SlideShare une entreprise Scribd logo
1  sur  59
รายงานความยั่งยืน ปี 2560
บริษัท ทรัพย์ทิพย์ จํากัด
สร้างคุณภาพพลังงานไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
2
สารบัญ
4 เกี่ยวกับรายงานนี้
6 สารจากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
7 ธุรกิจของ ทรัพย์ทิพย์
10 ผลการดําเนินงาน
15 การบริหารความเสี่ยง
16 กลยุทธ์ความยั่งยืนของทรัพย์ทิพย์
19 การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
24 การกํากับดูแลกิจการที่ดี
29 ผลิตภัณฑ์และลูกค้า
33 การดําเนินงานที่เป็นเลิศ
37 ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
39 การมีส่วนร่วมกับชุมชน
44 นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลและแรงงานสัมพันธ์
54 รางวัลแห่งความสําเร็จ
55 แบบสํารวจความคิดเห็น
ข้อมูลติดต่อ
สํานักงานใหญ่ : เลขที่ 68 อาคารทรัพย์สถาพร ซอยสันติภาพ ถนนทรัพย์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก
กรุงเทพฯ 10500
02-233-0444-5
โรงงาน : เลขที่ 49 หมู่ 6 บ้านโค้งรถไฟ ถนนสุระนารายณ์ ตําบลนิคมลํานารายณ์ อําเภอชัยบาดาล จังหวัด
ลพบุรี 15130
036-462-438-40
info@sapthip.com
4
เกี่ยวกับรายงานฉบับนี้
รายงานความยั่งยืนฉบับนี้
มีเนื้อหาครอบคลุมถึงผลการดําเนินงาน
ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในประเด็นที่มีสาระสําคัญ
จากการพิจารณาแนวโน้มด้านความยั่งยืนของสังคมความเสี่ยงและโอกาส
ในการดําเนินธุรกิจของบริษัท ทรัพย์ทิพย์ จํากัด และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
การประเมินสาระสําคัญ
1. การคัดเลือกประเด็น
หน่วยงานผู้รับผิดชอบประเด็นด้านความยั่งยืน
ในแต่ละด้านเป็นผู้คัดเลือกประเด็น โดยพิจารณาจาก
ทิศทางกลยุทธ์การดําเนินธุรกิจและการบริหารจัดการ
ความยั่งยืนองค์กร บริบทความเสี่ยงและโอกาส ความ
คาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการมีส่วนร่วมกับ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แนวโน้มด้านความยั่งยืนระดับสา-
กลที่กระทบต่ออุตสาหกรรมนํ้ามันและก๊าซธรรมชาติ
2. การกําหนดขอบเขตรายงาน
ปัจจัยในการกําหนดขอบเขตของแต่ละประเด็นได้แก่ ผลกระทบที่มีต่อการดําเนินธุรกิจของ ทรัพย์
ทิพย์และผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งภายในองค์กร เช่น บริษัทที่ร่วมทุน และภายนอกองค์กร เช่น
ผู้ค้า ผู้รับเหมา เป็นต้น
5
3. การประเมินระดับความสําคัญ
ประเด็นที่คัดเลือกจะได้รับการจัดระดับความสําคัญ
โดยพิจารณาจากสองมิติ คือ โอกาสและผลกระทบที่มีต่อการ
ดําเนินธุรกิจ ความสนใจและผลกระทบที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วน
เสีย ทั้งนี้เนื้อหาในรายงานจะเน้นประเด็นที่มีสาระสําคัญใน
ระดับสูงและระดับกลาง
4. การทวนสอบและความน่าเชื่อถือ
การเปิดเผยข้อมูลในรายงานต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารความร่วมมือการ
ดําเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของ บริษัท ทรัพย์ทิพย์จํากัด ซึ่งทําหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบการจัดทํารายงาน และ
ให้คําแนะนําเพื่อให้รายงานมีความสมบูรณ์ครอบคลุมประเด็นสําคัญที่เกี่ยวข้องกับองค์กรและผู้มีส่วนได้
ส่วนเสีย อีกทั้งยังจัดให้มีการทวนสอบรายงานโดยหน่วยงานภายนอก
5. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
บริษัทฯ น้อมรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกท่านในทุกรูปแบบ เพื่อนํามาพัฒนาคุณภาพ
ของการจัดทํารายงาน และได้ทําการทวนสอบรายงานความยั่งยืนโดยหน่วยงานภายในและภายนอก และ
ผ่านการสํารวจความคิดเห็นจากผู้อ่านและเว็บไซต์
6
สารจากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บริษัท ทรัพย์ทิพย์จํากัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2549 เพื่อผลิตแอลกอฮอล์จากมันสําปะหลัง เพื่อใช้
ผสมกับนํ้ามันเชื้อเพลิง เป็นพลังงานทดแทนที่ผลิตการผลผลิตทางการเกษตร ทรัพย์ทิพย์จึงมีส่วนสนับสนุน
นโยบายของรัฐในการลดปริมาณการนําเข้านํ้ามันเชื้อเพลิง และยังมีส่วนช่วยในการขยายตลาดของสินค้า
เกษตรอีกทางหนึ่ง ทรัพย์ทิพย์เกิดจากความตั้งใจจริงที่จะช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลังของไทย
ให้ขายผลผลิตได้ราคา และยังเป็นการส่งเสริมให้คนไทยได้ใช้พลังงานทางเลือกอีกด้วย
ทรัพย์ทิพย์เป็นหนึ่งในบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการส่งเสริม และพัฒนาเชื้อเพลิง
ชีวภาพให้ผลิตแอลกอฮอล์ เพื่อผสมกับนํ้ามันเชื้อเพลิงที่เรียกว่า “แก๊สโซฮอล์” ซึ่งผลิตเป็นแบบ FUEL
GRADE โดยมีกําลังการผลิต 200,000 ลิตรต่อวัน หรือประมาณ 66 ล้านลิตรต่อปีและได้รับการส่งเสริมจาก
สํานักงานจาก สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment : BOI)
นโยบายของ บริษัท ทรัพย์ทิพย์จํากัด ก็คือ เราจะเป็นผู้นําการผลิตเอทานอลจากมันสําปะหลัง โดย
มุ่งเน้นประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือ โดยจุดมุ่งหมายของบริษัท คือจะใส่ใจในการผลิตเอทานอลที่มี
คุณภาพออกสู่ตลาดและคํานึงถึงสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ และชุมชนรอบข้าง เพื่อความยั่งยืนในอนาคต
ภายใต้ปณิธานที่ว่า "สร้างคุณภาพพลังงานไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม"
บริษัทตระหนัก และให้ความสําคัญของความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงดําเนิน
กิจกรรมเพื่อสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการดําเนินงาน เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และให้
สังคมได้รับผลประโยชน์สูงสุด โดยหลักธรรมาภิบาล คํานึงถึงผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
ชุมชนใกล้เคียง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมช่วยเหลือชุมชน และการพัฒนา
ชุมชนอย่างยั่งยืน และพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านเทคโนโลยีที่สะอาด ทันสมัย
และไม่มีผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กร
ที่มีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือ
ผมขอถือโอกาสนี้ขอบคุณเพื่อนร่วมงานทุกท่านที่ช่วยกัน
พัฒนาบริษัทของเรามาโดยตลอด และจะยังคงร่วมมือร่วมใจกันต่อไป
เพื่อความวัฒนาถาวรขององค์กร
นายสุพจน์ ศรีสถาพร
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
7
ธุรกิจของบริษัท ทรัพย์ทิพย์ จํากัด
"สร้างคุณภาพพลังงานไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม"
บริษัท ทรัพย์ทิพย์จํากัด เป็นบริษัทในเครือบริษัท ทรัพย์สถาพร จํากัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2549 เพื่อผลิตแอลกอฮอล์
จากมันสําปะหลัง เพื่อใช้ผสมกับนํ้ามันเชื้อเพลิง เป็นหลังงานทดแทนที่ผลิตการผลผลิตทางการเกษตร ทรัพย์ทิพย์จึงมีส่วน
สนับสนุนนโยบายของรัฐในการลดปริมาณการนําเข้านํ้ามันเชื้อเพลิง และยังมีส่วนช่วยในการขยายตลาดของสินค้าเกษตร
อีกทางหนึ่งด้วย
ทรัพย์ทิพย์เป็น 1 ในบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการส่งเสริม และพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพให้ผลิต
แอลกอฮอล์ เพื่อผสมกับนํ้ามันเชื้อเพลิงที่เรียกว่า “แก๊สโซฮอล์” ซึ่งผลิตเป็นแบบ FUEL GRADE โดยมีกําลังการผลิต
200,000 ลิตรต่อวัน หรือประมาณ 66 ล้านลิตรต่อปีและได้รับการส่งเสริมจาก สํานักงานจาก สํานักงานคณะกรรมการ
ส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment : BOI) โดยในปัจจุบันบริษัท ทรัพย์ทิพย์จํากัด เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างกลุ่ม
บริษัททรัพย์สถาพร และบริษัท ไทยออยล์เอทานอล จํากัด
ผลิตภัณฑ์ : เอทานอล (Ethanol)
เอทานอล (Ethanol) (สูตรเคมี C2H5OH) เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากการนําเอาพืชมาหมัก เพื่อเปลี่ยนแป้ง
เป็นนํ้าตาล จากนั้นจึงเปลี่ยนจากนํ้าตาลเป็นแอลกอฮอล์ โดยใช้เอนไซม์หรือกรดบางชนิดช่วยย่อย เมื่อทําให้เป็น
แอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 95% โดยการกลั่น ส่วนใหญ่ผลิตจากพืช สองประเภทคือ พืชประเภทนํ้าตาล เช่นอ้อย บีทรูทและพืช
จําพวกแป้งเช่น มันสําปะหลัง ข้าว ข้าวโพด เป็นต้น
8
วิสัยทัศน์ (Vision)
เป็นผู้นําด้านการผลิตเอทานอลจากมันสําปะหลัง โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือ
พันธกิจ (Mission)
1. ดําเนินธุรกิจโดยหลักธรรมาภิบาลโดยคํานึงถึงผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
2. ผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยมุ่งเน้นกระบวนการที่ปลอดภัยและคํานึงถึงชีวอนามัยของพนักงาน
และชุมชนใกล้เคียง
3. พัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านเทคโนโลยี บุคลากร และการบริหาร เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ
ค่านิยม (Core Value)
Safety & Social Responsibility สํานึกความปลอดภัย ใส่ใจสังคม
พวกเราจะมีจิตสํานึกเรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงานรวมถึงการใช้ชีวิตประจําวัน มีความรับผิดชอบต่อ
สังคม โดยคํานึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมและพวกเราจะใส่ใจดูแลชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ มี
ส่วนช่วยเหลือ สนับสนุน หรือสร้างความสมานสามัคคีในชุมชน
Attitude ชื่นชมทัศนคติเชิงบวก
พวกเราจะมีแนวความคิดแบบชนะชนะ ได้ประโยชน์ทุกฝ่ าย มีทัศนคติเชิงบวก มองโลกในแง่ดี เป็ น
คนดี ไม่คิดร้ายกับบุคคลอื่น
9
Professional สวมหมวกมืออาชีพ
พวกเราเป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งประกอบไปด้วยความรู้ ความชํานาญในวิชาชีพที่เราปฏิบัติและรับผิดชอบอยู่
สามารถนําเอาความรู้ ประสบการณ์ที่มีอยู่มาลําดับความสําคัญในการแก้ไขปัญหา และมีการปรับตัวให้ทันกับการ
เปลี่ยนแปลง มีความรับผิดชอบโดยไม่ต้องมีการควบคุมและทํางานให้เกิดผลงานเป็นหลัก
Teamwork จุดประทีปประสานใจ
พวกเราพร้อมที่จะทํางานร่วมกับผู้อื่น ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ ให้เกียรติผู้นําและสมาชิกทีมงาน เพื่อให้ทีม
บรรลุเป้าหมาย รวมทั้งการกระตุ้นจูงใจให้สมาชิกยอมรับและมีพันธะสัญญาในรูปแบบการทํางานร่วมกัน ตลอดจนติดตาม
และยอมรับผลการทํางานร่วมกัน
Healthy สดใสแข็งแรงกายจิต
พวกเราเป็นผู้ที่มีความสุข มีสุขภาพที่ดี ทางกายเราจะรักษาสุขภาพออกกําลังกายให้มีร่างกายที่แข็งแรง ไม่เจ็บไข้
ได้ป่วย พร้อมที่จะปฏิบัติงาน ทางใจเราเป็นผู้มีสติ มีจิตใจที่พร้อมทุกสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น ประพฤติปฏิบัติตนตามข้อ
ปฏิบัติทางจริยธรรม จารีตประเพณี
Initiative ร่วมคิดริเริ่มสร้างสรรค์
พวกเราเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีการพัฒนางานของตนเอง ซึ่งนํามาสู่การพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง มี
ส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานที่จําเป็น สามารถดัดแปลงนําความคิดเห็นไปปรับปรุงการปฏิบัติงานให้สําเร็จ
ลุล่วง
Passionate มุ่งมั่นสู่ความสําเร็จ
พวกเรามีความมุ่งมั่น ตั้งใจที่เปี่ยมไปด้วยพลัง มีความสนใจและความพยายามอย่างเต็มที่ในการทํางาน และความ
เต็มใจในการปฏิบัติตามคําสั่ง คําแนะนํา รวมทั้งความสามารถในการเข้าใจคําสั่งคําแนะนําเหล่านั้น และเป็นผู้ที่พัฒนา
ตนเองอย่างสมํ่าเสมอเพื่อมุ่งสู่ความสําเร็จขององค์กร
10
ผลการดําเนินงานของ บริษัท ทรัพย์ทิพย์ จํากัด
ด้านเศรษฐกิจ
GRI ข้อมูลการดําเนินงาน หน่วย ปี
2558 2559 2560
*G4-EC1 รายได้จากการขายและบริการ ล้านบาท 1,536.65 1,538.10 1,619.79
กําไรสําหรับปี ล้านบาท 60.05 141.05 325.62
เงินปันผลจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น ล้านบาท 0 0 0
ค่าจ้างและค่าตอบแทนแก่พนักงาน ล้านบาท 75.09 88.53 105.82
ดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายทางการเงินให้แก่ผู้กู้ยืม ล้านบาท 41.54 30.06 18.65
ภาษีที่จ่ายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานราชการ
ท้องถิ่น เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีบํารุงท้องถิ่น
ภาษีโรงเรียน
ล้านบาท 0.32 0.33 0.33
ค่าใช้จ่ายในดําเนินโครงการ
เพื่อพัฒนาและสนับสนุนด้านสังคม และชุมชน
ล้านบาท 1.43 5.18 1.00
*G4-EC3 อัตราเงินสมทบที่องค์กรจ่ายเข้ากองทุนสํารองเลี้ยง
ชีพ ให้แก่พนักงาน (ร้อยละของฐานเงินเดือน)
2 5 5
- อายุงาน ไม่เกิน 6 ปี ร้อยละ 2 5 5
- อายุงาน 6-9 ปี ร้อยละ 2 5 5
- อายุงาน 10 ปีขึ้นไป ร้อยละ 2 5 5
*G4-EC4 สิทธิประโยชน์ทางภาษีและอื่นๆ ที่ได้รับจากรัฐบาล
และหน่วยงานท้องถิ่น จากการส่งเสริมการลงทุน
และพัฒนา
ล้านบาท 1.53 1.53 1.53
G4-EC9 ร้อยละของผู้ส่งมอบในท้องถิ่น
(Supplier /Service/Outsource)
(รัศมี 5 กิโลเมตร หรือภายในจังหวัด)
ร้อยละ 21.42 35.71 35.71
G4-EC6 ร้อยละของผู้บริหารตั้งแต่ระดับผู้จัดการขึ้นไปที่มา
จากคนในท้องถิ่น (รัศมี 5 กิโลเมตร หรือภายใน
จังหวัด)
ร้อยละ 12.5 12.5 12.5
11
รายได้ผลการประกอบการ
ในปี พ.ศ. 2560 บริษัทฯ มีรายได้จากการประกอบกิจการ เพิ่มขึ้นจาก ปี พ.ศ. 2559 จํานวน 81.19 ล้านบาท
ด้านสิ่งแวดล้อม
GRI ข้อมูลการดําเนินงาน หน่วย
ปี
2558 2559
2560
(ม.ค.-มี.ค.)
G4-EN1 วัตถุดิบหลัก
1. แผ่นดิสก์ ตัน - - -
2. มอเตอร์ ชิ้น - - -
3. หัวอ่าน ชิ้น - - -
G4-EN3 ปริมาณการใช้พลังงานฟอสซิล
- นํ้ามันดีเซล (เผาไหม้อยู่
กับที่)
Lite
- - -
- นํ้ามันดีเซล (ที่มีการ
เคลื่อนที่)
Lite
147,047 139,521 44,897
- LPG (เผาไหม้อยู่กับที่) kg 75 2,028 2,205
- LPG (ที่มีการเคลื่อนที่) kg - - -
- ก๊าซธรรมชาติ scf - - -
12
GRI ข้อมูลการดําเนินงาน หน่วย
ปี
2558 2559
2560
(ม.ค.-มี.ค.)
- สารชีวมวล kg 41,274,800 31,714,200 8,492,400
- นํ้ามันเตา Lite - - -
G4-EN3 ปริมาณการใช้ไฟฟ้า kWh 17,358,160 17,722,480 4,866,240
- ปริมาณการใช้ไฟฟ้าจาก
ภายนอก
kWh
17,358,160 17,722,480 4,866,240
- ปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากโซล่า
เซลล์
kWh - - -
G4-EN8 ปริมาณการใช้นํ้าจําแนกตามแหล่งนํ้า m3
1,058,500 1,058,500 261,000
- นํ้าประปา m3
1,058,500 1,058,500 261,000
- นํ้าบาดาล m3
- - -
- นํ้าหลังผ่านการบําบัดที่นํา
กลับมาใช้ใหม่
m3
521,400 521,400 142,200
G4-EN10 ร้อยละของการนํานํ้ากลับมาใช้ใหม่ ร้อยละ 10.14 10.14 10.14
G4-EN15 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง : Scope
1 (ton CO2e)*
ton CO2e 29,006.82 22,367.24 6,015.08
- นํ้ามันดีเซล (เผาไหม้อยู่กับที่) x
2.708 /1,000
ton CO2e - - -
- นํ้ามันดีเซล (ที่มีการเคลื่อนที่)
x 2.7446 / 1,000
ton CO2e 403.59 382.93 123.22
- LPG (เผาไหม้อยู่กับที่) x 3.11
/1,000
ton CO2e 0.23 6.31 6.86
- LPG (ที่มีการเคลื่อนที่) x
3.1899 / 1,000
ton CO2e - - -
- ก๊าซธรรมชาติ x 0.0573 / 1,000 ton CO2e - - -
13
GRI ข้อมูลการดําเนินงาน หน่วย
ปี
2558 2559
2560
(ม.ค.-มี.ค.)
- สารชีวมวล x 0.6930 / 1,000 ton CO2e 28,603 21,978 5,885
- นํ้ามันเตา x 2.4777 /1,000 ton CO2e - - -
G4-EN16 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมผ่าน
การใช้ไฟฟ้า : Scope 2* คํานวณจาก
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากภายนอก x 0,6093
/ 1,000
ton CO2e - - -
G4-EN17 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ
(ton CO2e) : Scope 3 เช่น การใช้วัตถุดิบ
การซื้อนํ้าใช้ การเดินทางของพนักงาน
เป็นต้น
ton CO2e - - -
G4-EN18 ปริมาณการปล่อยสารทําลายโอโซน (ton
CFC-11e)
- การใช้สาร HCFC22 ton - - -
- ปริมาณการทําลายโอโซน ton CFC-11e - - -
G4-EN21 - ปริมาณการปล่อย NOx ton - - -
- ปริมาณการปล่อย SOx ton - - -
G4-EN22 ปริมาณนํ้าทิ้งที่ระบายออกนอกโรงงาน m3
0 0 0
G4-EN23 ปริมาณของเสีย ton 72,235 95,825 25,781
- ของเสียอันตราย ton 4.23 86.1 0.5
- ของเสียไม่อันตราย ton 72,231.02 95,818.81 25,780.29
G4-EN24 จํานวนครั้งของการรั่วไหลของสารเคมี/
นํ้ามัน/นํ้าทิ้ง/ของเสีย
ที่มีนัยสําคัญ
ครั้ง 0 0 0
G4-EN31 ค่าใช้จ่ายและการลงทุนในการปกป้อง ล้านบาท
14
GRI ข้อมูลการดําเนินงาน หน่วย
ปี
2558 2559
2560
(ม.ค.-มี.ค.)
สิ่งแวดล้อม
- ค่ากําจัด และบําบัดของเสีย ล้านบาท 0 0.01 -
- ค่าการจัดทําระบบการจัดการ
สิ่งแวดล้อม
(รวมค่าวิจัยศึกษาพัฒนา)
ล้านบาท 0.06 0.06 0.19
วัตถุดิบหลัก
-ไม่มีการใช้แผ่นดิสก์ มอเตอร์ หัวอ่าน
ปริมาณการปลอยสารทําลายโอโซน
- ไม่มีการใช้สาร HCFC22
ปริมาณการใชพลังงานฟอสซิล
บริษัทได้จัดทําโครงการประหยัดพลังงาน ส่งผลให้มีการใช้พลังงานฟอสซิลลดลงอย่างต่อเนื่อง
15
การบริหารความเสี่ยง
บริษัทฯ จัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานในระดับสากล ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อ
การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและให้ผลตอบแทนที่ดีแก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยมีการ
บริหารงานตามหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดี จึงกําหนดนโยบายบริหารความเสี่ยง ดังนี้
