SlideShare a Scribd company logo
1 of 11
เซลล์ไฟฟ้าเคมี นำเสนอ โดย นาย ณภัทร คงทอง ว.3 เรื่อง เซลล์กัลวานิก
เซลล์ไฟฟ้าเคมี      เซลล์ไฟฟ้าเกิดจากการประยุกต์ใช้ปฎิกิริยารีดอกซ์มาเป็นตัวจ่ายพลังงาน ซึ่งปฏิกิริยารีดอกซ์ คือ ปฏิกิริยาเคมี ที่มีการแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอนระหว่างสารตั้งต้นทำให้เลขออกซิเดชันมีการเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะทำให้มีอะตอมของธาตุบางตัวสูญเสียหรือได้รับอิเล็กตรอน จะเรียกปฏิกิริยาที่เกิดการเสียอิเล็กตรอนว่า ปฏิกิริยาออกซิเดชัน  ( Oxidation )  และเรียกปฏิกิริยาที่มีการรับอิเล็กตรอนว่า ปฏิกิริยารีดักชัน  ( Reduction )  ดังตัวอย่าง  เซลล์ไฟฟ้าเคมี  แบ่งออกเป็น  2   ประเภทคือ             1 .  เซลล์กัลวานิก  ( galvanic cell )  หรือเซลล์โวลตาอิก  ( voltaic cell )           2 .  เซลล์อิเล็กโทรไลต์  ( electrolytic cell )
เซลล์กัลวานิก (galvanic cell)  คือ   เซลล์ไฟฟ้าเคมีหรือระบบที่ทำ หน้าที่เปลี่ยนพลังงานเคมีเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยภายในเซลล์เกิดปฏิกิริยาการถ่ายโอนอิเล็กตรอนจากสารหนึ่งไปอีกสาร หนึ่ง ( ปฏิกิริยารีดอกซ์ )  โดยที่สารตั้งต้นไม่ได้สัมผัสกันโดยตรง ทำให้การไหลของอิเล็กตรอนผ่านตัวนำอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวงจร เซลล์กัลวานิก ประกอบด้วยสองครึ่งเซลล์ แต่ละครึ่งเซลล์มักประกอบด้วยโลหะ ซึ่งเป็นขั้วไฟฟ้าจุ่มอยู่ในสารละลายของไอออนของโลหะนั้น ทำหน้าที่เป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์ แต่ในบางครึ่งเซลล์ประกอบด้วยอโลหะกับอโลหะไอออน หรือไอออนสองชนิด กรณีนี้มักใช้ขั้วเฉื่อย เป็นขั้วไฟฟ้า เพราะอโลหะหรือไอออนไม่สามารถเป็นขั้วไฟฟ้าได้
เซลล์กัลวานิก เป็นเซลล์ไฟฟ้าที่สามารถผลิตไฟฟ้าให้เกิดขึ้นได้เองด้วยปฏิกิริยารีดอกซ์ ในการศึกษาปฏิกิริยารีดอกซ์ เราใช้แผ่นโลหะจุ่มในสารละลายโดยตรง แต่ในเซลล็ไฟฟ้าเคมี แผ่นโลหะที่จะเกิดปฏิกิริยากับสารละลาย จะอยู่ในภาชนะต่างกัน แล้วนำมาต่อเชื่อมกัน เชลล์ไฟฟ้าจึงประกอบด้วยภาชนะ  2   ใบ เรียกภาชนะแต่ละใบว่า ครึ่งเซลล์ (  Half Cell )       ครึ่งเซลล์ คือ แผ่นโลหะที่จุ่มในสารละลายของไอออนของโลหะนั้นหรือก๊าซที่พ่นลงในสารละลาย ของก๊าซนั้น แผ่นโลหะหรือก๊าซที่จุ่มอยู่ในสารละลายเรียกว่า ขั้วไฟฟ้า ขั้วไฟฟ้าจะมี  3   ชนิด        1 .  ขั้วไฟฟ้าโลหะ คือ แผ่นโลหะที่จุ่มในสารละลายของไอออนของโลหะนั้น ขั้วโลหะจะทำหน้าที่ เกิดปฏิกิริยาและนำอิเล็กตรอน        2 .  ขั้วไฟฟ้าก๊าซ คือ ก๊าซที่พ่นลงไปในสารละลาย ก๊าซจะทำหน้าที่ในการเกิดปฏิกิริยา แต่นำอิเล็กตรอนไม่ได้ จึงต้องใช้ร่วมกับขั้วไฟฟ้าเฉื่อย        3 .  ขั้วไฟฟ้าเฉื่อย เป็นขั้วไฟฟ้าที่ช่วยนำอิเล็กตรอน แต่ไม่มีส่วนร่วมในการเกิดปฏิกิริยาต้องใช้ร่วมกับขั้วไฟฟ้าก๊าซ ขั้วไฟฟ้าเฉื่อย        เมื่อนำครึ่งเซลล์ที่ต่างกัน  2   ครึ่งเซลล์ มาต่อเชื่อมเข้าด้วยกัน โดยเชื่อมวงจรภายในด้วยสะพานไอออนและเชื่อมวงจรภายนอกด้วยตัวต้านทาน จะเกิดการไหลของอิเล็กตรอนขึ้น อิเล็กตรอนไหลไปทางใด เข็มโวลต์มิเตอร์จะเบนไปในทิศทางนั้น        เซลล์กัลวานิกประกอบด้วยสองครึ่งเซลล์ โดยแต่ละครึ่งเซลล์จะประกอบด้วยขั้วไฟฟ้าที่จุ่มลงไปในสารละลาย แท่งสังกะสีและแท่งทองแดงในเซลล์เป็นขั้วไฟฟ้าซึ่งเรียกว่า อิเล็กโทรด  ( electrode )  ขั้วที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน เรียกว่า ขั้วแอโนด  ( anode )  และขั้วที่เกิดปฏิกิริยารีดักชัน เรียกว่า ขั้วแคโทด  ( cathode )      
