SlideShare a Scribd company logo
1 of 11
Download to read offline
บทที่ ๒
                                         ศึกษาเอกสาร

ความหมายของการอ่าน
            สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (๒๕๕๐ ) การอ่าน คือ การเข้าใจ
ในถ้อยคา ประโยค ข้อความ และเรื่องราวที่อ่าน โดยสามารถอธิบายความหมายของคา เล่าเรื่อง
สรุปเรื่อง และบอกประเด็นสาคัญของเรื่องได้ถูกต้อง ดังนั้น ผู้ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็น
ผู้ที่อ่านเป็น
            มูลนิธิซีเมนต์ไทย (๒๕๔๖) การอ่านเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาหาความรู้
การประกอบอาชีพ การนาไปใช้ในการดารงชีวิต
            ฮิลเดรท (Gertrude.H.Hildreth, ๑๙๖๘) ได้กล่าวว่า การอ่าน คือ กระบวน การทาง
สมองที่จะแปลสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่มองเห็นได้ ให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้
            แอโรสมิท (Gray Arrowsmith, ๑๙๗๒) ได้ให้ความหมายของการอ่านว่า การอ่าน
หมายถึง ความรู้สึกหรือสภาพทางจิตที่เกิดขึ้นในสมองด้วยความเข้าใจถ้อยคาที่เขียนหรือตีพิมพ์
ขึ้นมา และควา มเข้าใจในการอ่านที่สมบูรณ์จะเกิดขึ้น เมื่อความคิดความรู้สึกของผู้อ่านตรงกับ
ความรู้สึกของผู้เขียนก่อนที่จะเขียนออกมาเป็นถ้อยคา
            ไวล์แมน (Arther W.Weilman, ๑๙๗๒ ) ได้กล่าวไว้ว่า การอ่านเป็นกระบวนการ
ที่สลับซับซ้อน และขึ้นอยู่กับภาวะแวดล้ อมต่าง ๆ ของผู้เรียนด้วย เพราะการอ่านมิใช่แต่ต้องการ
เพียงการออกเสียงที่ถูกต้องเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการรู้ความหมายและการเข้าใจความหรือถ้อยคา
จากสัญลักษณ์เหล่านั้นด้วย
            จากความหมายของการอ่านข้างต้นสรุปได้ว่า การอ่านเป็นกระบวนการทางสมอง
ที่ต้องใช้สายตาสัมผัสตัวอักษรหรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ รับรู้และเข้าใจความหมายของคาหรือสัญลักษณ์
โดยแปลออกมาเป็นความหมายที่ใช้สื่อความคิดและความรู้ระหว่างผู้เขียนกับผู้อ่านให้เข้าใจ
ตรงกัน และผู้อ่านสามารถนาเอาความหมายนั้น ๆ ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้

ความสาคัญของการอ่าน
           การอ่านเป็นพื้นฐานที่สาคัญของการเรียนรู้และการพัฒนาสติปัญญาของคนในสังคม
การอ่านทาให้เกิดการพัฒนาด้านสติปัญญา ความรู้ ค วามสามารถ พฤติกรรม และค่านิยม ต่าง ๆ
รวมทั้งช่วยในการเปลี่ยนแปลงการดาเนินชีวิต พัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีที่สุดของชีวิต การอ่า นจึงมี
ความสาคัญต่อชีวิตมนุษย์อย่างยิ่ง ดังนี้
๑. สาคัญต่อชีวิตประจาวัน
                ความเป็นจริงการอ่านไม่ได้มีความสาคัญต่อนักเรียนหรือนักศึกษาเท่านั้น แต่บุคคล
ทั่วไปก็อาจแสวงหาความรู้ได้ด้วยการอ่าน การอ่านเป็นสื่อกลางของการเรียนรู้ ผู้อ่านมากย่อมรู้
มาก และถ้านาความรูนนมาใช้ประโยชน์ตอสังคม สังคมนันย่อมมีประสิทธิภาพสามารถพัฒนาไป
                        ้ ้ั              ่              ้
ในทางที่ถูกที่ควรอย่างรวดเร็ว ดังนั้น การปลูกฝังให้รักการอ่านตั้งแต่เยาว์วัย จึงเป็นพื้นฐานในการ
เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
            ๒. สาคัญต่อการเรียน
                การอ่านเป็นหัวใจของการจัดกิจกรรมทั้งห        ลายในการเรียนการสอน และมี
ความสาคัญยิ่งต่อความสาเร็จ การอ่านเป็นทักษะที่สาคัญยิ่งอันจะส่งผลต่อการเรียนรู้ในทุกกลุ่ม
สาระการเรียนรู้ โดยเฉพาะระดับประถมศึกษา หากเริ่มต้นดีรากฐานการอ่านของเด็กก็จะดี
                จากความสาคัญของการอ่านที่กล่าวข้างต้นย่อมเกี่ยวพันกับผู้ดาเนิ นงานทางด้าน
การศึกษาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

องค์ประกอบในการอ่าน
          ก่อนที่จะสอนหรือฝึกให้เด็กอ่านไม่ว่าจะเป็นอ่านคล่อง อ่านเก่ง และอ่านเป็น
ควรศึกษาองค์ประกอบซึ่งจะส่งผลต่อการอ่าน ดังนี้
          ๑. ระดับสติปัญญา เด็กมีสติปัญญาไม่เท่ากัน ย่อมมีผลอย่างยิ่งต่อการอ่าน
จึงไม่ควรเน้นให้อ่านได้เท่ากันในเวลาเดียวกัน
          ๒. วุฒิภาวะและความพร้อม การอ่านต้องอาศัยทักษะต่างๆ เป็นองค์ประกอบย่อยๆ
เช่น ทักษะการใช้สายตา การใช้อวัยวะเกี่ยวกับการออกเสียง ดังนั้นการเตรียมความพร้อม
ทางด้านร่างกายของเด็กจึงเป็นสิ่งสาคัญอย่างยิ่งในการเริ่มต้นการสอนอ่าน
          ๓. แรงจูงใจ แรงจูงใจมีทั้งภายนอกและภายใน ภายนอก ได้แก่ พ่อ แม่ ครู ภายใน
ได้แก่ การค้นพบด้วยตัวเองว่าชอบหรือไม่อย่างไร
          ๔. สภาพร่างกาย สภาพร่างกายที่สมบูรณ์จะช่วยให้สุขภาพจิตดี ร่าเริง แจ่มใส
มีความกระตือรือร้นมากกว่าร่างกายที่อ่อนแอ และเจ็บป่วย
          ๕. สภาพอารมณ์ อารมณ์ที่มั่นคงสม่าเสมอ แจ่มใส ไม่มีแรงกดดันจากความคาดหวัง
ของครูหรือผู้ปกครอง จะทาให้เด็กอ่านได้ดี
          ๖. สภาพแวดล้อม ทั้งที่บ้าน และที่โรงเรียนจะมีอิทธิพลต่อการอ่านสูงมาก
เช่น บุคคลใกล้ชิดชอบอ่าน ที่โรงเรียนมีหนังสือให้อ่าน มีห้องสมุดที่น่าเข้าไปศึกษาค้นคว้า
มีกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่น่าสนใจและเหมาะสมกับความพร้อมของเด็กอย่างต่อเนื่อง
และสม่าเสมอ
            ๗. การวางแผนการอ่านให้เด็ก นอกจากวิธีสอนและสื่อแล้ว การวางกาหนดให้อ่าน
ก็มีส่วนช่วยส่งเสริมการอ่านให้มากกว่าเดิม
            นอกจากองค์ประกอบข้างต้น จะมีส่วนช่วยให้การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านประสบ
ความสาเร็จ การเลือกวิธีการอ่านอย่างเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่จะช่วยให้การอ่านมีความหมาย
มากขึ้น โดยเลือกวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสม ดังนี้
            ๑. อ่านคร่าว ๆ เป็นการอ่านเพื่อสารวจว่าจะอ่านห นังสือนั้นต่อไปโดยละเอียดหรือไม่
จะอ่านเพียงชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง สารบัญ คานา และอ่านบางตอนเพื่อดูสานวนและข้อความ
            ๒. อ่านเก็บแนวคิด เป็นการอ่านเพื่อต้องการอ่านสรุปสาระสาคัญของข้อความ
            ๓. อ่านแบบตรวจตรา เป็นการอ่านเฉพาะส่วนสาคัญที่ต้องการเป็นหลัก
            ๔. อ่าน อย่างศึกษาค้นคว้า เป็นการอ่านเพื่อศึกษาค้นคว้าเรื่องนั้น ๆ ต้องอ่าน
อย่างละเอียดทุกบททุกตอนตั้งแต่ต้นจนจบให้ได้ความครบถ้วน
            ๕. อ่านเชิงวิเคราะห์ หรืออ่านตีความ เป็นการอ่านที่ต้องใช้วิธีอ่านอย่างศึกษา
ค้นคว้าประกอบด้วย โดยอ่านอย่างละเอีย ดให้ได้ความครบถ้วนแล้วจึงแยกแยะออกได้ว่าส่วน
ต่าง ๆ นั้นมีเนื้อหาและความสาคัญอย่างไรบ้าง แต่ละส่วนสัมพันธ์กับส่วนอื่น ๆ อย่างไร
            ๖. อ่านเก็บข้อมูล เป็นการอ่านหนังสือหรือเอกสารหลาย ๆ เรื่อง เพื่อค้นหาข้อมูล
เรื่องเดียวกันจากหลาย ๆ แหล่ง เพื่อคัดเลือก เปรี ยบเทียบ และนาเฉพาะส่วนที่ต้องการมาใช้
ต่อไป
            ๗. อ่านโดยใช้วิจารณญาณ เป็นการอ่านที่ต้องอาศัยวิธีการอ่านทั้งหมดที่กล่าว
ข้างต้นร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดปัญญาสันนิษฐานหาเหตุผลได้
            นอกจากการอ่านด้วยวิธีการต่าง ๆ แล้ว ในการอ่านโดยทั่วไปยังมีความต้อง           การ
ที่จะอ่านเร็ว อ่านเก่ง เพื่อที่จะได้อ่านมาก ๆ หรือใช้เวลานั้น ๆ และให้ได้เรื่องราวตามความ
ต้องการ

