Ce diaporama a bien été signalé.
Le téléchargement de votre SlideShare est en cours. ×

อนุสสติ 10 สมถกัมมัฏฐาน ppt

Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Publicité
Chargement dans…3
×

Consultez-les par la suite

1 sur 34 Publicité

Plus De Contenu Connexe

Diaporamas pour vous (20)

Les utilisateurs ont également aimé (20)

Publicité

Similaire à อนุสสติ 10 สมถกัมมัฏฐาน ppt (20)

Plus par เตชะชิน เก้าเดือนยี่ (15)

Publicité

Plus récents (20)

อนุสสติ 10 สมถกัมมัฏฐาน ppt

  1. 1. พุทธภาวนาวิธี อนุสสติ 10
  2. 2. 2
  3. 3. การพัฒนาตน 4
  4. 4. 5 อนุสติ แปลว่า ตามระลึกถึง หมายถึง ตามระลึกถึงคุณของบุคคล คุณแห่งธรรมะ เพื่อประคองจิตไม่ให้ฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ อื่นโดยเฉพาะอารมณ์ชั่วร้ายอื่นๆ
  5. 5. ๑. พุทธานุสสติ คือ การระลึกถึง คุณของ พระพุทธเจ้า
  6. 6. พุทธานุสสติ คือ การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า กรรมฐาน กองนี้ท่านสอนให้ระลึกถึงคุณความดีของ พระพุทธเจ้า การระลึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า ระลึกได้ไม่ จํากัดว่าจะต้องระลึกตามแบบของท่านผู้นั้นผู้นั้นที่สอนไว้โดย จํากัด เพราะพระพุทธคุณ คือคุณความดีของพระพุทธเจ้านั้นมี มากมาย แล้วแต่บางท่านจะระลึกโดยใช้ว่า"พุทโธ" หรือ "สัมมาอรหัง" "อิติสุคโต" ต่าง ๆ ดังนี้เป็นต้น แล้วแต่ท่านจะ ถนัดหรือสะดวก ไม่มีกําหนดกฎเกณฑ์ใด ๆ ทั้งสิ้น
  7. 7. คุณของพระพุทธเจ้ามี ๙ประการคือ ๑. อรหํเป็นพระอรหันต์ ๒. สมฺมาสมฺพุทโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ ๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วย วิชชาและจรณะ ๔. สุคโต เสด็จไปดีแล้ว ๕. โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก ๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถี ฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า ๗. สตฺถา เทวมนุสฺสานํเป็นสาสดาของ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ๘. พุทฺโธ เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว ๙. ภควา เป็นผู้มีโชค
  8. 8. พุทธคุณทั้งหมดนั้น โดยย่อมี ๒ คือ พระปัญญาคุณ และพระกรุณาคุณ หรือ พุทธคุณ ตามที่นิยมกันย่อ เป็น ๓ คือ ๑. พระปัญญาคุณ พระคุณคือ พระปัญญา ๒. พระวิสุทธิคุณ พระคุณคือ ความบริสุทธิ์ ๓. พระมหากรุณาคุณ ประคุณ
  9. 9. 10 ๒. ธัมมานุสสติ คือ การระลึกถึง คุณของพระธรรม
  10. 10. 11 ธรรมคุณ ๖ประการ ๑. สวากขาโต ภควตา ธัมโม พระธรรมเป็นคํา สอนอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นความจริง แท้ เป็นหลักครองชีวิตอันประเสริฐ ๒. สันทิฏฐิโก พระธรรมนี้ผู้ปฏิบัติตามจะเห็น ได้ด้วยตนเอง
