Ce diaporama a bien été signalé.
Le téléchargement de votre SlideShare est en cours. ×

ฮิตเลอร์กับการเลือกตั้งในเยอรมนี

Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Chargement dans…3
×

Consultez-les par la suite

1 sur 19 Publicité

Plus De Contenu Connexe

Plus par Soraj Hongladarom (20)

Publicité

ฮิตเลอร์กับการเลือกตั้งในเยอรมนี

  1. 1. ฮิตเลอร์กับการเลือกตั้งเยอรมนีฮิตเลอร์กับการเลือกตั้งเยอรมนี
  2. 2. ลำดับเหตุการณ์ลำดับเหตุการณ์ ● เยอรมนีก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๑ บิสมาร์ค การรวมชาติ มีจักรพรรดิเป็นประมุข มีการเลือกตั้ง รัฐสภา Reichstag แต่อำนาจสูงสุดอยู่ที่ จักรพรรดิ ความขัดแย้งกับบิสมาร์ค
  3. 3. การสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๑การสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ● เยอรมันเป็นฝ่ายแพ้ ● มีการปฏิวัติภายใน โดยพรรค SPD เป็นแกนนำ รัฐบาลใหม่เจรจาสงบ ศึก เยอรมันโดนเงื่อนไขหนักสาหัส ● ประชาชนส่วนใหญ่โกรธแค้น มีนักการเมืองฝ่ายขวาคอยบอกว่า “ชาว เยอรมันโดนแทงข้างหลัง” ● ก่อเชื้อความเติบโตของพรรคนาซี
  4. 4. สาธารณรัฐไวมาร์สาธารณรัฐไวมาร์ ● รัฐบาลใหม่ของเยอรมันก่อตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ที่เป็น ประชาธิปไตย เป็นสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ● แต่ภายในเต็มไปด้วยความวุ่นวาย พรรคการเมืองต่างๆใช้วิธีการ รุนแรงในการต่อสู้ ● เงื่อนไขของสนธิสัญญาแวร์ซายส์นำไปสู่ความไม่มีเสถียรภาพ
  5. 5. สาธารณรัฐไวมาร์สาธารณรัฐไวมาร์ ● นักการเมืองกระพือความเกลียดชังด้วยการประณามชาวยิวและนักการเมือง ฝ่ายซ้ายที่ถูกกล่าวหาว่า เข้าข้างสนธิสัญญา และ “แทงประชาชนข้างหลัง” ● ฮิตเลอร์ขึ้นมาเป็นผู้นำพรรค DAP (แรงงานเยอรมัน) แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น NSDAP (แรงงานสังคมชาตินิยมเยอรมัน – Nationalsozialistische Deutsche Arbeiterpartei) ● ฮิตเลอร์เป็นนักการเมืองที่มีพรสวรรค์ในการพูดชักจูงใจคนสูงมาก จับเอา ประเด็นที่โหมความรู้สึกคนมาเป็นประเด็นการเมือง
  6. 6. พรรคนาซีกับพรรคอื่นๆพรรคนาซีกับพรรคอื่นๆ ● บรรยากาศการแข่งขันทางการเมืองในเยอรมนี ยุคสาธารณรัฐไวมาร์ รุนแรงมาก แต่ละพรรคมีฝ่าย “รุนแรง” (เมืองไทยเรียกว่า “การ์ด”) เอาไว้ป้องกันตัวกับไประรานฝ่ายอื่น ● มีเรื่องกระทบกระทั้งถึงตายกันเสมอๆ ● ฝ่ายรุนแรงของพรรคนาซีเรียกว่า SA ของพรรคคอมมิวนิสต์เรียกว่า “Red Front” (แนวร่วมแดง) ของ SPD เรียกว่า “Free Corps” (กองพันเสรี)