   ยกตัวอย่าง ปฏิกิริยารีดอกซ์ที่เกิดขึ้นเมื่อนำแผ่นสังกะสีจุ่มลงในสารละลายของทองแดง หรือตัวรีดิวซ์จุ่มลงในตัวออกซิไดซ์โดยตรง ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นทำให้เกิดพลังงานในรูปของความร้อน แต่ถ้าแยกตัวรีดิวซ์ออกจากตัวออกซิไดซ์ แล้วเชื่อมต่อวงจรภายนอกและสะพานเกลือ  ( salt bridge )  อิเล็กตรอนก็จะถูกถ่ายโอนผ่านตัวกลางภายนอกจากขั้วไฟฟ้าที่เกิดปฏิกิริยา ออกซิเดชันไปยังขั้วไฟฟ้าที่เกิดปฏิกิริยารีดักชัน จึงทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าได้ เซลล์ไฟฟ้าที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีนี้เรียกว่าเซลล์กัลวานิก หรือเซลล์โวลตาอิก  ( galvanic cell or voltaic cell )  ดังรูป  เซลล์กัลวานิกประกอบด้วยสองครึ่งเซลล์ โดยแต่ละครึ่งเซลล์จะประกอบด้วยขั้วไฟฟ้าที่จุ่มลงไปในสารละลาย แท่งสังกะสีและแท่งทองแดงในเซลล์เป็นขั้วไฟฟ้าซึ่งเรียกว่า อิเล็กโทรด  ( electrode )  ขั้วที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน เรียกว่า  ขั้วแอโนด  ( anode )  และขั้วที่เกิดปฏิกิริยารีดักชัน เรียกว่า ขั้วแคโทด  ( cathode )        -  ปฏิกิริยาออกซิเดชันที่แอโนด  ( Zn )       Zn (s)    -> Zn  2+ ( aq ) +  2e  -        -  ปฏิกิริยารีดักชันที่แคโทด  ( Cu )            Cu  2+ (aq) +  2e -     ->  Cu (s)
อธิบายได้ว่า   ประจุที่สะสมจะทำให้ออกซิเดชันที่แคโทดและรีดักชันที่แอโนดเกิดยากขึ้น ระหว่างที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันขึ้นที่ขั้วแอโนด  Zn  จะค่อย ๆ กร่อนแล้วเกิดเป็น  Zn  2+  ละลายลงมาในสารละลายที่มี  Zn  2+  และ  SO  4 2-  ส่วนที่ขั้วแคโทด  Cu  2+  จากสารละลายเกิดปฏิกิริยารีดักชันกลายเป็นอะตอมของทองแดงเกาะอยู่ที่ผิวของ ขั้วไฟฟ้า เมื่อปฏิกิริยาดำเนินไปจะพบว่าในครึ่งเซลล์ออกซิเดชันสารละลายจะมีประจุบวก  ( Zn  2+ )  มากกว่าประจุลบ  ( SO  4 2- )  และในครึ่งเซลล์รีดักชันสารละลายจะมีประจุลบ  ( SO  4 2- )  มากกว่าประจุบวก  ( Cu  2+ )  จึงเกิดความไม่สมดุลทางไฟฟ้าขึ้น ปัญหานี้สามารถที่จะแก้ไขได้โดยการใช้ สะพานเกลือ  ( salt bridge )  เชื่อมต่อระหว่างสองครึ่งเซลล์ ซึ่งสะพานเกลือทำจากหลอดแก้วรูปตัวยู ภายในบรรจุอิเล็กโตรไลต์ที่ไม่ทำปฏิกิริยากับสารในเซลล์และมีไอออนบวก ไอออนลบเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้เคียงกัน หรือทำจากกระดาษกรองชุบอิเล็กโตรไลต์ โดยสะพานเกลือทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่เชื่อมต่อระหว่างครึ่งเซลล์ทั้งสอง และเป็นสิ่งที่ป้องกันการเกิดการสะสมของประจุโดยไอออนบวกจากสะพานเกลือจะ เคลื่อนที่ไปยังครึ่งเซลล์ที่มีประจุลบมาก ในทางตรงกันข้ามไอออนลบก็จะเคลื่อนที่ไปยังครึ่งเซลล์ที่มีประจุมาก จึงทำให้ปฏิกิริยาดำเนินต่อไปได้ในเวลาที่มากขึ้น    และเนื่องจากครึ่งเซลล์ทั้งสองเชื่อมต่อกับวงจรภายนอก ครึ่งเซลล์ที่มีศักย์รีดักชันสูงกว่าจะเกิดรีดักชัน และครึ่งเซลล์ที่มีศักย์รีดักชันต่ำกว่าจะ ( ถูกบังคับให้ ) เกิดออกซิเดชัน ความต่างศักย์ระหว่างอิเล็กโทรดนี้ เรียกว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้า  ( electromotive force :  emf )  และมีหน่วยเป็น โวลต์  ( volt )
