฟังจากศิษย์รุ่นก่อนๆ เช่น ท่านพระ
อาจารย์เทสก์ เทสรํสี พระอาจารย์มนู พระอาจารย์มหาทองสุก สุจิตฺโต พระอาจารย์พรหม
จิรปุ�ฺโญ บ ้าง เป็นต ้นจดจํามาปะติดปะต่อกัน จนมาเป็นหนังสือนี้ โดยมิได ้คาดคะเน หรือ
เดาสุ่มเพิ่มเติม มีสิ่งบกพร่อง คือ ไม่ละเอียดถี่ถ ้วน บางส่วนขาดหายไป เช่น คํา
อุปมาอุปไมยอันไพเราะเพราะพริ้ง ที่ท่านยกมาเปรียบเปรย แต่ก็คงจะหาเนื้อหาสาระได ้บ ้าง
สําหรับเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและการปฏิบัติ ของผู้ใคร่ในคุณธรรมอันพิเศษใน
พระพุทธศาสนานี้ ขอความผาสุกจงมีแด่ผู้อ่านทุกท่านเทอญ
ก่อนหน้าที่จะตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้ คณะผู้จัดพิมพ์ได ้นําต ้นฉบับบางเรื่องไป
ถวายให ้หลวงปู่ หลอด ปโมทิโต ได ้พิจารณา เพราะท่านได ้เคยอยู่จําพรรษาร่วมกันกับ
หลวงตาทองคํา และหลวงปู่ มั่น ที่วัดป่ าวิสุทธิธรรม บ ้านโคก อําเภอโคกศรีสุพรรณ
จังหวัดสกลนคร เมื่อ ปี พ.ศ.2487 เมื่อหลวงปู่ หลอดท่านอ่านแล ้ว ได ้เมตตาเขียน
เถรัมภกถาให ้ตีพิมพ์ในหนังสือ ดังต่อไปนี้
เถรัมภกถา
หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นจากความทรงจําของ พระ
อาจารย์ทองคํา จารุวณฺโณ (ญาโณภาโส) เกี่ยวกับเกร็ด
ประวัติ และปกิณกธรรมของท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภู
ริทตฺโต ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ น่าอ่าน น่าศึกษาอย่างยิ่ง
อาตมาเองได ้มีโอกาสอ่านข ้อเขียนของพระอาจารย์
ทองคําอยู่บ ้าง และได ้รวบรวมมาไว ้ในหนังสือเล่มนี้
โดยเฉพาะเรื่องเทศน์ซํ้าเฒ่า ซึ่งเรียกว่าเป็นเทศน์กัณฑ์
สุดท ้ายของท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ก็รู้สึกปลาบปลื้มใจ ที่พระอุปัฏฐากใกล ้ชิดของ
ท่านพระอาจารย์ใหญ่ และได ้อยู่ในเหตุการณ์ได ้นําออกมาเผยแพร่เรียกว่าหาฟังหา
อ่านได ้ยาก
สําหรับอาตมากับพระอาจารย์ทองคํานั้นรู้จักคุ้นเคยกัน ตั้งแต่สมัยที่อยู่กับ
ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ที่เสนาสนะบ ้านโคก พระอาจารย์ทองคําท่านไปอยู่ก่อน
อาตมา และได ้เป็นพระอุปัฏฐากท่านพระอาจารย์ใหญ่ผู้ใกล ้จนกระทั่งถึงวาระสุดท ้าย
ของท่านพระอาจารย์ใหญ่ที่วัดป่ าสุทธาวาสนั้น แต่ภายหลังอาจเป็นด ้วยวิบากกรรม
ของพระอาจารย์ทองคํายังไม่สิ้นกระมัง จึงต ้องมีเหตุให ้สึกสาลาเพศออกมามีครอบครัว
แต่วาสนาในผ้ากาสาวพัสตร์ยังไม่สิ้นไปซะทีเดียว ราวปี พ.ศ. 2536 ท่านจึงได ้กลับมา
บวชอีกครั้ง ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธฯ โดยมีท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธปาพจน
บดีเป็นพระอุปัชฌาย์ และได ้กลับมาทบทวนถึงเรื่องราวที่ผ่านมา สมัยที่อยู่กับท่านพระ
อาจารย์ใหญ่มั่น และได ้รจนาตามความสามารถที่จะนึกจะจํานํามาเขียนได ้
ดังนั้นเรื่องราวและข ้อมูลอาจจะเป็นไปตามอายุขัยของท่าน ในขณะที่เริ่ม
เขียน เริ่มรจนา ก็คงจะราวๆ 70 กว่าปีเข ้าไปแล ้วอายุ เรื่องราวเนื้อหาบางเรื่อง ก็อาจ
สามารถทําให ้ผุ้อ่านได ้เก็บตกจากประวัติของท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ที่ครูบาอาจารย์
ผู้ทรงคุณผู้ทรงธรรมได ้เคยรจนาไว ้แล ้วก่อนหน้านี้ไม่มากก็น้อย ด ้วยอาตมาหวังว่า
หนังสือเล่มนี้คงจักเป็นประโยชน์และช่วยเสริมทัศนะของท่านผู้อ่านทั้งหลาย ขอให ้
ท่านผู้อ่านหนังสือเล่มนี้ ได ้อ่านอย่างมีวิจารณญาณ คือ พิจารณาธรรมอันนี้ให ้เกิด
ประโยชน์ให ้ถี่ถ ้วน และให ้เข ้าใจอย่างถ่องแท ้รวมทั้งทําความเข ้าใจให ้มากๆ
สุดท ้ายนี้ อาตมาขออนุโมทนาในกุศลเจตนาของคณะผู้จัดทําและผู้ที่บริจาค
ปัจจัยพิมพ์หนังสือเล่มนี้ทุกๆ ท่านเทอญ
หลวงปู่ หลอด ปโมทิโต
วัดสิริกมลาวาส กรุงเทพมหานคร
หลวงปู่ หลอด ปโมทิโต
อานุภาพการสวดมนต์และเสียงสาธุการ
สมัยที่ท่านพระอาจารย์มั่นพักอยู่บนดอยปะหร่อง (เชียงใหม่) กับพระอาจารย์มนู
ตอนเช ้าเที่ยวบิณฑบาต พอให ้พรเสร็จ ท่านได ้สอนให ้ชาวบ ้านกล่าวสาธุพร ้อมกันด ้วยเสียง
สูง ท่าน (พระอาจารย์มั่น) เล่าเป็นเชิงตลกว่า มือทั้งสองข้างของเขาชูขึ้นข้างบน
เหมือนบั้งไฟจะขึ้นสู่ท้องฟ้ า ว่างั้น
วันหนึ่ง ท่านนั่งพักในส่วนที่ทําเป็นที่พักกลางวัน มีเทพพวกหนึ่งมาจากเขาจิตร
กูฏ มาถามท่านว่า
"เสียงสาธุ สาธุนั้น สาธุอะไร สะเทือนสะท้านทุกวัน พวกเทพ
ทั้งหลายได้ฟัง มีความสุขไปตามๆ กัน"
ท่านมาพิจารณาว่า เสียงอะไร ที่ไหน จึงระลึกได ้ว่า เสียงสาธุการของชาวบ ้าน
ตอนถวายทานนั่นเอง
พอรับทราบแล ้วพวกเทพก็กล่าวว่า "เขาก็สาธุการด้วย" แล ้วทําประทักษิณ
เวียนขวาลากลับไป ส่วนมากพวกเทพเขาจะทําอย่างนั้น
ท่านพระอาจารย์มั่น เลยมาพิจารณาต่อได ้ความว่า
พุทธมนต์นั้นใครสวดก็ตาม จะเป็ นกิจวัตรของพระสงฆ์เช้า เย็น
หรือชาวพุทธทุกคน
สวดมนต์ระลึกในใจ มีอานุภาพแผ่ไปได้หมื่นจักรวาล
สวดออกเสียงพอฟังได้ มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนจักรวาล
สวดมนต์เช้าเย็นธรรมดา มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนโกฏิจักรวาล
สวดเต็มเสียงสุดกู่ มีอานุภาพแผ่ไปได้อนันตจักรวาล
แม้สัตว์ที่อาศัยอยู่ในสามภพ และที่สุดอเวจีมหานรก ยังได้รับ
ความสุข เมื่อแว่วเสียงพุทธมนต์ผ่านลงไปถึงชั่วขณะชั่วครู่หนึ่ง ดีกว่า
หาความสุขไม่ได้เลยตลอดกาล
นี้คืออานิสงส์ของพระพุทธมนต์ ท่านพระอาจารย์มั่นว่าอย่างนี้
ครูและศิษย์สนทนาธรรม
เมื่อครั้งที่ท่านพระอาจารย์มั่นอาพาธหนัก แต่ลุกนั่งเดิน
ไปมาในระยะใกล ้ได ้และยังสนทนาธรรมตามปกติ เวลาบ่ายวัน
หนึ่ง มีพระอาจารย์เทสก์ (หลวงปู่ เทสก์ เทส
รังสี) ท่านวัน (พระอาจารย์วัน อุตตโม) และผู้
เล่า (หลวงตาทองคํา) รวมทั้งท่านพระอาจารย์มั่น เป็น 4 รูป
พระอาจารย์เทสก์ เรียนถามท่านฯ (พระอาจารย์มั่น) ว่า
"เวลาครูบาอาจารย์อาพาธ พิจารณาธรรมอะไร สนทนาใน
ฐานะศิษย์เคารพครูนะ อย่าเข้าใจว่าไล่ภูมิ"
ท่านฯ ตอบว่า "พิจารณาไปเท่าไร ก็เห็นแต่ภพ มีแต่ภพ ไม่มีที่สิ้นสุด"
พระอาจารย์เทสก์ย ้อนถามว่า "เมื่อเห็นแต่ภพ ครูบาอาจารย์พิจารณาเพื่ออะไร"
ท่านฯ ตอบว่า
"เพื่อให้รู้ และเราก็รู้มานานแล้วไม่ได้สงสัย เหตุที่พิจารณา ก็เพื่อให้ท่าน
(หมายถึงพระอาจารย์เทสก์) และคนอื่นๆ (หมายถึง สานุศิษย์และสัตว์โลกทั่วไป) รู้ว่า คน
สัตว์ ที่อยู่ในภพ หรือผู้ปฏิบัติ จะมีทั้งสนุก ตื่นเต้น เศร้าสลดสังเวช และเห็นธรรม อนิจจัง
ทุกขัง อนัตตา คนจะรู้ว่าตนอยู่ในภพนั้นมีน้อยมาก เพราะอวิชชาปิดบังไว้ เมื่อไม่รู้ว่าตนอยู่
ในภพ ก็ไม่รู้พระนิพพาน เมื่อเรารู้ว่าตนอยู่ในภพแล้ว จะอยู่ในภพทําไม ก็อยู่ในพระ
นิพพานเท่านั้นเอง"
พระอาจารย์เทสก์ก็บอกท่านฯ ว่า "กระผมก็พิจารณาอย่างพระอาจารย์ว่า"
ต่างก็ชื่นชมกันในระหว่างครูและศิษย์
พระแก้วมรกต
เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อครั้งท่านพระอาจารย์มั่นพักที่วัดป่ าบ ้าน
หนองผือ พระอุปัชฌาย์อุ่น (พระครูบริบาลสังฆกิจ (อุ่น อุตตโม) วัด
อุดมรัตนาราม อําเภออากาศอํานวย จังหวัดสกลนคร) ได ้ไปกราบ
นมัสการฟังเทศน์ และได ้นํารูปพระแก ้วมรกตขนาด 20 นิ้ว เป็นภาพ
พิมพ์ใส่กรอบไปถวายท่านพระอาจารย์ แต่ดูท่านจะลืมทําความ
สะอาด เพราะมีฝุ่ นจับอยู่ ท่านพระอาจารย์ก็น้อมรับด ้วยความเคารพ
หลังจากท่านอุปัชฌาย์อุ่นลาลงกุฏิไปแล ้ว ท่านพระ
พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี
พระอาจารย์อุ่น อุตตโม
อาจารย์ได ้ทําความสะอาด โดยนําผ้าสรงนํ้าของท่านฯ มาเช็ดถู ผู้เล่า (หลวงตาทองคํา-
ภิเนษกรมณ์) เอาผ้าเช็ดพื้นเข ้าไปช่วยทําความสะอาดด ้วย เพราะเห็นว่าผ้ายังสะอาดอยู่
ท่านหันมาเห็นเข ้า พูดว่า
"อะไรกัน นั่นรูปพระพุทธเจ้าแท้ๆ ยังเอาผ้าเช็ดพื้นมาถูได้"
ผู้เล่าสะดุ้งไปทั้งตัว เพราะความโง่เขลาปัญญาอ่อน ท่านฯ ก็เลยทําความสะอาด
เอง
เสร็จแล ้วก็มีเพื่อนภิกษุทยอยกันขึ้นไป รวมทั้งท่านอาจารย์วิริยังค์ด ้วย ท่านเลย
เทศน์ถึงความมหัศจรรย์ของพระแก ้วมรกต ท่านว่า
"พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ในประเทศใด ประเทศนั้นจะไม่
ว่างจากพระอริยบุคคล พระอริยบุคคลมีอยู่ในประเทศใด ประเทศนั้นจะ
ไม่ฉิบหายด้วยภัยแห่งสงคราม"
การเสด็จไปสู่สถานที่ต่างๆ ของพระแก ้วมรกตนั้นมีปัจจัย 3 อย่าง คือ เพื่อเผยแผ่
พระพุทธศาสนา เกิดกลียุคในประเทศนั้น และด ้วยความรัก
และท่านยังบอกอีกว่า วัดพระแก ้วนี้เป็ นวัดพระพุทธเจ ้าโดยเฉพาะ พระสงฆ์อยู่ไม่ได ้
เพราะพระสงฆ์มาจากตระกูลต่างๆ ทั้งหยาบทั้งละเอียด ไม่รู ้พุทธอัธยาศัย พุทธธรรม
เนียม เพราะพระพุทธเจ ้าเป็นทั้งกษัตริย์ และผู ้สุขุมาลชาติ เมื่อพระสงฆ์ไม่รู ้พุทธ
ธรรมเนียม ถ ้าไปอยู่ก็มีแต่บาปกินหัว
ผู้รู้ทั้งพุทธอัธยาศัยและพุทธธรรมเนียมแล้ว มีพระมหากษัตริย์องค์เดียว
เท่านั้น ครั้งพุทธกาลก็มีพระเจ้าพิมพิสารเท่านั้นทรงรู้ แต่จอมไทย คือ พระมหากษัตริย์ทรง
รู้มาแล ้ว ได ้ทรงสร ้างวัดถวายจําเพาะพระแก ้วเท่านั้น
พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์เป็ นหน่อเนื้อพุทธางกูร คือ จะ
ได้ตรัสรู้เป็ นพระพุทธเจ้าในกาลข้างหน้า ต่างแต่วาสนาบารมีมากน้อย
ต่างกันเท่านั้น ท่านจึงทรงรู้พุทธอัธยาศัยเป็ นตัวแทนพระพุทธเจ้า
ผู้ใดย่างกรายเข้าสู่วัดพระแก้วเป็ นบุญทุกขณะที่อยู่ในบริเวณ
วัด แม ้แต่ชาวต่างชาติ มีโอกาสเข ้าไปในบริเวณวัดพระแก ้ว จะด ้วยศรัทธาหรือไม่ก็ตาม ก็ได ้
เข ้ามาสู่วงศ์พระพุทธศาสนาโดยปริยาย หรือจะบังเอิญก็แล ้วแต่ สามารถเป็นนิสัยให ้เข ้ามาได ้
ต่อไปจะสามารถมาเกิดเป็นคนไทย สืบต่อบุญบารมีสําเร็จมรรคผลได ้
พบนาคราช
เมื่อครั้งอยู่ที่เชียงใหม่ ท่านพระอาจารย์จําพรรษาอยู่บน
เขากับพวกมูเซอ มีพระมหาทองสุกอยู่เป็นเพื่อน ใกล ้ที่พักเป็นลํา
ธาร มีนํ้าไหลตลอดปี อาศัยนํ้าที่นั้นใช ้อุปโภคและบริโภค มีนาคราช
ตนหนึ่ง ชื่อว่า สุวรรณนาคราช อาศัยอยู่ที่ลําธารนั้น พร ้อมด ้วย
บริวาร นาคราชตนนี้เคยเป็นน้องชายท่านพระอาจารย์มั่นมาหลาย
ภพหลายชาติ ด ้วยความสับสนแห่งภพจึงมาเกิดเป็นนาคราช เขารัก
เคารพและให ้การอารักขาเป็นอย่างดี เวลาเดินจงกรมจะมาอารักขา
ตลอด จนกว่าจะเลิกเดิน
หลายวันต่อมา นาคนั้นหายไป เกิดฝนไม่ตกร ้อนอบอ ้าว ข ้าวไร่เริ่มขาดนํ้าไม่งอก
งาม เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นประมาณ 15-16 วัน จึงได ้เห็นหน้านาคนั้น
ท่านพระอาจารย์ถามว่า "หายไปไหน"
นาคราชตอบ "ไปขัดตาทัพอยู่ปากทาง (ลําธาร) ลงสู่แม่นํ้าปิง"
ท่านพระอาจารย์ "ทําไม"
นาคราช "มีนาคอันธพาลตนหนึ่งอาศัยอยู่แถวนั้นจะเข้ามา เลยไม่มีโอกาสแต่ง
ฝน มัวแต่ไปขัดตาทัพอยู่"
ท่านพระอาจารย์ "ให้เขาเข้ามาเป็ นไร เพราะเป็ นนาคเหมือนกัน"
นาคราช "ไม่ได้ เข้ามาแล้วมารังแกข่มเหงเบียดเบียนบริวาร"
ท่านพระอาจารย์ "เป็ นไปได้หรือ"
นาคราช "ก็เหมือนมนุษย์และสัตว์ทั่วๆ ไปนั่นแหละ พวกอันธพาลก็มักจะลํ้าแดน
ของกันและกัน เราต้องต่อสู้ป้ องกันตัว"
ท่านฯ จึงรู้ว่า อันนี้เป็นลักษณะของสัตว์ ผู้มีอวิชชาเป็นตัวเหตุ โลกจึงวุ่นวาย
ช่วงเย็นฝนตกอย่างหนักจนถึงสว่าง นํ้าในลําธารเต็มไปหมด ข ้ามไปบิณฑบาต
ไม่ได ้พระมหาทองสุกคิดได ้จึงเอาไม ้ไผ่มาปักเรียงกัน เอาเถาวัลย์ที่ชาวบ ้านนํามาทํากุฏิ
มาผูกกับต ้นไม ้ฝั่งนี้ จับปลายข ้างหนึ่ง ลอยตัวข ้ามนํ้าไปผูกไว ้กับอีกต ้นฝั่งโน้น แล ้วกลับมา
นําบริขารของท่านพระอาจารย์และตนเองข ้ามไปฝั่งโน้น แล ้วกลับมาพาท่านพระอาจารย์
ประคองไปตามราวไม ้ไผ่ ข ้ามฝั่งทั้งขาไปและขากลับ แปลกแต่จริง ขาไปผูกเถาวัลย์ ท่าน
มหาจับไปตามราว และขากลับลอยคอไป พอตอนนําท่านพระอาจารย์ไปและกลับ ปรากฏ
ว่าเหมือนเดินเหยียบไปบนแผ่นหิน มีนํ้าประมาณแค่เข่าเท่านั้น
ท่านมหาทองสุกเล่าว่า "เราไม่ได้คิดอะไรมาก คิดแต่ความปลอดภ ัยเท่านั้น"
พระมหาทองสุก สุจิตฺโต
ตกตอนเย็น เมื่อเห็นนาคราชมาอารักขา ท่านอาจารย์ถามว่า "ทําไมให้ฝนตก
มากนัก"
นาคราชว่า "ห้ามเขาไม่ฟัง เพราะละเลยมานาน"
ท่านอาจารย์ว่า "ทําให้เราลําบาก"
นาคราช "ท่านก็เดินบนหลังข้าพเจ้าไปสบายอยู่นี่"
ท่านฯ ก็บอกว่า "เราก็ไม่ว่าพวกท่านดอก บ่นไปเฉยๆ อย่างนั้นล่ะ"
การถ่ายรูปท่านพระอาจารย์มั่น
รูปท่านพระอาจารย์ที่เราเห็นนั้น จะเป็นรูปที่ท่าน
ตั้งใจให ้ถ่ายทั้งหมด ถ ้าท่านไม่ให ้ก็ไม่มีใครถ่ายติด นี่เป็น
เรื่องจริง มีอยู่ครั้งหนึ่ง ขุนศรีปทุมวงศ์ มาอุปัฏฐากท่านพระ
อาจารย์ เที่ยวไปฟังเทศน์ไปอุปการะด ้วยปัจจัย 4 เมื่อท่านฯ
อาพาธ ขุนศรีฯ ก็ส่งหมอไป หมอฉีดยาให ้ท่าน 2 เข็ม และ
ให ้ยาไว ้ฉันด ้วย หมอของขุนศรีฯ พักอยู่ที่นั่นถึง 3วัน อาการ
ดีขึ้น
ท่านก็บอกว่า "พอแล้วนะ ไม่ต้องมาฉีดอีก อาการ
หายแล้ว"
พอขึ้นไปครั้งที่สอง หมอเอาช่างถ่ายภาพไปด ้วย
กราบนมัสการท่านว่า "พวกกระผมขออนุญาตถ่ายภาพท่าน
อาจารย์ไว้เป็ นที่เคารพบูชา"
ท่านฯ ว่า "ไม่ได้ดอกโยมหมอ อาตมาไม่ให้
เพราะโยมหมอถ่ายภาพของอาตมาไป เพื่อจะทําการซื้อขาย หาอยู่หากิน กลัวโยมจะเป็ น
บาป อาตมาไม่ให้"
เขาก็กราบอ ้อนวอน ท่านฯ บอกว่า "เราเป็ นคน รู้จักภาษา ไม่ให้ ไม่ให้ เข้าใจ
ไหมล่ะ"
เขาก็เลยเลิกไม่อ ้อนวอนอีก
พอเช ้ามา ท่านไปบิณฑบาต เขาก็ไปตั้งกล ้องในที่ลับ กล ้องขาหยั่งสามขา ถ่าย
เสร็จก็เอาม ้วนนี้ออกไป หลังจากท่านบิณฑบาต ท่านนั่งให ้พร ถ่ายม ้วนที่สองไปอีก มาม ้วน
ที่สาม ม ้วนที่สี่ จนสี่ม ้วนแล ้วก็ไปอีก นี่ครั้งที่หนึ่ง ครั้งที่สองเอาอีกสี่ท่า ครั้งที่สามเอาอีกสี่
ท่า กลับไปล ้างอยู่ที่พังโคน ไม่มีอะไรติดเลย