1. ผู้บริหารและพนักงานทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารความเสี่ยงในหน่วยงาน โดยจะต้องมี
บทบาทและส่วนร่วมในการพัฒนาการบริหารความเสี่ยงขององค์กร ลดโอกาสของการล้มเหลวและความ
สูญเสียให้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้
2. ส่งเสริมวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยงให้กับผู้บริหารและพนักงานทุกคน เพื่อสร้างความเข้าใจ
จิตสํานึก และความรับผิดชอบร่วมกันในเรื่องความเสี่ยง การควบคุม และผลกระทบของความเสี่ยงต่อบริษัท
3. ให้มีกระบวนการ แนวทาง และมาตรการในการบริหารความเสี่ยงที่ครอบคลุุมไปยังนโยบาย
ภาครัฐ ที่มีคุณภาพเหมาะสมในระดับสากลและเพียงพอ รวมถึงการบ่งชี้ วิเคราะห์ ประเมิน จัดลําดับ จัดการ
ควบคุม ติดตาม รายงาน ประเมินผล และสื่อสารให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง สมํ่าเสมอ และ
ปฏิบัติทั่วทั้งบริษัท
4. ดําเนินการและสนับสนุนการบริหารความเสี่ยงให้ประสบความสําเร็จทั่วทั้งองค์กร โดยใช้
ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสมและเพียงพอ
5. ให้มีการกําหนดเพดานความเสี่ยง (Risk Limit) เพื่อกําจัดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นให้อยู่ภายใน
ระดับที่บริษัทสามารถยอมรับได้ รวมทั้งกําหนดเหตุการณ์หรือระดับความเสี่ยงที่เป็นสัญญาณเตือนภัย
(Warning Sign) ให้ผู้ปฏิบัติงานดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อไม่ให้ความเสี่ยงเกินกว่าระดับเพดานความ
เสี่ยงที่กําหนด
16
กลยุทธ์
สู่ความยั่งยืนของทรัพย์ทิพย์
บริษัท ทรัพย์ทิพย์จํากัด ดําเนินธุรกิจตามกลยุทธ์การเติบโตอย่างยั่งยืน โดยรักษาสมดุลของการมุ่ง
สู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการ
บริหารจัดการ กระบวนการทํางาน การผลิต การจําหน่ายผลิตภัณฑ์และการบริการ การกํากับดูแลกิจการที่ดี
ภายใต้จรรยาบรรณในการดําเนินธุรกิจ ที่มุ่งเน้นการดําเนินงานอย่างโปร่งใสเป็นธรรม ตรวจสอบได้ เคารพ
กฎหมาย และข้อบังคับต่างๆ อย่างเคร่งครัด ตลอดจนให้ความสําคัญกับการจัดการสิ่งแวดล้อม การพัฒนา
คุณภาพชีวิตของสังคมชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินธุรกิจ ด้วยความใส่ใจ ห่วงใย แบ่งปันเพื่อพัฒนาไปสู่
การสร้างคุณค่าเพิ่มร่วมกัน
กลยุทธ์การดําเนินธุรกิจด้านความยั่งยืน สอดคล้องตามแนวทางกลยุทธ์สีเขียว โดยการบริหาร
จัดการกระบวนการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อม การวิจัยและสร้างนวัตกรรมทางด้านผลิตภัณฑ์ การพัฒนาพลังงานทางเลือก และการสร้างความ
ตระหนักรู้ของภาคสังคมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและตอบสนอง
ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
เพื่อให้ทิศทางเชิงกลยุทธ์มีความชัดเจนสําหรับการดําเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม ได้กําหนดแผน
วิสาหกิจประจําปี 2559-2563 ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ 2 ด้านหลัก ได้แก่ ยุทธศาสตร์การสร้างความ
ภาคภูมิใจโดยการมีส่วนร่วม และ ยุทธศาสตร์การดําเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืน
17
การกํากับดูแลความยั่งยืนของบริษัท ทรัพย์ทิพย์ จํากัด
บริษัท ทรัพย์ทิพย์จํากัด กํากับดูแลการบริหารจัดการความยั่งยืนผ่านนโยบายและกรอบการบริหาร
จัดการความยั่งยืน ปี2560 ได้เห็นชอบให้ปรับปรุงกรอบการบริหารจัดการความยั่งยืน ให้มีความทันสมัย
สอดคล้องกับแนวทางด้านความยั่งยืนในระดับสากลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และแนวทางการ
ปฏิบัติของระบบการบริหารจัดการเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศในสายปฏิบัติการ ในการนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและข้อแนะนําสําหรับการปรับปรุงกรอบดังกล่าวให้มีความ
เหมาะสมต่อการนําไปปฏิบัติด้วย ทั้งนี้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ได้ลงนาม
ประกาศใช้กรอบบริหารจัดการความยั่งยืนของ บริษัท ทรัพย์ทิพย์จํากัด เพื่อการพัฒนาที่ก้าวไกล
กรอบบริหารความยั่งยืนของ บริษัท ทรัพย์ทิพย์ จํากัด
18
นโยบายการบริหารจัดการความยั่งยืน
บริษัท ทรัพย์ทิพย์ จํากัด มุ่งมั่นที่จะดําเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยการสร้าง
ความเชื่อมั่นต่อ ผู้ส่วนได้ส่วนเสียผ่านการดําเนินงานที่เป็นเลิศ โปร่งใส และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อ
อนาคตที่ยั่งยืนของสังคม และสิ่งแวดล้อม ตามกรอบการบริหารจัดการ และให้เป็นแนวปฏิบัติในทิศทาง
เดียวกัน ตามมาตรฐานสากล โดยมีนโยบายการดําเนินงาน ดังนี้
1. คํานึงถึงการรักษาความสมดุลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงผ้มูีส่วนได้
ส่วนเสียทุกฝ่าย ในการดําเนินงาน เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร
2. มุ่งมั่นในการปกป้องมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อมของแต่ละกิจกรรม ผลิตภัณฑ์ และการบริการที่
อาจส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม
3. มุ่งเน้นการป้องกันการบาดเจ็บ ปัญหาสุขภาพของพนักงาน และป้องกันมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
และปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในระบบการจัดการ และผลการดําเนินงานด้านอาชีวอนามัยและ
ความปลอดภัย
4. ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกําหนดอื่น ๆ ด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดําเนินธุรกิจของบริษัทฯ ผู้มีส่วนได้เสียอย่างเคร่งครัด
5. เปิดเผยผลการดําเนินงานด้านความยั่งยืนอย่างโปร่งใส ตามแนวทางมาตรฐานสากลที่ ได้รับ
การยอมรับเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ กรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุก
คน มีหน้าที่สนับสนุน ผลักดัน และปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับนโยบายและกรอบการบริหาร
จัดการความยั่งยืนที่กําหนดนี้
19
การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
บริษัท ทรัพย์ทิพย์ จํากัด สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ผ่านกระบวนการ
บริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเชิงรุกในทุกระดับการดําเนินงานขององค์กรโดยวิเคราะห์ความต้องการ
ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างครบถ้วนและกําหนดกลยุทธ์การดําเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและ
สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
แนวทางการบริหารจัดการ
บริษัท ทรัพย์ทิพย์ จํากัด วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับองค์กรทั้งหมดและจําแนก
ออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ ประเทศ สังคมชุมชน ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้าและพนักงาน โดยสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้
มีส่วนได้ส่วนเสียทุกระดับอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ผ่านการดําเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วมและการสื่อสาร
หลากหลายช่องทางอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อทําความเข้าใจถึงความคาดหวังและประเด็นสําคัญที่ผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียให้ความสนใจ นอกจากนั้นยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการจัดทําแบบสํารวจชื่อเสียงของ
องค์กรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการ
ดําเนินงาน
บริษัท ทรัพย์ทิพย์ นําผลการสํารวจที่ได้มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจ
ของผู้บริหารในการกําหนดพันธกิจและทบทวนกลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กรให้ตอบสนองต่อ
ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม เช่น การพิจารณาผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการ
ดําเนินโครงการ และนําเสนอผลการประเมินและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่อคณะกรรมการจัดการ เพื่อใช้เป็น
การประกอบการพิจารณาอนุมัติแนวทางการดําเนินโครงการ ตลอดจนติดตามประสิทธิภาพการดําเนินงาน
และจัดทํารายงานสรุปความก้าวหน้าเสนอแก่คณะกรรมการจัดการเป็นประจํา
20
บทบาทต่อผู้มีส่วนได้เสีย
แนวปฎิบัติ
1. บริษัทฯ แบ่งผู้มีส่วนได้เสียออกเป็นกลุ่ม ได้แก่ ผู้ถือหุ้นและนักลงทุน ลูกค้า คู่ค้า เจ้าหนี้ สถาบันการเงิน
พนักงาน ชุมชน สังคม คู่แข่ง ทางการค้า หน่วยงานราชการและองค์กรที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ทั้งนี้ในแต่ละกลุ่ม
ดังกล่าว บริษัทฯ ต้องจัดให้มีช่องทางในการสื่อสารและการตอบสนองความต้องการจากบริษัทฯ อย่าง
พอเพียง
2. บริษัทฯ คํานึงถึงสวัสดิภาพและเอาใจใส่ดูแลพนักงานอย่างทั่วถึง โดยมีการทําสัญญาจ้างอย่างเป็นธรรม มี
การกําหนดค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับศักยภาพ มีการฝึกอบรม พัฒนา และให้การศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเพิ่ม
ศักยภาพของพนักงาน มีสิ่งแวดล้อมในการทํางานที่ดี มีการกําหนดมาตรฐานความปลอดภัย สร้างวินัยในการ
ทํางานและหากมีเหตุให้พนักงานต้องยุติการทํางานด้วยสาเหตุใดก็ตาม บริษัทฯ ต้องกําหนดแผนการหรือ
มาตรการแก้ไขปัญหาต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบให้ชัดเจน
3. บริษัทฯ ต้องดําเนินธุรกิจอย่างเป็นกลางและเป็นธรรมทั้งต่อคู่ค้า คู่แข่งทางการค้าและเจ้าหนี้ โดยมีขั้นตอน
และวิธีปฏิบัติในการคัดเลือกคู่ค้าหรือผู้รับเหมาประพฤติปฏิบัติตามกรอบกติกาและการแข่งขันที่เป็นธรรมต่อ
คู่แข่งทางการค้าและปฏิบัติตามสัญญา ข้อตกลง และเงื่อนไข ที่มีต่อเจ้าหนี้อย่างเคร่งครัด
4. บริษัทฯ มีหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้การช่วยเหลือสนับสนุน สร้างประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม
ในภาพรวมและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงานเพื่อให้มีการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว
นอกจากนี้ยังมีแผนการในการรักษาสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย รวมทั้งการป้องกันผลกระทบทาง
สิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการดําเนินงานของบริษัทฯ โดยมีแผนชดเชยที่ดีในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุและมีการ
วางแผนแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งบริษัทฯ ได้จัดทํารายงานความยั่งยืนเพื่อรายงานและเปิดเผยผลการ
ดําเนินงานทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
5. บริษัทฯ ได้ดําเนินการประชาสัมพันธ์ด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อสื่อถึงความตระหนักและความเอาใจใส่ที่มีต่อผู้มี
ส่วนได้เสียอย่างต่อเนื่องและสมํ่าเสมอและได้จัดให้มีกระบวนการและช่องทางในการรับและ จัดการกับข้อ
หลักการ
ผู้มีส่วนได้เสียควรได้รับการดูแลจากบริษัทฯ ตามสิทธิที่มีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือข้อตกลงที่
มีกับบริษัทฯ โดยไม่กระทําการใดๆ ที่เป็ นการละเมิดสิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทฯ มีมาตรการ
ป้ องกันกรณีที่กรรมการและผู้บริหารใช้ข้อมูลภายในเพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
ในทางมิชอบและกําหนดให้กรรมการและผู้บริหารเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับส่วนได้เสียของตนและ
ผู้เกี่ยวข้อง
บริษัทฯ ควรมีมาตรการในการรับข้อร ้องเรียน ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ตลอดจนแจ้งเบาะแสใน
ประเด็นการกระทําผิดกฎหมายหรือจรรยาบรรณที่อาจส่อถึงการทุจริตหรือประพฤติมิชอบของ
บุคลากรของบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสียอื่นของบริษัทฯ และมีกลไกคุ้มครองสิทธิของผู้แจ้ง เบาะแส
ดังกล่าว
บริษัทฯ ควรพิจารณาให้มีกระบวนการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างบริษัทฯ กับผู้มีส่วนได้
เสียในการสร ้างความมั่นคงทางการเงินและความยั่งยืนของกิจการและเปิดเผยข้อมูลสําคัญที่
เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถทําหน้าที่ในการมีส่วนร่วมดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บริษัทฯ ควรกําหนดเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้มั่นใจว่าการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ
ได้คํานึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
21
ร้องเรียนของผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรการการร้องเรียนและการแจ้งเบาะแส ซึ่งมีการเปิดเผยผ่านทางเว็บไซต์
หรือรายงานประจําปีของบริษัทฯ
6. บริษัทฯ จัดทํานโยบายและมีแนวทางในการต่อต้านคอร์รัปชั่น สนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรของบริษัทฯ
ให้ความสําคัญมีจิตสํานึกในการต่อต้านการทุจริต ปฏิบัติตามกฎหมาย และระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งจัดให้มีขั้นตอนการดําเนินงานต่างๆ อย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกันการทุจริต การกรรโชกและการรับหรือ
ให้สินบนในทุกรูปแบบ
จรรยาบรรณว่าด้วยการปฎิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย และความขัดแย้งทางผลประโยชน์
บริษัทฯ ถือเป็นนโยบายสําคัญในการดําเนินธุรกิจที่คํานึงถึงประโยชน์ของบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสียโดยรวม
จึงได้กําหนดแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อแสดงถึงเจตนารมณ์การดําเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ และให้ยืดถือเป็น
หน้าที่ของกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่มีความสัมพันธ์จะต้องหลีกเลี่ยงการเข้า
ไปมีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้องกับการดําเนินการในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ อันจะส่งผลให้
บริษัทฯ เสียผลประโยชน์ หรือทําให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพลดลง ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงรายการดังกล่าว
ได้หน่วยงานผู้รับผิดชอบจะเข้าไปดูแลการทํารายการนั้น ๆ ให้เป็นไปด้วยความโปร่งใส ชัดเจนเพื่อประโยชน์สูงสุดของ
บริษัทฯ
แนวปฎิบัติ
1.1 การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น
ส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิขั้นพื้นฐานและมุ่งมั่นในการสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้น โดยคํานึงถึง
การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน สร้างมูลค่าเพิ่มและให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งดําเนินธุรกิจตาม
หลักการกํากับดูแลกิจการที่ดี
1.2 การปฏิบัติต่อลูกค้า
ส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของลูกค้า ตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยความ
รวดเร็ว ตรงเวลา เพื่อความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า มีการเก็บรักษาข้อมูลของลูกค้า รวมถึงไม่นําข้อมูลไปใช้เพื่อ
ประโยชน์ของตนเองหรือผู้ทีเกี่ยวข้องอื่นโดยมิชอบ
1.3 การปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้า
ปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้าภายใต้กรอบแห่งกฎหมายเกี่ยวกับหลักปฏิบัติการแข่งขันทางการค้าและยึดถือ
กติกาของการแข่งขันที่ดี ไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับของคู่แข่งทางการค้าด้วยวิธีการที่ไม่สุจริตหรือไม่เหมาะสม
ไม่ทําลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้าด้วยการกล่าวหาในทางร้ายโดยปราศจากซึ่งมูลความจริง
1.4 การปฏิบัติต่อเจ้าหนี้
ปฏิบัติตามสัญญา ข้อตกลงหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ที่มีต่อเจ้าหนี้อย่างเคร่งครัด กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ต้องรีบ
แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบล่วงหน้าเพื่อร่วมกันพิจารณาหาแนวทางแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย
1.5 การปฏิบัติต่อหน่วยงานกํากับดูแล
ปฏิบัติและควบคุมการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและกฎระเบียบที่ออกโดยหน่วยงาน
กํากับดูแล ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานกํากับดูแลและรายงานข้อมูลที่เป็นจริง
22
1.6 การปฏิบัติต่อพนักงาน
พนักงานเป็นปัจจัยหลักและเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าในการดําเนินธุรกิจ บริษัทฯ จึงให้ความสําคัญต่อ
พนักงานเป็นอย่างมาก โดยให้ความเป็นธรรมต่อพนักงานทุกระดับโดยไม่เลือกปฏิบัติ เคารพสิทธิของพนักงานตาม
สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานตามหลักสากลและกฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ให้ผลตอบแทนที่เป็นธรรม รวมทั้ง
ยังให้ความสําคัญกับสุขภาพ อาชีวอนามัย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและสภาพแวดล้อมในการทํางานของ