การอ่านเร็ว
           ผู้อ่านส่วนใหญ่ต้องการอ่านได้เร็ว ๆ เพื่อที่จะอ่านได้มาก หรือเพื่ออ่านในเวลาอันสั้น
แต่ได้ความมาก หรือเพื่อความเพลิ ดเพลินขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละคน อันที่จริงการอ่าน
เร็วในวิชาการอ่านต้องเน้นที่อ่านเร็วด้วย และได้เรื่องราวสมความตั้งใจ และมีความเข้าใจจริง ๆ
การอ่านเร็วจะใช้ในกรณีต่อไปนี้
๑ อ่านคร่าว ๆ เพื่อต้องการหาข้อความหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือนั้น
           ๒. อ่านเล่น ๆ เพื่อต้องการความเพลิดเพลิน เพียงแต่อ่านให้จบ ๆ รู้เรื่องราวเท่านั้น
           ๓. อ่านข่าวทั่ว ๆ ไป เพราะข่าวทั่วไปนั้นเกิดขึ้นใหม่ ๆ ทุกวัน อ่านแล้วก็แล้วกัน ได้รู้
ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในสังคมต่าง ๆ
           ๔. อ่านเรื่องที่เคยอ่านแล้วหรือรู้ดีอยู่แล้ว เพื่อตรวจว่าตรงกับความรู้ของตนหรือไม่
           ๕. อ่านโฆษณา การโฆษณาต้องใช้เทคนิคหลักประการหนึ่ง คือให้ผู้อ่านอ่านได้ใน
เวลาน้อยที่สุด แต่เกิดความอยากซื้อสินค้า
           วิธีการฝึกฝนตนเองให้เป็นคนอ่านเร็ว อาจทาได้ดังนี้
           ๑. รู้จุดมุ่งหมายในการอ่าน แต่ละครั้งแน่นอน เช่น เป็นการอ่านเพื่อเตรียมสอบ
หรือการอ่านเพื่อหาคาตอบ หรืออ่านเพื่อความเพลิดเพลิน หรืออ่านเพื่อฆ่าเวลา
           ๒. รู้วิธีอ่านหนังสือแต่ละประเภท จะทาให้อ่านหนังสือได้เร็วขึ้น
           ๓. อ่านหนังสือเอาใจความในเวลาจากัด โดยอ่ านหน้าคานา บทนา สารบัญ บทขึ้นต้น
บทลงท้าย ดรรชนี บรรณานุกรม ถ้ายังไม่เข้าใจก็อาจจะอ่านบทกลาง อ่านบทสรุปแต่ละบท
           ๔. ถ้าเป็นการอ่านทุกหน้า พยายามอย่าอ่านทุกตัว อ่านเฉพาะคาสาคัญในแต่ละ
บรรทัด แต่ละย่อหน้า เพื่อจับใจความเท่านั้น
           ๕. พยายามหัดอ่านหนังสือให้เป็นเวลา สม่าเสมอเท่าที่จะทาได้ เช่น ถ้าอ่านหนัง สือ
หลังรับประทานอาหารเย็น ก็ควรอ่านตามนั้นทุกเวลา ตอนแรก ๆ อาจจะหัดอ่านหนังสือพิมพ์ก่อน
ต่อไปเป็นวารสาร ต่อไปเป็นหนังสือที่ชอบ ต่อจากนั้นก็ขยายวงการอ่านไปเป็นอ่านหนังสือหลาย
ๆ ประเภท อาจจับเวลาการอ่านด้วย คือ เริ่มด้วยเวลา ๑๐ นาที ๑๕ นาที ครึ่งชั่วโมงไปเรื่ อย ๆ
และดูว่าอ่านได้ครั้งละกี่หน้า แล้วพยายามอ่านให้ได้เร็วยิ่งขึ้น โดยอาศัยหลักเกณฑ์ดังกล่าว
ข้างต้นเข้าช่วย
           ๖. ถ้าหัดตนเองให้พอจะเป็นคนที่อ่านหนังสือเร็วได้แล้ว ก็ต้องปฏิบัติตนให้เป็นคนอ่าน
มาก อ่านอย่างสม่าเสมอ อ่านหนังสือทุกประเภท อ่านแล้วติดตาม วิจารณ์ เปรียบเทียบ สิ่งที่อ่าน

การอ่านเก่ง
          การอ่านเก่ง หมายถึง การที่ผู้อ่านมีความสามารถดังนี้
          ๑. เข้าใจเนื้อหาตามตัวอักษร เช่น รู้ว่าเมื่ออ่านหนังสือที่แสดงข้อเท็จจริง
อย่างตรงไปตรงมาก็เข้าใจตรงตามนั้น
          ๒. เข้าใจความหมายที่ลึกซึ้งแฝงนัยบางประการอยู่ ผู้อ่านจะเข้าใจในขั้นนี้ได้ก็ต้อง
เข้าใจระดับแรกก่อน แล้วใช้ความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ มาช่วยให้เข้าใจความหมายในระดับ
ลึก ตัวอย่างเช่น เมื่ออ่านสุภาษิต “รักวัวให้ผูก ” หากลงมือปฏิบัติตามตัวอักษรก็นับว่าอ่านไ ด้เพียง
ระดับแรกเท่านั้น ทาให้เกิดผลเสียหายได้ แต่หากอ่านแล้วตีความวิเคราะห์ได้นาไปปฏิบัติ จึงถือ
ว่าเข้าใจในระดับลึก
            ๓. อ่านแล้วสร้างแนวคิดได้ การสร้างแนวคิดนี้เป็นทักษะย่อยของการอ่านที่สาคัญยิ่ง
เพราะการอ่านให้เข้าใจไปเรื่อย ๆ อย่างเดียวย่อมไม่เพียงพอ หาก เรื่องราวนั้น ๆ ยาว มีหลายย่อ
หน้า ผู้อ่านต้องกาหนดได้ว่า แนวคิดของแต่ละย่อหน้าคืออะไร และเมื่อรวมทั้งเรื่องแล้ว จะสรุป
แนวคิดใหม่ได้ว่าอย่างไร
            ๔. เกิดความคิดใหม่ ผู้ที่ต้องการฝึกการอ่านเก่งต้องไม่พอใจอยู่เพียงการอ่านตรงสิ่งที่
อ่านหรือสรุปเรื่องได้เท่านั้น แต่ต้องหัดสร้างความคิดใหม่อย่างที่เรียกว่า ประยุกต์หรือปรับ
ความคิดหรือข้อมูลที่รู้นั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไปอีก การอ่านแบบนี้เองทาให้โลกเจริญ ทาให้
เกิดตารับตาราใหม่ เกิดอาหารและขนมชนิดใหม่ เกิดไม้พันธุ์ใหม่ เกิดสูตรเคมี สูตรคณิตศาสตร์
ใหม่ ๆ เกิดวรรณกรรมใหม่ ๆ
            ๕. อ่านแล้วประเมินค่าของสิ่งที่อ่านได้ คาว่า “ค่า” ในที่นี้ หมายถึง คุณค่า คุณสมบัติ
หรือคุณประโยชน์ ในทางที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่อ่านนั้น โดยประเมินกันอย่างยุติธรรม
            ๖. อ่านแล้วแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านได้ ข้อนี้เป็นข้อที่ทาให้การรับ และส่ง
สารสมบูรณ์ตามวงจร เพราะหากมีแต่การรับสาร ก็จะไม่มีใครทราบได้ว่าผู้รับสารเข้าใจสารนั้น
หรือไม่ เพียงใด