ประเภทของเซลล์กัลวานิก เซลล์กัลวานิกจำแนกได้  2   ประเภท คือ         1 .  เซลล์ปฐมภูมิ หมายถึง เซลล์กัลวานิกที่ปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ และทำให้เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับไม่ได้ หรือเป็นเซลล์ที่เมื่อใช้จนหมดแล้วไม่สามารถนำมาอัดไฟใหม่ได้       2 .  เซลล์ทุติยภูมิ หมายถึง เซลล์กัลวานิกที่ปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์เมื่อเกิดขึ้นแล้วสามารถทำให้เกิด ย้อนกลับได้อีก โดยการอัดไฟเข้าไปใหม่ หรือหมายถึงเซลล์ที่เมื่อใช้ไฟหมดแล้วสามารถนำมาอัดไฟใหม่ได้อีก
เซลล์ปฐมภูมิ 1 .  ถ่านไฟฉายหรือเซลล์แห้งหรือเซลล์เลอคลังเช ประกอบด้วย กล่องสังกะสีเป็นขั้วแอโนด และมีแท่งคาร์บอนอยู่ตรงกลางเป็นแคโทด รอบ ๆ แท่งคาร์บอนมีแมงกานีส  ( IV )  ออกไซด์ ผสมผงคาร์บอนโดยอัดติดกับแท่งคาร์บอน และรอบ ๆ แท่งคาร์บอนซึ่งหุ้มด้วยแมงกานีส  ( IV )  ออกไซด์ผสมผงคาร์บอนมีสารละลายของแอมโมเนียคลอไรด์ซึ่งทำหน้าที่เป็นอิเล็ก โทรไลต์บรรจุอยู่ เนื่องจากสารละลายของแอมโมเนียคลอไรด์เป็นของรั่วได้ง่ายจึงผสมกาวลงไปด้วย ด้านนอกของกล่องอาจหุ้มด้วยกระดาษแข็งหรือโลหะ โดยทั่วไปเซลล์ปฐมภูมิชนิดนี้มีศักย์ไฟฟ้า       2 .  เซลล์แอลคาไลน์ มีส่วนประกอบและหลักการเดียวกับถ่านไฟฉาย แต่ใช้สารละลาย  KOH  เป็นอิเล็กโทรไลต์ ซึ่งมีสมบัติเป็นเบส เซลล์ชนิดนี้มีศักย์ไฟฟ้าเท่ากับเซลล์แห้งแต่ให้กระแสไฟฟ้าได้นานกว่า เนื่องจากน้ำและไฮดรอกไซด์ไอออนที่เกิดขึ้นในปฏิกิริยา หมุนเวียนนกลับไปเป็น สารตั้งต้นของปฏิกิริยาได้อีก
    3 .  เซลล์ปรอท อาศัยหลักการเดียวกับเซลล์แอลคาไลน์ แต่ใช้เมอคิวรี  ( II )  ออกไซด์แทนแมงกานีส  ( IV )  ออกไซด์ เซลล์ปรอทให้ศักย์ไฟฟ้าประมาณ  1.3   โวลต์ ให้กระแสไฟฟ้าต่ำ แต่มีข้อดีที่สามารถให้ศักย์ไฟฟ้าเกือบคงที่ตลอดอายุการใช้งาน นิยมใช้กันมากในเครื่องฟังเสียงสำหรับคนหูพิการ              4 .  เซลล์เงิน มีส่วนประกอบเช่นเดียวกับเซลล์ปรอท แต่ใช้ซิลเวอร์ออกไซด์แทนเมอร์คิวรี  ( II )  ออกไซด์ เซลล์เงินให้ศักย์ไฟฟ้าประมาณ  1.5   โวลต์ มีขนาดเล็กและมีอายุการใช้งานได้นานมากแต่มีราคาแพง จึงใช้กับอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิด เช่น นาฬิกา เครื่องคิดเลข
เซลล์ทุติยภูมิ     1 .  เซลล์นิกเกิล  –  แคดเมียม หรือเซลล์นิแคด มีโลหะเมียมเป็นแอโนด นิกเกิล  ( IV )  ออกไซด์เป็นแคโทด และมีสารละลายเบสเป็นอิเล็กโทรไลต์ เซลล์นิแคดให้ศักย์ไฟฟ้าประมาณ  1.4   โวลต์ เมื่อใช้งานจนศักย์ไฟฟ้าลดต่ำลงแล้วสามารถนำมาประจุไฟได้ใหม่ ปฏิกิริยาในระหว่างการประจุไฟจะเกิดย้อนกลับกับปฏิกิริยาการจ่ายไฟ เซลล์นิแคดจึงมีข้อดีที่สามารถใช้ได้เป็นระยะเวลานาน          2 .  เซลล์สะสมไฟฟ้าแบบตะกั่ว ใช้เป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าในรถยนต์หรือจักรยานยนต์เรียกกันทั่วไปว่า แบตเตอรี่ ถึงแม้ว่าเซลล์สะสมไฟฟ้าแบบตะกั่วจะอัดไฟใหม่ได้ แต่ก็มีการเสื่อมสภาพ เพราะ  PbSO 4  ที่เกิดขึ้นที่ขั้วทั้งสองบางส่วนหลุดร่วงอยู่ที่ก้นภาชนะ ทำให้ขั้วทั้งสองสึกกร่อน และทำให้เสื่อมสภาพในที่สุด
แหล่งอ้างอิง 1.http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/electrochemistry/web/electrochem05.htm 2. http :// www . thaigoodview . com / node / 18795 3. http://school.obec.go.th/mrvilai/kindofgalvaniccell.htm   4. หนังสือเคมีสสวท . เล่ม 3