  11. 11. ๓. อกาลิโก ไม่เนื่องด้วยกาลเวลา ๔. เอหิปัสสิโก ควรเรียกให้มาดู ๕. โอปะนะยิโกควรน้อมเข้ามา ๖. ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ คือวิญญูชนรู้ได้เฉพาะตน
  12. 12. ๓. สังฆานุสสติ คือ การระลึกถึง คุณของพระสงฆ์
  13. 13. สังฆคุณมี ๙ประการ ๔ประการแรกเป็นเหตุ ๕ประการหลังเป็นผล ๑.สุปฏิปันโน พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดี ๒.อุชุปฏิปันโน ปฏิบัติตรง ๓.ญายปฏิปันโน ปฏิบัติถูกทาง ๔.สามีจิปฏิปันโน ปฏิบัติสมควร
  14. 14. ๕.อาหุเนยโย เป็นผู้ควรแก่สิ่งของคํานับ ๖.ปาหุเนยโย เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ ๗.ทักขิเณยโย เป็นผู้ควรแก่ทักษิณาควรแก่สิ่งของทําบุญ ๘.อัญชลีกรณีโย เป็นผู้ควรแก่การทําอัญชลี ๙.อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ เป็นเนื้อนาบุญของโลกไม่มีนาบุญ อื่นยิ่งกว่า
  15. 15. การพัฒนาตน
  16. 16. ๔. สีลานุสสติ คือการระลึกถึง คุณของศีล ที่ตนปฏิบัติอยู่
  17. 17. สีลานุสสติ คือการระลึกถึงคุณของศีลที่ตนปฏิบัติอยู่ พึงชําระศีลของตนให้บริสุทธิ์ เห็นอานิสงส์ของศีลสมบัติ (การบริบูรณ์ด้วยศีล) เพราะศีลเป็นบ่อเกิดของคุณงามความดีเป็นอันมาก พระพุทธเจ้าตรัสถึงอานิสงส์ของศีลไว้เป็นอันมาก เช่น ตรัสไว้ว่า “ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย หากว่าภิกษุพึงหวังว่า ของเราพึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ เป็นที่ยกย่องของเพื่อนสพรหมจารีด้วยกัน ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ทําให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลายเกิด ถึงเป็นฆราวาสก็เฉกเช่นกัน พึงระลึกถึงศีลอันตนได้รักษาไว้ดีแล้ว จักเกิดความอาจหาญร่าเริงในธรรม”
  18. 18. การพัฒนาตน ๕. จาคานุสติ คือ การระลึกถึง คุณของจาคะ ที่ตนได้ทําไป
  19. 19. จาคานุสสติ จาคานุสสติ แปลว่า ระลึกถึงการบริจาคทานเป็นนิตย์ กรรมฐานกองนี้ ท่านแนะให้ระลึกถึงการให้เป็นปกติ ผลของการให้เป็นการตัดมัจฉริยะ ความตระหนี่ ตัดโลภะความโลภ ซึ่งจัดว่าเป็นกิเลสตัวสําคัญไปได้ ตัวหนึ่ง กิเลสมีรากเหง้าอยู่ คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
  20. 20. การพัฒนาตน ๖. เทวตานุสสติ คือ การระลึกถึง คุณธรรมที่ทําให้เป็น เทวดา
  21. 21. เทวตานุสสติ คุณธรรมอย่างหนึ่งที่ทําให้บุคคลไปเกิดเป็นเทวดา ก็คือ หิริ = ความละอายต่อบาป และโอตตัปปะ = ความเกรงกลัวต่อบาป ถ้าบุคคลใดมีหิริ-โอตตัปปะอยู่ในใจ บุคคลนั้นก็ได้ชื่อว่า มี ใจเป็นเทวดาแล้ว ให้พึงน้อมนึกเทียบเคียงว่า คุณธรรมอันใดที่จะนําบุคคลไป เกิดเป็นเทวดา คุณธรรมเหล่านั้นก็มีสมบูรณ์พร้อมอยู่ในใจเรา เช่นกัน แล้วพึงทําความเอิบอิ่มให้เกิดขึ้น
  22. 22. การพัฒนาตน
  23. 23. การพัฒนาตน ๗. มรณานุสติ คือ การระลึกถึง ความตาย