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
สิ่งที่จะปรากฏไปแล ้วอุจาดตา ท่านเจ็บป่ วย ท่านล ้มหายตายจากก็ดี มารยาท
ของความล ้มหายตายจากก็ถ่ายไม่ติด (ขณะที่หลวงปู่ มั่นกําลังจะมรณภาพและหลัง
มรณภาพ มีภิกษุบางรูปใช ้กล ้องถ่ายภาพท่านไว ้แต่ไม่ติดเลยสักรูป -ภิเนษ
กรมณ์) ทําไมท่านจึงไม่ให ้ติด เพราะว่าการเห็นรูปภาพเช่นนั้น จิตของบุคคลผู้ที่เห็นอาจจะ
เป็นกุศลหรืออกุศล และเพื่อรักษาจิตผู้พบเห็น ไม่ให ้เป็นอกุศล ท่านจึงอธิษฐานไว ้ไม่ให ้ติด
อย่างรูปยืนที่เราเห็นนั้น คงจะเป็นรูปที่ท่านต ้องการให ้ถ่าย จึงห่มให ้เป็น
กิจลักษณะ คล ้ายกําลังเดินจงกรม ปกติเวลาท่านเดินจงกรม ถ ้าเป็นฤดูหนาว ก็จะคลุมผ้า
กันหนาว ถ ้าเป็นฤดูร ้อน ท่านก็จะใส่แต่ผ้าอังสะ ทําแบบสบายๆ จังหวะในการเดินก็ปกติ ไม่
เร็ว ไม่ช ้า ให ้เป็นปกติ ก ้าวปกติก ้าวขนาดไหน ก็ให ้ก ้าวขนาดนั้นพอประชิดทางจงกรม จะ
หมุนกลับจากซ ้ายไปขวา ทิศที่จะเดินจงกรม มีอยู่ 2 ทิศ คือ ตะวันตกกับตะวันออก หรือ
อีสานกับหรดี (คือ ตะวันออกเฉียงเหนือกับตะวันตกเฉียงใต ้-ภิเนษกรมณ์) นอกนั้นเดินขวาง
ตะวัน ถ ้าใครทํา ท่านฯ จะดุ ท่านว่า มันไม่ถูก เดินไปจนตาย จะให ้จิตรวม มันก็ไม่รวมหรอก
พยากรณ์อายุ
เรื่องการต่ออายุจาก 60 ปี มาเป็น 80 ปี ท่าน (พระอาจารย์มั่น-ภิเนษ
กรมณ์) ได ้เล่าไว ้หลายสถานที่ หลายโอกาส หลายวาระ ปีนั้นท่านจําพรรษาที่อําเภอพร ้าว
จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ที่ราบไม่ใช่ภูเขา กับพระมหาทองสุก สุจิตโต ปีนั้นพอเริ่มเข ้าพรรษา
ท่านมีอาการเจ็บป่ วย พระผู้พยาบาลก็พระมหาทองสุกนั้นล่ะ ท่านมีความรู้ทางยาด ้วย ท่าน
พระอาจารย์กําหนดรู้แล ้วว่า ท่านถึงอายุขัย จะสิ้นชีพปีนี้แน่ แต่มีข ้อแม ้ว่า ถ ้าท่านมีอิทธิ
บาทอันเจริญดีแล ้ว สามารถอยู่ต่อไปได ้อีก 20 ปี เป็น 80 ปี เท่าพระพุทธเจ้า ท่านจึงมา
พิจารณาดูว่า อยู่กับตายอย่างไหนมีค่ามาก รู้ว่าอยู่มีค่ามาก เพราะสานุศิษย์ทั้งคฤหัสถ์และ
บรรพชิตหวังเฉพาะให ้ท่านอยู่ แต่คําว่าอิทธิบาทอันเจริญดีแล ้ว เจริญขึ้นขั้นไหน อย่างไร
ธรรมทั้งหลายที่ปรากฏแล ้ว ทั้งโลกิยธรรมและโลกุตรธรรม นํามาพิจารณา ก็ไม่ขัดข ้อง ไม่
สงสัย แต่ก็ยังไม่ได ้ความ อาการป่ วยจะดีขึ้นก็ไม่ใช่ จะหนักก็ไม่เชิง แต่เที่ยวบิณฑบาตได ้
ทุกวัน อาการที่สําคัญ คือ คอมองซ ้ายมองขวายาก เดือนที่ 2 ผ่านไป อาการดีขึ้น และได ้
ความรู้เกิดขึ้น ซึ่งไม่เคยได ้ยินได ้ฟังว่า
นา�ฺญตฺตร โพชฺฌาตปสา นา�ฺญตตร ปฏินิสฺสคฺคา
นา�ฺญตฺตร อินฺทริยสํวรา
แปลได ้ความว่า อิทธิบาท 4 อันอบรมดีแล้ว ก็คือ การพิจารณา
โพชฌงค์ 7 นี้เอง
ท่านฯ อธิบายว่า เจริญให ้มาก ทําให ้มาก ก็เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้
พร ้อมความดับสนิท (หมายถึงอวัยวะที่ชํารุดในร่างกาย แล ้วเปลี่ยนอะไหล่ใหม่ด ้วยฌาน)
แล ้วท่านยังอุปมาเปรียบเทียบว่า เมื่อพระมหาโมคคัลลาน์และพระมหากัสสปะได ้
ฟังพระดํารัสนี้ ก็หายจากอาพาธ แม ้ในกาลบางคราวพระพุทธองค์ก็ยังให ้พระสาวกสวด
ถวาย แต่คําว่า ผู้มีอิทธิบาท 4 อันเจริญดีแล้ว ขอเล่าเท่าที่จําได ้ ท่านฯ ว่า
"เราพิจารณาปุพพภาคปฏิปทา ตั้งแต่จิตเรารวมเป็ นสมาธิโดย
ลําดับ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน แล้วเข้าอรูปฌานต่อเป็ นอากาสาฯ
ลฯ จนถึง เนวฺส�ฺญานาส�ฺญายตน หน่อยหนึ่งก็ไม่มีแล้ว ถอยจิต
ออกมาอยู่ในส�ฺญาเวทยิตฺนิโรธ อุปมาเหมือนหนทาง 3 แพร่ง ท่านว่า
จิตเราอยู่ในท่ามกลางทาง 3 แพร่ง แพร่งหนึ่งไปอรูปพรหมโลก แพร่ง
หนึ่งไปรูปพรหมโลก คือ จตุตถฌาน อีกแพร่งหนึ่งเข้าสู่พระนิพพาน จิต
อยู่ขั้นนี้ และเราได้อธิษฐานว่า เราจะมีชีวิตอยู่ต่อไป แล้วก็ถอยจิตออก
จากทาง 3 แพร่งนั้น มาพักที่จตุตถฌาน จะพักนานเท่าไรก็แล้วแต่ พอมี
กําลังแล้วจิตจะถอยออกสู่ ตติยฯ ทุติยฯ พอมาถึงปฐมฌาน ก็อธิษฐานรู้
ว่า เราจะอยู่ไปอีกเท่านั้นปี เท่านี้ปี "
กว่าจะมาถึงขั้นนี้ ก็เป็นเวลาเดือนสุดท ้ายแห่งการจําพรรษาแล ้ว
ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ผู้ที่มีอิทธิบาทอ ันเจริญดี
แล้ว สามารถดํารงชีวิตอยู่ได้เป็ นกัปป์ หรือเกินกว่า เป็นความจริง
ท่านฯ ว่า ท ้าวสักกะแก่กลายเป็นท ้าวสักกะหนุ่มก็ด ้วยอิทธิบาทนี้ แต่ท ้าวสักกะ
ยังมีกิเลส ไม่ได ้ฌานด ้วยตัวเอง แต่ด ้วยพระพุทธานุภาพ ทรงนํากระแสพระทัยของท ้าว
สักกะ ให ้ผ่านขั้นตอนจนเป็นอิทธิบาทอันเจริญดีแล ้ว ที่ถํ้าอินทสาร ท ้าวสักกะแก่จึงเป็นท ้าว
สักกะหนุ่มได ้ด ้วยพระพุทธานุภาพดังนี้
อัฐบริขารในอาคารพิพิธภัณฑ์
เราทราบกันมาแล ้วว่า ท่านพระ
อาจารย์มั่นทรงผ้า 3 ผืนเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุล
เป็นวัตร แต่ 3 ปีสุดท ้าย ท่านทรงผ้าคหปติจีวร
โดยการนํามาทอดกฐินของ นายวัน นางทองสุก
คมนามูล ชาวนครราชสีมา นําสนับสนุนโดยพระ
อาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม ศิษย์องค์สําคัญรูป
หนึ่งของท่าน แต่ท่านพระอาจารย์ได ้รับเป็น
ผ้าป่ าทั้งหมด
อัฐบริขารในอาคารพิพิธภัณฑ์ (อยู่ที่วัดป่ าสุทธาวาส สกลนคร-ภิเนษ
กรมณ์) ที่ท่านทั้งหลายเห็นนั้น เป็นผ้าคหปติจีวรปีที่ 2 ที่ท่านทรง ผู้เล่า (หลวงตาทองคํา-ภิ
เนษกรมณ์) ได ้เก็บรักษาไว ้ ส่วนผ้าคหปติจีวรปีสุดท ้าย ห่มถวายไปพร ้อมกับร่างของท่าน
อัฐบริขารในอาคารพิพิธภัณฑ์
ส่วนบาตรใบแท ้ พระอาจารย์มหาทองสุก ขอถวายพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุ
โล) ส่วนใบที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ เป็นบาตรกฐินปีสุดท ้าย ซึ่งท่านพระอาจารย์ไม่ได ้ใช ้เพราะ
ท่านอาพาธหนักแล ้ว (ข ้อนี้ตรงกับความเห็นของหลวงปู่ หล ้า เขมปัตโต ดังที่
ปรากฏอยู่ในหนังสือประวัติหลวงปู่ หล ้า ซึ่งท่านได ้กล่าวว่า บาตรในพิพิธภัณฑ์
ไม่ใช่บาตรใบจริง ที่ท่านพระอาจารย์มั่นเคยใช ้-ภิเนษกรมณ์)
หลังจากเก็บรวบรวมอัฐบริขารเรียบร ้อยแล ้ว ผู้เล่าเลยสั่งต่อตู้เงินไม่พอ ได ้คุณ
วิเศษ ช่วยจนสําเร็จเรียบร ้อย แล ้วก็นํามาตั้งไว ้ใกล ้หีบศพท่าน
ท่านพระอาจารย์ เป็นผู้เคร่งในเรื่องบริขาร มักน้อยจริงๆ บริขารแท ้จริงให ้2 คน
ถือขึ้นไปก็หมด ที่เห็นอยู่ในพิพิธภัณฑ์นั้น คือ อัฐบริขารที่สานุศิษย์และบุคคลผู้เลื่อมใส
ได ้รับไปจากท่าน พอมีอาคารพิพิธภัณฑ์เกิดขึ้น ท่านเหล่านั้นได ้นํามามอบให ้เพื่อให ้ศา
สนิกชนและอนุชนรุ่นหลังได ้ศึกษา
ผีเฝ้ าหวงกระดูก
เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2490 ขณะที่ผู้เล่าอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่นที่
วัดป่ าบ ้านหนองผือ วันหนึ่งนายฟอง ชินบุตร โยมผู้นี้มาวัดประจํา เธอได ้แบกไห
กระเทียมชนิดปากบาน มีฝาครอบ ขนาดใหญ่เกือบเท่าขวดโหล ข ้างในบรรจุกระดูกนํามา
ถวายท่านพระอาจารย์
โยมฟองเล่าว่า เจ้าของไหเขาให ้นํามาถวาย เป็นไหใส่กระดูกคน ดูเหมือนจะเป็น
กระดูกเด็ก แต่กระดูกนั้นนําไปฝังดินแล ้ว ปากไหบิ่นเพราะถูกผานไถขูดเอา โยมฟองได ้เล่า
ถึงเหตุที่ได ้ไหนี้มาว่า
นายกู่ พิมพบุตร ผู้เป็นเจ้าของนา ตั้งใจจะไปไถนาตอนเช ้าตรู่ ตื่นขึ้นมาเห็นยัง
มืดอยู่ จึงนอนต่อ พอเคลิ้มหลับไปก็ฝันเห็นว่า มีชายคนหนึ่งเดินเข ้ามาหา บอกว่า
"ให้ไปเอาไหกระดูก 2 ใบ ไปถวายท่านพระอาจารย์มั่นให้ด้วย"
นายกู่ถามว่า "ไหอยู่ที่ไหน"
ชายคนนั้นตอบว่า "ไถนาไปสัก 3 รอบก็จะเห็น"
ถามว่า "ชื่ออะไร"
ตอบว่า "ชื่อตาเชียงจวง มาเฝ้ ากระดูกลูกอยู่ที่นี่ได้ 500 ปีแล้ว วันหนึ่งได้ยิน
เสียงท่านพระอาจารย์มั่นเทศน์แว่วๆ มาในเวลากลางคืนว่า เป็ นหมามานั่งเฝ้ าหวงกระดูก
แล้วก็กัดกัน ส่วนเนื้อลํ่าๆ อร่อยๆ มนุษย์เอาไปกินหมดแล้ว มัวแต่มานั่งเฝ้ าห่วงเฝ้ าหวง
กระดูกตนเอง กระดูกลูกเมีย ตายแล้วไปเป็ นผีเปรต ต้องมานั่งเฝ้ ากระดูกถึง 500 ปีแล้ว จึง
ได้สติระลึกได้ ทั้งๆ ที่อดๆ อยากๆ ผอมโซ ก็ยังพอใจเฝ้ าหวง เฝ้ าห่วงกระดูกลูกเมียอยู่ กว่า
จะรู้ตัวก็เสียเวลาไป 500 ปีแล้ว"
นี่แหละ เพราะความรัก ความห่วงหาอาลัย เป็ นเหตุพาให้ไปเกิด
เป็ นผีเป็ นเปรต เฝ้ าสิ่งที่รักและอาลัย จนลืมวันลืมเวลา
เกร็ดประวัติ และ ปกิณกธรรมของหลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต ๒
จากหนังสือ "รําลึกวันวาน"
หลวงตาทองคํา จารุวัณโณ
โพสท์ในลานธรรมเสวนา หมวดบันเทิงธรรม กระทู้ 19153 โดย: ภิเนษกรมณ์ 08 มี.ค. 49
ตอนที่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘
เทศน์ซํ้าเฒ่า
ลักษณะเสียงของท่าน (พระอาจารย์มั่น-ภิเนษกรมณ์) ขณะเทศน์อบรมพระเณร
นั้น จะทุ้มก็ไม่ใช่ จะแหลมก็ไม่เชิง อยู่ในระหว่างกลางทุ้มกับแหลม เสียงดังฟังชัด เสียง
กังวาน เสียงชัดเจน ไม่มีแหบ ไม่มีเครือ ชั่วโมงแรกนะไม่เท่าไร ธรรมดาๆ 1 ชั่วโมงผ่านไป
เสียงจะดังขึ้น 2 ชั่วโมงผ่านไป เสียงจะดังขึ้นอีก ถ ้าติดต่อกัน 3-4 ชั่วโมงแล ้วเหมือนกับติด
ไมค์ ปกติท่านจะเทศน์ 2 ชั่วโมง เทศน์กรณีพิเศษ เช่น เดือน 3 เพ็ญ เดือน 6 เพ็ญ วัน
เข ้าพรรษา ออกพรรษา อย่างน้อยก็ประมาณ 4 ชั่วโมงถึง 6 ชั่วโมง
พระอาจารย์เทสก์เคยเล่าให ้ฟังว่า สมัยท่านพระอาจารย์มั่นอยู่ที่เชียงใหม่ เทศน์
ที่วัดเจดีย์หลวง เทศน์ตั้งแต่ 1 ทุ่มถึง 11 นาฬิกาวันใหม่ ลงจากธรรมาสน์ ท่านจึงจะมานั่ง
ฉันจังหัน นั่นเป็นกี่ชั่วโมง ตื่นเช ้าขึ้นมาท่านยังเทศน์อยู่ เสียงมันดัง ทีนี้พวกข ้าราชการ
แม่บ ้านหิ้วตะกร ้าไปตลาดตอนเช ้า พอได ้ยินเสียงท่านเทศน์ คิดว่าพระทะเลาะกัน พากันเข ้า
ไป ก็เห็นท่านพระอาจารย์มั่นเทศน์ เลยอยู่ฟังเทศน์ ลืมว่าจะไปตลาด และต ้องกลับไป
ทํากับข ้าวให ้ลูกผัวกิน ฝ่ ายลูกผัวตามมาเห็นอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง กําลังฟังเทศน์อยู่ ก็เลย
บอกว่าจะไปจ่ายตลาดเอง แล ้วก็จะเลยไปทํางาน ผู้ที่จะไปขายของก็เหมือนกัน ผ่านมาพอ
ได ้ยินเสียง คิดว่าพระทะเลาะกัน ก็พากันเข ้าไป ไม่ต ้องขายของ วางตะกร ้าแล ้วก็ฟังเทศน์
ต่อ จนกระทั่งท่านเทศน์จบจึงไป พระอาจารย์เทสก์พูดให ้ฟังอย่างนี้
ท่านเทศน์นานที่สุด คือ เทศน์ปีสุดท้าย เป็ นวันมาฆบูชา หลังจากเวียนเทียนเสร็จ
แล ้ว ท่านก็เริ่มเทศน์ มีชาวบ ้านหนองผือมานั่งฟังอยู่ข ้างล่าง มีทั้งผู้หญิงผู้ชาย ลูกเล็กเด็ก
แดงอุ้มนอนอยู่ที่ตัก เด็กก็ไม่ร ้อง ปรากฏว่ามีคนอุ้มเด็กกลับไปแค่ 3 คน นอกนั้นอยู่จนรุ่ง
ถึงจะกลับบ ้าน ท่านฯ เทศน์อยู่ ตั้งแต่ 1 ทุ่มจนถึงเช ้า อันนี้เป็นความจําของผู้เล่า
ท่านพูดว่า เราจะเทศน์แล ้วแหละ เทศน์ซํ้าเฒ่านะ ต่อจากนี้ไปจะไม่ได้เทศน์นาน
อย่างนี้อีกแล้ว รู้สึกว่าจะเป็นวันเพ็ญเดือน 3 พอตกเดือน 5 ท่านก็เริ่มป่ วย มีอาการไอ และ
ป่ วยมาเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงเดือนอ ้าย เป็นเวลา 9 เดือน (ท่านพระอาจารย์มั่นมรณภาพ
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2492 -ภิเนษกรมณ์)
ปกติท่านจะเทศน์ตามเหตุการณ์ในพุทธประวัติ ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรม
พระยาวชิรญาณวโรรสทรงรจนา ถ ้าเพ็ญเดือน 6 จะปรารภถึงเรื่องประสูติ ตรัสรู้ และ
ปรินิพพาน ถ ้าเพ็ญเดือน 3 จะปรารภเรื่อง การแสดงโอวาทปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์ 1,250 รูป
ที่พระเวฬุวัน ตลอดคืนจนสว่าง
ทําไมจะมากมายก่ายกองขนาดนั้น ก็เพราะท่านไม่ได ้เล่าเป็นวิชาการ ท่านเล่าให ้
ละเอียดไปกว่านั้นอีก เรื่องก็เลยยืดยาวไป
เวลาท่านเทศน์จะลืมตา หมากไม่เคี้ยว บุหรี่ไม่สูบ นํ้าไม่ดื่ม ท่านจะเทศน์อย่าง
เดียว พระเณรก็ลุกหนีไม่ได ้ไม่มีใครลุกหนีเลย ไปปัสสาวะก็ไม่ไป จะไอจะจามก็ไม่มี จะ
บ้วนนํ้าลายก็ไม่มี จะนิ่งเงียบจนเทศน์จบ
การต้อนรับแขกเทวา
เรื่องนี้เกิดขึ้นประมาณกลางฤดูหนาวของปี พ.ศ.2490 ในคืนหนึ่ง เวลา
ประมาณ 1 ทุ่มถึง 2 ทุ่ม เป็นเวลาที่ท่านพระอาจารย์กําลังให ้โอวาทแก่สานุศิษย์ มีทั้งเก่า
และใหม่ ขณะให ้โอวาทอยู่ ท่านหยุดไปครู่หนึ่ง กลั้นใจอึดหนึ่ง ก ้มหน้านิดๆ พอเงยหน้า
ขึ้นมาก็โบกมือ บอกว่า "เลิกกัน"
ปกติแบบนี้มีไม่บ่อยนัก ศิษย์ก็งง นั่งเฉยอยู่
ท่านยํ้าอีก "บอกเลิกกัน ไม่รู้ภาษาหรือ"
ไม่มีใครคิดอะไร บอกเลิกก็เลิก ท่านฯ สั่งผู้เล่าเชิงบังคับให ้รีบเก็บข ้าวของเข ้า
ห ้อง เสร็จแล ้วให ้กลับกุฏิ มีภิกษุบางรูปเฉลียวใจไม่ยอมนอนพัก รอที่กุฏิของตนพอสมควร
แล ้ว ย ้อนกลับมามองที่กุฏิของท่านพระอาจารย์ เห็นกุฏิของท่านสว่างไสวไปหมด คิดว่าไฟ
ไหม ้กุฏิ แต่ดูไปแล ้วไม่ใช่แสงไฟ เป็นแสงใสนวลๆ คล ้ายปุยสําลี แต่ใส ดูตั้งนานไม่มีอะไร
เกิดขึ้น ก็เลยกลับกุฏิ
รุ่งเช ้าขึ้นมา ท่านลุกขึ้นกระทําสรีรกิจตามปกติ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ตกคํ่าถึง
เวลาให ้โอวาท วันนั้นท่านฯ แสดงเรื่อง ทุกกะ คือ หมวด 2 ว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ให ้ชื่อว่า โลกปาลธรรม ธรรมอันคุ้มครองโลก วันนั้นดูท่าน
อธิบายเรื่องนี้เต็มที่ถึง 2 ชั่วโมงเต็ม มีเหตุผลอุปมาอุปไมย โดยยกเอา ท่านพระมหากัสส
ปะเป็นอุทาหรณ์ ที่พระพุทธเจ้าประทานอุปสมทแก่พระมหากัปปะเป็นพิเศษที่ว่า ดูก่อน
กัสสปะ เธอจงเข ้าไปตั้งความละอายและความเกรงกลัว (เคารพ) ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้ง
เก่าและใหม่ เป็นตัวอย่าง ยกมาเป็นนิทัสสนะอุทาหรณ์ ตอนสุดท ้าย ท่านแสดงอานิสงส์ว่า
ผู้ตั้งอยู่ในหิริและโอตตัปปะ เป็นที่รักของมนุษย์ เทพ พรหม ทั้งหลาย และทําให ้มีอายุยืน