More Related Content

What's hot

ไฟฟ้าเคมี1 ppt
ไฟฟ้าเคมี1 pptไฟฟ้าเคมี1 ppt
ไฟฟ้าเคมี1 ppt10846
 
ไฟฟ้าเคมี
ไฟฟ้าเคมีไฟฟ้าเคมี
ไฟฟ้าเคมีWirun
 
บทที่9 ไฟฟ้าเคมี (สำรอง)
บทที่9 ไฟฟ้าเคมี (สำรอง)บทที่9 ไฟฟ้าเคมี (สำรอง)
บทที่9 ไฟฟ้าเคมี (สำรอง)oraneehussem
 
Electrochem
ElectrochemElectrochem
ElectrochemNapajit
 
ปฏิบัติการเซลล์ไฟฟ้าเคมี
ปฏิบัติการเซลล์ไฟฟ้าเคมีปฏิบัติการเซลล์ไฟฟ้าเคมี
ปฏิบัติการเซลล์ไฟฟ้าเคมีPhakawat Owat
 
ไฟฟ้าเคมี
ไฟฟ้าเคมีไฟฟ้าเคมี
ไฟฟ้าเคมีPhasitta Chem
 
10.1 dynamo 2
10.1 dynamo 210.1 dynamo 2
10.1 dynamo 23cha_sp
 
ฟิสิกส์ ใบงาน10
ฟิสิกส์ ใบงาน10ฟิสิกส์ ใบงาน10
ฟิสิกส์ ใบงาน10Nann 'mlemell
 
Ec electrochem-text
Ec electrochem-textEc electrochem-text
Ec electrochem-textnantita
 
พื้นฐานทฤษฎีอะตอมและโครงแบบอิเล็กตรอน
พื้นฐานทฤษฎีอะตอมและโครงแบบอิเล็กตรอนพื้นฐานทฤษฎีอะตอมและโครงแบบอิเล็กตรอน
พื้นฐานทฤษฎีอะตอมและโครงแบบอิเล็กตรอนDr.Woravith Chansuvarn
 
[Slide] ประวัติของถ่ายไฟฉาย แบ็ตเตอรี่ (History of dry cell and Battery by pa...
[Slide] ประวัติของถ่ายไฟฉาย แบ็ตเตอรี่ (History of dry cell and Battery by pa...[Slide] ประวัติของถ่ายไฟฉาย แบ็ตเตอรี่ (History of dry cell and Battery by pa...
[Slide] ประวัติของถ่ายไฟฉาย แบ็ตเตอรี่ (History of dry cell and Battery by pa...Pawoot (Pom) Pongvitayapanu
 

What's hot (19)

ไฟฟ้าเคมี1 ppt
ไฟฟ้าเคมี1 pptไฟฟ้าเคมี1 ppt
ไฟฟ้าเคมี1 ppt
 
ไฟฟ้าเคมี
ไฟฟ้าเคมีไฟฟ้าเคมี
ไฟฟ้าเคมี
 
ไฟฟ้าเคมี
ไฟฟ้าเคมีไฟฟ้าเคมี
ไฟฟ้าเคมี
 
09เคมีไฟฟ้า
09เคมีไฟฟ้า09เคมีไฟฟ้า
09เคมีไฟฟ้า
 
Chem electrochemistry
Chem electrochemistryChem electrochemistry
Chem electrochemistry
 
บทที่9 ไฟฟ้าเคมี (สำรอง)
บทที่9 ไฟฟ้าเคมี (สำรอง)บทที่9 ไฟฟ้าเคมี (สำรอง)
บทที่9 ไฟฟ้าเคมี (สำรอง)
 
Electrochem
ElectrochemElectrochem
Electrochem
 
ปฏิบัติการเซลล์ไฟฟ้าเคมี
ปฏิบัติการเซลล์ไฟฟ้าเคมีปฏิบัติการเซลล์ไฟฟ้าเคมี
ปฏิบัติการเซลล์ไฟฟ้าเคมี
 
ไฟฟ้าเคมี
ไฟฟ้าเคมีไฟฟ้าเคมี
ไฟฟ้าเคมี
 
10.1 dynamo 2
10.1 dynamo 210.1 dynamo 2
10.1 dynamo 2
 
ฟิสิกส์ ใบงาน10
ฟิสิกส์ ใบงาน10ฟิสิกส์ ใบงาน10
ฟิสิกส์ ใบงาน10
 
Ec electrochem-text
Ec electrochem-textEc electrochem-text
Ec electrochem-text
 
พื้นฐานทฤษฎีอะตอมและโครงแบบอิเล็กตรอน
พื้นฐานทฤษฎีอะตอมและโครงแบบอิเล็กตรอนพื้นฐานทฤษฎีอะตอมและโครงแบบอิเล็กตรอน
พื้นฐานทฤษฎีอะตอมและโครงแบบอิเล็กตรอน
 
Chemographics : Atomic theory
Chemographics : Atomic theoryChemographics : Atomic theory
Chemographics : Atomic theory
 
Chembond
ChembondChembond
Chembond
 
[Slide] ประวัติของถ่ายไฟฉาย แบ็ตเตอรี่ (History of dry cell and Battery by pa...
[Slide] ประวัติของถ่ายไฟฉาย แบ็ตเตอรี่ (History of dry cell and Battery by pa...[Slide] ประวัติของถ่ายไฟฉาย แบ็ตเตอรี่ (History of dry cell and Battery by pa...
[Slide] ประวัติของถ่ายไฟฉาย แบ็ตเตอรี่ (History of dry cell and Battery by pa...
 