  7. 7. ปัญหาเศรษฐกิจปัญหาเศรษฐกิจ ● ช่วงสาธารณรัฐไวมาร์เยอรมันประสบปัญหามากมาย ที่หนักมากๆ ได้แก่ปัญหาเงินเฟ้อ คนเยอรมันต้องหอบเงินใส่รถเข็นออกไปซื้อกาแฟ กิน ราคากาแฟตอนซื้ออยู่ที่ 50,000 มาร์คบนเมนู แต่ตอนกินเสร็จ แล้วอาจขึ้นไปเป็น 500,000 มาร์คได้ง่ายๆ ● ก่อนเกิดวิกฤตหนึ่งดอลลาร์สหรัฐแลกได้ 4 มาร์ค แต่ระหว่างเงินเฟ้อ ต้องเป็นหลายๆพันล้านมาร์ค ถึงจะได้มา 1 ดอลลาร์ ● เกิดจากภาระหนี้ตามสนธิสัญญาแวร์ซายส์
  8. 8. การเลือกตั้งการเลือกตั้ง ● ระบบเลือกตั้งของสาธารณรัฐไวมาร์เป็นแบบสัดส่วนทั้งหมด พรรคการเมืองเสนอรายชื่อคนจะเป็น สส. แล้วประชาชนเลือกพรรค พรรคได้จำนวน สส. ตามสัดส่วนคะแนนเสียงที่ได้ ● ทำให้เกิดพรรคเล็กพรรคน้อยเต็มไปหมด และก็เป็นเหตุหนึ่งให้พรรค นาซีก้าวขึ้นมาอยู่เวทีระดับชาติได้ ● พรรคฝ่ายขวาหลายๆพรรคหาเสียงด้วยการโจมตี รธน. ไวมาร์อย่าง โจ่งแจ้ง
  9. 9. พรรคคอมมิวนิสต์พรรคคอมมิวนิสต์ ● อีกหนึ่งหนึ่งที่อาจทำให้คนเริ่มหันมาสนใจพรรคนาซี ได้แก่การก่อตัวของพรรค คอมมิวนิสต์ (KPD) ● พรรคนี้รับนโยบายจากพรรคคอมฯโซเวียต ซึ่งบอกให้ต่อสู้กับพรรค SPD ● นอกจากนี้ก็ยังต่อสู้กับพรรคนาซีอย่างรุนแรง ผลัดกันยิงอีกฝ่ายตายหลายรอบ ● พรรคนาซีเอาสมาชิกที่โดนแนวร่วมแดงยิงตายชื่อ Horst Wessel มาเป็นตัวชูธงใน การต่อสู้ ● คนเยอรมันจำนวนมากกลัวพรรค KPD เพราะกลัวจะโดนสหภาพโซเวียตครอบงำ
  10. 10. วิธีการหาเสียงกับต่อสู้วิธีการหาเสียงกับต่อสู้ ● พรรคนาซีมี “อัจฉริยะ” ในการปลุกระดม ปั่นกระแส ปลุกจิตวิทยา กลุ่มชน ได้แก่โจเซฟ ก็อบเบล (Joseph Goebbels) ● ใช้เพลง ใช้การ์ดมาเดินตบเท้า มีธงสัญลักษณ์ ข้อความที่หาเสียง เข้าใจง่าย ตรงกับจุดอ่อนทางอารมณ์ของคนเยอรมันในสมัยนั้น ● ที่สำคัญคือมี “เสื้อน้ำตาล” หรือหน่วย SA เป็นฝ่ายรุนแรง คอย ก่อกวน ทำร้ายคู่แข่งทางการเมืองตลอด ● ทั้งพรรคนาซีกับพรรค KPD ใช้วิธีการเดียวกัน
  11. 11. ผลการเลือกตั้งผลการเลือกตั้ง ● พรรคนาซีถูกแบนไปหลายปีเนื่องจากไปพยายามก่อรัฐประหาร Beer Hall Putsch ทำให้ฮิตเลอร์ถูกขังคุก ● พอกลับมาลงสนามเลือกปี ค.ศ. 1928 พรรคได้สัดส่วนเพียง 3% พรรคที่ได้สัดส่วนมากที่สุดคือ SPD ได้ 30% พรรคฝ่ายขวา DNVP ได้ 14.2% พรรคคาธอลิค Center Party ได้ 12.1 พรรคคอมฯได้ 10.6%