ด ้วย เหมือนท่านพระมหากัสสปะ พอได ้เวลาท่านก็หยุดพัก
คืนนั้นผู้เข ้าเวร มีผู้เล่า ท่านวัน (พระอาจารย์วัน อุตตโม) ท่านหล ้า (หลวงปู่ หล ้า
เขมปัตโต) ท่านเลยเมตตาเล่าเพิ่มเติมให ้แก่พวกเราฟังอีกว่า เมื่อคืนวานนี้พอเทศน์ให ้หมู่
ฟังไปหน่อยหนึ่ง มีเทพตนหนึ่ง ชื่อปัญจสิขะ มาบอกว่า
"วันนี้จะมีเทพจากชั้นดาวดึงส์มาฟังธรรมจากท่าน ขอนิมนต์
ท่านเตรียมตัวรับแขกเทวา"
พอกําหนดได ้ก็ไล่หมู่หนีทันที เพราะพวกนี้เขาจะมาตามกําหนด ถ ้าเลยกําหนด
เขาจะไม่รอ ท่านว่า
เทวาพวกนี้มีประมาณ 500,000 ตน เพิ่งจากมนุษย์โลก จากเมืองไทยไป เริ่มแต่
ท่านพระอาจารย์มาพักที่บ ้านหนองผือนี้
ผู้เล่าสงสัยว่า วัดป่ าบ ้านหนองผือก็แค่นี้ มีแต่ป่ า เทวดา 500,000 ตน จะอยู่
อย่างไร คนแค่ร ้อยสองร ้อยก็ไม่มีที่จะอยู่แล ้ว
ท่านพูดว่า เทวดาพวกนี้กายเป็นทิพย์ ท่านยังพูดเป็นภาษาบาลีในธรรมบทว่า
"อนฺตลิกฺเข" แปลด ้วยว่า ในห ้วงแห่งจักรวาล มีอากาศมีช่องว่างเป็นที่ซึ่งจะเห็นรูปทั้งหลาย
ปรากฏว่ารูปแผ่นดิน ต ้นไม ้ ภูเขา ไม่มีทั้งสิ้น มีเทวดาเท่าไรบรรจุได ้หมด ไม่มีคําว่าเต็ม
ท่านว่า
ท่านพระอาจารย์กําหนดถามว่า "พวกท่านต้องฟังธรรมอะไร และมี
วัตถุประสงค์อะไร"
เขาตอบว่า "อยากฟังสุกฺกธมฺมสูตร มีวัตถุประสงค์ คือ เทพบาง
พวกทําบุญน้อย ได้ฟังสุกฺกธมฺมสูตร จะได้เสวยทิพยสมบัตินานๆ "
ท่านเฉลียวใจว่า อะไร คือ สุกฺกธมฺมสูตร "พระสูตรนี้มีน้อยองค์นักที่จะได ้แสดง
ให ้เทพฟัง เว ้นพระสัพพัญ�ู และพระอัครสาวกเท่านั้น" พวกเทพว่า
ท่านกําหนดพิจารณาก็ได ้ความปรากฏขึ้นว่า "หิริโอตฺตปฺปสมฺปนฺนา ฯ เปฯ
สนฺโต สปฺปุริสา โลเก เทวธมฺมาติ วุจฺจเร"
ท่านอุทานในใจว่า "อ๋อเทวธรรมนี้เอง คือ สุกฺกธมฺมสูตร ของเทวา"
พอเริ่มจะอธิบาย ก็ได ้ยินเสียงแว่วมาว่า "เดี๋ยวก่อน ข้าพเจ้าจะเตือน
พวกเทพพวกนี้ก่อน เพราะเขาไม่เคยมาฟัง ยังไม่รู้ธรรมเนียม"
ท่านกําหนดเห็นพระนางสุชาดานั่งเป็นประธาน ส่วนเสียงที่ปรากฏนั้น เป็นเสียง
ของท ้าวสักกะที่ดูแลอยู่เบื้องหลัง พอได ้เวลา ก็ได ้ยินเสียงแว่วมาอีกว่า "พร้อมแล้ว"
ท่านฯ ก็เริ่มเทศน์อธิบาย ด ้วยการกําหนดจิตพิจารณาเนื้อหาสาระแห่งธรรม
เพียงพอแล ้ว หากเทพเข ้าใจเขาจะให ้เสียงสาธุการ ถ ้าไม่เข ้าใจที่เราอธิบาย เขาจะไม่ยอม
ต ้องว่ากันใหม่ สอนเทพสบาย ไม่ยากเหมือนสอนมนุษย์ มนุษย์ต ้องใช ้เสียงโวๆ เวๆ ลั่นไป
หมด พูดมากก็เหนื่อย และสอนบ่อยปานนั้น ยังเข ้าใจยาก สอนเทพสบายกว่า ท่านว่าอย่าง
นั้น
กาลกฐิน
ประมาณปี พ.ศ.2490 ยังอยู่ในพรรษา กํานันตําบลนาใน ได ้นําจดหมายของ
นายอําเภอพรรณานิคมไปถวายท่านที่กุฏิ ผู้เล่าก็อยู่นั่น กราบเสร็จ กํานันก็นําจดหมายน้อม
ถวาย
ท่านยังไม่รับ ถามก่อนว่า "นั่นอะไร"
กํานันกราบเรียนว่า "ใบจองกฐินของนายอําเภอพรรณานิคม ครับกระผม"
ท่านโบกมือไม่รับและกล่าวว่า "อย่านํามาติดใส่วัดอาตมานะ กํานันอย่าขืนทํานะ
กลับไปบอกนายอําเภอด้วยว่า นายอําเภอเอาอํานาจที่ไหน จากใคร มาห้ามไม่ให้คนมา
ทําบุญที่นี้ อาตมาไม่รับ ใครอยากทําบุญก็มา ไม่มีใครห้าม จะมาจองไม่ให้คนมาทําบุญ
ไม่ได้ ไปบอกนายอําเภอด้วย"
กํานันนําความกลับไปชี้แจงให ้นายอําเภอฟัง นายอําเภอยอมรับผิด ให ้กราบเรียน
พระอาจารย์ด ้วยว่า ท่านไม่มีเจตนาล่วงเกิน เพียงแต่เห็นคนทั้งหลายเขาทํากันอย่างนี้ ก็ทํา
บ ้าง
กํานันมากราบเรียนท่านว่า "นายอําเภอจะมาทําบุญดังที่ตั้งใจไว้ ใครจะมาอีกก็
ไม่ห้าม ครับกระผม"
ท่านก็ยิ้มกล่าวว่า "นายอําเภอคนนี้ พูดจาเข้าใจง่าย ต่อไปจะได้เป็ นใหญ่เป็ นโต"
สมจริงภายหลังปรากฏว่า ท่านได ้เป็นถึงอธิบดีกรมการปกครอง
ปวารณาออกพรรษาแล ้ว กฐินกองต่างๆ ก็หลั่งไหลเข ้ามา ที่จําได ้บ ้านม่วงไข่
อําเภอพรรณานิคม กองที่1 กองที่ 2 ลืม กองที่ 3 เป็นบ ้านม่วงไข่ ผ้าขาวนํามา (จากอําเภอ
พังโคน สกลนคร -ภิเนษกรมณ์) กองที่4 เป็นของนายอําเภอ ต่างก็พูดกันเป็นเสียงเดียวกัน
ว่า ไปถวายกฐินท่านพระอาจารย์มั่น
มีผู้มาถวายกฐินตลอดจนถึงเดือน 12 เพ็ญ ล ้วนแต่กองกฐินทั้งนั้น บรรดา
พระสงฆ์สามเณร และผ้าขาว ทําการเย็บตัดย ้อมจีวร ผลัดเปลี่ยนเพียงพอกันทุกรูป จน
พรรษาสุดท ้ายก็เป็นอย่างนี้ตลอดมา
(พระอาจารย์มั่นไม่รับเป็นผ้ากฐิน แต่รับเป็นผ้าป่ าบังสุกุลทั้งหมด และทําอย่างนี้
ทุกปีจนท่านมรณภาพ ท่านไม่เคยรับกฐินและกรานกฐินเลย -ภิเนษกรมณ์)
ปีนั้นมีกองกฐินพิเศษอยู่หนึ่งกอง อันเป็นกองที่ 5 เจ้าของกฐิน ชื่อ เถ ้าแก่ไฮ มี
เชื้อชาติจีน ค ้าขายอยู่บ ้านคางฮุง ตําบลพอกน้อย อําเภอพรรณานิคม ทุกคนรู้จักดี โดยไม่มี
ใครทราบล่วงหน้ามาก่อน เธอนําขบวนเกวียนบรรทุกเครื่องบริขารมาพักอยู่นอกบ ้าน ตื่นเช ้า
พาคณะมาถวายบิณฑบาตเสร็จแล ้ว จึงขอนิมนต์ท่านพระอาจารย์รับกฐิน
ท่านฯ เตรียมตัวลงศาลาพร ้อมพระสงฆ์ แต่ลงไม่หมดทุกองค์ เพราะบางองค์ไม่รู้
ท่านก็ไม่ว่า พิธีกรนํารับศีล ถวายทานเสร็จ
พิธีกรถามเถ ้าแก่ว่า "จะฟังเทศน์ไหม"
เถ ้าแก่ตอบ "ฟังทําไมเทศน์ ให้ทานแล้วได้บุญแล้ว เสร็จแล้วก็จะลากลับ"
พระอาจารย์ยิ้มแล ้วกล่าวว่า "ถูกต้องแล้วๆ โยมได้บุญมาตั้งแต่คิดจะทําแล้ว
เพราะประกอบด้วยปัญญา"
เถ ้าแก่ไฮ ยังพูดอีกว่า "ถ้าขอฟังเทศน์ท่าน เราไม่ให้ทานจริง เพราะขอสิ่งตอบ
แทน ได้บุญไม่เต็ม"
ท่านอาจารย์ยํ้าอีกว่า "ถูกต้องๆ เถ้าแก่พูดถูกต้อง" แค่นั้น
เถ ้าแก่ไฮก็กราบลา และลาชาวบ ้านทุกคนเดินทางกลับ
ตั้งแต่วันนั้นมา ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่กุฏิหรือเที่ยวบิณฑบาต มักจะปรารภเรื่องเถ ้า
แก่ไฮเสมอ ว่าเขาทําถูก หลายปีผ่านไป หากมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ท่านมักจะปรารภเรื่องเถ ้า
แก่ไฮนี้เป็นตัวอย่าง
อานุภาพแห่งฌาน
วันหนึ่งฝนตกฟ้าผ่าต ้นพลวงใหญ่ (ไม ้กุง) ยํ่าลงมาตั้งแต่ยอดตลอดรากแก ้ว
ราบเรียบไปเลย ต ้นพลวงใหญ่นั้นอยู่ใกล ้ๆ ศาลา แต่ฝนซาบ ้างแล ้ว ขณะนั้นสามเณรจันดัย
กําลังถือกานํ้าร ้อนจะไปกุฏิท่านพระอาจารย์ ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 30 เมตร ไม่ได ้ยิน
เสียง ไม่รู้สึกว่าฟ้าผ่า ผู้เล่าเตรียมลงจากกุฏิไปเห็นเข ้า จึงรู้ว่าฟ้าผ่า พระเณรในวัดประมาณ
10 รูป ไม่มีใครได ้ยินเสียง ส่วนท่านพระอาจารย์กําลังทําสมาธิ ท่านก็บอกว่าไม่ได ้ยินเสียง
เมื่อพระทยอยกันขึ้นไป ท่านฯ ได ้ถามก่อนว่า "เห็นฟ้ าผ่าไม้กุงไหม"
พระที่อยู่ทางอื่นก็ไม่เห็น ส่วนผู้เล่า พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ และพระอาจารย์
หลอด ปโมทิโต ได ้เห็น
ท่านบอกว่า "ผ่าขณะสามเณรจันดัยเดินมาถึงพอดี"
แต่สามเณรบอกว่า ได ้เห็นแต่ไม่ได ้ยิน
ผู้เล่าคิดว่า ด ้วยอานุภาพแห่งฌานของท่าน เพราะช่วงนั้นท่านกําลังเข ้าฌานอยู่
พวกเราจึงไม่ได ้ยิน แต่ชาวบ ้านอยู่ในทุ่งนาห่างไกลออกไป กลับต ้องหมอบราบติดดิน
เพราะกลัวเสียงซึ่งดังมาก เขาเล่ากันว่า ราวกับผ่าอยู่ใกล ้ๆ ทีเดียว
(หมายเหตุ -เรื่องนี้เมื่อเทียบเคียงจากประวัติในส่วนอื่นๆ ตลอดจน
บุคคลผู้ร่วมเหตุการณ์ เข ้าใจว่าน่าจะเกิดที่วัดป่ าวิสุทธิธรรม บ ้านโคก อ.โคก
ศรีสุพรรณ จ.สกลนคร ประมาณ พ.ศ.2487 -ภิเนษกรมณ์)
หนังสือในสํานักท่านพระอาจารย์มั่น
ท่านพระอาจารย์คงจะมีเหตุผลกลใดสักอย่าง จึง
ยอมรับนับถือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล ้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จ
พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นกรณีพิเศษ แบบ
แผนขนบธรรมเนียม บทสวดพระปริตรและปาฐะต่างๆ รวมทั้งพระ
ราชนิพนธ์ พระนิพนธ์ของทั้งสองพระองค์นี้ ท่านจําได ้หมด ทั้ง
บาลีทั้งแปล อธิบายสลับกับพระธรรมเทศนา ได ้อย่างละเอียด
ลึกซึ้ง จะเป็นโมกขุปายคาถา และจตุรารักขกัมมัฏฐานก็ดี นับเป็น
ธรรมเทศนาประจําทีเดียว รวมทั้งขนบธรรมเนียมต่างๆ ท่านฯ มัก
อ ้างเสมอว่า "แบบพระจอมฯ แบบพระจอมฯ " ทํานองนี้
แล
ด ้วยเหตุนี้ท่านจึงมีกฎบังคับว่า ผู้จะอยู่ศึกษากับท่านพระอาจารย์ทั้ง
สอง (หมายถึงพระอาจารย์เสาร์และพระอาจารย์มั่น-ภิเนษกรมณ์) ต้องท่อง
นวโกวาท 7 ตํานาน 12 ตํานาน และปาฏิโมกข์ให้ได้ อย่างช้าให้เวลา 3 ปี ถ้าไม่ได้ ไม่ให้
อยู่ร่วมสํานัก ส่วนหนังสืออ่านประกอบนั้น วินัยมุข เล่ม1, 2, 3 และพุทธประวัติ เล่ม 1, 2, 3
นอกจากนี้ห้ามอ่าน ถึงขนาดนั้น ท่านว่าหากได้อย่างว่า จะอยู่ในศาสนาก็พอจะรักษาตัวได้
ถึงจะไม่ได้ศึกษามาก ก็รักษาตนคุ้มแล้ว
ตัวอย่างเช่น พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ เป็นพระมหานิกาย มาขอศึกษาข ้อ
ปฏิบัติและขอญัตติกรรมเป็นพระธรรมยุต ท่านว่าให ้ท่องปาฏิโมกข์ให ้ได ้จึงจะญัตติให ้ท่าน
อาจารย์กงมาอ่านหนังสือไม่ออก เพราะไม่ได ้เข ้าโรงเรียน จึงเรียนปาฏิโมกข์ปากต่อปาก
คําต่อคํา และหัดอ่านพร ้อมกันไปด ้วย ใช ้เวลาถึง 3 ปีจึงสวดได ้และอ่านหนังสือออก จึง
ได ้มาญัตติที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี โดยท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (หนู
ฐิตป�ฺโญ) เป็นพระอุปัชฌาย์
รูปที่สอง คือ พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม ท่านท่องปาฏิโมกข์ 8 ปี จึงสวดได ้และ
อีกรูปหนึ่งคือ พระอาจารย์คําพอง ติสโส ก็อ่านหนังสือไม่ออก เพราะไม่ได ้เข ้าเรียน แต่
ธรรมเทศนาของท่านไพเราะขนาดไหน ผู้เล่าเคยอยู่ด ้วยกันกับท่านที่วัดป่ าบ ้านหนองผือ
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ท่านทั้ง 3 รูปนี้เป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่นซึ่งผู้เล่าขอถวายนามว่า "วีรบุรุษ" เหมือนครั้ง
พุทธกาล พระจักขุบาลเป็นวีรบุรุษในยุคนั้น
แม ้ในเรื่องมังสะ 10 อย่าง ท่านพระอาจารย์กล่าวว่า ทําไมพระพุทธเจ้าจึงทรง
ห ้าม
ท่านอธิบายให ้ฟังว่า เนื้อมนุษย์ไม่เป็นค่านิยม ผู้รู้ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต ้น
ทรงติเตียน เพราะความเป็นมนุษย์มีค่ามาก เกิดกินกันขึ้น มหันตภัยก็เกิดขึ้นแก่โลกไม่
สิ้นสุด สัตว์นอกจากนี้เป็นอันตราย สมัยก่อนมีมาก พระออกธุดงค์บริโภคเนื้อสัตว์อันตราย
เหล่านี้ กลิ่นของสัตว์จะออกจากร่างกายผู้บริโภค เช่น ฉันเนื้องู กลิ่นงูก็ออก งูได ้กลิ่นก็
เลื้อยมาหา นึกว่าพวกเดียวกัน พอมาถึงไม่ใช่พวกเดียวกัน ก็ฉกกัดเอา เป็นอันตรายถึงแก่
ชีวิต ตั้งใจมาเจริญสมณธรรม เลยไม่ได ้อะไรเพราะตายเสียก่อน พระพุทธเจ้าจึงทรงห ้าม
ปุพเพนิวาสนุสสติญาณ
เท่าที่ผู้เล่าได ้ฟังมา เกี่ยวกับการเกิดในชาติก่อนและ
บุคคลที่เกี่ยวข ้อง ชาติหนึ่งนั้น ท่านพระอาจารย์เกิดในมณฑลยูน
นาน ในตระกูลขายผ้าขาว มีน้องสาวคนหนึ่ง เคยสงเคราะห์
ช่วยเหลือกัน มาชาตินี้ คือ นางนุ่ม ชุวานนท์ คหบดีชาวสกลนคร
ผู้สร ้างวัดป่ าสุทธาวาสให ้ และท่านก็ได ้สงเคราะห์ด ้วยธรรมเป็นที่
พอใจ
ชาติหนึ่งเกิดที่โยนกประเทศ ปัจจุบัน คือ เมืองเชียงตุง
ประเทศพม่า ในตระกูลช่างทําเสื่อลําแพน (เสื่อลําแพน คือ เสื่อปู
พื้นทําด ้วยหวาย) ท่านพระอาจารย์เสาร์เป็นนายช่างใหญ่ องค์
ท่านเป็นผู้จัดการ ส่วนพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นคนเดินตลาด
ชาติหนึ่งเกิดที่แคว ้นกุรุรัฐ ชมพูทวีป (ประเทศอินเดีย) ผู้ที่เกี่ยวข ้อง คือ เจ้าคุณอุ
บาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นพี่ชาย คือ พระปทุมราชา ผู้ครองแคว ้นกุรุ ท่าน
(พระอาจารย์มั่น) เป็นเสนาบดี พระอาจารย์เทสก์ เทสรํสี เป็นหลานหัวดื้อ ใครบอกไม่เชื่อ
นอกจากท่าน พระบิดาจึงมอบให ้ท่านฯ ดูแล ได ้เฝ้าพระพุทธเจ้าเฉพาะพระพักตร์ และได ้ตั้ง
ความปรารถนาขอเป็นพระพุทธเจ้าต่อหน้าพระพักตร์
ชาติหนึ่งเกิดที่ลังกาทวีป (ประเทศศรีลังกา) และบวชเป็นพระ ได ้เข ้าร่วม
สังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 4 ซึ่งมีพระเป็นหมื่น พักเสนาสนะร่วมกัน สององค์บ ้าง สาม
องค์บ ้าง ท่านว่าได ้อยู่เสนาสนะเดียวกับท่านวิริยังค์ (พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินธโร) เป็น
เพื่อนกันมาจนบัดนี้ ท่านฯ ว่า
พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
จากอีสานสู่ภาคเหนือ
เรื่องราวที่จะเล่าต่อไปนี้ ท่านพระอาจารย์เล่าเองบ ้าง พระอาจารย์เนียม โชติโก
เล่าบ ้าง
ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่า พอไปถึงวันแรกก็เจอเข ้าแล ้ว พักที่ริมป่ า การต ้อนรับ
การจัดสถานที่จากชาวบ ้านอย่าหวัง มีแต่พื้นดินและร่มไม ้เท่านั้น เป็นสถานที่พัก เวลาเช ้า
ไปบิณฑบาต ชาวบ ้านนั่งจับกลุ่มผิงไฟกัน
พอเห็นท่าน ก็ถามว่า "ตุ๊เจ้ามาเอาหยัง" ดีแต่เขาพูดภาษาคําเมืองได ้
ท่านตอบว่า "ตูมากุมข้าว"
เขาเอาข ้าวสารมาจะใส่บาตรให ้ ท่านบอก "ตูเอาข้าวสุก"
จึงเอาข ้าวสุกมาใส่บาตรให ้ เขาถาม "กินกับหยัง"
"สูกินหยัง ตูก็กินนั้น"
เขาถาม "หมูสับสูกินก๊า"
ตอบ "กิน"
เขาเอาเนื้อหมูดิบมาให ้ ท่านบอก "ตูบ่มีไฟปิ้ง เอาสุก"
เขาก็เอาเนื้อสุกมา
เขาถาม "พริกเกลือ สูกินก๊า" เขาก็เอามาใส่บาตรให ้
ตอนขากลับ ชาวบ ้านตามมาหลายคน เขามาเห็นที่พัก เขาถาม "ตุ๊เจ้านอนบ้านบ่
ได้ก๊า"
ตอบ "นอนได ้"
"ตูจะเยียะบ้านให้ เอาก๊า"
"เอา"
"ตุ๊เจ้าเยียะบ่ได้ก๊า"
"เยียะบ่ได้ เขาบอก
"ตูเยียะบ่ถือ บอกเน้อ" (ท่านพระอาจารย์ว่า คํานี้เป็นคําปวารณา เราก็ใช ้เขาได ้
ตามพระวินัย)
เขามาจัดที่พักจนเสร็จ และมาบอกรับใช ้ปวารณาทุกวัน
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ
รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ

More Related Content

What's hot

วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นParn Parai
 
สารคดีเล่าประสบการณ์ ความสุขของการเป็นผู้ให้
สารคดีเล่าประสบการณ์  ความสุขของการเป็นผู้ให้สารคดีเล่าประสบการณ์  ความสุขของการเป็นผู้ให้
สารคดีเล่าประสบการณ์ ความสุขของการเป็นผู้ให้waraporny
 
การแสดงพื้นเมือง
การแสดงพื้นเมืองการแสดงพื้นเมือง
การแสดงพื้นเมืองพัน พัน
 
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายของวัฒนธรรม
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายของวัฒนธรรมเรียงความเรื่อง ความหลากหลายของวัฒนธรรม
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายของวัฒนธรรมMim Papatchaya
 
คำปฎิญาณพิธีจุดเทียนอุดมการณ์
คำปฎิญาณพิธีจุดเทียนอุดมการณ์คำปฎิญาณพิธีจุดเทียนอุดมการณ์
คำปฎิญาณพิธีจุดเทียนอุดมการณ์niralai
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากลใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากลleemeanshun minzstar
 
จิตตคหบดี
จิตตคหบดีจิตตคหบดี
จิตตคหบดีKrusupharat
 
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเราโครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเราIam Champooh
 
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์tangonjr
 
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาการเรียนการสอน
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาการเรียนการสอนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาการเรียนการสอน
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาการเรียนการสอนTeacher Sophonnawit
 
ใบงานที่1เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย
ใบงานที่1เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่ายใบงานที่1เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย
ใบงานที่1เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่ายkrunoree.wordpress.com
 
กิตติกรรมประกาศ (เสร็จ)
กิตติกรรมประกาศ (เสร็จ)กิตติกรรมประกาศ (เสร็จ)
กิตติกรรมประกาศ (เสร็จ)Annop Phetchakhong
 
คำกลอนสอนศิษย์
คำกลอนสอนศิษย์คำกลอนสอนศิษย์
คำกลอนสอนศิษย์PomPam Comsci
 
นิพพานชาตินี้กันเถอะ
นิพพานชาตินี้กันเถอะนิพพานชาตินี้กันเถอะ
นิพพานชาตินี้กันเถอะTotsaporn Inthanin
 
เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้นเรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้นพัน พัน
 
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
เรียงความเรื่อง    ความหลากหลายทางวัฒนธรรมเรียงความเรื่อง    ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายทางวัฒนธรรมMim Papatchaya
 
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์Kruorawan Kongpila
 
หมู่บ้านเพื่อนก้อง -- การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนเมืองโดยใช้หลักการเศรษฐกิจพอเ...
หมู่บ้านเพื่อนก้อง  -- การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนเมืองโดยใช้หลักการเศรษฐกิจพอเ...หมู่บ้านเพื่อนก้อง  -- การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนเมืองโดยใช้หลักการเศรษฐกิจพอเ...
หมู่บ้านเพื่อนก้อง -- การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนเมืองโดยใช้หลักการเศรษฐกิจพอเ...freelance
 
บทยรรยายแสงเทียนแด่แม่3
บทยรรยายแสงเทียนแด่แม่3บทยรรยายแสงเทียนแด่แม่3
บทยรรยายแสงเทียนแด่แม่3niralai
 

What's hot (20)

วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
 
สารคดีเล่าประสบการณ์ ความสุขของการเป็นผู้ให้
สารคดีเล่าประสบการณ์  ความสุขของการเป็นผู้ให้สารคดีเล่าประสบการณ์  ความสุขของการเป็นผู้ให้
สารคดีเล่าประสบการณ์ ความสุขของการเป็นผู้ให้
 
การแสดงพื้นเมือง
การแสดงพื้นเมืองการแสดงพื้นเมือง
การแสดงพื้นเมือง
 
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายของวัฒนธรรม
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายของวัฒนธรรมเรียงความเรื่อง ความหลากหลายของวัฒนธรรม
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายของวัฒนธรรม
 
คำปฎิญาณพิธีจุดเทียนอุดมการณ์
คำปฎิญาณพิธีจุดเทียนอุดมการณ์คำปฎิญาณพิธีจุดเทียนอุดมการณ์
คำปฎิญาณพิธีจุดเทียนอุดมการณ์
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากลใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล
 
จิตตคหบดี
จิตตคหบดีจิตตคหบดี
จิตตคหบดี
 
คำนำ2527895555
คำนำ2527895555คำนำ2527895555
คำนำ2527895555
 
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเราโครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา
 
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
 
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาการเรียนการสอน
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาการเรียนการสอนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาการเรียนการสอน
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาการเรียนการสอน
 
ใบงานที่1เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย
ใบงานที่1เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่ายใบงานที่1เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย
ใบงานที่1เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย
 
กิตติกรรมประกาศ (เสร็จ)
กิตติกรรมประกาศ (เสร็จ)กิตติกรรมประกาศ (เสร็จ)
กิตติกรรมประกาศ (เสร็จ)
 
คำกลอนสอนศิษย์
คำกลอนสอนศิษย์คำกลอนสอนศิษย์
คำกลอนสอนศิษย์
 
นิพพานชาตินี้กันเถอะ
นิพพานชาตินี้กันเถอะนิพพานชาตินี้กันเถอะ
นิพพานชาตินี้กันเถอะ
 
เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้นเรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
 
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
เรียงความเรื่อง    ความหลากหลายทางวัฒนธรรมเรียงความเรื่อง    ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
 
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
 
หมู่บ้านเพื่อนก้อง -- การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนเมืองโดยใช้หลักการเศรษฐกิจพอเ...
หมู่บ้านเพื่อนก้อง  -- การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนเมืองโดยใช้หลักการเศรษฐกิจพอเ...หมู่บ้านเพื่อนก้อง  -- การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนเมืองโดยใช้หลักการเศรษฐกิจพอเ...
หมู่บ้านเพื่อนก้อง -- การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนเมืองโดยใช้หลักการเศรษฐกิจพอเ...
 
บทยรรยายแสงเทียนแด่แม่3
บทยรรยายแสงเทียนแด่แม่3บทยรรยายแสงเทียนแด่แม่3
บทยรรยายแสงเทียนแด่แม่3
 

Similar to รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโตประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโตTaweedham Dhamtawee
 
หยั่งลงก้นมหาสมุทร
หยั่งลงก้นมหาสมุทรหยั่งลงก้นมหาสมุทร
หยั่งลงก้นมหาสมุทรPanda Jing
 
ตั้งฮั่น
ตั้งฮั่นตั้งฮั่น
ตั้งฮั่นtommy
 
เรื่องศาสนาเชน
เรื่องศาสนาเชนเรื่องศาสนาเชน
เรื่องศาสนาเชนTongsamut vorasan
 
ลอยกระทง
ลอยกระทงลอยกระทง
ลอยกระทงwilasinee k
 
3 33+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๗
3 33+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๗3 33+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๗
3 33+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๗Tongsamut vorasan
 
ประวัติวันภาษาไทย
ประวัติวันภาษาไทยประวัติวันภาษาไทย
ประวัติวันภาษาไทยpinyada
 
Ebook ประตูสู่ชาดก
Ebook ประตูสู่ชาดกEbook ประตูสู่ชาดก
Ebook ประตูสู่ชาดกPanda Jing
 
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมวรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมmayavee16
 
2010 Love Read @NATION
2010 Love Read @NATION2010 Love Read @NATION
2010 Love Read @NATIONninecomp
 
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทานโครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทานRawinnipha Joy
 
การอ้างอิงและสืบค้น 2558. pdf
การอ้างอิงและสืบค้น 2558. pdfการอ้างอิงและสืบค้น 2558. pdf
การอ้างอิงและสืบค้น 2558. pdfKrapom Jiraporn
 
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ขันธะวิมุติสะมังคีธรรม
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต    ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต    ขันธะวิมุติสะมังคีธรรม
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมTongsamut vorasan
 
Book recommend October 2010
Book recommend October 2010Book recommend October 2010
Book recommend October 2010Kindaiproject
 

Similar to รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ (20)

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโตประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
 
Learn good
Learn goodLearn good
Learn good
 
Learn good
Learn goodLearn good
Learn good
 
Learn good
Learn goodLearn good
Learn good
 
หยั่งลงก้นมหาสมุทร
หยั่งลงก้นมหาสมุทรหยั่งลงก้นมหาสมุทร
หยั่งลงก้นมหาสมุทร
 
ตั้งฮั่น
ตั้งฮั่นตั้งฮั่น
ตั้งฮั่น
 
เรื่องศาสนาเชน
เรื่องศาสนาเชนเรื่องศาสนาเชน
เรื่องศาสนาเชน
 
หนังสือธรรมะใกล้ตัว
หนังสือธรรมะใกล้ตัวหนังสือธรรมะใกล้ตัว
หนังสือธรรมะใกล้ตัว
 
ลอยกระทง
ลอยกระทงลอยกระทง
ลอยกระทง
 
3 33+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๗
3 33+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๗3 33+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๗
3 33+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๗
 
ประวัติวันภาษาไทย
ประวัติวันภาษาไทยประวัติวันภาษาไทย
ประวัติวันภาษาไทย
 
Ebook ประตูสู่ชาดก
Ebook ประตูสู่ชาดกEbook ประตูสู่ชาดก
Ebook ประตูสู่ชาดก
 
ธรรมบท ภาคที่ 1 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
ธรรมบท ภาคที่ 1 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdfธรรมบท ภาคที่ 1 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
ธรรมบท ภาคที่ 1 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
 
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมวรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
 
2010 Love Read @NATION
2010 Love Read @NATION2010 Love Read @NATION
2010 Love Read @NATION
 
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทานโครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
 
การอ้างอิงและสืบค้น 2558. pdf
การอ้างอิงและสืบค้น 2558. pdfการอ้างอิงและสืบค้น 2558. pdf
การอ้างอิงและสืบค้น 2558. pdf
 
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ขันธะวิมุติสะมังคีธรรม
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต    ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต    ขันธะวิมุติสะมังคีธรรม
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ขันธะวิมุติสะมังคีธรรม
 
มอญศึกษา
มอญศึกษามอญศึกษา
มอญศึกษา
 
Book recommend October 2010
Book recommend October 2010Book recommend October 2010
Book recommend October 2010
 

More from Sarod Paichayonrittha

พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร What did the buddha teach
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  What did the buddha teachพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  What did the buddha teach
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร What did the buddha teachSarod Paichayonrittha
 
สูตรของเว่ยหลาง โดย พุทธทาสภิกขุ
สูตรของเว่ยหลาง โดย พุทธทาสภิกขุสูตรของเว่ยหลาง โดย พุทธทาสภิกขุ
สูตรของเว่ยหลาง โดย พุทธทาสภิกขุSarod Paichayonrittha
 
อานาปานสติสูตร
อานาปานสติสูตรอานาปานสติสูตร
อานาปานสติสูตรSarod Paichayonrittha
 
Ukti marketing brief make it happens -jan2014
Ukti marketing brief  make it happens  -jan2014Ukti marketing brief  make it happens  -jan2014
Ukti marketing brief make it happens -jan2014Sarod Paichayonrittha
 
Led lighting outdoor design challenge dec2013
Led lighting outdoor design challenge dec2013Led lighting outdoor design challenge dec2013
Led lighting outdoor design challenge dec2013Sarod Paichayonrittha
 
Kwater investor presentation oct2013
Kwater investor presentation oct2013Kwater investor presentation oct2013
Kwater investor presentation oct2013Sarod Paichayonrittha
 
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวรพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวรSarod Paichayonrittha
 
Handbook malaysian fi t feed-in-tariff renewable energy mar2011
Handbook   malaysian fi t feed-in-tariff renewable energy mar2011Handbook   malaysian fi t feed-in-tariff renewable energy mar2011
Handbook malaysian fi t feed-in-tariff renewable energy mar2011Sarod Paichayonrittha
 