chemical bonding
chemical bondingchemical bonding
chemical bonding
 
ไฟฟ้าเคมี
ไฟฟ้าเคมีไฟฟ้าเคมี
ไฟฟ้าเคมี
 
Chemical
ChemicalChemical
Chemical
 

Similar to ไฟฟ้าเคมี

ใบความรู้ เรื่อง ความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และความต้านทานไฟฟ้า
ใบความรู้ เรื่อง ความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และความต้านทานไฟฟ้าใบความรู้ เรื่อง ความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และความต้านทานไฟฟ้า
ใบความรู้ เรื่อง ความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และความต้านทานไฟฟ้าพัน พัน
 
เซลล์ไฟฟ้าเคมี (Electrochemical cell) (1).pdf
เซลล์ไฟฟ้าเคมี (Electrochemical cell) (1).pdfเซลล์ไฟฟ้าเคมี (Electrochemical cell) (1).pdf
เซลล์ไฟฟ้าเคมี (Electrochemical cell) (1).pdfssuserb3caf5
 
พลังงานไฟฟ้า (1)
พลังงานไฟฟ้า (1)พลังงานไฟฟ้า (1)
พลังงานไฟฟ้า (1)Nontawat Rupsung
 
พลังงานไฟฟ้า (1)
พลังงานไฟฟ้า (1)พลังงานไฟฟ้า (1)
พลังงานไฟฟ้า (1)Nontawat Rupsung
 
ประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้า
ประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้า
ประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้า1560100453451
 
โครงงานไฟฟ้า
โครงงานไฟฟ้าโครงงานไฟฟ้า
โครงงานไฟฟ้าrattanapon
 
งานเครื่องใช้ไฟฟ้า
งานเครื่องใช้ไฟฟ้างานเครื่องใช้ไฟฟ้า
งานเครื่องใช้ไฟฟ้าSarun Boonwong
 
Chapter 1 แหล่งกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า
Chapter 1 แหล่งกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าChapter 1 แหล่งกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า
Chapter 1 แหล่งกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าNapasorn Juiin
 
Ch 03 nuclear chemistry
Ch 03 nuclear chemistryCh 03 nuclear chemistry
Ch 03 nuclear chemistrykruannchem
 
ไฟฟ้ากลุ..
 ไฟฟ้ากลุ.. ไฟฟ้ากลุ..
ไฟฟ้ากลุ..Powergift_vip
 
ไฟฟ้ากลุ..
 ไฟฟ้ากลุ.. ไฟฟ้ากลุ..
ไฟฟ้ากลุ..Powergift_vip
 
ไฟฟ้ากลุ..
 ไฟฟ้ากลุ.. ไฟฟ้ากลุ..
ไฟฟ้ากลุ..Powergift_vip
 
เซลล์เชื้อเพลิง
เซลล์เชื้อเพลิงเซลล์เชื้อเพลิง
เซลล์เชื้อเพลิงPinkk Putthathida
 
ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์
ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์
ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์Surasak Yodhong
 
State of matter
State of matterState of matter
State of matteradriamycin
 

Similar to ไฟฟ้าเคมี (20)

ใบความรู้.05
ใบความรู้.05ใบความรู้.05
ใบความรู้.05
 
ใบความรู้ เรื่อง ความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และความต้านทานไฟฟ้า
ใบความรู้ เรื่อง ความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และความต้านทานไฟฟ้าใบความรู้ เรื่อง ความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และความต้านทานไฟฟ้า
ใบความรู้ เรื่อง ความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และความต้านทานไฟฟ้า
 
เซลล์ไฟฟ้าเคมี (Electrochemical cell) (1).pdf
เซลล์ไฟฟ้าเคมี (Electrochemical cell) (1).pdfเซลล์ไฟฟ้าเคมี (Electrochemical cell) (1).pdf
เซลล์ไฟฟ้าเคมี (Electrochemical cell) (1).pdf
 
การนำไฟฟ้า (Conductivity)
การนำไฟฟ้า (Conductivity)การนำไฟฟ้า (Conductivity)
การนำไฟฟ้า (Conductivity)
 
พลังงานไฟฟ้า (1)
พลังงานไฟฟ้า (1)พลังงานไฟฟ้า (1)
พลังงานไฟฟ้า (1)
 
พลังงานไฟฟ้า (1)
พลังงานไฟฟ้า (1)พลังงานไฟฟ้า (1)
พลังงานไฟฟ้า (1)
 
แหล่งกำเนิดไฟฟ้า (Electric source)
แหล่งกำเนิดไฟฟ้า (Electric source)แหล่งกำเนิดไฟฟ้า (Electric source)
แหล่งกำเนิดไฟฟ้า (Electric source)
 
ประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้า
ประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้า
ประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้า
 
โครงงานไฟฟ้า
โครงงานไฟฟ้าโครงงานไฟฟ้า
โครงงานไฟฟ้า
 
งานเครื่องใช้ไฟฟ้า
งานเครื่องใช้ไฟฟ้างานเครื่องใช้ไฟฟ้า
งานเครื่องใช้ไฟฟ้า
 
หน่วยที่1
หน่วยที่1หน่วยที่1
หน่วยที่1
 
Chapter 1 แหล่งกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า
Chapter 1 แหล่งกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าChapter 1 แหล่งกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า
Chapter 1 แหล่งกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า
 
Ch 03 nuclear chemistry
Ch 03 nuclear chemistryCh 03 nuclear chemistry
Ch 03 nuclear chemistry
 
ไฟฟ้ากลุ..
 ไฟฟ้ากลุ.. ไฟฟ้ากลุ..
ไฟฟ้ากลุ..
 
ไฟฟ้ากลุ..
 ไฟฟ้ากลุ.. ไฟฟ้ากลุ..
ไฟฟ้ากลุ..
 
ไฟฟ้ากลุ..
 ไฟฟ้ากลุ.. ไฟฟ้ากลุ..
ไฟฟ้ากลุ..
 