พนักงาน ตลอดจนการเสริมสร้างวัฒนธรรมและบรรยากาศการทํางานที่ดีและส่งเสริมการทํางานเป็นทีม ให้ความสําคัญ
ต่อการพัฒนความสามารถของพนักงาน รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากพนักงานทุกระดับอย่างเท่าเทียมกัน
บริษัทฯ จะไม่กระทําการหรือสนับสนุนใหมีการใช้แรงงานบังคับทุกรูปแบบ
1.7 การปฏิบัติต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
บริษัทฯ มุ่งเน้นการดําเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อม ตระหนัก
ถึงคุณภาพชีวิตของชุมชน โดยแบ่งปันผลกําไรส่วนหนึ่งเพื่อตอบแทนชุมชนและสังคม คํานึงถึงการดําเนินธุรกิจที่ไม่
ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มตั้งแต่การเริ่มก่อสร้างโรงงาน การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมตลอดจน
กระบวนการผลิตและการจัดการของเสียที่เหมาะสมให้ความสําคัญต่อการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการด้านความ
ปลอดภัยอาชีวอนามัย และความต่อเนื่องทางธุรกิจ รวมถึงแนวทางในการปฏิบัติที่ดีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
จรรยาบรรณว่าด้วยการเคารพหลักสิทธิมนุษยชนสากล
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสําคัญต่อการเคารพสิทธิมนุษยชนของทุกคน โดยปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียม
กันปราศจากการเลือกปฏิบัติ หลีกเลี่ยงการกระทําที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและให้ความสําคัญด้านแรงงาน โดย
ปฏิบัติต่อพนักงานของบริษัทฯ ทุกคนด้วยความเสมอภาพ โดยไม่แบ่งแยกถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ เพศ อายุ สีผิว ศาสนา
หรือความพิการใดๆ โดยให้มีการปฏิบัติเป็นไปตามกฎหมายแรงงานและข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแรงงานอย่าง
เป็นธรรม
แนวปฎิบัติ
2.1 บริษัทฯ ต้องปฎิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากลอย่างเคร่งครัดทั้งในระดับประเทศและระดับสากล
รวมถึงข้อจํากัดของกฎหมายแรงงานในแต่ละประเทศที่เข้าไปดําเนินธุรกิจ โดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมการทํางานที่
ปลอดภัย ถูกสุขอนามัยตามมาตรฐานสากล ปลอดจากยาเสพติด และปฏิบัติต่อบุคลากรทุกคนโดยเสมอภาคกัน ไม่
เลือกปฏิบัติด้วยสาเหตุอันเนื่องมาจากความเหมือน หรือความแตกต่างของถิ่นกําเนิด เพศ อายุ สีผิว เชื้อชาติ สัญชาติ
ศาสนา ความเชื่อ ความคิดเห็นทางการเมือง ความทุพพลภาพ ฐานะชาติตระกูลหรือสถานะอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการ
ปฏิบัติงาน รวมถึงเคารพสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
2.2 บริษัทฯ ต้องหมั่นตรวจตราดูแลมิให้การดําเนินธุรกิจของบริษัทฯ เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิด
สิทธิมนุษยชน รวมถึงการเข้าร่วมและยอมรับหลักปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโลก เช่น หลักสิทธิมนุษยชนของ
องค์การสหประชาชาติ เป็นต้น
2.3 บริษัทฯ ต้องให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชนสากลแก่บุคลากรของบริษัทฯ เพื่อนําไป
ปฏิบัติเป็นส่วนหนึ่งในการดําเนินงานและไม่สนับสนุนกิจการและ/หรือกิจกรรมที่ละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนสากล
23
จรรยาบรรณว่าด้วยการเคารพและปฎิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง และการ
เคารพวัฒนธรรมที่แตกต่าง
บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการดําเนินธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ข้อบังคับและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนเคารพขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น โดยกําหนดข้อพึงปฏิบัติของ
กรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน บนพื้นฐานหลัก 5 ประการ ได้แก่
1.1 มีความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจและการประพฤติปฏิบัติ
1.2 มีความโปร่งใสและเปิดเผย
1.3 ปฏิบัติต่อทุกฝ่ายอย่างเสมอภาคและยุติธรรม
1.4 มุ่งสร้างคุณค่าของธุรกิจในระยะยาวแก่ผู้มีส่วนได้เสีย
1.5 ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
แนวปฎิบัติ
3.1 บุคลากรของบริษัทฯ ต้องศึกษาและทําความเข้าใจกฎหมายขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมในแต่
ละพื้นที่หรือประเทศปลายทางก่อนการเดินทาง รวมถึงระเบียบ ข้อบังคับ ขั้นตอนการปฏิบัติงานและกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่
เกี่ยวข้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบของตนโดยตรงให้ถี่ถ้วนและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อให้แน่ใจว่าสินค้า
ตัวอย่าง สินค้าและอุปกรณ์ที่นําไปด้วย เอกสารในการเดินทาง วัตถุประสงค์ของการเดินทางและการปฏิบัติงานใน
ประเทศปลายทางไม่ผิดกฎหมายหรือไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของประเทศปลายทาง ทั้งนี้ หาก
ไม่แน่ใจให้ขอคําปรึกษาจากผู้บังคับบัญชาและห้ามปฏิบัติไปตามความเข้าใจของตนเอง โดยไม่มีคําแนะนํา
3.2 บริษัทฯ เคารพต่อขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นในทุกประเทศที่บริษัทฯ เข้า
ไปลงทุน โดยดําเนินธุรกิจและปฏิบัติตามกฎหมายในแต่ละประเทศหรือท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องด้วยตระหนักเสมอว่า
กฎหมาย กฎเกณฑ์หรือขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ในแต่ละท้องถิ่นอาจมีเงื่อนไข ขั้นตอนหรือวิธีปฏิบัติที่แตกต่าง
กัน
3.3 บุคลากรของบริษัทฯ จะไม่ให้การช่วยเหลือสนับสนุนการกระทําที่เป็นการหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนการปฏิบัติ
ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ขั้นตอนการปฏิบัติงานและกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดําเนินธุรกิจของบริษัทฯ
เมื่อพบว่าระเบียบข้อกําหนด ขั้นตอนการปฏิบัติงานหรือหนังสือสั่งการของบริษัทฯ แตกต่างจากที่บังคับใช้ในพื้นที่หรือ
ประเทศนั้นๆ ให้ปรึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนดําเนินการใดๆ
3.4 เมื่อพบเห็นการฝ่าฝืนหรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบและกฎเกณฑ์ต่างๆ ให้รายงาน
ต่อผู้บังคับบัญชาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือช่องทางรับเรื่องร้องเรียนตาม “มาตรการการร้องเรียนและการแจ้ง เบาะแส”
และในกรณีที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่อาจมีผลกระทบต่อบริษัทฯ อย่างมีนัยสําคัญให้รายงานผู้บังคับบัญชาโดยทันที
24
การกํากับดูแลกิจการที่ดี
บริษัท ทรัพย์ทิพย์จํากัด มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นบริษัทชั้นนําของภูมิภาค สร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ลงทุนและผู้ที่
มีส่วนได้ส่วงนเสียต่อการดําเนินธุรกิจ เพิ่มมูลค่าขององค์กรและส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทฯ ด้วยการบริหาร
จัดการธุรกิจอย่างเป็นธรรม สุจริต โปร่งใส ตามหลักการกํากับดูแลอันเป็นสากลและเป็นคุณค่าพื้นฐานขององค์กรชั้นนํา
ดังนั้น บริษัทฯจึงได้กําหนดนโยบายการกํากับดูแลกิจการ เพื่อเป็นกรอบในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ ต่อไปนี้
1. คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร พนักงานทุกคน ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเม และรับผิดชอบต่อ
หน้าที่อย่างเต็มความสามารถเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ และยึดมั่นคู่มือหลักการกํากับดูแลกิจการและจรรยาบรรณ
ธุรกิจของบริษัทฯ เป็นแนวทาง ด้วยความเข้าใจ เชื่อมั่น และศรัทธา โดยปฏิบัติจนเป็นกิจวัตรเพื่อสร้างวัฒนธรรมที่ดีของ
องค์กร
2.คณะกรรมการบริษัท มีบทบาทสําคัญร่วมกับผู้บริหารในการกําหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ นโยบายและแผนงานที่
สําคัญของบริษัทฯ รวมทั้งการจัดโครงสร้างการบริหารงานที่สอดคล้องและสัมพันธ์กันอย่างเป็นธรรมระหว่าง
คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และผู้ถือหุ้น และมีแนวทางการบริหารจัดการดําเนินธุรกิจที่มีความเหมาะสม
3. คณะกรรมการบริษัทและผู้บริหาร ต้องเป็นผู้นําในเรื่องจริยธรรมและเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความ
ซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ตามแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมของบริษัทฯ
4. คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหารและพนักงานทุกคน ต้องยึดมั่นในความเป็นธรรมโดยปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วน
เสียทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน พร้อมทั้งดูแลสอดส่อง ควบคุมและป้องกันการตัดสินใจหรือการกระทําใดๆที่มีความขัดแย้ง
ทางผลประโยชน์
5. การปฏิบัติตามนโยบายการกํากับดูแลกิจการของบริษัทฯ ถือเป็นดัชนีชี้วัดที่สําคัญในการประเมินผลการบริหาร
จัดการทางธุรกิจของคณะกรรมการบริษัทกับผู้บริหาร และการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานทุกคน
บริษัทตระหนัก และให้ความสําคัญของความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงดําเนินกิจกรรมเพื่อสังคม
และรักษาสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการดําเนินงาน เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และให้สังคมได้รับผลประโยชน์สูงสุด
โดยหลักธรรมาภิบาล คํานึงถึงผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ชุมชนใกล้เคียง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมช่วยเหลือชุมชน และการ
พัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน และพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านเทคโนโลยีที่สะอาด ทันสมัยและไม่มีผลกระทบต่อสังคมและ
สิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กร ที่มีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อเถือ
25
หลักการกํากับดูแล
หลักการกํากับดูแลกิจการ หมายถึง การจัดโครงสร้าง และกลไกบริหาร จัดการภายในองค์กร เพื่อเชื่อมโยง
ความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการบริษัทฯ ผู้บริหาร พนักงาน และผู้ถือหุ้น โดยคํานึงถึงผู้มีส่วนได้เสียโดยรวม ซึ่งการจัด
โครงสร้างและกลไกการจัดการดังกล่าว จะต้องสะท้อนถึง หลักการสําคัญในหลักการกํากับดูแลกิจการดังนี้
 Responsibility มีความสํานึกรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยขีดความสามารถ และประสิทธิภาพที่
เพียงพอ
 Equitable Treatment ปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกันด้วยความเป็นธรรม
 Accountability มีความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจและการกระทําของตนเองและของผู้อื่นที่อยู่ในความ
รับผิดชอบของตนสามารถชี้แจงและอธิบายการตัดสินใจนั้นได้
 Creation of Long Term Value มีวิสัยทัศน์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรในระยะยาว
 Transparency มีความโปร่งใสในการดําเนินงานที่สามารถตรวจสอบได้และ เปิดเผยข้อมูลอย่าง
โปร่งใสแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
 Ethics มีจริยธรรมและจรรยาบรรณในการดําเนินธุรกิจ
26
การต่อต้านคอร์รัปชั่น
บริษัทฯ ยึดมั่นในการดําเนินธุรกิจด้วยความเป็นธรรม สุจริต โปร่งใส รับผิดชอบต่อสังคม และผู้มีส่วนได้เสียทุก
กลุ่มตามหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณของบริษัทฯ และตามหลักการสากล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มี
ส่วนได้เสียทุกกลุ่ม และสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับบริษัทฯ บริษัทฯ ตระหนักว่าการคอร์รัปชั่นถือเป็นอุปสรรค
สําคัญต่อการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว รวมทั้ง เป็นปัญหาต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ
เพื่อให้บรรลุเจตนารมณ์ดังกล่าว บริษัทฯ จึงได้จัดทํานโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่น พร้อมทั้งกําหนดบทบาท
หน้าที่ความรับผิดชอบ แนวปฏิบัติ ตลอดจนมาตรการในการดําเนินการ ดังนี้
คํานิยามตามนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่น
การคอร์รัปชั่น (Corruption) หมายถึง การกระทําการใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการนําเสนอ (offering) การให้คํามั่นสัญญา
(promising)การขอ (soliciting) การเรียกร้อง (demanding)การให้หรือรับ(giving or accepting) ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์
อื่นใด กับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลอื่นใดที่ทําธุรกิจกับบริษัทฯ ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อให้บุคคลดังกล่าว
ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ได้มาหรือรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ อื่นใดที่ไม่เหมาะสมทางธุรกิจ ยกเว้นกรณีที่
กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น หรือจารีตทางการค้าให้กระทําได้
การช่วยเหลือทางการเมือง (Political Contribution) หมายถึง การช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเงินหรือใน
รูปแบบอื่น (in-kind) เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง เช่น การให้สิ่งของหรือบริการ การโฆษณาส่งเสริม หรือ
สนับสนุนพรรคการเมือง การซื้อบัตรเข้าชมงานที่จ ◌ัดเพื่อระดมทุน หรือบริจาคเงินให้แก่องค์กรที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด
กับพรรคการเมือง เป็นต้น
นโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่น
กรรมการบริษัทฯ ผู้บริหาร และพนักงาน จะไม่กระทําหรือยอมรับการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ ไม่ว่ากรณีใดๆ โดย
ครอบคลุมถึงธุรกิจของบริษัทฯ ในทุกประเทศและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ โดยบริษัทฯ ได้กําหนด แนวปฏิบัติ
มาตรการดําเนินการ และบทบาทหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ตลอดจนจัดให้มีการสอบทาน และทบทวนการปฏิบัติตามนโยบายการ
ต่อต้านคอร์รัปชั่นนี้อย่างสมํ่าเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่
เกี่ยวข้อง
27
ความมั่นคงในการจัดหาพลังงาน
บริษัท ทรัพย์ทิพย์จํากัด ให้ความสําคัญถึงความเพียงพอของทรัพยากรธรรมชาติต่การดําเนินกิจการให้เป็นไป
อย่างมั่นคงและยั่งยืน การบริหารจัดการนํ้าเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตและสําหรับกิจกรรมอื่นๆก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะต้อง
คํานึงถึง ซึ่งทางบริษัทฯ ได้จัดสรรการใช้ให้มากกว่าปริมาณการใช้นํ้าดังนี้
GRI ข้อมูลการดําเนินงาน หน่วย
ปี
2558 2559
2560
(ม.ค.-มี.ค.)
G4-EN8 ปริมาณการใช้นํ้าจําแนกตามแหล่ง
นํ้า
m3
1,058,500 1,058,500 1,058,500
- นํ้าประปา m3
1,058,500 1,058,500 1,058,500
- นํ้าบาดาล m3
- - -
- นํ้าหลังผ่านการบําบัดที่นํา
กลับมาใช้ใหม่
m3
521,400 521,400 521,400
G4-EN10 ร้อยละของการนํานํ้ากลับมาใช้ใหม่ ร้อยละ 10.14 10.14 10.14
แหล่งพลังงานเพิ่มเติมที่บริษัทฯเลือกใช้ในการขับเคลื่อนกระบวนการผลิตอีกด้านก็คือ เชื้อเพลิง ทางบริษัทฯ
เลือกใช้เชื้อเพลิงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นั่นคือ ไม้สับ กากมันสําปะหลังอบแห้งและก๊าซชีวภาพจากการบําบัดนํ้าเสีย
28
การต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นในสายโซ่อุปทาน
นโยบายด้านความเป็นธรรมและการต่อต้านคอรัปชั่น
1. บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมและดําเนินการต่อต้านคอร์รัปชั่นเพื่อแสดงความเป็นผู้นํา
และเป็นแบบอย่างให้ผู้อื่น หากพบการทุจริต โปรดแจ้งคณะกรรมการบริหารการจัดทําระบบ CSR
2. แจ้งเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจบังคับใช้กฎหมายมาดําเนินการ เมื่อพบการทุจริตหรือคอร์รัปชั่นใน
องค์กร
3. สนับสนุนให้ผู้เกี่ยวของกับองค์กร นําแนวปฏิบัติในการต่อต้านคอร์รัปชั่นไปใช้
4. บริษัทฯมุ่งมั่นในการดําเนินธุรกิจที่เป็นประโยชน์และปฏิบัติอย่างเป็นธรรม เพื่อประโยชน์
ร่วมกันต่อทุกภาคส่วน รวมถึงสังคมและประเทศชาติ
5. บริษัทฯ ปฏิบัติติอผู้เกี่ยวข้องด้วยความเป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
เนื่องจากความ แตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา การศึกษา เพศ หรือเรื่องอื่นใด
6. บริษัทฯ กําหนดระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการป้องกันอื่นๆ เพื่อป้องกันการถูกชักจูงหรือการ
เข้าไปมีส่วนร่วมในการต่อต้านการแข่งขันทางการค้า
7. บริษัทฯ สนับสนุนการต่อต้านการผูกขาดและการทุ่มตลาด อีกทั้งส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า
อย่างเป็นธรรมไม่นําประเด็นทางสังคม เช่น ความยากจนไปสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางการค้า
8. ไม่หาผลประโยชน์จากความไม่เป็นธรรม เอารัดเอาเปรียบ หรือกดขี่ด้านแรงงานจากคู่ธุรกิจผู้ส่ง
มอบ ผู้รับจ้าง
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560
Sub report update 2560