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554Sarod Paichayonrittha
 
ตำราพิชัยสงครามสิบสามบท ของซุนวู
ตำราพิชัยสงครามสิบสามบท ของซุนวูตำราพิชัยสงครามสิบสามบท ของซุนวู
ตำราพิชัยสงครามสิบสามบท ของซุนวูSarod Paichayonrittha
 
The ultimatum of god nature the one straw revolution -a recapitulation-1996
The ultimatum of god nature the one straw revolution  -a recapitulation-1996The ultimatum of god nature the one straw revolution  -a recapitulation-1996
The ultimatum of god nature the one straw revolution -a recapitulation-1996Sarod Paichayonrittha
 
Led Lighting SSL Road Map US.DOE aug2012
Led Lighting SSL Road Map US.DOE aug2012 Led Lighting SSL Road Map US.DOE aug2012
Led Lighting SSL Road Map US.DOE aug2012 Sarod Paichayonrittha
 
หลักการเขียนลายเซ็น
หลักการเขียนลายเซ็นหลักการเขียนลายเซ็น
หลักการเขียนลายเซ็นSarod Paichayonrittha
 
ISA Effective Use of PID Controllers 3-7-2013
ISA Effective Use of PID Controllers 3-7-2013ISA Effective Use of PID Controllers 3-7-2013
ISA Effective Use of PID Controllers 3-7-2013Sarod Paichayonrittha
 
Feed in tariff malaysia brochure 2012
Feed in tariff malaysia brochure 2012Feed in tariff malaysia brochure 2012
Feed in tariff malaysia brochure 2012Sarod Paichayonrittha
 
Mdi compressed air car -new production concept 2010
Mdi compressed air car  -new production concept 2010Mdi compressed air car  -new production concept 2010
Mdi compressed air car -new production concept 2010Sarod Paichayonrittha
 

More from Sarod Paichayonrittha (20)

พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร What did the buddha teach
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  What did the buddha teachพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  What did the buddha teach
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร What did the buddha teach
 
สูตรของเว่ยหลาง โดย พุทธทาสภิกขุ
สูตรของเว่ยหลาง โดย พุทธทาสภิกขุสูตรของเว่ยหลาง โดย พุทธทาสภิกขุ
สูตรของเว่ยหลาง โดย พุทธทาสภิกขุ
 
อานาปานสติสูตร
อานาปานสติสูตรอานาปานสติสูตร
อานาปานสติสูตร
 
Ukti marketing brief make it happens -jan2014
Ukti marketing brief  make it happens  -jan2014Ukti marketing brief  make it happens  -jan2014
Ukti marketing brief make it happens -jan2014
 
The new scada jun2014
The new scada jun2014 The new scada jun2014
The new scada jun2014
 
Led lighting outdoor design challenge dec2013
Led lighting outdoor design challenge dec2013Led lighting outdoor design challenge dec2013
Led lighting outdoor design challenge dec2013
 
Kwater investor presentation oct2013
Kwater investor presentation oct2013Kwater investor presentation oct2013
Kwater investor presentation oct2013
 
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวรพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
 
Oil and gas thailand 2011 v f
Oil and gas thailand 2011 v fOil and gas thailand 2011 v f
Oil and gas thailand 2011 v f
 
Handbook malaysian fi t feed-in-tariff renewable energy mar2011
Handbook   malaysian fi t feed-in-tariff renewable energy mar2011Handbook   malaysian fi t feed-in-tariff renewable energy mar2011
Handbook malaysian fi t feed-in-tariff renewable energy mar2011
 
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
รายงานประเมินผลไทยเข้มแข็ง มีค2554
 
ตำราพิชัยสงครามสิบสามบท ของซุนวู
ตำราพิชัยสงครามสิบสามบท ของซุนวูตำราพิชัยสงครามสิบสามบท ของซุนวู
ตำราพิชัยสงครามสิบสามบท ของซุนวู
 
The ultimatum of god nature the one straw revolution -a recapitulation-1996
The ultimatum of god nature the one straw revolution  -a recapitulation-1996The ultimatum of god nature the one straw revolution  -a recapitulation-1996
The ultimatum of god nature the one straw revolution -a recapitulation-1996
 
ABB DC Circuit Breakers Catalog
ABB DC Circuit Breakers CatalogABB DC Circuit Breakers Catalog
ABB DC Circuit Breakers Catalog
 
Led Lighting SSL Road Map US.DOE aug2012
Led Lighting SSL Road Map US.DOE aug2012 Led Lighting SSL Road Map US.DOE aug2012
Led Lighting SSL Road Map US.DOE aug2012
 
หลักการเขียนลายเซ็น
หลักการเขียนลายเซ็นหลักการเขียนลายเซ็น
หลักการเขียนลายเซ็น
 
ISA Effective Use of PID Controllers 3-7-2013
ISA Effective Use of PID Controllers 3-7-2013ISA Effective Use of PID Controllers 3-7-2013
ISA Effective Use of PID Controllers 3-7-2013
 
China bullet train population 2013
China bullet train population 2013China bullet train population 2013
China bullet train population 2013
 
Feed in tariff malaysia brochure 2012
Feed in tariff malaysia brochure 2012Feed in tariff malaysia brochure 2012
Feed in tariff malaysia brochure 2012
 
Mdi compressed air car -new production concept 2010
Mdi compressed air car  -new production concept 2010Mdi compressed air car  -new production concept 2010
Mdi compressed air car -new production concept 2010
 

รำลึกวันวาน ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต_โดยหลวงตาทองคำ_จารุวัณโณ