คุณสมบัติของนักอ่านที่ดี
             นักอ่านหนังสือที่ดีควรมีสิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้
             ๑. มีความสนใจในการอ่านหนังสือ อ่านหนังสือจนเป็นกิจวัตรประจาวัน อ่านหนังสือ
ทุกวันอย่างมีความสุข อ่านติดต่อกันเป็นเวลานานได้ อ่านหนังสือได้ทุกประเภทของนักเขียน
ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเก่าหรือใหม่ก็ตาม
             ๒. รู้จักวิธีการอ่านหนังสือให้ได้เร็ว
             ๓. มีประสบการณ์เพียงพอที่จะเข้าใจและซาบซึ้งกับความหมายของเนื้อเรื่อง
             ๔. ติดตามความเคลื่อนไหวทางวิทยาการต่าง ๆ และติดตามวงการหนังสืออยู่เสมอ
มีความรู้เรื่องหนังสือ รู้จักลักษณะและประเภทขอหนังสือ สามารถเลือกหนังสือได้ตรงกับ
ความต้องการและความสนใจ
             ๕. มีวิจารณญาณในการอ่าน คือ อ่านอย่างไตร่ตรองก่อนที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อ และเป็น
การเชื่ออย่างมีเหตุผล มีใจกว้างในการรับฟัง
การส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
              การอ่านเป็นการพัฒนาตนเอง และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ซึ่งเป็นสิ่งจาเป็น
มาก ในการพัฒนาคนและสังคม ดัง นั้นสถานศึกษาควรจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
อย่างเป็นระบบ โดยคานึงถึงปัจจัยการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและการจัดกิจกรรมส่งเสริม
การอ่าน ตามรายละเอียด ดังนี้
 -             ปัจจัยการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
              ๑. ห้องสมุด คือ ห้องสาคัญที่สุดในโรงเรียน
                 ในยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร และยุคแห่งการศึกษาค้นคว้าไร้ขอบเขตหรือไร้พรมแดน
ห้องสมุดจึงเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สาคัญที่สุด เป็นที่รวบรวมข้อมูลความรู้นานาชนิด เป็นหน้าต่าง
ที่ถูกเปิดสู่โลกภายนอกที่ก ว้างไกล เป็นขั้นบันไดขั้นแรกของการท่องสู่โลกกว้างอันไร้ขอบเขต เป็น
ศูนย์รวมข่าวสาร เรื่องราวที่ทันสมัยและล้าสมัย เป็นแหล่งรวมวิทยาการทุกแขนงอาชีพ ทั้งสารคดี
บันเทิง กีฬา และเทคโนโลยี เพื่อให้บริการตามความสนใจของแต่ละบุคคล เป็นศูนย์รวม
นันทนาการทางสมอง ให้ความสุขและช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้ดีงาม
              ๒. มุมหนังสือ
                 ถึงแม้ว่าโรงเรียนจะมีห้องสมุดโรงเรียนแล้วก็ตาม แต่มุมหนังสือในห้องเรียน ก็ใช่ว่า
จะหมดความสาคัญ กลับเป็นตัวเร่งที่สาคัญทาให้เด็กตื่นตัวในการเรียนรู้ตลอดเวลา
                 มุมหนังสือในห้องเรียนจะช่วยพัฒนาการอ่านในเวลาที่ เด็กอยากอ่าน และครูเอง
ก็สามารถดูแลเด็กได้อย่างทั่วถึง และเด็กอยู่ในสายตาครูตลอดเวลาว่าใครอ่านมาก อ่านน้อย
อ่านตลอดเวลา ไม่ช้าก็อ่านออก อ่านคล่อง และรักการอ่าน
              ๓. ห้องสมุดเคลื่อนที่
                 โรงเรียนหลายแห่ งมีสถานที่จากัดสาหรับการอ่านของเด็ก หนังสือหรือห้องสมุด
เคลื่อนที่สามารถแก้ปัญหาได้ดี
                 ก่อนอื่นลองพิจารณาดูว่าในโรงเรียนมีสถานที่ใดบ้างที่ร่มรื่น ปลอดภัย เช่น ใต้ต้นไม้
ระเบียงหน้าห้อง ศาลา ฯลฯ ให้มีที่ว่างพอสาหรับเด็กนั่งอ่าน นอนอ่าน ถ้าไม่มีเก้าอี้ก็ใช้เสื่อปูก็ได้
                 หาเด็กโต ๆ มาเป็นยุวบรรณารักษ์ แบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ หมุนเวียนผลัดกันไป
ครูคอยดูแลห่าง ๆ อย่าวุ่นวายกับเด็กมากนัก
                 ที่สาคัญจัดกิจกรรมแล้วต้องติดตามผลด้วย ให้ทาสถิติผู้อ่านผู้ยืมไว้ จัดกิจกรรม
เสริมตาม เช่น ทายปัญหา วาดภาพ เล่านิทาน ฯลฯ เด็กก็สนุกกับการอ่าน ครูก็สอนสบาย
๔. ทรัพยากรที่จาเป็น
                นอกจากสถานที่แล้ว อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่ออานวยความสะดวกแก่ครูและนักเรียน
เช่น ชั้นวางหนังสือ โต๊ะหรือเคาน์เตอร์บริการยืม- คืน คอมพิวเตอร์ ป้ายนิเทศ เครื่องเสียง เวที
การแสดงเล็ก ๆ โรงละครหุ่น มีราคาที่เหมาะสม ไม่ต้องลงทุนซื้อทุกอย่าง ประดิษฐ์ดัดแปลงขึ้นมา
ใช้บ้าง
            ๕. การมีส่วนร่วม
                การมีส่วนร่วมแบ่งหน้าที่กันให้ชัดเจน เปิดเทอมมาไม่ต้องทาเรื่องอื่นก่อน ถ้าเด็ก
อ่านไม่ออก ไม่รักการอ่าน สอนไปก็ไม่รู้เรื่อง ควรสอนการอ่านเป็นเรื่องแรก
                ขั้นแรกตั้งเป้าหมายไว้ว่า ภายในภาคเรียนที่ ๑ เด็กทุกคนต้องอ่านออก และมีนิสัย
รักการอ่าน กาหนดวิธีการ กิจกรรมว่าจะทาอะไรก่อน-หลัง อย่าให้ซ้าซ้อน
                กาหนดตัวบุคคล ครูทุกคนต้องรับผิดชอบกิจกรรม ใครถนัดอะไร ใครชอบทาอะไร
วางแผนการดาเนินงานแล้วลงมือทา
                ผู้บริหารโรงเรียน คอยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ไปขอของรางวัล
ให้เพียงพอ มีการประเมินผลเป็นระยะเพื่อดูความก้าวหน้า ต่อไปก็ไม่ต้องมานั่งบ่นว่าทาไมเด็ก
ไม่อ่านหนังสือ
            ๖. ครูทุกคนเป็นตัวอย่างที่ดีในการอ่าน
                สังคมไทยไม่ใช่สังคมการอ่าน คนไทยส่วนใหญ่ไม่ชอบอ่านหนังสือ ไม่ชอบค้นคว้า
หาความรู้ นิสัยดังกล่าวสืบทอดต่อกันมาเสมือนมรดกจนถึงปัจจุบัน แต่โรงเรียนสามารถ
เปลี่ยนแปลงได้ เป็นหน้าที่ของครูทุกคนทุกวิชาต้องส่งเสริมพัฒนาเด็กให้มีนิสัยรักการอ่าน เริ่ม
จากครูทุกคนต้องเริ่มอ่านให้เด็กเห็น จัดเป็นเวลา “วางทุกงานอ่านทุกคน” ทุกวัน
                เด็กคนไหนทาไม่ได้ก็ตักเตือนเป็นรายบุคคล ครูคนไหนทาไม่ได้ก็ต้องปรับปรุง ต้อง
สร้างภาพใหม่ในโรงเรียน อย่างอื่นยากกว่านี้ครูไทยยังทาได้ แค่อ่านหนังสือวันละ ๑ ครั้ง พร้อม ๆ
กันทั้งโรงเรียน ทาไมจะทาไม่ได้
                จัดบรรยากาศห้องสมุดอย่างหลากหลายแล้ว ต้องมาทาความเข้าใจกับครูทุกคน
นิสัยเดิม ๆ ที่ไม่น่าดู ไม่เหมาะสม ไม่ส่งเสริมให้เด็กรักการอ่านให้เพลา ๆ ลง ที่โรงเรียนต้องสร้าง
ภาพให้ดูดี เช่น เวลาว่างก็หยิบหนังสือมาอ่านกันบ้าง หน้าตาที่ดูแล้วไม่ส่งเสริมการอ่ านก็ทาให้
สวยขึ้น คาพูดไพเราะเมื่อเด็กฟังแล้วมีกาลังใจขึ้นไม่ยากเลย
๗. ผู้บริหารสนับสนุนติดตามอย่างใกล้ชิด
                 สิ่งสาคัญคือ การเอาจริงเอาจังอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมจะน่าสนใจหรือไม่
อยู่ทการสร้างแรงจูงใจ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเป็นฝ่ายสนับสนุน ช่วยเหลือครูโดยช่วยคิด
       ี่
ช่วยวางแผน และจัดสรรงบประมาณให้ห้องสมุดอย่างเพียงพอ
การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
             รูปแบบการจัดกิจกรรม แบ่งตามประเด็น ดังนี้
             ๑. รูปแบบกิจกรรมควรสอดคล้องกับบริบท
                กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านใด ๆ ที่จัดขึ้นต้องสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน
และผู้เรียน กล่าวคือ คานึงถึงวุฒิภาวะ พื้นฐาน และประสบการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งเปิดโอกาส
ให้ผู้เรียน เป็นผู้ค้นหาข้อมูล หาวิธีการ ประเมินค วามถูกต้องด้วยตนเอง พูดง่าย ๆ คือ กิจกรรม
ต้องมีลักษณะให้ผู้เรียนลงมือกระทาด้วยตนเอง ครูมีหน้าที่อานวยความสะดวกและช่วยคิด
             ๒. รูปแบบที่ตายตัวไม่เกิดแรงกระตุ้น
                กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน มีอยู่มากมาย เลิกเสียทีรูปแบบกิจกรรมที่ตายตัว
ควรเน้นกระบวนการพัฒ นาที่ต่อเนื่องเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ เป็นลาดับ ปีนี้ทาแบบนี้เพราะสาเหตุเป็น
เช่นนี้ ปีหน้าควรปรับวัตถุประสงค์ให้สูงขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ กิจกรรมก็จะเปลี่ยนไป จะจัด
กิจกรรมอะไรให้ดูผลลัพธ์ที่ผ่านมา มีปัญหาอะไร สาเหตุอะไร ถ้าปีนี้เป้าหมายเปลี่ยนแปลงไป
เราจะออกกิจกรรมอย่างไรจึงจะทาให้ผู้เรียนสามารถบรรลุผลได้ตามเป้าหมาย ต้องใช้เทคนิค
วิธีการหรือสื่ออะไรเพิ่มบ้าง
             การเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
             ๑. คุณค่าความเป็นคน
                หัวใจของการพัฒนานิสัยรักการอ่านอยู่ที่เชื่อใจกัน ครูต้องฟังเด็กให้มากขึ้น อดทน
คอยให้เด็กแสดงออกต ามความสามารถ เปิดใจกว้างรับฟังเด็กพูดทุกคน แสดงความสนใจ
อย่างจริงจังเวลาเด็กพูด เด็กทาอะไร อย่าออกคาสั่งมากนัก นักเรียนทาเองได้
             ๒. ความเป็นมิตรและปลอดภัย
                กิจกรรมอะไรก็ไม่สาคัญเท่ากับบรรยากาศดี กิจกรรมดี งบประมาณเพียงพอ
แต่ถ้าบรรยากาศแย่ ก็แทบไม่มีคุณค่าแต่อย่างใด ที่สาคัญต้องไม่มีการบังคับให้นักเรียนเข้าร่วม
ทากิจกรรม ไม่มีการคาดคั้นให้ส่งผลงาน ไม่มีการคาดโทษใด ๆ ไม่มีการมุ่งเอาแต่คะแนน รวมทั้ง
ไม่มีการใช้วาจาเชิงเย้ยหยัน ส่อเสียด เหยียดหยาม ครูคนไหนอดใจไม่              ได้ทนไม่ไหวก็ให้ยิ้ม
อย่างเดียวก็พอ ไม่ต้องช่วยอะไร อยู่ห่าง ๆ เท่านี้เอง เด็ก ๆ ทุกคนก็พร้อมที่จะรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ
ด้วยความเต็มใจ และกระตือรือร้นทากิจกรรมต่าง ๆ อย่างมีความสุข
๓. เน้นความร่วมมือของผู้เรียน
               สาคัญที่สุดคือ ทุกกิ จกรรมที่จัดขึ้นในโรงเรียน ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้เรียน
แต่ต้องเป็นความร่วมมือแบบเชื่อใจกัน อย่าทาแบบผู้เรียนเป็นเสมือนคนด้อยโอกาส คอยแต่รับ
ไม่มีกิจกรรมก็ไม่คิดทาอะไรให้ก้าวหน้า รอแต่ครูเท่านั้น
               เริ่มจากให้ร่วมวิเคราะห์สภาพปัญหาการอ่านของตนเอง                      ของกลุ่มเพื่อน เสนอ
แนวทางการพัฒนาว่าควรจะทาอย่างไร ร่วมนาเสนอ อภิปราย ฝึกการคิดอย่างมีเหตุผล การรับฟัง
ความคิดที่แตกต่าง รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดความสานึกร่วมกันในการพัฒนาตนเองและเพื่อน ๆ
ในโรงเรียน
               มอบหมายให้รับผิดชอบเป็นคณะกรรมการ ผู้ปฏิ บัติ ผู้ประเมิน ปรับปรุงด้วยตนเอง
ทุกขั้นตอน ผิดบ้างถูกบ้าง ครูก็คอยชี้แนะให้กาลังใจ เพื่อส่งเสริมจิตสานึกในการพัฒนาว่าเป็น
เรื่องของตนเอง เป็นเรื่องของทุกคนที่ต้องช่วยเหลือกัน จะเกิดแนวคิดใหม่ ๆ ที่สร้างสรรค์ ส่งผลให้
ผู้เรียนเกิดความตระหนักอันนาไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป ครูไม่ต้องมานั่งจ้าจี้จ้าไชตลอดเวลา
            การเสริมแรง
            การพัฒนานิสัยรักการอ่านของผู้เรียน คือ “การเสริมแรง ” เป็นสิ่งที่ทาให้กิจกรรม
ดาเนินไปอย่างมีชีวิตชีวา ส่งผลต่อการพัฒนาของผู้เรียนเป็นอย่างสูง ดังนั้น ผู้เรียนต้องได้รับการ
เสริมแรงอย่างทั่วถึ งทุกคน มากน้อย เข้มข้นเพียงใดอยู่ที่ผลการปฏิบัติและอยู่ที่ความสามารถ
ของผู้เรียนแต่ละคน
            หลักการเสริมแรงควรหลากหลายวิธีการ เพื่อให้เข้าถึงจิตใจของผู้เรียนอย่างแท้จริง
ต้องช่วยได้ทั้งผู้เรียนที่เรียนเก่งทาให้มีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น ช่วยทั้งผู้เรียนที่เรียนไม่เก่งสามารถพัฒนา
ตนเองดีขึ้น เกิดความมั่นใจ สร้างความภาคภูมิใจในตนเอง จนสามารถเดินได้ด้วยตนเอง
อย่างมั่นคง