Contenu connexe

Similaire à Sub report update 2560

Prและสังคม2
Prและสังคม2Prและสังคม2
Prและสังคม2Vivace Narasuwan
 
บทที่ 2 corporate social responsibility
บทที่ 2 corporate social responsibilityบทที่ 2 corporate social responsibility
บทที่ 2 corporate social responsibilityRungnapa Rungnapa
 
กรอบความคิดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
กรอบความคิดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกรอบความคิดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
กรอบความคิดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนครูแชมป์ ฟักอ่อน
 
การบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วมการบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วมPhakawat Owat
 
TQM & Operations Management for Sustainability
TQM & Operations Management for SustainabilityTQM & Operations Management for Sustainability
TQM & Operations Management for SustainabilitySajee Sirikrai
 
Creating CSR Strategies to Sustainable Development
Creating CSR Strategies to Sustainable DevelopmentCreating CSR Strategies to Sustainable Development
Creating CSR Strategies to Sustainable DevelopmentBoonlert Kanathanasarn
 
Ch1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการ
Ch1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการCh1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการ
Ch1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการNittaya Intarat
 
Organization measurement
Organization measurementOrganization measurement
Organization measurementKan Yuenyong
 
(Oishi Group) Business Strategy for Entrepreneur
(Oishi Group) Business Strategy for Entrepreneur(Oishi Group) Business Strategy for Entrepreneur
(Oishi Group) Business Strategy for Entrepreneurtorprae
 
การพัฒนาคุณภาพในการทำงานชุมชน
การพัฒนาคุณภาพในการทำงานชุมชนการพัฒนาคุณภาพในการทำงานชุมชน
การพัฒนาคุณภาพในการทำงานชุมชนsoftganz
 