  • 1.
  • 2. เกร็ดประวัติ และ ปกิณกธรรมของหลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต ๑ จากหนังสือ "รําลึกวันวาน" หลวงตาทองคํา จารุวัณโณ โพสท์ในลานธรรมเสวนา หมวดบันเทิงธรรม กระทู้ 19153 โดย: ภิเนษกรมณ์ 08 มี.ค. 49 ตอนที่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ผม (คุณภิเนษกรมณ์ ผู้โพสท์) ได ้มีโอกาสอ่าน หนังสือ "รําลึกวันวาน" อันเป็นบันทึกของ หลวงตา ทองคํา จารุวัณโณ เกี่ยวกับเกร็ดประวัติและปกิณกธรรมของ หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต เห็นว่ามีหลายประเด็นน่าสนใจ ชวนให ้คิด และอ่านสนุก อาจจะพอเหมาะสมกับกระดานนี้ จึงจะได ้ทยอย นํามาพิมพ์ให ้อ่านกัน โดยขอเป็นสรุปย่อบางส่วนนะครับ เพราะ บางเรื่องท่านอธิบายไว ้ยาวมาก หลวงตาทองคํา จารุวัณโณ (หรือในอดีต คือ พระอาจารย์ทองคํา ญาโณภาโส) เป็นพระอุปัฏฐากผู้ใกล ้ชิดหลวงปู่ มั่น อยู่หลายปี ได ้มีโอกาสอยู่กับท่านทั้งในช่วงที่หลวงปู่ มั่นจําพรรษาอยู่ที่บ ้านโคกและบ ้านนามน อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร ระยะ พ.ศ. 2486 - 2487 จนเมื่อหลวงปู่ มั่นย ้ายมาอยู่ที่วัดป่ าบ ้านหนองผือ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร พ.ศ. 2488-2492ท่านก็ได ้ติดตามมาอยู่ด ้วย ได ้เป็นผู้อุปัฏฐากหลวงปู่ มั่น ร่วมกับพระ อาจารย์วัน อุตตโม และหลวงปู่ หล ้า เขมปัตโต จนกระทั่งหลวงปู่ มั่นมรณภาพ แม ้ว่าท่านจะ ได ้ลาสิกขาไปเมื่อครั้งพรรษาประมาณ 20 เศษ แต่เมื่ออายุได ้70 ปี ได ้กลับมาบวชอีกครั้ง เมื่อปี พ.ศ.2536 หลวงตาทองคําเป็นผู้ที่มีความจําแม่นยํา ได ้เขียนบันทึกนี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2541 ขณะอายุ 75 ปี เป็นที่น่าเสียดายว่าท่านมรณภาพไปเมื่อปีที่แล ้วนี้เองครับ ผมขอนําคําปรารภของหลวงตาทองคํา จารุวัณโณ ผู้เขียนมาลงให ้อ่านก่อนนะ ครับ และขออธิบายขยายความนิดหนึ่งครับ คือ หลวงตาทองคํา จารุวัณโณ ได ้เขียนบันทึก เรื่องทั้งหมดนี้ขึ้นจากคําอาราธนาของท่านเจ้าคุณพระราชบัณฑิต (พระมหาชัยทวี จิตตฺคุตฺ โต) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2541 หลวงตาทองคําท่านเขียนด ้วย ลายมือลงในสมุดจดได ้หลายเล่มและเก็บไว ้ที่ท่านเจ้าคุณพระราชบัณฑิตอยู่หลายปี ต่อมา ท่านเจ้าคุณฯ และคณะผู้จัดพิมพ์เห็นว่าเป็นบันทึกที่มีคุณค่าสมควรนํามาพิมพ์เผยแพร่ จึงได ้ นํามาตีพิมพ์ เมื่อ ปี พ.ศ.2547 ในนามกองทุนแสงตะวัน วัดปทุมวนาราม และได ้กราบเรียน ขอให ้หลวงตาทองคําท่านเขียนคําปรารภสําหรับการพิมพ์หนังสือเล่มนี้ขึ้น ดังต่อไปนี้ หลวงตาทองคํา จารุวัณโณ
  • 3. คําปรารภ เมื่อ พ.ศ. 2541 ข ้าพเจ้าได ้จําพรรษาที่วัดปทุมรังสี อําเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นวัดที่ท่านเจ้าคุณพระมหาชัยทวี คุตตจิตโต ซึ่งข ้าพเจ้ารักและเคารพไปสร ้างไว ้ พอ ออกพรรษาได ้มาพักกับท่านที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร บางโอกาสได ้นั่งสนทนา ธรรมกับท่านเจ้าคุณฯ ท่านได ้กล่าวถึงท่านพระอาจารย์มั่น ในเรื่องเกี่ยวกับธรรมะบ ้าง เกี่ยวกับบุคคล โบราณสถาน โบราณวัตถุบ ้าง ท่านเจ้าคุณฯ สนใจเป็นพิเศษ ได ้ขอให ้ ข ้าพเจ้าเขียนขึ้นมา ข ้าพเจ้าสนใจเรื่องเกี่ยวกับสถานที่ เกี่ยวกับบุคคล วัตถุโบราณ สถานโบราณ ประวัติศาสตร์เป็นพิเศษ ได ้ฟังแล ้วจะไม่ลืม หลายปีก็ไม่ลืม พอไปฟังเทศน์ท่านพระอาจารย์ มั่น จึงถือเป็นกรณีพิเศษ บางเรื่องท่านฯ จะเล่าขณะที่ข ้าพเจ้าได ้ถวายการนวด หลังจากท่านเทศน์เสร็จ แล ้ว นอกจากข้าพเจ้าที่ได้ฟังแล้ว ก็มีท่านอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร ท่าน อาจารย์วัน อุตฺตโม ท่านอาจารย์หล้า เขมปตฺโต ท่านก็พูดแต่ไม่มาก แต่ สองรูปที่ท่านพูดให้ฟังมาก คือ ข้าพเจ้ากับท่านอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร ส่วน ท่านอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ท่านเป็นเจ้าปัญญา ท่านพระ อาจารย์ไม่ได ้พูดโดยตรง จะพูดโดยอ ้อม สลับมากับพระธรรมเทศนา ด ้วยสติปัญญาของท่าน สูงส่ง ท่านก็เลยนํามาเขียน แต่บางอย่างก็ผิดกันกับข ้าพเจ้า บางอย่างก็ถูกกัน โดยเฉพาะ เนื้อหาสาระสําคัญ จะผิดกันบ ้างก็คงเป็นส่วนปลีกย่อย บางเรื่องก็เกิดจากอัตถุปัตติเหตุ เช่น เรื่องพระพุทธเจ้าเป็นบรรพบุรุษของคนไทย จากสาเหตุกระดาษห่อธูปที่บริษัทผู้ผลิตเอารูปพระพุทธเจ้ามาเป็นเครื่องหมายการค ้า ข ้าพเจ้าได ้เก็บนําไปถวายให ้ท่านฯ ดู ท่านฯ ก็เลยเทศน์ให ้ฟัง ขณะนั้นเพื่อนภิกษุยังไม่ขึ้น ไปกุฏิท่าน ซึ่งเป็นการกลับตาลปัตร เพราะเรื่องนี้ไม่ปรากฏในประวัติศาสตร์ และคัมภีร์ใน พระพุทธศาสนา ทําให ้ผู้ฟังงงงวยสับสนขึ้น เมื่อเรื่องมีอย่างนี้ ขอให ้อยู่ในดุลยพินิจ จงสื่อ เอาแต่ผลประโยชน์เกื้อกูลเถิด บางเรื่องก็ได ้ฟังจากพระธรรมเทศนาบ ้าง ฟังจากศิษย์รุ่นก่อนๆ เช่น ท่านพระ อาจารย์เทสก์ เทสรํสี พระอาจารย์มนู พระอาจารย์มหาทองสุก สุจิตฺโต พระอาจารย์พรหม จิรปุ�ฺโญ บ ้าง เป็นต ้นจดจํามาปะติดปะต่อกัน จนมาเป็นหนังสือนี้ โดยมิได ้คาดคะเน หรือ เดาสุ่มเพิ่มเติม มีสิ่งบกพร่อง คือ ไม่ละเอียดถี่ถ ้วน บางส่วนขาดหายไป เช่น คํา อุปมาอุปไมยอันไพเราะเพราะพริ้ง ที่ท่านยกมาเปรียบเปรย แต่ก็คงจะหาเนื้อหาสาระได ้บ ้าง สําหรับเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและการปฏิบัติ ของผู้ใคร่ในคุณธรรมอันพิเศษใน พระพุทธศาสนานี้ ขอความผาสุกจงมีแด่ผู้อ่านทุกท่านเทอญ
  • 4. ก่อนหน้าที่จะตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้ คณะผู้จัดพิมพ์ได ้นําต ้นฉบับบางเรื่องไป ถวายให ้หลวงปู่ หลอด ปโมทิโต ได ้พิจารณา เพราะท่านได ้เคยอยู่จําพรรษาร่วมกันกับ หลวงตาทองคํา และหลวงปู่ มั่น ที่วัดป่ าวิสุทธิธรรม บ ้านโคก อําเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร เมื่อ ปี พ.ศ.2487 เมื่อหลวงปู่ หลอดท่านอ่านแล ้ว ได ้เมตตาเขียน เถรัมภกถาให ้ตีพิมพ์ในหนังสือ ดังต่อไปนี้
  • 5. เถรัมภกถา หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นจากความทรงจําของ พระ อาจารย์ทองคํา จารุวณฺโณ (ญาโณภาโส) เกี่ยวกับเกร็ด ประวัติ และปกิณกธรรมของท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภู ริทตฺโต ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ น่าอ่าน น่าศึกษาอย่างยิ่ง อาตมาเองได ้มีโอกาสอ่านข ้อเขียนของพระอาจารย์ ทองคําอยู่บ ้าง และได ้รวบรวมมาไว ้ในหนังสือเล่มนี้ โดยเฉพาะเรื่องเทศน์ซํ้าเฒ่า ซึ่งเรียกว่าเป็นเทศน์กัณฑ์ สุดท ้ายของท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ก็รู้สึกปลาบปลื้มใจ ที่พระอุปัฏฐากใกล ้ชิดของ ท่านพระอาจารย์ใหญ่ และได ้อยู่ในเหตุการณ์ได ้นําออกมาเผยแพร่เรียกว่าหาฟังหา อ่านได ้ยาก สําหรับอาตมากับพระอาจารย์ทองคํานั้นรู้จักคุ้นเคยกัน ตั้งแต่สมัยที่อยู่กับ ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ที่เสนาสนะบ ้านโคก พระอาจารย์ทองคําท่านไปอยู่ก่อน อาตมา และได ้เป็นพระอุปัฏฐากท่านพระอาจารย์ใหญ่ผู้ใกล ้จนกระทั่งถึงวาระสุดท ้าย ของท่านพระอาจารย์ใหญ่ที่วัดป่ าสุทธาวาสนั้น แต่ภายหลังอาจเป็นด ้วยวิบากกรรม ของพระอาจารย์ทองคํายังไม่สิ้นกระมัง จึงต ้องมีเหตุให ้สึกสาลาเพศออกมามีครอบครัว แต่วาสนาในผ้ากาสาวพัสตร์ยังไม่สิ้นไปซะทีเดียว ราวปี พ.ศ. 2536 ท่านจึงได ้กลับมา บวชอีกครั้ง ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธฯ โดยมีท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธปาพจน บดีเป็นพระอุปัชฌาย์ และได ้กลับมาทบทวนถึงเรื่องราวที่ผ่านมา สมัยที่อยู่กับท่านพระ อาจารย์ใหญ่มั่น และได ้รจนาตามความสามารถที่จะนึกจะจํานํามาเขียนได ้ ดังนั้นเรื่องราวและข ้อมูลอาจจะเป็นไปตามอายุขัยของท่าน ในขณะที่เริ่ม เขียน เริ่มรจนา ก็คงจะราวๆ 70 กว่าปีเข ้าไปแล ้วอายุ เรื่องราวเนื้อหาบางเรื่อง ก็อาจ สามารถทําให ้ผุ้อ่านได ้เก็บตกจากประวัติของท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ที่ครูบาอาจารย์ ผู้ทรงคุณผู้ทรงธรรมได ้เคยรจนาไว ้แล ้วก่อนหน้านี้ไม่มากก็น้อย ด ้วยอาตมาหวังว่า หนังสือเล่มนี้คงจักเป็นประโยชน์และช่วยเสริมทัศนะของท่านผู้อ่านทั้งหลาย ขอให ้ ท่านผู้อ่านหนังสือเล่มนี้ ได ้อ่านอย่างมีวิจารณญาณ คือ พิจารณาธรรมอันนี้ให ้เกิด ประโยชน์ให ้ถี่ถ ้วน และให ้เข ้าใจอย่างถ่องแท ้รวมทั้งทําความเข ้าใจให ้มากๆ สุดท ้ายนี้ อาตมาขออนุโมทนาในกุศลเจตนาของคณะผู้จัดทําและผู้ที่บริจาค ปัจจัยพิมพ์หนังสือเล่มนี้ทุกๆ ท่านเทอญ หลวงปู่ หลอด ปโมทิโต วัดสิริกมลาวาส กรุงเทพมหานคร หลวงปู่ หลอด ปโมทิโต
  • 6. อานุภาพการสวดมนต์และเสียงสาธุการ สมัยที่ท่านพระอาจารย์มั่นพักอยู่บนดอยปะหร่อง (เชียงใหม่) กับพระอาจารย์มนู ตอนเช ้าเที่ยวบิณฑบาต พอให ้พรเสร็จ ท่านได ้สอนให ้ชาวบ ้านกล่าวสาธุพร ้อมกันด ้วยเสียง สูง ท่าน (พระอาจารย์มั่น) เล่าเป็นเชิงตลกว่า มือทั้งสองข้างของเขาชูขึ้นข้างบน เหมือนบั้งไฟจะขึ้นสู่ท้องฟ้ า ว่างั้น วันหนึ่ง ท่านนั่งพักในส่วนที่ทําเป็นที่พักกลางวัน มีเทพพวกหนึ่งมาจากเขาจิตร กูฏ มาถามท่านว่า "เสียงสาธุ สาธุนั้น สาธุอะไร สะเทือนสะท้านทุกวัน พวกเทพ ทั้งหลายได้ฟัง มีความสุขไปตามๆ กัน" ท่านมาพิจารณาว่า เสียงอะไร ที่ไหน จึงระลึกได ้ว่า เสียงสาธุการของชาวบ ้าน ตอนถวายทานนั่นเอง พอรับทราบแล ้วพวกเทพก็กล่าวว่า "เขาก็สาธุการด้วย" แล ้วทําประทักษิณ เวียนขวาลากลับไป ส่วนมากพวกเทพเขาจะทําอย่างนั้น ท่านพระอาจารย์มั่น เลยมาพิจารณาต่อได ้ความว่า พุทธมนต์นั้นใครสวดก็ตาม จะเป็ นกิจวัตรของพระสงฆ์เช้า เย็น หรือชาวพุทธทุกคน สวดมนต์ระลึกในใจ มีอานุภาพแผ่ไปได้หมื่นจักรวาล สวดออกเสียงพอฟังได้ มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนจักรวาล สวดมนต์เช้าเย็นธรรมดา มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนโกฏิจักรวาล สวดเต็มเสียงสุดกู่ มีอานุภาพแผ่ไปได้อนันตจักรวาล แม้สัตว์ที่อาศัยอยู่ในสามภพ และที่สุดอเวจีมหานรก ยังได้รับ ความสุข เมื่อแว่วเสียงพุทธมนต์ผ่านลงไปถึงชั่วขณะชั่วครู่หนึ่ง ดีกว่า หาความสุขไม่ได้เลยตลอดกาล นี้คืออานิสงส์ของพระพุทธมนต์ ท่านพระอาจารย์มั่นว่าอย่างนี้
  • 7. ครูและศิษย์สนทนาธรรม เมื่อครั้งที่ท่านพระอาจารย์มั่นอาพาธหนัก แต่ลุกนั่งเดิน ไปมาในระยะใกล ้ได ้และยังสนทนาธรรมตามปกติ เวลาบ่ายวัน หนึ่ง มีพระอาจารย์เทสก์ (หลวงปู่ เทสก์ เทส รังสี) ท่านวัน (พระอาจารย์วัน อุตตโม) และผู้ เล่า (หลวงตาทองคํา) รวมทั้งท่านพระอาจารย์มั่น เป็น 4 รูป พระอาจารย์เทสก์ เรียนถามท่านฯ (พระอาจารย์มั่น) ว่า "เวลาครูบาอาจารย์อาพาธ พิจารณาธรรมอะไร สนทนาใน ฐานะศิษย์เคารพครูนะ อย่าเข้าใจว่าไล่ภูมิ" ท่านฯ ตอบว่า "พิจารณาไปเท่าไร ก็เห็นแต่ภพ มีแต่ภพ ไม่มีที่สิ้นสุด" พระอาจารย์เทสก์ย ้อนถามว่า "เมื่อเห็นแต่ภพ ครูบาอาจารย์พิจารณาเพื่ออะไร" ท่านฯ ตอบว่า "เพื่อให้รู้ และเราก็รู้มานานแล้วไม่ได้สงสัย เหตุที่พิจารณา ก็เพื่อให้ท่าน (หมายถึงพระอาจารย์เทสก์) และคนอื่นๆ (หมายถึง สานุศิษย์และสัตว์โลกทั่วไป) รู้ว่า คน สัตว์ ที่อยู่ในภพ หรือผู้ปฏิบัติ จะมีทั้งสนุก ตื่นเต้น เศร้าสลดสังเวช และเห็นธรรม อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คนจะรู้ว่าตนอยู่ในภพนั้นมีน้อยมาก เพราะอวิชชาปิดบังไว้ เมื่อไม่รู้ว่าตนอยู่ ในภพ ก็ไม่รู้พระนิพพาน เมื่อเรารู้ว่าตนอยู่ในภพแล้ว จะอยู่ในภพทําไม ก็อยู่ในพระ นิพพานเท่านั้นเอง" พระอาจารย์เทสก์ก็บอกท่านฯ ว่า "กระผมก็พิจารณาอย่างพระอาจารย์ว่า" ต่างก็ชื่นชมกันในระหว่างครูและศิษย์ พระแก้วมรกต เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อครั้งท่านพระอาจารย์มั่นพักที่วัดป่ าบ ้าน หนองผือ พระอุปัชฌาย์อุ่น (พระครูบริบาลสังฆกิจ (อุ่น อุตตโม) วัด อุดมรัตนาราม อําเภออากาศอํานวย จังหวัดสกลนคร) ได ้ไปกราบ นมัสการฟังเทศน์ และได ้นํารูปพระแก ้วมรกตขนาด 20 นิ้ว เป็นภาพ พิมพ์ใส่กรอบไปถวายท่านพระอาจารย์ แต่ดูท่านจะลืมทําความ สะอาด เพราะมีฝุ่ นจับอยู่ ท่านพระอาจารย์ก็น้อมรับด ้วยความเคารพ หลังจากท่านอุปัชฌาย์อุ่นลาลงกุฏิไปแล ้ว ท่านพระ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี พระอาจารย์อุ่น อุตตโม
  • 8. อาจารย์ได ้ทําความสะอาด โดยนําผ้าสรงนํ้าของท่านฯ มาเช็ดถู ผู้เล่า (หลวงตาทองคํา- ภิเนษกรมณ์) เอาผ้าเช็ดพื้นเข ้าไปช่วยทําความสะอาดด ้วย เพราะเห็นว่าผ้ายังสะอาดอยู่ ท่านหันมาเห็นเข ้า พูดว่า "อะไรกัน นั่นรูปพระพุทธเจ้าแท้ๆ ยังเอาผ้าเช็ดพื้นมาถูได้" ผู้เล่าสะดุ้งไปทั้งตัว เพราะความโง่เขลาปัญญาอ่อน ท่านฯ ก็เลยทําความสะอาด เอง เสร็จแล ้วก็มีเพื่อนภิกษุทยอยกันขึ้นไป รวมทั้งท่านอาจารย์วิริยังค์ด ้วย ท่านเลย เทศน์ถึงความมหัศจรรย์ของพระแก ้วมรกต ท่านว่า "พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ในประเทศใด ประเทศนั้นจะไม่ ว่างจากพระอริยบุคคล พระอริยบุคคลมีอยู่ในประเทศใด ประเทศนั้นจะ ไม่ฉิบหายด้วยภัยแห่งสงคราม" การเสด็จไปสู่สถานที่ต่างๆ ของพระแก ้วมรกตนั้นมีปัจจัย 3 อย่าง คือ เพื่อเผยแผ่ พระพุทธศาสนา เกิดกลียุคในประเทศนั้น และด ้วยความรัก และท่านยังบอกอีกว่า วัดพระแก ้วนี้เป็ นวัดพระพุทธเจ ้าโดยเฉพาะ พระสงฆ์อยู่ไม่ได ้ เพราะพระสงฆ์มาจากตระกูลต่างๆ ทั้งหยาบทั้งละเอียด ไม่รู ้พุทธอัธยาศัย พุทธธรรม เนียม เพราะพระพุทธเจ ้าเป็นทั้งกษัตริย์ และผู ้สุขุมาลชาติ เมื่อพระสงฆ์ไม่รู ้พุทธ ธรรมเนียม ถ ้าไปอยู่ก็มีแต่บาปกินหัว ผู้รู้ทั้งพุทธอัธยาศัยและพุทธธรรมเนียมแล้ว มีพระมหากษัตริย์องค์เดียว เท่านั้น ครั้งพุทธกาลก็มีพระเจ้าพิมพิสารเท่านั้นทรงรู้ แต่จอมไทย คือ พระมหากษัตริย์ทรง รู้มาแล ้ว ได ้ทรงสร ้างวัดถวายจําเพาะพระแก ้วเท่านั้น พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์เป็ นหน่อเนื้อพุทธางกูร คือ จะ ได้ตรัสรู้เป็ นพระพุทธเจ้าในกาลข้างหน้า ต่างแต่วาสนาบารมีมากน้อย ต่างกันเท่านั้น ท่านจึงทรงรู้พุทธอัธยาศัยเป็ นตัวแทนพระพุทธเจ้า ผู้ใดย่างกรายเข้าสู่วัดพระแก้วเป็ นบุญทุกขณะที่อยู่ในบริเวณ วัด แม ้แต่ชาวต่างชาติ มีโอกาสเข ้าไปในบริเวณวัดพระแก ้ว จะด ้วยศรัทธาหรือไม่ก็ตาม ก็ได ้ เข ้ามาสู่วงศ์พระพุทธศาสนาโดยปริยาย หรือจะบังเอิญก็แล ้วแต่ สามารถเป็นนิสัยให ้เข ้ามาได ้ ต่อไปจะสามารถมาเกิดเป็นคนไทย สืบต่อบุญบารมีสําเร็จมรรคผลได ้