เซลล์เชื้อเพลิง
เซลล์เชื้อเพลิงเซลล์เชื้อเพลิง
เซลล์เชื้อเพลิง
 
Chembond
ChembondChembond
Chembond
 
ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์
ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์
ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์
 
State of matter
State of matterState of matter
State of matter
 

ไฟฟ้าเคมี

  • 1. เซลล์ไฟฟ้าเคมี นำเสนอ โดย นาย ณภัทร คงทอง ว.3 เรื่อง เซลล์กัลวานิก
  • 2. เซลล์ไฟฟ้าเคมี     เซลล์ไฟฟ้าเกิดจากการประยุกต์ใช้ปฎิกิริยารีดอกซ์มาเป็นตัวจ่ายพลังงาน ซึ่งปฏิกิริยารีดอกซ์ คือ ปฏิกิริยาเคมี ที่มีการแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอนระหว่างสารตั้งต้นทำให้เลขออกซิเดชันมีการเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะทำให้มีอะตอมของธาตุบางตัวสูญเสียหรือได้รับอิเล็กตรอน จะเรียกปฏิกิริยาที่เกิดการเสียอิเล็กตรอนว่า ปฏิกิริยาออกซิเดชัน ( Oxidation ) และเรียกปฏิกิริยาที่มีการรับอิเล็กตรอนว่า ปฏิกิริยารีดักชัน ( Reduction ) ดังตัวอย่าง เซลล์ไฟฟ้าเคมี  แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ            1 . เซลล์กัลวานิก ( galvanic cell ) หรือเซลล์โวลตาอิก ( voltaic cell )           2 . เซลล์อิเล็กโทรไลต์ ( electrolytic cell )
  • 3. เซลล์กัลวานิก (galvanic cell) คือ   เซลล์ไฟฟ้าเคมีหรือระบบที่ทำ หน้าที่เปลี่ยนพลังงานเคมีเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยภายในเซลล์เกิดปฏิกิริยาการถ่ายโอนอิเล็กตรอนจากสารหนึ่งไปอีกสาร หนึ่ง ( ปฏิกิริยารีดอกซ์ ) โดยที่สารตั้งต้นไม่ได้สัมผัสกันโดยตรง ทำให้การไหลของอิเล็กตรอนผ่านตัวนำอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวงจร เซลล์กัลวานิก ประกอบด้วยสองครึ่งเซลล์ แต่ละครึ่งเซลล์มักประกอบด้วยโลหะ ซึ่งเป็นขั้วไฟฟ้าจุ่มอยู่ในสารละลายของไอออนของโลหะนั้น ทำหน้าที่เป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์ แต่ในบางครึ่งเซลล์ประกอบด้วยอโลหะกับอโลหะไอออน หรือไอออนสองชนิด กรณีนี้มักใช้ขั้วเฉื่อย เป็นขั้วไฟฟ้า เพราะอโลหะหรือไอออนไม่สามารถเป็นขั้วไฟฟ้าได้
  • 4. เซลล์กัลวานิก เป็นเซลล์ไฟฟ้าที่สามารถผลิตไฟฟ้าให้เกิดขึ้นได้เองด้วยปฏิกิริยารีดอกซ์ ในการศึกษาปฏิกิริยารีดอกซ์ เราใช้แผ่นโลหะจุ่มในสารละลายโดยตรง แต่ในเซลล็ไฟฟ้าเคมี แผ่นโลหะที่จะเกิดปฏิกิริยากับสารละลาย จะอยู่ในภาชนะต่างกัน แล้วนำมาต่อเชื่อมกัน เชลล์ไฟฟ้าจึงประกอบด้วยภาชนะ 2 ใบ เรียกภาชนะแต่ละใบว่า ครึ่งเซลล์ ( Half Cell )      ครึ่งเซลล์ คือ แผ่นโลหะที่จุ่มในสารละลายของไอออนของโลหะนั้นหรือก๊าซที่พ่นลงในสารละลาย ของก๊าซนั้น แผ่นโลหะหรือก๊าซที่จุ่มอยู่ในสารละลายเรียกว่า ขั้วไฟฟ้า ขั้วไฟฟ้าจะมี 3 ชนิด      1 . ขั้วไฟฟ้าโลหะ คือ แผ่นโลหะที่จุ่มในสารละลายของไอออนของโลหะนั้น ขั้วโลหะจะทำหน้าที่ เกิดปฏิกิริยาและนำอิเล็กตรอน      2 . ขั้วไฟฟ้าก๊าซ คือ ก๊าซที่พ่นลงไปในสารละลาย ก๊าซจะทำหน้าที่ในการเกิดปฏิกิริยา แต่นำอิเล็กตรอนไม่ได้ จึงต้องใช้ร่วมกับขั้วไฟฟ้าเฉื่อย      3 . ขั้วไฟฟ้าเฉื่อย เป็นขั้วไฟฟ้าที่ช่วยนำอิเล็กตรอน แต่ไม่มีส่วนร่วมในการเกิดปฏิกิริยาต้องใช้ร่วมกับขั้วไฟฟ้าก๊าซ ขั้วไฟฟ้าเฉื่อย      เมื่อนำครึ่งเซลล์ที่ต่างกัน 2 ครึ่งเซลล์ มาต่อเชื่อมเข้าด้วยกัน โดยเชื่อมวงจรภายในด้วยสะพานไอออนและเชื่อมวงจรภายนอกด้วยตัวต้านทาน จะเกิดการไหลของอิเล็กตรอนขึ้น อิเล็กตรอนไหลไปทางใด เข็มโวลต์มิเตอร์จะเบนไปในทิศทางนั้น      เซลล์กัลวานิกประกอบด้วยสองครึ่งเซลล์ โดยแต่ละครึ่งเซลล์จะประกอบด้วยขั้วไฟฟ้าที่จุ่มลงไปในสารละลาย แท่งสังกะสีและแท่งทองแดงในเซลล์เป็นขั้วไฟฟ้าซึ่งเรียกว่า อิเล็กโทรด ( electrode ) ขั้วที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน เรียกว่า ขั้วแอโนด ( anode ) และขั้วที่เกิดปฏิกิริยารีดักชัน เรียกว่า ขั้วแคโทด ( cathode )     