Similaire à Sub report update 2560 (20)

Prและสังคม2
Prและสังคม2Prและสังคม2
Prและสังคม2
 
บทที่ 2 corporate social responsibility
บทที่ 2 corporate social responsibilityบทที่ 2 corporate social responsibility
บทที่ 2 corporate social responsibility
 
4 ปี สุเมธี
4 ปี สุเมธี4 ปี สุเมธี
4 ปี สุเมธี
 
กรอบความคิดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
กรอบความคิดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกรอบความคิดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
กรอบความคิดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
 
Social Return on Investment
Social Return on InvestmentSocial Return on Investment
Social Return on Investment
 
Ema ส งแวดล_อม
Ema ส  งแวดล_อมEma ส  งแวดล_อม
Ema ส งแวดล_อม
 
Pmk internal assessor 3
Pmk internal assessor 3Pmk internal assessor 3
Pmk internal assessor 3
 
การบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วมการบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วม
 
TQM & Operations Management for Sustainability
TQM & Operations Management for SustainabilityTQM & Operations Management for Sustainability
TQM & Operations Management for Sustainability
 
Ethics 191017 a.j.f1formula
Ethics 191017 a.j.f1formulaEthics 191017 a.j.f1formula
Ethics 191017 a.j.f1formula
 
Creating CSR Strategies to Sustainable Development
Creating CSR Strategies to Sustainable DevelopmentCreating CSR Strategies to Sustainable Development
Creating CSR Strategies to Sustainable Development
 
แรงงาน 4.0
แรงงาน 4.0แรงงาน 4.0
แรงงาน 4.0
 
Ch1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการ
Ch1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการCh1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการ
Ch1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการ
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
 
Organization measurement
Organization measurementOrganization measurement
Organization measurement
 
Csr พงศธร550122
Csr พงศธร550122Csr พงศธร550122
Csr พงศธร550122
 
Story nok
Story nokStory nok
Story nok
 
(Oishi Group) Business Strategy for Entrepreneur
(Oishi Group) Business Strategy for Entrepreneur(Oishi Group) Business Strategy for Entrepreneur
(Oishi Group) Business Strategy for Entrepreneur
 
การพัฒนาคุณภาพในการทำงานชุมชน
การพัฒนาคุณภาพในการทำงานชุมชนการพัฒนาคุณภาพในการทำงานชุมชน
การพัฒนาคุณภาพในการทำงานชุมชน
 
High performance culture
High performance cultureHigh performance culture
High performance culture
 