  • 9. พบนาคราช เมื่อครั้งอยู่ที่เชียงใหม่ ท่านพระอาจารย์จําพรรษาอยู่บน เขากับพวกมูเซอ มีพระมหาทองสุกอยู่เป็นเพื่อน ใกล ้ที่พักเป็นลํา ธาร มีนํ้าไหลตลอดปี อาศัยนํ้าที่นั้นใช ้อุปโภคและบริโภค มีนาคราช ตนหนึ่ง ชื่อว่า สุวรรณนาคราช อาศัยอยู่ที่ลําธารนั้น พร ้อมด ้วย บริวาร นาคราชตนนี้เคยเป็นน้องชายท่านพระอาจารย์มั่นมาหลาย ภพหลายชาติ ด ้วยความสับสนแห่งภพจึงมาเกิดเป็นนาคราช เขารัก เคารพและให ้การอารักขาเป็นอย่างดี เวลาเดินจงกรมจะมาอารักขา ตลอด จนกว่าจะเลิกเดิน หลายวันต่อมา นาคนั้นหายไป เกิดฝนไม่ตกร ้อนอบอ ้าว ข ้าวไร่เริ่มขาดนํ้าไม่งอก งาม เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นประมาณ 15-16 วัน จึงได ้เห็นหน้านาคนั้น ท่านพระอาจารย์ถามว่า "หายไปไหน" นาคราชตอบ "ไปขัดตาทัพอยู่ปากทาง (ลําธาร) ลงสู่แม่นํ้าปิง" ท่านพระอาจารย์ "ทําไม" นาคราช "มีนาคอันธพาลตนหนึ่งอาศัยอยู่แถวนั้นจะเข้ามา เลยไม่มีโอกาสแต่ง ฝน มัวแต่ไปขัดตาทัพอยู่" ท่านพระอาจารย์ "ให้เขาเข้ามาเป็ นไร เพราะเป็ นนาคเหมือนกัน" นาคราช "ไม่ได้ เข้ามาแล้วมารังแกข่มเหงเบียดเบียนบริวาร" ท่านพระอาจารย์ "เป็ นไปได้หรือ" นาคราช "ก็เหมือนมนุษย์และสัตว์ทั่วๆ ไปนั่นแหละ พวกอันธพาลก็มักจะลํ้าแดน ของกันและกัน เราต้องต่อสู้ป้ องกันตัว" ท่านฯ จึงรู้ว่า อันนี้เป็นลักษณะของสัตว์ ผู้มีอวิชชาเป็นตัวเหตุ โลกจึงวุ่นวาย ช่วงเย็นฝนตกอย่างหนักจนถึงสว่าง นํ้าในลําธารเต็มไปหมด ข ้ามไปบิณฑบาต ไม่ได ้พระมหาทองสุกคิดได ้จึงเอาไม ้ไผ่มาปักเรียงกัน เอาเถาวัลย์ที่ชาวบ ้านนํามาทํากุฏิ มาผูกกับต ้นไม ้ฝั่งนี้ จับปลายข ้างหนึ่ง ลอยตัวข ้ามนํ้าไปผูกไว ้กับอีกต ้นฝั่งโน้น แล ้วกลับมา นําบริขารของท่านพระอาจารย์และตนเองข ้ามไปฝั่งโน้น แล ้วกลับมาพาท่านพระอาจารย์ ประคองไปตามราวไม ้ไผ่ ข ้ามฝั่งทั้งขาไปและขากลับ แปลกแต่จริง ขาไปผูกเถาวัลย์ ท่าน มหาจับไปตามราว และขากลับลอยคอไป พอตอนนําท่านพระอาจารย์ไปและกลับ ปรากฏ ว่าเหมือนเดินเหยียบไปบนแผ่นหิน มีนํ้าประมาณแค่เข่าเท่านั้น ท่านมหาทองสุกเล่าว่า "เราไม่ได้คิดอะไรมาก คิดแต่ความปลอดภ ัยเท่านั้น" พระมหาทองสุก สุจิตฺโต
  • 10. ตกตอนเย็น เมื่อเห็นนาคราชมาอารักขา ท่านอาจารย์ถามว่า "ทําไมให้ฝนตก มากนัก" นาคราชว่า "ห้ามเขาไม่ฟัง เพราะละเลยมานาน" ท่านอาจารย์ว่า "ทําให้เราลําบาก" นาคราช "ท่านก็เดินบนหลังข้าพเจ้าไปสบายอยู่นี่" ท่านฯ ก็บอกว่า "เราก็ไม่ว่าพวกท่านดอก บ่นไปเฉยๆ อย่างนั้นล่ะ" การถ่ายรูปท่านพระอาจารย์มั่น รูปท่านพระอาจารย์ที่เราเห็นนั้น จะเป็นรูปที่ท่าน ตั้งใจให ้ถ่ายทั้งหมด ถ ้าท่านไม่ให ้ก็ไม่มีใครถ่ายติด นี่เป็น เรื่องจริง มีอยู่ครั้งหนึ่ง ขุนศรีปทุมวงศ์ มาอุปัฏฐากท่านพระ อาจารย์ เที่ยวไปฟังเทศน์ไปอุปการะด ้วยปัจจัย 4 เมื่อท่านฯ อาพาธ ขุนศรีฯ ก็ส่งหมอไป หมอฉีดยาให ้ท่าน 2 เข็ม และ ให ้ยาไว ้ฉันด ้วย หมอของขุนศรีฯ พักอยู่ที่นั่นถึง 3วัน อาการ ดีขึ้น ท่านก็บอกว่า "พอแล้วนะ ไม่ต้องมาฉีดอีก อาการ หายแล้ว" พอขึ้นไปครั้งที่สอง หมอเอาช่างถ่ายภาพไปด ้วย กราบนมัสการท่านว่า "พวกกระผมขออนุญาตถ่ายภาพท่าน อาจารย์ไว้เป็ นที่เคารพบูชา" ท่านฯ ว่า "ไม่ได้ดอกโยมหมอ อาตมาไม่ให้ เพราะโยมหมอถ่ายภาพของอาตมาไป เพื่อจะทําการซื้อขาย หาอยู่หากิน กลัวโยมจะเป็ น บาป อาตมาไม่ให้" เขาก็กราบอ ้อนวอน ท่านฯ บอกว่า "เราเป็ นคน รู้จักภาษา ไม่ให้ ไม่ให้ เข้าใจ ไหมล่ะ" เขาก็เลยเลิกไม่อ ้อนวอนอีก พอเช ้ามา ท่านไปบิณฑบาต เขาก็ไปตั้งกล ้องในที่ลับ กล ้องขาหยั่งสามขา ถ่าย เสร็จก็เอาม ้วนนี้ออกไป หลังจากท่านบิณฑบาต ท่านนั่งให ้พร ถ่ายม ้วนที่สองไปอีก มาม ้วน ที่สาม ม ้วนที่สี่ จนสี่ม ้วนแล ้วก็ไปอีก นี่ครั้งที่หนึ่ง ครั้งที่สองเอาอีกสี่ท่า ครั้งที่สามเอาอีกสี่ ท่า กลับไปล ้างอยู่ที่พังโคน ไม่มีอะไรติดเลย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
  • 11. สิ่งที่จะปรากฏไปแล ้วอุจาดตา ท่านเจ็บป่ วย ท่านล ้มหายตายจากก็ดี มารยาท ของความล ้มหายตายจากก็ถ่ายไม่ติด (ขณะที่หลวงปู่ มั่นกําลังจะมรณภาพและหลัง มรณภาพ มีภิกษุบางรูปใช ้กล ้องถ่ายภาพท่านไว ้แต่ไม่ติดเลยสักรูป -ภิเนษ กรมณ์) ทําไมท่านจึงไม่ให ้ติด เพราะว่าการเห็นรูปภาพเช่นนั้น จิตของบุคคลผู้ที่เห็นอาจจะ เป็นกุศลหรืออกุศล และเพื่อรักษาจิตผู้พบเห็น ไม่ให ้เป็นอกุศล ท่านจึงอธิษฐานไว ้ไม่ให ้ติด อย่างรูปยืนที่เราเห็นนั้น คงจะเป็นรูปที่ท่านต ้องการให ้ถ่าย จึงห่มให ้เป็น กิจลักษณะ คล ้ายกําลังเดินจงกรม ปกติเวลาท่านเดินจงกรม ถ ้าเป็นฤดูหนาว ก็จะคลุมผ้า กันหนาว ถ ้าเป็นฤดูร ้อน ท่านก็จะใส่แต่ผ้าอังสะ ทําแบบสบายๆ จังหวะในการเดินก็ปกติ ไม่ เร็ว ไม่ช ้า ให ้เป็นปกติ ก ้าวปกติก ้าวขนาดไหน ก็ให ้ก ้าวขนาดนั้นพอประชิดทางจงกรม จะ หมุนกลับจากซ ้ายไปขวา ทิศที่จะเดินจงกรม มีอยู่ 2 ทิศ คือ ตะวันตกกับตะวันออก หรือ อีสานกับหรดี (คือ ตะวันออกเฉียงเหนือกับตะวันตกเฉียงใต ้-ภิเนษกรมณ์) นอกนั้นเดินขวาง ตะวัน ถ ้าใครทํา ท่านฯ จะดุ ท่านว่า มันไม่ถูก เดินไปจนตาย จะให ้จิตรวม มันก็ไม่รวมหรอก พยากรณ์อายุ เรื่องการต่ออายุจาก 60 ปี มาเป็น 80 ปี ท่าน (พระอาจารย์มั่น-ภิเนษ กรมณ์) ได ้เล่าไว ้หลายสถานที่ หลายโอกาส หลายวาระ ปีนั้นท่านจําพรรษาที่อําเภอพร ้าว จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ที่ราบไม่ใช่ภูเขา กับพระมหาทองสุก สุจิตโต ปีนั้นพอเริ่มเข ้าพรรษา ท่านมีอาการเจ็บป่ วย พระผู้พยาบาลก็พระมหาทองสุกนั้นล่ะ ท่านมีความรู้ทางยาด ้วย ท่าน พระอาจารย์กําหนดรู้แล ้วว่า ท่านถึงอายุขัย จะสิ้นชีพปีนี้แน่ แต่มีข ้อแม ้ว่า ถ ้าท่านมีอิทธิ บาทอันเจริญดีแล ้ว สามารถอยู่ต่อไปได ้อีก 20 ปี เป็น 80 ปี เท่าพระพุทธเจ้า ท่านจึงมา พิจารณาดูว่า อยู่กับตายอย่างไหนมีค่ามาก รู้ว่าอยู่มีค่ามาก เพราะสานุศิษย์ทั้งคฤหัสถ์และ บรรพชิตหวังเฉพาะให ้ท่านอยู่ แต่คําว่าอิทธิบาทอันเจริญดีแล ้ว เจริญขึ้นขั้นไหน อย่างไร ธรรมทั้งหลายที่ปรากฏแล ้ว ทั้งโลกิยธรรมและโลกุตรธรรม นํามาพิจารณา ก็ไม่ขัดข ้อง ไม่ สงสัย แต่ก็ยังไม่ได ้ความ อาการป่ วยจะดีขึ้นก็ไม่ใช่ จะหนักก็ไม่เชิง แต่เที่ยวบิณฑบาตได ้ ทุกวัน อาการที่สําคัญ คือ คอมองซ ้ายมองขวายาก เดือนที่ 2 ผ่านไป อาการดีขึ้น และได ้ ความรู้เกิดขึ้น ซึ่งไม่เคยได ้ยินได ้ฟังว่า นา�ฺญตฺตร โพชฺฌาตปสา นา�ฺญตตร ปฏินิสฺสคฺคา นา�ฺญตฺตร อินฺทริยสํวรา แปลได ้ความว่า อิทธิบาท 4 อันอบรมดีแล้ว ก็คือ การพิจารณา โพชฌงค์ 7 นี้เอง ท่านฯ อธิบายว่า เจริญให ้มาก ทําให ้มาก ก็เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ พร ้อมความดับสนิท (หมายถึงอวัยวะที่ชํารุดในร่างกาย แล ้วเปลี่ยนอะไหล่ใหม่ด ้วยฌาน)
  • 12. แล ้วท่านยังอุปมาเปรียบเทียบว่า เมื่อพระมหาโมคคัลลาน์และพระมหากัสสปะได ้ ฟังพระดํารัสนี้ ก็หายจากอาพาธ แม ้ในกาลบางคราวพระพุทธองค์ก็ยังให ้พระสาวกสวด ถวาย แต่คําว่า ผู้มีอิทธิบาท 4 อันเจริญดีแล้ว ขอเล่าเท่าที่จําได ้ ท่านฯ ว่า "เราพิจารณาปุพพภาคปฏิปทา ตั้งแต่จิตเรารวมเป็ นสมาธิโดย ลําดับ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน แล้วเข้าอรูปฌานต่อเป็ นอากาสาฯ ลฯ จนถึง เนวฺส�ฺญานาส�ฺญายตน หน่อยหนึ่งก็ไม่มีแล้ว ถอยจิต ออกมาอยู่ในส�ฺญาเวทยิตฺนิโรธ อุปมาเหมือนหนทาง 3 แพร่ง ท่านว่า จิตเราอยู่ในท่ามกลางทาง 3 แพร่ง แพร่งหนึ่งไปอรูปพรหมโลก แพร่ง หนึ่งไปรูปพรหมโลก คือ จตุตถฌาน อีกแพร่งหนึ่งเข้าสู่พระนิพพาน จิต อยู่ขั้นนี้ และเราได้อธิษฐานว่า เราจะมีชีวิตอยู่ต่อไป แล้วก็ถอยจิตออก จากทาง 3 แพร่งนั้น มาพักที่จตุตถฌาน จะพักนานเท่าไรก็แล้วแต่ พอมี กําลังแล้วจิตจะถอยออกสู่ ตติยฯ ทุติยฯ พอมาถึงปฐมฌาน ก็อธิษฐานรู้ ว่า เราจะอยู่ไปอีกเท่านั้นปี เท่านี้ปี " กว่าจะมาถึงขั้นนี้ ก็เป็นเวลาเดือนสุดท ้ายแห่งการจําพรรษาแล ้ว ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ผู้ที่มีอิทธิบาทอ ันเจริญดี แล้ว สามารถดํารงชีวิตอยู่ได้เป็ นกัปป์ หรือเกินกว่า เป็นความจริง ท่านฯ ว่า ท ้าวสักกะแก่กลายเป็นท ้าวสักกะหนุ่มก็ด ้วยอิทธิบาทนี้ แต่ท ้าวสักกะ ยังมีกิเลส ไม่ได ้ฌานด ้วยตัวเอง แต่ด ้วยพระพุทธานุภาพ ทรงนํากระแสพระทัยของท ้าว สักกะ ให ้ผ่านขั้นตอนจนเป็นอิทธิบาทอันเจริญดีแล ้ว ที่ถํ้าอินทสาร ท ้าวสักกะแก่จึงเป็นท ้าว สักกะหนุ่มได ้ด ้วยพระพุทธานุภาพดังนี้ อัฐบริขารในอาคารพิพิธภัณฑ์ เราทราบกันมาแล ้วว่า ท่านพระ อาจารย์มั่นทรงผ้า 3 ผืนเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุล เป็นวัตร แต่ 3 ปีสุดท ้าย ท่านทรงผ้าคหปติจีวร โดยการนํามาทอดกฐินของ นายวัน นางทองสุก คมนามูล ชาวนครราชสีมา นําสนับสนุนโดยพระ อาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม ศิษย์องค์สําคัญรูป หนึ่งของท่าน แต่ท่านพระอาจารย์ได ้รับเป็น ผ้าป่ าทั้งหมด อัฐบริขารในอาคารพิพิธภัณฑ์ (อยู่ที่วัดป่ าสุทธาวาส สกลนคร-ภิเนษ กรมณ์) ที่ท่านทั้งหลายเห็นนั้น เป็นผ้าคหปติจีวรปีที่ 2 ที่ท่านทรง ผู้เล่า (หลวงตาทองคํา-ภิ เนษกรมณ์) ได ้เก็บรักษาไว ้ ส่วนผ้าคหปติจีวรปีสุดท ้าย ห่มถวายไปพร ้อมกับร่างของท่าน อัฐบริขารในอาคารพิพิธภัณฑ์
  • 13. ส่วนบาตรใบแท ้ พระอาจารย์มหาทองสุก ขอถวายพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุ โล) ส่วนใบที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ เป็นบาตรกฐินปีสุดท ้าย ซึ่งท่านพระอาจารย์ไม่ได ้ใช ้เพราะ ท่านอาพาธหนักแล ้ว (ข ้อนี้ตรงกับความเห็นของหลวงปู่ หล ้า เขมปัตโต ดังที่ ปรากฏอยู่ในหนังสือประวัติหลวงปู่ หล ้า ซึ่งท่านได ้กล่าวว่า บาตรในพิพิธภัณฑ์ ไม่ใช่บาตรใบจริง ที่ท่านพระอาจารย์มั่นเคยใช ้-ภิเนษกรมณ์) หลังจากเก็บรวบรวมอัฐบริขารเรียบร ้อยแล ้ว ผู้เล่าเลยสั่งต่อตู้เงินไม่พอ ได ้คุณ วิเศษ ช่วยจนสําเร็จเรียบร ้อย แล ้วก็นํามาตั้งไว ้ใกล ้หีบศพท่าน ท่านพระอาจารย์ เป็นผู้เคร่งในเรื่องบริขาร มักน้อยจริงๆ บริขารแท ้จริงให ้2 คน ถือขึ้นไปก็หมด ที่เห็นอยู่ในพิพิธภัณฑ์นั้น คือ อัฐบริขารที่สานุศิษย์และบุคคลผู้เลื่อมใส ได ้รับไปจากท่าน พอมีอาคารพิพิธภัณฑ์เกิดขึ้น ท่านเหล่านั้นได ้นํามามอบให ้เพื่อให ้ศา สนิกชนและอนุชนรุ่นหลังได ้ศึกษา ผีเฝ้ าหวงกระดูก เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2490 ขณะที่ผู้เล่าอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่นที่ วัดป่ าบ ้านหนองผือ วันหนึ่งนายฟอง ชินบุตร โยมผู้นี้มาวัดประจํา เธอได ้แบกไห กระเทียมชนิดปากบาน มีฝาครอบ ขนาดใหญ่เกือบเท่าขวดโหล ข ้างในบรรจุกระดูกนํามา ถวายท่านพระอาจารย์ โยมฟองเล่าว่า เจ้าของไหเขาให ้นํามาถวาย เป็นไหใส่กระดูกคน ดูเหมือนจะเป็น กระดูกเด็ก แต่กระดูกนั้นนําไปฝังดินแล ้ว ปากไหบิ่นเพราะถูกผานไถขูดเอา โยมฟองได ้เล่า ถึงเหตุที่ได ้ไหนี้มาว่า นายกู่ พิมพบุตร ผู้เป็นเจ้าของนา ตั้งใจจะไปไถนาตอนเช ้าตรู่ ตื่นขึ้นมาเห็นยัง มืดอยู่ จึงนอนต่อ พอเคลิ้มหลับไปก็ฝันเห็นว่า มีชายคนหนึ่งเดินเข ้ามาหา บอกว่า "ให้ไปเอาไหกระดูก 2 ใบ ไปถวายท่านพระอาจารย์มั่นให้ด้วย" นายกู่ถามว่า "ไหอยู่ที่ไหน" ชายคนนั้นตอบว่า "ไถนาไปสัก 3 รอบก็จะเห็น" ถามว่า "ชื่ออะไร" ตอบว่า "ชื่อตาเชียงจวง มาเฝ้ ากระดูกลูกอยู่ที่นี่ได้ 500 ปีแล้ว วันหนึ่งได้ยิน เสียงท่านพระอาจารย์มั่นเทศน์แว่วๆ มาในเวลากลางคืนว่า เป็ นหมามานั่งเฝ้ าหวงกระดูก แล้วก็กัดกัน ส่วนเนื้อลํ่าๆ อร่อยๆ มนุษย์เอาไปกินหมดแล้ว มัวแต่มานั่งเฝ้ าห่วงเฝ้ าหวง กระดูกตนเอง กระดูกลูกเมีย ตายแล้วไปเป็ นผีเปรต ต้องมานั่งเฝ้ ากระดูกถึง 500 ปีแล้ว จึง ได้สติระลึกได้ ทั้งๆ ที่อดๆ อยากๆ ผอมโซ ก็ยังพอใจเฝ้ าหวง เฝ้ าห่วงกระดูกลูกเมียอยู่ กว่า จะรู้ตัวก็เสียเวลาไป 500 ปีแล้ว"
  • 14. นี่แหละ เพราะความรัก ความห่วงหาอาลัย เป็ นเหตุพาให้ไปเกิด เป็ นผีเป็ นเปรต เฝ้ าสิ่งที่รักและอาลัย จนลืมวันลืมเวลา
  • 15. เกร็ดประวัติ และ ปกิณกธรรมของหลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต ๒ จากหนังสือ "รําลึกวันวาน" หลวงตาทองคํา จารุวัณโณ โพสท์ในลานธรรมเสวนา หมวดบันเทิงธรรม กระทู้ 19153 โดย: ภิเนษกรมณ์ 08 มี.ค. 49 ตอนที่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ เทศน์ซํ้าเฒ่า ลักษณะเสียงของท่าน (พระอาจารย์มั่น-ภิเนษกรมณ์) ขณะเทศน์อบรมพระเณร นั้น จะทุ้มก็ไม่ใช่ จะแหลมก็ไม่เชิง อยู่ในระหว่างกลางทุ้มกับแหลม เสียงดังฟังชัด เสียง กังวาน เสียงชัดเจน ไม่มีแหบ ไม่มีเครือ ชั่วโมงแรกนะไม่เท่าไร ธรรมดาๆ 1 ชั่วโมงผ่านไป เสียงจะดังขึ้น 2 ชั่วโมงผ่านไป เสียงจะดังขึ้นอีก ถ ้าติดต่อกัน 3-4 ชั่วโมงแล ้วเหมือนกับติด ไมค์ ปกติท่านจะเทศน์ 2 ชั่วโมง เทศน์กรณีพิเศษ เช่น เดือน 3 เพ็ญ เดือน 6 เพ็ญ วัน เข ้าพรรษา ออกพรรษา อย่างน้อยก็ประมาณ 4 ชั่วโมงถึง 6 ชั่วโมง พระอาจารย์เทสก์เคยเล่าให ้ฟังว่า สมัยท่านพระอาจารย์มั่นอยู่ที่เชียงใหม่ เทศน์ ที่วัดเจดีย์หลวง เทศน์ตั้งแต่ 1 ทุ่มถึง 11 นาฬิกาวันใหม่ ลงจากธรรมาสน์ ท่านจึงจะมานั่ง ฉันจังหัน นั่นเป็นกี่ชั่วโมง ตื่นเช ้าขึ้นมาท่านยังเทศน์อยู่ เสียงมันดัง ทีนี้พวกข ้าราชการ แม่บ ้านหิ้วตะกร ้าไปตลาดตอนเช ้า พอได ้ยินเสียงท่านเทศน์ คิดว่าพระทะเลาะกัน พากันเข ้า ไป ก็เห็นท่านพระอาจารย์มั่นเทศน์ เลยอยู่ฟังเทศน์ ลืมว่าจะไปตลาด และต ้องกลับไป ทํากับข ้าวให ้ลูกผัวกิน ฝ่ ายลูกผัวตามมาเห็นอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง กําลังฟังเทศน์อยู่ ก็เลย บอกว่าจะไปจ่ายตลาดเอง แล ้วก็จะเลยไปทํางาน ผู้ที่จะไปขายของก็เหมือนกัน ผ่านมาพอ ได ้ยินเสียง คิดว่าพระทะเลาะกัน ก็พากันเข ้าไป ไม่ต ้องขายของ วางตะกร ้าแล ้วก็ฟังเทศน์ ต่อ จนกระทั่งท่านเทศน์จบจึงไป พระอาจารย์เทสก์พูดให ้ฟังอย่างนี้ ท่านเทศน์นานที่สุด คือ เทศน์ปีสุดท้าย เป็ นวันมาฆบูชา หลังจากเวียนเทียนเสร็จ แล ้ว ท่านก็เริ่มเทศน์ มีชาวบ ้านหนองผือมานั่งฟังอยู่ข ้างล่าง มีทั้งผู้หญิงผู้ชาย ลูกเล็กเด็ก แดงอุ้มนอนอยู่ที่ตัก เด็กก็ไม่ร ้อง ปรากฏว่ามีคนอุ้มเด็กกลับไปแค่ 3 คน นอกนั้นอยู่จนรุ่ง ถึงจะกลับบ ้าน ท่านฯ เทศน์อยู่ ตั้งแต่ 1 ทุ่มจนถึงเช ้า อันนี้เป็นความจําของผู้เล่า ท่านพูดว่า เราจะเทศน์แล ้วแหละ เทศน์ซํ้าเฒ่านะ ต่อจากนี้ไปจะไม่ได้เทศน์นาน อย่างนี้อีกแล้ว รู้สึกว่าจะเป็นวันเพ็ญเดือน 3 พอตกเดือน 5 ท่านก็เริ่มป่ วย มีอาการไอ และ ป่ วยมาเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงเดือนอ ้าย เป็นเวลา 9 เดือน (ท่านพระอาจารย์มั่นมรณภาพ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2492 -ภิเนษกรมณ์)