  • 5.    ยกตัวอย่าง ปฏิกิริยารีดอกซ์ที่เกิดขึ้นเมื่อนำแผ่นสังกะสีจุ่มลงในสารละลายของทองแดง หรือตัวรีดิวซ์จุ่มลงในตัวออกซิไดซ์โดยตรง ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นทำให้เกิดพลังงานในรูปของความร้อน แต่ถ้าแยกตัวรีดิวซ์ออกจากตัวออกซิไดซ์ แล้วเชื่อมต่อวงจรภายนอกและสะพานเกลือ ( salt bridge ) อิเล็กตรอนก็จะถูกถ่ายโอนผ่านตัวกลางภายนอกจากขั้วไฟฟ้าที่เกิดปฏิกิริยา ออกซิเดชันไปยังขั้วไฟฟ้าที่เกิดปฏิกิริยารีดักชัน จึงทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าได้ เซลล์ไฟฟ้าที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีนี้เรียกว่าเซลล์กัลวานิก หรือเซลล์โวลตาอิก ( galvanic cell or voltaic cell ) ดังรูป เซลล์กัลวานิกประกอบด้วยสองครึ่งเซลล์ โดยแต่ละครึ่งเซลล์จะประกอบด้วยขั้วไฟฟ้าที่จุ่มลงไปในสารละลาย แท่งสังกะสีและแท่งทองแดงในเซลล์เป็นขั้วไฟฟ้าซึ่งเรียกว่า อิเล็กโทรด ( electrode ) ขั้วที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน เรียกว่า ขั้วแอโนด ( anode ) และขั้วที่เกิดปฏิกิริยารีดักชัน เรียกว่า ขั้วแคโทด ( cathode )      - ปฏิกิริยาออกซิเดชันที่แอโนด ( Zn )       Zn (s)    -> Zn 2+ ( aq ) + 2e -      - ปฏิกิริยารีดักชันที่แคโทด ( Cu )            Cu 2+ (aq) + 2e -     ->  Cu (s)
  • 6. อธิบายได้ว่า ประจุที่สะสมจะทำให้ออกซิเดชันที่แคโทดและรีดักชันที่แอโนดเกิดยากขึ้น ระหว่างที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันขึ้นที่ขั้วแอโนด Zn จะค่อย ๆ กร่อนแล้วเกิดเป็น Zn 2+ ละลายลงมาในสารละลายที่มี Zn 2+ และ SO 4 2- ส่วนที่ขั้วแคโทด Cu 2+ จากสารละลายเกิดปฏิกิริยารีดักชันกลายเป็นอะตอมของทองแดงเกาะอยู่ที่ผิวของ ขั้วไฟฟ้า เมื่อปฏิกิริยาดำเนินไปจะพบว่าในครึ่งเซลล์ออกซิเดชันสารละลายจะมีประจุบวก ( Zn 2+ ) มากกว่าประจุลบ ( SO 4 2- ) และในครึ่งเซลล์รีดักชันสารละลายจะมีประจุลบ ( SO 4 2- ) มากกว่าประจุบวก ( Cu 2+ ) จึงเกิดความไม่สมดุลทางไฟฟ้าขึ้น ปัญหานี้สามารถที่จะแก้ไขได้โดยการใช้ สะพานเกลือ ( salt bridge ) เชื่อมต่อระหว่างสองครึ่งเซลล์ ซึ่งสะพานเกลือทำจากหลอดแก้วรูปตัวยู ภายในบรรจุอิเล็กโตรไลต์ที่ไม่ทำปฏิกิริยากับสารในเซลล์และมีไอออนบวก ไอออนลบเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้เคียงกัน หรือทำจากกระดาษกรองชุบอิเล็กโตรไลต์ โดยสะพานเกลือทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่เชื่อมต่อระหว่างครึ่งเซลล์ทั้งสอง และเป็นสิ่งที่ป้องกันการเกิดการสะสมของประจุโดยไอออนบวกจากสะพานเกลือจะ เคลื่อนที่ไปยังครึ่งเซลล์ที่มีประจุลบมาก ในทางตรงกันข้ามไอออนลบก็จะเคลื่อนที่ไปยังครึ่งเซลล์ที่มีประจุมาก จึงทำให้ปฏิกิริยาดำเนินต่อไปได้ในเวลาที่มากขึ้น   และเนื่องจากครึ่งเซลล์ทั้งสองเชื่อมต่อกับวงจรภายนอก ครึ่งเซลล์ที่มีศักย์รีดักชันสูงกว่าจะเกิดรีดักชัน และครึ่งเซลล์ที่มีศักย์รีดักชันต่ำกว่าจะ ( ถูกบังคับให้ ) เกิดออกซิเดชัน ความต่างศักย์ระหว่างอิเล็กโทรดนี้ เรียกว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้า ( electromotive force : emf ) และมีหน่วยเป็น โวลต์ ( volt )