  12. 12. ผลการเลือกตั้งผลการเลือกตั้ง 19301930 ● สองปีถัดมาสภาถูกยุบ เลือกตั้งใหม่ในปี 1930 พรรคนาซีกระโดดขึ้น มาเป็นอันดับสอง ได้สัดส่วน 18.25% พรรคอันดับหนึ่งยังเป็น SPD ได้ 24.5% พรรคคอมมิวนิสต์ได้อันดับสาม ที่ 13.13% ● การที่พรรคนิยมความรุนแรงได้รับเลือกมามากเป็นสัญญาณแสดง ว่าการเมืองเยอรมันมีความไม่ปกติเป็นอย่างมาก
  13. 13. ผลการเลือกตั้งผลการเลือกตั้ง 1932/11932/1 ● ผลพวงของวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้เยอรมนีเต็มไปด้วยความรุนแรง ทางการเมือง พรรคนาซีเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นพรรค สัดส่วนสูงสุดในสภา แต่ก็ยังไม่ได้เสียงข้างมากอยู่ดี พรรคอื่นๆทุก พรรคในสภาไม่ยอมร่วมงานกับพรรคนาซี ● ผลคือสภาไม่มีบทบาทในการเมืองอีกต่อไป เนื่องจากประธานาธิบดี สามารถออกกฤษฎีกาเพื่อปกครองประเทศได้โดยไม่ต้องพึ่งสภา
  14. 14. ผลการเลือกตั้งผลการเลือกตั้ง 1932/11932/1 ● พรรคนาซี 37.27% ● พรรค SPD 27.58% ● พรรค KPD 14.32% ● พรรค Center Party 12.44% ● ในระยะนี้ประธาธิบดี Paul Hindenburg มีอายุ 85 ปีแล้ว หลงๆลืมๆ ฟังแต่คนรอบข้าง Hindenburg แต่งตั้ง Franz von Papen เป็น นายก ซึ่งยุบสภาทันที
  15. 15. ผลการเลือกตั้งผลการเลือกตั้ง 1932/21932/2 ● การเลือกตั้งครั้งนี้พรรคนาซีได้สัดส่วนลดลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ยังเป็น พรรคสัดส่วนสูงสุดอยู่ ● พรรคนาซีได้ 33% พรรค SPD 20.4% พรรค KPD 16.86% พรรค Center Party 11.93% ● ในช่วงนี้มีแรงกดดันประธานาธิบดี Hindenburg ให้แต่งตั้งฮิตเลอร์ เป็นนายกฯ โดยมี von Papen กับนักธุรกิจอุตสาหกรรมจำนวนหนึ่ง เป็นแกนนำ พรรคนาซีจับมือกับพรรค DNVP ทำให้ได้สัดส่วน ประมาณ 41%
  16. 16. สรุปสรุป ● การก้าวเข้ามามีอำนาจของฮิตเลอร์และพรรคนาซีไม่ได้มาจากเสียงข้างมาก ● ฮิตเลอร์ไม่เคยตกลงร่วมมือทำงานในรัฐบาลผสมกับพรรคอื่น เงื่อนไขที่ฮิตเลอร์มีมาตลอด คือตนเองต้องเป็นนายกหรือผู้นำสูงสุดเท่านั้น ● การที่ฮิตเลอร์ขึ้นมาเป็นนายกได้ ก็ด้วยแรงสนับสนุนของฝ่ายขวา ที่ต้องการยืมมือฮิตเลอร์ มากำจัดพรรคฝ่ายซ้าย ● แต่พอฮิตเลอร์ขึ้นมามีอำนาจ ก็รวบอำนาจไว้แต่เพียงผู้เดียว จนเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ขึ้น ● ฮิตเลอร์มองกลไกทางกฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือสู่อำนาจเท่านั้น พอได้อำนาจก็โยนทิ้งไป

×