ตัวอย่างการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
         ๑. การแนะนาหนังสือ
             เมื่อมีหนัง สือเรื่องใหม่ ๆ เข้ามาอย่าเอาไปตั้งแสดงเฉย ๆ ควรมีกิจกรรมแนะนา
หนังสือใหม่ให้เด็กรู้จัก ชักจูงให้เด็กอยากอ่าน
             วิธีง่าย ๆ คือ ครูหรือนักเรียนไปอ่านหนังสือเรื่องดังกล่าวมาโดยละเอียด
และวิเคราะห์เรื่องราวที่ได้รับ
หาวิธีการแนะนาที่น่า สนใจ ถ้าเป็นหนังสือเกี่ยวกับการทาอาหาร อาจจะมี
การสาธิตการทาอาหารที่เกิดจากการอ่านโดยตรง ถ้าเป็นสิ่งประดิษฐ์ก็อาจสาธิตการประดิษฐ์
หรือชักชวนให้ผู้สนใจลองทาไปพร้อมกัน
             ๒. การเล่าเรื่องจากหนังสือ
                การเล่าเรื่องจากหนังสือ เป็นการกร ะตุ้นให้เด็กอยากอ่านหนังสือมากขึ้น วิธีการ
เล่าเรื่องก็ทาได้หลายวิธี ที่สาคัญเรื่องที่จะเล่าต้องเป็นเรื่องที่ผู้เรียนสนใจและมีประโยชน์
                วิธีการเล่าก็ง่าย ๆ เล่าเฉพาะบางตอนให้ฟัง อาจจะเลือกตอนต้นเรื่อง
หรือตอนท้ายเรื่อง เล่าเพียงตอนเดียวที่น่าตื่นเต้นเท่านั้น
                หรือเล่าตลอดเรื่อง ตั้งแต่ต้นจนจบ โดยยกตัวอย่างตอนที่เด่น ๆ ให้ฟัง แล้วเว้น
รายละเอียดบางตอนของเรื่องไว้ให้ผู้ฟังไปอ่านต่อ
                หรือเล่าเปรียบเทียบ โดยเล่าเปรียบเทียบกับเรื่องอื่นที่ผู้เรียนรู้จัก นาหนังสือ
ทั้งสองเล่มมาแสดงให้เด็กดูด้วย เด็กจะรู้จักหนังสือมากขึ้น เห็นไหมครู ไม่ยากเลย
             ๓. การอ่านหนังสือให้เด็กฟัง
                การอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เป็นวิธีการนาเรื่องร าวในหนังสือมาเล่าให้ฟัง เพื่อกระตุ้น
เร้าความสนใจให้เกิดขึ้น ส่งผลให้เด็กอยากรู้เรื่องราวและอยากอ่านหนังสือเล่มนั้นต่อไป
                ก่อนอื่นต้องรู้ว่าผู้ฟังเป็นใคร อายุเท่าไร วุฒิภาวะเป็นเช่นไร เพื่อเลือกหนังสือ
ให้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ
                ผู้อ่านต้องเตรียมตัวให้ดี อ่านหนังสือทั้งเล่มมาก่อน ไม่ต้องอ่านให้ฟังทั้งเล่มหรอก
เอาแต่ใจความสาคัญแล้วเชื่อมโยงกัน ที่เหลือผู้ฟังจะไปอ่านเอง
             ๔. การเล่านิทานประกอบสื่อการเรียนรู้
                การเล่านิทานประกอบสื่อการเรียนรู้ ได้รับความนิยมชมชอบจากผู้ชมมาช้านานแล้ว
โดยเฉพาะเด็ก ๆ เพราะผู้ชมสามารถสัมผัสได้จากการชมและน้าเสียงตลอดเวลา
                ก่อนอื่นต้องรู้ ว่าผู้ฟังเป็นใคร อายุเท่าไร วัยใด และมีวุฒิภาวะเป็นเช่นไรเพื่อจะได้
คัดเลือกเนื้อหาให้เหมาะสม
                ขณะเล่านิทานมีสื่อการเรียนรู้ประกอบ แสดงท่าทางไปตามเนื้อเรื่องและอารมณ์
ของเรื่องให้มากที่สุด ผู้ฟังจึงจะชอบ
                ทุกเรื่องที่ทาการแสดง ต้องสนุกและต้องมีแง่คิดให้แก่ ผู้ฟังทุกครั้ง จบแล้วควรมี
กิจกรรมต่อท้าย เช่น การแสดงความคิดเห็นว่าชอบหรือไม่ชอบตัวละครใด เพราะเหตุใด
บทที่ 2.ใหม่

More Related Content

What's hot

ใบความรู้เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญ
ใบความรู้เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญใบความรู้เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญ
ใบความรู้เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญPiyarerk Bunkoson
 
นำเสนอการอ่านเชิงวิเคราะห์
นำเสนอการอ่านเชิงวิเคราะห์นำเสนอการอ่านเชิงวิเคราะห์
นำเสนอการอ่านเชิงวิเคราะห์เล็ก เล็ก
 
บทที่ 2 ภาษาไทย
บทที่  2  ภาษาไทยบทที่  2  ภาษาไทย
บทที่ 2 ภาษาไทยpatcharee0501
 
หลักสูตรแกนกลางภาษาไทย
หลักสูตรแกนกลางภาษาไทยหลักสูตรแกนกลางภาษาไทย
หลักสูตรแกนกลางภาษาไทยน้อง มัดไหม
 
การอ่านจับใจความ
การอ่านจับใจความการอ่านจับใจความ
การอ่านจับใจความmayavee16
 
ความหมายของแบบฝึกเสริมทักษะ
ความหมายของแบบฝึกเสริมทักษะความหมายของแบบฝึกเสริมทักษะ
ความหมายของแบบฝึกเสริมทักษะสมใจ จันสุกสี
 
สารพันเลือกสรรตีความ
สารพันเลือกสรรตีความสารพันเลือกสรรตีความ
สารพันเลือกสรรตีความพัน พัน
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3สุภาพร สิทธิการ
 
ธรรมนิเทศ Dhamma Communication
ธรรมนิเทศ Dhamma Communicationธรรมนิเทศ Dhamma Communication
ธรรมนิเทศ Dhamma CommunicationPadvee Academy
 
แบบฝึกการอ่านชุดที่ 1
แบบฝึกการอ่านชุดที่ 1แบบฝึกการอ่านชุดที่ 1
แบบฝึกการอ่านชุดที่ 1พัน พัน
 
งานนำเสนอIs3
งานนำเสนอIs3งานนำเสนอIs3
งานนำเสนอIs3ohm11007
 
สื่อการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้สื่อการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้BLue Artittaya
 
ชุดกิจกรรม ๒ การคิดวิเคราะห์ บทความ
ชุดกิจกรรม ๒ การคิดวิเคราะห์ บทความชุดกิจกรรม ๒ การคิดวิเคราะห์ บทความ
ชุดกิจกรรม ๒ การคิดวิเคราะห์ บทความPensri Sangsuk
 
บทที่ 2 การฟัง
บทที่ 2 การฟังบทที่ 2 การฟัง
บทที่ 2 การฟังAj.Mallika Phongphaew
 
นวัตกรรมกลุ่ม Chapter4
นวัตกรรมกลุ่ม Chapter4นวัตกรรมกลุ่ม Chapter4
นวัตกรรมกลุ่ม Chapter4Pronsawan Petklub
 
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)niralai
 
วิธีจับใจความสำคัญ
วิธีจับใจความสำคัญวิธีจับใจความสำคัญ
วิธีจับใจความสำคัญRung Kru
 

What's hot (20)

ใบความรู้เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญ
ใบความรู้เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญใบความรู้เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญ
ใบความรู้เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญ
 
นำเสนอการอ่านเชิงวิเคราะห์
นำเสนอการอ่านเชิงวิเคราะห์นำเสนอการอ่านเชิงวิเคราะห์
นำเสนอการอ่านเชิงวิเคราะห์
 
บทที่ 2 ภาษาไทย
บทที่  2  ภาษาไทยบทที่  2  ภาษาไทย
บทที่ 2 ภาษาไทย
 
หลักสูตรแกนกลางภาษาไทย
หลักสูตรแกนกลางภาษาไทยหลักสูตรแกนกลางภาษาไทย
หลักสูตรแกนกลางภาษาไทย
 
การอ่านจับใจความ
การอ่านจับใจความการอ่านจับใจความ
การอ่านจับใจความ
 
ความหมายของแบบฝึกเสริมทักษะ
ความหมายของแบบฝึกเสริมทักษะความหมายของแบบฝึกเสริมทักษะ
ความหมายของแบบฝึกเสริมทักษะ
 
สารพันเลือกสรรตีความ
สารพันเลือกสรรตีความสารพันเลือกสรรตีความ
สารพันเลือกสรรตีความ
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความชั้นป.3
 
หน่วยที่ 5 การรับสารจากการอ่าน
หน่วยที่ 5 การรับสารจากการอ่านหน่วยที่ 5 การรับสารจากการอ่าน
หน่วยที่ 5 การรับสารจากการอ่าน
 
ธรรมนิเทศ Dhamma Communication
ธรรมนิเทศ Dhamma Communicationธรรมนิเทศ Dhamma Communication
ธรรมนิเทศ Dhamma Communication
 
แบบฝึกการอ่านชุดที่ 1
แบบฝึกการอ่านชุดที่ 1แบบฝึกการอ่านชุดที่ 1
แบบฝึกการอ่านชุดที่ 1
 
งานนำเสนอIs3
งานนำเสนอIs3งานนำเสนอIs3
งานนำเสนอIs3
 
สื่อการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้สื่อการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้
 
ชุดกิจกรรม ๒ การคิดวิเคราะห์ บทความ
ชุดกิจกรรม ๒ การคิดวิเคราะห์ บทความชุดกิจกรรม ๒ การคิดวิเคราะห์ บทความ
ชุดกิจกรรม ๒ การคิดวิเคราะห์ บทความ
 