  • 7. ประเภทของเซลล์กัลวานิก เซลล์กัลวานิกจำแนกได้ 2 ประเภท คือ      1 . เซลล์ปฐมภูมิ หมายถึง เซลล์กัลวานิกที่ปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ และทำให้เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับไม่ได้ หรือเป็นเซลล์ที่เมื่อใช้จนหมดแล้วไม่สามารถนำมาอัดไฟใหม่ได้      2 . เซลล์ทุติยภูมิ หมายถึง เซลล์กัลวานิกที่ปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์เมื่อเกิดขึ้นแล้วสามารถทำให้เกิด ย้อนกลับได้อีก โดยการอัดไฟเข้าไปใหม่ หรือหมายถึงเซลล์ที่เมื่อใช้ไฟหมดแล้วสามารถนำมาอัดไฟใหม่ได้อีก
  • 8. เซลล์ปฐมภูมิ 1 . ถ่านไฟฉายหรือเซลล์แห้งหรือเซลล์เลอคลังเช ประกอบด้วย กล่องสังกะสีเป็นขั้วแอโนด และมีแท่งคาร์บอนอยู่ตรงกลางเป็นแคโทด รอบ ๆ แท่งคาร์บอนมีแมงกานีส ( IV ) ออกไซด์ ผสมผงคาร์บอนโดยอัดติดกับแท่งคาร์บอน และรอบ ๆ แท่งคาร์บอนซึ่งหุ้มด้วยแมงกานีส ( IV ) ออกไซด์ผสมผงคาร์บอนมีสารละลายของแอมโมเนียคลอไรด์ซึ่งทำหน้าที่เป็นอิเล็ก โทรไลต์บรรจุอยู่ เนื่องจากสารละลายของแอมโมเนียคลอไรด์เป็นของรั่วได้ง่ายจึงผสมกาวลงไปด้วย ด้านนอกของกล่องอาจหุ้มด้วยกระดาษแข็งหรือโลหะ โดยทั่วไปเซลล์ปฐมภูมิชนิดนี้มีศักย์ไฟฟ้า      2 . เซลล์แอลคาไลน์ มีส่วนประกอบและหลักการเดียวกับถ่านไฟฉาย แต่ใช้สารละลาย KOH เป็นอิเล็กโทรไลต์ ซึ่งมีสมบัติเป็นเบส เซลล์ชนิดนี้มีศักย์ไฟฟ้าเท่ากับเซลล์แห้งแต่ให้กระแสไฟฟ้าได้นานกว่า เนื่องจากน้ำและไฮดรอกไซด์ไอออนที่เกิดขึ้นในปฏิกิริยา หมุนเวียนนกลับไปเป็น สารตั้งต้นของปฏิกิริยาได้อีก
  • 9.    3 . เซลล์ปรอท อาศัยหลักการเดียวกับเซลล์แอลคาไลน์ แต่ใช้เมอคิวรี ( II ) ออกไซด์แทนแมงกานีส ( IV ) ออกไซด์ เซลล์ปรอทให้ศักย์ไฟฟ้าประมาณ 1.3 โวลต์ ให้กระแสไฟฟ้าต่ำ แต่มีข้อดีที่สามารถให้ศักย์ไฟฟ้าเกือบคงที่ตลอดอายุการใช้งาน นิยมใช้กันมากในเครื่องฟังเสียงสำหรับคนหูพิการ             4 . เซลล์เงิน มีส่วนประกอบเช่นเดียวกับเซลล์ปรอท แต่ใช้ซิลเวอร์ออกไซด์แทนเมอร์คิวรี ( II ) ออกไซด์ เซลล์เงินให้ศักย์ไฟฟ้าประมาณ 1.5 โวลต์ มีขนาดเล็กและมีอายุการใช้งานได้นานมากแต่มีราคาแพง จึงใช้กับอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิด เช่น นาฬิกา เครื่องคิดเลข
  • 10. เซลล์ทุติยภูมิ    1 . เซลล์นิกเกิล – แคดเมียม หรือเซลล์นิแคด มีโลหะเมียมเป็นแอโนด นิกเกิล ( IV ) ออกไซด์เป็นแคโทด และมีสารละลายเบสเป็นอิเล็กโทรไลต์ เซลล์นิแคดให้ศักย์ไฟฟ้าประมาณ 1.4 โวลต์ เมื่อใช้งานจนศักย์ไฟฟ้าลดต่ำลงแล้วสามารถนำมาประจุไฟได้ใหม่ ปฏิกิริยาในระหว่างการประจุไฟจะเกิดย้อนกลับกับปฏิกิริยาการจ่ายไฟ เซลล์นิแคดจึงมีข้อดีที่สามารถใช้ได้เป็นระยะเวลานาน        2 . เซลล์สะสมไฟฟ้าแบบตะกั่ว ใช้เป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าในรถยนต์หรือจักรยานยนต์เรียกกันทั่วไปว่า แบตเตอรี่ ถึงแม้ว่าเซลล์สะสมไฟฟ้าแบบตะกั่วจะอัดไฟใหม่ได้ แต่ก็มีการเสื่อมสภาพ เพราะ PbSO 4 ที่เกิดขึ้นที่ขั้วทั้งสองบางส่วนหลุดร่วงอยู่ที่ก้นภาชนะ ทำให้ขั้วทั้งสองสึกกร่อน และทำให้เสื่อมสภาพในที่สุด
  • 11. แหล่งอ้างอิง 1.http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/electrochemistry/web/electrochem05.htm 2. http :// www . thaigoodview . com / node / 18795 3. http://school.obec.go.th/mrvilai/kindofgalvaniccell.htm 4. หนังสือเคมีสสวท . เล่ม 3