  • 16. ปกติท่านจะเทศน์ตามเหตุการณ์ในพุทธประวัติ ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรม พระยาวชิรญาณวโรรสทรงรจนา ถ ้าเพ็ญเดือน 6 จะปรารภถึงเรื่องประสูติ ตรัสรู้ และ ปรินิพพาน ถ ้าเพ็ญเดือน 3 จะปรารภเรื่อง การแสดงโอวาทปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์ 1,250 รูป ที่พระเวฬุวัน ตลอดคืนจนสว่าง ทําไมจะมากมายก่ายกองขนาดนั้น ก็เพราะท่านไม่ได ้เล่าเป็นวิชาการ ท่านเล่าให ้ ละเอียดไปกว่านั้นอีก เรื่องก็เลยยืดยาวไป เวลาท่านเทศน์จะลืมตา หมากไม่เคี้ยว บุหรี่ไม่สูบ นํ้าไม่ดื่ม ท่านจะเทศน์อย่าง เดียว พระเณรก็ลุกหนีไม่ได ้ไม่มีใครลุกหนีเลย ไปปัสสาวะก็ไม่ไป จะไอจะจามก็ไม่มี จะ บ้วนนํ้าลายก็ไม่มี จะนิ่งเงียบจนเทศน์จบ การต้อนรับแขกเทวา เรื่องนี้เกิดขึ้นประมาณกลางฤดูหนาวของปี พ.ศ.2490 ในคืนหนึ่ง เวลา ประมาณ 1 ทุ่มถึง 2 ทุ่ม เป็นเวลาที่ท่านพระอาจารย์กําลังให ้โอวาทแก่สานุศิษย์ มีทั้งเก่า และใหม่ ขณะให ้โอวาทอยู่ ท่านหยุดไปครู่หนึ่ง กลั้นใจอึดหนึ่ง ก ้มหน้านิดๆ พอเงยหน้า ขึ้นมาก็โบกมือ บอกว่า "เลิกกัน" ปกติแบบนี้มีไม่บ่อยนัก ศิษย์ก็งง นั่งเฉยอยู่ ท่านยํ้าอีก "บอกเลิกกัน ไม่รู้ภาษาหรือ" ไม่มีใครคิดอะไร บอกเลิกก็เลิก ท่านฯ สั่งผู้เล่าเชิงบังคับให ้รีบเก็บข ้าวของเข ้า ห ้อง เสร็จแล ้วให ้กลับกุฏิ มีภิกษุบางรูปเฉลียวใจไม่ยอมนอนพัก รอที่กุฏิของตนพอสมควร แล ้ว ย ้อนกลับมามองที่กุฏิของท่านพระอาจารย์ เห็นกุฏิของท่านสว่างไสวไปหมด คิดว่าไฟ ไหม ้กุฏิ แต่ดูไปแล ้วไม่ใช่แสงไฟ เป็นแสงใสนวลๆ คล ้ายปุยสําลี แต่ใส ดูตั้งนานไม่มีอะไร เกิดขึ้น ก็เลยกลับกุฏิ รุ่งเช ้าขึ้นมา ท่านลุกขึ้นกระทําสรีรกิจตามปกติ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ตกคํ่าถึง เวลาให ้โอวาท วันนั้นท่านฯ แสดงเรื่อง ทุกกะ คือ หมวด 2 ว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ให ้ชื่อว่า โลกปาลธรรม ธรรมอันคุ้มครองโลก วันนั้นดูท่าน อธิบายเรื่องนี้เต็มที่ถึง 2 ชั่วโมงเต็ม มีเหตุผลอุปมาอุปไมย โดยยกเอา ท่านพระมหากัสส ปะเป็นอุทาหรณ์ ที่พระพุทธเจ้าประทานอุปสมทแก่พระมหากัปปะเป็นพิเศษที่ว่า ดูก่อน กัสสปะ เธอจงเข ้าไปตั้งความละอายและความเกรงกลัว (เคารพ) ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้ง เก่าและใหม่ เป็นตัวอย่าง ยกมาเป็นนิทัสสนะอุทาหรณ์ ตอนสุดท ้าย ท่านแสดงอานิสงส์ว่า ผู้ตั้งอยู่ในหิริและโอตตัปปะ เป็นที่รักของมนุษย์ เทพ พรหม ทั้งหลาย และทําให ้มีอายุยืน ด ้วย เหมือนท่านพระมหากัสสปะ พอได ้เวลาท่านก็หยุดพัก
  • 17. คืนนั้นผู้เข ้าเวร มีผู้เล่า ท่านวัน (พระอาจารย์วัน อุตตโม) ท่านหล ้า (หลวงปู่ หล ้า เขมปัตโต) ท่านเลยเมตตาเล่าเพิ่มเติมให ้แก่พวกเราฟังอีกว่า เมื่อคืนวานนี้พอเทศน์ให ้หมู่ ฟังไปหน่อยหนึ่ง มีเทพตนหนึ่ง ชื่อปัญจสิขะ มาบอกว่า "วันนี้จะมีเทพจากชั้นดาวดึงส์มาฟังธรรมจากท่าน ขอนิมนต์ ท่านเตรียมตัวรับแขกเทวา" พอกําหนดได ้ก็ไล่หมู่หนีทันที เพราะพวกนี้เขาจะมาตามกําหนด ถ ้าเลยกําหนด เขาจะไม่รอ ท่านว่า เทวาพวกนี้มีประมาณ 500,000 ตน เพิ่งจากมนุษย์โลก จากเมืองไทยไป เริ่มแต่ ท่านพระอาจารย์มาพักที่บ ้านหนองผือนี้ ผู้เล่าสงสัยว่า วัดป่ าบ ้านหนองผือก็แค่นี้ มีแต่ป่ า เทวดา 500,000 ตน จะอยู่ อย่างไร คนแค่ร ้อยสองร ้อยก็ไม่มีที่จะอยู่แล ้ว ท่านพูดว่า เทวดาพวกนี้กายเป็นทิพย์ ท่านยังพูดเป็นภาษาบาลีในธรรมบทว่า "อนฺตลิกฺเข" แปลด ้วยว่า ในห ้วงแห่งจักรวาล มีอากาศมีช่องว่างเป็นที่ซึ่งจะเห็นรูปทั้งหลาย ปรากฏว่ารูปแผ่นดิน ต ้นไม ้ ภูเขา ไม่มีทั้งสิ้น มีเทวดาเท่าไรบรรจุได ้หมด ไม่มีคําว่าเต็ม ท่านว่า ท่านพระอาจารย์กําหนดถามว่า "พวกท่านต้องฟังธรรมอะไร และมี วัตถุประสงค์อะไร" เขาตอบว่า "อยากฟังสุกฺกธมฺมสูตร มีวัตถุประสงค์ คือ เทพบาง พวกทําบุญน้อย ได้ฟังสุกฺกธมฺมสูตร จะได้เสวยทิพยสมบัตินานๆ " ท่านเฉลียวใจว่า อะไร คือ สุกฺกธมฺมสูตร "พระสูตรนี้มีน้อยองค์นักที่จะได ้แสดง ให ้เทพฟัง เว ้นพระสัพพัญ�ู และพระอัครสาวกเท่านั้น" พวกเทพว่า ท่านกําหนดพิจารณาก็ได ้ความปรากฏขึ้นว่า "หิริโอตฺตปฺปสมฺปนฺนา ฯ เปฯ สนฺโต สปฺปุริสา โลเก เทวธมฺมาติ วุจฺจเร" ท่านอุทานในใจว่า "อ๋อเทวธรรมนี้เอง คือ สุกฺกธมฺมสูตร ของเทวา" พอเริ่มจะอธิบาย ก็ได ้ยินเสียงแว่วมาว่า "เดี๋ยวก่อน ข้าพเจ้าจะเตือน พวกเทพพวกนี้ก่อน เพราะเขาไม่เคยมาฟัง ยังไม่รู้ธรรมเนียม" ท่านกําหนดเห็นพระนางสุชาดานั่งเป็นประธาน ส่วนเสียงที่ปรากฏนั้น เป็นเสียง ของท ้าวสักกะที่ดูแลอยู่เบื้องหลัง พอได ้เวลา ก็ได ้ยินเสียงแว่วมาอีกว่า "พร้อมแล้ว" ท่านฯ ก็เริ่มเทศน์อธิบาย ด ้วยการกําหนดจิตพิจารณาเนื้อหาสาระแห่งธรรม เพียงพอแล ้ว หากเทพเข ้าใจเขาจะให ้เสียงสาธุการ ถ ้าไม่เข ้าใจที่เราอธิบาย เขาจะไม่ยอม
  • 18. ต ้องว่ากันใหม่ สอนเทพสบาย ไม่ยากเหมือนสอนมนุษย์ มนุษย์ต ้องใช ้เสียงโวๆ เวๆ ลั่นไป หมด พูดมากก็เหนื่อย และสอนบ่อยปานนั้น ยังเข ้าใจยาก สอนเทพสบายกว่า ท่านว่าอย่าง นั้น กาลกฐิน ประมาณปี พ.ศ.2490 ยังอยู่ในพรรษา กํานันตําบลนาใน ได ้นําจดหมายของ นายอําเภอพรรณานิคมไปถวายท่านที่กุฏิ ผู้เล่าก็อยู่นั่น กราบเสร็จ กํานันก็นําจดหมายน้อม ถวาย ท่านยังไม่รับ ถามก่อนว่า "นั่นอะไร" กํานันกราบเรียนว่า "ใบจองกฐินของนายอําเภอพรรณานิคม ครับกระผม" ท่านโบกมือไม่รับและกล่าวว่า "อย่านํามาติดใส่วัดอาตมานะ กํานันอย่าขืนทํานะ กลับไปบอกนายอําเภอด้วยว่า นายอําเภอเอาอํานาจที่ไหน จากใคร มาห้ามไม่ให้คนมา ทําบุญที่นี้ อาตมาไม่รับ ใครอยากทําบุญก็มา ไม่มีใครห้าม จะมาจองไม่ให้คนมาทําบุญ ไม่ได้ ไปบอกนายอําเภอด้วย" กํานันนําความกลับไปชี้แจงให ้นายอําเภอฟัง นายอําเภอยอมรับผิด ให ้กราบเรียน พระอาจารย์ด ้วยว่า ท่านไม่มีเจตนาล่วงเกิน เพียงแต่เห็นคนทั้งหลายเขาทํากันอย่างนี้ ก็ทํา บ ้าง กํานันมากราบเรียนท่านว่า "นายอําเภอจะมาทําบุญดังที่ตั้งใจไว้ ใครจะมาอีกก็ ไม่ห้าม ครับกระผม" ท่านก็ยิ้มกล่าวว่า "นายอําเภอคนนี้ พูดจาเข้าใจง่าย ต่อไปจะได้เป็ นใหญ่เป็ นโต" สมจริงภายหลังปรากฏว่า ท่านได ้เป็นถึงอธิบดีกรมการปกครอง ปวารณาออกพรรษาแล ้ว กฐินกองต่างๆ ก็หลั่งไหลเข ้ามา ที่จําได ้บ ้านม่วงไข่ อําเภอพรรณานิคม กองที่1 กองที่ 2 ลืม กองที่ 3 เป็นบ ้านม่วงไข่ ผ้าขาวนํามา (จากอําเภอ พังโคน สกลนคร -ภิเนษกรมณ์) กองที่4 เป็นของนายอําเภอ ต่างก็พูดกันเป็นเสียงเดียวกัน ว่า ไปถวายกฐินท่านพระอาจารย์มั่น มีผู้มาถวายกฐินตลอดจนถึงเดือน 12 เพ็ญ ล ้วนแต่กองกฐินทั้งนั้น บรรดา พระสงฆ์สามเณร และผ้าขาว ทําการเย็บตัดย ้อมจีวร ผลัดเปลี่ยนเพียงพอกันทุกรูป จน พรรษาสุดท ้ายก็เป็นอย่างนี้ตลอดมา (พระอาจารย์มั่นไม่รับเป็นผ้ากฐิน แต่รับเป็นผ้าป่ าบังสุกุลทั้งหมด และทําอย่างนี้ ทุกปีจนท่านมรณภาพ ท่านไม่เคยรับกฐินและกรานกฐินเลย -ภิเนษกรมณ์)
  • 19. ปีนั้นมีกองกฐินพิเศษอยู่หนึ่งกอง อันเป็นกองที่ 5 เจ้าของกฐิน ชื่อ เถ ้าแก่ไฮ มี เชื้อชาติจีน ค ้าขายอยู่บ ้านคางฮุง ตําบลพอกน้อย อําเภอพรรณานิคม ทุกคนรู้จักดี โดยไม่มี ใครทราบล่วงหน้ามาก่อน เธอนําขบวนเกวียนบรรทุกเครื่องบริขารมาพักอยู่นอกบ ้าน ตื่นเช ้า พาคณะมาถวายบิณฑบาตเสร็จแล ้ว จึงขอนิมนต์ท่านพระอาจารย์รับกฐิน ท่านฯ เตรียมตัวลงศาลาพร ้อมพระสงฆ์ แต่ลงไม่หมดทุกองค์ เพราะบางองค์ไม่รู้ ท่านก็ไม่ว่า พิธีกรนํารับศีล ถวายทานเสร็จ พิธีกรถามเถ ้าแก่ว่า "จะฟังเทศน์ไหม" เถ ้าแก่ตอบ "ฟังทําไมเทศน์ ให้ทานแล้วได้บุญแล้ว เสร็จแล้วก็จะลากลับ" พระอาจารย์ยิ้มแล ้วกล่าวว่า "ถูกต้องแล้วๆ โยมได้บุญมาตั้งแต่คิดจะทําแล้ว เพราะประกอบด้วยปัญญา" เถ ้าแก่ไฮ ยังพูดอีกว่า "ถ้าขอฟังเทศน์ท่าน เราไม่ให้ทานจริง เพราะขอสิ่งตอบ แทน ได้บุญไม่เต็ม" ท่านอาจารย์ยํ้าอีกว่า "ถูกต้องๆ เถ้าแก่พูดถูกต้อง" แค่นั้น เถ ้าแก่ไฮก็กราบลา และลาชาวบ ้านทุกคนเดินทางกลับ ตั้งแต่วันนั้นมา ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่กุฏิหรือเที่ยวบิณฑบาต มักจะปรารภเรื่องเถ ้า แก่ไฮเสมอ ว่าเขาทําถูก หลายปีผ่านไป หากมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ท่านมักจะปรารภเรื่องเถ ้า แก่ไฮนี้เป็นตัวอย่าง อานุภาพแห่งฌาน วันหนึ่งฝนตกฟ้าผ่าต ้นพลวงใหญ่ (ไม ้กุง) ยํ่าลงมาตั้งแต่ยอดตลอดรากแก ้ว ราบเรียบไปเลย ต ้นพลวงใหญ่นั้นอยู่ใกล ้ๆ ศาลา แต่ฝนซาบ ้างแล ้ว ขณะนั้นสามเณรจันดัย กําลังถือกานํ้าร ้อนจะไปกุฏิท่านพระอาจารย์ ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 30 เมตร ไม่ได ้ยิน เสียง ไม่รู้สึกว่าฟ้าผ่า ผู้เล่าเตรียมลงจากกุฏิไปเห็นเข ้า จึงรู้ว่าฟ้าผ่า พระเณรในวัดประมาณ 10 รูป ไม่มีใครได ้ยินเสียง ส่วนท่านพระอาจารย์กําลังทําสมาธิ ท่านก็บอกว่าไม่ได ้ยินเสียง เมื่อพระทยอยกันขึ้นไป ท่านฯ ได ้ถามก่อนว่า "เห็นฟ้ าผ่าไม้กุงไหม" พระที่อยู่ทางอื่นก็ไม่เห็น ส่วนผู้เล่า พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ และพระอาจารย์ หลอด ปโมทิโต ได ้เห็น ท่านบอกว่า "ผ่าขณะสามเณรจันดัยเดินมาถึงพอดี" แต่สามเณรบอกว่า ได ้เห็นแต่ไม่ได ้ยิน
  • 20. ผู้เล่าคิดว่า ด ้วยอานุภาพแห่งฌานของท่าน เพราะช่วงนั้นท่านกําลังเข ้าฌานอยู่ พวกเราจึงไม่ได ้ยิน แต่ชาวบ ้านอยู่ในทุ่งนาห่างไกลออกไป กลับต ้องหมอบราบติดดิน เพราะกลัวเสียงซึ่งดังมาก เขาเล่ากันว่า ราวกับผ่าอยู่ใกล ้ๆ ทีเดียว (หมายเหตุ -เรื่องนี้เมื่อเทียบเคียงจากประวัติในส่วนอื่นๆ ตลอดจน บุคคลผู้ร่วมเหตุการณ์ เข ้าใจว่าน่าจะเกิดที่วัดป่ าวิสุทธิธรรม บ ้านโคก อ.โคก ศรีสุพรรณ จ.สกลนคร ประมาณ พ.ศ.2487 -ภิเนษกรมณ์) หนังสือในสํานักท่านพระอาจารย์มั่น ท่านพระอาจารย์คงจะมีเหตุผลกลใดสักอย่าง จึง ยอมรับนับถือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล ้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นกรณีพิเศษ แบบ แผนขนบธรรมเนียม บทสวดพระปริตรและปาฐะต่างๆ รวมทั้งพระ ราชนิพนธ์ พระนิพนธ์ของทั้งสองพระองค์นี้ ท่านจําได ้หมด ทั้ง บาลีทั้งแปล อธิบายสลับกับพระธรรมเทศนา ได ้อย่างละเอียด ลึกซึ้ง จะเป็นโมกขุปายคาถา และจตุรารักขกัมมัฏฐานก็ดี นับเป็น ธรรมเทศนาประจําทีเดียว รวมทั้งขนบธรรมเนียมต่างๆ ท่านฯ มัก อ ้างเสมอว่า "แบบพระจอมฯ แบบพระจอมฯ " ทํานองนี้ แล ด ้วยเหตุนี้ท่านจึงมีกฎบังคับว่า ผู้จะอยู่ศึกษากับท่านพระอาจารย์ทั้ง สอง (หมายถึงพระอาจารย์เสาร์และพระอาจารย์มั่น-ภิเนษกรมณ์) ต้องท่อง นวโกวาท 7 ตํานาน 12 ตํานาน และปาฏิโมกข์ให้ได้ อย่างช้าให้เวลา 3 ปี ถ้าไม่ได้ ไม่ให้ อยู่ร่วมสํานัก ส่วนหนังสืออ่านประกอบนั้น วินัยมุข เล่ม1, 2, 3 และพุทธประวัติ เล่ม 1, 2, 3 นอกจากนี้ห้ามอ่าน ถึงขนาดนั้น ท่านว่าหากได้อย่างว่า จะอยู่ในศาสนาก็พอจะรักษาตัวได้ ถึงจะไม่ได้ศึกษามาก ก็รักษาตนคุ้มแล้ว ตัวอย่างเช่น พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ เป็นพระมหานิกาย มาขอศึกษาข ้อ ปฏิบัติและขอญัตติกรรมเป็นพระธรรมยุต ท่านว่าให ้ท่องปาฏิโมกข์ให ้ได ้จึงจะญัตติให ้ท่าน อาจารย์กงมาอ่านหนังสือไม่ออก เพราะไม่ได ้เข ้าโรงเรียน จึงเรียนปาฏิโมกข์ปากต่อปาก คําต่อคํา และหัดอ่านพร ้อมกันไปด ้วย ใช ้เวลาถึง 3 ปีจึงสวดได ้และอ่านหนังสือออก จึง ได ้มาญัตติที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี โดยท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตป�ฺโญ) เป็นพระอุปัชฌาย์ รูปที่สอง คือ พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม ท่านท่องปาฏิโมกข์ 8 ปี จึงสวดได ้และ อีกรูปหนึ่งคือ พระอาจารย์คําพอง ติสโส ก็อ่านหนังสือไม่ออก เพราะไม่ได ้เข ้าเรียน แต่ ธรรมเทศนาของท่านไพเราะขนาดไหน ผู้เล่าเคยอยู่ด ้วยกันกับท่านที่วัดป่ าบ ้านหนองผือ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
  • 21. ท่านทั้ง 3 รูปนี้เป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่นซึ่งผู้เล่าขอถวายนามว่า "วีรบุรุษ" เหมือนครั้ง พุทธกาล พระจักขุบาลเป็นวีรบุรุษในยุคนั้น แม ้ในเรื่องมังสะ 10 อย่าง ท่านพระอาจารย์กล่าวว่า ทําไมพระพุทธเจ้าจึงทรง ห ้าม ท่านอธิบายให ้ฟังว่า เนื้อมนุษย์ไม่เป็นค่านิยม ผู้รู้ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต ้น ทรงติเตียน เพราะความเป็นมนุษย์มีค่ามาก เกิดกินกันขึ้น มหันตภัยก็เกิดขึ้นแก่โลกไม่ สิ้นสุด สัตว์นอกจากนี้เป็นอันตราย สมัยก่อนมีมาก พระออกธุดงค์บริโภคเนื้อสัตว์อันตราย เหล่านี้ กลิ่นของสัตว์จะออกจากร่างกายผู้บริโภค เช่น ฉันเนื้องู กลิ่นงูก็ออก งูได ้กลิ่นก็ เลื้อยมาหา นึกว่าพวกเดียวกัน พอมาถึงไม่ใช่พวกเดียวกัน ก็ฉกกัดเอา เป็นอันตรายถึงแก่ ชีวิต ตั้งใจมาเจริญสมณธรรม เลยไม่ได ้อะไรเพราะตายเสียก่อน พระพุทธเจ้าจึงทรงห ้าม ปุพเพนิวาสนุสสติญาณ เท่าที่ผู้เล่าได ้ฟังมา เกี่ยวกับการเกิดในชาติก่อนและ บุคคลที่เกี่ยวข ้อง ชาติหนึ่งนั้น ท่านพระอาจารย์เกิดในมณฑลยูน นาน ในตระกูลขายผ้าขาว มีน้องสาวคนหนึ่ง เคยสงเคราะห์ ช่วยเหลือกัน มาชาตินี้ คือ นางนุ่ม ชุวานนท์ คหบดีชาวสกลนคร ผู้สร ้างวัดป่ าสุทธาวาสให ้ และท่านก็ได ้สงเคราะห์ด ้วยธรรมเป็นที่ พอใจ ชาติหนึ่งเกิดที่โยนกประเทศ ปัจจุบัน คือ เมืองเชียงตุง ประเทศพม่า ในตระกูลช่างทําเสื่อลําแพน (เสื่อลําแพน คือ เสื่อปู พื้นทําด ้วยหวาย) ท่านพระอาจารย์เสาร์เป็นนายช่างใหญ่ องค์ ท่านเป็นผู้จัดการ ส่วนพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นคนเดินตลาด ชาติหนึ่งเกิดที่แคว ้นกุรุรัฐ ชมพูทวีป (ประเทศอินเดีย) ผู้ที่เกี่ยวข ้อง คือ เจ้าคุณอุ บาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นพี่ชาย คือ พระปทุมราชา ผู้ครองแคว ้นกุรุ ท่าน (พระอาจารย์มั่น) เป็นเสนาบดี พระอาจารย์เทสก์ เทสรํสี เป็นหลานหัวดื้อ ใครบอกไม่เชื่อ นอกจากท่าน พระบิดาจึงมอบให ้ท่านฯ ดูแล ได ้เฝ้าพระพุทธเจ้าเฉพาะพระพักตร์ และได ้ตั้ง ความปรารถนาขอเป็นพระพุทธเจ้าต่อหน้าพระพักตร์ ชาติหนึ่งเกิดที่ลังกาทวีป (ประเทศศรีลังกา) และบวชเป็นพระ ได ้เข ้าร่วม สังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 4 ซึ่งมีพระเป็นหมื่น พักเสนาสนะร่วมกัน สององค์บ ้าง สาม องค์บ ้าง ท่านว่าได ้อยู่เสนาสนะเดียวกับท่านวิริยังค์ (พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินธโร) เป็น เพื่อนกันมาจนบัดนี้ ท่านฯ ว่า พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
  • 22. จากอีสานสู่ภาคเหนือ เรื่องราวที่จะเล่าต่อไปนี้ ท่านพระอาจารย์เล่าเองบ ้าง พระอาจารย์เนียม โชติโก เล่าบ ้าง ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่า พอไปถึงวันแรกก็เจอเข ้าแล ้ว พักที่ริมป่ า การต ้อนรับ การจัดสถานที่จากชาวบ ้านอย่าหวัง มีแต่พื้นดินและร่มไม ้เท่านั้น เป็นสถานที่พัก เวลาเช ้า ไปบิณฑบาต ชาวบ ้านนั่งจับกลุ่มผิงไฟกัน พอเห็นท่าน ก็ถามว่า "ตุ๊เจ้ามาเอาหยัง" ดีแต่เขาพูดภาษาคําเมืองได ้ ท่านตอบว่า "ตูมากุมข้าว" เขาเอาข ้าวสารมาจะใส่บาตรให ้ ท่านบอก "ตูเอาข้าวสุก" จึงเอาข ้าวสุกมาใส่บาตรให ้ เขาถาม "กินกับหยัง" "สูกินหยัง ตูก็กินนั้น" เขาถาม "หมูสับสูกินก๊า" ตอบ "กิน" เขาเอาเนื้อหมูดิบมาให ้ ท่านบอก "ตูบ่มีไฟปิ้ง เอาสุก" เขาก็เอาเนื้อสุกมา เขาถาม "พริกเกลือ สูกินก๊า" เขาก็เอามาใส่บาตรให ้ ตอนขากลับ ชาวบ ้านตามมาหลายคน เขามาเห็นที่พัก เขาถาม "ตุ๊เจ้านอนบ้านบ่ ได้ก๊า" ตอบ "นอนได ้" "ตูจะเยียะบ้านให้ เอาก๊า" "เอา" "ตุ๊เจ้าเยียะบ่ได้ก๊า" "เยียะบ่ได้ เขาบอก "ตูเยียะบ่ถือ บอกเน้อ" (ท่านพระอาจารย์ว่า คํานี้เป็นคําปวารณา เราก็ใช ้เขาได ้ ตามพระวินัย) เขามาจัดที่พักจนเสร็จ และมาบอกรับใช ้ปวารณาทุกวัน