บทที่ 2 การฟัง
บทที่ 2 การฟังบทที่ 2 การฟัง
บทที่ 2 การฟัง
 
หลักภาษา
หลักภาษาหลักภาษา
หลักภาษา
 
นวัตกรรมกลุ่ม Chapter4
นวัตกรรมกลุ่ม Chapter4นวัตกรรมกลุ่ม Chapter4
นวัตกรรมกลุ่ม Chapter4
 
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
 
วิธีจับใจความสำคัญ
วิธีจับใจความสำคัญวิธีจับใจความสำคัญ
วิธีจับใจความสำคัญ
 
Chapter4
Chapter4Chapter4
Chapter4
 

Similar to บทที่ 2.ใหม่

นวัตกรรม
นวัตกรรมนวัตกรรม
นวัตกรรมPrapa Khangkhan
 
พัฒนาการอ่าน
พัฒนาการอ่านพัฒนาการอ่าน
พัฒนาการอ่านAnan Pakhing
 
หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง โรงเรียนต้นไม้
หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง  โรงเรียนต้นไม้หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง  โรงเรียนต้นไม้
หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง โรงเรียนต้นไม้โรงเรียน วัดวังเย็น
 
ห้องสมุด 3 ดี
ห้องสมุด 3 ดีห้องสมุด 3 ดี
ห้องสมุด 3 ดีteerasak04
 
บทท 3-6 กศบป
บทท   3-6 กศบปบทท   3-6 กศบป
บทท 3-6 กศบปNamfon Wannapa
 
5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)
5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)
5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)อัมพร ศรีพิทักษ์
 
Unlicensed-นวัตกรรมช่วยสอน
 Unlicensed-นวัตกรรมช่วยสอน Unlicensed-นวัตกรรมช่วยสอน
Unlicensed-นวัตกรรมช่วยสอนkuneena
 
นวัฒกรรมช่วยสอน
นวัฒกรรมช่วยสอนนวัฒกรรมช่วยสอน
นวัฒกรรมช่วยสอนkuneena
 
นวัตกรรมช่วยสอน
นวัตกรรมช่วยสอนนวัตกรรมช่วยสอน
นวัตกรรมช่วยสอนkuneena
 
Chapter4 สื่อการเรียนรู้
Chapter4  สื่อการเรียนรู้Chapter4  สื่อการเรียนรู้
Chapter4 สื่อการเรียนรู้Prakaidao Suebwong
 
บทที่ 2วิจัยการอ่าน
บทที่ 2วิจัยการอ่านบทที่ 2วิจัยการอ่าน
บทที่ 2วิจัยการอ่านKanjana Pothinam
 
คู่มือพระวิทยากร
คู่มือพระวิทยากรคู่มือพระวิทยากร
คู่มือพระวิทยากรniralai
 
ส่งวิจัยในชั้นเรียน1.59
ส่งวิจัยในชั้นเรียน1.59ส่งวิจัยในชั้นเรียน1.59
ส่งวิจัยในชั้นเรียน1.59Natthapon Inhom
 
5cs3gik5rf0t0l42j9hbvpth02
5cs3gik5rf0t0l42j9hbvpth025cs3gik5rf0t0l42j9hbvpth02
5cs3gik5rf0t0l42j9hbvpth02Mai Amino
 
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) niralai
 
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education Weerachat Martluplao
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย ป.5 ใหม่1
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย  ป.5   ใหม่1ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย  ป.5   ใหม่1
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย ป.5 ใหม่1sripayom
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย ป.5 ใหม่1
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย  ป.5   ใหม่1ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย  ป.5   ใหม่1
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย ป.5 ใหม่1sripayom
 

Similar to บทที่ 2.ใหม่ (20)

นวัตกรรม
นวัตกรรมนวัตกรรม
นวัตกรรม
 
พัฒนาการอ่าน
พัฒนาการอ่านพัฒนาการอ่าน
พัฒนาการอ่าน
 
บทความ
บทความบทความ
บทความ
 
หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง โรงเรียนต้นไม้
หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง  โรงเรียนต้นไม้หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง  โรงเรียนต้นไม้
หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง โรงเรียนต้นไม้
 
ห้องสมุด 3 ดี
ห้องสมุด 3 ดีห้องสมุด 3 ดี
ห้องสมุด 3 ดี
 
บทท 3-6 กศบป
บทท   3-6 กศบปบทท   3-6 กศบป
บทท 3-6 กศบป
 
5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)
5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)
5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)
 
Unlicensed-นวัตกรรมช่วยสอน
 Unlicensed-นวัตกรรมช่วยสอน Unlicensed-นวัตกรรมช่วยสอน
Unlicensed-นวัตกรรมช่วยสอน
 
นวัฒกรรมช่วยสอน
นวัฒกรรมช่วยสอนนวัฒกรรมช่วยสอน
นวัฒกรรมช่วยสอน
 
นวัตกรรมช่วยสอน
นวัตกรรมช่วยสอนนวัตกรรมช่วยสอน
นวัตกรรมช่วยสอน
 
Chapter4 สื่อการเรียนรู้
Chapter4  สื่อการเรียนรู้Chapter4  สื่อการเรียนรู้
Chapter4 สื่อการเรียนรู้
 
NT'55 Nationnal Test
NT'55 Nationnal TestNT'55 Nationnal Test
NT'55 Nationnal Test
 
บทที่ 2วิจัยการอ่าน
บทที่ 2วิจัยการอ่านบทที่ 2วิจัยการอ่าน
บทที่ 2วิจัยการอ่าน
 
คู่มือพระวิทยากร
คู่มือพระวิทยากรคู่มือพระวิทยากร
คู่มือพระวิทยากร
 
ส่งวิจัยในชั้นเรียน1.59
ส่งวิจัยในชั้นเรียน1.59ส่งวิจัยในชั้นเรียน1.59
ส่งวิจัยในชั้นเรียน1.59
 
5cs3gik5rf0t0l42j9hbvpth02
5cs3gik5rf0t0l42j9hbvpth025cs3gik5rf0t0l42j9hbvpth02
5cs3gik5rf0t0l42j9hbvpth02
 
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
 
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย ป.5 ใหม่1
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย  ป.5   ใหม่1ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย  ป.5   ใหม่1
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย ป.5 ใหม่1
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย ป.5 ใหม่1
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย  ป.5   ใหม่1ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย  ป.5   ใหม่1
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย ป.5 ใหม่1
 