  24. 24. มรณานุสสติ การนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ความตายเป็นของธรรมดาของ สัตว์และมนุษย์ที่เกิดมาต้องตายในที่สุดเหมือนกันหมด ธรรมดาของ คนที่มีกิเลสทั่วไป รู้ความตายว่าเป็นธรรมดาจริง แต่เห็นว่าเป็นธรรมดา สําหรับผู้อื่นตายเท่านั้น ถ้าความตายจะเข้ามาถึงตนหรือคนที่รักของตน ก็ดิ้นรน ไม่ต้องการให้ความตายมาถึงตนหรือคนที่ตนรัก พยายามทุก ทางที่จะไม่ยอมตาย พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตายนั้นเป็นสิ่งปกติธรรมดา ไม่มีใครจะหลีกหนีพ้นความตาย ผู้ที่เจริญมรณานุสสติกรรมฐาน เมื่อคิดถึงความตายเป็นปกติ จนเห็น ความตายเป็นปกติธรรมดา ก็เตรียมพร้อมเพื่อรับสถานการณ์ คือให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ต่อไป
  25. 25. การพัฒนาตน ๘. กายคตาสติ คือ การระลึก เห็นร่างกาย เป็นของไม่งาม
  26. 26. กายคตาสติ กายคตาสติแปลว่า พิจารณากายให้เห็นว่า ไม่สวยไม่งาม มี ความโสโครก ตามกฎแห่งความเป็นจริงเป็นอารมณ์ กายคตา นุสสตินี้เป็นกรรมฐานสําคัญที่พระอริยเจ้าทุกองค์ไม่เคยเว้น เพราะพระอริยเจ้าก่อนแต่จะได้สําเร็จมรรคผล ทุกท่านนิยม พิจารณาให้เห็นว่าไม่สวย ไม่น่ารัก น่ารังเกียจ เพราะมีสภาพน่า สะอิดสะเอียนตามปกติเป็นอารมณ์ และกายคตานุสสตินี้เป็น กรรมฐานพิเศษกว่ากรรมฐานกองอื่น ๆ เพราะถ้าพระโยควาจร พิจารณาตามกฎของกายคตานุสสติ ผลที่ได้รับจะเข้าถึงปฐมฌาน
  27. 27. การพัฒนาตน ๙. อานาปานสติ คือ การกําหนด ลมหายใจเข้า – ออก
  28. 28. อานาปนาสติ อานาปานานุสสติ แปลว่า ระลึกถึงลมหายใจเป็นอารมณ์ กรรมฐานกองนี้เป็นกรรมฐานใหญ่คลุมกรรมฐานกองอื่น ๆ เพราะจะปฎิบัติกรรมฐาน ๔๐ กองนี้ กองใดกองหนึ่งก็ตาม จะต้องกําหนดลมหายใจเสียก่อน หรือต้องกําหนดลมหายใจ ร่วมไปพร้อม ๆ กับกําหนดพิจารณากรรมฐานกองนั้น ๆ จึงจะ ได้ผล หากท่านผู้ใดเจริญกรรมฐานกองใดก็ตาม ถ้าเว้นการ กําหนดเสียแล้ว กรรมฐานที่ท่านเจริญจะไม่ได้ผลรวดเร็ว สมความมุ่งหมาย
  29. 29. การพัฒนาตน ๑๐. อุปสมานุสติ คือ การระลึกถึง พระนิพพาน
  30. 30. อุปสมานุสสติ อุปสมานุสสติ แปลว่า ระลึกคุณพระนิพพานเป็นอารมณ์ ตามศัพท์ท่านน่าจะแปลว่าระลึกถึงคุณของความเข้าไปสงบ ระงับจิตจากกิเลสและ ตัณหา ก็คือการเข้าถึงพระนิพพาน นั้นเอง ท่านแปลเอาความหมายว่า ระลึกถึงคุณพระนิพพานนั้น อานิสงส์ ที่ใช้อารมณ์ใคร่ครวญถึงพระนิพพานนี้มีผลมาก เป็นปัจจัยให้ละอารมณ์ที่คลุกเคล้าด้วยกิเลสและตัณหา เห็น โทษในวัฏฏะ เป็นปัจจัยให้แสวงหาทางปฏิบัติเพื่อความพ้น ทุกข์อันเป็นปฏิปทาไปสู่พระนิพาน
  31. 31. การพัฒนาตน
  32. 32. การพัฒนาตน ถัดจากนี้ ให้เราเจริญ อัปปนา ภาวนา เรื่อยไป จนกระทั่ง สามารถบังคับให้เกิด อัปปนา สมาธิ ได้ตลอดเวลาที่เรากําหนด จะเข้า จะออก ในเวลาใดก็ได้ตาม ประสงค์ ขั้นนี้เรียกว่า อัปปนาสมาธิ ที่เป็นฌานสมาบัติ อันจัดเป็น ครุกรรมฝ่ ายกุศล และใช้เป็นบาทแห่งการเจริญ วิปัสสนาของผู้ต้องการให้ฌาน เป็นฐานในการเจริญวิปัสสนาได้
  33. 33. สทา โสตถี ภวนฺตุ เต

×