Sub report update 2560

  • 1. รายงานความยั่งยืน ปี 2560 บริษัท ทรัพย์ทิพย์ จํากัด สร้างคุณภาพพลังงานไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
  • 2. 2 สารบัญ 4 เกี่ยวกับรายงานนี้ 6 สารจากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 7 ธุรกิจของ ทรัพย์ทิพย์ 10 ผลการดําเนินงาน 15 การบริหารความเสี่ยง 16 กลยุทธ์ความยั่งยืนของทรัพย์ทิพย์ 19 การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 24 การกํากับดูแลกิจการที่ดี 29 ผลิตภัณฑ์และลูกค้า 33 การดําเนินงานที่เป็นเลิศ 37 ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย 39 การมีส่วนร่วมกับชุมชน 44 นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลและแรงงานสัมพันธ์ 54 รางวัลแห่งความสําเร็จ 55 แบบสํารวจความคิดเห็น ข้อมูลติดต่อ สํานักงานใหญ่ : เลขที่ 68 อาคารทรัพย์สถาพร ซอยสันติภาพ ถนนทรัพย์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 02-233-0444-5 โรงงาน : เลขที่ 49 หมู่ 6 บ้านโค้งรถไฟ ถนนสุระนารายณ์ ตําบลนิคมลํานารายณ์ อําเภอชัยบาดาล จังหวัด ลพบุรี 15130 036-462-438-40 info@sapthip.com
  • 3. 4 เกี่ยวกับรายงานฉบับนี้ รายงานความยั่งยืนฉบับนี้ มีเนื้อหาครอบคลุมถึงผลการดําเนินงาน ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในประเด็นที่มีสาระสําคัญ จากการพิจารณาแนวโน้มด้านความยั่งยืนของสังคมความเสี่ยงและโอกาส ในการดําเนินธุรกิจของบริษัท ทรัพย์ทิพย์ จํากัด และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย การประเมินสาระสําคัญ 1. การคัดเลือกประเด็น หน่วยงานผู้รับผิดชอบประเด็นด้านความยั่งยืน ในแต่ละด้านเป็นผู้คัดเลือกประเด็น โดยพิจารณาจาก ทิศทางกลยุทธ์การดําเนินธุรกิจและการบริหารจัดการ ความยั่งยืนองค์กร บริบทความเสี่ยงและโอกาส ความ คาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการมีส่วนร่วมกับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แนวโน้มด้านความยั่งยืนระดับสา- กลที่กระทบต่ออุตสาหกรรมนํ้ามันและก๊าซธรรมชาติ 2. การกําหนดขอบเขตรายงาน ปัจจัยในการกําหนดขอบเขตของแต่ละประเด็นได้แก่ ผลกระทบที่มีต่อการดําเนินธุรกิจของ ทรัพย์ ทิพย์และผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งภายในองค์กร เช่น บริษัทที่ร่วมทุน และภายนอกองค์กร เช่น ผู้ค้า ผู้รับเหมา เป็นต้น
  • 4. 5 3. การประเมินระดับความสําคัญ ประเด็นที่คัดเลือกจะได้รับการจัดระดับความสําคัญ โดยพิจารณาจากสองมิติ คือ โอกาสและผลกระทบที่มีต่อการ ดําเนินธุรกิจ ความสนใจและผลกระทบที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วน เสีย ทั้งนี้เนื้อหาในรายงานจะเน้นประเด็นที่มีสาระสําคัญใน ระดับสูงและระดับกลาง 4. การทวนสอบและความน่าเชื่อถือ การเปิดเผยข้อมูลในรายงานต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารความร่วมมือการ ดําเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของ บริษัท ทรัพย์ทิพย์จํากัด ซึ่งทําหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบการจัดทํารายงาน และ ให้คําแนะนําเพื่อให้รายงานมีความสมบูรณ์ครอบคลุมประเด็นสําคัญที่เกี่ยวข้องกับองค์กรและผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย อีกทั้งยังจัดให้มีการทวนสอบรายงานโดยหน่วยงานภายนอก 5. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ น้อมรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกท่านในทุกรูปแบบ เพื่อนํามาพัฒนาคุณภาพ ของการจัดทํารายงาน และได้ทําการทวนสอบรายงานความยั่งยืนโดยหน่วยงานภายในและภายนอก และ ผ่านการสํารวจความคิดเห็นจากผู้อ่านและเว็บไซต์
  • 5. 6 สารจากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทรัพย์ทิพย์จํากัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2549 เพื่อผลิตแอลกอฮอล์จากมันสําปะหลัง เพื่อใช้ ผสมกับนํ้ามันเชื้อเพลิง เป็นพลังงานทดแทนที่ผลิตการผลผลิตทางการเกษตร ทรัพย์ทิพย์จึงมีส่วนสนับสนุน นโยบายของรัฐในการลดปริมาณการนําเข้านํ้ามันเชื้อเพลิง และยังมีส่วนช่วยในการขยายตลาดของสินค้า เกษตรอีกทางหนึ่ง ทรัพย์ทิพย์เกิดจากความตั้งใจจริงที่จะช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลังของไทย ให้ขายผลผลิตได้ราคา และยังเป็นการส่งเสริมให้คนไทยได้ใช้พลังงานทางเลือกอีกด้วย ทรัพย์ทิพย์เป็นหนึ่งในบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการส่งเสริม และพัฒนาเชื้อเพลิง ชีวภาพให้ผลิตแอลกอฮอล์ เพื่อผสมกับนํ้ามันเชื้อเพลิงที่เรียกว่า “แก๊สโซฮอล์” ซึ่งผลิตเป็นแบบ FUEL GRADE โดยมีกําลังการผลิต 200,000 ลิตรต่อวัน หรือประมาณ 66 ล้านลิตรต่อปีและได้รับการส่งเสริมจาก สํานักงานจาก สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment : BOI) นโยบายของ บริษัท ทรัพย์ทิพย์จํากัด ก็คือ เราจะเป็นผู้นําการผลิตเอทานอลจากมันสําปะหลัง โดย มุ่งเน้นประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือ โดยจุดมุ่งหมายของบริษัท คือจะใส่ใจในการผลิตเอทานอลที่มี คุณภาพออกสู่ตลาดและคํานึงถึงสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ และชุมชนรอบข้าง เพื่อความยั่งยืนในอนาคต ภายใต้ปณิธานที่ว่า "สร้างคุณภาพพลังงานไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม" บริษัทตระหนัก และให้ความสําคัญของความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงดําเนิน กิจกรรมเพื่อสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการดําเนินงาน เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และให้ สังคมได้รับผลประโยชน์สูงสุด โดยหลักธรรมาภิบาล คํานึงถึงผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ชุมชนใกล้เคียง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมช่วยเหลือชุมชน และการพัฒนา ชุมชนอย่างยั่งยืน และพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านเทคโนโลยีที่สะอาด ทันสมัย และไม่มีผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กร ที่มีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือ ผมขอถือโอกาสนี้ขอบคุณเพื่อนร่วมงานทุกท่านที่ช่วยกัน พัฒนาบริษัทของเรามาโดยตลอด และจะยังคงร่วมมือร่วมใจกันต่อไป เพื่อความวัฒนาถาวรขององค์กร นายสุพจน์ ศรีสถาพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
  • 6. 7 ธุรกิจของบริษัท ทรัพย์ทิพย์ จํากัด "สร้างคุณภาพพลังงานไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม" บริษัท ทรัพย์ทิพย์จํากัด เป็นบริษัทในเครือบริษัท ทรัพย์สถาพร จํากัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2549 เพื่อผลิตแอลกอฮอล์ จากมันสําปะหลัง เพื่อใช้ผสมกับนํ้ามันเชื้อเพลิง เป็นหลังงานทดแทนที่ผลิตการผลผลิตทางการเกษตร ทรัพย์ทิพย์จึงมีส่วน สนับสนุนนโยบายของรัฐในการลดปริมาณการนําเข้านํ้ามันเชื้อเพลิง และยังมีส่วนช่วยในการขยายตลาดของสินค้าเกษตร อีกทางหนึ่งด้วย ทรัพย์ทิพย์เป็น 1 ในบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการส่งเสริม และพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพให้ผลิต แอลกอฮอล์ เพื่อผสมกับนํ้ามันเชื้อเพลิงที่เรียกว่า “แก๊สโซฮอล์” ซึ่งผลิตเป็นแบบ FUEL GRADE โดยมีกําลังการผลิต 200,000 ลิตรต่อวัน หรือประมาณ 66 ล้านลิตรต่อปีและได้รับการส่งเสริมจาก สํานักงานจาก สํานักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment : BOI) โดยในปัจจุบันบริษัท ทรัพย์ทิพย์จํากัด เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างกลุ่ม บริษัททรัพย์สถาพร และบริษัท ไทยออยล์เอทานอล จํากัด ผลิตภัณฑ์ : เอทานอล (Ethanol) เอทานอล (Ethanol) (สูตรเคมี C2H5OH) เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากการนําเอาพืชมาหมัก เพื่อเปลี่ยนแป้ง เป็นนํ้าตาล จากนั้นจึงเปลี่ยนจากนํ้าตาลเป็นแอลกอฮอล์ โดยใช้เอนไซม์หรือกรดบางชนิดช่วยย่อย เมื่อทําให้เป็น แอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 95% โดยการกลั่น ส่วนใหญ่ผลิตจากพืช สองประเภทคือ พืชประเภทนํ้าตาล เช่นอ้อย บีทรูทและพืช จําพวกแป้งเช่น มันสําปะหลัง ข้าว ข้าวโพด เป็นต้น
  • 7. 8 วิสัยทัศน์ (Vision) เป็นผู้นําด้านการผลิตเอทานอลจากมันสําปะหลัง โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือ พันธกิจ (Mission) 1. ดําเนินธุรกิจโดยหลักธรรมาภิบาลโดยคํานึงถึงผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย 2. ผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยมุ่งเน้นกระบวนการที่ปลอดภัยและคํานึงถึงชีวอนามัยของพนักงาน และชุมชนใกล้เคียง 3. พัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านเทคโนโลยี บุคลากร และการบริหาร เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ ค่านิยม (Core Value) Safety & Social Responsibility สํานึกความปลอดภัย ใส่ใจสังคม พวกเราจะมีจิตสํานึกเรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงานรวมถึงการใช้ชีวิตประจําวัน มีความรับผิดชอบต่อ สังคม โดยคํานึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมและพวกเราจะใส่ใจดูแลชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ มี ส่วนช่วยเหลือ สนับสนุน หรือสร้างความสมานสามัคคีในชุมชน Attitude ชื่นชมทัศนคติเชิงบวก พวกเราจะมีแนวความคิดแบบชนะชนะ ได้ประโยชน์ทุกฝ่ าย มีทัศนคติเชิงบวก มองโลกในแง่ดี เป็ น คนดี ไม่คิดร้ายกับบุคคลอื่น
  • 8. 9 Professional สวมหมวกมืออาชีพ พวกเราเป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งประกอบไปด้วยความรู้ ความชํานาญในวิชาชีพที่เราปฏิบัติและรับผิดชอบอยู่ สามารถนําเอาความรู้ ประสบการณ์ที่มีอยู่มาลําดับความสําคัญในการแก้ไขปัญหา และมีการปรับตัวให้ทันกับการ เปลี่ยนแปลง มีความรับผิดชอบโดยไม่ต้องมีการควบคุมและทํางานให้เกิดผลงานเป็นหลัก Teamwork จุดประทีปประสานใจ พวกเราพร้อมที่จะทํางานร่วมกับผู้อื่น ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ ให้เกียรติผู้นําและสมาชิกทีมงาน เพื่อให้ทีม บรรลุเป้าหมาย รวมทั้งการกระตุ้นจูงใจให้สมาชิกยอมรับและมีพันธะสัญญาในรูปแบบการทํางานร่วมกัน ตลอดจนติดตาม และยอมรับผลการทํางานร่วมกัน Healthy สดใสแข็งแรงกายจิต พวกเราเป็นผู้ที่มีความสุข มีสุขภาพที่ดี ทางกายเราจะรักษาสุขภาพออกกําลังกายให้มีร่างกายที่แข็งแรง ไม่เจ็บไข้ ได้ป่วย พร้อมที่จะปฏิบัติงาน ทางใจเราเป็นผู้มีสติ มีจิตใจที่พร้อมทุกสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น ประพฤติปฏิบัติตนตามข้อ ปฏิบัติทางจริยธรรม จารีตประเพณี Initiative ร่วมคิดริเริ่มสร้างสรรค์ พวกเราเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีการพัฒนางานของตนเอง ซึ่งนํามาสู่การพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง มี ส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานที่จําเป็น สามารถดัดแปลงนําความคิดเห็นไปปรับปรุงการปฏิบัติงานให้สําเร็จ ลุล่วง Passionate มุ่งมั่นสู่ความสําเร็จ พวกเรามีความมุ่งมั่น ตั้งใจที่เปี่ยมไปด้วยพลัง มีความสนใจและความพยายามอย่างเต็มที่ในการทํางาน และความ เต็มใจในการปฏิบัติตามคําสั่ง คําแนะนํา รวมทั้งความสามารถในการเข้าใจคําสั่งคําแนะนําเหล่านั้น และเป็นผู้ที่พัฒนา ตนเองอย่างสมํ่าเสมอเพื่อมุ่งสู่ความสําเร็จขององค์กร
  • 9. 10 ผลการดําเนินงานของ บริษัท ทรัพย์ทิพย์ จํากัด ด้านเศรษฐกิจ GRI ข้อมูลการดําเนินงาน หน่วย ปี 2558 2559 2560 *G4-EC1 รายได้จากการขายและบริการ ล้านบาท 1,536.65 1,538.10 1,619.79 กําไรสําหรับปี ล้านบาท 60.05 141.05 325.62 เงินปันผลจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น ล้านบาท 0 0 0 ค่าจ้างและค่าตอบแทนแก่พนักงาน ล้านบาท 75.09 88.53 105.82 ดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายทางการเงินให้แก่ผู้กู้ยืม ล้านบาท 41.54 30.06 18.65 ภาษีที่จ่ายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานราชการ ท้องถิ่น เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีบํารุงท้องถิ่น ภาษีโรงเรียน ล้านบาท 0.32 0.33 0.33 ค่าใช้จ่ายในดําเนินโครงการ เพื่อพัฒนาและสนับสนุนด้านสังคม และชุมชน ล้านบาท 1.43 5.18 1.00 *G4-EC3 อัตราเงินสมทบที่องค์กรจ่ายเข้ากองทุนสํารองเลี้ยง ชีพ ให้แก่พนักงาน (ร้อยละของฐานเงินเดือน) 2 5 5 - อายุงาน ไม่เกิน 6 ปี ร้อยละ 2 5 5 - อายุงาน 6-9 ปี ร้อยละ 2 5 5 - อายุงาน 10 ปีขึ้นไป ร้อยละ 2 5 5 *G4-EC4 สิทธิประโยชน์ทางภาษีและอื่นๆ ที่ได้รับจากรัฐบาล และหน่วยงานท้องถิ่น จากการส่งเสริมการลงทุน และพัฒนา ล้านบาท 1.53 1.53 1.53 G4-EC9 ร้อยละของผู้ส่งมอบในท้องถิ่น (Supplier /Service/Outsource) (รัศมี 5 กิโลเมตร หรือภายในจังหวัด) ร้อยละ 21.42 35.71 35.71 G4-EC6 ร้อยละของผู้บริหารตั้งแต่ระดับผู้จัดการขึ้นไปที่มา จากคนในท้องถิ่น (รัศมี 5 กิโลเมตร หรือภายใน จังหวัด) ร้อยละ 12.5 12.5 12.5
  • 10. 11 รายได้ผลการประกอบการ ในปี พ.ศ. 2560 บริษัทฯ มีรายได้จากการประกอบกิจการ เพิ่มขึ้นจาก ปี พ.ศ. 2559 จํานวน 81.19 ล้านบาท ด้านสิ่งแวดล้อม GRI ข้อมูลการดําเนินงาน หน่วย ปี 2558 2559 2560 (ม.ค.-มี.ค.) G4-EN1 วัตถุดิบหลัก 1. แผ่นดิสก์ ตัน - - - 2. มอเตอร์ ชิ้น - - - 3. หัวอ่าน ชิ้น - - - G4-EN3 ปริมาณการใช้พลังงานฟอสซิล - นํ้ามันดีเซล (เผาไหม้อยู่ กับที่) Lite - - - - นํ้ามันดีเซล (ที่มีการ เคลื่อนที่) Lite 147,047 139,521 44,897 - LPG (เผาไหม้อยู่กับที่) kg 75 2,028 2,205 - LPG (ที่มีการเคลื่อนที่) kg - - - - ก๊าซธรรมชาติ scf - - -
  • 11. 12 GRI ข้อมูลการดําเนินงาน หน่วย ปี 2558 2559 2560 (ม.ค.-มี.ค.) - สารชีวมวล kg 41,274,800 31,714,200 8,492,400 - นํ้ามันเตา Lite - - - G4-EN3 ปริมาณการใช้ไฟฟ้า kWh 17,358,160 17,722,480 4,866,240 - ปริมาณการใช้ไฟฟ้าจาก ภายนอก kWh 17,358,160 17,722,480 4,866,240 - ปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากโซล่า เซลล์ kWh - - - G4-EN8 ปริมาณการใช้นํ้าจําแนกตามแหล่งนํ้า m3 1,058,500 1,058,500 261,000 - นํ้าประปา m3 1,058,500 1,058,500 261,000 - นํ้าบาดาล m3 - - - - นํ้าหลังผ่านการบําบัดที่นํา กลับมาใช้ใหม่ m3 521,400 521,400 142,200 G4-EN10 ร้อยละของการนํานํ้ากลับมาใช้ใหม่ ร้อยละ 10.14 10.14 10.14 G4-EN15 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง : Scope 1 (ton CO2e)* ton CO2e 29,006.82 22,367.24 6,015.08 - นํ้ามันดีเซล (เผาไหม้อยู่กับที่) x 2.708 /1,000 ton CO2e - - - - นํ้ามันดีเซล (ที่มีการเคลื่อนที่) x 2.7446 / 1,000 ton CO2e 403.59 382.93 123.22 - LPG (เผาไหม้อยู่กับที่) x 3.11 /1,000 ton CO2e 0.23 6.31 6.86 - LPG (ที่มีการเคลื่อนที่) x 3.1899 / 1,000 ton CO2e - - - - ก๊าซธรรมชาติ x 0.0573 / 1,000 ton CO2e - - -
  • 12. 13 GRI ข้อมูลการดําเนินงาน หน่วย ปี 2558 2559 2560 (ม.ค.-มี.ค.) - สารชีวมวล x 0.6930 / 1,000 ton CO2e 28,603 21,978 5,885 - นํ้ามันเตา x 2.4777 /1,000 ton CO2e - - - G4-EN16 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมผ่าน การใช้ไฟฟ้า : Scope 2* คํานวณจาก ปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากภายนอก x 0,6093 / 1,000 ton CO2e - - - G4-EN17 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ (ton CO2e) : Scope 3 เช่น การใช้วัตถุดิบ การซื้อนํ้าใช้ การเดินทางของพนักงาน เป็นต้น ton CO2e - - - G4-EN18 ปริมาณการปล่อยสารทําลายโอโซน (ton CFC-11e) - การใช้สาร HCFC22 ton - - - - ปริมาณการทําลายโอโซน ton CFC-11e - - - G4-EN21 - ปริมาณการปล่อย NOx ton - - - - ปริมาณการปล่อย SOx ton - - - G4-EN22 ปริมาณนํ้าทิ้งที่ระบายออกนอกโรงงาน m3 0 0 0 G4-EN23 ปริมาณของเสีย ton 72,235 95,825 25,781 - ของเสียอันตราย ton 4.23 86.1 0.5 - ของเสียไม่อันตราย ton 72,231.02 95,818.81 25,780.29 G4-EN24 จํานวนครั้งของการรั่วไหลของสารเคมี/ นํ้ามัน/นํ้าทิ้ง/ของเสีย ที่มีนัยสําคัญ ครั้ง 0 0 0 G4-EN31 ค่าใช้จ่ายและการลงทุนในการปกป้อง ล้านบาท
  • 13. 14 GRI ข้อมูลการดําเนินงาน หน่วย ปี 2558 2559 2560 (ม.ค.-มี.ค.) สิ่งแวดล้อม - ค่ากําจัด และบําบัดของเสีย ล้านบาท 0 0.01 - - ค่าการจัดทําระบบการจัดการ สิ่งแวดล้อม (รวมค่าวิจัยศึกษาพัฒนา) ล้านบาท 0.06 0.06 0.19 วัตถุดิบหลัก -ไม่มีการใช้แผ่นดิสก์ มอเตอร์ หัวอ่าน ปริมาณการปลอยสารทําลายโอโซน - ไม่มีการใช้สาร HCFC22 ปริมาณการใชพลังงานฟอสซิล บริษัทได้จัดทําโครงการประหยัดพลังงาน ส่งผลให้มีการใช้พลังงานฟอสซิลลดลงอย่างต่อเนื่อง