บทที่ 2.ใหม่

  • 1. บทที่ ๒ ศึกษาเอกสาร ความหมายของการอ่าน สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (๒๕๕๐ ) การอ่าน คือ การเข้าใจ ในถ้อยคา ประโยค ข้อความ และเรื่องราวที่อ่าน โดยสามารถอธิบายความหมายของคา เล่าเรื่อง สรุปเรื่อง และบอกประเด็นสาคัญของเรื่องได้ถูกต้อง ดังนั้น ผู้ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็น ผู้ที่อ่านเป็น มูลนิธิซีเมนต์ไทย (๒๕๔๖) การอ่านเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาหาความรู้ การประกอบอาชีพ การนาไปใช้ในการดารงชีวิต ฮิลเดรท (Gertrude.H.Hildreth, ๑๙๖๘) ได้กล่าวว่า การอ่าน คือ กระบวน การทาง สมองที่จะแปลสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่มองเห็นได้ ให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ แอโรสมิท (Gray Arrowsmith, ๑๙๗๒) ได้ให้ความหมายของการอ่านว่า การอ่าน หมายถึง ความรู้สึกหรือสภาพทางจิตที่เกิดขึ้นในสมองด้วยความเข้าใจถ้อยคาที่เขียนหรือตีพิมพ์ ขึ้นมา และควา มเข้าใจในการอ่านที่สมบูรณ์จะเกิดขึ้น เมื่อความคิดความรู้สึกของผู้อ่านตรงกับ ความรู้สึกของผู้เขียนก่อนที่จะเขียนออกมาเป็นถ้อยคา ไวล์แมน (Arther W.Weilman, ๑๙๗๒ ) ได้กล่าวไว้ว่า การอ่านเป็นกระบวนการ ที่สลับซับซ้อน และขึ้นอยู่กับภาวะแวดล้ อมต่าง ๆ ของผู้เรียนด้วย เพราะการอ่านมิใช่แต่ต้องการ เพียงการออกเสียงที่ถูกต้องเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการรู้ความหมายและการเข้าใจความหรือถ้อยคา จากสัญลักษณ์เหล่านั้นด้วย จากความหมายของการอ่านข้างต้นสรุปได้ว่า การอ่านเป็นกระบวนการทางสมอง ที่ต้องใช้สายตาสัมผัสตัวอักษรหรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ รับรู้และเข้าใจความหมายของคาหรือสัญลักษณ์ โดยแปลออกมาเป็นความหมายที่ใช้สื่อความคิดและความรู้ระหว่างผู้เขียนกับผู้อ่านให้เข้าใจ ตรงกัน และผู้อ่านสามารถนาเอาความหมายนั้น ๆ ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ ความสาคัญของการอ่าน การอ่านเป็นพื้นฐานที่สาคัญของการเรียนรู้และการพัฒนาสติปัญญาของคนในสังคม การอ่านทาให้เกิดการพัฒนาด้านสติปัญญา ความรู้ ค วามสามารถ พฤติกรรม และค่านิยม ต่าง ๆ รวมทั้งช่วยในการเปลี่ยนแปลงการดาเนินชีวิต พัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีที่สุดของชีวิต การอ่า นจึงมี ความสาคัญต่อชีวิตมนุษย์อย่างยิ่ง ดังนี้
  • 2. ๑. สาคัญต่อชีวิตประจาวัน ความเป็นจริงการอ่านไม่ได้มีความสาคัญต่อนักเรียนหรือนักศึกษาเท่านั้น แต่บุคคล ทั่วไปก็อาจแสวงหาความรู้ได้ด้วยการอ่าน การอ่านเป็นสื่อกลางของการเรียนรู้ ผู้อ่านมากย่อมรู้ มาก และถ้านาความรูนนมาใช้ประโยชน์ตอสังคม สังคมนันย่อมมีประสิทธิภาพสามารถพัฒนาไป ้ ้ั ่ ้ ในทางที่ถูกที่ควรอย่างรวดเร็ว ดังนั้น การปลูกฝังให้รักการอ่านตั้งแต่เยาว์วัย จึงเป็นพื้นฐานในการ เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ๒. สาคัญต่อการเรียน การอ่านเป็นหัวใจของการจัดกิจกรรมทั้งห ลายในการเรียนการสอน และมี ความสาคัญยิ่งต่อความสาเร็จ การอ่านเป็นทักษะที่สาคัญยิ่งอันจะส่งผลต่อการเรียนรู้ในทุกกลุ่ม สาระการเรียนรู้ โดยเฉพาะระดับประถมศึกษา หากเริ่มต้นดีรากฐานการอ่านของเด็กก็จะดี จากความสาคัญของการอ่านที่กล่าวข้างต้นย่อมเกี่ยวพันกับผู้ดาเนิ นงานทางด้าน การศึกษาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์ประกอบในการอ่าน ก่อนที่จะสอนหรือฝึกให้เด็กอ่านไม่ว่าจะเป็นอ่านคล่อง อ่านเก่ง และอ่านเป็น ควรศึกษาองค์ประกอบซึ่งจะส่งผลต่อการอ่าน ดังนี้ ๑. ระดับสติปัญญา เด็กมีสติปัญญาไม่เท่ากัน ย่อมมีผลอย่างยิ่งต่อการอ่าน จึงไม่ควรเน้นให้อ่านได้เท่ากันในเวลาเดียวกัน ๒. วุฒิภาวะและความพร้อม การอ่านต้องอาศัยทักษะต่างๆ เป็นองค์ประกอบย่อยๆ เช่น ทักษะการใช้สายตา การใช้อวัยวะเกี่ยวกับการออกเสียง ดังนั้นการเตรียมความพร้อม ทางด้านร่างกายของเด็กจึงเป็นสิ่งสาคัญอย่างยิ่งในการเริ่มต้นการสอนอ่าน ๓. แรงจูงใจ แรงจูงใจมีทั้งภายนอกและภายใน ภายนอก ได้แก่ พ่อ แม่ ครู ภายใน ได้แก่ การค้นพบด้วยตัวเองว่าชอบหรือไม่อย่างไร ๔. สภาพร่างกาย สภาพร่างกายที่สมบูรณ์จะช่วยให้สุขภาพจิตดี ร่าเริง แจ่มใส มีความกระตือรือร้นมากกว่าร่างกายที่อ่อนแอ และเจ็บป่วย ๕. สภาพอารมณ์ อารมณ์ที่มั่นคงสม่าเสมอ แจ่มใส ไม่มีแรงกดดันจากความคาดหวัง ของครูหรือผู้ปกครอง จะทาให้เด็กอ่านได้ดี ๖. สภาพแวดล้อม ทั้งที่บ้าน และที่โรงเรียนจะมีอิทธิพลต่อการอ่านสูงมาก เช่น บุคคลใกล้ชิดชอบอ่าน ที่โรงเรียนมีหนังสือให้อ่าน มีห้องสมุดที่น่าเข้าไปศึกษาค้นคว้า มีกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่น่าสนใจและเหมาะสมกับความพร้อมของเด็กอย่างต่อเนื่อง
  • 3. และสม่าเสมอ ๗. การวางแผนการอ่านให้เด็ก นอกจากวิธีสอนและสื่อแล้ว การวางกาหนดให้อ่าน ก็มีส่วนช่วยส่งเสริมการอ่านให้มากกว่าเดิม นอกจากองค์ประกอบข้างต้น จะมีส่วนช่วยให้การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านประสบ ความสาเร็จ การเลือกวิธีการอ่านอย่างเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่จะช่วยให้การอ่านมีความหมาย มากขึ้น โดยเลือกวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสม ดังนี้ ๑. อ่านคร่าว ๆ เป็นการอ่านเพื่อสารวจว่าจะอ่านห นังสือนั้นต่อไปโดยละเอียดหรือไม่ จะอ่านเพียงชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง สารบัญ คานา และอ่านบางตอนเพื่อดูสานวนและข้อความ ๒. อ่านเก็บแนวคิด เป็นการอ่านเพื่อต้องการอ่านสรุปสาระสาคัญของข้อความ ๓. อ่านแบบตรวจตรา เป็นการอ่านเฉพาะส่วนสาคัญที่ต้องการเป็นหลัก ๔. อ่าน อย่างศึกษาค้นคว้า เป็นการอ่านเพื่อศึกษาค้นคว้าเรื่องนั้น ๆ ต้องอ่าน อย่างละเอียดทุกบททุกตอนตั้งแต่ต้นจนจบให้ได้ความครบถ้วน ๕. อ่านเชิงวิเคราะห์ หรืออ่านตีความ เป็นการอ่านที่ต้องใช้วิธีอ่านอย่างศึกษา ค้นคว้าประกอบด้วย โดยอ่านอย่างละเอีย ดให้ได้ความครบถ้วนแล้วจึงแยกแยะออกได้ว่าส่วน ต่าง ๆ นั้นมีเนื้อหาและความสาคัญอย่างไรบ้าง แต่ละส่วนสัมพันธ์กับส่วนอื่น ๆ อย่างไร ๖. อ่านเก็บข้อมูล เป็นการอ่านหนังสือหรือเอกสารหลาย ๆ เรื่อง เพื่อค้นหาข้อมูล เรื่องเดียวกันจากหลาย ๆ แหล่ง เพื่อคัดเลือก เปรี ยบเทียบ และนาเฉพาะส่วนที่ต้องการมาใช้ ต่อไป ๗. อ่านโดยใช้วิจารณญาณ เป็นการอ่านที่ต้องอาศัยวิธีการอ่านทั้งหมดที่กล่าว ข้างต้นร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดปัญญาสันนิษฐานหาเหตุผลได้ นอกจากการอ่านด้วยวิธีการต่าง ๆ แล้ว ในการอ่านโดยทั่วไปยังมีความต้อง การ ที่จะอ่านเร็ว อ่านเก่ง เพื่อที่จะได้อ่านมาก ๆ หรือใช้เวลานั้น ๆ และให้ได้เรื่องราวตามความ ต้องการ การอ่านเร็ว ผู้อ่านส่วนใหญ่ต้องการอ่านได้เร็ว ๆ เพื่อที่จะอ่านได้มาก หรือเพื่ออ่านในเวลาอันสั้น แต่ได้ความมาก หรือเพื่อความเพลิ ดเพลินขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละคน อันที่จริงการอ่าน เร็วในวิชาการอ่านต้องเน้นที่อ่านเร็วด้วย และได้เรื่องราวสมความตั้งใจ และมีความเข้าใจจริง ๆ การอ่านเร็วจะใช้ในกรณีต่อไปนี้
  • 4. ๑ อ่านคร่าว ๆ เพื่อต้องการหาข้อความหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือนั้น ๒. อ่านเล่น ๆ เพื่อต้องการความเพลิดเพลิน เพียงแต่อ่านให้จบ ๆ รู้เรื่องราวเท่านั้น ๓. อ่านข่าวทั่ว ๆ ไป เพราะข่าวทั่วไปนั้นเกิดขึ้นใหม่ ๆ ทุกวัน อ่านแล้วก็แล้วกัน ได้รู้ ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในสังคมต่าง ๆ ๔. อ่านเรื่องที่เคยอ่านแล้วหรือรู้ดีอยู่แล้ว เพื่อตรวจว่าตรงกับความรู้ของตนหรือไม่ ๕. อ่านโฆษณา การโฆษณาต้องใช้เทคนิคหลักประการหนึ่ง คือให้ผู้อ่านอ่านได้ใน เวลาน้อยที่สุด แต่เกิดความอยากซื้อสินค้า วิธีการฝึกฝนตนเองให้เป็นคนอ่านเร็ว อาจทาได้ดังนี้ ๑. รู้จุดมุ่งหมายในการอ่าน แต่ละครั้งแน่นอน เช่น เป็นการอ่านเพื่อเตรียมสอบ หรือการอ่านเพื่อหาคาตอบ หรืออ่านเพื่อความเพลิดเพลิน หรืออ่านเพื่อฆ่าเวลา ๒. รู้วิธีอ่านหนังสือแต่ละประเภท จะทาให้อ่านหนังสือได้เร็วขึ้น ๓. อ่านหนังสือเอาใจความในเวลาจากัด โดยอ่ านหน้าคานา บทนา สารบัญ บทขึ้นต้น บทลงท้าย ดรรชนี บรรณานุกรม ถ้ายังไม่เข้าใจก็อาจจะอ่านบทกลาง อ่านบทสรุปแต่ละบท ๔. ถ้าเป็นการอ่านทุกหน้า พยายามอย่าอ่านทุกตัว อ่านเฉพาะคาสาคัญในแต่ละ บรรทัด แต่ละย่อหน้า เพื่อจับใจความเท่านั้น ๕. พยายามหัดอ่านหนังสือให้เป็นเวลา สม่าเสมอเท่าที่จะทาได้ เช่น ถ้าอ่านหนัง สือ หลังรับประทานอาหารเย็น ก็ควรอ่านตามนั้นทุกเวลา ตอนแรก ๆ อาจจะหัดอ่านหนังสือพิมพ์ก่อน ต่อไปเป็นวารสาร ต่อไปเป็นหนังสือที่ชอบ ต่อจากนั้นก็ขยายวงการอ่านไปเป็นอ่านหนังสือหลาย ๆ ประเภท อาจจับเวลาการอ่านด้วย คือ เริ่มด้วยเวลา ๑๐ นาที ๑๕ นาที ครึ่งชั่วโมงไปเรื่ อย ๆ และดูว่าอ่านได้ครั้งละกี่หน้า แล้วพยายามอ่านให้ได้เร็วยิ่งขึ้น โดยอาศัยหลักเกณฑ์ดังกล่าว ข้างต้นเข้าช่วย ๖. ถ้าหัดตนเองให้พอจะเป็นคนที่อ่านหนังสือเร็วได้แล้ว ก็ต้องปฏิบัติตนให้เป็นคนอ่าน มาก อ่านอย่างสม่าเสมอ อ่านหนังสือทุกประเภท อ่านแล้วติดตาม วิจารณ์ เปรียบเทียบ สิ่งที่อ่าน การอ่านเก่ง การอ่านเก่ง หมายถึง การที่ผู้อ่านมีความสามารถดังนี้ ๑. เข้าใจเนื้อหาตามตัวอักษร เช่น รู้ว่าเมื่ออ่านหนังสือที่แสดงข้อเท็จจริง อย่างตรงไปตรงมาก็เข้าใจตรงตามนั้น ๒. เข้าใจความหมายที่ลึกซึ้งแฝงนัยบางประการอยู่ ผู้อ่านจะเข้าใจในขั้นนี้ได้ก็ต้อง เข้าใจระดับแรกก่อน แล้วใช้ความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ มาช่วยให้เข้าใจความหมายในระดับ
  • 5. ลึก ตัวอย่างเช่น เมื่ออ่านสุภาษิต “รักวัวให้ผูก ” หากลงมือปฏิบัติตามตัวอักษรก็นับว่าอ่านไ ด้เพียง ระดับแรกเท่านั้น ทาให้เกิดผลเสียหายได้ แต่หากอ่านแล้วตีความวิเคราะห์ได้นาไปปฏิบัติ จึงถือ ว่าเข้าใจในระดับลึก ๓. อ่านแล้วสร้างแนวคิดได้ การสร้างแนวคิดนี้เป็นทักษะย่อยของการอ่านที่สาคัญยิ่ง เพราะการอ่านให้เข้าใจไปเรื่อย ๆ อย่างเดียวย่อมไม่เพียงพอ หาก เรื่องราวนั้น ๆ ยาว มีหลายย่อ หน้า ผู้อ่านต้องกาหนดได้ว่า แนวคิดของแต่ละย่อหน้าคืออะไร และเมื่อรวมทั้งเรื่องแล้ว จะสรุป แนวคิดใหม่ได้ว่าอย่างไร ๔. เกิดความคิดใหม่ ผู้ที่ต้องการฝึกการอ่านเก่งต้องไม่พอใจอยู่เพียงการอ่านตรงสิ่งที่ อ่านหรือสรุปเรื่องได้เท่านั้น แต่ต้องหัดสร้างความคิดใหม่อย่างที่เรียกว่า ประยุกต์หรือปรับ ความคิดหรือข้อมูลที่รู้นั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไปอีก การอ่านแบบนี้เองทาให้โลกเจริญ ทาให้ เกิดตารับตาราใหม่ เกิดอาหารและขนมชนิดใหม่ เกิดไม้พันธุ์ใหม่ เกิดสูตรเคมี สูตรคณิตศาสตร์ ใหม่ ๆ เกิดวรรณกรรมใหม่ ๆ ๕. อ่านแล้วประเมินค่าของสิ่งที่อ่านได้ คาว่า “ค่า” ในที่นี้ หมายถึง คุณค่า คุณสมบัติ หรือคุณประโยชน์ ในทางที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่อ่านนั้น โดยประเมินกันอย่างยุติธรรม ๖. อ่านแล้วแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านได้ ข้อนี้เป็นข้อที่ทาให้การรับ และส่ง สารสมบูรณ์ตามวงจร เพราะหากมีแต่การรับสาร ก็จะไม่มีใครทราบได้ว่าผู้รับสารเข้าใจสารนั้น หรือไม่ เพียงใด คุณสมบัติของนักอ่านที่ดี นักอ่านหนังสือที่ดีควรมีสิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้ ๑. มีความสนใจในการอ่านหนังสือ อ่านหนังสือจนเป็นกิจวัตรประจาวัน อ่านหนังสือ ทุกวันอย่างมีความสุข อ่านติดต่อกันเป็นเวลานานได้ อ่านหนังสือได้ทุกประเภทของนักเขียน ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเก่าหรือใหม่ก็ตาม ๒. รู้จักวิธีการอ่านหนังสือให้ได้เร็ว ๓. มีประสบการณ์เพียงพอที่จะเข้าใจและซาบซึ้งกับความหมายของเนื้อเรื่อง ๔. ติดตามความเคลื่อนไหวทางวิทยาการต่าง ๆ และติดตามวงการหนังสืออยู่เสมอ มีความรู้เรื่องหนังสือ รู้จักลักษณะและประเภทขอหนังสือ สามารถเลือกหนังสือได้ตรงกับ ความต้องการและความสนใจ ๕. มีวิจารณญาณในการอ่าน คือ อ่านอย่างไตร่ตรองก่อนที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อ และเป็น การเชื่ออย่างมีเหตุผล มีใจกว้างในการรับฟัง
  • 6. การส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน การอ่านเป็นการพัฒนาตนเอง และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ซึ่งเป็นสิ่งจาเป็น มาก ในการพัฒนาคนและสังคม ดัง นั้นสถานศึกษาควรจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน อย่างเป็นระบบ โดยคานึงถึงปัจจัยการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและการจัดกิจกรรมส่งเสริม การอ่าน ตามรายละเอียด ดังนี้ - ปัจจัยการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ๑. ห้องสมุด คือ ห้องสาคัญที่สุดในโรงเรียน ในยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร และยุคแห่งการศึกษาค้นคว้าไร้ขอบเขตหรือไร้พรมแดน ห้องสมุดจึงเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สาคัญที่สุด เป็นที่รวบรวมข้อมูลความรู้นานาชนิด เป็นหน้าต่าง ที่ถูกเปิดสู่โลกภายนอกที่ก ว้างไกล เป็นขั้นบันไดขั้นแรกของการท่องสู่โลกกว้างอันไร้ขอบเขต เป็น ศูนย์รวมข่าวสาร เรื่องราวที่ทันสมัยและล้าสมัย เป็นแหล่งรวมวิทยาการทุกแขนงอาชีพ ทั้งสารคดี บันเทิง กีฬา และเทคโนโลยี เพื่อให้บริการตามความสนใจของแต่ละบุคคล เป็นศูนย์รวม นันทนาการทางสมอง ให้ความสุขและช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้ดีงาม ๒. มุมหนังสือ ถึงแม้ว่าโรงเรียนจะมีห้องสมุดโรงเรียนแล้วก็ตาม แต่มุมหนังสือในห้องเรียน ก็ใช่ว่า จะหมดความสาคัญ กลับเป็นตัวเร่งที่สาคัญทาให้เด็กตื่นตัวในการเรียนรู้ตลอดเวลา มุมหนังสือในห้องเรียนจะช่วยพัฒนาการอ่านในเวลาที่ เด็กอยากอ่าน และครูเอง ก็สามารถดูแลเด็กได้อย่างทั่วถึง และเด็กอยู่ในสายตาครูตลอดเวลาว่าใครอ่านมาก อ่านน้อย อ่านตลอดเวลา ไม่ช้าก็อ่านออก อ่านคล่อง และรักการอ่าน ๓. ห้องสมุดเคลื่อนที่ โรงเรียนหลายแห่ งมีสถานที่จากัดสาหรับการอ่านของเด็ก หนังสือหรือห้องสมุด เคลื่อนที่สามารถแก้ปัญหาได้ดี ก่อนอื่นลองพิจารณาดูว่าในโรงเรียนมีสถานที่ใดบ้างที่ร่มรื่น ปลอดภัย เช่น ใต้ต้นไม้ ระเบียงหน้าห้อง ศาลา ฯลฯ ให้มีที่ว่างพอสาหรับเด็กนั่งอ่าน นอนอ่าน ถ้าไม่มีเก้าอี้ก็ใช้เสื่อปูก็ได้ หาเด็กโต ๆ มาเป็นยุวบรรณารักษ์ แบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ หมุนเวียนผลัดกันไป ครูคอยดูแลห่าง ๆ อย่าวุ่นวายกับเด็กมากนัก ที่สาคัญจัดกิจกรรมแล้วต้องติดตามผลด้วย ให้ทาสถิติผู้อ่านผู้ยืมไว้ จัดกิจกรรม เสริมตาม เช่น ทายปัญหา วาดภาพ เล่านิทาน ฯลฯ เด็กก็สนุกกับการอ่าน ครูก็สอนสบาย
  • 7. ๔. ทรัพยากรที่จาเป็น นอกจากสถานที่แล้ว อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่ออานวยความสะดวกแก่ครูและนักเรียน เช่น ชั้นวางหนังสือ โต๊ะหรือเคาน์เตอร์บริการยืม- คืน คอมพิวเตอร์ ป้ายนิเทศ เครื่องเสียง เวที การแสดงเล็ก ๆ โรงละครหุ่น มีราคาที่เหมาะสม ไม่ต้องลงทุนซื้อทุกอย่าง ประดิษฐ์ดัดแปลงขึ้นมา ใช้บ้าง ๕. การมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมแบ่งหน้าที่กันให้ชัดเจน เปิดเทอมมาไม่ต้องทาเรื่องอื่นก่อน ถ้าเด็ก อ่านไม่ออก ไม่รักการอ่าน สอนไปก็ไม่รู้เรื่อง ควรสอนการอ่านเป็นเรื่องแรก ขั้นแรกตั้งเป้าหมายไว้ว่า ภายในภาคเรียนที่ ๑ เด็กทุกคนต้องอ่านออก และมีนิสัย รักการอ่าน กาหนดวิธีการ กิจกรรมว่าจะทาอะไรก่อน-หลัง อย่าให้ซ้าซ้อน กาหนดตัวบุคคล ครูทุกคนต้องรับผิดชอบกิจกรรม ใครถนัดอะไร ใครชอบทาอะไร วางแผนการดาเนินงานแล้วลงมือทา ผู้บริหารโรงเรียน คอยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ไปขอของรางวัล ให้เพียงพอ มีการประเมินผลเป็นระยะเพื่อดูความก้าวหน้า ต่อไปก็ไม่ต้องมานั่งบ่นว่าทาไมเด็ก ไม่อ่านหนังสือ ๖. ครูทุกคนเป็นตัวอย่างที่ดีในการอ่าน สังคมไทยไม่ใช่สังคมการอ่าน คนไทยส่วนใหญ่ไม่ชอบอ่านหนังสือ ไม่ชอบค้นคว้า หาความรู้ นิสัยดังกล่าวสืบทอดต่อกันมาเสมือนมรดกจนถึงปัจจุบัน แต่โรงเรียนสามารถ เปลี่ยนแปลงได้ เป็นหน้าที่ของครูทุกคนทุกวิชาต้องส่งเสริมพัฒนาเด็กให้มีนิสัยรักการอ่าน เริ่ม จากครูทุกคนต้องเริ่มอ่านให้เด็กเห็น จัดเป็นเวลา “วางทุกงานอ่านทุกคน” ทุกวัน เด็กคนไหนทาไม่ได้ก็ตักเตือนเป็นรายบุคคล ครูคนไหนทาไม่ได้ก็ต้องปรับปรุง ต้อง สร้างภาพใหม่ในโรงเรียน อย่างอื่นยากกว่านี้ครูไทยยังทาได้ แค่อ่านหนังสือวันละ ๑ ครั้ง พร้อม ๆ กันทั้งโรงเรียน ทาไมจะทาไม่ได้ จัดบรรยากาศห้องสมุดอย่างหลากหลายแล้ว ต้องมาทาความเข้าใจกับครูทุกคน นิสัยเดิม ๆ ที่ไม่น่าดู ไม่เหมาะสม ไม่ส่งเสริมให้เด็กรักการอ่านให้เพลา ๆ ลง ที่โรงเรียนต้องสร้าง ภาพให้ดูดี เช่น เวลาว่างก็หยิบหนังสือมาอ่านกันบ้าง หน้าตาที่ดูแล้วไม่ส่งเสริมการอ่ านก็ทาให้ สวยขึ้น คาพูดไพเราะเมื่อเด็กฟังแล้วมีกาลังใจขึ้นไม่ยากเลย