  • 14. 15 การบริหารความเสี่ยง บริษัทฯ จัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานในระดับสากล ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อ การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและให้ผลตอบแทนที่ดีแก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยมีการ บริหารงานตามหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดี จึงกําหนดนโยบายบริหารความเสี่ยง ดังนี้ 1. ผู้บริหารและพนักงานทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารความเสี่ยงในหน่วยงาน โดยจะต้องมี บทบาทและส่วนร่วมในการพัฒนาการบริหารความเสี่ยงขององค์กร ลดโอกาสของการล้มเหลวและความ สูญเสียให้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ 2. ส่งเสริมวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยงให้กับผู้บริหารและพนักงานทุกคน เพื่อสร้างความเข้าใจ จิตสํานึก และความรับผิดชอบร่วมกันในเรื่องความเสี่ยง การควบคุม และผลกระทบของความเสี่ยงต่อบริษัท 3. ให้มีกระบวนการ แนวทาง และมาตรการในการบริหารความเสี่ยงที่ครอบคลุุมไปยังนโยบาย ภาครัฐ ที่มีคุณภาพเหมาะสมในระดับสากลและเพียงพอ รวมถึงการบ่งชี้ วิเคราะห์ ประเมิน จัดลําดับ จัดการ ควบคุม ติดตาม รายงาน ประเมินผล และสื่อสารให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง สมํ่าเสมอ และ ปฏิบัติทั่วทั้งบริษัท 4. ดําเนินการและสนับสนุนการบริหารความเสี่ยงให้ประสบความสําเร็จทั่วทั้งองค์กร โดยใช้ ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสมและเพียงพอ 5. ให้มีการกําหนดเพดานความเสี่ยง (Risk Limit) เพื่อกําจัดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นให้อยู่ภายใน ระดับที่บริษัทสามารถยอมรับได้ รวมทั้งกําหนดเหตุการณ์หรือระดับความเสี่ยงที่เป็นสัญญาณเตือนภัย (Warning Sign) ให้ผู้ปฏิบัติงานดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อไม่ให้ความเสี่ยงเกินกว่าระดับเพดานความ เสี่ยงที่กําหนด
  • 15. 16 กลยุทธ์ สู่ความยั่งยืนของทรัพย์ทิพย์ บริษัท ทรัพย์ทิพย์จํากัด ดําเนินธุรกิจตามกลยุทธ์การเติบโตอย่างยั่งยืน โดยรักษาสมดุลของการมุ่ง สู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการ บริหารจัดการ กระบวนการทํางาน การผลิต การจําหน่ายผลิตภัณฑ์และการบริการ การกํากับดูแลกิจการที่ดี ภายใต้จรรยาบรรณในการดําเนินธุรกิจ ที่มุ่งเน้นการดําเนินงานอย่างโปร่งใสเป็นธรรม ตรวจสอบได้ เคารพ กฎหมาย และข้อบังคับต่างๆ อย่างเคร่งครัด ตลอดจนให้ความสําคัญกับการจัดการสิ่งแวดล้อม การพัฒนา คุณภาพชีวิตของสังคมชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินธุรกิจ ด้วยความใส่ใจ ห่วงใย แบ่งปันเพื่อพัฒนาไปสู่ การสร้างคุณค่าเพิ่มร่วมกัน กลยุทธ์การดําเนินธุรกิจด้านความยั่งยืน สอดคล้องตามแนวทางกลยุทธ์สีเขียว โดยการบริหาร จัดการกระบวนการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม การวิจัยและสร้างนวัตกรรมทางด้านผลิตภัณฑ์ การพัฒนาพลังงานทางเลือก และการสร้างความ ตระหนักรู้ของภาคสังคมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและตอบสนอง ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้ทิศทางเชิงกลยุทธ์มีความชัดเจนสําหรับการดําเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม ได้กําหนดแผน วิสาหกิจประจําปี 2559-2563 ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ 2 ด้านหลัก ได้แก่ ยุทธศาสตร์การสร้างความ ภาคภูมิใจโดยการมีส่วนร่วม และ ยุทธศาสตร์การดําเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืน
  • 16. 17 การกํากับดูแลความยั่งยืนของบริษัท ทรัพย์ทิพย์ จํากัด บริษัท ทรัพย์ทิพย์จํากัด กํากับดูแลการบริหารจัดการความยั่งยืนผ่านนโยบายและกรอบการบริหาร จัดการความยั่งยืน ปี2560 ได้เห็นชอบให้ปรับปรุงกรอบการบริหารจัดการความยั่งยืน ให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับแนวทางด้านความยั่งยืนในระดับสากลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และแนวทางการ ปฏิบัติของระบบการบริหารจัดการเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศในสายปฏิบัติการ ในการนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและข้อแนะนําสําหรับการปรับปรุงกรอบดังกล่าวให้มีความ เหมาะสมต่อการนําไปปฏิบัติด้วย ทั้งนี้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ได้ลงนาม ประกาศใช้กรอบบริหารจัดการความยั่งยืนของ บริษัท ทรัพย์ทิพย์จํากัด เพื่อการพัฒนาที่ก้าวไกล กรอบบริหารความยั่งยืนของ บริษัท ทรัพย์ทิพย์ จํากัด
  • 17. 18 นโยบายการบริหารจัดการความยั่งยืน บริษัท ทรัพย์ทิพย์ จํากัด มุ่งมั่นที่จะดําเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยการสร้าง ความเชื่อมั่นต่อ ผู้ส่วนได้ส่วนเสียผ่านการดําเนินงานที่เป็นเลิศ โปร่งใส และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อ อนาคตที่ยั่งยืนของสังคม และสิ่งแวดล้อม ตามกรอบการบริหารจัดการ และให้เป็นแนวปฏิบัติในทิศทาง เดียวกัน ตามมาตรฐานสากล โดยมีนโยบายการดําเนินงาน ดังนี้ 1. คํานึงถึงการรักษาความสมดุลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงผ้มูีส่วนได้ ส่วนเสียทุกฝ่าย ในการดําเนินงาน เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร 2. มุ่งมั่นในการปกป้องมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อมของแต่ละกิจกรรม ผลิตภัณฑ์ และการบริการที่ อาจส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม 3. มุ่งเน้นการป้องกันการบาดเจ็บ ปัญหาสุขภาพของพนักงาน และป้องกันมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม และปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในระบบการจัดการ และผลการดําเนินงานด้านอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัย 4. ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกําหนดอื่น ๆ ด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดําเนินธุรกิจของบริษัทฯ ผู้มีส่วนได้เสียอย่างเคร่งครัด 5. เปิดเผยผลการดําเนินงานด้านความยั่งยืนอย่างโปร่งใส ตามแนวทางมาตรฐานสากลที่ ได้รับ การยอมรับเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ กรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุก คน มีหน้าที่สนับสนุน ผลักดัน และปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับนโยบายและกรอบการบริหาร จัดการความยั่งยืนที่กําหนดนี้
  • 18. 19 การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย บริษัท ทรัพย์ทิพย์ จํากัด สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ผ่านกระบวนการ บริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเชิงรุกในทุกระดับการดําเนินงานขององค์กรโดยวิเคราะห์ความต้องการ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างครบถ้วนและกําหนดกลยุทธ์การดําเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและ สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม แนวทางการบริหารจัดการ บริษัท ทรัพย์ทิพย์ จํากัด วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับองค์กรทั้งหมดและจําแนก ออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ ประเทศ สังคมชุมชน ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้าและพนักงาน โดยสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ มีส่วนได้ส่วนเสียทุกระดับอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ผ่านการดําเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วมและการสื่อสาร หลากหลายช่องทางอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อทําความเข้าใจถึงความคาดหวังและประเด็นสําคัญที่ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียให้ความสนใจ นอกจากนั้นยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการจัดทําแบบสํารวจชื่อเสียงของ องค์กรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการ ดําเนินงาน บริษัท ทรัพย์ทิพย์ นําผลการสํารวจที่ได้มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจ ของผู้บริหารในการกําหนดพันธกิจและทบทวนกลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กรให้ตอบสนองต่อ ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม เช่น การพิจารณาผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการ ดําเนินโครงการ และนําเสนอผลการประเมินและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่อคณะกรรมการจัดการ เพื่อใช้เป็น การประกอบการพิจารณาอนุมัติแนวทางการดําเนินโครงการ ตลอดจนติดตามประสิทธิภาพการดําเนินงาน และจัดทํารายงานสรุปความก้าวหน้าเสนอแก่คณะกรรมการจัดการเป็นประจํา
  • 19. 20 บทบาทต่อผู้มีส่วนได้เสีย แนวปฎิบัติ 1. บริษัทฯ แบ่งผู้มีส่วนได้เสียออกเป็นกลุ่ม ได้แก่ ผู้ถือหุ้นและนักลงทุน ลูกค้า คู่ค้า เจ้าหนี้ สถาบันการเงิน พนักงาน ชุมชน สังคม คู่แข่ง ทางการค้า หน่วยงานราชการและองค์กรที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ทั้งนี้ในแต่ละกลุ่ม ดังกล่าว บริษัทฯ ต้องจัดให้มีช่องทางในการสื่อสารและการตอบสนองความต้องการจากบริษัทฯ อย่าง พอเพียง 2. บริษัทฯ คํานึงถึงสวัสดิภาพและเอาใจใส่ดูแลพนักงานอย่างทั่วถึง โดยมีการทําสัญญาจ้างอย่างเป็นธรรม มี การกําหนดค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับศักยภาพ มีการฝึกอบรม พัฒนา และให้การศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเพิ่ม ศักยภาพของพนักงาน มีสิ่งแวดล้อมในการทํางานที่ดี มีการกําหนดมาตรฐานความปลอดภัย สร้างวินัยในการ ทํางานและหากมีเหตุให้พนักงานต้องยุติการทํางานด้วยสาเหตุใดก็ตาม บริษัทฯ ต้องกําหนดแผนการหรือ มาตรการแก้ไขปัญหาต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบให้ชัดเจน 3. บริษัทฯ ต้องดําเนินธุรกิจอย่างเป็นกลางและเป็นธรรมทั้งต่อคู่ค้า คู่แข่งทางการค้าและเจ้าหนี้ โดยมีขั้นตอน และวิธีปฏิบัติในการคัดเลือกคู่ค้าหรือผู้รับเหมาประพฤติปฏิบัติตามกรอบกติกาและการแข่งขันที่เป็นธรรมต่อ คู่แข่งทางการค้าและปฏิบัติตามสัญญา ข้อตกลง และเงื่อนไข ที่มีต่อเจ้าหนี้อย่างเคร่งครัด 4. บริษัทฯ มีหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้การช่วยเหลือสนับสนุน สร้างประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม ในภาพรวมและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงานเพื่อให้มีการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีแผนการในการรักษาสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย รวมทั้งการป้องกันผลกระทบทาง สิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการดําเนินงานของบริษัทฯ โดยมีแผนชดเชยที่ดีในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุและมีการ วางแผนแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งบริษัทฯ ได้จัดทํารายงานความยั่งยืนเพื่อรายงานและเปิดเผยผลการ ดําเนินงานทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 5. บริษัทฯ ได้ดําเนินการประชาสัมพันธ์ด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อสื่อถึงความตระหนักและความเอาใจใส่ที่มีต่อผู้มี ส่วนได้เสียอย่างต่อเนื่องและสมํ่าเสมอและได้จัดให้มีกระบวนการและช่องทางในการรับและ จัดการกับข้อ หลักการ ผู้มีส่วนได้เสียควรได้รับการดูแลจากบริษัทฯ ตามสิทธิที่มีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือข้อตกลงที่ มีกับบริษัทฯ โดยไม่กระทําการใดๆ ที่เป็ นการละเมิดสิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทฯ มีมาตรการ ป้ องกันกรณีที่กรรมการและผู้บริหารใช้ข้อมูลภายในเพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น ในทางมิชอบและกําหนดให้กรรมการและผู้บริหารเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับส่วนได้เสียของตนและ ผู้เกี่ยวข้อง บริษัทฯ ควรมีมาตรการในการรับข้อร ้องเรียน ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ตลอดจนแจ้งเบาะแสใน ประเด็นการกระทําผิดกฎหมายหรือจรรยาบรรณที่อาจส่อถึงการทุจริตหรือประพฤติมิชอบของ บุคลากรของบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสียอื่นของบริษัทฯ และมีกลไกคุ้มครองสิทธิของผู้แจ้ง เบาะแส ดังกล่าว บริษัทฯ ควรพิจารณาให้มีกระบวนการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างบริษัทฯ กับผู้มีส่วนได้ เสียในการสร ้างความมั่นคงทางการเงินและความยั่งยืนของกิจการและเปิดเผยข้อมูลสําคัญที่ เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถทําหน้าที่ในการมีส่วนร่วมดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทฯ ควรกําหนดเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้มั่นใจว่าการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ ได้คํานึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • 20. 21 ร้องเรียนของผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรการการร้องเรียนและการแจ้งเบาะแส ซึ่งมีการเปิดเผยผ่านทางเว็บไซต์ หรือรายงานประจําปีของบริษัทฯ 6. บริษัทฯ จัดทํานโยบายและมีแนวทางในการต่อต้านคอร์รัปชั่น สนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรของบริษัทฯ ให้ความสําคัญมีจิตสํานึกในการต่อต้านการทุจริต ปฏิบัติตามกฎหมาย และระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดให้มีขั้นตอนการดําเนินงานต่างๆ อย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกันการทุจริต การกรรโชกและการรับหรือ ให้สินบนในทุกรูปแบบ จรรยาบรรณว่าด้วยการปฎิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย และความขัดแย้งทางผลประโยชน์ บริษัทฯ ถือเป็นนโยบายสําคัญในการดําเนินธุรกิจที่คํานึงถึงประโยชน์ของบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสียโดยรวม จึงได้กําหนดแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อแสดงถึงเจตนารมณ์การดําเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ และให้ยืดถือเป็น หน้าที่ของกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่มีความสัมพันธ์จะต้องหลีกเลี่ยงการเข้า ไปมีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้องกับการดําเนินการในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ อันจะส่งผลให้ บริษัทฯ เสียผลประโยชน์ หรือทําให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพลดลง ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงรายการดังกล่าว ได้หน่วยงานผู้รับผิดชอบจะเข้าไปดูแลการทํารายการนั้น ๆ ให้เป็นไปด้วยความโปร่งใส ชัดเจนเพื่อประโยชน์สูงสุดของ บริษัทฯ แนวปฎิบัติ 1.1 การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น ส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิขั้นพื้นฐานและมุ่งมั่นในการสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้น โดยคํานึงถึง การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน สร้างมูลค่าเพิ่มและให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งดําเนินธุรกิจตาม หลักการกํากับดูแลกิจการที่ดี 1.2 การปฏิบัติต่อลูกค้า ส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของลูกค้า ตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยความ รวดเร็ว ตรงเวลา เพื่อความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า มีการเก็บรักษาข้อมูลของลูกค้า รวมถึงไม่นําข้อมูลไปใช้เพื่อ ประโยชน์ของตนเองหรือผู้ทีเกี่ยวข้องอื่นโดยมิชอบ 1.3 การปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้า ปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้าภายใต้กรอบแห่งกฎหมายเกี่ยวกับหลักปฏิบัติการแข่งขันทางการค้าและยึดถือ กติกาของการแข่งขันที่ดี ไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับของคู่แข่งทางการค้าด้วยวิธีการที่ไม่สุจริตหรือไม่เหมาะสม ไม่ทําลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้าด้วยการกล่าวหาในทางร้ายโดยปราศจากซึ่งมูลความจริง 1.4 การปฏิบัติต่อเจ้าหนี้ ปฏิบัติตามสัญญา ข้อตกลงหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ที่มีต่อเจ้าหนี้อย่างเคร่งครัด กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ต้องรีบ แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบล่วงหน้าเพื่อร่วมกันพิจารณาหาแนวทางแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย 1.5 การปฏิบัติต่อหน่วยงานกํากับดูแล ปฏิบัติและควบคุมการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและกฎระเบียบที่ออกโดยหน่วยงาน กํากับดูแล ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานกํากับดูแลและรายงานข้อมูลที่เป็นจริง
  • 21. 22 1.6 การปฏิบัติต่อพนักงาน พนักงานเป็นปัจจัยหลักและเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าในการดําเนินธุรกิจ บริษัทฯ จึงให้ความสําคัญต่อ พนักงานเป็นอย่างมาก โดยให้ความเป็นธรรมต่อพนักงานทุกระดับโดยไม่เลือกปฏิบัติ เคารพสิทธิของพนักงานตาม สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานตามหลักสากลและกฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ให้ผลตอบแทนที่เป็นธรรม รวมทั้ง ยังให้ความสําคัญกับสุขภาพ อาชีวอนามัย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและสภาพแวดล้อมในการทํางานของ พนักงาน ตลอดจนการเสริมสร้างวัฒนธรรมและบรรยากาศการทํางานที่ดีและส่งเสริมการทํางานเป็นทีม ให้ความสําคัญ ต่อการพัฒนความสามารถของพนักงาน รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากพนักงานทุกระดับอย่างเท่าเทียมกัน บริษัทฯ จะไม่กระทําการหรือสนับสนุนใหมีการใช้แรงงานบังคับทุกรูปแบบ 1.7 การปฏิบัติต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ มุ่งเน้นการดําเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อม ตระหนัก ถึงคุณภาพชีวิตของชุมชน โดยแบ่งปันผลกําไรส่วนหนึ่งเพื่อตอบแทนชุมชนและสังคม คํานึงถึงการดําเนินธุรกิจที่ไม่ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มตั้งแต่การเริ่มก่อสร้างโรงงาน การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมตลอดจน กระบวนการผลิตและการจัดการของเสียที่เหมาะสมให้ความสําคัญต่อการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการด้านความ ปลอดภัยอาชีวอนามัย และความต่อเนื่องทางธุรกิจ รวมถึงแนวทางในการปฏิบัติที่ดีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จรรยาบรรณว่าด้วยการเคารพหลักสิทธิมนุษยชนสากล บริษัทฯ ตระหนักถึงความสําคัญต่อการเคารพสิทธิมนุษยชนของทุกคน โดยปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียม กันปราศจากการเลือกปฏิบัติ หลีกเลี่ยงการกระทําที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและให้ความสําคัญด้านแรงงาน โดย ปฏิบัติต่อพนักงานของบริษัทฯ ทุกคนด้วยความเสมอภาพ โดยไม่แบ่งแยกถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ เพศ อายุ สีผิว ศาสนา หรือความพิการใดๆ โดยให้มีการปฏิบัติเป็นไปตามกฎหมายแรงงานและข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแรงงานอย่าง เป็นธรรม แนวปฎิบัติ 2.1 บริษัทฯ ต้องปฎิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากลอย่างเคร่งครัดทั้งในระดับประเทศและระดับสากล รวมถึงข้อจํากัดของกฎหมายแรงงานในแต่ละประเทศที่เข้าไปดําเนินธุรกิจ โดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมการทํางานที่ ปลอดภัย ถูกสุขอนามัยตามมาตรฐานสากล ปลอดจากยาเสพติด และปฏิบัติต่อบุคลากรทุกคนโดยเสมอภาคกัน ไม่ เลือกปฏิบัติด้วยสาเหตุอันเนื่องมาจากความเหมือน หรือความแตกต่างของถิ่นกําเนิด เพศ อายุ สีผิว เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา ความเชื่อ ความคิดเห็นทางการเมือง ความทุพพลภาพ ฐานะชาติตระกูลหรือสถานะอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการ ปฏิบัติงาน รวมถึงเคารพสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2.2 บริษัทฯ ต้องหมั่นตรวจตราดูแลมิให้การดําเนินธุรกิจของบริษัทฯ เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิด สิทธิมนุษยชน รวมถึงการเข้าร่วมและยอมรับหลักปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโลก เช่น หลักสิทธิมนุษยชนของ องค์การสหประชาชาติ เป็นต้น 2.3 บริษัทฯ ต้องให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชนสากลแก่บุคลากรของบริษัทฯ เพื่อนําไป ปฏิบัติเป็นส่วนหนึ่งในการดําเนินงานและไม่สนับสนุนกิจการและ/หรือกิจกรรมที่ละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนสากล
  • 22. 23 จรรยาบรรณว่าด้วยการเคารพและปฎิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง และการ เคารพวัฒนธรรมที่แตกต่าง บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการดําเนินธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ข้อบังคับและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเคารพขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น โดยกําหนดข้อพึงปฏิบัติของ กรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน บนพื้นฐานหลัก 5 ประการ ได้แก่ 1.1 มีความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจและการประพฤติปฏิบัติ 1.2 มีความโปร่งใสและเปิดเผย 1.3 ปฏิบัติต่อทุกฝ่ายอย่างเสมอภาคและยุติธรรม 1.4 มุ่งสร้างคุณค่าของธุรกิจในระยะยาวแก่ผู้มีส่วนได้เสีย 1.5 ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ แนวปฎิบัติ 3.1 บุคลากรของบริษัทฯ ต้องศึกษาและทําความเข้าใจกฎหมายขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมในแต่ ละพื้นที่หรือประเทศปลายทางก่อนการเดินทาง รวมถึงระเบียบ ข้อบังคับ ขั้นตอนการปฏิบัติงานและกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบของตนโดยตรงให้ถี่ถ้วนและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อให้แน่ใจว่าสินค้า ตัวอย่าง สินค้าและอุปกรณ์ที่นําไปด้วย เอกสารในการเดินทาง วัตถุประสงค์ของการเดินทางและการปฏิบัติงานใน ประเทศปลายทางไม่ผิดกฎหมายหรือไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของประเทศปลายทาง ทั้งนี้ หาก ไม่แน่ใจให้ขอคําปรึกษาจากผู้บังคับบัญชาและห้ามปฏิบัติไปตามความเข้าใจของตนเอง โดยไม่มีคําแนะนํา 3.2 บริษัทฯ เคารพต่อขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นในทุกประเทศที่บริษัทฯ เข้า ไปลงทุน โดยดําเนินธุรกิจและปฏิบัติตามกฎหมายในแต่ละประเทศหรือท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องด้วยตระหนักเสมอว่า กฎหมาย กฎเกณฑ์หรือขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ในแต่ละท้องถิ่นอาจมีเงื่อนไข ขั้นตอนหรือวิธีปฏิบัติที่แตกต่าง กัน 3.3 บุคลากรของบริษัทฯ จะไม่ให้การช่วยเหลือสนับสนุนการกระทําที่เป็นการหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนการปฏิบัติ ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ขั้นตอนการปฏิบัติงานและกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดําเนินธุรกิจของบริษัทฯ เมื่อพบว่าระเบียบข้อกําหนด ขั้นตอนการปฏิบัติงานหรือหนังสือสั่งการของบริษัทฯ แตกต่างจากที่บังคับใช้ในพื้นที่หรือ ประเทศนั้นๆ ให้ปรึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนดําเนินการใดๆ 3.4 เมื่อพบเห็นการฝ่าฝืนหรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบและกฎเกณฑ์ต่างๆ ให้รายงาน ต่อผู้บังคับบัญชาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือช่องทางรับเรื่องร้องเรียนตาม “มาตรการการร้องเรียนและการแจ้ง เบาะแส” และในกรณีที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่อาจมีผลกระทบต่อบริษัทฯ อย่างมีนัยสําคัญให้รายงานผู้บังคับบัญชาโดยทันที
  • 23. 24 การกํากับดูแลกิจการที่ดี บริษัท ทรัพย์ทิพย์จํากัด มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นบริษัทชั้นนําของภูมิภาค สร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ลงทุนและผู้ที่ มีส่วนได้ส่วงนเสียต่อการดําเนินธุรกิจ เพิ่มมูลค่าขององค์กรและส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทฯ ด้วยการบริหาร จัดการธุรกิจอย่างเป็นธรรม สุจริต โปร่งใส ตามหลักการกํากับดูแลอันเป็นสากลและเป็นคุณค่าพื้นฐานขององค์กรชั้นนํา ดังนั้น บริษัทฯจึงได้กําหนดนโยบายการกํากับดูแลกิจการ เพื่อเป็นกรอบในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ ต่อไปนี้ 1. คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร พนักงานทุกคน ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเม และรับผิดชอบต่อ หน้าที่อย่างเต็มความสามารถเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ และยึดมั่นคู่มือหลักการกํากับดูแลกิจการและจรรยาบรรณ ธุรกิจของบริษัทฯ เป็นแนวทาง ด้วยความเข้าใจ เชื่อมั่น และศรัทธา โดยปฏิบัติจนเป็นกิจวัตรเพื่อสร้างวัฒนธรรมที่ดีของ องค์กร 2.คณะกรรมการบริษัท มีบทบาทสําคัญร่วมกับผู้บริหารในการกําหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ นโยบายและแผนงานที่ สําคัญของบริษัทฯ รวมทั้งการจัดโครงสร้างการบริหารงานที่สอดคล้องและสัมพันธ์กันอย่างเป็นธรรมระหว่าง คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และผู้ถือหุ้น และมีแนวทางการบริหารจัดการดําเนินธุรกิจที่มีความเหมาะสม 3. คณะกรรมการบริษัทและผู้บริหาร ต้องเป็นผู้นําในเรื่องจริยธรรมและเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความ ซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ตามแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมของบริษัทฯ 4. คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหารและพนักงานทุกคน ต้องยึดมั่นในความเป็นธรรมโดยปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วน เสียทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน พร้อมทั้งดูแลสอดส่อง ควบคุมและป้องกันการตัดสินใจหรือการกระทําใดๆที่มีความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ 5. การปฏิบัติตามนโยบายการกํากับดูแลกิจการของบริษัทฯ ถือเป็นดัชนีชี้วัดที่สําคัญในการประเมินผลการบริหาร จัดการทางธุรกิจของคณะกรรมการบริษัทกับผู้บริหาร และการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานทุกคน บริษัทตระหนัก และให้ความสําคัญของความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงดําเนินกิจกรรมเพื่อสังคม และรักษาสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการดําเนินงาน เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และให้สังคมได้รับผลประโยชน์สูงสุด โดยหลักธรรมาภิบาล คํานึงถึงผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ชุมชนใกล้เคียง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมช่วยเหลือชุมชน และการ พัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน และพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านเทคโนโลยีที่สะอาด ทันสมัยและไม่มีผลกระทบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กร ที่มีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อเถือ
  • 24. 25 หลักการกํากับดูแล หลักการกํากับดูแลกิจการ หมายถึง การจัดโครงสร้าง และกลไกบริหาร จัดการภายในองค์กร เพื่อเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการบริษัทฯ ผู้บริหาร พนักงาน และผู้ถือหุ้น โดยคํานึงถึงผู้มีส่วนได้เสียโดยรวม ซึ่งการจัด โครงสร้างและกลไกการจัดการดังกล่าว จะต้องสะท้อนถึง หลักการสําคัญในหลักการกํากับดูแลกิจการดังนี้  Responsibility มีความสํานึกรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยขีดความสามารถ และประสิทธิภาพที่ เพียงพอ  Equitable Treatment ปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกันด้วยความเป็นธรรม  Accountability มีความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจและการกระทําของตนเองและของผู้อื่นที่อยู่ในความ รับผิดชอบของตนสามารถชี้แจงและอธิบายการตัดสินใจนั้นได้  Creation of Long Term Value มีวิสัยทัศน์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรในระยะยาว  Transparency มีความโปร่งใสในการดําเนินงานที่สามารถตรวจสอบได้และ เปิดเผยข้อมูลอย่าง โปร่งใสแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง  Ethics มีจริยธรรมและจรรยาบรรณในการดําเนินธุรกิจ
  • 25. 26 การต่อต้านคอร์รัปชั่น บริษัทฯ ยึดมั่นในการดําเนินธุรกิจด้วยความเป็นธรรม สุจริต โปร่งใส รับผิดชอบต่อสังคม และผู้มีส่วนได้เสียทุก กลุ่มตามหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณของบริษัทฯ และตามหลักการสากล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มี ส่วนได้เสียทุกกลุ่ม และสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับบริษัทฯ บริษัทฯ ตระหนักว่าการคอร์รัปชั่นถือเป็นอุปสรรค สําคัญต่อการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว รวมทั้ง เป็นปัญหาต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ เพื่อให้บรรลุเจตนารมณ์ดังกล่าว บริษัทฯ จึงได้จัดทํานโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่น พร้อมทั้งกําหนดบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบ แนวปฏิบัติ ตลอดจนมาตรการในการดําเนินการ ดังนี้ คํานิยามตามนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่น การคอร์รัปชั่น (Corruption) หมายถึง การกระทําการใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการนําเสนอ (offering) การให้คํามั่นสัญญา (promising)การขอ (soliciting) การเรียกร้อง (demanding)การให้หรือรับ(giving or accepting) ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ อื่นใด กับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลอื่นใดที่ทําธุรกิจกับบริษัทฯ ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อให้บุคคลดังกล่าว ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ได้มาหรือรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ อื่นใดที่ไม่เหมาะสมทางธุรกิจ ยกเว้นกรณีที่ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น หรือจารีตทางการค้าให้กระทําได้ การช่วยเหลือทางการเมือง (Political Contribution) หมายถึง การช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเงินหรือใน รูปแบบอื่น (in-kind) เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง เช่น การให้สิ่งของหรือบริการ การโฆษณาส่งเสริม หรือ สนับสนุนพรรคการเมือง การซื้อบัตรเข้าชมงานที่จ ◌ัดเพื่อระดมทุน หรือบริจาคเงินให้แก่องค์กรที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด กับพรรคการเมือง เป็นต้น นโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่น กรรมการบริษัทฯ ผู้บริหาร และพนักงาน จะไม่กระทําหรือยอมรับการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ ไม่ว่ากรณีใดๆ โดย ครอบคลุมถึงธุรกิจของบริษัทฯ ในทุกประเทศและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ โดยบริษัทฯ ได้กําหนด แนวปฏิบัติ มาตรการดําเนินการ และบทบาทหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ตลอดจนจัดให้มีการสอบทาน และทบทวนการปฏิบัติตามนโยบายการ ต่อต้านคอร์รัปชั่นนี้อย่างสมํ่าเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่ เกี่ยวข้อง
  • 26. 27 ความมั่นคงในการจัดหาพลังงาน บริษัท ทรัพย์ทิพย์จํากัด ให้ความสําคัญถึงความเพียงพอของทรัพยากรธรรมชาติต่การดําเนินกิจการให้เป็นไป อย่างมั่นคงและยั่งยืน การบริหารจัดการนํ้าเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตและสําหรับกิจกรรมอื่นๆก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะต้อง คํานึงถึง ซึ่งทางบริษัทฯ ได้จัดสรรการใช้ให้มากกว่าปริมาณการใช้นํ้าดังนี้ GRI ข้อมูลการดําเนินงาน หน่วย ปี 2558 2559 2560 (ม.ค.-มี.ค.) G4-EN8 ปริมาณการใช้นํ้าจําแนกตามแหล่ง นํ้า m3 1,058,500 1,058,500 1,058,500 - นํ้าประปา m3 1,058,500 1,058,500 1,058,500 - นํ้าบาดาล m3 - - - - นํ้าหลังผ่านการบําบัดที่นํา กลับมาใช้ใหม่ m3 521,400 521,400 521,400 G4-EN10 ร้อยละของการนํานํ้ากลับมาใช้ใหม่ ร้อยละ 10.14 10.14 10.14 แหล่งพลังงานเพิ่มเติมที่บริษัทฯเลือกใช้ในการขับเคลื่อนกระบวนการผลิตอีกด้านก็คือ เชื้อเพลิง ทางบริษัทฯ เลือกใช้เชื้อเพลิงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นั่นคือ ไม้สับ กากมันสําปะหลังอบแห้งและก๊าซชีวภาพจากการบําบัดนํ้าเสีย
  • 27. 28 การต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นในสายโซ่อุปทาน นโยบายด้านความเป็นธรรมและการต่อต้านคอรัปชั่น 1. บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมและดําเนินการต่อต้านคอร์รัปชั่นเพื่อแสดงความเป็นผู้นํา และเป็นแบบอย่างให้ผู้อื่น หากพบการทุจริต โปรดแจ้งคณะกรรมการบริหารการจัดทําระบบ CSR 2. แจ้งเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจบังคับใช้กฎหมายมาดําเนินการ เมื่อพบการทุจริตหรือคอร์รัปชั่นใน องค์กร 3. สนับสนุนให้ผู้เกี่ยวของกับองค์กร นําแนวปฏิบัติในการต่อต้านคอร์รัปชั่นไปใช้ 4. บริษัทฯมุ่งมั่นในการดําเนินธุรกิจที่เป็นประโยชน์และปฏิบัติอย่างเป็นธรรม เพื่อประโยชน์ ร่วมกันต่อทุกภาคส่วน รวมถึงสังคมและประเทศชาติ 5. บริษัทฯ ปฏิบัติติอผู้เกี่ยวข้องด้วยความเป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เนื่องจากความ แตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา การศึกษา เพศ หรือเรื่องอื่นใด 6. บริษัทฯ กําหนดระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการป้องกันอื่นๆ เพื่อป้องกันการถูกชักจูงหรือการ เข้าไปมีส่วนร่วมในการต่อต้านการแข่งขันทางการค้า 7. บริษัทฯ สนับสนุนการต่อต้านการผูกขาดและการทุ่มตลาด อีกทั้งส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า อย่างเป็นธรรมไม่นําประเด็นทางสังคม เช่น ความยากจนไปสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางการค้า 8. ไม่หาผลประโยชน์จากความไม่เป็นธรรม เอารัดเอาเปรียบ หรือกดขี่ด้านแรงงานจากคู่ธุรกิจผู้ส่ง มอบ ผู้รับจ้าง