  • 8. ๗. ผู้บริหารสนับสนุนติดตามอย่างใกล้ชิด สิ่งสาคัญคือ การเอาจริงเอาจังอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมจะน่าสนใจหรือไม่ อยู่ทการสร้างแรงจูงใจ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเป็นฝ่ายสนับสนุน ช่วยเหลือครูโดยช่วยคิด ี่ ช่วยวางแผน และจัดสรรงบประมาณให้ห้องสมุดอย่างเพียงพอ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน รูปแบบการจัดกิจกรรม แบ่งตามประเด็น ดังนี้ ๑. รูปแบบกิจกรรมควรสอดคล้องกับบริบท กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านใด ๆ ที่จัดขึ้นต้องสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน และผู้เรียน กล่าวคือ คานึงถึงวุฒิภาวะ พื้นฐาน และประสบการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งเปิดโอกาส ให้ผู้เรียน เป็นผู้ค้นหาข้อมูล หาวิธีการ ประเมินค วามถูกต้องด้วยตนเอง พูดง่าย ๆ คือ กิจกรรม ต้องมีลักษณะให้ผู้เรียนลงมือกระทาด้วยตนเอง ครูมีหน้าที่อานวยความสะดวกและช่วยคิด ๒. รูปแบบที่ตายตัวไม่เกิดแรงกระตุ้น กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน มีอยู่มากมาย เลิกเสียทีรูปแบบกิจกรรมที่ตายตัว ควรเน้นกระบวนการพัฒ นาที่ต่อเนื่องเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ เป็นลาดับ ปีนี้ทาแบบนี้เพราะสาเหตุเป็น เช่นนี้ ปีหน้าควรปรับวัตถุประสงค์ให้สูงขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ กิจกรรมก็จะเปลี่ยนไป จะจัด กิจกรรมอะไรให้ดูผลลัพธ์ที่ผ่านมา มีปัญหาอะไร สาเหตุอะไร ถ้าปีนี้เป้าหมายเปลี่ยนแปลงไป เราจะออกกิจกรรมอย่างไรจึงจะทาให้ผู้เรียนสามารถบรรลุผลได้ตามเป้าหมาย ต้องใช้เทคนิค วิธีการหรือสื่ออะไรเพิ่มบ้าง การเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ ๑. คุณค่าความเป็นคน หัวใจของการพัฒนานิสัยรักการอ่านอยู่ที่เชื่อใจกัน ครูต้องฟังเด็กให้มากขึ้น อดทน คอยให้เด็กแสดงออกต ามความสามารถ เปิดใจกว้างรับฟังเด็กพูดทุกคน แสดงความสนใจ อย่างจริงจังเวลาเด็กพูด เด็กทาอะไร อย่าออกคาสั่งมากนัก นักเรียนทาเองได้ ๒. ความเป็นมิตรและปลอดภัย กิจกรรมอะไรก็ไม่สาคัญเท่ากับบรรยากาศดี กิจกรรมดี งบประมาณเพียงพอ แต่ถ้าบรรยากาศแย่ ก็แทบไม่มีคุณค่าแต่อย่างใด ที่สาคัญต้องไม่มีการบังคับให้นักเรียนเข้าร่วม ทากิจกรรม ไม่มีการคาดคั้นให้ส่งผลงาน ไม่มีการคาดโทษใด ๆ ไม่มีการมุ่งเอาแต่คะแนน รวมทั้ง ไม่มีการใช้วาจาเชิงเย้ยหยัน ส่อเสียด เหยียดหยาม ครูคนไหนอดใจไม่ ได้ทนไม่ไหวก็ให้ยิ้ม อย่างเดียวก็พอ ไม่ต้องช่วยอะไร อยู่ห่าง ๆ เท่านี้เอง เด็ก ๆ ทุกคนก็พร้อมที่จะรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ด้วยความเต็มใจ และกระตือรือร้นทากิจกรรมต่าง ๆ อย่างมีความสุข
  • 9. ๓. เน้นความร่วมมือของผู้เรียน สาคัญที่สุดคือ ทุกกิ จกรรมที่จัดขึ้นในโรงเรียน ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้เรียน แต่ต้องเป็นความร่วมมือแบบเชื่อใจกัน อย่าทาแบบผู้เรียนเป็นเสมือนคนด้อยโอกาส คอยแต่รับ ไม่มีกิจกรรมก็ไม่คิดทาอะไรให้ก้าวหน้า รอแต่ครูเท่านั้น เริ่มจากให้ร่วมวิเคราะห์สภาพปัญหาการอ่านของตนเอง ของกลุ่มเพื่อน เสนอ แนวทางการพัฒนาว่าควรจะทาอย่างไร ร่วมนาเสนอ อภิปราย ฝึกการคิดอย่างมีเหตุผล การรับฟัง ความคิดที่แตกต่าง รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดความสานึกร่วมกันในการพัฒนาตนเองและเพื่อน ๆ ในโรงเรียน มอบหมายให้รับผิดชอบเป็นคณะกรรมการ ผู้ปฏิ บัติ ผู้ประเมิน ปรับปรุงด้วยตนเอง ทุกขั้นตอน ผิดบ้างถูกบ้าง ครูก็คอยชี้แนะให้กาลังใจ เพื่อส่งเสริมจิตสานึกในการพัฒนาว่าเป็น เรื่องของตนเอง เป็นเรื่องของทุกคนที่ต้องช่วยเหลือกัน จะเกิดแนวคิดใหม่ ๆ ที่สร้างสรรค์ ส่งผลให้ ผู้เรียนเกิดความตระหนักอันนาไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป ครูไม่ต้องมานั่งจ้าจี้จ้าไชตลอดเวลา การเสริมแรง การพัฒนานิสัยรักการอ่านของผู้เรียน คือ “การเสริมแรง ” เป็นสิ่งที่ทาให้กิจกรรม ดาเนินไปอย่างมีชีวิตชีวา ส่งผลต่อการพัฒนาของผู้เรียนเป็นอย่างสูง ดังนั้น ผู้เรียนต้องได้รับการ เสริมแรงอย่างทั่วถึ งทุกคน มากน้อย เข้มข้นเพียงใดอยู่ที่ผลการปฏิบัติและอยู่ที่ความสามารถ ของผู้เรียนแต่ละคน หลักการเสริมแรงควรหลากหลายวิธีการ เพื่อให้เข้าถึงจิตใจของผู้เรียนอย่างแท้จริง ต้องช่วยได้ทั้งผู้เรียนที่เรียนเก่งทาให้มีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น ช่วยทั้งผู้เรียนที่เรียนไม่เก่งสามารถพัฒนา ตนเองดีขึ้น เกิดความมั่นใจ สร้างความภาคภูมิใจในตนเอง จนสามารถเดินได้ด้วยตนเอง อย่างมั่นคง ตัวอย่างการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ๑. การแนะนาหนังสือ เมื่อมีหนัง สือเรื่องใหม่ ๆ เข้ามาอย่าเอาไปตั้งแสดงเฉย ๆ ควรมีกิจกรรมแนะนา หนังสือใหม่ให้เด็กรู้จัก ชักจูงให้เด็กอยากอ่าน วิธีง่าย ๆ คือ ครูหรือนักเรียนไปอ่านหนังสือเรื่องดังกล่าวมาโดยละเอียด และวิเคราะห์เรื่องราวที่ได้รับ
  • 10. หาวิธีการแนะนาที่น่า สนใจ ถ้าเป็นหนังสือเกี่ยวกับการทาอาหาร อาจจะมี การสาธิตการทาอาหารที่เกิดจากการอ่านโดยตรง ถ้าเป็นสิ่งประดิษฐ์ก็อาจสาธิตการประดิษฐ์ หรือชักชวนให้ผู้สนใจลองทาไปพร้อมกัน ๒. การเล่าเรื่องจากหนังสือ การเล่าเรื่องจากหนังสือ เป็นการกร ะตุ้นให้เด็กอยากอ่านหนังสือมากขึ้น วิธีการ เล่าเรื่องก็ทาได้หลายวิธี ที่สาคัญเรื่องที่จะเล่าต้องเป็นเรื่องที่ผู้เรียนสนใจและมีประโยชน์ วิธีการเล่าก็ง่าย ๆ เล่าเฉพาะบางตอนให้ฟัง อาจจะเลือกตอนต้นเรื่อง หรือตอนท้ายเรื่อง เล่าเพียงตอนเดียวที่น่าตื่นเต้นเท่านั้น หรือเล่าตลอดเรื่อง ตั้งแต่ต้นจนจบ โดยยกตัวอย่างตอนที่เด่น ๆ ให้ฟัง แล้วเว้น รายละเอียดบางตอนของเรื่องไว้ให้ผู้ฟังไปอ่านต่อ หรือเล่าเปรียบเทียบ โดยเล่าเปรียบเทียบกับเรื่องอื่นที่ผู้เรียนรู้จัก นาหนังสือ ทั้งสองเล่มมาแสดงให้เด็กดูด้วย เด็กจะรู้จักหนังสือมากขึ้น เห็นไหมครู ไม่ยากเลย ๓. การอ่านหนังสือให้เด็กฟัง การอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เป็นวิธีการนาเรื่องร าวในหนังสือมาเล่าให้ฟัง เพื่อกระตุ้น เร้าความสนใจให้เกิดขึ้น ส่งผลให้เด็กอยากรู้เรื่องราวและอยากอ่านหนังสือเล่มนั้นต่อไป ก่อนอื่นต้องรู้ว่าผู้ฟังเป็นใคร อายุเท่าไร วุฒิภาวะเป็นเช่นไร เพื่อเลือกหนังสือ ให้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ ผู้อ่านต้องเตรียมตัวให้ดี อ่านหนังสือทั้งเล่มมาก่อน ไม่ต้องอ่านให้ฟังทั้งเล่มหรอก เอาแต่ใจความสาคัญแล้วเชื่อมโยงกัน ที่เหลือผู้ฟังจะไปอ่านเอง ๔. การเล่านิทานประกอบสื่อการเรียนรู้ การเล่านิทานประกอบสื่อการเรียนรู้ ได้รับความนิยมชมชอบจากผู้ชมมาช้านานแล้ว โดยเฉพาะเด็ก ๆ เพราะผู้ชมสามารถสัมผัสได้จากการชมและน้าเสียงตลอดเวลา ก่อนอื่นต้องรู้ ว่าผู้ฟังเป็นใคร อายุเท่าไร วัยใด และมีวุฒิภาวะเป็นเช่นไรเพื่อจะได้ คัดเลือกเนื้อหาให้เหมาะสม ขณะเล่านิทานมีสื่อการเรียนรู้ประกอบ แสดงท่าทางไปตามเนื้อเรื่องและอารมณ์ ของเรื่องให้มากที่สุด ผู้ฟังจึงจะชอบ ทุกเรื่องที่ทาการแสดง ต้องสนุกและต้องมีแง่คิดให้แก่ ผู้ฟังทุกครั้ง จบแล้วควรมี กิจกรรมต่อท้าย เช่น การแสดงความคิดเห็นว่าชอบหรือไม่ชอบตัวละครใด เพราะเหตุใด